การเป็นครู ผู้แนะนำ และแบบอย่าง (Role model)ที่ดี


การเป็นครู ผู้แนะนำ และแบบอย่าง (Role model)ที่ดี

การเป็นครู ผู้แนะนำ และแบบอย่าง (Role model)ที่ดี

ในทุกองค์กรย่อมต้องมีผู้นำ ขวัญ กำลังใจ ความรัก และศรัทธาของลูกน้องที่มีต่อผู้นำเป็นสิ่งที่มีความหมาย และสำคัญต่อองค์กรอย่างยิ่ง ไม่ต่างจากครอบครัวหนึ่งที่ต้องมี พ่อ แม่ ลูกที่ต้องเชื่อฟัง เคารพ อำนาจใน การบริหารจัดการของผู้นำย่อมมีอยู่ในตัวผู้นำอยู่แล้ว บทบาท พฤติกรรม และความรู้ของผู้นำ จะเป็นปัจจัย
สำคัญในการสร้างอำนาจของผู้นำที่แท้จริงอย่างยั่งยืน หาใช่อำนาจจากการแต่งตั้ง(Authority Power)ไม่

นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ และความสามารถ มีความเป็นครู(Teacher)ถ่ายทอดความรู้ เป็นพี่เลี้ยง (Coach)คอยแนะนำ และเป็นแบบอย่าง(Role model) ที่ดีให้กับลูกน้องได้ นอกจากนั้นยังต้อง สามารถสร้างขวัญ และกำลังใจ เรียนรู้อุปนิสัยจุดแข็งจุดอ่อนของลูกน้อง และสามารถใช้คนให้เหมาะสม
กับงาน ควบคุมและสร้างวินัยให้กับองค์กรได้ รวมทั้งการตัดสินใจที่รอบคอบและรวดเร็ว

20. ความเชี่ยวชาญ(Expertise) กับการใช้สัญชาตญาณ(Instinct)

นักบริหารที่เชี่ยวชาญ ผ่านประสพการณ์มามากมาย รับรู้ข้อมูลที่ประสพมาในอดีตสั่งสมเป็นความรู้ในความ เป็นมืออาชีพ มักจะมีสัญชาตญาณในการตัดสินใจได้รวดเร็วแบบอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจอะไรที่รวดเร็วและเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ของนักบริหารก็เป็นหลุมพลางอันหนึ่งที่บ่อย
ครั้งผู้บริหารประสพความผิดพลาด และต้องมาแก้ปัญหาภายหลัง ดังจะเห็นได้บ่อยครั้งที่เกิดขึ้นใน ธุรกิจ ทัศนคติ(Attitude) ของผูนำจึงเป็นสิ่งที่ต้องนำมาประเมินทุกครั้งก่อนตัดสินใจในโครงการไดๆ เพราะหาก ไม่ประเมินและเกิดความผิดพลาดไดๆที่เกิดจากผู้นำ ความผิดพลาดนั้นมักถูกกลบเกลื่อนด้วยการหาเหตุผล
มาอธิบายผ่านทางอำนาจของผู้นำนักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ย่อมต้องรู้จักประเมินความคิดตนเองให้รอบคอบ ก่อนสั่งการ เพราะความมีอำนาจ และประสพการณ์ที่มากกว่าคนอื่นอาจเป็นหลุมพลางในการตัดสินใจ ก่อให้ เกิดความล้มเหลวตามมาอย่างน่าเสียดาย

21. บุคคล(Person) เหตุการณ์(Event) หลักการ(Principle)

ในการประชุม บ่อยครั้งจบลงด้วยความขัดแย้ง หาคำตอบไม่ได้ เพราะสมาชิกไปมุ่งแต่ประเด็นใครถูก ใครผิดหรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใครเป็นต้นเหตุ ความเสียหายรุนแรงแค่ไหนแล้วเกิดการโต้แย้งไม่ยอมรับ ซึ่งกันและกันแม้ว่าการค้นหาและรับรู้ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ดี แต่หัวใจของการแก้ปัญหาอยู่ที่เอาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
ในอดีตมาวิเคราะห์หาหลักการหรือต้นเหตุ แล้วนำหลักการนั้นมาวางแผนสร้างแนวทางหรือเหตุการณ์ใหม่เพื่อ แก้ไขป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีควรมองเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตอย่างถี่ถ้วน แล้ววิเคราะห์หามูลเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นให้ได้เพื่อนำไปสร้างกระบวนการป้องกันแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำในอนาคต
และต้องจูงการประชุมให้มีข้อยุติในทิศทางดังกล่าวให้ได้ อย่าปล่อยให้การขัดแย้งบานปลาย หรือ ผู้นำลงไปเล่น กับเขาด้วยยิ่งไปกันใหญ่
เป็นพฤติกรรมที่ทุกคนชอบใช้เพื่อให้ได้ผลรวดเร็ว แต่หากอยู่บนความไม่รอบคอบ ผลเสียหาย ก็จะตามมาใหญ่หลวง จะเห็นได้ตั้งแต่การคิด การพูด การกระทำ การวางแผนกลยุทธ์ การสร้างยุทธ์วิธี ในการบริหารธุรกิจหรือแสดงออกของบุคคลทั่วไปโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา(Consequences) พฤติกรรมเช่นนี้มักเกิดกับนักบริหารที่ฉาบฉวย ขาดวิสัยทัศน์ ขาดความรู้ปฏิบัติชอบเสี่ยงพนัน มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ไม่ค่อยมีคุณธรรม จึงมองแต่เป้าหมายระยะสั้น(Short term goal) ไม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายระยะยาว(Long term goal)นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีควรเรียนรู้ที่จะเอา ประโยชน์ของการตัดตอนมาใช้ในกรณีที่จำเป็น เช่น การสรุปสาระในที่ประชุมไม่ให้ยืดเยื้อ หรือสร้างเป้าหมายระยะสั้นให้ลูกน้องมองเห็นผลงานได้เร็วเพื่อกระตุ้นขวัญและกำลังใจ อย่างไรก็ตาม
ต้องมองผลกระทบตามมาและวางแนวทางป้องกันเอาไว้ล่วงหน้าด้วย

การเผชิญกับคำนินทากาเลของผู้นำ(Gossip & Blame)

การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าคน ย่อมกลายเป็นบุคคลสาธารณะมากขึ้น ทุกเรื่องที่ตัดสินใจจะ กระทบต่อผู้คนรอบข้างไม่มากก็น้อย ไม่ว่าในเรื่องความคิดที่ไม่ตรงกัน ผลประโยชน์ ศักดิ์ศรี ทำ ให้หนีไม่พ้นในการที่จะถูกนินทาว่าร้ายในเรื่องงาน หรือแม้กระทั่งเรื่องส่วนตัวด้วยนาๆทัศนะที่มี ต่อผู้นำ เหตุการณ์เหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดความมั่นคงในอารมณ์ของผู้นำเป็นอย่างดี ผู้นำที่ Sensitive ก็จะเต้นไปตามเหตุการณ์เข้าทางผู้นินทากล่าวร้ายไปเลย

นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีย่อมต้องมองเรื่องการนินทา ของผู้อื่นอย่างมีสติ เยือกเย็น เพราะส่วน ใหญ่การนินทามักเกิดจากผู้ที่เสียผลประโยชน์ และมักไม่ค่อยเปิดเผย หากเรารับฟังมาอย่างใจเย็น บางครั้งเรื่องเหล่านั้นอาจสะท้อนให้เราเห็นในหลักการหรือความจริงบางอย่างที่แฝงอยู่ซึ่งสามารถ นำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก็เป็นได้ ให้ถือเสียว่าเป็นกระบวนการสะท้อนกลับ(Feed Back)ชนิด หนึ่ง เพียงแต่มันมาแบบไต้ดินเท่านั้นเอง

สัปปุริสธรรม 7 ธรรมมะของผู้บริหาร
ธรรมะหมวดนี้ของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยการประพฤติดีของสัตบุรุษ(คนดี) ซึ่งสามารถนำมา

เป็นหลักใช้กับการดำเนินชีวิต และใช้บริหารได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีวันล้าสมัย ธรรมะ 7 ข้อได้แก่

1. ความเป็นผู้รู้จักเหตุ(ธัมมัญญุตา) ค้นหาสาเหตุที่ไปที่มา ใช่ว่าแค่เห็นก็เป็นพอ

2. ความเป็นผู้รู้จักผล(อัตถัญญุตา) เมื่อรู้เหตุก็รู้ผลได้ เมื่อเจอผลก็ค้นหาสาเหตุได้

3. ความเป็นผู้รู้จักตน(อัตตัญญุตา) รู้กำลัง ความสามารถ พึ่งตนเอง เตือนตัวเองได้

4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณ(มัตตัญญุตา) รู้จักประเมินสถานการณ์ เหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง

รวมทั้งให้น้ำหนักกับเหตุการณ์ได้อย่างเที่ยงตรงสามารถเตรียมการ รับมือแก้ไขได้ล่วงหน้า

5. ความเป็นผู้รู้จักกาล(กาลัญญุตา)รู้จักกาละเทศะ เวลาที่เหมาะที่ควรในการทำกิจการไดๆ

6. ความเป็นผู้รู้จักชุมชน(ปริสัญญุตา) เข้าใจในวัฒนธรรมของชุมชนสังคมที่เราอยู่อาศัยและ

สามารถปรับตัว ให้อยู่ได้โดยราบรื่น

7. ความเป็นผู้รู้จักบุคคล(ปุคคลัญญุตา) เรียนรู้เข้าใจในบุคคลที่เราคบหาอย่างถ่องแท้เพื่อที่เราจะสามารถ

ปรับตัว หรือตอบสนอง สั่งการได้โดยการยอมรับ และลดการขัดแย้ง

ข้อคิดท้ายบท

"ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ผิดถูกล้วนเกิดจากสมมติเปรียบเทียบและจากการตัดสินของคน หมู่มากเป็นผู้กำหนด ความถูกผิดจึงไม่มีความแน่นอนตราบที่ความคิดของคนไม่คงที่ เวลา เปลี่ยนไป ที่ผิดอาจกลายเป็นถูก ที่ถูกอาจกลายเป็นผิด ทั้งนี้ สิ่งที่ชี้ผิด ถูก คือใจของคนและ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่แน่นอน ความเหมาะสมจึงเป็นเรื่องยากที่จะสรุปเป็นกฎ ได้แน่นอน ดังนั้น สิ่งที่แน่นอนจีรังที่สุดก็คือ "ความไม่แน่นอน" มนุษย์จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ตนเองตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความพอดี คนที่ยึดติดไม่ว่าจะเกิดจากกิเลสตัณหา หรือความไม่รู้ ยากที่ จะอยู่รอดอย่างสบายใจได้ในโลกนี้

ผู้บริหารที่มาเป็นผู้นำขององค์กร ไม่ว่าจะมาได้วิธีไหน อย่างไร พึงสังวรว่าเมื่อ เวลาเปลี่ยนไป

• ความสำเร็จหรือล้มเหลวหนึ่งครั้งมิได้หมายถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวทุกครั้งเสมอไป

• คนทำถูกหรือทำผิดหนึ่งครั้ง มิได้หมายถึงการทำถูกหรือทำผิดทุกครั้งเสมอไป

• ความรอบรู้ในวันนี้ มิได้หมายความว่ายังคงใช้ได้ในวันหน้าเสมอไป

• ตำแหน่ง ชื่อเสียง เกียรติยศ ที่มีในวันนี้ หาใช่สิงแน่นอนในวันหน้าเสมอไป

• ความร่ำรวย ยากจน ใช่คงที่เสมอไป

• แต่ การเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และมีคุณธรรม เป็นสิ่งที่ จีรัง ในการนำพาสู่ความสำเร็จที่ยังยืนตลอดไป

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461133เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท