วิธีศึกษาเพื่อให้เข้าใจผู้อื่น


วิธีศึกษาเพื่อให้เข้าใจผู้อื่น

วิธีศึกษาเพื่อให้เข้าใจผู้อื่น

การศึกษาผู้อื่นให้เกิดความพอใจ เป็นวิธีการของวิชามนุษย์สัมพันธ์ที่สำคัญประการหนึ่ง เราอาจศึกษาผู้อื่นได้จาก ภาษาพูด และท่าทาง โดยยึดหลักดังนี้
1. พิจารณาจากใบหน้า เช่น ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส หน้าบึ้ง หน้าแดง
2. พิจารณาจากสายตา เช่น ถ้ามองคนในระดับสายตา ถือว่าปกติ มองในระดับต่ำกว่า
สายตา จ้องตา หลบตา ถือว่ามีความในใจผิดปกติ
3. พิจารณาจากบุคลิก เช่น มือสั่น หายใจแรง ผุดลุกผุดนั่ง หรือสงบ เคร่งขรึม เย็นชา การ
พูดด้วยเสียงปกติ หรือรีบร้อน
4. พิจารณาจากเจตนา เช่น พฤติกรรมบางอย่าง ปิดประตูเสียงดังเพราะโกรธหรือไม่ตั้งใจ
พูดเสียงแข็ง เยาะเย้ยหรือล้อเล่น มาทำงานสายเพราะเบื่อหน่าย มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือเพราะไม่สบาย

วิธีปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์

การปฏิบัติต่อผู้อื่นเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้น ควรปฏิบัติด้วยความเข้าใจ ในลักษณะ "เอาใจเขามาใส่ใจเรา" และต้องศึกษาเพื่อทำควาวเข้าใจถึงธรรมชาติของความแตกต่าง ระหว่างบุคคล โรเบอร์ต เฮช. ลอสัน (Robert H> Lorson) ได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 ประเภท และได้เสนอแนะวิธีปฏิบัติกับบุคคลแต่ละประเภท ไว้ดังนี้
1. พวกดื้อรั้น เป็นพวกที่ชอบคัดค้าน ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง และจะแสดงความไม่พอใจเมื่อให้ปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
วิธีปฏิบัติ - ใช้คำสั่งเชิงขอร้องก่อนที่จะใช้อำนาจสั่งให้ปฏิบัติ
- ไม่ควรพยายามชี้ให้เขายอมรับความผิด แต่ควรชี้ให้เห็นผลประโยชน์
ของ
ส่วนร่วม และความยุติธรรม
- เมื่อเขาให้ความร่วมมือในเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรถือโอกาสชมเชยทันที
- พยายามให้กำลังใจช่วยให้เขาแสดงความสามารถเชิงปฏิบัติออกมา

2. พวกเฉื่อยชา เป็นพวกที่คิดแล้วคิดอีก และเสียเวลานานกว่าจะตัดสินใจทำอะไร
วิธีปฏิบัติ - เวลาออกคำสั่ง ควรพูดช้า ๆ ให้คำง่าย ๆ และชัดเจน อาจต้องทวนคำสั่ง
ด้วยและให้เวลาในการปฏิบัตินานพอสมควร
- ต้องทำให้เขารู้สึกว่ามีความสำคัญ และได้รับความเห็นใจ
- ให้คำชมเชยยกย่องการปฏิบัติของเขาโดยเร็วเพื่อให้กำลังใจ
- แสดงท่าทีเป็นมิตร และชี้ข้อบกพร่องอย่างตรงไปตรงมา และให้เวลา
พอสมควรในการปรับปรุงแก้ไข
- อธิบายเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน และให้เขาได้ซัก
ถามจนเข้าใจแจ่มแจ้ง และพอใจ
3. อารมณ์อ่อนไหว เป็นประเภทที่เห็นเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ ถูกกระทบไม่ได้โมโหง่ายและไม่พอใจเมื่อถูกสั่งให้ทำ
วิธีปฏิบัติ - เอาใจใส่เขาในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ความเห็นอกเห็นใจ และให้เขาได้ระบายความในใจ
- ให้คำชม หรือ คำเยินยอให้มากแล้ว จะได้รับความร่วมมือที่ดี รวมทั้งพยายามส่งเสริมจุดเด่น ชี้แจงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงให้เขาหายสงสัย
4. พวกขลาดกลัว เป็นพวกขี้อาย ไม่ค่อยมีความคิดริเริ่ม ไม่ค่อยกล้าซักถาม และเมื่อไม่พอใจก็ไม่แสดงออก
วิธีปฏิบัติ - อธิบายทุกอย่างให้ชัดเจน และทวนคำสั่งเสมอ
- คอยสังเกตความผิดปกติเพื่อให้รู้ว่าไม่พอใจสิ่งใด และให้โอกาสเปิดเผยความในใจ
- รีบชมเชย ยกย่อง เมื่อเขาแสดงความคิดริเริ่มที่เป็นประโยชน์
- พยายามไม่เอ่ยถึงข้อบกพร่องและความผิดพลาด แต่ควรพูดจาให้เขารู้สึกสบายใจ และชี้แจงถึงการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
5. พวกกล้าแสดงออก (กล้าแข็ง) เป็นพวกที่กล้าพูด กล้าโต้เถียง ถือความคิดตนเองเป็นครั้งคราวอาจขาดความรอบคอบในการทำงานต้องตรวจสอบอยู่เสมอ
วิธีปฏิบัติ - ใช้การขอร้องแทนการออกคำสั่ง และแสดงความเชื่อมั่นในตัวเขา แต่บางครั้งอาจขาดความรอบคอบในการทำงานต้องตรวจสอบอยู่เสมอ
- อาจต้องรับฟังเรื่องต่าง ๆ ที่เขาร้องเรียนบ่อย ๆ ควรใช้คำพูดเชิงเห็นใจ แต่อย่าชมเชยพร่ำเพรื่อ ยกเว้นงานที่เด่นจริง ๆ
- การชี้แจงเหตุผล และข้อเท็จจริงกันแบบตัวต่อตัวจะได้ผลดี เพราะเขาเป็นบุคคลประเภทไม่ค่อยยอมรับความจริง
- ใช้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงได้เพราะเป็นพวกที่ปรับตัวได้รวดเร็ว


 

 

 


 

 

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461137เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท