การบริหารความเสี่ยง


การบริหารความเสี่ยง เครื่องมือสำคัญของการบริหารงานคุณภาพ

การบริหารความเสี่ยง เครื่องมือสำคัญของการบริหารงานคุณภาพ และการป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน

                 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการในการกระทำภารกิจว่าต้องมีเป้าหมาย  เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 ได้เห็นชอบให้นำการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ( Public sector Management Quality Award : PMQA ) มาใช้เป็นเครื่องมือผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

            ในด้านการควบคุมคุณภาพนั้น การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) เป็น

ประเด็นหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการเพื่อเป็นการเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่อาจเกิดขึ้นจาการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่สำคัญ ทั้งนี้การบริหารความเสี่ยงเป็นเทคนิควิธีการหรือเครื่องมือ ( Method or Material ) ที่ใช้ควบคู่กับการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ปรากฏในเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐหมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์   ( เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ที่มีทั้งสิ้น ๗ หมวด )

                        นอกจากนี้หากพิจารณาในด้านมาตรการในการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานราชการ แล้ว เทคนิคการบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.  2544 ข้อ  6 (2) องค์ประกอบของการควบคุมภายใน  ประกอบด้วย (ข)  การประเมินความเสี่ยง  และปรากฏในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2542 ข้อ 18 คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้  (2)      ประเมินระดับความเสี่ยงในการบริหารและดำเนินงาน ร่วมกับผู้บริหารและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบป้องกัน  เพื่อทบทวนและเสนอแนะมาตรการ   ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น  ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุง          ข้อบกพร่องของระบบการควบคุมภายใน เพื่อลดความเสี่ยงในการบริหารงานของผู้บริหาร  และเพื่อป้องปรามการทุจริตรั่วไหลในขั้นตอนการดำเนินงาน / โครงการของส่วนราชการ

                        ในปีงบประมาณ 2554 ตามแผนการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติและการตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้หน่วยงานในสังกัดนำเทคนิคการบริหารความเสี่ยงมาประกอบการวางแผนควบคุมกำกับโครงการสำคัญที่มีผลต่อการบรรลุยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยกำหนดให้พิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงในด้านบุคลากร ด้านการเงิน  และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ         โดยการพิจารณาวิเคราะห์เพื่อระบุความเสี่ยงด้านต่าง ๆ นั้น ต้องครอบคลุมแนวคิดด้านธรรมาภิบาล 10 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิผล ประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม ความโปร่งใส การตอบสนอง ภาระรับผิดชอบ หลักนิติธรรม การกระจายอำนาจ ความเสมอภาค และการมุ่งเน้นฉันทามติ โดยแผนการบริหารความเสี่ยงจะประกอบด้วยเนื้อหาหลักคือมาตรการแก้ไขป้องกันความเสี่ยง ทางเลือกที่เหมาะสมในการยอมรับหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงเป็นระยะๆ  ซึ่งหน่วยงานต้องสรุปผลและนำเสนอให้ผู้บริหารทราบ

หมายเลขบันทึก: 459156เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2011 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เดี๋ยวนี้ การบริหารความเสี่ยง ใช้ได้กับทุกองค์กร เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่ปู ขอบคุณที่มาให้กำลังใจครับ

คน...คือ กลไกของความเสี่ยง...
ให้กำลังใจ ครับ

สวัสดีปีใหม่ค่ะน้องซูเปอร์แมน

มีข่าวดีหรือยังเอ่ยคะ

อย่าลืมกระซิบบอกให้รู้กัน :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท