Blue Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน


Blue Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน

Blue Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน

PDF

Print E-mail
 

.....เป็นแนวคิดที่มาจากนักวิชาการสองคนชื่อ W. Chan Kim และ Renee Mauborgne ซึ่งทั้งคู่เป็นอาจารย์จาก INSEAD สถาบันทางด้านบริหารธุรกิจชื่อดังในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับพัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการอื่นๆ ที่โด่งดัง นักวิชาการทั้งสองท่านได้ร่วมกันเขียนบทความที่นำไปสู่เรื่องของ Blue Ocean ในวารสาร Harvard Business Review 

.....หลักการของ Blue Ocean นั้น จะไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่มีอยู่ของตลาด แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ หรือที่เรียกว่า Demand Creation โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า และอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ความแตกต่างจากสินค้าอื่นๆในตลาด ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร

.....หลักการของ Blue Ocean Strategy นำเสนอว่า แทนที่จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะคู่แข่งขัน จะต้องแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็นทะเลที่แดงด้วยเลือด(red ocean) แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็อุปมาเหมือนกับเป็น Blue Ocean Strategy โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์อยู่ 4 ข้อได้แก่

1.การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เราเคยคิดว่า ลูกค้าต้องการ แต่จริงๆ แล้ว ในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้
2.การลด (Reduced) การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งเราอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้นๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริงๆ อาจจะไม่มากอย่างที่เราคิด
3.การเพิ่ม (Raised) ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม
4.การสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอ ในอุตสาหกรรมมาก่อน


กลยุทธ์ทะเลสีคราม (Blue Ocean Strategy) เป็นการมองเรื่องการเติบโตด้วยแนวทางใหม่ เป็นการโต้แย้งหลังการกลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy) ซึ่งการมุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่งและการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่แตกต่างกัน จะทำให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บตัวกันขึ้นทำให้เป็นที่มาของการแข่งขันกันแบบทะเลสีแดง ซึ่งกลยุทธ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้นมีแนวคิดจากกลยุทธ์ทางการทหาร

กลยุทธ์ทะเลสีคราม มุ่งหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบการกลยุทธ์ทะเลสีแดง โดยต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างหรือต้องสร้างความต้องการใหม่ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอโดยใช้ นวตกรรมใหม่ๆ (Innovation) หรือเป็นทะเลใหม่ซึ่งเป็นทะเลสีครามนั่นเอง และที่กลยุทธ์ทะเลสีครามได้รับการตอบรับดีเนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนครบ บริษัทต่างๆ ที่นำกลยุทย์นี้มาใช้ ได้แก่ สตาร์บัค ซีเอ็นเอ็น เป็นต้น และถ้าเราต้องการสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นแบบทะเลสีครามนั้น ต้องมาพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของเราในตอนนี้ซื้อสินค้าหรือบริการเราเนื่องจากราคาที่ต่ำหรือซื้อที่ความแตกต่าง แล้วจึงมาเริ่มมองว่าใครคือ Non-customer ซึ่ง Non-customer นี้ไม่ได้หมายถึงคนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของเรา แต่มองว่าเป็นคนที่ไม่ใช่ลูกค้าของดลาดในปัจจุบัน

 

ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลคราม

  •  เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีอยู่ในปัจจุบันและไม่ทราบมาก่อนว่ามีอุตสาหกรรมประเภทนี้อยู่ด้วย

  •  สร้างอุปสงค์ใหม่ขึ้นมา ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มาก

  •  ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง ไม่ปรียบเทียบกัน

  •  สามารถใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)

  •  มองภาพใหญ่ โดยไม่มุ่งเน้นเรื่องจำนวน และไม่ยึดติดกับผลการวิเคราะห์

  •  ใช้แรงจูงใจในการทำงานไม่ใช่แรงผลักดันจากรอบข้าง

 

 

ที่มา http://www.gracezone.org/index.php/management-article

หมายเลขบันทึก: 456645เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท