เยี่ยมเกษตรกรถึงบ้านเรือนและไร่มัน


ไปศึกษาสภาพการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมการกระจายพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดี

เมื่อเร็วๆนี้ผมและทีมงานได้ออกไปศึกษาสภาพการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมการกระจายพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดี ที่ตำบลไทรงามอำเภอไทรงามจังหวัดกำแพงเพชร โดยการเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่เข้าร่วมการกระจายพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีในฤดูการผลิตปี๒๕๕๔

      การเยี่ยมเยียนเกษตรกรเป็นเทคนิคหนึ่งในงานส่งเสริมการเกษตรที่นักส่งเสริมการเกษตรจะต้องไปพบปะพี่น้องเกษตรกรถึงบ้านเรือนและไร่นาอาจจะเป็นในลักษณะพบปะเป็นรายบุคคลและแบบกลุ่ม ซึ่งจะทำให้นักส่งเสริมการเกษตรได้ทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงของวิถีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการทำงานส่งเสริมการเกษตรให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกรที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่

 

     ในเขตตำบลไทรงาม ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกมันสำปะหลัง ได้แก่พันธุ์ระยอง๕ ,ระยอง๗ ,ระยอง๑๑และพันธุ์ห้วยบง๖o เป็นต้น สภาพพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมักจะเป็นที่ราบ เนื้อดินร่วนเหนียว หากกรณีที่มีการยกร่องปลูกต่ำ ในช่วงฤดูฝน หรือหากช่วงที่ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน น้ำมักจะท่วมขัง

      แต่ก็มีเกษตรกรบางรายที่ไม่ได้ทำการคัดเลือกต้นพันธุ์มาก่อน ต้นพันธุ์มีอายุน้อยเกินไป และการตัดต้นพันธุ์ไว้นานหลายวันเกินไปก่อนที่จะนำไปปลูกในแปลงก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบของท่อนพันธุ์ที่ทำการปลูกไปแล้ว ต้นมันที่พบจะเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ

 

     โดยทั่วไปต้นมันสำปะหลังที่เกษตรทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม  ขณะนี้กำลังอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโตดี ศัตรูพืชยังไม่พบการระบาด แต่วัชพืชขึ้นในช่วงฝนตกหนาแน่นมาก การเข้าไปจัดการด้วยวิธีกลมักจะลำบาก บางรายจึงตัดสินใจใช้สารเคมีป้องกำจัด

 

     แต่จากการพูดคุยกับเกษตรกร ทางทีมงานก็เป็นห่วงในเรื่องสถานการณ์ศัตรูพืชที่เคยระบาดมาก่อนก็คือเพลี้ยแป้ง  โดยเกษตรกรได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อปีที่ผ่านมาก็เคยเกิดเพลี้ยแป้งระบาดมาแล้วส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงค่อนข้างมาก แต่ในปีนี้เกษตรกรผู้ปลูกมันฯได้แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีแช่ท่อนพันธุ์เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ในขณะเดียวกันจะต้องไม่ปลูกถี่จนเกินไป พร้อมทั้งต้องเฝ้าระวังตรวจนับและสังเกตจำนวนศัตรูพืชที่เกิดขึ้นในแปลงมันฯ หากพบก็ต้องหาแนวทางหรือวิธีการควบคุมที่ไม่ให้ศัตรูพืชได้เกิดการระบาดต่อไป

        จากการที่ได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมการกระจายพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดี ก็จะต้องดูผลผลิตที่จะต้องเก็บเกี่ยวราวเดือนกุมพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ว่าผลผลิตต่อไร่ของพันธุ์ที่ปลูกแต่ละพันธุ์จะเป็นอย่างไรหรือจะได้ผลผลิตกี่ตันต่อไร่ หากจะสังเกตการเจริญเติบโตของลำต้นในช่วงนี้ต้นมันเจริญเติบโตดี แต่ทางทีมงานก็ได้แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันฯได้บันทึกข้อมูลการปฏิบัติในแปลงให้ละเอียดไว้ด้วย

 

        ทั้งนี้จากการสังเกตการณ์รวมกลุ่มผู้ผลิตของเกษตรกรในชุมชน ได้เริ่มเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพมันสำปะหลังในชุมชน มากขึ้น นับว่าเป็นโอกาสดีอีกครั้งหนึ่งที่ทีมงานได้ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อที่จะหาแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังร่วมกับเกษตรกรต่อไป

 

เขียวมรกต

๖ กย.๕๔

หมายเลขบันทึก: 458872เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2011 07:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เคยทราบข่าวมาว่า มีบางรายปลูกมันได้ไร่ละ18 ตัน

  • ดีใจที่คุณลุงยังเหมือนเดิมครับ
  • ก็เข้ามา ลปรร.จากทีมงานกำแพงพชรอยู่บ่อยๆครับ
  • ผมเองเห็นว่าระบบ T&V เป็นระบบส่งเสริมที่น่าใช้สำหรับเมืองไทยอยู่นะครับ
  • ขอบคุณมากๆ ที่แบ่งปัน
  • ขอบคุณท่านอาจารย์โสภณ
  • ที่แวะมาทักทายเสมอมา
  • ขออภัยที่นานตอบเพราะไปต่างจงัหวัดฯเสียหลายวันครับ
  • เท่าที่เคยออกไปเยี่ยมเกษตรกรก็มีหลายรายที่ได้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • เพราะมีการเตรียดินดี มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดิน ใช้ท่อนพันธุ์ดี ใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม มีระบบน้ำดี และมีการดูแลรักษดีอย่างสม่ำเสมอ ย่อมจะได้ผลผลิตที่สูงครับ
  • ขอบคุณครับฯ

 

  • ขอบคุณท่านอ.บุญมี
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • ดีใจสุดๆเลยครับ
  • ฝากความคิดถึงทีมน่านทุกๆคน
  • หากมีโอกาสอยากจะไปป่าเมี่ยงอีกสักครั้ง
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท