การไว้ใจ (Trust ) และการวางใจ (Reliance)


การไว้ใจ (Trust ) และการวางใจ (Reliance)

การไว้ใจ (Trust ) และการวางใจ (Reliance)

การเป็นผู้บริหารหรือผู้นำย่อมต้องอาศัยลูกน้องในการทำงาน ตามแผนงานที่วางไว้ คนที่รับมอบหมายงาน ไปย่อมพอใจที่จะได้รับความไว้วางใจในการทำงานด้วยความภูมิใจ แต่ในฐานะผู้มอบหมายงาน การไว้ใจ ให้ลูกน้องทำงานเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี หากไม่ไว้ใจก็ไม่ควรมอบหมายงานให้ อย่างไรก็ตาม ผู้ บริหารไม่ควร
วางใจในทุกเรื่องที่มอบหมาย เพราะวางใจมักจะทำให้ผู้มอบหมายขาดความสนใจ ในการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และตายใจ บางครั้งอาจเกิดผลเสียหายที่ร้ายแรงเมื่อรับรู้ภายหลัง และแก้ไขไม่ทันการ ผู้นำที่ชอบ วางใจลูกน้องให้ทำงานมักเป็นพวกไม่มีความรู้ในงาน และอ่อนแอมักจะหงุดหงิดและโทษลูกน้องเมื่อผลงาน
ล้มเหลว

นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีควรตัดสินใจคัดเลือกคนที่มีประสิทธิภาพอย่างรอบคอบให้ตรงกับความสามารถและ มอบหมายงานให้ โดยต้องแสดงความไว้ใจ เชื่อมั่นในตัวเขาเพื่อให้เกิดกำลังใจในการทำงาน แต่ก็ควรอย่า วางใจในว่าจะไม่เกิดปัญหาไดๆ ควรที่จะติดตาม รับทราบรายงาน ประเมินผลเป็นระยะ หากไม่เป็นไป
ตามแผน จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขอย่างทันการ จนกระทั่งถึงจุดเป้าหมายที่ต้องการ

17. ความเข้าใจไว(Sensible) และ ความอ่อนไหว(Sensitive)

บางคนเมื่อเผชิญเหตุการณ์ จะสัมผัสรับรู้รวดเร็ว และรับฟังอย่างตั้งใจ ใช้ไหวพริบปัญญาวิเคราะห์ เหตุการจากข้อมูล หาเหตุผลด้วยใจที่เปิดกว้าง พร้อมที่จะรบฟังผู้อื่น และค้นหาซักถามข้อมูลก่อน ไม่ด่วนสรุปโดยปราศจากข้อเท็จจริง เรียกว่า "Sensible" ส่วนบางคนที่เมื่อเผชิญเหตุการณ์ จะมุงแต่แสดง
ความคิดเห็น และด่วนสรุป(Jump Conclusion)บนสมมตติฐาน ความเชื่อ ของตนปราศจากการรับฟัง หรือศึกษาข้อเท็จจริงก่อน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "Sensitive" พฤติกรรมเช่นนี้มักเป็นเหตุของการถกเถียง อย่างกว้างไกลบนสมมติฐานแห่งความเชื่อที่ไม่มีข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ ทำให้ ในการประชุมสิ้นเปลืองเวลามาก และไม่อาจหาข้อสรุปได้ อีกทั้งเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในองค์กรตามมา อย่างไรก็ตามพฤติกรรม กลุ่มเช่นนี้ก็มีข้อดีในการใช้มาวิเคราะห์เรื่องยังไม่เกิดขึ้นจริงเป็นการใช้สมมตติฐานของแต่ละคนมาค้นหา แนวทาง(Brain storm by dialog &discussion) อย่างไรก็ดี ผู้แสดงความคิดเห็น และทุกสมมตติฐานที่เสนอ ควรอิงอยู่บนข้อเท็จจริงและความรู้ที่พิสูจน์ได้ มิเช่นนั้นจะเป็นเพียง "การขายฝัน"นักบริหาร หรือผู้นำ ที่ดี ต้องเป็นผู้รู้จักรับฟังผู้อื่น และเข้าใจเรื่องราวได้รวดเร็ว โดยอิงข้อเท็จจริง และเข้าใจถึง"ประเด็น" ของเหตุการณ์ได้ถูกต้อง วิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโยงไปสู่หลักการได้ แล้วใช้หลักการนั้นมาสังเคราะห์
สร้างแนวทางหรือเหตุการณ์ที่อยากให้เป็น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา

18.ปฏิกิริยา(Reaction)และวิธีแก้ไข (Solution)

ในการประชุม หารือ หรือแสดงความคิดเห็น(Brainstorm) ไดๆ เหตุการณ์ที่เราพบเห็นได้บ่อยคือการแสดง ปฏิกิริยาของผู้เข้าร่วมประชุมเมื่อมีผู้คัดค้าน เห็นตรงข้าม จะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้และมุ่งหักล้างเพื่อเอาชนะ ให้ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ใจยังปิดและสติยังไม่เกิด ปัญญายังมืดทึบ ทำให้เกิดโทสะ
ในตรงกันข้าม หากมีผู้เห็นด้วยสนับสนุนความคิดตน ก็จะเกิดความยินดี ชื่นชมความคิดเขาว่าดีที่เหมือนตน เป็นภาวะที่เรียกว่าโมหะ คือหลงไหลได้ปลื้มกับสิ่งเหล่านั้น ปฏิกิริยาตอบสนองทั้งไม่ว่าทางลบ หรือทางบวก เหล่านี้มักจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ยังหาจุดจบไม่ได้ ไม่ว่าการแสดงความคิดเห็นจะเป็นอย่างไรก็ตาม
จำเป็นต้องมีคำตอบ(Solution)ร่วมของกลุ่มออกมา เพื่อยึดเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันในสงครามย่อมต้อง มีฝ่ายแพ้และชนะ ในสงครามความคิดก็ย่อมต้องมีฝ่ายแพ้(กลุ่มไม่เห็นด้วย)และฝ่ายชนะ(กลุ่มเห็นด้วย) เช่นกัน นั่นหมายถึงคำตอบของที่ประชุม การประชุมไหนที่มีแต่การถกเถียงที่รุนแรงแล้วจบด้วยหาข้อสรุป
ไม่ได้ มิหนำซ้ำยังพกเอาความแค้นออกไปแสดงนอกที่ประชุมอีกถือว่าเป็นการประชุมที่ล้มเหลว ขณะเดียวกัน หากการประชุมไหนที่มีแต่คนเห็นด้วย ไม่มีการหยิบยกมุมมองที่แตกต่างมาอภิปราย การประชุมจบลง ด้วยความรวดเร็วและเงียบเชียบ ก็ไม่อาจถือว่าคำตอบที่ออกมาถูกต้องเสมอไป การอภิปรายและปฏิกิริยา
ในที่ประชุมที่พอดี จะทำให้ผลของการประชุมออกมามีความน่าเชื่อถือ เพราะได้มีการกลั่นกรองออกมาแล้ว นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ในฐานะที่เป็นผู้นำในการประชุม ต้องแสดงบทบาทผู้นำที่เข้มแข็ง รักษาวินัยใน ที่ประชุมได้ มีสติที่มั่นคงไม่คล้อยตาม หรือ ต้อต้านจนเสียศูนย์ แสดงความจริงใจที่จะให้เกิดผลสรุป
โดยความเห็นขอลกลุ่ม มีความยุติธรรม และกล้าตัดสินใจบนพื้นฐานของความน่าจะเป็น และรู้จักวิธี ระงับปฏิกิริยาของสมาชิกไม่ให้ลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ได้ ขณะเดียวกัน ก็สามารถกระตุ้นให้สมาชิก ออกความคิดเห็นเพื่อความหลากหลายในแนวทาง รวมทั้งการรักษาเวลา และเหลือเวลาที่เหมาะสม ในการยุติการประชุม

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461132เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท