โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

เมื่อจริยธรรมถูกท้าทาย


เราข้าราชการในองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมองเห็นประชาชนของท่านทุกข์มากแค่ไหน...ระบบบริการของเราสอดคล้องหรือไม่กับสังคมปัจจุบัน.....long term care and palliative care เมืองไทยเราต้องปรับปรุงหรือไม่ถ้าปัญหาที่ผมพบมันมากมายกว่าที่ผมเห็น

เมื่อวานคุณพยาบาลไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยอัมพฤกษ์ พบว่าผู้ป่วยความดันต่ำ กินได้ลดลง เริ่มซึมลงแต่พอคุยรู้เรื่องเลยโทรปรึกษา ผมให้เจาะเลือดดู พบว่า มีลักษณะที่บอกว่าติดดเชื้อรุนแรง มีความเป็นกรดในเลือดสูงบอกได่ว่าเป็นลักษณะของ "ติดเชื้อในกระแสเลือด" พยาบาลเล่าให้ผมฟังว่าภรรยาเมาเหล้าและบอกว่าถ้าคนไข้จะไปก็ไปเถอะ (ใกล้ถึงเวลาเสียชีวิตทำนองนั้น)พร้อมกับด่า รพ.ว่ามาคราวก่อนดูแลคนไข้ไม่ดี พยาบาลฟังจนหูชา แต่พยายบาลผมเก่งที่พอจะรู้ว่าผู้ดูแลกำลัง burnout  ภรรยาไม่ยอมให้รถ รพ.ไปรับเพราะว่าอยากให้เสียที่บ้านอย่างสงบ

ผมเลยไปเยี่ยมคนไข้รายนี้ด้วยความคิดว่า "จากผลเลือดน่าจะใกล้เสียชีวิตในไม่ช้า CO2=11 (severe acidosis), Cr 5.6 (ไตวาย)" ปรากฏถึงบ้าน คนไข้มองผมคุยกับผมรู้เรื่องพอใช้ได้ มึนงงบางช่วง เงียบเป็นพักๆ เวลาถามตอบ ภรรยาไม่เมาก็คุยกันดี

ผม "เหนื่อยไหมครับพี่ต้องดูแลสามีมานาน" (เป็นคำแรกที่ผมถาม)

ภรรยา"แกเป็นอัมพาตมานานแล้วก็ดูกันมาตลอด แผลก็เกิดที่ รพ. หนูก็ทำจนแผลแดง" ผมดูแผลใหญ่มากกกกกก...แต่ แดงสด แสดงถึงว่าญาติทำได้ดีแน่ๆ ไม่งั้นเน่าแล้ว

ญาติ "เขามีประสบการณ์ดูแลคนไข้มาหลายคนตั้งแต่พี่ชาย พ่อ จนมาถึงคนนี้ (สามี)" คำพูดดังกล่าวแปลได้ว่ามีคนนอก approve ว่าคนดูแลก็มิใช่แย่ซะทีเดียว

ผมแจ้งผลเลือดว่าน่าจะติดเชื้อในกระแสเลือด...คนไข้หันมาบอกผมว่า

"อยู่บ้านก็ไม่ไหว พาผมไป โรงพยาบาลเถอะหมอ" เขาพูดถึงสองครั้ง

สีหน้าภรรยาเปลี่ยนและก้มหน้าเงียบ

ผมถามภรรยาว่า มีความเห็นยังไง "ลูกชายสองคนจะมาดูก็ไม่เห็นมา(ลูกชายภรรยาคนแรก)สงสัยที่ยังทนรออยู่ก็รอลูก"

ผมบอกกันภรรยาว่าอะไรที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่อยากเอาคนไข้ไป รพ....คำตอบคือ ความเงียบ

ผมเดาใจว่าคงเหนื่อยที่จะเฝ้าหรือไม่ก็อยากให้พ้นภาระอันหนักอึ้งนี้ไปเสียที ผมเลยพูดให้สติว่า

"พี่คงเหนื่อยมาก ลุงแกบอกว่าอยากไป รพ. ผมคิดว่าแกยืนยันสองครั้ง แกคงรู้ว่าอาการเป็นมาก ช่วงนี้ผมจะให้พยาบาลไปช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องนอน รพ.ส่วนพี่พักอยู่บ้านให้หายเหนื่อยก่อนนะครับ"

"ถึงลุงแกจะเป็นไรไปก็ถือว่าเราทำเต็มที่..ลุงแกก็กลัวความตาย....ให้แกได้เลือกชีวิตแกเองเถอะครับ ผมจะประสานที่หอผู้ป่วยว่าพี่คงไม่ไหว อาจยังไม่ต้องไปเฝ้าช่วงนี้"

ภรรยาเงียบ ผมตามEMS มารับไป รพ. โทรคุยกับพยาบาล case manager stroke ให้รับทราบฝากประสาน med ให้ช่วยดูต่อ

ผมคุยกับภรรยาให้กำลังใจ ภรรยาดูสีหน้าดีขึ้น ยิ้มออกที่มีคนเห็นว่าแกก็ได้พยายาม

case นี้ผมได้เรียนเรื่อง caregiver burden ควบคู่ไปกับ ethics รู้สึกว่าไม่ง่ายเหมือนกันเมื่อญาติกับผู้ป่วยคิดต่าง "เราต้องดูทั้งสองคนและรวมถึงภรรยาเขาด้วย" คนไข้มี autonomy (คนไข้เลือกชีวิตตัวเองได้) ส่วนภรรยาก็มีสิทธิที่จะได้รับความเห็นเห็นใจ....ประเทศไทยยังมีปัญหาแบบนี้อีกมาก..เราข้าราชการในองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมองเห็นประชาชนของท่านทุกข์มากแค่ไหน...ระบบบริการของเราสอดคล้องหรือไม่กับสังคมปัจจุบัน.....long term care and palliative care เมืองไทยเราต้องปรับปรุงหรือไม่ถ้าปัญหาที่ผมพบมันมากมายกว่าที่ผมเห็น

คำสำคัญ (Tags): #autonomy#caregiver burden#palliative care
หมายเลขบันทึก: 459234เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 01:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 07:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อยากได้แบบเสียที่บ้านแบบสงบเหมือนกันครับ

น่าเห็นใจทั้งคนป่วยและคนไม่ป่วย

ถ้าเลือกกันได้ก็อย่าป่วยดีกว่า

ดูแลตัวเองกันตั้งแต่วันนี้

จะได้ไม่ป่วยทั้งบ้าน

ดีไหมคะ

goal คือ "ปัจจุบัน"

ชีวิตคงจะไม่ได้มีแค่เริ่มต้นกับสิ้นสุดเท่านั้น แต่ "อยู่อย่างไร" ก็สำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้ที่กำลัง "หลอมรวมเป็นเรา" อยู่ตลอดเวลา

ผมชอบ "pause" ในบทความโรจน์ มันชะลอความคิดลง ทำให้ช้าลง แม้ว่าอยากจะอ่านไปตอนจบด้วยความคุ้นชิน และปุ่ม pause นี้ทำให้เราอยู่ได้ และเห็นปัจจุบันมากขึ้น

เดี๋ยวนี้คนเรา pause น้อยลง แต่กดปุ่ม skip มากขึ้นๆเรื่อยๆ

ผมนั่งมองรถมุกดาหาร-แม่สอด ผ่านหน้าบ้านหลายครั้ง พลางนั่งนึกไปว่าสักวันจะชวนอาจารย์โรจน์มาแลกเปลี่ยน หรือ กระโดดขึ้นรถไปแลกเปลี่ยน Palliative Care in Community เพราะผมเชื่อและรู้สึกว่า วัฒนธรรมแห่งวาระสุดท้ายของแต่ละที่ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเป็น อัตลักษณ์ ของหมอเวชศาสตร์ครอบครัวในเมืองไทยได้ดีทีเดียว อาจารย์สนใจเหมือนผมมั๊ยครับ

พี่หมอสีอิฐครับ

กัลยาณมิตรแม้ห่างไกล ใจถึงกัน วันนึงเราจะได้พบกันอีกแน่นอนครับ

คือ ผมกำลังเรียนรู้จากบทความของอาจารย์ แบบ" ไม่คาดหวังผลการกระทำ" ว่าเราจะรู้สึกผิดในใจมากไหมน่ะครับ

ขอบคุณสำหรับบทความเสริมกำลังใจ ในนามของกัลยาณมิตร ครับ

กับแนวคิดที่ว่า "ไม่เร่งและไม่ยื้อการเสียชีวิต" เข้าใจว่าทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่ักับการตัดสินใจของผู้ป่วยเป็นสำคัญใช่ไหมคะอาจารย์...ถ้าสมมติผู้ป่วยรายนี้อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ เช่น เบลอๆ สับสน ความดันต่ำ เหมือนที่พยาบาลประเมินได้ในตอนแรก เราควรจะตัดสินใจอย่างไรดีคะ...อยากเรียนรู้ด้วยค่ะอาจารย์

ขอชื่นชมในการแก้ไขปัญหาทั้งในผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลของคุณหมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท