โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

การจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการความฉลาดทางสุขภาวะ


การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยบูรณาการความฉลาดทางสุขภาวะ

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  การพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ Healt  Literacy  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยนางสาวคมคาย  มัวจะบก 

                  โรงเรียนเทศบาล4 (เพาะชำ) ของเราได้นำโครงการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะมาบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อเพิมพฤติกรรมความฉลาดทางสุขภาวะให้แก่ผู้เรียน  จากการศึกษาพบว่า  ผู้เรียนกำลังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนเนื่องจากบริโภคอาหารผิดหลักโภชนาการ  ขาดการออกกำลังกาย ขาดสุขนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ  ที่จะต้องได้รับการแก้ไข  ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเอง  ครอบครัว  สังคม และชุมชมของตนให้มีความฉลาดในการเลือกบริโภคที่เรียกว่ามีความฉลาดทางสุขภาวะ นั้นเอง

                  ดิฉันในฐานะครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยซึ่งทางโรงเรียนได้จัดการอบรม

ให้ความรู้ในเรื่องของความฉลาดทางสุขภาวะ และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  จากนั้น ดิฉันได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหาแนวทางการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

                  1. ศึกษาคำอธิบายรายวิชา เพิ่มข้อความลงในคำอธิบายรายวิชาเกี่ยวกับความฉลาดทางสุขภาวะ เช่น อ่านบทความสารคดีที่ส่งเสริมความรู้ทางสุขภาวะเมื่ออ่านแล้ว  ระบุเหตุผลข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นที่ส่งเสริมความคิดและความฉลาดทางสุขภาวะ  เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม ใช้แผนภาพความคิดพัฒนางานเกี่ยวกับความฉลาดทางสุขภาวะ  พูดแสดงความคิดเห็น  ชักชวน  รายงานกระตุ้นให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาวะ

                  2.การกำหนดหน่วยการเรียนรู้โดยบูรณาการในหน่วยที่16 เรื่อง  สร้างสรรค์ภาษาโฆษณาจูงใจ  เวลาเรียนทั้งหน่วย  7  ชั่วโมง  ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ 3 ช้วโมง

                   3. จัดทำโครงสร้างรายวิชา  ของหน่วยที่16 เรื่องสร้างสรรค์ภาษาโฆษณาจูงใจ  จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด  สาระสำคัญ

                    4.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 3 ชั่วโมง การเขียนเชิงสร้างสรรค์  มาตรฐานการเรียนรู้ท.1.1  ตัวชี้วัดที่ ท.1.1 ป. 6/4  มาตรฐานท.2.1 ตัวชี้วัดที่ ท.2.1ป.6/3  มาตรฐานท.3.1  ตัวชี้วัดที่ท.3.1 ป6/3  โดยกำหนดสาระสำคัญ  ดังนี้ การแยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นและตรวจสอบความเป็นเหตุผลเรื่องที่อ่านจะทำให้ไม่ถูกหลอกหรือเข้าใจผิด  การเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านเพื่อสร้างความรู้ และคิดวิเคราะห์ หาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องมาสนับสนุน การโฆษณาเป็นการนำความคิดสู้ผู้ฟังและผู้ดูต้องมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ

                     5. กิจกรรมการเรียนรู้โดยดิฉันพยายามจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิเคราะห์การพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ 1.การเข้าถึง  2. เข้าใจ 3. ประเมิน 4. นำไปใช้ 5. สื่อสาร ลงในกิจกรรมการเรียรู้  ดังนี้ 

                       5.1 ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนสำรวจรายการอาหารที่ขายหน้าโรงเรียนในตอนเช้า และตอนเย็นหลังเลิกเรียน  (เข้าถึง)

                       5.2 ครูสุ่มนักเรียน 5-6คน บอกรายการอาหารที่ไปสำรวจมาครูเขียนลงกระดารนักเรียนช่วยกันแยกประเภทอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ (เข้าใจ)

                        5.3 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ 1 บทความเรื่องเด็ก 3 ปี ราว 60% เสี่ยงฟันผุ  ผลกระทบการเจริญเติบโต แคระแกรน จากสื่อInternet (เข้าถึง) หลังจากศึกษาใบความรู้ที่ 1แล้ว นักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น และทำใบกิจกรรมที่1 สรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา (เข้าใจ) 

                       5.4 แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรายงานผลการสรุปความหน้าชั้นเรียน  นักเรียนวิพากษ์การรายงานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ครูร่วมอภิปรายเพิ่มเติม (เข้าใจ)

                       5.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ 2 บทความเรื่อง เด็กบริโภคนำอัดลม  ขนมขยะ  เสี่ยงโรค ช่วยกันแยกแยะข้อคิเเห็นวิเคราะห์  แล้วนำความรู้ทำใบกิจกรรมที่2 ทำแผนที่ความคิด   นำผลงานของตนเองเสนอหน้าชั้นเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนวิพากษ์ผลงานตนเอง  ให้เพื่อน และครูวิพากษ์ผลงาน   นำผลงานจัดแสดงป้ายนิเทศ (เข้าใจ,ประเมิน)

                       5.6 นักเรียนทำใบงานที่ 3 การจัดทำสื่อโฆษณา การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์  วิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องโดยออกแบบด้วยด้วยตนเองและใชคอมพิวเตอร์

                        5.7 นักเรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และวิพากษ์ผลงานของตนเอง  เพื่อน และครูวิพากษ์

                        5.8นักเรียน ครูร่วมกันประเมินเพื่ออภิปราย วิเคราะห์ผลงานท่นำเสนอ หาข้อดี  และข้อบกพร่องเพิ่มเติมเพื่อนำมาปรับปรุงชิ้นงานให้ดียิ่งขึ้น

                        5.9 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลงานที่ปรับปรุงแก้ไขนำเข้าประกวดเพื่อชิงรางวัลดีเด่น  และนำผลงานสื่อโฆษณาที่ชนะการประกวดเผยแพร่ดังนี้

                                 - เผยแพร่ที่บ้านโดยมีหนังสือตอบรับจากผู้ปกครอง

                                 - จัดป้ายนิเทศที่โรงเรียน 

                                 - ออกเสียงตามสายโรงเรียน

                                 - ติดสื่อโฆษณาที่ตั้งชุมชนต่างๆ

                      

 

                  

หมายเลขบันทึก: 461615เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะคุณครูคมคาย  อธิบายขั้นตอนการทำแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการความฉลาดทางสุขภาวะได้ละเอียดชัดเจน  เข้าใจง่าย  สามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้  ขอบคุณค่ะ

           

เป็นแผนการสอนที่น่าสนใจ ฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดวิเคราะห์

และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขอบคุณที่นำตัวอย่างดีๆมาฝาก

บุษรากร

เยี่ยมมากครับ ขอชื่นชม

อยากจะขอแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท