Never be lied to again วิธีการค้นหาความจริงจากคนที่เราสนทนา


Never be lied to again วิธีการค้นหาความจริงจากคนที่เราสนทนา

 

วิธีการค้นหาความจริงจากคนที่เราสนทนา

Never be lied to again

Never be lied to again เราสามารถไม่ให้ถูกหลอกได้โดยสังเกตอาการแสดงของบุคคลที่เราสนทนาว่า มีลักษณะท่าทางอาการผิดปกติไปหรือไม่ บทความนี้จะเสนอวิธีการค้นหาความจริงจากคนที่เราสนทนาด้วย โดยมีใจความสำคัญ ดังนี้

1. สัญญาณของการหลอกลวง ( Signs of deception ) ที่สำคัญ

  • กริยาจะต่างไปจากเดิม ( Body language ) เช่น ท่าทางแข็งเกร็ง(stiff type) มือ แขน ขาเกร็ง ยืนกอดอก, หลบสายตา , ขาไขว่ห้าง , ยิ้มแห้ง ,บุคลิกเปลี่ยนไปจากปกติ ต่จะต้องพิจารณาว่าอาการแสดงที่ตรวจพบไม่ได้เกิดจากสภาวะจิตที่ว้าวุ่นของคนพูด
  • เกิดระยะห่างมากขึ้นขณะสนทนา (Physical contact distance ) โดยปกติคนที่มีความสนิทสนมกัน จะมีระยะห่างระหว่างกันไม่มาก แต่เมื่อเขาเกิดจิตที่ไม่ปกติขึ้นขณะสนทนา มักจะเกิดระยะห่างระหว่างสนทนาขึ้น
  • บังคับให้เสียงราบเรียบ (Monotone ) โดยปกติน้ำเสียงของคนมักเป็นท่วงทำนอง แต่ถ้าเกิดน้ำเสียงเกิดเป็นลักษณะโทนเดียวกันระหว่างสนทนา ให้ระวังไว้ แต่ในกรณีนี้อาจเกิดจากเขาตั้งใจมากก็ได้
  • อยากจะตอบคำถามอย่างเดียว (Answer only ) ไม่มีปฏิกิริยาอื่น นอกจากการตอบคำถาม เพราะกำลังตั้งใจหาคำตอบแก้ตัวอยู่
    ในการพิจารณา "สัญญาณของการหลอกลวง" นั้น ให้คำนึงถึงด้วยว่าบุคคลผู้นั้นอาจจะมีนิสัยหลอกลวงจนชำนาญ สามารถฝึกท่าทาง อากัปกิริยา น้ำเสียง จนเป็นปกติได้ (ราคะจริต)


2. ทำอย่างไรถึงจะได้ความจริง ( How to get the truths )

  • ทำให้เขาสะเทือนอารมณ์ หรือตั้งคำถามตรงๆเพื่อให้ตกใจซึ่งอาจจะได้ความจริงหรือมีพิรุธออกมา
  • กล่าวหาหรือพูดเหมาว่า เขาเป็นเช่นนั้น เพื่อดูปฏิกิริยา หรือกล่าวหาเกินจริง เพื่อให้เขาแก้ตัว
  • ให้ข้อแลกเปลี่ยนบอกประโยชน์ที่เขาจะได้จากการกล่าวความจริง และบอกถึงความเสียหายที่จะเกิดแก่เขา ถ้า ยังไม่พูดความจริง
  • ถ้าเป็นผู้มีอำนาจมากกว่า ควรใช้เหตุผล เรียกร้องความเห็นใจ จึงจะได้ทราบความจริงมากกว่าการใช้คำถามที่มีอารมณ์

3.กลยุทธ์ที่จะทำให้ได้ความจริงมากขึ้น

  • วิเคราะห์เป็นรายบุคคล (จริต) เช่น ให้ข้อมูลเกินจริง (วิตกจริต), ชอบให้แต่ข้อมูลในด้านดี ให้คนอื่นสบายใจ (โมหะจริต) ,ยึดแต่เหตุผลของตัวเอง (โทสะจริต) ,ต้องทำให้บุคคลนั้นอยู่ในสภาพจิตใจที่ไม่ปกติ จึงจะได้ความจริง (ราคะจริต)
  • เป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน ลักษณะคำถามเป็นเชิงชื่นชม มักใช้กับผู้ชำนาญงานหรือบุคคลระดับสูง หรือคำถามที่ทำให้เกิดความสนใจ

4.การหลอกตัวเอง

  • มีความเชื่อ เป็นตัวหลอกทำให้ไม่เห็นตรงตามความเป็นจริงในขณะนั้น วิธีแก้ คิดเสมือนว่าได้เห็นสิ่งนั้นเป็นครั้งแรก อยู่กับความจริงในปัจจุบัน ไม่ใช้ความรู้สึกเดิม
  • อารมณ์และความรู้สึก ที่สำคัญคือ ความกลัว ความรู้สึกผิด ความอยากรู้อยากเห็น ความรัก


5.กฎเบ็ดเตล็ด

  • คนแปลกหน้าให้ของ อาจจะมาขออะไรจากเราภายหลัง
  • โดนหลอกจากการสิ่งที่เห็น เช่น การขายสินค้าลดราคาที่เพิ่มจากราคาจริงมากแล้วตั้งราคาให้ลดลง
  • อย่าเชื่อตามคนหมู่มาก
  • อย่าเชื่อเพราะว่าเขาเป็นผู้ชำนาญในสิ่งนั้น เช่น หมอใส่เสื้อกาวน์ขาว (white coat effect)
  • อย่าคิดว่าสิ่งนั้นดีเพราะหายาก เพราะจริงๆ ของสิ่งนั้นอาจจะไม่ดี หรือเหมาะสำหรับเรา
  • อย่าเชื่อเพราะคิดว่าเขาอยู่เป็นฝ่ายเดียวกับเรา
  • ให้ระวังคนที่มายกยอ


www.drboonchai.com
คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461147เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท