การใช้ข่าวสอนคิดวิเคราะห์ในวิชาสังคมศึกษา


กรอบของการวิเคราะห์ทำให้นักเรียนวิเคราะห์อย่างมีทิศทาง

       ในวิชาสังคมศึกษา ครูสามารถฝึกนักเรียนให้อ่าน คิดวิเคราะห์ได้มากมายหลายเรื่อง หลายประเด็น เช่นเรื่อง ปัญหาสังคมไทย เรื่องสถาบันทางสังคม และอีกหลายเรื่องๆ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครูสามารถสอนให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์จากข่าวหนังสือพิมพ์ โดยครูฝึกจากข่าวกรณีตัวอย่างข่าวใดข่าวหนึ่ง จากนั้นก็ให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์ด้วยตนเอง จากการฝึกคิดวิเคราะห์แบบนี้ซึ่งได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้ง รอบด้าน ซึ่งคุณครูสามารถฝึกฝนได้โดยยกตัวอย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน และจะทำให้นักเรียนมีวิจารณญานในการเลือกตัดสินใจกับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของเขาได้ดีทีเดียว โดยจะต้องกำหนดกรอบหรือประเด็นการคิดวิเคราะห์ให้ เพื่อนักเรียนคิดวิเคราะห์อย่างมีทิศทางไม่สะเปะสะปะ เมื่อนักเรียนมีทักษะความชำนายก็ไม่ต้องกำหนดกรอบอีก นักเรียนก็สามารถวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

       1. ให้นักเรียนเลือกข่าวที่เป็นปัญหาสังคมไทย เช่น ปัญหายาเสพติด        ความรุนแรงในครอบครัว ฯลฯ

       2. ให้นักเรียนนำข่าวที่เลือกมาติดในสมุดงาน

       3. กรอบ/ประเด็นในการกำหนดทิศทางให้นักเรียนวิเคราะห์

          3.1 ประเด็นแรกให้นักเรียนสรุปสาระสำคัญของข่าว  ครูอ่านข่าวที่นักเรียนปะติดไว้ในสมุดและประเมินว่านักเรียนสรุปได้ถูกต้อง ครอบคลุมประเด็นสำคัญหรือไม่

          3.2 ประเด็นที่สอง  ให้นักเรียนวิเคราะห์สาเหตุ (ครูอาจยกกรณีข่าวปัญหายาเสพติด หรือข่าวใดข่าวหนึ่งที่เป็นปัญหาสังคม) ซึ่งสาเหตุอาจจะมีในข่าวบ้างแล้ว ให้นักเรียนวิเคราะห์ได้อย่างกว้างขวางมากกว่าประเด็นในข่าวก็ได้ เช่น

               - อยากรู้อยากลอง

               - ถูกเพื่อนชักชวน ชักจูง

               - มีปัญหาครอบครัว

               - สิ่งแวดล้อมเต็มไปด้วยยาเสพติด ซื้อง่าย ขายคล่อง ฯลฯ

               - เสี่ยงแต่รายได้ดี (ผู้ค้ายาเสพติด)

          3.3 ประเด็นที่สาม วิเคราะห์ผลกระทบ(ตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและโลก)

               - ผลกระทบต่อตนเอง(หมายถึง บุคคลในข่าว และผู้วิเคราะห์ข่าวคือ นักเรียนเอง)

                              1) ถูกจับ สูญสิ้นอิสรภาพ หรือถูกประหารชีวิต ถ้าเป็นผู้ค้ายาเสพติด

                    2) ร่างกายทรุดโทรม สมองเสื่อม (ผู้เสพ)

                    3) เสียสติสัมปชัญญะ(ผู้เสพ)

                    4) เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศ (ทั้งผู้เสพ ผู้ขาย)

                    5) เสียอนาคต (ทั้งผู้เสพ ผู้ขาย)

                    6) ขาดความปลอดภัย ชีวิตไม่มั่นคง (ตัวนักเรียนเอง)

               - ผลกระทบต่อครอบครัว (ครอบครัวบุคคลในข่าว และครอบครัวของนักเรียนเองที่วิเคราะห์ข่าว)

                    1) เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียติยศ วงศ์ตระกูล (ครอบครัวผู้เสพ ผู้ขาย)

                    2) ครอบครัวขาดที่พึ่ง(บุคคลในข่าวอาจจะเป็นผู้นำครอบครัว) ขาดบุคคลอันเป็นที่รักของครอบครัว (ครอบครัวผู้เสพ ผู้ขาย)

                    3) เป็นที่รังเกียจจากบุคคลในสังคม ไม่คบค้าสมาคม (ครอบครัวผู้เสพ ผู้ขาย)

                    4) ครอบครัวเป็นห่วงสมาชิกในครอบครัวว่าไม่ปลอดภัยจากยาเสพติด(ครอบครัวของนักเรียนเอง)

               - ผลกระทบต่อชุมชน (ชุมชนของบุคคลในข่าว ชุมชนของนักเรียนเอง)

                    1) ชุมชนเสียชื่อเสียง เสียภาพลักษณ์ เสียบรรยากาศการท่องเที่ยว การลงทุน (ชุมชนผู้เสพ ชุมชนผู้ขาย)

                    2) ชุมชนตระหนัก ยาเสพติดอาจแพร่หลายมายังชุมชนที่นักเรียนอยู่ และหาทางป้องกันภัยจากยาเสพติด (ชุมชนของนักเรียน)

               - ผลกระทบต่อประเทศชาติและโลก (เป้าหมายของวิชาสังคมศึกษาคือการเป็นพลเมืองดีของชาติและโลก และให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งทุกอย่างต้องเกี่ยวพัน  จึงต้องวิเคราะห์ให้ถึงชาติและโลกด้วย)

                    1) เสียภาพลักษณ์ประเทศ เสื่อมเสียชื่อเสียง

                    2) ประชากรด้อยคุณภาพ เสียกำลังคนในการพัฒนาชาติบ้านเมือง

                    3) ประเทศขาดรายได้ จากที่ประเทศอื่นไม่กล้าเข้ามาลงทุนในประเทศหรือถอนการลงทุน ไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ                   

                    4) โลกมีบุคลากรที่ด้อยคุณภาพมากขึ้น การพัฒนาไม่ก้าวหน้า ยั่งยืน จาการแพร่หลายของยาเสพติด

                    5) ประเทศในโลกมีปัญหาต่างมากๆ ขึ้น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาจี้ปล้นทรัพย์

       4. เสนอแนวทางแก้ไขเพื่อปรับปรุง/พัฒนาโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ข้อนี้อาจจะบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปด้วยก็ได้ โดยให้ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนก่อน) 

               - ครอบครัวฝึกฝนให้นักเรียนเป็นคนจิตใจมั่นคง ยึดมั่นความดี ใช่จ่ายอย่างประหยัด ไม่สุรุ่ยสุร่ายฝึกให้นักเรียนคิดอย่างมีวิจารณญาน เลือกตัดสินใจที่ถูกต้อง(ความรู้จักประมาณ) 

               - ครูฝึกฝนนักเรียนฝึกการคิดวิเคราะห์  ผลดีผลเสียของการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด บอกเหตุผลในการตัดสินใจในการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ได้ (ความมีเหตุผล)

               - รัฐ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ปัจจัยปัญหายาเสพติด และป้องกันแก้ไข เช่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งมั่นคง รัฐควบคุมให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติรัฐ (ภูมิคุ้มกัน)

               - รณรงค์ลดปัญหายาเสพติด โดยให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ให้แก่ผู้ปกครอง เยาวชน บุคคลในชุมชน เพื่อให้ปฏิเสธยาเสพติด (ความรู้)

               - ครอบครัว โรงเรียน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของคนไทย เช่น ความเพียร ความขยัน ความอดทน ความพอเพียงความซื่อสัตย์สุจริต ให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อไม่ให้โลภไปประกอบอาชีพไม่สุจริต สร้างความเสียหายใจกับสังคม(คุณธรรม) 

      

 

หมายเลขบันทึก: 456640เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท