เครือข่าย Networking


เครือข่าย Networking

 

เครือข่าย Networking

 

เครือข่าย Networking คือ ชีวิตคนเราจะประสบความสำเร็จได้ อยู่ที่การดำรงชีวิต ว่ามีเพื่อนไหม กินข้าวกินกับใคร หรือเก่งมาก แต่ต้องกินคนเดียว มีตอนหนึ่งของหนังสือ กล่าวถึงคนเรามักทำผิดพลาดในเรื่อง ที่รู้จักคน แต่แทนที่จะเป็น Network กัน กลับกลาย เป็นศัตรูกัน "แต่ก่อนผมไม่ค่อยมีความสุขในการเจอคน แต่ตอนหลังก็ต้องปรับตัว ส่วนใหญ่คนเก่งที่ไม่มองตนเอง โดยมากไปไม่รอด ซักคน ดังนั้นคนในยุคใหม่ ถ้าคลั่งความรู้ ก็เพียงแต่มีความสามารถ แต่ถ้าขาดการยอมรับก็เป็นใหญ่ไม่ได้ อดีตคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดี มักถูกมองว่าเป็นคนขี้ประจบ แต่ความจริงแล้ว ความสัมพันธ์ที่ดี ต้องมีความสามารถเข้ามา ผสมผสานอยู่ด้วย"

Network คือ การที่คนเรารู้จักบุคคล จากหลากหลายวงการ นอกจากเครือญาติ หรือเพื่อนฝูงความสัมพันธ์ที่ดี จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นพันธมิตร ที่ก่อให้เกิดกำไรสูงสุด มีการทำงานร่วมกัน และแชร์ผลประโยชน์ร่วมกัน

"อาจเห็นคนหลายระดับมี Networking แต่ก็ไม่เห็นว่า จะประสบความสำเร็จ เพราะเขาไม่รู้จักเปลี่ยน Networking มาเป็นผล ประโยชน์ ของตนเองและองค์กร"
Network มาก่อน Partnership ดังนั้นต้องรู้จักเขาก่อน จึงจะไปทำธุรกิจร่วมกันได้ เรียกว่า นำ Networking ไปสร้าง Partnership แล้วก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุด

หลักการสร้าง Network ที่ดีมีดังนี้

1. เป็นคนที่ชอบคบหาสมาคมกับคนหลายๆ กลุ่ม ต้อง "ชอบคน" ต้องถามตนเองก่อนว่า ตนเองจะเป็นคนแบบไหนต่อไป คนมีหลายชนิด อาจอยากเป็นนักวิจัย โดยไม่คบใครเลยต่อไปก็ได้
2. มีโลกทัศน์ที่กว้าง คือ มีความรู้ในหลายๆ ด้าน
3. พร้อมที่จะเรียนรู้ การคบใครซักคน ต้องพร้อมจะเรียนรู้จากเขา จึงจะประสบความสำเร็จสูงสุด "พร้อมจะเรียนรู้" ถือว่าสำคัญที่สุด เป็นความพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น อุปสรรคอันใหญ่ที่สุด คือ พูดข้างเดียว มั่นใจในตนเองสูงเกินไป จึงต้องรู้จักฟังก่อน ฟังแล้วจะออกความเห็นก็ได้ ความมีเสน่ห์ ไม่ได้อยู่ตรงที่ "ฉันรู้คนเดียว"
4. มีบุคลิกที่เข้ากับคนง่าย
5. รู้จักศึกษาบุคคลที่อยากจะรู้จัก เช่น ศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง และวิถีชีวิตของเขา "การศึกษาเขาก่อน มันดึงดูดความสนใจได้เร็ว"
6. มีการติดตามการสร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด เช่น เมื่อแจกนามบัตรไปแล้ว ต้องติดต่อ องค์ประกอบที่ทำให้การสร้าง Networking และ Partnership ให้ได้ผล ต้องเรียนรู้เรื่องของการความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม (Cross Cultural Management) รวมถึงการใช้ภาษาที่เหมาะสม ทันเหตุการณ์

ต้อง "เปิดเผย-เปิดกว้าง"

ทำอย่างไรจึงจะให้ประโยชน์ของ Network เพิ่มข้นเรื่อยๆ สิ่งแรกที่ ศ.ดร.จีระ แนะนำ ให้ต้องระลึกถึง คือ การพูดความจริงต่อกัน เช่น การสร้าง Network เพื่อให้คนภายนอกเข้ามาทำงานให้องค์กรหนึ่งอย่าง แต่กลับมีกฎระเบียบมากมายที่เป็นอุปสรรคต่อ Networking ที่ไม่เอื้ออำนวยความสะดวกให้งานประสบความสำเร็จได้เลย นั่นแสดงว่าคนภายนอกรู้สึกว่าตัวเองเป็น Networking จริงๆ หรือไม่ หรือถูกมองว่าเป็นเพียงผู้จ้างกับผู้รับจ้างงาน หรืออย่างเช่น โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง รู้ดีว่าการบริหารสถาบันการศึกษานั้นมีคน และงบประมาณจำกัด ถ้ารอแต่ความช่วยเหลือจากภาครัฐ จะล่าช้า เข้าใจจุดนี้ ย่อมรู้ว่า ถ้าต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ต้องรู้จักหาว่าแหล่งเงินอยู่ที่ใด และทำอย่างไรให้อีกฝ่ายหนึ่งตกลงใจช่วยเหลือ ต้อง Proactive

"Networking ไม่ใช่ตัวเราเก่งคนเดียว แต่ต้องรู้จักจะไปหาผู้ที่ช่วยเหลือเราได้ หรือ ระบบ Reference และโอกาสของ Networking ก็ขยายได้ด้วย โดยต้องรู้จักข้ามศาสตร์ เช่น ถ้าเรียนการเงินมา ต้องไปหานักการตลาด วิศวะ นักการทูต มาคุย ดังนั้นการสร้าง Networking ต้องมองอะไรให้ไกล

โรเบิร์ต ไรซ์ เคยกล่าวไว้ว่า Knowledge Worker ก็คือ คนที่รู้จักคนจากหลากหลายศาสตร์ เช่น จบวิศวกรรมซอฟท์แวร์ แต่รู้จักนักการเงิน นักการตลาด ย่อมอนาคตไกล ลองถามตัวเองสิว่า ตอนกลางคืน เจอใครบ้าง กลางวันเจอใครบ้าง ถ้าเจอแต่เพื่อน ร่วมงานหน้าเดิมๆ เจ๊ง! แน่นอนเราต้องรู้จักคนในฐานะเพื่อนฝูงได้ แต่เราต้องรู้จักเพิ่มเติมความรู้ของคน ที่อยู่ใน Opportunity set ของเรา เพื่อสร้างโอกาสให้ขยายไปเรื่อยๆ ไม่ได้รู้จักแต่คนกลุ่มเดียว"

อย่างไรก็ตาม แม้ ศ.ดร.จีระ จะแนะนำให้เปิดโลกทัศน์ให้กว้าง และพยายามทำความรู้จักกับคนให้หลากหลาย แต่การสร้าง Networking ก็จำเป็นต้องเลือกบางคนที่จะคบ เพื่อสร้าง Network ในเชิงลึก ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว หรือ ผลประโยชน์ระยะสั้นเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่ดี จะต้องเกิดจาก ความสุข และความสบายใจที่คบหากัน หรือ Comfort Level คือ ความรู้สึกเป็นเพื่อนกัน แล้วค่อยๆ ไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน
"การจะเป็นพันธมิตรกัน

1. ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
2. ต้องยอมรับ นับถือซึ่งกันและกัน
3. อย่าคบกันเพราะมีความรู้คล้ายๆกัน แต่ต้องคบกันให้มีความหลากหลายทางความรู้ และศักยภาพ เพื่อสร้าง Synergy ให้ได้ ต้องคิดแบบชนะ/ชนะร่วมกัน Win Win Situation "

Networking & Partnership เป็นหัวใจที่ทำให้ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ 2 คำนี้ มีหลายคนให้จำกัดความว่า หมายถึง หุ้นส่วนการลงทุน แต่สำหรับบริษัทแล้ว Networking ถือเป็นเรื่องของ สัมพันธภาพ

Networking มีลักษณะสำคัญ คือ

1. ไม่ต้องใช้วัยวุฒิ และคุณวุฒิ หรือวุฒิการศึกษา เพียงแต่ใช้ความรู้สึกว่าชอบคน ถ้าไม่ชอบคน เขาบอกว่า อย่าทำธุรกิจ ตราบใดที่ยัง อยู่ในวงจรธุรกิจ ต้องชอบคน ชอบสังคม และไม่เกี่ยง ไม่ดูถูกคน เพราะบางคนที่เคยมองว่าไม่เกี่ยวกับธุรกิจเลย ก็สร้างประโยชน์ให้ได้ มหาศาล ดังนั้นต้องรู้จัก ที่จะคุยกับคนง่ายๆ ด้วยความจริงใจที่อยากจะรู้จักจริงๆ

2. ไม่ต้องใช้ทุนสูง มันเป็นเพียงการเข้าไปให้ถึงคนที่ควรรู้จัก ซึ่งไม่จำเป็นต้องแต่งกายอย่างหรูหรา เพียงแต่ต้องเหมาะสม กับกาลเทศะเท่านั้น

3. ไม่ต้องใช้เวลาสูง เพราะคนที่อยากรู้จักก็ไม่ได้จะมีเวลาคุยกับเรามาก เขาเองก็อยากรู้จักคนอื่นเช่นกัน แต่จะคุยอย่างไร ในช่วงเวลาสั้นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสร้างสัมพันธภาพให้ดี

4. ไม่ต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรสูง ใช้เพียงปากและนามบัตร เพียงแต่คิดดี ทำดี พูดดี มองคนในแง่ดี ใครๆ ก็อยากคุยด้วย เพียงเท่านี้ ก็สร้าง Networking ได้แล้ว ที่สำคัญต้องไม่ลืมที่จะแลกนามบัตร เพราะตนเองอาจจะลืมว่า เจอใครบ้าง และจะติดต่อได้อย่างไร บันทึก ที่นามบัตรเสมอ ว่าเจอคนนี้งานอะไร เมื่อไร ประทับใจอะไรเขา และเขาชอบคุยกับเราเรื่องอะไร โดยปกติคนชอบฟังเรื่องที่เขาอยากฟัง

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461140เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท