การพิจารณาเพื่อเข้าสู่โครงการมหาวิทยาลัยวิจัย


      ผมกำลังศึกษาแผนกลยุทธของหน่วยงาน ที่วิสัยทัศน์ระบุว่า ....เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย

      จึงสงสัยว่า ดัชนีชี้วัดความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีอะไรบ้าง  ค้นไปค้นมา เจอแต่ดัชนีชี้วัดความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นงานวิจัยของอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
      แต่ที่ใกล้เคียงที่สุด ก็มาเจอเกณฑ์การพิจารณาคัดกรองมหาวิทยาลัยที่มีสิทธ์ิเสนอแบบโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (2008) ซึ่งเป็นบทความที่คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เขียนไว้ ทำให้ทราบว่าเกณฑ์ของ สกอ. ที่พิจารณารับเข้าโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีดังนี้
      (1) ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อปรากฏในอันดับไม่ต่ำกว่า 500+ ตามนิยามการจัดอันดับในฐานข้อมูลของ THE-QS ประจำปี 2008 ซึ่งในปีแรกที่พิจารณารับเข้า มีมหาวิทยาลัยที่ผ่านเกณฑ์ข้อนี้จำนวน  5 มหาวิทยาลัย คือ 1)จุฬา 2)มหิดล 3)เกษตร 4)เชียงใหม่. 5)ธรรมศาสตร์ ที่เหลือไปเข้าหลักเกณฑ์ในข้อ 2
      (2) ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อในการจัดอันดับตามข้อ (1) มหาวิทยาลัยต้องมีผลผลิตที่ผ่านมา ดังนี้
          2.1 มีผลงานวิจัยในฐานข้อมูลระดับนานาชาติโดยภาพรวม (Scopus) ไม่ต่ำกว่า 500 เรื่องใน 5 ปีล่าสุด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีข้อมูล 1854 เรื่อง และ
          2.2 มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่น อย่างน้อย 2 ใน 5 สาขาของ THE-QS  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ผ่านการประเมินข้อนี้เช่นกัน และ
          2.3 มีสัดส่วนอาจารย์ปริญญาเอกมากกว่า 40% ของจำนวนอาจารย์ทั้งหมด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี 41%
       จากการประเมินดังกล่าว ทำให้มีมหาวิทยาลัยที่ผ่านการประเมินเข้ามาเป็นวิจัยอีก 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ 1)ขอนแก่น 2)สงขลานครินทร์ 3)บางมด 4)สุรนารี
       รวมมีมหาวิทยาลัยที่ผ่านเข้าโครงการมหาวิทยาลัยวิจัย 9  สถาบัน

      เพื่อจะตอบคำถามข้างต้นว่า ดัชนีชี้วัดความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีอะไรบ้าง แสดงว่าตอนนี้ยังตอบไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ การจัดอันดับ ซึ่งจะต้องมีผลการจัดอันดับในระดับโลก  ซึ่งจะทำให้อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศไปด้วย  คงต้องไปศึกษาเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับต่างๆ อีก

หมายเลขบันทึก: 459143เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2011 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท