Partnership


Partnership

Partnership

เป็นแนวร่วม ที่ไม่จำเป็นต้องร่วมทุนเท่านั้น ร่วมใจได้ ร่วมคิดได้ การเป็น Partnership ได้ ต้องพัฒนามาจาก Networking ก่อน มีความสัมพันธ์ที่ดี และชื่นชมซึ่งกันและกัน Partnership จะเกิดได้ต้องมาจาก 3 ส่วน คือ ใจ ความคิด และกาย
เมื่อถูกใจ ย่อมจะพัฒนาไปสู่จุดที่ไว้ใจ เชื่อใจ ซึ่งก็จะคุยเรื่องธุรกิจกัน เมื่อมีความคิดที่ตรงกัน ย่อมพัฒนาไปสู่ความร่วมมือทางธุรกิจ กลายเป็นการปฏิบัติร่วมกัน

"ถ้ามี Networking กัน แทนที่จะแข่งกัน พอเขาเห็นเราเป็นเพื่อน เขาจะไม่แข่งด้วย และบางทีแทนที่จะแข่งกัน กลายเป็นร่วมมือกันร่วมกัน หมายถึง ร่วมในสิ่งที่ร่วมได้ เพราะแต่ละคนต่างมีสิ่งที่ขาด"

เฟ้นจุดแข็งสร้างเครือข่าย

ขณะที่ Mr.Lee Scott, Representative of DBM ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาทางด้าน Outplacement เปิดใจถึงมุมมองของ Networking and Partnership ว่า เป็นไปได้ทั้งระดับบุคคล และระดับองค์กร แต่สิ่งที่ต้องเตรียมตัว คือ ต้องคิดว่าเราให้อะไรแก่เขา ผู้ซึ่งเป็นคนหรือองค์กรที่เข้าจะไปติดต่อ คบหาเป็นเครือข่ายกัน

"คุณต้องเข้าไปด้วยความสามารถ หลักที่คุณมีจริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมี เพียงแต่มีแตกต่างกัน เราต้องพยายามเฟ้นหาในสิ่งที่เรามี และให้อะไรได้ แก่คนที่เราจะไปพบ"

สำคัญมากที่สุด คือ ต้องให้ก่อน ซึ่งก่อนเริ่ม Networking กับใคร ต้องดูตัวเองก่อน แล้วดูว่าเขาต้องการอะไร มันเหมือนการจับคู่นั่นเอง
จากนั้นต้องรู้จักต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ Networking ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล องค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งที่เป็น องค์กรมุ่งกำไร และไม่มุ่งกำไร และธุรกิจไม่จำกัดว่า จะใหญ่หรือเล็ก ยิ่งเป็น SME การสร้าง Networking เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะให้ ผลตอบแทน กลับมามหาศาล "จริงๆ แล้ว Networking ต่างหากที่ช่วยเรื่อง การจ้างงาน ไม่ได้ Head Hunting หรอก แต่บางครั้ง การฝากงาน มาจากConnection โดยส่วนมาก ถ้าคนรู้จักก็แนะนำกันมา ก็จะง่ายขึ้น ดังนั้น Networking ไม่ได้ช่วยแค่เรื่องของ ประสิทธิภาพ มันช่วยให้เรามีโอกาสไปสู่ ตำแหน่งงาน ถ้ามองในเชิงทฤษฎี Networking ก็เป็นการแชร์ข้อมูลกัน เพราะโลกปัจจุบัน ชนะด้วยข้อมูล ถ้าไม่มี Network กับเขา จะได้ข้อมูลมาถึงเราได้อย่างไร" Mr.Lee กล่าว

'Networking' เป็นสิ่งที่คนเราทำมาตลอด ถือเป็นความสัมพันธ์ที่มีหลักการพื้นฐานง่ายๆ ดังนี้

1. ต้องมีทั้งการให้และการรับ ซึ่งหากมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่สามารถทำให้ความสัมพันธ์ยั่งยืน และความสัมพันธ์ที่ว่านี้ ต้องมีมากกว่าการรู้จักกันเพียงผิวเผิน
2. อย่าไปกำหนดว่า Networking เป็นความช่วยเหลืออย่างเดียว แต่รวมไปถึงการแชร์ความรู้ร่วมกัน
3. Networking เกิดจากพื้นฐานของความไว้ใจซึ่งกันและกัน ดังนั้นก่อนที่จะเกิด Networking ต้องเกิดการรู้จักกันก่อน และควรขยายออกไปเรื่อยๆ
4. การสร้าง Networking ที่ดีต้องสร้างตัวเองให้คนอื่นรู้จัก
5. เลือกสร้าง Networking กับคนบางคนเท่านั้น
6. ควรสร้าง Networking ในสายงานของตัวเองก่อนขยายไปยังสายงานอื่น

ทั้งนี้หนทางไปสู่การสร้าง Networking ต้องรู้จักที่จะสร้างตัวเองให้คนอื่นเห็น แต่ไม่ใช่การทำตัวเองให้ดูน่าหมั่นไส้ นอกจากนี้ยังต้องรู้จักโปรโมทตัวเอง และสิ่งสุดท้ายต้องทำให้คนที่มีอำนาจในองค์กรรู้จัก
"การสร้าง Networking อาจจะเริ่มจากวงในแล้วขยายไปยังวงนอก เช่น เริ่มจากการกลุ่มครอบครัว เพื่อน ลูกค้า ผู้จำหน่าย หรือคนที่ค้าขายด้วย คนที่มีโอกาสต้องติดต่อธุรกิจกันในอนาคต ผู้ร่วมงาน หรือคนที่ต้องเกี่ยวเนื่องด้วย และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ในอาชีพที่ทำอยู่ก็ได้"

การสร้าง Networking ให้ประสบความสำเร็จ คือ
1 .ต้องรู้จักออกไปพบคนอื่น
2. รู้จักทำตัวอ่อนน้อมในการเข้าหาคนอื่น
3. อย่าทำให้คนอื่นรู้สึกเกรงขามเพราะจะไม่มีใครกล้าเข้ามาหา
4. ต้องทำให้คนที่จะสนทนาด้วยรู้สึกดีกับตัวเอง โดยอย่าทำตัวยกตนข่มท่าน

อีกทั้งแนะต่อว่าการสร้าง Networking ที่ดี ควรสร้างเครือข่ายในการคบหา และจัดกลุ่มคนเหล่านั้นให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แล้วพยายามดูว่าเครือข่ายที่จัดให้อยู่กลุ่มเดียวกันนั้นมีช่องว่างหรือไม่ หากมีต้องพยายามซ่อมแซมช่องว่างนั้น อย่ามองอะไร ผิวเผิน รวมถึงอย่าทำให้คนอื่นรู้สึกแย่ในการคบกัน ตลอดจนพยายามช่วยคนรอบๆ ข้างให้ประสบความสำเร็จ ตามสิ่งที่เขาต้องการ และ ควรแบ่งปันข่าวสารความรู้ที่มีคุณค่ากับคนอื่น

การสร้างบทสนทนาเพื่อสร้าง Networking เขาได้แนะนำเทคนิคเอาไว้ว่า
1.ต้องมีการหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้อื่นที่จะเข้าไปทำความรู้จักเพื่อให้การสนทนาไหลลื่นไปได้
2.หลีกเลี่ยงบทสนทนาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
3.เรียนรู้ที่จะเริ่มบทสนทนาใหม่เสมอ
4.รู้จักที่จะยิ้มและแนะนำตัวเองกับคนอื่น พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับคนที่สนทนาด้วย

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461141เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท