การปกครองคนตามทฤษฎี "X" "Y" "Z" "W"


การปกครองคนตามทฤษฎี "X" "Y" "Z" "W"

การปกครองคนตามทฤษฎี "X" "Y" "Z" "W"

ทฤษฎีว่าด้วยการบริหารโดยมีข้อสมมติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความต้องการ แรงจูงใจ ที่ผู้บริหารต้องตัดสินใจใช้วิธีการบริหารตามแนวความเชื่อมากระตุ้นคน เพื่อผลงาน

ทฤษฎี X สมมติว่า บุคคลขี้เกียจ ไม่ชอบทำงาน ไม่ต้องการรับผิดชอบ และชอบวิธีสั่งการอย่างใกล้ชิด คนเหล่านี้ต้องใช้การให้คุณให้โทษเพื่อกระตุ้นการทำงาน

ทฤษฎี Y สมมติว่าบุคคลมีความรับผิดชอบในการทำงาน พอใจทำงานที่ดี ถ้าได้ผลตอบแทนที่ดี คนเหล่านี้ผู้บริหารเพียงใช้วิธีสร้างสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจที่เหมาะสมก็สามารถทำให้เขาทำงานอย่างตั้งใจ รับผิดชอบได้

ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีที่ญี่ปุ่นนำมาใช้โดย ให้ความไว้วางใจ และทำให้เขารู้สึกสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เพื่อสร้างความรับผิดชอบ จึงเน้นความสำคัญด้านสวัสดิการ ความร่วมกัน ศรัทธา ความไว้วางใจ
ทฤษฎี W เป็นแนวคิดใหม่ที่เชื่อว่ามนุษย์จะพอใจ และตั้งใจทำงาน เมื่อมองเห็นความสำเร็จที่สัมผัสได้ และจะ เกิดความมุ่งมั่นพยายามทำให้เกิดผลสำเร็จ ผู้บริหารต้องสร้าง Short term goal ให้เป็นตัวกระตุ้นการทำงาน

6. การนับถือตนเอง (Self esteem & respect)และการนับถือผู้อื่น

การนับถือตนเอง (Self esteem) ในบุคคล คือความรู้สึกที่ดีต่อการกระทำไดๆของตนเองที่เกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจ ให้เกียรติ นับถือตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสร้างความมั่นคงให้กับจิตใจ ความเชื่อมั่น ในการที่จะกระทำการไดๆออกไป การนับถือตนเองของบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้ในวัยเด็กประถมโดยเหตุการณ์จริง หรือสร้างขึ้นโดยพ่อแม่ โดย กระตุ้น (Booster)ให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจในการสร้างคุณงามความดี ความสำเร็จ ด้วยการชื่นชมและการชมเชย อย่างมีเหตุผลและไม่พร่ำเพรื่อจนเด็กไม่เห็นคุณค่า ขณะเดียวกัน เด็กควรได้รับการชื่นชมในการกระทำใดๆที่ เป็นการให้เกียรติ หรือเมื่อแสดงการห่วงใยความรู้สึกผู้อื่น พฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้เด็กซึมซับความภูมิใจใน การทำดี มุ่งมั่น เพื่อความสำเร็จ และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะเป็นผู้ที่รู้ค่าแห่งตน และเคารพคนอื่นเป็น เกิดความ เชื่อมั่นที่จะมุ่งทำดี สร้างความสำเร็จ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และเคารพกติกา สังคม นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีต้อง มีความมั่นใจ(Self confidence) เชื่อมั่นในตนเองต่อการตัดสินใจกระทำการไดๆ ในสิ่งที่ถูกต้องและ พร้อมจะ เผชิญกับผลลัพธ์ อย่างกล้าหาญ (Accountability) สามารถสร้างความสุขในการทำงาน ให้กับตนเองและให้เกียรติ
มองเห็น ความสำคัญของผู้อื่นได้

7. การแก้ไข (Correction) และการแก้ตัว (Excuse)

พฤติกรรมบุคคลโดยสัญชาติญาณ มักมุ่งแก้ตัว(Excuse) หาเหตุผลมาอธิบายพฤติกรรมที่ผิดพลาดของตนก่อนเสมอ โดยการพยายามปกปิด เบี่ยงเบน มองข้ามความจริงที่มีผลกระทบกับตนที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งมักทำให้การแก้ปัญหา ไม่ตรงเป้า และล้มเหลว นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ควรที่จะทำใจเป็นกลาง มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา (Objective Evidence) ปราศจากการใส่ความรู้สึกของตนลงไป (Bias) วิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อมุ่งแก้ไขให้ถูกต้อง และป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีก หากเรามุ่งแก้ตัวเพราะกลัวเสียหน้า สาเหตุของปัญหาก็ไม่อาจถูกแก้ไขและยังคงอยู่ ต่อไปพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ใหม่ทุกเมื่อ

8. การรู้จักให้ (Give) และรู้จักได้ (Take)

ในการทำธุรกิจทุกประเภท ลูกค้าคือผู้ที่ทำให้เจ้าของหรือผู้ให้บริการในธุรกิจอยู่ได้ กฎข้อนี้บางครั้งบางครั้ง ถูกมองข้ามไปอย่างลืมตัว โดยเฉพาะในลูกค้าบางกลุ่มที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมการพึ่งพาอาศัยมาแต่ดั้งเดิม เช่น ผู้ป่วยที่ต้องเข้ามารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลส่วนมากจะรูสึกว่าต้องมาพึ่งพาอาศัยมากกว่ามาซื้อบริการ และจะมีความศรัทธา เคารพให้เกียรติแพทย์ พยาบาลตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกระดับเมื่อมีปัญหาไดๆจากการ ให้บริการส่วนมากมักไม่กล้าแสดงออกด้วยเกรงใจ กลัวจะได้รับการบริการไม่ดีหากร้องเรียน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น จนบางครั้งทำให้ผู้ให้บริการบางคนเข้าใจผิดหลงตนอาจมองว่าเราเป็นผู้ให้ (Give)เพราะเขามาพึ่งพาเราแต่ แท้จริงเราเองต่างหากเป็นรับ(Take)ผลประโยชน์จากลูกค้าที่หยิบยื่นให้เรา และทำให้ธุรกิจเราอยู่ได้ ความรู้สึก เช่นนี้มักพบได้บ่อยๆในหลายอาชีพ เช่น ครู พระ แพทย์ ข้าราชการ อย่างไรก็ดี เหตุการณ์เช่นนี้เชื่อว่าจะค่อยๆ หมดไปด้วยสำนึกที่เปลี่ยนไปของทั้งสองฝ่าย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เสมอภาคกันมากขึ้น ผู้ไดที่ยังคง ไว้ซึ่งความเป็นศักดินา จะถูกต่อต้านในที่สุด

นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องแยกแยะอย่างเข้าใจใหม่ว่า ในสังคมแห่งการพึ่งพาอยู่ร่วมกัน บางครั้งเราไม่อาจสรุป ได้ว่า ขณะที่เราคิดว่าให้ผู้อื่น แท้จริงเรากำลังเอาจากผู้อื่นเช่นกัน ขึ้นกับมุมมองของใคร โดยเฉพาะการใช้อำนาจ ในการบริหารลูกน้อง จำเป็นที่ผู้นำต้องเป็นทั้งผู้ให้ (ความรัก เมตตา สอนสั่ง ความดีความชอบ ช่วยเหลือ )และเป็น ผู้รับ(ผลงาน การปฏิบัติตามคำสั่ง การรักษากฎระเบียบ การมีวินัย การเสียสละ การช่วยเหลือเจ้านายในทางที่ควร) เพราะสถานะของผู้นำ เกิดขึ้น และดำรงอยู่ได้จากการยอมรับของลูกน้องเท่านั้น



 

 


 

 


คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461131เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท