ป.เอก นวัตกรรมการจัดการรุ่นที่ 5 ที่สวนสุนันทา


การเรียนตั้งมีเป้าหมายอย่าเพียงแต่ตั้งรับอย่างเดียว ต้องรุกไปข้างหน้าเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่เราวางไว้

สวัสดีครับนักศึกษา ป.เอก รุ่น5 ทั้งที่อยู่ในกรุงเทพและศูนย์ต่างจังหวัด

รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ผมได้รับเกียรติมาสอน เเละมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทาง มรภ.สวนสุนันทาได้พัฒนาการสอนเป็นเเบบการถ่ายทอดทางไกลไปที่ต่างจังหวัดอีก 3 ศูนย์ คือที่ เลย  ภูเก็ต  โคราช

การเรียนการสอนในครั้งนี้นอกจากจะถ่ายทอดทางไกลเเล้ว ผมเปิด Blog นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่เเลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่าง ผม นักศึกษาทุกท่าน และคนทั่วไปที่ติดตามความเคลื่อนไหวของการเรียน ป.เอก

ผมอยากให้นักศึกษาทุกท่านค้นหาตัวเองว่าเราเรียนเพื่ออะไร เน้นงานวิจัยของเราจะทำอะไร เรียนอย่างมีเป้าหมาย เเล้วเราจะทำอะไรเพื่อสังคมได้บ้าง

                                                                   จีระ หงส์ลดารมภ์

กรณีศึกษาการสอน 25 ก.ย. 54

 

ปฐมนิเทศ

 

ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน

หมายเลขบันทึก: 456520เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (296)
นางสาวน้ำผึ้ง คะเชนทน (สวนสุนันทา กทม.)

ยินดีที่ได้รู้จักคะและดีใจที่ได้จะรับความรู้จากอาจารย์คะ

ศูนย์นครราชสีมา ยินดีที่ได้แชร์ข้อมูล กับ อาจารย์เรื่องเปิดเสรีเวทีอาเซียน ทำให้ นศ ตื่นตัวกันมาก

ว่าที่ร้อยตรีหญิงอัชฌาวดี ตันเจริญ (สวนสุนันทา)

สวัสดีค่ะอาจาย์ รอเรียนกับอาจาย์มาตั้งแต่เทอม 1 แล้วค่ะมาได้เรียนเทอม 3

ยินดีที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์ครับ

ทดลอง.. สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกท่าน Logistic(การขนส่ง ลดต้นทุน) สำคัญมาก เช่น Tessco Lotus ไม่ให้คนของเรามาขนของแล้วนะ ถ้าเจรจาต่อรองไม่เก่ง ใช้ Game Theory ในการเจรจาต่อรองนะครับ จากประสบการณ์ในการสรรสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ต่างๆในองค์การ และการประยุกต์ใช้ 5 ทักษะที่สำคัญ อันประกอบด้วย การคิดเชิงระบบ (System Thinking) รูปแบบการคิด (Mental Model) การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery) การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง (Self-Directed Learning) และการเสวนา (Dialogue) การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ และการทำงานลักษณะที่เป็นทีม (Team work) เป็นการเปลี่ยนองค์การที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้มาก่อน  ได้เข้าใจถึงบริบท และการประยุกต์ใช้ วิธีการต่างๆ ในการสร้างงานในลักษณะที่แตกต่างออกไป การเรียนรู้เชิงปรับตัว (Adaptive Learning) การเรียนรู้เชิงคาดการณ์ (Anticipatory Learning) และการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Action Learning) ก็เป็นหัวใจสำคัญนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอบคุณมากนะคะ ดีใจที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์อาจารย์ค่ะ

ปฐมพร เปล่งคงคม ศูนย์นครราชสีมา

ทดสอบblog ยินดีครับ่ที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์

สวัสดีค่ะ ดีใจที่ได้เรียนกับอาจารย์ค่ะ และสนใจเกียวกับเรื่องเสรีอาเซียนค่ะ

ปฐมพร เปล่งคงคม ศูนย์นครราชสีมา

ทดสอบblog ยินดีครับ่ที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์

เพราะ “คน คือ ทรัพยากรอันมีค่าที่หายากที่สุด” ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน เป็นยอดปรารถนาของทุกองค์กรและทุกองค์กรต้องอาศัย“พนักงาน”ในการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดให้ได้กำไรอยู่รอด และเจริญก้าวหน้าไปอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth) ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ผู้บริหาร/ ผู้บังคับบัญชา ทุกคนทุกระดับชั้นในองค์กรพึงหันมาให้ความสนใจทุ่มเทอย่างจริงจังในการ“พัฒนาและรักษาทรัพยากร บุคคล” ขององค์กรทุกคนเป็นอย่างระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้เป็น “ต้นทุน”ที่เหมาะสมที่สุด

ของการประกอบธุรกิจตลอดเวลา

ทดสอบBlog ศูนย์นครราชสีมา ปฐมพร เปล่งคงคม

การสอนของอาจารย์ดร.จิระฯ จะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก มนุษย์หรือคนคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด จาก quatation ของอ.พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และที่อาจารย์ดร.จิระฯ ได้พูดไว้คือ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุครื่องบัน ไม่ใช่ เงิน สิ่งของหรือเครืองจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล ซึ่งดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง....

การเรียนในวันนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ Concept 4l's 2R's Creativity and Innovation ทุนมนุษย์ 8K's 5K"s โลกาภิวัฒน์และผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น Information Technology รวมทั้ง Nanotechnology Biotecnology การค้าเสรี การเงินเสรี บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา Global warning Green ฯลฯ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ความเสี่ยง เศรษฐกิจแบบสร้างสรร (Creative economy) และให้โอกาสนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างดีเยี่ยมทำให้เกิด Value Diversity

สุดท้ายอาจารย์ได้สรุปูการเรียนรู้ที่ตรงประเด็นนละเป็นไปค่อนข้างมาก สิ่งที่สำคัญคือทุนทางนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงจากMacro ไปสู่Micro พื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8 K's : ทฤษฏีทุน 8 ประเภท). การรองรับ Asean เสรี และการก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแรงด้วย การตัดสินใจระยะสั้นต้องไม่ทำลายระยะยาว การไฝ่รู้ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องและระยะยาวอย่างยั่งยืน

ตลอดชีวิต

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดีใจที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์ สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ คิดว่าจะนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้พัฒนา ให้มากที่สุด

รัตมณี (สวนสุนันทา,กรุงเทพ)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ขอบพระคุณมากค่ะที่ได้เป็นลูกศิษย์ท่านเพราะปลื้มท่านมานานแล้วฟังท่านบรรยายแล้วเกิดแรงบันดาลใจมากค่ะและเห็นว่าคนไทยเก่งไม่แพ้ชาติไหน ๆ ค่ะ พิมพ์บุญ พันสวัสดิวง นักศึกษา ป.เอก ศูนย์จังหวัดเลย หนังสือยังไม่ได้รับน่ะค่ะ การบ้านเลยยังไม่ได้ทำส่งอาจารย์ค่ะ

ถึง ลูกศิษย์ ป.เอกสวนสุนันทาทุกท่าน

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึกษาพารณ – จีระ…มุ่งมั่น…พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 – 208 ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (นำเสนอเป็นโครงการฯ จากข้อมูลข้างล่างนี้)

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน เสนอ

•ความคิดใหม่ (Idea)

•ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

•ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

2. เสนอเป็น

•การเขียนโครงการ Project Proposal

•การนำเสนอโครงการ Project Presentation

•การขออนุมัติ Project Approval และ

•การบริหารโครงการ Project Implementation

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

สรุป ป.เอก นวัตกรรมการจัดการ 28 ส.ค. 54

การเรียนในยุคใหม่

•การเรียนต้องมอให้เป็น Process

•เป็นการลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ในการเรียน ป.เอก

•การเรียนต้องเอาชนะอุปสรรค

•เป็นส่วนหนึ่งของ Chain Value คือ เพื่อจัดการตัวเองในการสอบวิทยานิพนธ์ในสำเร็จ เป็นคนที่มีความรู้และมีใบอนุญาตให้มีการเรียนจนจบ

ปัญหาการเรียน ป.เอก

•คือการที่คน Supervise จะมีประสบการณ์น้อย อาจารย์ประจำไม่มีอาจารย์ประจำที่เก่งๆ

•ค้นหาตนเองไม่เจอว่าเรียนเพื่ออะไร

•มีความไม่แน่นอนมากมาย

การเรียนที่นี่คือการที่ลงทุนให้นักศึกษาแข่งแกร่ง

ที่ผ่านมา 4 รุ่นที่ประสบความสำเร็จอีกอย่างคือการหาความรู้ด้วยตนเอง

การเรียนต้องมี Process ไปสู่การเขียนวอทยานิพนธ์

ต้องมี Value เพิ่มขึ้น

Value Added = การเพิ่มพูนทางความรู้

Value Creation = คือการร่วมกันคิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้าง Concept ใหม่ๆขึ้นมา HR คือสิ่งที่อยู่ข้างใน เพื่อหาสิ่งที่วัดไม่ได้ Intangible เพราะมนุษย์มีสิ่งที่ต่างจากสัตว์เพราะมีจินตนาการ Human Imagination เพื่อให้มนุษย์มีศักยภาพให้มากขึ้น System Think คือการสร้างการเรียนที่มีคุณค่ามากที่สุด

Value Diversity = ต้องเอาความหลากหลายมาสร้างความเป็นหนึ่งและมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ เช่น การเปิดอาเซียนเสรีในปี 2556 หรือเรื่อง Age Group

วิทยาพนธ์ที่ดี

•การต้องโจทย์ที่ท้าทาย (Hypostasis)

•มีประโยชน์ให้สังคม

•เอาประเทศไทยเป็นบริบท

ไม่มีการหยุดการเรียนรู้

การสร้างนวัตกรรมคือการสร้างอะไรที่ใหม่

ทุนทางความสุขกับการทำงานอย่างมีความสุขต่างกัน

ทุนทางความสุขของผม (ต่างกับ Quality Of Work life )

•Health

•Passion

•Purpose

•Mean

• Capability

วัตถุประสงค์การเรียน

1.เรียนเพื่อนำไปใช้ และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตรขึ้นอยู่กับผู้เรียน

2.ถ้าสนใจอะไรก็สามารถเพิ่มเติมได้

3.อาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้ เป็น Coach เป็น Facilitator บรรยากาศการเรียนต้องเป็นบรรยากาศที่สร้างสรรค์

4.หาหัวข้อวิจัยที่เป็นประโยชน์ อะไรคือหัวข้อที่น่าสนใจ แต่ Manageable วิธีการทำอย่างไร

5.สร้าง Ideas ใหม่ ๆ สร้างนวัตกรรมทางความคิด

6.มีอิทธิพลต่อสังคมและธุรกิจเรื่องทุนมนุษย์เพื่อการรองรับเสรีอาเซียน จะเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม คือ Diversity ขยาย มูลค่าเพิ่ม ไปสู่อาเซียนเสรี

•พัฒนาศักยภาพเรื่อง ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน

•ค่านิยมเรื่องอาเซียเสรี เพราะยังมองว่าประเทศอื่นยังด้อยพัฒนาอยู่

•ข้าราชการไทย

•พัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจเช่น เกษตร การท่องเที่ยว โลจิสติกส์

ทุนมี 4 ชนิด คือ การเงิน, โรงงาน, ทุนทางธรรมชาติ, คน

พัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11

•Knowledge Base Society

•Creative Economy

•Life Long Learning

•International Business

เรื่องทุนมนุษย์มี Quality กับ Quantity และต้องสร้าง Networking เพราะเราไม่มีทรัพยากรมาพอ เราต้องแบ่งกันกิน

นวัตกรรมในการเรียน

•มีความรู้ มีฐานข้อมูล นวัตกรรมหลายอย่างจบลงเพราะไม่มีข้อมูลที่ดี

•มีความคิดสร้างสรรค์

•มีความคิดใหม่

•Turn Idea Into Value

Innovation คือ การสร้างนวัตกรรม การคิดใหม่ๆเสมอ

Innovative คือ นวัตกรรม

Macro ไปสู่ Micro คือ การเรียนจากภาพใหญ่ให้เข้าใจปัจจัยภายนอกที่มีทั้งบวกและลบก่อน เช่น เศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อน นโยบายที่ผลิตบุคลากรก่อนเข้ามาทำงานในองค์กรน่าเป็นห่อวงที่สุด

Sequent Model เป็นเริ่มขึ้นอย่างไร โตขึ้นมาก็เป็นอย่างนั้น ต้องหาช่องว่างในกับตนเองแล้วเติมเข้าไป

คิดว่าหลักสูตรนี้เป็นอย่างไร(ศูนย์กรุงเทพ)

•คิดว่าจะช่วยเรื่องคิดวิทยานิพนธ์ได้

•หนักใจเรื่องภาษสิ่งที่ได้คือต้องหาคุณค่าในตัวเองให้เจอ

อ.จีระ : ต้องเน้นเรื่องการเรียนเป็นทีม

•อยากเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง

•เพื่อหาแนวทางการพัฒนาในเรื่องงานที่ทำอยู่คือด้านการศึกษา

อ.จีระ: การสร้างนวัตกรรมต้องสร้าง network

•อาจารย์ จะสอนในเรื่องการปฏิบัติด้วย ทฤษฎีต่างๆของอาจารย์สามรถปรับใช้ได้กับทุกองค์กร

การเรียนในห้องคือการที่เราเอา Tacit intellectual ออกมา มีพลังขับดันในการหาหัวข้อวิจัยให้ได้

•การเอาแผน 11 มาปรับใช้การทำนโยบาย Buddhism in ASEAN

อ.จีระ : น่าทำเรื่อง Integration in ASEAN

นวัตกรรมคือการมีอะไรใหม่ๆเสมอ อย่างการเรียน ป.เอกต้องเกิดการกระตุ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์

3 เรื่องที่เราต้องคำนึงถึงคือ ความคิดใหม่ๆ คิดอะไรด้วยตัวเองโดยที่เจ้านายเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้ออก

การที่ตัดสินใจพูดเรื่องนวัตกรรมความเห็น และประยุกต์กับสถานการณ์ที่เป็นความจริงได้

Imagination

Creativity

Innovation การที่เรามี Idea ใหม่เสมอ อ.ไม่เคยคิดที่จะให้ลูกศิษย์มีส่วนร่วม ต้องเกิดการปะทะกันทางปัญญาจึงเกิด นวัตกรรม เพราะ อ.ในยุคนี้เอาสิ่งที่มาสอนคือการที่เราลอกเขามา สิ่งที่เกิดนี้เพราะเมืองไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

วันนี้สิ่งที่เกิดคือเรื่อง Social Community เราต้อง apply

แต่ Innovation ในประเทศไทย มีปัญหาคือเรื่องงบประมาณ เราก็ต้องแก้ปัญหาโดยการคิดนอกกรอบ

เมื่อเราทำได้

Project Proposal

Project Presentation

Project Improve

Project Implementation

ดูเทปแล้วคิดอย่างไร

•ฐานความรู้ต้องแน่น ต้องเข้าใจระบบ ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์เกิดมาจากไม่มีอะไร ความคิดเป็นระบบต้องมาก่อน (สมองด้านซ้าย) คิดแบบวิทยาศาสตร์ต้องมาก่อน แม้แต่พุทธศาสนาก็สอนเป็นวิทยาศาสตร์ก่อนให้เข้าใจความเป็นจริง

อ.จีระ: การนำนวัตกรรมเข้าไปใช้ได้ง่าย แต่การทำให้สำเร็จยาก เอาจริง กัดไม่ปล่อย อดทน

•วิทยานิพนธ์นวัตกรรมทางด้านการศึกษาต้องการจะยกระดับสถานศึกษาขึ้นมาให้เทียบเท่ากันโรงเรียนทั่วไป

อ.จีระ : ต้องตั้งโจทย์ให้สอดคล้องกับงานของเรา

•การนำ Chain value คน เทคโนโลยี เงิน เพื่อ improve นักเรียนของเราให้ได้มาตรฐานในเขตโรงเรียน

อ.จีระ : น่าทำเรื่องเขตการศึกษา น่าสนใจเรื่อง Conflict ในเรื่องการศึกษาเพราะผู้น้อยไปดูแลผู้ใหญ่

•การเมืองในสถานศึกษาคือการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง จึงเกิดปัญหาเรื่องการทำงานเป็นทีม และรู้จักว่าจะแลกเปลี่ยนศักยภาพซึ่งกันและกัน

อ.จีระ : อย่างนี้คือ Management Innovation

•นวัตกรรมต้องมีกระบวนการ ที่ศึกษาให้ดีอย่างท่องแท้เป็นการตลาด แบบไม่มีการจ่ายเงินSocial Marketing

อ.จีระ : ทุกเรื่องที่เราจะพูดต่อไปนี้คือ เรื่องทุนมนุษย์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

อ.จีระ : ฉะนั้นทุกวันต้องสำรวจตัวเองว่าได้อะไร แล้วดูว่าไปสู่ Value 3 ตัวหรือเปล่า นี่คือหนทางไปสู่ Innovation

อ.จีระ : Skill ต่างๆ นอกจากคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ แล้วต้องมี Networking การที่เราจะมี Networking ต้องมีความรู้ และสร้างพันธมิตร

สวัสดี ครับ อาจารย์

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

ศูนย์นครราชสีมา ครับ

ปรารถนา เชาวน์เสฏฐกุล

เรียน อ.ดร.จีระ ที่เคารพ

งานที่อาจารย์มอบหมายให้ อ่านบทที่ 10 แล้วให้นักศึกษานำเสนอโครงการอะไรก็ได้ที่เป็นการพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ โดยโครงการนั้นต้องเป็นนวัตกรรม

สุธาสินี และ พีชะพะงา นิรัตติมานนท์

I and my younger twin sister had a great chance to listen Phuket Creative Tourism Forum seminar. This seminar held at Royal Phuket Marina. The forum was organized by the Phuket Tourism Association (PTA) in conjunction with Phuket Rajabhat University Faculty of Management Science. The first time that we saw Prof Chira Hongladarom. ^__^ ^__^

Still remember, Aj. Chira said that “Phuket should focus on maintaining brand positioning and we should bring in more creative persons from throughout ASEAN to work with us, because everybody already wants to come here for vacation. We need to offer something different,” and “IT facilities and human capacity should also be a primary focus of development.”

We also agree with your ideas. Thailand will join AFTA in next three years and four month, which means stronger competition among ASEAN members. The challenge is how to preserve the good things that Phuket has, how to develop human potential to compete with other ASEAN tourist cities, and how to create Phuket tourism as sustainable industry.” We sure that we can find this answer in this great classroom.

Thank you very much. ^^ ^^

Miss Sutasinee Nirattimanon (สุธาสินี นิรัตติมานนท์)

Miss Peechapanga Nirattimanon (พีชะพะงา นิรัตติมานนท์)

Phuket province center (ศูนย์ภูเก็ต)

PS. We are twin. Many confuse us Who and Who ?? :) :)

เรียน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพ

จากการเรียนของอาจารย์ เป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษา มีความมั่นใจ เกิดพลังและพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อการพัฒนาการศึกษา

ของไทย ให้ก้าวไกลอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ และสิ่งที่ภูมิใจที่สุดตอนนี้ก็คือ ตนเองได้พัฒนาให้เป็นแบบอย่างกับบุคคลอีกหลาย

ๆ คน ในองค์กร เหมือนกับอาจารย์ที่ได้กล่าวไว้ประโยคหนึ่งว่า คนเราต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่าหยุดยั้ง จึงจะอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

นายกมล ค้าไกล (ศูนย์ภูเก็ต)

ขอขอบพระคุณท่าน อาจารย์จีระ ที่สละเวลามาสอนให้กับนักศึกษา ป.เอก สวนสุนันทา นักศึกษาศูนย์ภูเก็ตขอร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยครับ

นางจงดี พฤกษารักษ์

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ท่านอาจารย์ได้สละเวลามาสอนให้นักศึกษา ป.เอก สวนสุนันทาศูนย์ภูเก็ตในการเรียนการสอนเป็นวิธีการเรียนการสอนที่น่าสนใจมากๆและชวนให้คิดติดตามอยู่ตลอดเวลา อาจารย์สอนให้นักศึกษากระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลาดิฉันคิดว่าเป็นการสอนอัตลักษณ์ ดิฉันเห็นอาจารย์สอนด้วยอารมณ์ร่าเริงอยู่ตลอดเวลาทำให้นักศึกษาสดใส ดิฉันขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆในนามลูกศิษย์ ป.เอก ศูนย์ภูเก็ต

ด้วยความเคารพอย่างสูง

จงดี พฤกษารักษ์

ป.เอก ศูนย์ภูเก็ต

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร(ศูนย์ภูเก็ต)

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ที่เคารพ ผมดีใจที่ได้เป็นศิษย์ของอาจารย์ อีกหนึ่งท่านครับและต้องขอขอบพระคุณท่านมากครับ

นางสาวพรรณวดี ขำจริง (นักศึกษาศูนย์ภูเก็ต)

ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องของ กรณีศึกษาพารณ-จีระ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

ก่อนอื่นตัวบอกว่าบทความนี้เป็นบทความและนวัตกรรมที่ดีที่เหมาะกับการเป็นแรงบันดาลในให้คนรุ่นใหม่ที่จะก้าวเข้าสู่

การทำงานในแวดวงการศึกษาของไทยยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและโลกโลกาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นอย่างทุกวันนี้

เพราะบางครั้งการเรียนการสอนที่มาจากครูเป็นศูนย์การหรือทางส่วนกลางเป็นผู้จัดให้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสอดคล้อง

หรือจะเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนหรือสถานศึกษานั้นมากเท่าไรนัก ดังนั้นผู้ที่ริเริ่มก็ควรจะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดหรืออยู่ในสถานศึกษาเอง ข้ามกลางยุคที่เปลี่ยนไปจากคลื่นลูกที่1-5 นั้น แสดงให้เป็นว่าวันนี้ครูจะเป็นผู้สอนหรือบรรยายฝ่ายเดียวไม่ได้ครูจะต้องเป็นผู้แนะนำ เป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมให้เกิดขึ้นและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน/ชุมชน/นักเรียนและผู้สอน จึงขาดไม่ได้ที่จะต้องนำเรื่องของนวัตกรรมเขามาจัดการเรียนการสอนมาเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นและสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบันในผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากทที่สุด

To Inspire Teacher.

Although it's 1st session we get many inspirations from you and team by learning process, participations, motivation learners for thinking and sharing idea.

We proud to be your students

Phramaha Sathit Metheejanyaporn

Head, Institute Research and Information Section(IRIS)

Planning Division, MCU.

ข้อคิดจากกรณีศึกษา คุณครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯ

โดย: พระมหาสาธิต เมธีจรรยาภรณ์ ([email protected])

1.กรณีศึกษา คุณครูปรารถนา มีกระบวนการก่อเกิด การพัฒนาอย่างเป็นเป็นระบบ จนเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางสังคม กล่าวคือ คุณครูได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระดับนานาชาติเป็นที่ปรึกษาโดยความเห็นชอบของผู้บริหาร ประสานในการสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างความยอมรับ และเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน โดยเฉพาะองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ ในการร่วมกันจัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูงแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อร่วมเรียนรู้แนวคิดการบริหารจัดการกับวิทยากรชั้นนำ นำไปประยุกต์กับการบริหารโรงเรียน มีการศึกษาดูงานต่างประเทศ โดยไม่รอพึ่งพางบประมาณจากรัฐ ได้มุมมองความคิดการการจัดการศึกษาไทยในระดับโลกาภิวัตน์ ที่ต้องคิดกว้างระดับโลก (Think Global) บูรณาการปรับใช้ในการปฏิบัติได้ในระดับพื้นที่ (Act Local) นำแนวคิดการบริหารจัดการศึกษาดูงานต่างประเทศ มาประกอบการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ภาวะคุกคาม และโอกาสการพัฒนา ก่อให้เกิดการจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับพื้นที่ โดยมีนักเรียนเป็นเป้าหมาย มองไกลถึงการประกอบอาชีพของผู้เรียนในอนาคต จัดการฝึกงานเสริมในภาคฤดูร้อน ผลจากการสร้างนวัตกรรมการบริหาร ก่อเกิดความพึงพอใจของผู้ปกครอง ผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียในชุมชน และมีการเปลี่ยนภาพลักษณ์โรงเรียน โดยการตั้งชื่อใหม่ ก้าวไกลด้วยการสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษากับต่างประเทศหลายสถาบัน พัฒนาขึ้นเป็นนวัตกรรมทางสังคม

2.การคิดและนำเสนอโครงการ เกิดจากการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิ ตกผลึกทางคิดได้แนวทางในการปฏิบัติ นำไปหารือกับผู้บังคับบัญชา รวมทั้งการนำเสนอให้ได้พบกับผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อเกิดเป็นโครงการโดยความร่วมมือของโรงเรียน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การไปศึกษาดูงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติ เป็นการไปพบเห็น เป็นการสร้างประสบการณ์ตรง ก่อเกิดเป็นองค์ความรู้นำมาต่อยอดในการคิดเขียนโครงการที่นำไปสู่การปฏิบัติ โดยแต่ละโครงการส่งผลต่อเนื่องถึงโครงการต่อๆ มาเป็นลำดับ คือ 1.โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง 2.โครงการศึกษาดูงานการจัดการศึกษา ณ ประเทศเวียตนาม 3.โครงการศึกษาดูงานการจัดการศึกษา ณ ประเทศสิงคโปร์ 4.โครงการหลักสูตรเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานท้องถิ่น 5.โครงการศึกษาดูงานจัดการศึกษา ณ ประเทศเกาหลีไต้ 6.โครงการความร่วมมือทางการจัดการศึกษา (Sister School) กับโรงเรียน Wadong Middle School ประเทศเกาหลีไต้

3.ปัจจัยความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์จากกรณีศึกษา คือการชี้ชวนชักนำผู้ทรงคุณวุฒิได้พบกับผู้บริหาร ผู้นำท้องถิ่น ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดความรู้ นำไปสู่การทำโครงการที่ปฏิบัติได้ คือการได้ไปดูแบบอย่างที่ดีในการจัดการศึกษาด้วยการศึกษาดูงาน ได้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ทำให้เกิดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ย้ำความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการศึกษาด้วยการไปศึกษาดูงานหลาย ๆ แบบ แล้วนำมาบูรการเป็นแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการ การประสานความร่วมมือกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ยึดติดในกรอบระเบียบ และงบประมาณทางราชการมากนัก ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรมนุษย์มีทั้งส่วนของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง และผู้เรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดในการดำเนินการ ในกรณีศึกษาได้เกิดนวัตกรรมขึ้นสองด้าน คือนวัตกรรมการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางสังคม

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว อาจเกิดขึ้นได้หลายขั้นตอน ตั้งแต่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่ประสานความร่วมมือ ไม่จัดทำแผนปฏิบัติ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา ไม่มีความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ไม่ได้ไปดูแบบอย่างความสำเร็จจากการศึกษาดูงาน ไม่บูรณาการความคิดจากการศึกษาดูงานเป็นแผนปฏิบัติสำหรับส่วนงาน เป็นต้น ความสำเร็จหรือนวัตกรรมการบริหาร และนวัตกรรมทางสังคม ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

จึงสรุปได้ว่า กรณีศึกษาคุณครูปรารถนา เธอไม่ได้หยุดอยู่แค่ความคิดสร้างสรรค์ แต่ได้ทำความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ ประสานความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนในการทำให้เกิดปัจจัยแห่งความสำเร็จ ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารองค์การส่วนท้องถิ่น ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางสังคม จึงเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จที่ควรศึกษา และนำมาปรับบูรณาการใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอื่น ๆ ต่อไป

จากการอ่านมนุษย์พันธ์แท้ กรณีศึกษาการพัฒนาการศึกษาไทย ณ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ)

1. การพัฒนาการศึกษากับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ จากการวางแผน โดยใช้ทฤษฏี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าที่สุด ควบคู่ไปกับนวัตกรรม โดยมีทฤษฏี 4L 8K 5K มาพัฒนา กระตุ้นผู้บริหาร เพื่อให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อน ที่ว่าให้หัวกระดิก และให้ตัวกับหางกระดิกด้วย แนวความคิดใหม่ที่นำมาใช้ในการพัฒนา คือ การให้โรงเรียนรู้จักตัวเอง ชุมชน สภาพแวดล้อม จัดทำ SWOT เพื่อจะใช้ในการพัฒนาโรงเรียนโดยนำจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค์ สภาพแวดล้อมจะมีสนามบิน โรงงาน และนำนวัตกรรมขึ้นมาจัดหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความสร้างสรรค์ คือให้นักเรียนมีแนวทางในการดำเนินชีวิต

2. โครงการที่ใช่ในการพัฒนาการศึกษากับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ มีการทำโครงการที่ต่อเนื่องตั้งแต่การพัฒนาผู้บริการ ครู นำแนวความคิดของโรงเรียนต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาดูงานซึ่งเป็นการดูงานโดยงบประมาณตัวเอง ไม่รองบจากรัฐ ซึ่งอาจจะไม่ได้มา เช่นโครงการศึกษาดูงานที่เวียดนาม และสิงคโปร์ซึ่งทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทางด้านสภาพแวดล้อม แต่มีจุดแข็งคนละแบบและมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการที่จะนำแนวทางมีพัฒนาต่อไป

3. การจัดการทุนมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคคลร่วมกันใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการสรรหา การคัดเลือก และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้เข้าปฏิบัติงานในองค์กร พร้อมทั้งคอยดูแลและพัฒนาให้บุคลากรขององค์กรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน และมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่เหมาะสม ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลว ก็คือ บุคคล หรือมนุษย์ ถ้าไม่มีคนทำ หรือมีคนทำ แต่ขากประสิทธิภาพเพราะไม่มีความรู้หรือทักษะที่เพียงพอ การดำเนินกิจกรรมก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปให้มีประสิทธิภาพหรือบรรลุเป้าหมายได้ ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบผลสำเร็จก็คือ บุคคลหรือมนุษย์ ถ้ามีบุคคลที่มีความกระตือรือร้น หรือที่เรียกว่า ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ตลอดเวลา ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ เป็นการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ทำให้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ประสบความสำเร็จก็คือ การวิเคราะห์โรงเรียน จัดทำ SWOT รู้จุดอ่อน จุดแข็ง นำสภาพแวดล้อม ชุมชน มาใช้ในการบริหารจัดการ จัดทำหลักสูตรของโรงเรียนที่ส่งผลให้นักเรียนเกิดความมั่นใจ ในการเรียนว่าเมื่อเรียนแล้ว จะได้อะไร ความต้องการของตนเองว่าต้องการเป็นอะไร และเมื่อจบไปแล้วจะประกอบอาชีพอะไร โดยจัดการส่งเสริมอาชีพ มีวิทยากรมาให้ความรู้ มีการฝึกการปฏิบัติงานจริงซึ่งถือว่าสิ่งเหล่านี้อยู่นอกเหนือหลักสูตร แต่ก็สามารถทำได้และประสบความสำเร็จ

จากการศึกษาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค ของ ท่านพารณ อัครเสนา ณ อยุธยา และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ – จีระ ...มุ่งมั่น... พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ โดย วาสนา รังสร้อย ([email protected])

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน

- แนวคิดใหม่ ( Idea) ซึ่งได้จากประสบการณ์ทั้งทางตรง หรือ จากการอ่านหนังสือดี ๆ การสืบค้นหาข้อมูลทาง Internet การได้พบปะพูดคุยกับผู้รู้ จึงเกิดเป็น Idea ใหม่ ๆ ที่ เป็นประโยชน์ ได้รู้จักการคิดนอกกรอบ แม้ว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อประเพณีวัฒนธรรมองค์กร ก็ตาม ถ้าเรามีความมุ่งมั่นพัฒนาให้เห็นผลเป็นรูปธรรม และให้เป็นผลสำเร็จ จนเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในองค์กรและนอกองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับผลประโยชน์ที่คุ้มค่า เกิดความพึงพอใจในคุณภาพ เช่น โครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากแต่ ครูปรารถนา ทำได้สำเร็จ เพราะ รู้จักคิด หาโอกาสจากปัญหาและอุปสรรค ครูปรารถนาได้แสดงศักยภาพของตนที่มีอยู่ ในการบริหาร Project ให้ชนะในอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จ โดยได้นำแนวทางการพัฒนาทรัพยการมนุษย์ ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับ การนำเอา ทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s และการทำงานด้วยความมุ่งมั่น จริงใจ ทำอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ครูปรารถนาสนใจในเรื่อง Innovation แต่การจัดการให้ Innovation สำเร็จและมีประสิทธิภาพ ได้ ผู้นำต้องมี Innovation ผู้บริหารต้องมี Product ใหม่ ๆ การจัดระบบบริการใหม่ ๆ มีการบริหารจัดการแบบใหม่ (Process Management) และต้องใช้นวัตกรรมทางสังคมได้อย่างคุ้มค่า เป็นประโยชน์ เช่น ชุมชน การศึกษา ดังคำกล่าวที่ว่า ถ้าหัวกระดิก หางก็ส่าย สามารถให้ผู้บริหารโรงเรียนอื่น ๆ คล้อยตามได้

- ความคิดสร้างสรรค์ Creativity และบวกกับความรู้ นำไปสร้างโครงการที่สามารถปฏิบัติได้ (Action plan) โดยเน้น Project Proposal - Project Approval และเน้น Execution และ GTD (Get thing Done )โดยเฉพาะการเขียน Project และ อนุมัติ Project กล่าวคือ ผู้บริหารสนับสนุนให้เกิดโครงการ จึงอนุมัติ Project ให้ จะเห็นได้ว่า การที่จะพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ไม่ได้มาจาก บุคคล ที่เก่ง มีความรู้ความสามารถ เพียงคนเดียว หรือผู้นำเก่งคนเดียวแต่เชื่อว่าทุกคนในองค์กรเก่ง มีความรู้ ความสามารถที่แตกต่างกันไปสามารถ chare ความรู้ร่วมกันในองค์กร โดยนำมาปฏิบัติเชื่อมโยงสัมพันธ์ บูรณาการ กันได้ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรให้พัฒนาก้าวไกลหรือก้าวสู่ความเป็นเลิศได้ ผู้นำ หรือผู้บริหารที่จะรู้จักการบริหารจัดการกับทรัพยากรอันมีค่าที่มีอยู่ในองค์กร โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผู้บริหารต้องรู้จักคิดนอกกรอบ ในเชิงสร้างสรรค์ เพราะผู้นำในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ต้องเป็นผู้บริหารทรัพยากรคนใฝ่รู้ตลอดชีวิต

- ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง นั่นก็คือ อาจารย์ปรารถนาทำโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ ได้สำร็จโดยอาจารย์ปรารถนาเป็นเพียง กระตุ้นให้เกิดโครงการนี้โดยใช้องค์ความรู้ ร่วมกับวิทยากรชั้นนำ ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารโรงเรียนสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นนวัตกรรมชิ้นแรกที่ประสบผลสำเร็จและเป็นประโยชน์ กับโรงเรียนต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรปราการ โครงการที่ตามมาเป็นโครงการที่สอง ที่สาม ก็คือ โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศเวียดนาม ของผู้บริหารที่เข้าร่วมการอบรมและครูไปต่อยอดการเรียนที่ประเทศเวียดนามด้วยทุนของตนเอง โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ โดยให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้นำในการไปทัศนศึกษาครั้งนี้ นอกจากนี้ยัง โครงการเปิดหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานที่อาจจะไปทำงานในสนามบิน สุวรรณภูมิ โครงการเปิดหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการฝึกงานภาคฤดูร้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา นอกจากนี้ยังมีโครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้ โครงการ Sister School กับโรงเรียนWadong Middle School ของประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น

2. การนำเสนอการเขียนโครงการ (Project Proposal) พัฒนาผู้บริหารโรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ ของครูปรารถนา ประสบผลสำเร็จเกิดจาก ครูปรารถนามีความรู้ ความคิดใหม่ ๆที่สร้างสรรค์ที่เป็นระบบ บวกกับฐานความรู้ ที่มีเป็นทุนอยู่แล้ว และครูปรารถนาได้มีโอกาส พบปะกับผู้รู้ อย่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จึงสามารถ ผลักดันให้ครูและผู้บริหารเกิดการใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น การนำเสนอโครงการ (Project Presentation) และการขออนุมัติ (Project Approval) จึงเป็นไปอย่างราบรื่น ในการบริหารโครงการ(Project Imprimentation) ก็เป็นโอกาสของโรงเรียนบางหัวเสือแจ่มเนียมนิล ที่มีมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ดูแลและให้การสนับสนุน โครงการแรกดำเนินจนประสบผลสำเร็จ เมื่อโครงการแรกสำเร็จ จึงเป็นผลทำให้เกิดโครงการใหม่ ๆ ตามมาที่ไม่ต้องรองบประมาณจากรัฐ ทุกคนเต็มใจที่จะลงทุนด้วยตนเอง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ง่าย ถ้าคิดแล้วไม่ทำ

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องอะไรบ้าง

ปัจจัยความสำเร็จหรือความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ นั้นขึ้นอยู่กับ

1. วิสัยทัศน์ (vision) ของผู้นำเป็นเรื่องสำคัญ การมีสายตากว้างไกล มองไปข้างหน้าหรือมองเห็นอนาคต ต้องหาทางที่จะเรียนรู้เข้าใจ มีเป้าหมายและลงมือทำโดยไม่รอช้า เมื่อมีโอกาส

2. ผู้นำมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดนอกกรอบ รอบรู้ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา และทรัพยากรในองค์กรในส่วนที่เป็นคน ซึ่งถือว่าเป็นทุนที่ช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

3. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา ในส่วนของหลักสูตรท้องถิ่น ที่ได้มาจากการมีเป้าหมายร่วมกัน การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างอนาคตของเยาวชนเข้าสู่ตลาดแรงงานจากบริบทของจังหวัดสมุทรปราการ ก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ยุคใหม่

มุมมองทางด้านความเกี่ยวข้องของทุนมนุษย์กับนวัตกรรม กล่าวคือ นวัตกรรมเกิดจากมนุษย์ที่ถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างพัฒนาสอดคล้องสัมพันธ์กันได้ ทั้งทางด้านความรู้ ความคิดในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแนวคิด การดำเนินงานต่าง ที่เป็นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อไปสู่การปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จ และสามารถเอาชนะต่ออุปสรรค

เรียน อ.ดร.จีระ ที่เคารพ

แรกเร่ิมว่าจะได้เรียนกับอาจารย์ก็ดีใจ แต่ก็มีผู้บอกกล่าวว่า อาจารย์ซีเรียสกับการเรียนของนักศึกษานะ

ก็เกร็ง และกลัว แต่เมื่อได้นั่งฟังอาจารย์แล้วรู้สึก กันเอง เปิดกว้าง ดีใจครับ

อุทุมพร เครือบคนโท

จากการศึกษาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ – จีระ ...มุ่งมั่น... พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ โดย อุทุมพร เครือบคนโท ([email protected])

จากการศึกษพบว่า

การนำเอาทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s และวิธีการกระต้น โดยการทำงานแบบทฤษฎี 3 ต. คือต่อเนื่อง ต่อเนื่องและ ต่อเนื่อง ตลอดมา มาใช้กระตุ้น ให้ครูผู้บริหารเกิดการเรียนรู้ คิดนอกกรอบ หลังจากอาจารย์ได้เยี่ยมโรงเรียนแล้วทำให้เกิดโครงการขึ้นมาได้แก่

1.โครงการพัฒนาผู้บริหาร ผู้บริหารได้รับการพัฒนา ให้มีความรอบรู้ เป็นผู้บริหารต้องบริหารมืออาชีพ มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ จนสามารถผลักดันผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงด้วย โดยคำนึงถึง ความต้องการของครู นักเรียน ใช้รูปแบบการทำงานเป็นทีม นำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาใช้การประสานงานและกำกับติดตามงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ โครงการประสบผลสำเร็จ มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และมีนวัตกรรมที่สามารถนำมา ใช้เพื่อพัฒนาเครือข่าย ให้ประสบผลสำเร็จได้เช่นกัน

2. โครงการทัศนศึกษา ประเทศเวียดนาม ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการเรียนที่เน้นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ประเทศสิงคโปร์ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ในการสร้างหลักสูตรใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา และเตรียมความพร้อมให้กับแรงงาน และประเทศเกาหลีใต้ ส่งผลให้โรงเรียนเป็น APEC ICT SCHOOL มีการนำนักเรียนทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศเกาหลีใต้ การทัศนศึกษา เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่โรงเรียนได้เป็นอย่างดี ในด้านการนำสิ่งที่พบ ที่คิดว่าสามารถทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนมาประยุกต์ใช้ และนำสิ่งที่คิดว่าดี สิ่งที่ไม่เคยพบ ไม่เคยปฏิบัติในโรงเรียน นอกจากนี้ควรคำนึงถึงมีความแปลกใหม่ที่ดี มีความแตกต่างกับสภาพปัจจุบันในโรงเรียน มาปรับใช้ให้เกิดประโยขน์กับโรงเรียนของตน โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน ในที่นี้ จะเห็นว่า ได้มีการทัศนศึกษาประเทศ เวียดนาม สิงโปร์ และเกาหลีใต้ โรงเรียนได้นำมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน มีการสร้างหลักสูตรใหม่ในโรงเรียน มีและเป็นโรงเรียนเดียวที่ใช้หลักสูตรนี้ ไม่มีโรงเรียนแห่งใดทำมาก่อน รวมถึงการนำนักเรียนไทย เกาหลีใต้ แลกเปลี่ยนกันทัศนศึกษา นั่นแสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ มีความสร้างสรรค์ สามารถปฏิบัติได้ให้เกิดความยั่งยืน และเกิดประโยชน์กับสถานศึกษา หากสถานศึกษาอื่นที่มีความพร้อมนำไปปรับใช้ หรือร่วมเป็นเครือข่ายในการพัฒนา ก็จะทำให้เกิดประโยชน์กับนักเรียน โรงเรียน ท้องถิ่นและประเทศชาติต่อไปได้ นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางให้หลายโรงเรียน หลายองค์กรทาง

การศึกษาได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ให้เกิดการพัฒนาในวงกว้างต่อไป

จึงสรุปได้ว่า การคิดในสิ่งใหม่ๆ คิดเชิงสร้างสรรค์ มีการลงมือทำอย่างจริงจัง ทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง ถือว่าเป็นนวัตกรรม

ที่ทำให้เกิดปัจจัยแห่งความสำเร็จไ้ด้ ภายใต้การทำงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ผู้บริหาควร มีวิสัยทัศน์ เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ มีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร มีการทำงานเชิงรุก

และกล้าเสี่ยง เมื่อมีคุณลักษณะดังกล่าวแล้วผู้บริหารจะสามารถนำพาองค์กรปฏิบัติงานจนประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี

นางสาวพัมพ์บุญ พันสวัสดิวง

นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง

นักศึกษาปริญญาเอก

สาขา นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์จังหวัดเลย)

เรียน อาจารย์ ศ. ดร.จีระ หงส์ระดารม

ขอส่งงานครั้งที่ 1 วันพุธ ที่ 31 สิงหาคม 2554

โครงการปลูกจิตสำนึกรักองค์กร

1. ชื่อโครงการ ปลูกจิตสำนึกรักองค์กร

2. หลักการและเหตุผล

องค์กรเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการบริหารและบุคลากรคือทรัพยากรหลักสำคัญยิ่งกว่าที่จะผลักดันให้พันธกิจขององค์กรบรรลุความสำเร็จตามเป้าประสงค์และหากองค์กรสามารถสร้างแรงจูงใจและความผูกพันธ์ตลอดจนความรู้สึกสำนึกในการทำงานให้บุคลากรอุทิศตนและทุมเทเสียสละกับการทำงานโดยตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ตลอดจนสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กรเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกคนโดยที่องค์กรสามารถมีเทคนิคและแนวทางในการหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมในอันที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมกันของบุคลากรก็จะทำให้ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการทำงานให้เกิดความรักและความผูกพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและองค์กรเสมือนหนึ่งคนในครอบครัวเดียวกันสมัครสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันตลอดจนตระหนักในความเป็นเจ้าของกิจการและช่วยเหลือกันเห็นใจซึ่งกันและกันเพราะ “ คนไม่ใช่เครื่องจักรต้องการความรักและความเห็นใจ “ และจะทำอย่างไรจะทำให้บุคลากรดังกล่าวมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรทุ่มเทเสียสละอุทิศตนทำงานอย่างมีความสุขและสนุกอยู่กับการทำงาน และความตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ในการบริหารงานขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบัน มีรูปแบบมากมายหลากหลายวิธีมากขึ้น โดยการนำเทคนิคจากนานาประเทศมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ แต่ปัญหาในการบริหารและการจัดการบางประการ ที่การพัฒนารูปแบบการบริหารถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ยังไงก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มากนัก ปัญหานั้นก็คือปัญหาด้านการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานรักในงานอยากทำงาน และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่องานที่ทำ ซึ่งการพัฒนาพนักงานเพื่อให้เกิดแรงจูงใจรักงาน อยากทำงาน รักองค์กรและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่องาน ต่อองค์กร เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การบริการการบริหารและการจัดการ ให้ประสบความสำเร็จ และเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนารูปแบบการให้บริการ บริหาร และการจัดการ ในอนาคตขององค์กรต่อไป จึงเห็นสมควรจัดฝึกอบรม หลักสูตร จิตสำนึกรักองค์กร ขึ้น

3. วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี และตระหนักในหน้าที่ บทบาทของตนเองในการทำงานในองค์กรได้อย่างถูกต้อง

2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีจิตสำนึกความรักความผูกพันธ์ต่อองค์กรเสมือนหนึ่งองค์กรเป็นบ้านของตนและร่วมกันทุ่มเทอุทิศตนเพื่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. . เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี และตระหนักในหน้าที่ บทบาทของตนเองในการทำงานในองค์กรไปใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ ทักษะและทัศนคติ ตลอดจนนำแนวคิดทฤษฎีที่ได้รับไปใช้ในการให้บริการในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะและทัศนคติ ตลอดจนแนวคิดทฤษฎีที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นตลอดจนทำงานอย่างเป็นสุขและสนุกกับการทำงานและสามารถทุ่มเทอุทิศตนในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิและได้ศึกษากรณีตัวอย่างที่องค์กรประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกันในอันจะทำให้องค์กรบรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์กร

4. วิทยากร

อาจารย์ ศ. ดร. จีระ หงส์รดารมภ์

โทรศัพท์ 089-200-1471

5. กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตร จิตสำนึกรักองค์กร

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา 08.30 – 12.00 น. เวลา 13.00 – 16.00 น.

วันที่ 20 กันยยน 2554

• ลงทะเบียน

• พิธีเปิด

• ความรู้เกี่ยวกับหลักและแนวคิดทฤษฎีในการสร้างจิตสำนึกการรักองค์กร แรงจูงใจและแรงขับในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

• หลักการเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อ

ให้เกิดความรักความผูกพันธ์ต่อองค์กร

• กระบวนการในการสร้างสร้างจิตสำนึกของ

คนทำงานและจิตสำนึกรักองค์กรและการ

สร้างแรงจูงใจเพื่อความรักความผูกพันธ์ต่อ

องค์กร

• การสร้างความผูกพันธ์กับองค์กรและแนวโน้มการทำงานในยุคสหัสวรรษเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กร

วันที่ 21 กันยายน 2554

• ความรู้เกี่ยวกับและแนวคิดทฤษฎีการบริหาร

• ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของการบริหารงาน

• การสร้างภาพลักษณ์องค์กรแก่สังคม ในยุคสหัสวรรษ

• เทคนิคในการบังคับบัญชา

• กรณีศึกษาและความสำเร็จในการให้บริหาร

วันที่ 22 กันยายน 2554

• ความสำคัญ และองค์ประกอบกระบวนการของการเสริมสร้างจิตสำนึกในงานทำงานและวินัยในการทำงานร่วมกัน

• การพัฒนาการเรียนรู้และศิลปะการครองใจประชาชน

• การบูรณาการการทำงานประสบความสำเร็จ

• การเชื่อมโยงความคิดสู่การปฏิบัตเพื่อการบริการให้สู่ความเป็นเลิศ

• การนำความคิดสู่การปฏิบัติโดยการทำ Workshop เพื่อการพัฒนาศักยภาพงานด้านการให้บริการและการสร้างค่านิยมใหม่ในการให้บริหาร

• แนวทางการหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนความคิดพิชิตงาน

• การสร้างสัมพันธภาพกับบุคลากรและเพื่อนร่วมงานในองค์กร

• การทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและสนุกกับการทำงานร่วมกัน

• กรณีศึกษา (Case Study) การสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กรให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน

• การค้นหาตนเองและประเมินตนเองบนความเที่ยง

• สรุป ตอบคำถามและประเมินผล

• การพัฒนาบุคลิกภาพและการเสริมสร้างบุคลิกภาพในงานบริการ

• การสร้างมาตรฐานในการให้บริการ

• การฝึกปฎิบัติการการบริหารอย่างมืออาชีพ

• กรณีศึกษาและความสำเร็จในการให้บริหาร

• การปรับพฤติกรรมและการสร้างค่านิยมรักองค์กร

• การประเมินตนเองเพื่อการปลูกฝังปลูกฝังให้บริการที่มีประสิทธิภาพ

• การพัฒนาศักยภาพทางความคิดติดอาวุธทางปัญญาในการเสริมสร้างจิตสำนึกและพฤตินิสัยในงานบริการ

• กรณีศึกษาการปลูกฝังทัศนคติและ

ค่านิยมในการรักองค์กร

• การเสริมสร้างพลังขับในการให้บริหารและการเพิ่มสมรรถนะในการให้บริหาร

• การมุ่งมั่นสร้างสรรค์เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรเพื่อสู่ความเป็นหนึ่งและการนำเสนอผลงาน

• สรุป & ถาม-ตอบ ข้อซักถาม

ประเมินผลการฝึกอบรม

หมายเหตุ สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการฝึกอบรมและประโยชน์ของผู้เข้ารับการ

ฝึกอบรมได้ตามความเหมาะสม

6. วิธีดำเนินการ

1. อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้บทที่ 10 วิเคราะห์ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ และนำนวัตกรรมที่นำไปใช้ในโรงเรียนมาปรับใช้ให้เข้าองค์กร

2. ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรมนุษย์ จัดทำหลักสูตร และออกแบบสอบถามบุคคลากรในองค์กรถึงความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3. เขียนโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขอนุมัติโครงการ

4. หลังจากได้รับการอนุมัติโครงการแล้ว เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ ดำเนินการติดต่อประสานงานกับวิทยากร จัดทำตารางการจัดอบรม จัดเตรียมสถานที่ จัดเตรียมเอกสาร ทำหนังสือเชิญประธานเปิดอบรมโครงการ เชิญผู้มีเกียรติเข้าร่วมโครงการ เชิญสื่อมวลชนเข้าประชาสัมพันธ์โครงการ

7. งบประมาณ

ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยเพื่อดำเนินการจัดการฝึกอบรม

8. การประเมินผลโครงการ

ผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 80 พึงพอใจกับหลักสูตรการฝึกอบรม และเกิดนวัตกรรมใหม่ที่จะนำไปใช้ในทำงาน

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี และตระหนักในหน้าที่ บทบาทของตนเองในการทำงานในองค์กรได้อย่างถูกต้อง

2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีจิตสำนึกความรักความผูกพันธ์ต่อองค์กรเสมือนหนึ่งองค์กรเป็นบ้านของตนและร่วมกันทุ่มเทอุทิศตนเพื่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี และตระหนักในหน้าที่ บทบาทของตนเองในการทำงานในองค์กรไปใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

(ลงชื่อ) ผู้เขียนโครงการ

(นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง)

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา (ศูนย์ จ.เลย)

(ลงชื่อ) ผู้เสนอโครงการ

(นายวีรชัย เพชรรัตน์)

ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดเลย

(ลงชื่อ) ผู้อนุมัติโครงการ

(นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ)

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์มีหลายประการด้วยกันแต่จากการอ่านเอกสารในบทที่ 10 พอสรุปได้ 5 ปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ค่านิยมในสังคม ในสังคมไทยยอมรับนับถือผู้อาวุโส ทั้งด้านคุณวุฒิและทางด้านวัยวุฒิซึ่งส่งผลสำเร็จต่อความสำเร็จหากผู้มีชื่อเสียง มีอำนาจ มีฐานะทางสังคมเข้ามาดำเนินการขับเคลื่อนงานใด ๆ จะทำให้งานนั้นสำเร็จ เช่นโครงการพระราชดำริ หรือ งานที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ให้ความสนใจ ซึ่งนั่นหมายถึงว่ามันเป็นทุนอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ที่มีต้นทุนทางสังคมสูง แต่ถ้ามนุษย์ที่มีทุนทางสังคมต่ำจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรสักเรื่องจะทำเพียงลำพังไม่ได้จำเป็นต้องรวมตัวกันจำนวนมากจึงจะเกิดแรงกระเพื่อม

2. ปัจจัยการสร้างเครือข่าย ที่มีการ Connection กับบุคคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้มาความรู้ ความแนะนำ และขยายเครือข่ายไปทั้งภาครัฐและเอกชนและขยายไปยังภูมิภาคประเทศใกล้เคียงเพื่อนำองค์ความรู้ที่มีความหลากหลายมาปรับใช้กับระบบการศึกษาไทยให้เหมาะสม

3. ปัจจัยทางการศึกษา จากการอ่านบทที่ 10 พบว่าครูปราถนา ไปศึกษาที่ มหาลัยบูรพา ในระดับปริญญาเอกซึ่งอาจารย์เองก็ยังเป็นไม่ได้มีตำแหน่งในการบริหารที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงโรงเรียนได้ แต่เพราะว่าไปเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ จีระ จึงได้เป็นที่มาของการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้กับโรงเรียนบางหัวเสือแจ่มเนียนนิล จนกระทั่งเป็นเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ แค่ชื่อโรงเรียนก็นวัตกรรมแล้ว แสดงถึงว่าการศึกษาจะช่วยยกระดับทางสติปัญญา ทางสังคม ให้มนุษย์มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น

4. ปัจจัยด้านการประสานงานภายในและภายกองค์กร รวมทั้งการบริหารงานซึ่งกันและกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความคิดเห็นสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาให้โรงเรียนมีวิธีการจัดการเรียนการสอนดีเป็นที่ต้องการของนักเรียนและทันต่อโลกภายนอก

5. ปัจจัยทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ทั้ง 2 ด้านนี้เป็นปัจจัยภายในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จเพราะบางคนที่เก่ง มีความรู้มีความสามารถ เรียนมามาก เป็นผู้บริหารแต่ไม่มีจิตสำนึกในการพัฒนา ไม่ยอมคิดใหม่ ไม่มองหานวัตกรรมใหม่ ๆ แต่คนเก่ง คนดี และมีจิตสำนึกที่ดีด้วยจะทำให้ทุกองค์กรประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ

โครงการโรงเรียนประถมศึกษาอัจฉริยะ

สภาพปัญหาด้านการศึกษาของประเทศไทย

-การกระจายอำนาจดำเนินการได้ค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากการขาดการบูรณาการในระดับพื้นที่

-การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสอบเท่านั้นไม่ได้มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ขาดโอกาสทางการแข่งขัน

-การจัดการเรียนการสอนไม่ได้ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

-โรงเรียนมีกระจายเกินความจำเป็นเนื่องจากบางแห่งจำนวนนักเรียนน้อยแต่ไม่ได้บริหารจัดการ ทำให้ทรัพยากร เช่น งบประมาณ และครูไม่เพียงพอ ประสิทธิผลการศึกษาต่ำ

-การปฏิรูปการศึกษาไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้

-ทีมงานด้านการศึกษายอมรับการเปลี่ยนแปลงน้อย จึงทำให้มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบเก่าๆและทำให้ระบบการศึกษาของไทยอ่อนแอ

-ระบบธุรกิจการศึกษาเช่นการกวดวิชาเข้ามาเกี่ยวข้องและเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย

-ทัศนคติของผู้ที่เป็นครูมาจากการเลือกเรียนอันดับท้ายๆ

-ระบบการประเมินผลโรงเรียน เช่นโรงเรียนปลอดยาเสพติดจึงทำให้มีการปกปิดข้อมูล ทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข

โรงเรียนระดับประถมศึกษาเป็นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคบังคับ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตั้งแต่เริ่มการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาและปรับตัวเข้ากับระบบการเรียนการสอนแบบใหม่

จากปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนประถมศึกษาอัจฉริยะขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความสนใจ และสมัครเข้าร่วมโครงการ

1.แนวคิดด้านนวัตกรรม

ความคิดใหม่

-จัดการเรียนการสอนสู่สังคมอาเซียนอย่างมืออาชีพ และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

-เน้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในเด็กนักเรียน และจัดสภาพแวดล้อมเป็นโรงเรียนสีขาว

-วิธีการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยการบูรณาการ

ความคิดสร้างสรรค์

-หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

-ร่วมดำเนินการเป็นเครือข่าย โดยสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนในบริเวณใกล้เคียง(ยุบรวมโรงเรียนเล็กๆเพื่อเป็นเครือข่ายและทำให้รวมพลังสร้างสรรค์งานรวมทั้งทรัพยากรในพื้นที่)

-พัฒนาเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลด้านสุขภาพแบบองค์รวมบูรณาการด้านการออกกำลังกายด้วยเวชศาสตร์การกีฬา และปรับสภาพแวดล้อมภายในทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนเป็นพื้นที่สีขาว

-บริหารจัดการอย่างมืออาชีพเพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น

-สนับสนุนการสร้างผลงานเด่นของชั้นเรียน (เน้นการทำงานเป็นทีม)

-นักเรียนมีโครงงานที่สนใจเป็นของตนเอง (เน้นความถนัดส่วนบุคคล)

-สร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

-แสวงหาความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ

-ค้นหาโรงเรียนต้นแบบที่ต้องการจะให้เป็นต้นแบบทั้งภายในและต่างประเทศ

-ถอดบทเรียนและศึกษาบริบทของพื้นที่ ปรับปรุงเป็นหลักสูตรที่ต้องการจะพัฒนาโดยมีจุดเน้นคือนักเรียนเป็นศูนย์กลาง จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาไทย ภาษาท้องถิ่นและภาษาอังกฤษควบคู่กันอย่างสมดุล และมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

-เตรียมการด้านผู้เรียนและผู้สอนเพื่อความพร้อม และปราชญ์ชาวบ้านในบทเรียนของท้องถิ่น

-หลักสูตรที่พัฒนาและสามารถปฏิบัติได้จริง

2.การนำเสนอ

Project Presentation

-ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง เช่น จัดทำ Web site เผยแพร่

-เชิญชวนผู้ที่มีความสนใจร่วมทีมงาน

-เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-สร้าง Model หลักสูตร และจัดการประชาพิจารณ์

Project Management

-แสวงหาความร่วมมือเพื่อบริหารและจัดการเรียนการสอน

-บริหารหลักสูตรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่น

-จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการโรงเรียนอัจฉริยะ

-ประสานงานหน่วยงานระดับนโยบาย

-เน้นงานนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของหน่วยงาน

Project Implement

-ประชุมทีมงาน

-ประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ครู อาจารย์ ผู้นำชุมชน ประชาชน หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้นำส่วนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

-รับสมัครโรงเรียนที่มีความสนใจและเข้าร่วมโครงการ

-จัดทำหลักสูตร รวมทั้งวิธีการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมระหว่างครู ปราชญ์ชาวบ้าน และชุมชน

-จัดการความรู้รวมทั้งการถอดบทเรียน และสกัดเป็นองค์ความรู้ รวบรวมเผยแพร่

-ประเมินผลการดำเนินงาน และนำผลจากการวิเคราะห์และเรียนรู้มาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีความยั่งยืน และด้านวัดผลด้านผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาจากนักเรียน

3.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

-ผู้นำหน่วยงานคือผู้บริหารของสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์และพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง(Shift Paradigm) และผู้บริหารหน่วยเหนือในทุกระดับให้โอกาส

-ทีมงานยอมรับและเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสในการพัฒนา

-หน่วยงานอื่นๆรวมทั้งภาคีที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ

-ชุมชนมีการเรียนรู้และร่วมทำงานแบบบูรณาการ

-ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีการแก้ปัญหาด้วยปัญญา

-ผู้ปกครองและนักเรียนมีการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นต่อหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น

=====================================

ปรารถนา เชาวน์เสฏฐกุล (ศูนย์ภูเก็ต)

โครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา

นับตั้งแต่ที่อาเซียน (ASEAN – Association of South East Asian Nations) ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคแบบหลวม ๆ ในความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของการศึกษาในการส่งเสริมการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยได้ประกาศไว้ในวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งของการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า “เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษา

ในขณะที่โลกพัฒนาเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการรวมตัวกันมากขึ้น และได้กำหนดวิสัยทัศน์ภายในปี ค.ศ. 2020 ของอาเซียนปรากฏในข้อหนึ่งว่า “เพื่อพัฒนาอาเซียนให้มีความเข้มแข็งในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งด้านการศึกษา โดยระบุให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุก ๆ ส่วนของเศรษฐกิจโดยผ่านการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา การพัฒนาทักษะ ศักยภาพ และการฝึกอบรม”

การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษา

- ภาษาอังกฤษ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน

- ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน หลักสูตรอาเซียนศึกษา

- ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบต่าง ๆ ของอาเซียน

- พัฒนาทักษะของแรงงานฝีมือให้มีมาตรฐาน

- สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาอาเซียน

บทบาทการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน

- การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Empowering People) ให้มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน เพื่อที่จะสนับสนุนการค้าและการลงทุนในอาเซียน

- การศึกษาในฐานะภาคบริการหนึ่งที่จะต้องมีการเปิดเสรี

การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของไทยในระดับอาชีวศึกษา

- การเสริมสร้างทักษะวิชาชีพ

- สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาในอาเซียน (และขยายไปสู่อาเซียน +3)

- โครงการโอนหน่วยกิต (และขยายไปสู่อาเซียน +3)

- โครงการเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่ากับใหม่ เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านทุนการศึกษาด้าน ICT

- การจัดทำหลักสูตร Inter + ASEAN

โครงการส่งเสริมนวัตกรรมกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา โดยการสนับสนุน 3 ด้าน คือ (1) นวัตกรรมการเรียนการสอน (2) การยกระดับคุณภาพผู้เรียน (3) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และสร้างคุณค่าวิชาชีพอาชีวศึกษา

โครงการมี 3 ประเด็นที่จะดำเนินการ คือ

1. การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Effective Learning and Teaching) มุ่งยกระดับประสิทธิผลการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะสำหรับการศึกษาต่อ การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยอาจพัฒนารูปแบบดังนี้

• การพัฒนาสื่อและวัสดุการเรียนการสอน จากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ (คู่มือ ตำรา) สื่อโสตทัศน์ และการศึกษาวิจัยในชั้นเรียน เพื่อสนับสนุนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และแสดงออก

• การจัดให้มีกิจกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนได้โดยตรงและเห็นผลอย่างชัดเจน รวมถึงสร้างโอกาสให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียนใช้ทักษะที่สำคัญ เช่น ภาษาเพื่อการสื่อสาร การจัดรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรม เช่น การชมภาพยนตร์ การเข้าค่ายฝึกอบรม การโต้วาที การทัศนะศึกษา ฯลฯ

• การพัฒนาให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นการสร้างโอกาสแก่ผู้เรียนให้กระหายใคร่เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เสริมสร้างวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ เช่น การอ่านเพื่อการเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนหรือชุมชนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระ

• การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างครูในการขยายเครือข่ายโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมความร่วมมือ และการแบ่งปันความรู้ในวิธีการเรียนการสอน และเพื่อเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี

• การร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรธุรกิจเอกชน ผู้ปกครอง ชุมชน ในการให้บริการเสริมในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดสอนฟื้นฟูและทบทวนความรู้ด้านภาษา การให้คำปรึกษา การศึกษาแบบเรียน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน และเกิดรูปแบบการช่วยเหลือ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิผลของการเรียนการสอนและการประกอบวิชาชีพ

2. การเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับโรงเรียน (Healthy School) มุ่งหมายที่จะกระตุ้นให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยวิถีชีวิตสุขภาวะ ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา ตัวอย่างได้แก่

• การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของชีวิตและเคารพสิทธิการมีชีวิตของผู้อื่น และการให้ความสำคัญกับสังคมส่วนรวม

• การเสริมสร้างให้เยาวชนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และมีความอดทน การฝึกการปรับตัวต่อสังคมแวดล้อม โดยอาจใช้เทคนิคการพูดคุย การจัดประชุมปฏิบัติการ หรือวิธีการอื่นที่เป็นนวัตกรรม

• การส่งเสริมค่านิยมที่ดีงามในหมู่ผู้เรียน อาทิ การเคารพตนเอง การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่มีความยากลำบาก การมีจิตใจเพื่อสาธารณะ โดยการจัดกิจกรรมด้านต่าง ๆ เช่น การทำงานอาสาสมัคร ภายในและนอกโรงเรียน

• การเฝ้าระวัง คัดกรอง ให้คำปรึกษาและแก้ไข สำหรับเยาวชนที่มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาในการเรียนรู้หรือปัญหาทางสังคม เช่น หนีโรงเรียน ทะเลาะวิวาท เล่นการพนัน ก่อเหตุรุนแรง อาชญากรรม เป็นต้น

• การเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเอง ค้นพบตนเอง มีทักษะพื้นฐานในการพัฒนาตนเองและร่วมมือร่วมใจกับหมู่คณะ เช่น จัดฝึกอบรม จัดกิจกรรมร่วมกันในโรงเรียน

• การออกแบบและจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมความแข็งแรงและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน รวมถึงความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพ การมีโภชนาการที่ดี การควบคุมน้ำหนัก โดยการจัดกิจกรรมทั้งในหรือนอกอาคาร เช่น การจัดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อฝึกให้ร่างกายแข็งแรง การออกผจญภัยฝึกความอดทน รวมถึงการออกค่ายพักแรม การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ และวิ่งแข่งสู่เป้าหมายโดยมีเข็มทิศและแผนที่เป็นตัวช่วย

• การให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด เพศศึกษา โดยจัดให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติ การแสดงละครเวที รวมถึงการจัดบริการช่วยเหลือเยาวชนที่ใช้ยาในทางที่ผิด เยาวชนที่ติดบุหรี่ ฯลฯ

• การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับการประเมินและวิธีการอื่น ๆ เพื่อให้คำจำกัดความวิถีชีวิตสุขภาพในบริบทของไทย พร้อมทั้งให้ข้อเสนอว่าจะเข้าสู่วิถีชีวิตสุขภาพได้อย่างไร

3. การบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิผล (Efficiency for School Management) นำวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลมาใช้และพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียน และสามารถพัฒนาให้เป็นต้นแบบแสดงถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้ชัดเจน โดยอาจพัฒนารูปแบบดังนี้

• การสำรวจ ประมวลข้อมูลของสถานศึกษาและชุมชน จัดทำฐานข้อมูล ฯลฯ และมีการใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดปัญหาและแนวทางพัฒนา

• การวิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานของโรงเรียนรวมทั้งคิดค้นนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการจัดการเรื่องการเรียนการสอนในโรงเรียน

• การเสริมสร้างทักษะการบริหารจัดการ และภาวะผู้นำด้านการบริหารจัดการ พร้อมทั้งปรับปรุงการบริหารโรงเรียน เช่น การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างภาวะผู้นำ จัดกิจกรรมแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทดลองการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่และการให้คำปรึกษาแนะนำในระดับโรงเรียน

• การกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการบริหารโรงเรียน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบ้าน-โรงเรียนและ/หรือ ชุมชนโดยกำหนดหน้าที่และบทบาทของผู้เกี่ยวข้องอย่าชัดเจน

• การปรับปรุงธรรมาภิบาลของการบริหารสถานศึกษา อันรวมถึงการพัฒนาคุณภาพและบทบาทของผู้บริหารคณะกรรมการบริหาร หน่วยตรวจสอบหรือกลไกบริหารอื่นให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามหลักธรรมาภิบาล

• การจัดระบบริหารจัดการหรือแผนงานเพื่อระดมทรัพยากรในท้องถิ่นสำหรับพัฒนาการเรียนการสอน

ปัจจัยในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น นั่นคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steakholders) ประกอบด้วย ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ ได้ประโยชน์จากการจัดทำโครงการ โดยวัดคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาจากมุมมองของครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าได้ประโยชน์ ได้กำไร หรือสังคมดีขึ้น จากโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา

โดย นางสาวปรารถนา เชาวน์เสฏฐกุล (ศูนย์ภูเก็ต)

สรุปช่วงบ่าย โดยเอราวรรณ

  • โครงการใหม่ ๆ ที่โรงเรียนกับดร.จีระ ทำร่วมกัน การมี  Idea ใหม่ๆ
  • ทุนมนุษย์กับนวัตกรรม อย่างน้อย คือ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้
  • เน้น ลูกค้า ครู นักเรียน
  • ไม่เกิดการบริหาร สั่งการ แบบ Top down

 

อาเซียนเสรี มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ถ้ามาตรฐานอ่อน เขาต้องแข่งกับเรา มี Professional

1.ต้องมีภาษา

2.มีจิตวิญญาณในการอยู่ในนานาชาติ

3. ต้องมีความเป็นมืออาชีพ เราต้องเป็น Partner กับเขา

 

  • ต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ อยู่ในโลกอาเซียนเสรีได้ เน้นนวัตกรรม
  • สะท้อนวัฒนธรรมของเรา
  • สรุป หลักสูตรนี้ เป็น Intangible สิ่งที่ควรออกมาจากข้างใน

 

 

จากศูนย์โคราช

มุมมอง เรื่อง เสรีอาเซียน  คือชาวบ้านไม่รู้เรื่อง  ปัญหาที่สำคัญ คือ 3 ปี ต่อไปนี้เราจะเตรียมตัวเรื่องคนได้หรือไม่

จะสามารถให้ข้อคิดอย่างไร สามารถไปถ่ายทอดสร้างวิธีคิด เป็นวิชาที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียน

  • ตอนนี้เป็นอาเซียน +8 ไปแล้ว อาเซียนไปรวมตัวกับทางอเมริกา

มีการเตรียมตัว ที่รวมกับกระทรวงศึกษา ต้องกระจายทุกจุด คนจน โชว์ห่วย ไม่รอด ประเทศไทยก็ไม่รอด ก็หวังว่า ปริญญาเอกทุกคน จะได้กระจายไป ทั้ง  Face book  blog twitter  ด้วย

  • การที่เรามีเครือข่าย Network ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งของทุนมนุษย์ และมองถึงทุนปัญญา และทุนทางคุณธรรมจริยธรรมด้วย

 

เป็นประโยชน์มากครับ คนไทยถ้าจะพูดถึงความสามารถเฉพาะคงไม่แพ้กับประเทศอื่น เรามีปมด้วยแค่เรื่อง ภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง

  • ขอย่องแนวคิด นี้ มองไปที่สะพาน ข้ามประเทศต่างๆ ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศแม่น้ำโขง เช่น จีน กุนหมิง ยูนาน กวางสี  อีกหน่อยถ้ามีรถไฟ แถวนั้นก็เจริญมากขึ้น
  • คนกรุงเทพฯเริ่มตื่นตัวเรื่อง ที่ดิน มีการลงทุนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือแน่นอน
  • ฝากทุกคนที่อยู่ศูนย์ต่างๆไว้ด้วยครับ

 

ศูนย์เลย

มีการเพิ่มการทำความผิดมาก ขึ้น มีผู้ต้องขังมากขึ้น เมื่อมีเสรีอาเซียนขึ้น

  • ถึงเวลาที่เราต้องดูแล เรื่องนี้ ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เราต้องดูที่การศึกษาด้วย
  • อาจจะทำวิจัยเรื่อง การอาชญากรรมข้ามชาติด้วย

 

 

 

  • เวลาที่เหลืออยู่ระหว่าง Macro กับ Micro
  • วิธีการเรียน
  • พูดถึงทฤษฎี HR
  • มนุษย์เกิดมาแล้ว เท่ากัน

 

  • คุณภาพการศึกษาเป็นจุดนึงที่ขอฝากไว้ โดยเฉพาะการศึกษาในต่างจังหวัด
  • เด็กในเมืองไทยต้องมี 8k’s , 5k’s
  • ขอฝาก ทฤษฎี HR  ด้วย
  • คุณภาพการศึกษาในอดีตต้องเป็นคนเก่ง ในต่างจังหวัดได้ทุนมาเรียน
  • ขอฝากลูกศิษย์ว่า การค้าระหว่างประเทศต้องมีเงินตราระหว่างประเทศเป็นการแลกเปลี่ยน อย่างอเมริกาการค้าขาดดุลตลอด ขายพันธบัตรให้จีน และนำเงินมาใช้จ่ายทำให้เกิดปัญหาตามมา
  • ของแพงไม่ได้เลว แต่คุณต้องใช้อย่างปบระหยัด ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย
  • ทุนมนุษย์ไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กๆ

 

โลกาภิวัตน์และผลกระทบ

  1. Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
  2. เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015 ฯลฯ
  3. เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน
  4. บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา
  5. เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
  6. เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ                   
  7. เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
  8. เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
  9. เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯลฯ

 

  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอยากให้ลูกศิษย์ ได้มอง
  • ที่เราเป็นประเทศเปิดกว้าง แต่ไม่เก่งในเรื่องเจรจาต่อรอง ต้องดูว่าอันไหนพร้อมหรือไม่พร้อม
  • อัตราแลกเปลี่ยน ครั้งหนึ่งเคย เปลี่ยน จาก 20 เป็น 50 บาท
  • บทบาทจีน อินเดีย ที่เคยเป็นประเทศปิด ก็มาเปิด อีกไม่ถึง 4 ปี จีนจะเป็นอันดับหนึ่งของโลก
  • ขณะนี้รูปแบบประชาธิปไตยยืมมาจากตะวันตก
  • ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของอากาศมีมากมายขึ้น เกิดธุรกิจใหม่ คือ Green Hotel ให้เห็นว่าเราจะมีชีวิตแบบเดิมไม่ได้
  • การก่อการร้ายข้ามชาติ ถ้า 3 จังหวัดภาคใต้ลามมาที่ถึงประจวบ จะทำอย่างไร?
  • ต้องมี Macro ไปสู่ Micro

 

การเตรียมตัวเข้าสู่โลกาภิวัตน์

จุดแข็ง

-         กระตุ้นให้ประเทศตื่นตัวปรับนโยบายทั้งระดับ Macro และ Micro

-          ผู้บริโภคมีทางเลือกของคุณภาพสินค้ามากขึ้น

-          ราคามีการแข่งขันกันอย่างเสรี

-          ทำให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้าง

-          ผู้มีความรู้ หรือ Knowledge worker ได้ประโยชน์ งานที่ทำจะเป็นงานที่มีรายได้สูงขึ้น

-         นักอุตสาหกรรม  ผู้ส่งออก ได้รับประโยชน์

-          

 

จุดอ่อน

-         แรงงานไร้ฝีมือปรับตัวไม่ทัน เกิดปัญหาการว่างงาน และปลดคนงาน

-          ภาคราชการ  ภาคแรงงานไร้ฝีมือ  ผู้หญิง  เด็ก  คนพิการจะลำบากยิ่งขึ้น

-          เกิดปัญหาทางสังคมมากขึ้น

-          ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

-          บริษัทข้ามชาติจะได้เปรียบเพราะมีระบบการทำงานที่ดีกว่า

-          คนไทยยังไม่เข้าใจและไม่มีใครชี้นำ

-          ภาคการศึกษาไทยยังขาดการปฏิรูปสังคมการเรียนรู้

-          

โอกาส

-         ใครมีต้นทุนการผลิตถูกกว่า จะส่งออกได้มากขึ้น

-          มีสินค้าให้เลือกมากขึ้นในราคาที่ถูกลง

-          มีโอกาสได้รับค่าจ้างมากขึ้น

-          ต้นทุนการสื่อสารและโทรคมนาคมมีราคาถูกลง

-         ได้รับเทคโนโลยีใหม่ได้ง่ายกว่าเดิม

-          

ความเสี่ยง

-         ธุรกิจภายในประเทศบางอย่างจะล้ม เพราะแข่งขันสู้ต่างประเทศไม่ได้

-          ขาดดุลการค้ามากขึ้น เพราะส่งออกไปต่างประเทศลดลง แต่เรานำเข้ามากขึ้น

-          มีการปลดแรงงาน

-          มีความแตกต่างในรายได้มากกว่าเดิม

-          ถูกต่างชาติครอบงำทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

 

  • ที่พูดมาเกี่ยวอะไรกับทุนมนุษย์
  • เรื่องการสื่อสาร ปรับและเตรียมตัว
  • เป็นโอกาสถ้าเรา ฉกฉวยได้ ไม่ว่าครู อาจารย์ก็สามารถ search ข้อมุลได้
  • มองเป็นภาพรวมใหญ่ เรื่องการค้าเสรี มีการเกาะกลุ่มกัน มองที่ศักยภาพไปที่ทุนมนุษย์
  • เราเอาส่วนที่จะเกิดขึ้น มาสื่อสาร เกี่ยวกับโลกที่จะอยู่อีกโลกหนึ่งมาปรับเปลี่ยนให้กับเรา
  • การเก็งทอง เหมือนกับการเล่นหุ้น อยากให้คนไทยมองเรื่องโลกาภิวัตน์ แต่ใครจะเป็นคนบอกได้
  • มองเตรียมที่ศักยภาพ ที่เราถนัด และมีประโยชน์ ต้องโฟกัสจุดใดจุดหนึ่ง

 

 

ศูนย์โคราช

รถยนต์ บ้านเรามีภาษีสูงมาก อาเซียนเสรี อีก 3 ปี 4 เดือน อุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร ทำให้ภาษีศุลกากร มันลดลงเรื่อยๆ  แต่ เราได้บริโภคสินค้าจากต่างประเทศ ได้ราคาถูกลง และได้ Export มากขึ้น

  • มองจากบริบทของโลก ใช้ทรัพยากร  เช่น การส่งมังคุดไปต่างประเทศไม่ได้ เพราะ  เราขาดเรื่องโลจิสติกส์และResearch ตรงนี้ที่คนไทยจะต้องทำเพิ่มขึ้น
  • พัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 มีดี อย่างเรื่อง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แต่มีเท่าไหร่?
  • บรรยากาศวันนี้อยากให้พัฒนาเรื่องคนก่อน มีปัญญา มี Business Mind

 

ศูนย์โคราช

เห็นโอกาสอะไรบ้างเรื่องทุนมนุษย์กับโลกาภิวัตน์ในภาคอีสาน

  • เห็นโอกาสมากขึ้นอยู่ว่ามุมไหน เช่น การท่องเที่ยว ซึ่งภาคอีสานเราไม่มีมาก
  • การศึกษาเราเองยังไม่กระตุ้นในการศึกษามาก มีการเตรียมคนเพื่อเปิดการค้าเสรี
  • มีการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ
  • พยายามมองทุนมนุษย์ไปถึง Value Added คิดธุรกิจใหม่ อยู่เสมอ

 

ศูนย์ภูเก็ต

  • ในจุดดีคือ การศึกษา เราสามารถ MOU กับต่างประเทศมากขึ้น
  • เรื่องสุขภาพ
  • เรื่องวัฒนธรรมในท้องถิ่นเราจะสูญหายไป
  • ธุรกิจเล็กๆในประเทศหายไป

 

การพัฒนาทุนมนุษย์ในโครงสร้างของภูเก็ตเราพร้อมหรือไม่? เราอยากมีมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นหรือไม่

  • มีเพิ่มขึ้นแล้ว เช่น มอ.สงขลา ที่อินเตอร์ เป็นต้น
  • เรื่องสิ่งที่จะเกิดขึ้น มีมิตรประเทศในกลุ่มประเทศ มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น
  • จุดอ่อน ปัญหาเชื้อชาติ
  • การศึกษากับเด็กต่างชาติ
  • เรื่องการลงทุนด้านสุขภาพ
  • สินค้าเรื่องการเกษตร
  • วัฒนธรรม

 

เรื่อง 8K’s

  • พูดเรื่องนวัตกรรม ว่าเป็นอะไรและจำเป็นต่อเศรษฐกิจและสังคมและโยงมาที่ทุนมนุษย์ ในทฤษฎีผม เรียกว่า ทุนทางนวัตกรรม ถ้ามีนวัตกรรมก็ต้องขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์
  • บ่ายพูดเรื่องเสรีอาเซียน และเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ Macro ไปสู่ Micro วาดภาพใหญ่ของโลกาภิวัตน์  เราต้องจัดการกับโลกาภิวัตน์ และมีภาพโอกาสและการคุกคาม มีเรื่องตั้งแต่เกิดและไปสู่การทำงาน มีกาศึกษา การฝึกอบรม มีคุณภาพในทุนมนุษย์ คุณภาพของคนเหล่านั้นยังมีแต่ปริมาณ
  • ทุกคนมีทุนมนุษย์ทุกคน แล้วแต่ว่า จะมากหรือน้อย วัดตามปริมาณ เช่น ทางเศรษฐศาสตร์ วัดจากการเรียน ถ้าเราเรียนมาก เงินเดือนก็จะเพิ่มขึ้น  แต่ทำไม คนเรียนเท่ากันมีเงินไม่เท่ากัน หรือคนที่เรียนมาน้อย ถึงสามารถมีเงินมากได้
  • ขณะนี้คนมีปริญญา แต่งี่เง่ามีเยอะมาก การที่เราคิดได้เราต้องมีวิธีการเรียน มีการให้คิดเพิ่มขึ้น
  • การที่เรามีโลกาภิวัตน์ การผลิตบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ต้องทำอย่างไร มีตลาดเพิ่มขึ้น ไม่พอ ต้องมีลูกค้า มี Value Added เพิ่มขึ้น
  • มีการสร้างความหลากหลายให้สู่ความมีมูลค่า ก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่ง ประเทศเราต้องก้าวไปสู่ข้างหน้า
  • เมื่อเรามีปัญญา เราต้องมองดูว่าเราเป็นคนดีหรือไม่ การมีการหลอกลวงด้านการค้า ต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม
  • เครือข่าย ที่สำคัญคือ เครือข่ายต่างประเทศ เป็นประเทศที่เราต้องการไป เช่นการส่งไปสิงคโปร์ ต้องรู้เขารู้เรา
  • ลาว พม่า เขมร เขามีทรัพยากร เกษตร พลังงาน ซึ่งคนไทยต้องพึ่งพาเขามาก
  • การตัดสินใจของคน ระยะสั้น ต้องไม่ทำร้ายระยะยาว ต้องเป็นคนใฝ่รู้ อย่าเป็นคนอวิชาเด็ดขาด
  • ลูกศิษย์ที่ผมสอนมา ผมสังเกตแล้ว ทุกคนมีการกระตุ้นเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี คิดว่าดีขึ้นมาก
  • ความสามารถในเรื่อง ทักษะ ความรู้ และ ทัศนคติที่ดี

 

 

สรุป ป.เอก นวัตกรรมการจัดการ 28 ส.ค. 54

การเรียนในยุคใหม่

•การเรียนต้องมอให้เป็น Process

•เป็นการลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ในการเรียน ป.เอกการเรียนต้องเอาชนะอุปสรรค

•เป็นส่วนหนึ่งของ Chain Value คือ เพื่อจัดการตัวเองในการสอบวิทยานิพนธ์ในสำเร็จ เป็นคนที่มีความรู้และมีใบอนุญาตให้มีการเรียนจนจบ

ปัญหาการเรียน ป.เอก

•คือการที่คน Supervise จะมีประสบการณ์น้อย อาจารย์ประจำไม่มีอาจารย์ประจำที่เก่งๆ

•ค้นหาตนเองไม่เจอว่าเรียนเพื่ออะไร

•มีความไม่แน่นอนมากมาย

การเรียนที่นี่คือการที่ลงทุนให้นักศึกษาแข่งแกร่ง

ที่ผ่านมา 4 รุ่นที่ประสบความสำเร็จอีกอย่างคือการหาความรู้ด้วยตนเอง

การเรียนต้องมี Process ไปสู่การเขียนวอทยานิพนธ์

ต้องมี Value เพิ่มขึ้น

Value Added = การเพิ่มพูนทางความรู้

Value Creation = คือการร่วมกันคิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้าง Concept ใหม่ๆขึ้นมา HR คือสิ่งที่อยู่ข้างใน เพื่อหาสิ่งที่วัดไม่ได้ Intangible เพราะมนุษย์มีสิ่งที่ต่างจากสัตว์เพราะมีจินตนาการ Human Imagination เพื่อให้มนุษย์มีศักยภาพให้มากขึ้น System Think คือการสร้างการเรียนที่มีคุณค่ามากที่สุด

Value Diversity = ต้องเอาความหลากหลายมาสร้างความเป็นหนึ่งและมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ เช่น การเปิดอาเซียนเสรีในปี 2556 หรือเรื่อง Age Group

วิทยาพนธ์ที่ดี

•การต้องโจทย์ที่ท้าทาย (Hypothesis)

•มีประโยชน์ให้สังคม

•เอาประเทศไทยเป็นบริบท

ไม่มีการหยุดการเรียนรู้

การสร้างนวัตกรรมคือการสร้างอะไรที่ใหม่

ทุนทางความสุขกับการทำงานอย่างมีความสุขต่างกัน

ทุนทางความสุขของผม (ต่างกับ Quality Of Work life )

•Health

•Passion

•Purpose

•Mean

• Capability

วัตถุประสงค์การเรียน

1.เรียนเพื่อนำไปใช้ และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตรขึ้นอยู่กับผู้เรียน

2.ถ้าสนใจอะไรก็สามารถเพิ่มเติมได้

3.อาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้ เป็น Coach เป็น Facilitator บรรยากาศการเรียนต้องเป็นบรรยากาศที่สร้างสรรค์

4.หาหัวข้อวิจัยที่เป็นประโยชน์ อะไรคือหัวข้อที่น่าสนใจ แต่ Manageable วิธีการทำอย่างไร

5.สร้าง Ideas ใหม่ ๆ สร้างนวัตกรรมทางความคิด

6.มีอิทธิพลต่อสังคมและธุรกิจเรื่องทุนมนุษย์เพื่อการรองรับเสรีอาเซียน จะเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม คือ Diversity ขยาย มูลค่าเพิ่ม ไปสู่อาเซียนเสรี

•พัฒนาศักยภาพเรื่อง ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน

•ค่านิยมเรื่องอาเซียเสรี เพราะยังมองว่าประเทศอื่นยังด้อยพัฒนาอยู่

•ข้าราชการไทย

•พัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจเช่น เกษตร การท่องเที่ยว โลจิสติกส์

ทุนมี 4 ชนิด คือ การเงิน, โรงงาน, ทุนทางธรรมชาติ, คน

พัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11

•Knowledge Base Society

•Creative Economy

•Life Long Learning

•International Business

เรื่องทุนมนุษย์มี Quality กับ Quantity และต้องสร้าง Networking เพราะเราไม่มีทรัพยากรมาพอ เราต้องแบ่งกันกิน

นวัตกรรมในการเรียน

•มีความรู้ มีฐานข้อมูล นวัตกรรมหลายอย่างจบลงเพราะไม่มีข้อมูลที่ดี

•มีความคิดสร้างสรรค์

•มีความคิดใหม่

•Turn Idea Into Value

Innovation คือ การสร้างนวัตกรรม การคิดใหม่ๆเสมอ

Innovative คือ นวัตกรรม

Macro ไปสู่ Micro คือ การเรียนจากภาพใหญ่ให้เข้าใจปัจจัยภายนอกที่มีทั้งบวกและลบก่อน เช่น เศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อน นโยบายที่ผลิตบุคลากรก่อนเข้ามาทำงานในองค์กรน่าเป็นห่อวงที่สุด

Sequent Model เป็นเริ่มขึ้นอย่างไร โตขึ้นมาก็เป็นอย่างนั้น ต้องหาช่องว่างในกับตนเองแล้วเติมเข้าไป

คิดว่าหลักสูตรนี้เป็นอย่างไร(ศูนย์กรุงเทพ)

•คิดว่าจะช่วยเรื่องคิดวิทยานิพนธ์ได้

•หนักใจเรื่องภาษสิ่งที่ได้คือต้องหาคุณค่าในตัวเองให้เจอ

อ.จีระ : ต้องเน้นเรื่องการเรียนเป็นทีม

•อยากเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง

•เพื่อหาแนวทางการพัฒนาในเรื่องงานที่ทำอยู่คือด้านการศึกษา

อ.จีระ: การสร้างนวัตกรรมต้องสร้าง network

•อาจารย์ จะสอนในเรื่องการปฏิบัติด้วย ทฤษฎีต่างๆของอาจารย์สามรถปรับใช้ได้กับทุกองค์กร

การเรียนในห้องคือการที่เราเอา Tacit intellectual ออกมา มีพลังขับดันในการหาหัวข้อวิจัยให้ได้

•การเอาแผน 11 มาปรับใช้การทำนโยบาย Buddhism in ASEAN

อ.จีระ : น่าทำเรื่อง Integration in ASEAN

นวัตกรรมคือการมีอะไรใหม่ๆเสมอ อย่างการเรียน ป.เอกต้องเกิดการกระตุ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์

3 เรื่องที่เราต้องคำนึงถึงคือ ความคิดใหม่ๆ คิดอะไรด้วยตัวเองโดยที่เจ้านายเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้ออก

การที่ตัดสินใจพูดเรื่องนวัตกรรมความเห็น และประยุกต์กับสถานการณ์ที่เป็นความจริงได้

Imagination

Creativity

Innovation การที่เรามี Idea ใหม่เสมอ อ.ไม่เคยคิดที่จะให้ลูกศิษย์มีส่วนร่วม ต้องเกิดการปะทะกันทางปัญญาจึงเกิด นวัตกรรม เพราะ อ.ในยุคนี้เอาสิ่งที่มาสอนคือการที่เราลอกเขามา สิ่งที่เกิดนี้เพราะเมืองไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

วันนี้สิ่งที่เกิดคือเรื่อง Social Community เราต้อง apply

แต่ Innovation ในประเทศไทย มีปัญหาคือเรื่องงบประมาณ เราก็ต้องแก้ปัญหาโดยการคิดนอกกรอบ

เมื่อเราทำได้

Project Proposal

Project Presentation

Project Improve

Project Implementation

ดูเทปแล้วคิดอย่างไร

•ฐานความรู้ต้องแน่น ต้องเข้าใจระบบ ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์เกิดมาจากไม่มีอะไร ความคิดเป็นระบบต้องมาก่อน (สมองด้านซ้าย) คิดแบบวิทยาศาสตร์ต้องมาก่อน แม้แต่พุทธศาสนาก็สอนเป็นวิทยาศาสตร์ก่อนให้เข้าใจความเป็นจริง

อ.จีระ: การนำนวัตกรรมเข้าไปใช้ได้ง่าย แต่การทำให้สำเร็จยาก เอาจริง กัดไม่ปล่อย อดทน

•วิทยานิพนธ์นวัตกรรมทางด้านการศึกษาต้องการจะยกระดับสถานศึกษาขึ้นมาให้เทียบเท่ากันโรงเรียนทั่วไป

อ.จีระ : ต้องตั้งโจทย์ให้สอดคล้องกับงานของเรา

•การนำ Chain value คน เทคโนโลยี เงิน เพื่อ improve นักเรียนของเราให้ได้มาตรฐานในเขตโรงเรียน

อ.จีระ : น่าทำเรื่องเขตการศึกษา น่าสนใจเรื่อง Conflict ในเรื่องการศึกษาเพราะผู้น้อยไปดูแลผู้ใหญ่

•การเมืองในสถานศึกษาคือการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง จึงเกิดปัญหาเรื่องการทำงานเป็นทีม และรู้จักว่าจะแลกเปลี่ยนศักยภาพซึ่งกันและกัน

อ.จีระ : อย่างนี้คือ Management Innovation

•นวัตกรรมต้องมีกระบวนการ ที่ศึกษาให้ดีอย่างท่องแท้เป็นการตลาด แบบไม่มีการจ่ายเงินSocial Marketing

อ.จีระ : ทุกเรื่องที่เราจะพูดต่อไปนี้คือ เรื่องทุนมนุษย์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

อ.จีระ : ฉะนั้นทุกวันต้องสำรวจตัวเองว่าได้อะไร แล้วดูว่าไปสู่ Value 3 ตัวหรือเปล่า นี่คือหนทางไปสู่ Innovation

อ.จีระ : Skill ต่างๆ นอกจากคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ แล้วต้องมี Networking การที่เราจะมี Networking ต้องมีความรู้ และสร้างพันธมิตร

โครงการกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม

แนวคิด

สถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชน สามารถแต่งตั้งระดมความคิดความเห็นเพื่อให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่องค์กร จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

๑ ความคิดใหม่ การบริหารจัดการองค์กรปัจจัยที่สำคัญคือกระบวนการมีส่วนร่วม สังคมเป็นเจ้าของ จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จสังคมมีความสุข

๒ ความคิดสร้างสรรค์ ผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน หรือสังคมเป็นเจ้าขององค์กร การบริหารจัดการโดยกระบวนการมีส่วนร่วม จะมาซึ่งความสำเร็จเช่น ที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร ที่ปรึกษาฝ่ายบุคลากร ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมส่งเสริม ที่ปรึกษาฝ่ายการเงินและงบประมาณ

๓ การใช้ความรู้เป็นความจริง การแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาหมายถึง การแต่งตั้งบุคคลที่มีความเหมาะสม มีความรู้ ความสามารถ ระดมความคิด ประสบการณ์เฉพาะทางเป็นปรึกษาคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือองค์กร เพื่อให้การบริหารจัดการได้แนวคิด วิธีคิดใหม่ๆ และการปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งในชุมชนและนอกชุมชน เพื่อให้คนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนเป็นเจ้าของยังสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ตอบสนองความต้องการของสังคมได้

การนำเสนอโครงการ องค์กรหรือผู้บริหารเป็นผู้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ โดยความเห็นชอบของผู้เกี่ยวข้องในองค์กร

การบริหารโครงการ ผู้บริหารองค์กรต้องประสานแนวคิด วิธีการทำงานแบบมีส่วนร่วมประสานความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร และที่สำคัญคือการทาบทามที่ปรึกษาแต่ละฝ่ายและกระบวนการทำงานและการให้คำปรึกษา ขั้นตอนเทคนิคการขอคำปรึกษา การระดมความคิด การนำแนวความคิดมาสู่การปฏิบัติ ต้องอาศัยความสามารถในการประสานงาน ซึ่งต้องอาศัยความสามารถ ในการประสานใจ ดังคำกล่าวที่ว่า ประสานใจก่อนค่อยประสานงาน

ปัจจัยความสำเร็จ โครงการกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม จะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้บริหารในการระดมความคิด เทคนิคการขอความปรึกษา เทคนิคการประสานงาน กระบวนการวางแผน แผนการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน โดยการสร้างแรงจูงใจ

ปัจจัยความล้มเหลว องค์กรขาดแผนการทำงาน ผู้บริหารองค์กรขาดทักษะการประสานงาน บุคลากรขององค์กรไม่เห็นความสำคัญของที่ปรึกษา ไม่นำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ ขาดการประเมินผล

จากการศึกษา กรณีศึกษาพารณ-จีระ

นวัตกรรมประกอบด้วย

1. ความคิดใหม่ เช่น การนำรูปแบบการเรียนรู้ (Constructionism) ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ และ

มุ่งพัฒนาทักษะ 5 ด้านให้กับผู้เรียน ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด ความมั่นคงทางอารมณ์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการใช้เทคโนโลยี และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยอาศัยทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎีทุน 8 K’s, 5 K’s และทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

2. ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากการเดินทางไปศึกษาดูงาน แสวงหาความรู้ตลอดเวลา การเชิญ

ผู้เชี่ยวชาญ มาเป็นที่ปรึกษา นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ เช่น การพัฒนาหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับท้องถิ่นและความต้องการแรงงาน นักเรียนได้เรียนรู้ ทดลอง และหาข้อมูล สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

3. นำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จ และไม่หยุดที่จะต่อยอด

องค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อไป และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย

เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ มุ่งเน้นให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนาการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องอาศัยการพัฒนากระบวนการคิด ให้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และในฐานะที่คนเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสังคม และสิ่งแวดล้อม คุณภาพของคนดังกล่าวจะเป็นสภาพที่เสริมสร้างการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม และสืบทอดวัฒนธรรม อันเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

1. การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ (Constructionism) นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการประเมินผล ต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อไป

2. การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงาน เกิดทักษะและให้มีคุณภาพมากขึ้น

ปัจจัยความสำเร็จ ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ศึกษา แสวงหาความรู้ตลอดเวลา จนเป็นนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต

ปัจจัยความล้มเหลว ผู้นำถ้าขาดภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่ขับเคลื่อนงานไปสู่ความสำเร็จได้ และการทำงานสิ่งใดเมื่อคิด วางแผนแล้วไม่ทำ ก็ไม่เกิดงานและไม่ประสบความสำเร็จ

นางสาวนันท์นภัส วิกุล

Ph.D นครราชสีมา

นายอำนวย คุ้มบ้าน

จากการได้ศึกษาเอกสารมนุษย์พันธ์แท้ กรณีศึกษาการพัฒนาการศึกษาไทย ณ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ) กรณีศึกษาพารณ – จีระ.. มุ่งมั่น..พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

สรุปแนวคิดดังกล่าวได้ดังนี้ คุณครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯ ได้ทุ่มเทกำลังกาย ใจ และความคิดเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณของทางราชการ แต่สามารถระดมความร่วมมือจากเครือข่ายผู้ปกครองอย่างเป็นระบบและกระบวนการสามารถสร้างนวัตกรรมการพัฒนาการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับและแสวงหาความร่วมมือช่วยเหลือจากผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาสนับสนุนจนเกิดนวัตกรรมดังกล่าว อันส่งผลให้ผู้บริหารการศึกษาเห็นความสำคัญได้ส่งบุคลากรไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศ อีกทั้งสามารถเชื่อมเครือข่ายการเรียนระหว่างประเทศได้เป็นผลสำเร็จ สร้างศักยภาพทางการเรียนการสอนให้โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ) เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก

สำหรับการจัดทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาเอกสารมนุษย์พันธ์แท้ กรณีศึกษาการพัฒนาการศึกษาไทย ณ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ) กรณีศึกษาพารณ – จีระ.. มุ่งมั่น..พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ นั้น ผู้ศึกษาได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน คือ การสอนวิชาชีพภาษานานาชาติสู่โรงเรียนในการเตรียมรับสังคมอาเซี่ยนเสรี โดยได้จัดทำโครงการ”เสริมสร้างวิชาชีพภาษาสู่โรงเรียน” พอสังเขปดังนี้

1.ชื่อโครงการ”เสริมสร้างวิชาชีพภาษาสู่โรงเรียน”

2. หลักการและเหตุผล

จากกรณีศึกษามีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการบริหารจัดการ การพัฒนาการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสด้านภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น พม่า กัมพูชา มาเลเซีย และภาษาอื่น ๆ ที่สามารถใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซี่ยน โดยกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียคือผู้ปกครองนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยยึดหลักการสร้างนวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) คิดค้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง Media Lab Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาวิจัยพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กมากว่า 20 ปีและได้สรุปเป็นทฤษฏีว่า“การเรียนรู้ที่ดีกว่า ไม่ได้เกิดจากการที่ครูค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่า แต่เกิดมาจากการที่ครูให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง” Prof. Seymour Papert, 1996 จากกรณีศึกษาจากเอกสารยังต้องใช้ทฤษฏี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าที่สุด ควบคู่ไปกับการเกิดนวัตกรรมใหม่ โดยมีการใช้ทฤษฏี 4 L’s ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s มากระตุ้นผู้บริหารโรงเรียนเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาการเรียนการสอนที่เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถสร้างความรู้ด้านภาษาในกลุ่มอาเซี่ยนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับสังคมอาเซี่ยนเสรี

3.วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนโรงเรียน

2.เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนทุกระดับชั้นในการเรียนรู้ด้านภาษา

3.เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม

4.เพื่อยกระดับการพัฒนาโรงเรียนไปสู่ระดับนานาชาติที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

5.เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัตน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมอาเซี่ยนเสรี

4.ร่วมกันนำเสนอปัญหาในการทำงานและแนวทางแก้ไข

จากกรณีศึกษา แนวคิดด้านนวัตกรรม ในรูปแบบต่างๆคือ ต้องมาจากความคิดใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลาเมื่อมีความคิดใหม่แล้ว ต้องลงมือทำ เพราะถ้าคิดแต่ไม่ทำ นวัตกรรมก็ไม่เกิด ผู้บริหารของโรงเรียนสนับสนุนให้เกิดโครงการใหม่ ๆ คือมีการทำไปทำ (Action) หรือเรียกว่ามีการเริ่มให้เป็นรูปธรรม (Initiative for action) ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลว่าคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจากมุมมองของครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ประโยชน์มากขึ้นจากคุณภาพการศึกษาที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น

ความคิดใหม่ (Idea) การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพได้นั้น จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมในการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและชุมชน สังคม รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสองส่วนที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก คือ ครูและผู้ปกครอง บ้านและโรงเรียน การสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน นั้น ผู้บริหารโรงเรียนหรือครูต้องยึดแนวทางของ ครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯ ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อนเป็นอันดับแรก ให้ผู้ปกครองเข้าใจแนวทางของโรงเรียน แนวทางการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมจากจุดเล็กๆ ตามแนวทาง มีการทำไปทำ (Action) หรือเรียกว่ามีการเริ่มให้เป็นรูปธรรม (Initiative for action) ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลว่าคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจากมุมมองของครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ประโยชน์มากขึ้นจากคุณภาพการศึกษาที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น จัดการเรียนการสอนสู่สังคมอาเซียนอย่างมืออาชีพ และสอดรับกับสังคมตามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเน้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้นักเรียนเก่งอย่างมีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมพร้อมจะเติบโตเป็นบุคลากรของสังคมที่ดีมีคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ต้องมีวิธีการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยการบูรณาการด้วย

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบการพัฒนากระบวนการคิดและการจัดการนี้ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดและการจัดการ เพื่อให้คิดค้น ค้นคว้า แก้ปัญหา ด้วยตนเองและเป็นกลุ่ม ลักษณะการจัดกิจกรรมจะต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ในชีวิตจริง เน้นฝึกทักษะการสืบเสาะหาความรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทั้งการคิดและการจัดการ มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับการคิดสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ใช้กระบวนการกลุ่มระดมความคิด ร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์ วางแผนหาแนวทางปฏิบัติ เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาส่งเสริมศักยภาพ โดยเฉพาะด้านความมีเหตุผล การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีจิตวิจารณญาณ คำนึงถึงการพัฒนาของผู้เรียน แต่ละช่วงชั้นเรียน ทั้งด้านความสามารถ ความสนใจ อารมณ์ความสุขสนุกกับการเรียน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับทุนมนุษย์จากกรณีศึกษา การได้นำแนวทางของคุณครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯมาจัดทำโครงการ”เสริมสร้างวิชาชีพภาษาสู่โรงเรียน” นวัตกรรม (Innovations) หากผู้บริหารเห็นถึงความสำคัญและมีวิสัยทัศน์ที่ดีต่อการพัฒนาการศึกษา พร้อมทั้งยอมรับในนวัตกรรมด้านการเปิดสอนวิชาชีพด้านภาษาในโรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นตลอดจนระดับนานาชาติโดยไม่ต้องใช้งบประมาณของทางราชการ เป็นการแสวงหาความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองต่างก็มีความหลากหลายด้านความรู้และวิชาชีพ แต่ในจำนวนนี้ย่อมมีผู้มีความรู้ด้านภาษาหรืออาจจะเป็นการร่วมระดมทุนจัดสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ ตามแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็สามารถสร้างความสำเร็จได้ อีกทั้งการได้แสวงหาความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาและต้องผ่านการลงมือทำอย่างจริงจัง พร้อมทั้งการติดตามประเมินผล สรุปบทเรียนในจุดอ่อนข้อผิดพลาดเพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาใหม่ให้เกิดผลสำเร็จ

สรุป ตามโครงการ”เสริมสร้างวิชาชีพภาษาสู่โรงเรียน” ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวทางของคุณครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯได้ใช้หลักการนำองค์ความรู้มาใช้ได้จริง คือ องค์ความรู้ที่ผู้ปกครองนักเรียนมี หรือองค์ความรู้ที่โรงเรียนมี ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ที่เกิดจากการระดมความคิดระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน แบบร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อสร้างสรรค์การเรียนที่ดีสู่ลูกหลานเรา ในขณะเดียวกันต้องเกิดการประสานงานสร้างแรงจูงใจและผ่านกระบวนการทำซ้ำแล้วซ้ำอีก จนบรรลุเป้าหมาย จากนั้นต้องนำเข้าสู่กระบวนการ บูรณาการในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในลำดับอื่นต่อไป

----------------------------------------

นายกมล ค้าไกล (ศูนย์ภูเก็ต)

โครงการกิจกรรมเครือข่ายผู้ปกครอง ประจำปี 2554

1.ชื่อโครงการ”การเสวนาเครือข่ายผู้ปกครอง”

เรื่อง “บทบาทหน้าที่ของเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน โรงเรียนภูเก็ต”

จากกรณีศึกษา ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ กรณีศึกษาพารณ-จีระ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางสังคม โดยกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียคือผู้ปกครองนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

2. หลักการและเหตุผล

เครือข่ายผู้ปกครอง คือคณะบุคคลที่ประกอบขึ้นด้วยคณะของผู้ปกครองนักเรียนในแต่ละห้องเรียน ที่รวมตัวขึ้นมาเพื่อร่วมกันพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียน ตามสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โดยกำหนดให้เครือข่ายผู้ปกครอง ตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับครูที่ปรึกษา ร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านการเรียนของนักเรียน และทำให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะหารือกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนในห้องเดียวกัน

เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา การดำเนินการและรูปแบบของเครือข่ายผู้ปกครองขาดความชัดเจน การที่เครือข่ายผู้ปกครองและครู ต่างไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย อาจทำให้การทำงานร่วมกันมีปัญหาอุปสรรคได้ ดังนั้นเครือข่ายผู้ปกครองจึงเห็นความสำคัญของการจัดเสวนาในครั้งนี้เพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ไม่ก้าวก่ายการทำงานของโรงเรียนและครูมีความเข้าใจการทำงานของเครือข่ายผู้ปกครองมากขึ้น มุ่งหวังที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกัน ทำให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปอย่างยั่งยืน และปราศจากอุปสรรค เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อนักเรียนและโรงเรียนภูเก็ต

จากกรณีศึกษาใช้ทฤษฏี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าที่สุด ควบคู่ไปกับการเกิดนวัตกรรมใหม่ โดยมีการใช้ทฤษฏี 4 L’s ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากระตุ้นผู้บริหารโรงเรียนเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาระบบเครือข่ายผู้ปกครอง อย่างแท้จริง

3.วัตถุประสงค์

(1)เพื่อให้เครือข่ายผู้ปกครองทุกคน มีความรู้และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง

(2)เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกอันเป็นเรื่องสำคัญในการทำงานร่วมกัน รวมถึงเรื่องความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความมีจิตอาสา ความเสียสละ ของเครือข่ายผู้ปกครอง

(3)เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ครูและเครือข่ายผู้ปกครอง ให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกัน เครือข่ายผู้ปกครองสามารถให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนโรงเรียน

(4)ร่วมกันนำเสนอปัญหาในการทำงานและแนวทางแก้ไข

จากกรณีศึกษา มีแนวคิดด้านนวัตกรรม ในรูปแบบต่างๆคือ

ความคิดใหม่ (Idea)

การจัดการเรียนรู้ที่ดีและจะสำเร็จได้ ต้องมาจากสองส่วน โดยเกิดจากความร่วมมือของครูและผู้ปกครอง ทั้งบ้านและโรงเรียน ซึ่งการที่จะทำให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมได้นั้น ครูต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อนเป็นอันดับแรก ให้ผู้ปกครองเข้าใจแนวทางของโรงเรียน แนวทางการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมเช่น อาสาสมัคร จิตอาสา และค่อยๆ มีส่วนร่วมในการพัฒนาลูกร่วมกับทางโรงเรียน เช่น ช่วยแก้ปัญหาต่างๆของลูกร่วมกับครู จัดกิจกรรมพัฒนาลูก เป็นวิทยากรสอนในสิ่งที่ตนเองถนัด และในขั้นสูงสุดให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการเป็นเจ้าของกิจกรรมและออกแบบจัดกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียน เช่น งานวันไหว้ครู งานกีฬาสัมพันธ์ เป็นต้น โดยโรงเรียนควรปลูกฝังเรื่องนี้ให้กับผู้ปกครองตั้งแต่ส่งลูกเข้าเรียนอนุบาลและทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเด็กทุกคน และเพื่ออนาคตของชาติ

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

จากการระดมความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มาจากหลายอาชีพ มีความคิดเห็น การปฏิบัติงานและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มาสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน ทำให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของโรงเรียนและชุมชนว่ามีปัญหาหรือความต้องการ ความคาดหวัง ที่อยากให้เกิดกับตัวนักเรียนอย่างไร มีสิ่งใดที่ต้องการให้โรงเรียนดำเนินการ นอกจากนี้ยังอาจมีการเสียสละในด้านกำลังทรัพย์ของตนเอง ความคิด และแรงงาน ในการเข้าร่วมกับกิจกรรมเพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย นับตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น การวางแผน การดำเนินการและการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางตรง คือ ร่วมเป็นคณะทำงานและทางอ้อมร่วมวางแนวทาง นโยบาย โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม คือ หลักร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับผิดชอบ

4.เป้าหมาย

ด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ

5.สถานที่ดำเนินการ

หอประชุมโรงเรียนภูเก็ต

6.ระยะเวลา

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 08.30 - 16.00 น.

7.วิธีดำเนินการ (ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นประเมินผล )

8.งบประมาณดำเนินการ

ค่าเอกสาร ,ค่าอาหารว่าง ,ค่าอาหารกลางวัน ฯ ขอสนับสนุนจากโรงเรียนภูเก็ต

9.ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนภูเก็ต

10.ผู้เกี่ยวข้อง

ผู้บริหารโรงเรียน ,ครูหัวหน้าระดับทุกระดับ , ครูที่ปรึกษาทุกห้อง

คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองทุกคน (ระดับโรงเรียน,ระดับชั้นเรียน,ระดับห้องเรียน)

11.การติดตามประเมินผล ( ระบุวิธีการ ,เครื่องมือ และเวลา )

วิธีการ (แบบสอบถาม) เครื่องมือ(แบบสอบถาม) เวลา(หลังจากเสร็จสิ้นการเสวนา)

12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) เครือข่ายผู้ปกครองมีความเข้าใจในบทบาทของตนเอง

(2) เครือข่ายผู้ปกครองมีความสามัคคีเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน มีจิตอาสา มีความเสียสละ มีทัศนคติเชิงบวก มีความร่วมมือกันทำงานทุกระดับชั้นโดยมีนักเรียนและโรงเรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ

(3)ครูมีความเข้าใจการทำงานของผู้ปกครองและสามารถประสานงานและช่วยเหลือร่วมมือกันทำงานเพื่อนักเรียนและโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ความเข้าใจระหว่างครูและผู้ปกครองมีมากขึ้น

(4)มีแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น

13. ผู้เสนอโครงการ

ประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนภูเก็ต

14.ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ต

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์เกิดจากการสร้างเครือข่าย(Network)ที่ดี มีการใช้ Connection กับผู้ปกครองที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาให้ความรู้ การแนะนำ และขยายเครือข่ายออกไป การมีส่วนร่วมของประชาชน นับเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น หากชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา รวมถึงการเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้และมีเวลาว่างมาเป็นครูให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านภูมิปัญญากับบุตรหลาน ย่อมเกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนที่ได้บุคลากรเพิ่ม ส่วนผู้ปกครองย่อมภาคภูมิใจที่ได้สอนบุตรหลานในโรงเรียน รวมถึงนักเรียนที่จะมีความเคารพและนับถือในตัวผู้ปกครองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียนและชุนชม

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว อาจเกิดขึ้นได้ในหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ขาดการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ไม่มีการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร ไม่ได้ดูแบบอย่างของความสำเร็จจากการศึกษาดูงานของโรงเรียนต่างๆ และสุดท้ายไม่มีการบูรณาการทางความคิดจากการศึกษาดูงาน ทำให้การบริหารงานเครือข่ายผู้ปกครองล้มเหลวในที่สุด

จากการอ่านกรณีศึกษาพารณ-จีระ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ สรุปได้ดังนี้

1.นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมที่สร้างองค์ความรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา(CONSTRUCTIOISM) คิดค้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง Medis Lab Massachuestts Institue of Technology) (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เป็นการเรียนรู้แบบลงมือปฎิบัติ โดยการทำโครงงานบูรณาการด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจรรยา โดยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยให้บทบาทของครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เพื่อให้ครูติดตามพัฒนาการด้านพฤติกรรม อุปนิสัยและจิตใจของเด็กนักเรียน โดยเริ่มการจากเขียนโครงการ นำเสนอโครงการ การขอนุมัติและการบริการโครงการ โดยอาจจะเริ่มจากความสนใจของผู้เรียน ว่าสนใจโครงงานใดบ้าง เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ภาษา คณิตศาสตร์ ซึ่งครูจะต้องเตรียมโครงงานที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างโดยใช้เทคโนโลยี่เป็นสื่อ ซึ่งครูและผู้เรียนจะวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความเป็นเจ้าของโครงงานและมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานนั้นให้บรรลุผลสำเร็จ ขั้นตอนต่อไปมาเป็นเรียนรู้โดยการลงมือทำจริง เพื่อที่ผู้เรียนจะได้สัมผัสและเข้าใจกับสิ่งต่างๆได้อย่างลึกซึ้ง โดยสรุปความรู้และเก็บบันทึกผลงานอาจจะในรูปแบบของบทความ สมุด รวบรวมผลงาน แผนภาพความคิด เป็นการให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้เอง และนำเสนอองค์ความรู้ด้วยการจัดนิทรรศการ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิดแผนที่นำเสนอเอง แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ประเมินผลแบบ 360 องศา เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ และการประเมินด้านความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม ผ่านแบบทดสอบ ชิ้นงาน กิจกรรม แฟ้มผลงานแบบบันทึกพฤติกรรมโดยครู ซึ่งจะสามารถนำมาต่อยอดองค์ความรู้ โดยการนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงการมาใช้เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่การทำโครงงานที่ใหญ่ขึ้น โดยรูปแบบการเรียนรู้ที่ต้อเนื่องอย่างไม่มีสิ้นสุด(Spiral Model)

2.การเสนอเป็นโครงการ

แบบเสนอโครงการ

ชื่อโครงการ นิทัศน์การส่งเสริมเพิ่มการเรียนรู้ภาษาไทยสู่สากล

ชื่อหัวหน้าโครงการ หัวหน้าห้องชั้นประถมปีที่ 6

ชื่อหัวหน้าผู้ดูแลโครงการ คุณครูประจำชั้นประถมปีที่ 6

ระยะเวลาของโครงงาน 2 วัน งบประมาณ 1,500-บาท

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 รู้จักพัฒนาทักษะในกระบวนการคิดและการถ่ายทอด ทำงานเป็นทีม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความคิดใหม่และคิดในเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา รู้จักคิดเป็น คิดนอกกรอบ ซึ่งจะเป็นให้เกิดโครงการใหม่ๆ ต่อไป

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ คือ ปัจจัยในการบริหารคน คนที่มีความพร้อมทางสมรรถนะในการปฏิบัติงานจะเป็นทรัพยากรที่ทุก ๆ องค์การต้องสรรหาเข้ามาปฏิบัติงาน หรือถ้าเป็นทุนมนุษย์ที่มีอยู่แล้วในองค์การ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการรักษา และจูงใจให้ทุนมนุษย์เหล่านั้นอยู่ปฏิบัติงานนาน ๆ สรุปง่าย ๆ ได้ว่าปัจจุบันองค์การต่าง ๆ กำลังถูกทุนมนุษย์ที่มีสมรรถนะพร้อมในการปฏิบัติงานเลือกว่าพวกเขาจะเลือกองค์การใดในการทำงาน เพราะฉะนั้นองค์การต่าง ๆ จึงต้องมีการปรับตัวพัฒนาแนวคิดในการบริหารองค์การเสียใหม่ เพื่อที่จะพัฒนาองค์การให้เป็น “องค์การแห่งทางเลือก (Employer of choice)” ในหมู่ทุนมนุษย์ที่มีฝีมือเหล่านั้น การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งทางเลือก

โดยนางสาววรัญญา นาคดิลก นักศึกษา ป.เอก ม.สวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์ ศูนย์ภูเก็ต

จากการได้อ่านกรณีศึกษาพารณ – จีระ..มุ่งมั่น..พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านชาคลี อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ข้าพเจ้ารู้สึกปลื้มปิติในความมุ่งมั่นและการพัฒนาทุนมนุษย์ของท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่มีคุณูปการต่อการพัฒนาการศึกษาไทย ในกรณีศึกษาการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ และกรณีของคุณพารณ คือการสร้างนวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ที่สันกำแพงและที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ข้าพเจ้าชื่นชอบในการค้นหาความรู้และวิธีวิทยการสอนใหม่ๆ จากทางอินเทอร์เน็ต ข้าพเจ้าเคยอ่านบทความของท่านอาจารย์จากทางอินเทอร์เน็ต ท่านอาจารย์เป็นแรงบันดาลใจ ที่ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ทุนที่สำคัญคือทุนมนุษย์ และข้าพเจ้าเชื่อว่า ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าทุกคนเป็นผู้มีศักยภาพไม่แพ้เด็กที่อยู่ในเมืองกรุง ขึ้นอยู่กับว่าครูจะดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคคลมาสู่การเรียนรู้อย่างมีความหมายได้อย่างไร กรณีศึกษาเรื่องภาพยนตร์สั้นสื่อสร้างเสริมคุณธรรมในโลกยุคดิจิตอลของโรงเรียนบ้านชาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง เป็นกรณีศึกษาที่นำไปสู่การคิดค้นโครงการภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่สอดคล้องกับโลกยุคไอทีผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างกลมกลืนเพื่อการก้าวไปในสากลของโรงเรียนในเขตชนบท

กรณีศึกษา ภาพยนตร์สั้นสื่อสร้างเสริมคุณธรรมในโลกยุคดิจิตอลของโรงเรียนบ้านชาคลี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

…..จากการที่นักเรียนโรงเรียนบ้านชาคลี ได้เรียนรู้และสร้างภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรมเรื่อง “เด็กเลี้ยงแพะ” ด้วยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงและเชื่อในแนวคิด “Think Global, Act Local” ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลผลงานประทับใจคณะกรรมการ ระดับประเทศและรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ ๑ ระดับภาคใต้ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ ๖๐ “สุดยอดเด็กไทย ก้าวใหม่ที่ไกลกว่า” และ เป็นครั้งแรกในรอบ ๖๐ ปีของการก่อตั้งโรงเรียนที่นักเรียนโรงเรียนบ้านชาคลีคว้ารางวัลระดับประเทศมาครอง รวมถึงเป็นครั้งแรกของจังหวัดระนอง ที่โรงเรียนในเขตชนบทเป็นตัวแทนเข้าร่วมในกิจกรรมวิชาการระดับประเทศ และสร้างกระแสภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษาให้ตื่นตัว โรงเรียนบ้านชาคลีทำได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าศึกษา…..

สังคมโลกปัจจุบันมีความก้าวหน้าขององค์ความรู้และวิทยาการต่างๆ อย่างมากมาย ความเจริญทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตเพิ่มมากขึ้นจนหลายครั้งความสะดวกสบายเหล่านี้กลายเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาสังคม สมาชิกในสังคมเกิดความหลงลืมละเลยที่จะพัฒนาคุณธรรมหรือคุณงามความดีที่มีอยู่ในตนเอง (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖) ให้ทัดเทียมเท่าทันความรุดหน้าทางวิทยาการที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่คุณธรรมนั่นจะช่วยให้การใช้ความรุดหน้าของวิทยาการเหล่านี้เป็นไปในครรลองที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ดังที่ประจักษ์กันอยู่ทั่วไป

การพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษาให้เกิดคุณธรรมนั้นเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากคุณลักษณะดังกล่าวมีผลต่อการเรียนรู้และเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนและจากสภาพความเป็นจริงพบว่ายังมีผู้เรียนในระดับประถมศึกษาขาดคุณธรรมดังกล่าว

หลักสูตรกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

๑. แนวคิด ทฤษฎี หลักการเบื้องต้นของภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา

๒. มุมมองและการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์สั้น

๓. การเขียนบทภาพยนตร์สั้นเบื้องต้น

๔. การกำกับภาพ

๕. การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น

๖. การตัดต่อ การลำดับภาพ การตัดต่อเสียง

๗. การฝึกปฏิบัติการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ความยาว ๑๐ นาที

๘. การวิจารณ์ภาพยนตร์สั้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผล

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

1.นักเรียนทดสอบก่อนเรียน

2.นักเรียนรับชมตัวอย่างภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนเห็นตัวอย่าง

3.ครูแนะนำวิธีการ ขั้นตอนในการผลิตภาพยนตร์สั้น เช่น การเขียนบทภาพยนตร์สั้น การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น การตัดต่อภาพยนตร์สั้น เป็นต้น

4.นักเรียนฝึกปฏิบัติการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ครูประเมินคุณธรรมในระหว่างการปฏิบัติงาน

5.นักเรียนนำเสนอผลงานภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

6.ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองจากภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในด้านของข้อคิดคุณธรรมจากการรับชม

7.นักเรียนทดสอบหลังเรียน

เสนอแนวทางการนำนวัตกรรมมาประยุกต์พัฒนาหน่วยการศึกษา – สถานศึกษากรณีศึกษา

รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมโดยใช้กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา เป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนในสถานศึกษา เนื่องจากนักเรียนจะได้การสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารข้อมูล ผ่านมุมมอง อันสะท้อนถึงจินตนาการและมโนธรรม ภายใต้หัวข้อของการสร้างสรรค์บนพื้นฐานหลักคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้สามารถนำมาบูรณาการได้เป็นอย่างดีกับนักเรียนในทุกระดับชั้น โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕-๖ จะมีหน้าที่หลักในการการเขียนบทภาพยนตร์สั้น การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น การตัดต่อภาพยนตร์สั้น เป็นต้น ส่วนนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ เหมาะสมกับหน้าที่นักแสดง จะเห็นได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกสนาน สอดแทรกแง่คิดคุณธรรมในทุกขั้นตอน นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ดังเช่น กรณีศึกษาของโรงเรียนบ้านชาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง

ผลงานภาคภูมิใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านชาคลี

ภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ

“แวะมาเที่ยวชาคลี มาดูเด็กดี เป็นเด็กเลี้ยงแพะ ไม่ใช่เด็กเลี้ยงแกะ”

ทางโรงเรียนบ้านชาคลีได้ฝึกซ้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน จังหวัดระนอง ผลการแข่งขันภาพยนตร์สั้นคุณธรรมจริยธรรม เรื่อง “เด็กเลี้ยงแพะ” กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ได้รับเหรียญทองระดับจังหวัด นักเรียนในทีม ๕ คนได้เป็นตัวแทนจังหวัดเข้าร่วมแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาคใต้ ในระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ จังหวัดตรัง ผลการแข่งขันนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับ ๑ ระดับภาคใต้ และเป็นตัวแทนภาคเข้าร่วมการแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับประเทศ ณ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา นักเรียนได้รับรางวัลผลงานประทับใจคณะกรรรมการ สร้างความภาคภูมิใจให้คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และชุมชนชาวชาคลีเป็นอย่างยิ่ง

ภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ เป็นเรื่องราวที่มุ่งสอนให้นักเรียนรักและเมตตากรุณาต่อสัตว์เลี้ยงของตน รวมทั้งสร้างความตระหนักไม่ให้นักเรียนหลงใหลในเทคโนโลยีจนมากเกินไป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากโรงเรียนบ้านชาคลีได้จัดทำโครงการ “แหล่งเรียนรู้แพะโรงเรียน” ขึ้น นักเรียนจึงได้เรียนรู้และใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในการถ่ายทำหนังสั้นด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เริ่มตั้งแต่การเขียนบทภาพยนตร์ การถ่ายทำ และการตัดต่อภาพยนตร์ โดยครูเป็นผู้แนะนำอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน ด้วยผลแห่งความพยายาม และตั้งใจจริงของนักเรียน ทางคณะกรรมการจึงมอบรางวัลผลงานประทับใจคณะกรรรมการ คณะกรรมการตัดสินผลการประกวดระดับประเทศได้กล่าวในวันตัดสินผลการประกวดว่า “ผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ เป็นผลงานที่ดูแล้วมีความสุข แสดงถึงความใสซื่อ จริงใจ ช่างจินตนาการของนักเรียน”

บทสรุป

ปัจจุบัน ภาพยนตร์นับเป็นสื่อบันเทิงที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังสามารถสอดแทรกสาระความรู้ รวมถึงให้แง่คิดในเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

“ภาพยนตร์สั้น” หรือ “หนังสั้น” คือหนังที่มีความยาวไม่เกิน ๓๐ นาที การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นอีกทางออกหนึ่งของเยาวชนในการสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารข้อมูล ผ่านมุมมอง อันสะท้อนถึงจินตนาการและมโนธรรม ภายใต้หัวข้อของการสร้างสรรค์บนพื้นฐานหลักคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีขอบเขตที่จะพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ซึ่งประกอบด้วย คุณธรรมด้านความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ ทั้งนี้เนื่องจากผลการศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และผลการวิจัยพบว่าคุณธรรมพื้นฐานทั้ง ๘ ประการเป็นคุณธรรมที่พึงประสงค์ซึ่งต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นกับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาเป็นลำดับแรก

รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมโดยใช้กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้น มีดังนี้ ๑) จูงใจสู่บทเรียน ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมซึ่งเป็นผลงานที่ครูได้รวบรวมไว้เพื่อให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมผลิตภาพยนตร์สั้น

๒) แจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ทราบ ครูแจ้งวัตถุประสงค์ในการผลิตภาพยนตร์สั้นให้นักเรียนรับทราบ โดยครูอาจแบ่งเป็นหัวข้อคุณธรรมให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบตามความสมัครใจ ๓) นำเสนอบทเรียนใหม่ หรือจัดสถานการณ์ ครูแนะนำกระบวนการเขียนบทภาพยนตร์สั้น การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น และการตัดต่อภาพยนตร์สั้นให้แก่นักเรียน ๔) ปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม นักเรียนแต่ละกลุ่มประชุมวางแผนและแบ่งหน้าที่กันภายในกองถ่าย จากนั้นช่วยกันระดมความคิดเพื่อวางแผนในการเขียนบทภาพยนตร์ การถ่ายทำ และการตัดต่อภาพยนตร์สั้น และนำแผนไปสู่การปฏิบัติจริง๕) นำเสนอผลงาน นักเรียนจัดฉายภาพยนตร์ให้ครูและเพื่อนสมาชิกคนอื่นๆในห้องได้รับชม๖) ร่วมกันเสนอแนะและวิจารณ์ นักเรียนและครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อคุณธรรมที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ พร้อมกับอภิปรายข้อคิด คุณค่าที่ได้รับจากภาพยนตร์ในแต่ละเรื่อง ข้อคิดคุณธรรมจากการรับชม ๗) นำไปใช้ นักเรียนเผยแพร่ผลงานให้นักเรียนชั้นอื่น ๆได้รับชม หรือการเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมคุณธรรมอันดีงามให้เกิดขึ้นในสังคม

จากกรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้ภาพยนตร์สั้นของโรงเรียนบ้านชาคลี ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้การทำผลิตภาพยนตร์สั้นจากคุณครู และสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มุ่งสอนให้นักเรียนรักและเมตตากรุณาต่อสัตว์เลี้ยงของตน รวมทั้งสร้างความตระหนักไม่ให้นักเรียนหลงใหลในเทคโนโลยีจนมากเกินไป โดยนักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนคือ โครงการ “แหล่งเรียนรู้แพะโรงเรียน” ในการถ่ายทำเรื่องราวความผูกพันระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง เริ่มตั้งแต่การเขียนบทภาพยนตร์ การถ่ายทำ และการตัดต่อภาพยนตร์ โดยครูเป็นผู้แนะนำอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน ด้วยผลแห่งความพยายาม และตั้งใจจริงของนักเรียน ทางคณะกรรมการจึงมอบรางวัลผลงานประทับใจคณะกรรรมการ คณะกรรมการตัดสินผลการประกวดระดับประเทศได้กล่าวในวันตัดสินผลการประกวดว่า “ผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ เป็นผลงานที่ดูแล้วมีความสุข แสดงถึงความใสซื่อ จริงใจ ช่างจินตนาการของนักเรียน” ทั้งนี้จากการประเมินผลนักเรียนด้านพฤติกรรมคุณธรรมและเจตคติที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวพบว่า นักเรียนทุกคนมีความรักและเมตตาต่อสัตว์เลี้ยงมากขึ้น และนักเรียนในโรงเรียนที่ได้รับชมก็เพลิดเพลินและได้รับข้อคิดคุณธรรมจากตัวอย่างที่นักเรียนได้รับชมจากภาพยนตร์

ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมคุณธรรมในสถานศึกษาด้วยกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นในระดับประถมศึกษา

ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมคุณธรรมในสถานศึกษาด้วยกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา ในระดับประถมศึกษา มีดังต่อไปนี้

สำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ควรส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อช่วยให้เกิดพฤติกรรมคุณธรรมของผู้เรียน เนื่องจากในระดับการศึกษานี้ ครูมีอิทธิพลสูงและมี “บทบาทโดยตรง” ในการดูแลจัดการ และเป็นต้นแบบให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมคุณธรรมขึ้นได้ ทั้งนี้ ควรจัดโครงการฝึกอบรมครูให้มีความเข้าใจในความหมายของ “คุณธรรม” ด้านต่างๆ ที่ต้องการส่งเสริมอย่างชัดเจน และฝึกทักษะครูในการถ่ายทอดคุณธรรมไปสู่นักเรียน ทั้งในลักษณะของการถ่ายทอดผ่านการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรให้กับเด็ก

นอกจากนี้ สถานศึกษายังสามารถกำหนดนโยบายต่างๆ ในการส่งเสริมคุณธรรมและจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมต่างๆ ให้แก่ผู้เรียนได้โดยตรง เช่นกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เนื่องจากผู้เรียนในระดับประถมศึกษามีการยอมตามและเชื่อในครูผู้สอนค่อนข้างมาก ทั้งยังให้ความสำคัญกับกฎระเบียบมากกว่าผู้เรียนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การที่นักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนเดียวกัน มักจะมีพฤติกรรมและความคิดในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากมาจากชุมชนใกล้โรงเรียนซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ได้รับบรรทัดฐานจากชุมชนในระดับใกล้เคียงกัน และมีลักษณะครอบครัวที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้ง่ายสำหรับสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมที่เป็นที่สนใจและเหมาะสมกับนักเรียนในชุมชนได้ ทั้งนี้ควรพิจารณาให้ความสำคัญในการจัดบรรยากาศในสถานศึกษาเช่น การจัดโครงการแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ให้เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมและพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนนักศึกษาโดยอาจเน้นการส่งเสริมในด้านกิจกรรมนอกหลักสูตรต่างๆ ของนักเรียนให้เป็นกิจวัตรต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อให้บรรยากาศในการสร้างเสริมคุณธรรมในสถานศึกษามีความชัดเจน และเกิดการรับรู้ในกลุ่มนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งในระยะเวลาในหนึ่งปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้เป็นวิทยากรเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาพยนตร์สั้นให้แก่คณะครูจากกลุ่มโรงเรียนในฝันและในปีนี้ก็ได้จัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ ๒ โดยเป้าหมายในปีนี้นอกจากจะอบรมครูแล้วยังขยายผลไปสู่โรงเรียนเครือข่าย โดยแต่ละโรงเรียนจะส่งครูหนึ่งคนและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องภาพยนตร์สั้นและสร้างเครือข่ายการผลิตภาพยนตร์สั้นให้เป็นที่รับรู้โดยกว้างขวาง

ชื่อโครงการ โครงการอบรมภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา

ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๕-๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

๑. หลักการและเหตุผล

ภาพยนตร์สั้นนับเป็นสื่อบันเทิงที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังสามารถสอดแทรกสาระความรู้ รวมถึงให้แง่คิดในเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี กระแสภาพยนตร์สั้นได้รับเสียงตอบรับจากคนส่วนใหญ่อย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์สั้นจะมีช่วงเวลาในการฉายไม่เกิน ๑๕-๓๐ นาที โดยเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือแสดงขึ้นตามจินตนาการ ทั้งนี้จะเป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้ภาพยนตร์สั้นจึงเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นอีกทางหนึ่งของเยาวชนในการสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารข้อมูล ความคิด ผ่านมุมมอง อันสะท้อนถึงจินตนาการผ่านสื่อ คณะผู้จัดเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงจัดโครงการอบรมภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษาขึ้นเพื่อมุ่งหมายที่จะให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ถึงเทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นให้ตรึงใจผู้ชม

๒. วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อภาพยนตร์สั้นออกสู่สาธารณชน และสามารถนำผลงานการผลิตไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้

๒. เพื่อส่งเสริมเกิดการเรียนรู้ สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการจัดการเรียนรู้ได้

๓. เพื่อส่งเสริมการจัดทำสื่อภาพยนตร์สั้นให้กับหน่วยงานการศึกษาให้พึ่งพาด้วยตนเองได้

๔. เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนองค์แห่งการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูแต่ละโรงเรียน

๓. เป้าหมาย

๓.๑ เชิงปริมาณ

ครูและนักเรียน จำนวน ๕๐ คน

๓.๒ เชิงคุณภาพ

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อภาพยนตร์สั้น ร้อยละ ๘๐

๔. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน

๑)ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดโครงการ ทำความเข้าใจรายละเอียดของโครงการ การเตรียมความพร้อมของทีมทั้งด้านวิชาการ ทักษะการดำเนินงาน

๒) เตรียมคน โดยการประชาสัมพันธ์และกระตุ้นให้ครูในเครือข่ายได้รับรู้ความ

เป็นมาของโครงการและการดำเนินกิจกรรม

๓) ดำเนินการอบรมตามหลักสูตรภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา

๔) ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

๕) นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ

๕. หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

๑. แนวคิด ทฤษฎี หลักการเบื้องต้นของภาพยนตร์สั้น

๒. มุมมองและการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์สั้น

๓. การเขียนบทภาพยนตร์สั้นเบื้องต้น

๔. การกำกับภาพ

๕. การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น

๖. การตัดต่อ การลำดับภาพ การตัดต่อเสียง

๗. การฝึกปฏิบัติการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ความยาว ๑๐ นาที

๘. การวิจารณ์ภาพยนตร์สั้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผล

๖.ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

๑. ผู้เข้ารับการอบรมรับชมตัวอย่างภาพยนตร์สั้น เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตภาพยนตร์สั้น

๒. วิทยากรแนะนำวิธีการ ขั้นตอนในการผลิตภาพยนตร์สั้น เช่น การเขียนบทภาพยนตร์สั้น การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น การตัดต่อภาพยนตร์สั้น เป็นต้น

๓. ผู้เข้ารับการอบรมฝึกปฏิบัติการผลิตภาพยนตร์สั้น

๔. ผู้เข้ารับการอบรมเสนอผลงานภาพยนตร์สั้น

๕. วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองจากภาพยนตร์สั้น

๗. สถานที่ดำเนินการ โรงแรมไอเฟลล์อินน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์)

๑. ได้ร่วมพัฒนาครูและนักเรียนของโรงเรียนให้มีความรู้ในการผลิตภาพยนตร์สั้น

๒. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อภาพยนตร์สั้นออกสู่สาธารณชน และสามารถนำผลงานการผลิตไปใช้ประโยชน์ในอนาคต

ชมภาพยนตร์สั้นเด็กเลี้ยงแพะได้ที่ youtube แล้วพิมพ์ เด็กเลี้ยงแพะ

หรือเว็บไซต์โรงเรียนบ้านชาคลี ที่ www.banchaklee.com

ชนินท์ภรณ์ อธิกรพัฒนนนท์

วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2554

นางสาวชนินท์ภรณ์ อธิกรพัฒนนนท์ รหัสนักศึกษา 53484931017

E-Mail [email protected] Tel.081-8204822

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตภูเก็ต ระดับปริญญาเอก

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการทั่วไป ปีการศึกษา 2554 เทอม 1

รหัสวิชา PHD 8202 วิชา การจัดการทุนมนุษย์

________________________________________

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึษาพารณ – จีระ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่ 193 – 208 ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (นำเสนอเป็นโครงการฯ จากข้อมูลข้างล่างนี้) ตามไฟล์เอกสารแนบ

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน เสนอ

ความคิดใหม่ (Idea)

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

2. เสนอเป็น

Project Management

Project Presentation

Project Implementation

3. ปัจจัยในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

________________________________________

โครงการ ICT เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ

1. ผู้นำดำเนินการอย่างจริงจังจนเห็นผลทั้งระดับประเทศ กระทรวง สถานศึกษาโดยกำกับดูแลติดตาม และช่วยเอื้ออำนวยให้โครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

2. การสื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่ชัดเจน

3. ความพร้อมของสถานศึกษา

4. การประเมินผลมุ่งผลสำเร็จเป็นสำคัญและให้เป็นไปตามระบบเชิงวิจัยและพัฒนา

5. มีองค์กรที่รับผิดชอบโครงการที่มีดำเนินการอย่างอิสระ และโป่รงใส

6. ทุกองค์ประกอบต้องสอดรับกันทั้งระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ

เป้าหมายพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อ

1. เด็กและเยาวชนพัฒนาเด็กตามศักยภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีความพร้อม

2. ส่งเสริมให้สถานศึกษาที่มีความพร้อม สามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างก้าวกระโดด (Fast Trask)

3. เป็นแรงผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการศึกษาอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน

1. จัดให้มีทีมงานที่เข้มแข็งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาและจัดให้มีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ

2. ศึกษา รวบรวมข้อความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นแหล่งในการศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาการศึกษา

3. เน้นการทำงานในลักษณะเครือข่าย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทั้งภาครัฐเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

4. จัดระบบการติดต่อสื่อสาร และประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน แบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ ๑ : ทดลองนำร่องในโรงเรียนที่สมัครใจและมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ ซึ่งสามารถวัดผลประเมินผลได้ตามเกณฑ์กำหนดไว้

ระยะที่ ๒ : พัฒนารูปแบบและสร้างองค์ความรู้เชิงวิจัย และพัฒนาจากการทดลองนำร่องให้สามารถนำสู่การปฎิบัติจริงในโรงเรียนที่จะขยายผลต่อไป

ระยะที่๓ : ทยอยขยายผลสู่โรงเรียน

กิจกรรมสำคัญ

1. จัดตั้งสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการประสานงานการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

2. จัดให้มีแหล่งรวบรวมนวัตกรรมการศึกษาทั้งระดับชาติและเขตพื้นที่การศึกษาและจัดให้มี Website นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

3. ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมที่จำเป็น

4. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการศึกษาระดับชาติและเขตพื้นที่

6. มีระบบยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและใช้นวัตกรรมตลอดจนมีระบบเสริมแรงจูงใจแก่ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆ ที่มีสถานศึกษา

7. ระดมทรัพยากรจากหน่วยงาน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

8. ปรับปรุงกฏระเบียบและแนวปฏิบัติให้เอื้อต่อการดำเนินงานนวัตกรรมการศึกษา

9. มีระบบการตรวจสอบประเมินโดยองค์กรภายนอก

10. ในการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใช้กิจกรรมสำคัญดังนี้

 สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อสะท้อนความคิด แนวปฏิบัติที่ผ่านมาเพื่อการพัฒนาโรงเรียนก่อนเริ่มโครงการ

 จัดทำระบบการติดต่อสื่อสาร และดำเนินการสื่อสารให้ข้อมูลทุกด้านของโครงการสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง และต่อเนื่องเพื่อปลุกเร้าคุณประโยชน์ที่จะได้รับทั้งผู้บริหารและผู้รับโดยใช้สื่อทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดผลกระทบ

 คัดเลือกโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาเข้าร่วมโครงการ

 ดำเนินการทดลองนำร่อง 5 รูปแบบ ได้แก่ โรงเรียนในกำกับของรัฐ โรงเรียนวิถีพุทธ แผนและยุทธศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ โรงเรียนสองภาษา และโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

 สร้างความรู้ ความเข้าใจในรูปแบบการจัดการศึกษารูปแบบต่างๆ เพื่อปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ

 ติดตามประเมินผลและปรับปรุงจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

 สรุปผลการดำเนินงาน

การติดตามประเมินผลติดตามประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีการพัฒนาในลักษณะก้าวกระโดดเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนในมิติที่เป็นความต้องการของประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศการบริหารจัดการแนวใหม่ การพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลควลคู่กับการพัฒนาด้านจิตใจ ทั้งนี้ในช่วงปีแรกมีนักเรียนที่ได้รับผลประโยชน์และโรงเรียนในโครงการ

สรุปโครงการโรงเรียนใช้ ICT เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้

หลักการและเหตุผล เป็นโครงการที่ใช้ ICT พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข สำหรับเป็นต้นแบบแก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์ เพื่อนำ ICT พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย โรงเรียนระดับประถมศึกษา 5 แห่ง และระดับมัธยมศึกษา 5 แห่ง

การดำเนินการ (รายละเอียดตามร่างแผนดำเนินงาน โครงการโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT)

1. มหาวิทยาลัย 5 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่งและระดับมัธยม-ศึกษา 1 csj’

2. คัดเลือกโรงเรียนจำนวน 10 แห่ง เข้าร่วมโครงการโดยมีคุณลักษณะดังนี้

2.1 เป็นโรงเรียนที่ผู้บริหาร ผู้สอน เข้าร่วมโครงการโดยมีคุณลักษณะตามต้องการ

2.2 เป็นโรงเรียนขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา

2.3 เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในระหว่างการคัดเลือก

3. มหาวิทยาลัยเสนอแผนดำเนินการเพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาบูรณาการเป็นแผนรวมของกระทรวง เพื่อขออนุมัติและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการต่อไป

4. ดำเนินการประชุมสัมมนา อบรมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT ตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยได้นำเสนอในแผนดำเนินงานซึ่งมี 2 รูปแบบ

4.1 รูปแบบที่ 1 เน้นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ ICT ด้วยทฤษฎี Constructionism

4.2 รูปแบบที่ 2 เน้นการใช้ ICT พัฒนากระบวนการเรียนการสอน

5. โรงเรียนการดำเนินการเรียนการสอนตามรูปแบบโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT

6. ติดตาม ประเมินผลและรายงานการดำเนินการให้กระทรวงพิจารณาทุกเดือน

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์    รหัสนักศึกษา 53484931019

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  ศูนย์การศึกษาภูเก็ต

 

ชื่อโครงการ           

โครงการห้องเรียนคู่ขนานระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติ

หลักการและเหตุผล

การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับคนทุกคน เป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลในสังคมที่ควรจะได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง การศึกษาเป็นบริการที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสังคมในปัจจุบันนอกจากบุคคลปกติที่มีความต้องการด้านการศึกษาแล้วนั้น ยังคงมีกลุ่มคนพิเศษ เช่น เด็กออทิสติค ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ที่ต้องการรับโอกาสทางการศึกษาที่เหมาะสม พ่อแม่ของเด็กต้องใช้ความพยายามและอดทนต่อสู้ทุกวิถีทาง เพื่อให้ลูกได้รับการศึกษาตามอัตภาพ เช่นเดียวกับเด็กในวัยเดียวกัน พึงจะได้รับเพียงเพื่อให้ลูกได้เป็นที่ยอมรับของสังคม และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ แต่มักจะถูกปฏิเสธจากโรงเรียนในการที่จะรับเด็กเข้าเรียน โดยให้เหตุผลว่า กลัวเด็กจะเข้าไปสร้างภาระให้กับโรงเรียน หรือไม่ทราบว่าจะสอนเด็กอย่างไร เพราะพฤติกรรมของเด็กแตกต่างไปจากปกติ ซึ่งอาจจะสร้างความวุ่นวาย ให้กับระบบการเรียนการสอนด้วย         เด็กออทิสติกมีความผิดปกติของสมอง ที่ทำให้เกิดความบกพร่องที่ซับซ้อน มีความยากลำบากในการใช้ชีวิต จากความบกพร่องของ การสื่อสาร อารมณ์พฤติกรรม การจินตนาการ การสื่อความหมายและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม      ทำให้ต้องหาวิธีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อให้บุคคลออทิสติกพอที่จะอยู่ในสังคมได้ โดยการพัฒนาทักษะดังกล่าวต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการสังเกต และลงมือฝึกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นการพัฒนาทักษะของเด็กออทิสติค เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองไม่ให้เกิดภาระแก่บุคคลรอบข้าง

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคสองกำหนดให้ “การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาเป็นพิเศษ” และวรรคสาม “การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกิด หรือเมื่อพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสื่อบริการอื่นใดทางการศึกษา ตามเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าสังคมของเด็กออทิสติคระดับปฐมวัยที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้
  2. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กออทิสติค ระดับปฐมวัยนำไปใช้สำหรับการพัฒนาพฤติกรรมการเข้าสังคม ให้มีความสามารถในการเข้าสังคมใกล้เคียงกับเด็กปกติ

จากเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดที่ว่า โครงการห้องเรียนคู่ขนานระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติ จะสามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ โดยใช้

ความคิดใหม่ (Idea)

การจัดการเรียนด้วย การใช้โครงสร้างของ SEAT ได้แก่

  1. (S: Student) มีการเตรียมความพร้อมของนักเรียน ที่มีความต้องการพิเศษก่อนการจัดการศึกษา
  2. (E: Environment) มีการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย วิชาการ อารมณ์ สังคมและการช่วยเหลือตนเอง การจัดสภาพแวดล้อม สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้ใช้บริการให้มีความสะดวก สะอาดและปลอดภัย โดยการกำหนดแนวทาง นโยบายการดำเนินการจัดการเรียนร่วม
  3. (A: Activities) กิจกรรมการเรียนการสอน การบริหารจัดการหลักสูตรต้องมีการจัดทำหลักสูตรเฉพาะ สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและจัดทำหลักสูตรเพิ่มเติมเพื่อสอนทักษะที่จำเป็น
  4. (T: Tools) เครื่องมือ ต้องนำเครื่องมือในการจัดการเรียนร่วมเพื่อช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหรือนักเรียนที่มีความบกพร่อง เกิดการเรียนรู้และดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสนับสนุนให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (I.E.P) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (I.I.P)

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

การเรียนร่วมระหว่างเด็กอออทิสติคกับเด็กปกติ 

  1. การเตรียมตัวบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน การสร้างความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้ปกครอง นักเรียน  และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในเรื่องของหลักการ วัตถุประสงค์วิธีดำเนินการตลอดถึงนโยบายในการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษด้วย
  2. การพิจารณารับเด็กเข้าศึกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 43 กำหนดว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐบาลต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” สถานศึกษาจึงไม่สามารถที่จะปฏิเสธการรับเด็กไม่ได้ เด็กออทิสติคที่เตรียมความพร้อมแล้ว หรืออาการไม่รุนแรงก็สามารถเรียนร่วมได้
  3. ประสานงานและความร่วมมือระหว่างสถาบันต่างๆ ทั้งทางการศึกษาทางการแพทย์และผู้ปกครอง เด็กออทิสติคบางคนอาการรุนแรง ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา โรงเรียนต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ แนะนำให้เข้าการบำบัดจากจิตแพทย์ และสถาบันอื่นตามความเหมาะสม
  4. สิ่งสำคัญครูผู้สอนต้องจัดทำแผนการศึกษาและบุคคล สำหรับเด็กออทิสติคที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางพัฒนาเด็กให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ และส่งผลให้เด็กประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กออทิสติคนั้น ก็ควรยึดหลักสูตรของสถานศึกษาเป็นหลัก แต่ต้องปรับเนื้อหา และวิธีสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  5. การประเมินผลก็ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลมีการประเมินผลทั้งระยะสั้นทุกภาคเรียน และการประเมินระยะยาวคืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และการประเมินผลทุกครั้งต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในแผนการสอนเฉพาะบุคคล

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

                มีการจัดการความรู้ (KM) เพื่อทำให้ครูสามารถนำประสบการณ์ที่ตนมีอยู่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จนสามารถสกัดเป็นแก่นและขุมความรู้ สังเคราะห์พัฒนาเป็น Best Practice ได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของบุคลากรภายในโรงเรียนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาวิทยากรจากภายนอกโรงเรียน หากโรงเรียนมีการจัดการความรู้บ่อยครั้ง อย่างสม่ำเสมอให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของครูให้สูงขึ้นและโรงเรียนเกิดความเข้มแข็งทั้งทางวิชาการและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ส่งผลให้โรงเรียนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป

เป้าหมาย

ด้านคุณภาพของเด็กออทิสติคระดับปฐมวัย

สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนพิเศษภูเก็ต

ระยะเวลา

ปีการศึกษา 2555

วิธีดำเนินการ (ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นประเมินผล )

งบประมาณดำเนินการ

โรงเรียนพิเศษภูเก็ต

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะกรรมการโรงเรียนพิเศษภูเก็ต

ผู้เกี่ยวข้อง

ผู้บริหารโรงเรียน ,ครูหัวหน้าระดับทุกระดับ , ครูที่ปรึกษาทุกห้อง

ผู้ปกครองเด็กพิเศษ, ผู้ปกครองเด็กปกติ, เด็กพิเศษ

การติดตามประเมินผล

-                  วิธีการ วางแผนดำเนินการ, ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ“การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเข้าสังคมของเด็กออทิสติคระดับปฐมวัยกับเด็กปกติ

-                  ออกแบบเครื่องมือ  การจัดการความรู้นำไปสู่การปฏบัติที่ดี,เคล็ดลับในการปฏิบัติงานไปสู่ความสำเร็จ, โมเดลสู่ความสำเร็จ,การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเด็กออทิสติคกับเด็กปกติ

-                  กำหนดกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งวัน/เวลา ในการลงภาคสนาม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ด้านรูปแบบการจัดบริหารทางการศึกษา ทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการจัดให้เด็กออทิสติคเข้าเรียนในโรงเรียนปกติ ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา โดยพิจารณาจากความพร้อมในการเรียนร่วมกับเด็กปกติของเด็กออทิสติคเป็นสำคัญ
  2. ด้านหลักสูตรและการสอน ทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า การจัดกิจกรรมให้เด็กปกติมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กปกติเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด นอกจากนี้ยังเห็นว่าการจัดกิจกรรมให้เด็กออทิสติครู้จักการปรับตัว และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กออทิสติค เป็นเรื่องสำคัญและควรกระทำ  สำหรับหลักสูตรของเด็กปกติที่นำมาใช้กับเด็กออทิสติค ในกรณีเรียนร่วมกับเด็กปกติโดยพิจารณาปรับให้เหมาะสมกับสภาพของเด็กนั้น  จะทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือกับ โครงการส่วนการวัดผลและประเมินผลให้พิจารณาจากความสามารถของเด็กแต่ละคน
  3. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอื่นๆ  จะทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่พบว่าครูประจำชั้นปกติมีความเต็มใจในการรับเด็กออทิสติคเข้าเรียนร่วม ซึ่งมีผลต่อการเรียนและขวัญกำลังใจของเด็กพิเศษ
  4. ด้านการบริหารงานโรงเรียนที่มีเด็กออทิสติคเรียนร่วม  ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนมีเจตคติที่ดีต่อเด็กออทิสติค

ผู้เสนอโครงการ

ครูผู้ชำนาญการพิเศษ

ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้อำนวยการโรงเรียนพิเศษภูเก็ต

            ปัจจัยในความสำเร็จและเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรม SEAT คือ

  1. ครูต้องมีการจัดการความรู้ (KM) เพื่อที่จะสามารถนำประสบการณ์ที่ตนมีอยู่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จนสามารถสกัดเป็นแก่นและขุมความรู้ สังเคราะห์พัฒนาเป็น Best Practice ได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของบุคลากรภายในโรงเรียนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาวิทยากรจากภายนอกโรงเรียน หากโรงเรียนมีการจัดการความรู้บ่อยครั้ง อย่างสม่ำเสมอให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของครูให้สูงขึ้นและโรงเรียนเกิดความเข้มแข็งทั้งทางวิชาการและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ส่งผลให้โรงเรียนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป
  2. ความใส่ใจของผู้บริหารสถานศึกษา  ความร่วมมือของชุมชน และวัฒนธรรมในองค์กร ในการปฏิบัติงานของครู  นอกจากนี้ โรงเรียนต้องมีเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน  มีการสร้างขวัญและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู
  3. การสร้างจิตสำนึกของผู้ปฏิบัติ เนื่องจากการพัฒนาบุคคลออทิสติก จะเริ่มจากจิตสำนึกในการทำงานประจำให้ดีที่สุด มองนอกกรอบ คิดหาวิธีการใหม่ที่ดีกว่าเดิมโดยอิงหลักทฤษฎี  ปฎิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ท้อถอย และมีความหวัง จะสามารถปรับพฤติกรรมบุคคลออทิสติกได้
  4. การสร้างบรรยากาศการทำงานอย่างมีความสุข ก็เพราะ “อยากทำ” นั่นคือ เกิดจากแรงบันดาลใจภายใน ที่แม้ยังไม่เกิดผลลัพธ์ ผู้ทำก็ยังเติมเต็มพลังใจให้ตัวเองและมีความสุขในการทำ  แต่ถ้าทำเพราะ “ต้องทำ” ผู้ทำมักแสวงหาสิ่งจูงใจภายนอก ที่เป็นรางวัล ผลตอบแทน คำชม  ซึ่งเมื่อไม่ได้รับก็จะท้อถอย หมดพลัง จนทำให้ขาดความสุขในการทำงาน
  5. ผู้ปกครองและผู้ใกล้ชิด (ครูผู้สอน) ที่จะช่วยเหลือเด็กออทิสติค ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเด็กออทิสติคแล้ว ค่อยๆเรียนรู้พฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กแต่ละคนอย่างละเอียด จึงเริ่มให้ความช่วยเหลือ เพื่อสร้างสัมพันธภาพและชักจูงให้เขาออกจากโลกส่วนตัวของเขาเองได้ก่อนดังนี้

                                5.1 ต้องรู้จักเด็กออทิสติกทั้งในด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กแต่ละคนอย่างละเอียด

                                5.2 ต้องมีความอดทน ความพยายาม ความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กอย่างจริงจัง และจริงใจ

                                5.3 ต้องเข้าใจ รู้ใจและสามารถอ่านความคิดหรืออ่านใจเด็กให้ได้จากพฤติกรรมหรือจากการแสดงออกทางอารมณ์  เมื่อสร้างสัมพันธภาพและชักจูงเด็กออกมาจากโลกส่วนตัวของเขาได้ จึงจะสามารถฝึกให้เด็กเรียนรู้ต่อไปได้ เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป

                                เด็กออทิสติคหากได้รับการช่วยเหลือก่อนอายุ 5 ปี เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านสังคมและพัฒนาการทางด้านภาษาดีขึ้น สามารถเรียนรู้ได้ แต่ยังด้อยกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน  ครูจะเริ่มเห็นปัญหาด้านการเรียนได้ชัดขึ้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากบทเรียนต้องใช้ความเข้าใจ และจินตนาการมากขึ้น เด็กจะมีความวิตกกังวลสูง บางคนจะพูดมากบางคนจะพูดน้อย หรือไม่พูดเลย ซึ่งครูจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ด้วยโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การแข่งขันทั้งภาครัฐและเอกชนทวีความรุนแรง ดังนั้นทรัพยากรบุคคลในชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเด็กเกิดมาแล้วถึงแม้จะเป็นเด็กพิเศษ แต่ก็ถือทรัพยากรของชาติ หากขาดการละเลยเอาใจใส่ เมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดชีวิต เป็นภาระแก่สังคมและชาติบ้านเมือง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารประเทศต้องให้ความสำคัญต่อคนกลุ่มนี้ จากปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความคิดเห็นของ อ.จีระ และคุณพารณ ที่มีความเห็นตรงกันว่า ความคิดในการสร้างความสำเร็จในการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขัน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  

  1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุน ที่ไม่ใช้ต้นทุน แต่มองว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญ และต้องมีการดูแลเอาใจใส่  หมั่นพัฒนา เพิ่มพูนความรู้ความสามารถตลอดเวลา  รวมทั้งต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  2. การพัฒนาให้คนเป็น คนดีและคนเก่ง    และต้องเป็นคนที่มีทั้ง  IQ ,EQ,AQ,TQ,MQ      
  3. เน้นให้เกิดความมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  การรู้จักการทำงานเป็นทีม
  4. สร้างความผูกพันและเกิความจงรักภักดีต่อองค์กร              
  5. การให้คุณค่าแก่มนุษย์  เชื่อมั่นและศรัทธาในมนุษย์  คนทุกระดับ ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ
  6. มีเครือข่ายความสัมพันธ์  Network  ในการทำงาน
  7. ความรู้ที่ได้การเรียนรู้จะต้องทันสมัยนำไปใช้ได้จริง  จะต้องมีความ Globel   Knowledge
  8. มีการกำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน
  9. เน้นการปฏิบัติจริง คือเมื่อมีความคิดแล้วต้องลงมือทำจริงเพื่อให้เกิดผล
  10. การมองว่าแรงจูงใจของคนนั้น มิใช่เพียงแต่ตัวเงินเท่านั้น แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางจิตใจด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีจิตใจ  มีความสุขกับการเป็นผู้ให้

 

อภิชนา สิงสันจิตร

อภิชนา สิงสันจิตร   รหัสนักศึกษา  53484931025

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

จากการศึกษาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งมีข้อความในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ – จีระ ...มุ่งมั่น... พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

                โดยได้มีการแบ่งนวัตกรรมไว้ 3 ส่วน คือ 

  • นวัตกรรมความคิดใหม่ (Idea) ในสภาวะปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ล้วนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด  และความเจริญก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ประสิทธิผล(Effectiveness) ขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงานและเทคโนโลยีต่างๆจากภายนอกเรียนรู้จากประสบการณ์จากกันและกันภายในและภายนอกองค์กร  นำมาพัฒนาคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  (Innovation) การพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้นั้น  ปัจจัยสำคัญที่สรรค์สร้างให้เกิดนวัตกรรม  ก็คือ  คน  ปัญญาความรู้  และทักษะความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจหลักของการสร้างประสิทธิภาพ(Efficiency)ของการทำงานและขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคง
  • นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)  ผู้บริหารระดับสูงต้องมีความมุ่งมั่นในการนำองค์กรไปสู่องค์กรสร้างนวัตกรรม  สร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การเปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กร  ได้คิดสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิด(Idea) ได้อย่างอิสระ  กล้าที่จะเสี่ยงนำเอาแนวความคิดดีๆไปพัฒนารวมทั้งการใช้รางวัลเป็นตัวกระตุ้นให้บุคลากรขององค์กรได้คิดสร้างสรรค์งาน ไม่เคร่งเครียด  ไม่ถูกตีกรอบความคิดก็มีส่วนช่วยให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ
  • การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง   นวัตกรรมจะเกิดได้จะต้องเกิดจากการสร้างกระบวนการที่สามารถจับต้องได้และนำมาใช้ก่อให้เกิดเป็นรูปธรรมได้  ดังนั้นกระบวนการในการทำหรือขั้นตอนในการนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ของนวัตกรรมนั้น  ประกอบด้วยการนำความรู้ที่จะต้องคำนึงถึง เช่น 5K, 8K, 4L, 2R ซึ่งตรงกับทฤษฎีที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้สอนและกล่าวไว้ในเอกสารมนุษย์พันธุ์แท้
  1. ชื่อโครงการ “แบ่งปันความรู้มุ่งสู่การศึกษาไร้พรหมแดน”
  2. หลักการและเหตุผล   

                “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือ 2 ลักษณะคือ

  • แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
  • แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคส์เมลล์WebBoard News-group เป็นต้น

                การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ

  1. วัตถุประสงค์

                เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแบ่งปันหรือแชร์ความรู้ ความคิดเห็นต่อกันได้ทันที และเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนให้ทันต่อสภาวการณ์ในยุคปัจจุบัน 

                หากผู้สอนไม่มีความมุ่งมั่น ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถคิดสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดได้อย่างอิสระ และไม่กล้าเสี่ยงที่จะนำแนวความคิดดีๆไปพัฒนา  รวมทั้งไม่ใช้รางวัลเป็นตัวกระตุ้นเหล่านี้  ล้วนเป็นปัญหาอุปสรรคที่ไม่อาจทำให้เกิดนวัตกรรม นอกจากนี้หากมองไปที่ต้นน้ำ  เริ่มจากสภาพปัญหาการศึกษาโดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนแปลงช้า  ระดับความรู้ส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับขีดความสามารถทางสมองของผู้เรียน  ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพเศรษฐกิจ  สังคม   และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ๆ ก็จะส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพและศักยภาพที่ดีต่อทั้งผู้สอนและผู้เรียน

 

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

                ความสำเร็จของนวัตกรรมจัดอยู่ในระดับปลายน้ำ (Down-Steam) ซึ่งจะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนวัตกรรมนั้นก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่

                ดังนั้นการนวัตกรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องเกิดจากการประสมประสานที่ดีของ 3 ขั้นตอน (3 Stages) ดังต่อไปนี้

  1. เป็นสิ่งใหม่หรือนวัตกรรม โดยจะต้องคำนึงถึงด้านจริยธรรม (Ethic) เป็นหลัก จากการนำความรู้เดิมหรือความรู้ใหม่ที่เกิดจากการวิจัย นำมาพัฒนาขึ้นใหม่ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่เรียกว่านวัตกรรม
  2. นำมาทำหรือปฏิบัติให้เกิดได้ (Getting, Done) เกิดผลเป็นจริง ตรงประเด็น (Reality, Relevancy : 2R)
  3. เป็นประโยชน์ต่อด้านเศรษฐกิจ และสังคม  จากการใช้นวัตกรรมนั้น 

 

นวัตกรรมที่ไม่ประสบผลสำเร็จเกิดจากสิ่ง 3 สิ่ง ตามทฤษฎี 3C

  1. Communication Change หมายถึง บุคลากรไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการสื่อสารของนวัตกรรมนั้น
  2. Customer Base  หมายถึง นวัตกรรมเหล่านั้นไม่ตอบโจทย์ หรือตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่างๆ ได้
  3. Command Control หมายถึง การควบคุมสั่งการไม่เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสมกับนวัตกรรมนั้น

 

                ในความสำเร็จของนวัตกรรมนั้นควรมีการให้รางวัลกับบุคลากรเหล่านั้นเมื่อคิดค้นจนสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งใหม่ๆ ที่จัดเป็นผลงานในด้านนวัตกรรม (Innovation) ได้เป็นผลสำเร็จ เพื่อเป็นแรงจูงใจ และเป็นตัวอย่างแก่บุคลากรอื่นๆ ต่อไป

                องค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovation Organization) สร้างได้ด้วยแนวคิด ทฤษฎี 3 Q เพราะ ทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้  

  1. Quality of Human Resources (HR Innovation)  องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีทรัพยากรที่มีคุณภาพ ต้องสรรหาคนที่มีคุณภาพเข้ามา ส่วนคนที่มีอยู่ต้องสร้าง ต้องรักษา ต้องใช้คนที่มีคุณภาพ “คนมีคุณภาพ"
  2. Quality of Organization คนที่มีคุณภาพมาอยู่รวมตัวในองค์กร องค์กรนั้นจะเป็นองค์กรที่มีคุณภาพเป็นองค์กรที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างไม่หยุดยั้ง
  3. Quality of Product or Service องค์กรที่มีคุณภาพ จะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม จะสามารถสร้างนวัตกรรมทางสินค้า / บริการที่มีคุณภาพ  

 

                จากโครงการ“แบ่งปันความรู้มุ่งสู่การศึกษาไร้พรหมแดน”  โดยการมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาและผู้สอน  สามารถแลกเปลี่ยนความรู้  ทัศนคติ  ทางด้านต่างๆสู่กันและกัน ตามทฤษฎี  5K, 8K, 4L, 2R ของท่านอาจารย์ จีระ และคุณพารนได้กล่าวไว้ในเอกสารมนุษย์พันธุ์แท้ที่ได้ให้นักศึกษามา

 

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร(ศูนย์ภูเก็ต)

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร รหัสนักศึกษา 53484931021 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จากการศึกษาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งมีข้อความในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ – จีระ ...มุ่งมั่น... พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

1.นวัตกรรม จากความคิดของกระผมนายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร ซึ่งเป็นศิษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กรณีศึกษาการพัฒนาการศึกษาไทยนั้น ในกรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)โดยกระผมเป็นรองประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาปริญญาเอก รายวิชา การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ซึ่งต้องมองแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้ทฤษฏี 4 L’s , ทฤษฏีทุน 8 K ’s และ5 K ’s ซึ่งคุณครูและผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองเป็นผู้ใฝ่รู้ กระตือรือร้น ศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา มีความสนใจแบบ Eager to learn รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจ โดยใช้สื่อมัลติมีเดียในการสร้างพยัญชนะภาษาจีน การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยศิลปศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบไฮ-สโคปสอนนักเรียน รวมทั้งการคิดนอกกรอบ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโครงการใหม่ๆในระดับโรงเรียนตามมามากมาย กระผมถือว่าเป็นนวัตกรรมของโรงเรียนที่ทำได้สำเร็จ ความเห็นของผมถือว่า “นวัตกรรม” ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1.มาจากความคิดใหม่และความคิดสร้างสรรค์(Creativity) การหาความรู้ตลอดเวลา โดย ผอ.สุธี ได้คิดโครงการใหม่ โดยการจัดอบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นแก่ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน และคิดใหม่โดยศึกษากับการดูแลเด็กปฐมวัยซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของระดับการศึกษา 2.เมื่อเกิดความคิดใหม่แล้ว ต้องลงมือปฏิบัติ โดยผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนให้เกิดโครงการใหม่ๆ เช่น โครงการทำ MOU การพัฒนาการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา โครงการส่งครูไปศึกษาภาษาจีนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวประเทศจีน เวลา 1 ปี ผู้อำนวยการเข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้เรียนปฐมวัย ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และไปศึกษาดูงานที่ประเทศเยอรมัน 3.ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลถึงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจากมุมมองของผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต คุณครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประโยชน์จากคุณภาพการศึกษา

2 การเสนอโครงการ.

โครงการสอนภาษาจีนกลางโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)

1. หลักการและเหตุผล ปัจจุบันนี้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่าง ๆของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย ทำให้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติ ซึ่งถือเป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก การจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนไทยก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ให้ทันการณ์ ซึ่งในด้านการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรเดิมยังไม่สามารถที่จะทำให้ผู้เรียนใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างแท้จริง และนอกจากภาษาอังกฤษที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายในยุคสารสนเทศแล้วยังมีภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา เช่นภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่น เยอรมัน ฯลฯ ก็มีความจำเป็นต่อการนำไปใช้ในสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองที่เป็นแหล่งธุรกิจท่องเที่ยวของไทยและของโลกในปัจจุบันและอนาคตอันยาวไกล เทศบาลนครภูเก็ตได้ตระหนักในปัญหาและความจำเป็นดังกล่าว จึงมีโครงการจัดการสอนภาษาจีนกลางให้กับนักเรียนในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต โดยให้โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ) จัดเป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2548 นี้

2. วัตถุประสงค์ 2.1 เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่านภาษาจีนกลาง สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่าน จากสื่อประเภทต่าง ๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ 2.2 มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็น แสดงความรู้สึกโดยใช้เทคโนโลยี และการจัดการที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.3 เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และการสื่อสารข้อมูล ความคิดเห็น และความคิดรวบยอดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและมีสุนทรียภาพ 2.4 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ 2.5 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษา และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ 2.6 สามารถใช้ภาษาจีนกลางในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตน 2.7 สามารถใช้ภาษาจีนกลางตามสถานการณ์ต่างๆใน ชุมชนและสังคม 2.8 สามารถใช้ภาษาจีนกลาง เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงาน การประกอบอาชีพได้ในอนาคต

3. เป้าหมาย ปีการศึกษา 2548 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2549 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 120 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2550 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 120 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 120 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน

4. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน 4.1 ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สภาพสังคม เศรษฐกิจ ของท้องถิ่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต 4.2 จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สาระเพิ่มเติม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนที่มีความถนัดและสนใจภาษาต่างประเทศ 4.3 สำรวจวิทยากร แหล่งเรียนรู้ เอกสาร และสื่อที่เกี่ยวข้อง 4.4 ขออนุมัติโครงการ 4.5 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 4.6 ประชุมชี้แจงโครงการ 4.7 ปฏิบัติงานตามโครงการ โดยกำหนดให้ใช้วิทยากรที่มีความสามารถเฉพาะทาง มาเป็นผู้สอนโดยโดยมีครูในโรงเรียนเป็นครูสอนร่วมและประเมินผลการดำเนินการ 4.8 สรุปและประเมินผลและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

5. ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา 2548 พฤษภาคม 2548 – มีนาคม 2549

6. สถานที่ โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)

7. งบประมาณ งบประมาณเทศบาลนครภูเก็ต เพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างวิทยากรเอกชน และสื่อการเรียนการสอน ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เป็นเงิน 48,900 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เป็นเงิน 187,400 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เป็นเงิน 249,100 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เป็นเงิน 261,900 บาท

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางสาวสุธี อารีย์พงศ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2. นางรัชนี โภชนาธาร รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการ 3. นายธีรศักดิ์ สงเดช หัวหน้างานวิชาการระดับมัธยมศึกษา 4. นางสาวธนิศรา บุณยะศิวะ หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษา

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 9.1 นักเรียนมีความรู้ในการฟัง พูดภาษาจีนกลางสามารถพูดสื่อสารได้ 9.2 นักเรียนมีความรู้ในการอ่าน – เขียนคำศัพท์ และประโยคภาษาจีนกลางทั่วไปได้ 9.3 นักเรียนสามารถนำความรู้เป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาในระดับที่สูงขึ้นหรือนำไปประกอบวิชาชีพได้

10. การประเมินผล 10.1. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ 1. กระบวนการจัดการเรียนการสอนของวิทยากร 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 10.2. ประเมินประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ บุคลากร และทรัพยากร

(ลงชื่อ) ผู้เสนอโครงการ ( นางสาวสุธี อารีย์พงศ์ ) ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)

3.ปัจจัยในความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่เกิดขึ้นและสิ่งที่เกี่ยวข้องของทุนมนุษย์กับนวัตกรรมมีดังนี้ - นางสาวสุธี อารีย์พงศ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองได้วิทยฐานะเป็นผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ นางรัชนี โภชนาธารรองผู้อำนวยการได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์ และนายธีรศักดิ์ สงเดช เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุง - มหาวิทยาลัยหัวเฉียว มณฑลฮกเกี้ยน ได้ทำ MOU ร่วมกับโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองและเทศบาลนครภูเก็ต ให้ทุนระดับปริญญาตรี ปีละ 2 ทุน เรียนที่มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน - โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองได้รับรางวัลพระราชทานระดับก่อนปฐมวัยติดต่อกันเป็นสมัยที่ 2

จากแนวคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง ได้พัฒนาหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น โดยจัดหลักสูตรการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยโดยใช้ศูนย์การเรียน ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนพื้นฐานของการศึกษา

โดยสรุปกรณีศึกษาของผู้นำในโรงเรียน ผู้บริหาร และคณาจารย์ที่คิดและทำงานนอกกรอบ สร้างนวัตกรรม ซึ่งถือว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์นั้น คือ นักเรียน และเยาวชนที่เป็นอนาคตอันสำคัญของประเทศ

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าทีร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง รหัสนักศึกษา 53484931013

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

โครงการการพัฒนาบุคลากรโดยใช้ITในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาและ

พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง

หลักการและเหตุผล

แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาภายใต้ภารกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของกระทรวงยุติธรรม และยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาพฤตินิสัยและแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร กำหนด ให้สามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กร เพื่อให้เกิดการบริหารและพัฒนาบุคลากรเชิงรุกทั้งระบบไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization) โดยให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ (Knowledge Managerment) การพัฒนาขีดความสามารถหรือสมรรถนะของบุคลากร สู่ความเป็นมืออาชีพ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสำเร็จ และการดูแลเรื่องสายงานความก้าวหน้าในอาชีพ รวมทั้งสนับสนุนให้ ทุกหน่วยงานแสวงหาแนวคิดใหม่ที่เป็นนวัตกรรมในองค์กรและยังส่งเสริมให้บุคลากรได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ให้กับองค์กรได้อย่างเต็มที่

ความคิดใหม่ (Idea)

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาพัฒนา

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานราชทัณฑ์จะเน้นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับงานราชทัณฑ์ เพื่อปรับปรุงระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการให้สะดวกรวดเร็ว ได้รับความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและวิทยาการใหม่ๆ รวมทั้งสามารถช่วยลดอัตรากำลังและภาระของบุคลากรได้ ด้วยการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดตามจุดสำคัญของเรือนจำ ติดตั้งระบบ Video Conference คือการเยี่ยมญาติและฝากขังทางไกลผ่านจอภาพ การจัด ศูนย์บริการร่วม (Call Center) ระบบ One Stop Service เป็นการให้บริการประชาชนแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ระบบข้อมูลบริหารงบประมาณภาครัฐ การติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ข้าราชการและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงงานราชทัณฑ์ได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดจนการตั้งศูนย์ปฏิบัติการสำหรับรองรับการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานราชทัณฑ์ให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ สามารถพัฒนาบุคลากรและองค์กรไปสู่องค์กรนวัตกรรมได้อย่างสมบูรณ์

ในการแก้ไขฟื้นฟูและพัฒนาพฤตินิสัย จะมุ่งเน้นการศึกษาและฝึกอบรมแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้สามารถปรับพฤติกรรมตนเองให้พร้อมกลับสู่สังคมได้โดยไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีกซึ่งประกอบด้วยการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพื่อคัดเข้าสู่โปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูแต่ละประเภทเป็นการเฉพาะ การให้การศึกษา ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ การพัฒนาจิตใจในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองเพื่อเน้นการ อบรมทักษะทางอาชีพและการอยู่ร่วมกับสังคมหลังพ้นโทษให้เป็นไปอย่างถูกต้องตรงกับลักษณะผู้ต้องขัง นอกจากนี้ยังจัดให้มีระบบการดูแลสงเคราะห์ผู้ต้องขังหลังปล่อยตัวเพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกได้อย่างปกติสุข ด้วยการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเรียกว่า ระบบการส่งต่อ เพื่อติดตามดูแลช่วยเหลือและให้การสงเคราะห์ผู้พ้นโทษให้สามารถประกอบอาชีพอยู่ในสังคมได้

การส่งเสริมการฝึกวิชาชีพในระบบอุตสาหกรรม เป็นการสร้างรายได้และฝึกวิชาชีพให้ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้โดยสุจริตภายหลังพ้นโทษ ด้วยการนำแรงงานผู้ต้องขังมาสร้างรายได้ในเชิงอุตสาหกรรม โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น และหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบที่เกิดจากการทำลายป่า รวมทั้งการยกระดับการศึกษา การฝึกวิชาชีพให้ได้มารตรฐานสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสามมารถนำออกสู่ตลาด

การใช้ไอทีเพื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นการเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ไอทีจึงมีบทบาทสำคัญในการเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ได้มาก มีระบบมัลติมีเดียที่เรียกดูได้ตามความต้องการ ระบบอินเตอร์เน็ตและกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ E- learning ซึ่งรวบรวมเนื้อหาของบทเรียน ระบบบริหารการเรียน การติดต่อสื่อสาร การสอบประเมินผล อย่างไรก็ตามการใช้ E- learning เพื่อใช้ในการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มผู้ต้องขังโดยใช้วิธีการของเว็บยังคงต้องมีข้อจำกัดในเรื่องของความมั่นคง เพราะยังถือว่าเป็นการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนกลุ่มพิเศษ

คิดแบบสร้างสรรค์ (Creativity) ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็ง จึงเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ ในระบบเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนความรู้เป็นนวัตกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้สัดส่วนความรู้ที่อยู่ภายในกับภายนอกตัวบุคคลเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีความจำเป็นและความต้องการในการเปลี่ยนแปลง ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลที่ด้อยโอกาส ให้มีสภาพกลายเป็น ความรู้ที่ปรากฏชัดเจน และพัฒนาได้

ผลดี การจัดการความรู้ทำให้เกิดการถ่ายทอดทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ให้เกิดของการดำเนินงาน อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญคือ “สมองประสานใจ” นั่นคือ ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพจะต้องมีทัศนะ ความคิดเห็น และความรู้สึกเชิงบวก รวมทั้งมีความมั่นใจและเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ผลเสีย ในขณะที่แต่ละหน่วยงานให้ความสำคัญและเร่งระดมการปรับเปลี่ยนหน่วยงานของตน แต่หากยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนตลอดจนไม่ทราบว่าจะนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างไร ก็จะทำให้ขาดประสิทธิภาพ ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างและใช้ความรู้ ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เช่น ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็จะเป็นข้าราชการเป็นบุคคลเรียนรู้ควรมีภาวะผู้นำ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น รู้ควรมีภาวะผู้นำ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานโดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันนวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน

ในปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมากเพียงแต่นวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา นั่นเอง

ปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์กับนวัตกรรม อย่างน้อย คือ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้ เน้น ลูกค้า ครู นักเรียนไม่เกิดการบริหารสั่งการ แบบ Top down อาเซียนเสรี มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ถ้ามาตรฐานอ่อน เขาต้องแข่งขันกับเรา มี Professional คือต้องมีภาษา มีจิตวิญญาณในการอยู่ในนานาชาติ และ ต้องมีความเป็นมืออาชีพ เราต้องเป็น Partner กับเขา ต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ อยู่ในโลกอาเซียนเสรีได้ เน้นนวัตกรรม สะท้อนวัฒนธรรมของเรา มุมมอง เรื่อง เสรีอาเซียน คือชาวบ้านไม่รู้เรื่องปัญหาที่สำคัญ คือ 3 ปี ต่อไปนี้เราจะเตรียมตัวเรื่องคนได้หรือไม่จะสามารถให้ข้อคิดอย่างไร สามารถไปถ่ายทอดสร้างวิธีคิด เป็นวิชาที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียนมีการเตรียมตัว ที่รวมกับกระทรวงศึกษา ต้องกระจายทุกจุด คนจน โชว์ห่วย ไม่รอด ประเทศไทยก็ไม่รอด การที่เรามีเครือข่าย Network ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งของทุนมนุษย์ และมองถึงทุนปัญญา และทุนทางคุณธรรมจริยธรรมด้วย เป็นประโยชน์มากครับ คนไทยถ้าจะพูดถึงความสามารถเฉพาะคงไม่แพ้กับประเทศอื่น เรามีปมด้วยแค่เรื่อง ภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง ส่วนการเพิ่มการทำความผิดมาก ขึ้น มีผู้ต้องขังมากขึ้น เมื่อมีเสรีอาเซียนขึ้นถึงเวลาที่เราต้องดูแล เรื่องนี้ ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เราต้องดูที่การศึกษาด้วย อาจจะทำวิจัยเรื่อง การอาชญากรรมข้ามชาติด้วย คุณภาพการศึกษาเป็นจุดหนึ่งที่เรียกว่าเร่งด่วน โดยเฉพาะการศึกษาในต่างจังหวัดเด็กในเมืองไทยต้องมี 8k’s , 5k’sคุณภาพการศึกษาในอดีตต้องเป็นคนเก่ง ในต่างจังหวัดได้ทุนมาเรียน การค้าระหว่างประเทศต้องมีเงินตราระหว่างประเทศเป็นการแลกเปลี่ยน อย่างอเมริกาการค้าขาดดุลตลอด ขายพันธบัตรให้จีน และนำเงินมาใช้จ่ายทำให้เกิดปัญหาตามมาของแพงไม่ได้หมายความว่าไม่ดีแต่เราต้องใช้อย่างปบระหยัด ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย ทุนมนุษย์ไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กๆโลกาภิวัตน์และผลกระทบ Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology, Biotechnologyเรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015 ฯลฯเรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยนบทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทนเรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯลฯการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ที่เราเป็นประเทศเปิดกว้าง แต่ไม่เก่งในเรื่องเจรจาต่อรอง ต้องดูว่าอันไหนพร้อมหรือไม่พร้อม ต้องมี Macro ไปสู่ Micro

การเตรียมตัวเข้าสู่โลกาภิวัตน์ จุดแข็ง กระตุ้นให้ประเทศตื่นตัวปรับนโยบายทั้งระดับ Macro และ Micro ผู้บริโภคมีทางเลือกของคุณภาพสินค้ามากขึ้น ราคามีการแข่งขันกันอย่างเสรี ทำให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้าง ผู้มีความรู้ หรือ Knowledge worker ได้ประโยชน์ งานที่ทำจะเป็นงานที่มีรายได้สูงขึ้น นักอุตสาหกรรม ผู้ส่งออก ได้รับประโยชน์ จุดอ่อน แรงงานไร้ฝีมือปรับตัวไม่ทัน เกิดปัญหาการว่างงาน และปลดคนงาน ภาคราชการ ภาคแรงงานไร้ฝีมือ ผู้หญิง เด็ก คนพิการจะลำบากยิ่งขึ้น เกิดปัญหาทางสังคมมากขึ้นปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ บริษัทข้ามชาติจะได้เปรียบเพราะมีระบบการทำงานที่ดีกว่า คนไทยยังไม่เข้าใจและไม่มีใครชี้นำภาคการศึกษาไทยยังขาดการปฏิรูปสังคมการเรียนรู้ โอกาส ใครมีต้นทุนการผลิตถูกกว่า จะส่งออกได้มากขึ้น มีสินค้าให้เลือกมากขึ้นในราคาที่ถูกลง มีโอกาสได้รับค่าจ้างมากขึ้นต้นทุนการสื่อสารและโทรคมนาคมมีราคาถูกลงได้รับเทคโนโลยีใหม่ได้ง่ายกว่าเดิม ความเสี่ยง ธุรกิจภายในประเทศบางอย่างจะล้ม เพราะแข่งขันสู้ต่างประเทศไม่ได้ ขาดดุลการค้ามากขึ้น เพราะส่งออกไปต่างประเทศลดลง แต่เรานำเข้ามากขึ้น มีการปลดแรงงานมีความแตกต่างในรายได้มากกว่าเดิม ถูกต่างชาติครอบงำทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมเรื่องการสื่อสาร ปรับและเตรียมตัว เป็นโอกาสถ้าเรา ฉกฉวยได้ มองเป็นภาพรวมใหญ่ เรื่องการค้าเสรี มีการเกาะกลุ่มกัน มองที่ศักยภาพไปที่ทุนมนุษย์เราเอาส่วนที่จะเกิดขึ้น มาสื่อสาร เกี่ยวกับโลกที่จะอยู่อีกโลกหนึ่งมาปรับเปลี่ยนให้กับเรา การเก็งราคาทอง เหมือนกับการเล่นหุ้น อยากให้คนไทยมองเรื่องโลกาภิวัตน์ มองเตรียมที่ศักยภาพ ที่เราถนัด และมีประโยชน์ ต้องโฟกัสจุดใดจุดหนึ่ง

• ต้องเข้าใจเรื่องนวัตกรรม ว่าเป็นอะไรและจำเป็นต่อเศรษฐกิจและสังคมและโยงมาที่ทุนมนุษย์ หรือ เรียกว่า ทุนทางนวัตกรรม ถ้ามีนวัตกรรมก็ต้องขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์

• การเปลี่ยนแปลงของ Macro ไปสู่ Micro วาดภาพใหญ่ของโลกาภิวัตน์ เราต้องจัดการกับโลกาภิวัตน์ และมีภาพโอกาสและการคุกคาม มีเรื่องตั้งแต่เกิดและไปสู่การทำงาน มีการศึกษา การฝึกอบรม มีคุณภาพในทุนมนุษย์ คุณภาพของคนเหล่านั้นยังมีแต่ปริมาณ

• ทุกคนมีทุนมนุษย์ทุกคน แล้วแต่ว่า จะมากหรือน้อย วัดตามปริมาณ เช่น ทางเศรษฐศาสตร์ วัดจากการเรียน ถ้าเราเรียนมาก เงินเดือนก็จะเพิ่มขึ้น การที่เราคิดได้เราต้องมีวิธีการเรียน มีการให้คิดเพิ่มขึ้น

• การที่เรามีโลกาภิวัตน์ การผลิตบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ต้องทำอย่างไร มีตลาดเพิ่มขึ้น ไม่พอ ต้องมีลูกค้า มี Value Added เพิ่มขึ้น

• มีการสร้างความหลากหลายให้สู่ความมีมูลค่า ก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่ง ประเทศเราต้องก้าวไปสู่ข้างหน้า

• เมื่อเรามีปัญญา เราต้องมองดูว่าเราเป็นคนดีหรือไม่ การมีการหลอกลวงด้านการค้า ต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม

• เครือข่าย ที่สำคัญคือ เครือข่ายต่างประเทศ เป็นประเทศที่เราต้องการไป เช่นการส่งไปสิงคโปร์ ต้องรู้เขารู้เรา

• ลาว พม่า เขมร เขามีทรัพยากร เกษตร พลังงาน ซึ่งคนไทยต้องพึ่งพาเขามาก

• การตัดสินใจของคน ระยะสั้น ต้องไม่ทำร้ายระยะยาว ต้องเป็นคนใฝ่รู้ อย่าเป็นคนอวิชาเด็ดขาด

• ความสามารถในเรื่อง ทักษะ ความรู้ และ ทัศนคติที่ดี

นายอานนท์ ทวีสิน รหัสนักศึกษา 53484931005 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สาขานวัตกรรมและการจัดการ ศูนย์กรุงเทพมหานคร

***ส่งการบ้าน Assignment: คำตอบข้อ 1

หลังจากที่ได้อ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทที่ 10 ตามที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบหมายไว้ ได้พบว่า ท่านอาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้สร้างนวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ซึ่งแนวคิดนี้คิดค้นโดย Professor Seymour Papert, 1996 โดยใช้ โรงเรียน ดรุณสิกขาลัย และหมู่บ้านสามขา ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่จังหวัดลำปางเป็นต้นแบบ และได้ค้นพบว่าท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ ท่านได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆจนทำให้โรงเรียนแห่งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง

ท่านอาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism ไปใช้กับโรงเรียน ดรุณสิกขาลัย โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ แบบลงมือปฏิบัติทำโครงการ (Project based learning) โดยการรวบรวมองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปะวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจรรยามาปรับใช้ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง(Self learning) และเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม(Team Learning) จนติดเป็นนิสัย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ 5 ด้าน คือ 1. IQ (Intelligent Quotient) 2. EQ (Emotional Quotient) 3. AQ (Adversity Quotient) 4. TQ(Technology Quotient) 5. MQ (Morality Quotient) นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life-long Learning) และสอดรับกับการแข่งขันในสังคมแห่งการเรียนรู้(Learning Society)ในสังคมยุคปัจจุบัน ตามหลักแนวคิดของ Professor Seymour Papert ได้กล่าวไว้ว่า “การเรียนรู้ที่ดีกว่า ไม่ได้เกิดจากการที่ครูค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่า แต่เกิดมาจากการที่ครูให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง” โดยใช้ 8 ขั้นตอนดังนี้ 1. เริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กๆสนใจ 2. ครูจะบูรณาการวิชาการ 3. ครูและเด็กจะวางแผนเรียนรู้ร่วมกัน 4. เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง 5. สรุปความรู้ และเก็บบันทึกผลงาน 6. จัดเตรียมนิทรรศการผลงานจากการเรียนรู้ 7. วิเคราะห์และประเมินผลแบบ 360 องศา 8. การต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำเอาสิ่งที่เรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง นำไปสู่การทำโครงการที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดของ Peter M. Senge แห่ง Sloan School MIT ที่กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้นนั้น เป็นเหมือนรูปก้นหอยเจดีย์หงาย (Spiral Model) ที่แต่ละรอบการเรียนรู้จะนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต่อเนื่องกันไปไม่สิ้นสุด

ท่านอาจารย์ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ โดยกระตุ้นให้ครู และผู้บริหารโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระตือรือร้นหาความรู้ มีความสนใจแบบ Eager to learn รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจ โดยการสอนให้รู้จักคิดนอกกรอบ(Iconoclast) ซึ่งทำให้เกิดโครงการใหม่ๆในระดับโรงเรียนตามมามากมาย ดังเช่น 1. การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล และองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกันจัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง 48 ชั่วโมง ให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดสมทรปราการ 2. การไปทัศนศึกษาที่ประเทศเวียดนาม โดยการนำของท่านอาจารย์นำคณะผู้บริหารและครู เข้าร่วมการอบรม โดยใช้ทุนของตนเอง ไม่พึ่งงบประมาณของรัฐ 3. การไปทัศนศึกษาที่สิงคโปร์ ไปเยี่ยมชมรับฟังการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสิงคโปร์ สนามบินชางงี และสำนักเลขาธิการของ APEC ทำให้ได้แนวคิดสร้างหลักสูตรใหม่ สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น เกิดเป็นหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่โดยรอบส่วนมากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และสนามบินสุวรรณภูมิก็อยู่ในสมุทรปราการ สามารถทำให้นักเรียนที่จบจากที่นี่ไปมีงานทำ พัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น และหลักสูตรนี้เองเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน (ซึ่งหลังจากนั้นโรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ) จนทำให้มีนักเรียนเข้ามาเรียนที่นี่เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน จากไม่ถึงพันคน มาเป็นสองพันกว่าคนเลยทีเดียว 4. การนำคณะครูไปทัศนศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้ เป็นที่มาของโครงการ Sister School กับโรงเรียน Wadong Middle School ประเทศเกาหลีใต้ จนทำให้เกิดมิตรภาพอันดีระหว่างสองประเทศ จากโครงการต่างๆมากมาย การสนับสนุนต่างๆจากหลายภาคส่วน และการบริหารงานที่เปิดกว้าง ไม่มีลักษณะเป็นการทำงานแบบยุ้งข่าว( Department Silo) ทำให้ได้รับเป็นโรงเรียนพระราชทาน เป็นโรงเรียนดีเด่นขนาดกลางในเวลาต่อมา ถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งของโรงเรียนแห่งนี้

ด้วยความวิริยอุตสาหะของท่านอาจารย์ทั้งสอง ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนมากมายในวงการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน ดรุณสิกขาลัย ที่ได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism ไปใช้ และโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ การได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน และโครงการต่างๆที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ริเริ่ม ทำให้โรงเรียนแห่งนี้ได้รับเป็นโรงเรียนพระราชทาน เป็นโรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง ทำให้การศึกษาของไทยเราพัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากยิ่งขึ้นในอีกระดับหนึ่ง

***คำตอบข้อ 2

โครงการอบรมการสร้างเวปไซต์ หนังสืออีเลกทรอนิกส์

ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT โรงเรียนดีใกล้บ้าน

โรงเรียนบ้านฉิมพลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

1. ชื่อโครงการ

โครงการอบรมการสร้างเวปไซต์และหนังสืออีเลกทรอนิกส์สำหรับครู นักเรียน กลุ่มชุมชนโรงเรียนดอนฉิมพลี ของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT โรงเรียนบ้านฉิมพลีและโรงเรียนในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา

2. แผนงานหลัก

แผนพัฒนาคุณภาพของครู นักเรียน ชุมชนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ สนองกรอบทิศทางการปฏิบัติราชการ

2.1 สพฐ.

กลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับแก้ปัญหาการอ่าน เขียน คำนวณ ส่งเสริมการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และทักษะการเรียนรู้ในระดับสูง

2.2 สพท.ศก. 3

( 1 ) ยุทธศาสตร์ การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

( 2 ) กลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ

2.3 โรงเรียน

( 1 ) พันธกิจ พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

( 2 ) กลยุทธ์ พัฒนาระบบการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอน ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด และเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ

2.4 สนองมาตรฐานของสมศ.

ข้อที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.5 สนองตัวชี้วัดของสมศ.

ข้อที่ 4 ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียน

2.6 สนองการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องทุนมนุษย์กับการพัฒนานวัตกรรม

ภายใต้ทฤษฏีของดร.จิระ หงส์รดารมณ์กูรูในเรื่องนี้คือทฤษฏี 8K’s 5K’s 2L’s 2 R’s 2 I’s C&E

HRDS 3L’s โดยให้ทันกับกระแสโลกาภิวัตน์และ Asean เสรี

3. หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเจริญและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดทำสื่อของครูผู้สอน การสืบค้นข้อมูลของครูและนักเรียน การจัดทำฐานข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งนับว่าคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ครูผู้สอนตามไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การจัดทำเวปไซต์ และสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่า E-Book หรือหนังสืออิเลกทรอนิกส์ เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาสื่อ และการเรียนรู้ของโรงเรียน ซึ่งมีครู และนักเรียน ตลอดจนชุมชน เข้ามามีส่วนเผยแพร่ การเรียนรู้ ตลอดจนการประสานงานเครือข่ายการเรียนรู้ จากหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน ครู และชุมชน ซึ่งสามารถสร้างเป็นเครือข่ายในการฝึกอาชีพ และการจัดทำสือการเรียนการสอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เรียกว่า E-book ก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อโรงเรียนและชุมชน เพราะครูสามารถนำไปสร้างโดยให้นักเรียนสามารถใช้ได้ครั้งละหลาย ๆ คน หรือสามารถสอนผ่านระบบเครือข่ายได้ ตลอดจนชุมชนก็สามารถใช้ในการเรียนรู้ เพื่อการฝึกอาชีพ เพราะโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ให้กับนักเรียนและชุมชน ในการสร้างงาน และสร้างอาชีพได้อีกด้วย ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการอบรมและเพิ่มพูนความรู้ด้านการสร้างเวปไซต์ และเนื้อหาในเวปไซต์ ตลอดจนด้านการใช้โปรแกรมสร้างหนังสืออิเลกทรอนิกส์ให้กับครูผู้สอน และชุมชน เพื่อรองรับกับความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งรองรับสื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนเอง และเครือข่ายอีเลคทรอนิคส์ที่สามารถ On-line ได้ทั่วโลก

4. วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ครู นักเรียน และชุมชน สามารถสร้างเวปไซต์ และสื่ออีเลคทรอนิคส์ได้ ด้วยตนเองโดยสามารถติดต่ดกับโรงเรียนและชุมชนในเขตการศึกษาในพื้นที่และทั่วโลกได้

2. เพื่อให้ครู นักเรียน และชุมชน มีหนังสืออิเลกทรอนิคส์ ในรายวิชาที่สอนเพื่อเป็นสื่อหลักและ สื่อรอง สำหรับการสอนความรู้เพิ่มเติมให้กับนักเรียนตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล ตลอดจนสามารถใช้สื่อในการนำเสนองานต่างๆได้

3. เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของครู นักเรียนกลุ่มชุมชนให้สูงขึ้นสามารถพัฒนาไปสู่สากลและสามารถรองรับASEAN เสรีได้ทันท่วงที

5. เป้าหมาย

5.1 ด้านปริมาณ

ครูโรงเรียนดอนฉิมพลี โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา จำนวน 100 คน นักรึยนจำนวน 300 คน และกลุ่มชุมชนจำนวน 80 คน ได้รับการพัฒนาเวปไซค์และสามารถทำหนังสืออิเลกทรอนิกส์ได้

5.2ด้านคุณภาพ

5.2.1 ครูผู้สอนและกลุ่มชุมชนสามารถสร้างเวปไซค์ และหนังสืออิเลกทรอนิกส์ได้โดยจะเป็นประโยชน์สูงสุดในด้านองค์ความรู้จากเวปไซค์และหนังสืออิเลกทรอนิกส์นำสู่การปฎิบัติ

5.2.3 ครูผู้สอนมีหนังสืออิเลกทรอนิกส์ ในรายวิชาที่สอนเพื่อเป็นสื่อหลักและสื่อรอง สำหรับการสอนความรู้เพิ่มเติมให้กับนักเรียนตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคลและนักเรียนโรงเรียนจำนวน 300 คนสามารถใช้นำเสนอผลงาน ส่วนชุมชนสามาถนำเสนอผลงานและการนำเสนอเช่น สินค้าชุมชน การท่องเที่ยว ฯลฯผ่านหนังสืออิเลกทรอนิกส์ได้

5.2.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของชุมชนและการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

สิ่งเหล่านี้จะเป็น Digital Capital (ทุนทาง IT) Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม) Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข) Social Capital (ทุนทางสังคม) Sustainability Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน)และTalented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ)ให้กับโรงเรียนในสำนักเขตการศึกษาฉะเชิงเทราซึ่งส่งผลีต่อเขตการศึกษาและชุมชนอื่นๆซึ่งส่งผลดีต่อชาติได้อีกด้วย

6. พื้นที่ดำเนินการ

ห้องประชุม ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนบ้านฉิมพลี

7. การดำเนินงาน

7.1 ระยะเวลาดำเนินการ 1 กันยายน- พฤศจิกายน2554

7.2 วิธีดำเนินการ

7.2.1 ประชุมคณะทำงานอาสาสมัครและคณะกรรมการพัฒนาการเรียนรู้และวางแผนและจัดทำโครงการ

7.2.2 เสนอขออนุมัติโครงการ

7.2.3 ตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

7.2.4 ดำเนินการตามโครงการ

7.2.5 เสนอสรุปงานโครงการ

กิจกรรม/ขั้นตอน

ระยะเวลา ก.ย-พ.ย

1. แต่งตั้งคณะทำงานอาสาสมัคร ประชุมวางแผนและประสานงาน

2. เสนออนุมัติโครงการ

3. ตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนและประชุมเตรียมความพร้อม

4. ดำเนินการตามแผน

5. สรุปเสนอรายงานและวางแผนขยายผลต่อเนื่อง

8. ตัวชี้วัด/ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ

ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างเวปไซค์และ มีหนังสืออิเลกทรอนิกส์เป็นของตนเอง อย่างน้อย 90%

9. งบประมาณ จำนวน 427,703 บาท(สี่แสนสองหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยสามบาทถ้วน) จากบริษัทคอมพิวเตอร์ SGV และบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (มหาชน) จำกัด

รายการ เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์บริจาค รวมเป็นเงิน

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมเป็นเงิน - - 427,703

10. ผู้รับผิดชอบโครงการ

10.1 นายอานนท์ ทวีสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนดอนฉิมพลี ประธานศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT

10.2 นายสุวัฒน์ ศรีรัตนาเลขานุการศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

11. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

11.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

11.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

11.3 ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT โรงเรียนในฝัน โรงเรียนฉิมพลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

11.4 โรงเรียนบ้านฉิมพลี

11.5 โรงเรียนบ้านหงส์

11.6 โรงเรียนบ้านกิ่งแก้ว

11.7 โรงเรียนบ้านเมธินี

11.8 โรงเรียนบ้านณัษฐนนท

11.9 โรงเรียนบ้านพระ

11.10 โรงเรียนบ้านตูม

11.11 โรงเรียนบ้านเอ้

11.12 โรงเรียนบ้านเอราวัณ

11.13 โรงเรียนบ้านพิศมัย

11.14 โรงเรียนบ้านโอ๊ค

12. การติดตามประเมินผล

12.1 สำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม

12.2 ประเมินผลจากหนังสืออิเลกทรอนิกส์ที่ครูสร้างขึ้น

12.3 สรุปรายงานต่อโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

13.1 ครูผู้สอน นักเรียน และผู้แทนชุมชน นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้

13.2 ครูผู้สอน นักเรียนและผู้แทนชุมชน ถ่ายทอดสาระการเรียนรู้รายวิชาที่สอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ได้ด้วยตนเอง

13.3 ครูผู้สอน นักเรียนและผู้แทนชุมชน สามารถสร้างหนังสืออิเลกทรอนิกส์ด้วยตนเองได้

13.4 ครูผู้สอน และผู้แทนชุมชน มีหนังสืออิเลกทรอนิกส์ ในรายวิชาที่สอนเพื่อเป็นสื่อหลักและสื่อรอง สำหรับการสอนความรู้เพิ่มเติมให้กับนักเรียนตามศักยภาพและความสามารถ ของแต่ละบุคคลตลอดจนนักเรียนสามาถผลิตสื่อและสอนต่อน้องได้

14. รายละเอียดงบประมาณ (ที่ รายการ ราคา จำนวน รวมเป็นเงิน)

ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างครูที่เข้าอบรม 100คนและผู้แทนชุมชน 80 คนละ 170 บาท /วัน รวม 3 วัน รวม 94,803 บาท

ค่าอาหารและของว่างอบรมขยายผลต่อให้นักเรียน3รุ่นๆละ100 คนๆละ 100 บาทจำนวน 9 วัน เป็นเงิน 90,000 บาท

ค่าเกียรติบัตร รวม 2,400 บาท

ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ10คนๆละ 600 บาท รวม 18,000 บาท

จำนวน 3 ครั้ง

ค่าวิทยากรบรรยายพิธีเปิด 3 ท่าน รวม 3,000 บาท

ค่าวิทยากรบรรยายด้านIT 3 คนรวม 12 วันๆละ1,200 บาทต่อคน รวม 7,200 บาท

ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ประจำห้องประชุมอบจ.จำนวน2 คน 9 วัน รวม 3,600 บาท

ค่าจัดทำเอกสารการอบรม รวม 7,200 บาท

ค่าเอกสารสรุปรายงานนำเสนอภาครัฐ เอกชนและโรงเรียน 50 ชุด รวม 1,500 บาท

ค่าคอมพิวเตอร์บริจาค รวม 200,000 บาท

(ขอถัวจ่ายทุกรายการ)

ค่าใช้จ่ายงบประมาณนี้ ไม่ได้เบิกจ่ายภาครัฐ เนื่องจากภาคเอกชน เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ตามงบประมาณข้างต้นทั้งหมด

ลงชื่อ ผู้เสนอโครงการ

( นายอานนท์ ทวีสิน )

ประธานศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICTและ

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านฉิมพลี

ลงชื่อ ผู้เห็นชอบโครงการ

( น.ส. กิ่งแก้ว ประสงค์ดี)

ผู้อำนวยการโรงเรียนฉิมพลี

ลงชื่อ ผู้เห็นชอบโครงการ

(น.ส.เอราวัณ งามพร้อม)

ประธานผู้ประสานเครือข่ายโรงเรียนเขตพื้นที่

ลงชื่อ ผู้เห็นชอบโครงการ

(นายชะลอ ทำดี)

ศึกษานิเทศก์ สพท.ศก.

ลงชื่อ ผู้อนุมัติโครงการ

(นายโชติช่วง ชัชวาลย์)

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

สรุป: ได้เสนอตัวอย่างโครงการข้างต้นซึ่งครอบคลุม 4 ประเด็นข้างท้ายนี้คือ

• การเงิน Project Proposal

• การทำ Project Presentation

• การอนุมัติ Project Approval และ

• การบริหาร Project Implementation

อนึ่ง ในการนำเสนอจะต้องใช้ทฤษฏีชองอาจารย์ ดร.จิระ หงส์รดารมณ์ คือทฤษฏี 2I’S คือ

1. Inspiration จุอประกาย

2. Imagination การสร้างจินตนาการ

และทฤษฏี 3 L’s คือ

1. Learning from pain

2. Learning from experience

3. Learning from listening

รวมทั้งทฤษฏี 3 วงกลมโดยมี motivation แรงจูงใจที่ทำให้ทุกฝ่ายเห็นด้วยอันนำไปสู่ความสำเร็จ

โดร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ

1. Connecting

2. Engaging

***คำตอบข้อ 3

Lynda Gratton และ Sumantra Ghoshal ได้ให้ความหมายของ “ทุนมนุษย์” ว่าหมายถึงส่วนผสมของ 3 สิ่ง (นิสดารก์ เวชยานนท์. 2551. หน้า 5) คือ

1. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ประกอบด้วย ความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทักษะ ประสบการณ์ที่คนสะสมไว้ รวมทั้งความรู้ที่อยู่ในตัวเราที่เรียกว่า Tacit Knowledge

2. ทุนทางสังคม (Social Capital) ประกอบด้วยเครือข่ายความสัมพันธ์

3. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆเช่น การรับรู้ตนเอง(Self Awareness) ความมีศักดิ์ศรี (Integrity) การมีความยืดหยุ่น (Resilience)

ปัจจัยแห่งความล้มเหลวของทรัพยากรมนุษย์

1. หากองค์กรได้คนไม่ดี ไม่มีความสามารถ องค์กรก็ต้องจ่ายเงินเพื่อเทรนนิ่ง พัฒนาเขาขึ้นมา

2. หากมีการ ทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น องค์กรจะยิ่งขาดทุนหนัก

3. หากองค์กรต้องเลิกจ้างพนักงาน ความเสี่ยงในการก่อม็อบ การประท้วง และการร้องเรียนของพนักงานก็มากยิ่งขึ้น

4. หากคนในองค์กรไม่เข้าใจทฤษฏีของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์รดารมณ์ ก็เป็นปัจจัยแห่งความล้มเหลวได้

จากการสำรวจเรื่องความเสี่ยงของ Chartered Institute of Personal and Development (CIPD) พบว่า สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงมีความกังวลว่าเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ 5 ประการ คือ

1.การไม่เอาจริงเอาจังในการทำงานของพนักงาน

2.การสูญเสียผลผลิตจากการที่พนักงานขาดงาน ลาออก การสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถ

3.การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์

4.การไม่จ่ายภาษีตามที่กฎหมายกำหนด และ

5.พนักงานได้รับ บาดเจ็บอย่างรุนแรง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของทุนมนุษย์

1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของทุนมนุษย์ ต้องเริ่มจากครอบครัวที่อบอุ่น

2. เปลี่ยนจากการมองคนเป็นค่าใช้จ่ายไปสู่การมองคนเป็นสินทรัพย์

3. มองทุนมนุษย์ในลักษณะที่เป็นคุณสมบัติแยกออกต่างหากจากตัวบุคคล

4. สร้างแนวคิดคู่ประสานระหว่างการสร้างความผูกพันและการพัฒนาทุนทางปัญญา

5. ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติด้านเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์

6. เน้นคุณค่าของคนและวิธีการที่ใช้ในการบริหารคนมากกว่าหน้าที่เฉพาะบุคคล

น้ำผึ้ง คะเชนทน (มรภ.สวนสุนันทา กทม.)

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึกษาพารณ – จีระ…มุ่งมั่น…พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 – 208 ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน

- ความคิดใหม่ (Idea) ได้ศึกษาจากแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับการนำเอา ทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s และทำงานตามแบบทฤษฎี 3 ต. จากการศึกษาดังกล่าวจึงได้มองเห็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนของตัวเอง

- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จึงก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโรงเรียน ซึ่งในขั้นต้นต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริหารโรงเรียนก่อนเป็นอันดับแรก จึงได้ทำโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ

- ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้นและจากการดำเนินการตามโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กรในจังหวัดสมุทรปราการ ทำให้โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ และได้มีโครงการอื่นๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองกับท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น 1) โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศเวียดนาม โดยให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้นำคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมการอบรมและครูไปต่อยอดการเรียนที่ประเทศเวียดนามด้วยทุนของตนเอง 2) โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ โดยให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้นำไปทัศนศึกษา 3) โครงการเปิดหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม ) โครงการฝึกงานภาคฤดูร้อนในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา 6) โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้ 7) โครงการ Sister School กับโรงเรียน Wadong Middle School ของประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น

2. อ.ปรารถนา ศรีสุข ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับและก้าวเข้าสู่อินเตอร์โดยได้ดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้

การเขียนโครงการ Project Proposal ได้คิดวิเคราะห์เป็นโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ

การนำเสนอโครงการ Project Presentation เมื่อเขียนโครงการแล้วก็นำเสนอต่อผู้บริหารโรงเรียน มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ

การขออนุมัติ Project Approval รอการพิจารณาอนุมัติโครงการจากผู้บริหารโรงเรียน มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ

การบริหารโครงการ Project Implementation ได้รับความร่วมมือจากครูในโรงเรียน มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการกว่า 50 คน มาร่วมเรียนรู้แนวคิดกับวิทยากรชั้นนำเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารโรงเรียนสมัยใหม่

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องอะไรบ้าง

ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จและเกิดความล้มเหลว คือปัจจัยเกี่ยวกับการบริหาร “คน” โดยที่ทรัพยากรคนที่เรียกกันว่าทุนมนุษย์ที่มีความพร้อมทางสมรรถนะในการปฏิบัติงานจะเป็นทรัพยากรที่ทุกองค์กรต้องสรรหาเข้ามาปฏิบัติงาน หรือถ้าเป็นทุนมนุษย์ที่มีอยู่แล้วในองค์กร ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการรักษา และจูงใจให้ทุนมนุษย์อยู่ปฏิบัติงานนานๆ โดยใช้ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

• Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

• Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

• Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

• Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

มีความเกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ 1) ความคิดใหม่ ( Idea) หากไม่มีความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นก็จะไม่มีการพัฒนา 2) ความคิดสร้างสรรค์ ใช้ในการคิดค้นหากระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ 3) ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง เมื่อคิดได้มีกระบวนการแล้วก็จะเป็นการลงมือทำ

ซึ่งจากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้ว่างานจะสำเร็จลุล่วงได้ขึ้นของกับคน (ทุนมนุษย์) ทุกระดับ ร่วมทั้งผู้ที่ให้ความร่วมมือในการทำงาน เพื่อให้งานประสิทธิภาพสูงสุดก็ต้องนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการทำงานด้วย

นางจงดี พฤกษารักษ์

[email protected]

นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัสนักศึกษา 53484931011

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

วิชาการจัดการมนุษย์ PHD8202

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันได้อ่าน บทที่ 10 เรื่องกรณีศึกษา พารณ-จีระมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทย เพื่อความเป็นเลิศตั้งแต่ 193-208 ในหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ ดิฉัน เป็นครูผู้สอนรู้สึกปลื้นปิติในความมุ่งมั่นและการพัฒนาการศึกษาไทย ในกรณีศึกษาการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรประการและกรณีของพารณ คือการสร้างวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญยา (Construct ionism) ที่สันกำแพงและที่โรงเรียนครูสิกขาลัย ดิฉันชื่นชอบในการค้นหาความรู้และวิธีการสอนใหม่ๆจากทาง Internet ดิฉันได้อ่านบทความความของท่านอาจารย์หลายๆ บทความดิฉันได้รับแรงดลบันดาลใจที่ทำให้ดิฉันเชื่อมั่นว่า นวัตกรรมมี 3 ส่วน ได้แก่ความคิดใหม่ (Iolea); ความคิดสร้างสรรค์ (Creat ivity) และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่า ทุนที่สำคัญคือ "ทุนมนุษย์" และดิฉันได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน คือการสอนวิชาชีพภาษานานาชาติสู่สังคมอาเชียนเสรี Think Global,Aet Local ไทยได้ทำโครงการเสริมสร้างวิชาชีพสู่โรงเรียน พอสังเขปดังนี้

1.) ชื่อโครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาภาษาจีนควบคู่คุณธรรมจริยธรรม"

2.) หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา24 (4) ระบุว่าการจัดการสอนโดยผสมผสานสาระและความรู้ต่างๆ ได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งสามารถใช้เป็นภาษาเพื่อสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยกำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือผู้ปกครองนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนโดยยึดหลักการสร้างนวัตกรรมด้วยแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Construct ionism) ซึ่งประกอบด้วย

วัตถุประสงค์

Projuct Management คือ

1.) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนทุกระดับชั้นในการเรียนรู้ภาษา

2.) เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านภาษาเข้ามามีบทบาทโดยการสนับสนุนโรงเรียน

3.) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและสังคม

4.) เพื่อเป็นการยกระดับการพัฒนาโรงเรียนไปสู่ระดับนานาชาติ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

5.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่ สังคมอาเซียนเสรี

6.) เพื่อเป็นการแสวงความร่วมมือในการบริการจัดการเรียนการสอน

7.) เพื่อเป็นการบริหารหลักสูตรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีความคล่องตัวและยืดหยุ่น

8.) เพื่อเป็นการทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ

9.) เพื่อเป็นการประสานงานร่วมทั้งเน้นงานนวัตกรรมในด้านความคิดสร้างสรรค์

วิธีการดำเนินงาน Project Implement

1.) ประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยทีมงาน ประกอบด้วยครู อาจารย์ ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

2.)รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรรวมทั้งวิธีการสอนสอดคล้องกับบริษัทโดยมีส่วนร่วมครู ปราชญ์ชาวบ้านและชุมชน

3.) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์และเรียนรู้ปรับปรุงวิเคราะห์เพื่อให้มีความยั่งยืน

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

- ผู้นำหน่วยงานคือผู้บริหารของสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ (Vision) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (Shift Paradigm)

- ทีมงานยอมรับและเห็นการเปลียนแปลงเปิดโอกาสในการพัฒนาภาษาจีน

- หน่วยงานอื่นๆ องค์กรร่วมทั้งภาคีที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ

- ชุมชนมีการเรียนรู้และร่วมทำงานแบบบูรณาการ

- ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีการแก้ปัญหาด้วยปัญญา (Constructionism)

- ผู้ปกครองและนักเรียนมีการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นต่อหลักสูตรพัฒนาขึ้น ซึ่งสรุป

1.) การวางแผนการดำเนินงาน (D)

2.) การดำเนินงานตามโครงการ (D)

3.) การตรวจสอบติดตามประเมินผล (D)

4.) การสรุปผล ปรับปรุงและการพัฒนา (A)

5.) สถานที่ดำเนินการ

- วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

6.) งบประมาณดำเนินการ จำนวน 2,000 บาท

7.) การจัดและประเมินผล

7.1.) วิธีการสังเกต

7.2.) แบบสอนถาม

8.) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1.) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและสังคม

8.2.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมอาเซียนเสรี

8.3.) เพื่อเป็นการแสวงความร่วมมือในการบริการจัดการเรียนการสอน ฯลฯ

ผู้เสนอโครงการ ............................................................

(นางจงดี พฤกษารักษ์)

รองผู้อำนวยการ

ความคิดเห็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

อนุมัติโครงการ

ใบอนุมัติโครงการ

.................................................

(นายจิตติ์ เอียดสังข์)

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

นางวิภารณี แก้วใส

นางวิภารณี แก้วใส รหัสประจำตัว 53484931022 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ชื่อโครงการ

“ตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจปวงประชา”

หลักการและเหตุผล

อำเภอกะทู้ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา หมู่ที่ 2 ตำบลกมลา เพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ข้อมูล เพื่อสนับสนุนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชน ได้ศึกษา ค้นคว้า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ และนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตามภูมิสังคม อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการบูรณาการงานของส่วนราชการในพื้นที่ระดับอำเภอ และอำเภอกะทู้มีนโยบายในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จึงจัดทำโครงการกิจกรรมตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจปวงประชา ขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

2. เพื่อขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรลุผลเป็นรูปธรรม

3. เพื่อให้แกนนำหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำไปขยายผลสู่ครัวเรือน หมู่บ้านและชุมชนของตนเอง

เป้าหมายการดำเนินงาน

จัดการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการศึกษาดูงานในพื้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้แก่แกนนำหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 40 คน เพื่อให้เป็นแกนนำหลักในการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการดำเนินการ

1. เชิญแกนนำหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่อำเภอกะทู้ เข้าร่วมการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ในพื้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความมุ่งหวังและมีความมุ่งมั่น

2. ดำเนินงานด้านธุรการ ด้านการประสานงานสถานที่ดูงาน พาหนะ อาหาร ที่พัก ของ

ที่ระลึก เป็นต้น

3. จัดทำคู่มือการศึกษาดูงาน

4. ปฐมนิเทศก่อนการศึกษาดูงาน และบรรยายสรุป

5. ประเมินผลและติดตามการศึกษาดูงาน

ระยะเวลาดำเนินการ

จำนวน 3 วัน ปีงบประมาณ พ.ศ.2554 (1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2554)

งบประมาณ

งบประมาณกรมการปกครองจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

จำแนกเป็น

1) ค่าเช่ารถยนต์ตู้ จำนวน 3 คันๆ ละ 3,000 บาท รวม 9,000 บาท

2) ค่าน้ำมัน รวม 7,500 บาท

3) ค่าของที่ระลึก รวม 7,000 บาท

4) ค่าอาหารและเครื่องดื่ม รวม 24,000 บาท

5) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รวม 4,000 บาท

6) ค่าที่พักเหมาจ่าย รวม 32,000 บาท

7) ค่าจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรมฯ รวม 8,900 บาท

8) ค่าจัดทำประกาศนียบัตรฯ รวม 4,000 บาท

9) ค่าวิทยากรฝึกอบรม รวม 3,600 บาท

รวม 100,000 บาท

หมายเหตุ สามารถถัวจ่ายได้ทุกรายการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ที่ว่าการอำเภอกะทู้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้แสดงออกถึงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

2. ได้ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรลุผลเป็นรูปธรรม

3. แกนนำหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำไปขยายผลสู่ครัวเรือน หมู่บ้านและชุมชนของตนเอง

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึกษาพารณ – จีระ…มุ่งมั่น…พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 – 208 ในหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ โดย ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ นั้น สรุปได้ดังนี้

นวัตกรรม (Innovation) คือ การศึกษาดูงาน

การศึกษาดูงาน (Practical Training) หมายถึงอะไร

การศึกษา หมายถึง การเล่าเรียน ฝึกฝน อบรม

ดู หมายถึง การใช้สายตาเพื่อให้เห็น เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์จริง

ดังนั้นการศึกษาดูงาน หมายถึง การอบรม การฝึกฝนเพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์จริงเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในสถานที่ต่าง ๆ

การศึกษาดูงาน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเก่า ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องนัก ทั้งนี้ การศึกษาดูงานในอดีตหรือที่เคยปฏิบัติกันมา มักจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น ประชาชนไม่ได้ตั้งใจที่จะศึกษาดูงานจริง แต่อาจเป็นเพียงการไปท่องเที่ยว การศึกษาดูงานเป็นนโยบายของเบื้องบน ของหน่วยเหนือ หรือของผู้บริหารไม่ได้เป็นความต้องการที่แท้จริงของสมาชิกองค์กร การไม่สามารถนำสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานมาปฏิบัติจริงได้ เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาดูงานในยุคปัจจุบัน จึงเป็นกิจกรรมที่เป็นความคิดแนวใหม่ (New Idea) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และสามารถสามารถใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริงได้ (Application) ซึ่ง นวัตกรรมการศึกษาดูงาน ถือว่าเป็นนวัตกรรมประเภทเครื่องมือการบริหารหรือเทคนิคการบริหารในยุคสมัยใหม่ ควรมีลักษณะการดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การเตรียมการ

1) เลือกสถานที่ดูงานให้ตรงกับปัญหา และความต้องการจำเป็นของสมาชิกหรือขององค์กร

2) กำหนดวัตถุประสงค์ และรายละเอียดของการศึกษาดูงานให้ชัดเจน

3) ประสานงานกับหน่วยงานที่จะไปศึกษาดูงานในเรื่องวัน เวลา สถานที่ จำนวนสมาชิกที่จะไป เรื่องที่ต้องการศึกษาดูงานให้ชัดเจน และระบุชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

4) ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาดูงาน เช่น การทำหนังสือขออนุญาตทางราชการยานพาหนะ จัดทำคำสั่ง แบบรายงานการศึกษาดูงาน เป็นต้น

5) แจ้งรายละเอียดการศึกษาดูงานแก่สมาชิกที่จะไปเรื่องวันเวลา สถานที่ วัตถุประสงค์ การมอบหมายงาน เป็นต้น

ขั้นที่ 2 การศึกษาดูงาน

1) ฟังการบรรยายสรุป และซักถามปัญหา

2) ใช้เวลาศึกษาดูงานตามที่ได้รับมอบหมาย และตามความสนใจและความต้องการของแต่ละคน

3) บันทึกรายละเอียดของการศึกษาดูงาน

ขั้นที่ 3 ประเมินผล

1) ผู้ไปศึกษาดูงาน เขียนรายงานการศึกษาดูงาน สรุปแนวคิดจากการศึกษาดูงาน

2) ผู้ไปศึกษาดูงานประเมินศักยภาพของตน (Individual Analysis)จากการศึกษาดูงาน

ขั้นที่ 4 การติดตามผล

ผู้นิเทศติดตามผลการพัฒนาตน และพัฒนางานของผู้ไปศึกษาดูงาน โดยมีแบบติดตามประเมินผลที่เกิดจากการระดมพลังสมองของสมาชิก (Brainstorming)

ปัจจัยในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ความสำเร็จที่เกิดจากการศึกษาดูงาน เป็นการเรียนรู้ในเชิงประจักษ์ ซึ่งนักวิชาการกล่าวว่า ภาพที่เห็น 1 ภาพ (ประสบการณ์จริง) มีค่ามากกว่าคำบรรยาย 1,000 คำ ดังนั้นปัจจัยแห่งความสำเร็จของนวัตกรรมการศึกษาดูงานซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 4 ประการดังนี้

1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ความคาดหวังแห่งความสำเร็จของผู้ศึกษาดูงาน

2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สำเร็จของแหล่งศึกษาดูงานที่สามารถเป็นแบบอย่าง (Model) ได้ ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลในมิติต่างๆ เป็นต้น

3. ปัจจัยแทรกซ้อน ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ การเดินทาง สภาพของพาหนะ อาหาร ที่พัก เป็นต้น

ซึ่งปัจจัยแทรกซ้อน นับเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการศึกษาดูงานที่ไม่ควรมองข้าม

4. ปัจจัยเสริม คือ ความต่อเนื่อง ความต่อยอด และการทำซ้ำในโครงการประเภทเดียวกัน หรือโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

การศึกษาดูงานเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์ คือประชาชนที่เป็นแกนนำของหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำไปขยายผลสู่ครัวเรือน หมู่บ้านและชุมชนของตนเอง ซึ่งนอกจากจะได้รับความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะและคุณธรรมจริยธรรมด้านต่างๆดังนี้

1. การเป็นผู้นำ ทั้งเป็นผู้นำตนเองและนำผู้อื่น

2. การทำงานเป็นทีม

3. การระดมพลังสมอง

4. การแสดงความคิดเห็น

5. การใช้ชีวิตแบบประชาธิปไตยในการฟังเสียงส่วนมากและเคารพเสียงข้างน้อย

6. การสร้างเครือข่ายระหว่างกัน (Network)

ผลแห่งความสำเร็จโครงการกิจกรรมตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจปวงประชา ประชาชนในท้องที่ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต มีบุคลิกลักษณะ 3G อันพึงประสงค์ คือ

G (Genius) คือ ความฉลาดหลักแหลมในการใช้ชีวิต ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

G (General) คือ การใช้ชีวิตแบบคนปกติทั่วไปไม่ประมาท แฝงด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

G (Generosity) คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในหมู่บ้าน ชุมชนของตน ซึ่งนับวันปรากฏให้เห็นน้อยมาก เนื่องจากได้บริโภคระบบทุนนิยมมากเกินไป

สรุป โครงการ “ตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจปวงประชา” เป็นนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยทฤษฎี 4 L’s , ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

นางกรนิภา ไตรฟื้น

จากการอ่าน บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ-จีระ …มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 - 208 ในหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ โดย กรนิภา ไตรฟื้น นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์จังหวัดเลย

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน

- แนวคิดใหม่ ( Idea ) เป็นสิ่งที่มองจากการเปลี่ยนแปลง จากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกขององค์กรแล้วมีผลเข้ามาสู่ในองค์กรแล้วแปลงไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความยั่งยืน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ประกอบกับจะต้องสามารถมองประเด็นปัญหา ทั้งที่เป็นเชิงโครงสร้าง เชิงนโยบายและยุทธทศาสตร์ เพื่อวางทิศทางใหม่ในการนำพาองค์กรไปสู่อนาคต ให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ซึ่งจากการไปทัศนศึกษาในประเทศสิงค์โปร์ เพื่อรับฟังการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานที่จะไปทำงานในสนามบิน จากแนวคิดใหม่ที่ได้รับมาจึงทำให้โรงเรียนได้สร้างหลักสูตรใหม่ขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม

- ความคิดสร้างสรรค์ ( Creativity ) การคิดสร้างสรรค์จะต้องเป็นกระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดในการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการคิดนอกกรอบ คิดแบบริเริ่ม ยืดหยุ่น ผลที่ได้จากการคิดจึงเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ มีคุณค่าต่อผู้ที่คิดและต่อสังคม จากที่พบคือการค้นพบวิธีการสอนแบบที่ดีกว่าเดิม โดยที่คุณครูได้ให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนได้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่ติดตัวไปตลอดชีวิต จนเกิดเป็นต้นแบบของการเรียนรู้ในวงการศึกษาไทยที่เป็นการคิดแบบนอกกรอบที่มีคุณค่าต่อสังคมทางด้านการศึกษา

- ใช้องค์ความรู้ในองค์กรให้เป็นความจริง คือการจัดองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว โดยการรวบรวม สร้าง จัดระเบียบและประยุกต์ใช้ความรู้ภายในองค์กร ซึ่งจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาเป็นเฉพาะด้าน เช่น การแบ่งปันภูมิปัญญา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น ไม่ใช่เป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีเท่านั้น หากแต่มีการนำองค์ความรู้ที่ได้มาปฏิบัติจริง ด้วยการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การจัดการเรียนรู้แบบ Constructionism โดยเน้นสร้างองค์ความรู้ แบบลงมือปฏิบัติทำโครงการบูรณาการด้วยการใช้เทคโนโลยี วิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจริยธรรม ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นทีม จนติดนิสัยเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งมีการจัดการสอนในรูปแบบการเรียนรู้แบบผ่านโครงงาน ที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนามาจากการปฏิบัติจริงในเรื่องที่ตนสนใจ และบูรณาการวิชาการต่าง ๆ ที่มุ่งพัฒนาด้านทักษะขบวนการคิด การพัฒนาตนเอง การพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้ถือปฏิบัติจนเคยชินตลอดไป

2. เสนอเป็น

- การเขียนโครงการ ( Project Proposal ) ที่มาของโครงการโดยเริ่มจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์( Human Resource Development) ที่นับว่าเป็นกุญแจที่สำคัญนำพาไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ โดยอาศัยเครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่เดียวกันด้วยการประสานงาน จัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง 48 ชั่วโมง ให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนต่างๆในจังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการฝึกอบรม ( Trainning) เพื่อทำให้ทักษะ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี พร้อมทั้งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การนำเสนอโครงการ ( Project Presentation ) โดยการให้ผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมเรียนรู้แนวคิดต่างๆ ที่หลากหลาย กับผู้บริหารด้วยกัน ซึ่งก่อให้เกิดการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน รวมทั้งเป็นการเรียนรู้ร่วมกันทำให้เกิดการพบปะ รวมไปถึงโอกาสการเรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จึงเป็นช่องทางที่เกิดการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่ได้จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ในองค์กรที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากทุนมนุษย์แสวงหาแนวคิดใหม่ร่วมกัน ที่จะพัฒนาองค์กรให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเท่าทันภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์

- การอนุมัติโครงการ ( Project Approval ) โดยมีโรงเรียนบางหัวเสือฯ เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการโดยใช้หลักทุนความสัมพันธ์ ( Relationship Capition ) สร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนที่ร่วมเป็นเครือข่ายที่มีแนวคิดร่วมกัน จนนำไปสู่ความร่วมมือและการทำงานร่วมกัน เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจวางใจต่อกันจนไปถึงการอนุมัติในการจัดทำโครงการ

- การบริหารโครงการ ( Project Implementation ) เป็นการบริหารทุนมนุษย์ที่เป็นทุนเดิมที่มีอยู่แล้วนั่นคือ สมรรถนะและความสามารถซึ่งติดตัวของคนแต่ละคน ภายในองค์กรที่มีความหลากหลายที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้การบริหารโครงการดังกล่าวนี้ได้ใช้เทคนิคทางการบริหารจัดการทุนมนุษย์ที่มีอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจากหน่วยงานของภาครัฐแต่เดียว ไม่คิดว่าหากไม่มีงบประมาณโครงการก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ แต่หากเกิดจากการใช้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่เดิมแล้วต่อยอดการเรียนรู้ ให้กับองค์กรเดินหน้าต่อไปจนประสบความสำเร็จ

3. ปัจจัยในความสำเร็จ และความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และความเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ทุนมนุษย์ ( Human Capital ) ในองค์ประกอบของทุนมนุษย์นี้จะสามารถแบ่งออกเป็นด้านความสามารถ พฤติกรรม ความสามารถ รวมถึงความดีงามต่างๆที่สั่งสมอยู่ในแต่ละบุคคล ส่วนนวัตกรรม ( Innovations ) เป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ทอมัส ฮิวซ์ ( Thomas Hughes ) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีใหม่ ๆ มาปฏิบัติ หลังจากผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนาแล้ว โดยเริ่มต้นตั้งแต่การคิดค้น ( Invention ) พัฒนาการ ( Development ) และอาจรวมไปถึงรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน ( Pilot Project ) แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการที่เคยปฏิบัติมาก่อน จึงเรียกว่า นวัตกรรม ( Innovation ) และจากแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมของ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และทฤษฎี 4L’ S , ทฤษฎีทุน 8K’ S และทฤษฎีทุน 5K’ S ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับมนุษย์ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี คือ คน ซึ่งคนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุดจาก Quatation ของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้พูดถึงทรัพยากรคัญที่สุดในปัจจุบัน คือเรื่องคนไม่ใช่เรื่องเงินหรือเรื่องเครื่องจักรแต่เป็นเรื่องคน ปัจจัยในเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ก็คือเรื่องคนนั่นเอง ส่วนเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมในเรื่องการลงมือปฏิบัติ เพราะโครงการใดจะสำเร็จได้ก็ขึ้นอยู่มนุษย์ในการลงมือปฏิบัติจริง ทุนมนุษย์แม้มีมาตั้งแต่เกิดหากเมื่อมาทำงานถ้าได้ฝึกอบรมที่ดี มีการศึกษาจะทำให้คุณภาพทุนมนุษย์ มีคุณค่า มีปัญญา แต่หากมีปัญญาเท่านั้นจึงไม่พอ จะต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมและมีจริยธรรม สามารถทำประโยชน์ได้ในระยะยาวเป็นสากลอยู่ตลอดเวลา ทุนทางวัตกรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงจาก Macro ไปสู่ Micro ซึ่งพื้นฐานมาจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

สรุปมุมมองการพัฒนาทรัพยากรทุนมนุษย์กับนวัตกรรมได้ว่า ถึงแม้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทักษะ การสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หลังจากนั้นหากมีความคิดใหม่เกิดขึ้น ก็ต้องลงมือปฏิบัติจริง เพราะถ้าคิดแล้วไม่มีการปฏิบัติจริง ทำจริง ก็จะไม่เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นได้

ชื่อ นาย อดุลย์ อยู่ยืน นศ ป เอก ราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484931006

Cell phone 081 876 4025 E-mail: [email protected]; www.adulyouyoun.com

การกำจัดขยะอินทรีย์โดยไส้เดือนดินระดับครัวเรือน

วัตถุประสงค์

- ลดโลกร้อน

-เ พื่อเป็นการลดขยะ

- เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขยะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

- เพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่ายรายครัวเรือน

สำรวจ

ปัญหาเรื่องขยะ เป็นปัญหาระดับประเทศ ทุกคนสร้างขยะแต่ไม่มีใครอยากเก็บโดยเฉพาะขยะอินทรีย์ โดยพื้นฐานขยะอินทรีย์มีการย่อยสลายได้เองโดยธรรมชาติ แต่ใช้เวลาในการย่อยสลายและเกิดกลิ่น ดังนั้นจึงเป็นภาระต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องจัดเก็บขยะทุกวันเพื่อไม่ให้มีกลิ่น แม้แต่ระดับครัวเรือนก็ไม่อยากให้ไครนำขยะมาอยู่ไกล้บ้าน

วิจัย

จากการทดลองในระดับมหาวิทยาลัยมีการจัดการขยะในระดับชุมชน โดยการเก็บรวบรวมและนำไปย่อยสลายโดยไส้เดือนดิน ก็ได้ผลดียิ่ง แต่เป็นการแก้ปัญหาที่บ่อขยะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบยังใช้รถวิ่งเก็บขยะเหมือนเดิม แถมเพิ่มงานในการนำขยะอินทรีย์ไปแยกกำจัด ดังนั้นจึงพยายามแก้ตั้งแต่ต้นเหตุ

วางแผน

มีการรณรงค์แยกขยะอินทรีย์ในระดับพื้นที่บ้าน และจัดการขยะอินทรีย์ที่บ้านโดยไส้เดือนดิน

ให้ความรู้ สิ่งที่จะได้ เป็นประโยชน์ที่สัมผัสได้ เช่น ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน สามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายได้

โดยมีเป้าหมายลดขยะบ้านละ1กก จากบ้านที่ร่วมโครงการ 1000หลัง

ปฏิบัติการ

วางแผนจากของจริงคือเส้นทางรถขยะ ให้ได้ตามเป้าหมาย

เริ่มอบรมให้ความรู้ และ แจกพันธ์ไส้เดือน

ประเมินผล

สามารถประเมินได้จากการเก็บขยะน่าจะลดน้อยลง

สรุป

การให้ความรู้ การมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม เป็นปัจจัยในความสำเร็จและล้มเหลวเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

รหัสนักศึกษา 53484931003

สาขานวัตกรรมและการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

คำตอบข้อ1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน ประกอบด้วย  ความคิดใหม่ (Idea)   ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)  และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

 

          กรณีศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า สมุทรปราการ เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา(Education Innovation) สำคัญในวงการศึกษาไทย โดยเริ่มต้นที่ “คน”  เพราะ “ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร  แต่เป็นคน”(ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)

            “คน” ในกรณีศึกษานี้อาจารย์ปรารถนา ศรีสุข ครูที่ผ่านการพัฒนานวัตกรรม 5 เรื่องตามลำดับที่ดร.จีระฯเห็นว่าต้องประกอบด้วย

  1. อดทน
  2. พร้อมที่จะล้มเหลวและผิดหวัง
  3. หาความรู้หลายๆศาสตร์ และสด
  4. ค่อยๆทำเป็น Step อย่ารีบร้อน
  5. สร้าง Innovation Culture ในองค์กร

ทั้งนี้ นวัตกรรมมี 3 ส่วน ประกอบด้วย  ความคิดใหม่ (Idea)   ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)  และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

 

ความคิดใหม่ (Idea)  

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาโรงเรียนมาจากแรงบันดาลที่เกิดจากความเจ็บปวด ซึ่งอาจารย์ปรารถนาได้อธิบายถึงสถาบันการศึกษาแห่งนี้ในอดีตชื่อ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล เป็นโรงเรียนประจำตำบลบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ นักเรียนที่มาเรียนประกอบด้วยคนท้องถิ่นที่ไม่สามารถไปเรียนต่อที่อื่นได้ เพราะขาดปัจจัย หรือไม่สามารถเข้าศึกษายังสถาบันที่มีชื่อเสียงได้ เสียงของคนชุมชนส่วนมากจะมองว่าเป็นโรงเรียนที่ไม่ค่อยได้มาตรฐาน ซึ่งจริงๆแล้วมิใช่อย่างนั้น

ในฐานะผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ได้ใหม่อยู่ตลอดเวลาว่า จะทำอย่างไรให้โรงเรียนดี ได้รับการยอมรับจากชุมชน  ในเบื้องต้นการเปิดโลกทัศน์ของอาจารย์เลือกใช้วิธีการไปดูงานโรงเรียนอื่นๆ สถานที่ ห้องเรียน อุปกรณ์ดีมาก ฯลฯ การได้เห็น ได้สัมผัส ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากเพื่อร่วมวิชาชีพต่างสถาบัน ต่างถิ่น ยิ่งเป็นแรงบันดาลใจที่ต้องการจะทำให้แนวคิดใหม่เป็นรูปธรรมอย่างมีนวัตกรรม

อาจารย์ปรารถนาเลือกเรียนทรัพยากรมนุษย์เพราะ เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ ไม่ต้องลาเรียน  และขณะนั้นยังไม่เข้าใจว่า ทรัพยากรมนุษย์มีขอบเขตเพียงใด แต่คิดว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่พัฒนาเมื่อโต หรือเฉพาะคนในองค์กร มนุษย์ควรจะถูกปลูกฝังสิ่งที่ดีๆ ตั้งแต่เยาว์วัย  นำไปสู่การทำวิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาศักยภาพนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านธุรกิจอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ

10แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ของ ศ.ดร. จีระฯเป็นเรื่องใหม่ที่อาจารย์ปรารถนาได้เปิดโลกทัศน์ตนเอง  และในกระบวนการสอนของศ.ดร.จีระฯ ไม่ได้สอนเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่แฝงความคิดที่จะนำมาสู่การปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ โดยการใช้ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย Reality   มองความจริง  และRelevance    ตรงประเด็น  เพื่อตอบโจทย์ให้ตรงกับสิ่งที่ตั้งไว้ด้วยทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย Inspiration   จุดประกาย  และImagination   สร้างจินตนาการ

 

ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) 

เพื่อจะให้เกิด Innovation Culture ในองค์กรได้ อาจารย์ปรารถนาเลือกใช้ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย  Connecting   การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน Engaging   การมีส่วนร่วม  และทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

Learning Methodology  (วิธีการเรียนรู้)  Learning Environment   (บรรยากาศการเรียนรู้) Learning Opportunities  (โอกาสการเรียนรู้)  Learning Communities  (ชุมชนแห่งการเรียนรู้)  โดยต้องการให้ครูที่โรงเรียนได้ฟังบ้าง เพราะการที่คนในองค์กรมีแนวคิดไปในทางเดียวกัน การปฏิบัติงานจะไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้น จึงได้เรียนเชิญดร.จีระมาพูดให้ครูในโรงเรียนฟัง และเชิญโรงเรียนใกล้เคียงมาด้วย พร้อมทั้งเรียนเชิญท่าน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามาด้วย โดยการสนับสนุนจากท่านผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีวิสัยทัศน์วิสัยทัศน์กว้างไกล นำไปสู่การจัดอบรมพัฒนาผู้บริหารของจังหวัดสมุทรปราการ 48 ท่าน

การคิดเชิงรุกของอาจารย์ปรารถนาก็มองออกไปนอกประเทศ  เพราะเห็นว่าหลังการไปศึกษาดูงานเกิดจากการอบรมภาวะผู้นำของผู้บริหาร 48 ชั่วโมง  ต้องการต่อยอดความรู้ สร้างประสบการณ์ตรง ต้องการดูว่าต่างประเทศจัดการศึกษาอย่างไร เพื่อเปรียบเทียบ ประยุกต์ใช้ และพัฒนา เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนคือ การนำโรงเรียนสู่สากลโดยโรงเรียนมีหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษด้วย

ดร.จีระได้ช่วยโครงการต่อเนื่องที่ตามมา คือ นำคณะอาจารย์ไปทัศนศึกษาด้านการศึกษาที่ประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ เกาหลี   โดยอาจารย์ปรารถนาได้เข้าพบท่านประธานสถานศึกษาของโรงเรียนได้ช่วยแนะนำเรื่องค่าใช้จ่าย และก็ประสบความสำเร็จ โดยไม่รองบประมาณจากรัฐดังเช่นอดีต

ผลต่อเนื่องจากการไปดูงานต่างประเทศศ. ดร.จีระฯจึงได้นำโรงเรียนนี้เข้าร่วมโครงการ เป็นที่มาของ Sister School กับโรงเรียน Wadong Middle school ประเทศเกาหลีใต้ ได้นำนักเรียนเดินทางไปยังเกาหลีใต้ เพื่อทำความรู้จักสัมพันธ์ระหว่างกัน และโรงเรียน  Wadong Middle school ได้นำนักเรียนซึ่งเป็น buddy เดินทางมาเยี่ยมโรงเรียนที่เมืองไทยเช่นกัน

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

จากแนวคิด HR Archtecture ของท่านศ. ดร.จีระฯ ด้าน คิดวิเคราะห์ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จิตสาธารณะที่ได้รับมา โรงเรียนแห่งนี้ก็ได้สร้างหลักสูตรใหม่ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น เกิดเป็นหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม เพราะโรงเรียนแห่งนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ล้อมรอบ และสนามบินสุวรรณภูมิก็อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนจึงได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองกับท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงาน ให้มีคุณภาพมากขึ้น ได้เชิญวิทยากรจากภายนอกมาสอนในหลักสูตรนี้มากมาย

นวัตกรรมทุนมนุษย์ส่งผลต่อการศึกษาไทยที่จะต้องเปลี่ยนแปลงทั้งตัวครูและนักเรียน

ซึ่งอาจารย์ปรารถนาเห็นว่า นิยามของครู + นักเรียนยุคใหม่คือ

ครู ไม่ใช่สอนเนื้อหาอย่างเดียว ต้องสอนวิธีคิด ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม วิธีเรียนรู้ นำไปสู่ life long learning ต้องเข้าใจเด็ก และแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ให้นักเรียนเสมอนักเรียน  มีความรู้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ที่ดี การเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวไม่ได้ผลมาสามารถพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถ สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้วิธีเรียนรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ คิดเป็นสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก อะไรผิด

การบริหารโรงเรียนปัจจุบัน อาจารย์ปรารถนายังคงใช้ 10แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ของศ. ดร. จีระฯ มาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

รหัสนักศึกษา 53484931003

สาขานวัตกรรมและการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

คำตอบข้อ2:  นวัตกรรมสร้างจิตสำนึกนักเรียนช่วยเหลือสังคมโดยความร่วมมือจากภาคเอกชน (CSSR-Corporate School Social Responsibility)

  • การเงิน Project Proposal
  • การทำ Project  Presentation
  • การอนุมัติ Project Approval และ
  • การบริหาร Project  Implementation 

โครงการเสริมศักยภาพจิตอาสานักเรียน  

1.ความเป็นมา

เมื่อทุกคนต้องการเห็นประเทศไทยดีขึ้นกว่านี้ การจะอยู่สุขสบายคนเดียวโดยที่คนแวดล้อมลำบากย่อมเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกันภาครัฐ หรือภาคเอกชน จะนิ่งดูดายไม่ได้เมื่อเห็นชุมชนที่เกี่ยวข้องต้องการความช่วยเหลือ และความร่วมมือ  ดังนั้น “ความรับผิดชอบต่อสังคม” อย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา จะต้องเกิดขึ้น และจะต้องเริ่มบ่มเพาะขั้นแรกที่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา    ซึ่งสอดคล้องกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีจุดหมายข้อหนึ่งคือ มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข    

2.วัตถุประสงค์ 

2.1 เพื่อปลูกฝังแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมในมิติต่างๆ อาทิ ชุมชน สิ่งแวดล้อม พลังงาน ฯลฯ อย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

2.2 เพื่อปลูกฝังแนวคิดสร้างสรรค์ทำงานเป็นทีม มีกระบวนการทำงาน ในรูปแบบที่ต้องมีความเข้าใจปัญหา และความต้องการของชุมชน ก่อนการลงมือทำงาน โดยมีความสามัคคีจากการทำงานของนักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

2.3 เพื่อปลูกฝังแนวคิดการบริหารจัดการทางการเงิน การต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ “อาจจะ” เกิดจากความรับผิดชอบต่อสังคมในมิติต่างๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม อย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

2.4 เพื่อปลูกฝังแนวคิดแบบอย่างของการผู้นำและประชาชนของประเทศ ในการมีจิตสำนึกเพื่อรับผิดชอบต่อสังคมในมิติต่างๆ อย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

2.5 เพื่อปลูกฝังทุนมนุษย์ให้มีแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมตามทฤษฎีของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์      

3. เป้าหมาย               

3.1 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 95 ได้เข้าใจบทบาทหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนของตนเอง ในการร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ได้อย่างรอบด้าน และได้เข้าใจการเชื่อมต่อรูปแบบการทำงานทั้ง 3 ส่วนคือภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ที่จะต้องทำงานร่วมงาน

3.2 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เข้าถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในบริบทของการทำงานที่แตกต่างกันออกไป

3.3 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ต้องมีความสามัคคี เปิดใจในการทำงานเป็นทีมอย่างสร้างสรรค์ โดยมีความเคารพต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

3.4 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 สามารถนำความรู้เรื่องการรับผิดชอบต่อสังคมในโครงการฯ ไปสานงานต่อ หรือริเริ่มโครงการใหม่ๆ ในการเรียนขั้นสูงต่อไป จนกระทั่งสามารถหารายได้จากการเลี้ยงชีพด้วยตนเอง ทั้งในบทบาทการเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง หรือเจ้าของธุรกิจ ก็ยังคงทำเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

3.5 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ อาจจะมีส่วนร่วมต่อยอด บริหารจัดการทางการเงิน หรือก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1-2 ประเภท

3.6 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ถือเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาระดับมัธยมได้เข้าใจในบริบทความรับผิดชอบต่อสังคมในอีกรูปแบบหนึ่ง 

4. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 

4.1 บุคลากรครูที่รับผิดชอบโครงการโรงเรียนละ 10 คนจาก 60 โรงเรียน รวม 600 คน

4.2 นักเรียนมัธยมปีที่ 1-6 จำนวน 3,000 คน มาจากการรับสมัครและคัดเลือกโรงเรียนละ 50 คนจาก 60 โรงเรียน 

5.ระยะเวลา 

ภาคเรียนที่ 2/2554 ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2554 -  20 มกราคม 2555 รวมเวลา 11 สัปดาห์ในการลงพื้นที่โดยสัปดาห์ที่ 12 เป็นการสรุปงาน และประเมินผลโครงการสร้างศักยภาพจิตอาสานักเรียน 

6.ผู้เกี่ยวข้อง 

                6.1 โรงเรียนระดับมัธยม 60 โรงเรียน

                6.2 เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

                6.3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด

                6.4 ชุมชน OTOP  (ด้านข้าว ด้านผ้าไหม)

                6.5 ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดร้อยเอ็ด

                6.6 เอสซีจี (โดยโฮมมาร์ต จังหวัดร้อยเอ็ด)

                6.7 บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด ในเครือบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

                6.8 ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด สาขาร้อยเอ็ด

                6.9 ตัวแทนวัดนาป่าพง รังสิตคลอง 11

                6.10 มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                6.11 บริษัท ตรีรัตนะ จำกัด

6.12 สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด ดูแลโรงเรียนมัธยมจำนวน 60 โรงเรียน

6.13 บริษัท สยามคูโบต้า จำกัด (อาจจะเป็นสาขาร้อยเอ็ด) 

7. กระบวนการแบ่งปันเรียนรู้สู่การพัฒนาโดยภาครัฐ ชุมชนและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษาแนะนำ

7.1         นักเรียนเสริมศักยภาพความรู้ ความเข้าใจ จากภาครัฐ ชุมชน และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

7.2         นักเรียนศึกษาและสำรวจความต้องการชุมชน ก่อนวางแผนร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างกิจกรรมดีๆให้ตรงกับความต้องการของชุมชนตนเอง ก่อนที่จะขยายไปยังชุมชนใกล้เคียง

7.3         นักเรียนติดตามประเมินผล ร่วมแก้ปัญหากับชุมชน

7.4         นักเรียนร่วมกันนำข้อมูลการร่วมมือรับผิดชอบต่อสังคม มาพัฒนาเป็นสื่อรณรงค์ในด้านต่างๆ เช่น คลิปวิดีโอ ข่าวสั้น บทความ ผ่านสังคมออน์ไลน์ (Social Network) ของโรงเรียน รวมถึงภาครัฐ ชุมชนและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

7.5         นักเรียนและชุมชนสามารถนำสินค้าท้องถิ่นที่มีการต่อยอด หรือพัฒนาขึ้นมาใหม่จากโครงการแสดงผลงานของนักเรียนรวมถึงชุมชน 

7.6         นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำ 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ของ ดร. จีระ จากมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ มาช่วยประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมของกิจกรรม  โดยสิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้  Human Capital  ทุนมนุษย์  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข Social Capital  ทุนทางสังคมSustainability Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน  Digital Capital  ทุนทาง IT  และTalented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ 

8.  กิจกรรมดำเนินการ

โครงการเสริมศักยภาพจิตอาสานักเรียนมัธยมร้อยเอ็ดประกอบด้วย 6 กิจกรรมคือ

 

กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม

รูปแบบกิจกรรม : รายละเอียด

1

เสริมศักยภาพด้านคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์

บรรยายโครงสร้างบทบาท ความเป็นธรรมมาภิบาล ของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องโครงการนี้ : ทำ Mind Map เพื่อเห็นภาพของการเป็นธรรมมาภิบาลภายใต้ทรัพยากรทุนมนุษย์

2

เสริมศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน

บรรยายความสำคัญสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนการปลูกพืชผักสวนครัวต้นไม้ การปลูกข้าว การบริหารจัดการขยะ:  จัดกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวในที่ว่างของอาคาร บ้านเรือน เพื่อนำมาใช้กินเอง ปลูกต้นไม่ในพื้นที่ต่างๆของชุมชน  ปลูกข้าวทั้งแบบดั้งเดิม และใช้เครื่องจักร คัดแยกขยะด้วยหลัก 4R ยังใช้ได้อยู่ (Reuse) , ดูท่าพอแก้ไข (Repair) , ควรหมุนเวียนกลับมาใช้ (Recycle), มีพิษภัยควรหลีกเลี่ยง (Reject)

 

3

เสริมศักยภาพด้านภูมิทัศน์ เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง

ดำรงชีวิตของชุมชน  ใช้ภูมิทัศน์ธรรมชาติของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่แล้ว รวมถึงปัญหาชุมชน : เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านของชุมชนในด้านต่างๆ

4

เสริมศักยภาพด้านการเสียสละ และบริการให้ชุมชน

การมีจิตบริการ เช่นที่ชุมชนมีอยู่แล้วในอดีต : การร่วมดำนา  เกี่ยวข้าวทั้งแรงงานคนและเครื่องจักร บริการ

อสม.  และอื่นๆ

5

เสริมศักยภาพด้านสุขาภิบาล และอนามัยให้ชุมชน

บรรยายความสำคัญ : ทำน้ำหมักชีวภาพ ผลิตจากเศษสิ่งของที่มีอยู่ใช้ล้างห้องน้ำ ห้องสุขา ครัว ดีกว่าใช้เคมี ถังดักไขมัน

6

เสริมศักยภาพด้านการบริหารจัดการมีรายได้เหมาะสม

บรรยายความสำคัญ : เปิดบัญชีการบริหารเงิน  การจัดการรายได้รายจ่ายจากกิจกรรมที่ 2-5 เข้าไปให้ความรู้กับชุมชน ส่งเสริมการมีอาชีพฯลฯ

 

ในกิจกรรมนี้สามารถนำทฤษฎี  3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน  จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
วงกลมที่ 1  พิจารณา Context หรือ บริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน ภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ฯลฯ  ภายใน ได้แก่ การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน หรือ Process วิธีการบริหารจัดการ   ฯลฯ 

วงกลมที่ 2   พิจารณา Skills และ Competencies เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้   ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
วงกลมที่ 3  พิจารณา เรื่องการสร้างแรงจูงใจ (Motivation)  นอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดี  ประกอบกับการมีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว  สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่น้อยกว่า ก็คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ  มีความพึงพอใจ  มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการทำงาน  ฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง 

9. รายละเอียดเวลาดำเนินการ  เดือนกันยายน 2554- 20 มกราคม 2555 

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ก.ย.54

ต.ค.54

1พ.ย.54

ธ.ค.54

13ม.ค.55

20ม.ค.55

ขั้นเตรียมการ

1. ประชุมครูในกลุ่มเพื่อเตรียมการดำเนินงาน

2. เสนอโครงการต่อผู้บริหาร

3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

4. สำรวจและจัดเตรียมสถานที่

5. กำหนดคุณสมบัตินักเรียนร่วมโครงการ

 

>>>>> 

>>>>> 

 

 

>>>>> 

 

 

 

>>>>> 

>>>>> 

 

 

 

 

 

ขั้นดำเนินงาน

1. จัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์

2. ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ

3. รับสมัครนักเรียน ม.1-6

4. คัดเลือกนักเรียน ม.1-6 จำนวน 50 คน

5. ประกาศผลคัดเลือกนักเรียน 50 คน

6. แจ้งผู้บริหารและคณะครูที่เข้าร่วมโครงการ

7. แจ้งภาคีเครือข่ายที่ร่วมโครงการ

8. นักเรียนเข้าพื้นที่

      กิจกรรม

1. เสริมศักยภาพด้านคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์

2. เสริมศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน

3. เสริมศักยภาพด้านภูมิทัศน์ เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง

4. เสริมศักยภาพด้านการเสียสละ และบริการให้ชุมชน

5. เสริมศักยภาพด้านสุขาภิบาล และอนามัยให้ชุมชน

6. เสริมศักยภาพด้านการบริหารจัดการมีรายได้เหมาะสม

 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

 

 

 

 

 

 

 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นประเมินผล

1.ตรวจสอบแบบสอบถาม

2.สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

3.สรุปผลการดำเนินงานเป็นรายงาน

4.จัดบรรยากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม

5.การต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ หรือสร้างสิ่งใหม่โดยเฉพาะนักเรียนและชุมชน  

 

 

 

 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

10. งบประมาณ

รายละเอียดงบประมาณในการทำโครงการเสริมศักยภาพจิตอาสานักเรียน ร้อยเอ็ด จำนวน 1,000,000 บาท(หนึ่งล้านบาทบาทถ้วน)   โดยงบประมาณทั้งหมดได้จากการสนับสนุนผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน  พ่อค้าประชาชน  หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนที่ร่วมกันสร้างโครงการเสริมศักยภาพฯให้เกิดขึ้น 

กิจกรรม

ประเภทกิจกรรม

งบประมาณ     (บาท)

              หมวดรายจ่าย

ค่าตอบแทน

ค่าอาหาร

ค่าวัสดุ

เสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็ง สร้างจิตสำนึกจิตสาธารณะอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์  พัฒนากิจกรรมด้วยแนวคิด ทำ “ให้” มิใช่ ทำ “เอา” เชื่อมโยง “บวรชม”คือ บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และมัสยิด

กิจกรรมที่ 1บรรยายโครงสร้างบทบาท ความเป็นธรรมมาภิบาลของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องโครงการนี้

กิจกรรมที่ 2 บรรยายความสำคัญสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน

การปลูกต้นไม้ การปลูกข้าว การบริหารจัดการขยะ

กิจกรรมที่ 3ดำรงชีวิตของชุมชน  ใช้ภูมิทัศน์ธรรมชาติของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่แล้ว รวมถึงปัญหาชุมชน

กิจกรรมที่ 4การมีจิตบริการ เช่นที่ชุมชนมีอยู่แล้วในอดีตการลงแขก เก็บเกี่ยวข้าว  และอื่นๆ

กิจกรรมที่ 5บรรยายความสำคัญของการใช้น้ำหมักชีวภาพ ผลิตจากเศษสิ่งของที่มีอยู่ใช้ล้างห้องน้ำ ห้องสุขา ครัว ดีกว่าใช้เคมี

กิจกรรมที่ 6บรรยายความสำคัญการบริหารเงิน  การจัดการรายได้รายจ่ายจากกิจกรรมที่ 2-5 เข้าไปให้ความรู้กับชุมชน

อื่นๆ ค่ารถ ค่าน้ำมันรถ

50,000

 

 

 

300,000

 

 

 

100,000

 

 

 

100,000

 

 

200,000

 

 

 

150,000

 

 

 

100,000

-

 

 

 

-

 

 

 

-

 

 

 

-

 

 

-

 

 

 

-

 

 

 

 

25,000

 

 

 

100,000

 

 

 

45,000

 

 

 

45,000

 

 

50,000

 

 

 

50,000

 

 

 

 

25,000

 

 

 

200,000

 

 

 

55,000

 

 

 

55,000

 

 

150,000

 

 

 

100,000

 

 

 

-

 

ขั้นสะท้อนผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านคุณธรรม และการสร้างการรับรู้ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติตามหลักสูตร

ขั้นประเมินผลระดับคุณธรรม ตามตัวชี้วัด โดยใช้เกณฑ์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่โรงเรียนใช้ทั่วประเทศ  โดย –ตอบแบบสอบถาม - สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม – สรุปผลการดำเนินงานเป็นรายงานตามตัวชี้วัด

 

 

 

 

ขั้นประเมินสรุป ถอดองค์ความรู้ การมีจิตสำนึก ความดี ความมีคุณธรรม ความมีจริยธรรม  ความซื่อสัตย์ การเสียสละโดยจิตอาสา

 

ขั้นประกาศความแข็งแกร่งสู่สาธารณะชน -ในระดับจังหวัด – ในระดับวงกว้างผ่านสื่อ  พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนในเครือข่าย

 

 

 

 

 

11. ปัญหาและอุปสรรค

                11.1 เงินบริจาคอาจจะไม่เพียงพอ

                11.2 เวลาของคณะครู และนักเรียนที่ร่วมโครงการฯ อาจจะมีไม่เต็มที่

                11.3 ความสะดวกในการเดินทางของนักเรียน

                11.4 จำนวนสิ่งของที่ใช้ในโครงการอาจจะไม่เพียงพอ

12.ผลที่คาดจะได้รับจากโครงการ

12.1    นักเรียนได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ขณะการดำเนินโครงการฯ ได้ผ่านการอบรมและได้รับการสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิต ด้วยการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม

12.2    นักเรียนได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ทำให้มีความรู้ความเข้าใจและเกิดทัศนคติและค่านิยมที่ถูกที่ดีงาม

12.3    นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักรักถิ่นฐาน ตลอดจนมีกระบวนการคิดสร้างสรรค์ต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

12.4    นักเรียน มีจิตสาธารณะที่จะรับผิดชอบสังคมในรูปแบบการทำ “ให้” มิใช่ ทำ “เอา”  และเกิดความภาคภูมิใจในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจาอยู่เสมอ

13. การติดตาม และประเมินผลโครงการ

13.1ผู้ติดตามและประเมินผล

13.1.1ครู บุคลากร นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ

13.2 วิธีติดตามและประเมินผล

13.2.1 การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

13.2.2 การตอบแบบสอบถาม

ในแผนการเงินรวมอยู่ในโครงการแล้ว  โดยการนำเสนอโครงการจะนำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องที่กล่าวถึงตามข้อ 6  โดยในเบื้องต้นจะนำเสนอต่อภาคเอกชน และมูลนิธิฯ  เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของการให้ในการสร้างจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคมของนักเรียน  จากนั้นนำเสนอต่อสพฐ.เพื่ออนุมัติต่อไป  โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องถือเป็น Strategic Partner มีคุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน ทำหน้านี้เป็นเลขานุการโครงการ  เพื่อ Implementation โครงการนี้ให้สำเร็จต่อไป

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

รหัสนักศึกษา 53484931003

สาขานวัตกรรมและการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

ข้อ3 :ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง 

                คำตอบ: ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านทุนมนุษย์ผ่านการพัฒนานวัตกรรม 5 เรื่องตามลำดับที่

ศ.ดร.จีระฯเห็นว่าต้องประกอบด้วย

  • อดทน
  • พร้อมที่จะล้มเหลวและผิดหวัง
  • หาความรู้หลายๆศาสตร์ และสด
  • ค่อยๆทำเป็น Step อย่ารีบร้อน
  • สร้าง Innovation Culture ในองค์กร

 

                 ปัจจัยแห่งความล้มเหลว  เกิดจากการมีส่วนร่วม และพื้นฐานจิตสำนึก พื้นฐานครอบครัว และพื้นฐานการศึกษามีความแตกต่างกันมาก  ขณะเดียวกันเด็กนักเรียนมีความละเอียดอ่อนในวุฒิภาวะทางอารมณ์อยู่มาก  จึงต้องให้ความระมัดเป็นพิเศษโดยเฉพาะการเดินทางออกนอกพื้นที่ของโรงเรียน อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรม   นอกจากนี้เรื่องเวลาในการทำกิจกรรมจะต้องจัดให้ลงตัว ไม่กระทบต่อการเรียน การเตรียมเตรียมตัวสอบ และการสอบของนักเรียน  เมื่อเกิดอุปสรรคอาจจะต้องเลื่อนโครงการออกไป  เพื่อให้ได้ช่วงเวลาที่เหมาะสม

                นอกจากนี้ยังมีความล้มเหลวจากทุนมนุษย์คือ การคิดแตกต่างกัน   เพราะฉะนั้นการศึกษาทุนมนุษย์จะไม่ได้คิดถึงเฉพาะตนเองเท่านั้น ต้องเกี่ยวเนื่องกับครอบครัว ชุมชน สังคม และภาพใหญ่คือประเทศไทยด้วย

                ทั้งนี้ ความสำเร็จของการที่ทุนมนุษย์ประสบความสำเร็จได้ คือการมีครอบครัวเป็นผู้สนับสนุน นำเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือทางอ้อมเข้ามาช่วยเหลือ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพียงอย่างเดียว  สอดคล้องกับทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

  • Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม
  • Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน
  • Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  • Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว 

                การลงทุนมนุษย์ เป็นการลงทุนในตัวบุคคล เพิ่มศักยภาพบุคคล เพื่อไปเพิ่มคุณค่าผลผลิตในรูปของการสร้างคุณค่าและการฝึกอบรม เป็นการลงทุนทรัพย์ที่สำคัญที่สุด (Becker.2006,P1) ในการลงทุนทรัพยากรมนุษย์ คนงานได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้จากภายนอกโรงเรียน โดยทักษะจากการทำงาน เป็นการเพิ่มประสบการณ์ จึงเป็นการสะสมทุนมนุษย์ นอกจากนั้น การดูแลรักษาทางการแพทย์ถือว่าเป็นการรักษาสุขภาพส่วนบุคคลให้สมบูรณ์  ทุนมนุษย์จึงประกอบด้วยทั้งศักยภาพและสุขภาพของมนุษย์ มีตัวอย่างที่ให้เห็นในปัจจุบันที่คนดังมากและทุกคนส่วนใหญ่รู้จัก คือ Steve Jobs มีปัญหาสุขภาพ ล่าสุดลาออกจาก CEO’s ของ Applesมาเป็นแค่ประธาน เพราะStave Jobs ตกเรื่องการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ขาดความสมดุลในทุนแห่งความสุข ตามกฎ 5 ข้อของศ.ดร.จิระฯคือเรื่อง ทุนแห่งความสุข Steve Jobs ผ่านแค่ 4 แต่ตกข้อ 1   คือสุขภาพ ตก      

      * Passion ในการทำงาน ผ่าน
     * มีเป้าหมาย (Purpose) ในการทำงาน ผ่าน
     * การทำงานอย่างมีความหมาย ผ่าน
     * มีศักยภาพที่จะทำงานยากให้สำเร็จ ผ่าน

ถ้าสุขภาพไม่ผ่านอย่างอื่นๆก็ไม่รอด

                ในยุคปัจจุบัน การแข่งขันศักยภาพของมนุษย์ในด้านความรู้ ถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของผลผลิตส่วนบุคคลและประเทศชาติ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่มีการลงทุนทางมนุษย์ทั้งในเรื่องการศึกษาการฝึกอบรมและสุขภาพ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง เกหลีใต้ และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ซึ่งได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์มาก ผลปรากฏว่าประชาชนมีความศึกษาดี สุขภาพดี มีความสามารถสูง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้เป็นปัจจัยนำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จ การสร้างเสริมความรู้ทางทฤษฎีทุนมนุษย์จะเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์เพื่อเพิ่มทุนมนุษย์  นำไปสู่การพัฒนาองค์กรและสังคม

                 ดังนั้น  ทุนมนุษย์จึงเป็นวิธีการกำหนดและจัดแบ่งทักษะและความสามารถของบุคคลที่นำไปใช้ในการทำงานหรืออย่างอื่นที่ช่วยให้มีรายได้  นักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในยุคหนึ่งกล่าวว่า  “แรงงาน” ถือเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของผลผลิต

           การเชื่อมต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จระยะยาว จะต้องมองถึงความสัมพันธ์ของ Asean Community (AEC) ที่จะเกิดในปี 2558  ซึ่งทุนมนุษย์จะมีความสำคัญมากในการจะถูกพัฒนาด้าน Tacit Knowledge ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่าง ๆ นอกจากExplicit Knowledge และการเพิ่มการวิจัยย่อยๆ กับทุนมนุษย์ตั้งแต่เด็กนักเรียน  เพื่อให้ได้ผลติดตามแก้ไขในทุนมนุษย์ต่อไปในระยะยาว   สุดท้ายช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับนักเรียน ชุมชนให้มีความสุขได้

นายราวี ซามี

รหัสนักศึกษา 534849310030

สาขานวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ชื่อโครงการ พัฒนาระบบการประกันคุณภาพและเตรียมความพร้อมการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน

หลักการและเหตุผล

ด้วยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรมผลผลิตสู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ และสืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) มีสาระบัญญัติกำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่ง มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภายภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามาตรฐาน โดยให้มีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

- เพื่อพัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอันประกอบด้วย นโยบาย แผน กล-ยุทธ์ เกณฑ์การประเมิน เครื่องมือ คู่มือการประกันคุณภาพ

- เพื่อดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามระบบที่วางไว้อย่างมี ประสิทธิภาพ

- เพื่อตรวจสอบ ทบทวนและเขียนรายงานการประเมินตนเอง

- เพื่อนำผลการประเมินภายในมาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ

- เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินภายในและภายนอกในครั้งต่อไป

ความคิดใหม่(Idea)

ในแง่จุดประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจว่า การที่จะเข้าใจในจุดประสงค์ของการบริหารจัดการทุนมนุษย์ได้ จะต้องเข้าใจถึงเป้าประสงค์ขององค์กรเสียก่อน หากกล่าวในเชิงปรัชญาก็อาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ "สัมบูรณ์" (absolute) ในตัวมันเอง แต่ทว่าเป็นสิ่งที่จะต้อง "สัมพัทธ์" (relative) ไปกับปัจจัยควบคุมนั่นคือ นโยบายการบริหารจัดการองค์กร กล่าวง่ายๆ ก็คือ เป้าประสงค์ขององค์กรจะเป็นตัวกำหนดเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ในทางธุรกิจองค์กรเอกชนแบบจารีตดั้งเดิมมักจะมีเป้าหมายใหญ่ๆ สำคัญ 2 ประการ คือประการที่ 1: เป้าหมายของการที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงบรรดาผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจที่จะรักษาความเป็นหุ้นส่วนไว้หรือไม่

ประการที่ 2: องค์กรเอกชนอาจจะต้องแสวงหารูปแบบของการมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดและมีกำไรที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในโลกยุคสมัยใหม่ที่มนุษย์ และสังคมได้ผ่านวิวัฒนาการและการพัฒนาทางความคิดและวิถีการดำรงชีวิตมาถึงจุดหนึ่ง ทำให้ยังมีสิ่งที่องค์กรพึงต้องพิจารณาให้ความสำคัญเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเศรษฐกิจสังคมยุคปัจจุบัน ที่เกิดพลวัตผลักดันสังคมให้ก้าวสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมบนฐานความรู้ ประการที่ 3: การประกอบธุรกิจนั้นมิใช่จะมุ่งมองแต่เรื่องผลกำไร และความอยู่รอดทางธุรกิจ ตามแนวคิดแบบจารีตดั้งเดิมได้อีกต่อไป สำหรับกระแสนิยมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเรียกร้องให้เกิดแนวคิดที่ว่า การดำรงอยู่ขององค์กรก็จะต้องให้ความใส่ใจกับผลกระทบที่ตนเองจะก่อให้เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวมด้วย ดังนั้นองค์กรธุรกิจเอกชนจะต้องมีเป้าหมายเรื่องความชอบธรรมทางสังคมขององค์กรด้วย

ความคิดสร้างสรร สิ่งท้าทายและแนวโน้มในการบริหารทรัยากรมนุษย์ จากการสำรวจแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ (อดีตย้อนหลัง 3 ปี ปัจจุบัน และอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า) วิเคราะห์แล้วเห็นเลยว่า

"การบริหารความเปลี่ยนแปลง (change management)" คือเรื่องที่ท้าทายและมีแนวโน้มคงอยู่จากอดีต สู่ปัจจุบัน รวมทั้งยังมีบทบาทสำคัญในอนาคตอีกด้วย หากถามผมเรื่องนี้เห็นจะเป็นจริง เพราะตอนนี้โลกหมุนเร็วและแคบขึ้นมากด้วยปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนผ่านระหว่างวัย (Generation) และ "ข่าวล่าสุดมีรายงานตามสื่อว่ามี 8 แบรนด์ดังที่ก่อตั้งมายาวนานปิดตัวลงเหลือเพียงชื่อ" เช่น Kodachrome ฟิล์มของค่ายโกดักที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2478 ที่โด่งดังในฐานะฟิล์มสีที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์มากที่สุดและใครต่อใครก็รู้จัก ร้านแซทเทิร์นแบรนด์รถยนต์ในเครือจีเอ็ม และโฮม ดีโป เอ็กซ์โป ของเชนค้าปลีกอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

ปัจจัยภาวะผู้นำ (Leadership) ประเด็น Hot ตลอดหลายปีที่ผ่านมากำลังลดความสำคัญลง และเรื่องอื่นจะเข้ามาทดแทน?... ภาวะผู้นำใช่จะหมดสำคัญ แต่เป็นเพราะมีประเด็นอื่นมีความจำเป็นและโดดเด่นขึ้มามาก โดยเฉพาะ"การจัดทำแผนทดแทนตำแหน่ง (succession plan) และการบริหารพนักงานศักยภาพสูง (talent management) เข้ามาทดแทน"เนื่องจากโลกได้เข้าสู่ยุค "ไซเบอร์" หรือโลกยุคหลังสมัยใหม่ (Post-modern) แล้วการจัดการเรื่องคนจึงตกไปเป็นประเด็นข้างต้นแทน

การจัดการผลงาน (performance management) หายไป?!!... แต่หากพิจารณาผลที่เกิดขึ้นให้ดี "จะไม่ได้หมายความว่าจะไม่ดูระบบการจัดการผลงาน" เพราะยังติด Top5 นั่นหมายความว่าอนาคตการจัดการผลงานในแต่ละองค์ยังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ตั้งแต่การกำหนดทิศทางองค์การ การตั้งเป้า ตัวชี้วัด และการถ่ายทอดตัวชี้วัดลงมาสู่ระดับพนักงานรายบุคคล แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานต้องมานั่งที่ Office แต่จะเป็นการส่งมอบผลงานโดยในลักษณะองค์กรเสมือนจริง จากมุมไหนของโลกก็ได้ ด้วยศักยภาพที่สูงของของพนักงานแต่ละคนนั่นเอง...

การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง เมื่อองค์กรมีเป้าประสงค์ 3 ประการข้างต้น ได้แก่ การอยู่รอดด้วยผลกำไรที่เพียงพอ การมีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และการมีความชอบธรรมทางสังคม เป้าประสงค์เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งอาจจะสามารถแปลงเป้าประสงค์ใหญ่ระดับองค์กรมาสู่เป้าประสงค์ย่อยในระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะสามารถช่วยให้เราเห็นภาพเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ดังนี้

1.ในแง่ของการที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะสามารถอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องกำหนดเป้าประสงค์ในแง่ของการสร้างผลิตภาพด้านแรงงานให้เกิดขึ้นภายในองค์กร นั่นย่อมหมายถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำให้องค์กรเกิดความคุ้มค่าในการลงทุนที่เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลในองค์กร

1. ในแง่ของการที่องค์กรประสงค์ที่จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ก็คงจะต้องกำหนดเป้าประสงค์ในแง่ของการที่จะทำให้องค์กรพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอย่างยั่งยืนจึงเป็นเป้าประสงค์ที่สำคัญอีกประการของงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

2. ในแง่ของการที่องค์กรประสงค์ที่จะมีความชอบธรรมทางสังคม ก็ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องมีเป้าหมายที่มุ่งเน้นการสร้างความรู้สึกให้องค์กรให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบต่อบุคลากรภายในองค์กร และผลกระทบจากการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัท ที่จะไปมีผลต่อสังคมภายนอก ซึ่งต่อมาได้ขยายนิยามความรับผิดชอบ ออกไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างๆ

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม "อ่อน" ที่ใช้ปรัชญาแบบ "มนุษย์นิยมเชิงพัฒนา" หรือกลุ่ม "แข็ง" ที่มีปรัชญาแบบ "บริหารจัดการนิยม" มีผู้สรุปแนวโน้มของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไว้ แม้ในทางความคิดจะเป็นแนวคิดที่ต่างกลุ่มต่างสำนัก แต่ในที่สุดแล้วในทางปฏิบัติทั้ง 2 แนวคิดนี้จะต้องถูกบริหารจัดการหรือบูรณาการเข้าด้วยกัน โดยผู้ศึกษามี 4 มิติมุมมองที่จะช่วยยึดโยงกับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์มากยิ่งขึ้น ได้แก่

1. การกำหนดนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรจะต้องบูรณาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น ทั้งในแง่ของการบูรณาการกันเองของงานย่อยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร และการบูรณาการนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเข้ากับแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์กร

2. ความรับผิดชอบในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การจะไม่ได้อยู่กับผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลอีกต่อไป แต่จะถูกกำหนดให้ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารสายงานด้านต่างๆ จะต้องรับผิดชอบ

3. เรื่องของแรงงานสัมพันธ์ ที่เคยเป็นการเผชิญหน้าระหว่างผู้บริหารกับสหภาพแรงงาน จะเปลี่ยนไปเป็นเรื่องพนักงานสัมพันธ์ ทำให้แนวคิดการบริหารจัดการคนในองค์การเปลี่ยนจากแบบ "กลุ่มนิยม" (collectivism) ไปเป็น "ปัจเจกนิยม" (individualism)

4. แนวคิดเรื่องของการสร้างความมีพันธกิจผูกพัน การทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร การคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ทำให้ผู้บริหารจะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่บทบาทผู้นำในรูปแบบใหม่ๆ เช่น เป็นผู้เอื้ออำนวย เพิ่มบทบาทอำนาจ และ สร้างขีดความสามารถให้กับบุคลากร

นายโกมล ดุมลักษณ์

นายโกมล ดุมลักษณ์

รหัสนักศึกษา 534849310026

สาขานวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำศาสนาสู่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคโลกาภิวัฒน์

หลักการและเหตุผล

ในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนกลยุทธ์ของหน่วยงานไปสู่เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการนั้นทรัพยากรบุคคลคือปัจจัยที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการพัฒนาผู้นำศาสนาการไปสู่การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่องเป็นระบบ ซึ่งการจัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรนี้เป็นความพยายามที่จะทำให้การพัฒนาบุคลากรตอบสนองต่อวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกศาสนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบโดยมีเป้าหมายทิศทางที่ชัดเจนสอดคล้องกัน และสอดรับกับภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการพัฒนาผู้นำศาสนา จะทำให้ สามารถจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการพัฒนาบนฐานข้อมูลที่ทันสมัย ซึ่งจะส่งผลให้การจัดสรรใช้จ่ายงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาเกิดประโยชน์สูงสุด การพัฒนาทรัพยากรบุคคลยึดสมรรถนะเป็นหลัก มุ่งให้บุคลากรมีสมรรถนะเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยต้องเชื่อมโยงกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

การบริหารบุคลากรที่ประสบความสำเร็จจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบหรือฟังก์ชั่นหลัก ๆ ของการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากผู้บริหารรวมถึงนักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บางคนยังเข้าใจผิดคิดว่างานพัฒนาบุคลากรก็คืองานฝึกอบรม โดยมีหน่วยงานบุคคลทำหน้าที่ในการจัดฝึกอบรม ติดตาม และประเมินผลความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากรในองค์การ ซึ่งผู้บริหารระดับ CEO มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า “จัดฝึกอบรม แล้วพนักงานจะพัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาบ้างหรือไม่” ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันว่า องค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากรมิใช่มีเพียงแค่การฝึกอบรมเท่านั้น พบว่ามีนักวิชาการจำนวนมากได้ศึกษาถึงแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากร

วัตถุประสงค์

o เพื่อสอนแนะวิธีปฏิบัติงานที่ดีที่สุด

o เพื่อพัฒนาผูนำศาสนาให้การปฏิบัติงานให้ได้ผลสูงสุด

o เพื่อลดความสิ้นเปลืองและป้องกันอุบัติเหตุในองค์การ

o เพื่อจัดวางมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

o เพื่อพัฒนาฝีมือในการปฏิบัติงานของบุคลากร

o เพื่อความก้าวหน้าของงานและการขยายตัวขององค์กร

o เพื่อความก้าวหน้า

ความคิดใหม่ (Idea)

ผู้ศึกษาขอนำเสนอหลักการพิจารณาถึงองค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากร โดยแบ่งองค์ประกอบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้มิติทางด้านจุดเน้น (Focus) และมิติด้านผลลัพธ์ (Results) เป็นปัจจัยที่กำหนดกรอบการพัฒนา ดังต่อไปนี้

จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากรต้องมีเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้การบริหารบุคลากร ในทุก ๆ เรื่องประสบความสำเร็จก็คือ ขีดความสามารถ Competency) ที่องค์การหลาย ๆ แห่งมีการกำหนดขึ้น หรือองค์การหลาย ๆ แห่งมีแผนที่จะกำหนดขีดความสามารถของแต่ละตำแหน่งงานขึ้นมาด้วยเช่นกัน ซึ่ง Competency ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือการบริหาร (Management Tools) ที่นำมาใช้ได้ทั้งการพัฒนารายบุคคล การพัฒนาสายอาชีพของพนักงาน การบริหารผลการดำเนินงาน และการพัฒนาองค์กร สำหรับในแง่มุมของการพัฒนารายบุคคล Competency จะถูกนำมาใช้เพื่อประเมินดูว่าพนักงานแต่ละคนมีขีดความสามารถใดที่เป็นจุดแข็ง (Strength) และขีดความสามารถใดที่เป็นจุดอ่อน (Weakness) โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องเลือกขีดความสามารถที่จะต้องพัฒนาว่าควรจะเป็นเรื่องใด หลังจากนั้นจึงกำหนดเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งเครื่องมือที่ผู้บริหารควรตระหนักถึงก็คือ เครื่องมือที่มิใช่การฝึกอบรมในห้องเรียนเท่านั้น เครื่องมือการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานมีจำนวนมาก อาทิเช่น การสอนงาน (Coaching) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) การมอบหมายงานที่ยากและท้าทาย (Job Enrichment) การเพิ่มปริมาณงาน (Job Enlargement) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Learning) การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง (Job Shadowing) เป็นต้น

นอกจากนี้ Competency ยังถูกนำมาใช้ในเรื่องการพัฒนาสายอาชีพ นั่นก็คือ การกำหนดผังความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ที่ไม่ใช่การเลื่อนตำแหน่งงาน (Promotion) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ความก้าวหน้าในสายอาชีพจะรวมไปถึงการโอนย้ายงาน (Job Transfer) ซึ่ง Competency จะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความพร้อมว่า การจัดทำแผนพัฒนาคนเก่งและคนดี (Talent Management) ยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ที่องค์การหลายแห่งเริ่มตระหนักถึงความสำคัญ และได้เริ่มสรรหาคนเก่งและคนดีในองค์การ เพื่อที่ว่าองค์การจะได้หาวิธีการในการจูงใจและรักษาบุคลากรเหล่านี้ให้อยู่ในองค์การได้นานที่สุด ซึ่งบุคคลเหล่านี้ที่องค์การได้มีการเตรียมให้เป็นผู้สืบทอดทายาทหรือผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successors) สำหรับตำแหน่งงานระดับบริหารต่อไป

สำหรับองค์ประกอบสุดท้ายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็คือ การพัฒนาองค์การ (Organization Development) ที่เน้นการนำเครื่องมือด้านการบริหารบุคลากรมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์การตามแบบอย่างที่ผู้บริหารต้องการ ซึ่ง Competency จะถูกนำมาใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั่วทั้งองค์การ แนวคิดของการพัฒนาองค์การถือได้ว่านำองค์ประกอบต่าง ๆ ของการพัฒนาบุคลากรมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เนื่องจากองค์การจะพัฒนาไปได้นั้นก็ต่อเมื่อองค์การจะต้องมีการพัฒนาพนักงานแต่ละคน การรักษาพวกเขาไว้ด้วยการพัฒนาสายอาชีพของพนักงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความยุติธรรมในการประเมินผลงาน

สรุปว่าการพัฒนาบุคลากรถือได้ว่าเป็นแผนงานที่สำคัญที่องค์การหลาย ๆแห่งได้กำหนดเป็นกลยุทธ์ธุรกิจขึ้นมา ประเด็นอยู่ที่ว่าการมุ่งเน้นในแต่ละองค์ประกอบของแต่ละองค์การไม่เหมือนกัน ซึ่งงานที่สำคัญที่องค์การจะต้องคำนึงถึงก็คือ การวิเคราะห์ปัญหาว่าอะไรคือสิ่งที่องค์การต้องการ เพื่อที่ว่าองค์การจะได้มุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากรให้ถูกจุดและถูกที่

พบว่าขีดความสามารถหรือ Competency นั้นเป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อผลการทำงานของพนักงาน ซึ่งปัจจุบันการวัดผลงานนั้นจะวัดไปที่ปัจจัยวัดผลการดำเนินงานหลัก หรือ Key Performance Indicators: KPIs ทั้งนี้ Competency ของแต่ละฟังก์ชั่นมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน และงานพัฒนาหรือ Human Resource Development เป็นอีกฟังก์ชั่นหนึ่งที่สำคัญซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานในด้านนี้ย่อมต้องการ Competency เฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากงานอื่น ๆ เช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่าการที่จะเป็นนัก HRD ที่ดีนั้น พวกเขาจะต้องมี Competency ที่สำคัญใน 4 เรื่องหลักด้วยกัน ได้แก่

ความสามารถด้านทักษะวิชาชีพ (Technical Competency)

นัก HRD ที่ดีจะต้องมีขีดความสามารถในงานวิชาชีพเฉพาะด้าน งานวิชาชีพนั้นถือได้ว่าเป็นงานทางเทคนิคที่ไม่เหมือนสายงานอื่น ๆ ทั้งนี้สมาคมเพื่อการฝึกอบรมและพัฒนาของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American for Training Development : ASTD) โดย McLagan ได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบของงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Models for HRD Practice) ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าวทำให้ได้ข้อกำหนดของ Technical Competency ซึ่งหมายถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติหน้าที่

พบว่าขีดความสามารถในงานเทคนิคเฉพาะด้านนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่นัก HRD จะต้องเรียนรู้ รักที่จะแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความสามารถเหล่านี้ ซึ่งเป็นเสมือนความสามารถขั้นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นของนัก HRD ที่มีความต้องการที่จะก้าวเข้าสู่นัก HRD มืออาชีพ ซึ่งความรู้ความสามารถทั้ง 11 ประการนี้จะส่งผลให้นัก HRD เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Administration Expert) ด้านงานพัฒนาบุคลากรที่สามารถให้ความช่วยเหลือ และตอบข้อซักถามต่าง ๆ จากพนักงานได้ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนมีความสนใจเกี่ยวกับ “พฤติกรรมมนุษย์” ไม่ว่าจะเป็นในสมัยเรียนมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปริญญาตรีและปริญญาโท ก็เลือกศึกษาทางด้านจิตวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์โดยเฉพาะ และเมื่อจบออกมาก็เข้าไปทำงานในบริษัทเอกชนทางด้านการพัฒนาคน และอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยทางด้านจิตวิทยาจนมาถึงทุกวันนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาตัวของผู้เขียนเองมีความเชื่อว่า “มนุษย์สามารถที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา” จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง

ผู้ศึกษาพยายามศึกษาและพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะการพัฒนามนุษย์ด้วยเทคนิคการใช้ชุดฝึกอบรม (Training Package) ก่อนอื่นขอขยายความและให้ความหมายของคำว่า “ชุดฝึกอบรม” ก่อนว่าหมายความว่าอย่างไร

ชุดฝึกอบรม (Training Package) หมายถึง การนำเทคนิคต่างๆ การฝึกอบรมมาใช้เป็นสื่อในการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ประกอบไปด้วย กิจกรรมกลุ่ม, กิจกรรม Walk Rally, การให้ข้อสนเทศ, การบรรยาย, การสาธิต, กรณีศึกษา, สถานการณ์จำลอง,บทบาทสมมติ, การระดมความคิด เป็นต้น

คำถามจองท่านอาจารย์จีระ ถามว่าปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์มีอะไรบ้าง?

ตอบว่ามีอยู่ 2 ส่วนสำคัญ คือ

1. ปัจจัยภายนอก

o การแข่งขันในระดับประเทศและระดับโลกที่สูงขึ้น

o ความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี

o การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

2. ปัจจัยภายใน

o ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 ควรมีทัศนคติที่ดี และ เข้าใจวัตถุประสงค์

 มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นจะเรียนรู้

 นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

o ผู้บังคับบัญชา

 ผู้บริหาร ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือไม่

 ต้องแจ้งความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบทุกครั้ง

 แจ้งเหตุผลในการคัดเลือกบุคคลให้เข้าร่วมกิจกรรม

 ให้ความสนใจและอำนวยความสะดวก

จากผลการศึกษาดังกล่าวผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้พฤติกรรมของคนเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในการที่ดีขึ้นนั้น ก็คือ การทำให้คนเหล่านั้นเห็นคุณค่า/ประโยชน์/ความสำคัญ และเกิดตระหนักใน “ความคิดใหม่” และเมื่อความคิดแบบเดิมๆ เปลี่ยนไป ความเชื่อและทัศนคติ และพฤติกรรมใหม่ก็จะเกิดการขึ้นตามมา

การพัฒนาทัศนคติและความคิดของคนเรานั้นสามารถพัฒนาได้ โดยเริ่มต้นจากการใส่ข้อมูลที่เป็นเหตุเป็นผล และมีความสมเหตุและสมผล ทำให้คนเกิดการยอมรับ ในความคิดและความเชื่อในสิ่งใหม่ เครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ก็คือ การรู้จักเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมเป็นสื่อในการฝึกอบรมให้เหมาะสมแต่ละกลุ่มคน และมีความหลากหลาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมจะทำให้การฝึกอบรมในหลักสูตรนั้นๆ เกิดประสิทธิผลสูงสุด

หากองค์กรของท่านกำลังประสบปัญหาในเรื่องสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน ผู้เขียนหวังว่าความคิดอิสระแบบสร้างสรรค์นี้ น่าจะเป็นประโยชน์ที่ท่านจะนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของผู้นำ ผู้บริหารต่อไป และท้ายที่สุดนี้ผู้ศึกษาอยากจะให้กำลังใจ และเป็นกำลังใจให้กับนักฝึกอบรม นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลายท่านที่มุ่งมั่น อย่าท้อถ้อยกับการพัฒนาคน เพราะการสร้างคนมิสามารถสร้างได้ตามใจนึกต้องใช้เวลา เปรียบเสมือนกับการทำความดี 10 ครั้ง อาจจะมีคนเห็นเพียง 1 ครั้ง แต่เราก็มีความสุขมิใช่หรือที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เราชอบ

เรียนอ.จีระ ดิฉันนส.เมทิณี สิทธิสงค์ จากศูนย์กทม.คะ คือส่งการบ้านไว้ตั้งแต่วันพุธตามกำหนดไว้ที่เมล์คุณเอราวัณนะคะ เนื่องจากอับขึ้นเซิฟเวอร์ไม่ได้คะ จึงขอนำส่งวันนี้คะ

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึกษาพารณ – จีระ…มุ่งมั่น…พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 – 208 ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (นำเสนอเป็นโครงการฯ จากข้อมูลข้างล่างนี้)

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน เสนอ

•ความคิดใหม่ (Idea) ในด้านของอ.พารณ ท่านสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา โดยท่านเชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีกว่าผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมายของท่านคือนักเรียน ส่วนในด้านของอ.จีระ ท่านได้กระตุ้นให้ครูและผู้บริหารใฝ่รู้ กระตือรือร้นหาความรู้ รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็นเน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจอีกทั้งครูและผู้บริหารต้องกล้าคิดนอกกรอบ จากแนวความคิดใหม่ของทั้งสองท่านผลักดันให้โรงเรียนทั้งสองแห่งประสบความสำเร็จในด้านการเรียน การสอน และคุณภาพของนักเรียนอย่างสูงสุด

•ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) อ.พารณนำการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้แบบให้นักเรียนได้ลงมือปฎิบัติจริงและเรียนรู้ด้วยตนเองจากสิ่งที่ตนเองสนใจ อ.จีระ ผลักดันครูและผู้บริหารให้กล้าคิด กล้าสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและเพื่อนร่วมอาชีพ โดยการจัดให้มีโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ, โครงการศึกษาดูงานในต่างประเทศ, ผลักดันในเกิดหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นคือหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมฯลฯ ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากความเพียรพยายามของอ.ทั้งสองท่านก็คือตัวนักเรียนเองที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและบ้านเมืองต่อไปในอนาคต

•ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง จากการที่อ.พารณนำการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่เน้นให้ผุ้เรียนลงมือปฎิบัติเองในสิ่งที่ตนเองสนใจ ผู้เรียนจะรู้จักคิดเป็น วางแผนเป็น เรียนรู้ร่วมกันเป็นลงมือทำเองเป็น สรุปความรู้และเก็บผลงานเป็น จัดการนำเสนอผลงานเป็น และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคเป็นเอง โดยมีครูเป็นผู้บูรณาการอยู่ข้าง ๆ จากการเรียนรู้ในลักษณะนี้ผู้เรียนจะรู้จักการพัฒนาตนเองไปสู่การทำงานที่ใหญ่ขึ้น ลึกซึ่งขึ้น หรือแม้แต่กระทั้งเรื่องใหม่ ๆ วงจรการเรียนรุ้แบบนี้จะเริ่มไปตั้งแต่ต้นจนจบวงจรได้ในตัวกระบวนการของมันเอง ผู้เรียนจะรู้จักคิดเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนในลักษณะดังกล่าวติดตัวไปจนโต อ.จีระ มุ่งเน้นที่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความคิดใหม่แล้วต้องลงมือทำเพราะถ้าไม่ทำนวัตกรรมไม่เกิด ดังนั้นเมื่ออ.จีระผลักดันให้ครูและคณะผู้บริหารจัดทำโครงการมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงเกิดเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการโรงเรียนในรูปแบบใหม่ขึ้นมา เช่นแนวคิดที่เปิดหลักสุตรเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานที่อาจจะไปทำงานในสนามบิน และจากการที่นำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลีนำมาปรับใช้จนกลายเป็นโครงการSister Schoolมีการแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนทั้งสองแห่ง จากองค์ความรู้ของอ.ทั้งสองท่านสามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้มากมายและต่อยอดไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

2. เสนอเป็น

•การเขียนโครงการ Project Proposal

ชื่อโครงการ โรงเรียนต้นแบบการสร้างนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาอย่างยั่งยืน

หลักการและเหตุผล

กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการพัฒนาคนให้มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง เพื่อการดำรงค์ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข มีความสามารถในการคิด แก้ไขปัญหาและปรับตัวเข้ากับสังคมได้ การปฎิรูปการศึกษาหรือการปฎิรูปการเรียนรู้ สาระสำคัญอยู่ที่กระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริง การฝึกปฏิบัติ คิดเป็น ทำเป็นสามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นและรู้จักบูรณาด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปะวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจรรยา และรู้จักการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างนวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา

2. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ไปสู่การปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่

•การนำเสนอโครงการ Project Presentation

นำโครงการแต่ละโครงการที่ร่วมกันบูรณาการระหว่างครูกับนักเรียน ผ่านการนำเสนอโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย

•การขออนุมัติ Project Approval

รวบรวมโครงการที่สมบูรณ์แบบพร้อมทั้งเรื่องงบประมาณเพื่อขออนุมัติจากเจ้าของสถาบัน

•การบริหารโครงการ Project Implementation

แบ่งเป็น 8 ขั้นตอน

- เริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กๆ สนใจ

- ครูบูรณาการทางวิชาการ

- การวางแผนร่วมกัน

- การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง

- สรุปความรู้ และเก็บบันทึกผลงาน

- จัดเตรียมนิทรรศการผลงานจากกาเรียนรุ้

- วิเคราะห์และประเมินผลแบบ 360 องศา

- การต่อยอดองค์ความรู้

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ตามแนวความคิดของดิฉันปัจจัยในความสำเร็จของทุนมนุษย์คือปัจจัยทางสังคม มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมทุนมนุษย์ของแต่ละบุคคล บางคนมีทุนติดตัวมาเยอะคือรวยครอบครัวอบอุ่น บางคนยากจนครอบครัวแตกแยก ในส่วนนี้สังคมมีหน้าที่ในการคัดเกลาเพื่อลดปัญหาช่องว่างดังกล่าว ทำอย่างไรให้เกิดทุนมนุษย์ที่มีความเสมอภาค อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็คือรัฐบาลควรจะให้ความสำคัญกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงหมดอายุไขเหมือนกับเช่นบางประเทศที่ให้ความสำคัญและประเทศเหล่านั้นก็เกิดความเจริญก้าวหน้า

ปัจจัยที่เป็นความล้มเหลวของทุนมนุษย์ก็คือ ไม่รู้จักคิดใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่พยายามพัฒนาและไม่ชอบทำงานเป็นทีม

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง ในเรื่องของการพัฒนา หากปัจจัยด้านทุนมนุษย์ล้มเหลวมนุษย์จะไม่รู้จักการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าจะย่ำอยู่กับที่จะเป็นประเทศที่ล้าหลัง มนุษย์ไม่สามารถแสดงศักยภาพใดๆ ได้เลย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนาทุนมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นคนขับเคลื่อนและนำมาซี่งนวัตกรรมใหม่ๆ เผยแพร่เพื่อเพิ่มศักยภาพตัวมนุษย์เอง สังคม องค์กรรวมถึงประเทศชายอีกด้วย

ว่าที่ร.ต.กิติ์ไกรสีห์ เขียวหวาน

ว่าที่ร.ต.กิติ์ไกรสีห์ เขียวหวาน รหัสนักศึกษา 53484931024 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จากการศึกษาเรื่องทรัพยากรพันธุ์แท้ ซึ่งมีข้อความในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ & จีระ....มุ่งมั่น....พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

คำตอบข้อ1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน ประกอบด้วย ความคิดใหม่ (Idea) ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

กรณีศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เป็นนวัตกรรมในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการนำทฤษฎี 4L's, ทฟษฎีทุน 8K's และทฤษฎ๊ 5K's ตลอดจนวิธีการกระตุ้น ได้แก่ การกระตุ้นให้ใฝ่รู้ กระตือรือร้นที่จะหาความรู้ มีความสนใจแบบ Eager to learn รู้จักคิด วิเคราะห์เป็น อีกทั้งยังได้นำเอาทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องมาใช้ และเน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจให้นักเรียนสนใจ และการคิดนอกกรอบ

ดังนั้นนวัตรกรรมน่าจะเป็น

1. การคิดใหม่ คิดเชิงสร้างสรรค์ และหาความรู้ตลอดเวลา

2. การลงมือทำ

3. การทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง

ความคิดใหม่ (Idea)

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาโรงเรียนมาจากนักเรียนที่มาเรียนประกอบด้วยคนท้องถิ่น(พระประแดง)ที่ไม่สามารถไปเรียนต่อที่อื่นได้ เพราะขาดปัจจัย หรือไม่สามารถเข้าศึกษายังสถาบันที่มีชื่อเสียงได้ ซึ่งคนในชุมชนส่วนมากจะมองว่าเป็นโรงเรียนที่ไม่ค่อยได้มาตรฐาน ซึ่งจริงๆแล้วมิใช่อย่างนั้น ในเบื้องต้นการเปิดโลกทัศน์ของอาจารย์เลือกใช้วิธีการไปดูงานโรงเรียนอื่นๆ สถานที่ ห้องเรียน อุปกรณ์ดีมาก ฯลฯ การได้เห็น ได้สัมผัส ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากเพื่อร่วมวิชาชีพต่างสถาบัน ต่างถิ่น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการที่จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่เป็นอย่างเป็นรูปธรรม และนำ 10 แนวคิด และทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ ศ.ดร. จีระฯมาใช้

ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)

นำทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย Learning Methodology (วิธีการเรียนรู้) Learning Environment (บรรยากาศการเรียนรู้) Learning Opportunities (โอกาสการเรียนรู้) Learning Communities (ชุมชนแห่งการเรียนรู้) โดยการเรียนเชิญดร.จีระมาพูดให้ครูในโรงเรียนฟัง และเชิญโรงเรียนใกล้เคียงมาด้วย พร้อมทั้งเรียนเชิญผู้บริหารสถานศึกษา มาฟัง อีกทั้งพาไปศึกษาดูงาน เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนคือ การนำโรงเรียนสู่สากลโดยโรงเรียนมีหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษ

คำตอบข้อ2: นวัตกรรมการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการติดต่อประสานงานราชการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต

•การเงิน Project Proposal

•การทำ Project Presentation

•การอนุมัติ Project Approval และ

•การบริหาร Project Implementation

โครงการเสริมศักยภาพจิตอาสานักเรียน

1.ความเป็นมา

สืบเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่เป็นเมืองหลักในการนำรายได้จากการท่องเที่ยว อันถือได้ว่าเป็นรายได้หลักในการพัฒนาประเทศ และนำมาซึ่งอุตสาหกรรมการให้บริการในด้านการท่องเที่ยว ที่แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยือนปีละไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน และมีเงินหมุนเวียนอันเนื่องมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวปีหนึ่งเป็นหมื่นล้านบาท อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ซึ่งมีนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาแสวงหาการลงทุน แต่ปัญหาที่ประสบคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถให้บริการของรัฐแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเหล่านั้น สืบเนื่องมาจากการไม่สามารถพูดสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเหล่านั้นได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนาบุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพูดสื่อสารในภาษาสากล เช่น ภาษาอังกฤษ ได้

2.วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถพูดสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้

2.2 เพื่อปลูกฝังแนวคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการ มีกระบวนการทำงาน ในรูปแบบสามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้เข้าใจอย่างง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แก่บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.3 เพื่อให้บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความกล้าที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

3. เป้าหมาย

บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 รุ่นๆละ 150 คน

4. ระยะเวลาดำเนินการ

เดือนตุลาคม 2554 ถึง เดือน กันยายน 2555

5. สถานที่

โรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

โรงเรียน Britist English School ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

6. วิธีดำเนินการ

6.1 เชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมปรึกษาหารือ และร่วมกันจัดทำหลักสูตรหรือวิชาหรือภาษาที่จะใช้สอนเพื่อนำไปใช้ในการสื่อสาร

6.2 เขียนโครงการ

6.3 เสนอโครงการให้ผู้มีอำนาจพิจารณา

6.4 อนุมัติโครงการ

6.5 ดำเนินโครงการ

6.6 ประเมินผลโครงการ

6.7 ประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม

6.7.1 ประเมินผลก่อนและหลังการอบรม

6.7.2 ประเมินผลหลังจากอบรมไปแล้วทุก 3 เดือน จำนวน 4 ครั้ง

7. งบประมาณในการดำเนินการ

งบประมาณจำนวน 2,500,000 บาท เบิกจ่ายจากงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภุเก็ต

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพูดสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้

9.2 บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการ สามารถสร้างกระบวนการทำงาน หรือรูปแบบการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวอย่างง่ายได้

9.3 บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความกล้าที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

10. ดัชนีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

10.1 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

10.2 คะแนนประเมินของผู้เข้าร่วมโครงการ

11. การประเมินผล

11.1 ประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการทั้งก่อนและหลังสำเร็จการอบรม

11.2 ประเมินผลหลังจากอบรมไปแล้วทุก 3 เดือน จำนวน 4 ครั้ง โดยดูจากการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

11.3 ประเมินผลตามข้อ 11.2 จากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ

12. ผู้เขียนโครงการ

ว่าที่ร.ต.กิติ์ไกรสีห์ เขียวหวาน

13. ผู้เสนอโครงการ

นายส. ก.

ท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

14. ผู้พิจารณาโครงการ

นาย ส น.

รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

15. ผู้อนุมัติโครงการ

นาย ต. อ.

ผู้ว่าราชการจังหวัดภู้ก็ต

ข้อ3 :ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

คำตอบ: ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านทุนมนุษย์ผ่านการพัฒนานวัตกรรม 5 เรื่องตามลำดับที่

•อดทน

•หาความรู้หลายๆศาสตร์

•ค่อยๆทำเป็น Step อย่ารีบร้อน

•สร้าง Innovation Culture ในองค์กร

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว เกิดจากการมีส่วนร่วม และพื้นฐานจิตสำนึก พื้นฐานครอบครัว และพื้นฐานการศึกษามีความแตกต่างกันมาก เรื่องเวลาในการทำกิจกรรมจะต้องจัดให้ลงตัว ไม่กระทบต่อการทำงาน เมื่อเกิดอุปสรรคอาจจะต้องเลื่อนโครงการออกไป เพื่อให้ได้ช่วงเวลาที่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีความล้มเหลวจากทุนมนุษย์คือ การคิดแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาทุนมนุษย์จะไม่ได้คิดถึงเฉพาะตนเองเท่านั้น ต้องเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ชุมชน สังคม และภาพใหญ่คือประเทศไทยด้วย

ทั้งนี้ ความสำเร็จของการที่ทุนมนุษย์ประสบความสำเร็จได้ คือการมีครอบครัวเป็นผู้สนับสนุน นำเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือทางอ้อมเข้ามาช่วยเหลือ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพียงอย่างเดียว สอดคล้องกับทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

•Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

•Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

•Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

•Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

เรียน ศ.ดร.จีระฯ

ผมไม่ใช่นักศึกษาปริญญาเอก ที่ มร. สวนสุนันทา จบปริญญาเอกแล้วจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2004 ชื่นชมอาจารย์มานานแล้วครับ ผมรับราชการและทำธุรกิจส่วนตัวที่ภูเก็ต ต้องบริหารคนเป็นจำนวนมาก ได้นำทฤษฎีและแนวคิดของอาจารย์มาปรับใช้กับการบริหารงานทั้งในภาครัฐและในบริษัทของผมเอง ได้ผลเป็นอย่างดีมากครับอาจารย์  ...ขอบคุณครับ

P.S.  ในเฟรมภาพ presentation  เลขาฯของอาจารย์น่าจะพิมพ์คำว่า  crouse outline ผิดนะครับ (ด้วยความเคารพครับ)

นายวิสิษฐ์ ใจอาจ ศูนย์ภูเก็ต 53484931023

จากเอกสารที่ท่าน ศ.ดรจีระ ได้ให้มาศึกษาเกี่ยวกับ ทรัพยากรมนุษย์แฟนพันธุ์แท้ ทำให้ได้ทราบถึงแนวทางในการทำโครงการต่างๆ และแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ จึงมาความคิดเห็นขอเสนอ โครงการที่เป็นนวัตกรรมต่อการศึกษาดังนี้ครับ

1. ชื่อโครงการ “E-Learning ได้ทั่วทุกภูมิภาค”

2. หลักการและเหตุผล

มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business

เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น

การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

การเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะเด่นดังนี้

1. ผู้เรียนมีความคิด

2. ไม่มีรูปแบบตายตัว

3. ใช้ได้ทุกโอกาสทุกเวลา

4. ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง

5. มีการบูรณาการในตัว

6. มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูง

7. เปิดทางเลือกให้ผู้เรียนหาคำตอบที่หลากหลาย

8. ชื่อรูปแบบมีนัยเชิงบวก ท้าทาย กระตือรือร้น

9. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในการคิดที่สันติสุข

10. ผู้เรียนสร้างชิ้นงานผลงานสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่ที่เป็นรูปธรรม

11. เชื่อมโยงความคิดที่เป็นระบบอย่างมีขั้นตอนจากง่ายไปยากและใกล้ตัวไปไกลตัว

12. นำไปจัดการเรียนรู้ได้กับทุกกลุ่มสาระและสามารถเชื่อมโยงได้กับรูปแบบการ เรียนรู้อื่น ๆ

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

“เพื่อการแก้ไขปัญหา สร้างสิ่งใหม่ ก้าวไกลเกินฝัน”

การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ : โดยกระบวนการพัฒนา จิตเหนือสำนึก การพัฒนาของ มนุษย์นั้น จะต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย, จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมี พลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึก ดังต่อไปนี้

1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย

2. การฝึกการคิดนอกกรอบ

3. การฝึกการคิดทางบวก

4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ ฯลฯ

Kiranie Narabal (ศูนย์ภูเก็ต # 53484931018)

โครงการพัฒนาตัวแบบขององค์กรสู่ความเป็นเลิศภายใต้บริบทไทยในยุคโลกาภิวัตน์

(The development of an organizational excellence framework under context of Thailand in globalization)

ภูมิหลังของโครงการ

ท่ามกลางการไหลบ่าของกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของบริทบทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน พบว่าองค์กรทุกๆ รูปแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความแข็งแกร่งและเพิ่มพูนขีดความสามารถเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะการแข่งขัน อีกทั้งต้องมีความยืดหยุ่นและเตรียมพร้อมที่จะรับมือและปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที

ประเทศไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับการไหลเข้ามาของกระแสโลกาภิวัตน์ และโดยเนื้อแท้ยังมีความไม่พร้อมที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมออย่างดีพอ เห็นได้จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง หรือกล่าวได้ว่า ยังขาดความภูมิคุ้มกันที่ดี คือยังพึ่งพาตนเองไม่ได้ และขาดความพอดีในเรื่องสำคัญรวม 5 ประการ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและ ด้านเทคโนโลยีและ ด้านจิตใจ เมื่อองค์กรในบริบทของสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ได้รับแรงกดดันจำเป็นต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถ ทั้งในแง่ของผลิตภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือตัวแบบในการบริหารจัดการ (Management Model) ขององค์กรที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพหรือองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (Organizational Excellent หรือ Corporate Excellent) จึงมีความสำคัญและมีอำนาจอ้างอิงในฐานะต้นแบบสากลให้องค์กรรุ่นหลังๆ พัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ละเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์กรรู้ว่าจะใช้ความพยายามและทรัพยากรไปในปัจจัยสำคัญใดจึงจะสามารถประสบความสำเร็จและนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศที่ใกล้เคียงกันได้

ความสำคัญของโครงการ

เนื่องจากตัวแบบขององค์กรที่มีประสิทธิภาพนั้นมีอยู่หลากหลายและได้ถูกกล่าวถึงโดยนักนวัตกรรมการจัดการทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออกภายใต้กรอบความคิดและองค์ประกอบที่แตกต่างกันตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้นำองค์กรในยุคโลกาภิวัตน์จึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ ความรอบรู้และความเข้าใจในการเลือกสรร เทียบเคียง ประยุกต์ ผสมผสานหรือกำหนดขึ้นซึ่งต้นแบบองค์กรแห่งความเป็นเลิศเพื่อนำมาใช้กับองค์กรของตนได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ประเด็นคำถามสำหรับโครงการ

ประเด็นคำถามที่กลายมาเป็นข้อสำคัญในการเสนอหัวข้อวิจัยในครั้งนี้ได้แก่

1) ตัวแบบด้านการบริหารจัดการแบบใด ที่จะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมไทยที่องค์กรนั้นๆ ดำรงอยู่ อีกทั้งสามารถบ่งชี้ถึงปัจจัยแห่งประสิทธิภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้ในเวลาเดียวกัน?

2) หากมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างตัวแบบดังกล่าวในเชิงนวัตกรรมการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพในบริบทของสังคมไทยขึ้น ตัวแบบนั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดเป็นสำคัญ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและองค์ประกอบขององค์กรแห่งความเป็นเลิศร่วมสมัย 7-s หรือตัวแบบ 7 ปัจจัยของ Mc. Kensey (R. Waterman และ T. Peter, 1980) อันเป็นที่ยอมรับและอ้างถึงอย่างกว้างขวางในฝั่งฟากตะวันตก เมื่อ 30 ปีก่อน

2) เพื่อศึกษาและระบุถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบขององค์กรแห่งความเป็นเลิศในบริบทสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันเป็นที่ยอมรับในซีกโลกตะวันออก ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

3) เพื่อนำตัวแบบ ‘ปัจจัยสู่ความเป็นเลิศขององค์กรแบบไทย’ ซึ่งผู้วิจัยได้แรงบันดาลใจในการสร้างขึ้นจากการผสมผสานระหว่าง ตัวแบบ 7 ปัจจัยของ Mc. Kensey กับปัจจัยด้านการความพอเพียง (Sufficiency) และปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) จนได้เป็นตัวแบบ 9-s หรือตัวแบบ 9 ปัจจัยเพื่อองค์กรสู่ความเป็นเลิศ นำไปทดสอบประสิทธิภาพและทดลองใช้กับองค์กรกรณีศึกษาในบริบททางเศรษฐกิจและสังคมภายในจังหวัดภูเก็ต

4) เพื่อประเมินความเหมาะสมและการยอมรับองค์ประกอบทั้ง 9 ของตัวแบบ 9-s ที่สร้างขึ้น ในฐานะปัจจัยบ่งชี้ความเป็นเลิศขององค์กร เมื่อทดลองใช้กับองค์กรกรณีศึกษา

กรอบความคิดและสังเขปทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1) ตัวแบบ 7 ปัจจัยของ Mc. Kensey (R. Waterman และ T. Peter, 1980) 7-s ของ Mc Kinsey กล่าวถึงการกำหนดกรอบการพิจารณาและการวางแผนเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ในองค์กรโดยการประสานองค์ประกอบทั้ง 7 ปัจจัยให้สอดคล้องประสานกัน ตัวแปรแต่ละตัวมีความสำคัญต่อการบริหารองค์การ เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์องค์การเกี่ยวข้องกับการพิจารณาโครงสร้างองค์การ เป้าหมายขององค์การ ระบบการดำเนินงาน ทักษะที่ใช้ในการทำงาน บุคลากร รูปแบบพฤติกรรมของพนักงานและเป้าหมายที่ต้องการ แนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 โดย Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips ซึ่งได้ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ In search of excellent ในปีเดียวกัน แนวคิดนี้ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 7 ประการ ของธุกิจว่ามีลักษณะและมีสภาพอย่างไร

1.กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณา SWOT ขององค์กร

2.โครงสร้าง (Structure) เป็นโครงสร้างขององค์กรที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงการควบคุมและการกระจายอำนาจ

3.ระบบ (System) หมายถึงกระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องกันทุกระดับ

4.รูปแบบ (Style) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์กร เช่น การสั่งการ การควบคุม การจูงใจ ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์กร

5.บุคคลากร (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลกรอย่างต่อเนื่อง

6.ทักษะ (Skill) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญด้านความรู้และทักษะสำคัญขององค์กร

7.ค่านิยมร่วม ( Shared value) หมายถึง ข้อกำหนดที่ยึดถือสอดคล้องกันระหว่างคนในองค์กร

2) แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (2540)

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะกระแสของโลกาภิวัตน์และการแข่งขันในระบบทุนนิยม ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากรอบด้าน และจึงต้องยืนหยัดอยู่ในสังคมโลกให้ได้อย่างเข้มแข็ง และไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น ในกระบวนการการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554) จึงได้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันที่ดี “เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่ก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากปัญหาต่างๆ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีสาระสำคัญคือ การชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ส่วนความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

นวัตกรรมสำหรับการดำเนินโครงการ

ได้หยิบยกตัวแบบ 7S Model ของ Mc.Kensey (R. Waterman และ T. Peter, 1980) มาผนวกเข้ากับตัวแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อพ.ศ. 2540 และสังเคราะห์ออกมาเป็นตัวแบบ 9-s หรือ ตัวแบบองค์กรสู่ความเป็นเลิศในบริบทสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์ โดยมีองค์ประกอบส่วนที่เพิ่มในที่นี้ 2 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ กับปัจจัยด้านการความพอเพียง (Sufficiency) และปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) ซึ่งส่งผลให้ตัวแบนี้มีคุณลักษณะที่คาดว่าจะมีความสอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมไทยมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วยการทดสอบประสิทธิภาพของตัวแบบและทดลองใช้ตัวแบบ 9-s กับองค์กรกรณีศึกษาในบริบททางเศรษฐกิจและสังคมภายในจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินความเหมาะสมและการยอมรับของผู้บริหารองค์กรกรณีศึกษา ที่มีต่อองค์ประกอบทั้ง 9 ของตัวแบบ 9-s ที่สร้างขึ้น ในฐานะปัจจัยบ่งชี้ความเป็นเลิศขององค์กร

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

หากผลการทดสอบในด้านประสิทธิภาพบงชี้และเจตคติต่อการยอมรับตัวแบบ 9-s โดยองค์กรและผู้บริหารองค์กรกรณีศึกษาเป็นไปในทางสนับสนุน ย่อมเป็นการยืนยันว่าตัวแบบ 9-s มีคุณลักษณะของปัจจัยชี้วัดองค์กรแห่งความสำเร็จภายใต้บริบทของสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอื่นๆ อย่างกว้างขวางทั้งในแง่ของการยกพัฒนาองค์กรในภาพรวมโดยอาศัยตัวแบบดังกล่าวเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ (Benchmarking) และการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน (competitiveness development) จากองค์ประกอบทั้ง 9 ของตัวแบบ ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมไทย และมีประโยชน์โดยตรงต่อขององค์กรในแง่ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกๆ ด้าน

สุธาสินี นิรัตติมานนท์ ศูนย์ภูเก็ต

Project Proposal

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ THE NEW CREATIVE กล้าพันธุ์นักออกแบบสื่อยุคดิจิตอล (การจัดการความรู้ (KM) ด้านการออกแบบจากอาจารย์ ผู้ประกอบการ และนักศึกษา) โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

1. ชื่อโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ THE NEW CREATIVE กล้าพันธุ์นักออกแบบสื่อยุคดิจิตอล (การจัดการความรู้ (KM) ด้านการออกแบบจากอาจารย์ ผู้ประกอบการ และนักศึกษา)

2. หลักการและเหตุผล

ในยุคปัจจุบันเราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ของโลกใบนี้ไปได้ การแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ ในโลกของเทคโนโลยีจึงดำเนินไปอย่างไม่รู้จบ ในการออกแบบในยุคปัจจุบันจึงมีเทรนด์ใหม่ ๆ ออกมาตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ‘New Traditions’ ที่หยิบเอาการเคลื่อนที่ของเวลา หรือหยิบเอาของเก่าและของใหม่มาผสมผสานกันให้ดูเข้าถึงง่ายคลาสสิก และทันสมัยในเวลาเดียวกัน ‘Natural Governance’ การเคลื่อนที่เข้าหาธรรมชาติและการเป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ ‘Creative Consumer’ การออกแบบเพื่อสร้างอรรถประโยชน์แบบครบวงจร ซึ่งรวมถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือใช้ประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่ง ดังนั้นเมื่อโลกแห่งการออกแบบสื่อใหม่ในยุคดิจิตอลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาก็ต้องเตรียมพร้อมตัวเองเป็นนักคิดเชิงสร้างสรรค์ตลอดเวลาที่จะเข้าสู่ในยุคการแห่งการเปลี่ยนแปลง

นอกจากความรู้ในห้องเรียนที่นักศึกษาได้เรียนรู้ การเชิญวิทยาการผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นและมีประสบการณ์มาถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้อันมีคุณค่าให้กับนักศึกษาก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่สำคัญให้นักศึกษาได้เป็นอย่างดี และเป็นการเพิ่มทุนทางปัญญาให้กับนักศึกษาก่อนที่จะออกไปสัมผัสโลกแห่งการทำงานจริง การจัดโครงการในครั้งนี้ ได้เน้นเป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงานจริง โดยมีวิทยากรเป็นพี่เลี้ยงดูแล ให้คำแนะนำ ดังนั้นเมื่อเสร็จโครงการนี้ ทางโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์จะได้นักศึกษาที่สนใจ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (specialization) ด้านการออกแบบมากขึ้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ก่อผลดีให้แก่ตนเองและสังคมต่อไป

3. วัตถุประสงค์

1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบสื่อในยุคดิจิตอลให้กับนักศึกษา

2. เพื่อบ่มเพาะกล้าพันธุ์นักออกแบบสื่อยุคดิจิตอล

3. เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต

4. เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการความรู้ระหว่าง อาจารย์ นักศึกษา และผู้ประกอบการ

4. กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ

ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 40 คน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบสื่อในยุคดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้น

5. งบประมาณ

ใช้งบประมาณจาก งบบำรุงการศึกษา โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ เป็นเงินทั้งหมด 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน)

5.1 ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก จำนวน 6,000 บาท

5.2 ค่าวัสดุประกอบการสัมมนา จำนวน 2,000 บาท

6. ระยะเวลา

2 วัน

7.สถานที่

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้อง 531-532 อาคาร 5 คณะวิทยาการจัดการ

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบสื่อในยุคดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น

8.2 นักศึกษาสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน

8.3 เป็นก้าวแรกในการบ่มเพาะกล้าพันธุ์นักออกแบบสื่อยุคดิจิตอล

8.4 เป็นการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ ผู้ประกอบการ และนักศึกษา

9. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ (KPI)

Hieratical Objective Assumption on decision

1. Goal นักศึกษามีศักยภาพทางการออกแบบสื่อเพิ่มสูงขึ้น...ตามหลักสูตรของโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์

2. Purpose จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติกาi...นักศึกษาให้ความร่วมมือในการอบรม 100%

3. Output ได้นักศึกษาที่มีความรู้และความสามารถในด้านการออกแบบสื่อยุคดิจิตอล...ใช้วิทยากรระดับมืออาชีพในท้องถิ่น

4. Input Activity...กิจกรรมการฝึกอบรม

5. Resources รูปแบบการอบรม,เงิน,เวลา...นักศึกษามีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

อาจารย์สุธาสินี นิรัตติมานนท์ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวของทุนมนุษย์ ข้าพเจ้าคิดว่ามีหลายประการ แต่ประการสำคัญที่สุดก่อนที่จะเริ่มพัฒนาทุนมนุษย์ เราต้องตอบคำถามตนเองให้ได้ก่อนว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร และปลายทางของคำตอบนั้น จะเป็นจุดสำคัญให้คุณเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างตรงทิศทาง

หัวใจสำคัญที่สุด คือ การเข้าใจ ยอมรับตนเอง และความสามารถในการวิเคราะห์ศักยภาพตนเองให้ได้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาตนเอง เพราะเมื่อเราต่างเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนของตนเองได้แล้ว เราก็จะเกิดความมานะในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้ตนเองได้อย่างถูกต้อง ตรงทิศทางมากขึ้น

นางสาวพรรณวดี ขำจริง

นางสาวพรรณวดี ขำจริง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จากการศึกษาเรื่องทรัพยากรพันธุ์แท้ ซึ่งมีข้อความในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ & จีระ....มุ่งมั่น....พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

1.ชื่อโครงการ โครงการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ต่อชุมชน

เรื่อง การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต

4. หลักการและเหตุผล

การพัฒนาการเรียนการสอนแก่นักศึกษา ถือเป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาการอุดมศึกษา การสร้างคุณภาพผู้เรียนให้เข้าสู่มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสังคม จึงได้วางแผนพัฒนา แนวทางการปฏิบัติให้แก่สถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน อย่างเป็นระบบอัน จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของรัฐบาล จัดการศึกษาที่หลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมีคุณภาพเพื่อเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป การจัดการศึกษาสร้างองค์ความรู้บนพื้นฐานแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม ย่อมเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย วิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดพันธกิจที่ชัดเจนดังนี้ ในการจัดและพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทางด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เพื่อผลิตกำลังคน โดยเน้นสาขาวิชาที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นเป็นหลัก เพื่อส่งผลให้บุคคล ท้องถิ่น ชุมชน และประเทศชาติมีการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยเป็นที่พึ่งทางวิชาการทุกสาขาที่เปิดสอนในชุมชน และมีรูปแบบการให้บริการทั้งเชิงรุกและเชิงรับสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต เป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของการเสียสละต่อส่วนรวม และการร่วมมือกันสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม ฝึกใจให้มีคุณธรรมพร้อมตอบแทนคุณของบ้านเมือง ตามความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยหลักการของการทำงานเป็น “ ทีม - Team ” ในการที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ (3P) ได้แก่

1.มีวัตถุประสงค์ (Purpose) ต้องชัดเจน

2.มีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในการทำงาน

3.มีผลการทำงาน (Performance)

บวกกับการแข่งขัน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด สร้างความสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง โดยมีกติกา ในการคิดและร่วมกิจกรรม

ทั้งเพื่อส่งเสริมไทย มีความรักความผูกพันต่อท้องถิ่น และมีความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทย เห็นประโยชน์ของส่วนรวม ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ดี มีความรับผิดชอบ ขยัน อดทน และพึ่งตนเองได้ มีความเป็นผู้นำ

6. วัตถุประสงค์

6.1 เพื่อให้สร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ต่อชุมชน

6.2 เพื่อให้ผู้เรียนการทำงานเป็น “ ทีม - Team ”

6.3 เพื่อสร้างจิตอาสา และบริการชุมชน

7. สถานที่ดำเนินงาน

พื้นที่ในเขต จ.ภูเก็ต

8. ระยะเวลาดำเนินการ (ระบุวัน/เดือน/ปี)

มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

9. ผู้เข้ารับบริการ (ระบุชื่อกลุ่มเป้าหมาย)

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

10. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ (ตอบวัตถุประสงค์ของกิจกรรม)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ค่าเป้าหมาย

เชิงปริมาณ

1. นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 800 คน ร้อยละ 80

เชิงคุณภาพ

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีการทำงานเป็นทีม ร้อยละ 80

2. เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตอาสา รักในท้องถิ่น ร้อยละ 80

เชิงเวลา

1. โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

เชิงต้นทุน

1. ค่าใช้จ่ายของโครงการเป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติ จำนวน 30,000 บาท

11. วิธีการดำเนินงาน

รูปแบบเริ่มจากการบรรยายถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต

- ทำกิจกรรมโดยแบ่งกลุ่มต่าง เพื่อที่จะกิจกรรมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต ในแต่ละกลุ่ม นำเสนอต่อคณะกรรมการ ให้ทำการคัดเลือกเพียง 10 กลุ่ม

- เริ่มปฏิบัติกิจกรรมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต พร้อมบันทึกผลการทำกิจกรรมที่เกิดขึ้น

- นำเสนอผลหลังจากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมสรุปผล ให้ทำการคัดเลือกเพียง 1 กลุ่ม เป็นผู้ชนะเลิศ

12. งบประมาณรวม 30,000 บาท

13. รายละเอียดงบประมาณ

งบประมาณเงินรายได้

งบรายจ่าย จำนวนเงิน รายละเอียดค่าใช้จ่าย

โครงการ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต(งบประมาณ บ.กศ. ปี 2555) 30,000.- 1.ค่าตอบแทนวิทยากร 3,000 บาท

2.ค่าเอกสารประกอบ 10,000 บาท

3.ค่าอาหารกลางวัน 10,000 บาท

4.ค่าอาหารว่าง 5,000 บาท

5.ค่าอื่นๆ 2,000 บาท

รวม 30,000 บาท

14. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

14.1 เพื่อให้ผู้เรียนหน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ใช้เป็นเครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในงาน

14.2 เพื่อในผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม

14.3 มีสำนึกรักบ้านเกิด

นวัตกรรมที่ใช้

1.การทำงานเป็น “ ทีม - Team ”

2.การแข่งขัน

เป็นปัจจัยในความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้น เช่น จากโครงการที่เขียนนักศึกษาเป็นคนในพื้นที่จ.ภูเก็ต

สามารถที่จะเข้าถึงและตอบโจทย์ในเรื่องของหัวข้องในการบำเพ็ญประโยชน์ที่ตรงประเด็นมากแล้วชนะการแข่งขันก็ได้

หรืออาจจะเกิดจากตัวนักศึกษาที่มีความอยากเอาชนะ ซึ่งการแข่งขันจะเป็นตัวกระตุ้น

เป็นปัจจัยในความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้น เช่น ความไม่สามัคคีการมีความคิดที่แตกแยก

นางสาวพรทิพย์ รอดพ้น นวตกรรมการจัดการ ศูนย์นครราชสีมา

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนใหญ่เราจะนิยมพัฒนาทรัพยากมนุษย์ในองค์กร เมื่อคนเข้ามาทำงานในองค์กร แล้วมีการพัฒนาให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เราไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พื้นฐานมากนัก คือการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเป็นต้นไป ซึ่งจากกรณีศึกษาของพารณ-จีระ ...มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ถือเป็นนวตกรรมใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น จนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในอนาคต สามารถสรุปได้ดังนี้

1. นวัตกรรม 3 ส่วน

- ความคิดใหม่ (Idea) มีการจัดการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติทำโครงงาน (Project based learning) มุ่งให้ผู้เรียนมีการพัฒนาจากการปฏิบัติจริงในเรื่องที่ตนเองสนใจ เมื่อมีความสนใจในเรื่องอะไรจะทำให้มีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไม่เหมือนสมัยก่อนที่ครูคอยป้อนเนื้อหาต่าง ๆ ให้เด็กจำ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ให้เป็นสิ่งที่เด็กต้องการหรือไม่ ซึ่งการเรียนรู้แบบโครงงานนี้ เป็น Idea ใหม่ที่ผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนให้เลือกโครงงานที่สนใจที่สุด พัฒนาโครงงานของตนเองทำให้เกิดพลังการเรียนรู้ที่มีความกระตือรือร้น มุมานะ จดจ่อกับสิ่งนั้น จนเกิดประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด

นอกจากนี้ กรณีของ ศ.ดร.จีระ ความคิดใหม่ คือ กระตุ้นให้ครูและผู้บริหารใฝ่รู้ มีความสนใจ

แบบ Eager to learn รู้จักการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่ทำตามระเบียบ หรือเนวทางที่ภาครัฐกำหนดมาให้ทั้งหมด ซึ่งเมื่อครู-ผู้บริหาร คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และมีการคิดนอกกรอบจากที่เคยปฏิบัติ จะไปสู่ นวัตกรรม หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนต่อไปได้

- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คุณพารณ ได้มีการมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยในการสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เด็กเกิดความเข้าใจและความสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาทักษะของผู้เรียนทั้ง 5 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น IQ , EQ , AQ ,TQ และ MQ ซึ่งการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ๆ การส่งเสริมในเรื่อง AQ คือทักษะในการแก้ปัญหาและเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงยังมีน้อย

นอกจากนี้ กรณีของ ศ.ดร.จีระ ท่านได้มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค

โลกาภิวัฒน์ ได้ทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันทางธุรกิจ เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม จึงได้มีแนวคิด

ในการ พาครู ผู้บริหาร ทัศนศึกษาดูงานต่างประเทศ โดยไม่ต้องรองบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล หรือการ นำนักเรียนเดินทางเชื่อมความสัมพันธไมตรีต่างประเทศ จนได้แนวคิดใหม่ในการมองการศึกษาไทยในระดับโลกาภิวํฒน์ว่า ต้อง Think Global และ Act Local

- การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง จากความคิดใหม่ ที่สร้างสรรค์ของทั้งสองท่าน ที่ได้พัฒนาโรงเรียนทั้งสองแห่ง สามารถนำแนวคิดไปใช้ได้จริง และเกิดการพัฒนา รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนอื่นที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องได้

2. เสนอโครงการ “เด็กเก่งดี วิถีพุทธ”

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กำหนดคุณสมบัติของเยาวชนไทยให้เป็นคนดี เก่ง มีความสุขเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย ได้รับการกล่อมเกลาจากคำสอนของพระพุทธศาสนามาตังแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ที่ทั่วโลกยอมรับ การนำหลักพุทธธรรมที่เป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นระบบวิถีชีวิตในการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรม ย่อมเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดปัญญา และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต อันเป็นคุณสมบัติของคนดี เก่งและมีความสุขอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

-เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่ดีงามตามวิถีพุทธ

-เพื่อนำหลักพุทธธรรมมาปฏิบัติเป็นวิถีชีวิตในโรงเรียนและที่บ้าน

-นักเรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

“การจัดการทุนมนุษย์ที่ดี มีผลต่อความเจริญ ความมั่นคงและความสำเร็จขององค์กร” องค์กรที่จะประสบความสำเร็จ และมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องต้องบริหาร“ทุนมนุษย์” ให้ดี และเหนือกว่าคู่แข่งเพื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยกลยุทธ์การบริหาร/จัดการและเงินทุนแต่ละองค์กรสามารถ ซื้อหากันได้ไม่แตกต่างกัน หากมีเงินทุนที่เพียงพอ แต่ “ทุนมนุษย์” ไม่ใช่สิ่งที่จะหาซื้อกันได้ง่าย ๆ ต้องใช้เวลาในการสร้าง พัฒนา และรักษา ให้ก้าวหน้าเติบใหญ่ไปพร้อมกับองค์กร ดังนั้น “คน” จึงเป็นตัวสร้างความแตกต่างระหว่างองค์กรที่สำเร็จกับองค์กรที่ล้มเหลว

จากการอ่าน บทความของท่าน ศ.ดร.จีระ กรณีศึกษาพารณ – จีระ.. มุ่งมั่น..พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ แล้วพบว่า ความเป็น นวัตกรรม 3 ส่วน ของกรณีศึกษานี้คือ

1. ด้านความคิดใหม่ (Idea) ในความคิดเห็นของดิฉัน คิดว่า การที่ อาจารย์ได้สอน เรื่องโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลง และการจ้างงานในอนาคต เพื่อให้นักเรียนเรียนแบบมีเป้าหมาย มีการวางแผน ไม่ใช่เรียนโดยไม่ดูว่าจบแล้วจะมีงานทำหรือไม่ และมีการฝึกงานภาคฤดูร้อนที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา นับเป็นนวัตกรรมของการเรียนในระดับมัธยมศึกษา เพราะการฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษา ไม่ใช่ในระดับมัธยมศึกษา เป็นแนวความคิดใหม่ที่สามารถทำให้ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเรียนว่าตนเองเรียนไปเพื่ออะไร ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมของการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถวางแผนการทำงานในอนาคตได้ว่าตนเองชอบ หรือมีความถนัดในศาสตร์หรือสาขาการทำงานอย่างไร ซึ่งแตกต่างจากการเรียนในอดีตที่เรียนเพื่อเน้นการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และต่อจากนั้นจึงมาคิดว่าจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว จะทำงานอะไร

2. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คือโรงเรียนได้สร้างหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ เพื่อตอบสนองกับท้องถิ่น เนื่องด้วยอาจารย์เห็นว่าโรงเรียนแห่งนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ล้อมรอบ และสนามบินสุวรรณภูมิ การให้นักเรียนเรียนในหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม จึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานให้มีคุณภาพมากขึ้น และมีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาสอนในหลักสูตรนี้ด้วย การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน เน้นการมีงานทำ คือ ให้นักเรียนในระดับมัธยมปลายได้เรียนรู้เรื่องธุรกิจและการจ้างงาน เช่น ให้มีการเรียนรู้เรื่องการตลาด การเงิน การเป็นผู้ประกอบการ ฯลฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการเรียนรู้ในยุคใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งนักเรียนบางคนอาจจะไม่สามารถทำการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ จากปัจจัยต่างๆ ของนักเรียน การส่งเสริมการเรียนในเชิงปฎิบัติตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งของการพัฒนาทักษะของนักเรียนในด้านอาชีพได้เป็นอย่างดี

3. การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง คือการให้นักเรียนได้มีการฝึกภาคปฎิบัติ และการทำให้โรงเรียน

เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ เป็น APEC ICT SCHOOL ซึ่งทำให้เด็กนักเรียนของโรงเรียนกับเด็กเกาหลีใต้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และวัฒนธรรมซึ่งกันและกันโดยใช้อินเตอร์เน็ต

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ประการหนึ่ง คือ เรื่องการศึกษา เพราะการศึกษาทำให้คนเกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีด้านสังคม วัฒนธรรมของแต่ละองค์กร ที่เป็นจุดหล่อหลอมให้คนเกิดแนวคิด สังคมดี วัฒนธรรมดีคนก็คิดดี และเนื่องจากโลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดน การแข่งขันระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่แต่ละประเทศต้องตระหนักต้องพัฒนาคนของตนให้สามารถเอาชนะการแข่งขันได้ คนจึงกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของสังคม การเตรียมทรัพยากรมนุษย์ หรือทุนมนุษย์ที่ดีของสังคมไทย ควรมีการพัฒนาด้านระบบการศึกษาของไทย การพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรมทางความคิดใหม่ๆให้กับคนไทย ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดใหม่ ให้เกิดกระบวนการคิดในเชิงนวัตกรรม การคิดเชิงสร้างสรรค์และการคิดแบบองค์รวมในเชิงบูรณาการ รวมทั้งกระบวนทัศน์ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีวิสัยทัศน์ในการมองการณ์ไกล กล้านำและผลักดันการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ จะทำให้เราสามารถยืนหยัดในอาเซียนได้อย่างยั่งยืน

ณัทปภา สุริยะ นวัตกรรมการจัดการ ศูนย์โคราช

นางจงดี พฤกษารักษ์

[email protected]

นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัสนักศึกษา 53484931011

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

วิชาการจัดการมนุษย์ PHD8202

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันได้อ่าน บทที่ 10 เรื่องกรณีศึกษา พารณ-จีระมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทย เพื่อความเป็นเลิศตั้งแต่ 193-208 ในหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ ดิฉัน เป็นครูผู้สอนรู้สึกปลื้นปิติในความมุ่งมั่นและการพัฒนาการศึกษาไทย ในกรณีศึกษาการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรประการและกรณีของพารณ คือการสร้างวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญยา (Constructionism) ที่สันกำแพงและที่โรงเรียนครูสิกขาลัย ดิฉันชื่นชอบในการค้นหาความรู้และวิธีการสอนใหม่ๆจากทาง Internet ดิฉันได้อ่านบทความความของท่านอาจารย์หลายๆ บทความดิฉันได้รับแรงดลบันดาลใจที่ทำให้ดิฉันเชื่อมั่นว่า นวัตกรรมมี 3 ส่วน ได้แก่ความคิดใหม่ (Idea); ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่า ทุนที่สำคัญคือ "ทุนมนุษย์" และดิฉันได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน คือการสอนวิชาชีพภาษานานาชาติสู่สังคมอาเชียนเสรี

Think Global,Aet Local ไทยได้ทำโครงการเสริมสร้างวิชาชีพสู่โรงเรียน พอสังเขปดังนี้

1.) ชื่อโครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาภาษาจีนควบคู่คุณธรรมจริยธรรม"

2.) หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา24 (4) ระบุว่าการจัดการสอนโดยผสมผสานสาระและความรู้ต่างๆ ได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งสามารถใช้เป็นภาษาเพื่อสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยกำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือผู้ปกครองนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนโดยยึดหลักการสร้างนวัตกรรมด้วยแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ซึ่งประกอบด้วย

วัตถุประสงค์

Project Management คือ

1.) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนทุกระดับชั้นในการเรียนรู้ภาษา

2.) เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านภาษาเข้ามามีบทบาทโดยการสนับสนุนโรงเรียน

3.) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและสังคม

4.) เพื่อเป็นการยกระดับการพัฒนาโรงเรียนไปสู่ระดับนานาชาติ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

5.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่ สังคมอาเซียนเสรี

6.) เพื่อเป็นการแสวงความร่วมมือในการบริการจัดการเรียนการสอน

7.) เพื่อเป็นการบริหารหลักสูตรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีความคล่องตัวและยืดหยุ่น

8.) เพื่อเป็นการทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ

9.) เพื่อเป็นการประสานงานร่วมทั้งเน้นงานนวัตกรรมในด้านความคิดสร้างสรรค์

วิธีการดำเนินงาน Project Implement

1.) ประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยทีมงาน ประกอบด้วยครู อาจารย์ ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

2.) รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรรวมทั้งวิธีการสอนสอดคล้องกับบริษัทโดยมีส่วนร่วมครู ปราชญ์ชาวบ้านและชุมชน

3.) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์และเรียนรู้ปรับปรุงวิเคราะห์เพื่อให้มีความยั่งยืน

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

- ผู้นำหน่วยงานคือผู้บริหารของสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ (Vision) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

(Shift Paradigm)

- ทีมงานยอมรับและเห็นการเปลียนแปลงเปิดโอกาสในการพัฒนาภาษาจีน

- หน่วยงานอื่นๆ องค์กรร่วมทั้งภาคีที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ

- ชุมชนมีการเรียนรู้และร่วมทำงานแบบบูรณาการ

- ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีการแก้ปัญหาด้วยปัญญา (Constructionism)

- ผู้ปกครองและนักเรียนมีการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นต่อหลักสูตรพัฒนาขึ้น ซึ่งสรุป

1.) การวางแผนการดำเนินงาน (P)

2.) การดำเนินงานตามโครงการ (D)

3.) การตรวจสอบติดตามประเมินผล (C)

4.) การสรุปผล ปรับปรุงและการพัฒนา (A)

5.) สถานที่ดำเนินการ

- วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

6.) งบประมาณดำเนินการ จำนวน 2,000 บาท

7.) การจัดและประเมินผล

7.1.) วิธีการสังเกต

7.2.) แบบสอนถาม

8.) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1.) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและสังคม

8.2.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมอาเซียนเสรี

8.3.) เพื่อเป็นการแสวงความร่วมมือในการบริการจัดการเรียนการสอน ฯลฯ

ผู้เสนอโครงการ ............................................................

(นางจงดี พฤกษารักษ์)

รองผู้อำนวยการ

ความคิดเห็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

อนุมัติโครงการ

ใบอนุมัติโครงการ

.................................................

(นายจิตติ์ เอียดสังข์)

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

ต้องขอขอบคุณ ดร.จตุพงษ์ ที่ช่วยเเก้ไขภาษาอังกฤษที่ผิด เเละผมจะคอยตรวจสอบให้ดีอีกครั้งก่อนที่จะนำมาเผยเเพร่ครับ

                                                                   จีระ หงส์ลดารมภ์

ว่าที่ร้อยตรีหญิงอัชฌาวดี ตันเจริญ ศูนย์สวนสุนันทรา กรุงเทพมหานคร...โทร..081-1913-012

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กลุ่มนิเทศติดตาและประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจวบคีรีขันธ์เขต 2

ชื่อโครงการ การนิเทศกรณีศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อยกระดับสถานศึกษาสู่ โรงเรียนคุณภาพ

หน่วยงานที่รับชอบ ว่าที่ร้อยตรีหญิงอัชฌาวดี ตันเจริญ

ระยะเวลาดำเนินงาน โครงการต่อเนื่อง

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบท ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มักด้อยโอกาสในการได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพอย่างไรก็ตามจากการรายงานของธนาคารโลกพบว่าผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งในการขยายโอกาสทางการศึกษาขณะที่คุณภาพทางการศึกษามีแนวโน้มลดลงโดยมีโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเทียบเคียงได้กับค่าเฉลี่ยของประเทศสหรัฐอเมริกา (the World Bank,2009) แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ที่อยู่ในเขตชนบทยังด้วยคุณภาพ ทั้งผลการวิจัยยังพบว่าการทุ่มเททำงานจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาเด็กด้อยโอกาสในท้องถิ่นของชนบทจะตอบแทนทางเศษรฐกิจ (economicretums)ของประเทศอย่างยิ่ง ทั้งยังลดปัญหาสังคมและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโดยรวม (Newsweek,2009:Aug 1.)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต2 (กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา) ตระหนักในความสำคัญดังกล่าวจึงวางแผนกำหนดนโยบายการพัฒนา “โรงเรียนคุณภาพ”ในเขตพื้นที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ และเตรียมความพร้อมยกระดับเป็นโรงเรียนต้นแบบ หรือศูนย์สาธิตการให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ตลอดจนเป็นศูนย์รวม หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของเชื่อมั่นและศรัทธาในการปฏิบัติงานของโรงเรียนและไม่จำเป็นที่ต้องส่งลูกหลานไปเรียนในเมือง นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองโดยโรงเรียน และชุมชนสามารถจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์บริการและเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องอีกทั้งเป็นการสนองนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาโครงการโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการโรงเรียนในฝัน โครงการรงเรียนมาตรฐานสากล และโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล เพื่อเป็นการยกระดับสู่”โรงเรียนคุณภาพ”

2.วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อพัฒนาโรงเรียนในเขตพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพ”มีความพร้อมและเข้มแข็งทางด้านวิชาการ และการพัฒนาสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพ และมีกิจกรรมบริการชุมชน

2.2 เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท

2.3เพื่อส่งเสริมความร่วมมือละการมีส่วนร่วมจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำไปสู่ความเข้มแข็งของโรงเรียนและรองรับการกระจายอำนาจ

3. เป้าหมาย

สถานศึกษาที่อยู่ในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 4 แห่ง โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและความสมัครใจของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเป็นหลัก

4.แนวคิดทฤษฏี/รูปแบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา

การนิเทศการสอนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการ PDCA

วงจรเดมมิ่งมีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอน ดำเนินการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เมื่อครบรอบวงจรแล้ว จึงดำเนินการเริ่มต้นใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน

1. ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan -P)

2. ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do - D)

3. ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C)

4. ขั้นที่ 4 การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข ( Action - A)

ขั้นตอนการดำเนินงานนิเทศการสอนแบบมีส่วนร่วมตามกระบวนการ PDCA

การเตรียมการ

1. เตรียมความพร้อมของบุคลากร

- สร้างความตระหนัก

- พัฒนาความรู้และทักษะ

2. แต่งตั้งกรรมการที่รับผิดชอบ

การดำเนินการ

1. วางแผนการปฏิบัติงาน (P)

1.1 กำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษา 1.2 จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย

1.3 กำหนดแนวทางการดำเนินงาน 1.4 กำหนดระยะเวลา

1.5 กำหนดงบประมาณ 1.6 กำหนดผู้รับผิดชอบ

1.7 จัดทำคู่มือการส่งเสริมและัพัฒนา

2. ดำเนินการตามแผน (D)

2.1 ส่งเสริม สนับสนุน 2.2 จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนทรัพยากร

2.3 กำกับ ติดตาม 2.4 ให้การนิเทศ

3. ตรวจสอบประเมินผล (C)

3.1 วางกรอบการประเมิน 3.2 จัดหาหรือจัดทำเครื่องมือ

3.3 เก็บข้อมูล 3.3 วิเคราะห์ข้อมูล

3.4 แปลความหมาย 3.5 ตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน

4. นำผลการประเมินมาปรับปรุง (A)

4.1 ปรับปรุงการปฏิบัติงานของบุคลากร 4.2 วางแผนในระยะต่อไป

4.3 จัดทำข้อมูลสารสนเทศ

การรายงาน

จัดทำรายงานประเมินตนเองหรือรายงานประจำปี

- รวบรวมผลการดำเนินงานและผลการประเมิน

- วิเคราะห์ตามมาตรฐาน

- เขียนรายงาน

สรุป จากการประเมิน

ผลการประเมินสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้บริหารและ

บุคลากรและใช้ในการวางแผนต่อไป รวมทั้งจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

ในเรื่องต่างๆ ได้ นอกจากนี้การใช้วงจร PDCA ก่อให้เกิด

1. ระบบการประเมินตนเองของบุคลากรควบคู่กันไปในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้ได้พัฒนาตนเองให้

เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันเป็นการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง ผลจากการปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกทางคุณภาพ

จะพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้ปฏิบัติเพิ่มขึ้น ให้มีผลงานที่เน้นคุณภาพ เป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้

2. การป้องกัน การปฏิบัติงานตามวงจรจะเริ่มจากการวางแผนซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันอุปสรรคและ

ปัญหาต่าง ๆ ระบบป้องกันถูกสอดแทรกไว้ในกระบวนการปฏิบัติงาน

กระบวนการ PDCA มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

1. การวางแผน ( Plan - P )

การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องจัดทำเป็นการคิดเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบเพื่อจะทำงาน

ให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในการวางแผนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายแนวทางการดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบงานกำหนดระยะเวลาและทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ

ตามแผนการส่งเสริมและพัฒนาแผนปฎิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

แผนงบประมาณซึ่งแผนต่างๆ ต้องมีความเชื่อมโยงกับนโยบายและความต้องการของท้องถิ่นด้วย

2. การปฏิบัติตามแผน (Do - D)

เมื่อสถานศึกษาได้วางแผนการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว

บุคลากรก็ร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้

โดยระหว่างการดำเนินงานผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงาน

อย่างมีความสุข ดังนี้

2.1 จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้การปฏิบัิติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และเพียงพอ

2.2 กำกับ ติดตาม ทั้งระดับรายบุคคล / หมวดวิชา เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผน

2.3 ให้การนิเทศในระหว่างการปฏิบัติงาน

ผู้บริหารสถานศึกษาต้องกำกับและติดตามว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนดไว้หรือมีปัญหาหรือไม่

หากไม่เป็นไปตามแผนหรือมีปัญหาจะได้ให้การนิเทศเพื่อปรับปรุงแก้ไข

การกำกับและติดตามการปฏิบัติงานมีหลายวิธี เช่น ผู้บริหารอาจติดตามด้วยการสอบถามเป็นรายบุคคล

จัดประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือให้แต่ละบุคคลรายงานความก้าวหน้าของการทำงานเป็นรายสับดาห์หรือ

รายเดือนซึ่งอาจเป็นการรายงานปากเปล่าหรือจัดทำรายงานเสนอเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

การปฎิบัติงานต่อไป

ผู้บริหารควรให้การนิเทศเพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินตนเองและทักษะในด้านต่างๆ

โดยผู้บริหารให้การนิเทศเองหรือเชิญวิทยากร เช่น ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้การนิเทศ

หรือส่งบุคคลไปฝึกอบรม เป็นต้น

3. การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C)

การประเมินผลเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ

ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด

ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง

ผู้บริหารและครูที่เข้าใจระบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เหมาะสมจะตระหนักถึง

ความสำคัญของการประเมินผลไม่กลัวการประเมินผลโดยเฉพาะการประเมินตนเอง

ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อพัฒนา ไม่ใช่การตัดสิน ถูก-ผิด

ไม่ใช่การประเมินเพื่อประเมินและไม่ใช่เรื่องที่ทำยาก ไม่ต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินมากมาย

แต่เป็นการประเมินในงานที่ทำอยู่เป็นประจำเครื่องมือที่ใช้อาจเป็นเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว

โดยไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่ เช่น สถิติที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของฝ่ายวิชาการ

ผลงานหรือการบ้านตลอดจนการทดสอบย่อยของผู้เรียนในชั้นเรียน

ซ้ำเป็นข้อมูลที่ครูมีอยู่แล้วเพียงจัดเก็บให้เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้น

ในระหว่างที่สถานศึกษาดำเนินการตามแผนปฏิบัติการควรมีการตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะๆ

เพื่อพิจารณาการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือมาตรฐาน

และตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการหรือไม่เพียงใด มีจุดอ่อน จุดแข็งประการใด

มีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดมากที่สุด

และเมื่อสิ้นภาคเรียนหรือสื้นปีการศึกษาก็จะต้องมีการประเมินสรุปความเพื่อนำผลมาพิจารณาแก้ไข

ปรับปรุง การดำเนินการในระยะต่อไป

4. การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข (Action - A)

เมื่อบุคลากรแต่ละคน / ฝ่าย มีการประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ส่งผลให้กับคณะกรรมการที่รับผิดชอบ

ซึ่งจะต้องรวบรวมผลการประเมินมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผลในภาพรวมทั้งหมด

แล้วนำเสนอผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา ครูประจำวิชา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนางานของตนเองต่อไป การเผยแพร่ผลการประเมิน

อาจใช้วิธีจัดประชุมครูภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สถานศึกษาจัดป้ายนิเทศ

หรือจัดทำรายงานผลการประเมินฉบับย่อแจกบุคลากร..

10 แนวคิดและทฤษฏีเพื่อการพัฒนา”ทรัพยากรมนุษย์”

1. HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสมารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)

2. ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นแนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 1 พิจารณา Context หรือ บริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน ภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ฯลฯ ภายใน ได้แก่ การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน หรือ Process วิธีการบริหารจัดการ ฯลฯ

วงกลมที่ 2 พิจารณา Skills และ Competencies เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 3 พิจารณา เรื่องการสร้างแรงจูงใจ (Motivation) นอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดี ประกอบกับการมีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่น้อยกว่า ก็คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ มีความพึงพอใจ มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการทำงาน ฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

3.ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้

• Human Capital ทุนมนุษย์

• Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

• Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

• Social Capital ทุนทางสังคม

• Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

• Digital Capital ทุนทาง IT

• Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

4.ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5 K’s new)ที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะต้องตระหนักถึงทุนที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีก 5 เรื่อง ประกอบด้วย

• Knowledge Capital ทุนทางความรู้

• Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

• Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

• Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

• Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

5. ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

• Learning Methodology วิธีการเรียนรู้

• Learning Environment บรรยากาศการเรียนรู้

• Learning Opportunities โอกาสการเรียนรู้

• Learning Communities ชุมชนแห่งการเรียนรู้

6.ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย

• Reality มองความจริง

• Relevance ตรงประเด็น

7.ทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

• Inspiration จุดประกาย

• Imagination สร้างจินตนาการ

8. ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย

• Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน

• Engaging การมีส่วนร่วม

9. ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

• Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

• Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

• Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

• Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

10.ทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

• Learning from pain

• Learning from experience

• Learning from listening

« Back

5.รูปแบบการพัฒนา

ความคาดหวังการพัฒนา คือ เป็นโรงเรียนดีประจำตำบล (1อำเภอ 1 ตำบล) หรือเป็นโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม โดยกำหนดคุณลักษณะหรือภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่ต้องการ คือ

*เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง มีความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นการทำโครงงาน

*เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทางด้านกายภาพที่มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย

*เป็น”โรงเรียนของชุมชน”ที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นและการบริการชุมชนอย่างมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

5.1ภาพความสำเร็จ (ตัวชี้วัดความสำเร็จ)

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูงไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 กลุ่มสาระหลัก

2. เป็นโรงเรียน 3 D (democracy/ decency/drugs Free) สร้างวัฒนธรรมและวิถีประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็งและไม่มีปัญหายาเสพติด

3. โรงเรียนมีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย ให้ความร่วมมือและบริการกับชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง

4. ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

5. นักเรียนมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ มีสำนักความเป็นไทยมีความรู้และทักษะพื้นฐาน มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ระดับสูง และมีสุขภาพพลานามัยดี

6. นักเรียนมีความรู้ และทักษะอย่างดีด้านภาษาที่สองอื่นๆ ตามความสนใจหรือความถนัด

7.ครูและผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

8.ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานตามโครงการและข้อค้นพบอย่างต่อเนื่อง (กับผู้ที่เกี่ยวข้อง)

9.สรุปและรายงานผลการดำเนินการต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

5.2กิจกรรมดำเนินการสำคัญ

5.2.1จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเข้มข้น โดยเน้น

1) ความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น เน้นทักษะพื้นฐานของนักเรียนทุกคน (โดยเน้นการทำโครงงานนักเรียนจะเป็นผู้เลือกตามความสนใจร่วมกันในการจัดการเรียนการสอน)

2.การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและเน้นการคิดวิเคราะห์ให้เกิดกับตัวผู้เรียนด้วยการเรียนแบบโครงงาน (project-based learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา (problem-based learning) โดยเฉพาะ5 สาระหลัก และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นต้น

3.ส่งเสริมให้นักเรียนมีการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์โดยเทคนิค วิธีการ ที่เป็นกระบานการหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เชื่อมโยงกับการบริการหรือพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างจิตสาธารณะ เป็นสมาชิกของชุมชนที่มีคุณภาพ นำไปสู่การรักและพัฒนาถิ่นฐานของตน

4.การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียน และบุคลากรทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

5.2.2 พัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่การพัฒนาจัดหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ

5.2.3บริหารการจัดการบุคลากรครู และผู้บริหารโรงเรียนอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย เช่น ควรมีครูที่จบเอกภาษาไทย คณิตศาสตร์หรือได้รับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพอย่างน้อย 5 กลุ่มสาระหลักและสามารถนำ (ICT) มาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2.4 เน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการทำบันทึก MOU กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการดูแลและส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายผู้ปกครองคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐ และเอกชนสถานประกอบการ เพื่อระดมสรรพกำลัง

5.2.5 ดำเนินการตามระบบประกับภายในอย่างเข้มแข็งเพื่อให้เห็นความก้าวหน้าสู่โรงเรียนคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

1.โรงเรียนประเมินตนเอง (เน้นความร่วมมือจากองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง)

2.โรงเรียนกำหนดแผนปฏิบัติการรายปี และแผนพัฒนาระยะ 4 ปี เพื่อพัฒนาตนเองให้บรรลุเป้าหมาย อย่างชัดเจน (เน้นความร่วมมือจากองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง)

3.โรงเรียนรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

หมายเหตุ ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

4.ได้มีการติดตาม ตรวจสอบ ระบบการประกันคุณภาพภายสถานศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

หมายเหตุ อย่างน้อย ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง

5.มีการประเมินผลความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระและทุกโครงงาน/โครงการของสถานศึกษารวมทั้งระบบการบริหารการศึกษาทั้งระบบ

หมายเหตุ เน้นความร่วมมือจากองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

6.ขั้นตอนการดำเนินการและปฏิทินการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

แผนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

ขั้นตอน

การดำเนินงาน เป้าหมาย วิธีการดำเนินการ/กิจกรรม ตัววัดความสำเร็จ/การประเมิน งบประมาณ วัน/เดือน/ปี

ข้อเสนอแนะ/การ

พัฒนาของโครงการระหว่างดำเนินการ

แจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

*บุคลากรในสถานศึกษาโรงเรียนในโครงการ

*จัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 1.ประชุมครูผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา

2.ให้สถานศึกษาประเมินตนเอง *บันทึกวาระการประชุม

*เครื่องมือประเมินตนเองด้านความพร้อมก่อนเข้าร่วมโครงการของสถานศึกษา

*ข้อสรุปแนวทางการพัฒนาของสถานศึกษา * โครงการติดตามนิเทศโรงเรียนดีประจำตำบล(สพฐ/เขตพื้นที่) 1-5 พ.ค. 2555

6-10 พ.ค. 2555

แจ้งวัตถุประสงค์การนิเทศ/เพื่อวางแผนพัฒนาร่วมกัน

ครูผู้บริหารและคณะกรรมการในองค์กรที่เกี่ยวข้อง

3.ประชุมครูผู้บริหารและคณะองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อ

ชี้แจงรายละเอียดของโครงการและวางแผนพัฒนาร่วมกัน

* บันทึกวาระการประชุม

* ข้อสรุปแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาของคณะกรรมการตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จของโครงการ

*เครื่องมือประเมินตนเองด้านความพร้อมก่อนเข้าร่วมโครงการของสถานศึกษา

*โครงการติดตามนิเทศโรงเรียนดีประจำตำบล(สพฐ./เขตพื้นที่)

20-30 พ.ค.ถึงมิ.ย.2555

การประเมินเพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องของสถานศึกษาตามตัวชี้วัดความสำเร็จ

สถานศึกษาที่อยู่ในโครงการพัฒนา

ครูผู้บริหาร

และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

4. คณะกรรมการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระหว่างการพัฒนาของสถานศึกษา/ระหว่างการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

5.ประชุมคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับหลังการประเมิน

*แบบสรุปและรายงานการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนาตามระยะเวลา

*แบบสรุปรายงานผลการประเมินเพื่อพัฒนาสถานศึกษาของคณะกรรมการ/ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ระยะที่1

ระยะที่2

ระยะที่3

ระยะที่4

ระยะที่5(ตามความเหมาะสมตลอดโครงการ)

* รายงานผลข้อมูลย้อนกลับ(ข้อมูลที่ได้จะช่วยในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องบนเส้นทางการก้าวสู่”โรงเรียนคุณภาพ”)

*โครงการติดตามนิเทศโรงเรียนดีประจำตำบล(สพฐ./เขตพื้นที่

1ก.ค ถึง30 ก.พ.2555

ปิดประกาศแจ้งผลการดำเนินงานตามโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้เสียกับสถานศึกษาทราบอย่างเป็นทา ครูผู้บริหารและคณะกรรมการผู้ที่เกี่ยวข้อง 6.จัดทำเอกสารสรุปผลรายงานของสถานศึกษา/และสรุปผลการรายงานการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษาของสถานศึกษาในโครงการ

*แบบรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษา/และของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามโครงการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาประจำปีการศึกษา *โครงการติดตาม นิเทศ โรงเรียนดีประจำตำบล (สพฐ./เขตพื้นที่) 1 มี.ค.ถึง30เม.ย.2555

*หมายเหตุ* ยังมีแผนการนิเทศย่อยแทรกเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการ

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ.........................

ว่าที่ร้อยตรีหญิง……………………………………….ผู้เสนอโครงการ

(อัชฌาวดี ตันเจริญ)

ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

............................................ผู้อนุมัติโครงการ

(...................................)

ชื่อ นายวรสัณห์ คชสาร นักศึกษา ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ศูนย์ให้การศึกษา จ.นครราชสีมา รหัสประจำตัว 53484940002 หลักสูตร ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขา นวัตกรรมจัดการศึกษา แขนงนวัตกรรมการบริหารจัดการนโยบายและยุทธศาสตร์

เรื่อง สรุปบทเรียน จากหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทที่ 10

กรณีศึกษาพารณ – จีระ...มุ่งมั่น....พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

บทความของนักคิดพัฒนาการศึกษาไทย 2 ท่าน คือ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา และ

รศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อการพัฒนาการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ ในการพัฒนาบุคลากรในระดับองค์กรเป็นหลักในแนวของการพัฒนาด้านแรงงานและทรัพยากรมนุษย์

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้แนวทางการคิดพัฒนาการศึกษาไทย ดังนี้ สร้างนวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา(Constructionism) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการที่ครูให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง เน้น “ สร้างองค์ความรู้ ” การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มและจากการลงมือปฏิบัติทำโครงงาน(Project based learning) ในรูปแบบของการบูรณาการหลากหลายองค์ความรู้ ให้เกิดในลักษณะผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ติดเป็นนิสัยไปตลอดชีวิต โดยมุ่งพัฒนาทั้ง 5 ด้านให้กับผู้เรียน ดังนี้ IQ ( intelligence Quotient ) EQ ( Emotional Quotient ) AQ ( Adversity Quotient ) TQ ( Technology Quotient ) และ MQ ( Morality Quotient )

ส่วนท่านรศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ได้กล่าวถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามทฤษฎีท่านรศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ 4L‘s , ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5K’s เพื่อการกระตุ้นให้ครูและผู้บริหารที่ใฝ่รู้ กระตือรือร้นหาความรู้ ให้มีความสนใจในรูปแบบ Eager to learn คือ ให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจ ให้นักเรียนสนใจรวม ทั้งกระบวนการคิดนอกกรอบ ซึ่งทำให้เกิดโครงการใหม่ ๆ และถือว่าเป็น “ นวัตกรรม ” ระดับโรงเรียน ประกอบด้วย ความคิดมาจากความคิดที่ใหม่ ๆ คิดเชิงสร้างสรรค์ การหาความรู้ตลอดเวลา และเมื่อมีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาผู้บริหารต้องผลักดันให้เกิดการลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมทำให้สำเร็จอย่างต่อเนื่อง และมีการวัดประเมินผลจากหลายฝ่าย ครูและผู้บริหารต้องใช้การบริหารงานแบบโครงการ ใช้วิธีคิดแบบสร้างสรรค์และให้เกิดการปฏิบัติจริง มองการศึกษาไทยในระดับโลกาภิวัตน์ เช่น มีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการหรือตอบสนองกับท้องถิ่น การสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมโดยการไปศึกษาดูงานที่ต่าง ๆ แสวงหาวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาช่วย ทำให้โรงเรียนที่ดำเนินการไปนั้นนักเรียนเรียนแบบมีเป้าหมาย มีการวางแผน มีการฝึกงาน ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง เกิดเป็นโรงเรียนมีคุณภาพ และสามารถขับเคลื่อนโรงเรียนไปสู่ความเป็นเลิศได้

...............................................................

7 กันยายน 2554

วิเคราะห์ กรณีศึกษา พารณ - จีระ มุ่งมั่น พัฒนาการศึกษาไทย เพื่อความเป็นเลิศ

จากเรื่องที่อ่าน พบว่าในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการทำงานต้องเริ่มที่การพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การการพัฒนาองค์กรของตน เหตุผลของการพัฒนางานได้สำเร็จเกิดจากแรงบันดาลใจแรงขับเคลื่อนของตัวตน บุคคลตัวอย่าง ครูปราถนาโดยศึกษาต่อเพื่อรับการพัฒนาศักยภาพและมุ่งที่จะพัฒนาให้องค์กรของตนเป็นองค์กรที่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน คงอยู่และคงทน และที่สำคัญเกิดจากที่ปรึกษาร่วมที่เห็นความสำคัญและมี vision กว้าง บวกกับประสบการณ์ที่ท่านให้คำปรึกษาและให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา เปิดรับการเรียนรู้สิ่งที่กำลังจะเกิด เตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงสร้างความพร้อมให้องค์กรและที่สำคัญข้อคิดที่ได้คือ รู้จริง เอาจริง กับการพัฒนาองค์กรอย่างแท้จริงของท่านอาจารย์จิระ จากที่อ่านหนังสือที่ท่านเขียนทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ต้องยอมรับว่าท่านคือ Idol ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบยั่งยืน และในการพัฒนาต้องทำอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน และดูตัวอย่างที่ดีเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สนองตอบต่อองค์กรการทำงานของตนอย่างแท้จริง ซึ่งในการขับเคลื่อนต้องใช้แรงขับเคลื่อนภายในอย่างแท้จริง ต้องมีความอดทนต่ออุปสรรคความกดดันรอบข้างเพื่อให้ได้มาซึ่งความยั่งยืน

ขอบพระคุณอาจารย์จิระที่ได้เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาปริญญาเอกที่ได้ให้เกียรติมาให้ความรู้ข้อคิดและกระตุ้นแนวคิดของผู้เรียนได้อย่างดีเยี่ยม ภาษาวัยรุ่นเรียกว่า ตัวพ่อแห่งวงการทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง เรียนท่านอาจารย์จิระที่เคารพ โรงเรียนของดิฉันก็เป็นโรงเรียนหนึ่งที่อยากขับเคลื่อนการบริหารการจัดการศึกษาให้เป็นระบบและมีความยั่งยืน อยากให้โรงเรียนเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียนได้อย่างมีคุณภาพอยากให้โรงเรียนมีความพร้อมในการเตรียมสถานศึกษาเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในปี 2558 ทั้งนี้ขอบพระคุณที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้มีโอกาสเชิญอาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยแรงขับเคลื่อนและมองการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ให้กับดิฉัน ดิฉันเป็นครูสายผู้สอน ในวิชาฟิสิกส์ และบริบทโรงเรียนของตนเอง เป็นโรงเรียนแรกที่มีการถ่ายโอนโรงเรียนเข้าสู่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ชื่อโรงเรียนบัวใหญ่ ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 58 โรงเรียน จากปัญหาการบริหารงานของโรงเรียน พบว่าต้องมีการทำความเข้าใจของคณะผู้บริหาร คณะครู ในการเดินหน้าการทำงานอย่างมั่นคงและยั่งยืน ปัญหาและสาเหตุหลักในการจัดการบริหารงานภายในโรงเรียน ปัญหาเกิดจากคนทุกคนมีศักยภาพในการทำงานแต่ต่างคนต่างทำ เข้าใจในการทำงานแบบรู้จริงมีน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดแข็งของโรงเรียนคือความเป็นกัลยาณมิตรภายในองค์กร ผู้น้อยให้เกียรติผู้ใหญ่ ปัญหาหลักของโรงเรียนคือการทำงานที่ขาดความชัดเจน รู้ไม่จริงในการทำงาน ความต้องการอยากให้โรงเรียนของตนเองเป็นโรงเรียนต้นแบบที่มีการถ่ายโอนเข้าท้องถิ่นแล้วประสบผลสำเร็จ อยากให้การบริหารงานของโรงเรียนออกมาเป็นรูปธรรมออกมาเป็นตัวเลข สถิติ ที่สามารถบอกความแน่นอนของสถานศึกษาได้จริง อยากให้นักเรียนที่จบออกไปมีศักยภาพ รู้ตัวตนของตนเองในการจบออกไป ผู้เรียนเกิดความรักองค์กรของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เรียนสถานศึกษาแห่งนี้ และที่สำคัญที่มีความต้องการไม่แตกต่างจากครูปราถนาคือต้องการให้อาจารย์จิระเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาของตนเอง เป็นผู้ชี้แนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการบริหารการเปลี่ยนแปลงการศึกษาสู่กลุ่มประเทศอาเซียนต่อไป

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิชา สัมมนาการจัดการทุนมนุษย์ระหว่างประเทศ

Seminar in International Human Capital Management

โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กันยายน 2554

ช่วงบ่าย

• ดร.จีระพูดถึงการได้ทฤษฎี 8K’s กับ 5K’s มาจากการเรียนเรื่องเศรษฐศาสตร์ ที่ให้ความสำคัญเรื่องทุน ... Adam Smith พูดว่า....มีกรณีที่ว่าคนสองคนเรียนเหมือนกันแต่รายได้ไม่เท่ากัน..เพราะอะไร ?

• แต่ก่อนคนมีความรู้มากกว่าแต่รายได้มากกว่า แต่ปัจจุบันเป็นแบบ Mass Customization ต้องใส่ Input ที่ไม่เฉพาะทุนมนุษย์แบบเดิมแต่ต้องอาศัยความหลากหลายของปัญญา ของ Wisdom

• Ph.D เรียนแล้วต้อง Manage ให้ได้ … ประมวลวิชาอยู่ที่ไหวพริบ หรือ Wisdom คิดให้ดี ความจริงแล้วก็คือต้องมีแรงบันดาลใจ

• ในชีวิตจริง ต้องรู้ ใฝ่รู้ แล้วเอาไปทำ

• สูตรสำเร็จเกี่ยวกับการดำรงชีวิต สิ่งที่ฝากไว้มี 4 ขั้นตอนคือ

- Where are we? สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ทั้งระดับ Macro และ Micro

- Where do we want to go? ต้องตอบโจทย์เป้าหมายให้ได้คือ Vision ,Mission ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือคนทำงานใน Field ทรัพยากรมนุษย์ไม่รู้เป้าหมายขององค์กร

เป้าหมายคือแก้ปัญหา แล้วไปสู่ Futuristic ทุนมนุษย์คือเครื่องมือที่พาไปสู่เป้าหมาย

เช่นส่งคนไปโลกพระจันทร์ต้องมีคนที่เก่งด้านทรัพยากรมนุษย์อยู่ด้วยในส่วนต่าง ๆ แล้วรวม ๆ จะเกิดแรงบันดาลใจ เกิด นีล อาร์มสตรองซึ่งเป็นคนเดินทางไปพระจันทร์คนแรก

ดูว่า Trend ของ เศรษฐกิจการเมืองไปทางไหน แล้วคนถึงต้องไปตอบสนองมัน แต่ปัญหาคือเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อน การจ้างงานจึงเน้นไปที่เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นการจ้างงานเขียว หรือเรียกว่า Green Economy เป็น Job ด้านพลังงานทดแทน ทำให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่รอบ ๆ ดีขึ้น

ในอนาคตข้างหน้าเด็กสนใจอะไร Generation ต่าง ๆ เป็นรุ่นสู่รุ่น แต่ที่น่ากลัวคือประเทศไทยไม่มีพรมแดนเรื่องการย้ายถิ่น การจ้างงานในอนาคต

มียุทธวิธี แต่ยุทธวิธีนี้ไม่เกี่ยวกับการทำให้สำเร็จ

- งานที่ยิ่งใหญ่ในห้องนี้คือ HR Execution คือ Get things done ไม่ How to เท่านั้น แต่จะ Execute นโยบายให้สูงสุด สิ่งที่อันตรายคือการฝังรากในความคิดของคนในสังคมไทยที่ไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง

……………………………………………………………………………….

• ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่านวัตกรรมคืออะไร แล้วเพื่อให้ Survive ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

• การทำ Public Seminar ต้องมี Impact กับคนฟัง

• กฎข้อสุดท้ายของ 7 Habits คือ ถ้าเรามีเลื่อยเราต้องลับเลื่อยให้คม หมายถึงเราต้องทันกับการเปลี่ยนแปลง ถ้า Rate of Change เปลี่ยน แต่คนอื่นเปลี่ยนมากกว่าเรา เราก็อยู่ไม่ได้ อยากให้การเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็น Learning Community

• คนสอน HR ในอนาคต ต้องรู้เป้าหมายองค์กร ต้องรู้ How to ต้องรู้ How to difficulty

• ในการทำอะไรก็แล้วแต่ปัจจัยเรื่องคนต้องอยู่ใน Equation ทุกอัน เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้

• วิชาที่ยากที่สุดคือ Idea ในการทำวิจัยจะมาจากไหน?เราควรมี Creativity ,ใฝ่รู้ ,Idea ข้ามศาสตร์ ,KM ไม่ใช่แค่ LO แล้ว LO จะเกิดขึ้นได้ต้องมี LC แล้ว LC จะเกิดขึ้นได้ต้องมี LN ตัวอย่าง กฟภ.ฝึกคนให้รู้ LO คือการมองอนาคตองค์กรให้ได้ ไม่ใช่มองอดีต เพราะโลกในอนาคตเปลี่ยน

• สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันคือเทคโนโลยีสารสนเทศไม่โกหก เพราะนี่คือยุคอินเตอร์เนต ในอดีตเรามีเทคโนโลยีหลายอย่าง แต่ไม่มีครั้งใดที่อิทธิพลสมัยใหม่ยุค IT กว้างขวางเท่าวันนี้

• อยากให้นวัตกรรมอันหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ Educational Innovation

• Social Capital – Networking

- มีเครือข่ายแบบกว้างหรือ แคบ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ Information คนสองคน Information ไม่เท่ากันก็ยุ่ง

- โอกาสที่ไป Network กับคนมีมาก แต่ Network ที่สำคัญที่สุดคือโลกทัศน์ของคน มนุษย์เราแคบ เราจะสละความแคบเป็นความกว้างจะทำอย่างไร? ต้องรู้จักคนมากขึ้น ไม่ต้องลงทุนเยอะ ต้นทุนในการทำ Networking ไม่สูง สำคัญที่สุดเมื่อรู้จักคนแล้ว คือการเดินไปอีก Step หนึ่ง สิ่งสำคัญคือต้องมีวิชาเจรจาต่อรอง แล้วต้องทำให้เป็นด้วย เป็นแนวร่วมซึ่งกันและกัน ทำให้เป็น Win-Win

- Never Eat Alone ให้สังเกตบุคคลที่ ออฟฟิตของคุณ ถ้าคนไหนกินข้าวคนเดียวไม่มีเพื่อน แล้วนอกองค์กรจะมีเพื่อนได้อย่างไร นี่คือจุดอ่อนของกระทรวงศึกษาธิการ คือรู้จักใครบ้าง แล้วเขามีเพื่อนเป็นใคร นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด

- ในอนาคตข้างหน้า Global Networking สำคัญที่สุด ต้องเป็นองค์กรที่รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราต้องรู้เขา รู้เรา ต้องมีมารยาทในการรู้จักคน เป็นวิชาที่ต้องข้ามศาสตร์ ที่อันตรายคือคนไทยในอาเซียนเสรี รู้จักประเทศอื่นน้อยมาก ความจริง อาเซียนเสรีคือการปรับทัศนคติว่าทุกประเทศเท่ากัน แต่สำหรับทัศนคติที่ว่าถ้าเป็นพรมแดนที่เป็นประเทศยากจนก็จะดูถูกเขาไปด้วยทัศนคติอย่างนี้ถือเป็นอันตรายมากสำหรับประเทศ

• 8K’s ข้อ 6 เรื่องความยั่งยืนได้แนวคิดมาจากรัชกาลที่ 9 คือ การคิดอย่างมีเหตุมีผล เดินสายกลาง แล้วมีภูมิคุ้มกัน และ 2ตัวที่สำคัญที่สุดคือ ความรู้ คู่คุณธรรม

- ตอนเศรษฐกิจดี เราก็ประหยัด พอเศรษฐกิจไม่ดีเราก็ปลดคนงานออก ไม่ว่าเราจะรวยจะจนเราต้องอยู่รอด เศรษฐกิจพอเพียงคือการอยู่รอดในระยะยาวของคนไทย

- คนไทยเป็นคนที่เวอร์ในการแสดงออกว่าร่ำรวย จริง ๆ แล้วความร่ำรวยอยู่ที่ Value ของเราเอง

- ตอน ฟองสบู่แตก ถ้าทุกคนโลภคิดว่าที่ดินขึ้นตลอดเวลาก็ไม่ยั่งยืน เราต้องบริหารความไม่แน่นอนให้ได้ ด้วยการรู้ว่าระยะสั้นต้องไม่ทำร้ายระยะยาว เช่น ถ้าเรียนแล้วต้องช่วย Thesis ได้ หมายถึงถ้าเราทำอะไรในวันนี้ต้องช่วยเราในวันหน้า แต่ถ้าเราทำอะไรในวันนี้ไปขัดแย้งในวันหน้าจะยุ่งมากเลย เราจำเป็นต้องแน่ใจว่าเราตัดสินใจวันนี้ช่วยให้อยู่รอดได้ในระยะยาว

- ห้ามทำตัวเป็นคนรู้เยอะ ต้องบอกว่าฉันยังรู้ไม่พอ เพราะความรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ความรู้เป็น Infinity ศาสตร์วันนี้คือ ศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์บวกกัน ศาสตร์และศิลป์ต้องไปด้วยกัน ถือเป็นจุดหนึ่งแห่งความยั่งยืน

• ข้อเสนอแนะ ในอาเซียนเสรี หรือ การ Deal กับ Globalization คน ๆ หนึ่งต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือ ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ

- ทักษะไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างเดียว ต้องรู้ว่าใครเป็น Advisor เรา

- ทัศนคติต้องเป็นทัศนคติที่ทำให้เราเข้มแข็งขึ้น

• คุณภาพของทุนมนุษย์ 80 % อยู่ข้างในเรา

5K’s

• เรายังเปลี่ยนคุณค่าทางวัฒนธรรมมาเพื่อสังคม และเศรษฐกิจยังไม่พอ

• ท้องถิ่นสนใจทุนทางวัฒนธรรมอย่างมหาศาล

• จุดอ่อนเรื่องวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ เราต้องปรับให้ได้

• ถ้าเขาจะบริโภคทุนทางวัฒนธรรม เรามีการบริหารจัดการให้สินค้าทางวัฒนธรรมมี Value หรือไม่

• การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องสำคัญ การ Deal กับวัฒนธรรมข้ามชาติจึงครควบคุมอารมณ์ให้ดี

ให้ร่วมแสดงความเห็น

หลังจากฟังประเด็น 8K’s 5K’s แล้วให้โคราช ภูเก็ต เลย แสดงความคิดว่ามาได้มาอย่างไร?

โคราช

• ตรงที่อาจารย์พูดเรื่อง 8K’s ช่วงแรก เห็นด้วยตรงที่ทุนมนุษย์นั้นคือทุนพื้นฐานครอบครัว เรียนเหมือนกันแต่สามารถมีรายได้ไม่เท่ากัน อาจเกี่ยวข้องกับโอกาสและปัจจัยอื่น ๆ ด้วย

• ดร.จีระ บอกว่าในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เป็นการวัดจากคนที่เรียนมากได้เงินมากในลักษณะ Gary Becker สำหรับส่วนที่นักศึกษาพูดมานั้นถือวส่าพูดถูกคือต้องเอาปัจจัยอื่นมาด้วย เอาตัวแปรที่วัดได้แต่เป็นตัวแปรทางด้าน Quality ใส่เข้าไปด้วยก็ได้เช่น บางคนมาจากครอบครัวดี รายได้อาจสูงกว่าแม้เรียนหนังสือเท่ากัน หรือเรื่องเพศก็สำคัญเช่นผู้หญิงถูกเปรียบเทียบกับผู้ชายในการทำงานเป็นต้น

ภูเก็ต

• เมื่อเช้าอาจารย์พูดถึงเรื่อง HRDS น่าจะเพิ่มเรื่อง Trustworthy และเรื่องConfidence คือความมั่นใจในความถูกต้อง

• ดร.จีระ เห็นด้วย แล้วเสริมว่ามนุษย์เราอยู่ที่พันธุ์ คือ พูดแล้วจะเก็บเกี่ยวได้หรือเปล่า ปลูกข้าวต้องเก็บเกี่ยวด้วย มี Case study

เลย

• สรุปทวนการบ้านของที่เรียนมามี 2 ชิ้นคือ

1.8K’s 5K’s จับคู่ 2 คนทำเป็น Paper ส่งตอน Final แล้วปรึกษากัน

2. อ่านบทความในสิ่งที่ดร.จีระไม่เคยเห็นแล้วมาวิเคราะห์ว่าเกี่ยวกับที่เรียนใน 2 สัปดาห์อย่างไรบ้าง แล้วมาวิเคราะห์ ส่งทาง Blog ศุกร์หน้าเป็น Case

ดร.จีระ เสนอตัวอย่างที่ ในการทำเรื่องทุนความสุข..

เช่นการวัดความสุขในองค์กรมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนก็ Ranking อันดับออกมา แล้วแต่ Statistics ค่าเฉลี่ยของความสุขจะกลายเป็นวิทยานิพนธ์ได้ ทำให้ผลประกอบการดีขึ้น เป็น Independent Variable แต่ความสุขสามารถเป็น Dependent Variable ด้วยเช่นกัน คนมี Purpose จะอธิบายอย่างไรให้คนรู้ว่ามีความสุขในการทำงาน อย่างเจ้านายใน กทม. อยากรู้ว่าผู้นำมีความสำคัญหรือเปล่าใช้การ Run Equation

ข้อเสนอแนะ จากศิษย์เก่า

• อยากให้ทุกท่านที่เรียนคอยตามไปเรื่อย ๆ

• อยากแนะนำว่าเรียนกับดร.จีระ พยายามนึกถึงสิ่งเป็นจริงของชีวิตในการทำงาน ในเรื่องอนาคตที่ต้องเปลี่ยน เพราะมีสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องเอาความคิดของคนอื่นมาใช้ แต่ให้ประมวลโดยใส่มุมมองของเราเข้าไป

• สิ่งที่สอนช่วยในเรื่องการพัฒนาตัวเอง อย่างเรื่องทุนในด้านต่าง ๆ ให้วิเคราะห์ให้ดีเพราะมีประโยชน์มาก

ดร.จีระ ต่อ

• แต่ละคนมี Value Added, Value Creation, Value Diversity ได้อย่างไร

• ตัวอย่างบทความภาษาอังกฤษที่ให้ไป เราทำอย่างไรถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นการสร้าง Relationship ที่ดี เกิดความเป็นเจ้าของ

• หลักการที่อยากฝากไว้ตอนบ่ายวันอาทิตย์คืออยากให้มุ่งมั่นว่าแต่ละวันที่ไม่ได้เจออาจารย์จีระ ใช้เวลาช่วงไหนที่จะมุ่งมั่น Concentrate แล้วมีสมาธิ

• ต้องศึกษาว่าอาจารย์จีระ ทำอะไรบ้าง ให้แต่ละคนมองอะไรให้กว้างแล้วลงลึกทีหลัง อย่าลงลึกก่อนแล้วไปกว้าง ถ้ามุ่งมั่นในห้องเรียนแล้วองค์กรก็จะประสบความสำเร็จ กระตุ้นให้เกิดการจุดประกาย

• หันดูตัวเราเองว่าช่องว่างอยู่ที่ไหน 8K’s 5K’s อ่อนอะไรก็เติมตรงนั้น แล้วอ่านทฤษฎีทุนมนุษย์คนอื่นด้วย

• ต้องมี Global Perspective อย่างตัวอย่าง Situation Leadership

• หลังจากเรียนจบแล้วต้องมีเครื่องมือช่วยให้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

• Progress of Science ทฤษฎีเมืองนอกมีแต่สะสมเพิ่มเติม

• Ph.D คือมุมมองที่ต้องใช้เรื่องความรู้ ความสามารถ ถ้าชินกับแนวคิดที่ดี ๆ ก็เก็บไว้ อย่าทำตัวแบบเขียนไว้ ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับวัฒนธรรมองค์กร ดูแลแบบ Accommodate

หลังจากฟังเทป Robert Trucker

ถาม...ถ้าเราจะทำวิทยานิพนธ์ที่คุณ Robert Trucker เขียนหนังสือเล่มนี้ เขาใช้ Methodology อย่างไร

ตอบ...

• เริ่มจากวิเคราะห์องค์กรของเราเป็นอย่างไร หารูปแบบ แล้วนำรูปแบบมาใช้

เน้นการทำ Expert Opinion Survey เนื่องจากจะช่วยให้เขียนได้เชิงลึกมากกว่า

• สิ่งที่ Robert Trucker คิดนั้นมีทุนทางจริยธรรมด้วยคือสินค้าที่ผลิตต้องตรงกับความต้องการของผู้บริโภคด้วย คือ จริยธรรม สังคม มีส่วนตรงกับในทฤษฎี 8K’s อาจารย์จีระ

ดร.จีระเสริมว่า…

• การทำวิจัยต้องมุ่งมั่น ทำงานเป็นทีม มีอารมณ์ในการเขียน ถ้าบริหารวิจัย ต้องบริหารทีมเวอร์กให้ดี

• ใช้ลักษณะการค้นหาความจริง มีความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ ความคิดใหม่ ๆ สิ่งที่ CEO ต้องมีคือมีความคิดไม่เหมือนคนอื่น แต่ละคนพยายามทำนู้น ทำนี่ ถ้าเป็นราชการทำซื่อบื้อเพราะอาจไม่ได้ผลประโยชน์ ดังนั้นถ้าจะทำวิจัยต้องทำให้ลึกซึ้ง

• หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเน้นนวัตกรรมแล้วเอาทุนมนุษย์ไปจับ แล้ว Creativity จะเกิดได้อย่างไร ? ถ้าระบบการศึกษายังเป็นแบบนี้อยู่ ต้องคิดนอกกรอบ และศึกษาให้เรียบร้อย

• สิ่งที่จะให้เรียนมากขึ้นคือเรื่องภาวะผู้นำ ในทรัพยากรมนุษย์ไม่ต้องมีทรัพยากรเฉย ๆ หลายคนต้องมีบทบาทผู้นำด้วย ต้องสร้างแรงบันดาลใจ

สิ่งที่ฝากไว้....

1. การบ้านส่ง Blogวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554

1. ให้ทุกคนอ่านบทความมา 1 เรื่อง (เรื่องใดก็ได้ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์แล้ว ดร.จีระไม่เคยเห็น)ลองสรุปสิ่งที่อ่าน แล้ววิเคราะห์ให้เกี่ยวข้องกับการเรียน 2 อาทิตย์ที่สอนไป

2. สรุปบทความ How to Cultivate Engaged Employees ที่ให้ไปส่งทาง Blog

2. ทำรายงาน เป็น Case Study ส่งก่อน Final

ให้จับคู่ 2 คนในห้อง คัดเลือกทุนที่อยู่ในทฤษฎี 8K’s มา 2 ทุน วิเคราะห์ พร้อมยกตัวอย่าง Case Study ที่แสดงถึงทุนทั้ง 2 ทุนนั้นประกอบ

3. อ่านบทความ สภาพัฒน์ฯ กับแผนพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการศึกษาแห่งชาติเพื่อผู้นำท้องถิ่น อยู่ใน Blog : chiraacademy หัวข้อ สัมมนาวิชาการเรื่อง “ทุนมนุษย์กับความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก” ม.นเรศวร

ตาม link นี้...http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/443052

นางจงดี พฤกษารักษ์

เรียน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ดิฉัน นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัส 53484931011 นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต ดิฉันได้รับการสอนของท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 จำนวน 6 ชั่วโมง ดิฉันได้ข้อคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์ (Human Capital) ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั้นดิฉันคิดว่า การดำเนินเกี่ยวกับองค์กรในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตที่ดิฉันทำงานอยู่นั้นโดยใช้ทฤษฎี 2 R’s ได้แก่ R ที่ 1 คือ Reality ความรู้จากความจริงโดยการศึกษาดูงานใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อทิเช่น คุณครูสอนเรื่องหุ้น คุณครูก็นำนักศึกษาทัศนะศึกษาดูงานตลาดหลักทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต โดยให้ผู้เชียวชาญในตลาดหลักทรัพย์บรรยาย ซักถาม ส่วนที่ R ที่ 2 คือ Relvance โดยตรงความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการทราบเกี่ยวกับ การซื้อขายหุ้นและทิศทางของหุ้น ซึ่งดิฉันได้นำมาใช้กับนักศึกษาของดิฉันระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) สายพาณิชยกรรม พร้อมทั้งให้นักศึกษาได้รับ Value ทุนแห่งความยั่งยืนเกี่ยวกับวัฒนธรรมของภูเก็ตจากประสบการณ์ตรงในตลาดหลักทรัพย์ KT

ของภูเก็ต

ท้ายสุดนี้ดิฉันได้รับทุนแห่งความสุข (Happincss Capital) จากท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประเด็นเกี่ยวกับ

เรียนรู้จากงานและคุณค่าตลอดเวลา (Learning)

ดิฉันได้ข้อคิด "คนสำเร็จมองปัญญาเป็นโอกาส คนล้มเหลวมองโอกาส เป็นปัญหา"

ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆ

ด้วยความเคารพ

นางจงดี พฤกษารักษ์

นักศึกษาปริญญาเอก (ศูนย์ภูเก็ต)

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

คำว่า วัด ในศาสนาพุทธของไทยเรา นับเป็นสถานที่สำคัญอย่างยิ่งที่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน นั่นก็คือการทำบุญ ซึ้งในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจและกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงคนในยุคปัจจุบันมักจะห่างเหินจากวัด ทั้งที่ในวัดยังมีต้นทุนทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่า คือ ,มีอริยะสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมทั้งมีหลักคำสั่งสอนเผยแพร่สู่บุคคลภายนอกวัด ที่เป็นผลที่เกิดมาจากภายในวัด รวมทั้งเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากคนที่มีวัยที่แตกต่างกัน แม้ว่าอริยะสงฆ์ทิ่อยู่ในวัด ท่านได้ละสังขารไปนานแล้วก็ตาม แต่ขุมทรัพย์ของทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวก็ยังคงอยู่ตลอดไป อาทิเช่น อริยะสงฆ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ตรงกับวันพุธขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย นับว่าเป็นอริยะสงฆ์ ที่ทรงคุณค่า โดยเฉพาะมีหลักคำสอนที่สามารถเชื่อมโยงและเป็นเครือข่ายที่ให้ศิษยานุศิษย์ได้ถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาตาม ทฤษฎี 8k’s , 5k’s , 4l’s ดังต่อไปนี้ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เล่าเอาไว้ว่าในการปฏิบัติธรรมของท่าน ท่านได้วางตัวเป็นปกติโดยปราศจากความเห่อเหิมแต่ประการใด แต่จะพยายามคิดและพิจารณาไตร่ตรองเทียบเคียงข้อวัตรในการปฏิบัติของท่าน กับคำสั่งสอนจากครูอาจารย์ที่ได้รับมา โดยมีความระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดถ้ามีก็ต้องน้อยที่สุด หากมีความเสื่อมถอยลงก็ต้องใช้ความเพียรพยายามให้มีมากขึ้นมากกว่าเดิม พร้อมทั้งจะต้องมีสติ รักษาจิตไม่ให้พลั้งเผลอไปกับสิ่งที่พบเห็น อีกทั้งเมื่อครั้งหลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ขาว และพระอาจารย์มั่น ได้มีการสนทนาธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดความรื่นรมในธรรมร่วมกัน โดยการสนทนาธรรมกัณฑ์ใหญ่ก่อน ที่พระอาจารย์มั่น ได้ปะทะกับศิษย์เอกทั้งคู่นั่นหมายถึง หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และหลวงปู่ขาว ด้วยเทศนากัณฑ์ใหญ่ โดยเริ่มว่า กลัวแต่คนอื่นจะเห็นตับไตไส้พุงและจิตใจของตัวเอง ว่ามันมีอะไรอยู่ภายในนั้น มัวเพลินดู เพลินฝัน เพลินคิด แต่เรื่องคนอื่น กลัวเขาจะมาเห็นตับไตไส้พุงของเรา คิดส่งออกไปภายนอกไม่สนใจคิดเข้ามาภายใน นักปฏิบัติเรา ไม่สนใจดูกาย ดูใจของตัวเราเอง จะหาความฉลาดรอบรู้มาจากไหน หลวงปู่ชอบ ฐานสโม สบตาหลวงปู่ขาว แล้วนิ่งอยู่ด้วยความสำรวม

ส่วนในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างประโยชน์สุขให้กับสังคม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม บางครั้งท่านได้เดินทางออกไปจากสภาพที่เป็นเมืองเพื่อออกมาให้ชาวบ้านได้มีโอกาสทำบุญ และท่านก็ได้ทำประโยชน์แก่หมู่พวกพระกรรมฐานรุ่นต่อๆ ไป ด้วยการหาที่สงัดวิเวกสำหรับพักภาวนา ในทีที่มีความเจริญได้มายืนและในส่วนที่ถูกรุกไล่ป่าให้กลายเป็นเมืองมากยิ่งขึ้น ต้นไม้ที่ให้ร่มเงาความร่มเย็นก็ถูกมนุษย์ทำลาย ภูเขาก็ถูกทำลายจนกลายเป็นทุ่งหญ้า ดังนั้นท่านจึงได้สร้างบริเวณดังกล่าวให้เป็นวัดป่า จนสามารถที่จะคงสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์เอาไว้ได้ สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ก็ได้มาอาศัยในป่าแห่งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับบ้านเมืองและประเทศชาติของเรา ส่วนในเรื่องการดำรงชีวิตของท่าน มีวิธีการเรียนรู้และการสร้างบรรยากาศที่เรียบง่าย มาง่าย ไปง่าย รวมทั้งการเลือกคบเพื่อนที่มีนิสัยที่มีใจเด็ดเดี่ยว อดทนต่อความยากลำบาก ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น อุปนิสัยดังกล่าวนี้จะเหมือนท่านทุกประการ นอกจากนี้ท่านยังปฏิบัติตามคำสั่งสอนที่ครูอาจารย์ให้ความรู้ หลังจากนั้นก็นำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ของท่านอีกทอดหนึ่งในความที่ว่า การทำจริง ย่อมได้รับผลจริงอย่างไม่ต้องสงสัย สำคัญแต่ว่าทุกคนจะยอม ทำจริง หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าสลบไปกี่ครั้ง? ท่านพระอาจารย์มั่นสลบไปกี่ครั้ง? ประวัติครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ที่ภาวนาสละความตาย ซวนซบสลบไปแต่ละองค์ องค์ละกี่ครั้ง? ผู้ที่มารู้จัก มากราบไหว้ในภายหลังก็เห็นแต่ตอนที่ท่าน ผ่าน แดนตายมาแล้วเท่านั้น

สรุปได้ว่าการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรวมทั้งคำสั่งสอนของท่านหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่เป็นอริยะสงฆ์ของชาวจังหวัดเลยมีความสอดคล้องกับทฤษฎี 8k’s , 5k’s ,4l’s ของท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จนสามารถทำให้เกิดการเชื่อมโยงขึ้นได้อย่างลงตัว แม้จะเป็นทางโลกและทางธรรมซึ่งนับว่าไม่มีพรมแดนที่ขวางกั้นได้ สิ่งที่ท่านเคยปฏิบัติมาในอดีตหรือที่เป็นคำสั่งสอน ยังเป็นเรื่องที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ในโลกยุคปัจจุบัน โดยทำให้เกิดมุมมองอย่างสร้างสรรค์ มองให้ไกล และก็ต้องไปให้ถึง มองภาพใหญ่ไปหาภาพเล็ก พร้อมทั้งมีการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากที่จะเกิดความยั่งยืนในเรื่องดังกล่าวนี้

เอกสารอ้างอิง

สุรีพันธ์ มณีวัต . ชีวประวัติพระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม. ( ฉบับปรับปรุง 2535 ) . หน้า 84 - 129 . คณะศิษยานุศิษย์ จัดพิมพ์ถวายเป็นมหาเถรบูชาพระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม สำหรับแจกเป็นธรรมวิทยาทานแก่สานุศิษย์และผู้ศรัทธา.

เข้าถึงได้จาก : http:// www.go toknow.org/blogl chaiadd/416471 ( วันที่ค้นข้อมูล : 11 กันยายน 2554 )

เสนอ ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จัดทำโดย นางกรนิภา ไตรฟื้น วิชาการจัดการทุนมนุษย์ ( PHD 8202) นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์จังหวัดเลย

บทความภาษาอังกฤษเพื่อทำการบ้าน

 

พิมพ์บุญ พันสวัสดิวง

นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง นักศึกษา ปริญญาเอก มหาวิทยาราชภัฎสวนสุนันทา รุ่นที่ 5

สาขานวัติกรรมการบริหารภาครัฐและท้องถิ่น ศูนย์ จังหวัดเลย

บทความ

เรื่อง ประเพณีแห่ผีตาโขนกับความสัมพันธ์ ทุนมนุษย์ (Human Capital)

งานประเพณีแห่ผีตาโขน นั้นเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า “งานบุญหลวง” หรือ “บุญผะเหวด” ซึ่งตรงกับเดือน 7 จัดขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งชาวบ้านจะจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุเจดีย์ศรีสองรัก ปูชนียสถาน สำคัญของชาวอำเภอด่านซ้าย

ประเพณีแห่ผีตาโขน

ต้นกำเนิดผีตาโขน

การละเล่นประเพณีผีตาโขนนั้นมีที่มาไม่ชัดเจนเท่าใดนัก กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของ อาณาจักรล้านช้าง หลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

ชนิดของผีตาโขน

ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิด คือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก

ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี

ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน

การแต่งกายผีตาโขน

ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกายของผีตาโขน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วย

ส่วนหัวหรือที่เรียกว่าหน้ากากนั้น ทำด้วย "หวด" หรือภาชนะที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว ซึ่งเป็นส่วนด้านบนดูคล้ายหมวก ส่วนหน้านั้นทำจากโคนก้านมะพร้าว นำมาตัดปาดให้เป็นรูปหน้ากากและเจาะช่องตา จมูกนั้นทำจากไม้เนื้ออ่อน แกะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โดยทำเป็นลักษณะยาวแหลมคล้ายงวงช้าง ส่วนเขานั้นทำจากปลีมะพร้าวแห้ง โดยนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาเย็บติดเข้าไว้ด้วยกัน และทาสีสันวาดลวดลายไปบนด้านหน้าของหน้ากากนั้น ๆ หลังจากนั้นจะเย็บเศษผ้าติดไว้บริเวณด้านบน(หลัง) เพื่อให้คลุมส่วนคอของผู้ใส่ไปจนถึงไหล่

ด้านเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย นั้น เป็นชุดที่ทำจากเศษผ้านำมาเย็บติดกัน และมี "หมากกะแหล่ง" หรือกระดิ่ง (คล้ายกับที่แขวนคอโค, กระบือ) แขวนผูกไว้บริเวณเอว เพื่อให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะเวลาเดิน และส่ายสะโพก

ส่วนประกอบสุดท้าย คือ ดาบหรือง้าว ที่จะทำจากไม้เนื้ออ่อน ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน

การละเล่นผีตาโขน

เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวม ๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งถือว่าเป็นทุนมนุษย์ที่สอดสอดคล้องกับ ทฤษฎี 4L's , 8K's, 5k's ของอาจารย์จีระ หงส์ระดารมย์ เพราะประเพณีผีตาโขนถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นเชื่อมโยงความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านชุมชน สร้างความไว้เนื้อใจกันของคนในชุมชน และในปัจจุบันสามารถนำประเพณีผีตาโขนมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นทุนทางเศรษฐกิจส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดเลย สามารถสร้างกระแสวัฒนาธรรมให้เกิดขึ้นในจังหวัดเลย และใช้ทุนทาง เทคโนโลยีในการประชาสัมพันธ์ให้ประเพณีผีตาโขนดังไปทั่วโลก จนสร้างป็นกระแสวัฒนธรรมของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และยังเชื่อมโยงกับ ทฤษฎีของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสร้างความยั่งยืนในชุมชน เกิดความสามัคคีในชุมชน ทำงานเป็นทีม (Teem work) เพราะการละเล่นในแต่ละปีชาวอำเภอด่านซ้ายจะรวมตัวกันทุกครอบครัวมาร่วมการละเล่น และการทำหัวผีตาโขนจะต้องเป็นคนที่มีความรู้( knowledge ) และมี ทักษะ (Skill ) สามารถนำของเหลือใช้มาใช้เป็นหัวผีตาโขน และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนที่จะถ่ายความรู้นี้ให้แก่คนรุ่นต่อไปซึ่งถือเป็นทุนทางวัฒนธรรม (Culture Capital) และเมื่อใกล้ถึงฤดูกาลประชาชนในชุมชนก็จะเฝ้ารอและเตรียมตัวที่จะเข้าร่วมประเพณีแสดงถึงทุนทางความสุข (Happyness Capital) ที่มีอยู่ในตัวตนของชาวบ้าน ในสังคมไทยไม่ว่าภูมิภาคไหนมีทุนตาม ทฤษฎี 8K , 5K , 4L เศรษฐกิจพอเพียง

ทุกอยู่ในสังคมไทย ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องช่วยกันทำให้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่แสดงศักยภาพของตัวตนออกมาอย่างเต็มที่ เต็มศักยภาพ และเต็มกำลัง จึงทำให้ประเทศชาติของเราก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์

________________________________________

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

เอกสาร “งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน” โดยศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดเลย, เอกสาร "บทสรุป ผีตาขน" โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย

หนังสือ "พระธาตุศรีสองรัก" โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย, พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย จ.เลย อ้างใน

ประเภทของหน้า: วัฒนธรรม และประเพณีไทย

นางจงดี พฤกษารักษ์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์

ดิฉัน นางจงดี พฤกษารักษ์ เลขรหัส (53484931011)

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) หลักสูตร ปริญญานวัตกรรม

เรื่อง การอ่านบทความ "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) คืออะไร" คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากคำว่า CAI (Computer Assisted Instruction) หมายถึงวิถีทางของการสอนรายบคคลโดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่แตกต่างกันด้วย บทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นเครื่องมือช่วยส่วนอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนจะตอบคำถาม ทางแป้นพิมพ์แสดงออกมาทางจอภาพ มีทั้งรูปภาพและตัวหนังสือหรือบางทีอาจใช้ร่วมกันกับ อุปกรณ์อย่างอื่นด้วยเช่น สไลด์ เทปวีดีทัศน์ เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นตอน ดังนี้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน จะเริ่มตั้งแต่การทักทายผู้เรียน บอกวิธีการเรียน และบอกจุดประสงค์ของการเรียน

เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้ทราบว่า เมื่อจบบทเรียนนี้แล้วเขาจะสามารถทำอะไรได้บาง คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถเสนอวิธีการในแบบที่น่าสนใจได้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหว เสียงหรือผสมผสานหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน ให้มุ่งความสนใจเข้าสู่บทเรียนบางโปรแกรมอาจจะมีแบบทดสอบวัดความพร้อมของผู้เรียนก่อน หรือมีรายการ เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจ และผู้เรียนสามารถจัดลำดับรายการเรียนก่อนหลังได้ด้วยตนเอง

ขั้นการเสนอเนื้อหา เมื่อผู้เรียนเลือกเรียนในเรื่องใดแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเสนอเนื้อหาออกมาเป็นกรอบๆ ในรูปแบบที่เป็น ตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพกราฟิก และภาพเคลื่อนไหว เพื่อเร้าความสนใจในการเรียน และสร้างความสนใจในความคิดรวบยอดต่างๆ แต่ละกรอบ หรือเสนอเนื้อหาเรียงลำดับไปทีละอย่างทีละประเด็น โดยเริ่มจากง่ายไปหายาก ผู้เรียนจะควบคุมความเร็วในการเรียนด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้ได้เรียนรู้มากที่สุด ตามความสามารถ แลมีการชี้แนะหรือการจัดเนื้อหาสำหรับการช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

ขั้นคำถามและคำตอบ หลังจากเสนอเนื้อหาของบทเรียนไปแล้ว เพื่อที่จะวัดผู้เรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาแล้วเพียงใดก็จะมีการทบทวนโดยการให้ทำแบบฝึกหัด และช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ เช่น ให้ทำแบบฝึกหัดชนิดคำถาม แบบเลือกตอบ แบบถูกผิด แบบจับคู่ และแบบเติมคำ เป็นต้น

นวัตกรรมและเทคโนโลยีรสนเทศทางการศึกษา - นวัตกรรมการศึกษาล่าสุด

คอมผิวเตอร์ช่วยสอนสามารถสอนแบบฝึกหัดแก่ผู้เรียนได้น่าสนใจมากกว่าแบบทดสอบธรรมดา และผู้เรียนตอบคำถามผ่านทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถจับเวลาในการตอบคำถามของผู้เรียนได้ด้วย ถ้าผู้เรียนไม่สามารถตอบคำถามได้ในเวลาที่กำหนดไว้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเสนอความช่วยเหลือให้

ขั้นการตอบคำถาม เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับคำตอบจากผู้เรียนแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะตรวจคำตอบและแจ้งผลให้ผู้เรียนได้ทราบ การแจ้งอาจแจ้งเป็นแบบข้อความ กราฟิกหรือเสีนง ถ้าผู้เรียนตอบถูกก็จะได้รับการเสริมแรง (Reinforcement) เช่น การให้คำชมเชย เสียงเพลง หรือให้ภาพกราฟิกสวยๆและถ้าผู้เรียนตอบผิด คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะบอกใบ้ให้หรือให้การซ่อมเสริมเนื้อหาแล้วให้คำถาม

นั้นใหม่เมื่อตอบได้ถูกต้องจึงก้าวไปสู่หัวเรื่องใหม่ต่อไป ซึ่งจะหมุนเวียนเป็นวงจรอยู่จนกว่าจะหมดบทเรียนในหน่วยนั้น ๆ

ขั้นของการปิดบทเรียน เมื่อผู้เรียนเรียนจบเรียนแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะทำการประเมินผลของผู้เรียนโดยการทำแบบทดสอบ ซึ่งจุดเด่นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ สามารถสุ่มข้อสอบออกมาจากคลังข้อสอบที่ได้สร้างเก็บไว้และเสนอให้ผู้เรียนแต่ละคนโดยที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถจดจำคำตอบจากการทำในครั้งแรกๆ นั้นได้หรือแบบไปรู้คำตอบนั้นมาก่อนเอามาใช้ประโยชน์ เมื่อทำแบบทดสอบนั้นเสร็จแล้ว ผู้เรียนจะได้รับทราบคะแนนการทำแบบทดสอบของตนเองว่าผ่านตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่แรกและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะบอกเวลาที่ใช้ในการเรียนในหน่วยนั้นๆ ได้ด้วยเป็นต้น

จากบทความ: ชื่อ ส่งผลให้การเรียนการศึกษาของเด็กไทยนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ของคุณสุนิสา พิมพานัส

เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) ได้อ่านบทความของ

คุณสุนิสา พิมพานัส เรื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) คืออะไร ดิฉันในฐานะเป็นครูผู้สอนในวิทยาลัยภูเก็ตเทคโนโลยี ดิฉันคิดว่าการใช้ CAI พบผลลัพธ์ต้องการและไม่ต้องการ ในประเด็นต้องการนักศึกษาไม่เสียเวลาในการจดบันทึก ไม่ต้องการ นักศึกษาขาดทักษะในการเขียนบทความและประเด็นต่างๆ ดิฉันคิดว่าการนำ CAI เข้ามาในการสอนของครูอาจารย์ทำให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง ( organizational Change & Innovation ) ดังคำพูดของคอลัมนิสต์ Carol Hymowitz กล่าวว่า "การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงจะต้องทำด้วยความใสใจจริงๆ" หรือ Mc Guinn กล่าวว่า ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำด้วยความพยายามแล้ว แต่กลับมีบางสิ่งทำไม่ได้ ก็ต้องยอมรับโดยมองหาโอกาสใหม่ที่แตกต่างจากประเพณีดั่งเดิม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 8 K ' S ได้แก่ Human Capital และ Digital Capital รวมทั้ง Intellectual Capital ประเด่นที่ค้นพบในบทความ CAI นวัตกรรมที่หามานั้นสามารถใช้ได้ ในระบบการศึกษาของไทย เนื่องจากการเรียนการสอนแบบ CAI นั้นมีลักษณะ ได้แก่

การจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพราะการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง คนที่เรียนอ่อนก็ศึกษาเนื้อหาไปแบบช้าๆ แต่ถ้านักเรียนที่มีความสามารถก็สามารถเรียนโดยใช้ระยะเวลาเพียงน้อยนิด และถ้าผู้เรียนคนใดต้องการศึกษาเนื้อหาตามที่ตัวเองสนใจก็สานมาถเลือกเรียนได้ โดยไม่ต้องพึ่งครูผู้สอนหรือเพื่อน ต้องการเรียนเนื้อหาใด เมื่อใดก็สามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจ (Anywhere Anytime Learning)

ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต โดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้เข้ามาช่วยในส่วนของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องมีความหลากหลาย ครอบคลุมช่องทางรับรู้ของลุคคล เพราะสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมา มักจะเป็นสื่อมัลติมีเดีย ที่มีทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว แล้วแต่ลัษณะการออกแบบ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนและการเรียนรู้นั้นก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพ

ซึ่งส่งผลให้การเรียนการศึกษาของเด็กไทยนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดิฉันคิดว่า การใช้ CAI นั้น

สอดคล้องกับทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ทางด้านตัวครูผู้สอนเรื่องเวลา ได้แก่ เวลาที่ครูต้องมานั่งเขียนหรือยืนเขียนหน้ากระดาน ได้ใช้เวลาในด้านศักยภาพของครูผู้สอนเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ ซึ่งมีประเด็นให้คิดว่าการเปลี่ยนแปลง (Innovation) สอดคล้องกับ Peter Drurckcr นักทฤษฎีการจัดการกล่าวว่าการเลี่ยนแปลงมี 2 ประเด็นให้เกิดในด้าน

1.) การเปลี่ยนแปลงทันที (Reactive Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงก่อนที่เกิดความเสียหายที่สอดคล้องปัญหาที่เกิดขึ้นคือการ

สอบแบบจดหน้ากระดาษ เปลี่ยนแปลงเป็นการสอน CAI ดีกว่าเนื่องจากเพิ่มสีสันบรรยากาศในการสอน ซึ่งตรงกันข้ามแบบเก่าคือบรรยากาศในการสอนขาดสีสัน ส่วนประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงโดยการวางแผนล่วงหน้า (Proactive Change) เป็นการเปลี่ยแปลงเริ่มจากการประเมินความเป็นไปได้ในปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้าอย่างรัมัดระวังและรอบคอบโดยการสอนแบบค้นหาจากแบบเรียนหรือหนังสือพิมพ์แบบเก่า เปลี่ยนแปลง (Innovation) เป็นการสอน CAI โดยมี Power Point สร้างสิ่งที่น่าสนใจในบทเรียนมากกว่าเดิมในการกรณีเห็นภาพไม่เคลื่อนไหว แต่ CAI เห็นภาพเคลื่อนไหวซึ่งสอดคล้องกับท่านอาจารย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านกล่าวว่าต้องดี Happiness Capital ในด้านศักยภาพในการถ่ายทอดงาน Communkatc Effectively และเกิด Keep Focus มุ่งมั่นในงานการสอน โดยทำให้ดิฉันได้รับแรงดลบันดาลจากท่านอาจารย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ "ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ" (Reduce He ' s ho uk ds) จากบทความนี้รายละเอียดบางเรื่องไม่ได้ชี้แจงให้ทราบ อทิเช่น ขั้นตอนในการดำเนิน หรือกระบวนการ ซึ่งเหมาะสำหรับคุณครูที่มีความรู้ทางด้าน Computer พื้นฐาน นอกจากนั้นจุดเด่น ของการสอน CAI สอดคล้องกับการสอนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 4 L's ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) ได้แก่ Learning Methodology วิธีการเรียนรู้โดยสือจากความข้างต้นและ Learning Environment สร้างบรรยากาศการเรียนแบบมีสีสันจากการสอน CAI ; Learning Opportunities สร้างโอกาสการเรียนรวมทั้ง Learning Communities เกิดห้องเสมือนชุมชนแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้และการสอน CAI ดิฉันคิดว่า ในฐานะเป็นครูผู้สอนในแง่บวกมากกว่าในแง่ลบ ถ้าคุณคิดว่าคุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะมันมีส่วนต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรงถ้าการศึกษาเป็นจุดอ่อนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ทันอาเซียนเสรี

การสอน CAI (Computcr Assisted Instruction) เมื่อเรียนจบบทเรียน นักศึกษา สามารถจัดลำดับรายการเรียนก่อนหลังได้ด้วนตนเอง แต่ การสอน CAI ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Technological Advancements การจัดเก็บข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา (ผู้เรียน) ทำให้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ด้วยเครื่องมือแบบเก่าต้องเปลี่ยนแปลงไป นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ซึ่งเป็นนวัตกรรมการศึกษาล่าสุด ซึ่งดิฉันได้ศึกษา พบว่า มีลักษณะเปลี่ยนแปลงคน (Changing People) กับผู้เรียนพอสังเขปได้ดังนี้

1.) การรับรู้ (Perceptions)

2.) ทัศนคติ (Attitudes)

3.) ผลการปฏิบัติงาน (Performances) และ

4.) ทักษะ (skills)

ส่งผลในระบบองค์กรสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต เมื่อดิฉันได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์ (Changing Strategy) ไปสู่กลยุทธ์ทาง internet อุปสรรคระดับสูงในสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต (Very Threatening) โดยการปฏิบัติการสอน CAI สิ่งใหม่ๆ มีความซับซ้อนมาก ค่าใช้จ่ายสูงและมีความไม่แน่นอนซึ่งต้องใช้ขีดความสามารถสูงสุดเพื่อสร้างความเชื่อมั่น กำหนดหลักประกันและเงื่อนไขต่างๆในการจัดการ การสอน CAI ผ่าน Internet สอดคล้องกับ Johnkottcr ต้องการสร้างสำนึกของการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนให้เห็นถึงสาเหตุและผล ; สร้างความร่วมมือร่วมใจกันด้วยอำนาจหน้าที่เพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสื่อสารวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลง ดิฉันคิดว่าสอดคล้องทฤษฎีทุนใหม่ 5 k ' s จากการสอนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาวิวัฒน์ได้แก่ Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ , ทุนทางความรู้ Knowledge Capital และ Innovation Capital ทุนทางความรู้รวมทั้ง Emotional Capital นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได Cultural Capital ทุนวัฒนธรรม ในฐานะจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดซึ่งมีวัฒนธรรมแหล่งเรียนรู้หลากหลายและสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตมีทุนวัฒนธรรม ในการเรียนรู้สู่การเปลี่ยแปลง ท้ายสุดนี่ดิฉันได้เสนอบทความคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีทั้งในด้านดีและไม่ดีนั้นตรงกับข้อคิด มุ่งสร้างให้เป็นคนดี ดีกว่าสร้างให้คนเก่ง ซึ่งการสอน CAI ส่งผลให้การศึกษาของเด็กไทยนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต้อนรับอาเซียนเสรี

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) รหัส 53484931011 จากบทความที่นำเสนออาจารย์สอนให้เกิด

(H) Happiness Capital

(R) Reduce He ' shoukds ;

(D) Digital Capital ; Reality and Relevance

ขอบคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นางสาวพรรณวดี ขำจริง นักศึกษาศูนย์ภูเก็ต

บทความเรื่อง การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อไปสู่ความสำเร็จ ของคุณวัฒนา สุนทรธัย

อ้างอิงจาก http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=157

บทความนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเรื่องการเรียน การทำงาน และการพัฒนาชีวิต หากอ่านแล้วไม่นำไปปฏิบัติ ก็ไม่อาจทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงได้ ต้องลงมือปฏิบัติอย่างยืนหยัด ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอเท่านั้น จึงจะสามารถสร้างนิสัยแห่งความสำเร็จ และช่วยให้ผู้ปฏิบัติประสบความสำเร็จในชีวิตได้ และทุกอย่างจะต้องเริ่มจากตัวของเรา "เราจะเป็นอย่างที่เราคิด" เป็นการปลุกตัวของเราให้เราตื่นตัวพร้อมที่จะรับสถานการณ์ต่างๆ ดั้งนั้นการสร้างแรงบันดาลใจกับตัวของเราเอง เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามที่คาดหวังนั้น เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาบุคลากรเสียใหม่จากการ “พัฒนาหรือฝึกอบรม” ไปสู่ “การบริหารทุนปัญญา” การบริหารทุนปัญญาหมายถึงการมองคนเป็นทุนหรือสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง แต่ทุนประเภทนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตัวมันเองได้ เป็นทุนที่มองไม่เห็น แต่สามารถวัดได้จากระดับความสามารถที่แสดงออกและผลงานที่เกิดขึ้น สิ่งที่เราเรียนว่าแรงบันดาลใจนี้จะช่วยกระตุ้นให้คนเราแสดทุนปัญญานี้ออกมาก

บทความทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข

เรื่อง “การสร้างความสุขในการทางาน”

อนันต์ สุดขำ หน่วยนครราชสีมา

หากนับว่าการใช้เวลากับครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดแล้วนั้น การใช้เวลาในการทางานก็คงจะเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน นั่นเป็นเพราะว่า เราต้องใช้เวลาอยู่ในที่ทางานไม่ต่ำกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องเจอกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากบุคคล เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งจากตัวเราเอง

พระสุรศักดิ์ สุรญาโณ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ท่านได้ให้ข้อคิดในการทำงานให้สนุกและมีความสุขในการทำงานไว้ว่า การทำงานให้มีความสุขเราต้องทำงานด้วยความเต็มใจและมีความภูมิใจในงานที่ทำ โดยใช้หลักธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เรื่อง อิทธิบาท 4 ที่ว่าด้วย

1) ฉันทะ คือความพอใจในงานที่ทำ

2) วิริยะคือ ความเพียรพยายาม

3) จิตตะ คือการมีเวลาทำงานที่จดจ่อมีสมาธิ

4) วิมังสา คือทำแล้วต้องพิจารณาตรวจสอบใคร่ครวญให้รอบคอบ

ดร. ประพนธ์ ผาสุกยืด สถาบันส่งเสริมความรู้เพื่อสังคม ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้คนทำงานได้อย่างมีความสุข มี 4 ปัจจัย คือ

1) งาน... งานที่ทำนั้นมีความท้าทายหรือไม่ เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่หรือไม่ ทาให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกมีคุณค่าหรือไม่ เพียงใด

2) วัฒนธรรมการทำงาน... เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้ตัดสินใจ มีส่วนร่วม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือไม่ เพียงใด

3) ปัจจัยแวดล้อม... สภาพแวดล้อมในที่ทำงานส่งเสริมหรือเอื้ออานวยต่อการทำงานหรือไม่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร

4) ภาวะผู้นา.... ผู้นาส่งเสริมการทำงานหรือไม่ มีการให้ทิศทางที่ชัดเจนในการทำงานหรือไม่ สามารถสร้างขวัญกาลังใจได้ดีเพียงใด

Joanna Brandi ได้เสนอ 8 วิธี ในการส่งเสริมความสุขในที่ทำงาน

1) การมองในแง่ดี (optimism) มีงานวิจัยกล่าวว่า คนที่มองในแง่ดีมีอายุยืนยาวกว่า คนที่มองในแง่ไม่ดี ถึง 10 ปี

2) การแสดงความขอบคุณ (gratitude) การแสดงความขอบคุณต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงานและเป็นวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร

3) การให้อภัย (forgiveness) การสร้างความสงบสุข เป็นหนทางแห่งความสุข

4) พัฒนาตนเองทางการพูด (improve yourself-talk) การพูดในทางบวกช่วยลดความเครียดและทำให้สมองผ่อนคลาย มีความคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาต่างๆได้

5) ปลดปล่อย (flow) ลืมสิ่งที่ไม่ดี ปล่อยให้มันผ่านไป การลืมเป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมความสุขที่ดี

6) มีความสุขหรือเพลิดเพลินกับสิ่งที่ทำ (savor) ความเพลิดเพลินกับงานนั้นเราสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งก่อนที่เราจะลงมือทำ ขณะที่ทำ และคิดถึงมันหลังจากงานได้ลุล่วงไปแล้ว

7) มองมุมใหม่ (reframe) การมองสิ่งเดิม ในมุมใหม่ ๆ จะช่วยให้ความคิดในทางลบเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกมากขึ้น

8) การสร้างความสุขจากสิ่งที่เราทำได้ดี (building on strength) ความสุขนั้นจะเป็นความสุขที่ยั่งยืนถ้าเป็นความสุขที่เราได้ทำสิ่งที่เราทำได้ดี หาโอกาสได้ทำในสิ่งที่ตนเองทำได้ดีแล้วคุณจะไม่เบื่อและมีความสุข

เราสามารถบริหารตนเองเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขโดยปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้

1) การแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี การทำงานย่อมมีปัญหาเป็นธรรมดา อย่าแก้ปัญหาโดยการใช้อารมณ์จะทำให้เครียดมากขึ้นควรเริ่มต้นแก้ปัญหาที่สาเหตุ เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมเพราะเมื่อแก้ปัญหาได้ก็จะสบายใจหายเครียด

2) การบริหารเวลาอย่างเหมาะสม จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีเวลาเหลือสาหรับการพักผ่อนและครอบครัว ทำให้เครียดน้อยลง ควรทบทวนดูว่า ใช้เวลาแต่ละวันไปกับเรื่องใดบ้างเพื่อการจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสมทั้งการทำงาน การสังสรรค์กับครอบครัวและการพักผ่อน ลองสังเกตเพื่อนร่วมงานที่บริหารเวลาได้ดีและลองทำตาม อาจนามาช่วยในการบริหารเวลาของตนเองได้

3) การปรับเปลี่ยนความคิด ส่วนหนึ่งมาจากความคิดของคนเรานั่นเอง เพราะถ้าเรารู้จักปรับเปลี่ยนความคิดในแง่มุมใหม่จะช่วยให้เครียดน้อยลง หากรู้สึกว่าตัวเองคิดมาก หาทางออกไม่ได้ควรหยุดคิดสักพัก คิดให้ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างที่คนอื่นคิดและคิดถึงคนอื่นบ้าง

4) การพักผ่อนหย่อนใจ หลังเลิกงานแล้วควรได้พักผ่อนหย่อนใจบ้างเพื่อผ่อนคลายจิตใจ ทำให้พร้อมที่จะกลับไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ มีอยู่มากมาย ควรเลือกให้ตรงข้ามกับงานประจา เช่น งานประจานั่งโต๊ะทั้งวัน ยามว่างควรทำกิจกรรมกลางแจ้งเคลื่อนไหวร่างกาย หรืองานประจาเป็นผู้ให้บริการ ยามว่างควรให้ผู้อื่นบริการเราบ้าง

5) การรู้จักยืนยันสิทธิของตน ความเครียดอาจเกิดจากการยอมอ่อนข้อ เกรงใจผู้อื่นมากเกินไป ควรรู้จักยืนยันสิทธิของตนเองบ้างจะทำให้เป็นตัวของตัวเอง และเป็นการสร้างความเกรงใจจากผู้อื่นที่มีต่อเรา สิทธิที่ควรรักษาคือสิทธิที่จะปฏิเสธอย่างมีเหตุผล สิทธิที่จะทำงานด่วนของตนให้เสร็จก่อน สิทธิที่จะไต่ถามเพราะความไม่เข้าใจ สิทธิเปลี่ยนใจเมื่อได้ข้อมูลใหม่

6) การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว จิตใจที่เข้มแข็งจะช่วยให้เอาชนะความเครียดได้ การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจโดยสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง พัฒนาปรับปรุงตัวเอง เข้าใจชีวิตว่าไม่มีอะไรแน่นอน ไม่ยึดติดกับอดีตหรือกังวลกับอนาคตมากเกินไป อย่าลืมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวเพราะครอบครัวเป็นกาลังใจที่สำคัญในการต่อสู้กับอุปสรรคปัญหาต่างๆ

7) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน การที่ผู้ร่วมงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความร่วมมือกันในการทำงาน จะทำให้เกิดความอบอุ่น มีกาลังใจและสนุกสนานกับงานมากกว่าการทำงานโดยลาพัง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานสามารถทำได้โดยเอาใจเขามาใส่ใจเราอยู่เสมอ

8) การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม การเก็บอารมณ์ที่ไม่ดีเอาไว้และการแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมทาให้เกิดความเครียด ควรฝึกควบคุมอารมณ์ คิดก่อนทำ ทำอย่างเหมาะสม จะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง เมื่ออารมณ์ดีควรแสดงออกด้วยการยิ้ม พูดเล่นฮัมเพลง เพื่อให้คนใกล้ชิดรู้สึกดีด้วย หายใจลึกๆไตร่ตรองผลที่จะตามมาจะทาให้มีสติ มีความเครียดน้อยลง

9) การออกกาลังกาย เมื่อรู้สึกเครียดจากการทำงาน การออกกาลังกายจนเหนื่อยและเหงื่อออกจะช่วยคลายเครียดได้ หลังเลิกงานหรือในวันหยุดควรออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬากับกลุ่มเพื่อนจะรู้สึกสนุกสนานและเพลิดเพลินยิ่งขึ้น การช่วยกันทำงานบ้านในวันหยุดก็ถือว่าเป็นการออกกาลังกายที่ดีและช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว

10) การพูดอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน การกล่าวคาว่า “สวัสดี” “ขอโทษ” “ขอบคุณ” ควรเป็นประโยคที่ควรพูดติดปากจะแสดงถึงการมีมารยาทและเป็นเสน่ห์แก่ผู้พูด หมั่นพูดชมเชยไต่ถามทุกข์สุขให้กาลังใจประสานความเข้าใจเพื่อลดความขัดแย้งในการทำงาน จะช่วยตัดปัญหาลดความเครียดได้

การทำงานอย่างมีความสุขอาจจะต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ แต่ถ้าหากเราลอง ริเริ่มจากตนเอง ปรับความคิดและทัศนคติให้เป็นไปในเชิงบวกได้แล้วนั้น อย่างน้อยที่สุดเราก็สามารถสร้างกาลังใจให้แก่ตนเองเพื่อเป็นพลังในการรับมือกับปัญหาต่างๆได้ โดยไม่สำคัญว่าปัญหานั้นจะใหญ่หรือยากเพียงใด

สรุป จากบทความ เราได้รับความรู้เป็นทุน

1 Ethical capital

2 Happiness capital

3 Human capital

***ส่งการบ้าน***

Name: นายอานนท์ ทวีสิน

ID: 53484931005

University: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Major: สาขานวัตกรรมและการจัดการ

Assignment 1: สรุปเอกสารภาษาอังกฤษ

Managing yourself

How to Cultivate Engaged Employees

By Charalambos A. Vlachoutsicos

ความสำเร็จของผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ทักษะทางการตลาดของจอห์จ(George) ความสามารถในการรันตัวเลขของมาเรีย(Maria) ความรู้ทางด้านท้องถิ่นของไมเคิ้ล(Michael) ความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศของไดมิต้า(Dimitra) และหนังสือมากมายที่อยู่บนชั้น สิ่งเหล่านี้ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริหารระดับสูงจะรู้จักวิธีในการมอบอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความร่วมมือในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ผนวกกับการควบคุมที่มีประสิทธิภาพก็สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้เหมือนกัน ในปัจจุบันหลายบริษัทในอเมริกา และยุโรปตะวันตกเริ่มที่จะลดการบังคับบัญชาแบบบนลงล่างและรูปแบบของการสั่งการ ควบคุม ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้ปฏิบัติงานหลายท่านยังปิดบังปัญหาต่างๆ และไม่ให้ความร่วมมืออยู่ ถึงสมาชิกในกลุ่มจะกลมเกลี่ยวกัน แต่มันก็ไม่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่สำคัญๆก็กระจัดกระจายเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

จากประสบการณ์การทำงานหลายๆแห่งในบริษัทที่ประสบปัญหา และการทำงานในกิจการของครอบครัวกว่า 30 ปี ทำให้ผู้แต่งได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ส่งผลให้เขาได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และเอกสารชุดนี้ ได้เล่าถึง 6 ขั้นตอนในการพัฒนาสถานที่ที่ประสบปัญหาต่างๆของผู้อ่านให้ดีขึ้น จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของผู้แต่งเอง โดยแบ่งได้ ดังนี้

1. Be Modest (อ่อนน้อมถ่อมตน) ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจากบริษัทบรรจุปลากระป๋องแห่งหนึ่งที่เขาเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาในปี ค.ศ. 1990 ในขณะที่เขาร่วมประชุมกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานแห่งนี้ ทุกอย่างเป็นไปได้ดี จนกระทั้งมีผู้บริหารท่านหนึ่งเริ่มที่จะทำให้บรรกาศในที่ประชุมเสีย โดยเขาได้เล่าว่า ผู้บริหารท่านนี้ ท่านชื่อ เคอร์(Kurt) ได้กล่าวในที่ประชุมว่า เขารู้ทุกอย่าง และพวกคุณไม่รู้อะไรเลย (Given that I know everything and you know nothing) การกระทำของเขาเป็นการจุดประกายไฟด้วยไม้ขีดอันเดียวในที่ประชุม สุดท้ายก็ไม่มีใครกล้าพูดอะไร และออกจากที่ประชุมไป ผู้แต่งได้เล่าว่า หากคุณ(ผู้อ่าน) กำลังเป็นเช่นเดียวกับ เคอร์ นี้ให้รีบปรับปรุงตัวโดยด่วน และพิสูจน์ตนเอง ว่าคุณไม่ได้เป็นผู้บันทึก ผู้แก้ไขปัญหา แต่เป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีในการแลกเปลี่ยนข้อผิดพลาด และสิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเอง

2. Listen Seriously and Show it(ฟังอย่างตั้งใจและแสดงออกมา) โดยทั่วๆไปนั้น ผู้บริหารเริ่มที่จะเป็นผู้ฟังมากขึ้น แต่ลูกทีมนั้นไม่เข้าใจและเห็นมัน ผู้แต่งได้เล่าว่า ผุ้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่โรงโม้แป้งในจอเจียร์ ภายหลังถูกนักลงทุนต่างชาติชาวตะวันตกมาบริหารแทน มีผู้อำนวยการท้องถิ่นท่านหนึ่งไม่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผู้แต่งวางแผนไว้ ทั้งๆที่เขาทำออกมาเป็นอย่างดี ผู้แต่งได้เล่าถึงเหตุการณ์หนึ่ง ในตอนที่ เขานั่งข้างๆผู้บริหารที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในที่ประชุม ผู้แต่งได้บอกผู้บริหารท่านนี้ว่า เขาได้จดบันทึกในสิ่งที่สำคัญในที่ประชุม ซึ่งในขณะนั้น เขาใช้เพียงเศษกระดาษในการบันทึก ซึ่งผู้บริหารท่านนี้เห็นแล้ว ก็กล่าวออกมาว่า เขาเห็นว่าคุณบันทึกอะไร แต่คุณได้ใช้เศษกระดาษในการจดบันทึก ไม่นานคุณก็จะโยนมันทิ้งไป ในวันต่อมาผู้แต่งก็ได้นำบันทึกที่เขาเรียบเรียงออกมาเป็นอย่างดีแสดงให้เขาเห็น ทำให้ผู้บริหารท่านนี้ได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้แต่งมากขึ้น จากประสบการณ์ที่สอนผู้แต่งนั้น แสดงให้เห็นถึงการสื่อสารนั้นมีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาร่างกายหรือภาษามือ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ห้ามมองนาฬิกาขณะที่คนอื่นเขากำลังพูดอยู่

3. Invite Disagreement (เชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย) แม้ว่าหลายบริษัทกำลังเปลี่ยนแปลงเป็นการทำงานแบบแนวราบ วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และบรรทัดฐานของบริษัทที่ต่อต้านความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน หนทางเดียวที่จะต่อสู้กับความโน้มเอี่ยงนี้ ก็คือ การจัดรูปแบบการประชุม ปรึกษาหารือใหม่ ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจาก บริษัทการสื่อสารของยูเครน ที่ผู้บริหารกำลังดิ้นรนทุกหนทางในการที่จะบังคับให้ลูกน้องของเขาทำในสิ่งที่เขาต้องการ ผู้แต่งได้แนะนำให้ เริ่มจากการเปลี่ยนโต๊ะประชุม จากโต๊ะที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ออกมาเป็นโต๊ะกลม เพื่อที่จะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีความรู้สึกถึงความเป็นกันเอง ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งผลออกมาได้เป็นที่น่าพอใจ แต่แนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ไม่ได้ง่ายแบบนี้ เสมอไป บางครั้ง ก็ต้องกระตุ้นให้เขาแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นของเขาออกมา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ครั้งหนึ่งผู้แต่ง เคยถูกถามจากบริษัทจัดส่งสินค้าแห่งหนึ่งในอเมริกาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในการที่จะให้ผู้ปฎิบัติยอมบอกปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้น เปกก้า(Pekka) เป็นผู้ดูแลอยู่ เขาก็กล่าวว่า ไม่ว่าเขาจะทำอย่างไร ไม่มีใครยอมบอกปัญญาจริงๆที่เกิดขึ้น หนึ่งปัญหาในขณะนั้น คือการเสียภาษีอันแสนแพงของสำนักงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาในขณะนั้น คือการติดสินบนเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด ในที่ประชุม เปกก้า ได้ความคิดที่จะถามความเห็นจากสถานฑูตอเมริกา ในการที่จะไปประท้วง ในแต่ไม่มีใครในที่ประชุมออกความคิดเห็น ต่อมาผู้แต่งได้ไปพบกับ ไอเกอร์(Igor) ผู้จัดการท้องถิ่น เขาไม่ลังเลที่จะถามความคิดเห็น และได้คำตอบว่า พวกเขาสามารถช่วยเรื่องภาษีสำนักงาน ด้วยเงินประจำ ไอเกอร์เสนอการจ่ายเงินให้ก่อนล่วงหน้าทุกต้นเดือน เป็นจำนวนเงินที่เฉลี่ยจากภาษีที่ต้องจ่าย 6 เดิอน และช่วยจ่ายค่าธรรมเนียมทุก 3 เดือน หลังจากนั้น ผู้แต่งได้เสนอแนวคิดที่ไม่ค่อยฉลาดนี้ให้ เปกก้า เขายอมรับความคิดนี้ ในที่สุดปัญหาก็ได้รับการแก้ไข ต่อมาผู้แต่งได้อธิบายเปกก้าว่า 3 ศตวรรต ภายใต้การปกครองของคอมมิวนิส ซึ่งเปกก้าเข้าใจดีว่าหมายถึงอะไร ไม่มีใครเสนอตัวในการออกความคิดเห็น นอกจากจะถามเป็นการส่วนตัว หลังจากที่ได้ฟังแล้ว เปกก้าได้เริ่มเปลี่ยนเปลงตัวเองโดยการจูงใจเพื่อให้ได้คำแนะนำจากการถามเป็นการส่วนตัวก่อน แล้วค่อยๆกระจายออกไป ซึ่งไม่กี่เดือนต่อมาผู้ใต้บังคับชาให้ความร่วมมือมากขึ้นในการเสนอความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่ แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างจะสามารถมองเห็นปัญหาได้ดีกว่า

4. Focus the Agenda(รวบรวมความสนใจในวาระการประชุม) เส้นทางที่นำไปสู่ความล้มเลวคือความไม่ตั้งใจ บ่อยครั้งที่ผู้แต่งได้เห็นผู้บริหารมุ่งมั่นที่จะเชิญชวนความเห็นที่แตกต่างในวิธีทางที่ไม่ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประชุมที่ความคิดเห็นทุกอย่างอยู่บนโต๊ะ การใส่ปัญหาลงไปมากๆ ทำให้เวลาของผู้พูดลดลง ยิ่งถ้าเวลาจำกัด ผู้พูดต้องรีบเร่งพูดแข่งกับเวลาก็ให้เกิดปัญหาตามมา ในปี 1960 ทางเหนือของกรีส คือบริษัทของครอบครัวผู้แต่ง ที่เจริญเติปโตเร็วที่สุด พวกเขาได้เปิดสำนักงานในเมืองหลวง และนัดพบ สตาฟวอส (Stavros) คนที่มีประสบการณ์ในการขายมากที่สุดของบริษัทเป็นผู้นำ แต่ผลที่ได้ออกมาในทางกลับกัน ผลการขายหยุดชะงัก เนื่องจากในการประชุมเสวนาปัญหาต่างๆ โดยการนำของ สตาฟวอส และผู้อำนวยการอีก 8 ท่านเป็นผู้เข้าร่วมประชุม มีวาระที่มีลักษณะซับซ้อน และใช้เวลานานมาก ในที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้มีโอกาสพูด โดยแบ่งท่านละ 2 ชั่วโมง แต่ท้ายที่สุดการประชุมก็สิ้นสุดลง โดยผ่านไปได้ครึ่งเดียว ปัญหาที่สำคัญต่างๆก็ไม่ได้นำมาร่วมเสวนา เพราะไม่ได้จัดให้อยู่ในลำดับต้นๆ ผู้แต่งเลยช่วยให้การประชุมกระชับและครอบคลุม โดยการเสนอให้สรุปวาระการประชุมต่างๆในแต่ละวันมาให้ก่อน และกระชับเวลาในการเสวนาลง เพียงไม่กี่เดือนการประชุมพัฒนาขึ้น จากใช้เวลานานมาก มาเหลือไม่เกิน 30 นาที และครอบคลุม

5. Don’t Try to Have All the Answers(อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ) บางครั้งปัญหาได้ถูกแก้ไขโดยความรู้สึกของผู้บริหาร ซึ่งจะเกิดปัญหาได้ หากความรู้สึกนั้นไม่เพียงพอ ดังเช่น เหตุการณ์ของผู้แต่ง ที่กล่าวถึงกิจการครอบครัว ที่ครั้งหนึ่งเคยที่จะตัดสินใจจัดสรรพื้นที่ในโกดังสินค้า เพื่อวางผลิตภัณฑ์ใหม่ สปายรอส(Spyros) ผู้จัดการโกดังสินค้า เป็นคนที่สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่เป็นคนที่ข้อนข้างบีบบังคับคนอื่น มีอยู่วันหนึ่งเขาเสนอการจัดสรรพื้นที่โดยการเคลื่อนย้ายลังสินค้าที่มีอยู่ ให้ไปวางติดๆกัน และเขาก็รีบบอกคนอื่นๆมาช่วยกันเคลื่อนย้ายอย่างที่เขาบอก แต่ตัวผู้แต่งเองรู้สึกอึดอัดใจ เหมือนกับคนงานอื่นๆ อันที่ ถ้าการเคลื่อนย้ายลังสินค้าวางติดๆกันมากเกินไป จะทำให้รถบรรทุกสินค้าไม่สามารถจัดการกับลังสินค้าพวกนี้ได้ ทำให้ปัญหาบานปลาย ผู้แต่งเลยเสนอแนวทางการแก้ปัญหา ร่วมกับคนงาน สปายรอส และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ผลออกมาทำให้สปายรอสเสียหน้ามาก และสอนให้สปายรอสรู้จักยอมรับความผิดพลาดของตนเอง น่าเศร้าที่เขาไม่เคยสนใจ บ่อยครั้งที่ต้องหาคนมาแทนเขา การที่จะประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารต้องเป็นเพียงผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหา มากกว่าเป็นผู้แก้ไขปัญหาเสียเอง และทักษะของผู้บริหารที่สำคัญนั้น ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม และปล่อยให้ลูกทีมเสนอแนวคิดของพวกเขาเองออกมาบ้าง

6. Don’t Insist that A Decision Must Be Made(อย่ายืนกรานว่าแนวทางการตัดสินใจต้องถูกทำให้เกิดขึ้น) มีความผิดพลาดที่ล้มเหลวดีกว่าไม่มีเลย เห็นทีจะไม่จริงอีกต่อไป ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ทำงานในบริษัทของเขาเอง ในลักษณะที่เป็นคนเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น บ่อยครั้งที่มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หาบทลงเอยไม่ได้ เขานี่เองที่เป็นผู้เสนอแนวคิดเห็นนั้นๆออกมาในการแก้ปัญหา ซึ่งเขามาทราบที่หลังว่า มันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด แต่ลูกน้องของเขาเองก็ไม่กล้าจะแสดงออกอะไร โดยให้เหตุผลว่า แนวทางที่ผู้แต่งเสนอออกมานั้น มันก้าวไกลกว่าพวกเขา และในฐานะที่ผู้แต่งเป็นลูกเจ้าของ ย่อมรู้ปัญหาที่พวกเขาไม่รู้ หลังจากที่ผู้แต่งได้ทราบเหตุผลนี้ เขาก็ขอโทษ และเริ่มทำงานให้สอดคล้องกับคนอื่นๆ เมื่อลูกน้องของเขาได้ทราบถึงความตั้งใจของเขา พวกเขาก็เริ่มที่จะร่วมมืออีกครั้ง ผลออกมาความผิดพลาดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้แต่งได้แนะนำว่า ถ้าไม่สามารถหาจุดกึ่งกลางของปัญหา อย่ารีบที่จะตัดสินใจอะไรออกมา จนกว่าจะหาแนวทางได้อย่างชัดเจนร่วมกัน ถึงแม้ว่าอาจจะช้า และอาจจะมีความขัดแย้งบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสูญเสียความตั้งใจ

6 บทเรียนที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์ของผู้แต่ง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริหารสามารถที่จะเกื้อหนุนและทำลาย ความสำเร็จของงานได้ สวรรค์รู้มูลค่าที่สำคัญกระจัดกระจายไปเท่าไหร่ ก่อนที่จะทำให้ทุกอย่างลงตัว จาก 6 บทเรียน 6 แนวทาง จะช่วยให้เป็นอุทาหรณ์แก่ผู้บริหารมือใหม่ และเป็นรางวัลในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นแปลงการทำงานจากบนลงล่าง ไปสู่แนวราบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน นำไปสู่การแก้ไขปัญหา การกระตุ้น การมอบอำนาจเต็มให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็สามารถทำให้ประสบผลสำเร็จร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

Assignment 2: บทความทุนมนุษย์

หลังจากที่ได้อ่านบทความต่างๆ ตามที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบหมายไว้ ได้พบว่า ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมต่างๆ เพราะคนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องทำงานแทนเครื่องจักร ถึงเครื่องจักรจะทันสมัยแค่ไหน ก็ไม่มีความสามารถที่หลากหลายและสลับซับซ้อนได้เหมือนการทำงานของสมองมนุษย์ หรืออีกในหนึ่ง ถึงเครื่องจักรจะมีสมรรถนะ มีความแม่นยำสูง และมีความทนทานกว่ามนุษย์ แต่ไม่มีทักษะที่จะสามารถพัฒนาตนเองได้ ไม่สามารถวางแผนกลยุทธ์ คิดเชิงระบบ หรือก้าวไปสู่การคิดนอกกรอบได้ จากคำกล่าวที่ว่าคนคือศูนย์กลางของการพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือ ปัจจัยภายใน การรักษาผลกำไรของผู้ถือหุ้น การจัดบรรยากาศแบบเปิดในสถานที่ทำงาน และการสร้างวัฒนธรรมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเสียแล้ว ถ้าหากได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง เพื่อขานรับประชาคมการค้าเสรีที่กำลังจะมาถึง ในยุคโลกาภิวัตน์ที่ไร้พรมแดน

มนุษย์ถือเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วไม่สามารถวัดเป็นมูลค่าทางธุรกิจ ที่เป็นตัวเงินได้ แต่จริงๆแล้วสามารถที่จะแปลงสภาพให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถเทียบมูลค่าออกมาได้และยังสามารถทำให้การดำเนินธุรกิจไปได้เป็นอย่างดี ถ้าหากเรา เปลี่ยนจากการมองคนที่เป็นค่าใช้จ่ายไปสู่การมองคนเป็นสินทรัพย์ ที่เพิ่มมูลค่าในตัวเองได้ ทั้งด้านความรู้ความสามารถ ทักษะ หรือความชำนาญ โดยเน้นความสำคัญในเรื่องของความรู้และการใช้สติปัญญา ในการนำข้อมูลสารสนเทศทั้งหลายมาประยุกต์ใช้ ให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพออกมาและก่อให้เกิดข้อได้เปรียบแก่องค์กร ในสภาวการณ์ที่มีสภาพการแข่งขันสูง โดยมีการประสานงานดำเนินการร่วมกับส่วนงานอื่นๆ ซึ่งถือเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ในลักษณะเชิงบูรณาการความรู้และทักษะ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ดังคำกล่าวที่ว่า Teamwork is the key to success เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน อย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างแท้จริง

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ถือเป็นว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลกในปัจจุบัน สำหรับการพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้บริบท โดยมีเป้าหมายโดยย่อในการ (1) ส่งเสริมการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (2) เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (3) พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และ(4) บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยได้กำหนดกรอบระยะเวลาให้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงภายในปี 2558 เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น การพัฒนาทุนมนษย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างสูงในขณะนี้ เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ทันต่อการเปล่ยนแปลงที่กำลังมาถึงในอีกไม่นาน

การพัฒนาทุนมนุษย์ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่ง ในการที่จะพัฒนาขีดความสามารถของคนในประเทศในทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุดที่ไร้พรมแดน ในสภาพการแข่งขันที่สูง หากเราไม่เห็นความสำคัญของคน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะทำให้องค์การ หรือหน่วยงานต่างๆในประเทศประสบความสำเร็จ ก็เท่ากับว่า เรากำลังที่จะก้าวถอยหลังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เครื่องจักรอาจจะทนทาน และต้นทุนการผลิตโดยรวมอาจจะถูกกว่าในระยะยาว เมื่อเทียบกับการจ้างแรงงานที่มีราคาแพง แต่ความสามารถไม่พอ แต่มนุษย์ก็สามารถพัฒนาฝีมือ และทำในสิ่งที่เครื่องจักรทำไม่ได้ เพื่อรองรับกับขีดความสามารถระดับอาเซียน ประชาคมการค้าเสรีที่กำลังจะมาถึง ซึ่งมีแต่คนเก่งๆ มีความสามารถ จนก้าวไปสู่ประเทศที่กำลังจะขึ้นชื่อว่าพัฒนาแล้วในอีกไม่ช้า

(ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม http://www.dip.go.th http://www.thailandindustry.com/home/news_preview.php?id=11232&section=28&rcount=Y

http://www.oknation.net)

ชุติกาญจน์ ถาวรบัณฑิต

*******ส่งการบ้าน...ข้อ 3. อ่านบทความ

นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาสวนสุนันทา

รุ่นที่ 5 ศูนย์จังหวัดเลย

สรุปบทความ “การสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน” ( How to cultivate Engaged Employees )

ในบทความนี้ อธิบายวิธีการสร้าง "การมีส่วนร่วม" ระหว่างผู้บังคับบัญชา กับ พนักงาน เขาเชื่อว่าบทเรียนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารที่ยึดมั่นกับรูปแบบเก่าของการเป็นผู้นำจากบนลงล่าง และ ลำดับชั้นของห่วงโซ่การบังคับบัญชา "รางวัลที่มีคุณค่าสูงสุด" คือการที่ไม่พยายามที่จะควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา โดยปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานมีส่วนร่วมให้พละกำลังแก่เขา และ กระตุ้นให้พวกเขาเสนอความรู้และประสบการณ์ของพวกเขาถึงวิธีการ ที่จะทำให้องค์กรมีความก้าวหน้า ผู้บังคับบัญชาที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองและต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

1. ต้องรู้จักประมาณตน (Be Modest) เจียมเนื้อเจียมตัวถึงแม้จะมีตำแหน่งใหญ่โตหรือเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กรเพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นเพียงความผิดพลาดหรือความหวาดกลัวของผู้บริหารต้องไปเอาประสบการณ์ไปทับถมพนักงานจนทำให้เขาไม่กล้าแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็น ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีจะผลักดันให้พนักงานแสดงพละกำลังที่มีอยู่ออกจากภายในและทุ่มเทให้แก่องค์กร

2. ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Listen seriously- and show it ) ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ฟังที่ดีและฟังอย่างจดจ่อและแสดงให้พนักงานเห็นว่าใส่ใจกับสิ่งที่ได้รับฟังมาอาจจะต้องมีการบันทึกไว้ในเอกสารที่มีความสำคัญเพื่อมิให้ลืมซึ่งจะทำให้พนักงานเห็นคุณค่าในสิ่งที่เขาได้แสดงความคิดเห็น

3. เชิญชวนไม่เห็นด้วย ( Invite disagreement ) ในขณะเดียวกันนั้นผู้บริหารก็จะต้องเชิญชวนให้ผู้ที่ไม่แสดงความคิดเห็นได้แสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่มีการเสนอประเด็นขึ้นมาเพื่อให้มีการวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง และเกิดการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง

4. มุ่งเน้นวาระการประชุมที่สำคัญ (Focus the agenda ) การจัดการประชุมหากมีวาระมาก ๆ ประเด็นที่สำคัญอาจตกไปเป็นวาระที่ไม่สำคัญดังนั้นอาจจะต้องมีการจัดประชุมเฉพาะวาระนั้น ๆ และดำเนินการประชุมแบบเป็นกันเองในลักษณะปรึกษาหารือ การจัดห้องประชุมอาจะจัดเป็นรูปวงกลมเพื่อให้มีบรรยากาศในการเป็นกันเองมากขึ้น

5. อย่าพยายามที่จะมีคำตอบทั้งหมด (Don’t " try to have all the answers ) ในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นหรือข้อเสนอต่างๆ เพราะบางครั้งไม่อาจจะทำได้ทั้งหมดต้องเลือกประเด็นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือ ต้องจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้ประเด็นนั้นได้ดำเนินการอย่างแท้จริง

6. ไม่ยืนยันว่าการตัดสินใจที่จะต้องทำ (Don’t " insist that a decision must be made ) ผู้บริหารจะต้องไม่ยืนยันว่าจะสิ่งที่เป็นเด็นในการเสนอจะต้องได้รับการดำเนินการทุกเรื่องเพราะจะทำให้ผู้เสนอมีความคาดหวังหากไม่ได้ดำเนินการผู้เสนอความคิดเห็นจะเกิดการท้อแท้ไม่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดอีก

สรุป

หากผู้บังคับบัญชาต้องการให้พนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการบริหารงานอย่างแท้จริง ต้องเปิดใจกว้างและลดตัวลงมาเพื่อยอมรับฟังปัญหาหรือความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาและจะต้องมีความตั้งใจจริงที่จะรับฟังความคิดเห็นนั้น ๆ และต้องแสดงให้พนักงานได้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญ และ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่เห็นด้วยกับความคิดเห็นนั้นได้มีโอกาสแสดงออก และเลือกประเด็นสำคัญ ๆ นำมาเป็นประเด็นในการประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อให้ความคิดเห็นได้นำไปสู่การดำเนินการ และ หากมีประเด็นปัญหาที่ต้องดำเนินการมากก็ไม่จำเป็นต้องจัดการทุกประเด็น และก็ไม่ยืนยันว่าการตัดสินใจนั้นจะได้ต้องได้รับการดำเนินการทุกอย่าง หากดำเนินการได้ดังนี้จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในองค์กร ประเทศไทยถือว่าเป็นองค์หนึ่งซึ่งมีหลากหลายของสถาบันต่าง ๆของสังคม หากผู้นำประเทศมีศักยภาพในการที่จะทำให้ทุกภาคเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศก็จะทำให้ประเทศไทยของเรามีความพร้อมที่เข้าสู่ ประชาคม อาเซี่ยน เสรีในปี พ.ศ.2558

กมล ค้าไกล (ศูนย์ภูเก็ต)

"โชห่วย" ต้องไม่ห่วย

คอลัมน์ คลื่นความคิด ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ

มติชนรายวัน วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10082

http://training01.makewebeasy.com

ปัจจุบันร้านค้าปลีกขนาดย่อย หรือที่รู้จักกันในนามของร้านโชห่วย ที่ขายของจิปาถะใกล้บ้าน ต่างก็เร่งปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ไม่เช่นนั้นคงต้องสูญพันธุ์และเสียธุรกิจที่อุตส่าห์สร้างสมมาเป็นเวลาช้านาน ให้กับโมเดิร์นเทรดที่มีสายพันธุ์ทั้งของคนไทย และต่างชาติ ที่ต่างก็ทยอยเปิดกันอย่างดาษดื่นรอบเมืองจนน่าตกใจ ทำให้ร้านโชห่วยสายพันธุ์ดั้งเดิมที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ต้องดิ้นรนปรับโฉมหนีตายกันอย่างเร่งด่วน ปัจจัยในการปรับเปลี่ยนร้านโชห่วย ให้สามารถต่อสู้กับโมเดิร์นเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ใช้หลักทฤษฎี 3 วงกลม ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นสูตรรับมือสำหรับการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management มาประยุกต์ใช้ดังนี้

วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือบริบท ของจัดการสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้อต่อการทำงาน การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสม คล่องตัว เน้นการทำงานแบบ process การใช้ระบบ IT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ โดยร้านโชห่วยต้องมีการปรับสถานที่ตั้ง นับเป็นปัจจัยที่เจ้าของร้านค้าต้องพิจารณาเป็นลำดับแรก ต้องให้ความสำคัญกับการคมนาคมที่สะดวก เข้าออกง่าย และยิ่งในปัจจุบันนั้นลูกค้ามักพิจารณาเรื่องที่จอดรถอีกด้วย สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกร้านค้า ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางสินค้าอย่างเป็นระเบียบและมีระบบ นอกจากนี้ ความสะอาดภายในและภายนอกร้านค้าก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจโชห่วยด้วยเช่นกัน

วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies คือสมรรถนะหรือทักษะความสามารถของบุคคลในองค์กร หรืออาแป๊ะเจ้าของร้านโชห่วยยุคใหม่นี้ต้องทันต่อเหตุการณ์ ติดตามข่าวสาร และเป็นคนทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การตลาดยุคใหม่นั้นต้องทราบว่า อะไรคือวิกฤติและอะไรคือโอกาส แล้วปรับมุมมอง ปรับแผน การตลาดในแบบที่ควรมี ในกรอบและสิ่งที่มีเนื่องจากการตลาดยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การค้าสมัยใหม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีประกอบสร้างช่องทาง แต่โชห่วยนั้นไม่ได้มีเงินทุนหรือความรู้มากขนาดที่สามารถทำเว็บไซต์ สร้างเป็นการค้าออนไลน์ แต่สิ่งที่คุณจะทำได้คือ การติดตามข่าวสาร รู้ว่าเกิดอะไรในสังคม ประเด็นใดที่นำมาปรับใช้ จับมาเป็นโอกาส เช่น ในกรณีข้าวสารแพง โชห่วยได้อะไร อาจใช้ช่องทางนี้ทำโปรโมชันข้าวสารที่มีราคาถูก หรือหากมีสินค้าการเกษตรล้นตลาด เราก็รับจากเกษตรกรมาในราคาถูกแล้วนำมาขายในราคาที่ถูก เพื่อลดต้นทุนและสร้างโอกาสให้โชห่วยยุคใหม่

วงกลมที่ 3 เรื่อง Motivation คือการสร้างแรงจูงใจ ให้คนในองค์กรมีแรงจูงใจในการทำงานให้เต็มที่ อาจจะไม่ตรงกับร้านโชห่วยทีเดียว แต่อาจประยุกต์ใช้ในทิศทางในด้านลูกค้าหรือผู้ซื้อ ซึ่งจุดเด่นของร้านโชห่วยในเรื่องของความสัมพันธ์กับลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญ และอยู่คู่โชห่วยมานาน ดังนั้น ควรรักษาไว้ให้ดีและเพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมด้วย กลยุทธ์การตลาด ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ของแถม กลยุทธ์ส่วนลด ต่อรองราคา หรือซื้อเงินเชื่อ และการบริการส่งถึงบ้าน จุดนี้เองที่ทำให้โชห่วยยังอยู่คู่กับชุมชนตลอดมา

นางสาวพรรณวดี ขำจริง

นางสาวพรรณวดี ขำจริง นักศึกษาศูนย์ภูเก็ต

ความสำเร็จของผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของลูกน้อง ผู้บริหารระดับสูงจะรู้จักวิธีในการมอบอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความร่วมมือในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ผนวกกับการควบคุมที่มีประสิทธิภาพก็สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้เหมือนกัน โดยมี 6 ประการในการพัฒนา ดังนี้

1. การอ่อนน้อมถ่อมตน

2. การฟังอย่างตั้งใจและแสดงความคิดเห็นออกมา

3. เชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วยเพื่อต่อต้านความขัดแย้ง

4. รวบรวมประเด็นที่สนใจ สร้างเส้นทางที่นำไปสู่ความล้มเลวคือความไม่ตั้งใจ

5. อย่าพยายามที่จะหาคำตอบ

6. อย่าคิดว่าการตัดสินใจต้องถูกเสมอ

ซึ่ง 6 หลักการในการพัฒนา แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริหารสามารถที่จะเกื้อหนุนและทำลาย ความสำเร็จของงานได้ จะช่วยให้เป็นแนวทางแก่ผู้บริหารมือใหม่ และเป็นการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการการทำงานจากบนลงล่าง ไปสู่แนวราบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน นำไปสู่การแก้ไขปัญหา การกระตุ้น ระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้อง ก็สามารถทำให้ประสบผลสำเร็จร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

สรุปการวิเคราะห์บทความ โดย นางวาสนา รังสร้อย นศ. ป.เอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ส่วนกลาง

องค์กรและการบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ (www.hrtothai.com สืบค้นเมื่อวันที่ 14/9/54)

การพัฒนาให้เป็นองค์การที่สมบูรณ์เป้าหมายของการเป็นองค์การที่สมบูรณ์ (Total Organization : TO)

มีอยู่ 3 ระดับคือ

1. พัฒนาสมาชิกในองค์การให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (Total Person)นั่นก็คือเจตนารมณ์การที่มุ่งพัฒนาสมาชิกในองค์กรอย่างมีคุณภาพ ตามแนวคิดทฤษฎี 8 K’s หรือทุน 8 ประการ โดยมีอยู่ 6 ด้านคือ

1.1 ด้านร่างกาย มีสมรรถนะพร้อมต่อการทำงานหรือไม่ หรือจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการทำงานอย่างปกติราบรื่นหรือไม่ โดยเ น้นที่ตัวบุคคลในการมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาบรรยากาศดังกล่าวด้วย อาจใช้กิจกรรม 5 ส. เป็นฐานก็ได้ ซึ่งอยู่ใน K 1 Human Capital

1.2 ด้านจิตใจ การปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์การอาจมีความเครียดเกิดขึ้นได้จึงต้องจัดระบบการบริหารความเครียดให้กับพนักงาน เช่น การฝึกคลายกล้อมเนื้อโดยการออกกำลังกาย การจัดที่ปรึกษาด้านจิตหรือรับฟังความวิตกทุกข์ร้อนของสมาชิก อยู่ใน ทฤษฎี 5 K’s ด้าน Emotional Capital ซึ่งถือว่าจะสามารถช่วยให้ทุนมนุษย์ มีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอดอย่างภาคภูมิใจ

1.3 ด้านสติปัญญา ประเมินจากการเรียนรู้ในระหว่างการปฏิบัติงานก็ได้ว่า พนักงานสร้างแนวทางใหม่ ๆ ที่จะปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ประหยัดขึ้น หรือสร้างสรรค์แนวคิดแปลก ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การหรือไม่ หากไม่มีทั้งนวตกรรมใหม่ ๆ และความคิดสร้างสรรค์ใด ๆ เลย อาจตีความได้ว่าผู้บริหารยังไม่จัดบรรยากาศ หรือเปิดโอกาสให้เขาแสดงบทบาทได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอยู่ใน K 2 Intellectual Capital

1.4 ด้านความรู้และคุณธรรม ประเมินจากผลงานที่เกิดขึ้นว่าได้เข้าไปพัฒนา ความรู้จนเกิดความเชี่ยวชาญ แก่พนักงานหรือไม่ โดยตรวจวัดจากปริมาณ และคุณภาพของผล ผลิตหรือบริการ ในขณะเดียวกันการพัฒนาแต่ความรู้โดยไม่ผนวกความรับผิดชอบต่อตนเองและ ส่วนรวม มุ่งแต่จะพัฒนาผลผลิตโดยไม่สนใจผลกระทบใด ๆ ต่อบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมก็คงเป็น การลำบากอย่างยิ่งที่จะเป็นมุนษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งความรู้และคุณธรรมต้องพัฒนาไปด้วยกัน แยก ส่วนไม่ได้ ซึ่งอยู่ใน K 8 Talented Capital

1.5 ด้านจริยธรรม และวัฒนธรรมในการปฏิบัติงาน จิตเป็นนายและกายเป็น บ่าว หากจิตมีลักษณะอย่างไรก็จะกำกับหรือสั่งกายให้มีพฤติกรรมไปในทิศทางนั้น ดังนั้นการ พัฒนาคุณธรรมของสมาชิกในองค์การจะมีส่วนในการนั้นพฤติกรรมได้ เช่น การรับผิดชอบต่อตน เอง ต่อผู้อื่น ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อลูกค้า ต่อองค์การ ซึ่งอยู่ใน K 3 Ethical Capital

1.6 สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สมาชิกในองค์การที่ตัดสินปัญหา ด้วยเหตุผล แทนการตัดสินปัญหาด้วยอารมณ์จะสามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การ จัดระบบให้มีการตรวจประเมินสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในองค์การอยู่เนือง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น กล่าวโดยสรุปตัวชี้วัดที่ไวที่สุดที่จะวัดว่าสมาชิกในองค์การ ปฏิบัติงานอย่างมีความ สุขหรือไม่ คือ "อาการทน" หรือ "ความรู้สึกทน" ถ้าหากต้องปฏิบัติงานอย่างทนทำ สักวันหนึ่ง ความเครียดสะสมก็จะถึงจุดที่เรียกว่า "ทนไม่ได้" หรือ "ทนไม่ไหว" สมาชิกก็จะต้องออกจากองค์ การไป หากเขาเป็นกำลังสำคัญขององค์การ องค์การก็จะต้องสูญเสียสิ่งที่เรียกว่าเป็นอวัยวะที่ดีไป การจัดหาอวัยวะใหม่มาทดแทนก็อาจจะทำให้การดำเนินงานขององค์การได้รับผลกระทบถึงขั้นหยุดชงักได้ บุคคลที่ไม่มีธุรกิจของครอบครัวหรือเป็นเจ้าของธุรกิจหรือกิจการของตัวเอง อาจจะ ต้องเข้าไปทำงานในองค์การหรือหน่วยงานอื่น ดังนั้นการได้เรียนรู้ถึงแนวทางหรือหลักการในการ บริหารงานทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งอยู่ใน K 4 Happiness Capital

อาจกล่าวโดยสรุปว่า การบริหารองค์กรเป็นการบริหารงานบุคคลให้สามารถพัฒนาสร้างสรรค์งาน และปรับปรุงพัฒนางานได้ด้วยตัวของเขาเอง ในยุคปัจจุบันจึงถือเป็นยุคของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง เป็นกระบวนการในการสร้างสภาวะให้เอื้อต่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความคิด สร้างสรรค์ของบุคคลผ่านการทำงาน (Learning and Creativity Through Action) อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง การพัฒนาสมาชิกในองค์กรจึงเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ฝึกให้คิดนอกกรอบ มีความหลากหลายในการหาคำตอบจากโจทย์ปัญหาที่เข้ามาในการทำงาน และสิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผล ให้แนวคิดทฤษฎีของ ศาตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 8 K’s และทฤษฎี 5K’s (ใหม่) ในทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ พัฒนาสมาชิกในองค์กรอย่างมีคุณภาพทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

กระบวนการให้ได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์อยู่ 4 กิจกรรมสำคัญคือ

1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (HR. Planning) เป็นทุนมนุษย์ด้าน K 1 Human Capital โดยมีกระบวนการ

ที่สำคัญอยู่ 5 ขั้นตอน คือ

1.1 กำหนดกรอบอัตรากำลัง (Profiling)

1.2 ประมาณการจำนวน (Estimating)

1.3 การจัดทำประวัติ (Inventorying)

1.4 การคาดการณ์ (Forecasting)

1.5 การวางแผน (Planning)

2. การสรรหาทรัพยากรมนุษย์ (HR. Recruitment) เป็นทุนมนุษย์ด้าน K 8 Talented Capital ที่นำแผนมาสู่การ ปฏิบัติ

3. การคัดเลือก (HR. Selection) เป็นทุนมนุษย์ด้าน K 2 Intellectual Capital ต้องคำนึงถึงบุคลิกภาพและความสามารถที่สำคัญ 4 ประการ คือ ความสามารถในการคิดหรือทักษะในการคิด (Conceptual Skill) ความสามารถหรือ ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Human Relation Skill) และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ (Creativity Skill)

4. การปฐมนิเทศ (Orientation) เป็นทุนมนุษย์ด้าน Cultural Capital การแนะนำให้เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร

สรุป การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ การรักษาและพัฒนา ทั้ง 3 ส่วน เป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์

โดยใช้แนวคิดทฤษฎี 8 K’s หรือ ทุน 8 ประการและทฤษฎี 5K’s (ใหม่)เพื่อจะทำให้เขาได้เตรียมความพร้อมและพัฒนาตนเองให้เหมาะสมสอดคล้องตลอดช่วงชีวิตการทำงานเพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรับปรุงตนเองเพื่อที่จะพัฒนางาน พัฒนาคุณภาพของงานที่ทำอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลัก 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

และได้ตระหนักถึงคุณค่าของการเป็นทรัพยากรมนุษย์ยิ่งกว่าการเป็นเพียงบุคคลที่ทำงาน

การสร้างแรงจูงใจให้คนทำงาน

ปัจจัยที่จะทำให้คนเกิดแรงจูงใจที่จะทำงาน มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

1. รู้ความต้องการของบุคคล (Need Access) ต้องให้ครอบคลุมทั้งความต้องการทางด้านร่างกาย จิต และความต้องการของจิตใต้สำนึก ซึ่งเป็นความต้องการที่ล่วงรู้ได้

2. สร้างความพึงพอใจในงาน (Job Satisfaction) การสนองความต้องการของบุคคลที่นิยมใช้คือวิธีการของ เฮอร์ซเบิร์ก (Herzberg's Two Factors Theory)

3. สร้างขวัญในการทำงาน (Morale in Work)

4. การสร้างค่านิยมร่วม (Shared / Common Value) ถือเป็นวิธีการที่สำคัญในการเสริมแรงหรือเปลี่ยนแปลงเจตคติของบุคคล

5. การสนองความต้องการทางด้านสรีระ (Reply to Physiological Needs)

6. การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)

สรุปได้ว่า

การพัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือทำให้ทีมแห่งความสมบูรณ์ต้องมีแรงจูงใจที่จะทำให้บุคคลมีพฤติกรรมการทำงานไปในทิศทางบวกหรือลบก็ได้ทีมจะเป็นการทำงานร่วมกัน มีการแบ่งงานหรือบทบาทการทำงาน ประสานงานกันทุกระดับ เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันดังนั้นกลุ่มการทำงานร่วมกันจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานที่สำคัญของทีมโดยต้องรู้จักควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC)

เมื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และพัฒนามนุษย์ให้ทำงานเป็นทีมอย่างทีมที่มีความสมบูรณ์แล้ว การพัฒนาให้ทีมทำงานประสานกันกับทีมอื่น ๆ ในองค์การ ก็จะกลายเป็นการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่สมบูรณ์ โดยสามารถเขียนตามแนวคิดทฤษฎี 8 K’s หรือ ทุน 8 ประการและทฤษฎี 5K’s (ใหม่) ที่มีเป้าระดับ Macro คือองค์กรและไปสู่ Micro คือ ตัวบุคคลที่มีประสิทธิภาพ

นางอุทุมพร เครือบคนโท รหัสนักศึกษา 53484940001

นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

ศึกษาบทความเรื่อง การสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย โดย... คุณบุณิกา จันทร์เกตุ

อ้างอิงมาจาก http://www.stou.ac.th/study/sumrit/8-54(500)/page1-8-54(500).html

ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านวัตถุในปัจจุบัน เป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมโดยทั่วไป มีค่านิยมที่ให้ความสำคัญ ในการแสวงหาเงิน ทอง แสวงหาอำนาจ บารมี มากกว่าที่จะให้ความสำคัญทางด้านจิตใจ สังคมในปัจจุบันจึงกลับเสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ปัญหาต่าง ๆ ที่มีมากมาย ดังนั้นการปลูกฝังความสำนึกให้กับบุคคลเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมจึงควรที่จะเกิดขึ้นในสังคม ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน จึงมีการกล่าวถึงคำว่า “จิตสาธารณะ” เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณะมากกว่าตนเอง นั่นหมายถึงว่า ทุกคนต้องมีการให้ มากกว่า การรับ เพราะสิ่งเหล่านี้ ถ้าสามารถปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักสังคมย่อมได้รับแต่ความสุขอย่างแน่นอน คำว่า “จิตสาธารณะ” จึงมีความสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยส่วนรวม

การปลูกฝังความสำนึก กับบุคคลต่าง ๆ ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมหรือสาธารณะ จะเป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรม ให้เกิดขึ้นกับบุคคลโดยทั่วไป โดยเฉพาะ เด็กและเยาวชน รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากภายในกายของคน "จิตสาธารณะ" เป็นความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนรู้จัก การเสียสละ การร่วมแรงร่วมใจร่วมมือในการทำประโยชน์ เพื่อสังคมและส่วนรวม อีกทั้งจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคม การช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต อันจะเป็น

หลักการในการดำเนินชีวิต เป็นการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับสังคมอย่างได้ผลเป็นเชิงประจักษ์ได้พจนานุกรมไทยฉบับของราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 14 ปรับปรุง-เพิ่มเติมใหม่) พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายของจิตสาธารณะ ไว้ดังนี้

จิต (จิด) น. มีความหมายว่า ใจ, ความรู้สึกนึกคิด

สาธารณ (สา-ทา-ระ-นะ) หรือ สาธารณะ มีความหมายว่า ทั่วไป, เป็นของกลางสำหรับส่วนรวม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของ จิตสาธารณะ ว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า “จิตสาธารณะ” หมายถึง “ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นส่วนรวม” หรือพูดและฟังได้ง่าย ๆ ว่า“การตระหนักรู้ และคำนึงถึงการมีส่วนรวมร่วมกัน การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์ที่เป็นสังคมเดียวกัน เป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม การบริการชุมชน การทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นวัตถุหรือสิ่งของทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้”

ดังนั้นจิตสาธารณะ จึงเปรียบได้กับความรู้สึกนึกคิด ถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะร่วมกัน การใช้สิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล รวมทั้งการบำรุงรักษาสิ่งของที่เป็นของส่วนรวมร่วมกันเช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่ทิ้งขยะลงที่พื้นทั่วไปต้องทิ้งขยะในที่จัดไว้ให้ ไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ เช่นโทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างตามถนนหนทาง การใช้น้ำธรรมชาติและน้ำประปาอย่างประหยัดร่วมกัน การใช้กระแสไฟฟ้าสาธารณะให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ตลอดจนช่วยเหลือดูแลผู้ตกทุกข์ได้ยาก อันเป็นการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสตามสมควร แต่ต้องไม่ทำให้ตนเองและครอบครัวเดือดร้อน และการช่วยเหลือต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง อันเป็นประโยชน์ของส่วนรวม

หากคนในสังคมขาดจิตสาธารณะแล้ว ก็จะเกิดผลกระทบมากมายเช่น ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ในครอบครัวมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันน้อยลง แก่งแย่ง ทะเลาะเบาะแว้ง เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก เห็นแก่ตัว ชิงดีชิงเด่น เบียดเบียนสมบัติขององค์กรเพื่อมาเป็นสมบัติของตนเอง องค์กรไม่ก้าวหน้า ประสิทธิภาพและคุณภาพของงานลดลง ทำให้ชุมชนเกิดความอ่อนแอ เพราะต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการพัฒนา ยิ่งปล่อยนานยิ่งทรุดโทรม เกิดอาชญากรรมในชุมชน ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำ ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะแต่ละคนมองเห็นเรื่องของตนเองเป็นใหญ่ เกิดวิกฤตการณ์ภายในประเทศบ่อยครั้งและแก้ปัญหาไม่ได้ เกิดการเบียดเบียนทำลายทรัยยากรและสมบัติของส่วนรวม ประเทศชาติล้าหลัง ขาดพลังของคนในสังคม เมื่อนำมาตรการใดออกมาใช้ก็ไม่ได้ผลเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือ เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก แก่งแย่งแข่งขัน ทุจริตคอรัปชั่น ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหา เช่น การสะสมอาวุธ การกลั่นแกล้ง แก่งแย่งหรือครอบงำทางการค้าระหว่างประเทศเกิดการรังเกียจเหยียดหยามคนต่างชาติพันธุ์ของตนเองดูถูกดังนั้น จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ เป็นสิ่ง

ที่มีความจำเป็น อันจะเป็นประโยชน์ ในทุกระดับของสังคม ถ้าหากได้มีการพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็ง ตั้งแต่บุคคลในระดับครอบครัว ทั่วโลก ย่อมส่งผลดีในระดับที่สูงขึ้นเป็นลำดับ และที่สำคัญที่สุดการสร้างและปลูกฝังจิตสำนึก ที่ดีนั้น ต้องสร้างกับ เด็กและเยาวชน เพราะเด็กสามารถรับรู้ในสิ่งที่ดีงามจากพ่อแม่ที่บ้าน รับรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชน พระสงฆ์องค์เจ้า ดูแลลูกหลานในระดับชุมชนและสังคม และสถาบันการศึกษาที่นอกจากจะอบรมสั่งสอนทั้งด้านวิชาการ ยังจะต้อง อบรมคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักการเสียสละ การให้ มากกว่า การรับ อย่างเดียวจะทำให้เด็กและเยาวชน พัฒนาจิตใจในการช่วยเหลือผู้อื่น มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เตรียมเข้าสู่การพัฒนา จิตใจตนเองสู่จิตสำนึกสาธารณะต่อไปในอนาคต

สรุปจากบทความ ได้ว่ามีความสอดคล้องแนวคิดทฤษฎี 8K’s 5K’s ที่เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ทำให้เกิด Ethical Capital, Happiness Capital และ Social Capital จะเห็นได้ว่าการสร้างจิตสาธารณะให้เกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆ ประการในการสร้าง เช่นการสร้างความตระหนัก ให้เกิดขึ้น การปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม การเป็นแบบอย่างที่ดีของรุ่นพ่อแม่ ต้องใช้ความรู้ คุณธรรม ความอดทน พยายาม เสียสละภายใต้ความกดดันของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ รอบด้าน รวมถึงการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในสังคมในยุคปัจจุบัน จากบทความนี้จึงเชื่อได้ว่า บุคคลที่มีจิตสำนึกสาธารณะจะต้องได้รับการปลูกฝังมายาวนาน ต่อเนื่อง จนเกิดขึ้นภายใต้จิตใจโดยแท้จริง เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่ควรจะเกิดขึ้นกับคนในสังคมในยุคปัจจุบัน อันจะเป็นประโยชน์ ในทุกระดับ ไม่ว่าระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชาติหรือระดับโลก ถ้าหากมีการพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็ง ทุกคนล้วนแต่มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสาธารณะ สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน สร้างความเชื่อและสร้างภาพการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตได้เป็นอย่างดี

พีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

Assignment 1: สรุปเอกสารภาษาอังกฤษ

Managing yourself

How to Cultivate Engaged Employees

By Charalambos A. Vlachoutsicos

จากการอ่านเอกสารภาษาอังกฤษเรื่อง How to Cultivate Engaged Employees ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของผู้แต่งคือ Charalambos A. Vlachoutsicos เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นองค์ความรู้ใน 6 หัวข้อ ข้าพเจ้าจึงได้แต่งบทกลอนแปดเพื่อสรุปองค์ความรู้ในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อช่วยในการจดจำและนำไปใช้ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1.Be Modest (จงอ่อนน้อมถ่อมตน)

2.Listen Seriously and Show it (ฟังอย่างตั้งใจและแสดงความคิดเห็นเมื่อถึงเวลา)

3.Invite Disagreement (เชิญชวนการแสดงสิ่งที่ไม่เห็นด้วยเพื่อลดความขัดแย้ง)

4.Focus the agenda (มุ่งเน้นวาระการประชุมที่สำคัญ)

5.Don’t Try to Have All the Answers (อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ)

6.Don’t Insist that A Decision Must Be Made (อย่าคิดว่าการตัดสินใจของตนเองต้องถูกต้องเสมอ)

บริหารอย่างไรจึงจะดี สร้างการมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย

คำตอบชัดเจนแจ้งมีมากมาย สาธยายเห็นชัดประจักษ์จริง

หนึ่งอ่อนน้อมรู้จักประมาณตน อย่าสับสนโอ้อวดไปทุกสิ่ง

สองตั้งใจรับฟังไม่ท้วงติง เป็นยอดยิ่งผู้นำตลอดไป

สามเชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย เปิดใจช่วยรับฟังเรื่องราวใหม่ สี่มุ่งเน้นวาระน่าแก้ไข งานเดินไปข้างหน้าไม่รอช้า

ห้าจงอย่าคาดคั้นทุกคำตอบ ทำตามชอบตรงเกินก็เสียหน้า

หกไม่คิดว่าตนถูกทุกเวลา เหล่านี้หนาคือหกข้อสร้างสัมพันธ์ นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

ผู้ประพันธ์

สุธาสินี นิรัตติมานนท์ ศูนย์ภูเก็ต

INCOMAR 2011 Conference

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์  รหัสนักศึกษา 53484941001
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต
ข้อที่ 1 การบ้านอ่านบทความ เชื่อมโยงกับทฤษฏี 8K s' 5K s'

    It a great chance that I had participated INCOMAR 2011 Conference at "Customer Engagement in the Connected World" 13 -14 September 2011 at  Pullman Hotel, Putrajaya, Malaysia. 

    This conference aims to share information and ideas relating to marketing and retail practices and develop opportunities for collaboration amongst academics and practitioners for the purpose of initiating training programs and research project useful for both parties. 

     In this conference I read many article that relate to 8K’s , 5K’s theory. One that I impress that Malaysia has strong  Culture Capital.

    Malaysia is a country that is known for its cultural heritage. Malaysia, people strongly believe in respecting each other’s culture and religion. I can find a good mix of Malay, Chinese and even Indian communities. The Malaysian culture shows a lot of modern influences that is seen in the western culture today. But when I walk in big department store, I have seen young girls still use a piece of cloth that covers their head which is called as Tudung. Family values forms still have a strong foothold in the culture of Malaysia. Nowadays Malaysia is one of the big market in Asian Country.

จากการอ่านเอกสารภาษาอังกฤษเรื่อง How to Cultivate Engaged Employees ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของผู้แต่งคือ Charalambos A. Vlachoutsicos เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นองค์ความรู้ใน 6 หัวข้อ ข้าพเจ้าจึงได้แต่งบทกลอนแปดเพื่อสรุปองค์ความรู้ในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อช่วยในการจดจำและนำไปใช้ ดังนี้

บริหารอย่างไรจึงจะดี

สร้างการมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย

คำตอบชัดเจนแจ้งมีมากมาย

สาธยายเห็นชัดประจักษ์จริง

หนึ่งอ่อนน้อมรู้จักประมาณตน

อย่าสับสนโอ้อวดไปทุกสิ่ง

สองตั้งใจรับฟังไม่ท้วงติง

เป็นยอดยิ่งผู้นำตลอดไป

สามเชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย

เปิดใจช่วยรับฟังเรื่องราวใหม่

สี่มุ่งเน้นวาระน่าแก้ไข

งานเดินไปข้างหน้าไม่รอช้า

ห้าจงอย่าคาดคั้นทุกคำตอบ

ทำตามชอบตรงเกินก็เสียหน้า

หกไม่คิดว่าตนถูกทุกเวลา

เหล่านี้หนาคือหกข้อสร้างสัมพันธ์

พีชะพะงา นิรัตติมานนท์

ผู้ประพันธ์

คำตอบข้อ 1 Engagement Leader คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003 จากเนื้อหาบทความเรื่อง Managing yourself “ HOW TO CULTIVATE ENGAGED EMPLOYEES”ที่เขียนโดย Charalambos A.Vlachoutscos จะเห็นถึงความมุ่งมั่นของการเป็นผู้นำ เพราะความสำเร็จของผู้จัดการหรือผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้นำจะต้องมีวิธีการดึงความสามารถของพนักงานแต่ละคนออกมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยควรจะต้องยุติการบริหารแบบ Top-Down แบบที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีหายแห่งที่ใช้ระบบการทำงานแบบ “นายสั่ง”อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในฐานะผู้นำจะต้องรู้จักคัดเลือกผลงาน และเลื่อนขั้นลูกจ้างในท้องถิ่นนั้นๆ เพราะงานของเจ้านาย คือ การทำให้ทุกคนมั่นใจและเกิดความรู้สึกพึ่งพากัน หรือที่เรียกว่า การร่วมแรงร่วมใจหรือความสามัคคี ความรู้ในบทความที่ Charalambos A.Vlachoutscos ผู้เขียนไว้ 6 หัวข้อหลักๆ ได้แก่ 1. จงอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ (Be Modest) กรณีศึกษาของบริษัทบรรจุปลากระป๋อง ที่ผู้บริหารแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทุกเรื่องในธุรกิจประเภทนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงมากเพียงใดก็ตาม แต่ในภาวะการเป็นผู้นำนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงบทบาทในฐานะผู้ให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้ ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ความรู้อย่างแท้จริงมากกว่า 2. ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา (Listen Seriously and Show it ) ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจในการฟังอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะในที่ประชุม ทั้งนี้ในการฟังนั้นหากมีการจดบันทึกไว้ ก็จะต้องนำเสนอภายใหลังอย่างเป็นระเบียบ และระบบ 3. ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา( Invite Disagreement) นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้นำ เมื่อต้องการให้วัฒนธรรมองค์กรเปิดกว้าง ผู้ใต้บังคับบัญชากล้าแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนปัญหา แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับผู้นำ ในการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะมีลูกทีมไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตามการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย แล้วนำมาปรับ โดยเริ่มจากตัวเอง พร้อมพูดคุยกับเพื่อให้ได้คำแนะนำจากลูกทีม ซึ่งในเวลาต่อผู้นำจะได้รับความร่วมมือขากผู้ใต้บัญคับบัญชามากขึ้น 4. จัดระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง( Focus the Agenda ) หลายครั้งในการประชุมไม่ว่าจะเป็นวงใดก็ตาม มักจะมีเรื่องเกี่ยวกับไม่ได้มีการเตรียมการประชุม จึงส่งผลที่ทำให้การประชุมล้มเหลว เพราะลืม หรือข้ามประเด็นไป ส่งผลให้การประชุมไม่สมบูรณ์ตามเป้าหมายในแต่ละครั้ง และที่สำคัญทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าระหว่างการประชุมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เสียเวลาต่อเรื่องอื่นๆที่จะต้องทำต่อไป ดังนั้นการจัดระเบียบวาระ นับเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การประชุมเป็นไปตามเป้า ไม่หลุดประเด็น และอยู่ในเวลา 5. อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่าง( Don’t Try to Have All the Answers) ผู้บริหารไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง กษะของผู้บริหารนั้นมีความคัญมาก เพียงกระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาจะดีกว่า และสิ่งที่ต้องยอมรับคือ เราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม 6. อย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง( Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ควรจะร่วมกันหาแนวทางได้อย่างชัดเจน ระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ก่อนจะที่จะได้ข้อสรุป ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายไม่สูญเสียความตั้งใจ อย่างไรก็ตาม “ผู้นำ” ในกระบวนคิดของ ดร.จีระฯ มีรูปแบบหลายๆ อย่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียว โดยสามารถศึกษาดูได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป และ ภาวะผู้นำ จำเป็นทุกๆ ระดับ ไม่ใช่เน้นเฉพาะหัวหน้าเท่านั้น ลูกน้องก็จะต้องถูกสร้างให้มีภาวะผู้นำ ทั้งนี้ภาวะผู้นำจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของ “ทุนมนุษย์ 8 K’s และ 5 K’” ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติจะต้องมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วยReality มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น ทุนทางจริยธรรม ด้วยหลักการง่ายๆ คนที่เป็นผู้นำจะต้องเป็นคนดี มีใจเป็นธรรม มีความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดลงไปยังลูกน้อง ทุนนวัตกรรม มุ่งเน้นให้เกิดการคิดนอกกรอบ มุ่งหาความรู้ รูปแบบความรู้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ใช่ที่ที่คุ้นเคย ที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง... ต่อเนื่อง... และต่อเนื่อง... ความเหมือนและความแตกต่างกันในเรื่องการเป็นผู้นำระหว่าง Charalambos A.Vlachoutscos และดร.จีระฯ อยู่ที่จุดเน้นของแนวคิด(ชื่อหัวข้อแตกต่าง)แต่ผลปฎิบัติคล้ายกันเนื่องจากทั้ง 2 ท่านมีประสบการณ์การทำงานมานานเช่นกันซึ่งสามารถยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปได้ดังนี้: ทุนทางปัญญา( Intellectual Capital) ของ ดร.จิระฯ หมายถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็น และนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่มาของข้อมูล ดร.จีระฯมักจะพูดเสมอว่า ข้อมูลจะต้องเพิ่มมูลค่าเป็นข่าวสาร จากนั้นเป็นความรู้ และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม คือนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา การค้นคิดสิ่งแปลกใหม่ซึ่งรวมการรับฟังความคิดเห็นด้วย ฯลฯ ในขณะที่ Charalambos เห็นว่า ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา คือการฟังความคิดเห็นจากลูกน้องจะได้ข้อมูลใหม่ใหม่ๆ ไม่ใช่การสั่งจากผู้นำเพียงอย่างเดียว ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา นั่นถือเป็นการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นแล้วนำมาวิเคราะห์ เป็นหลักการประชาธิปไตย ส่วนเน้นระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง ถือเป็นการเตรียมการในการวางแผนที่จะพูด คือต้องมีประเด็น มีวาระ ทั้งนี้อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่างเพราะผุ้คัดค้านอาจจะมีข้อมูลที่ดี หรือมีข้อยุติใหม่ๆ คล้ายกับผู้นำอย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง เพราะต้องรับฟัง และวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ทุนทางจริยธรรมและทุนทางสังคม( Ethical and Social Capital) ดร.จิระฯให้ความเห็นในการทำงานของผู้นำที่มีคุณภาพคงไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะและปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม จะต้องมองผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และต้องทำไม่ให้เกิดขึ้น หรือน้อยที่สุดโดยไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ในการกระทำของผู้นำเกี่ยวเนื่องกับงานใหม่ หรือโครงการอะไรก็ตาม การเข้าไปขอคำปรึกษาจากหลายๆส่วนรอบด้านจะช่วยให้กระบวนการทำงานไม่ยากเกินไปนัก รวมทั้งการสร้างNetworking ซึ่ง Charalambos เห็นว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ จัดเป็น Engagement Leader ละเลยไม่ได้เช่นกัน ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital) เรื่องนี้ Charalambos ไม่มี ดร.จิระฯ ให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างน่าประทับใจและเป็นจริง “ ….การทำงานนั้นผมให้ความสำคัญที่ความสุข เมื่อมีความสุขงานที่ออกมาก็จะได้ประสิทธิภาพที่ดี” โดยเฉพาะ Modelของดร.จิระฯ“กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข” 11 ประการ(ดูแลสุขภาพทั้งใจกาย ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน มีความสามารถที่ที่จะทำให้งานสำเร็จ เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานเป็นทีม ทำหน้าที่เป็นโคชให้กับทีมงานและลูกทีม ทำงานที่ท้าทาย ทำงานที่มีคุณค่า)ซึ่งตรงกับดิฉันที่ใช้แนวคิดนี้ปฎิบัติตั้งแต่ปฎิบัติงานที่หน่วยงานที่ชื่อว่า “กรุงเทพมหานคร”มาเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว แต่การมุ่งมั่นในการสร้างทุนแห่งความสุขในการทำงานทุกตำแหน่งหน้าที่มากเกินไปจนลืมให้เวลาความสุขที่บ้านบ้างย่อมมีปัญหาบ้างเป็นธรรมดา จึงต้องยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือ “ทางสายกลาง” ซึ่งสอดคล้องกับทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainable Capital) ตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ท่านเน้น: เดินสายกลาง คิดเป็นระบบ มีภูมิคุ้มกัน 

ทั้งนี้เมื่อเราได้เรียนรู้จากดร.จิระฯ ในเรือง 6 ปัจจัยในการสร้างทุนแห่งความยั่งยืน(Chira’ s 6 factors) ก็สามารถพัฒนาตนเอง และลูกจ้างหรือลูกน้องได้อย่างดีนั่นเอง ..................................................................................

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์ รหัสนักศึกษา 53484931019

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

CPF Way "วิถีซีพีเอฟ"

บนเส้นทาง "ธุรกิจระดับโลก"

จาก กรุงเทพธุรกิจ BizWeek วันที่ 16 มีนาคม 2550

ภายหลังจากการเติบโตอย่างมหัศจรรย์มา 40 ปี "ซีพีเอฟ" กำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหม่ บนเป้าหมายสำคัญคือ ก้าวสู่ "ธุรกิจระดับโลก" นั่นเป็นที่มาของการมองย้อนไปค้นหา "ต้นตอ" ความสำเร็จในอดีต ก่อนจะนำ Best Practise มาปั้นสูตร CPF Way ทำซ้ำคุณค่าองค์กร เพื่อก้าวข้ามความท้าทายครั้งใหม่

"วันนี้ ซีพีเอฟ กลับมาโฟกัสที่คน" เพื่อตอบโจทย์สำคัญ "ซีพีกำลังก้าวสู่การเป็นธุรกิจระดับโลก" วิสัยทัศน์ของซีพี สะท้อนจากความเคลื่อนไหวภายในของเครือซีพี โดยเฉพาะซีพีเอฟ ซึ่งขยับปรับกระบวนทัศน์ในเรื่องการบริหาร และ เรื่อง "คน" มาตลอด 2 ปี และจนถึงวันนี้ ตกตะกอนพอที่จะมีแนวทางการพัฒนาคน ซึ่งเป็น "สูตรเฉพาะตัว"

ก่อนหน้านี้ผู้บริหารเครือซีพี เดินทางไปชมกิจการระดับโลกหลายต่อหลายแห่ง ซึ่งรวมถึง ซัมซุง สัญชาติเกาหลีที่กลายเป็นโกลบอล คอมปะนี ไปแล้ว หรือ จีอี สหรัฐอเมริกา แม่แบบของการบริหารจัดการระดับโลก

"เราตระเวนไปดูว่า บริษัทชั้นนำของโลกเขามีอะไรดี เขาบริหารจัดการอย่างไร แล้วก็พบว่า เรื่องคนต้องมาก่อน อย่าง จีอี เขามีศูนย์พัฒนาบุคลากรมาหลายสิบปีแล้ว" นอกจากจะเป็นที่มาของโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ (Leadership Center) ทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน การตระเวนดูกิจการยักษ์ระดับโลก ยังจุดประกายการบริหารคน และ สร้าง "ผู้นำ" ของเครือซีพีอีกด้วย

"เห็นชัดว่า บริษัทระดับโลก เรื่องคนต้องมาก่อน เราก็มาคิดว่า การสร้างคนของเรา ควรจะมีแพทเทิร์นของตัวเอง เราต้องมองหาสูตรที่เหมาะสมกับเรา" กระบวนการนี้เริ่มตั้งแต่รื้อฟื้น ค้นหา DNA ความเป็น ซีพีเอฟ "40 ปีที่ผ่านมา ซีพีเอฟ เติบโตอย่างมหัศจรรย์ ธุรกิจของเราขยายเร็วมาก ทั้งในและต่างประเทศ เฉพาะในประเทศเรามีพนักงานกว่า 6 หมื่นคน เราจึงมาย้อนดูตัวเอง เฟ้นหาข้อมูลในอดีต เพื่อให้ได้คำตอบว่า เราประสบความสำเร็จมาได้อย่างไร"

ผลจากย้อนดูตัว เพื่อค้นหา "ที่มาของความสำเร็จ" พบว่า ความมหัศจรรย์ของซีพีเอฟ มาจาก 3 อย่าง คือ

1. วิชั่นของซีพี ซึ่งวางโครงสร้างการเติบโตที่ถูกต้องให้กับซีพี

2. มาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาสะสม

3. และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ ความเก่งของคนซีพีเอฟ

"คนของเราเก่งมาก อดทนมาก และทำให้เราสามารถขยายธุรกิจไปยังอินเดีย จีน หรือ อินโดนีเซีย ได้อย่างรวดเร็ว”

คน ซีพีเอฟ เก่งอย่างไร ? ทีมพัฒนาบุคลากรของซีพีเอฟพยายามถอดแบบความสำเร็จในอดีต เพื่อมองหา "คนแบบซีพีเอฟ" โดยสรุปออกมาได้เป็น CPF Way บน 5 คุณค่าหลัก

คุณค่าประการแรกของ "คนแบบซีพีเอฟ" คือ "ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และโลกาภิวัตน์"

คุณค่าประการที่สองต้อง "ใฝ่รู้ และ แบ่งปันความรู้" เพื่อให้เกิดการต่อยอดขององค์กรความรู้ และ คนแบบซีพีเอฟ จะต้องมี "นวัตกรรม" สร้างอินโนเวชั่น

ลักษณะของคนแบบซีพีเอฟ ประการที่สี่คือ "มีคุณธรรม" และ สุดท้าย คนแบบซีพีเอฟ ต้องมุ่งที่ "ผลงาน" บน 5 คุณค่าหลัก วิถีซีพีเอฟ จะเป็นต้นทางฟูมฟักบุคลากร เริ่มจาก "ผู้นำ" ประกาศวิสัยทัศน์ ตามด้วยสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับผู้บริหาร กระจายไปทั้งองค์กร

"วิธีพัฒนาคนหมู่มาก ต้องเริ่มจากการสร้าง Awareness โดยซีอีโอต้องเป็นผู้นำ ต้องเป็นตัวอย่าง ก่อนที่จะรณรงค์ ตอกย้ำไปทั้งองค์กร" อดิเรก กล่าว

เริ่มจากความพยายามค้นหาดีเอ็นเอของ ซีพีเอฟ เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ CPF Way กำลังถูกถ่ายทอดลงสู่พนักงานทุกระดับอย่างเข้มข้น

CPF Way ไม่ได้อยู่ลอยๆ บนปฏิบัติการสร้างคน ซีพีเอฟได้ปรับกระบวนการบริหารงานไปพร้อมๆ กัน หนึ่งในการจัดทัพคือ การนำระบบ "Target Setting" หรือ การบริหารงานที่วัดผลได้มากำกับอีกขั้น เพื่อให้มั่นใจว่า "คนดี คนเก่ง แบบ CPF Way จะมีผลงานให้เป็นที่ประจักษ์"

"ลีดเดอร์ ของ ซีพีเอฟ ต้องมีทักษะของ Global Management มีวิสัยทัศน์ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้า เป็นคนดี คิดเป็น แต่ปฏิบัติไม่เป็น ไม่มีผลงาน ก็ไม่ได้ เพราะองค์กรอยู่ได้ด้วยผลงาน เราก็เลยมี Target Setting ขึ้นมาวัดผลของงาน"

ในแวดวงบริหารจัดการอาจคุ้นกับ Balance Scorecard ด้วยตัววัดผล 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ลูกค้า กระบวนการในการผลิต ท้ายสุดคือ การเรียนรู้และการเติบโต แต่สำหรับ ซีพีเอฟ การบริหารที่ "วัดผลได้" ผ่านการปรับจูนให้เหมาะกับตัวเองมาแล้ว

Target Setting ของที่นี่มีตัววัดถึง 5 ตัวด้วยกัน คือ

1. "การเงิน" กำไร ผลตอบแทนจากการลงทุน

2. "ลูกค้า" ซึ่งต้องดู มาร์เก็ตแชร์ จำนวนลูกค้าใหม่

3. ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความสูญเสีย ลดการใช้พลังงาน

4. เรื่องของ "คน" การรักษาคนดี มองหาบุคลากรที่มีศักยภาพ หรือ talent

5. "ความยั่งยืนของกิจการ" ทั้งในเรื่องของการดูแลสิ่งแวดล้อม และความโปร่งใสในการบริหารงาน การจัดทัพปรับ การบริหารจัดการ และ การสร้างคนของซีพีเอฟ ซึ่งทำมาต่อเนื่องตลอด 2 ปี ไม่ใช่แค่ตอบโจทย์ของการก้าวสู่การเป็น "ธุรกิจระดับโลก" เท่านั้น

อีกหนึ่งความท้าทายที่ทำให้ ซีพีเอฟ ต้องย้อนกลับมาดู "คน" อย่างจริงจังก็คือ การเปลี่ยนแปลงใน Business Model 40 ปี ที่ผ่านมา แม้ว่า ซีพีเอฟ จะเติบโตมาอย่างมหัศจรรย์ แต่เป็นการเริ่มจาก ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจฟาร์ม และเข้าสู่กระบวนการของการแปรรูปในโรงงาน แต่ในขณะนี้ ซีพีเอฟ กำลังก้าวไปอีกขั้น ในธุรกิจอาหาร และกำลังเร่งสร้างแบรนด์ เพื่อให้สามารถ ไปกิน "ต้นน้ำ" ของสายโซ่การผลิต หรือ Value Chain

"แต่คนของเรามีทักษะ 3 รูปแบบแรกมากกว่า เราทำอาหารสัตว์มาก่อน ทำฟาร์มมาก่อน และมาทำโปรเซสแปรรูป แต่เรากำลังก้าวไปสู่การทำแบรนด์ ซึ่งต้องการทักษะอีกแบบหนึ่ง การปรับตัว และการเรียนรู้ จึงสำคัญ"

สรุปจากบทความของ CP Way “วิถีซีพีเอฟ” บนเส้นทาง “ธุรกิจระดับโลก” สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่า ซีพีเป็นธุรกิจเกษตรที่ครบวงจร เขามีแนวทางปฏิบัติในการบริหารคน ที่เป็นอาชีพ เกษตรกรได้อย่างน่าคิด โดยเขามีการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร และซีพีก็ได้ทำมาหลายสิบปีที่ช่วยเกษตรกรไม่ให้รับความเสี่ยง ซีพีให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ปลูกข้าวโพด ปลูกพืชต่างๆ โดยใช้พันธุ์ของตนเอง อาหารของตนเอง ปุ๋ย ยา และอื่นๆ ของตนเอง ชาวบ้านมีหน้าที่เพียงเลี้ยง-ปลูก ดูแลให้โต ให้ได้ผลตามวิธีการ ขั้นตอนที่ซีพีบอกชาวบ้านคิดว่า ปลูกแล้ว เลี้ยงแล้วจะเอาพันธุ์ไปขยายเอง ปลูกเอง เลี้ยงเองก็ทำไม่ได้ ต้องเอาของซีพีเท่านั้น ถึงเอาไปจากที่ตนเองปลูกและเลี้ยงก็ปลูกไม่ได้ เลี้ยงไม่โตโดยมีผู้จัดการใหญ่นั่งคอยบอกคอยสอน คอยควบคุมดูแล ระบบแบบนี้ขอเรียกว่า "ทุนอุปถัมภ์" และซีพีกล่าวว่าเรื่องทุนมนุษย์สำคัญที่สุด

ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากซีพี ต้องบริหารคนในทุกระดับไม่ว่าพนักงานในองค์กรเองตลอดจนเกษตรกร ก็จัดได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของซีพี ถึงแม้ว่าการบริหารจัดการจะแตกต่างไปจากการจัดการคนในองค์กรตามปกติ ดังนั้นซีพีจึงลุกขึ้นมาสร้างคน สร้างทุนมนุษย์เพื่อทำงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ของซีพีที่ก้าวสู่การเป็นธุรกิจระดับโลก

แนวความคิด CPF Way "วิถีซีพีเอฟ" บน 5 คุณค่าหลักของซีพี มีส่วนประกอบ ดังนี้

1. การเงิน

2. ลูกค้า

3. การเพิ่มประสิทธิภาพ

4. คน

5. ความยั่งยืนของกิจการ

"คนแบบซีพีเอฟ" โดยสรุปออกมาได้เป็น CPF Way บน 5 คุณค่าหลัก

1. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และโลกาภิวัตน์

2. ใฝ่รู้ และ แบ่งปันความรู้ เพื่อให้เกิดการต่อยอดขององค์กรความรู้

3. จะต้องมี "นวัตกรรม"

4. มีคุณธรรม

5. ต้องมุ่งที่ "ผลงาน"

สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี 8 K’s ของอาจารย์ ดร.จีระ

ดร.จีระ อธิบายว่า “แนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือ ทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ”

K1 Human Capital ทุนมนุษย์

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข

K5 Social Capital ทุนทางสังคม

K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT

K8 Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

โดยความสำคัญหลักๆของ ซีพีนั้นจะเน้นไปที่ HCM ซึ่งย่อมาจาก Human Capital Management หรือการจัดการทุนมนุษย์ ความหมายก็คือ การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมุมมองใหม่ ที่มองว่า คน คือ ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยแรกของการทำธุรกิจ ดังนั้นจึงควรที่จะพัฒนาและบริหารคนโดยให้ความสำคัญว่า คนคือ Capital หรือสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสูงขององค์กร ไม่ใช่มองแค่เป็น Cost หรือต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระ (Liability) ส่วนวิธีการก็ขึ้นกับแต่ละองค์กรว่าจะทำให้เป็นรูปธรรมอย่างไร ที่จะทำให้พัฒนาได้ตามแนวทางข้างต้น โดยนำมาปรับวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้กันอยู่ เช่น การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพให้พนักงาน การจัดสวัสดิการ การบริหารและพัฒนาคนเก่ง (Talent) เป็นต้น

การบริหาร “คน” ในองค์กรต่างๆ มักจะมอบภารหน้าที่นี้ให้กับคนสองกลุ่มคือ ผู้บริหาร ระดับสูงกับ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่ดิฉันมีความเชื่อว่าถ้าโครงสร้างการบริหารคนในองค์กรยังเป็นแบบนี้อยู่ โอกาสการสร้างศักยภาพของคนเพื่อการแข่งขันคงจะไปได้ไม่ไกลมากนัก เพราะอะไร เพราะไม่แตกต่างอะไรกับช้างที่ขาขาดไปข้างหนึ่ง ถึงแม้จะเดินได้ แต่ก็คงไม่สะดวกนัก และขาที่เหลือก็ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป ทุกองค์กรต่างมุ่งหวังให้บุคลากรของตนมีศักยภาพที่สูงขึ้นพร้อมๆกับเป้าหมายที่ยากขึ้น แต่มีสักกี่องค์กรที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนอย่างจริงจังอย่างเป็นรูปธรรม เรามักจะเห็นกันอยู่เสมอว่าองค์กรต่างๆมักจะเข้าใจว่าการพัฒนาความสามารถบุคลากรคือการฝึกอบรม การฝึกอบรมคือการพัฒนาบุคลากร ถ้าใครถามว่าบริษัทของคุณให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมากน้อยเพียงใด หลายคนมักจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ บริษัทผมเน้นมากเลยในเรื่องนี้ ดูซิในแต่ละปีผมต้องเข้าอบรมเยอะมากเลย แทบจะไม่มีเวลาทำงาน อบรมมากจริงๆ” แต่สำหรับซีพีแล้วนั้นกลับมองว่า หากจะให้การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามที่คาดหวังนั้น เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาบุคลากรเสียใหม่จากการ “พัฒนาหรือฝึกอบรม” ไปสู่ “การบริหารทุนปัญญา” การบริหารทุนปัญญาหมายถึงการมองคนเป็นทุนหรือสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง แต่ทุนประเภทนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตัวมันเองได้ เป็นทุนที่มองไม่เห็น แต่สามารถวัดได้จากระดับความสามารถที่แสดงออกและผลงานที่เกิดขึ้น

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมาเป็นตัวกำหนดวิสัยทัศน์ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งวิสัยทัศน์ ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์นี้จะเปรียบเสมือนแนวทางและทิศทาง ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในอนาคตระยะยาว เช่น

“มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง เพื่อให้พนักงานเป็นคนเก่งคิด เก่งทำ เน้นการทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ มีการเรียนรู้ตลอดเวลา”

“พัฒนาพนักงานให้เป็นคนเก่งคิด เก่งทำ และต้องหาทางจูงใจให้พนักงานเหล่านี้ อยากอยู่ อยากคิด อยากทำ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร"

นางสาวอภิชนา สิงสันจิตร (ศูนย์ภูเก็ต)

นางสาวอภิชนา สิงสันจิตร รหัสนักศึกษา 53484931025

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

เทคนิคการ “เขย่าขวดยา” เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับองค์กรยุคใหม่

เขียนโดย..ณรงค์วิทย์ แสนทอง (วิทยากร ที่ปรึกษา และนักเขียนอิสระ)

หลายครั้งที่เราซื้อยาชนิดน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำและตัวยามาเก็บไว้ เมื่อเราเก็บไว้สักระยะหนึ่งปรากฏว่าจะมีการตกตะกอนซึ่งถ้าตะกอนยังไม่แข็งตัวมาก เราสามารถจะเขย่าให้ตะกอนนั้นหายไปได้ แต่ถ้าเก็บไว้นานเกินไปตะกอนดังกล่าวจะค่อยๆจับตัวกันจนกลายเป็นก้อนแข็ง จนบางครั้งไม่สามารถเขย่าให้ตะกอนนั้นออกมาทำละลายกับส่วนผสมที่เป็นน้ำได้ ปัญหาที่ติดตามมา คือ คุณภาพของยาอาจจะด้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น

องค์กรเองก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากยาชนิดน้ำ ถ้าเราปล่อยให้องค์กรอยู่นิ่งๆนานๆ เมื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างหนึ่งจะทำได้ยากมาก เพราะคนในองค์กรไม่เคยชินกับการเปลี่ยน แปลง เหมือนกับคนบางคนที่ไม่เคยถูกโยกย้ายงานเลยในรอบระยะเวลาสิบกว่าปีที่ทำงานมา พอถูกย้ายตำแหน่งหน้าที่ขึ้นมาก็รับไม่ได้ รู้สึกอึดอัดใจในการปรับตัวเข้ากับงานใหม่และเพื่อนร่วมงานใหม่ บางคนไม่เคยย้ายบ้านจะรู้สึกไม่ค่อยคุ้นเคยกับการย้ายบ้านใหม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ลำบากไม่เหมือนคนที่เปลี่ยนงานมาบ่อยไม่เหมือนคนที่ย้ายที่อยู่ตลอดเวลา คนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เพราะเขาเคยมีประสบการณ์มาแล้ว

ในเมื่อองค์กรเปรียบเสมือนขวดยาชนิดน้ำแล้ว เราจะมีวิธีการเขย่าขวดยาองค์กรนี้ได้อย่างไร?

คุณณรงค์วิทย์ แสนทอง จึงเสนอแนะวิธีการในการเขย่าขวดยาองค์กรดังนี้

1. จัดทำแผนกลยุทธ์ในการเขย่าขวดยา

2. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการตกตะกอน

3. ควรเขย่าขวดยาน้อยๆแต่บ่อยครั้ง

4. สังเกตการจับตัวของตะกอน

การจัดทำแผนกลยุทธ์ในการเขย่าขวดยา หมายถึง การจัดทำแผนงานเพื่อการเปลี่ยน แปลงขององค์กรในระยะยาว โดยวิเคราะห์จากแผนกลยุทธ์ของธุรกิจว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เช่น องค์กรของเราอาจจะขยายธุรกิจออกไปสู่ต่างประเทศ เราก็คงจะทราบแล้วว่าในอนาคตคนของเราจะต้องสามารถหิ้วกระเป๋าใบเดียวเดินทางไปทำธุรกิจยังต่างประเทศได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องวิเคราะห์จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะเข้ามากระทบต่อองค์กรของเรา เช่น ระบบมาตรฐานสากลต่างๆ อีกหลายตัวที่จะเข้ามากระทบกับองค์กรของเรา คนของเราจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการทำงานที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

เมื่อเราวิเคราะห์ทิศทางการดำเนินธุรกิจและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ให้นำมากำหนดเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งแผนระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว ว่าในแต่ละช่วงเวลาเราจะมีการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง บางอย่างอาจจะเป็นแผนเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น บางอย่างอาจจะเป็นแผนซ้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้คนเกิดความเคยชินกับการเปลี่ยนแปลง บางอย่างอาจจะเป็นแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ

เมื่อเรามีแผนกลยุทธ์ในการเขย่าขวดยาแล้ว ควรจะมีการแปลงแผนกลยุทธ์ออกมาสู่แผนงาน โครงการและกิจกรรมที่จะนำไปปฏิบัติจริงๆ คุณณรงค์วิทย์ แสนทองจึงแนะนำว่าองค์กรควรจะมีการวางแผนไว้เลยว่า ในแต่ละช่วงเวลาจะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะนำมาสร้างบรรยากาศภายในองค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เหมือนกันการที่เรากำหนดว่าทุกวันจันทร์เราจะต้องเขย่าขวดยาหนึ่งครั้ง แต่ถ้าเป็นในองค์กรเราอาจจะกำหนดว่าทุกไตรมาส เราจะต้องมีกิจกรรมสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาอย่างน้อยหนึ่งกิจกรรม ลองสังเกตดูนะครับว่าทุกครั้งที่เรามีกิจกรรมเกิดขึ้นในองค์กรจะช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานให้กับพนักงานได้มากทีเดียว เช่น ในช่วงเวลาที่เรามีการประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ พนักงานทั้งบริษัทจะพูดคุยกันถึงเรื่องนี้ สีหน้าแววตาของพนักงานสดใสมีชีวิตชีวามากขึ้นแน่นอนว่าถ้าตอนทานข้าวกลางวันเขามีความสุขกับการพูดถึงกิจกรรมร้องเพลงนี้กับเพื่อนๆ พอถึงเวลาทำงาน อารมณ์แห่งความสุขนั้นติดตัวเขาเข้าไปในที่ทำงานด้วย

การจัดกิจกรรมเพื่อฝึกซ้อมให้เคยชินกับการเปลี่ยนแปลงควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพราะจะสามารถสอดแทรกการเปลี่ยนแปลงเข้าไปได้ทีละเล็กทีละน้อย อย่าปล่อยให้องค์กรว่างจากกิจกรรมใดๆเป็นเวลานาน และกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่จัดทุกปีแต่เหมือนเดิมทุกปีอีกเช่นกัน อย่างนี้ถือเป็นกิจกรรมธรรมดา ไม่ใช่กิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราทราบว่าวัฒนธรรมองค์กรของเราตกตะกอนหรือไม่นั้น ให้สังเกตดูว่าการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งมีใครหรือคนกลุ่มใดบ้างที่ไม่ค่อยเห็นด้วย หรือไม่ค่อยเข้าร่วม ให้ลองสังเกตสักครั้ง สองครั้ง เราจะพบว่าคนที่ต่อการการเปลี่ยนแปลงทั้งที่แสดงออกชัดเจนและไม่แสดงออกจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ เหมือนกับที่เราเห็นตะกอนที่นอนอยู่ก้นขวดยา ถ้าตะกอนก้อนไหนแข็งตัวแล้ว เขย่ากี่ครั้งๆก็ยังเป็นก้อนเดิมๆอยู่ เราควรจะดำเนินการกับคนที่เป็นตะกอนขององค์กรได้หลายวิธี เช่น หาของแข็งๆไปขยี้ให้ตะกอนแตกออกเป็นผงแล้วค่อยเขย่าใหม่ หรือถ้าแข็งเกินกว่าที่จะขยี้ให้แตกออกมาได้ ก็ใช้วิธีการเขี่ยออกจากขวด เพราะมิฉะนั้น ตะกอนก้อนนั้นจะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดตะกอนที่โตขึ้น ซึ่งจะเขย่าลำบากมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับคนที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง อย่าปล่อยเอาไว้นานควรดำเนินการด้วยวิธีการเชิงบวกก่อน แต่ถ้าไม่ได้ผลค่อยนำมาตรฐานที่เด็ดขาดเข้ามาจัดการ เพราะมิฉะนั้นนอกจากเขาจะเป็นตัวถ่วงขององค์กรแล้ว เขาอาจจะเชื้อโรคที่จะชักชวนให้คนอื่นๆต่อต้านการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

เทคนิคการเขย่าขวดยาขององค์กรถือเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับการบริหารองค์กรภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้เราไม่ต้องการเปลี่ยน แต่สภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่แข่ง เทคโนโลยี สภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทุกองค์กรจะต้องนำเอาเรื่องการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงเข้ามาเป็นวาระแห่งชาติมากขึ้น จะปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาตินั้นคงจะไม่ได้อีกต่อไป องค์กรจะต้องมีแผนในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เราสามารถกำหนดได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ รูปแบบการเกิดเป็นอย่างไร ส่วนเทคนิควิธีการนั้นคุณณรงค์วิทย์ แสนทอง คิดว่าแต่ละองค์กรคงจะมีแนวทางที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กรอยู่แล้ว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในแต่ละปีนอกจากองค์กรจะให้ความสำคัญกับเรื่องเป้าหมายการดำเนินงาน การจัดทำงบประมาณประจำปีหรือเรื่องอื่นๆแล้ว หนึ่งในนั้นน่าจะมีเรื่องของการวางแผนกลยุทธ์เพื่อการ “เขย่าขวดยา” อยู่ในวาระการประชุมผู้บริหารระดับสูงขององค์กรด้วย

ซึ่งหลังจากได้อ่านบทความของคุณณรงค์วิทย์ แสนทอง แล้วนำมาวิเคราะห์จะเห็นว่ามีความเกี่ยวข้อง สอดคล้องกับแนวคิดของท่านอาจารย์ ดร.จีระ ในเรื่องของทฤษฎี 8K’S ที่ว่าด้วยเรื่องของทุน 8 ประการ ดังนี้

1. Human Capital ทุนมนุษย์

2. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

3. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

4. Happiness Capital ทุนทางความสุข

5. Social Capital ทุนทางสังคม

6. Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

7. Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT

8. Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ในบทความของคุณณรงค์วิทย์ แสนทอง นี้จะเห็นว่ามีเรื่องของทุนทั้ง 8 ประการเข้ามาเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงระหว่างกันอย่างเห็นได้อย่าง ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็นและการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลมีข้อมูลต่างๆมากมาย แต่หากบุคคลในองค์กรนั้นมีทุนทางปัญญา เขาจะสามารถนำไปสร้างเป็นข่าวสาร พัฒนาเป็นความรู้และนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง นั่นคือ สามารถนำไปวางแผนประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ คิดค้นนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง องค์กร ประเทศชาติและมนุษยชาติ แต่ก่อนที่จะบุคคลในองค์กรนี้จะมีทุนทางปัญญาได้ จะต้องมีทุนอื่นประกอบกันไปด้วย ซึ่งอันดับแรกก็คือ

ทุนมนุษย์ (Human Capital) อันเป็นความรู้พื้นฐานที่ได้จากการศึกษา เรียนรู้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อที่จะได้รู้ว่าสิ่งที่กำลังคิดวิเคราะห์นั้นคืออะไร

ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) คือ การรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน เป็นการนำเอาทุนทางปัญญาไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ ไม่สร้างภาระและปัญหาให้กับสังคม

ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือ การใช้ทุนทางปัญญาทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดความสุขแก่ตัวบุคคลและผู้อื่น รวมทั้งทำการต่างๆด้วยความสุข ไม่ก่อความทุกข์ให้กับตนเองและผู้อื่น

ทุนทางสังคม (Social Capital) คือ ทุนทางปัญญาจะเกิดไม่ได้หากมัวแต่หลงตนเองว่าตนนั้นเก่งกล้าสามารถ หรือคิดว่าตัวเองนั้นแน่ที่สุด ไม่มีใครเก่งเกิน ซึ่งความคิดนั้นจะปิดกั้นมิให้เกิดทุนทางปัญญาที่กว้างขวาง หรือที่เรียกว่า ตกหลุมพรางทางความคิด

ดังนั้น สิ่งที่จะก่อให้เกิดทุนทางปัญญาที่สามารถหาทางออก หรือหนทางแก้ไขปัญหาได้จะต้องรู้จักการติดต่อสื่อสารกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพ ในทุกสังคม รู้จักการศึกษาแบบข้ามศาสตร์ สามารถศึกษาเรียนรู้จากทุกศาสตร์ ทุกสาขา ทุกผู้คนในสังคม

ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) คือ การมีทุนทางปัญญาอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความผันผวนและความแปรเปลี่ยนในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่จะทำให้ทุนทางปัญญามีความยั่งยืนได้ บุคคลต้องมีทุนแห่งความยั่งยืน ต้องรู้จักการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต้องเรียนรู้ตลอดชีพ ต้องไม่หยุดยั้งที่จะเรียนรู้

ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งที่ต้องเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากโลกยุคโลกาภิวัฒน์คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และเกิดประโยชน์อย่างจริงจัง การติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันมีความรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งการที่จะเกิดทุนทางปัญญาที่มีความเฉียบคมได้จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รู้จักว่าสิ่งใดในโลกไซเบอร์แห่งนี้คือประโยชน์ สิ่งใดคือขยะ ที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ (Talented Capital) คือ การจะใช้ทุนทางปัญญาในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้อง จะต้องมีทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ สิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติ บุคคลจะต้องมีทัศนคติในทางที่ดี รู้จักคิดในทางบวก (Positive Thinking) มีความรู้ และทักษะที่ชำนาญและเชี่ยวชาญ

สุธาสินี นิรัตติมานนท์ (ศูนย์ภูเก็ต)

ภาพสรุปบทความ

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์  รหัสนักศึกษา 53484941001
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต
ข้อที่ 2 การบ้านสรุปบทความภาษาอังกฤษ ^___^

คำตอบข้อ 1 Engagement Leader คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003 จากเนื้อหาบทความเรื่อง Managing yourself “ HOW TO CULTIVATE ENGAGED EMPLOYEES”ที่เขียนโดย Charalambos A.Vlachoutscos จะเห็นถึงความมุ่งมั่นของการเป็นผู้นำ เพราะความสำเร็จของผู้จัดการหรือผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้นำจะต้องมีวิธีการดึงความสามารถของพนักงานแต่ละคนออกมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยควรจะต้องยุติการบริหารแบบ Top-Down แบบที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีหายแห่งที่ใช้ระบบการทำงานแบบนายสั่งอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในฐานะผู้นำจะต้องรู้จักคัดเลือกผลงาน และเลื่อนขั้นลูกจ้างในท้องถิ่นนั้นๆ เพราะงานของเจ้านาย คือ การทำให้ทุกคนมั่นใจและเกิดความรู้สึกพึ่งพากัน หรือที่เรียกว่า การร่วมแรงร่วมใจหรือความสามัคคี ความรู้ในบทความที่ Charalambos A.Vlachoutscos ผู้เขียนไว้ 6 หัวข้อหลักๆ ได้แก่ 1. จงอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ (Be Modest) กรณีศึกษาของบริษัทบรรจุปลากระป๋อง ที่ผู้บริหารแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทุกเรื่องในธุรกิจประเภทนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงมากเพียงใดก็ตาม แต่ในภาวะการเป็นผู้นำนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงบทบาทในฐานะผู้ให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้ ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ความรู้อย่างแท้จริงมากกว่า 2. ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา (Listen Seriously and Show it ) ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจในการฟังอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะในที่ประชุม ทั้งนี้ในการฟังนั้นหากมีการจดบันทึกไว้ ก็จะต้องนำเสนอภายใหลังอย่างเป็นระเบียบ และระบบ 3. ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา( Invite Disagreement) นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้นำ เมื่อต้องการให้วัฒนธรรมองค์กรเปิดกว้าง ผู้ใต้บังคับบัญชากล้าแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนปัญหา แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับผู้นำ ในการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะมีลูกทีมไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตามการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย แล้วนำมาปรับ โดยเริ่มจากตัวเอง พร้อมพูดคุยกับเพื่อให้ได้คำแนะนำจากลูกทีม ซึ่งในเวลาต่อผู้นำจะได้รับความร่วมมือขากผู้ใต้บัญคับบัญชามากขึ้น 4. จัดระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง( Focus the Agenda ) หลายครั้งในการประชุมไม่ว่าจะเป็นวงใดก็ตาม มักจะมีเรื่องเกี่ยวกับไม่ได้มีการเตรียมการประชุม จึงส่งผลที่ทำให้การประชุมล้มเหลว เพราะลืม หรือข้ามประเด็นไป ส่งผลให้การประชุมไม่สมบูรณ์ตามเป้าหมายในแต่ละครั้ง และที่สำคัญทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าระหว่างการประชุมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เสียเวลาต่อเรื่องอื่นๆที่จะต้องทำต่อไป ดังนั้นการจัดระเบียบวาระ นับเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การประชุมเป็นไปตามเป้า ไม่หลุดประเด็น และอยู่ในเวลา 5. อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่าง( Don’t Try to Have All the Answers) ผู้บริหารไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง กษะของผู้บริหารนั้นมีความคัญมาก เพียงกระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาจะดีกว่า และสิ่งที่ต้องยอมรับคือ เราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม 6. อย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง( Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ควรจะร่วมกันหาแนวทางได้อย่างชัดเจน ระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ก่อนจะที่จะได้ข้อสรุป ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายไม่สูญเสียความตั้งใจ อย่างไรก็ตามผู้นำ ในกระบวนคิดของ ดร.จีระฯ มีรูปแบบหลายๆ อย่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียว โดยสามารถศึกษาดูได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป และ ภาวะผู้นำ จำเป็นทุกๆ ระดับ ไม่ใช่เน้นเฉพาะหัวหน้าเท่านั้น ลูกน้องก็จะต้องถูกสร้างให้มีภาวะผู้นำ ทั้งนี้ภาวะผู้นำจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของทุนมนุษย์ 8 K และ 5 K ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติจะต้องมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วยReality มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น ทุนทางจริยธรรม ด้วยหลักการง่ายๆ คนที่เป็นผู้นำจะต้องเป็นคนดี มีใจเป็นธรรม มีความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดลงไปยังลูกน้อง ทุนนวัตกรรม มุ่งเน้นให้เกิดการคิดนอกกรอบ มุ่งหาความรู้ รูปแบบความรู้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ใช่ที่ที่คุ้นเคย ที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง... ต่อเนื่อง... และต่อเนื่อง... ความเหมือนและความแตกต่างกันในเรื่องการเป็นผู้นำระหว่าง Charalambos A.Vlachoutscos และดร.จีระฯ อยู่ที่จุดเน้นของแนวคิด(ชื่อหัวข้อแตกต่าง)แต่ผลปฎิบัติคล้ายกันเนื่องจากทั้ง 2 ท่านมีประสบการณ์การทำงานมานานเช่นกันซึ่งสามารถยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปได้ดังนี้: ทุนทางปัญญา( Intellectual Capital) ของ ดร.จิระฯ หมายถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็น และนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่มาของข้อมูล ดร.จีระฯมักจะพูดเสมอว่า ข้อมูลจะต้องเพิ่มมูลค่าเป็นข่าวสาร จากนั้นเป็นความรู้ และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม คือนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา การค้นคิดสิ่งแปลกใหม่ซึ่งรวมการรับฟังความคิดเห็นด้วย ฯลฯ ในขณะที่ Charalambos เห็นว่า ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา คือการฟังความคิดเห็นจากลูกน้องจะได้ข้อมูลใหม่ใหม่ๆ ไม่ใช่การสั่งจากผู้นำเพียงอย่างเดียว ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา นั่นถือเป็นการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นแล้วนำมาวิเคราะห์ เป็นหลักการประชาธิปไตย ส่วนเน้นระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง ถือเป็นการเตรียมการในการวางแผนที่จะพูด คือต้องมีประเด็น มีวาระ ทั้งนี้อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่างเพราะผุ้คัดค้านอาจจะมีข้อมูลที่ดี หรือมีข้อยุติใหม่ๆ คล้ายกับผู้นำอย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง เพราะต้องรับฟัง และวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ทุนทางจริยธรรมและทุนทางสังคม( Ethical and Social Capital) ดร.จิระฯให้ความเห็นในการทำงานของผู้นำที่มีคุณภาพคงไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะและปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม จะต้องมองผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และต้องทำไม่ให้เกิดขึ้น หรือน้อยที่สุดโดยไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ในการกระทำของผู้นำเกี่ยวเนื่องกับงานใหม่ หรือโครงการอะไรก็ตาม การเข้าไปขอคำปรึกษาจากหลายๆส่วนรอบด้านจะช่วยให้กระบวนการทำงานไม่ยากเกินไปนัก รวมทั้งการสร้างNetworking ซึ่ง Charalambos เห็นว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ จัดเป็น Engagement Leader ละเลยไม่ได้เช่นกัน ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital) เรื่องนี้ Charalambos ไม่มี ดร.จิระฯ ให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างน่าประทับใจและเป็นจริง “ ….การทำงานนั้นผมให้ความสำคัญที่ความสุข เมื่อมีความสุขงานที่ออกมาก็จะได้ประสิทธิภาพที่ดี” โดยเฉพาะ Modelของดร.จิระฯ“กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข” 11 ประการ(ดูแลสุขภาพทั้งใจกาย ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน มีความสามารถที่ที่จะทำให้งานสำเร็จ เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานเป็นทีม ทำหน้าที่เป็นโคชให้กับทีมงานและลูกทีม ทำงานที่ท้าทาย ทำงานที่มีคุณค่า)ซึ่งตรงกับดิฉันที่ใช้แนวคิดนี้ปฎิบัติตั้งแต่ปฎิบัติงานที่หน่วยงานที่ชื่อว่า"กรุงเทพมหานคร"มาเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว แต่การมุ่งมั่นในการสร้างทุนแห่งความสุขในการทำงานทุกตำแหน่งหน้าที่มากเกินไปจนลืมให้เวลาความสุขที่บ้านบ้างย่อมมีปัญหาบ้างเป็นธรรมดา จึงต้องยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือ “ทางสายกลาง” ซึ่งสอดคล้องกับทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainable Capital) ตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ท่านเน้น: เดินสายกลาง คิดเป็นระบบ มีภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้เมื่อเราได้เรียนรู้จากดร.จิระฯ ในเรือง 6 ปัจจัยในการสร้างทุนแห่งความยั่งยืน(Chira’ s 6 factors) ก็สามารถพัฒนาตนเอง และลูกจ้างหรือลูกน้องได้อย่างดีนั่นเอง ..................................................................................

คำตอบข้อ 2

การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003

หนังสือเรื่อง...นักบุกเบิกรุ่นใหม่

แปล... นันทิยา เล็กสมบูรณ์

จากเรื่อง.... The New Pioneers

Copyright 2010 John Wiley & Sons

พิมพ์ครั้งที่ 1... โพสต์บุ๊กส์, มิถุนายน 2554

จำนวน 399 หน้า

คำนำสำนักพิมพ์ของหนังสือเล่มนี้กล่าวไว้ว่า “นักบุกเบิก หมายถึง บุคคลผู้แรกที่ทำการศึกษา และพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ เช่น ความรู้ วัฒนธรรม หรือบุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มแรกๆ ที่เข้าไปในพื้นที่ หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อตั้งรกรากหรือประกอบการงาน” (พจนานุกรมออกซฟอร์ด ฉบับแอดวานซ์ เลิร์นเนอร์)

คนเหล่านี้ ทั้งที่เป็นคนธรรมดาไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร หรือเป็นลูกจ้างในระดับผู้นำองค์กร กลายเป็นนักบุกเบิกรุ่นใหม่ ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คำว่า “การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21” เพราะการเป็นหุ้นส่วนคือการเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน แต่สำหรับหุ้นส่วนสังคม ทุกคน “มีส่วนร่วม” ที่จะแสดงความรับผิดชอบสังคม ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ที่เกิดจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวเดิมๆอยู่ก็ตาม

เป็นที่แน่ชัดว่า การเกิดกระบวนทัศน์ใหม่ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ ย่อมมีแนวคิดอย่างหนึ่งที่ตรงกับแนวคิดทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s(ใหม่) ของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ว่า ทุนแต่ละชนิดจะต้องมีการเสียโอกาสวันนี้ เพื่อที่จะได้มาในวันหน้า

เช่นเดียวกัน “การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21” จากกระบวนทัศน์เก่า สู่กระบวนทัศน์ใหม่ย่อมต้องเสียโอกาสวันนี้ เพื่อที่จะได้มาในวันหน้าเช่นกัน โดยทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s(ใหม่) สามารถที่เกี่ยวเนื่องในการเปลี่ยนแปลงแต่ละหัวข้อที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้

การเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ที่ได้อธิบายในหนังสือเล่มนี้

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

โลกธุรกิจที่ไร้ระเบียบ -ความรับผิดชอบขององค์กรคือภาระ

-ความละโมบ

-either/or -ความรับผิดชอบขององค์กรคือธุรกิจ

-ความสนใจส่วนตัวที่สว่างวาบขึ้นมา

-both/and

ระบบทุนนิยมก่อให้เกิดกฎเหล็กทางเศรษฐศาสตร์ “การสร้างกำไรสูงสุด”จึงตามมาด้วยความละโมบของการทำธุรกิจทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเอาเปรียบแรงงาน รวมถึงการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมให้อ่อนแอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในอดีต ได้สร้างกายขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีการจ้างแรงงาน ส่งผลให้ทุกอย่างพัฒนาขึ้นท่ามกลางซากปรักหักพังหลายเรื่อง แต่ปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่ “ใบอนุญาตสำหรับการดำเนินงานอีกต่อไป เพราะธุรกิจวันนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการตอบสนองความคาดหวังของชุมชน ท้องถิ่นในภาพรวม ทั้งในเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งการพัฒนาการศึกษา และทักษะในชุมชน...เพราะฉะนั้นการทำธุรกิจแบบเดิมๆนั้น ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป...

• Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้ลึก รู้จริง นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ทางสายโลกาภิวัฒน์ -ธุรกิจข้ามชาติ

-โลกตะวันตก/ระดับชาติ/ท้องถิ่น

-ทรัพยากรธรรมชาติ

-ความรู้ทั่วไป

-สังคมอุตสาหกรรม

-การเติบโตแบบไร้ขีดจำกัด -ธุรกิจที่ควบรวมโลก

-Global/glocal

-ทรัพยากรมนุษย์

-การประยุกต์ใช้ความรู้ในวิถีใหม่ๆ

-สังคมความรู้และนวัตกรรม

-การเติบโตอย่างยั่งยืน

การแข่งขันของประเทศต่างๆ ทำให้แนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนธุรกิจทั้งในเชิงโครงสร้าง การดำเนินงานและวัฒนธรรมองค์กร และในอนาคตธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม จะถูกนิยามโดยสัญชาติน้อยลง แต่โลกทั้งโลกจะกลายเป็นบ้านของธุรกิจเอง โดยการสร้างการเติบโตซึ่งเป็นเสาหลักของทุกประเทศจะต้องอยู่ที่ยุทธศาสตร์ การพัฒนาและใช้ทรัพยากร หมายถึงทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีและทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ตามบริบทด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ “เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลดทอนความสามารถของคนรุ่นหลังในการตอบสนองความต้องการของตนเอง...Brundtlannd Conmmission 1987”

• Human Capital ทุนมนุษย์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

โลกห้าใบที่เราต้องการ -ระบบอุตสาหกรรม

-กระบวนการแบบเส้นตรง

-Cradle to Grave(จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน)

-ประสิทธิภาพทางนิเวศ

-เศรษฐกิจคาร์บอนสูง

-ควบคุมธรรมชาติ -ระบบนิเวศทางอุตสาหกรรม

-กระบวนการแบบวงกลข

-Cradle to Cradle (จากครรภ์มารดาสู่เชิงครรภ์มารดา)

-ประสิทธิผลทางนิเวศ

-เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

-เรียนรู้จากธรรมชาติ

การขาดสมดุลทางสิ่งแวดล้อม ภาวะขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม หรือขนาดแคลนอาหาร สภาวะโลกร้อน ที่กำลังประสบภัยกันอย่างถ้วนหน้าทั่วทั้งโลกขณะนี้ เป็นผลกระทบจากระบบอุตสาหกรรมหลายๆ อย่างได้ถูกส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา จนกระทั่งกลายเป็นข้อ

เรียกร้องต่อการเคลื่อนไหวของธุรกิจ ส่งผลให้ผู้นำในเชิงรุกทั่วโลกกำลังเปลี่ยนความจำเป็นในเรื่องสิ่งแวดล้อมไปเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ แทนที่จะคิดว่ามันคือภาระ ถือเป็นทางใหม่ที่สร้างสรรค์ทางหนึ่งในการหลีกเลี่ยงการล้มละลายทางชีววิทยา และนำไปสู่

ธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต

• Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ความสามารถพิเศษ

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ความมั่งคั่งและความไม่เท่าเทียมที่มากขึ้น -ความช่วยเหลือของสาธารณะ / การกุศล

-คนยากจน

-ตลาดสินค้าพรีเมี่ยม

-การเติบโตของตลาด

-ขยายการกระจายสินค้า -ความช่วยเหลือในการค้า / กิจการส่วนตัว

-ผู้ประกอบการ / ลูกค้า /หุ้นส่วน

-ตลาดฐานล่างพีระมิด

-การเติบโตแบบครอบคลุม

-สร้างการมีส่วนเกี่ยวข้องที่แบ่งปันร่วมกัน

การขาดสมดุลทางเศรษฐกิจ เมื่อความยากจนเป็นมากกว่ากระเป๋าสตางค์ที่ว่างเปล่า เพราะความยากจนนำไปสู่ทุกปัญหาของสังคม แม้กระทั่งการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นปัญหาของคนพันๆล้านที่ฐานล่าง หรือ Bottom of Pyramid คนจำมากที่สร้างสรรค์แนวทางการช่วยเหลือเพื่อให้คนยากจนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยมาจากการทำงานในชุมชน หรือกู้ยืมเงินจากธนาคารที่มีดอกเบี้ยน้อยนำไปค้าขาย เลี้ยงชีพ ส่งเงินคืนตามสัญญา ส่วนบริษัทขนาดใหญ่เองก็ตั้งหน่วยงานหนึ่งเพื่อมาแก้ไขปัญหาคนยากจน ทั้งสองรูปแบบเปลี่ยนแปลงให้คนยากจนกลายเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมของตนเองเช่นกัน

• Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ฆาตกรเงียบ -การเติบโตทางวัตถุ

-ความมั่งคั่งและการทำให้ดี

-บรรลุเป้าหมายมากขึ้นด้วยการทำงานหนัก -การเติบโตที่ไม่ใช่วัตถุ

-สุขภาพและความอยู่ดีมีสุข

-บรรลุเป้าหมายมากขึ้นด้วยการทำงานน้อยลง

ภาวะไร้สมดุลทางสังคม เกิดจากหลายโรคร้ายที่มีเหตุมาจากความเครียดในรูปแบบต่างๆ มาจาก

บุหรี่ ฯลฯ ภัยเงียบเหล่านี้ส่วนใหญ่มักมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่งคั่งของคน แต่ก็ต้องมีการจ่ายในการดูแลรักษาโรคกับภัยเหล่านี้ การแก้ปัญหาคือการเพิ่มมาตรวัดเชิงคุณภาพรวมถึงสุขภาพ ความอยู่ดีมีสุข และคุณค่าที่ไม่ใช่วัตถุอื่นๆ ซึ่งเราจำเป็นต้องสร้างเศรษฐกิจแห่งอนาคตจากความจำเป็นที่แท้จริง ไม่ใช่จากความปรารถนา

• Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้ลึก รู้จริง นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

เจเนอเรชั่น MeWe -ทำงานเพื่อความอยู่รอด /

ความมั่งคั่ง

-ใช้เหตุผล อารมณ์

-การจัดการทรัพยากรบุคคล

-เป้าหมายในชีวิตคือ ความสำเร็จในเชิงวัตถุ -ทำงานเพื่อความตระหนักในตัวเอง / ความอยู่ดีมีสุข

-ใช้เหตุผล อารมณ์ จิตวิญญาณ

-การจัดการเป้าหมายส่วนบุคคล

-เป้าหมายในชีวิตคือสมดุล ระหว่างภายใน / ภายนอก

ตลาดแรงงานแห่งจิตสำนึก พนักงานเจนเนอร์เรชั่น MeWe กำลังสร่างความกดดันต่อองค์กรธุรกิจในการค้นหาส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างแรงจูงใจและการเงินเพื่อเติมเต็มให้ตนเอง พนักงานที่ยึดมั่นและผูกพันกับองค์กรคือหัวใจในการสร้างประสิทธิภาพ และนวัตกรรม องค์กรจะต้องนำเรื่องจริยธรรมและชื่อเสียง ความยั่งขยืนมาเป็นแรงดึงดูดแรงงานในการสร้างชีวิตการทำงานให้ดี มีเป้าหมายร่วมกันมากกำไร แต่เป็นเรื่องการแบ่งปันคุณค่าเป็นหัวใจสำคัญ ซีอีโอจะต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้

• Human Capital ทุนมนุษย์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

สมองของโลก -ชุมชนทางภูมิศาสตร์

-องค์กร

-การปกป้องสิทธิ

-ข้อมูล

-พลังของคนไม่กี่คน -ชุมชนออนไลน์

-เครือข่าย

-การแบ่งปันความรู้

-ปฏิสัมพันธ์

-พลังจากคนจำนวนมาก

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนและความร่วมมือขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเคยเห็น เริ่มจากกลุ่มเล็กๆที่ปฏิบัติการในโลกออนไลน์ โอเพ่นซอร์ส เพื่อเป็นการช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งในเวลาต่อมาสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงเรื่องว่าจะเปลี่ยนโลกอย่างไร แต่มันคือการเปลี่ยนวิถีทางการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยซ้ำ

• Digital Capital ทุนทาง ITต้องใช้อินเตอร์เนตให้เป็น

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

นักแก้ปัญหารวมหมู่ -กลุ่มของผู้เกี่ยวข้อง

-การแก้ปัญหาแบบรวมศูนย์

-การบริโภคแบบมวลรวม

-การวิจัยและพัฒนาแบบปิด -เครือข่ายสังคม

-การแก้ปัญหาแบบรวมหมู่

-การมีส่วนร่วมแบบมวลรวม

-การสร้างสรรค์ร่วมแบบเปิด

ตลาดปัญญารวมหมู่ การพยายามใช้ตลาดคาดการณ์ ช่วยให้เราเข้าใจวิถีใหม่ๆที่ดีกว่าในการจัดระบบธุรกิจ พัฒนาวิทยาศาสตร์ บริหารบ้านเมือง และอาจจะช่วยให้เราแก้ปัญหาที่เรากำลังเผชิญในฐานะสังคม และในฐานะโลก ผ่านการแบ่งปันหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการ

หลอมรวมของโลกออนไลน์ และออฟไลน์

• Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

นายหน้าแห่งพลังสาธารณะ -กฎระเบียบ

-พลังขององค์กรสาธารระ

-สื่อกระแสหลัก

-นักกิจกรรมสังคมบนถนน

-ฝ่ายตรงข้าม -กิจกรรมสังคมทั่วโลก

-พลังของรากหญ้า

-สื่อพลเมือง

-นักกิจกรรมสังคมออนไลน์

-หุ้นส่วนพันธมิตร

ธุรกิจคือหนึ่งในสถาบันที่ทรงอิทธิพลที่สุดในศตวรรษนี้ แต่ก็มีอำนาจทรงพลังอย่างหนึ่งที่ปรากฏในฉากโลกาภิวัตน์ และสร้างความกดดันให้แก่รัฐบาลและโลกธุรกิจเท่าๆกันคือ “นักกิจกรรมสังคม” หรือบางครั้งจะเรียกว่าเอ็นจีโอ ซึ่งมีทั้งที่เป็นอิสระ และเป็นนักกิจกรรมในองค์กร ซึ่งในปัจจุบันสามารถเข้าถึงการต่อสู้ใหม่ๆ มีเงินทุนจากผู้ร่วมบริจาคจำนวนมหาศาลผ่านช่องทางออนไลน์ แต่การเผชิญหน้าระหว่างนายหน้าแห่งพลังสาธารณะกับองค์กรธุรกิจนั้น ไม่จำเป็นต้องจบลงบนความขัดแย้ง ตรงกันข้าม อาจจะเป็นการพัฒนาให้เกิดพื้นฐานใหม่สำหรับการดำเนินธุรกิจ หรือแม้แต่รูปแบบใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

องค์กรธุรกิจควรเชิญนายหน้าเล่านี้มาร่วมมือเป็นที่ปรึกษา และเป็น “ผู้ตรวจสอบธุรกิจ” จะเป็นทางออกที่ดี มิฉะนั้นจะกลายเป็นผู้คุกคามทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดคือ ตราสินค้าหรือ Brand นั่นเอง

• Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ผู้บริโภคที่มีจิตสำนึก -การคว่ำบาตร (Boycotts)

-ผลิตภัณฑ์ที่อยู่บนราคา / คุณภาพ

-การบริโภคแบบฟุ่มเฟือย

-แบรนด์ที่มีขนาดใหญ่ -การสนับสนุนด้วยการซื้อ (Buycotts)

-ผลิตภัณฑ์ที่อยู่บนคุณค่า

-การบริโภคแบบยั่งยืน

-แบรนด์ที่มีจริยธรรม

ปัจจุบันมีตัวเลขต่างๆจำนวนมากที่วัดผลการซื้อสินค้าหลายประเภทพบว่า ความตระหนักใน

อำนาจซื้อของผู้บริโภคที่มีจิตสำนึกนั้น กำลังกลายเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป และมีความสำคัญต่อธุรกิจ ซึ่งจะเห็นตั้งแต่การเลือกซื้อสินค้า ใช้บริการกับแบรนด์ที่มีความเป็นธรรมกับสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ แม้กระทั่งการเลือกซื้อหลอดประหยัดพลังงาน มากกว่าแบรนด์ที่ไม่มีจริยธรรม ด้วยเหตุนี้หลายแบรนด์ต่างก็โดดเข้าร่วมสนามการการค้าอย่างมีจริยธรรมด้วยเช่นกัน

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

หน้าใหม่ของทุนนิยม -โมเดลสวัสดิการแบบสามภาคส่วน

-การกุศลและองค์กรสาธารณะ

-ผู้มีจิตเมตตา

-ความเห็นแก่ผู้อื่น

-ผู้ประกอบธุรกิจ -วิธีคิดแบบภาคส่วนที่สี่

-กิจการเพื่อสังคม

-ผู้ลงทุนในกิจการเพื่อสังคม

-โอกาสทางธุรกิจ

-ผู้ประกอบการ (ธุรกิจ) สังคม

ภาระหน้าที่ทางสังคมและเศรษฐกิจเดินไปพร้อมๆกัน โดยเชื่อมกับส่วนผสมของกลไกทางตลาด และที่ไม่ใช่การตลาด นั่นคือ องค์กรรัฐ ที่จะต้องมีประสิทธิภาพในเชิงเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาเรื่องความอยู่ดีมีสุขอย่างมีประสิทธิผล เอ็นจีโอหรือองค์กรการกุศลจะต้องมีความยั่งยืน มีประสิทธิภาพและการเงินขระที่กำลังทำความดี และองค์กรธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะที่ต้องทำกำไรตามหลักการของการเป็นองค์กรเอกชน

เช่นเดียวกัน

• Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

คุณค่าของการประกอบการสังคม -สังคมคือผู้ที่เกี่ยวข้อง

-มูลค่าและทุนทางการเงิน

-ปัญหาและการขาดแคลน

-กำไรคือเป้าหมาย

-ผลตอบแทนจากการลงทุน

-การเติบโตเชิงปริมาณ -สังคมคือผุ้รับผลประโยชน์

-คุณค่าและทุนที่หลอมรวม

-โอกาสและทรัพยากร

-กำไรคือวิธีการ

-ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน

-การเติบโตเชิงคุณภาพ

กระบวนทัศน์ทางธุรกิจใหม่ในสามมิติ คือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือเป้าหมายหลัก การแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมคือทางออก และวิธีการแบบธุรกิจคือหนทาง

• Social Capital ทุนทางสังคม

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ธุรกิจที่รับผิดชอบ2.0 -บรรทัดสุดท้าย

-การสร้างคุณค่าสำหรับผู้ถือหุ้น

-การกำกับดูแลกิจการและจัดการความเสี่ยง

-CSRส่วนเสริม

-การเปลี่ยนแปลงที่ริมขอบ

-CSR -สอง / สามบรรทัดสุดท้าย

-การสร้างคุณค่าสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง

-การพัฒนาธุรกิจ

-CSR โดยกลยุทธ์

-การเปลี่ยนแปลงที่แกนกลาง

-CSR , CSI , CSE

เมื่อโลกแคบลง และความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้นเรื่อย อีกทั้งผู้นำในเจเนอเรชั่น MeWe กำลังก้าวขึ้นมาเป็นรองประธานและซีอีโอ CSR กำลังเคลื่อนตัวจากแนวคิดแบบการกุศลสำหรับทุนิยมที่รับผิดชอบไปสู่ CSR เวอร์ชั่นใหม่ที่ถูกจัดวางอยู่ตรงใจกลางยุทธศาสตร์ของธุรกิจ และบางธุรกิจก็จัดอยู่ตรงใจกลางของธุรกิจนั้นเลย

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

พลังแห่งความดีของธุรกิจ -คู่แข่ง

-การควบรวม

-บนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบน

-ความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร -หุ้นส่วน

-การซื้อเข้า

-บนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบน

-ผู้ประกอบการสังคมภายในองค์กร

ความร่วมมือและทางที่บรรจบกัน ในแบบ “หุ้นส่วน” จะเปิดโอกาสสำหรับแต่ละฝ่ายที่จะโฟกัสในสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีที่สุด และบนสิ่งที่เป็นเป้าหมายหลัก โดยดำเนินงานในโครงสร้างที่แยกออกจากกัน ซึ่งออกแบบเพื่อการสร้าผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมที่สูงที่สุด เพื่อความรต่วมมือในการสร้างโมเดลที่มีความสมบูรณ์ที่สุด

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

จากเนื้อหาข้างต้น ทุกคนคือส่วนหนึ่งของเรื่องนี้...พลังของเรา ในฐานะปัจเจกชน (พลเมือง ผู้บริโภค พนักงาน และผู้บริหาร) เราจะต้องตระหนักรู้ถึงโอกาสที่เราสามารถทำบางสิ่งบางอย่างกับการพัฒนาในปัจจุบัน ในฐานะผู้สร้างร่วมที่กระตือรือร้นสำหรับอนาคต เราไม่สามารถรอให้ผุ้อื่นตัดสินใจแทนเราได้ เราต้องเริ่มจาก “ตัวเราเอง” โดยการตัดสินใจเลือก

อย่างมีสติทุกๆวัน และโดยการใช้ชีวิตและทำงานเพื่อคุณค่า ด้วยความเสี่ยงในการเย้ยหยัน และวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยความเสี่ยงในการทำสิ่งที่แปลกแยก และทำไม่ได้ดีร้อยเปอร์เซนต์ แต่เส้นทางสายนี้ยังคงอยู่ และแผนที่ความยั่งยืนแห่งอนาคตจะถูกกำหนดโดยเราทุกคนในฐานะ“การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21”

ในท้ายที่สุด“การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21” สอดคล้องกับทฤษฎี HRDS ของดร.จิระ เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

• Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

• Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

• Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

• Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

…………………………………………………………………………………..

คำตอบ บทความข้อ 3(จับคู่ร่วมกันทำ) ทุนสังคม,ทุนจริยธรรม กฎใหม่ของโลก กรณีศึกษา 5 D+ Model คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003 นายอานนท์ ทวีสิน รหัส 53484931005 ในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะถูกจัดให้อยู่ในยุคใด และใช้การขับเคลื่อนโลกด้วยทุนประเภทใดก็ตาม ถึงนาทีนี้และต่อไปในอนาคตเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ไม่มีทุนใดเหนือกว่า “ทุนมนุษย์” ได้อีกแล้ว ซึ่งสิ่งที่ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้อธิบายไว้ใน 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบันที่แม้แต่ทฤษฎีทางการตลาด ก็ยังให้ความสำคัญเรื่องนี้ เพราะบริษัทไม่สามารถที่จะให้บริการเพียงเพราะเขาเป็นลูกค้า หรือผู้บริโภคแบบเดิมอีกต่อไป แต่บริษัทต้องให้บริการในฐานะที่ลูกค้าและผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็น “มนุษย์” ซึ่งมีปัญญา มีความคิด อีกทั้งปัจจุบันมีความรอบรู้ในหลายเรื่องมากกว่าบริษัทด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนและผู้นำไปใช้ต้องเปิดใจกว้างในความเห็นที่แตกต่าง ซึ่งดร.จีระฯได้อธิบายทฤษฎีทุน ซึ่งทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)นับเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คงจะเป็นกล่าวไม่เกินความจริงนัก หากจะบอกว่าทฤษฎีนี้ถือเป็นหนึ่งในกฎใหม่ของโลกเช่นกัน ในบทความนี้ได้เลือก Social Capital ทุนทางสังคม และ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม มาอธิบายต่อกรณีศึกษา 5 D+ Model ถ้าทุนทางสังคม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 8K’s จะต้องมาจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และ องค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม ในขณะที่ถ้าทุนทางจริยธรรมซึ่งเป็นหนึ่งใน 8K’s เช่นกันหมายถึง การอาศัยคุณธรรมซึ่งสอนให้รู้การรับผิดชอบ ชั่ว ดี ใช้จิตสำนึกขั้นพื้นฐานประกอบด้วยปัญญาไปบริหารแก้ไขการทำงานเพื่อสนองความต้องการของชุมชน อย่างไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรมแล้ว กรอบของการเกิด 5 D+ Model ก็มิได้แตกต่างกันมากนัก กล่าวกันว่าในศตวรรษที่ 21 ข้อตกใหม่ของโลกกว่าจะเกิดขึ้นมาได้ต้องใช้เวลาเริ่มต้นตั้ง ปี 2515 กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เปิด "การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on Human Environment, Stockholm Conference) " ได้หยิบยกปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขึ้นเจรจา เรียกร้องให้ทุกประเทศตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และเกินขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ประชากรในประเทศยากจนยังคงมีความเป็นอยู่อย่างขาดแคลน ผลการประชุมดังกล่าว ได้เกิดหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญ เช่นโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งประชาชาติ (United Nations Environment Programme - หรือเรียก สั้นๆ ว่า UNEP) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินสถานการณ์ และทิศทางของสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับชาติ ระดับนานาชาติ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกในการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน UNEP ทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายองค์กรภายในสหประชาชาติและรัฐบาลในแต่ละประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและองค์กรเอกชน หน่วยงานเอกชนและชุมชน โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา และสำนักงานภูมิภาคอีก 6 แห่ง ในแอฟริกา เอเซียตะวันออก เอเซียและแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน รวมทั้งในยุโรป โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก การเผยแพร่เนื้อหาเหล่านี้ในขณะนั้นคือ ตีพิมพ์เอกสาร "Our Common Future" เผยแพร่คำนิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืน และเรียกร้องให้ประชาคมโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเพื่ออนาคตของคนในรุ่นต่อไป จากนั้นปี 2521องค์การสหประชาชาติจุดพลุถึงการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา (UN commission on Environment and Development) ปี 2530 UN บัญญัติศัพท์ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development-SD ) โดยอธิบายว่า “ Sustainable Development is a development that meet the needs of the present without compromising the ability of future generation to meet their own needs ” (การพัฒนาที่ตอบสนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนในรุ่นอนาคตต้องประนีประนอมลดทอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนเอง) ปี 2535 มี Earth Summit อีก 10 ปีต่อมาปี 2545 เกิด Agenda 21 World Summit on Sustain Development (WSSD) จากนั้นปี 2546-2557 Decade of Education for Sustainable Development ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัททั่วโลกจะต้องเปลี่ยนแปลง โดยเพิ่มเครื่องมือทางการตลาดที่เรียกว่า "Corporate Social Responsibility" หรือ "ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ" หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "CSR" เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะทำธุรกิจท่ามกลางการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและภัยจากธรรมชาติ ดังนั้นการสร้างสมดุลย์ ระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนภายใต้กรอบของหลักธรรมาภิบาลนั้น นับเป็นความท้าทายสำคัญของภาคธุรกิจ ทั้งนี้ เมื่อมาถึงปี 2553 Philip Kotler , Hermawan Kartajaya & Iwan Setiawan ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง Marketing 3.0 (From Products to Customers to the Human Spirit) โดยเนชั่นส์บุ๊คส์ ได้ลิขสิทธิ์มาให้ นงลักษณ์ จารุวัฒน์ แปล เริ่มพิมพ์ครั้งแรกเมื่อมกราคม 2554 ซึ่งในส่วนสุดท้ายของหนังสือได้พูดถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวทางการตลาด 3.0 เพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น ปัญหาการกินดีอยู่ดี ปัญหาความยากจน และความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งอธิบายวิธีที่องค์กรธุรกิจสามารถทำประโยชน์ให้สังคมด้วยโมเดลธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อมนุษย์ ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโลกใบนี้ และแน่นอนในการขับเคลื่อน SD ในประเทศย่อมเกี่ยวเนื่องกับภาครัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แท้จริงแล้ว กฎใหม่ที่กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้น ได้เกิดเป็นภาคปฏิบัติเมื่อ 39 ปีที่แล้วในพื้นที่เทศบาลนครกรุงเทพ จนกระทั่งมาถึงกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา โดยหากมองภาพใหญ่จาก Social Capital ทุนทางสังคม เมืองหลวงแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,568.7ตารางกิโลเมตร รองรับคนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน วิถีชีวิตของคนเมืองใหญ่ต้องดิ้นรน ต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด เพื่อให้ได้เงินทองมาเลี้ยงชีพ มีที่อยู่อาศัย และอื่นๆตามปัจจัยสี่ ส่วนที่เหลือจากนี้ ก็เป็นเรื่องความสะดวกสบาย ความปลอดภัยทุกๆ ด้าน สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าที่ทุกคนต้องดิ้นรน ถูกหล่อหลอมให้อยู่ในสังคมใหญ่อย่างมีคุณภาพ โดยมีเครือข่าย (Networks) มีความไว้วางใจ (Trust) มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติ (Norms) เพื่อการส่งเสริม เกื้อหนุน และร่วมมือในการดำเนินงานซึ่งกันและกัน อย่างจริงใจบนพื้นฐานของ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมเป็นที่ตั้งเช่นเดียวกัน เมื่อคนกว่า 10 ล้านคนในมหานคร มีพื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกันมาก มาใช้ชีวิตร่วมกัน ปัญหาหลายอย่างก็ตามเข้ามา ทั้ง 3 มิติคือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในฐานข้าราชการกทม.มีหน้าที่รับใช้ประชาชน โดยยึดผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นที่ตั้ง จึงต้องสร้างสมดุลทั้ง 3 เรื่อง โดยกฎใหม่ของโลกในยุคปัจจุบัน ถูกนำไปใช้เมื่อ 39 ปีที่แล้วด้วยปัจจัยพื้นฐานของคนเมืองหลวงที่ค้นพบว่า ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนหลีกไม่พ้นความต้องการเหล่านี้ 1. Physical Development กายภาพดี 2. Economical Development มีรายได้เหมาะสม 3. Social Development สังคมร่วมใจ 4. Healthy Development อนามัยสมบูรณ์ 5. Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม ทั้ง 5 ข้ออยู่ภายใต้ “ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ตั้งแต่ปี 2515 เป็นต้นมา “ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ได้คิดและปฏิบัติมาโดยตลอดในการรับใช้ประชาชนกทม. ซึ่งเนื้อหาของงาน 5 D+ Model ต่างเป็นจิ๊กซอว์ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ เพราะมีความเชื่อมโยงกันในทุกมิติของความต้องการ ปัญหา และการแก้ไขปัญหา เพื่อประชาชนเจ้าของพื้นที่กทม.ได้รับความสะดวกสบาย มีความปลอดภัย อยู่ร่วมกันด้วยสังคมที่ร่วมใจดูแลซึ่งกันและกัน Physical Development กายภาพดี หมายถึงโครงสร้างทางกายภาพของเมือง รวมถึงสาธารณูปโภคทุกประเภท ระบบการสื่อสารบ้านเรือน อาคารสำนักงานทั้งแนวราบและแนวสูง การป้องกันภัยทุกประเภท สิ่งแวดล้อมทุกด้านของเมือง Economical Development มีรายได้เหมาะสม หมายถึงช่องทางการทำมาหากินอย่างสุจริต เพื่อสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้อยู่ได้อย่างมั่นคง แม้กระทั่งชุมชนที่หาเศษขยะไปขาย เมื่อนำของทิ้งแล้วบางประเภทเช่น ร่มมาทำใหม่ (Reuse) ก็สามารถขายสร้างรายได้อย่างเหมาะสมกับชุมชน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องช่วยเหลือพร้อมกัน คือ“หาตลาด” ให้ก่อน อาจจะต้องประสานกับหน่วยงานรัฐเพื่อให้ช่วยเป็นช่องทางการขายสินค้า หรือส่วนอื่นๆ ที่จะรับซื้อของจากชุมชน โดยชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ป้อนด้านวัตถุดิบ แม้กระทั่งต้องระดมความคิดกับชุมชน รวมถึงข้าราชการกทม.ที่ดูแลพื้นที่ นักวิชาการเพื่อสร้างพื้นที่นั้นๆ ให้มีเอกลักษณ์ด้านอาหารบางประเภท ชนิดถ้าจะทานแบบของแท้ให้อร่อยก็ต้องมาที่นี่ หรือเป็นที่เรียนรู้ทางด้านใดด้านหนึ่ง โดยชุมชนมีส่วนร่วม และมีรายได้จากตลาดที่สร้างขึ้นมา Social Development สังคมร่วมใจ หมายถึงการมีจิตสำนึกของประชาชนที่จะร่วมกันทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด ถ้าเป็นคำศัพท์ที่ชอบใช้กันมากในยุคที่โลกเต็มไปด้วยภัยภิบัติทางธรรมชาติ ก็ต้องพูดถึงคำว่า “การมีจิตสำนึกของประชาชน” ที่จะร่วมกันทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด ร่วมช่วยเหลือที่จะดูแลเมืองที่ตัวเองอยู่อาศัยทั้ง 5 ด้าน ให้ปราศจากสิ่งที่ไม่ดี Healthy Development อนามัยสมบูรณ์ หมายถึงการมีสุขภาพที่ดี มีอาหารและเครื่องดื่มปลอดภัย มีการรักษายาบาลผู้ป่วยไข้อย่างดีที่สุด เพราะทุกชีวิตล้วนมีค่า การอยู่รอดของคนเมืองหลวงในด้านนี้ นับเป็นความสำคัญไม่ด้อยกว่าเรื่องอื่นๆ ถ้าหากจะกล่าวว่า การมีสุขอนามัยที่ดีมีผลมายังสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีคงไม่ผิด Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม หมายถึงผู้ที่วางระบบให้ประเทศ วางระบบให้เมืองและชุมชน จะต้องมีคุณธรรม ไม่มีการคอรัปชั่น ซึ่งในฐานะผู้นำ จะต้องมีเรื่องคุณธรรมอยู่ในจิตใจมากที่สุด การเพิ่มพูนคุณธรรมก็ต้องมีฐานมาจากเรื่องการมีจิตสำนึกที่ดี ทั้ง 2 ทุนสอดคล้องกับสิ่งที่ทำมาตลอด เพราะทิศทางการอยู่รอดของคนเมืองหลวงผ่าน“ปฏิบัติการ 5 D+ Model”. ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ เนื่องจากครอบคลุมหลักทุกส่วนเอาไว้ทั้งหมดแล้ว ที่เหลือคือการปรับรายละเอียดการใช้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนไป เพื่อการอยู่รอดอย่าง “คนที่มีคุณภาพ” ของกรุงเทพมหานคร จากทุนทางสังคมและทุนจริยธรรม เมื่อใช้ในการบริหารงานราชการอย่างจริงจังก็สามารถที่จะสอดคล้องทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ของดร.จีระฯประกอบด้วย Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว สิ่งเหล่านี้เป็นจิตสำนึกขั้นพื้นฐานในการบริหารงานราชกทม. เพื่อสามารถที่จะทำงานใหญ่ด้วย“ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ที่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกทม.ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน เอ็นจีโอ ชุมชนต่างๆ แม้กระทั่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อย่างเปิดเผย ถูกกฎหมาย และทุกภาคส่วนสามารถตรวจสอบได้เมื่อเกิดปัญหา ทั้งหมดนี้ได้เกี่ยวเนื่องกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลจาก“ปฏิบัติการ 5 D+ Model”หลายเรื่องได้เกิดขึ้นเมื่อ 39 ปีที่ผ่านมาได้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เรียนระดับประถมโดยได้ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก พยายามผลักดันให้ช่วยดูแลรักษา ทั้งปฏิบัติและบอกต่อเนื่องว่า "ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย... ดิฉันและนายอานนท์เราก็มีโค้ดลับที่คอยเตือนใจว่า NICS ย่อมาจาก Narok (นรก) is coming soon.(อ่านเพิ่มเติม Mind Responsibility ; NICS : Narok (นรก) is coming soon.24 มกราคม 2553 www.brandage.com) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร BrandAge ปก FAIR TRADE ว่า ...เราเอาอนาคตธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของลูกหลานมาใช้มากเกินไป ถ้าเราไม่ช่วยกัน...ไม่ลด ละ สิ่งที่ทำร้ายธรรมชาติ...ก็มีศัพท์คำหนึ่งคือ SD คือ Sustainable Death !!! (อ่านเพิ่มเติม นิตยสาร BrandAge เดือนพฤศจิกายน 2553) ปี 2553 กฎใหม่ของโลก ในการตลาด 3.0 สรุปว่า พฤติกรรมและค่านิยมองค์กรเปิดกว้างให้สาธารณชนเข้ามาตรวจสอบได้มากขึ้น เครือข่ายสังคมและชุมชนออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำให้ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์บริษัท ผลิตภัณฑ์ และตราสินค้า(Brand)ได้ง่ายขึ้น ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสนใจกับปัญหาและความท้าทายทางสังคมมากขึ้น องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องเคลื่อนไหว และปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้... ………………………………………………………………………………………………………………..

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์ (ศูนย์ภูเก็ต)

การบ้านสรุปภาษาอังกฤษ

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์  รหัสนักศึกษา 53484941001
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต
ข้อที่ 2 การบ้านสรุปบทความภาษาอังกฤษ ^___^

คำตอบข้อ 3 งานกลุ่ม 2 คน

ทุนสังคม,ทุนจริยธรรม กฎใหม่ของโลก

กรณีศึกษา 5 D+ Model

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003

นายอานนท์ ทวีสิน รหัส 53484931005

ในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะถูกจัดให้อยู่ในยุคใด และใช้การขับเคลื่อนโลกด้วยทุนประเภทใดก็ตาม ถึงนาทีนี้และต่อไปในอนาคตเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ไม่มีทุนใดเหนือกว่า “ทุนมนุษย์” ได้อีกแล้ว ซึ่งสิ่งที่ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้อธิบายไว้ใน 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบันที่แม้แต่ทฤษฎีทางการตลาด ก็ยังให้ความสำคัญเรื่องนี้ เพราะบริษัทไม่สามารถที่จะให้บริการเพียงเพราะเขาเป็นลูกค้า หรือผู้บริโภคแบบเดิมอีกต่อไป แต่บริษัทต้องให้บริการในฐานะที่ลูกค้าและผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็น “มนุษย์” ซึ่งมีปัญญา มีความคิด อีกทั้งปัจจุบันมีความรอบรู้ในหลายเรื่องมากกว่าบริษัทด้วยซ้ำ

ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนและผู้นำไปใช้ต้องเปิดใจกว้างในความเห็นที่แตกต่าง ซึ่งดร.จีระฯได้อธิบายทฤษฎีทุน ซึ่งทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)นับเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คงจะเป็นกล่าวไม่เกินความจริงนัก หากจะบอกว่าทฤษฎีนี้ถือเป็นหนึ่งในกฎใหม่ของโลกเช่นกัน

ในบทความนี้ได้เลือก Social Capital ทุนทางสังคม และ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม มาอธิบายต่อกรณีศึกษา 5 D+ Model

ถ้าทุนทางสังคม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 8K’s จะต้องมาจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และ องค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม ในขณะที่ถ้าทุนทางจริยธรรมซึ่งเป็นหนึ่งใน 8K’s เช่นกันหมายถึง การอาศัยคุณธรรมซึ่งสอนให้รู้การรับผิดชอบ ชั่ว ดี ใช้จิตสำนึกขั้นพื้นฐานประกอบด้วยปัญญาไปบริหารแก้ไขการทำงานเพื่อสนองความต้องการของชุมชน อย่างไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรมแล้ว กรอบของการเกิด 5 D+ Model ก็มิได้แตกต่างกันมากนัก

กล่าวกันว่าในศตวรรษที่ 21 ข้อตกใหม่ของโลกกว่าจะเกิดขึ้นมาได้ต้องใช้เวลาเริ่มต้นตั้ง ปี 2515 กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เปิด "การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on Human Environment, Stockholm Conference) " ได้หยิบยกปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขึ้นเจรจา เรียกร้องให้ทุกประเทศตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และเกินขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ประชากรในประเทศยากจนยังคงมีความเป็นอยู่อย่างขาดแคลน

ผลการประชุมดังกล่าว ได้เกิดหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญ เช่นโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งประชาชาติ (United Nations Environment Programme - หรือเรียก สั้นๆ ว่า UNEP) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินสถานการณ์ และทิศทางของสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับชาติ ระดับนานาชาติ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกในการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

UNEP ทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายองค์กรภายในสหประชาชาติและรัฐบาลในแต่ละประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและองค์กรเอกชน หน่วยงานเอกชนและชุมชน โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา และสำนักงานภูมิภาคอีก 6 แห่ง ในแอฟริกา เอเซียตะวันออก เอเซียและแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน รวมทั้งในยุโรป โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

การเผยแพร่เนื้อหาเหล่านี้ในขณะนั้นคือ ตีพิมพ์เอกสาร "Our Common Future" เผยแพร่คำนิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืน และเรียกร้องให้ประชาคมโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเพื่ออนาคตของคนในรุ่นต่อไป

จากนั้นปี 2521องค์การสหประชาชาติจุดพลุถึงการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา (UN commission on Environment and Development) ปี 2530 UN บัญญัติศัพท์ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development-SD ) โดยอธิบายว่า “ Sustainable Development is a development that meet the needs of the present without compromising the ability of future generation to meet their own needs ” (การพัฒนาที่ตอบสนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนในรุ่นอนาคตต้องประนีประนอมลดทอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนเอง) ปี 2535 มี Earth Summit อีก 10 ปีต่อมาปี 2545 เกิด Agenda 21 World Summit on Sustain Development (WSSD) จากนั้นปี 2546-2557 Decade of Education for Sustainable Development

ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัททั่วโลกจะต้องเปลี่ยนแปลง โดยเพิ่มเครื่องมือทางการตลาดที่เรียกว่า "Corporate Social Responsibility" หรือ "ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ" หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "CSR" เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะทำธุรกิจท่ามกลางการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและภัยจากธรรมชาติ ดังนั้นการสร้างสมดุลย์ ระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนภายใต้กรอบของหลักธรรมาภิบาลนั้น นับเป็นความท้าทายสำคัญของภาคธุรกิจ

ทั้งนี้ เมื่อมาถึงปี 2553 Philip Kotler , Hermawan Kartajaya & Iwan Setiawan ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง Marketing 3.0 (From Products to Customers to the Human Spirit) โดยเนชั่นส์บุ๊คส์ ได้ลิขสิทธิ์มาให้ นงลักษณ์ จารุวัฒน์ แปล เริ่มพิมพ์ครั้งแรกเมื่อมกราคม 2554 ซึ่งในส่วนสุดท้ายของหนังสือได้พูดถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวทางการตลาด 3.0 เพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น ปัญหาการกินดีอยู่ดี ปัญหาความยากจน และความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งอธิบายวิธีที่องค์กรธุรกิจสามารถทำประโยชน์ให้สังคมด้วยโมเดลธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อมนุษย์ ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโลกใบนี้ และแน่นอนในการขับเคลื่อน SD ในประเทศย่อมเกี่ยวเนื่องกับภาครัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แท้จริงแล้ว กฎใหม่ที่กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้น ได้เกิดเป็นภาคปฏิบัติเมื่อ 39 ปีที่แล้วในพื้นที่เทศบาลนครกรุงเทพ จนกระทั่งมาถึงกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา โดยหากมองภาพใหญ่จาก Social Capital ทุนทางสังคม เมืองหลวงแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,568.7ตารางกิโลเมตร รองรับคนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน วิถีชีวิตของคนเมืองใหญ่ต้องดิ้นรน ต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด เพื่อให้ได้เงินทองมาเลี้ยงชีพ มีที่อยู่อาศัย และอื่นๆตามปัจจัยสี่ ส่วนที่เหลือจากนี้ ก็เป็นเรื่องความสะดวกสบาย ความปลอดภัยทุกๆ ด้าน สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าที่ทุกคนต้องดิ้นรน ถูกหล่อหลอมให้อยู่ในสังคมใหญ่อย่างมีคุณภาพ โดยมีเครือข่าย (Networks) มีความไว้วางใจ (Trust) มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติ (Norms) เพื่อการส่งเสริม เกื้อหนุน และร่วมมือในการดำเนินงานซึ่งกันและกัน อย่างจริงใจบนพื้นฐานของ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมเป็นที่ตั้งเช่นเดียวกัน

เมื่อคนกว่า 10 ล้านคนในมหานคร มีพื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกันมาก มาใช้ชีวิตร่วมกัน ปัญหาหลายอย่างก็ตามเข้ามา ทั้ง 3 มิติคือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในฐานข้าราชการกทม.มีหน้าที่รับใช้ประชาชน โดยยึดผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นที่ตั้ง จึงต้องสร้างสมดุลทั้ง 3 เรื่อง โดยกฎใหม่ของโลกในยุคปัจจุบัน ถูกนำไปใช้เมื่อ 39 ปีที่แล้วด้วยปัจจัยพื้นฐานของคนเมืองหลวงที่ค้นพบว่า ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนหลีกไม่พ้นความต้องการเหล่านี้

1. Physical Development กายภาพดี

2. Economical Development มีรายได้เหมาะสม

3. Social Development สังคมร่วมใจ

4. Healthy Development อนามัยสมบูรณ์

5. Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม

ทั้ง 5 ข้ออยู่ภายใต้ “ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ตั้งแต่ปี 2515 เป็นต้นมา

“ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ได้คิดและปฏิบัติมาโดยตลอดในการรับใช้ประชาชนกทม. ซึ่งเนื้อหาของงาน

5 D+ Model ต่างเป็นจิ๊กซอว์ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ เพราะมีความเชื่อมโยงกันในทุกมิติของความต้องการ ปัญหา และการแก้ไขปัญหา เพื่อประชาชนเจ้าของพื้นที่กทม.ได้รับความสะดวกสบาย มีความปลอดภัย อยู่ร่วมกันด้วยสังคมที่ร่วมใจดูแลซึ่งกันและกัน

Physical Development กายภาพดี หมายถึงโครงสร้างทางกายภาพของเมือง รวมถึงสาธารณูปโภคทุกประเภท ระบบการสื่อสารบ้านเรือน อาคารสำนักงานทั้งแนวราบและแนวสูง การป้องกันภัยทุกประเภท สิ่งแวดล้อมทุกด้านของเมือง

Economical Development มีรายได้เหมาะสม หมายถึงช่องทางการทำมาหากินอย่างสุจริต เพื่อสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้อยู่ได้อย่างมั่นคง แม้กระทั่งชุมชนที่หาเศษขยะไปขาย เมื่อนำของทิ้งแล้วบางประเภทเช่น ร่มมาทำใหม่ (Reuse) ก็สามารถขายสร้างรายได้อย่างเหมาะสมกับชุมชน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องช่วยเหลือพร้อมกัน คือ“หาตลาด” ให้ก่อน อาจจะต้องประสานกับหน่วยงานรัฐเพื่อให้ช่วยเป็นช่องทางการขายสินค้า หรือส่วนอื่นๆ ที่จะรับซื้อของจากชุมชน โดยชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ป้อนด้านวัตถุดิบ แม้กระทั่งต้องระดมความคิดกับชุมชน รวมถึงข้าราชการกทม.ที่ดูแลพื้นที่ นักวิชาการเพื่อสร้างพื้นที่นั้นๆ ให้มีเอกลักษณ์ด้านอาหารบางประเภท ชนิดถ้าจะทานแบบของแท้ให้อร่อยก็ต้องมาที่นี่ หรือเป็นที่เรียนรู้ทางด้านใดด้านหนึ่ง โดยชุมชนมีส่วนร่วม และมีรายได้จากตลาดที่สร้างขึ้นมา

Social Development สังคมร่วมใจ หมายถึงการมีจิตสำนึกของประชาชนที่จะร่วมกันทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด ถ้าเป็นคำศัพท์ที่ชอบใช้กันมากในยุคที่โลกเต็มไปด้วยภัยภิบัติทางธรรมชาติ ก็ต้องพูดถึงคำว่า “การมีจิตสำนึกของประชาชน” ที่จะร่วมกันทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด ร่วมช่วยเหลือที่จะดูแลเมืองที่ตัวเองอยู่อาศัยทั้ง 5 ด้าน ให้ปราศจากสิ่งที่ไม่ดี

Healthy Development อนามัยสมบูรณ์ หมายถึงการมีสุขภาพที่ดี มีอาหารและเครื่องดื่มปลอดภัย มีการรักษายาบาลผู้ป่วยไข้อย่างดีที่สุด เพราะทุกชีวิตล้วนมีค่า การอยู่รอดของคนเมืองหลวงในด้านนี้ นับเป็นความสำคัญไม่ด้อยกว่าเรื่องอื่นๆ ถ้าหากจะกล่าวว่า การมีสุขอนามัยที่ดีมีผลมายังสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีคงไม่ผิด

Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม หมายถึงผู้ที่วางระบบให้ประเทศ วางระบบให้เมืองและชุมชน จะต้องมีคุณธรรม ไม่มีการคอรัปชั่น ซึ่งในฐานะผู้นำ จะต้องมีเรื่องคุณธรรมอยู่ในจิตใจมากที่สุด การเพิ่มพูนคุณธรรมก็ต้องมีฐานมาจากเรื่องการมีจิตสำนึกที่ดี

ทั้ง 2 ทุนสอดคล้องกับสิ่งที่ทำมาตลอด เพราะทิศทางการอยู่รอดของคนเมืองหลวงผ่าน“ปฏิบัติการ 5 D+ Model”. ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ เนื่องจากครอบคลุมหลักทุกส่วนเอาไว้ทั้งหมดแล้ว ที่เหลือคือการปรับรายละเอียดการใช้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนไป เพื่อการอยู่รอดอย่าง “คนที่มีคุณภาพ” ของกรุงเทพมหานคร

จากทุนทางสังคมและทุนจริยธรรม เมื่อใช้ในการบริหารงานราชการอย่างจริงจังก็สามารถที่จะสอดคล้องทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ของดร.จีระฯประกอบด้วย Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว สิ่งเหล่านี้เป็นจิตสำนึกขั้นพื้นฐานในการบริหารงานราชกทม. เพื่อสามารถที่จะทำงานใหญ่ด้วย“ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ที่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกทม.ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน เอ็นจีโอ ชุมชนต่างๆ แม้กระทั่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อย่างเปิดเผย ถูกกฎหมาย และทุกภาคส่วนสามารถตรวจสอบได้เมื่อเกิดปัญหา ทั้งหมดนี้ได้เกี่ยวเนื่องกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผลจาก“ปฏิบัติการ 5 D+ Model”หลายเรื่องได้เกิดขึ้นเมื่อ 34 ปีที่ผ่านมาได้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เรียนระดับประถมโดยได้ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก พยายามผลักดันให้ช่วยดูแลรักษา ทั้งปฏิบัติและบอกต่อเนื่องว่า "ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย... ดิฉันก็มีโค้ดลับที่คอยเตือนใจว่า NICS ย่อมาจาก Narok (นรก) is coming soon.(อ่านเพิ่มเติม Mind Responsibility ; NICS : Narok (นรก) is coming soon.24 มกราคม 2553 www.brandage.com)

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร BrandAge ปก FAIR TRADE ว่า ...เราเอาอนาคตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของลูกหลานมาใช้มากเกินไป ถ้าเราไม่ช่วยกัน...ไม่ลด ละ สิ่งที่ทำร้ายธรรมชาติ...ก็มีศัพท์คำหนึ่งคือ SD คือ Sustainable Death !!! (อ่านเพิ่มเติม นิตยสาร BrandAge เดือนพฤศจิกายน 2553)

ปี 2553 กฎใหม่ของโลก ในการตลาด 3.0 สรุปว่า พฤติกรรมและค่านิยมองค์กรเปิดกว้างให้สาธารณชนเข้ามาตรวจสอบได้มากขึ้น เครือข่ายสังคมและชุมชนออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำให้ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์บริษัท ผลิตภัณฑ์ และตราสินค้า(Brand)ได้ง่ายขึ้น ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสนใจกับปัญหาและความท้าทายทางสังคมมากขึ้น องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องเคลื่อนไหว และปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้...

………………………………………………………………………………………………………………..

น้ำผึ้ง คะเชนทน (สวนสุนันทา กทม.)

ข้อ 1 อ่านบทความเกี่ยวกับทุนมนุษย์

สรุปบทความการสร้าง Blue Ocean ด้าน HR

การสร้าง Blue Ocean ต้องเป็นการสร้างธุรกิจใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าไปยังตลาดที่ไม่มีการแข่งขัน ซึ่งตัวแบบ ทุนทางปัญญา หรือที่เรียกว่า SICM จึงเป็น Blue Ocean ด้าน HR ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

การที่ธุรกิจสนใจเรื่องทุนมนุษย์ (Human Capital) ถ้าจะว่าไปแล้วมีความหมายที่กว้างกว่า การบริหาร HR ตามที่เข้าใจกัน ธุรกิจต้องการการจุดระเบิด (Injection) จากทุนมนุษย์ไปสู่ทุนความสัมพันธ์ ทุนองค์การและ

ทุนภาวะผู้นำ สิ่งนี้ถือว่าเป็น Blue Ocean ของ HR ที่ผู้เขียนได้ศึกษาไว้ การที่ธุรกิจจะสร้างธุรกิจแห่งนวัตกรรม (Innovative Enterprise) ให้เกิดขึ้นได้จะมีโอกาสยากมากเพราะยังคงแต่จะแสวงหา นวัตกรรมจากการวิจัยและพัฒนา แต่ธุรกิจแห่งนวัตกรรมต้องการนวัตกรรมที่มากกว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ นวัตกรรมเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมการจัดการ ซึ่งตัวแบบ SICM คือ สะพานเชื่อมใหม่ของธุรกิจจากทุนมนุษย์สู่ธุรกิจแห่งนวัตกรรม

การสร้าง Blue Ocean ด้าน HR จะต้องอาศัยทุนมนุษย์ ซึ่งได้กล่าวถึง

1. โมเดลความสามารถ (Competency Model)

2. ตัวแบบ SICM (Strategic Intellectual Capital Model)

3. รูปแบบการจับคู่ (Pattern Matching) สิ่งที่เป็นหัวใจด้านกลยุทธ์ธุรกิจไปสู่ตัวแบบทุนทางปัญญา ซึ่งในรูปแบบการจับคู่นี้ จะปรับ (Convert) สิ่งที่เรียกว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือความสามารถหลักของธุรกิจ หรือขอบเขตผลลัพธ์สำคัญ ให้ได้ความสามารถในตัวแบบทุนทางปัญญา มี 4 องค์ประกอบ คือ

3.1 ทุนภาวะผู้นำ หมายถึง วิสัยทัศน์ อุดมคติหลัก วัฒนธรรมเชิงคุณค่า ภาวะผู้นำในการจัดการ

3.2 ทุนความสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ของธุรกิจกับผู้ร่วมค้า ลูกค้าและพนักงานกับตลาด

3.3 ทุนองค์กร หมายถึง กระบวนการกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ องค์กรและโครงสร้าง ทรัพย์สิน

ทางปัญญา คุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์และฐานข้อมูลทางความรู้

3.4 ทุนทรัพยากรบุคคล หมายถึง การบริหารทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

4. วิธีการสังเคราะห์ดัชนีบ่งชี้ความสำเร็จโดยเรียกสิ่งนี้ว่า Meta-Indicators Analysis โดยการที่ผู้เขียนมี ดัชนีบ่งชี้ (Indicators) ที่เป็นเท็มเพลตของความสามารถในองค์ประกอบ ตัวแบบทุนทางปัญญา สามารถนำไปใช้ตรวจสอบ KPIs ที่ใช้วัดความสามารถที่ธุรกิจพัฒนาขึ้นมาว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด

เอกสารอ้างอิง

ดร.ดนัย เทียนพุฒ. (2552). การสร้าง Blue Ocean ด้าน HR (ออนไลน์).

สืบค้นจาก : www.siamhrm.com [12 กันยายน 2554]

ข้อ 2. สรุปบทความ How to Cultivate Engaged Employees By Charalambos A. Vlachoutsicos

การประสบความสำเร็จของผู้บริหารขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการบังคับบัญชาของผู้บริหาร ทุกวันนี้ในการบริหารองค์กรยังคงบริหารงานแบบจากบนลงล่าง (top-down) ใช้บริหารรูปแบบคำสั่งและการควบคุม (command-and-control model)

การประสบความสำเร็จของผู้บริหารจะต้องมองตัวเองมากกว่าการหาวิธีแก้ปัญหาและมากกว่าการหาคนมาแก้ปัญหา

ผู้บริหารจะประสบความสำเร็จจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

1. Be Modest (การถ่อมตน) ในการบัญชาการสั่งงานผู้ใต้บังคับบัญชาควรพูดในลักษณะการให้เกียรติฟังแล้วรู้สึกอยากทำงานให้อยากเต็มใจและเป็นส่วนร่วมช่วยแก้ปัญหาในการทำงาน พร้อมยอมรับความสำเร็จและความผิดพลาดร่วมกันกับผู้ใต้บังคับบัญชา (แชร์ความรู้สึก) เป็นการวางตัวของผู้บริหาร

2. Listen Seriously and Show it (ฟังอย่างตั้งใจและแสดงออกมา) การรับฟังผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างตั้งใจ และอาจจะแสดงออกมาทางภาษากาย ภาษามือหรือการจดบันทึกก็ได้ เพื่อแสดงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่าสิ่งที่เขานำเสนอไปมีผู้รับฟังที่ดีเหมือนได้รับการยอมรับจากผู้บริหาร สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งขณะที่คนอื่นกำลังพูดอยู่ คือการดูนาฬิกาหรือตรวจสอบเวลาบนโทรศัพท์มือถือของคุณ

3. Invite Disagreement (การยอมรับความคิดเห็นที่ขัดแย้ง) การยอมรับความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ควรแสดงออกถึงความเป็นกันเองเท่าเทียมกัน กระตุ้นให้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุดและเปิดใจยอมรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น

4. Focus the Agenda (การประชุมเพื่อความสำเร็จ) ห้องประชุมต้องเป็นสถานที่แสดงความคิดเห็น เพื่อหาความสำเร็จในการบริหารงาน “ทุกความคิดเห็นมีความสำคัญเสมอ” การเข้าร่วมประชุมต้องให้เกียรติผู้นำเสนอ การประชุมไม่ใช่การถกเถียงต้องเป็นสถานที่ผ่อนคลายในการเสนอความคิดเห็น ไม่ใช่เวทีปะทะอารมณ์ หรือเป็นการโต้วาที มีความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การประชุมที่ราบรื่นควรมีการโต้เถียงให้น้อย

5. Don’t Try to Have All the Answers (ไม่ต้องหาคำตอบทุกคำตอบ) ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาทุกปัญหาด้วยตนเองเสมอไป แต่ต้องฉลาดในการเลือกคน เลือกเครื่องมือ เพื่อแก้ปัญหา ผู้บริหารต้องเป็นเพียงผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหา มากกว่าเป็นผู้แก้ไขปัญหาเสียเอง และทักษะของผู้บริหารที่สำคัญต้องยอมรับว่าไม่ได้รู้ดีไปกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา และปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอแนวคิด

6. Don’t Insist that A Decision Must Be Made (อย่ายืนกรานว่าการตัดสินใจต้องทำให้เกิดขึ้น)

เปิดใจยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ถ้าไม่สามารถหาจุดกึ่งกลางของปัญหา อย่ารีบที่จะตัดสินใจ จนกว่าจะหาแนวทางได้อย่างชัดเจนร่วมกัน ถึงแม้ว่าอาจจะช้า และอาจจะมีความขัดแย้งบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสูญเสียความตั้งใจ

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์ (ศูนย์ภูเก็ต)

หนังสืออ้างอิง

บทความเรื่อง The Mae Fah Luang: The Social Transformation Model for the 21st Century จาก Sasin Journal of Management 

Although the concept of “Sustainable Development” has been used  for many years. The Doi Tung Development Project (DTDP) of the Mae Fah Luang Foundation (MFLF) has a more holistic and integrated solution to offer based on its 23 years of experience. The MFLF sees the world as complex, look at overall macro picture while considering every aspect of everything at the Micro level. In this way the  Mae Fah Luang Foundation scheme redirects the popular trend of Corporate Social Responsibility (CSR).  In my opinion the way of MFLF is base on 8K’s
K1 Human Capital
K2 Intellectual Capital
K3 Ethical Capital
K4 Happiness Capital
K5 Social Capital
K6 Sustainable Capital
K7 Digital Capital
K8 Talented Capital
Doi tung Development Project is sequenced into 3 phases: survival, sufficiency and sustainability. 

                    Holistic of Doi tung

I think that Mae Fah Luang Foundation (MFLF)  teach me to learn to share, to “take a little less” and “give a little more”, and we can begin to build a better future.   

เรียน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์

ดิฉัน นางสาวเมทิณี สิทธิสงค์ จากศูนย์กทม.

จากการอ่านหนังสือเรื่องตัวชี้วัดความสุข: กลยุทธ์การสร้างและการใช้เพื่อชุมชนเป็นสุข โดย ดร.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร(อบอุ่น) และ เขมณัฎฐ์ อินทราสุวรรณ

หนังสือเล่มนี้อธิบายและให้ความสำคัญกับการมี ตัวชีวัดในหลากหลายบริบท เพื่อช่วยในการจัดการสร้าง สังคมเป็นสุข และชุมชนเป็นสุข ตลอดจนอธิบายให้ทราบถึงพัฒนาการและวิวัฒนาการเกี่ยวกับเรื่องตัวชี้วัดที่เน้น ความสุข ทั้งในระดับชุมชน ในเชิงประเด็น ในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ โดยเป็นความสุขแบบบูรณการ ซึ่งรวมถึงความสุขทางกายทางใจทางจิตวิญญาณและความสุขทางสังคม ซึ่งหนังสือเล่มนี้สอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎี 4L's และทุนมนุษย์ของ อ. ดร. จีระ โดย 4L’s นั้นสอดคล้องในด้านพื้นฐานของการสร้างความสุข คนในสังคมต้องเรียนรู้วิธีที่จะสร้างความสุข และเรียนรู้ในการสร้างบรรยากาศรอบด้านที่มีผลให้ความสุขนั้นได้แพร่ขยายออกไปสู่คนรอบข้าง สู่ชุมชน สู่ท้องถิ่น พร้อมทั้งแบ่งบันวิธีสร้างความสุขให้กับคนรอบข้างอีกด้วย เมื่อความสุขเกิดขึ้นกับตัวเราแล้ว คนในครอบครัวเราก็จะได้รับความสุขนั้นๆ ด้วย ขยายผลในวงกว้างออกไปกลายเป็นสังคมที่มีแต่ความสุข จากการที่คนในชุมชนรู้จักที่จะเรียนรู้ร่วมกันถ่ายทอดสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขให้แก่กันสังคมไทยก็จะรู้จักกับคำว่า พอเพียง อย่างแท้จริง

นางวิภารณี แก้วใส รหัส 53484931022 (ศูนย์ภูเก็ต)

บทความเรื่อง ภาวะผู้นำกับการปลดคน (ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน)

(จากหนังสือพิมพ์ Post Today ฉบับวันที่19 พฤษภาคม 2552 หน้า 18)

“ผมเหนื่อยล้าเหลือเกิน งานมากมายมหาศาล ไหนจะปัญหาเรื่องงาน ไหนจะปัญหาเรื่องคนอีก ผมเครียดมากเลย ทำอย่างไรดีครับ” ทนง ถาม ...

“คุณทนง ความเครียดเป็นกลไกเพื่อการอยู่รอดของมนุษย์ เรามีความวิตกกังวลและเกิดความเครียดขึ้น เมื่อสถานการณ์ไม่ปกติ มันเป็นสัญญาณเตือนเราล่วงหน้าว่า อาจจะมีอันตรายและเราจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่าง เมื่อเราเครียดร่างกายจะอยู่ในสภาวะพร้อมที่จะ ‘สู้หรือหนี’ กระบวนการนี้มันอยู่กับเรามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์สมัยมนุษย์ถ้ำเลย และเจ้าความเครียดนี่แหละที่มันทำให้มนุษย์ต้องหาทางแก้ปัญหาเมื่อเผชิญกับความท้าทาย จนกระทั่งมนุษย์วิวัฒนาการมาจนถึงทุกวันนี้

ความเครียดจะมีเมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างไปจากที่เราคาดคิดไว้ เมื่อมีความผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่เราไม่คาดคิดเกิดขึ้น เราก็จะวิตกและเครียดในที่สุด บางคนฉลาดพอที่จะคาดการณ์ไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดล่วงหน้า พวกเขาจึงไม่แปลกใจหรือตกใจเพราะได้ประเมินไว้ก่อนแล้วว่า อาจมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากแผนที่วางไว้ พวกเขาวิเคราะห์ต่อไปอีกว่ามีอะไรบ้างที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และลงมือป้องกันเท่าที่จะทำได้ และเมื่อป้องกันแล้ว ก็ยังไม่นิ่งนอนใจ เขายังคิดต่อว่าหากหาทางป้องกันแล้ว ยังมีโอกาสหลุดได้อีก เขาก็จะหาหนทางบรรเทาความเสียหายไว้ก่อนล่วงหน้า พวกเขาจะอุ่นใจมากกว่าเพราะได้มีการเตรียมการณ์ไว้แล้ว

คุณทนง ผมว่าคุณน่าจะใช้เจ้าความเครียดนี้เป็นตัวบอกเหตุว่าคุณต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เมื่อคุณบอกว่าคุณมีความเครียดในที่ทำงานนั้น มันกำลังส่งสัญญาณบอกว่าคุณอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างไปจากเดิม คุณจะแก้ไขอย่างไรให้สถานการณ์ในงานของคุณนั้นมันดีขึ้น”

“คุณเกรียงศักดิ์ ผมคิดว่าเรื่องปริมาณงานที่มันมากขึ้นนั้นน่าจะมาจากสองสาเหตุหลักๆ คือ

- กระบวนการทำงานที่เยิ่นเย้อ

- คนบางส่วนที่ด้อยประสิทธิภาพ

ผมคิดว่าผมสามารถออกแบบกระบวนการทำงานให้ดีกว่าเดิมได้ และผมอาจจะต้องโค้ชคนของผมให้เก่งขึ้น”

“มาถูกทางแล้วครับ”

“แต่ว่าคนของผมสองคนมีคุณสมบัติต่ำกว่าที่ต้องการมาก ผมรู้ตั้งแต่สมัยสภาวะเศรษฐกิจดีๆ แล้ว ในตอนนั้นก็ยังพอที่จะอุ้มๆ กันไปได้อยู่ ผมจะทำอย่างไรกับพวกเขาดีครับ”

“คุณมีทางเลือกอะไรบ้างล่ะ”

“คุณทำให้ผมเครียดอีกแล้ว” ทนงอุทานแล้วพูดต่อ “มีสองทางเลือกครับ

1.อุ้มกันต่อไป เพื่อทำให้ทุกคนยังมีงานทำกันต่อ

2.ให้สองคนนี้พ้นสภาพการจ้างไป

“คุณทนง แต่ละทางเลือกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ลองวิเคราะห์ดูหน่อยครับ”

“หากจ้างต่อ ข้อดีคือผมไม่ต้องบอกข่าวร้ายตอนนี้ ทีมไม่ตกใจ ข้อเสียคืออนาคตอันใกล้ก็จะเดือดร้อนทุกคน เพราะผลงานทีมจะไม่ได้ตามแผน เราก็จะเครียดต่อเนื่อง และหลายคนคงเครียดจนต้องเข้าโรงพยาบาลไป ที่น่ากลัวคือคนเก่งๆ บางคนอาจจะลาออกเพราะเขาคิดว่าไม่ยุติธรรมที่เขาต้องมาแบกภาระอุ้มคนที่ทำงานด้อยประสิทธิภาพ หากจะให้เขาออก ผมต้องบอกข่าวร้ายกับเขาซึ่งมันยากมากๆ แต่จะดีกับทุกฝ่ายในระยะยาว ผมสงสารเขาสองคนนะ เหมือนทำร้ายเขา”

“นี่เรียกว่าเป็นการทำร้ายเขาด้วยความปรารถนาดี การที่เขาทำงานได้ไม่ดีนั้นเขารู้อยู่แก่ใจ ในใจนั้นเขาจึงทุกข์ระทม และเขาอาจจะดูถูกตัวเองและเคารพตัวเองน้อยลงไปเรื่อยๆ การที่เราให้เขาออกจากงานที่เขาทำได้ไม่ดีนั้น เป็นการให้โอกาสเขาไปเริ่มทำในสิ่งที่เหมาะกับเขามากที่สุด”

“ผมทำไม่ลง ดูเหมือนผมทำร้ายเขา”

“แต่การปล่อยให้เขาเป็นภาระกับทีมคุณกำลังทำร้ายทุกๆ คนอยู่นะ การให้คนออกจากงานเป็นเรื่องยากของทุกคน ไม่มีใครสนุกกับมันหรอก แต่มันเป็นความรับผิดชอบและหน้าที่ของผู้บริหาร นอกจากนี้คุณก็บอกเองว่าปัญหานี้คุณรู้ตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว คุณก็ต้องรับผิดชอบแก้ไขให้เสร็จ”

“ผมลาออกเองดีกว่า”

“คุณลาออก คนที่มาแทนคุณก็ต้องทำแบบเดียวกัน ทำไมไม่ทำเองแต่ตอนนี้เลย เป็นความรับผิดชอบและความกล้าหาญของผู้นำที่ต้องทำทั้งงานง่ายและงานยากครับ”

สรุปและวิเคราะห์

จากการอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำกับการปลดคน จะเห็นได้ ว่า คนส่วนใหญ่มอง ความเครียดเป็นเรื่องในทางลบ เป็นเรื่องที่เลวร้าย แต่ในทัศนะของผู้เขียนบทความนี้ กลับมองว่า ความเครียดเป็นพลังหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเรื่องคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่กระทบต่อสิทธิ ต่อครอบครัว ต่อจิตใจ ต่อความเชื่อมั่นในตนเอง และอีกหลายประการ ฉะนั้นผู้บริหารที่มักมีความเครียดจากการทำงานบ่อยครั้ง จึงเป็นเรื่องปกติ หากแต่ผู้บริหารจะสามารถบริหารจัดการความเครียดให้เป็นพลังสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร ประเด็นนี้คือสิ่งที่ท้าทายของผู้บริหารในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

นางสาวศิริขวัญ กีรติโชติกุล (ศูนย์ภูเก็ต)

ฅ. ฅน กับ การบริหารงาน เป็นที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบัน แนวคิดการบริหารจัดการแนวใหม่ (New Public Management) ได้นำมาประยุกต์ใช้และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการบริหารจัดการทั้งนี้เพื่อยกระดับสมรรถนะความสามารถ และเพื่อเสริมศักยภาพในการได้เปรียบในการแข่งขัน โดยมีการรื้อหรือปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ ในด้าน ระบบทรัพยากรบุคคล (Man) ระบบงบประมาณ (Money) เครื่องมือ นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ๆ (Meterial) และโครงสร้างการบริหารจัดการ (Management) เพื่อประสานสอดคล้องหรือ เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดประสิทธิภาพ และพร้อมที่ขับเคลื่อนสอดรับกับนโยบายและเป้าประสงค์ขององค์กรได้อย่างเต็มที่

ในปัจจุบัน กระแสความเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ทันสมัย ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่และสิ่งประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ที่มีส่วนช่วยให้อำนวยความสะดวกและสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติได้มากขึ้น มนุษย์จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทุกขณะ

และในประเทศไทย ได้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดสมรรถนะและความสามารถของหน่วยงานภาครัฐได้นำการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มาใช้โดยได้มีการบูรณาการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานภาครัฐ เพื่อตอบสนองการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนภายในประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินร่วมกันอันเป็นการพัฒนาที่จะนำไปสู่สิทธิความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาในระดับต่างๆ ทั้งนี้เพื่อนให้อยู่ร่วมร่วมกันอย่างมีความสุข ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การพัฒนาหน่วยงานในภาครัฐนั้น ได้มีการปฏิบัติเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาระบบโครงสร้างการบริหาร การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากร การพัฒนาระบบการเงิน งบประมาณ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐ อันเป็นหลักสำคัญที่สุด ที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วิสัยทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมร่วมกัน การปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงาน ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ต่อการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นหลัก การปรับปรุงระบบค่าจ้างและค่าตอบแทนให้สูงขึ้นอย่างเหมาะสม การกำหนดหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งโดยอิงกับระบบประเมินสมรรถนะ การสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับบุคลากรภาครัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ ที่ได้มีการบัญญัติและกำหนดไว้ อาทิ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545

มาตรา 3/1 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จํ าเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอํ านาจตัดสินใจ การอํ านวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

หมวดที่ 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

มาตรา 7 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ

มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้

(1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของ คณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา

(2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น

(3) ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัด ให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น

(4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็น และความพึงพอใจของสังคม โดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม

(5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่น หรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

หมวดที่ 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 3 แนวนโยาบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

มาตราที่ 78 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

(4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรม ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการ แผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 -2549)

บทที่ 2 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี

3.1 ปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐไปสู่แนวทางการบริหารจัดการที่ดี

1.ปรับบทบาทภารกิจและวิธีบริหารงานของระบบราชการแนวใหม่

(1.1) ปรับโครงสร้าง ลดขนาด และเพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐ ปรับบทบาทภาครัฐจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กำกับดูแลและอำนวยความสะดวก ให้ภาครัฐเป็นองค์กรขนาดเล็ก มีรูปแบบองค์กรและการจ้างงานที่หลากหลายเหมาะสมสอดคล้องกับบทบาทภารกิจที่ปรับเปลี่ยนไป รวมทั้งปรับระบบบริหารบุคคลและจำนวนบุคลากรให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่ พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ มีระเบียบวินัย รับผิดชอบสูง และมีความเป็นกลางทางการเมือง สามารถทำงานได้เทียบเคียงกับภาคเอกชนและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 -2554)

บทที่ 6 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ

3.3 สร้างภาคราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล เน้นการอำนวยความสะดวกแทนการกำกับควบคุม และทำงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนาซึ่งมีแนวทางดังนี้

1.พัฒนาระบบราชการและข้าราชการให้ทันสมัย โปร่งใส และมีขีดสมรรถนะสูงขึ้น

(1.1) มีกลไกนโยบายระดับชาติส่งเสริมการขยายการให้บริการในรูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่หน่วยราชการทุกแห่ง และบริหารจัดการงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(1.2) จัดให้มีการศึกษาวิจัยในทุกส่วนราชการ ภารกิจใดมีความจำเป็นที่จะได้ดำเนินการต่อไป หรือสมควรเปลี่ยนแปลง ยกเลิกหรือเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการดำเนินการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง ระบบงาน และอัตรากำลังให้สอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็นในแต่ละหน่วยราชการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า สถานการณ์ และปัจจัยอื่นประกอบ พร้อมทั้งจัดทำแผนเสริมสร้างขีดความสามารถของข้าราชการ เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในบทบาท ภารกิจหน้าที่ และนโยบายปรับลดจำนวนกำลังคนภาครัฐ

(1.3) พัฒนาหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานขององค์กรรูปแบบพิเศษที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลให้มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ได้แก่ องค์กรมหาชน องค์กรลักษณะพิเศษภายในกระทรวง หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ เป็นต้น ทั้งในเรื่องการกำหนดอัตราเงินเดือนเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ แนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน ทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546- 2550

ยุทธศาสตร์ 4: การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่

4.1 เร่งสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงหรือระดับหัวกะทิ เข้าสู่ระบบราชการไทย โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของการพัฒนาระบบราชการ ทั้งในระดับผู้บริหารระดับต้น และผู้บริหารระดับอาวุโส โดยอาจคัดเลือกจากข้าราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันและบุคคลภายนอกทั่วไปที่มีขีดความสามารถและศักยภาพสูงให้เข้าสู่การอบรมในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการรัฐกิจ (Public Entrepreneurship)

4.2 พิจารณาความเป็นไปได้ของการนำระบบการเลือกสรรระบบเปิดที่เน้นหลักสมรรถนะการบริหารจัดการมาใช้กับผู้บริหารระดับสูงทุกตำแหน่ง

4.3 ทบทวนและปรับเปลี่ยนระบบการจำแนกตำแหน่ง และค่าตอบแทนให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ การแข่งขัน ความขาดแคลน และการบริหารราชการแนวใหม่ โดยปรับระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น หลากหลายและแตกต่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ตำแหน่งและความก้าวหน้าในสายอาชีพ เงื่อนไขการจ้างงาน การออกจากราชการ เงินเดือนค่าตอบแทนและสวัสดิการ การวัดและประเมินผลบุคคล เป็นต้น ซึ่งอาจแยกออกได้ในมิติต่างๆ เช่น ด้านศักยภาพ/สมรรถภาพ ด้านสายอาชีพ เป็นต้น

(ก) มิติด้านศักยภาพ/สมรรถภาพ

โดยอาจแยกออกเป็นระบบบริหารงานบุคคลสำหรับกลุ่มข้าราชการผู้มีขีดความสามารถ

สูง และ ระบบบริหารงานบุคคลสำหรับกลุ่มข้าราชการสายปกติ

(ข) มิติด้านสายอาชีพ

โดยอาจแยกออกเป็นระบบบริหารงานบุคคลสำหรับกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น ครู-อาจารย์

แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ อัยการ เป็นต้น

4.4 เพิ่มผลิตภาพของข้าราชการ โดยให้มีการจัดทำเป้าหมายการทำงาน ขีดความสามารถ และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของแต่ละบุคคลอย่างเป็นระบบมากขึ้น รวมถึงการเชื่อมโยงให้เข้ากับการสร้างแรงจูงใจ

4.5 ให้แต่ละส่วนราชการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเชิงยุทธศาสตร์ โดยยึดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การ และขีดความสามารถที่จำเป็น (Competency-based Approach)

4.6 ปรับปรุงขีดสมรรถนะของศูนย์พัฒนาและโอนถ่ายบุคลากรภาครัฐ รวมทั้งจัดให้มีตำแหน่งทดแทนหรือสำรองราชการขึ้นในระบบข้าราชการพลเรือน เพื่อประโยชน์ในการหมุนเวียนโอนย้าย และพัฒนาข้าราชการ

4.7 พัฒนากลไกและกระบวนการในการรักษาและปกป้องระบบคุณธรรมในวงราชการ รวมถึงการปรับปรุงระบบวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ให้มีความเหมาะสม

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2551- 2555

1. ยกระดับการให้บริการและการทำงาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

2. ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

3. มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถ ในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ

4. สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชนและต่อสังคมโดยรวม

แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ.2548-2551)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ค. การพัฒนาระบบราชการ

3. ปรับโครงสร้างส่วนราชการและระบบบริหารงานให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิผล

3.3 ปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ รวมทั้งการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

5. พัฒนาขีดสมรรถนะและวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรและหน่วยงานภาครัฐ

5.1 ส่งเสริมและผลักดันให้มีการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

5.2 พัฒนาระบบแรงจูงใจ ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน รวมทั้งคุณภาพชีวิตการทำงาน เพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจของข้าราชการ

5.3 ส่งเสริมบุคลากรและหน่วยงานภาครัฐให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพของข้าราชการได้แก่ การพัฒนาบุคลากร ภูมิปัญญา การจัดการความรู้ องค์การแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่านิยม และวัฒนธรรม

แผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554

ข้อที่ 8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน

(5) การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลให้ทันสมัยและเสริมสร้างบุคลากรภาครัฐให้

สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยให้มี การจัดระบบงานให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัวรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารผลงานและสมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการส่งมอบบริการสาธารณะ พร้อมทั้งการพัฒนาข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการรุ่นใหม่ที่จะต้องเป็นกำลังสำคัญของภาคราชการในอนาคต รวมทั้ง จัดให้มีการปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละสายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้งการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งนี้ เพื่อ

1. พัฒนาศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐให้มีขีดความสามารถและความยืดหยุ่นคล่องตัวตอบสนองต่อการปฏิบัติราชการและการส่งมอบบริการสาธารณะ

2. วางมาตรการ/ระบบในการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาผลงาน

3. พัฒนาข้าราชการในตำแหน่งที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ และสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ เพื่อให้รองรับกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

4.พัฒนาระบบแรงจูงใจเงินเดือน ค่าตอบแทน รวมทั้งคุณภาพชีวิตการทำงานให้สามารถจูงใจคนเก่ง คนดี เข้าสู่ระบบราชการและรักษาไว้ในระบบราชการ

5. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

6. สร้างคนเก่งคนดีผู้มีความรู้ความสามารถในส่วนราชการ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการระบบการบริหารภาครัฐ ทั้งในเรื่องโครงสร้าง รูปแบบ วิธีการทำงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคแห่งการแข่งขันไร้พรมแดน (Globalization) เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge based economy) ที่ต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยี ความสามารถของบุคลากร องค์ความรู้ และการบริหารจัดการองค์การที่ดี เป็นองค์ประกอบ ทั้งนี้การเสริมสมรรถนะขีดความสามารถ จึงถือว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพ เพื่อการได้เปรียบในการแข่งขัน หรือเป็นผู้นำในการแข่งขัน ซึ่งในบทต่อไปเราจะมีพูดกันถึงเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐกัน

"ทรัพยากร (Resource)" ทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญ ที่เป็นปัจจัยต้นทุน กล่าวกันว่าประเทศที่มีทรัพยากรมาก ย่อมมีต้นทุนความได้เปรียบทางการแข่งขัน ในการสร้างผลผลิต และในด้านการพัฒนามกาเช่นกัน เช่น มีสินแร่ หรือแร่ธาตุที่สำคัญจำนวนมาก เช่น ทองคำ เหล็ก เงิน ทองแดง ดีบุก น้ำมัน ตลอดจนมีทรัพยากรธรรมชาติมาก เช่นมีผืนที่เป็นป่าอยู่มาก มีต้นน้ำลำธาร พืชพรรณธัญญาหาร สมุนไพร ต้นไม้ดอกไม้อยู่มาก มีสัตว์ป่าอยู่มาก มีทะเล มีสัตว์น้ำ ปะการัง จำนวนมาก รวมถึงมีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ เหมาะแก่การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต ถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่ง รวมถึง ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรจากลม จากแสงแดด หรือพลังงานความร้อน ทรัพยากรที่กล่าวถึงคือ เราสามารถสัมผัสได้จับต้องได้ เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้สามารถแปรเป็นมูลค่าหรือผลผลิตได้ เช่น แปรเป็นผลผลิตทางการเกษตร ผลผลิตทางการประมง ผลผลิตจากการท่องเที่ยว ผลผลิตจากการแปรรูป เป็นต้น

ในปัจจุบัน มนุษย์ เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญ และมีคุณค่ามากที่สุด นั่นคือ ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถแปรให้อยู่ในรูปของต้นทุนได้ เรียกว่า "ทุนมนุษย์" ที่จะสร้างผลผลิตที่เกิดประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมหาศาล ทุนมนุษย์นี้ที่จะช่วยสร้างหรือพัฒนาประเทสชาติ องค์กรหรือหน่วยงาน ให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ดังนั้นการบริหารทรัพยากร (Resource Management) จึงมีความสำคัญนั่นคือ การเรื่องของ การสรรหา พัฒนา รักษาไว้ ใช้ประโยชน์ นั่นเอง เช่น

ทรัพยากรธรรมชาติ เรามีกระบวนการในการสรรหาทรัพยากรธรรมชาติที่สด ใหม่ เพื่อนำไปพัฒนาแปรรูปเป็นผลผลิตหรือผลผลิตภัณฑ์ และนำไปใช้ประโยชน์ในการบริโภค โดยลืมไปว่า หากเราใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น โดยไม่มีการธำรงรักษาไว้ ไม่นานทรัพยากรเหล่านี้จะหมด สูญพันธุ์ไปในที่สุด

ทรัพยากรมนุษย์ เราย่อมมีกระบวนการในการสรรหาทรัพยากรมนุษย์ให้อยู่คู่กับองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อนำไปพัฒนาด้วยการเสริมสมรรถนะและศักยภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และปัญญา ให้สมบูรณ์เพื่อให้พร้อมต่อการทำงาน และนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสร้างผลผลิต สร้างชื่อเสียง หรือสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร ในการบรรลุต่อเป้าหมายององค์กรหรือหน่วยงาน ให้นานที่สุด จนกว่าจะพ้นออกจากงานหรือเกษียณอายุไปในที่สุด ซึ่งหากเราไม่ธำรงรักษาไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์และเกียรติภูมิของทรัพยากรมนุษย์นั้น ไม่นานองค์กรก็จะขาดคนดี มีความสามารถ มีฝีมือไปในที่สุด

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ทุนมนุษย์ (Human Capital)

"ทุนมนุษย์" (Human Capital) นี้ ความหมายแรกเป็นความหมายที่มองมนุษย์ในฐานะเจ้าของแรงงาน เป็นความหมายที่เป็นรูปธรรม เป็นคำที่เกิดมาตั้งแต่สมัย อดัม สมิท ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อมา Gary Becker ได้ศึกษาค้นคว้าและกำหนดขึ้นมาเป็นทฤษฎีที่เรียกว่าทฤษฎีทุนมนุษย์โดยมุ่งเน้นการลงทุนไปที่ขีดความสามารถและทักษะในการทำงานของบุคลากรในองค์กร ต่อมา William R.Tracey ได้ให้คำนิยามทุนมนุษย์ไว้ว่า หมายถึง ผลตอบแทนที่องค์กรได้รับจากความจงรักภักดี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความพยายาม ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของบุคลากรในองค์กร

อีกความหมายหนึ่ง เป็นความหมายตามที่ Theodore W. Schultz นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ให้ไว้ในปี ค.ศ. 1961 (พ.ศ. 2504) ในบทความชื่อ Investment in Human Capital ในวารสาร American Economic Review บ้านเราเริ่มได้ยินคำว่า Human Capital ในความหมายนี้กันในราวปี พ.ศ. 2544 โดย Schultz ให้ความหมายคำว่า “ทุนมนุษย์” ในบทความของเขาว่า หมายถึง ความสามารถหลายๆอย่างที่อยู่ในตัวคน ทั้งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Innate) หรือเกิดจากการสะสมเรียนรู้ โดยแต่ละบุคคลที่เกิดมาจะมียีนส์เฉพาะของแต่ละบุคคลซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถ คุณลักษณะเหล่านี้เป็นคุณลักษณะที่มีคุณค่า ซึ่งคุณค่านี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการลงทุนที่เหมาะสม

Lynda Gratton และ Sumantra Ghoshal ได้ให้ความหมายของ “ทุนมนุษย์” ว่าหมายถึงส่วนผสมของ 3 สิ่ง คือ

1. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ประกอบด้วย ความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทักษะ ประสบการณ์ที่คนสะสมไว้ รวมทั้งความรู้ที่อยู่ในตัวเราที่เรียกว่า Tacit Knowledge

2. ทุนทางสังคม (Social Capital) ประกอบด้วยเครือข่ายความสัมพันธ์

3. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆเช่น การรับรู้ตนเอง (Self Awareness) ความมีศักดิ์ศรี (Integrity) การมีความยืดหยุ่น (Resilience)

เชษฐชัย วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการจัดทรัพยากรบุคคล บริษัท แมนเนจเมนท์คอนซัลแตนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวถึงแนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ว่า “การบริหารทุนมนุษย์ที่ดี มีผลต่อความเจริญ ความมั่นคงและความสำเร็จขององค์กร” องค์กรที่จะประสบความสำเร็จ และมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องต้องบริหาร“ทุนมนุษย์” ให้ดี และเหนือกว่าคู่แข่งเพื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยกลยุทธ์การบริหาร/จัดการและเงินทุนแต่ละองค์กรสามารถ ซื้อหากันได้ไม่แตกต่างกัน หากมีเงินทุนที่เพียงพอ แต่ “ทุนมนุษย์” ไม่ใช่สิ่งที่จะหาซื้อกันได้ง่าย ๆ ต้องใช้เวลาในการสร้าง พัฒนา และรักษา ให้ก้าวหน้าเติบใหญ่ไปพร้อมกับองค์กร ดังนั้น “คน” จึงเป็นตัวสร้างความแตกต่างระหว่างองค์กรที่สำเร็จกับองค์กรที่ล้มเหลว การบริหาร “ทุนมนุษย์” ที่ดี หมายถึง

- การสร้างคนในองค์กรให้สามารถใช้ขีดความสามารถของตน ได้อย่างดีที่สุด

- ให้มีแรงจูงใจในการทำงานสูงสุดตลอดเวลา

เชษฐภูมิ วรรณไพศาล ได้กล่าวไว้ใน คอลัมน์ "คำบริหารคน" ว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ยอมรับว่า “การลงทุน” ใน “ทรัพยากรมนุษย์” ด้วยการให้การศึกษาและการฝึกอบรมวิชาการและความรู้ต่างๆแก่บุคคล จะยกระดับขีดความสามารถของบุคคลดังกล่าวในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้นของ “ผลิตภาพ” นั่นเอง นอกจากนั้นก็ยังยอมรับว่าความแตกต่างในเงินเดินค่าจ้างประชากรในเกณฑ์อายุ และกลุ่มอาชีพที่แตกต่างกันนั้น เนื่องมาจาก “ผลิตภาพ” ในการทำงานของบุคคล ซึ่งจะสูงต่ำเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษาที่บุคคลได้รับตลอดจนประสบการณ์จากการฝึกอบรมที่ผ่านมาเช่นกัน ความยากง่ายในการหางานทำ หรือในการตกงานก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างเดียวกัน คือความรู้จากการศึกษาและการฝึกงาน ทำให้เกิดต้นทุนจากการลงทุนเพื่อการศึกษาและการฝึกงาน ต้องถูกนำมาคำนวณเป็นต้นทุนการผลิตด้วย

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ย่อมจะต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ เช่นเดียวกับการลงทุนในทรัพย์สินถาวร ซึ่งในการนี้จะเกี่ยวพันไปถึงทฤษฎีว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การศึกษา โดยถือว่าค่าใช้จ่ายในการศึกษาเป็นการลงทุน มิใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริโภค ยิ่งกว่านั้น ทุนที่เป็นบุคคล หรือทรัพยากรมนุษย์ก็มิได้ประกอบด้วยความรู้ การศึกษา และประสบการณ์เท่านั้น แต่ยังจะต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์อีกด้วย ซึ่งทำให้การลงทุนดังกล่าวต้องขยายไปถึงค่าใช้จ่ายในการสาธารณสุขด้วย โดยเชื่อมโยงไปถึงเศรษฐศาสตร์การสาธารณสุขที่จะต้องพิจารณาในแง่ของความคุ้ม และความไม่คุ้มเช่นเดียวกัน ทฤษฎีที่ว่าด้วยทุนอันเป็นบุคคล หรือทรัพยากรมนุษย์ได้รับความเอาใจใส่ในระหว่างครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปในฐานะที่เป็นหนึ่งในสามของการลงทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยการลงทุนอีกสองส่วนก็คือ การลงทุนในทรัพย์สินถาวร และการลงทุนในเทคโนโลยี

โดยสรุป ทุนมนุษย์ อาจมองได้ทั้งในแง่ตัวบุคคล (มองคนเป็นต้นทุน) และในแง่การพัฒนาตัวบุคคล (มองกิจกรรมหรือพฤติกรรมเป็นต้นทุน) ในแง่ตัวบุคคลจะมองว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สดขององค์กร และถ้าองค์กรมีนโยบายที่ชัดเจน มีวิธีการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำทุนเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงกันองค์กร ในฐานะที่เป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) อย่างเต็มที่ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน เกิดศักยภาพและมีความพร้อมในการแข่งขันได้

และในแง่การพัฒนาตัวบุคคลนั้น ทุนมนุษย์ อาจหมายถึง กิจกรรมหรือพฤติกรรม ที่แสดงออกส่งผลต่อระดับรายได้ที่เป็นเงิน หรือ ผลทางจิตใจ โดยผ่านการเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ความชำนาญ ความสามารถในตัวบุคคล อันได้แก่ การศึกษาเรียนรู้ , การฝึกอบรมและพัฒนา, การปรับปรุงสุขภาพกายและจิตใจ, การจัดสรรเวลา เป็นต้น

จากวิกฤตทางเศรษฐกิจ ส่งผลทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนทรัพยากรอย่างหนัก ที่ผ่านมา ทำให้มนุษย์เริ่มเกิดการช่วงชิง แสวงหา ทรัพยากรที่มีคุณค่าเพื่อมาครอบครองและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือ เกิดความคุ้มค่าและเกิดประสิทธิผล ซึ่ง ในทางธุรกิจก็เช่นกัน ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรง จึงเป็นเหตุให้องค์กรต้องเริ่มหันมาตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าในเรื่องของการบริหารจัดการ "คน" ในองค์กรมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างคนให้สร้างคุณค่า (Value Creation) และความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage) ให้กับองค์กรนั่นเอง

บริหารทุนมนุษย์... บริหารงาน บริหารคน

อย่างไร ก็ตาม ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งต้องใช้เวลาสะสม ไม่สามารถซื้อหามาได้ง่าย แต่ก็มีมูลค่าเพิ่ม หากนำไปใช้ตามเป้าประสงค์ และในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะเน้นการแข่งขันที่ทุนความรู้ขององค์กร องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้นั้น จึงต้องตระหนักในการที่จะนำเอาทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้คือทรัพยากรบุคคลมาสร้างคุณค่า ให้กับองค์กร อันได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Abilities) ประสบการณ์ (Experiences) สมรรถนะ (Competency)

และในฐานะที่บุคคลเป็นทุนในองค์กรที่จะสร้างองค์ความรู้ให้กับองค์กร แม้ว่าองค์กรจะอยู่ในฐานะนายจ้างโดยมีบุคคลผู้เป็นเจ้าของ “ทุนมนุษย์” เป็นลูกจ้าง แต่ “ทุนมนุษย์” ซึ่งเป็นคุณสมบัติภายในของลูกจ้างก็ยังเป็นของลูกจ้าง หาได้เป็นของนายจ้างแต่อย่างใด แนวความคิดที่แยกทุนมนุษย์ออกต่างหากจากตัวลูกจ้างจึงเป็นสิ่งท้าทายความสามารถในการจัดการความรู้ขององค์กรที่จะทำอย่างไรจึงจะสามารถดึง Tacit Knowledge นี้ออกมาจากตัวลูกจ้างได้โดยสมัครใจ ดังนั้น การบริหาร “ทุนมนุษย์” จะเน้นคุณค่าของคน (Value of People) และสิ่งที่คนสร้าง มากกว่าสนใจตัวกระบวนการหรือหน้าที่ด้านบุคคล (HR Function) และให้ความสำคัญกับการประเมินวิธีการที่ใช้ในการบริหารคนและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "ทุนทางปัญญา"

ศ.ดร.สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ ได้ให้ความหมายของคำว่า ทุนทางปัญญา หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวเงินแต่เป็นสินทรัพย์ที่เกิดจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

• ทุนที่เกิดจากความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ (Hand)

• ทุนที่เกิดจากความคิดวิเคราะห์หาเหตุผลที่ถูกที่ควร (Head)

• ทุนที่เกิดจากความรู้สึกของเรา (Heart)

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ได้ให้ความหมายคำว่า การสร้างทุนทางปัญญา คือการดึงเอาความสามารถที่มีอยู่ในคนทุกคน มาผนวกกับความรู้ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และสร้างเครือข่ายความรู้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการ ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้กระบวนการรวบรวมทุนทางปัญญา จัดการองค์ประกอบเหล่านี้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่า เพราะคนไทยมีทุนทางปัญญามากมาย

ลีฟ เอ็ดวินส์สัน (Leif Edvinsson) ได้ให้คำจำกัดความว่า ทุนทางปัญญาคือ “การเป็นเจ้าของความรู้ การประยุกต์ประสบการณ์ เทคโนโลยีขององค์กรความสัมพันธ์กับลูกค้า และความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้ บริษัทสามารถแข่งขันได้ในตลาด”

และได้มีผู้ให้คำจำกัดความของ ทุนทางปัญญา (IC)อาจจะหมายถึง“วัตถุทางปัญญาซึ่งถูกสร้างขึ้น จับรวบรวม และยกระดับขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์สิน” หรือ “ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นจากกิจกรรมทางปัญญาจากการได้รับความรู้หรือการเรียนรู้ และการประดิษฐ์ไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่า”

โดยสรุปความหมายของ ทุนทางปัญญา จึงเป็นต้นทุนที่เกิดจากปัญญาของมนุษย์ ที่นำมาสร้างคุณค่า อันเกิดจากพฤติกรรมและการถ่ายทอดทางปัญญาของตัวบุคคลและสร้างมูลค่า อันเกิดจากการแปรคุณค่าที่เกิดขึ้นให้เป็นมูลค่าเพื่อเพิ่มราคาของสินทรัพย์นั้นให้สูงขึ้น ดังนั้น

นางสาวปราถนา เชาน์สฎฐกุล

ไม่ว่าจะเป็นที่ใด หลังพายุโหมพัดกระหน่ำ บ้านเรือนต่างราพนาสูร ผู้คนย่อมจ่อมจมกับความสูญเสีย แต่สำหรับคน ‘ชายแดนใต้’ กลับหนักหนากว่ายิ่งกว่า เพราะ ‘พายุ’ ที่นั่นช่างรุนแรงและ ‘ซับซ้อน’ เหลือเกิน

ตัวอย่างหนึ่งคือกรณีครอบครัวประมงพื้นบ้านแห่ง ‘บ้านปาตา’ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี ที่ดิ้นรนต่อสู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต โดยมีตัวแปรสำคัญคือการให้ได้มาซึ่งการครอบครอง ‘กรรมสิทธิ์ที่ดิน’ ประมาณ ๒๐๐ ไร่เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นอีกมากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า ประปา ฯลฯ ตามกลไกหรือระเบียบปฏิบัติตามกฎหมายทั่วไป

“พวกเราต่อสู้กันมายาวนานเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาดูแลความเป็นอยู่ของ ชุมชน” นายแวซอเฮาะ เวาะโซะ ประธานชมรมประมงพื้นบ้านตันหยงลุโละ กล่าวคำหนักแน่น ในฐานะที่พยายามสานต่อให้ลมหายใจของชุมชนสามารถดำรงอยู่รอดต่อไปได้ด้วยความ ‘มั่นคง’ ขึ้น ในครั้งที่ผู้เขียนมีโอกาสไปเยือนก่อนหน้าจะโดนพายุฝนถล่มยับ

นายมามะ เจ๊ะอามะ รองประธานชมรมประมงพื้นบ้านฯ เล่าสภาพในชุมชนว่า มีประชากรอยู่จำนวน ๓๗ ครัวเรือน สมาชิกรวมกันแล้วประมาณ 100คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเกลือ ประมงพื้นบ้าน เลี้ยงหอยแครง และมีบ้างที่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป สมาชิกที่เป็นวัยรุ่นในวัยทำงาน ส่วนหนึ่งออกไปประกอบอาชีพหารายได้นอกพื้นที่ และบ้างไปทำงานในมาเลเซีย ทำให้รายได้ที่ได้มาพอดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้นไม่ค่อยมั่นคงนัก

“ปัญหาคือพวกเราไม่สามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ทำให้มีผลต่อสภาพเป็นอยู่ พอติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เขาก็ให้เหตุผลว่าดำเนินการให้ไม่ได้ เพราะบ้านไม่มีเลขที่บ้าน แม้นจะให้เหตุผลว่าผืนดินที่พวกเราอาศัยอยู่เป็นที่ดินงอก และอาศัยอยู่กันมานานถึง27ปีมาแล้ว จึงน่าจะขอเอกสารสิทธิ์ในที่ดินได้ เคยไปร้องเรียนกำนัน และ อบต. แต่ทุกอย่างก็เงียบหายไป เพราะต่างคนต่างโยนเรื่องกันไปมา” นายมามะ เจ๊ะอามะ กล่าว

เมื่อผู้เขียนมีโอกาสสอบถาม นายอรรถสิทธิ์ ณ พัทลุง นักวิชาการที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัดปัตตานี ได้ให้ข้อสังเกตและตั้งสมมติฐาน โดยยกข้อความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 'การออกโฉนดที่ดินที่งอกริมตลิ่ง' ว่า เรื่อง ‘ที่ดินงอก’ ตามประมวลกฎหมายมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอยู่ คงต้องมีการตรวจสอบกันอีกครั้งให้ชัดเจน

“หากพิจารณาจากแผนที่และจุดระวางที่ดิน เข้าใจว่าที่ดินที่ชาวบ้านเข้าไปอาศัยอยู่เป็นที่ดินสาธารณะแปลงใหญ่แปลง หนึ่งที่มีการตรวจสอบไว้ชัดเจนแล้ว หรือหากเป็นกรณีที่ไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ แต่เป็นที่ดินงอก ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ดี เพราะไม่ได้ถือครองโฉนดหรือกรรมสิทธิ์ที่ดินใดไว้ คนที่จะครอบครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินงอกได้ ต้องเป็นคนที่มีโฉนดที่ดินติดกับที่ดินงอกเท่านั้น”

ประมวลภาพจากข้อมูลเท่าที่ได้ประจักษ์ นับว่า 'ชะตากรรม' ของชาวบ้านยังคงแขวนอยู่กับ ‘โชคชะตา’ และการพยายามแสวงหา ‘ทางออก’ แทนที่จะจมปลักกับวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้คุณภาพตามสิทธิเท่าที่ พึงมีพึงได้ตาม ‘สิทธิแห่งพลเมืองไทย’ แม้กระทั่งในหลักปฏิบัติระดับสากล ซึ่งเป็นกติการะหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ (UN) ก็มีการบัญญัติว่าด้วยสิทธิไว้มากมาย ถือเป็น ‘ปฏิญญาสากล’ ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ต้องเคารพ

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ทุกฝ่ายพยายามหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ ปรากฏว่าหลังพายุถล่มหนักในพื้นที่ ‘ชายแดนใต้’ ชุมชนของชาวประมงพื้นบ้านแห่ง ‘บ้านปาตา-ตันหยงลุโละ’ ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด

เช่นเดียวกับ ‘ครอบครัวมะมิง’ ซึ่งอยู่ในชุมชนใกล้เคียง แม้นพายุฝนจักทำลายข้าวของในบ้านไปบ้าง แต่ก็คงไม่ได้เสี้ยวหนึ่งของพายุที่โหมกระหน่ำสาดซัดชะตากรรมแก่สมาชิกใน ครอบครัว เพราะ ‘โศกนาฏกรรม’ ที่เกิดขึ้นกับบุตรชาย คือ ‘มัคตาร์ มะมิง’ นั้นถือว่าหนักหนายิ่งนัก

“กองเกลือที่ถือเป็นรายได้หลัก และเตรียมพร้อมไว้ขายแล้ว หายไปกับสายน้ำทันทีที่น้ำไหลบ่าท่วมท้น ทำให้ต้องสูญเสียรายได้ไปประมาณ 5000บาท” เจะมะ มะมิง ชาวบ้านตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กล่าวถึงผลกระทบที่ได้รับหลังจากพายุฝนถล่มพื้นที่ ซึ่งนั่นทำให้สภาพบ้านพลอยได้รับความเสียหายไปด้วย

ผ่านมาเนิ่นนานพอควร เงินเยียวยาภาครัฐที่สัญญากับชาวบ้านว่าจะให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้เดือด ร้อนครัวเรือนละ 5000 บาท ยังไม่ถึงมือชาวบ้านสักที ทั้งที่มีเจ้าหน้าที่มาสำรวจและทำข้อมูลนานแล้ว ยิ่งกว่านั้นสำหรับ ‘ครอบครัวมะมิง’ กลับต้องเผชิญ ‘ชะตากรรม’ มากกว่าเพื่อนบ้านโดยทั่วไป เพราะผู้นำครอบครัวนี้มีอาชีพทำนาเกลือ ซึ่งสำหรับ ‘เจะมะ มะมิง’ เขาถือว่านี่คือ ‘วิถี’ ที่ต้องการดำรงให้คงอยู่ต่อไปเพราะความซื่อสัตย์ในอาชีพและการคาดหวังถึง ‘รายได้’ ที่จะได้รับเพื่อนำมาจุนเจือครอบครัว แต่วิถีของการทำอาชีพ ‘นาเกลือ’ ก็แทบจะไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐ อาจเป็นเพราะเป็นแนวทางที่ ‘คนส่วนน้อย’ เท่านั้นที่ยึดเป็นอาชีพ

อีกประการหนึ่ง ‘ครอบครัวมะมิง’ คือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เพราะหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว คือ ‘มัคตาร์ มะมิง’ ต้องกลายเป็นคนตาพิการบอดสนิททั้ง 2 ข้างใช้ชีวิตอยู่ภายใต้โลกสีหม่นหลายปีมาแล้ว แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ มากมาย แต่บาดแผลทั้งทางร่างกายและหัวใจ ยังคงต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางจังหวัดปัตตานีก็พิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีของ ‘มัคตาร์ มะมิง’ สมควรได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเป็นกรณีพิเศษจากภาคส่วนต่างๆ และเป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ทางจังหวัดปัตตานีโดย ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ลงนามในจดหมายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553เพื่อขอความอนุเคราะห์ถึง ‘ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์’ ให้ผู้ป่วยได้พักรักษาตัวในห้องพิเศษ และพิจารณาช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าห้องพิเศษในส่วนที่เกินจากสิทธิซึ่งไม่สามารถเบิกได้ตามระเบียบฯ อีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบตามสมควร

โดยให้ข้อมูลว่า ด้วย นางสาวเจ๊ะปัตเราะ มะมิง อยู่บ้านเลขที่ 84 หมู่ที่ 2 ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นน้าของนายมัคตาร์ มะมิง ผู้ได้รับผลกระทบกรณีเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวน ได้วางเพลิง เผาสัญญาณโทรศัพท์ บริเวณพื้นที่ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 และในห้วงเดียวกัน เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งออกปฏิบัติหน้าที่ ได้ยิงบุคคลในบริเวณที่เกิดเหตุ โดยเข้าใจว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบที่จะซุ่มทำร้ายเจ้าหน้าที่

“ในเหตุการณ์ดังกล่าว มีนายมัคตาร์ฯ รวมอยู่ด้วย ทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ตาบอด 2 ข้าง ได้มาติดต่อเพื่อขอความอนุเคราะห์จากจังหวัด ยกเว้นค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจากสิทธิซึ่งไม่สามารถเบิกได้ตามระเบียบฯ โดยแจ้งว่าขณะนี้ นายมัคตาร์ฯ ได้เข้าตรวจรักษาตาและสมองที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ทุกเดือน ซึ่งทางโรงพยาบาลศูนย์ยะลาได้ส่งตัวนายมัคตาร์ฯ ให้ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อผ่าตัดตา เนื่องจากทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลส่วนหนึ่งสามารถเบิกได้ตามสิทธิ แต่ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินซึ่งต้องจ่ายเอง โดยเฉพาะค่าห้องพิเศษ และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ประสบปัญหาในการหารายได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาดังกล่าว”

จากผลของ ‘โศกนาฏกรรม’ ที่ส่งผลกระทบต่อสถานภาพของ ‘คนชายแดนใต้’ โดยเฉพาะชุมชนที่มีลักษณะพิเศษทางวิถีชีวิต วัฒนธรรม การประกอบอาชีพ ฯลฯ และต้องเผชิญกับปัญหา ‘ไฟใต้’ ที่ยังคงดำรงอยู่ สะท้อนมิติซับซ้อนที่ดำรงอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ ในฐานะของ ‘ทุนมนุษย์’ ที่มีความสำคัญยิ่ง

ปัจจัยสำคัญคงอยู่ที่ ‘ภาครัฐ’ หรือ ‘คน’ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง จะหาแนวทางให้ความช่วยเหลืออย่างไร ‘ทุนมนุษย์’ เหล่านี้ถึงจะมีวิถีชีวิตที่ ‘สง่างาม’ บนผืนแผ่นดินแห่งความอาทรและเต็มเปี่ยมไปด้วยความเป็น ‘พี่น้อง’ แทนที่จะจ่อมจมกับความทุกข์โศก และรู้สึกว่ารัฐ ‘ไม่เหลียวแล’

Q: สรุปเนื้อหาการอ่านหนังสือ/บทความ โยงกับเรื่องที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

A: ถอดบทเรียนจากหนังสือ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) บูรณาการแนวคิดการจัดการทุนมนุษย์ ในทฤษฎี 8k ประเด็น Sustainability Capital

พระธรรมปิฎก ท่านได้เรียบเรียงเนื้อหาเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ ทางตันของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน และ ต้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน

1.ทางตันของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน กล่าวถึงเนื้อหาตั้งแต่โลกเริ่มการพัฒนา การจัดกลุ่มประเทศโดยองค์กรระหว่างชาติว่าด้วยการพัฒนา 3 กลุ่ม มีการจัดสรรทุนในการพัฒนาสำหรับประเทศโลกที่สาม ยึดถือการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนา

สำหรับประเทศไทย มีการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ต่อมาได้ก่อเกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ซึ่งมีการระดมสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และกิจการอุตสาหกรรม ถึงกับมีคำขวัญของรัฐประชาสัมพันธ์ทุกเช้าเย็นว่า "งานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุข" และ "ศึกษาดี มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์" ตลอดจนมีการขอร้องให้พระงดการสอนเรื่องความสันโดษ ซึ่งเป็นการเข้าใจหลักธรรมที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งเป็นการมองในลักษณะกีดขวางทางการพัฒนา ที่เน้นการพัฒนาวัตถุสภาพ เช่น การสร้างตึกราม บ้านช่อง และถนนหนทางเป็นต้น ป่าจึงเป็นลักษณะของความไม่เจริญ จึงมีการตัดต้นไม้กันมาก

แผนพัฒนาระยะต่อมา ได้เติมประเด็นทางด้านสังคม เพื่อให้เจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีการกล่าวถึงเรืองศีลธรรม วัฒนธรรม แต่ไม่ชัดเจน ไม่มีข้อกำหนดเชิงปฏิบัติ ทำให้ประเทศประสบปัญหาทางด้านจิตใจและสังคม แผนระยะต่อ ๆ มาจึงกำหนดให้มีกลยุทธ์ในการพัฒนาวัฒนธรรมด้านจิตใจให้ชัดเจนขึ้น

ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา ประสบปัญหาทางสังคม และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งเรื่องความเสื่อมทางศีลธรรม ปัญหาเยาวชน อบายมุข สิ่งเสพติด ความรุนแรงและอาชญากรรม การก่อการร้าย ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมีมากขึ้น ผู้คนมีความเครียดสูง มีความรู้สึกแปลกแยก จิตใจเปราะบาง ไร้ความหมายในชีวิต ก่อเกิดลัทธิทางความเชื่อต่าง ๆ เช่น hippy เป็นต้น

ปัญหาจากการพัฒนาได้ลามไปถึงสภาพแวดล้อม ของดีที่มีอยู่ในโลก ถูกผลาญให้หมดไป ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ มลภาวะระบายออกสู่โลก ประกอบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ และมลภาวะเข้าถึงขั้นวิกฤติ

ปัญหาจากการพัฒนาประการต่อมา คือ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งทดแทนธรรมชาติ แม้จะเป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นประโยชน์ แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว อย่างน้อย 2 ประการ คือ ปัญหาต่อสุภาพ เช่น สาร CFC ที่ใช้กับตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องกระป่อง เป็นต้น เป็นตัวทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ และเทคโนโลยีทำให้สูญเสียอิสรภาพ ทำให้ไม่สามารถอยู่ดีมีสุขได้โดยลำพัง ต้องพึ่งพาในการเสพบริโภค ให้เกิดความสุข

ปัญหาดังกล่าวมาข้างต้น ก่อเกิดความตระหนักรู้ร่วมกัน มีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสภาพแวดล้อมของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา และการจัดทำ Agenda 21 เพื่อดำเนินการให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม มีดุลยภาพ การปรับกิจกรรมของมนุษย์ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ

เปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาของจีนที่สูงขึ้นและทั่วโลก

Yao Li, John Whalley, Shunming Zhang, Zhao และ Xiliang

1 Introduction

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการศึกษาระดับสูงที่ได้รับ กำลังในประเทศจีนตั้งแต่ปี 1999 และมีการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั่วโลก นี้ การเปลี่ยนแปลงได้มีส่วนร่วมผูกพันทรัพยากรที่สำคัญใหม่เพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาและ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในรูปแบบองค์กรสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนอย่างต่อเนื่อง การเจริญเติบโตสูงผ่านยกระดับคุณภาพและการผลิตของความคิดและปัญญา ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ป้อน ขนาดชั้นเรียนและลงทะเบียนเรียนของนักเรียนทั้งหมดได้เกิดขึ้นได้เร็วขึ้นประมาณ quintupling ก่อนที่จะมีการเพิ่มขึ้นของ 1999 ในพื้นที่เหล่านี้มีขนาดเล็กมาก มากของ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะเน้นในมหาวิทยาลัยชั้นยอดและสัญญาใหม่ที่แตกต่างกันทางวิชาการ อย่างรวดเร็วจากคนก่อนหน้าซึ่งขาดวาระการดำรงตำแหน่งและมักจะใช้โควต้าสิ่งพิมพ์ประจำปี การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีอยู่แล้วได้ส่งผลกระทบต่อขนาดใหญ่ในระบบการศึกษาของจีนที่สูงขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นที่จะรู้สึกโดยโครงสร้างของการศึกษาทั่วโลก อุปทานแรงงานที่มีทักษะใน จีนตอนนี้เท่ากับประมาณ 40% ของที่อยู่ในทุกประเทศ OECD และอัตราการเติบโตของ ตัวเลขนักเรียนจะสูงกว่าใน OECD เราขอแนะนำว่าในปีที่มาถึง เลื่อนเหล่านี้อาจมีผลกระทบที่สำคัญสำหรับการค้าโลกทั้งโดยตรงในความคิดและใน ผลิตภัณฑ์ ideadriven การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ตอนนี้ดูเหมือนจะค่อนข้างต่ำในเอกสาร วรรณกรรม การเปลี่ยนแปลงที่เราจะหารือถึงยังสะท้อนถึงกลยุทธ์ที่กว้างของความพยายามที่จะปรับรุ่น เนื้อหาที่มีคุณภาพและทักษะของการผลิตของจีนผ่านการเพิ่มขึ้นของขนาดใหญ่ในที่สูงขึ้น ปัจจัยการผลิตทรัพยากรการศึกษาและการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศจีน กลยุทธ์นี้ นำโดยผู้กำหนดนโยบาย highlevel ในประเทศจีนจะดูเหมือนไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยการวิเคราะห์ของ ด้านความต้องการของตลาดแรงงาน เพิ่มมากขึ้นในจำนวนของบุคคลที่มี การศึกษาที่สูงขึ้นได้สร้างปัญหา shortterm อย่างมีนัยสำคัญของการดูดซึม และการว่างงานของแรงงานดังกล่าวในพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้มีนโยบายการศึกษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้นของจีน กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงของจีนแตกต่างกัน จากที่ของประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ lowwage เช่นอินเดียซึ่งมุ่งเน้นการ ประถมหรือมัธยมมากกว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษา การเปลี่ยนแปลงมีนัยสำคัญอาจเกิดขึ้นกับระบบการศึกษาทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงของจีนจะมีผลกระทบต่อทั่วโลกเกี่ยวกับอุปกรณ์ญาติของแรงงานที่มีฝีมือ, สิ่งพิมพ์ทางวิชาการและการค้าในความคิดและผลิตภัณฑ์ idearelated กลยุทธ์ที่อาจ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนการรับรู้ของเราในการเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาและการเจริญเติบโต กระดาษนอกจากนี้ยังมี คาดว่าเกี่ยวกับประสิทธิภาพของนโยบายเหล่านี้ จีนน่าจะเป็นคนเดียวในหมู่ที่ต่ำกว่า เศรษฐกิจรายได้ในการมีการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งเน้นการศึกษาในปีที่ผ่านมาเมื่อ ภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษา แต่ในเวลาเดียวกันประเทศจีนเป็นอย่างชัดเจนในระดับที่รุนแรง การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ต่างๆของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและระบบการศึกษาเป็นเพียง หนึ่งเหล่านี้ ความพยายามก่อนหน้านี้ในประเทศอื่น ๆ ที่จะใช้การเปลี่ยนแปลงการศึกษาเป็น กลไกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อรักษาอัตราการเติบโตสูงหรือในการเริ่มต้นตอนของการเจริญเติบโตสูงมี โดยทั่วไปถือว่าเป็นประสบความสำเร็จ แต่ความพยายามเหล่านั้นมุ่งเน้นในระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา ความพยายามของจีนดูเหมือนจะเป็นแรงจูงใจจากความต้องการที่จะรักษาสูง การเจริญเติบโตโดยใช้การแปลงการศึกษาเป็นกลไกหลักในการใช้สกิล การอัพเกรดและการเพิ่มผลผลิตปัจจัยรวม ถ้ามันประสบความสำเร็จในประเทศอื่น ๆ อาจจะปฏิบัติตาม ทำให้การแข่งขันด้านการศึกษาสูงกว่า ส่วนที่เหลือของกระดาษที่ได้มีการจัดการดังต่อไปนี้ มาตรา 2 ชุดออกขนาดกว้างของ กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในประเทศจีน, การวาดภาพบนล่าสุดทั่วประเทศ ข้อมูล มาตรา 3 ให้การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงนโยบายที่อยู่เบื้องหลังนโยบายการศึกษาเหล่านี้และวิธีการ พวกเขาเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กว้างขึ้นตอนนี้ถูกใช้ในการรักษาอัตราการเติบโตสูง ในทางเศรษฐกิจของจีนผ่านรูปแบบต่างๆของการอัพเกรดที่มีคุณภาพ มาตรา 4 การประเมิน ประสิทธิผลของนโยบายการเปลี่ยนแปลงการศึกษา มาตรา 5 การประเมินในวงกว้าง ทั่วโลกผลกระทบของการแปลงกำลังในประเทศจีนและมาตรา 6 สรุป

2 ขนาดของการแปลงการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศจีน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาของจีนที่สูงขึ้นตั้งแต่ปี 1999 จะมี ค่อนข้างเอกสารต่ำในวรรณคดีที่มี แต่การเปลี่ยนแปลงที่มีขนาดใหญ่และ ดูเหมือนว่ามีความหมายที่สำคัญสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศจีนและทั่วโลก ตั้งแต่ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีประชากร 1.3 พันล้าน ข้างล่างนี้เราตั้งค่าออกบางส่วน มิติของการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้อง

2.1 การเพิ่มขึ้นของขนาดใหญ่ในจำนวนนักเรียน

2.2 ปริญญาเอกเพิ่มเติม วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนโดย 2010 กว่าในสหรัฐอเมริกา

2.3 การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการเข้าถึงการศึกษาที่สูงขึ้นสำหรับในเมืองและชนบท ครัวเรือน

2.4 โปรโมชั่นของมหาวิทยาลัยและการรวมยอดของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ

จากการเรียนกับอาจารย์ได้มีความเห็นว่า มีส่วนในการพัฒนาศักยภาพทางด้านการศึกษาโยนำ หลักหารจัดการเรียนรู้ 4 L’s ,k., Learning Methodology ,Learning Environment,Learning Opportunities,Learning Communities อีกทั้งในส่วนของ Macro ไปสู่ Micro ซึ่งมีการวิเคราะห์ก่อนจะพัฒนาหรือบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งในระดับประเทศ และระดับอินเตอร์ฯ เราคงจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกและกระตุ้นให้ประเทศตื่นตัวปรับนโยบายทั้งระดับ Macro และ Microและหลักทฤษฏีของ 8 k ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT และทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ และหลักของ 5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม ทำให้การศึกษาในประเทศจีนมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นักเรียนส่วนใหญ่ทั้งในเมืองและในชนบท มีความกระตือรือร้นในการเรียน ที่เห็นได้ชัดก็คือการรักในการอ่าน นักเรียนจะตื่นแต่เช้าเพื่อมาอ่านหนังสือ และในตอนกลางวันเมื่อมีเวลาว่าก็จะอ่านหนังสือตลอดเวลา เพื่อที่จะถีบตังเองให้พ้นจากความยากจน จนในปัจจุบัน มีการเรียนการสอนในภาษาญี่ปุ่นทางด้าน IT เพื่อตอบสนองทางด้านการตลาดอีกด้วย

สรุปบทความ

How to Cultivate Engaged Employees

จากการอ่านสามารถสรุปได้ประเด็นดังต่อไปนี้

1. การสร้างความสัมพันธ์

การสร้างความสัมพันธ์ เราไม่สามารถเลือกการสัมพันธ์เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น เพราะตัวบุคคลแต่ละคนจะประกอบด้วยความสามารถและความรู้ประกอบกัน โดยธรรมชาติแล้วบุคคลจะมีองค์ประกอบเป็นตัวของเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกายภาพ ทางด้านจิตใจ ด้านการงานและชีวิตส่วนตัว การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเริ่มจากตัวบุคคลในองค์กรเป็นอันดับแรก รวมถึงวัฒนธรรมขององค์กร และบรรยากาศของความไว้วางใจ ความเข้าใจกัน สร้างอารมณ์ร่วมกัน พร้อมทั้งเข้าใจบุคคลอื่น เข้าใจธรรมชาติของคนความรู้สึกที่แตกต่าง เข้าใจว่าเป็นใคร มีความรู้ความสามารถทักษะอย่างไร เมื่อเรารู้ข้อมูลเหล่านี้เบื้องต้นก็จะส่งผลถึงการสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กร

2. ความเป็นเจ้าขององค์กร

ความเป็นเจ้าขององค์กรมักจะเกิดขึ้นมาจากจิตสำนึก การมีส่วนร่วมของคนทุกคนภายในองค์กร โดยให้มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์หรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร โดยจะต้องสร้างองค์กรให้เกิดการยอมรับของคนทุกคนภายในองค์กร และให้แต่ละคนรู้บทบาทหน้าที่ มีความตระหนักในความเป็นเจ้าขององค์กร มีกิจกรรมให้กับทุกคนทำร่วมกัน เปิดโอกาสให้มีการเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้และทักษะทั้งจากภายในองค์กรรวมถึงภายนอกองค์กร ให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาองค์กร

3. การรักกันของคนในองค์กร

การรักกันของคนในองค์กร จะต้องเกิดจากการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ภายในองค์กรระหว่างหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ให้มีจิตใจที่ผูกพันกับองค์กร มีวิสัยทัศน์ที่ดี มีความสุขในการทำงาน มีความสามัคคีกันของคนภายในองค์กร สร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน จึงเป็นผลให้เกิดการยากทำงานให้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้ในองค์กรสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง

4. การทำตัวเป็นนายที่ดี

เริ่มจาก ความเที่ยงธรรมกับลูกน้อง จะทำให้เขามีความจงรักภักดีต่อองค์กร เพราะลูกน้องแต่ละคนเขาจะมีความคาดหวังในตัวเจ้านายเป็นอย่างสูง ดังนั้นจึงจะต้องใช้ไมตรีจิตและน้ำใจควบคุมลูกน้อง โดยให้หลีกเลี่ยงการใช้อำนาจหรือเงิน เฝ้าสังเกตเอาใจใส่ลูกน้องเสมอ แสดงออกด้วยความจริงใจไม่ดีแต่พูด ให้พูดจริงทำจริง แสดงความรับผิดชอบกับงานที่ลูกน้องทำผิดพลาด รับฟังความคิดเห็นของลูกน้องโดยไม่สรุปเอาความคิดของตัวเองหรือเอาประสบการณ์มาตัดสิน แต่ต้องฟังอย่างเป็นกลางและฟังอย่างเข้าใจลูกน้อง รวมทั้งแบ่งปันความดีความชอบและชื่นชมความสำเร็จของงานว่าเกิดจากทุกคนไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง กระตุ้นให้ลูกน้องทำงานอย่างเต็มความสามารถ และสร้างสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ตลอดเวลา

เสนอ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ จัดทำโดย นางกรนิภา ไตรนฟื้น รหัสนักศึกษา 53484932011 นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์จังหวัดเลย

รัตมณี เสนีกาญจน์ สวนสุนันทา กรุงเทพ

จากเนื้อหาบทความเรื่อง “ HOW TO CULTIVATE ENGAGED EMPLOYEES”

1. ให้เจียมเนื้อเจียมตัว (Be Modest) การที่จะเป็นผู้นำนั้นต้องคำนึงถึงสภาวะหลาย ๆ อย่างซึ่งทุกคนที่อยู่ในองค์กรมีความสำคัญ แต่จะมากน้อยแล้วแต่กรณี 2. ฟังให้มาก ๆ และแสดงมันออกมา (Listen Seriously and Show it ) ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับฟังความคิดเห็นก่อนที่จะดำเนินการจะต้องมีการหาข้อเท็จจริงในทุกๆ ด้านและจะต้องสร้างให้คนในองค์กรเกิดความจงรักภัคดีกับองค์กร 3. ฟังความคิดเห็น( Invite Disagreement) เป็นเรื่องยากที่ทางผู้บริหารจะยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่เพื่อให้การบริหารเป็นไปโดยสมบูรณ์ข้อมูลบางอย่างถ้าไม่ฟังข้อเท็จจริงจากผู้ที่ลงมือปฏิบัติก็ไม่อาจที่จะรู้ได้และเป็นการหาข้อมูลที่แท้จริงเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ 4. ดูบริบทขององค์กร( Focus the Agenda ) ผู้นำต้องลำดับความสำคัญของงานก่อนหลัง เพื่อที่จะได้แก้ไขให้ตรงกับความจำเป็นนั้น ๆ หลาย ต่อหลายครั้งที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าไม่เรียงลำดับความสำคัญทำให้สิ่งที่สำคัญที่สุดหรือปัญหาที่ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วนนั้นถูกลืมไป 5. อย่าพยายามที่จะหาคำตอบทั้งหมด( Don’t Try to Have All the Answers) ผู้นำบางครั้งก็ต้องไม่ทำในบางอย่างเพราะเราเองอาจจะไม่รู้ข้อเท็จจริงเท่ากับฝ่ายปฏิบัติการ 6. ไม่ยืนยันว่าจะต้องตัดสินใจ( Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ผู้นำจะต้องไม่ตัดสินใจเพียงลำพังในทุก ๆเรื่องและจะต้อมหาข้อสรุปจากฝ่ายปฏิบัติการก่อนเพื่อจะได้รู้ถึงข้อมูลที่แท้จริง

ตามกระบวนคิดของ ดร.จีระ ได้ให้ทัศนคติไว้ว่า “ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร” ฉะนั้นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องมี 8 K ในการบริหารเพื่อให้กงกรนั้นมีความยั่งยืน อยู่ได้ในระยะยาวและไม่เอาเปรียบสังคมหรือทำให้สังคมเดือดร้อน และเพื่อให้ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงบริหารองค์กรได้อย่างมีความสุข โดย ดร.จีระ ได้ให้แนวคิดในการสร้างทุนแห่งความสุขไว้ ว่า ต้องมีสุขภาพกาย จิตใจพร้อม เป็นคนชอบทำงาน รู้เป้าหมาย ความหมายของงาน ที่ทำ มีความสามารถที่จะทำงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ เรียนรู้งานจากลูกค้าตลอดเวลา เตรียมตัวให้พร้อม ทำการทำงานเป็นทีม ไม่ทำคนเดียว ทำงานที่ท้าทาย และสุดท้ายงานที่ทำต้องมีคุณค่า

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์ รหัสนักศึกษา 53484931019

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

How to Cultivate Engaged Employees

บทความนี้กล่าวถึง วิธีการสร้าง "การมีส่วนร่วม" ระหว่างผู้บังคับบัญชา (ผู้บริหาร) กับ ผู้ใต้บังคับบัญชา (พนักงาน) เป็นบทความที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้นำ ที่ยึดติดกับการบริหารคนในรูปแบบเก่า ที่เน้นการเป็นผู้นำจากบนลงล่าง และ ลำดับชั้นของการบังคับบัญชา หรือที่เรารู้จักกันดี คือ “ระบบเจ้าขุนมูลนาย” ซึ่งมิน่าเชื่อว่าในปัจจุบันยังมีองค์กรที่มีผู้บริหาร ที่มีระบบความคิดแบบเจ้าขุนมูลนาย และยังหลงอยู่กับระบบเดิม ๆ นี้อยู่อีกมาก จะเห็นได้ชัดจากองค์กรที่ประกอบด้วยคนหลายยุคอยู่รวมกัน เช่น ยุค Baby Boomer กับ ยุค Generation X และ Generation Y

ผู้เขียนบทความนี้กล่าวถึง วิธีการบริหารงานที่มีคุณค่า คือการที่ไม่พยายามที่จะควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิด, ความรู้และประสบการณ์ เพื่อนำมาเป็นองค์ความรู้ร่วมกันพัฒนาให้องค์กรมีความก้าวหน้า

การที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการปฎิบัติงานนั้น ผู้บังคับบัญชา (ผู้บริหาร) จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. Be Modest (การอ่อนน้อมถ่อมตน) ในอดีตเราคิดว่าผู้นำที่ดีนั้น จะต้องมีลักษณะที่ Aggressive หรือ Assertive ที่มีความมุ่งมั่น กล้าแสดงออก อาจจะเป็นพวกแรงผลักดันที่ต้องการให้ตนเองประสบความสำเร็จสูง แต่แนวโน้มใหม่ คือผู้บริหารที่ดีนั้นควรจะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อในอดีต โดยผู้นำยุคใหม่ ควรจะเป็นผู้นำที่ไม่ได้มองที่ตนเองหรือความสำเร็จของตนเองเป็นหลัก แต่ควรจะให้ความสำคัญต่อความสำเร็จของลูกน้องหรือทีมงานของตนเอง พร้อมกันนั้นผู้นำในยุคใหม่ควรจะเป็นผู้ที่มีความถ่อมตน ไม่แสดงออกมาก หรือ ไม่พยายามเป็นจุดศูนย์กลางความคิด แต่ควรจะมีการแสดงออกเล็กๆ น้อยๆ ที่เมื่อผู้อื่นเห็นแล้วเกิดความประทับใจ และความรู้สึกที่ดีด้วย

2. Listen Seriously and Show it (ฟังอย่างตั้งใจและแสดงความคิดเห็นเมื่อถึงเวลา)

การที่พนักงานจะเปิดใจพูดกับผู้บังคับบัญชา (ผู้บริหาร) จะต้องอาศัยความกล้าหาญและความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก ในฐานะของผู้บริหารและรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผู้บริหารไม่สามารถหรือไม่ควรนำพนักงาน ที่ทำงานด้วยมามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เมื่อผู้บริหารขอความเห็นจากพวกเขา จะมีสิ่งที่ดีมาก ๆ เกิดขึ้น ก่อนที่ผู้บริหารจะได้รับคำตอบเสียด้วย นั่นคือ ผู้บริหารได้แสดงความนับถือต่อพนักงานของเขา, ผู้บริหารได้แสดงให้พนักงานเห็นว่า ตนเองมีคำตอบอยู่แล้ว, ผู้บริหารเปิดตัวเองเพื่อให้ได้รับโอกาสที่จะได้ข้อมูลที่มีคุณค่ามาก ซึ่งนั้นหมายถึง ผู้บริหารจะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น

3. Invite Disagreement (ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา)

หากพนักงานแสดงความเห็นอย่างจริงใจ ผู้บริหารควรจะถือว่านั่นเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเห็นว่าความเห็นนั้นเหมาะสมดีก็ควรพูดชมเชย แต่ถ้าเห็นว่าความเห็นยังไม่เข้าทีนัก ควรหารือเกี่ยวกับความเห็นของส่วนรวม

4. Focus the agenda (มุ่งเน้นวาระการประชุมที่สำคัญ)

ในการประชุมควรระบุประเด็นการประชุมให้ชัดเจน, ยึดอยู่กับหัวข้อในการพูดคุยแต่ละครั้ง เนื่องจากเราจะไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมดในองค์กรจากการหารือเพียงครั้งเดียว แต่ในการประชุมแต่ละครั้งจะสามารถทราบความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเห็นผล

5. Don’t Try to Have All the Answers (อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ)

ปัญหาทุกอย่างไม่จำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องได้รับคำตอบทุกประเด็นในเวลาเดียวกันเพราะผู้บริหารไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้โดยลำพัง ควรสร้างให้พนักงานมีการคิดริเริ่มเพื่อให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหา

6. Don’t Insist that A Decision Must Be Made (อย่าคิดว่าการตัดสินใจของตนเองต้องถูกต้องเสมอ)

ผู้บริหารที่ดี ต้องไม่ปิดกั้นตนเองจากความคิดเห็นของคนอื่น แต่ต้องขยันฟังความคิดของผู้อื่นมาผนวกเข้ากับความรู้ของตน เพื่อยกระดับความคิดให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่

กล่าวได้ว่า องค์กรใดมีผู้นำที่สร้างคนได้ องค์กรนั้นรุ่งโรจน์ ถึงเวลาที่คิดขยับ ขับเคลื่อนความคิดสู่โลกใบใหม่ ความเป็นหนึ่งเดียว คือ พลังสูงสุด

ผู้นำทีม (ผู้บริหาร) ที่ดีจะมองโลกในแง่ดี กระตือรือร้น สนับสนุน น่าเชื่อถือ เป็นที่เคารพนับถือ และอดทน ผู้นำที่ดี ควรทำงานร่วมกับพนักงาน ไม่ใช่ทำงานเหนือพวกเขา ควรอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยกันกับพนักงาน และมีส่วนร่วมในเป้าหมายเดียวกัน เมื่อผลงานออกมาดี ทุกคนทั้งหมดทำดีด้วย องค์กรจะไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อองค์กรนั้นมีภาวะผู้นำทีม (ผู้บริหาร) มาก ๆ และเป็นเจ้านาย น้อย ๆ

เจ้านายจะพูด ผู้นำทีมจะฟัง

เจ้านายจะพยายามแก้ปัญหา ผู้นำทีม พยามยามรักษาทีมให้อยู่ห่างจากปัญหา (มีการวางแผน ร่วมกันเพื่อป้องกันปัญหา)

เจ้านายสั่งงาน ผู้นำทีม ริเริ่มความท้าทาย

เจ้านายทำงานอยู่ข้างบน ผู้นำทีมทำงานร่วมกับพนักงาน

เจ้านายจะหาคำตำหนิ ผู้นำทีมจะแสดงความรับผิดชอบ

นายวิสิษฐ์ ใจอาจ รหัสนักศึกษา 53484931023 (ศูนย์ภูเก็ต)

กระผมได้อ่านบทความเรื่อง บริหารคน บนกระแสโลก (ทุนมนุษย์) = f ปัญญา + f (สังคม) + f (อารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ)

กระแสคน กระแสโลก ครั้งนี้ ยังคนเกาะติดแนวคิดของ Jonas Ridderstrale และ Mark Wilcox สองกูรูด้านการบริหารคนบนกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญ "คน" และแนวทางการพัฒนา "ทุนมนุษย์" ในอันที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าให้แก่องค์การ สังคม ประเทศชาติ และโลกอย่างยั่งยืน

ทั้งสองกูรู เสนอว่า การสร้างสภาพแวดล้อมบรรยากาศการทำงานที่เหมาะสมจะมีอิทธิพลต่อคุณภาพงานคุณภาพชีวิตของคนทำงาน พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้นำองค์การเห็นความสำคัญของการสื่อสารทำความเข้าใจ การสร้างการยอมรับ การกระจายอำนาจ การบริหาร และสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาวิธีคิด วิธีการทำงานใหม่ๆ ให้แก่คนทำงาน

เขาทั้งสองเห็นว่า การให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงานที่ดีนั้น ต้องไม่เป็นเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการแค่ในเชิงกายภาพ (ภายนอก) เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงความต้องการด้านจิตใจ (ภายใน) ของคนทำงานด้วย ภายใต้หลักแนวคิดนี้ ผู้นำองค์การจึงจำเป็นต้อง "คิดใหม่" โดยปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การบริหารจากเดิมที่เคยเชื่อว่า ภาวะผู้นำ คือความสามารถในการแปรเปลี่ยนวิสัยทัศน์ขององค์การให้มีผลในทางปฏิบัติได้โดยเร็วในทันที โดยมองข้ามการสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) ของคนในองค์การออกไป

"ในยุคสมัยนี้ ภาวะผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เหมือนพวกประเภทอาคิมิดิส มาแนแช่ในอ่าง สังเกตเห็นน้ำล้นออกมาแล้วร้อง "ยูเรก้า" (Eureka-ฉันพบแล้ว) ขึ้นได้เพียงลำพัง แต่เขาต้องสามารถสร้างความสำเร็จขึ้นโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากความสามารถในการเชื่อมต่อจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การอย่างเป็นมืออาชีพ" กลยุทธ์ประการหนึ่งเพื่อการปรับระบบการบริหารบุคคลภายในองค์การ คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจากเดิมที่เน้นระเบียบธุรกรรมอย่างเป็นทางการ ไปสู่รูปแบบที่เห็น "คน" เป็น "คน" ที่มีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ชีวิต จิตใจ ไม่ใช่เพียงเป็น "ทรัพยากรเพื่อการผลิต" ประเภทหนึ่ง

ศาสตร์ใหม่ในการบริหารคนยุคโลกาภิวัฒน์ ใช่ว่าจะละเลยคุณค่าเดิมของแนวทางการบริหารคนไปเสียหมด แน่นอนที่ว่า การเห็นความสำคัญของการสร้างทุนปัญญา (Intellectual Capital ) เป็นผลจากการศึกษา ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ แต่คู่ขนานกันไปกับการพัฒนาทุนมนุษย์ จำเป็นต้องให้คุณค่าและความสำคัญต่อการสร้างทุนจิตใจ (Psychological Capital) ที่ความเชื่อมั่นการมองโลกในแง่ดีและความุมุ่งมั่น อดทน ยืดหยุ่น คล่องตัว พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบที่มาอย่างไม่สามารถคาดเดา เช่นเดียวกันกับการสร้างทุนทางสังคม (Social Capital) ที่มีผลต่อคุณภาพงานและคุณภาพชีวิตของคนทำงาน คนทุกคนต้องการผู้ที่จะมาสนับสนุน ยอมรับเป็นพวก องค์การที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ด้วยคนที่ทำงานที่ความแตกต่างหลากหลาย จะประสบความสำเร็จบนเวทีโลกยุคใหม่ การศึกษาวิจัยในเรื่องของการบริหารคนจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่าการที่องค์การสร้างการยอมรับและรู้จักใช้ในเรื่องของความแตกต่างของบุคคลภายในองค์การ ไม่เพียงแต่ทำให้องค์การขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ยังทำให้เกิดหนทางไปสู่ค่านิยมสร้างสรรค์ขององค์การได้

แม้ไม่อาจหลีกพ้นความจริงแห่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ที่เกี่ยวข้องกับ "คน" นั่นคือ การที่คนมีความแตกต่าง ทั้งในเรื่องของชาติ ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ แต่กระนั้นในโลกยุคไร้พรมแดนใบนี้ การแบ่งคนตามเผ่าพันธุ์ตามขอบเขตพรมแดนถูมิศาสตร์นั้นกลายเป็นสิ่งที่สำคัญน้อยลงไป ผลแห่งกระแสโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้แหล่งกำเนิดของคนกลับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญน้อยกว่า ค่านิยมร่วมและเป้าหมายของชีวิต (และการทำงาน) ผู้คนยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานหรือลูกค้าผู้รับบริการ ต่างแสวงหาองค์การหรือสถาบันที่สามารถคุ้มหัว หรือให้ความหมายเชิงคุณค่าสำหรับพวกเขา คนจะถือสัญชาติ เชื้อชาติใด ไม่สำคัญเท่ากับความสามารถในการเชื่อมต่อจิตใจกับคนอื่นอย่างมีจุดหมาย ค่านิยมร่วมกัน กลุ่มคนรักดนตรีฮิปฮอป แฟนสโมสรฟุตบอลระดับโลก ที่มีจำนวนรวมมากกว่าจำนวนประชากรของประเทศหนึ่งๆ นับหลายเท่าพันทวี เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด

Ridderstrale และ Wilcox สนับสนุนแนวคิดนี้ โดยตั้งคำถามว่า องค์การจะสร้างให้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์ แปลกแยก โดดเด่นขึ้นได้อย่างไร หากกระบวนการการสรรหาคัดเลือกขององค์การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานให้องค์การรับแต่คนที่มีรูปแบบคิดแบบเดียวกันเข้ามาทำงาน หรือในกระบวนการการพัฒนาและบริหารผลการทำงานกำหนดมาตรฐานการทำงานเป็นแบบเดียว "บางที สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับองค์การ คือการที่ผู้นำองค์การต้องยอมรับคัดเลือกคนที่ไม่ชอบวิธีคิดให้เข้ามาร่วมงานด้วย" นั่นเพราะความขัดแย้งสร้างสรรค์มักนำเราไปสู่ทางเลือกทางความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนเดิมอยู่เสมอ พวกเขาแนะกลยุทธ์การบริหารคนในองค์การว่า ควรให้ความสำคัญในการสร้าง "ความคิดที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์" มากกว่าที่จะพยายามลบหรือลดความแตกต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดในเชิงลบออกไป แม้ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำจริงได้ยาก แต่เขาทั้งสองก็ยังยืนยันแนวคิดนี้ "เราไม่ได้ต้องการให้องค์การสร้างให้ "ทุกคน" ในองค์การ กลายเป็นคนที่มีความคิดแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งนั่นไม่อานทำได้จริง และเราก็ไม่ได้ต้องการให้ผู้นำองค์การ ต้องกำจัดคนที่คิดเห็น "แตกต่างในเชิงทำลาย" ไปเสียหมดถ้วนทั่วทุกตัวคน" พวกเขาเชื่อว่า องค์การสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ ด้วยการสื่อสารองค์การ ด้วยการสร้างค่านิยมร่วมขึ้นมาบางอย่าง

"การคิดนอกกรอบ เกิดขึ้นบนพื้นฐานของสองสิ่ง หนึ่งคือ การที่องค์การมี"คน" ที่มีความสร้างสรรค์ และสอง คือการที่องค์การมี"กรอบ" ไว้เปรียบเทียบ เราจะรู้ได้ว่าอะไรคือดี อะไรคือสร้างสรรค์ เมื่อเรามีสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่บ่อนทำลาย เป็นฐานการเปรียบเทียบอยู่ตรงนั้นอย่าเสียเวลามากเกินไปกับการมัวแต่ "กำจัดจุดอ่อน" กับคนส่วนเดียวที่ยังล้าหลัง กับการบริหารผลการทำงานที่ไม่ดี การบริหารคนรุ่นใหม่ในยุคสมัยนี้ ควรไปเน้นความสำคัญกับการพัฒนา การสนับสนุน คนเก่งคนดี "เสริมสร้างจุดแข็ง" ขององค์การให้แข็งแกร่งขึ้นจะดีกว่า"

นางจงดี พฤกษารักษ์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นางสาวจงดี พฤกษารักษ์ รหัส 53484931011

วิชา สัมนาการจัดการทุนมนุษย์ระหว่างประเทศ (PHD 8201)

(Semina in In ternational Human Capital Management)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

ตอบข้อ 2 : ดิฉันได้อ่านเอกสารภาษาอังกฤษที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง How to Cultivate Engaged Employees ซึ่งจะประสบการณ์การทำงานของผู้แต่งคือ "Charalambos A. Vlachoutsicos" เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นองค์ความรู้พอสังเขปได้ดังนี้

1.) Be Modest "จงอ่อนน้อมถ่อมตน" ในฐานะผู้บริหารที่แสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทุกเรื่องในธุรกิจในกรณีนี้แม้จะเป็นเรื่องจริงมากเพียงใดก็ตาม แต่ การเป็นภาวะผู้นำจำเป็นอย่างยิ่งแสดงบทบาทเป็นผู้นำให้คำแนะนำแลกเปลี่ยนประสบการณ์

2.) Listcn Seriously and Showit "ฟังอย่างตั้งใจและแสดงความคิดเห็นเมื่อถึงเวลา" ในฐานะผู้บริหารจงให้ความสนใจในการฟังอย่างรอบด้านไม่ใช้เฉพาะในที่ประชุมและต้องนำสิ่งที่เสนอให้ความสำคัญมาวางแผนและพัฒนาปรับปรุง

3.) Invite Disagreement "เชิญชวนการแสดงสิ่งที่ไม่เห็นด้วยเพื่อลดความขัดแย้ง" ในฐานะผู้บริหารยินดี ในสิ่งที่ไม่เห็นด้วยกับเรา แต่ นั้นเป็นความท้าทายของผู้นำ เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพซึ่งเป็นการเปิดให้องค์กรมีวัฒนธรรมเปิดกว้างทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชากล้าแสดงความคิดเห็นการสะท้อนปัญหาพร้อมในการพูดคุยกันเพื่อให้คำแนะนำจากลูกทีม

4.) Focus the agenda "มุ่งเน้นวาระการประชุมที่สำคัญ" ในฐานะผู้บริหารต้องมุ่งเน้นวาระการประชุมเป็นสำคัญ ซึ่งการประชุมสมบูรณ์ และบรรลุตามเป้าหมาย

5.) Don't Try to Have All the Answcrs "อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ" ในฐานะผู้บริหารไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาทุกเรื่อง

6.) Don't Insist that A Decision Must Be Mode "อย่าคิดว่า การตัดสินใจของตนเองต้องถูกต้องเสมอ" ในฐานะผู้บริหารควรจะร่วมกันหาแนวทางได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับกระบวนการคิด ซึ่งสอดคล้องกับท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านกล่าวว่า "มีรูปแบบหลายๆอย่างไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียวกันโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ ภายใต้กรอบของทุนมนุษย์ 8K ' s และ 5K ' s ทุนทางความรู้ " ผู้บริหารมีทักษะและทัศนคติจะต้องมองวิเคราะห์ปัญหาและการเรียนรู้ ประกอบด้วย Reality มองความจริงและ Relevance ตรงประเด็น ทุนทางจริยธรรมด้วยหลักการง่ายๆ คนเป็นผู้นำจะต้องเป็นคนดี มีใจเป็นธรรม มีความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดลงไปสู่ลูกน้อง ส่วน "ทุนนวัตกรรม" มุ่งเน้นให้เกิดการคิดนอกกรอบมุ่งหาความรู้ รูปแบบความรู้จากแหล่งอื่นๆ ไม่ใช่ที่คุ้นเคยที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ......และต่อเนื่อง ความเหมือนและความแตกต่างกันในเรื่องการเป็นผู้นำ Charalambos A. Vlochotscos และสอดคล้องกับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านได้กล่าวพร้อมทั้งจุดเน้นเกี่ยวกับแนวคิดชื่อหัวข้อแตกต่างแต่ ผลปฏิบัติคล้ายกัน ได้แก่ทุนปัญญา (Intellcetural Capital) ความสามารถวิเคราะห์เป็นและนำไปสู่มูลค่า (Value) และมูลค่าเพิ่ม พร้อมนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา ซึ่งดิฉันคิดว่า "พัฒนาคนให้เป็นคนเก่งคิด เก่งทำและต้องหาทางจูงใจให้คนเหล่านี้ อยากอยู่ อยากคิด อยากทำ เพื่อบรรลุเป้าหมาย" ดิฉันค้นพบจากการอ่านเอกสารพร้อมกับได้รับความรู้จากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สัมนาการจัดการทุนมนุษย์ระหว่างประเทศ

(Semina in International Human Capital Management) "ทุนทางปัญญา คิดเป็น คิดวิเคราะห์ รู้สึกรู้จริง นำมาใช้เป็นประโยชน์" การขาดสมดุลทางเศรษฐกิจเมื่อความยากจนจำนวนมากกว่า กระเป๋าสตางค์มีว่างเปล่า เพราะความยากจนนำไปสู่ทุกปัญหาของสังคม แม้ ทั้งการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นปัญหาของคนฐานล่าง (Bottom of Pyramid) คนจำนวนมากที่สร้างสรรค์แนวทางการช่วยเหลือเพื่อให้คนยากจนมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจากการทำงานในชุมชน สอดคล้องกับ

ท่าน รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัตน์ กล่าวว่า "ความยั่งยืนมาเป็นแรงดึงดูดแรงงานในการสร้างชีวิตการทำงานให้ดีมีเป้าหมายร่วมกันมากกำไร แต่ เป็นเรื่องการแบ่งปันคุณค่าเป็นหัวใจสำคัญ" ซึ่งดิฉันได้รับแรงดลบันดาลใจจากท่าน ศ.ดรจีระ หงส์ลดาภิรมภ์

ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมต่างๆ เพราะคนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องทำงานแทนเครื่องจักร ถึงเครื่องจักรจะทันสมัยแค่ไหน ก็ไม่มีความสามารถที่หลากหลาย และสลับซับซ้อน ได้เมือน การทำงานของสมองมนุษย์ หรืออีกนัยหนึ่ง เครื่องจักรจะมีสมรรถนะมีความแม่นยำสูง และมีความทนทานกว่ามนุษย๋ แต่ ไม่มีทักษะที่จะสามารถพัฒนาตนเองได้ ไม่สามารถวางแผนกลยุทธคิดเขิงระบบ หรือก้าวไปสู่การคิดนอกกรอบได้ ดังคำกล่าวที่ว่า คนคือศูนย์กลางของการพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่วนปัจจัยภายใน การรักษาผลกำไรของผู้ถือหุ้น การจัดบรรยากาศในสถานที่ทำงานและการสร้างวัฒนธรรมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันถือเป็นปัจจัยสำคัญ ถ้าหากไม่มีการฝึกฝนอย่างถูกต้องสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อขานรับประชาคมการค้าเสรีในยุคโลกาภิวัฒน์

ท้ายสุดนี้ดิฉันได้อ่านเอกสารเรื่อง How to Cultivate Engaged Employees โดย Charalambos จากการถ่ายทอดประสบการณ์ พบว่า มนูษย์ถือเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) โดยไม่สามารถวัดเป็นมูลค่าทางธุรกิจเป็นตัวเงิน ในข้อเท็จจริงแล้วสามารถแปลงสภาพให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถเทียบมูลค่าออกมาได้และยังสามารถทำให้การดำเนินธุรกิจไปได้อย่างดี ถ้าหากเปลี่ยนจากการมองคนเป็นค่าใช่จ่ายไปสู่การมองคนเป็นสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าในตัวเองได้ ทั้งด้านความรู้ความสามารถทักษะ หรือความชำนาญ โดนเน้นความสำคัญในเรื่องความรู้และสติปัญญา ในการนำข้อมูลสารสนเทศ (IT) ทั้งหลายมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลผลอตที่มีคุณภาพออกมาก่อนและก่อให้เกิดข้อได้เปรียบขององค์กรในสถานการณ์ที่มีสภาพแข่งขันสูงโดยมีการประสานงานดำเนินการร่วมกัน ส่วนในกรณีทุนทางสังคมที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในลักษณะเชิงบูรณาการความรู้และทักษะไม่ใช่ต่างคนต่างทำ สอดคล้องกับ Teamwork's the Key Tosuccess

เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างยั่นยืน อันนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Eeonomic Community : AEC) อย่างแท้จริง ดิฉันคิดว่าเอกสาร เรื่อง How to Cultivate Engaged Emplo yees โดย Charalambos A. Vlachoutsieos นั้นมี 6 ประเด็นข้างต้นได้แก่

1.) Be Modest

2.) Listen

3.) Invite Disareement

4.) Focus the agenda

5.) Don't Try to Have All the Answers

6.) Don't Insist that A Decision Must Be Mode ซึ่งดิฉันคิดว่ายังต้องประกอบด้วย

1.) Physical Development

2.) Economical Development

3.) Social Development

4.) Healthy Development

5.) Ethical Development รวมทั้งปัจจัยสร้างความสำเร็จการจัดการทุนมนุษย์ 4 ขั้นตอน "PDCA" ได้แก่

1.) การวางแผน P = Plan

2.) การปฏิบัติตามแผน D = DO

3.) การตรวจสอบผลการปฏิบัติ C = Cheek

4.) การพัฒนา / การปรับปรุง A = Action พร้อมทั้งเกิด

1.) Happiness สร้างความสุขโดยเฉพาะอย่างยั่งยืนเพื่อสังคม

2.) Respect การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

3.) Dignity การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

4.) Sustainability ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมาย ดิฉันขอขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้ดิฉันค้นพบจากการอ่านเอกสารเรื่องนี้ ได้ตกผนึกเกี่ยวกับ 2 ประเด็นได้แก่ Inspiration and Inagiration รวมทั้ง Lcarning from paim ; Learning from expcrience and Learning from listering รวมทั้ง "3D" ได้แก่ (1) Dcmocracy (2) Decency

(3) Drugs Free ได้รับมูลค่า 3 ประเด็น (1) Value Added (2) Value Creation (3) Value Diversity

จากเอกสาร How to Culiivate Engaged Employees โดยถ่ายทอดประสบการณ์จาก Charalambos A. Vlachoutsieos ดิฉันคิดว่า ต้องมี 5 องค์ประกอบทำให้การบริหารจัดการมนุษย์ประสบความสำเร็จ ได้แก่

1.) IQ = (intellig ence Quotient)

2.) EQ = (Emotional Quotient)

3.) AQ = (Adversity Quotient)

4.) TQ = (Technology Quotient)

5.) MQ = (Morality Quotient)

ข้อคิด "คนสำเร็จมองปัญญาเป็นโอกาส คนล้มเหลวมองโอกาสเป็นปัญหา"

ขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ (ศูนย์ภูเก็ต)

แนวทางสร้าง “ครู” ในองค์กร

เป็นที่น่าปลาบปลื้มใจยิ่งที่วันครูแห่งชาติ 16 มกราคม ปีนี้ ทั่วทุกแห่งหนได้จัดให้มีการแสดงออกถึงความสำนึกในพระคุณของคุณครูกันอย่าง ชัดเจนและยิ่งใหญ่ แน่ชัดว่าคงเป็นด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่พระองค์ทรงเป็นองค์แม่พิมพ์ แม่แบบของการเป็นครูผู้ทรงมีอุดมการณ์ และจิตวิญญาณของความเป็นครูที่เสียสละถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป ทุกคนทุกภาคส่วนจึงต่างน้อมรำลึกถึงพระคุณของครูกันอย่างพร้อมเพรียง

มองกลับเข้ามาในสังคมเล็กๆ ระดับองค์กร ในยุคสังคมฐานความรู้ องค์กรชั้นนำต่างๆ มีความเชื่อว่าจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ จำเป็นต้องอาศัยพลังความรู้และปัญญาปฏิบัติที่ทันสมัยของเหล่าพนักงาน ดังนั้น จึงมีนโยบายส่งเสริมการสร้างผู้สอน หรือวิทยากรภายใน (Internal Trainer) ให้เป็นผู้กระจายความรู้และวิธีปฏิบัติงานต่างๆ ให้แก่คนในองค์กรอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ เพื่อเป็นอีกแรงหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

วิทยากรภายใน หรือ Trainer จึงนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อองค์กร การสร้างวิทยากรภายในที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดีเยี่ยมและได้รับการยอมรับนับถือจากผู้เรียน ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันนั้น ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับชาว HR ทีเดียว

จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้สร้างและพัฒนาวิทยากรภายใน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีความรู้มาจากหน่วยงานต่างๆ จำนวนมากกว่า 400 คนนั้น ได้ข้อเรียนรู้สำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ การทำให้พนักงานซึ่งขันอาสามาทำหน้าที่ผู้สอนนั้น มีทักษะความสามารถ และมีแรงจูงใจในการทำงานที่เสียสละนี้อย่างต่อเนื่อง ประการที่สอง การทำให้พนักงานภายในองค์กรเชื่อถือและยอมรับผู้สอนที่เป็นเพื่อนพนักงาน ด้วยกัน

การพัฒนาทักษะความสามารถของผู้สอนนั้น พบว่าไม่ยาก เพราะใส่องค์ความรู้ที่จำเป็น รวมทั้งฝึกฝนทักษะอย่างถูกต้อง และพอเพียง ก็ไปสอนได้แล้ว แต่การปลูกฝังสำนึกของการเป็นผู้พร้อมให้และผู้ใฝ่รู้นั้นยากกว่า ระบบแรงจูงใจโดยให้เป็นรางวัล ของสมนาคุณต่างๆ นั้น ก็ดูเหมือนช่วยให้เกิดแรงกระตุ้นเป็นช่วงๆ ไม่ค่อยมีผลให้ผู้สอนรักษาความมุ่งมั่นในการปรับปรุงมาตรฐานการสอนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในที่สุดอาจจะส่งผลให้พนักงานภายในองค์กรไม่ให้ความเชื่อถือได้

ดังนั้นการพัฒนาผู้สอนให้สอนได้ดี มีพลังความมุ่งมั่นมาจากภายใน จนเพื่อนพนักงานที่เป็นผู้เรียนสัมผัสได้และยอมรับนับถือนั้น อาจจะต้องชวนคิดกันใหม่ว่า เราไม่ควรพัฒนาทักษะให้เขาเป็นแค่ผู้สอน หรือวิทยากร แต่ต้องมีแนวทางในการพัฒนาจิตใจให้เขาเป็น “ครู” ขององค์กรที่มีความสำนึก มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณของความเป็นครูไปตามลำดับด้วย

แนวทางเสริมอย่างหนึ่งที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องก็คือ ในวันครูแห่งชาติทุกปี จะจัดให้มีพิธีแสดงความขอบพระคุณคุณครูขององค์กร โดยเชิญพนักงานที่เป็นลูกศิษย์จากทุกหลักสูตรมามอบดอกไม้ พวงมาลัย แสดงความขอบคุณเหล่าคุณครูขององค์กรที่ได้มีส่วนในการช่วยให้เขาประสบความ สำเร็จ นอกจากนี้ มีการเชิญคุณครูที่เป็นครูโดยวิชาชีพ และเป็นผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นคุณครูตัวอย่าง มาแลกเปลี่ยนวิธีคิด อุดมการณ์ในการทำงาน มาสร้างแรงบันดาลให้แก่คุณครูขององค์กรอีกด้วย

ตัวอย่างเล็กๆ ข้างต้นนี้ สามารถช่วยทำให้คุณครูองค์กรมีความภาคภูมิใจ มีความสำนึกถึงการทำบทบาทที่เปี่ยมด้วยคุณค่านี้ ด้วยตัวเขาเอง ไม่ต้องให้ HR ซึ่งเป็นเสมือนครูอำนวยการมาบอกว่าต้องหมั่นขวนขวายพัฒนาความรู้ ไม่ต้องอาศัยระบบการจูงใจที่เป็นรางวัลหรือตัวเงินอยู่ร่ำไป คุณครูขององค์กรเขาจะหาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่ามูลค่า เขาจะเต็มใจเสียสละ และทำหน้าที่ของ “ครู” องค์กรที่มีจิตอาสา เขาจะกำกับพฤติกรรมของเขาให้งดงามเป็นแบบอย่างที่ดี มุ่งมั่นพัฒนาตนและขวนขวายเพิ่มพูนความรู้อย่างไม่หยุดยั้งด้วยความสำนึกที่ มาจากข้างใน

การสร้างครูขององค์กร ที่มีทั้งความรู้ความสามารถ และคุณธรรมทางด้านจิตใจนั้น อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เรากำลังสร้างผู้นำในอนาคตขององค์กรควบคู่ไปด้วยนั่นเอง

จากบทความดังกล่าว การพัฒนาพนักงานในองค์กร โดยอาศัยพนักงานที่มีความรู้ความสามารถและการทำให้พนักงานอื่นๆ เชื่อถือและยอมรับ สอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s ในเรื่องทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนทางจริยธรรม และทุนมนุษย์

บทความโดย จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล | การถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

นันท์นภัส วิกุล PhD นครราชสีมา

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง รหัส 534849310013 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

ได้อ่านและศึกษาบทความ เรื่อง ศักยภาพอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

วิเคราะห์ได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งเรียกว่ากลุ่มอาเซียน และปัจจุบันมีความร่วมมือระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างไรก็ตามการที่ไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจำเป็นจะต้องยอมรับความจริงที่ว่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้นมีความสามารถในการแข่งขันในแต่ละกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ได้รับประโยชน์มากน้อยจากการรวมกลุ่มแตกต่างกัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่มีสินค้าหลากหลายประเภทรวมอยู่ในอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาศักยภาพการแข่งขันและประเมินตำแหน่งอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทยในเวที AEC เพื่อนำไปประกอบการวางแผนส่งเสริม หรือบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มทางการค้าได้ในอนาคต

เมื่อศึกษาตำแหน่งทางการตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทย พบว่าประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่ไทยทำการส่งออกนั้นส่วนมากเป็น ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งไทยมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดอาเซียน 5 มากกว่าอาเซียนทุกประเทศ ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ เห็นได้ว่าไทยสามารถส่งออกไปตลาดอาเซียน 5 ได้เพียงเล็กน้อย ในขณะที่ มาเลเซียเป็นผู้ครองตลาดอาเซียน 5 ในสินค้าประเภทอื่นๆ ยกเว้นบางสินค้าที่ สิงคโปร์ และอินโดนีเซียเป็นผู้ครองตลาด

นอกจากนี้ถ้าทำการเปรียบเทียบศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบไทยกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ พบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันที่น้อยกว่า มาเลเซีย ในด้านต่างๆ เช่น ด้านปัจจัยการผลิต อุตสาหกรรมเชื่อมโยง ด้านการแข่งขันและกลยุทธ์ทางธุรกิจ อุปสงค์ของตลาด และการส่งเสริมของภาครัฐ สำหรับสิงคโปร์ ประเทศไทยมีศักยภาพน้อยกว่าในด้านต่างๆ เช่น ด้านปัจจัยการผลิต อุตสาหกรรมเชื่อมโยง และด้านการแข่งขัน และกลยุทธ์ทางธุรกิจ และการส่งเสริมของภาครัฐ ส่วนศักยภาพในการแข่งขันของไทย กับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์พบว่าไทยมีศักยภาพในการแข่งขันมากกว่าในหลายๆ ด้านยกเว้นในประเด็นด้านการแข่งขันและกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีศักยภาพใกล้เคียงกัน ส่วนประเด็นที่ไทยมีศักยภาพน้อยกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์คือประเด็นด้านการส่งเสริมจากภาครัฐ ซึ่งจากผลการศึกษาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าแม้ไทยจะสามารถส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบไปตลาดอาเซียนได้มาก แต่ก็ยังไม่ใช่ผู้ครองตลาดในภูมิภาคนี้ รวมถึงยังคงมีศักยภาพในการแข่งขันที่น้อยกว่าประเทศคู่แข่งอย่างเช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบต้องเร่งปรับปรุง และพัฒนา ให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งแนวทางในการปรับตัวของอุตสาหกรรมของไทยมีรายละเอียดดังนี้

- เตรียมความพร้อมธุรกิจทั้งด้านการผลิต ราคาสินค้า การวิจัยและพัฒนาให้มีศักยภาพ

สูงขึ้น

- เปิดรับความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ

- หาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น

- หานวัตกรรมใหม่ เทคนิคการตลาดใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

- พัฒนางานบริการลูกค้า

- พัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

- พัฒนาคุณภาพสินค้า

- ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มทางการค้ามากขึ้น

- หาแนวทางลดต้นทุนการผลิต

- ต้องพัฒนาให้มีตราสินค้าเป็นของตัวเอง

จากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต Hard disk drive แต่ในระยะยาวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก ผู้บริโภคจะเปลี่ยนจากการซื้อ Hard disk drive เป็น flash drive มากขึ้น

สำหรับวิธีที่ใช้ในการศึกษานั้นค่อนข้างแม่นยำในการวิเคราะห์สินค้าจำพวกสินค้าเกษตร อาหาร ยางพารา แต่ในสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อาจมีความแม่นยำที่ลดลง เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบต่างๆ มาจากหลายๆ ประเทศ ดังนั้นสิ่งที่ควรจะศึกษาและให้ความสนใจเรื่อง Trade flow ภายในประเทศอาเซียนเพิ่มเติมโดยพิจารณาว่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการส่งออกและนำเข้าชิ้นส่วนประเภทใดบ้าง ภายในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน

นอกจากนี้ ในอนาคตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีการผสมผสานกันมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีความต้องการรับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้สามารถดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาในเรื่องของกฎระเบียบของประเทศไทยที่ยังไม่เอื้ออำนวย เช่น 3G ที่อาจเป็นประเด็นที่ทำให้ชาวต่างชาติไม่เข้ามาลงทุน

การที่จะศึกษา Trade flow ของทั้งอุตสาหกรรมนั้นต้องใช้เวลาศึกษาพอสมควร ซึ่งด้วยเวลาที่จำกัดทำให้เราไม่สามารถศึกษาได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม งานศึกษานี้สามารถนำข้อมูลไปต่อยอดในการศึกษาครั้งต่อไปได้

Hard disk drive นับว่าเป็นสิงค้าส่งออกสำคัญของประเทศไทย และคาดว่าในอนาคตจะมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน media ต่างๆ มี content ขนาดค่อนข้างที่จะใหญ่ ทำให้ Hard disk drive มีความจำเป็นมากขึ้น ซึ่งความต้องการเหล่านี้จะส่งผลให้อุตสาหกรรมมีการขยายตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่าในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบนั้นไม่ได้แตกต่างไปจากอุตสาหกรรมอื่นๆ กล่าวคือ ประเทศคู่แข่งของไทยยังคงเป็นมาเลเซียและอินโดนีเซีย แต่ประเทศไทยยังคงเป็นอันดับ 1 ในเรื่องของแรงงานเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนด้วยกัน เนื่องจากประเทศไทยมีค่าแรงถูก และนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างมีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน

นอกจากนี้ ในประเด็นการสร้างตราสินค้าของไทยนั้นนับว่าเป็นเรื่องยากที่จะแข่งกับประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศไทยควรให้ความสนใจกับเรื่องของการบริการคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์นั้นยังมีช่องว่างอยู่ตรงที่ผู้ที่ใช้งานไม่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าเราสามารถเติมเต็มส่วนนั้นได้จะเป็นการเพิ่มโอกาสอีกด้านหนึ่ง

ประเด็นที่ต้องการจะนำมาแชร์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบเกี่ยวกับโลจิสติกส์มีหลายประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 คือ สาเหตุที่ทำให้สิงคโปร์และมาเลเซียโดดเด่นกว่าประเทศไทยในด้านการผลิตนั้นเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลของประเทศนั้นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในเรื่องของเขตปลอดภาษีอากร เช่น การได้รับการยกเว้นภาษี หรือการได้เงินภาษีคืน ตามกฎระเบียบของประเทศนั้นๆ

ประเด็นที่ 2 ระบบการตรวจสอบสินค้าระหว่างขนส่งของเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยอาจส่งผลให้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทได้รับความเสียหายได้ เช่น อุปกรณ์ที่มีความไวต่อแสง จึงอยากฝากให้ทางรัฐบาลช่วยผลักดันการใช้ระบบ RFID หรือ GPRS ในการตรวจสอบเพื่อให้ไม่ต้องมีการเปิดกล่องสินค้าเพื่อตรวจระหว่างขนส่ง นอกจากนี้ พบว่าการขนส่งระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซียมีค่อนข้างมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต โดยส่วนใหญ่เป็นการขนส่งโดยใช้รถบรรทุก จึงอยากให้รัฐบาลสนับสนุนในเรื่องของการขนส่งชายแดนให้ครบวงจรในทุกๆ ชายแดน เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการขนส่ง

ประเด็นที่ 3 เรื่องของส่วนประกอบผสมของถิ่นกำเนิดอาเซียน ซึ่งในปัจจุบันประเทศในกลุ่มอาเซียนพยายามผลักดันให้มีส่วนประกอบผสมเป็น 10:10:10:10 คือจากไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน เป็นต้น เพื่อให้ได้สินค้าถิ่นกำเนิดอาเซียน 40% ซึ่งจะส่งผลให้มีตลาดส่งออกมากขึ้น แต่ยังไม่แน่ใจว่ากรมศุลกากรมีการอนุมัติแล้วหรือยัง และส่วนประกอบผสมจะถึง 40% ได้หรือไม่

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการใช้สิทธิ์ภาษีเป็น 0 ซึ่งมีอยู่ 3 แบบหลักๆ ดังนี้

1.สินค้าเกษตรซึ่งปลูกในประเทศนั้นๆ นับว่ามีส่วนประกอบ 100%

2. 40% ของวัตถุดิบเป็นของประเทศนั้นๆ

3.ใช้แหล่งกำเนิดสินค้าสะสม ซึ่งรวมกันแล้วต้องได้ 40% แต่ทั้งนี้ ภาษีที่เป็น 0 นั้นเฉพาะภาษีนำเข้าเท่านั้น ภาษีสรรพสามิตก็ยังคงเก็บเท่าเดิม

จากข้อมูลของผู้ประกอบการที่มีการลงทุนในประเทศไทย ในส่วนของปริมาณการผลิต Hard disk drive ของโลกและของไทยในปี 2552 พบว่า ปริมาณการผลิตโลกมีจำนวน 500 ล้านชิ้น คิดเป็นมูลค่า 26 พันล้านบาท ส่วนปริมาณการผลิตของไทยในปี 2552 พบว่า มีการผลิตจำนวน 255.9 ล้านชิ้น คิดเป็นมูลค่า 10.6 ล้านบาท ซึ่งเห็นได้ว่าไทยเป็นผู้ผลิต Hard disk drive ประมาณครึ่งหนึ่งของการผลิตโลก

จากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างไรเมื่อเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์

ทิศทางของค่าเงินบาทในอนาคตน่าจะแข็งขึ้น เนื่องจากค่าเงินของสหรัฐฯอ่อนลง ทำให้ค่าเงินของประเทศอื่นๆ แข็งค่าขึ้นตาม ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทยอย่างแน่นอน ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำคือ หาแนวทางที่จะปรับตัวในทิศทางอื่น เช่น การปรับปรุงคุณภาพของสินค้า ปรับปรุงรูปแบบของการส่งออก ทั้งนี้ การเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนลงนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ซึ่งแม้ว่าจะทำได้ก็เป็นการช่วยเหลือในระยะสั้นเท่านั้น นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ค่าเงินบาทโดยธนาคารทหารไทยว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 27 บาท/ดอลลาร์ฯ ส่วนธนาคารกสิกรไทยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 25 บาท/ดอลลาร์ฯ และสภาอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 28 บาท/ ดอลลาร์ โดยการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นนั้น ย่อมส่งผลกระทบด้านลบต่ออุตสาหกรรมที่มีการส่งออก แต่อุตสาหกรรมที่เป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบนั้นจะได้ประโยชน์ จึงควรแยกพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมเพื่อทำให้ทราบว่าอุตสาหกรรมใดที่ได้รับผลกระทบจริงๆ จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

สิ่งที่ควรให้ความสนใจคือ ค่าเงินบาทจะแข็งค่าอยู่ที่ระดับไหน เพื่อที่ผู้ประกอบการจะสามารถวางแผนได้ในระยะยาว และสิ่งที่รัฐบาลสามารถช่วยเหลือได้คือ ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากเกินไป

ทั้งหมดนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี 8 K’s ของอาจารย์ ดร. จีระ ที่อธิบายว่า “แนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือ ทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ” K1 Human Capital ทุนมนุษย์ K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมK4 Happiness Capital ทุนทางความสุข K5 Social Capital ทุนทางสังคม K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT และK8 Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

นายราวี ซามี รหัส 534849310026 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

จากการอ่านบทความ เรื่อง บทบาทของผู้นำ (Leader Roles) ต่อยุทธศาสตร์การบริหารในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ของ รศ. สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

เนื่องจากบริบทของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ นับวันจะทวีความสลับซับซ้อนและมีความชุลมุลวุ่นวาย (Chaotic and Complexity ) ตลอดจนจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็วเกินที่จะไม่มีใครหรือมีกลไกใดสามารถจะคาดการณ์หรือทำนายล่วงหน้าอย่างถูกต้องแม่นยำได้ ในสถานการณ์ดังกล่าว ผู้นำองค์การจำเป็นต้องไวต่อการรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้าง ยุทธศาสตร์การบริหาร ที่มาจากการหลอมรวมทั้ง 3 มิติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าหรือความเสื่อมถอยขององค์การเข้าเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะองค์รวมให้มากที่สุดปัจจัยหรือมิติดังกล่าวได้แก่ 1)มิติด้านการบริหารความเปลี่ยนแปลง(Change management )2) มิติด้านการบริหารงาน (Task management) และ 3) มิติด้านการบริหารคน (People management)การจัดมิติทั้งสามให้คล้องจองกันซึ่งเรียกว่า Aligning นั้น ในแต่ละบริบทผู้นำจะต้องจัดทำและเลือกใช้ ยุทธศาสตร์การบริหารเป็นรายกรณีไป

ภาพแสดงการสร้างยุทธศาสตร์การบริหารของผู้นำยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

กรอบการบริหารของผู้นำ กรอบบริบทของโลกในอนาคต

การบริหารงาน บริบทโลกในยุค

ยุทธศาสตร์ การบริหาร แห่งความวุ่นวาย

การบริหารความ เปลี่ยนแปลง และความสลับซับซ้อน

การบริหารคน Chaotic & Complexity

World

และที่สำคัญ ผู้นำจะต้องรู้จัก การเลือกใช้สไตล์(style) หรือ แบบภาวะผู้นำ(Leadership styles)ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจเป็นแบบเดียวหรือหลายแบบพร้อมกันก็ได้ ในที่นี้ผู้เขียนขอเสนอตัวเลือกที่แสดงพฤติกรรมของความเป็นผู้นำที่น่าสนใจ ได้แก่

1. นักก่อการเปลี่ยนแปลง (Change Agent หรือ Change Leader)

2. นักวิสัยทัศน์ (Visionary Leader) หรือ นักชี้ทิศทาง (Pathfinding Leader)

3. นักสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational Leader)

4. นักเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาผู้อื่น (Enabling Leader)

5. นักสอนงานและเป็นพี่เลี้ยง (Coach and Mentor Leader)

6. นักแสดงต้นแบบพฤติกรรม (Role Modeling Leader)

7. นักเสริมแรงและจูงใจ (Energizing Leader)

8. นักสร้างผู้นำ ( Distributed Leader)

9. นักสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organizational Leader)

10. นักเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learner Leader)

11. นักมอบอำนาจการตัดสินใจ (Empowering Leader)

12. นักสร้างเครือข่าย (Networking Leader)

13. นักจัดวางทรัพยากร (Aligning Leader)

14. นักคุณภาพ (Quality-oriented Leader)

15. นักคุณธรรม/จริยธรรม (Moral/Ethical Leader)

16. นักสร้างวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture Leader)

17. นักติดตาม/ตรวจสอบ (Ensuring Leader)

18. นักสร้างความฉลาดทางอารมณ์ (EQ Leader)

19. นักสร้างความร่วมมือ (Participative Leader)

20. นักเอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitative Leader)

22. นักบริหารวิชาการ (Instructional Leader)

23. นักให้การดูแล (Steward Leader)/ นักรับใช้บริการ (Servant Leader)

นางวาสนา รังสร้อย นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร

สรุปเนื้อหา บทความเรื่อง Managing yourself “ How to Cultivate Engaged Employees ” เขียนโดย Charalambos A. Vlachoutsicos

หลักการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ของนักบริหารกับองค์กร ต้องอาศัย 6 หัวข้อหลักๆ ได้แก่

1. ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Be Modest) เป็นการรู้จักให้เกียรติ เป็นนักประสานสิบทิศไปไหน ๆ ถือปืนสิบกระบอก (นิ้วมือของเรานี่แหละไม่ต้องลงทุน ไม่มีขาย ) มีแต่คนรัก อยากจะให้ความช่วยเหลือ ดังบทกลอนกล่าวไว้ว่า

อ่อนหวาน มานมิตรล้น เหลือหลาย

หยาบ บ่มีเกลอกราย เกลือกใกล้

ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา

สุริยะส่อง ดาราไซร้ เพื่อร้อนแรงแสงฯ

2. ฟังอย่างตั้งใจและรับฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่นได้ดี (Listen Seriously and Show it ) เพราะการรับฟังเป็นหัวใจสำคัญโดยเฉพาะคำวิจารณ์จากผู้อื่น ถ้าหากแปลคำวิจารณ์เป็นสิ่งที่เราสามารถนำมาปรับปรุงได้จะเป็นผู้ประสบผลสำเร็จ

3. เปิดโอกาสให้มีการแสดงข้อคิดเห็น มีมติ( Invite Disagreement) เพื่อสะท้อนปัญหา นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้นำ ที่เปิดกว้าง ซึ่งก็จะมีสิ่งต่าง ๆ เข้ามาหาเรา ทำให้เรามีโอกาสเลือกสิ่งดี ๆ ได้มากขึ้น ทั้งหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ทำให้เราทำงานผ่านพ้นไปด้วยดี แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับผู้นำในการเปลี่ยนแปลงก็ตาม ซึ่งในเวลาต่อมาผู้นำจะได้รับความร่วมมือจากผู้ใต้บัญคับบัญชามากขึ้น

4. การจัดระเบียบวาระต้องมีประเด็นที่สำคัญ( Focus the Agenda ) ในการประชุมครั้งใดก็ตาม ต้องมีการเตรียมการประชุม จึงส่งผลทำให้การประชุมมีประเด็นสำคัญที่ชัดเจน สมบูรณ์ตามเป้าหมายในแต่ละครั้ง และที่สำคัญทำให้เกิดเป้าหมายใหม่อีกเรื่อย ๆ การจัดระเบียบวาระ นับเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การประชุมเป็นไปตามเป้า ไม่หลุดประเด็น และอยู่ในเวลา

5. ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบ ( Don’t Try to Have All the Answers) ผู้บริหารไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง เพียงกระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาเท่านั้น และสิ่งที่ต้องยอมรับคือ เราไม่ได้เป็นผู้รู้ดีไปทุกเรื่อง

6. ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง ( Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ผู้ที่จะประสบผลสำเร็จทุกคนไม่สามารถทำอะไรได้ตามลำพัง ต้องมีผู้อื่นร่วมอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับคนอื่นอย่างจริงใจ จึงเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญ จะเห็นว่าผู้ใดมี Team work ดีผู้นั้นจะประสบผลสำเร็จสูง

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ความสำเร็จของผู้จัดการหรือผู้บริหารที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของพนักงานหรือคนงาน ซึ่งผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำจะมีกลยุทธบริหารจัดการกับพนักงานแต่ละคนออกมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน ดังนั้นในฐานะผู้บริหารจะต้องรู้จักคัดเลือกลูกจ้างหรือคนงาน วางคนให้ตรงกับงาน ดังคำกล่าวที่ว่า “put the right man on the right job “ เพราะงานจะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องทำให้ทุกคนมั่นใจ ให้ความสำคัญกับคนทุกระดับ และเกิดความรู้สึกต้องอบอุ่น และมีที่พึ่งพาได้

งานชิ้นที่ 1 อ่านและสรุปบทความที่เกี่ยวข้องกับหลักการ 8K's

ชื่อบทความ: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับบริบทการพัฒนาประเทศ

(ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ )

การพัฒนากรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในความหมายเชิงทฤษฎีของกลุ่มนักคิดต่างๆ พอสรุปได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาการดำรงชีวิตและดำรงชาติที่ก้าวพ้นเพดานความคิดแบบตะวันตกที่มีลักษณะเป็นเอกนิยมและทวินิยม แต่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะเป็นพหุนิยมที่ยอมรับการดำรงอยู่ร่วมกันของสิ่งที่แตกต่างกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีความขัดแย้ง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยที่เชื่อมโยงทุกมิติของวิถีชีวิตเข้าด้วยกัน จึงเป็นทฤษฎีแบบบูรณาการเป็นองค์รวม ทั้งเป็นปรัชญาที่มองสถานการณ์โลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตร มีความเป็นสากล เข้าใจง่าย และสามารถนำมาปฏิบัติได้ผลจริง จึงมีพลังสูงในการกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขได้ตามอัตภาพที่เหมาะสมกับสถานะของตน โดยประยุกต์ใช้ได้กับการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตลอดเวลา ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งมีความสมสมัยในการชี้นำสังคมให้สามารถรอดพ้นวิกฤต และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น แนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงสามารถพิจารณาจำแนกออกได้เป็น 4 องค์ประกอบหลัก 7 ดังนี้

1. แนวคิดหลัก : “แนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์”

แนวคิดการพัฒนาประเทศไทยให้สามารถดำรงอยู่ในประชาคมโลกท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้อย่างมั่นคง มีเกียรติศักดิ์ศรี สงบสุขและสันติกับนานาประเทศ และเป็น สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน นั้น จำเป็นต้องทบทวนหา ดุลยภาพเชิงพลวัตใหม่ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์และวิถีการพัฒนาประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางบนพื้นฐานความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคมในชนบทกับในเมือง เพื่อให้เกิดความสมดุลพอดีระหว่าง ความเข้มแข็งในการพึ่งตนเองของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นในชนบทที่เป็นฐานรากของสังคมและความสมดุลในประโยชน์ของการพัฒนาแก่ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม กับ ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจในเมืองและความร่วมมือเป็นเครือข่ายพันธมิตรการพัฒนากับประเทศต่างๆ ในโลกยุคโลกาภิวัตน์

2. เป้าประสงค์ : “ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

เป้าประสงค์การพัฒนาประเทศ จึงต้องมุ่งสร้างความสมดุลของวิถีการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติของการพัฒนาแบบองค์รวมที่มี คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เป็นการบูรณาการเชื่อมโยงทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการเมืองเข้าด้วยกัน รวมทั้งสร้างความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ขณะเดียวกันต้องสร้างความสมดุลของการพัฒนาระหว่างภายในประเทศกับโลกภายนอก โดยต้อง รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากความผันผวนของกระแสโลกาภิวัตน์ สามารถกลั่นกรองเลือกรับในสิ่งที่จะสร้างโอกาสการพัฒนาและป้องกันภัยคุกคามจากโลกภายนอก ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

3. หลักการ : “ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน”

การวางแผนยุทธศาสตร์และการดำเนินการพัฒนาและบริหารประเทศ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการในทุกระดับ จะต้องยึดหลักการ ความพอเพียง ซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ จำเป็นต้องใช้หลัก ความมีเหตุผล ในการคิดวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ โดยรู้จักประมาณคือ รู้เรา ว่าสถานะของประเทศเป็นอย่างไร มีจุดแข็งและจุดอ่อนในการพัฒนาเรื่องใดบ้าง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกยุคโลกาภิวัตน์คือ รู้เขา โดยต้องเข้าใจถึงโอกาสและภัยคุกคาม ข้อดีและข้อเสียที่เกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อที่จะรู้จักเลือกรับหรือนำสิ่งที่ดีและมีความเหมาะสมมาประยุกต์ใช้และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเป็นภัยคุกคามประเทศ

วิธีคิดอย่างมีเหตุผลดังกล่าวนี้ จะนำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงหรือใช้หลัก ความพอประมาณ ในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปอย่างสมดุล บนพื้นฐานความพอดีระหว่าง ความสามารถในการพึ่งตนเองกับความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก และระหว่าง สังคมชนบทกับสังคมเมือง โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล และมีการเตรียมการจัดการความเสี่ยงด้วย ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ให้พอเพียงพร้อมรับผลกระทบและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ

4. เงื่อนไขพื้นฐาน : “จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ”

ในการขับเคลื่อนกระบวนการวางแผนและการพัฒนาทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามหลักการ ความพอเพียง นั้น จำเป็นจะต้องใช้ ความรอบรู้ ทั้งความรู้ในหลักวิชาและความรู้ในตัวคนที่สะสมจากประสบการณ์ชีวิตจริงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีความรอบคอบในการนำความรู้เหล่านี้มาพิจารณาให้เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างรอบด้าน และนำไปใช้ในการวางแผนและดำเนินการพัฒนาอย่างระมัดระวัง เป็นไปตามลำดับขั้นตอนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของวิถีชีวิตสังคมไทย เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างศีลธรรมทางจิตใจของคนในชาติในทุกภาคส่วนและทุกระดับ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักวิชาการ และนักธุรกิจเอกชน ให้มีสำนึกใน คุณธรรม มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่และดำเนินชีวิตด้วย ความเพียร คือ ความอดทนขยันหมั่นเพียร มีสติปัญญา ความรอบรู้และความรอบคอบ อันจะเป็น ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ให้พร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

5. การประยุกต์ใช้กับบริบทการพัฒนาประเทศ

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาหลังยุคสงครามเย็นสิ้นสุดลง โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ ทำให้เกิดภาวะการพึ่งพาอาศัยและเชื่อมโยงกันของสังคมโลก เกิดการเคลื่อนย้ายของประชากรและแรงงาน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค และอาชญากรรมข้ามชาติ ขณะที่กระแสประชาธิปไตยมีอิทธิพลต่อแนวคิดและค่านิยมในการให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน การพิทักษ์สิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิเด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งกระแสการผลักดันการปฏิรูปในเรื่องโลกาภิบาลและการจัดการระบบเศรษฐกิจโลกให้มีความโปร่งใสและมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งทางลัทธิอุดมการณ์ได้ผ่อนคลายลง และภัยคุกคามต่อความมั่นคงได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ไปสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการค้า ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมที่เป็นระบบเดียวของโลกปัจจุบัน โดยกระแสการค้าและการเงินเสรีเป็นไปอย่างเข้มข้น มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค การกำหนดข้อตกลง กติกาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศใหม่ๆ ตลอดจนมีการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างหลากหลายและก้าวกระโดด ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบในเวทีการค้าโลก ทำให้ภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การค้า การเงิน และการลงทุนระหว่างประเทศทวีความรุนแรงขึ้น และจะส่งผลให้การต่างประเทศทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในสหัสวรรษใหม่

ประเทศไทยนับเป็นประเทศเล็กในประชาคมโลก จึงย่อมถูกกระแสโลกผลักดันให้ต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆ โดยต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับประชาคมโลกมากขึ้น ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หากประเทศไทยเลือกที่จะดำเนินไปในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมตามกระแสโลกอย่างขาดความรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ และขาดความเข้าใจในบริบทของตนเอง ก็จะเกิดภาวะความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นดังเช่นที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างรุนแรงมาแล้วในอดีต ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องแสวงหาจุดยืนของตนเองให้เหมาะสม โดยอัญเชิญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางที่ยอมรับการดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างได้อย่างสอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์และบริบทสังคมไทย เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤตและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงในประชาคมโลก

กระบวนทรรศน์การพัฒนาประเทศไทยในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึด คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา อยู่บนพื้นฐานของ ดุลยภาพเชิงพลวัต ที่เชื่อมโยงทุกมิติอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง ขณะเดียวกันยอมรับความแตกต่างระหว่างระบบเศรษฐกิจและสังคมในชนบทกับในเมือง โดยมุ่งสร้างดุลยภาพการพัฒนาระหว่าง ความเข้มแข็งในการพึ่งตนเองของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นในชนบทที่เป็นฐานรากของสังคม และความสมดุลในประโยชน์ของการพัฒนาแก่ทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม กับ ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจในเมือง และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรการพัฒนาในเวทีโลก โดยให้ความสำคัญกับการนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพและความได้เปรียบด้านอัตลักษณ์คุณค่าของชาติ ทั้ง ทุนสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ทุนเศรษฐกิจ มาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างให้แข็งแกร่งเป็นเสมือนเสาเข็มหลักในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงและสมดุล ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบและวัฒนธรรมธรรมาภิบาลและประชาธิปไตยในทุกภาคส่วนและทุกระดับ โดยใช้ความรอบรู้ คุณธรรมและความเพียรในกระบวนการพัฒนาที่อยู่บนหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี เพื่อนำไปสู่สังคมไทยที่พึงปรารถนาคือ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

บทวิเคราะห์ : สามารถวิเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยเชื่อมโยงกับหลักการของแนวคิด 8K’s เพื่อนำมาใช้กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน์ คือ

การพัฒนาคุณภาพคน (Human Capital) และสังคมแห่งศีลธรรม (Ethical Capital) และฐานความรู้ (Intellectual Capital)

โดยที่ คน หรือ ทุนมนุษย์ เป็นทุนสังคมที่สำคัญที่สุด และมีบทบาทเป็นทั้งผู้สร้างการพัฒนาและผู้ได้รับผลจากการพัฒนา จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพคนในทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา โดยเริ่มจากการเสริมสร้าง สุขภาวะ ของประชาชนให้มีสุขภาพแข็งแรงและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้สามารถดูแลตนเองได้ และมีกำลังทำประโยชน์ต่อส่วนรวม และให้ความสำคัญต่อการสร้าง ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ของคน โดยเสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัว (บ้าน) สถาบันทางศาสนา (วัด) และสถาบันการศึกษา (โรงเรียน) ในการยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างศรัทธาและปลูกฝังให้คนหยั่งลึกใน ศีลธรรมพื้นฐาน คือ การเคารพในศักดิ์ศรี คุณค่า สิทธิและหน้าที่ของความเป็นคนอย่างเท่าเทียมกัน ยึดมั่นในคุณความดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น สำนึกใน คุณธรรม มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิตและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความไม่โลภและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความเมตตา ความรู้ รัก สามัคคี ความรักชาติและทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และมี ความเพียร คือ ความอดทน ขยันหมั่นเพียร มีสติ ปัญญาและรอบคอบ อันจะทำให้ดำเนินวิถีชีวิตอย่างมีความสุข รู้จักประมาณตน มีเหตุผลและรอบคอบ ระมัดระวัง นำไปสู่ สังคมแห่งศีลธรรมความดี ที่มีความสมดุลระหว่าง โลกวัตถุ กับ จิตวิญญาณ และมีความสันติสุข พร้อมไปกับการพัฒนาคนให้มี ปัญญาหรือความรอบรู้ ให้รู้ตัวเองและรู้นอกตัว โดยเชื่อมโยงฐานความรู้ในตัวคนจากชีวิตจริงเข้ากับฐานความรู้ในหลักวิชาอย่างบูรณาการให้รู้รอบด้าน กระตุ้นให้ใฝ่รู้และส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาในตัวคนที่มีหลากหลาย และถ่ายทอดเป็นภูมิปัญญาเปิดเผยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ นำไปสู่ สังคมแห่งการเรียนรู้ อันจะเป็นภูมิคุ้มกันให้คนมีความรอบรู้เท่าทันและพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกได้

ขณะเดียวกันพัฒนา สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ อย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย และสอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในแนวพึ่งตนเอง หรือมีความได้เปรียบทางการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นลำดับแรก เน้นเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการผลิตมากกว่าการบริโภคของประชาชนโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย หรือเน้นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากทุนทรัพยากรธรรมชาติและทุนมนุษย์อย่างสอดคล้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 10 โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพของทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว และจากทุน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีคุณค่าหลากหลายซึ่งต้องรักษาและสืบสานสู่คนรุ่นหลัง โดยนำมาต่อยอดผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ให้เป็นจุดแข็งในการสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มในการผลิตสินค้าและบริการของไทย รวมตลอดทั้งพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับศักยภาพความได้เปรียบในการผลิตสินค้าไทย อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี เพื่อสร้างรากฐานของอุตสาหกรรมไทยให้สามารถพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีได้มากขึ้น ลดการพึ่งพาความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ อันจะเป็นการเพิ่มผลิตภาพและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยคุกคามที่เกิดจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วของโลก

การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น (Sustainability Capital) และพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารเชื่อมโยงสู่ระดับจังหวัดและภายนอก (Digital Capital)

เพื่อสร้างความสมดุลในประโยชน์ของการพัฒนาแก่ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม เป็นการพัฒนา เศรษฐกิจประชาชน และ สังคมชนบท ที่ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มและพลังความร่วมมือของประชาชนใน การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อให้เกิดความสมดุลของการพัฒนาและความยั่งยืนของการใช้ทุน ทั้งทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญา และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ในแต่ละชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีอัตลักษณ์และความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น “เป็นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” โดยยึดมั่นในหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็น ภูมิคุ้มกัน ต่อผลกระทบที่ชุมชนท้องถิ่นอาจได้รับจากภายนอกและกระแสโลกาภิวัตน์ คือ การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และ การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและความต้องการของตนเองลง และทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมมากขึ้น

ทั้งนี้ กระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เริ่มจาก การพึ่งตนเอง ในระดับครอบครัวในเรื่องปัจจัยสี่แล้วจึงพัฒนาตนเองให้ สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง ด้วยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และอดออมให้พอมีพอกินพอใช้ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น แก้ไขปัญหาตามเหตุและปัจจัยด้วยความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ก่อนคิดพึ่งผู้อื่น เมื่อมีความเข้มแข็งและเป็นอิสระแล้ว จึงพัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยนในขั้นพึ่งพากันและกัน นำไปสู่การรวมกลุ่มกันในระดับชุมชนและท้องถิ่น และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยมี การจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ให้ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง ได้รับอำนาจและสิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากร สามารถตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระ และจัดการ ทุน ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนในชุมชน และมีธรรมาภิบาลในการจัดการองค์กรชุมชนท้องถิ่นจนสามารถ พึ่งพาตนเอง ในระดับชุมชนท้องถิ่น แล้วจึงพัฒนา เครือข่าย สู่ภายนอกกับชุมชนอื่นแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ต้องมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน โดยยึดหลักการทำงานแนวพระราชดำริ ภูมิสังคม และ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เพื่อสร้าง สันติสมานฉันท์และความเจริญที่ยั่งยืน ปรับกลไกและกระบวนการทำงานให้เอื้อต่อวิถีการพัฒนาของชุมชนท้องถิ่น กระจายอำนาจและให้ความรู้แก่ชุมชนและท้องถิ่นให้สามารถบริหารจัดการตนเอง และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายวิถีเศรษฐกิจชุมชนและวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง และสามารถพัฒนาเชื่อมโยงกับภายนอกอย่างเป็นลำดับขั้นตอน อันจะทำให้ชุมชนท้องถิ่นดำรงอยู่ได้อย่างมีอัตลักษณ์ มีศักดิ์ศรีและอยู่อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในลักษณะเชื่อมโยงและพึ่งพากันให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนา สร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นในภูมิภาคและชนบท และขยายเชื่อมโยงสู่โลกาภิวัตน์ตามศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ควบคู่ไปด้วย

การพัฒนาเศรษฐกิจไทยบนฐานการผลิตที่แข็งแกร่งของประเทศ (Social Capital) มีระบบภูมิคุ้มกันทางสังคมที่ดี (Happiness Capital) เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ สามารถใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างชาญฉลาด รู้เท่าทันและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ (Talented Capital)

โดยการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานการผลิตที่เป็นจุดแข็งแกร่งของประเทศ หรือการผลิตบนฐานความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งอยู่บนพื้นฐานศักยภาพและความได้เปรียบด้านอัตลักษณ์และคุณค่าของทุนสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และทุนเศรษฐกิจ ที่มีสะสมมานานของชาติ ซึ่งประเทศอื่นเลียนแบบได้ยาก และคนไทยสามารถต่อยอดความรู้ พัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นได้ด้วยตนเอง เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานหรือทุนที่มีอยู่เดิมในประเทศ ดังนั้น จึงต้องปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศให้เข้มแข็งและแข่งขันได้ ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการบนฐานองค์ความรู้ โดยเน้นการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการของไทยที่มีจุดเด่นด้านวัฒนธรรม อัธยาศัยไมตรี และเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อพัฒนา ความเก่ง ในการแข่งขันยุคโลกาภิวัตน์

ในการสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถแข่งขันได้ต้องยึดหลัก พึ่งพากันและกัน โดยใช้กระบวนการพัฒนาเครือข่ายรวมกลุ่มกันเป็นคลัสเตอร์ และเชื่อมโยงห่วงโซ่ บนฐานความรู้และนวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุน ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ความรวดเร็วในการประกอบธุรกิจ นำไปสู่การเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ โดยภาครัฐมีบทบาทสนับสนุนด้านการพัฒนาคุณภาพคน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและระบบโลจิสติกส์ และบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มีระบบการจัดการความเสี่ยงให้เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน มีการส่งเสริมการออม เพิ่มทางเลือกการระดมทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทน ที่จะช่วยลดความเสี่ยงและการพึ่งพาต่างประเทศ และให้มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรมในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจและสังคม ตลอดทั้งการเสริมสร้างความร่วมมือเป็นพันธมิตรการพัฒนากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อเพิ่มบทบาทและความสามารถการแข่งขันในเวทีโลก

พลวัตการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระแสการค้าการลงทุนเสรีในยุคโลกาภิวัตน์ นำมาซึ่งความหลากหลายและซับซ้อนในภาคการผลิตและบริการ องค์ความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ และนวัตกรรมที่ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การประกอบธุรกิจมิได้มุ่งเพียงตอบสนองความต้องการภายในประเทศเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้วย ภาคธุรกิจเอกชนจึงต้องมี ความรอบรู้เท่าทัน บริบทการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สามารถตัดสินใจทางธุรกิจและบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกสถานการณ์เพื่อเป็น ภูมิคุ้มกันที่ดีในธุรกิจ นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึง หลักพอประมาณและความมีเหตุผลในเชิงธุรกิจ ในการพัฒนาตนเองเพื่อดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีความรับผิดชอบ ไม่เบียดเบียนทั้งต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการและต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เมื่อธุรกิจเข้มแข็งแล้วควรมีส่วนร่วมสร้างชุมชนและสังคมให้เข้มแข็งและน่าอยู่ ซึ่งไม่เพียงสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมจากการคืนกำไรให้กับสังคม แต่ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรอย่างยั่งยืนด้วย

เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้กับทุกภาคส่วนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และประเทศไทยมีเสถียรภาพสามารถยกระดับขึ้นสู่ความเป็นสากลในประชาคมโลก โดยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้าง กลไก และกระบวนการบริหารจัดการประเทศบนหลักธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย ที่ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคปัจเจกชนและครอบครัว มีส่วนร่วมผนึกพลังขับเคลื่อนการพัฒนาและการบริหารจัดการสังคมไทย ให้มีการสร้างความโปร่งใสของกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้การทุจริตประพฤติมิชอบกระทำได้ยาก มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้ และรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจ รวมทั้งมีกฎเกณฑ์ที่ดีกำหนดความสัมพันธ์ของทุกภาคส่วนที่ยุติธรรมชัดเจน และสร้าง สิทธิ และการยอมรับในส่วนรวมของแต่ละภาคส่วนในสังคม

ขณะเดียวกัน ปฏิรูปภาคธุรกิจเอกชนให้โปร่งใสและถูกต้องเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยลดการผูกขาด เร่งการแข่งขันที่เป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมไปกับเร่งสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมและภาคประชาชน และเพิ่มการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศให้เกิดการคานอำนาจภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน รวมตลอดทั้งเสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย ให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคมไทย โดยเฉพาะการวางรากฐานกระบวนการประชาธิปไตยโดยเพิ่มอำนาจแก่ประชาชนมากขึ้น

ว่าที่ร้อยตรีกิติ์ไกรสีห์ เขียวหวาน (ศูนย์ภูเก็ต)

การพัฒนาทุนมนุษย์ กลไกการขับเคลื่อนขององค์การ

อีเมล

องค์การทุกองค์การจะประสบผลสำเร็จและบรรลุจุดหมายปลายทางที่กำหนดได้นั้น การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งบรรดาทรัพยากรในองค์การนั้นประกอบด้วยคน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีและข้อมูล ได้รับการกล่าวถึงว่ามีบทบาทที่สำคัญยิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม คนก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญระดับแนวหน้าที่นำความสำเร็จมาสู่องค์การทุกองค์การ

คนหรือที่เรียกว่า “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทุกอย่าง จนกระทั่งกลายเป็นผลผลิตหรือการบริการที่นำองค์การไปสู่ความสำเร็จและเป็นการฉายภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การสู่สาธารณชน โดยทั่วไปคนแต่ละคนมีลักษณะหลากหลายแตกต่างกันในด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้องค์การบรรลุเป้าหมาย การดำเนินการให้บุคคลสามารถสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยความสามารถทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ซึ่งความสามารถทางด้านการบริหารของผู้บริหารตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูง ล้วนแต่จำเป็นที่จะต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างชาญฉลาดให้แก่องค์การ เพราะทุนมนุษย์เป็นทุนทางสังคม (Social Capital) ที่มีคุณค่าสร้างประโยชน์นานัปการแก่สังคม ดังนั้น การมุ่งปลูกฝังแนวความคิดและจิตสำนึกให้ผู้บริหารเปลี่ยนมุมมองที่เคยมองมนุษย์เป็นเพียงกำลังแรงงานมาเป็นการมองมนุษย์อย่างมีคุณค่าที่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์อย่างมหาศาลต่อองค์การ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เพราะทรัพยากรตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน (2525) ได้อธิบายความหมายว่า สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์หรือกล่าวได้ว่าสิ่งทั้งปวงที่ถือว่ามีค่า แต่ระยะหลังคำที่มีความหมายในรูปของการลงทุน การวัดความคุ้มค่าของสินทรัพย์ในองค์การได้รับความสนใจมากขึ้น จึงมีการแพร่กระจายและขยายความคิดคำว่า “ทุนมนุษย์” (Human Capital) ให้มีการยอมรับและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

คน (Man) มนุษย์ (Human Being) ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นคำที่หลายคนเริ่มสงสัยว่าจะใช้คำไหนถูกต้อง โดยนัยทั่วไปคำทั้ง 4 คำนี้มีความหมายร่วมกับ (Common meaning) ในความเหมือนกันคือ “คน” มีคำถามต่อมาว่า แล้วควรใช้คำไหนจึงเหมาะสม ซึ่งการใช้คำเหล่านี้คงดูที่บริบท (Context) ของเรื่องที่ใช้มากกว่า

คำว่า “คน” ก็ยังใช้ได้ถ้าพูดถึงคุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่สัตว์ที่มีหน้าตาเฉกเช่นที่เรารับรู้กัน มีเพศ เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ มีความต้องการ มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง

ส่วนคำว่า “มนุษย์” ก็จะใช้ในลักษณะการยกระดับของคนให้สูงค่าขึ้น เป็นคำที่พัฒนาขึ้นมาให้รู้สึกว่ามีการกล่าวถึงบุคคลที่มีคุณค่าทางจิตใจมากขึ้น

สำหรับคำว่า “ทรัพยากรมนุษย์” ใช้ในความหมายที่มองมนุษย์เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่มีค่าควรได้รับ สรรหา คัดเลือก การธำรงรักษา พัฒนาให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์การและประเทศชาติ

ส่วนคำสุดท้าย “ทุนมนุษย์” ที่เริ่มนำมาใช้กันมากขึ้น ซึ่งถ้าวิเคราะห์คำนี้พัฒนาต่อเนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นนัยของความหมายเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economics Approach) เป็นนัยของการลงทุน (Investment) ในองค์การ

ดังนั้น คำว่า “ทุนมนุษย์” จึงนำมาใช้มากขึ้นในยุคของการเติบโตอย่างเข้มแข็งของสังคมทุนนิยม (Capitalism) ที่มองการลงทุนขององค์การในทุนมนุษย์ และเป็นยุคของการวัดค่ามนุษย์ให้เห็นเชิงประจักษ์ (Empirical) ยิ่งขึ้น ขณะนี้สังคมกำลังมาถึงยุคที่จะทำอะไรต้องมีคำถามว่าจะใช้เครื่องมือใด ตัวชี้วัด (Indicators) ลักษณะไหนมาวัดกิจกรรมที่ทำ ทั้งนี้ เพื่อตีค่าและบันทึกแสดงผลออกมาให้เห็นชัดเจน

โดยความเป็นจริงการมองมนุษย์มีค่าหรือเป็นทุนมีมานานแล้วในเชิงเศรษฐศาสตร์เรื่องของทุนแรงงานที่เป็นพื้นฐานในการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ในวงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) จึงเริ่มพัฒนาการวัดค่ามนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์ประเภทจับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ที่องค์การต้องให้ความสนใจและเอาใจใส่ ทั้งนี้ เพราะองค์การยุคปัจจุบันจะถูกวัดและตรวจสอบจัดอันดับด้วยเครื่องมือที่ประกอบด้วยตัวชี้วัดตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงสามารถกล่าวได้ว่าทุนมนุษย์มีความสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การให้สามารถแข่งขันและก้าวสู่องค์การชั้นนำได้

นั่นแสดงว่า องค์การใดมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีคุณลักษณะเหมาะสมกับสมรรถภาพหลัก (Core Competency) ขององค์การ ย่อมทำให้องค์การก้าวไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ประกอบกับการก้าวสู่สังคมโลกาภิวัตน์ทำให้องค์การอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้ก่อให้เกิดวิกฤติการณ์หลายลักษณะ หนึ่งในวิกฤติที่เกิดขึ้นคือ มีการแข่งขันกันสูง บางองค์การไม่สามารถแข่งได้ก็ถดถอยและสลายไป บางองค์การเพียงแต่ต้องการรักษาสถานภาพเดิมให้คงอยู่ และบางองค์การก็จะต้องทำทุกวิถีทางให้องค์การสามารถได้เปรียบการแข่งขัน (Competitive Advantage) ปัจจัยที่องค์การจะก้าวสู่ชัยชนะ การได้เปรียบคู่แข่งคือ การใช้กลยุทธ์ ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็คือเทคนิค ยุทธวิธีที่ “มนุษย์” เป็นผู้คิด โดยจะคิดในลักษณะใดก็ตาม นั่นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้ที่ขับเคลื่อน ผู้ผลักดัน ผู้คิด คือมนุษย์ที่อยู่ในองค์การนั้น โดยเริ่มตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการบริหาร เรื่อยลงมาถึงผู้บริหารระดับต่างๆ จนมาถึงมนุษย์ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคนในองค์การจะเปลี่ยนแปลงมาในรูปต่างๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าในที่สุดจะเปลี่ยนสิ่งใดก็ตาม มนุษย์ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวเดินไปในทิศทางที่องค์การวางไว้

ดังนั้น ถ้าองค์การมีมนุษย์ที่ถือว่าเป็นต้นทุนขององค์การที่มีคุณภาพก็สามารถนำองค์การไปสู่ความมั่งคั่งได้ (Wealthy Organization) ว่ากันแล้วคุณภาพของทุนมนุษย์จะต้องพิจารณาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสิ้นอายุขัย ดังแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง: จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนของ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่พิมพ์ครั้งแรกในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ปีที่ 11 ฉบับที่ 10 ตุลาคม 2516 ถ้าผู้ใดได้อ่านและพิจารณาอย่างถ่องแท้ สาระการเขียนเรื่องนี้แม้จะนานมากกว่า 30 ปี แต่แนวคิดไม่ได้ล้าสมัยและยังคงใช้กับสังคมโลกที่มนุษยชาติมีความคาดหวังต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างดียิ่ง

ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ขององค์การจึงต้องวางแผนพัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีลักษณะเป็นทุนมนุษย์อย่างแท้จริง นั่นหมายความว่าองค์การจะต้องวิเคราะห์จำแนกแยกแยะและจัดบุคลากรของคนอย่างชัดเจน เพื่อได้คุณลักษณะทุนมนุษย์ที่สามารถแสดงและบันทึกเป็นรายการงบดุล ทุนมนุษย์ขององค์การในรูปแบบของระบบบัญชี ซึ่งทุนมนุษย์ที่สำคัญจะต้องมีลักษณะสนับสนุน กลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้น แผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงต้องสามารถสร้างให้บุคลากรองค์การมีมูลค่า (Value) เพื่อตีค่าตามเกณฑ์ (Criteria) ที่ตัวชี้วัดระบุไว้ กรณีที่วัดบุคลากรขององค์การว่ามีภาวะผู้นำ (Leadership) จะต้องมีการกำหนดน้ำหนักคะแนนภาวะผู้นำอย่างชัดเจน เช่น ระดับที่ได้คะแนน 5 จะต้องมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำในลักษณะใด ระดับที่ได้คะแนน 4 จะต้องมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำในลักษณะใด เป็นต้น แต่ละฝ่าย แต่ละแผนกจะต้องมีตัวบ่งชี้ที่แสดงพฤติกรรมอย่างชัดเจน และท้ายสุดพฤติกรรมจะต้องถูกตีค่าออกมาเป็นผลลัพธ์ (Result) ที่แสดงคุณภาพของฝ่ายหรือแผนกนั้นๆ

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนคือ คนในยุคปัจจุบันจะต้องพัฒนาตนให้เป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงในการทำงาน เพราะองค์การทุกองค์การจะจัดทำความสามารถหลักหรือสมรรถภาพหลัก (Core Competency) เพื่อเป็นเกณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของบุคลากรที่ทำงานว่า ต้องมีความพร้อมในการเป็นกลไกขับเคลื่อนให้องค์การรุดหน้า คุณลักษณะของคนที่จะเป็นทุนมนุษย์ในยุคใหม่ต้องมีความสามารถอย่างสมบูรณ์ตามกลยุทธ์ที่องค์การกำหนดไว้และต้องมีลักษณะเด่นชัดในการปรับตัว เปลี่ยนแปลงให้ตนเองมีมูลค่าเพิ่ม (Value Add) อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

การลงทุนกับบุคลากรในองค์การจึงมีความหมายและมีความสำคัญ มิฉะนั้นจะทำให้องค์การไม่สามารถเจริญเติบโตไปในทิศทางที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยเฉพาะที่สำคัญจะทำให้องค์การใช้เม็ดเงินในการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพไปในลักษณะผิดทิศทาง แนวทางการลงทุนมนุษย์ในสังคมใหม่เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การคือ การสร้างสังคมในองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ในองค์การ (Organization Learning) ทั้งนี้ เป็นการสอดคล้องกับสังคมปัจจุบันที่เป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge-Base Society) ที่ถือว่าความสามารถของคนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์การให้มีความสามารถในการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังในสังคมทุนนิยม การมองคนเป็นทุนมนุษย์ก็จะต้องบูรณาการคุณค่าของความเป็นคน การสร้างบรรยากาศในองค์การเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน จะเป็นการปลูกฝังค่านิยมในการทำงานด้วยการมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม (Excellence) และเปี่ยมด้วยการมีความสุขในการทำงาน การทำให้มนุษย์เป็นทุนมนุษย์จะต้องผสมผสานการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ความรอบรู้ และลุ่มลึกเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในองค์การและภายนอกองค์การอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนการมีฐานคติทางจริยธรรมที่ชัดเจน ถ้าทำได้ในลักษณะนี้ องค์การจะเป็นองค์การที่พร้อมจะก้าวเดินไปสู่จุดหมายปลายทางคือ ความเจริญเติบโตขององค์การและเป็นความเจริญเติบโตที่นำประเทศไปสู่ความมั่นคงสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้

กล่าวโดยสรุปคือ ทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่องค์การต้องให้ความสนใจ ตั้งแต่การสรรหาคัดเลือก ธำรงรักษาและพัฒนา เพื่อให้ได้ทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าแก่องค์การอย่างแท้จริง ในที่นี้ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวระบบการพัฒนามนุษย์จากครอบครัว สถาบันการศึกษา แต่เมื่อองค์การคัดเลือกเข้ามาแล้วจะต้องให้ความสนใจจัดกิจกรรมพัฒนาอย่างจริงจัง ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ถึงแม้จะต้องใช้เงินลงทุนกับส่วนนี้มากก็ตาม ก็จะต้องดำเนินการโดยวิเคราะห์สมรรถภาพหลักขององค์การท่านว่าคืออะไร คุณลักษณะของคนที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามสมรรถภาพหลักควรเป็นอย่างไรและความรู้ประเภทใด การอบรม หรือการพัฒนารูปแบบใดที่สามารถดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จได้ (Mastery Learning) อย่าได้คิดรอคอยระบบการศึกษา อะไรที่ท่านทำได้จะต้องทำก่อน บางครั้งองค์การของท่านจะกลายเป็นผู้นำ (Leader Organization) กระตุ้นองค์การต่างๆ ให้ดำเนินการสร้างโรงเรียนในองค์การเพื่อผลิตบุคคลที่ท่านต้องการ เมื่อถึงเวลานั้นระบบการศึกษาอาจต้องวิ่งตามท่าน บางครั้งถ้าเราปรารถนาต้องให้ทุกส่วนพร้อม แล้วจึงดำเนินการก็อาจทำให้เสียโอกาสในเป้าหมายสูงสุด (Ultimate Goal) ที่ตั้งไว้

ราเชื่อว่าทุกท่านยอมรับความสำคัญของทุนมนุษย์ในองค์การ ดังนั้น ภารกิจที่ตามมาจากการยอมรับคือการลงมือปฏิบัติ ลงมือพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์การของท่านอย่างจริงจังอย่างมีเป้าหมาย อย่างเป็นระบบ อย่างเป็นกระบวนการ และอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราเชื่อว่าท่านต้องประสบความสำเร็จตามเจตนารมณ์อย่างแน่นอน

สรุปบทความ How to Cultivate Engaged Employees

ในปัจจุบันหลายบริษัทในประเทศตะวันตกทั้งยุโรปและอเมริกาได้ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารโดยลดโครงสร้างการบังคับบัญชาจากบนสู่ล่างมาเป็นการสื่อสารหลายทางมากขึ้นและปรับเปลี่ยนรูปแบบของการมาเป็นวิธีการมอบอำนาจและกระจายความรับผิดชอบ ตลอดจนเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความร่วมมือในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ เพื่อเปิดรับความหลากหลาย ผสานความต่างและผนึกกำลังให้องค์กรเดินไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียนได้หยิบยกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการหลายบริษัทตลอดจนในธุรกิจครอบครัวของตนเอง ที่มีอิทธิพลอย่างมากในการทำให้ผู้เขียนมีความรู้และไหวพริบในการรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างตลอดมา ผ่านคุณลักษณะสำคัญทั้ง 6 ของผู้บริหารยุคใหม่ เพื่อประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อการพัฒนาร่วมกันอย่างเต็มศักยภาพให้องค์กรถึงพร้อมด้วยความเข้มแข็งและยืดหยุ่น ดังนี้

1. อ่อนน้อมถ่อมตน (Be Modest) จริงอยู่ ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลสูงจะต้องมีคุณลักษณะของความเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด กล้าตัดสินใจ และมีแรงผลักดันสูงจึงจะขับเคลื่อนองค์กรได้ กระนั้นผู้บริหารที่ดีก็ไม่ควรมองข้ามความสำคัญของผู้ใต้บังคับบัญชา เนื่องจากความสำเร็จขององค์กรนั้นมิได้มาจากผู้ใดผู้หนึ่งแต่มาจากความรู้ความสามารถและความมุ่งมั่นตั้งใจของทุกคนในทีมร่วมกัน ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีควรมีบุคลิกที่ “น่ารัก น่านับถือ” คือมีความอ่อนโยน อ่อนน้อม อยู่ในความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว รู้จักการสื่อสารที่น่าฟัง ไม่ด่วนสรุปจากข้อมูลที่จำกัด รู้จักชมเชยผู้อื่นตามโอกาส ตลอดไม่คิดแบบรวมศูนย์หรือแยกส่วน แต่มีวิธีการในการจุดประกายให้ผู้อื่นรู้สึกฮึกเหิมกล้าที่จะสื่อสารอย่างเปิดเผยตามโอกาส และกระตุ้นความอยากคิดเชิงสร้างสรรค์ในองค์กร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สรุปคือมีบุคลิกความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและยืดหยุ่นน่าประทับใจ

2. แสดงออกถึงการเป็นผู้ฟังที่ดี (Listen seriously- and show it ) ผู้บริหารจะต้องเป็นนักฟังที่ดีและมีประสิทธิภาพ การแสดงออกถึงการรับสารอย่างตั้งใจ พยายามทำความเข้าใจในสารและสะท้อนกลับอย่างเหมาะสม สุขุมลุ่มลึก ไม่ตัดบททั้งที่ยังฟังไม่จบ ตลอดจนมีวิธีการแยกแยะความสำคัญของสารและทำการบันทึกในรูปแบบที่เหมาะสม มีส่วนอย่างมากในการทำให้พนักงานเกิดความไว้วางใจ ความเลื่อมใสและสามารถนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาที่ผู้บริหารอาจมองข้าม ตลอดจนร้องเรียนหรือทักท้วงในสิ่งที่ส่งผลดีให้เกิดแก่องค์กรต่อผู้บริหาร ด้วยไว้ใจว่าสิ่งที่ตนสื่อสารไปจะได้รับการตอบสนองโดยไม่ละเลย ทำให้เกิดความตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเองตามมา เป็นการส่งเสริมความกล้าหาญและการคิดเชิงสร้างสรรค์ของคนในองค์กร อันนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในที่สุด

3. การเปิดใจรับความคิดเห็นที่แตกต่าง (Invite Disagreement) นอกจากการเป็นผู้ฟังอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีความคิดที่เปิดกว้าง ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อความแตกต่าง บริหารจัดการความขัดแย้งอย่างชาญฉลาด รู้จักประเมินสถานการณ์ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส ตลอดจนมีสติระลึกได้และพร้อมรับมือกับกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างสุขุมเยือกเย็น โดยไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางทางความคิดหรือพึงรับรู้เฉพาะสิ่งที่ต้องการเท่านั้น ทั้งนี้ควรระลึกเสมอว่า การที่พนักงานแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยและจริงใจย่อมแสดงถึงความไว้วางใจ ความรู้สึกเสมอภาคและความประสงค์ดีต่อองค์กร ซึ่งผู้บริหารควรจะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ตลอดจนความเห็นที่ขัดแย้งหรือไม่เป็นไปในทางเดียวกันย่อมสะท้อนถึงความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร ตลอดจนการมีทักษะในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ของสมาชิกได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารจึงไม่ควรหยุดพฤติกรรมดังกล่าวโดยการปฏิเสธหรือแสดงออกใดๆ ที่ทำให้ความแตกต่าง/ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่น่าละลายหรือต้องห้ามในองค์กร ตลอดจนควรกระตุ้นชักจูงให้สมาชิกรู้จักการผสานความต่างอย่างเหมาะสมและกลมกลืนในการทำงาน ภายใต้การแสดงออกและการสื่อสารที่แยลยล เหมือนการบรรเลงของวงออเคสตร้า

4. มุ่งเน้นวาระการประชุมที่สำคัญ (Focus the agenda)

ผู้บริหารพึงระลึกว่า แม้ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในองค์กรล้วนมีความสำคัญทิ้งสิ้น แต่ทั้งการประชุมทุกๆ ครั้งหมายถึงการสละเวลาอันมีค่าของสมาชิกในองค์กรเพื่อมารับรู้รับฟังสิ่งที่สำคัญและจำเป็นจริงๆเท่านั้น ดังนั้นก่อนการสื่อสารหรือการเรียกประชุมในทุกครั้ง ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพควรมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน มีสาระสำคัญที่ต้องการสื่อสารอย่างครบถ้วน และมีกำหนดเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อเคารพให้เกียรติเวลาของสมาชิก เนื่องจากหากวาระในการประชุมมากเกินไป ก็อาจทำให้ตกประเด็นสำคัญๆ ที่ควรใช้เวลาขบคิดหาข้อสรุปในเวลาจำกัด บางอย่างสามารถสื่อสารนอกรอบได้ก็ควรทำ และในบางครั้งปัญหาในองค์กรอาจไม่สามารถแก้ไขได้จากการประชุมครั้งเดียว จึงควรมีการมอบหมายความรับผิดชอบและติดตามความคืบหน้าโดยใช้เทคนิคการประชุมอย่างเหมาะสม ตลอดจนมีการสร้างบรรยากาศการประชุมที่เป็นกันเอง ลดความกดดันและ

การจัดการประชุมหากมีวาระมาก ๆ ประเด็นที่สำคัญอาจตกไปเป็นวาระที่ไม่สำคัญดังนั้นอาจจะต้องมีการจัดประชุม เฉพาะวาระนั้น ๆ และดำเนินการประชุมแบบเป็นกันเองในลักษณะปรึกษาหารือ การจัดห้องประชุมอาจะจัดเป็นรูปวงกลมเพื่อให้มีบรรยากาศในการเป็นกันเองมากขึ้นและแนะนำให้ผู้เข้าประชุมเตรียมทำการบ้านในเรื่องที่จะต้องแสดงความเห็นทุกครั้งเพื่อการใช้เวลาอย่างรัดกุม

5. อย่าด่วนหาข้อสรุปเมื่อยังไม่ถึงเวลา (Don’t try to have all the answers) ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพควรมีข้อมูลทีเพียงพอในการตัดสินใจหรือการรับฟังข้อมูลในหลายๆ มิติ จากหลายๆ แหล่ง ในหลายๆ ช่วงเวลา อย่างเหมาะสมก่อนการหาคำตอบหรือตัดสินใจทุกครั้ง ดังนั้นการรู้จักจัดลำดับของเรื่องที่สำคัญ เรื่องที่เร่งด่วนและเรื่องที่มีข้อจำกัดต่างๆ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากบางครั้งผู้บริหารไม่อาจแก้ปัญหาทุกอย่างได้เองโดยลำพัง ดังนั้นการให้เวลาที่เหมาะสมและการกระตุ้นให้พนักงานมีความคิดริเริ่มและการแสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ในเวลาที่เหมาะสมจึงจะเป็นการช่วยให้คุณาพการตัดสินใจของผู้บริหารสูงขึ้นเพราะมีสมาชิกช่วยขบคิด ทั้งนี้ผู้บริหารพึงตระหนักว่า การไม่รู้ในบางสิ่งไม่ใช่เรื่องน่าอาย และในองค์กรล้วนมีความรู้ซ่อนอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง จึงควรใช้โอกาสความไม่รู้ของตนแสวงหาผู้รู้ในองค์กรหรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

6. อย่ายืนกรานในการตัดสินใจของตนเอง (Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีคุณลักษณะของผู้นำทางความคิด โดยการแสดงออกเป็นแบบอย่างอย่างเปิดกว้างในทุกๆ การระดมความคิดเห็น ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายมิติในการพิจารณาเลือกนำมาใช้ในการตัดสินใจ ทุกๆ ครั้งเมื่อมีการให้แสดงความเห็นอย่างเสรี ผู้บริหารไม่ควรตั้งธงของตนไว้หรือแม้กระทั่งเลือกฟังในสิ่งที่สนับสนุนความคิดเห็นที่ตนคาดไว้ว่าจะเป็นข้อสรุป ซึ่งทำให้เกิดอคติในการฟังซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงผู้ที่แสดงความเห็นที่แตกต่างหรือขัดแย้งได้ ทำให้ความไว้วางใจถูกทำลายลงในองค์กร ทั้งนี้หากผู้นำมีกรอบการตัดสินใจบางส่วนแล้ว อาจใช้วิธีการสื่อสารให้สมาชิกทราบล่วงหน้าถึงทางเลือกหรือแนวทางที่กำหนดไว้คร่าวๆ เพื่อให้ระดมความเห็นกันในรายละเอียดที่ไม่อยู่นอกเหนือประเด็นที่ผู้บริหารวางไว้ เป็นต้น ผู้เขียนพบว่า จากการพยายามใช้เวลารับฟังความเห็นของสมาชิกอย่างเสรี ทำให้หลายๆ ครั้งผู้บริหารได้ข้อมูลที่มีคุณค่า จนสามารถเปลี่ยนการตัดสินใจของตนเองจากสิ่งหนึ่งไปเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีประสิทธิภาพกว่าได้

นางอุทุมพร เครือบคนโท รหัสนักศึกษา 53484940001

นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

สรุปบทความ เรื่อง Managing yourself “How to Cultivate Engaged Employees” โดย Charalambos A. Vlachoutsicos

ง การบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของพนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีทักษะการทำงานที่แตกต่างกัน เมื่อมาทำงานรวมกันเป็นทีม จะสามารถทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ นอกจานี้สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือ การเรียนรู้เกี่ยวกับการบังคับบัญชาเพื่อให้เกิดงาน การมีส่วนร่วมของพนักงาน การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน การสร้างความรู้สึกที่ดีในการพัฒนาองค์กร การที่ผู้บริหารไม่ยึดติดกับการบริหารที่เน้นรูปแบบการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง หลักในการทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหาร ของผู้บริหาร ควรใช้หลักสำคัญ 6 ประการดังนี้

1. Be Modest (มีความอ่อนน้อมถ่อมตน) ผู้บริหารควรมีลักษณะอ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวเป็น แสดงออกอย่างเหมาะสม กล้าคิดกล้าทำเมื่อพบข้อผิดพลาดก็กล้าที่จะยอมรับผิด หรือกล่าวคำขอโทษ ไม่แสดงว่าเป็นผู้รู้ในทุกเรื่อง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำมาพัฒนาองค์กรให้สำเร็จ

2. Listen Seriously and Show It (ฟังอย่างจริงจังและแสดงความคิดเห็น) ผู้บริหารควรเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นออกมา เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจพัฒนางาน

3. Invite Disagreement (เปิดโอกาสให้แสดงความคิดที่ไม่เห็นด้วย) การเปลี่ยนแปลงการทำงานย่อมมีความขัดแย้ง มีการต่อต้านเกิดขึ้น ผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นของบุคคลเหล่านั้น อาจใช้รูปแบบของการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น มีการกระตุ้นเพื่อให้แสดงความรู้สึกนั้นออกมา ทำให้เขากล้าที่จะบอกถึงปัญหาต่างๆ หรือสิ่งที่คิด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน

4. Focus the Agenda (มุ่งเน้นวาระการประชุม) การประชุมที่ดี ควรมีการสรุปวาระในการประชุม จัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ใช้ในการประชุม จัดการประชุมให้กระชับและครอบคลุม ตามกรอบเวลาที่เหมาะสม

5. Don’t Try to Have All the Answers(ไม่พยายามที่จะมีคำตอบทั้งหมด)ผู้บริหารต้องไม่คิดว่าตนทำได้ทุกอย่าง และบังคับให้ผู้อื่นทำตาม แต่ควรเป็นผู้ที่คอยกระตุ้นให้เกิดแนวทางในการทำงาน แก้ปัญหาและควรเรียนรู้การทำงานไปพร้อมๆ กับผู้ร่วมงาน และรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน

6. Don’t Insist that a Decision Must be Made(ไม่ยืนยันว่าการตัดสินใจจะต้องทำ) การตัดสินใจของผู้บริหารไม่ถูกต้องเสมอไป อาจเกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นผู้บริหารควรรับฟังปัญหาหรือความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานย่อมรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหามากกว่าผู้บริหาร ดังนั้นผู้บริหารจึงควรรับฟัง และเรียนรู้การทำงานไปพร้อมๆ กัน

จากบทความดังกล่าวจะพบว่า ผู้บริหารทีดีควรมีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นหลักของการสร้างศรัทธา ไม่อวดรู้ รับฟังความคิดเห็น

ของผู้ร่วมงาน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงออก แสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหา ใช้รูปแบบการประชุมปรึกษาหารือ โดยจัดลำดับความสำคัญของประเด็น บริหารเวลาได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้การทำงานไปพร้อมๆ กัน หากผู้บริหารองค์กรใดที่มีลักษณะดังกล่าวแล้วย่อมได้รับความเชื่อถือ ผู้ใต้บังคับบัญชา เกิดวามเคารพ พร้อมที่จะทำงานด้วยความเต็มใจ เต็มความสามารถ กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร จะทำให้องค์กรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่จนประสบความสำเร็จได้ ในด้านการบริหารยุคใหม่ต้องใช้ความสมดุลกันระหว่างศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์คือสิ่งที่วัดได้ มีตัวเลขชัดเจน มีข้อมูล มีระบบความคิดที่เป็นเหตุและผลชัดเจน ส่วนศิลป์ เป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ แต่การทำงานสำเร็จ จะต้องใช้เรื่องศาสตร์และศิลป์คู่กัน

นายโกมล ดุมลักษณ์ (ศูนย์ภูเก็ต)

วันนี้ขออนุญาตนำบทความของท่าน พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ที่เขียนเรื่อง"ทุนมนุษย์" ใน “โพสต์ทูเดย์” เมื่อ ๑๔ ก.ย.๕๒ มาฝากนะคะ ดิฉันเห็นว่าช่วยให้มองเห็นวิวัฒนาการการพัฒนาทุนมนุษย์ดีค่ะ ในที่นี้ดิฉันตัดมาเพียงส่วนหนึ่งนะคะ

... วิวัฒนาการ การพัฒนา “คน” ตามทฤษฎีพัฒนาองค์กร ในอดีตจะเน้นที่การพัฒนากระบวนการทำงานเป็นหลัก และใช้การบริหารจัดการคนตามหลักบรรจุคนให้ตรงกับงาน (Put the Right Man on the Right Job) เป็นแนวทางในการบริหารคน

แต่หลังจากทศวรรษที่ ๙๐ ได้เกิดแนวคิดที่มองว่า “คน” เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กร จำเป็นต้องมีการออกแบบและสร้าง “คน” ให้เหมาะสมกับ “งาน” ที่องค์กรจะต้องทำในอนาคต จึงมีการยกระดับการบริหารจัดการคนขององค์กรเป็น “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” (Human Resources Management) เพื่อ “เตรียมคน” โดยเฉพาะ “ผู้นำ” ระดับต่างๆ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานขององค์กรที่มีสภาพการแข่งขันสูงในอนาคต

ต่อมาในศตวรรษที่ ๒๑ ได้มีการพัฒนาแนวคิดตามหลักทุนนิยม ทำให้เห็นว่า “คน” เป็น “ทุน” ประเภทหนึ่งที่องค์กรต้องเตรียมไว้ใช้ควบคู่กับ “เงิน” และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้ผู้บริหารใช้ในการทำให้ภารกิจขององค์กรสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ แนวคิดในการสร้าง “ทุนมนุษย์” จึงเกิดขึ้น

อย่างไรก็ดี “คน” ไม่ใช่สิ่งที่มีคุณลักษณะอันเดียวที่ชัดเจนเช่นเดียวกับทรัพยากรอื่นๆ แต่คนมีคุณสมบัติ (Attribute) ทั้งความรู้ ความสามารถ ค่านิยม ทัศนคติ และบุคลิกภาพ ซึ่งอาจมีความจำเพาะเจาะจงมาก โดยเฉพาะผู้นำหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งต้องมีการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และความมั่นคงทางจริยธรรมเป็น “ตัวแปร” สำคัญอันจะบ่งบอกถึงสภาพ “คุณธรรมความดี” ที่คงเส้นคงวาของบุคคลนั้นได้

ดังนั้น องค์กรจึงต้องสร้าง “คน” เพื่อให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นส่วนหนึ่งของ “ทุน” ที่องค์กรต้องเตรียมไว้ใช้ควบคู่กับทุนด้านอื่นๆ แต่ต้องคำนึงอยู่เสมอว่า “คน” มีจิตใจ ไม่สามารถนำไปใช้ได้ตาม “อำเภอใจ” ของผู้บริหาร ทำให้ต้องมีการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำของผู้บริหารให้เป็น “ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง” เพื่อให้สามารถใช้ “คน” ในฐานะทรัพยากรหรือทุนขององค์กรได้ ควบคู่ไปด้วย

แนวคิดเรื่อง “ทุนมนุษย์” นี้ สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียนของ สพฐ.ได้ ด้วยการจัดวางระบบการสร้างผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็น “ทุน” ในด้านคุณธรรม จริยธรรมขององค์กร โดยกำหนดเป้าหมายในการฝึกอบรมให้สามารถเป็นวิทยากรและ “ต้นแบบ” หรือ “แม่พิมพ์” ในสิ่งที่ดีงามให้กับครูในโรงเรียนและนักเรียนได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า “ทำดีให้เด็กดู เป็นครูให้เด็กเห็น” อันจะส่งผลให้ครูและนักเรียนมีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามไปด้วย ...

... บทสรุปในเรื่องนี้อยู่ที่ “รัฐบาล” ซึ่งกำลังมีงบประมาณ “ไทยเข้มแข็ง” จำนวนมาก จะเจียดจ่ายมาสร้างความเข้มแข็งในเรื่อง “ทุนมนุษย์” ให้กับสังคมไทยได้หรือไม่ โดยอาจเริ่มจากการอบรมข้าราชการของรัฐ ทั้งนักการเมืองและข้าราชการประจำ ที่อยู่ในนิยามของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้มีความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งเรื่องประโยชน์ทับซ้อนและการทุจริตเชิงนโยบายที่ “ตรงกัน” แล้วให้แต่ละส่วนราชการต่างๆ ไปจัดอบรมผู้บริหารของหน่วยในลำดับต่อไป

โดยตั้งเป้าหมายว่า ให้บุคคลเหล่านี้เป็น “ทุนมนุษย์” ทางคุณธรรม จริยธรรมของประเทศ ซึ่งสามารถเป็นวิทยากรที่เป็น “แบบอย่าง” ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาและคนในสังคมได้ ประเทศไทยก็จะ “ใสสะอาด” สามารถพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองได้โดยง่าย

นางสาวศิริขวัญ กีรติโชติกุล (ศูนย์ภูเก็ต)

อ่านเอกสารภาษาอังกฤษที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง How to Cultivate Engaged Employees ซึ่งจะประสบการณ์การทำงานของผู้แต่งคือ "Charalambos A. Vlachoutsicos" เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นองค์ความรู้พอสังเขปได้ดังนี้ ผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาของ : George ทักษะการตลาด ความสามารถของ Maria ที่จะเรียกใช้ตัวเลขที่มีความรู้ในท้องถิ่นของ Michael, Dimitra ของเชี่ยวชาญด้านไอที ชั้นวางและชั้นวางของหนังสือที่ให้คำแนะนำผู้จัดการเกี่ยวกับวิธีการระดมคนของพวกเขาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประสิทธิภาพโดยรวมถึงแม้ว่าจะเหนือมากที่สุดผู้จัดการมือถือรู้ว่าทีมงานที่มีอำนาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาที่ความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของลำดับชั้นองค์กรและบังคับในการควบคุมชะตากรรมของตัวเองสามารถตระหนักว่า หลายบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกจะละทิ้งจากบนลงล่างคำสั่ง รูปแบบและการควบคุม อย่างไรก็ตามจำนวนของผู้จัดการยังคงใช้มันทำให้เกิดเป็นวัฏจักรหิน เมื่อเผชิญหน้ากับเจ้านายเช่นพนักงานที่ตอบสนองด้วยความอิจฉาริษยาปกป้องแหล่งเดียวของพวกเขาใช้พลังงานของพวกเขาที่โดดเด่นมีประสบการณ์และทีมงานที่จะขับเคลื่อนออกจากกัน สมาชิกอาจจะยังคงพึ่งพาการทำงาน แต่การพึ่งพาซึ่งกันและกันที่จะไม่ได้ผลซึ่งหมายความว่าจำนวนมากของค่าเป็น squandered ฉันได้ใช้เวลามากของอาชีพของฉันใน บริษัท และประเทศที่มีวงจรการควบคุมและการหลุดพ้นนี้คือหินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นานกว่า 30 ปีที่ผมทำงานและจากนั้นการบริหารจัดการองค์กรครอบครัว, ก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่ของฉันในปี 1880 ที่มีการซื้อขายอย่างกว้างขวางในรัสเซียยุโรปตะวันออก, รัฐ Black Sea, และที่อื่น ๆ หลังจากขายธุรกิจในช่วงกลางทศวรรษ 1980 และทศวรรษที่ผ่านมาหลังจากนั้นฉันกลายเป็นนักลงทุนนักวิจัยและที่ปรึกษาสำหรับ บริษัท ที่กำลังมองหาเพื่อป้อนพื้นที่เหล่านั้นเช่นเดียวกับการศึกษา ในบทบาทเหล่านี้ท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของฉันคือการเรียนการสอนวิธีการบังคับบัญชาเพื่อรวบรวมผลงานจากและดังนั้นจึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมโดยพนักงานท้องถิ่นของตน งานของพวกเขาที่ผมอธิบายคือเพื่อให้แน่ใจว่ามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนเสริมสร้างความรู้สึกของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันหรือสิ่งที่ผมเรียกว่า"การร่วมกัน."เพื่อช่วยให้ในความพยายามที่ผมพัฒนาชุดของบทเรียนซึ่งฉันมีส่วนร่วมในบทความนี้ เหตุการณ์ที่ฉันจะนับเอาสถานที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลางและยุโรปตะวันออก แต่พวกเขาสามารถนำมาใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ บริษัท ที่ยังคงยึดกับการเป็นผู้นำบนลงล่างและลำดับชั้นของวัตถุแข็งเกร็ง แท้จริงจำนวนมากของผู้จัดการผมช่วยมาจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกและแม้จะมีการฝึกอบรมการจัดการของพวกเขาอย่างเป็นทางการที่พวกเขาปลูกขึ้นเล็กน้อยจากพนักงานกว่ารุ่นก่อนโซเวียตของพวกเขาได้ทำ บทเรียนร่วมกันฉันจะดูเหมือนคุ้นเคยในนามธรรม แต่มูลค่าที่แท้จริงเป็นเสมออยู่ในรายละเอียด (แม้ว่าชื่อมีการเปลี่ยนแปลงในการปกป้องผู้บริสุทธิ์และผู้กระทำผิด) รายละเอียดเหล่านั้นจะช่วยให้คุณเปรียบเทียบสิ่งที่คุณและผู้อื่นในองค์กรของคุณกำลังทำกับสิ่งที่คุณรู้ว่าคุณควรจะทำ

1 : เจียมเนื้อเจียมตัว อาศัยอำนาจตามความเจียมเนื้อเจียมตัวแม้ว่ามันจะมักจะขัดแย้งกับความกลัวพื้นฐาน ผู้จัดการใหม่จำนวนมากกังวลเกี่ยวกับการพิสูจน์ตัวเองเพื่อพวกเขาท้ายผู้ใต้บังคับบัญชาของพวกเขาท้อใจจากการพูดขึ้นและจึงล้มเหลวในการได้รับประโยชน์จากประสบการณ์ของพวกเขา พิจารณา Kurt ที่ซีอีโอของเยอรมันแอลเบเนียแปรรูปบรรจุกระป๋องปลาพืชบรรจุที่ฉันได้รับการพิจารณาสำหรับในปี 1990

2 : การฟังอย่างจริงจังและแสดงมัน ไม่คิดว่าคนรู้จักวิธีการดูแลเอาใจใส่คุณ ให้แน่ใจว่าสัญญาณสะท้อนออกไปด้านนอกมัน

3 : เชิญชวนไม่เห็นด้วย แต่ส่งคำเชิญ artfully เพื่อให้ผู้คนจริงๆทำท่อขึ้น

4 : โฟกัสวาระการประชุม อย่าปล่อยให้การอภิปรายการทำงานอาละวาดในชื่อของความใจกว้าง เพิ่มความคล่องตัวของมันเพื่อให้ความคืบหน้าเป็นที่เห็นได้ชัดผู้เข้าร่วมทั้งหมด

5 : อย่าพยายามที่จะมีคำตอบทั้งหมด ดูตัวเองมากขึ้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการแก้ปัญหามากกว่าเป็นที่แก้ปัญหาต่อ SE

6 : ไม่ยืนยันว่าการตัดสินใจจะต้องทำ ให้เวลาในการกระบวนการตัดสินใจในการหายใจแม้ที่บางครั้งหมายถึงการชะลอการข้อสรุป ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงมั่งคั่งของแต่ละบทเรียนเหล่านี้กับเรื่องราวที่น่าสนใจจากประสบการณ์ตลอดชีวิตของเขา

หลักการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ของนักบริหารกับองค์กร ต้องอาศัย 6 หัวข้อหลักๆ ได้แก่

1.) Be Modest "จงอ่อนน้อมถ่อมตน" ในฐานะผู้บริหารที่แสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทุกเรื่องในธุรกิจในกรณีนี้แม้จะเป็น เรื่องจริงมากเพียงใดก็ตาม แต่ การเป็นภาวะผู้นำจำเป็นอย่างยิ่งแสดงบทบาทเป็นผู้นำให้คำแนะนำแลกเปลี่ยน ประสบการณ์

2.) Listcn Seriously and Showit "ฟังอย่างตั้งใจและแสดงความคิดเห็นเมื่อถึงเวลา" ในฐานะผู้บริหารจงให้ความสนใจในการฟังอย่างรอบด้านไม่ใช้เฉพาะในที่ประชุม และต้องนำสิ่งที่เสนอให้ความสำคัญมาวางแผนและพัฒนาปรับปรุง

3.) Invite Disagreement "เชิญชวนการแสดงสิ่งที่ไม่เห็นด้วยเพื่อลดความขัดแย้ง" ในฐานะผู้บริหารยินดี ในสิ่งที่ไม่เห็นด้วยกับเรา แต่ นั้นเป็นความท้าทายของผู้นำ เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพซึ่งเป็นการเปิดให้องค์กรมีวัฒนธรรม เปิดกว้างทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชากล้าแสดงความคิดเห็นการสะท้อนปัญหาพร้อมใน การพูดคุยกันเพื่อให้คำแนะนำจากลูกทีม

4.) Focus the agenda "มุ่งเน้นวาระการประชุมที่สำคัญ" ในฐานะผู้บริหารต้องมุ่งเน้นวาระการประชุมเป็นสำคัญ ซึ่งการประชุมสมบูรณ์ และบรรลุตามเป้าหมาย

5.) Don't Try to Have All the Answcrs "อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ" ในฐานะผู้บริหารไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาทุกเรื่อง

6.) Don't Insist that A Decision Must Be Mode "อย่าคิดว่า การตัดสินใจของตนเองต้องถูกต้องเสมอ" ในฐานะผู้บริหารควรจะร่วมกันหาแนวทางได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับกระบวนการ คิด ซึ่งสอดคล้องกับท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านกล่าวว่า "มีรูปแบบหลายๆอย่างไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียวกันโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ต่างๆ ภายใต้กรอบของทุนมนุษย์ 8K ' s และ 5K ' s ทุนทางความรู้ " ผู้บริหารมีทักษะและทัศนคติจะต้องมองวิเคราะห์ปัญหาและการเรียนรู้ ประกอบด้วย Reality มองความจริงและ Relevance ตรงประเด็น ทุนทางจริยธรรมด้วยหลักการง่ายๆ คนเป็นผู้นำจะต้องเป็นคนดี มีใจเป็นธรรม มีความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดลงไปสู่ลูกน้อง ส่วน "ทุนนวัตกรรม" มุ่งเน้นให้เกิดการคิดนอกกรอบมุ่งหาความรู้ รูปแบบความรู้จากแหล่งอื่นๆ ไม่ใช่ที่คุ้นเคยที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ......และต่อเนื่อง ความเหมือนและความแตกต่างกันในเรื่องการเป็นผู้นำ Charalambos A. Vlochotscos และสอดคล้องกับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านได้กล่าวพร้อมทั้งจุดเน้นเกี่ยวกับแนวคิดชื่อหัวข้อแตกต่างแต่ ผลปฏิบัติคล้ายกัน ได้แก่ทุนปัญญา (Intellcetural Capital) ความสามารถวิเคราะห์เป็นและนำไปสู่มูลค่า (Value) และมูลค่าเพิ่ม พร้อมนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา ซึ่งดิฉันคิดว่า "พัฒนาคนให้เป็นคนเก่งคิด เก่งทำและต้องหาทางจูงใจให้คนเหล่านี้ อยากอยู่ อยากคิด อยากทำ เพื่อบรรลุเป้าหมาย" ดิฉันค้นพบจากการอ่านเอกสารพร้อมกับได้รับความรู้จากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สัมนาการจัดการทุนมนุษย์ระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ความสำเร็จของผู้จัดการหรือผู้บริหารที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของพนักงาน หรือคนงาน ซึ่งผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำจะมีกลยุทธบริหารจัดการกับพนักงานแต่ละคนออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน ดังนั้นในฐานะผู้บริหารจะต้องรู้จักคัดเลือกลูกจ้างหรือคนงาน วางคนให้ตรงกับงาน ดังคำกล่าวที่ว่า put the right man on the right job เพราะงานจะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องทำให้ทุกคนมั่นใจ ให้ความสำคัญกับคนทุกระดับ และเกิดความรู้สึกต้องอบอุ่น และมีที่พึ่งพาได้

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร
นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร รหัสนักศึกษา  53484931021  มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

นวัตกรรมการสอนทัศนศิลปศึกษาสำหรับโลกในวันนี้และวันหน้า   สุรินทร์  เมทะนี

        การเรียนการสอนกลุ่มวิชาทัศนศิลป์ในปัจจุบันมีหลักการทางทฤษฎีจัดองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีจิตวิทยา ทฤษฎีพหุศิลปศึกษา ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ที่นำมาเป็นความรู้พื้นฐานและสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้เรียนด้านศิลปะได้เกิดความคิดรวบยอด (Concept) การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ตามแนวทางของผู้เรียนเองเรียกได้ว่าผู้เรียนเกิดการรู้คิด (Cognition) หมายถึงการที่ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการทางจิตวิทยาด้านการศึกษาหาความรู้ ประมวลข่าว การแก้ปัญหา การวางแผน ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาจนกลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีศักยภาพต่อสังคมและช่วยให้สังคมนั้นมีแต่ความเจริญก้าวหน้าและมีความสงบสุข

        แต่ความเป็นจริงของสังคมทุกวันนี้เราสามารถปฏิบัติตามทฤษฎีต่างๆนั้นได้จริงหรือไม่ เนื่องจากสังคมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเรียนการสอนในรูปแบบแผน (Academic Art) กลายเป็นสิ่งที่เสียเวลา ชักช้าไม่ทันใจ รูปแบบงานศิลปะที่เน้นการสื่อความหมายเสนอคุณค่าในเชิงความคิดและปรัชญา อย่างศิลปะหลังสมัยใหม่ (Post Modern Art) เข้ามามีบทบาทต่อบริบทของทัศนศิลป์อย่างกว้างขวาง ครูผู้สอนต้องปรับวิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนการสอนใหม่และมีเทคนิคใหม่ๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน               

        ยุคสมัยของการสื่อสารไร้สายที่มีการดาวน์โหลดภาพและเสียงพัฒนาไปจนถึงภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงพูด เกมส์ ข่าวสาร การทำนายโชคชะตา การหาเพื่อน การขายบริการต่างๆผ่านสื่อและเทคโนโลยีอันทันสมัย เรียกว่าโทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) โลกของการเรียนการสอนศิลปะจึงถึงเวลาที่ต้องหากลยุทธ์และสิ่งใหม่ๆตามกระแสโลกใหม่และการยอมรับซึ่งภาพความคิดใหม่ ตลอดจนลัทธิใหม่เหมือนที่เราเคยต่อต้านและยอมรับกลุ่มศิลปสมัยใหม่ (Modern Art) การชื่นชมงานศิลปะจึงไม่จำเป็นต้องยึดติดกับภาพของหลักวิชาทางกายภาค การแสวงหาเรื่องราว การตีความหมายหรือการพรรณนาซึ่งความงามอีกต่อไปแต่การที่ศิลปะสามารถอยู่ร่วมกับสังคมและธรรมชาติของโลกที่แปรเปลี่ยนเสมอได้อย่างกลมกลืนนั่นต่างหาก คือสิ่งที่เราจะต้องเปิดกว้างทางความคิดและยอมรับซึ่งปรากฏการณ์นั้น

      ผู้เขียนเป็นบุคคลในวงการศิลปการแสดงทางด้านนาฏศิลป์มีโอกาสได้นำแนวคิดทฤษฎีพหุศิลปศึกษาเชิงภูมิปัญญาไทยมาปรับใช้ทดลองทำการสอนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์โดยออกแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมไทยในปัจจุบันเพื่อให้เด็กได้อนุรักษ์อย่างสร้างสรรค์ อดีต ปัจจุบันและอนาคต เชื่อมโยงหลักวิชาและกระแสสังคมสมัยใหม่โดยให้เด็กนักเรียนแบ่งกลุ่มกันออกแบบการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านในแต่ละภาคโดยให้คิดค้นการแสดงที่มีความหมายและเนื้อหาที่แสดงถึงบริบทของสังคมปัจจุบันที่สามารถเชื่อมโยงกับบริบทของนาฏศิลป์พื้นบ้านในแต่ละภาคได้อย่างกลมกลืน ตามผลปรากฏดังนี้

       การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ “ฟ้อนปากกา” นักเรียนได้รับแรงบันดาลใจจากการนำปากกามาเป็นวัสดุอุปกรณ์แทนการฟ้อนเทียนโดยให้ความหมายว่าปากกาหรือเครื่องเขียนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันการนำปากกามาสร้างสรรค์เป็นท่ารำก็เพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหรือใช้ในพิธีลงนาม เมื่อฟ้อนเสร็จก็ส่งปากกาให้เซ็นได้เลย

        การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคกลาง “รำวงเด็กแนว” นักเรียนได้รับแรงบันดาลใจจากการรำโทนมา        สร้างสรรค์การแสดงผสมผสานกับการเต้นรำแบบตะวันตก HIP-HOP โดยนักแสดงทุกคนมาล้อมเป็นวงกลมคนที่จะนำรำคนแรกเรียกว่าคน“เปิดวง” เมื่อรำไปสักครูจะทำท่าหรือสัญลักษณ์ที่เป็นเหมือนกับการ“ส่งต่อ”ไปให้ใครก็ตามที่อยู่ในวงได้รับการส่งต่อจะต้องเป็นคนนำท่ารำต่อไป การแสดงสามารถนำไปใช้ในการประชุมค่าย การสัมมนา การเล่นเกมส์ ทำกิจกรรมกลุ่มต่างๆได้

       การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคอีสาน“เซิ้งพลาสติก”นักเรียนได้รับแรงบันดาลใจมาจากความสนุกสนานของการลำและการแสดงโปงลางโดยนำขวดพลาสติกมาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดงให้จังหวะแทนไม้ไผ่เพราะเป็นวัสดุที่หาง่าย ทำให้เกิดเสียงดังซึ่งแสดงได้ทุกที่ เป็นการละเล่นที่ยังคงภาพความคิดของอารมณ์ และจังหวะที่สนุกสนานอันเป็นหัวใจสำคัญของนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคอีสาน            

        การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคใต้ “ระบำร่อนยาง” นักเรียนได้รับแรงบันดาลใจจาก “ระบำกรีดยาง” ซึ่งนักเรียนนำมาสร้างสรรค์ต่อเป็นกระบวนการที่ยางถูกรีดอัดออกมาเป็นแผ่น โดยแสดงท่าทางการนำแผ่นยางไปแช่น้ำยา และนำไปตากเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สิ่งของเครื่องใช้ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรหลักในชุมชนภาคใต้ที่มีอาชีพกรีดยาง

         จะเห็นได้ว่านักเรียนสามารถจดจำภาพความคิดและคุณลักษณะสำคัญของนาฏศิลป์พื้นบ้านได้อย่างดีจนสามารถนำมาสร้างเป็นความรู้และทักษะเชิงสัมพันธ์ของศิลปะภูมิปัญญาไทยในแต่ละด้านรวมถึงความเข้าใจถึงการสร้างสรรค์ผลงานให้มีความสัมพันธ์ในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จากกรณีศึกษา เรื่องการสอนนาฏศิลป์พื้นบ้านที่หยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทัศนศิลป์ จะต้องมีการเรียนรู้ควบคู่กับกระบวนการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้การเรียนรู้นั้นเกิดประโยชน์ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคม ความงามและคุณค่าที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นศิลปะประเภทใด รูปลักษณ์ใด ถือเป็นการสร้างสรรค์บริบทหนึ่งที่แสดงถึงความก้าวหน้าการพัฒนาจนกลายเป็นความงามและคุณค่าบนพื้นฐานการสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม

          การจัดการศึกษาตามวุฒิภาวะและสภาพแวดล้อมของสังคมในช่วงเวลานั้นๆ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้เขียนขอเสนอเป็นแนวทางในการจัดรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อให้ศิลปะเป็นสื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจกับการแสดงออกซึ่งวัฒนธรรม ด้วยวิธีการนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย ศิลปะจะกลายเป็นสื่อของคนช่วงวัยต่างๆ สามารถเรียนรู้ร่วมกันศึกษาถึงคุณประโยชน์ของกันและกัน ในอนาคตเราอาจได้ชมผลงานศิลปะที่ใช้สะเก็ดดาวหางหรืออุกาบาต เป็นองค์ประกอบสำคัญ ถ่ายทอดความงามอวดคุณค่าแห่งการสร้างสรรค์ไปทั่วระบบสุริยะจักรวาลก็อาจเป็นได้

        จากบทความข้างต้นนำมาศึกษากับ วิชาการจัดการทุนมนุษย์ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดังนี้     นวัตกรรม จากการเรียนการสอนวิชาทัศนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนในรูปแบบแผน (Academic Art) เป็นสิ่งที่เสียเวลา ชักช้าไม่ทันใจ รูปแบบงานศิลปะเน้นการสื่อความหมายเสนอคุณค่าในเชิงความคิดและปรัชญาอย่างศิลปะหลังสมัยใหม่ (Post Modern Art) เข้ามามีบทบาทต่อบริบทของทัศนศิลป์ครูผู้สอนต้องปรับวิสัยทัศน์ ก่อให้เกิดความคิดใหม่ด้วยเทคนิคและแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ เมื่อคิดแล้วต้องลงมือทำ ผลปรากฏว่านักเรียนสามารถแสดงออกถึงการรู้คิดเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างน่าสนใจ โดยภาคเหนือ“ฟ้อนปากกา” ภาคกลาง “รำวงเด็กแนว” ภาคอีสาน“เซิ้งพลาสติก” และภาคใต้ “ระบำร่อนยาง” ซึ่งทำได้สำเร็จก่อให้เกิดภาพความคิด คุณลักษณะสำคัญของนาฏศิลป์พื้นบ้าน การสร้างสรรค์ผลงานเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งผมถือว่าเป็น “นวัตกรรม”

แนวคิดทฤษฏี 8K’s จากการเรียนการสอนวิชาทัศนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โดยมองว่า ทั้งครูผู้สอนที่มีระบบการสอนและนักเรียนที่มีการศึกษาตั้งแต่รูปแบบแผนมาจนถึงการใช้ศิลปสมัยใหม่ซึ่งออกแบบให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์วิถีชีวิตของสังคมไทย จากอดีต ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งถือว่าเป็น ทุนมนุษย์ Human Capital จากความสามารถในการคิด วิเคราะห์แก้ปัญหา โดยใช้ปากกาแทนการฟ้อนเทียน หรือการใช้ขวดพลาสติกแทนไม้ไผ่ ถือว่าเป็น ทุนทางปัญญา การเกิดการเรียนรู้ ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ การแสดงที่ออกมาในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นบ้าน ถือว่าเป็น ทุนทางจริยธรรม จากการที่สุขภาพร่างกายและจิตใจที่พร้อม ผนวกกับการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านและมีเป้าหมายให้ผู้ชมได้รับความบันเทิง ถือว่าเป็น ทุนทางความสุข เมื่อมีการแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นบ้านทั้ง 4 ภาค กับแนวทางความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ซึ่งเกิดความประทับใจจากคนรอบข้างก่อให้เกิด ทุนทางสังคม จากภาพความคิดและคุณลักษณะสำคัญของนาฏศิลป์พื้นบ้านได้สร้างความรู้และทักษะของศิลปะภูมิปัญญาไทยของแต่ละด้านรวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จากอดีต ปัจจุบันและอนาคต ถือว่าเป็น ทุนทางความยั่งยืน ในยุคสมัยการสื่อสารและเทคโนโลยีทันสมัยการเรียนการสอนศิลปะได้ใช้กลยุทธ์และสิ่งใหม่ๆมาใช้กับการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านจากการรำโทนมาเป็นการแสดงผสมผสานกับการเต้นแบบตะวันตก HIP-HOP ถือว่าเป็น ทุนทางเทคโนโลยี จากการฝึกฝน ฝึกซ้อมนาฏศิลป์ทำให้เกิดทักษะ โดยความรู้ที่ได้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์แนวใหม่ ประกอบกับการฝึกซ้อมและการแสดงนาฏศิลป์นั้นนักแสดงต้องควบคุมอารมณ์เพื่อให้ผู้ชมประทับใจนำไปสู่ความสำเร็จของการแสดงนาฏศิลป์ เรียกว่า ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

แนวคิดทฤษฎี 5K’s จากการเรียนการสอนวิชาทัศนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ ซึ่งประกอบด้วย ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เช่น การนำปากกามาสร้างสรรค์เป็นท่ารำก็เพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหรือใช้ในพิธีลงนามเมื่อฟ้อนเสร็จก็ส่งปากกาให้เซ็น ทุนทางความรู้ เช่นจากการรำโทนมาเป็นการแสดงผสมผสานกับการเต้นรำแบบตะวันตก HIP-HOP ทุนทางนวัตกรรม เช่น การนำขวดพลาสติกมาเป็นอุปกรณ์ให้จังหวะแทนไม้ไผ่เพราะเป็นวัสดุที่หาง่ายของการรำเซิ้ง ทุนทางอารมณ์ การฝึกซ้อมและการแสดงนาฏศิลป์นั้นนักแสดงต้องควบคุมอารมณ์เพื่อให้ผู้ชมได้ประทับใจ และทุนทางวัฒนธรรม จากภาพความคิดและคุณลักษณะสำคัญของนาฏศิลป์พื้นบ้านได้สร้างความรู้และทักษะของศิลปะภูมิปัญญาไทยของแต่ละด้านรวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จากอดีต ปัจจุบันและอนาคต

แนวคิด 4L’s คือ 1.วิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ 2.การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 3.การสร้างโอกาสการเรียนรู้ และ4.การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

HRDS ประกอบด้วย

H คือ การสร้างความสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อส่วนรวม

R คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

D คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

S คือ ความยั่งยืน เราจะต้องมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

โดยสรุป นวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาทัศนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ ของครูผู้สอนและนักเรียนนั้น ต้องนำ แนวคิดทฤษฏี 8K’s แนวคิดทฤษฎี 5K’s แนวคิด 4L’s และHRDS มาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จได้

อ้างอิงจาก นวัตกรรมการสอนทัศนศิลปศึกษาสำหรับโลกในวันนี้และวันหน้า   สุรินทร์  เมทะนี

http://www.birddancebangkok.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=218539

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร(ศูนย์ภูเก็ต)

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร รหัสนักศึกษา 53484931021

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

สรุปบทความจาก (How to Cultivate Engaged Employees)

การบริหารองค์กร ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติงานระหว่างผู้บริหาร กับ ผู้ใต้บังคับบัญชา สิ่งที่ต้องการให้เกิดความสำเร็จนั้น ผู้บริหาร ต้องไม่ใช้การเป็นผู้นำจากบนลงล่าง และลำดับชั้นห่วงโซ่การบังคับบัญชา เชื่อว่าบทเรียนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมองถึงคุณค่าของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้เกิดการมีส่วนร่วม การนำเสนอความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ ก่อให้เกิดความก้าวหน้าต่อองค์กร

ผู้แต่งได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ส่งผลให้เขาได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และได้เล่าถึง 6 ขั้นตอน จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ดังนี้

1. Be Modest (รู้จักประมาณตน) ผู้บริหารท่านหนึ่งทำให้บรรยากาศที่ประชุมเสีย ได้กล่าวว่า เขารู้ทุกอย่าง และพวกคุณไม่รู้อะไรเลย สุดท้ายไม่มีใครกล้าพูด ถ้าผู้บริหารเป็นเช่นนี้ให้รีบปรับปรุงตัวโดยด่วน และพิสูจน์ตนเอง ว่าไม่ได้เป็นผู้บันทึก ผู้แก้ไขปัญหา แต่เป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีในการแลกเปลี่ยนข้อผิดพลาด และสิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเอง

2. Listen Seriously and Show it (ฟังอย่างตั้งใจและแสดงออกมา) ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เมื่อเกิดการฟังอย่างตั้งใจแล้วสามารถสรุปเนื้อหาจากการฟังโดยการจดบันทึกเป็นเอกสารที่สำคัญเพื่อมิให้ลืม

3. Invite Disagreement (เชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย) แม้หลายบริษัทกำลังเปลี่ยนการทำงานแบบแนวราบ แต่บริษัทที่ต่อต้านความขัดแย้งยังเกิดขึ้น โดยผู้บริหารกำลังดิ้นรนทุกวิถีทางที่จะบังคับให้ลูกน้องของเขาทำในสิ่งที่เขาต้องการ แต่ไม่เป็นผล ดังนั้นผู้บริหารต้องมีแนวความคิดใหม่ทำให้ผู้ใต้บังคับชาให้ความร่วมมือในการเสนอความคิดเห็นมากขึ้นว่าเห็นด้วยหรือไม่ แสดงให้เห็นว่า องค์กรที่เปิดกว้างจะสามารถมองเห็นปัญหาได้ดีกว่า

4. Focus the Agenda (รวบรวมความสนใจของวาระการประชุม) การนำไปสู่ความล้มเหลว ด้วยความไม่ตั้งใจ บ่อยครั้งที่เห็นผู้บริหารมุ่งมั่นในการประชุมแต่ใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นการประชุมในแต่ละครั้งควรกระชับด้วยเนื้อหาที่สำคัญและครอบคลุม โดยการเสนอให้สรุปเป็นวาระการประชุมต่างๆ

5. Don’t Try to Have All the Answers (อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ) บางครั้งปัญหาแก้ไขโดยความรู้สึกของผู้บริหารฝ่ายเดียวก่อให้เกิดปัญหาได้ การที่จะให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหา มากกว่าเป็นผู้แก้ไขปัญหาเอง ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม ปล่อยให้ลูกทีมเสนอแนวคิดของพวกเขาออกมาบ้าง

6. Don’t Insist that A Decision Must Be Made (อย่ายืนกรานว่าแนวทางการตัดสินใจ จะต้องทำให้เกิดขึ้น) ผู้บริหารและพนักงานนั้นต้องเข้าใจแนวทางการทำงานร่วมกัน หากเกิดความขัดแย้ง และไม่สามารถหาจุดกึ่งกลางของปัญหาได้ อย่ารีบตัดสินใจ จนกว่าจะหาแนวทางร่วมกันได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ล่าช้า แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสูญเสียความตั้งใจ

บทเรียนที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์ของผู้แต่ง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริหารที่จะเกื้อหนุน ก่อให้เกิดความสำเร็จของงานนั้น จะต้องคำนึงถึง 6 แนวทาง จากการเปลี่ยนแปลงการทำงานจากบนลงล่าง ไปสู่แนวราบ การรู้จักประมาณตน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การแก้ไขปัญหา การกระตุ้นการทำงาน และการมอบหมายอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา สิ่งเหล่านี้จะเตือนใจแก่ผู้บริหารมือใหม่ ซึ่งจะเป็นรางวัลแก่การบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพทำให้เกิดผลสำเร็จต่อองค์กรได้อย่างยั่งยืน

นายกมล ค้าไกล ศูนย์ภูเก็ต

How to Cultivate Engaged Employees

การบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับผู้นำ และผู้ปฏิบัติการ ต้องทำงานร่วมกัน โดยหลักการบริการงานบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีความร่วมมือร่วมใจกัน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน (Be Modest) รู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน ร่วมกันฟัง คิด และนำเสนอสิ่งที่รับฟังอย่างตั้งใจ มีการฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่น (Listen Seriously and Show it ) เพราะการรับฟังความคิดเห็นหรือคำวิจารณ์จากผู้อื่นเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง (Invite Disagreement) ต้องรู้จักการบริหารความขัดแย้ง ในการประชุมแต่ละครั้งต้องมีการกำหนดทิศทางหรือวาระการประชุมให้ชัดเจน กระชับ มีการกำหนดเวลาอย่างเหมาะสม (Focus the agenda) และ เมื่อไหร่ที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อย่าด่วนสรุปหรือลงมติ (Don’t try to have all the answers) ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมให้เพียงพอในการตัดสินใจ และสุดท้ายเมื่อมีการลงมติแล้ว การตัดสินใจดังกล่าวอาจไม่ได้ถูกต้องเสมอไป (Don’t Insist that A Decision Must Be Made) สามารถเปลี่ยนได้ เมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไป

นายโกมล ดุมลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) รหัส 534849310026

ผมไปอ่านบทความเรื่อง “ภาวะผู้นำ” ของ พระธรรมปิฎก

เมื่ออ่านบทความนี้แล้วผมคิดว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับ “กบเลือกนาย” กันมาแล้ว ที่พอได้เป็นขอนไม้ ก็ไม่ชอบใจอยากจะได้นายคนใหม่ ทีนี้พอส่ง นกกระสาลงมาให้ก็เรียบร้อย ครานี้เหลือแต่นายละ เพราะลูกน้องโดนจับกินไปหมดแล้ว มนุษย์เราเมื่อย่างเข้าสู่วัยทำงาน มักจะมีความฝันถึงงานในอุดมคติ มีเจ้านายในอุดมคติ ที่มีวิชาจริงนั้น คนที่จะเฮงได้ 2 เด้งทั้งเรื่องงาน และนาย หาได้ยากเต็มที ผู้รับราชการหลาย ๆ คน ที่เป็นลูกน้องก็อยากจะได้ “ผู้นำ” มากกว่า การเป็นแค่ “ผู้บังคับบัญชา”

ผู้นำที่อดีตนายก ฯ อานันท์ ปันยารชุน ให้คำจำกัดความว่า “ผู้นำไม่ใช่ผู้ที่จะนำคนอื่น แต่ผู้นำที่ดีผู้อื่นอยากเดินตาม”

ศาสตราจารย์ ดร.สัปปนนท์ เกตุทัตกล่าวว่า “ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ จะต้องวิเคราะห์ตัดสินใจโดยมองอย่างนก มองภาพรวมทั้งหมด และปฏิบัติตนอย่างหนอน เอากาย ใจและสมองเข้าสัมผัส สามารถวางแผนที่ชัดเจนจัดแผนงาน แผนคน และแผนเงินให้เข้ากัน กระจายและมองให้เป็น”

นี่คือภาพกว้าง ๆ ของ “ผู้นำในอุดมคติ” ของอดีตผู้บริหารประเทศ และนักวิชาการที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือเป็นอย่างมาก

จากที่ผมไปอ่านบทความเรื่อง “ภาวะผู้นำ” ของ พระธรรมปิฎก ท่านได้พูดถึงคุณสมบัติของผู้นำจะต้องมีธรรม 7 ประการ ที่เรารู้จักกันในนาม สัปปุริสธรรม 7 กล่าวคือ

1. รู้หลักการ เมื่อดำรงตำแหน่ง มีฐานะ หรือจะทำอะไรก็ตาม ต้องรู้ หลักการ รู้งาน รู้หน้าที่ รู้กฎเกณฑ์กติกาที่เกี่ยวข้องแล้วก็ยันให้อยู่ในหลักการ ตั้งตนอยู่ในหลักการให้ได้

2. รู้จุดหมาย ผู้นำถ้าไม่รู้จุดหมายก็ไม่รู้ว่าจะนำคน และกิจการไปไหนนอกจากรู้จุดหมาย มีความชัดเจนในจุดหมายแล้วจะต้องมีความแน่วแน่มุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงจุดหมายด้วย ข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก เมื่อใจมุ่งจุดหมาย แม้มีอะไรมากระทบกระทั้งก็จะไม่หวั่นไหว

3. รู้ตน ต้องรู้ตนเองคือใคร มีภาวะเป็นอย่างไรอยู่ในสถานะใด มีคุณสมบัติ มีความพร้อม มีความถนัด สติปัญญา ความสามารถอย่างไร มีกำลังแค่ไหน จุดอ่อนจุดแข็งเป็นอย่างไร ตรงนี้ทฤษฎีการบริหารยุคใหม่ เขาบอกว่าให้เอา SWOT ANALYSIS เข้ามาจับดูก็ได้ (STRENGHT, WEAKNESS, OPPORTUMITY, THREAT)

4. รู้ประมาณ คือ รู้จักความพอดี หมายความว่า ต้องรู้จักขอบเขตขีดขั้นความพอเหมาะที่จะจัดทำในเรื่องต่าง ๆ ต้องรู้จักว่าในการกระทำนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ มีองค์ประกอบ หรือมีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง และจัดให้ลงตัวพอเหมาะพอดี

5. รู้กาล คือ รู้จักเวลาว่าเรื่องนี้จะลงชื่อตอนไหน เวลาไหนจะทำอย่างไรจึงจะเหมาะ แม้แต่การพูดจาก็ต้องรู้จักกาลเวลา ตลอดจนรู้จักการวางแผนงานในการใช้เวลาซึ่งเป็นเรื่องใหญ่

6. รู้ชุมชน คือ รู้สังคมตั้งแต่ในขอบเขตที่กว้างขวาง คือ รู้สังคมโลก รู้สังคมของประเทศว่าอยู่ในสถานการณ์อย่างไร มีปัญหาอะไร มีความต้องการอย่างไร แม้แต่ชุมชนย่อย ๆ ถ้าเราจะช่วยเหลือเขา เราก็ต้องรู้ความต้องการของเขาเพื่อสนองความต้องการ ได้ถูกต้องหรือ แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด

7. รู้บุคคล คือ รู้จักบุคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนที่มาร่วมงานร่วมการไปด้วยกัน และคนที่เราไปให้บริการตามความแตกต่างเฉพาะตัว โดยเฉพาะการใช้คน เพื่อใช้คนให้เหมาะกับงาน และให้เขาได้ประโยชน์ด้วยการพัฒนาตนเอง

ธรรม 7 ประการ ซึ่งจัดลำดับข้อข้างต้นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในกรณีที่เป็นคุณสมบัติของสัปปุริสชน หรือบัณฑิตชนอย่างเป็นกลาง

แต่ในกรณีที่ตรัสให้เป็นคุณสมบัติของผู้นำโดยตรงทรงเปลี่ยนเป็นลำดับสลับข้อ 1 กับข้อ 2 ใหม่กล่าวคือ

ผู้นำต้องรู้จุดหมาย เป็นข้อแรก แล้วจึงตามด้วยรู้หลักการ เป็นการเน้นที่ความมีจุดหมาย และกำหนดจุดหมายหรือตั้งจุดหมายเจาะลงไปให้ชัด แล้วจึงวางหลักการและหาวิธีการที่จะทำให้สำเร็จบรรลุจุดหมายนั้น

เมื่อวิเคราะห์ถึงภาวะผู้นำตามหลักศาสนาอิสลาม มองดูแล้วเหมือน ๆ กับจะเป็น “วิสัยทัศน์” หรือ VISION ในภาษาฝรั่งที่ตั้งคำถามกับตนเองว่าWHAT WE WANT TO BE ? และWHEN WE WANT TO BE ?ผู้นำในอุดมคตินั้น ในมุงมองของผมเองคิดว่าคงจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของงาน ที่ก็อาจจะมีลักษณะของผู้นำบางอย่างบางประการที่เหมือนกันก็เป็นได้ การหมุนเวียนกงล้อของประชาคมมุสลิม ก็คือ การขึ้นและลงจากอำนาจการปกครองและสภาวะผู้นำของโลก และด้วยสภาวะแห่งการเป็นผู้นำของอิสลาม คำสอนของอิสลามจึงได้จัดเตรียมปัจจัยหรือต้นทุนต่างๆอย่างเพียบพร้อม สมบูรณ์และเหมาะสมกับสถานภาพอันสูงส่งดังกล่าว

ปัจจัยต่างๆที่อิส ลามได้จัดเตรียมไว้ให้นั้น เป็นปัจจัยที่สามารถสร้างประชาคมมุสลิมให้มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริง และจะส่งผลให้ประชาคมมุสลิมสามารถบรรลุถึงความใฝ่ฝันและจุดมุ่งหมายที่ต้อง การ อันได้แก่ ความบริสุทธิ์ งดงาม มีเกียรติและศักดิ์ศรี มีความเข้มแข็งยิ่งใหญ่ และสูงส่ง มีอำนาจ และมีภาวะผู้นำ ตลอดจนมีความสงบสันติสุขบนหน้าแผ่นดิน ปัจจัย แห่งความเข้มแข็งในอิสลามทั้งหมดนั้นมิอาจแยกออกจากกันได้ ทุกอย่างจะต้องบูรณาการเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้เกิดดุลยภาพและกลมกลืนกัน ซึ่งได้แก่

(1) ความศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺ ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เกิดความอิ่มเอมใจและสมบูรณ์ทางความคิด

(2) การยึดมั่นอย่างมั่นคงในสัจธรรม ด้วยหลักยึดข้อนี้จะทำให้ความเท็จและความชั่วมลายหายไปหมดสิ้น

(3)การ รู้และตระหนักถึงความอ่อนแอของจิตวิญญาณ แล้วพยายามชำระขัดเกลามัน จนกระทั่งจิตวิญญาณของเขา สามารถเดินไปบนหนทางอันเที่ยงตรงได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะไปสู่ความบริสุทธิ์และงดงามของจิตวิญญาณนั่นเอง

(4)ความ รู้ ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตมนุษย์ เป็นตัวเปิดเผยและคลี่ม่านที่บดบังสติปัญญา เพื่อให้เห็นแก่นแท้ของสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุและสิ่งที่พ้นญาณวิสัย ซึ่งไม่สามารถจะสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส

(5)ทรัพย์สิน การพัฒนาผืนแผ่นดิน พัฒนาพลังจากธรรมชาติ การใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในจักรวาล ซึ่งอัลลอฮฺทรงโปรดประทานมาให้อย่างล้นเหลือ เพื่อให้เกิดความบารอกะฮฺ ประโยชน์ และความดีงามทั้งหลาย ตลอดจนการกระจายทรัพยากรแก่มวลมนุษย์ร่วมโลกอย่างพอเพียงและเป็นธรรม

(6)สร้าง สังคม ด้วยแนวนโยบาย การให้มีสิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม ความเท่าเทียมและเสมอภาค โดยการปฏิบัติตามหลักชารีอะฮฺที่เรียบง่าย ทำงานด้วยความกระตือรือร้น การติดต่อสัมพันธ์ที่ดี กฎหมายที่เที่ยงธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ความสงบและสันติสุขของประชาคมโลก

(7) การสถาปนาสันติภาพสากล ซึ่งอยู่บนหลักการของการเคารพในศักดิ์ศรี การให้เกียรติแก่เพื่อนมนุษย์และการคุ้มครองสิทธิต่างๆของมนุษย์

(8) การรักษาคำมั่นสัญญาต่างๆอย่างเคร่งครัด

(9)การ เสียสละอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการยอมสละชีพเพื่อพิทักษ์รักษาสัจธรรม สิ่งที่ดีงามทั้งหลายและเพื่อให้ได้มาซึ่งชีวิตที่มีอิสรภาพและมีเกียรติ ศักดิ์ศรี

เหล่านี้ คือต้นทุนหรือปัจจัยแห่งความเข้มแข็งที่ปรากฏในหลักคำสอนของอิสลาม ซึ่งไม่อาจนำมาเทียบกับปัจจัยที่มนุษย์รวบรวมและเรียบเรียงไว้ได้เลย

กล่าว อีกนัยหนึ่ง ต้นทุนหรือปัจจัยแห่งความเข้มแข็งและยั่งยืนในอิสลาม ประกอบด้วย พลังแห่งอากีดะห์ พลังแห่งศีลธรรมหรือจริยธรรม พลังแห่งความรู้ พลังทางเศรษฐกิจ พลังทางสังคม พลังแห่งระเบียบโลกเพื่อสร้างสันติภาพ และสุดท้ายก็คือ พลังแห่งแสนยานุภาพทางการทหาร

อำนาจและการเป็นผู้นำของประชาชาติใดๆ จะเข้มแข็งหรืออ่อนแอ ขึ้นอยู่กับความครบถ้วนสมบูรณ์ของปัจจัยข้างต้นโดยรวม

ความ เข้มแข็งของปัจจัยหรือต้นทุนเหล่านี้เอง เป็นพลังขับเคลื่อนหลักที่นำพาประชาคมมุสลิมในยุคต้นให้มีความสงบสุข พวกเขาได้ปกปักษ์รักษาและพัฒนาพลังเหล่านั้นตลอดเวลา ถ่ายทอดจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง จนกระทั่งได้กลายเป็นมหาอำนาจในสมัยนั้น โดยที่พวกเขาได้แบกรับภาระงานอันหนักอึ้งไว้บนบ่า นั่นคือ ภารกิจในการกระตุ้นและตักเตือนมวลมนุษย์ให้ยึดมั่นในเอกภาพของพระเจ้าและ ห่างไกลจากสิ่งชิริก(การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ)ทั้งหลาย พวกเขาสามารถปลดปล่อยมวลมนุษย์ให้มีอิสรภาพจากอำนาจอธรรมที่กดขี่ข่มเหงผู้ ที่อ่อนแอกว่า พร้อมกันนั้นก็ได้นำความยุติธรรมแห่งอิสลามเข้ามาแทนที่ความอธรรม จากสภาพชีวิตที่แร้นแค้นสู่ชีวิตที่สงบสุขและพอเพียงในอิสลาม

ด้วย ความเข้มแข็งของปัจจัยเหล่านั้น ประชาคมมุสลิมจึงได้บรรลุถึงจุดสูงสุด มีอาณาเขตปกครองกว้างขวาง มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ และสิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ เป็นไปตามสัญญาที่เอกองค์อัลลอฮฺทรงให้ไว้ ซึ่งพระองค์ทรงตอบสนองสัญญาอย่างครบถ้วน โดยผ่านหยาดเหงื่อแรงกายและความเสียสละของพวกเขา นั่น คือ คุณภาพของประชาคมมุสลิมในยุคต้นของอิสลาม ในเวลาต่อมาก็เข้าสู่อีกยุคหนึ่ง มุสลิมตกอยู่ในสภาพที่แตกต่างจากยุคต้นโดยสิ้นเชิง พวกเขาได้เดินเข้าสู่เงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความตกต่ำตามที่อัลลอฮฺได้ทรง สัญญา ด้วยการกระทำและพฤติกรรมของพวกเขาเอง

ใน มุมมองของผู้ศึกษามีความเห็นว่า สาเหตุที่ทำให้ประชาคมมุสลิมมีความตกต่ำ ก็เนื่องมาจากเกิดความขัดแย้งในเรื่องทางศาสนาและด้านการเมืองในหมู่ ประชาคมมุสลิมด้วยกันเอง เกิดความคลั่งไคล้และนิยมในเรื่องเชื้อชาติและชาติพันธุ์ เกิดการขัดแย้งและแตกแยก มีผู้ไม่หวังดีและปรารถนาจะให้เกิดความวุ่นวายและความโกลาหลได้แอบ แฝงเข้ามาในสังคมมุสลิม ขณะเดียวกันความพยายามอันชั่วร้ายของพวกจักรวรรดินิยมก็ได้เข้ามาผสมโรง สุดท้ายพวกเขาก็สามารถทำให้ประชาคมมุสลิมห่างไกลจากวิญญาณอันแท้จริงของอิสลาม มีความเป็นมุสลิมแต่เพียงในนาม หรือเพียงรูปแบบและผิวเผินเท่านั้น แต่กลับห่างไกลลิบจากแก่นแท้ของอิสลาม

สาเหตุเหล่านั้น ได้ค่อยๆถลำและซึมลึกเข้าไปในเรือนร่างของประชาคมมุสลิมมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาอ่อนแอ กลายเป็นประชาชาติที่ล้าหลังและด้อยพัฒนาในเวลาต่อมา

แผนการของ จักรวรรดินิยม ในหลายเรื่องบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่พวกเขาได้วางไว้ แต่ก็มีอีกเรื่องหนึ่งที่พวกเขาไม่สามารถจะทำลายได้ พละกำลังและแสนยานุภาพของพวกเขาทั้งหมดไม่อาจทำลายได้ตลอดไป นั่นก็คือ จิตวิญญาณของประชาคมมุสลิม ขวัญและกำลังใจของประชาชาติ ใช่ !พวกเขาไม่สามารถจะทำลายจิตวิญญาณของประชาคมมุสลิมที่มีชีวิตชีวาตลอดเวลา

ท่าม กลางการรุกรานอย่างหนักหน่วงของจักรวรรดินิยม ได้เกิดบางสิ่งบางอย่างที่น่าทึ่งและอัศจรรย์ใจในสังคมมุสลิม นั่นก็คือประชาคมมุสลิมเริ่มลุกขึ้นและตื่นตัวจากการหลับไหล จิตสำนึกในความเป็นมุสลิมได้หวนคืนกลับมา พวกเขาเริ่มหาช่องทางและทางเลือกของตนเองเพื่อให้มีความเข้มแข็ง โดดเด่น มุ่งมั่น และพลังความเข้มแข็งของประชาคมมุสลิมก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นและพัฒนาทีละน้อย

ใช่! ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ประชาคมมุสลิมก็ยังไม่บรรลุถึงความใฝ่ฝัน แต่พวกเขาก็มีใจเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ที่จะไปให้ถึงจุดมุ่งหมายอันสูงส่งของอิส ลาม แม้ว่าจะต้องใช้ความเสียสละและความพยายามอย่างยิ่งก็ตาม

ดัง นั้น ภารกิจของเราในฐานะที่เป็นประชาคมมุสลิมไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม เรา ต้องเร่งให้มีการปฏิรูปประชาคมมุสลิมอย่างสมบูรณ์แบบ ทั่วถึงและพร้อมเพรียงกันในเรื่องจิตวิญญาณ, ศีลธรรมหรือจริยธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเฉพาะและเรื่องทั่วไป จะต้องมีการศึกษารากฐานต่างๆของอิสลามอย่างถ่องแท้ มีการกำหนดแผนการปฏิรูปอย่างชัดเจน เพื่อที่จะสามารถก้าวเดินไปด้วยความรอบคอบ และระมัดระวังไม่ให้หลงทางไปซ้ำรอยเก่า ซึ่งอาจทำให้เราต้องอ่อนแอและล้าหลังอีกครั้ง ตรงกันข้ามจะต้องเป็นหนทางที่สามารถทำให้ประชาคมมุสลิมมีความเข้มแข็งและมี เกียรติ

แน่นอน การได้มาซึ่งความเข้มแข็งนั้น ต้องมิใช่ด้วยการสลัดทิ้งศีลธรรมหรือจริยธรรม มิใช่ด้วยความลังเลและระแวงสงสัยต่ออุดมการณ์และแนวทางของตนเอง มิใช่ด้วยการลอกเลียนแบบตะวันตกและตะวันออก และมิใช่ด้วยการนำเข้าลัทธิต่างๆจากภายนอกสังคมมุสลิมมาใช้

ความเข้มแข็งจะได้มาก็ด้วยการดำรงมั่นในหลักการที่นิรันดร์ ด้วยอุดมการณ์ อัตลักษณ์และความโดดเด่นต่างๆของอิสลามนั่นเอง

ดังนั้น ในภาวการณ์ที่โลกาภิวัตน์ไหลบ่าเข้าสู่สังคมอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆกำลังถวิลหาครรลองชีวิตที่ให้เสรีภาพโดยสมบูรณ์ ความสงบและสันติภาพที่ยั่งยืนและแท้จริง ประชาคมมุสลิมจะต้องฟื้นฟูและปฏิรูปตนเองให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะขับเคลื่อนสังคมมุสลิมให้ก้าวหน้าและเป็นที่พึ่งของมวลมนุษยชาติ ด้วยการเข้าถึงปัจจัยหรือต้นทุนต่างๆที่ทำให้บรรพชนอิสลามในอดีตเคยบรรลุผล สำเร็จ

ชื่อ นางสาววาสนาไทย สิงหฬ ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484940004 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รหัส 53484940004 โทรศัพท์ 084-8341486 อีเมลล์ [email protected] ชื่อชิ้นงาน บทความ อัจฉริยะสร้างสุข.........................................................................................................................................................

อัจฉริยะสร้างสุข

ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปถึงขั้นที่เราสามารถศึกษาความสุขและความทุกข์ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบมีหลายอย่างที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ซึ่งนักวิจัยพบว่าต้นกำเนิดของความสุข ความทุกข์ ไม่ได้อยู่ที่หัวใจอย่างที่เรามีความเชื่อมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แต่อยู่ในสมองของคนเรา

ศูนย์กลางควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกทุกชนิดที่เราคิดและเป็นนั้น อยู่ในสมอง เมื่อเรารู้สึก เช่น โกรธ กลัว ดีใจ เศร้าใจ เสียใจ สมองก็จะไปสั่งการให้หัวใจสูบฉีดโลหิตเร็ว ช้า หนักเบาไปตามสถานการณ์ ซึ่งคนเราคิดว่าหัวใจเป็นตัวควบคุม เมื่อมองแล้วตัวที่ทำให้เราเข้าใจ คือ สมอง เราก็จะเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง พอเข้าใจอารมณ์และที่มาของอารมณ์ เราก็สามารถดูแล จัดวางโครงสร้างชีวิตให้เกิดความสุข และช่วยลดทอนความทุกข์อย่างได้ผลและตรงจุด ซึ่งถึงตอนนั้นความฉลาด และความสุขก็กลับกลายเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างง่าย ซึ่งว่ากันว่าสมองเป็นเครื่องมือคำนวณที่ลึกล้ำที่สุดในปัจจุบัน เท่าที่มนุษย์เรารู้จักแถมยังเก่งกว่าคอมพิวเตอร์ ในสมองมีเซลล์สมองมากกว่าหนึ่งแสนล้านเซลล์มีความสามารถในการส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเพียงเสี้ยววินาที มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้รวดเร็ว มากกว่าหน่วยชีวภาพใดๆ ในบรรดาสิ่งอันน่าทึ่งที่สมองของเราจะเลือกทำได้ทั้งหมดนั้น หากต้องเลือกทำภารกิจเดียวที่สำคัญที่สุด สมองเราจะเลือกทำอะไร ถ้าสมองถูกสร้างมาให้ทำหน้าที่หนึ่งที่สำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นคือ การเอาชีวิตรอด ความสามารถแรกและสำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์อย่างพวกเราคือ การเอาชีวิตรอด ในยามคับขันเป็นภารกิจสำคัญที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาดลองสังเกตเด็กแรกเกิดทันทีที่เด็กคลอดออกมาหากเราจับนิ้วชี้ไปวางกลางฝ่ามือเด็กทั้งสองข้างเด็กจะกำไว้แน่น แน่นมากจน เราสามารถยกเด็กขึ้นมาได้ทั้งตัวด้วยนิ้วแค่สองนิ้วเท่านั้นเอง หรือหากเราจับเด็กแรกเกิดโยนลงไปในน้ำเด็กจะตะเกียกตะกายดันจนหัวพ้นน้ำขึ้นมาหายใจได้ ถึงแม้ชั่วคราวก็ยังเพียงพอจะรั้งเวลาให้มีคนมาช่วยชีวิตทันหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า สัญชาตญาณในการเอาตัวรอดของเรานั้นมีติดตัวกันมาตั้งแต่กำเนิดจริงๆ และเป็นสัญชาตญาณที่รุนแรงที่สุดในบรรดากระบวนการคิดที่ซับซ้อนทุกชนิด เพราะหากเราไม่มีชีวิตแล้วเป็นคนเก่งสมองดีแค่ไหนมีอัจฉริยภาพเพียงใดก็คงไม่มีประโยชน์ สมองก้อนนั้นก็คลายค่าลงเป็นเพียงส่วนประกอบของไขมัน โปรตีน และน้ำเท่านั้นเอง ภารกิจสำคัญของสมองในการเอาชีวิตรอดนั้นต้องเกี่ยวพันกับอารมณ์รุนแรงหลายชนิดอย่าง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้หลักๆ คือ อารมณ์ กลัว และอารมณ์โกรธ สองอารมณ์นี้มีติดตัวเรามาแต่กำเนิด และเป็นแรงผลักดันในระดับจิตใต้สำนึกที่รุนแรงมาตลอดทั้งชีวิตของเรา

หากเราไม่เข้าใจมันอย่างลึกซึ้งเท่ากัน เราจะตกเป็นทาสของอารมณ์พวกนี้ ทำให้ชีวิตเราอยู่ในวังวนของความเป็นลบ ความทุกข์ ความกลัว ความโกรธ แต่ถ้าเราเข้าใจ การที่เราจะสร้างสรรค์ ความสุขในทุกๆ ย่างก้าวของชีวิตก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน

นายอำนวย คุ้มบ้าน ศูนย์ภูเก็ต รหัส 53484931020

How to Cultivate Engaged Employees

การที่จะสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรได้นั้น ผู้บริหารกับบุคลากร (ผู้ปฏิบัติงาน) ต้องร่วมกันสร้างหลักการบริหารงาน ที่สำคัญคือต้องมีจิตใจในการร่วมมือกัน(การมีส่วนร่วม) โดยเฉพาะผู้บริหารต้องใช้หลักบริหารแบบรับฟังความคิดเห็นโดยให้ความสำคัญและสนับสนุนบุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานให้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมด้านความรู้ สร้างแนวคิด ประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสู่ความก้าวหน้าขององค์กร

ผู้เขียนเรื่องนี้ได้นำหลักสำคัญในการสรุปบทเรียนจากอดีตมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน 6 ประการ คือ

1. Be Modest (การประมาณตน) ผู้บริหารขาดการอ่อนน้อมถ่อมตน โดยกล่าวว่า เขารู้ทุกอย่าง และพวกคุณไม่รู้อะไรเลย ลูกน้องไม่มีใครกล้าพูด หากเป็นเช่นนี้ให้รีบปรับปรุงตัวและสำรวจตนเอง และเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีในการแลกเปลี่ยนข้อผิดพลาด และสิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเอง

2. Listen Seriously and Show it (ต้องตั้งใจฟังและแสดงออกมา) ผู้บริหารควรเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างตั้งใจแล้วสรุปเนื้อหาจากการฟัง บันทึกเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อกันลืม

3. Invite Disagreement (เชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย) แม้หลายบริษัทกำลังเปลี่ยนการทำงานแบบแนวราบ แต่บริษัทที่ต่อต้านความขัดแย้งยังเกิดขึ้น โดยผู้บริหารกำลังดิ้นรนทุกวิถีทางที่จะบังคับให้ลูกน้องของเขาทำในสิ่งที่ เขาต้องการ แต่ไม่เป็นผล ดังนั้นผู้บริหารต้องมีแนวความคิดใหม่ทำให้ผู้ใต้บังคับชาให้ความร่วมมือใน การเสนอความคิดเห็นมากขึ้นว่าเห็นด้วยหรือไม่ แสดงให้เห็นว่า องค์กรที่เปิดกว้างจะสามารถมองเห็นปัญหาได้ดีกว่า

4. Focus the Agenda (วาระการประชุมต้องดึงความสนใจ) บริหารไปสู่ความล้มเหลว ด้วยความไม่ตั้งใจ ผู้บริหารมุ่งการประชุมโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเกิดขึ้นบ่อย ดังนั้นการประชุมในแต่ละครั้งควรกระชับด้วยเนื้อหาที่สำคัญและครอบคลุม โดยการเสนอให้สรุปเป็นวาระการประชุมต่างๆ

5. Don’t Try to Have All the Answers (อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ) บางขณะผู้บริหารแก้ปัญหาด้วยความคิดของตัวเองโดยขาดการสร้างการมีส่วนร่วมของลูกน้องหรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นผู้รู้สาเหตุของปัญหาควรให้ลูกน้องเสนอความคิดในการแก้ไขปัญหา

6. Don’t Insist that A Decision Must Be Made (อย่ายืนยันในแนวทางตัดสินใจว่าแนวทางการตัดสินใจ ) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ต้องเข้าใจแนวทางการทำงานร่วมกัน หากเกิดความขัดแย้ง และไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อย่ารีบตัดสินใจ จนกว่าจะหาแนวทางร่วมกันได้อย่างชัดเจน ถึงล่าช้า แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสูญเสียความตั้งใจ

การสรุปบทเรียน จากประสบการณ์ของผู้แต่ง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริหารที่ใช้นวัตกรรมในการบริหารและให้ความสำคัญกับลูกน้องหรือผู้ปฏิบัติงานก่อให้เกิดความสำเร็จได้นั้น จะต้องคำนึงถึง 6 ประการดังกล่าว เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้บริหารแนวใหม่ในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงประสบความสำเร็จก้าวสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

นายอำนวย คุ้มบ้าน ศูนย์ภูเก็ต รหัส 53484931020

Burned out, Brain drain: Is money the way out? (Part 4)

เคล็ดลับความสำเร็จในการผูกมัดใจบุคลากรขององค์กรระดับชั้นนำ เขาทำกันอย่างไร (ตอนที่ 4)

โดย อาจารย์ ไรย์วินท์ บุญสวัสดิ์

บทความก่อนๆผมได้นำเสนอในเชิงหลักการของการผูกมัดใจบุคลากร ทีนี้มาดูในภาคปฏิบัติกันครับเพื่อจะได้เห็นมุมมองและเคล็ดลับความสำเร็จของ ผู้บริหารนักปฏิบัติกันบ้าง องค์กรชั้นนำต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ องค์กรข้ามชาติและองค์กรชั้นนำในประเทศไทย ต่างก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการผูกมัดใจบุคลากรและดำเนินแผนงานเพื่อการ ผูกมัดใจบุคลากรมาเป็นเวลายาวนานแล้วคุณ ปัทมาวลัย รัตนพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบุคลากร (CPO : Chief People Officer) ของบริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ให้เกียรติถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางการปฏิบัติที่พิสูจน์ด้วยผลสำเร็จ ที่เป็นรูปธรรม โดยได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการผูกมัดใจบุคลากรว่า ได้เริ่มต้นขึ้นเกือบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ในช่วงที่ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อผลการประกอบการของบริษัทฯ ทำให้บริษัทฯต้องปรับปรุงในหลายๆด้านเพื่อรับกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น การปรับปรุงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทุนมนุษย์ของบริษัทก็เป็นส่วนหนึ่ง ด้วย ในครั้งนั้นบริษัทฯได้ปรับวัฒนธรรมองค์กรโดยนำเรื่องของการบริหารจัดการที่ มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Result-Oriented) มาเป็นค่านิยมหนึ่งขององค์กร ซึ่งบริษัทฯใช้เป็นก้าวย่างเริ่มต้นที่สำคัญของการผูกมัดใจบุคลากรคุณปัทมาวลัยเห็นว่าเงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการสร้างการผูก มัดใจบุคลากร หากแต่เป็นผลพลอยได้ที่บุคลากรสมควรได้รับเมื่อปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมาย มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทฯจะต้องสร้างพันธะสัญญาและสื่อสารอย่างชัดเจนไปยัง บุคลากร การผูกมัดใจบุคลากรจะได้ผลเป็นรูปธรรมจะต้องเริ่มต้นพัฒนาขึ้นจากความชัดเจน ในเรื่องของกลยุทธ์และเชื่อมโยงการปฏิบัติเข้ากับเป้าหมายทางธุรกิจของ บริษัทฯ โดยการกำหนดค่านิยมและปรัชญาที่ถูกต้องเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความ สำเร็จ (Winning Culture) ให้โอกาสความก้าวหน้าและการเติบโตแก่บุคลากรอย่างไม่จำกัดตามศักยภาพที่มี อยู่ของแต่ละบุคคล รวมทั้งแผนการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรแต่ละคน ออกแบบและสร้างระบบงานที่สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาและแสดงความสามารถเพื่อ ให้บุคลากรได้บรรลุความคาดหวังส่วนบุคคล ซึ่งบริษัทฯมุ่งผลลัพธ์ในการสร้างให้เกิดสิ่งที่เหนือกว่าแค่ความรู้สึกว่า มีคุณค่าและความพึงพอใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร โดยบริษัทฯเรียกสิ่งนั้นว่า “จิตวิญญาณแห่งเจ้าของกิจการภายในองค์กร” หรือ “The Spirit of Intraprenuership”

จากบทความ เรื่อง Burned out, Brain drain: Is money the way out? (Part 4)

เคล็ดลับความสำเร็จในการผูกมัดใจบุคลากรขององค์กรระดับชั้นนำ เขาทำกันอย่างไร (ตอนที่ 4)

โดย อาจารย์ ไรย์วินท์ บุญสวัสดิ์ เป็นผู้เขียน ผมได้อ่านและนำข้อมูลในช่วงที่เป็นประเด็นสำคัญของเนื้อเรื่องมาวิเคราะห์พอสังเขป ดังนี้

คุณ ปัทมาวลัย รัตนพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบุคลากร (CPO : Chief People Officer) ของบริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ใช้หลักแนวคิดทฤษฎี 8K’sทุนมนุษย์ Human Capital ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์แก้ปัญหาภายในองค์กรถือว่าเป็น ทุนทางปัญญาทำให้เกิด การเรียนรู้ ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์กับการร่วมคิดร่วมทำสร้างสรรค์องค์กรให้เจริญก้าวหน้าด้วยจิตสำนึกที่มีความรู้สึกว่าบุคลากรมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อองค์กร ทุนทางคุณธรรมจริยธรรมจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความ สำเร็จ (Winning Culture) ให้โอกาสความก้าวหน้าและการเติบโตแก่บุคลากรอย่างไม่จำกัดตามศักยภาพที่มี อยู่ของแต่ละบุคคล จากการที่สุขภาพร่างกายและจิตใจที่พร้อมทุนทางความสุขทุนทางความยั่งยืนทุนทางเทคโนโลยีทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อองค์กรจะสร้างความคิดให้บุคลากรมีความรักและหวงแหนในองค์กรประหนึ่งตนเองเป็นเจ้าของด้วย นี่คือแนวทางของทุนมนุษย์ที่เป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการพัฒนาองค์กรในยุคปัจจุบันและอนาคต

http://www.entraining.net/article-raiwin 12.php

บริหารความเสี่ยง ในหัวข้อ เทคนิคการวิเคราะห์สินเชื่อ SMEs อย่างมืออาชีพ

การบริหารและลดความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ

การให้สินเชื่อแก่ลูกค้าธุรกิจ SMEs ซึ่งมีความเสี่ยงสูงนั้น ความเข้าใจในจุดดีและจุดด้อยของธุรกิจ SMEs อย่างแท้จริงจะลดความเสี่ยงได้ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ได้แก่ การให้สินเชื่อแก่ธุรกิจในรูปแบบของ Consultative Lending ที่เน้นการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำควบคู่ไปกับการให้สินเชื่อ แทนที่จะเป็นเพียงการให้สินเชื่อเพียงอย่างเดียวแบบดั้งเดิม

ขอบเขตของการบริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SMEs นั้นไม่เพียงแต่จะต้องมีกระบนการต่างๆ ในการวิเคราะห์ การบริหารความเสี่ยง แต่ธนาคารควรต้องเลือกใช้กลยุทธ์ Consultative Lending ด้วย เช่น การสร้างเครือข่ายใกนารดำเนินธุรกิจ มีการอบรมให้ความรู้ในการบริหารจัดการ ด้านการตลาดและอื่นๆ แก่ลูกค้า โดยอาจรวมถึงการช่วยเหลือทางด้านการตลาด เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาแหล่งระบายสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายในการนำสินค้าออกไปสู่ตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ และลูกค้า SMEs ก็สามารถที่จะเติบโตขึ้น กลายเป็นลูกค้าขนาดใหญ่ที่สามารถทำกำไรให้ธนาคารในระยะยาวต่อไป

ลูกค้า SMEs ที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ในโลกของการแข่งขันทางทางธุรกิจนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวลูกค้าอย่างลึกซึ้งดีพอ ยอ่มจะช่วยให้ธนาคารอยู่ในจุดที่ได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขันอย่างยั่งยืน ตลาดสินเชื่อธุรกิจ SMEs นั้นเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูง (Attractive Markets) กับธนาคารผู้ให้กู้ ตัวเลขอัตราผลตอบแทนที่วัดจาก Yield per Customer ที่จะได้รับนั้นสูงมากกว่าสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ที่มีไม่มาก รวมถึงลูกค้าก็มีอำนาจต่อรองสูงมากอีกด้วย

การให้สินเชื่ออะไรก็แล้วแต่ ย่อมมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีใครตอบได้ว่าลูกค้าที่เราพิจารณาว่าเป็นลูกค้าที่ดีที่สุดในวันนี้นั้น จะเป็นอย่างไรในอีกหลายปีข้างหน้า ตราบใดที่โลกใบนี้เต็มใบด้วยความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ โอกาสที่จะล้มเหลวและผิดพลาดในการบริหารงานก็ย่อมที่เกิดขึ้นได้เสมอ สิ่งที่ธนาคารทำได้ดีที่สุดก็คือ การทำความเข้าใจ เกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายที่ยื่นขอกู้มายังธนาคารให้ดีทีสุด เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์และตัดสินใจการให้สินเชื่อให้ได้สินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูงและมีความผิดพลาดน้อยที่สุดนั่นเอง

บทความข้างต้น สรุปย่อมากจาก เทคนิคการวิเคราะห์สินเชื่อ SMEs อย่างมืออาชีพ เขียนโดย คุณสมเด็จ เชตุพน เป็นคอลัมม์ในจุลสารออมสิน ปีที่ 21 ฉบับที่ 387 เดือน กันยายน 2554(ปักษ์หลัง)

จากการอ่านบทความข้างต้นพอจะสรุปเกี่ยวกับทฤษฎี 8K’S ทฤษฎีพื้นฐานการพัฒนาศักญภาพทุนมนุษย์ เพื่อรองรับอาเชี่ยนเสรี 2015 ดังนี้

ปัจจุบันธนาคารออมสิน มีบทบาทในสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในหลายๆ ประเด็น และหนึ่งในนั้นการปล่อยสินเชื่อ SMES ในอดีตพนักงานธนาคารออมสินจะไม่มีความชำนาญ และความรู้เกี่ยวกับด้านสินเชื่อมากนัก แต่ในปัจจุบันวิถีการทำงานและบทบาทของพนักงานเปลี่ยนแปลงไปสถานการณ์ และการดำเนินของธนาคาร ซึ่งธนาคารพยายามที่จะฝึกฝนพนักงานให้เกิดความรู้ความสามารถ และศักยภาพในทำงาน โดยผู้บริหารเห็นความสำคัญของจุลสารให้พนักงาน อ่านจะมีการแทรกความรู้ ความสนุก เพื่อไม่ให้พนักงานเกิดเบื่อหน่ายในการอ่าน และนำมาปรับปรุงการทำงานของตนเองให้เกิดความรู้ความชำนาญ มีทักษะ และทัศนคติ ที่ดีต่อการทำงานและลูกค้า เช่น คอลัมม์ที่นำมาสรุปนี้ คิดว่าเป็น 8K’S ทุนอัจริยะ หรือ Talented Capital ซึ่งเชื่อว่าคนที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องมี 3 อย่างพร้อมกัน คือ 1. ทักษะ(Skills) 2.ความรู้(Knowledge) 3.ทัศนคติ(Attitud)

โดย นางสาววรัญญา นาคดิลก นักศึกษา ป.เอก ศูนย์นครราชสีมา ม.สวนสุนันทา

A: ถอดบทเรียนจากหนังสือ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) บูรณาการแนวคิดการจัดการทุนมนุษย์ ในทฤษฎี 8k ประเด็น Sustainability Capital

พระมหาสาธิต เมธีจรรยาภรณ์ ศูนย์กรุงเทพฯ

ตอนที่ 2

2.ต้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงสิ่งที่เป็นปัญหา แต่ก็เป็นสิ่งที่จะชักพาให้เกิดการแก้ไข นำไปสู่ความเจริญ การแก้ปัญหา จะต้องเป็นระบบ เป็นกระบวนการ บูรณาการเป็นองค์รวม โดยได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาเป็น 3 ระดับ คือ

2.1 การแก้ปัญหาขั้นต้น คือ 1) การวางท่าทีต่อธรรมชาติที่เป็นการมองธรรมชาติด้วยความรู้สึกรื่นรมย์ ชื่นชมความงาม มีความสุขในการอยู่กับธรรมชาติ มองพืชพันธุ์ มนุษย์ สัตว์ในธรรมชาติเป็นเพื่อนร่วมกฎธรรมชาติอันเดียวกัน ต้องมีเมตตาไม่ตรีกัน มองธรรมชาติเป็นสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าเกื้อกูลต่อการพัฒนาตนของมนุษย์ 2) การวางพฤติกรรมคนทางเศรษฐกิจ โดยต้องรู้จักประมาน คือความพอดี มุ่งเพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ให้ร่างกายมีสุขภาพดี อยู่ดีมีสุข ให้เห็นคุณค่าแท้ ในการบริโภคปัจจัยสี่ 3) การสร้างสรรค์โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรอบคอบ พิจารณาอย่างทั่วถึงในระบบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

2.2 การแก้ปัญหาในระดับต่อมา คือการเริ่มต้นระบบ ได้แก่ 1) ระบบการพัฒนาคน 3 ด้าน คือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา

ด้านพฤติกรรมระดับบุคคล ต้องแก้ถึงพฤติกรรมความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรค ทำให้ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง การแก้ไขปรับปรุง ปลูกฝังพฤติกรรมที่ดี ซึ่งไม่ทำลาย แต่เกื้อกูลธรรมชาติ ให้เป็นสุขอยู่กับธรรมชาติ วิธีการที่สำคัญในการสร้างพฤติกรรมเคยชินที่ดี คือระเบียบวินัย ซึ่งไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นการชักจูง และปลูกฝังพฤติกรรมในทางที่ดี พฤติกรรมระดับสังคม เป็นการพัฒนาและรักษาทางวัฒนธรรมที่ดี วัฒนธรรมที่ลด ละ สิ่งเสพบริโภคที่เกินความจำเป็น วัฒนธรรมที่ส่งเสริมและอนุรักษ์ธรรมชาติ

ด้านจิตใจ ซึ่งมีเจตน์จำนงที่เป็นตัวชี้นำกำหนดพฤติกรรม สภาพจิตใจที่มีความสุข ทำให้พฤติกรรรม มีความมั่นคง ปัญญาจะทำงานได้ผล และพัฒนาไปได้ จึงต้องอาศัยสภาพจิตใจที่เหมาะ ปลูกฝังความรู้สึก ท่าทีแห่งความรัก ชื่นชมปรารถนาดี เป็นมิตร สร้างความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง เร้าให้สำนึกที่จะเข้าไปร่วมสร้างสรรค์ หล่อหลอมจิตใจให้สมดุลระหว่างการให้และการรับ ส่งเสริมให้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ให้เป็นไปเองตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย รู้จักพอใจเป็นสุขได้ง่ายด้วยวัตถุ ทรัพย์สิน สิ่งเสพบริโภคเท่าที่ตนมีตนได้ ซึ่งหามาได้ด้วยความเพียรพยายามของตน โดยสุจริตชอบธรรม มีอุดมคติ ปณิธานในการทำงาน การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ฝึกความรักงาน ความเพียร ขยันอดทน ความรับผิดชอบ มีสติ สมาธิ เป็นต้น เป็นการพัฒนาชีวิต พร้อมไปกับการเป็นองค์ประกอบที่พัฒนาสร้างสรรค์สังคม ห่างไกลจากการเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ด้านปัญญา ซึ่งเป็นตัวจัดปรับพฤติกรรมและจิตใจ เป็นตัวนำไปสู่ความหมายแห่งอิสรภาพและสันติสุข ควรฝึกฝนโดยการใช้หลักโยนิโสมนสิการ พิจารณาโดยรอบคอบรอบด้าน เช่น สิ่งนี้คืออะไร ทำที่ไหน อย่างไร ใช้เพื่ออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร จะปฏิบัติต่อสิ่งนี้อย่างไรจึงจะดี เป็นต้น ควรส่งเสริมให้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ รู้เหตุผล และคุณค่า หรือประโยชน์ โยนิโสมนสิการเป็นกระบวนการพัฒนาปัญญา และทำให้เกิดความพอใจ เต็มใจและตั้งใจทำ เกิดผลดีทางจิตใจ ทำให้พฤติกรรมยั่งยืน มั่นคง การเสพบริโภคสิ่งของ จึงเป็นการเสพบริโภคด้วยปัญญา

ปัญญา ถือว่า เวลามีค่ากว่าเงินทอง เพราะทุกขณะของเวลาคือชีวิตและคุณค่าของชีวิต ต้องใช้ปัญญาพิจารณา ตรวจตรา ตรวจสอบอยู่เสมอโดยไม่ประมาทว่า พฤติกรรม การงาน กิจการ ยังเป็นไปในทางส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการพัฒนาจิตใจ และปัญญาดีอยู่หรือไม่ มีส่วนใดที่จะทำลายคุณภาพชีวิต ทำชีวิตและจิตใจให้ตกต่ำลง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น สังคม และแก่โลก เมื่อรู้ก็เร่งแก้ไขปรับปรุง พัฒนาให้เป็นไปในทางทีดี ที่เกื้อกูลยิ่งขึ้น

2.3 การแก้ปัญหาในระดับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะเกิดขื้น เมื่อระบบความสัมพันธ์ของประกอบทั้งสี่ คือ มนุษย์ สังคม ธรรมชาติ และเทคโนโลยี ดำเนินไปด้วยดี โดยที่ทุกส่วนเป็นปัจจัยส่งผลในทางเกื้อกูลแก่กัน ดำรงอยู่ด้วยกันด้วยดี กล่าวคือ

มนุษย์ ควรมุ่งให้การศึกษาและจัดสรรปัจจัยเกื้อหนุน เพื่อช่วยให้แต่ละคนเจริญงอกงาม เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีสุขภาพดี ขยัน อดทน รับผิดชอบ มีฝีมือ มีความรู้ มีความสามารถ เชี่ยวชาญ พร้อมที่จะเป็นกำลังในระบบเศรษฐกิจและสังคมที่จัดสรร ให้เกื้อหนุนและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

สังคม โดยพื้นฐาน เป็นการจัดตั้งวางรูปแบบขึ้น เพื่อให้เป็นเครื่องมือและเป็นสื่อช่วยให้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยในกฎธรรมชาติทำงาน หรือดำเนินไปในทางที่จะอำนวยผลดีแก่มนุษย์ จำแนกเป็นระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง เป็นต้น ซึ่งจะต้องประสานกลมกลืน สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันบนฐานแห่งความรู้ ผลสำเร็จที่เกิดจากระบบทางสังคม เช่น เศรษฐกิจเติบโต การพัฒนาเศรษฐกิจสำเร็จผล เป็นต้น ไม่ใช่จุดหมายในตัว แต่เป็นสภาพแวดล้อม เป็นบรรยากาศเกื้อหนุน เอื้อให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนให้เข้าถึงชีวิตที่ดีงาม จุดเน้นสำคัญในมาตรการทางสังคม คือการสร้างบรรยากาศแห่งการไม่เบียดเบียน บรรยากาศแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูล พร้อมกับมีมาตรการพิทักษ์ ป้องกันไม่ให้คนเบียดเบียนทำลายธรรมชาติแวดล้อม มีมาตรการส่งเสริม สนับสนุนการกระทำ และกิจการที่เกื้อกูลแก่ธรรมชาติ

ธรรมชาติ ทัศนคติที่ดีของมนุษย์ต่อธรรมชาติ ไม่ควรหยุดเพียงมองตนเองแยกจากธรรมชาติ เลิกคิดพิชิตและจัดการกับธรรมชาติตามชอบใจ ควรก้าวไปถึงขั้นแสดงศักยภาพ คือการทำให้โลก ซึ่งเคยเบียดเบียนกันมาก ให้เบียดเบียนกันน้อยลง ทำให้โลกที่มนุษย์และสรรพชีพเคยพออยู่กันได้ สามารถอยู่กันได้ดียิ่งขึ้น เกื้อกูลกันมากขึ้น ธรรมชาติ นอกจากจะเป็นพื้นฐานและเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิต การที่มนุษย์วางท่าทีที่เหมาะสม ธรรมชาติ ก็จะเป็นแหล่งอำนวยคุณค่า ความงาม ความรื่นรมย์ และให้ความสุข แม้แต่ชีวิตด้านนามธรรมของมนุษย์ ซึ่งแต่เดิมมนุษย์ได้รุกรานเอาจากธรรมชาติไปเกือบหมดอยู่แล้ว เป็นเหมือนคนเอาแต่ได้อย่างเดียว จึงควรให้แก่ธรรมชาติให้มาก เสริมสร้างให้เป็นการใหญ่

เทคโนโลยี การประดิษฐ์ การผลิต การใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาและอนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น เทคโนโยลีประหยัดพลังงาน หรือการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง มีของเสียน้อย เทคโนโลยีกำจัดของเสีย เทคโนโลยีเป็นเครื่องขยายวิสัยแห่งอินทรีย์ของมนุษย์ ทำงานแทนได้มากมาย เป็นเครื่องบำรุงบำเรอ อำนวยความสุข สะดวกสบาย มนุษย์จึงควรใช้ด้วยสติ และโยนิโสมนสิการ ปฏิบัติต่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง ก็จะเป็นปัจจัยเกื้อกูลยิ่งขึ้นในการพัฒนามนุษย์เอง และการนำการพัฒนาที่ยั่งยืนไปสู่จุดหมาย แต่ถ้ามนุษย์ลืมตัว เพลิดเพลินไป เสพสุข และบำรุงบำเรอตน ก็มีแนวโน้มที่จะต้องพึ่งพาและตกเป็นทาสของเทคโนโลยี ขาดเทคโนโลยีแล้วทำงานไม่ได้ ดำเนินชีวิตให้ได้ผลดีไม่ได้ หรือมีความสุขไม่ได้ ผลก็จะกลายเป็นว่า เทคโนโลยีนำมาซึ่งความเสื่อม มนุษย์จึงต้องไม่ประมาท ให้เทคโนโลยีเจริญเคียงคู่ไปกับการพัฒนาตนเอง

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์ รหัสนักศึกษา 53484933008

นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

การพัฒนาทุนมนุษย์ ในยุคที่เป็นโลกาภิวัตน์ ในที่ปัจจุบันเปรียบเหมือนโลกหลอมละลายเข้าด้วยกัน ด้วย IT เช่นเรื่องที่เกิดขึ้นวันนี้ในประเทศไทยเพียงไม่กี่นาที จะรู้กันไป ซึ่งเกิดจากการที่ความเป็นขอบเขตที่หายไป กำลังหลอมละลายเข้าด้วยกัน และทุนทางด้านความเป็นอัตลักษณ์ จะมีบทบาทมากขึ้นที่จะไม่สามารถทดแทนกันได้เป็น Core Competency สภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม และคุณภาพประชาชนของแต่ละภูมิภาค จิตนาการที่เหนือจิตนาการ แต่ต้องคำนึงถึง 3 ส่วน คน สังคม ธรรมชาติ ที่ต้องอยู่ร่วมกันอย่างมีสมดุล ดังนั้นการที่ประเทศชาติจะต้องช่วยกันสร้างระบบความคิดที่เป็น System thinking เพื่อพัฒนาให้เกิด การตัดสินใจที่ดี ที่สร้างทางเลือกที่เป็นภูมิคุมกันให้กับประเทศ ด้วยการพัฒนาสร้างผู้นำตั้งแต่ในหน่วยหน่วยเล็กที่สุดคือครอบครัวตัดสินใจนำพาไป ที่จะทำอย่างหนึ่งแล้วไม่ไปสร้างปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะ

การพัฒนาคน โดยเน้นคนที่มีศักยภาพในการทำงาน

คนเก่งที่ดีในองค์การจะต้องทำงานร่วมกับคนอื่นได้ด้วย ซึ่งพวกเขาจะต้องมีความสามารถพิเศษใน 4 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่

1 . ความสามารถในการมองอนาคต เน้นภาพใหญ่ (Big Picture)

2. ความสามารถในการดึงเอาคนอื่นให้เก่งตามไปด้วย

3. ความสามารถในคิดสร้างสรรค์

4. ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค

การพัฒนาคนเก่ง อาจารย์จีระได้ให้ทฤษฎี 5 E ในการบริหารคนเก่งให้เกิดประสิทธิภาพ E ตัวแรกคือ

1. Example หมายถึงการมีตัวอย่างหรือแม่แบบที่เก่ง (Role Model)

2.Experience คือการมีโอกาสได้เรียนรู้งานจากผู้ที่มีประสบการณ์

3. Education นั่นก็คือการพัฒนา การอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือ ฝึกอบรม เปิดเว็บไซด์เข้าไปดู

4. Environment การบริหารบรรยากาศให้ได้ การสร้าง talent ต้องขึ้นอยู่กับบรรยากาศด้วยอย่างเช่น AIS มีการสร้างบรรยากาศดี เปิด โอกาสให้คนแสดงความสามารถ และ

5. Evaluation เป็นการประเมิน การให้รางวัลโดยผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจและให้เวทีพวกเขาได้แสดงความสามารถ

(พัฒนามาจาก บทความ ใน my knowledge blog

http://jsoc.wordpress.com/2009/09/14/%E0%B8%A8-%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0-%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82/)

การพัฒนาคนก็จะมีประสิทธิภาพพัฒนาง่าย และจึงจะเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร

ทฤษฎี 8 K’s ของท่านอาจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท

พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ

เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

การคิดแบบสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

กระบวนการคิดของเราไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาเลยกว่า 2,400 ปีมาแล้ว ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการคิดจะช่วยให้เราพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการและการอยู่ร่วมกันได้ซึ่งระบบการคิดแบบเดิมดีเยี่ยมแต่ยังไม่ดีพอ เพราะการคิดคือความสำเร็จในทุกขั้นตอน

เหตุผลการคิดไร้คุณภาพ ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,ไม่มีสาขาวิชาเกี่ยวกับการคิด,ปล่อยให้เป็นงานของนักปรัชญาและนักจิตวิทยา,ไม่เข้าใจว่าสมองทำงานอย่างไร,ละเลยเรื่องความรู้หรือความเข้าใจ,ศาสนา,ความจริงกับความเป็นไปได้,ชอบตัดสินอะไรถูกอะไรผิด

เราคิดและตัดสินใจกันอย่างไร

เวลาที่คนคิดช่วยกันคิดต่างคิดมีหลายประเด็น หลายด้าน ใครคิดด้านไหนออกก็มักจะคิดผูกพันกับด้านนั้น เวลาฟังความคิดของคนอื่นก็ได้แต่โต้แย้งแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบออกไป เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจก็ต้องใช้อารมณ์ ซึ่งมีประสิทธิผลไม่มากพอ

โดยใช้ปัจจัยในการคิด 3 ปัจจัย คือ1) สิ่งที่เราเคยรู้มาหรือข้อมูลในอดีต (Information) 2) ความรู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (Feeling and Emotion) และ 3) การโต้แย้งกันทางลบ (Negative Thinking)

การคิดแบบ Six Thinking Hats คืออะไร

ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน เห็นว่า การคิดแบบเดิมขาดปัจจัยสำคัญอีก 3 ด้าน คือ การคิดทางบวก (Positive Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และ การบริหารการคิด (Thinking Management) การคิดที่มีประสิทธิภาพสูงควรใช้ทั้งปัจจัยเดิม 3 ปัจจัย รวมกับปัจจัยใหม่อีก 3 ปัจจัย เป็น 6 ปัจจัย จึงจะสมบูรณ์แบบ

ระบบคิด Six Thinking Hats ขึ้นเพื่อและเพื่อให้เป็นการคิดแบบใหม่ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น คือ 1) ข้อมูล(Information) 2)ความรู้สึก (Feeling) 3) การคิดทางบวก (Positive Thinking) 4) การคิดทางลบ (Negative Thinking) 5) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และ 6) การบริหารการคิด (Thinking Management)

การคิดที่เป็นระบบครบถ้วนทั้ง 6 ปัจจัยจะทำให้เราคิดเป็นระบบและเป็นระเบียบทำให้เกิดประสิทธิภาพทางการคิด และหนึ่งในนั้นก็คือการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นกระบวนการที่สามารถเรียนรู้และสร้างให้เกิดได้ เราไม่สามารถทำให้ทุกคนเก่งเหมือนดาวินชี หรือ บีโธเฟน แต่เราสามารถเรียนรู้กระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ได้

การคิดแบบสร้างสรรค์มีกระบวนการสำหรับเทคนิคความคิดสร้างสรรค์นั้น ยกตัวอย่าง 2 เทคนิคสำคัญ คือ เทคนิคการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Lateral Thinking) และเทคนิคการคิดเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพแบบ Simplicity

ดังนั้นเราจะเห็นว่าในกระบวนการคิดนั้นจะประกอบด้วย คนสร้างสรรค์ สื่อสร้างสรรค์ และ สภาพแวดล้อมสร้างสรรค์ ทั้งนี้ส่วนประกอบที่สำคัญนั้นคือ คนสร้างสรรค์ คนนั้นจะสร้างชาติ สร้างความมั่นคงถาวร เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงและจะต้องบรรจุเป็นวาระแห่งชาติในการจัดการเกี่ยวกับระบบการศึกษาในประเทศไทย สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลให้เห็นได้อย่างช้า ๆแต่ก็น่าจะเป็นผลดีกับอนาคตของเยาวชน และประเทศชาติ

Name: นายอานนท์ ทวีสิน

ID: 53484931005

University: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Major: สาขานวัตกรรมและการจัดการ

Assignment 1: สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน

จากที่เข้าเรียนกับท่านศาตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อเวลา 9.00 น.-12.00 น. ได้เข้าใจความหมายของคำว่า “ปลูก” และ “เก็บเกี่ยว” คำว่า “ปลูก” ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Growing ซึ่งมีความหมายว่า กรรมวิธีในการปลูกและเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เพาะเมล็ด หรือนำต้นที่โตแล้ว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น เช่น หัว กิ่ง ใบ ไปปลูกแล้วบำรุงให้เจริญเติบโต จากความหมายดังกล่าว ทำให้เข้าใจได้ว่า การเพาะปลูกนั้น เปรียบเสมือนการดูแล ถ่ายถอดความรู้ ให้ความรักเอาใจใส่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้แบบชัดแจ้ง Explicit และความรู้แบบฝั่งลึก Implicit จนบุคคล หรือคนๆนั้น สามารถมีความรู้นำมาพัฒนาตนเอง และสถานที่ต่างๆที่เราไป ส่วนมากแล้ว จะเป็นการถ่ายทอดแบบ Implicit to Implicit, Implicit to Explicit, Explicit to Implicit, และ Explicit to Explicit ส่วนความหมายของคำว่า “เก็บเกี่ยว” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Harvest ซึ่งหมายความว่า เก็บรวบรวมพืชผลจากที่ได้หว่านหรือลงไว้ เปรียบเสมือน การนำความรู้ต่างๆ ที่ได้มานั้น มาใช้ประโยชน์ ให้เกิดผลผลิตที่งอกเงย เปรียบเสมือนต้นไม้ที่โตแล้ว ออกดอกออกผล แล้วนำเมล็ดที่ได้จากต้นนั้น ไปเพาะปลูกต่อ ให้เกิดเป็นลำต้นใหม่ขึ้นมา

การที่จะทำให้ความรู้ที่ได้มานั้น นำมาใช้ให้เกิดผลสำเร็จ จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เกื้อหนุนในการกระจายความรู้ มีหัวหน้าที่เปิดกว้างทางความคิด และค่านิยมของคนในองค์กรที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ยอมรับในความคิดเห็นร่วมกัน

นางจงดี พฤกษารักษ์

นางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก (ศูนย์ภูเก็ต) รหัส 53484931011

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ดิฉันได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554นี้ดิฉันคิดว่าท่านอาจารย์ใช้วิธีการเรียนการสอน "Happiness"และเป็นการสอน "Respect" ดิฉันได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ "ภาวะผู้นำในประเด็น ความแตกต่าง และ ความเหมือนกัน " รวมทั้งใน ข้อ3 Develop"นำไปใช้ได้ผล ดิฉันได้ตกผนึกในเรื่อง "Inspirational Leader"ดิฉันคิดว่าท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นอาจารย์ "Energizing Leader"จากการสอนในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกท่านโดยการระดมความคิดเห็น "Shared Vision "รวมทั้งให้นักศึกษาเรียนด้วย "Team Learning "จากการเรียนการสอนของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ดิฉันมีความรู้สึกว่าท่านอาจารย์มอบ "Knowledge Capital "นอกจากนี้ท่านอาจารย์ทำให้เกิดปัจจัย 3 ประเด็นได้แก่ 1).Information 2).Feeling and Emotion 3) Positive Thinking ดิฉันในวันนี้มีได้รับความรู้เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking )โดยเฉพาะเกี่ยวกับ "การปลูก และ การเกี่ยว "ประกอบด้วย 2 ประเด็นได้แก่ Lateral Thinking และเทคนิคการคิดแบบประสิทธิภาพสอดคล้อง " คนสร้างสรรค์ สื่อสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมสร้างสรรค์" โดยใช้ทฤษฎี "HRDS" H คือการสร้างความสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสวนรวม :Rคือการยอมรับถือซึ่งกันและกัน :Dคือการยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน และ Sคือความยั่งยืนเราจะต้องมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว ขอบคุณ

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์ รหัสนักศึกษา 53484933008

นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

สรุปสิ่่งที่เรียนรู้ในห้องเรียน

วันนี้ ภาคเช้าเราเรียนเรื่องการปลูก และการเก็บเกี่ยว ทางด้านทุนมนุษย์ การปลูกของท่านอาจารย์ จีระ ตามความเห็นของผมในสังคมประกอบด้วย คน ประกอบทุนทางพื้นฐาน แนวคิดทฤษฎี 8 K’s ตั้งแต่แรกเกิดจะต้องสร้างทุนให้เขาโดยหน้าที่ของบิดามารดา แต่ในฐานนะที่เขาเป็นทรัพยากรมนุษย์ของคนในชาติ การสร้างลงทุนโดยรัฐบาล เพื่อสร้างพื้นฐานที่เป็นทุนอนาคตสำหรับสร้างชาติ และคืนกลับสู่สังคมในอนาคต ในมิติคนที่ต้องสร้างเป้าหมาย (ความหวัง) ปลูกเมล็ดพันธ์ความสำเร็จ เป็นพื้นฐานการปลูกขั้นที่หนึ่ง และการคืนสู่ส่วนของสังคมเข้าสู่องค์กรท่านได้ยกตัวอย่าง ปตท ยังมีการปลูกครั้งที่สอง เป็นการปลูกครั้งที่ 2 เพื่อความสำเร็จที่องค์การต้องการสร้างศักยภาพ จากความคิดของ ดร.จีระ ยังมีทุนอีก 5 ประการที่มีความสำคัญ และถือว่าจะสามารถช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด แข่งขันในสังคมอาเซียนเสรีได้อย่างสง่างาม และยั่งยืน ท่านเรียกแนวคิดทุนใหม่ 5 แนะการนี้ว่า “ทฤษฎี 5 K’s (ใหม่)” ประกอบด้วยทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์,ทุนทางความรู้,ทุนทางนวัตกรรม,ทุนทางอารมณ์,ทุนทางวัฒนธรรม

การเก็บเกี่ยว การค้นพบศักยภาพ ใช้โดยตนเองหรือบุคคลอื่น และสามารถให้เกิดประโยชน์ทั้งในส่วนของตนเอง ส่งต่อให้กับผู้อื่นในฐานนะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หรือส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อเราปลูกอะไร เราได้สิ่งนั้น แต่เหนือจากความเป็นสังคมเราจะต้องไม่ลืมว่าเรานั้นเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติด้วยเช่นเดียวกัน ....ส่งต่อเมล็ดพันธ์ความคิด

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิชา สัมมนาการจัดการทุนมนุษย์ระหว่างประเทศ

Seminar in International Human Capital Management

โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 25 กันยายน 2554

ช่วงบ่าย

สรุป Quatations

• ผู้จัดการจะทำ Do the Thing right เช่น ในระบบราชการเมื่อถึงเวลางบประมาณจะรีบจ่ายเงินคือไม่ผิดกฎหมายแต่มีประโยชน์หรือไม่ ไม่มั่นใจ

• ผู้นำจะทำ Do The Right Thing คือ ถูกต้อง มีประโยชน์ และมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นการใช้เงินให้คุ้มค่า

• ผู้นำที่ดีไม่ต้องสั่งว่าลูกน้องควรทำอะไร เพียงแต่สิ่งที่สั่งให้เขาทำจะมี Consequence หรือผลงานที่ทำให้มีความภาคภูมิใจ

• Leadership ไม่ได้มาจาก Power แต่เพียงต้องการให้เขาเห็นด้วยกับเรา เรียกว่าต้องมีศิลปะให้ลูกน้องในการอยากทำงานให้กับเรา

• Leadership จะเป็นผู้จัดการความหวัง เช่น John F.Kenedy พูดว่าอย่าคาดหวังว่ารัฐบาลทำอะไรให้แก่ท่าน แต่ท่านจะทำอะไรให้แก่รัฐบาล Classic Case ของผู้นำคือต้องสร้างความหวัง อย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านจะสร้างความหวังให้แก่ประชาชน ประชาสังคม คือ ถึงแม้ไม่ได้เป็นนักการเมืองทุกคนก็ช่วยประเทศชาติได้

• ผู้นำคือให้แนวทางที่ดี

• ผู้นำมาจากพรสวรรค์ก็จริง แต่สำคัญที่สุดมาจากพรแสวง คือการเรียนรู้ และฝึกฝนได้

• ความสำเร็จของผู้นำคืออิทธิพลแต่ไม่ใช่สั่งการหรืออำนาจ ยุคใหม่เป็น Trust Base คือต้องเกิดจากความศรัทธา ดังนั้นคำว่า Influence มาจากอิทธิพลในทางที่ดี ให้ลูกศิษย์ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ค้นหาตัวเอง และใฝ่รู้ การไปเรียนนอกห้อง สำคัญกว่าเรียนในห้อง อย่างในห้องถ้าค้นหาตัวเองได้จะดีมาก สามารถหาข้อมูลจาก Internet ได้

• คนไทยมีปัญหาคือ Mental for Peak คือ เมื่ออยากค้นหาอะไรบางครั้งก็เพลีย

• สังคมไทยจะพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือไม่? ปัจจัยสำคัญคือภาวะผู้นำของนักการเมืองยุคใหม่ในประเทศไทย

• ประเทศไทยวิทยาศาสตร์โหล่พอ ๆ กับอินโดนีเซีย ยุคปัจจุบัน IQ อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย

วัตถุประสงค์หลัก

• หัวข้อผู้นำอยากให้จับหลักการความสำคัญ Why ? สำคัญกว่า How ? ปริญญาเอก อย่าลอกเท่านั้น ให้วิเคราะห์ให้ดี มี Thesis, Anti-Thesis , และSynthesis คือการสังเคราะห์

คุณเป็นผู้นำได้ด้วยการไม่มองอะไรที่เอียง ไม่ควรมองแบบซ้ายจัดหรือขวาจัดเนื่องจากทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคม อย่าประมาทการเมืองเราต้องทำตัวให้อยู่กลาง ๆ ภายใน 15 ปีข้างหน้า การศึกษาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ท้องถิ่น

ทำอย่างไรถึงทำให้สำเร็จ

การทำวิจัยสำหรับปริญญาเอก Expert Opinion Survey สำคัญมาก จุดอ่อนของคนไทยคือ ถามคำถามลึก ๆ ไม่เป็น

• แบ่งปันความรู้ เพื่อค้นหาตัวเอง ทำให้ความเป็นผู้นำของท่านสูงขึ้น และนำไปปฏิบัติได้

• สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน

• สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง

…………………………………

• ปัญหาคือยังไม่มีการกำหนดแนวทางที่จะพัฒนาผู้นำในประเทศไทยอย่างจริงจัง

• Heart & Mind + Intention

• ทฤษฎี 3 วงกลม

Competencies

1. ต้องมีทักษะ

2. ต้องมีความสามารถในการบริหารคนในองค์กร

3. มีความสามารถในการเป็นผู้นำ

4. มีจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ เห็นโอกาสแล้วไป ถ้าเกิดมูลค่าเพิ่ม ฉกฉวย ถ้าขาดอะไรเติมเข้ามา Entrepreneur + Ethics ด้วยถึงจะดี ตัวอย่างทำไมร้านตัดผม 2 ร้านติดกัน ราคาเหมือนกัน แต่รายได้ไม่เท่ากัน

5. ต้องอยู่ในโลกของการแข่งขันได้

…………………………………………………

• ผู้นำต้องมองภาพใหญ่ เริ่มจาก Micro ไม่ได้

• ต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกว่าคือโอกาสและการคุกคาม

• ผู้นำต้องวิ่งไปสู่คลื่นลูกที่ 4

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Fourth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

 sustainability+

 wisdom+

 creativity+

 Innovation+

 intellectual capital.

• อย่าให้ระยะสั้น ทำร้ายระยะยาว ต้องมีสุขภาพที่ดี ใฝ่รู้ มีคุณธรรม จริยธรรม อย่าเอา 1+1 = 2

• ผู้นำกับผู้บริหารแตกต่างกัน

ผู้นำ

 ผู้นำบริหารคน ผู้บริหารบริหารระบบ แต่จุดอ่อนของไทยไม่ให้ความสำคัญเรื่องคน ให้ความสำคัญกับเรื่องเงินเป็นส่วนใหญ่

 ผู้นำต้องมีศรัทธามากกว่ามีอำนาจ

 ผู้นำส่วนมากต้องมองไกล ไม่มองสั้น ๆ

 คิดเรื่อง Why มากกว่า How

 มองอนาคตให้ถึง Horizon ขอบฟ้า เกือบเป็น Infinite

 ต้องมีนวัตกรรม

 มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

 ซึ่งเป็นหัวข้อที่จัด public seminar

• ชนิดของผู้นำ

 มีศรัทธา มีอำนาจ

 มีเสน่ห์ อบอุ่น เช่น คุณชวน

 ถูกสถานการณ์กำหนดขึ้นมา เช่น Rudolph Giuliani

 ผู้นำไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่คิดเก่ง

• Trust มี 3 ขั้นตอน

 สร้าง(Grow)

 ขยาย(Extend)

 ดึงกลับมา ถ้าหายไป(Restore)

• Trust มีหลายประเภท

 Self Trust ต้องเกิดขึ้นกับตัวเองซะก่อน ต้องทำให้สำเร็จ พัฒนา Self Trust ตลอดเวลา ต้องไม่ชุ่ย

 Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

 Organization Trust

 Social Trust

• การศึกษาผู้นำในเมืองไทยต้องใช้ Role Model

• Transformation Leadership เป็นการเปลี่ยนอย่างรุนแรงจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งเรียกว่าก้าวกระโดด

• การเป็นผู้นำระหว่างประเทศต้องเปลี่ยนแล้วดีขึ้น

• คุณสมบัติของผู้นำของท่านผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ “Super K”

1. ผู้นำต้องมีความรู้

2. ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

3. ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

4. ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

5. ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

6. ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

7. ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

• Jack Welch

1. ผู้นำที่ดีต้องมีพลัง พลังมาจากความคิดสร้างสรรค์ และถ้ามีวิกฤติในแต่ละวันเราต้องปล่อยวางให้ได้

2. สามารถกระตุ้นให้คนอื่นมีพลัง

3. มีความเด็ดขาดและมีอำนาจตัดสินใจ

4. ลงมือทำให้สำเร็จ

ทฤษฎีล่าสุดของ Jack Welch คือ ถ้าเป็นผู้นำด้วย ก็เป็นผู้สอนด้วย

• ผู้นำที่ดีจะสร้างอย่างไร ?

1. เป็น/สร้างตัวอย่างที่ดี

2. สะสม/ถ่ายทอดประสบการณ์

3. การศึกษา ฝึกอบรม

4. สร้างบรรยากาศให้ผู้นำเกิดขึ้นในองค์กร ให้โอกาสได้แสดง ได้มีส่วนร่วม

5. ต้องมี KPI ถ้าเป็นผู้นำที่ดีต้องได้รับการดูแล ให้รางวัล ให้เขาสู่ตำแหน่ง ยกย่อง

• การสร้างผู้นำแบบ Ram Charan

1. Identifyผู้นำตั้งแต่อายุน้อย

2. ศึกษาว่าแต่ละคนเก่งเรื่องอะไร

3. พัฒนาเขาเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง

4. ดูแลไม่ให้เขาตกราง

• การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ University of Washington ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี

1. Character หรือ คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น ชอบเรียนรู้ มีทัศนคติเป็นบวก การมีคุณธรรม จริยธรรม

2. มี Leadership skill ที่สำคัญ

คือ - การตัดสินใจ

- การเจรจาต่อรอง

- การทำงานเป็นทีม

- Get things done

3. เรียกว่า Leadership process

คือ การมี Vision และมองอนาคตให้ออก

4. คือ Leadership value

สำคัญที่สุดคือ Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้น ๆ

Workshop (ให้เวลา 30 นาที)

1. ใน Asean เสรี ท่านคิดว่าผู้นำสำคัญอย่างไร 3 เรื่อง

2. ราชการ,เอกชน,ภาควิชาการ ภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร และมีความเหมือนกันอย่างไร

3. ถ้าจะ Develop ผู้นำให้ได้ผล

- ในภาคราชการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

- ในภาคเอกชน ธุรกิจ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

- ในภาควิชาการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

………………………………………………………………

จังหวัดภูเก็ต กลุ่ม 1

1. ใน Asean เสรี ท่านคิดว่าผู้นำสำคัญอย่างไร 3 เรื่อง

 ถ้ามองในระดับประเทศมีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้นำต้องรู้เยอะ รู้กว้าง และต้องรู้เรื่องเศรษฐกิจอาเซียน ฯลฯ

 ผู้นำในระดับองค์กรสำคัญเพราะมองเห็นโอกาสและอุปสรรคมีเยอะ

 ความเข้มข้นการตัดสินใจมีความถี่ขึ้น และจริงจังมากขึ้น ต้องตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น

2. ราชการ,เอกชน,ภาควิชาการ ภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร และมีความเหมือนกันอย่างไร

ความเหมือนกัน คือ

1.ทั้งภาคราชการ เอกชน วิชาการ มีทีมงานเหมือนกันหมด แสดงว่าผู้นำต้องมี Teamwork และรู้จักบริหาร Teamwork ทั้งหมด

2.กฎระเบียบต้องมีเหมือนกัน

3.การรักษาผลประโยชน์สูงสุด มองในแง่ของเอกชนที่ดี คือมีจิตสาธารณะ

ความแตกต่างคือ

• ราชการ ยึดกับระบบอุปถัมภ์ ยึดกับตัวบุคคลเป็นหลัก

• เอกชน เน้นทีมงานหรือบุคคลของเขา เน้นศักยภาพของเขา

• วิชาการ เหมือนดอกไม้ปักอยู่ในขี้เลน อยู่ในกะลาครอบ

3. ถ้าจะ Develop ผู้นำให้ได้ผล

- ในภาคราชการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

1. การสร้างผู้นำที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่อยู่ภายใต้การเมือง

- ในภาคเอกชน ธุรกิจ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

- ในภาควิชาการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

จังหวัดเลย

1. ใน Asean เสรี ท่านคิดว่าผู้นำสำคัญอย่างไร 3 เรื่อง

 การสร้างความไว้วางใจที่มีต่อกลุ่มประเทศอาเซียน

 ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกลเรื่องการเตรียมความพร้อม

 สร้างผู้นำให้เกิดขึ้นในองค์กร

2. ราชการ,เอกชน,ภาควิชาการ ภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร และมีความเหมือนกันอย่างไร

 ความเหมือนกัน คือเรื่องบริหารงานและใช้ภาวะผู้นำ

 ประเด็นแตกต่างคือเรื่องกฎระเบียบราชการมาก เอกชนปานกลางยืดหยุ่น

 การบังคับบัญชา ราชการเป็นแบบลูกโซ่ เอกชน การสร้างทีมงาน นักวิชาการมีความเป็นตัวตนสูง

 อำนาจ ราชการมีอำนาจมาก เอกชน เน้นการมีส่วนร่วม วิชาการต้องมีเหตุผลมาสนับสนุน

 การบริหารงาน ราชการเป็นการบริหารจากบนลงล่าง เอกชนเน้นการสร้าง Network วิชาการเน้นความเป็น Individual สูง

3. ถ้าจะ Develop ผู้นำให้ได้ผล

- ในภาคราชการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 ปลูกจิตสำนึกเรื่องการรักองค์กร มองตัวเองมากกว่าให้องค์กรเจริญ

 อาจารย์จีระบอกว่าราชการไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ปัญหาผู้นำในวงราชการเป็นปัญหาที่หนักหน่วง ถ้าเปรียบเทียบ 3 กลุ่มจะเห็นโอกาสและความแตกต่าง

จังหวัดโคราช

1. ใน Asean เสรี ท่านคิดว่าผู้นำสำคัญอย่างไร 3 เรื่อง

 ผู้นำควรก่อให้เกิดความร่วมมือทางวัฒนธรรม เพื่อก่อให้เกิดอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศ การก้าวสู่การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดทางประวัติศาสตร์ ทางอนุภูมิภาคของอาเซียน ความสัมพันธ์ของชายแดนให้เกิดกับการค้า เศรษฐกิจ และสังคม

2. ราชการ,เอกชน,ภาควิชาการ ภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร และมีความเหมือนกันอย่างไร

ความเหมือนกัน

 ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ มองเห็น จุดเด่นองค์กรได้ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถส่งเสริมการทำงานแบบร่วมมือในองค์กร เป็นประชาธิปไตย ทำงานแบบสร้างทีมงานได้

ความแตกต่าง

 ราชการทำงานยึดติดกับนโยบาย เอกชนทำงานตามเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ มีการกำกับตรวจสอบที่ชัดเจน ภาควิชาการยึดความเป็นตัวตนตนเองมากกว่า

 เรื่องรัฐบาล ราชการจะไม่คิดเอง รอฟังตามนโยบายที่สั่งมา ถ้านโยบายเปลี่ยนราชการก็รอฟังอีก เอกชนคิดเองทำเองมีเป้าหมายที่เด่นชัด วิชาการมองทั้ง 2 อย่างประกอบคือนโยบาย และใช้หลักเหตุผล

 ผลประโยชน์ราชการดูผลตนเอง เอกชนดูส่วนรวม

3. ถ้าจะ Develop ผู้นำให้ได้ผล

- ในภาคราชการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 ด้านภูมิรู้ ทำยังไงให้ผู้นำรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเรื่องอาเซียน

 ภูมิธรรม พัฒนาความซื่อสัตย์ อดทน คุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล

 ภูมิฐาน พัฒนาบุคลิกภาพให้อยู่ร่วมกันได้ในอาเซียน

- ในภาคเอกชน ธุรกิจ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 นำหลัก 8K’s มาจับ คือให้ผู้นำภาคเอกชนต้องรู้เท่าทันด้านเทคโนโลยี มีความรู้ มีวิสัยทัศน์

 ด้านคุณธรรม ต้องสร้างองค์กรให้เข้มแข็งรู้วิธีสร้างองค์กร ให้บุคลากรมีความเข้มแข็งรักองค์กรตัวเอง บุคลากรมีความซื่อสัตย์

- ในภาควิชาการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบ สร้างความรับผิดชอบต่อสาธารณะ มีความเป็นกลาง กล้าคิด กล้าทำ กล้าเผยแพร่ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

จังหวัดกรุงเทพฯ กลุ่ม 1

1. ใน Asean เสรี ท่านคิดว่าผู้นำสำคัญอย่างไร 3 เรื่อง

 มองอาเซียนเป็นร่มใหญ่ อย่างแนวการพัฒนาเหมือนที่อาจารย์ให้มา การมองถึงสภาพแวดล้อมในอาเซียน เมื่อผู้นำมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงก็สามารถนำมาบังคับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ เป็นการพัฒนานำทีมผู้นำในส่วนที่ 3

2. ราชการ,เอกชน,ภาควิชาการ ภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร และมีความเหมือนกันอย่างไร

ความเหมือนกัน คือ มีความเป็นระบบ ต้องเน้นการมองอนาคต และเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หวังผลสำเร็จขององค์กร การนำ IT มาใช้ในการบริหารจัดการ

ความต่างกันคือ

 ราชการมุ่งเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอำนวยประโยชน์ให้ประชาชนไม่เลือกปฏิบัติ ขั้นตอนดำเนินงานล่าช้า และมีการตรวจสอบโดยประชาชน การคัดเลือกผู้บริหารมาจากการแต่งตั้ง

 เอกชน แสวงหากำไรสูงสุด การบริหารรวดเร็วทันเหตุการณ์ การตรวจสอบดำเนินโดยผู้นำ การคัดเลือกผู้บริหารมาจากผู้นำ อยู่ที่ความสามารถ

3. ถ้าจะ Develop ผู้นำให้ได้ผล

- ในภาคราชการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 ฝึกปฏิบัติจริง จำลองสถานการณ์ มีเป้าหมายเน้นผลลัพธ์สู่การพัฒนา

- ในภาคเอกชน ธุรกิจ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 เน้นผลลัพธ์ สร้างและออกแบบงานใหม่ที่เหมาะสม

- ในภาควิชาการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 เน้นการบริหารจัดการ นำแผนไปปฏิบัติ มีการบริหารความขัดแย้งอย่างเหมาะสม

จังหวัดกรุงเทพฯ กลุ่ม 2

1. ใน Asean เสรี ท่านคิดว่าผู้นำสำคัญอย่างไร 3 เรื่อง

 ผู้นำต้องมองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ดี วิเคราะห์เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกได้ดี และต้องแม่นยำ มีการวางแผนกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง กฎหมาย

 ผู้นำต้องมีศรัทธา กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ต้องศรัทธาตัวเองก่อนและได้รับศรัทธาจากเพื่อนร่วมงานด้วย

 ต้องมีทุนทางปัญญา อยู่ในยุคที่ 4 เน้นการสร้างคุณสมบัติให้ตัวเองสมบูรณ์ที่สุด พร้อมที่สุด

 ต้องประเมินอาเซียน ให้มีวิสัยทัศน์ว่าจะไปทางไหน Where are we ? Where we want to go? How do we get there? How to do it successfully or HR Execution และทำยังไงถึงเอาชนะอุปสรรคได้

ดร.จีระบอกว่า ต้องการให้พูดถึงเรื่อง Intangible , ยกย่องเพื่อนร่วมงาน, ไม่เป็นคนที่บ้าอำนาจ การเอาชนะอุปสรรคต้องค้นหาตัวเองให้เจอ การเป็น Trust Base ต้องสร้างขึ้นมา

2. ราชการ,เอกชน,ภาควิชาการ ภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร และมีความเหมือนกันอย่างไร

เหมือนกัน คือ

 มีการบริหารแบบ Plan Do Check Act

แตกต่างกัน คือ

 ราชการมีระบบแบบ Top down Management

 เอกชน เป็นการบริหารแบบ Bottom up มีความยืดหยุ่น คำนึงถึงการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในองค์กร

3. ถ้าจะ Develop ผู้นำให้ได้ผล

- ในภาคราชการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 เป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้นำกับผู้ใต้บังคับบัญชา

- ในภาคเอกชน ธุรกิจ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 มีการวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ เน้นการเรียนรู้ตลอดเวลา

- ในภาควิชาการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 เน้นเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต สู่การพัฒนา ลดอัตราของตัวผู้สอน

จังหวัดภูเก็ต กลุ่ม 2

1. ใน Asean เสรี ท่านคิดว่าผู้นำสำคัญอย่างไร 3 เรื่อง

 มองแบบสหพันธรัฐ ผู้นำต้องตัดสินใจดี และมีการรวบรวมข้อมูลที่ดี ต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงให้ทันโลก โลกไปทางไหน กำหนดวิสัยทัศน์อย่างไร เป็นนักประสานงานที่ดีเนื่องจากอาเซียนการกำหนดแนวทางร่วมกันให้อาเซียนได้ประโยชน์สูงสุด การมีบุคลิกภาพที่ดี สร้างความน่าเชื่อถือให้ต่างชาติเชื่อเราและมาลงทุนที่เรา

2. ราชการ,เอกชน,ภาควิชาการ ภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร และมีความเหมือนกันอย่างไร

แตกต่างกันคือ

 ราชการเน้นให้การบริหารสาธารณะมากกว่ามุ่งผลกำไรตอบแทน

 การคำนึงกฎระเบียบแบบแผนเป็นที่ตั้ง การคิดนอกกรอบทำได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานระเบียบกฎหมาย แตกต่างกับเอกชนที่ทำได้เลย ที่บอกว่ากำไร ขาดทุนเท่าไหร่

 การทำงานเอกชนทำแบบเอกภาพเนื่องจากเป็นการบริหารแบบบนลงล่างเหมือนกัน

 ราชการมีระบบอุปถัมภ์อยู่มาก การดำเนินการ ทุกคนคือเสือ 1 ตัวแต่ไม่สามารถจับมารวมกันหรือบูรณาการร่วมกันได้ เช่นการบูรณาการเรื่องน้ำท่วม ไม่มีการบูรณาการอย่างแท้จริง

 ในทางวิชาการเป็นการวิเคราะห์ภาพรวมขึ้นมา แต่ใครจะเป็นฝ่ายหยิบทำ ถ้าไม่ทำข้อมูลตั้งไว้อย่างนั้น

เหมือนกัน คือ

 ผู้นำต้องเป็นนักประสานงานที่ดี การทำงานเป็นทีม การตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับลูกทีม และเป็นผู้ที่มีความรู้

 ราชการนำทฤษฎีมาใช้ลำบาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

3. ถ้าจะ Develop ผู้นำให้ได้ผล

- ในภาคราชการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 การรู้จักตนเอง พัฒนาอารมณ์ รู้จักองค์กรเป็นอย่างไรแล้วเดินไปด้วยกันได้

 มีคุณธรรมจริยธรรม นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำ

 ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี

 การวิเคราะห์การตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูลการตัดสินใจต่าง ๆ

- ในภาคเอกชน ธุรกิจ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 รู้จักตนเอง รู้จักองค์กร มีคุณธรรม จริยธรรม มีบุคลิกภาพ

- ในภาควิชาการ ทำอย่างไร 3 เรื่อง

 เน้นเรื่ององค์ความรู้ที่มี กระบวนการทำงานนั้น ๆ

 การทำงานด้านวิชาการต้องไม่มี Bias

 การพัฒนาวิเคราะห์การตัดสินใจ ต้องเป็นผู้ใฝ่รู้

ดร.จีระสรุป

 การตั้งโจทย์ 3 กลุ่ม ราชการ เอกชน นักวิชาการ ทำให้เกิดความหลากหลายทางความคิด และมียุทธวิธีที่จะทำให้ได้ผล

 ใน 8K’s ถ้าจะทำให้ Friendly กับวิธีการ ก็จะมีประโยชน์

 ทั้ง 3 กลุ่ม ไม่ได้ต่างคนต่างสร้าง ผู้นำต้องมารวมกันให้เกิดอาเซียนเสรีขึ้น วิจัยก็ทำโดยภาควิชาการด้วย ต้องไม่ขึ้นหิ้ง มาตรฐานมหาวิทยาลัย เอกชน ราชการ เมื่อเขยิบเข้าหากัน จะมีสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

 ทิ้งทฤษฎีการเชื่อมสะพานไว้ มี Idea ใหม่ ๆ สามารถเกิดได้ในประเทศด้อยพัฒนา แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องมีสะพานมาเชื่อม เนื่องจากมีเทคโนโลยี และความพร้อมที่จะดึงไปทำให้เป็นจริง

 สรุปคือหลักสูตรนี้ต้องการสร้างทุนมนุษย์ที่มีมาตรฐานยกขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งภาคราชการ ธุรกิจ วิชาการ

 ถ้าเรารับฟังเขา เราก็จะได้เรียนรู้จากเขา อย่า Bias ชาวบ้านมีปัญญามากมาย สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดพลังขึ้นมา

การปลูกและการเก็บเกี่ยว

จากการเรียนการสอนของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับเรื่องการปลูกและการเก็บเกี่ยว เมื่อฟังดูคำนี้ก่อนที่ท่านอาจารย์จะบรรยายมักมองว่าเป็นการปลูกและการเก็บเกี่ยวพืชอย่างเดียว แต่หลังจากที่ฟังคำบรรยายอาจารย์แล้ว จึงสามารถเกิดแนวความคิดตามหลักแนวคิดทฤษฏี 4L’S ของท่านอาจารย์ได้ลึกซึ้งตามทฤษฏีดังกล่าว ถ้ามีการมองในเรื่องการปลูกพืชผลทางการเกษตร หากพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกแล้วไม่เจริญเติบโต ก็จะต้องมีการใส่ปุ๋ยบำรุงให้งอกงามขึ้น ช่วงที่เกิดความแห้งแล้งก็ต้องหาน้ำมารดให้เกิดความชุ่มชื้น ขั้นตอนนี้จึงเป็นการใส่ตัวเก็บเกี่ยวเข้าไปเพื่อให้มีความเจริญเติบโตงอกงาม เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้ ออกดอกออกผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยตามที่ต้องการ ส่วนในเรื่องการมองเรื่องทุนมนุษย์ที่นับว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนที่ไม่ใช่เครื่องจักรแต่มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องตามหลักทฤษฏี 4L’S

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยรวมต่อไป เนื่องจากเป็นรากฐานหลักที่สำคัญ แม้กระทั่งการสร้างตึกหรือบ้านเรือนก็ต้องมีการทำที่รากฐานก่อนรากฐานนั้นต้องมีความมั่นคงและแข็งแรง หากไม่แข็งแรงแม้ส่วนบนจะดีขนาดไหนก็จะเกิดการพังทลายลงมาทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ เปรียบเสมือนองค์กรปกครองท้องถิ่นจะต้องมีการปลูกและการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ฐานมีความมั่นคงแข็งแรง อาทิเช่น การปลูกและการเก็บเกี่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้มีการส่งบุคลากรด้านการจัดทำระบบการเงินและบัญชี เข้าฝึกอบรมสถาบันพัฒนาบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลักสูตรการจัดทำระบบการเงินและบัญชี ขั้นตอนนี้จึงเป็นการปลูก ส่วนการเก็บเกี่ยวเมื่อบุคลากรเจจบหลักสูตรนี้กลับมาหน่วยงาน แล้วสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรม มาพัฒนางานที่ตนเองรับผิดชอบ โดยการสร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศในการทำงานอย่างมีความสุข ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเต็มความสามารถที่มีอยู่ หลังจากนั้น หากมีหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ ผลการตรวจสอบพบว่า ระบบบัญชีเป็นปัจจุบัน ไม่มีการทุจริต รวมทั้งไม่พบข้อบกพร่องอื่นแต่อย่างใด ก็แสดงว่าผลจากการปลูกที่ดีจนถึงการเก็บเกี่ยวที่ดีที่เกิดขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็คือ ทำให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เกิดความมั่นคงเข้มแข็งภายในองค์กรพร้อมทั้งมีการเรียนรู้งานพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา

การปลูกและการเก็บเกี่ยวดังกล่าว จึงดำเนินการตามหลักทฤษฏี 4L’S ของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นการเน้นเรื่องการบริหารจัดการคน และมองเห็นคนไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักรแต่เป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ จากนั้นต้องค้นหาตนเองก่อนแล้วค่อยมาปรับปรุงตนเอง หลังจากนั้นก็จะส่งผลถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นภายในองค์กรต่อไป แต่บางเรื่องอาจจะใช้เวลานานหน่อยก็เป็นเรื่องธรรมดาของแต่ละองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันออกไป

เสนอ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ จัดทำโดย นางกรนิภา ไตรฟื้น วิชาทุนมนุษย์ (PHD8202) นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์จังหวัดเลย

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์ รหัสนักศึกษา 53484933008

นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

บทความ Managing Yourself: ทำอย่างไรให้พนักงานมีส่วนร่วม (How to Cultivate Engaged Employees)

ผู้จัดการ ที่ประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำอย่างไรนำความสามารถของลูกน้องทั้งหมดให้บรรลุเป้าหมาย บทเรียนนี้จะช่วยเปรียบเทียบสิ่งที่ทำในองค์กรของคุณ ว่าอะไรที่ทำกับสิ่งที่ควรจะทำ

1: Be Modest อ่อนน้อมถ่อมตน

2. Listen Seriously and Show It ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ

3. Invite Disagreement น้อมรับการไม่เห็นด้วย

4. Focus the Agenda มุ่งเน้น วาระ

5. Don’t Try to Have All the Answers อย่าพยายามมีทุกคำตอบ

6. Don’t Insist that a Decision Must be Made ไม่ยืนยันการตัดสินใจต้องทำ

ถอดบทเรียน จากการเรียนรู้ช่วงเช้า วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554 วิชา การจัดการทุนมนุษย์

พระมหาสาธิต เมธีจรรยาภรณ์ ศูนย์กรุงเทพฯ

การจัดการทุนมนุษย์ มองจากภาพใหญ่ ในประเด็น ประเด็น HR Architecture กรณี การปลูกและการเก็บเกี่ยว ต่อยอดจากการอ่านบทความ HBR : How to Cultivate Engaged Employees ของ Charalambos

การปลุกและการเก็บเกี่ยวมีแนวโน้มในการสนใจสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือวัดได้ยาก (intangible) ซึ่งได้แก่จิตใจ เชื่อมโยงกับหนังสือ Enchantment: The Art of Changing Hearts, Minds, and Actions ของ Guy Kawasaki ที่กล่าวถึงศิลปะในการชักนำชีวิต จิตใจ และการกระทำของคน บูรณาการเข้ากับการปลูก และการเก็บเกี่ยว โดยที่ การปลูก อาจจะเป็นการปลูกซ้อนปลูก การปลูกพร้อมกับการเก็บเกี่ยว หรืออาจจะเก็บเกี่ยวเพียงอย่างเดียวก็ได้ ซึ่งอาจารย์ได้ให้เพื่อนๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันผ่านแนวคิด ประสบการณ์ของแต่ละคน ทำให้ได้มุมมองที่หลากหลาย จากกรณีศึกษาของแต่ละคน

ประเด็นที่น่าสนใจคือธรรมชาติของคน ผู้นำที่เก่ง และมีคุณธรรม จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวคนที่เก่งและมีคุณธรรมเอาไว้ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้นำที่ขาดจริยธรรม จะไม่สามารถรักษาคนประเภทนี้ไว้ได้ องค์กรก็จะค่อยๆ ถดถอยลงไปเรื่อย ๆ

การร่วมกันเรียนรู้ ร่วมกันคิด จึงเป็นการร่วมกันปลูกความรู้ พัฒนาศักยภาพผู้นำ โดยเฉพาะผู้นำระดับสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคนเป็นจำนวนมาก

การพัฒนาศักยภาพผู้นำ ในมุมมองของอาจารย์ จึงจำเป็นต้องมองทั้งภาพใหญ่ (macro) และภาพย่อย (micro) ในลักษณะ Think Global Act Local

นางสาวปราถนา เชาน์สฎฐกุล และนางสาวศิริขวัญ กีรติโชติกุล

การ สร้างทุนทางปัญญา หากบุคคลใด หรือ องค์กรใดไม่มี ทุน ทางปัญญา (Intellectual Capital) ก็ สามารถสร้างขึ้นได้ โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามทฤษฎีของ David A. Gavin ซึ่งประกอบด้วย 1. การแก้ ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Problem Solving) 2. การ ทดลองใช้วิธีการใหม่ๆ (Experimentation with New Approaches) 3. การ เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต (Learning from Their Own Experience and Past History) 4. การเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่นผู้อื่น ประเทศไทยต้องเผชิยกับการเปลี่ยนแปลงของโลกหลายด้าน ซึ่งมีผลกระทบทั้งที่เป็นโอกาสและ ข้อจำกัดต่อการพัฒนาทั้งด้านวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งแนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานร่วมกับ จุดแข็งในสังคมไทย สร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่า ทั้งการ บริหารจัดการลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลประโยชน์ ที่เป็นธรรมกับชุมชน 2. การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยการขยายตลาดสิ้นค้าเพื่อ สุขภาพ การให้บริการด้านอาหารสุขภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์พื้นบ้าน สถานที่ถ่องเที่ยวและการพักผ่อน ระยะยาวของผู้สูงอายุ จึงนับเป็นโอกาสในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการเป็นการอนุรักษ์เผยแพร่วัฒนธรรมได้ประการหนึ่ง 3. การเลื่อนไหลของวัฒฯธรรมต่างชาติที่เป็นปัญหาของสังคมไทย สังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤติค่านิยมที่เป็นผลกระทบจาการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรมต่างชาติเข้า สู่ประเทศทั้งสื่อเทคโนโลยีที่ขาดการคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมที่ดีงามทำให้คุณธรรมและจริยธรรมของ คนไทยลดลง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน นำไปสู่ค่านิยมและพฤติกรรมที่เน้นวัตถุนิยมและบริโภคนิยมเพิ่ม มากขึ้น 4. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการตจัดการความรู้มีมากขึ้น จาการกระจายอำนาจโดยภาครัฐ ในการ พัฒนาศีกยภาพของผู้นำชุมชน ขณะที่ในด้านวัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่นยังถูกละเลย และมีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่น้อย ทั้งระบบคุณค่าของสังคมไทยในเรื่องจิตสาธารณะ ความเอื้ออาทรและการ ช่วยเหลือกันและกัน เริ่มเสื่อมถอย แม้จะมีความสะดวกมากขึ้นแต่กลับมีความสุขน้อยลง 5. ธรรมาภิบาลกับสังคมไทย สังคมไทยเปิดโฮกาสให้ประชาชนตื่นตัวในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการตรวจสอบภาครัเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจาการบริหารจัดการประเทศมีขนาดใหญ่ซับซ้อน การตรวจสอบยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก อาจนำ ไปสู่ความขัดแย้งมีผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีพื้นฐานความเชื่อ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" ภายใต้ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ควรดำเนินการตามพันธกิจของการพัฒนาปรปะเทศ เพื่อสังคม เป็นสุข ดงนี้ 1. พัฒนาคนให้มีคุรภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่ากัน คือ การมีสุขภาวะที่ดีมีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง มีความมันคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้ดุลยภาพที่หลากหลายทางวัฒนธรรม ทางทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชื่อมโยง บทบาทครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวต 3. เสริมสร้างธรรมาภิบาลควบคู่กับการเสริมสร้างกลไกลและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรม ประชาธิปไตย ให้เกิดผลในการปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกที่รวดเร็วและซับซ้อน จำเป็นต้องมีการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ของโครงสร้างระบบต่าง ๆ ภายในประเทศให้มีศักยภาพ มีการพัฒนาที่เป็นธรรม สร้างความเข้มแข็งในชุมชน ฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและคถุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สมบรูณ์มั่ันคงเพื่อเป็นรากฐานการดำรงชีวิต ของชุมชนและ สังคมไทยพัฒนาได้หลายประการดังนี้ 1. ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดองค์กรความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น และ องค์ความรู้สมัยใหม่ 2. พัฒนาระบบสุขภาพ บริดภคอาหารที่ปลอดภัยไร้มลพิษ ลดเลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ 3. สร้างโอกาสบนพื้นฐานของความยุติธรรม ส้างความยุติธรรม สร้างจิตสำนึกด้านหน้าที่พลเมือง ให้เห็นคุณค่า ของการอยู่ร่วมกันโดยลดความขัดแย้ง 4. สร้างความมั่นคง โดยการสนับสนุนกลุ่มอาชีพในรูปสหกรณ์ โดยการนำภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ท้องถิ่น มาใช้ในการสร้างอาชีพแก้ไขปัญหาความยากจน การปลูกจิตสำนึก ค่านิยมวัฒนธรรมประชาชนในทุกระดับ ทุกส่วนภาคทุกสถาบัน เปิดโอกาสให้ภาค ประชาชน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ดำเนินการรับผิดชอบและตรวจสอบในกระบวนการบริหารจัดการ ประเทศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คนเกิดวันพฤหัสบดี ชอบศึกษาหาความรู้ เฉลียวฉลาด มีเมตตา โอบอ้อมอารี คนเกิดวันศุกร์ เป็นคนรักสงบ รักหมู่คณะ ชอบความรื่นเริง ความสวยงาม รักศิลปะ คนเกิดวันเสาร์ เ็นคนอดทน รักสันโดษ ช่างสังเกต ระมัดระวัง เป็นต้น(Learning from Experience and Best Practices of Others) 5. การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธภาพภาพ (Transferring Knowledge Quickly and Efficiently) จากวิธีการสร้างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทั้ง 5 ประการข้างต้นนั้น พบว่าสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองหรือผู้อื่น แต่ในความเห็นของผู้เขียนซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีของ David A.Gavin คือ การ เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่นนั้น สามารถเรียน รู้ได้ทั้งจากสิ่งที่ดีที่สุด หรือ เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด ทำให้ผู้เรียน สามารถแบ่งแยกได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ถูก อะไรคือสิ่งที่ผิด จะได้ไม่เกิด การทำซ้ำในสิ่งที่ผิด การที่จะสร้างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ให้ได้ประสบผลสำเร็จ จะต้อง ดำเนินการแบบองค์รวม ไปสู่ ภาพ ย่อย หรือที่เรียกว่า จาก Macro สู่ Micro คือ มองในภาพกว้าง ครบวงจร ตรงประเด็น และเป็นความจริง มิฉะนั้นจะทำให้การคิด การ วิเคราะห์ผิดทาง ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม อาจกล่าวได้ว่า การสร้างให้บุคคล มีทุนทางปัญญา จะต้องประกอบด้วยความรู้ที่นำมาใช้ สร้าง โดยการสร้างนั้นจะต้องให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถที่บุคคลนั้นมี อาจใช้อุปกรณ์ เครื่องต่างๆเป็นเครื่องช่วยด้วยก็ได้ และ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นความอยากรู้ จะต้องเสริมด้วย แรงจูงใจ ความหมายของ “ทุนทางสังคม” “ทุนทางสังคม” เกิดจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และ องค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม องค์ประกอบ “ทุนทางสังคม” องค์ประกอบหลักทั้ง ๔ ด้านมีบทบาทและยึดโยงให้เกิดทุนทางสังคม ดังนี้ - คน มีบทบาทหลักในการพัฒนาประเทศ ที่ต้องได้รับการพัฒนาในทุกมิติทั้งด้านสุขภาพ ที่มุ่งให้คนมีร่างกายแข็งแรงสามารถดูแลตนเองได้ ด้านจิตใจ ให้เป็นคนที่มีจิตใจดี มีน้ำใจ เอื้ออาทร เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม และรักชาติ ด้านสติปัญญา ให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่อง - สถาบัน มีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดพลังร่วมของคนในชุมชน/สังคม และการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยสถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานในสังคมที่หล่อหลอมคนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม สถาบันศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจของคนในสังคม กล่อมเกลาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดี - สถาบันการเมืองการปกครอง ทำหน้าที่กำกับ ดูแลให้สังคมอยู่ในระเบียบแบบแผนและให้คนในสังคมปฏิบัติตามกฏระเบียบที่ กำหนดร่วมกัน สถาบันการศึกษา เป็นแหล่งสร้างความรู้ทางวิชาการควบคู่กับการพัฒนาให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมแก่คนในสังคม ภาคธุรกิจเอกชน ใช้หลักบรรษัทภิบาลในการดำเนินธุรกิจที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมซึ่งเป็น ทุนทางสังคมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมหาศาล และสื่อ เป็นสถาบันที่สามารถชี้นำและมีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรม ค่านิยมของคนในสังคมในวงกว้าง - วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมายาวนานและเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ โดยอยู่ในรูปของความเชื่อ ความศรัทธา จารีตประเพณีที่ดีงาม ค่านิยม ความเป็นไทย นอกจากนี้ ยังมีในรูปของแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ฯลฯ วัฒนธรรมเป็นตัวยึดโยงคนในสังคมให้ตระหนักถึงรากเหง้าของตนเอง เกิดความหวงแหน ภูมิใจที่จะรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาและต่อยอด เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ - องค์ความรู้ ประกอบด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ โดย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นศาสตร์และศิลป์ของการดำเนินชีวิตที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นฐานคิดและหลักเกณฑ์การกำหนดคุณค่าและจริยธรรมที่มีการสั่งสมสืบทอดกันมา ยาวนาน ทำให้เกิดความหลากหลายของความรู้ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้และสร้างสมดุลในการ อยู่ร่วมกันของคนและธรรมชาติ ส่วนความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้ มีความหลากหลาย ปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ เช่น ความต้องการของตลาด การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้อย่างเหมาะสม เป็นต้น วัตถุประสงค์ทั่วไป 1. ทราบถึงความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรมไทย 2. เข้าใจถึงการธำรงรักษาวัฒนธรรมไทย 3. เข้าใจคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้ 4. เข้าใจถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย 5. เข้าใจวิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบาย ความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทยได้ 2. แยก แยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆได้ 3. อธิบายคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้ 4. อธิบาย คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยได้ 5. เอธิบายวิิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยได้ เนื้อหาสาระ วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่คู่มากับสังคมไทย ทำให้เกิดเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และมรดกที่สำคัญ ซึ่งเป็นความภูมิใจ แสดงถึงเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรีของไทย ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังบรรจุความสำคัญของัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม ไว้ในการแก้ปัญหาของชาติ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ ของคนไทยทุกคนต้องร่วมใจอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่สืบสารวัฒนธรรมที่ดีงามนี้สืบไป ความสำคัญของการ สืบทอด วัฒนธรรม ความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรม วัฒนธรรมไทยเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ทั้งยังเป็นเครื่องวัดความเจริญ หรือความเสื่อมของสังคม ซึ่งมีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศ เพราะประเทศจะเจริญหรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการ พัฒนาของคนในสังคม จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กล่าวถึงการพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้านั้น สังคมต้องมีดุลยภาพ จากการพัฒนาคนในสังคม ปรากฏผลได้ดังนี้ 1. เป็นสังคมคุณภาพ หมายถึง สังคมไทยต้องพัฒนาคนในสังคมทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะมีการดำเนินชีวิตที่ดี โดยยึดหลักความพึงพอเพียง ความพอดี และสามารถพึ่งตัวเองได้ 2. เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและกาเรียนรู้ โดยคนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตให้เป็นคนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เป็นผู้มีเหตุผล ร่วมใจกันพัฒนาภูมิปัญญาไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น 3. เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน โดยต้องปลูกฝังให้คนไทยเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยมที่ถูกต้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความรู้รัก รู้สามัคคี ภูมิใจในความเป็นไทย รักษาสถาบันที่สำคัญของสังคมไทยสืบต่อไป ด้วยเหตุดังกล่าวเบื้องต้น การสืบทอดวัฒนธรรมไทย จึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคนและสังคมไทยอยู่หลายประการดังนี้ 1. ทำให้มองเห็นวิถีความเป็นไทย ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านศาสนา สังคม วัฒนธรรม การปกครองที่สังคมสืบทอดกันมา 2. ทำให้คนไทยเป็นผู้มีความรับผิดชอบ รู้จักรักษาระเบียบวินัย มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์รู้จักพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นการเสริมสร้างในการปลูกจิตสำนึกที่ดีงาม เหมาะสมกับ สภาพของสังคมไทยสืบไป 3. ทำให้คนไทยทั้งชุมชนเมืองและชุมชนเมืองและชุมชนชนบท เกิดความร่วมมือร่วมใจ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมที่ดีงาม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนในชาติเป็นที่รู้จักของชาวโลก 4. ทำให้เกิดการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นการสืบทอดเอกลักษณ์ไทย เพื่อให้คงอยู่ในสังคมสืบต่อไป การธำรงรักษาวัฒนธรรมไทยวัฒนธรรม เป็นสิ่งมีคุณค่าที่ควรธำรงรักษาไว้เป็นมรดกสืบไป จึงเป็นหน้าที่ขององค์กร หลักของประเทศและคนไทยทุกคนที่ต้องส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ ซึ่งมีแนวทางดังนี้ 1. การสั่งสมวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ โดยประพฤติ ปฏิบัติวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ทั้งศิลปะ วรรณกรรม ประเพณีต่าง ๆ คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนา มารยาทไทย ศีลธรรมจรรยาต่าง ๆ เพื่อธำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติ และมีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม 2. การถ่ายทอด สืบสานวัฒนธรรม โดยการเรียนรู้จากบรรพบุรุษ ครอบครัว ผู้ใหญ่ หรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นงานทางวัฒนธรรมประเพณีที่สั่งสมไว้ และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามนำมาปฏิบัติ ถ่ายทอด อาจออกมาในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตั้งชมรมวัฒนธรรมในซึ่งเป็นงานทางวัฒนธรรมประเพณีที่สั่งสมไว้และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามนำมาปฏิบัติ ถ่ายทอด อาจออกมาในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณา แผ่นพับ วิทยุ และโทรทัศน์ เป็นต้น เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมสืบไป 3. การปรับปรุงและเผยแพรางานทางวัฒนธรรมไทย โดยสร้างความรู้ความเข้าใจโดยอาศัยสื่อต่าง ๆ โดยเน้นการส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกัน หรืออาจขอความร่วมมือจากศิลปิน เพลงสร้างสรรค์เนื้อเพลงและร่วม ร้องเพลงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย โดยสอดแทรกปรัชญาและวิธีการดำเนินชีวิตแบบไทย ชี้นำให้คนไทยเลือกสรรวัฒนธรรมที่ดีงาม และปฏิเสธวัฒนธรรมอื่น ที่ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตแบบไทย เพื่อเอกลักษณ์ประจำชาติ ให้ชาวต่างชาติได้เข้าใจในวัฒนธรรมไทย 4. รัฐบาลต้องสนับสนุนและส่งเสริมองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์อบรมให้ความรู้เสนอข่าว ประชาสัมพันธ์ ฟื้นฟู เผยแพร่วัฒนธรรมไทยเพื่อให้ชาวต่างชาติรู้จัก การที่ประเทศชาติเจริญก้าวหน้านั้น ขึ้นอยู่กับทระพยากรบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ และการดำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติือการรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่หลอมให้คนในชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเป็นชาติที่จะดำรงอยู่ได้นั้นจึงต้องมีเอกลักษณ์ และสิ่งสำคัญก็คือเอกลักษณ์ของความเป็นชาตินั้นเอง การสืบทอดวัฒนธรรม การพัฒนาและสืบทอดวัฒนธรรมไทย เป้นกระบวนการที่สำคัญยิ่ง ที่จะดำรงไว้ซึ่งสิ่งที่ดีงามสืบไป การเรียนรู้และฝึกตนเองให้เห็นคุณค่าจึงเป็นวิธีการที่ดี และควรทำตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการปลูกจิตสำนึก โดยสถาบันที่สำคัญของชาติต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะัเป็นในลักษณะการอบรมสั่งสอน หรือการปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีก็ตาม การสืบทอดวัฒนธรรมไทยที่สำคัญ 1. การปลูกฝังค่านิยมที่ดี ซึ่งต้องเริ่มที่พ่อ - แม่ ควรเป็นตัวอย่างที่ดี อบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดีของสังคม 2. การจัดวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังและสั่ังสมความรู้ ประสบการณ์ตั้วแต่เด็ก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการศึกษ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่กระทรวงศึกษา และภาคเอกชน ได้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ 3.การสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอย่างจริงจัง โดยประสานงานกับหน่วยงานของจังหวัดหรือ ท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยจัดงานฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีให้เป็นที่รู้จัก 4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยใช้การท่องเที่ยว เช่นโครงการ Unseen Thailand เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ เป็นต้น 5. การจัดงานเที่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าไทย เป้นงานเกี่ยวกับ OTOP (One Tambol One Product)หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภันฑ์ มีการสาธิตเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีไทย เรื่องของอาชีพ การแสดงพื้นบ้านต่าง ๆ อาจจัดงานใหญ่ เช่น ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ หรือหน่วยงานของเอกชน 6. การเสนอข่าวประกาศเกียรติคุณบุคคลที่ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป เช่น แม่ดีเด่น ลูกกตัญญู หรือผู้ที่มีผลงานหรืออนุรักษ์ผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ผู้อนุรักษ์หุ่นละครโรงเล็ก ผู้ประดิษฐดนตรีไทยอาจใช้วัสดุสมัยใหม่ 7. การส่งเสริมให้สถาบันทางศาสนาเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้แขนงต่าง ๆ เช่นวัด หรือพระสงฆ์ เป็นต้น มีส่วนในการช่วยปลูกฝังส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการเทศน์ การอบรม การเรียนการสอน ในโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ เริ่มขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ดังนั้น เพื่อเป้นการปูพื้นฐานให้เข้าใจ ก่อนจะนำไปสู่แผนพัฒนาเศรษฐิกจ และสังคมแห่งชาติเพื่อการพัฒนาในหัวข้อต่อไป ในที่นี้จะนำวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ มาเสนอต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) วัตถุประสงค์ของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ 1. เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงารทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และสนองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ( พ.ศ. 2545-2549) 2. เพื่อส่งเสริม ประสานงาน บูรณาการในเรื่องของการดำเนินงานด้านศษสนา ศิลปวัฒนธรรม ในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่น ๆ เช่นท้องถิ่น ชุมชน เป้นต้น 3. เพื่อระดมทรัพยากร บูรณาการ การดำเนินงานเกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม 4. เพื่อความสมานฉันท์ ความเสมอถาค เสริมสร้างศักดิ์ศรี มีสันติสุขแก่ครอบครัว ชุมชน สังคมประเทศและสังคมโลก กรอบแนวคิดแผนวัฒนธรรมแห่งชาติที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545-2549 ) สรุปได้ดังนี้ 1. ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือยึดทางสายกลาง อยู่บนพื้นฐานของความพอดี รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุผล 3. มีความรู้เท่าทันโลก เป็นแนวทางดำเนินชีวิต 4. มุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยังยืน มีความอยู่ดีมีสุข 5. มุ่งเน้นการบูรณาการ ยืด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา 6. การพัฒนาเน้น “ดุลภาพ” ในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และ สิ่งแวดล้อม 7. เพื่อให้คนไทยมีควาสุขถ้วนหน้า รู้จักพึ่งตนเอง รู้ทันโลก และรักษาเอกลักษณ์ ความเป็นไทย สำหรับกรอบแนวคิดวัฒนธรรมที่สัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดังนี้ 1. พัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่ คุณธรรมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 2. พัฒนาสังคมไทย ให้เป็นสังคมที่เข้มแข็ง คือ - สังคมคุณภาพ - สังคมแห่งการเรียนรู้ - สังคมแห่งความสมานฉันท์ มุ่งให้คนไทย เก่ง ดี มีสุข เป้าหมายในการพัฒนางานด้านวัฒนธรรม เมื่อสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือ 1. คนไทยได้รับการบริการทางด้านวัฒนธรรมอย่างทั่วถึง และทุกคนมีส่วนร่วมในการ รักษา พัฒนา และร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรม ให้ตะหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรม 2. ส่งเสริมการวิจัย พัฒนางานด้านวัฒนธรรม ร่วมกันสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ เผยแพร่ ความรู้ ผสมผสานกับภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในวิถีชีวิตแบบไทย เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข มีความรับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น คนในสมัยก่อนใช้เรือพาย เป็นพาหนะในการเดินทาง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็นเรือ ที่ใช้เครื่องยนต์แทน ทำให้การเดินทางรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาการเดินทางให้หลากหลาย วิธีมาก เช่นรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟใต้ดิน เป็นต้น ยุทธศาสตร์วัฒนธรรมกับการพัฒนา เป็นแนวทางในการส่งเสริม ทั้งด้านแนวความคิด และแนวทางในการปฏิบัติ เป็นดังนี้ 1. เสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ต้องเข้าใจคำว่าวัฒนธรรม ความสำคัญของวัฒนธรรม และผลของการพัฒนาวัฒนธรรม ว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด เมื่อเกิดความเข้าใจและการยอมรับ ก็เกิดการปฏิบัติที่มาจากความเต็มใจ และมีความสุขที่จะทำ เช่น 1.1 มีการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น 1.2 ส่งเสริมแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และคุรค่า 1.3 เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล อาจสร้างในรูปแบบสื่อประเภทต่าง ๆ เช่นเอกสาร ข่าวทางวิทยุ 1.4 มีการประชุมสัมมนาใหญ่ ควรจัดทุกภาค เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2. สนับสนุนเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นโดยให้การสนับสนุนทางด้านงบประมาณ โดยท้องถิ่นสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบ 3. ส่งเสริมสถาบันครอบครัว เพราะปัจจุบัน พ่อ – แม่ ต้องออกทำงานนอกบ้าน ความใกล้ชิดกับลูกและสมาชิกใน ครอบครัวน้อยลง จึงควรมีกิจกรรมให้เห็นความสำคัญในการพัฒนาตนเองและสังคม ส่งเสริมคุณธรรม 4. ส่งเสริมองค์กรชุมชน และปรับกระบวนการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ผู้ปฏิบัติที่ดีจะทำให้สังคมมีความเข้มแข็ง การเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไม่ใช่การท่องจำ แต่เป็นเรื่องของการปฏิบัติ เกิดมีความซึบซับซาบซึ้ง ซึ่งมาจากภายใน เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ สามารถ ทำได้อัตโนมัติ ไม่ต้องเปิดตำรา แต่เป็นชีวิตจริง การศึกษาเป็นเครื่องส่งเสริมให้เกิดการสัมผัสกับวัฒนธรรมการจัดงานทางวัฒนธรรมในสถานศึกษา โดยเชิญผู้ปกครอง ชุมชนเข้าร่วมงาน 5. วัฒนธรรมกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากชุมชน โดยการส่งเสริมจากภาครัฐ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน การกระจายรายได้การรักษาสภาพแวดล้อมการเข้าใจแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ เป็นเรื่องของภาครัฐ ที่ต้องส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริมให้เกิดการ ปฏิบัติ เป็นสิ่งสืบทอดจนกลายเป็น วัฒนธรรมของชุมชน เช่นรู้จักคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ปฏิบัติได้ถูกต้องโดยไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักพึ่งตนเอง ทำอย่างไรให้มีกินมีใช้ตลอดไปไม่เป็นหนี้สิน สอนลูกหลานให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมส่วนหนึ่งสืบไป ไม่ใช่เป็นแฟชั่นหรือไฟไหม้ฟางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อการพัฒนา การวางแผนพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย ครั้งแรกเริ่มภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยนาบปรีดี พนนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ได้วางเค้าโครงทางเศรษฐกิจแต่แผนนี้ไม่เป็นที่ยอมรับเพราะเน้นการพัฒฯาเศรษฐกิจไทยไปในแนวทางคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2593 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งสภาเศรษฐกแห่งชาติขึ้นเพื่อวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจไทย รวมถึงให้คำปรึกษา แต่พบว่าการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนกระทั่งเมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นธำรงต่ำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาใน พ.ศ. 2502 รัฐบาลได้จัดตั้งสภาพัฒนาการทางเศรษฐกิจแห่งชาติพร้อมทั้งมีการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2503 สรุปความสำคัญของแผนพัฒนาฯ แต่ละฉบับ จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ถึงปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 10 แบ่งออกเป็น 2 ระยะสรุปได้ดังนี้ ฉบับที่1 พ.ศ. 2504 - 2509 ระยะเวลา 6 ปี เน้นการพัฒนาสาธารณูปโภคขัั้นพื้นฐานเช่น ไฟฟ้า ปะปา เขื่อน การศึกษา ฯลฯ แต่พัฒนาล่าช้าเพราะขาดเงินทุนและบุคลากรประชากรเพิ่มสูงขึ้น ฉบับที่2. พ.ศ. 2510 - 2514 ระยะเวลา 5 ปี เป็นการเน้นพัฒนาเช่นเดียวกับแผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 คือ การสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ฉบับที่3 พ.ศ. 2515 - 2519 เระยะเวลา 5 ปี เน้นการพัฒนาเช่นเดียวกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 และ 2 รวมถึงเริ่มมีการวางแผน ครอบครัวขึ้นเป็นครั้งแรก ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 - 2524 ระยะเวลา 5 ปี เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจตกต่ำ มุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคมโดยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเพราะความเจริญไปกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525 - 2529 ระยะเวลา 5 ปี เน้นปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและเชิงกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530 - 2534 ระยะเวลา 5 ปี การพัฒฯาโดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ปัญหาที่ตามมาคือความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและการทรัพยากรฟุ่มเฟื่อย ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535 - 2539 ระยะเวลา 5 ปี เน้นการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฉบับที่ 6 ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 - 2544 ระยะเวลา 5 ปี เน้นทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตของคนไทย พัฒนามนุษย์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กระจายรายได้สู่ภูมิภาคและรักษาการเพิ่ม ของจำนวนประชากรให้เหมาะสม ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 ระยะเวลา 5 ปี เน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพื้นฟูเศรษฐกิจ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2555 ระยะเวลา 5 ปี เน้นเรื่องของวัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม ที่มีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นสำคัญ จะเห็นว่า แผนพัฒนาทุกแผนมีความเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของประชาชน ในปัจจุบันอยู่ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เป็นฉบับที่กล่าวถึงสังคมที่มีความสุขอย่างยังยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุลของทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นสายกลางความสมดุลและความยั่งยืน ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล รู้ทันโลกตลอดจนเสริมสร้างคุณภาพคน โดยการขับเคื่อนยุทธศาสตร์สู่การ ปฏิบัตินั้นแนวทาก็คือ การเสริมสร้างธรรมภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน โดยฌฉพาะที่เกี่ยวกับ วิถีการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรม ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้ห้คนไทยและสังคมไทยสามารถเผชิญการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรู้เท่ากัน 2. เพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมและความเข้มแข็งของชุมชนของสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ 3. เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งและเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานการพึ่งตนเองมีภูมิคุ้มกันที่ดี และมีการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็่นธรรม 4. เพื่อความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นรากฐานที่มั่นคงในการดำรงชีวิต ของสังคม 5. เพื่่อเสริมสร้างธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศทุกระดับเพื่อสร้างการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข เป้าหมาย โดยการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ดังนี้ 1. พัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีความรู้คู่คุณธรรม สร้างกำลังคนที่มีทักษะพื้นฐานในการดำเนินงาน พัฒนาต่อ องค์ความรู้จากวัฒนธรรม และภูมิปัญญาทองถิ่น เพ่อนำประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน 2. ลดปัญหาความยากจนเพื่อเพิ่มชุมชนที่เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง 3. เพิ่มประสิทธิภาพภาคราชการ เพื่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ พัฒนาประเทศ สร้างธรรมาภิบาลในองค์กรภาคเอกชน รวมทั้งการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย ให้เกิดขึ้น ในทุกภาคส่วนของสังคมไทย ยุทธศาสตร์การพันฒนา ที่สำคัญดังนี้ 1. พัฒนาให้มีคุณภาพและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยการเตรียม

รัตมณี เสนีกาญจน์ สวนสุนันทา (กรุงเทพ)

การปลูกและการเก็บเกี่ยว การพัฒนาคน สร้างฝันและกำลังใจ ในการทำงาน เพื่อนำไปพัฒนางาน

การเก็บเกี่ยวมี สองวิธีคือให้คนอื่นบริหารเรา และเราบริหารตัวเอง การปลูกเมื่อเรามีนักเรียนและได้ เห็นความสามารถ ครูส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถ เป็นการปลูก การเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องของการสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวย ในการเรียนรู้ การปลูกคือการสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดในตัวบุคคลการเก็บเกี่ยวคือการทำให้คนมีแรงบันดาลใจ แรงผลักเพื่อให้คนมีความเป็นเลิศ โดยใช้ทฤษฏี 4 L มาใช้พัฒนาทางด้านการศึกษา ที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่ในห้องเรียน การปลูกและการเก็บเกี่ยวในบางครั้งก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ในหน่วยงาน ผู้นำเป็นคนทีทำหน้าที่ในการสร้างบรรยากาศนำหลักการบริหารองค์กรตามทฤษฏี 8K 5K ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และในการทำงานก็ปลูก และเก็บเกี่ยวไปในตัว ดังคำกล่าวที่ อ. จีระได้กล่าวไว้ว่า ”ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน” การเก็บเกี่ยวต้องมีวัฒนธรรมองค์กร บรรยากาศ การกระทำของคน ร่วมด้วย การที่อยากรู้ต้องหาความรู้ ทุนมนุษย์ต้องปลูกก่อนแล้วค่อยเก็บเกี่ยว การปลูกต้องเริ่มจากตัวเราก่อน ปลูกที่ตัวเรา สร้างองค์กร เป็นการปลูกต่อ เพื่อรอเก็บเกี่ยวในภายหลัง การเก็บเกี่ยวคือการดึงศักยภาพของหน่วยงานออกมาให้ได้ การสร้างขวัญและกำลังใจตลอดเวลา เพราะทุกอย่างต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปลูกตลอดเวลา

สรุป วิชาทุนมนุษย์ (PHD8202) โดย นางวาสนา รังสร้อย นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์กรุงเทพมหานคร

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในห้องเรียนภาคเช้ากับท่านศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อเวลา 9.00 น.-12.00 น. ได้เข้าใจคำว่า “ปลูก” และ “เก็บเกี่ยว” ทางด้านทุนมนุษย์ พอสรุปได้ดังนี้

ปลูก เป็นการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านความรู้ ด้านทักษะที่ เป็น competency เฉพาะตน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ 2 R’s เพื่อสร้างความมั่นใจ สร้างความตระหนักในหน้าที่ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาสนับสนุนการพัฒนา โดยต้องมีการลงทุน ในที่นี้ก็คือ การลงทุนทางการศึกษาหาประสบการณ์เพิ่ม แล้วนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานที่ทำอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่จะช่วยพัฒนาให้เกิดคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ตามหลักทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของ ศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อย่างแท้จริง และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน หรือการ share ประสบการณ์ ก็เป็นการช่วยเติมพลัง เป็นแรงกระตุ้น ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองความต้องการ ในสิ่งที่ตนอยากให้เป็น อยากให้เกิด อย่างมีคุณค่าและประโยชน์สูงสุด

เก็บเกี่ยว ในที่นี้หมายถึง ตัวดิฉันเองก็ต้องการความเป็นเลิศในด้านการบริหารจัดการกับหลักสูตรและเทคนิคการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เหมาะสมกับวัยแห่งการเรียนรู้ และสอดคล้องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันก็จะเกิดความรู้ที่ยั่งยืน มีความสุขกับการมาเรียนหนังสือ สติปัญญา ความเก่ง กล้าคิด กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ แก้ปัญหาเป็น สิ่งต่าง ๆที่เกิดมาดังกล่าวนั่นแหละผู้เรียนเป็นคนเก่งและเป็นคนดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขที่แท้จริง

และอีกส่วนหนึ่งผู้ที่เก็บเกี่ยวไม่ใช่แค่ผู้ปฏิบัติเท่านั้น ในที่นี้อาจจะหมายถึงผู้บังคับบัญชาที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมเปิดโอกาสให้เราได้ขยายผลไปยังเพื่อนสมาชิกในองค์กร ถือว่าเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นภายในองค์กรเพื่อช่วยกันพัฒนาให้มีคุณภาพไปพร้อม ๆ กัน โดยท่านมองเห็นถึงศักยภาพ ประโยชน์ ในการดึงเอาทุนมนุษย์ภายในองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่นนี้ก็ถือว่าผู้บังคับบัญชาเป็นผู้เก็บเกี่ยวเช่นเดียวกันและตัวดิฉันเองก็กลายเป็นฝ่ายปลูกนั่นเอง

นางอุทุมพร เครือบคนโท รหัสนักศึกษา 53484940001

นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน วันที่ 25 กันยายน 2554 ที่เกี่ยวข้องกับ "ปลก" และ "เก็บเกี่ยว"

ท่านศาสตราจารย์.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการทำงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จในองค์กร ซึ่งเกิดจากการปลูก

หรือการหว่านเมล็ด เพื่อสะสมให้เจริญเติบโต รอวันเก็บเกี่ยว การปลูกเป็นการสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับตัวบุคคล เพื่อความเจริญงอกงามที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเปรียบได้กับการปลูกต้นไม้ เมื่อปลูกแล้วจะต้องคอยดูแล หมั่นรดน้ำพรวนดิน บำรุง เพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่ ี่เพื่อผลผลิตที่จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของการปลูกได้แก่ คุณธรรม จริยธรรมในตนเอง ความสุข การศึกษา อบรม การพัฒนาตนเอง

การเลี้ยงดูของครอบครัว และโภชนาการ ส่วนการเก็บเกี่ยวเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กันกับการปลูก การเก็บเกี่ยวคือการเก็บรวมรวมสิ่งที่ได้จากการปลูก ที่ผู้ปลูกได้ตั้งเป้าไว้ว่าต้องการสิ่งใด หรือส่วนใดจากการปลูก เปรียบได้กับ การปลูกเป็นการสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับบุคคล เมื่อโตเต็มที่หรือมีความสมบูรณ์แล้ว สามารถดึงผลผลิต หรือศักยภาพในตัวบุคคลออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างของการเก็บเกี่ยวได้แก่ คนที่มีคุณธรรม มีความรู้ เกิดวัฒนธรรมในองค์กร ความสุขที่เกิดขึ้นในองค์กร และบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

จากข้อความดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การปลูกและเก็บเกี่ยวทั้งสองสิ่งนี้ต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กันสามารถเกิดซ้อนกันได้ การปลูกเป็นการสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลหรือการพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ส่วนการเก็บเกี่ยวเป็นการดึงศักยภาพที่มีเหล่านั้นออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีฐานราก Human Capital เป็นแนวคิดริเริ่มโดย Prof.Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์ ที่มีแนวคิด

ว่า มนุษย์เริ่มมาเท่ากันอยู่ที่ว่าจะพัฒนาหรือลงทุนให้เขาเหล่านั้น มีคุณค่า แตกต่างกับบุคคลอื่นอย่างไร ต้องลงทุน การลงทุน คือการเสียสละทรัพยากรวันนี้เพื่อประโยชน์ในวันหน้า การลงทุน มีหลายชนิดเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือ วัยเยาว์จนกระทั่งวัยผู้ใหญ่

นายโกมล ดุมลักษณ์ และ นายราวี ซามี (ภูเก็ต)

ทุนทางสังคม

: ความหมายและองค์ประกอบ

ทุนทางสังคม (S0cial Capital) เป็น คำที่ถูกใช้เป็นฐานคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทั้งการพัฒนาชุมชนและการ พัฒนาสังคมไทยในปัจจุบัน แต่ก็มีผู้ให้ความหมายที่มีความสอดคล้องและแตกต่างหลากหลายมากมาย ทำให้ผู้ที่จะนำความหมายของทุนทางสังคมไปใช้ในการอ้างอิงทั้งในทางวิชาการ และการปฏิบัติ มักจะสร้างความเคลือบแคลงถึงความหมายที่ชัดเจนแจ่มแจ้งเป็นแนวทางเดียวกัน ผู้เขียนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อค้นหาบทสรุปของความหมายแห่งทุนทาง สังคมที่ชัดเจน และนำไปใช้อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง

แนวคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับความหมาย “ทุนทางสังคม”

ทุนทางสังคม ในความหมายของ World Bank ได้ แสดงหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของความยึดเหนี่ยวกันในสังคม สามารถนำไปพัฒนาเศรษฐกิจและก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์,2548:19)

กองทุนเพื่อสังคม (SIF) มอง ว่า ทุนของชุมชนเป็นทุนทางสังคมอย่างหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งประกอบด้วย (ทุน) ฐานทรัพยากรธรรมชาติ และฐานวัฒนธรรม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การหลอมจิตใจ หลอมความคิด และผนึกกำลัง การสร้างทักษะในการจัดการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดจะส่งเสริมให้เกิดความเอื้ออาทรและความสามัคคี ที่ทำให้คนมีความเสียสละที่จะทำงานร่วมกัน โดยมีการระดมกำลังความคิด ความรู้ สติปัญญา และความชำนาญที่มีอยู่ ไปใช้ในการจัดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน (อ้างแล้ว:39)

อเนก นาคะบุตร (2545,อ้างแล้ว:39) กล่าว ถึงทุนทางสังคมในลักษณะของความเข้มแข็งของชุมชนว่า มิใช่เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่หากเป็นคุณค่าเดิมที่สังคมไทยมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความมีน้ำใจต่อกัน การแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความเอื้ออาทรต่อกัน การเกาะเกี่ยวกันทางสังคม การรวมกลุ่มเป็นองค์กร หรือการจัดตั้งเป็นเครือข่ายต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเกษตรผสมผสาน เครือข่ายโรงสีชุมชน เป็นต้น ทุนทางสังคมนี้ คือ พลังที่จะขับเคลื่อนชุมชนต่างๆ ให้มีความสามารถในการเพิ่มมูลค่าและทุนทางสังคมให้กับชุมชนตนเองมากขึ้น มีความเท่าทันต่อปัญหาและมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาได้มากขึ้น และท้ายที่สุดสามารถพึ่งพาตนเองได้จริงในระยะยาว

ประเวศ วะสี (2542,อ้างแล้ว:101) มอง ว่า ทุนทางสังคมเป็นพลังทางสังคมในการแก้ปัญหาวิกฤตของสังคมได้ โดยให้ความหมายทุนทางสังคมว่า “การที่คนมารวมกัน เอาความดีมารวมกัน เอาความรู้มารวมกัน เพื่อแก้ปัญหาของสังคม”

อัมรา สยามวาลา (2544,อ้างแล้ว:40) กล่าว ถึงทุนทางสังคมว่า “เป็นการทรัพยากรของชุมชนในการแก้ไขปัญหา ทรัพยากรที่สำคัญ คือ สติปัญญาและความเอื้ออาทรต่อกัน สิ่งเหล่านี้คือ ทุนทางสังคม” โดยนัยนี้ ทุนทางสังคมก็นับเป็นมิติในรูปแบบของทรัพยากรของชุมชนอันประกอบด้วย เรื่องของค่านิยม ความเอื้ออาทรต่อกัน รวมทั้งเรื่องของสติปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนที่สมควรนำออกมาประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาสังคม

อัมรา พงศาพิชญ์ (2543,อ้างแล้ว:40-41) ให้ ความหมายทุนทางสังคม คือ ความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งในแนวราบและแนวตั้ง ระหว่างบุคคล สถาบัน และ/หรือ องค์กรต่างๆ ทั้งในรูปปัจเจก กลุ่ม และ เครือข่าย ทั้งค่านิยม บรรทัดฐานที่สังคมยึดถือ ซึ่งมีผลต่อวิถีการผลิตในระดับครอบครัว ชุมชน และประชาคม นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง ทุนทางสังคมโดยเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ที่มีค่านิยมในการตอบ แทนบุญคุณ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนแบบไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งการมีเครือข่ายการตอบแทนและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน และกล่าวถึงการนำแนวคิดเรื่องทุนทางสังคมไปขยายใช้กับงานพัฒนาในปัจจุบัน

อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2541,อ้างแล้ว:41-43) กล่าว ถึงทุนทางสังคม คือ วิธีคิด และระบบความรู้ในการจัดการวิถีความเป็นชุมชน เช่น การจัดการทรัพยากรการจัดระบบความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ หรือมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยวิธีคิดเชิงซ้อน และเกี่ยวข้องกับเรื่องระบบความรู้/ภูมิปัญญา อีกทั้งต้องอาศัยกฎเกณฑ์มากำกับการใช้ความรู้นั้น ซึ่งอาจเป็นในรูปของจารีต กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ทางสังคม พร้อมกันนั้นก็ต้องมีองค์กรที่เข้ามาทำหน้าที่จัดการเรื่องนั้นๆ เช่น การใช้ทรัพยากรต่างๆ การจัดการทุน เป็นต้น

นอก จากนี้ อานันท์ยังกล่าวถึงทุนทางสังคมเดิมของสังคมไทย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อที่ดีในการนำไปประยุกต์ใช้ความหมายในเรื่องต่างๆ คือ มิติทางวัฒนธรรม โดยมิติทางวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ชุมชนพยายามจะรื้อฟื้นขึ้นมา เพราะมีนัยสำคัญทางสังคมเพื่อประโยชน์ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการปลูกจิตสำนึก หรือรักษาสำนึกของชุมชน และเครือข่ายของชุมชนที่ต้องสัมพันธ์กันในการดำรงชีวิต และมักเกี่ยวข้องกับฐานทรัพยากรที่ชุมชนต้องอ้างอิงอาศัย ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำ ลำคลอง ป่าต้นน้ำ ทะเล โดยจะเห็นได้จากมิติของความสัมพันธ์ผ่านงานบุญ ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เตือนให้รู้ว่าชีวิตเราที่อยู่มาได้ก็เพราะสำนึกในคุณค่าของ ทรัพยากรและรวมกันรักษา อีกทั้งยังมีความหมายในแง่ที่เป็นการยืนยันในคุณค่าหรือกฎเกณฑ์ทางสังคม บางอย่าง เช่น กฎเกณฑ์ข้อห้ามเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรส่วนรวมร่วมกัน เป็นต้น

ส่วน การระดมทุนเพื่อสังคม อานันท์กล่าวว่า ทุนทางสังคมที่อยู่บนพื้นฐานทางความคิดและอุดมการณ์ของระบบสวัสดิการในสังคม ไทยนั้น อยู่ภายใต้หลักการที่สำคัญ 2 ประการ คือ การต่างตอบแทนกัน (Reciprocity) และหลักการใช้ประโยชน์ร่วมกัน (Communality) ดัง นั้น จะเห็นได้ว่า อานันท์ได้เสนอทุนทางสังคมในมิติที่เป็น ระบบคิดหรือวิธีคิดกับวิธีปฏิบัติหรือระบบความรู้ในการจัดการกับวิถีชุมชน ไว้อย่างชัดเจนและได้นำเสนอมิติทางวัฒนธรรมว่ามีความเชื่อมโยงกับเรื่องทุนทางสังคมอย่างใกล้ชิดวิทยากรเชียงกูล และ พรภิรมณ์ เอื่อมธรรม (2547:236) ได้ ให้ความหมายทุนทางสังคมว่า ทุนที่มาจากภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม วินัย ระเบียบ ประเพณีที่สังคมสั่งสมไว้ และอาจนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาสังคมได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งทุนที่เป็นตัวเงิน (Money Capital) เสมอ ไป ทุนทางสังคมยังหมายถึง เครือข่าย ความร่วมมือของมนุษย์ ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ขององค์กร ชุมชน ดังนั้นจึงมีความหมายที่กว้างขวาง และเป็นประโยชน์มากกว่าทุนมนุษย์ (Human Capital) หรือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ที่อาจจะเป็นของปัจเจกชน

จากการให้ความหมายของนักวิชาการหลายๆท่าน ผู้เขียนจึงได้สรุปว่า ทุนทางสังคม หมายถึง ทุนประเภทต่างๆของชุมชนทั้งที่เป็นเงิน (Money) กองทุน (Fund) และ ไม่เป็นเงิน ได้แก่ ระบบคิดหรือวิธีคิดของคนในชุมชน/สังคม ที่ผ่านการสั่งสมสืบทอดวิธีการปฏิบัติและนำไปใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับ วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ที่มองเห็นเป็นรูปธรรมได้ เช่น วิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิธีการ สืบทอด ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วิธีการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคนผ่านจารีตประเพณีและสิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ความเอื้ออาทรต่อกัน ความรัก ความสามัคคี ความเชื่อ ความศรัทธา ในสิ่งที่ชุมชนสร้างแรงยึดเหนี่ยวและเกาะเกี่ยวความเป็นชุมชนไว้ด้วยกัน ทำให้ชุมชนมีความเป็นตนเองอย่างมีเอกลักษณ์ มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อความสำเร็จขององค์กร

ทุนมนุษย์หมายถึง “ความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะหรือความชำนาญ รวมถึงประสบการณ์ของแต่ละคนที่สั่งสมอยู่ในตัวเอง และสามารถจะนำสิ่งเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นศักยภาพขององค์กร หรือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่า ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นมีความสามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน”

ดังนั้นการที่องค์กรจะจัดการหรือหาวิธีการที่จะทำให้คนแต่ละคนในองค์กรใช้ ศักยภาพ หรือความรู้ความสามารถที่มีมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้นจึงต้องมีความ เข้าใจในคุณสมบัติของทรัพยากรบุคคลที่มีความแตกต่างจากทรัพยากรอื่น ๆ คือ

1. คนเป็น “สินทรัพย์” ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset)

2. ไม่มีค่าเสื่อมเหมือนทรัพย์สินอื่น

3. คนคือ “ทุน” (Human Capital) ที่สามารถสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ได้เสมอ

คนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้องค์กรไปถึงเป้า หมายที่วางไว้หรือไม่ ปัญหาอยู่ที่ว่าคนในองค์กรของคุณสักกี่คนที่จะเป็นนักคิด หรือมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า เพราะหลายองค์กรมักจะจำกัดคนที่จะเป็นนักคิดสร้างสรรค์ หรือมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ไว้เพียงบางฝ่าย โดยยึดติดรูปแบบการทำงานตามหน้าที่ (Functions) ของงานที่แบ่งเป็นฝ่าย ส่วน แผนกเป็นหลัก

ทราบหรือไม่ว่าพลาสเตอร์ยา Band-aid เกิดจากความคิดพนักงานบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่ชื่อ เอิร์ล ดิกสัน ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่เป็นนักวิจัยอะไรเลย เพียงแต่ว่าภรรยาของเขาถูกมีดบาด ก็เลยทำแผลให้ภรรยาด้วยการใส่ยา แล้วนำผ้าก็อซมาวางและปิดเทปกาวจนเกิดไอเดียนี้ขึ้นมา

หากในวันนั้นผู้บริหารมองว่า เขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่วิจัยผลิตภัณฑ์ ไม่ได้มีหน้าที่เสนอไอเดียอะไรสำหรับสินค้าขององค์กร วันนี้อาจจะไม่มีพลาสเตอร์ยาในโลกนี้ก็ได้ หรือถ้ามีอาจไม่ใช่จอห์นสันแอนด์จอห์นสันเป็นผู้ผลิตรายแรกก็ได้

ย้อนกลับมาที่องค์กรของคุณ วันนี้องค์กรของคุณส่งเสริมคนในองค์กรให้มีความพร้อมในการแข่งขันกับคู่แข่ง มากน้อยแค่ไหนแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความพร้อมและความสามารถให้กับทุกคนในหน่วย งาน ไม่ใช่ไปสร้างไว้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ และต้องมีวิธีคิดใหม่ในเรื่องของการค้นหาศักยภาพหรือความสามารถในองค์กรของ คุณให้พบ โดยไม่ไปใช้ข้อจำกัดตามลักษณะงานหรือตามหน้าที่ง่าย หรือตามตำแหน่งที่เขาทำอยู่ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ในองค์กรของคุณให้มีความพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้ ตลอดเวลา และในทุกสถานการณ์ พูดง่าย ๆ ว่าองค์กรต้องหาความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานทุกคนโดยไม่เลือกหมู่เหล่า ใครมีไอเดียหรือวิธีการจะคิดหรือเสนอแนะอะไรที่น่าสนใจ ก็จะต้องรับมาพิจารณาเพื่อต่อยอดความคิดนั้น ซึ่งจะทำให้องค์กรของคุณอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงนี้ได้ในที่สุด

จากกรณีของเอิร์ล ดิกสัน กับพลาสเตอร์ยานั้น เขาสามารถคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้ด้วยประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งกว่าจะค้นพบได้คงไม่ง่ายนัก แต่น่าจะดีกว่าหากว่าองค์กรของคุณมีส่วนช่วยในด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น ให้การฝึกอบรม สร้างการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ก็น่าจะทำให้องค์กรมีบุคลากรนักคิดคล้าย ๆ คุณเอิร์ลได้มากขึ้น หรือเร็วขึ้นกว่ารอให้เขาคิดได้เอง

องค์กรกับคนในองค์กรก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ถ้าเราหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย เอาใจใส่ ก็จะทำให้ต้นไม้ออกดอกผลได้ดีกว่า มีรากที่แข็งแรงกว่าการปล่อยไปตามเรื่องตามราวอย่างแน่นอน...วันนี้องค์กร ของคุณมีการวางแผนในการสร้างสมรรถนะหรือความสามารถ (Competency) ในทุนมนุษย์เพื่อให้มีความพร้อมในการแข่งขัน หรือเป็นต้นไม่ที่มี “ราก” แข็งแรงเพื่อช่วยค้ำยันองค์กรแล้วหรือยัง

นายโกมล ดุมลักษณ์ (ศูนย์ภูเก็ต)

สรุปบทความ เรื่อง Managing yourself “How to Cuttivate Engaged Engaged Employess โดย Charalambos A. Vlachoutsicos

ผู้ จัดการที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาของพวก เขาจอร์จทักษะการตลาด, ความสามารถของมาเรียที่จะเรียกใช้ตัวเลขที่มีความรู้ในท้องถิ่นของไมเคิล, Dimitra ของเชี่ยวชาญด้านไอที ชั้นวางและชั้นวางของหนังสือที่ให้คำแนะนำผู้จัดการ'เกี่ยวกับวิธีการระดมคนของพวกเขาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประสิทธิภาพโดยรวม

ถึง แม้ว่าจะเหนือมากที่สุดผู้จัดการมือถือรู้ว่าทีมงานที่มีอำนาจเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาที่ความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของลำดับชั้น ขององค์กรและการบังคับในการควบคุมชะตากรรมของตัวเองสามารถเมฆความตระหนักว่า หลาย บริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกจะละทิ้งจากบนลงล่างรูปแบบคำสั่งและการควบคุม อย่างไรก็ตามจำนวนของผู้จัดการยังคงใช้มันทำให้เกิดเป็นวัฏจักรหิน เมื่อ เผชิญหน้ากับเจ้านายเช่นพนักงานที่ตอบสนองด้วยความอิจฉาริษยาปกป้องแหล่ง เดียวของพวกเขาใช้พลังงานของพวกเขาที่โดดเด่นมีประสบการณ์และทีมงานที่จะขับ เคลื่อนออกจากกัน สมาชิกอาจจะยังคงพึ่งพาการทำงาน แต่การพึ่งพาซึ่งกันและกันที่จะไม่ได้ผลซึ่งหมายความว่าจำนวนมากของค่าเป็น squandered

ฉันได้ใช้เวลามากของอาชีพของฉันใน บริษัท และประเทศที่มีวงจรการควบคุมและการหลุดพ้นนี้คือหินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นานกว่า 30 ปีที่ผมทำงานและจากนั้นการบริหารจัดการองค์กรครอบครัว, ก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่ของฉันในปี 1880 ที่มีการซื้อขายอย่างกว้างขวางในรัสเซียยุโรปตะวันออก, รัฐ Black Sea, และที่อื่น ๆ หลัง จากขายธุรกิจในช่วงกลางทศวรรษ 1980 และทศวรรษที่ผ่านมาหลังจากนั้นฉันกลายเป็นนักลงทุนนักวิจัยและที่ปรึกษา สำหรับ บริษัท ที่กำลังมองหาเพื่อป้อนพื้นที่เหล่านั้นเช่นเดียวกับการศึกษา

ใน บทบาทเหล่านี้ท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของฉันคือการเรียนการสอนวิธีการบังคับ บัญชาเพื่อรวบรวมผลงานจากและดังนั้นจึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมโดยพนักงานท้อง ถิ่นของตน งาน ของพวกเขาที่ผมอธิบายคือเพื่อให้แน่ใจว่ามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ทุกคนเสริมสร้างความรู้สึกของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันหรือสิ่งที่ผม เรียกว่า"การร่วมกัน."เพื่อช่วยให้ในความพยายามที่ผมพัฒนาชุดของบทเรียนซึ่ง ฉันมีส่วนร่วมในบทความนี้

เหตุการณ์ ที่ฉันจะนับเอาสถานที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลางและยุโรปตะวันออก แต่พวกเขาสามารถนำมาใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ บริษัท ที่ยังคงยึดกับการเป็นผู้นำบนลงล่างและลำดับชั้นของวัตถุแข็งเกร็ง แท้ จริงจำนวนมากของผู้จัดการผมช่วยมาจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกและแม้จะมี การฝึกอบรมการจัดการของพวกเขาอย่างเป็นทางการที่พวกเขาปลูกขึ้นเล็กน้อยจาก พนักงานกว่ารุ่นก่อนโซเวียตของพวกเขาได้ทำ

บท เรียนร่วมกันฉันจะดูเหมือนคุ้นเคยในนามธรรม แต่มูลค่าที่แท้จริงเป็นเสมออยู่ในรายละเอียด (แม้ว่าชื่อมีการเปลี่ยนแปลงในการปกป้องผู้บริสุทธิ์และผู้กระทำผิด) รายละเอียดเหล่านั้นจะช่วยให้คุณเปรียบเทียบสิ่งที่คุณและผู้อื่นในองค์กรของคุณกำลังทำกับสิ่งที่คุณรู้ว่าคุณควรจะทำ

1 : เจียมเนื้อเจียมตัว Be Modest อาศัยอำนาจตามความเจียมเนื้อเจียมตัวแม้ว่ามันจะมักจะขัดแย้งกับความกลัวพื้นฐาน ผู้ จัดการใหม่จำนวนมากกังวลเกี่ยวกับการพิสูจน์ตัวเองเพื่อพวกเขาท้ายผู้ใต้ บังคับบัญชาของพวกเขาท้อใจจากการพูดขึ้นและจึงล้มเหลวในการได้รับประโยชน์ จากประสบการณ์ของพวกเขา พิจารณา Kurt ที่ซีอีโอของเยอรมันแอลเบเนียแปรรูปบรรจุกระป๋องปลาพืชบรรจุที่ฉันได้รับการพิจารณาสำหรับในปี 1990

ฉัน นั่งอยู่ในที่หนึ่งในการจัดการประชุมเป็นประจำทุกวันนำโดยเคิร์ตและเข้าร่วม โดยหัวของการผลิตการขาย, การเงิน, จัดซื้อและความสัมพันธ์กับรัฐบาล ส่วนการรายงานในที่ประชุมไปได้ด้วยดี แต่แล้วเคิร์ทเริ่มพูดคุย ทั้ง คำพูดและลักษณะของเขากล่าวว่า"การให้ที่ฉันรู้ทุกอย่างและคุณรู้ว่าไม่มี อะไรนี่คือสิ่งที่คุณควรจะทำ."วางตัว, ตลกรายละเอียดคำแนะนำที่ถูกเสริมด้วยเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ วิธีการที่เขาได้ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา เมื่อเขาเสร็จแล้วชั่วโมงต่อมาและถามคำถาม, ห้องดูเหมือนพร้อมที่จะจุดประกายไฟกับการจับคู่หนึ่ง ไม่มีใครพูดถึงและผู้จัดการอาวุโสด้านซ้ายเงียบและ sullenly

ถ้าคุณพบว่าตัวเองบอกว่าเป็นเรื่องที่ตนเองมี Referential ชอบของ Kurt หยุดและขอโทษสำหรับการพูดพล่อย คุณเพียงแค่การนำเสนอความไม่ปลอดภัยของคุณเอง เล่าขานประสบการณ์ของคุณสั้น ๆ และเฉพาะในกรณีที่คุณสามารถเกี่ยวข้องกับพวกเขาเหล่านั้นของผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณ พิสูจน์ให้คนของคุณไม่ว่าคุณมีการบันทึกเป็นที่แก้ปัญหาได้ แต่ที่ความคิดและคำแนะนำของคุณสามารถช่วยพวกเขาในขณะนี้

ยังจำได้ที่จะแบ่งปันทั้งความผิดพลาดและความสำเร็จของคุณ พยายาม ที่จะบรรลุความสมดุลที่จะนำท่านลงมายังโลกในสายตาของผู้ใต้บังคับบัญชาและจะ ทำให้คุณสะท้อนให้เห็นถึงเหตุผลที่คุณจะบอกเรื่องราวในสถานที่แรก

2 : ฟังอย่างจริงจังและแสดงมัน Listen Seriously and Show It โดยทั่วไปแล้วผู้จัดการจะได้รับฟังที่ดีกว่าที่ให้กับพนักงาน แต่ทีมของพวกเขาไม่เคยเห็นมันหรือแม้กระทั่งรู้ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ ผมจำได้ว่าตอบสนองชั้นนำที่โรงสีแป้งจอร์เจียที่ได้รับการยึดโดยนักลงทุนตะวันตก ผู้บังคับบัญชาท้องถิ่นถูกต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่ผมได้เสนอแม้จะมีความพยายามที่ดีที่สุดของฉันไปที่ดึงดูดพวกเขาในการตัดสินใจ ฉันนั่งลงกับหนึ่งในผู้จัดการไม่พอใจมากที่สุดที่ผู้ที่กล่าวว่าผมไม่เคยฟังของเขาจอง "แต่ฉันได้รับการบันทึกระมัดระวังในการประชุมทั้งหมดของเรา"ผมบอกเขาว่า "แน่นอนคุณจะต้องได้เห็นว่า?"

"ผมเห็นคุณเขียนใช่"เขาตอบว่า "แต่คุณใช้แผ่นหลวมที่ฉันลำยองแน่ใจว่าคุณโยนออกไปหลังจากนั้น ถ้าคุณได้รับการป้อนข้อมูลของเราอย่างจริงจังคุณต้องการจะใช้เป็นโน้ตบุ๊คที่ถูกผูกไว้ตามที่คุณเห็นฉันทำ."

ผมมั่นใจว่าผู้จัดการที่ฉันถูกเก็บบันทึกนี้ แต่ฉันจะบอกเขาไม่เชื่อฉัน ดัง นั้นในวันถัดไปฉันนำในเครื่องผูกซึ่งได้ดังกังวานของฉันและเขาเห็นว่าสำหรับ ตัวเองวิธีการที่ฉันได้บันทึกมาอย่างพิถีพิถันและให้ความเห็นเกี่ยวกับสิ่ง ที่ผมเคยได้ยิน การเปลี่ยนแปลงในทัศนคติที่โดดเด่น เขา และเพื่อนร่วมงานของเขาได้รับการยอมรับว่าผมได้พิจารณาอย่างรอบคอบแนะนำของ พวกเขาก่อนที่จะไปกับมันที่ทำให้มันง่ายสำหรับพวกเขาที่จะยอมรับการตัดสินใจ ของฉัน ซึ่งทั้งหมดจะหันมาทางผมได้นำมาบันทึก!

ประสบการณ์นี้สอนผมว่าการสื่อสารเป็น multifaceted คนปรับในภาษากายที่คุณมองของคุณสิ่งที่คุณทำด้วยมือของคุณ มันอาจจะยากที่จะจำนี้เมื่อคุณอยู่ในการประชุม แต่การจัดการสัญญาณดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น (ไม่ว่าคุณจะไม่ได้ดูที่นาฬิกาของคุณหรือตรวจสอบตลอดเวลาบนโทรศัพท์มือถือของคุณขณะที่คนอื่นจะพูด.)

Charalambos อ. Vlachoutsicos, เป็นนักธุรกิจและผู้สนับสนุนอดีต HBR บ่อย, เป็นอาจารย์พิเศษภาคในหลักสูตรนานาชาติที่กรุงเอเธนส์ปริญญาโทบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ เขา ยังเป็นผู้เขียนร่วมกับ Paul R. Lawrence, จากหลังกำแพงโรงงาน : การตัดสินใจในสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา Enterprises (Harvard Business Review Press, 1990) 3. Invite Disagreement (เชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย) แม้ว่าหลายบริษัทกำลังเปลี่ยนแปลงเป็นการทำงานแบบแนวราบ วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และบรรทัดฐานของบริษัทที่ต่อต้านความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน หนทางเดียวที่จะต่อสู้กับความโน้มเอี่ยงนี้ ก็คือ การจัดรูปแบบการประชุม ปรึกษาหารือใหม่ ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจาก บริษัทการสื่อสารของยูเครน ที่ผู้บริหารกำลังดิ้นรนทุกหนทางในการที่จะบังคับให้ลูกน้องของเขาทำในสิ่ง ที่เขาต้องการ ผู้แต่งได้แนะนำให้ เริ่มจากการเปลี่ยนโต๊ะประชุม จากโต๊ะที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ออกมาเป็นโต๊ะกลม เพื่อที่จะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีความรู้สึกถึงความเป็นกันเอง ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งผลออกมาได้เป็นที่น่าพอใจ แต่แนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ไม่ได้ง่ายแบบนี้ เสมอไป บางครั้ง ก็ต้องกระตุ้นให้เขาแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นของเขาออกมา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ครั้งหนึ่งผู้แต่ง เคยถูกถามจากบริษัทจัดส่งสินค้าแห่งหนึ่งในอเมริกาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาใน การที่จะให้ผู้ปฎิบัติยอมบอกปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้น เปกก้า(Pekka) เป็นผู้ดูแลอยู่ เขาก็กล่าวว่า ไม่ว่าเขาจะทำอย่างไร ไม่มีใครยอมบอกปัญญาจริงๆที่เกิดขึ้น หนึ่งปัญหาในขณะนั้น คือการเสียภาษีอันแสนแพงของสำนักงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาในขณะนั้น คือการติดสินบนเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด ในที่ประชุม เปกก้า ได้ความคิดที่จะถามความเห็นจากสถานฑูตอเมริกา ในการที่จะไปประท้วง ในแต่ไม่มีใครในที่ประชุมออกความคิดเห็น ต่อมาผู้แต่งได้ไปพบกับ ไอเกอร์(Igor) ผู้จัดการท้องถิ่น เขาไม่ลังเลที่จะถามความคิดเห็น และได้คำตอบว่า พวกเขาสามารถช่วยเรื่องภาษีสำนักงาน ด้วยเงินประจำ ไอเกอร์เสนอการจ่ายเงินให้ก่อนล่วงหน้าทุกต้นเดือน เป็นจำนวนเงินที่เฉลี่ยจากภาษีที่ต้องจ่าย 6 เดิอน และช่วยจ่ายค่าธรรมเนียมทุก 3 เดือน หลังจากนั้น ผู้แต่งได้เสนอแนวคิดที่ไม่ค่อยฉลาดนี้ให้ เปกก้า เขายอมรับความคิดนี้ ในที่สุดปัญหาก็ได้รับการแก้ไข ต่อมาผู้แต่งได้อธิบายเปกก้าว่า 3 ศตวรรต ภายใต้การปกครองของคอมมิวนิส ซึ่งเปกก้าเข้าใจดีว่าหมายถึงอะไร ไม่มีใครเสนอตัวในการออกความคิดเห็น นอกจากจะถามเป็นการส่วนตัว หลังจากที่ได้ฟังแล้ว เปกก้าได้เริ่มเปลี่ยนเปลงตัวเองโดยการจูงใจเพื่อให้ได้คำแนะนำจากการถาม เป็นการส่วนตัวก่อน แล้วค่อยๆกระจายออกไป ซึ่งไม่กี่เดือนต่อมาผู้ใต้บังคับชาให้ความร่วมมือมากขึ้นในการเสนอความคิด เห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่ แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างจะสามารถมองเห็นปัญหาได้ดีกว่า

4. Focus the Agenda(รวบรวมความสนใจในวาระการประชุม) เส้นทางที่นำไปสู่ความล้มเลวคือความไม่ตั้งใจ บ่อยครั้งที่ผู้แต่งได้เห็นผู้บริหารมุ่งมั่นที่จะเชิญชวนความเห็นที่แตก ต่างในวิธีทางที่ไม่ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประชุมที่ความคิดเห็นทุกอย่างอยู่บนโต๊ะ การใส่ปัญหาลงไปมากๆ ทำให้เวลาของผู้พูดลดลง ยิ่งถ้าเวลาจำกัด ผู้พูดต้องรีบเร่งพูดแข่งกับเวลาก็ให้เกิดปัญหาตามมา ในปี 1960 ทางเหนือของกรีส คือบริษัทของครอบครัวผู้แต่ง ที่เจริญเติปโตเร็วที่สุด พวกเขาได้เปิดสำนักงานในเมืองหลวง และนัดพบ สตาฟวอส (Stavros) คนที่มีประสบการณ์ในการขายมากที่สุดของบริษัทเป็นผู้นำ แต่ผลที่ได้ออกมาในทางกลับกัน ผลการขายหยุดชะงัก เนื่องจากในการประชุมเสวนาปัญหาต่างๆ โดยการนำของ สตาฟวอส และผู้อำนวยการอีก 8 ท่านเป็นผู้เข้าร่วมประชุม มีวาระที่มีลักษณะซับซ้อน และใช้เวลานานมาก ในที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้มีโอกาสพูด โดยแบ่งท่านละ 2 ชั่วโมง แต่ท้ายที่สุดการประชุมก็สิ้นสุดลง โดยผ่านไปได้ครึ่งเดียว ปัญหาที่สำคัญต่างๆก็ไม่ได้นำมาร่วมเสวนา เพราะไม่ได้จัดให้อยู่ในลำดับต้นๆ ผู้แต่งเลยช่วยให้การประชุมกระชับและครอบคลุม โดยการเสนอให้สรุปวาระการประชุมต่างๆในแต่ละวันมาให้ก่อน และกระชับเวลาในการเสวนาลง เพียงไม่กี่เดือนการประชุมพัฒนาขึ้น จากใช้เวลานานมาก มาเหลือไม่เกิน 30 นาที และครอบคลุม

5. Don’t Try to Have All the Answers(อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ) บางครั้งปัญหาได้ถูกแก้ไขโดยความรู้สึกของผู้บริหาร ซึ่งจะเกิดปัญหาได้ หากความรู้สึกนั้นไม่เพียงพอ ดังเช่น เหตุการณ์ของผู้แต่ง ที่กล่าวถึงกิจการครอบครัว ที่ครั้งหนึ่งเคยที่จะตัดสินใจจัดสรรพื้นที่ในโกดังสินค้า เพื่อวางผลิตภัณฑ์ใหม่ สปายรอส(Spyros) ผู้จัดการโกดังสินค้า เป็นคนที่สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่เป็นคนที่ข้อนข้างบีบบังคับคนอื่น มีอยู่วันหนึ่งเขาเสนอการจัดสรรพื้นที่โดยการเคลื่อนย้ายลังสินค้าที่มีอยู่ ให้ไปวางติดๆกัน และเขาก็รีบบอกคนอื่นๆมาช่วยกันเคลื่อนย้ายอย่างที่เขาบอก แต่ตัวผู้แต่งเองรู้สึกอึดอัดใจ เหมือนกับคนงานอื่นๆ อันที่ ถ้าการเคลื่อนย้ายลังสินค้าวางติดๆกันมากเกินไป จะทำให้รถบรรทุกสินค้าไม่สามารถจัดการกับลังสินค้าพวกนี้ได้ ทำให้ปัญหาบานปลาย ผู้แต่งเลยเสนอแนวทางการแก้ปัญหา ร่วมกับคนงาน สปายรอส และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ผลออกมาทำให้สปายรอสเสียหน้ามาก และสอนให้สปายรอสรู้จักยอมรับความผิดพลาดของตนเอง น่าเศร้าที่เขาไม่เคยสนใจ บ่อยครั้งที่ต้องหาคนมาแทนเขา การที่จะประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารต้องเป็นเพียงผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหา มากกว่าเป็นผู้แก้ไขปัญหาเสียเอง และทักษะของผู้บริหารที่สำคัญนั้น ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม และปล่อยให้ลูกทีมเสนอแนวคิดของพวกเขาเองออกมาบ้าง

6. Don’t Insist that A Decision Must Be Made(อย่ายืนกรานว่าแนวทางการตัดสินใจต้องถูกทำให้เกิดขึ้น) มีความผิดพลาดที่ล้มเหลวดีกว่าไม่มีเลย เห็นทีจะไม่จริงอีกต่อไป ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ทำงานในบริษัทของเขาเอง ในลักษณะที่เป็นคนเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น บ่อยครั้งที่มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หาบทลงเอยไม่ได้ เขานี่เองที่เป็นผู้เสนอแนวคิดเห็นนั้นๆออกมาในการแก้ปัญหา ซึ่งเขามาทราบที่หลังว่า มันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด แต่ลูกน้องของเขาเองก็ไม่กล้าจะแสดงออกอะไร โดยให้เหตุผลว่า แนวทางที่ผู้แต่งเสนอออกมานั้น มันก้าวไกลกว่าพวกเขา และในฐานะที่ผู้แต่งเป็นลูกเจ้าของ ย่อมรู้ปัญหาที่พวกเขาไม่รู้ หลังจากที่ผู้แต่งได้ทราบเหตุผลนี้ เขาก็ขอโทษ และเริ่มทำงานให้สอดคล้องกับคนอื่นๆ เมื่อลูกน้องของเขาได้ทราบถึงความตั้งใจของเขา พวกเขาก็เริ่มที่จะร่วมมืออีกครั้ง ผลออกมาความผิดพลาดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้แต่งได้แนะนำว่า ถ้าไม่สามารถหาจุดกึ่งกลางของปัญหา อย่ารีบที่จะตัดสินใจอะไรออกมา จนกว่าจะหาแนวทางได้อย่างชัดเจนร่วมกัน ถึงแม้ว่าอาจจะช้า และอาจจะมีความขัดแย้งบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสูญเสียความตั้งใจ

6 บทเรียนที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์ของผู้แต่ง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริหารสามารถที่จะเกื้อหนุนและทำลาย ความสำเร็จของงานได้ สวรรค์รู้มูลค่าที่สำคัญกระจัดกระจายไปเท่าไหร่ ก่อนที่จะทำให้ทุกอย่างลงตัว จาก 6 บทเรียน 6 แนวทาง จะช่วยให้เป็นอุทาหรณ์แก่ผู้บริหารมือใหม่ และเป็นรางวัลในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นแปลงการทำงานจากบนลงล่าง ไปสู่แนวราบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน นำไปสู่การแก้ไขปัญหา การกระตุ้น การมอบอำนาจเต็มให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็สามารถทำให้ประสบผลสำเร็จร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

เขาสี่ขั้นตอนของการจัดการวิกฤตมีประสิทธิภาพสูง : วิธีการจัดการสื่อในยุคดิจิตอล

เจนจอร์แดน - Meier ซีอาร์ซีกด / Taylor & Francis กลุ่ม (2011)

"ความจริงดีบอก"และการจัดการอย่างรอบคอบ

ทศวรรษ ที่ผ่านมาหนึ่งในผู้ก่อตั้งร่วมของ บริษัท ตอนนี้เรารู้ว่าเป็นฮิลล์แอนด์นอลตันจอห์นฮิลล์, อธิบายว่าการประชาสัมพันธ์ควรจะเป็น"ความจริงดีบอก."ที่ไม่ได้รับเสมอกรณี แต่คำอธิบายที่ฮิลล์ยังคงถูกต้อง เจนจอร์แดน - Meier ตกลงอย่างเห็นได้ชัด คำ บรรยายจากหนังสือของเธอว่า"วิธีการจัดการสื่อในดิจิตอล Sage,"ถูกต้องชี้ให้เห็นว่าเมื่อวิกฤติเกิดขึ้นการจัดการชื่อเสียงที่มี ประสิทธิภาพมีความจำเป็น ดังนั้นสำคัญของการมีแผนเหนียวและครบวงจรในสถานที่เมื่อภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น ที่น่าเสียใจว่าหลายองค์กรไม่ได้มีแผนดังกล่าว นั่น คือเหตุผลที่จอร์แดน - Meier เขียนหนังสือเล่มนี้ : เพื่อให้เป็นแหล่งเดียวเพียงแค่ทุกอย่างเกี่ยวกับผู้บริหารระดับซีต้องการ ทราบเกี่ยวกับวิกฤตการจัดการสื่อ

วัสดุ ที่ได้มีการจัดการอย่างรอบคอบภายในห้าส่วนตาม (นับ'em) สิบภาคผนวกที่ให้การสนับสนุนวัสดุล้ำค่าในวิชาตั้งแต่"แนวทางการโฆษก Briefing"เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการ"สื่อสังคมไพบูลย์โอกาสที่หลีกเลี่ยง ความเสี่ยง."จอร์แดน - Meier ให้"บทสรุป"ที่สรุปของแต่ละบท สารนี้จะอำนวยความสะดวกแท้จริงเร่งทบทวนบ่อยของจุดสำคัญ ผมยังชื่นชมเน้นจอร์แดน - Meier ของเกี่ยวกับวิธีการช่วยให้ผู้อ่านของเธอให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้เหล่านี้ :

•วิกฤติเป็นสิ่งที่เรียกมันคืออะไรและสิ่งที่เป็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร

•บทบาทที่เหมาะสมของสื่อคืออะไร?

•อะไรคือขั้นตอนของสถานการณ์วิกฤตและสิ่งที่แต่ละคนจะต้องสำเร็จ? อย่างไร?

•ใครควร -- และควรจู้จี้ -- จะ spokespersons? ทำไม?

•โดยสิ่งที่ควรเกณฑ์บทบาทของซีอีโอได้รับการพิจารณา?

•วิธีที่ดีที่สุดที่จะกำหนดแล้วจัดการแนวนโยบาย?

•วิธีที่ดีที่สุดเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์สื่อ?

•อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดทำและ don'ts เมื่อถูกสัมภาษณ์มีอะไรบ้าง

•อะไรคือความท้าทายที่ไม่ซ้ำกัน -- และโอกาส -- เกี่ยวข้องกับประเภทของการสัมภาษณ์ที่แตกต่างกัน?

ใน มาตรา V : การสื่อสาร -- กฎและเครื่องมือ, จอร์แดน - Meier รวบรวมข้อมูลที่สำคัญที่สุดข้อมูลเชิงลึก, และคำแนะนำนอกจากนี้ยังมีเธอรวมถึงวัสดุสำเร็จรูปบางส่วนและคำแนะนำเฉพาะ เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสื่อสังคม

ใน ความคิดของวัสดุที่จะมีค่ามากที่สุดในสองกลุ่ม : ผู้บริหาร C - ระดับที่อนุมัติและจะต้องอนุมัติแผนวิกฤตสื่อ (หรือการแก้ไขดังกล่าว) และผู้ที่มีค่าใช้จ่ายด้วยการกำหนดแผนดังกล่าวและจากนั้นปรับปรุงมันได้ตาม ต้องการ . มี หนังสือที่ผมขอแนะนำให้ต้องอ่านควบคู่กับการนี้อย่างใดอย่างหนึ่งถ้าเป็น ไปได้อื่น : ปีเตอร์เมเยอร์และ Shann ห้ามของที่เราพูด : วิธีการทำให้จุดของคุณและมีมันติด

นางสาวอภิชนา สิงสันจิตร (ศูนย์ภูเก็ต)

สรุปเนื้อหา บทความเรื่อง Managing yourself “ How to Cultivate Engaged Employees ” เขียนโดย Charalambos A. Vlachoutsicos

จากการอ่านบทความภาษษาอังกฤษที่ท่าน รศ.ดร.จีระให้เป็นการบ้านมานั้น สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ว่า

1. ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Be Modest) เป็นการรู้จักให้เกียรติแก่กัน ผู้บริหารท่านหนึ่งทำให้บรรยากาศที่ประชุมเสีย ได้กล่าวว่า เขารู้ทุกอย่าง และพวกคุณไม่รู้อะไรเลย สุดท้ายไม่มีใครกล้าพูด ถ้าผู้บริหารเป็นเช่นนี้ให้รีบปรับปรุงตัวโดยด่วน และพิสูจน์ตนเอง ว่าไม่ได้เป็นผู้บันทึก ผู้แก้ไขปัญหา แต่เป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีในการแลกเปลี่ยนข้อผิดพลาด และสิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเอง

2. ฟังอย่างตั้งใจและรับฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่นได้ดี (Listen Seriously and Show it ) เพราะการรับฟังเป็นหัวใจสำคัญโดยเฉพาะคำวิจารณ์จากผู้อื่น ถ้าหากแปลคำวิจารณ์เป็นสิ่งที่เราสามารถนำมาปรับปรุงได้จะเป็นผู้ประสบผลสำเร็จ

3. เชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย (Invite Disagreement) เพื่อสะท้อนปัญหา นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้นำ ที่เปิดกว้าง ซึ่งก็จะมีสิ่งต่าง ๆ เข้ามาหาเรา ทำให้เรามีโอกาสเลือกสิ่งดี ๆ ได้มากขึ้น ทั้งหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ทำให้เราทำงานผ่านพ้นไปด้วยดี แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับผู้นำในการเปลี่ยนแปลงก็ตาม ซึ่งในเวลาต่อมาผู้นำจะได้รับความร่วมมือจากผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้น

4. การจัดระเบียบวาระต้องมีประเด็นที่สำคัญ( Focus the Agenda ) ในการประชุมครั้งใดก็ตาม ต้องมีการเตรียมการประชุม จึงส่งผลทำให้การประชุมมีประเด็นสำคัญที่ชัดเจน สมบูรณ์ตามเป้าหมายในแต่ละครั้ง และที่สำคัญทำให้เกิดเป้าหมายใหม่อีกเรื่อย ๆ การจัดระเบียบวาระ นับเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การประชุมเป็นไปตามเป้า ไม่หลุดประเด็น และอยู่ในเวลา

5. อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ (Don’t Try to Have All the Answers) บางครั้งปัญหาได้ถูกแก้ไขโดยความรู้สึกของผู้บริหาร ซึ่งจะเกิดปัญหาได้ หากความรู้สึกนั้นไม่เพียงพอ ดังเช่น เหตุการณ์ของผู้แต่ง ที่กล่าวถึงกิจการครอบครัว ที่ครั้งหนึ่งเคยที่จะตัดสินใจจัดสรรพื้นที่ในโกดังสินค้า เพื่อวางผลิตภัณฑ์ใหม่ สปายรอส(Spyros) ผู้จัดการโกดังสินค้า เป็นคนที่สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่เป็นคนที่ข้อนข้างบีบบังคับคนอื่น มีอยู่วันหนึ่งเขาเสนอการจัดสรรพื้นที่โดยการเคลื่อนย้ายลังสินค้าที่มีอยู่ ให้ไปวางติดๆกัน และเขาก็รีบบอกคนอื่นๆมาช่วยกันเคลื่อนย้ายอย่างที่เขาบอก แต่ตัวผู้แต่งเองรู้สึกอึดอัดใจ เหมือนกับคนงานอื่นๆ อันที่ ถ้าการเคลื่อนย้ายลังสินค้าวางติดๆกันมากเกินไป จะทำให้รถบรรทุกสินค้าไม่สามารถจัดการกับลังสินค้าพวกนี้ได้ ทำให้ปัญหาบานปลาย ผู้แต่งเลยเสนอแนวทางการแก้ปัญหา ร่วมกับคนงาน สปายรอส และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ผลออกมาทำให้สปายรอสเสียหน้ามาก และสอนให้สปายรอสรู้จักยอมรับความผิดพลาดของตนเอง น่าเศร้าที่เขาไม่เคยสนใจ บ่อยครั้งที่ต้องหาคนมาแทนเขา การที่จะประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารต้องเป็นเพียงผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหา มากกว่าเป็นผู้แก้ไขปัญหาเสียเอง และทักษะของผู้บริหารที่สำคัญนั้น ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม และปล่อยให้ลูกทีมเสนอแนวคิดของพวกเขาเองออกมาบ้าง

6. ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง ( Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ผู้ที่จะประสบผลสำเร็จทุกคนไม่สามารถทำอะไรได้ตามลำพัง ต้องมีผู้อื่นร่วมอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับคนอื่นอย่างจริงใจ จึงเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญ จะเห็นว่าผู้ใดมี Team work ดีผู้นั้นจะประสบผลสำเร็จสูง มีความผิดพลาดที่ล้มเหลวดีกว่าไม่มีเลย เห็นทีจะไม่จริงอีกต่อไป ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ทำงานในบริษัทของเขาเอง ในลักษณะที่เป็นคนเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น บ่อยครั้งที่มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หาบทลงเอยไม่ได้ เขานี่เองที่เป็นผู้เสนอแนวคิดเห็นนั้นๆออกมาในการแก้ปัญหา ซึ่งเขามาทราบที่หลังว่า มันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด แต่ลูกน้องของเขาเองก็ไม่กล้าจะแสดงออกอะไร โดยให้เหตุผลว่า แนวทางที่ผู้แต่งเสนอออกมานั้น มันก้าวไกลกว่าพวกเขา และในฐานะที่ผู้แต่งเป็นลูกเจ้าของ ย่อมรู้ปัญหาที่พวกเขาไม่รู้ หลังจากที่ผู้แต่งได้ทราบเหตุผลนี้ เขาก็ขอโทษ และเริ่มทำงานให้สอดคล้องกับคนอื่นๆ เมื่อลูกน้องของเขาได้ทราบถึงความตั้งใจของเขา พวกเขาก็เริ่มที่จะร่วมมืออีกครั้ง ผลออกมาความผิดพลาดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้แต่งได้แนะนำว่า ถ้าไม่สามารถหาจุดกึ่งกลางของปัญหา อย่ารีบที่จะตัดสินใจอะไรออกมา จนกว่าจะหาแนวทางได้อย่างชัดเจนร่วมกัน ถึงแม้ว่าอาจจะช้า และอาจจะมีความขัดแย้งบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสูญเสียความตั้งใจ

กระผมนายวิสิษฐ์ ใจอาจ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ศูนย์ภูเก็ต รหัสนักศึกษา 53484931023

หลังจากที่ได้อ่านบทความภาษาอังกฤษที่อาจารย์ รศ.ดร.จีระได้ให้มาอ่านและศึกษานั้น กระผมให้อ่านและทำการค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ หลังจากที่ได้อ่านและได้ทำการหาข้อมูลเกี่ยวกับบทความภาษาอังกฤษเรื่อง Managing yourself “ How to Cultivate Engaged Employees ” เขียนโดย Charalambos A. Vlachoutsicos ที่อาจารย์ รศ.ดร.จีระ ได้ให้มาอ่านนั้น สามารถนำมาวิเคราะห์และสรุปตามความเข้าใจได้ว่า ความมุ่งมั่นของการเป็นผู้นำ เพราะความสำเร็จของผู้จัดการหรือผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้นำจะต้องมีวิธีการดึงความสามารถของพนักงานแต่ละคนออกมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยควรจะต้องยุติการบริหารแบบ Top-Down แบบที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีหายแห่งที่ใช้ระบบการทำงานแบบนายสั่งอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในฐานะผู้นำจะต้องรู้จักคัดเลือกผลงาน และเลื่อนขั้นลูกจ้างในท้องถิ่นนั้นๆ เพราะงานของเจ้านาย คือ การทำให้ทุกคนมั่นใจและเกิดความรู้สึกพึ่งพากัน หรือที่เรียกว่า การร่วมแรงร่วมใจหรือความสามัคคี ความรู้ในบทความที่ Charalambos A.Vlachoutscos ผู้เขียนไว้ 6 หัวข้อหลักๆ

1.จงอ่อนน้อมถ่อมตน (Be Modest)

2.ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา (Listen Seriously and Show it )

3.ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา( Invite Disagreement)

4.จัดระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง( Focus the Agenda )

5.อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่าง( Don’t Try to Have All the Answers)

6.ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง ( Don’t Insist that A Decision Must Be Made)

ซึ่งการนำทั้ง 6 ข้อนี้มารวมผสมผสานกัน เพื่อนำไปเป็นหลักการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ของนักบริหารกับองค์กรที่ดีนั่นเอง

นายกมล ค้าไกล ศูนย์ภูเก็ต

สรุป.ความรู้จากบทเรียน อาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554

จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนางานต้องพัฒนาคน จะพัฒนาคนให้พัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาอะไรให้พัฒนาที่ตนเองก่อน http://www.gotoknow.org/ask/pandin/3040

การปลูกพืช ต้องมีการเตรียมดินพิจารณาสภาพพื้นที่ เนื้อดิน ปัญหาของดิน ชนิดพืชที่ปลูกเพื่อให้มีการเตรียมดินที่เหมาะสมและประสบผลสำเร็จในการปลูกพืช การเตรียมดินสำหรับการปลูกพืชจะแตกต่างกันตามชนิดของพืช

การปลูก(สร้าง)คน ต้องมีการเตรียมความพร้อมโดยเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัย พิจารณาถึงการพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ทุกคน

ส่วนการเก็บเกี่ยว ความสำคัญอยู่ที่ ต้องมีระยะเวลาของการรอคอยความสำเร็จ ดังบทกลอนที่ว่า กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ดอกออกคราวใด งามเด่น งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้ว แสนงาม ( มล.ปิ่น มาลากุล ) และสุดท้ายของการปลูกและการเก็บเกี่ยวคือบุญคุณของผู้สร้าง (ครูของพวกเราทุกคน)

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร

Mr.CHIEWCHARN SIVAKUNAKORN

รหัสนักศึกษา 53484931021

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

Marco

Phuket Vegetarian Festival is very well known in Thailand , nine day and nine nights. Thais and Chineses people come to Phuket so that Phuket peoples get money and happiness.

Micro

Phuket Vegetarian Festival had long times, I’m eat vegetarian food so good health, good luck and happiness.

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ นักศึกษา ปริญญาเอก มหาวิทยาราชภัฎสวนสุนันทา รุ่นที่ 5

รหัส 53484931029

ศูนย์วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต

บทความ เรื่อง มาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พศ. 2550

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 19 มีนาคม 2550

หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไป

เพียงเพื่อการยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการ

เจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนารมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฏหมาย

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่ง

แล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความผิดทั้งปวง

(แหล่งข้อมูล :พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พศ. 2550 )

: การตายดี หมายถึง การตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ( Good death) โดยไม่ถูกเหนี่ยวรั้งการตายด้วยวิธีการรักษาหรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เกินความจำเป็นและไม่สมควร (futile treatment)

ผลกระทบ :

• สถานบริการจะต้องเตรียมการในการให้บริการโดยไม่ให้กระทบต่อสถาบันครอบครัวและปัญหาของสังคม เช่น การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินและมรดก ให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของผู้ป่วย

• สภาพปัญหาในการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยไม่ให้ตาย แต่อยู่อย่างไม่มีคุณภาพ ค่าใช้จ่ายสูงทำให้เกิดความทุกข์ยากทั้งผู้ป่วยเอง ญาติ และต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการให้บริการ

การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ :

- กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำประกาศกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พศ. 2553 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 ตุลาคม 2553) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 พค. 2554 เป็นต้นไป

- จัดระบบรองรับการดำเนินงาน และการทำตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนา

- หน่วยงานสาธารณสุขควรเร่งสร้างความเข้าใจกับบุคลากรในโรงพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมและจัดระบบรองรับงานดังกล่าว และเชื่อมบูรณาการเข้ากับการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (palliative care) และองค์กรวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติทางวิชาชีพเพื่อรองรับการดำเนินงาน

- พัฒนาสื่อต่างๆเพื่อสร้างความเข้าใจกับสังคมอย่างกว้างขวาง รณรงค์ให้เข้าใจเรื่องการตายดี การรักษาแบบประคับประคอง และสิทธิการปฏิเสธการรักษาพยาบาล และประโยชน์ในการทำหนังสือแสดงเจตนา

- ควรใช้โอกาสนี้ในการทำให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย ประชาชน เพื่อให้ช่องว่างแคบเข้า

- เตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามมาตรา 12 ให้แก่

• ชมรมผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน (13 กค. 54)

• สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (27 กค. 54)

• สภาการพยาบาล 6 เวที 3,000 คน (เดือนสิงหาคม)

-คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามหนังสือแสดงเจตนา โดยการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์สุขภาพแห่งชาติ หรือ สช.ออนไลน์ (2 สค. 2554)

-จัดทำคู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care)

-กระทรวงสาธารณสุข แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบรองรับการบริการผู้ป่วยที่ขอใช้สิทธิตามมาตรา 12 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางการปฏิบัติของสถานบริการสาธารณสุขที่ออกตามกฏกระทรวง

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ควรให้ความสนใจ

- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

- ผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเสียชีวิตในเวลาไม่นาน

- ผู้สูงอายุ

- สำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงแต่มีความประสงค์

บทสรุปจากการศึกษา พบว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยและในรายละเอียดประชาชนที่ได้แสดงความจำนงไว้และเป็นความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต (Living Will)จะมีสิทธิตามกฏหมาย ช่วยลดความขัดแย้งของญาติ และเป็นไปตามเจตนารมของผู้ป่วย ส่วนการจะดำเนินงานได้ประสบความสำเร็จหรือไม่ เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

สรุปบทความเรื่อง"วิธีการทำให้พนักงานมีส่วนร่วม "ผู้เขียน Charalambos อ. Vlachoutsicos

1.เจียมเนื้อเจียมตัว ผู้บริหารควรเรียนรู้จากความผิดพลาดของตน และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปรับปรุง พัฒนา และสร้างสรรค์ให้งาน หน่วยงานของคุณดีขึ้น มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น

2.ฟังอย่างจริงจังและแสดงความคิดเห็น ผู้บริหารควรเห็นคุณค่าของการฟัง การสื่อสารที่มีความหลากหลาย จะเป็นพลังสำคัญและคุณจะต้องตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและจดบันทึกในขณะที่ฟังคนอื่น ถ้าคุณทำเช่นนี้ สามารถอธิบายล่วงหน้าว่าคุณมีความเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น

3.แสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย ผู้บริหารควรวิเคราะห์ทุกสถานการณ์ว่าเป็นโอกาสที่จะทำให้พนักงานของคุณมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น คุณจะต้องให้พนักงานพูดในสิ่งที่พวกเขาคิด ให้ผู้ร่วมงานของคุณได้มีโอกาสแสดงความคิด ความรู้สึก วิธีการนี้จะทำให้พวกเขาสามารถทำให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้า

4.มุ่งเน้นวาระการประชุม ผู้บริหารจะต้องมุ่งเน้นวาระการประชุมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใด ความล้มเหลวของการประชุมมาจากการอภิปรายที่ยืดยาวและวาระการประชุมที่ไม่มีความสำคัญ สำหรับการประชุมควรมีการเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อให้ถึงประเด็นสำคัญ ถ้ามีปัญหาความสำคัญน้อยสามารถจัดขึ้นสำหรับการประชุมอื่นหรือจัดการประชุมแบบนอกรอบ

5.ไม่พยายามที่จะมีคำตอบทั้งหมด ผู้บริหารควรจะมองเห็นเขาการแก้ปัญหาของตัวเอง เข้าใจว่าคุณต้องการอะไรและปฏิบัติตามกฎหมาย แต่จำไว้ว่าการไม่รู้ทุกสิ่ง นั่นคือจุดรวมของความร่วมมือ

6.ไม่ยืนยันการตัดสินใจทำ ผู้บริหารอาจมีการตัดสินใจผิดพลาด แต่นอกเหนือจากปัจจัยนี้ คนอาจจะหยุดเสนอความคิดเห็นกับคุณเนื่องจากพวกเขาคิดว่า"คุณมีพร้อมอยู่แล้วในใจของคุณว่าจะทำขึ้นมา" หรือคุณรู้ความจริงว่าพวกเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจบางอย่าง พวกเขาอาจระงับข้อมูลที่อาจจะมาให้คุณแก้ปัญหาความขัดแย้งใดได้

นันท์นภัส วิกุล PhD นครราชสีมา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 25 กันยายน 2554

การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว

ไม่ว่าจะทำการสิ่งใดให้ประสบผลดี มีความสำเร็จ เริ่มด้วยการวางแผนที่ดี การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

การเพาะปลูก ก็ต้องเริ่มวางแผนจะปลูกอะไร มีการเตรียมดิน เมล็ด อาหารของพืช เช่นเดียวกับ การพัฒนาคนต้องเริ่มจากการพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ แรกเกิดถึง 7 ปี หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่

การเก็บเกี่ยว เมื่อเริ่มพัฒนาคนตั้งแต่ระดับปฐมวัย อย่างสมดุลและเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ถ้ามีการวางรากฐานที่ดี เด็กจะเจริญเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาทุกๆ ด้านต่อไป เช่นเดียวกับการเก็บเกี่ยว เมื่อพืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ก็สามารถให้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้าน ปัจจัยต่างๆ มากมาย เช่น ปัจจัยพื้นฐานสำหรับมนุษย์ อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ร่มเงา ตลอดจนด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น

นันท์นภัส วิกุล PhD นครราชสีมา

ชุติกาญจน์ ถาวรบัณฑิต

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ส่งงาน การปลูกและเก็บเกี่ยวมนุษย์

โดย นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ จังหวัดเลย

การปลูกมนุษย์ด้วยคุณธรรม

ขงจื๊อสอนว่าการปลูกพืชใด ๆ ไม่เสมอด้วยการปลูกคน การลงทุนใด ๆ ไม่อาจได้รับผลเสมอด้วยการลงทุนในคน ได้เจอบทความเรื่องหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่พวกเราศึกษาปริญญาเอกกำลังศึกษาอยู่จึงได้นำบทความนี้มานำเสนอให้เพื่อน ๆ ได้อ่านด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นในดินแดนที่เรียกว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน

สมัยนั้นมีชายผู้ชาญฉลาดคนหนึ่ง เป็นบุตรของอัครมหาเศรษฐีแห่งแคว้นเจ้า กำเนิดในตระกูลหลี่ มีนามว่า หลี่ปู้เหว่ย มีอาชีพค้าขายระหว่างเมือง

ด้วยอาชีพเช่นนั้น หลี่ปู้เหว่ยหรือบางครั้งก็เรียกว่าคุณชายหลี่จึงมีมิตรสหายตามเมืองต่าง ๆ มากมาย ทั้งขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชน แม้กระทั่งโจรผู้ร้ายและพวกมิจฉาชีพต่าง ๆ รวมทั้งสถานบันเทิงเริงรมย์สำหรับใช้ในการเปรอปรนผู้คนที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้คุณชายหลี่รู้เรื่องราวความเป็นไปในแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นอย่างดี

ครั้งนั้นแคว้นเจ้าเรืองอำนาจเหนือกว่าแคว้นอื่นๆ แต่ละแคว้นต้องส่งเจ้าชายหรือทายาทของเจ้าแคว้นมาเป็นตัวประกันที่เมืองเจ้า ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในยุคนั้น เพื่อป้องกันแคว้นอื่นๆ มิให้ก่อการกบฏ และต้องปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ ของแคว้นใหญ่ที่เป็นเจ้าประกันนั้น

หลี่ปู้เหว่ยได้ทราบศักยภาพของแคว้นจิ๋นเป็นอย่างดีว่ามีดินแดนกว้างใหญ่ อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีฐานะและโอกาสที่จะเป็นแคว้นมหาอำนาจเหนือแคว้นอื่น ๆ ได้ แต่ครานั้นแคว้นจิ๋นอ่อนแอ เจ้าผู้ครองแคว้นจิ๋นจึงต้องส่งรัชทายาทมาเป็นตัวประกันที่แคว้นเจ้า

หลี่ปู้เหว่ยคิดแผนการล้ำลึกยาวไกล เป็นแผนการลงทุนในคน ลงทุนปลูกคนให้เป็นพระจักรพรรดิ ซึ่งต้องลงทุนมหาศาล ดังนั้นคุณชายหลี่จึงนำความไปปรึกษาหารือกับอัครมหาเศรษฐีผู้เป็นบิดา ซึ่งเรืองปัญญา มีความรู้และประสบการณ์กว้างขวางมากกว่าพ่อค้าคนใดในแคว้นนั้น

หลี่ผู้ลูกถามบิดาว่า การลงทุนทำเกษตรกรรม จะได้รับผลตอบแทนกี่เท่า

ผู้เป็นบิดาตอบว่า การลงทุนทำเกษตรกรรมนั้น ถ้าฝนฟ้าดี ไม่มีศัตรูพืชเบียดเบียน และมีราคาผลผลิตดี ก็จะได้ผลตอบแทนถึง ๕ เท่า

คุณชายหลี่ถามต่อไปว่า ถ้าลงทุนทำการค้า จะได้กำไรที่เท่า

ผู้เฒ่าหลี่ตอบว่า ถ้าซื้อง่าย ขายคล่อง ไม่มีโจรผู้ร้ายเบียดเบียน จะได้ผลกำไร ๑๐ เท่า

หลี่ผู้ลูกถามต่ออีกว่า ถ้าลงทุนปลูกคนให้เป็นฮ่องเต้ จะได้ผลกี่เท่า

ผู้บิดาตอบว่า จะได้ผลตอบแทนสถานใดสถานหนึ่งในสองสถาน คือ

สถานแรก ถ้าการลงทุนประสพความสำเร็จ จะได้ผลตอบแทนนับเท่าไม่ถ้วน มีอำนาจวาสนาและเสพสุขมิสิ้นเลย

สถานที่สอง ถ้าการลงทุนล้มเหลวก็จะสิ้นเนื้อประดาตัว และอาจถูกประหารชีวิต หรือถูกจองจำ ริบทรัพย์สินเป็นของแผ่นดิน มีความทุกข์ทรมานไปจนสิ้นชีวิต

หลี่ปู้เหว่ยจึงเล่าแผนการให้บิดาฟังว่าจะลงทุนในคน ๆ หนึ่งคือเจ้าชายแห่งแคว้นจิ๋น และจะปลูกฝังจัดการให้พ้นจากการเป็นตัวประกันของแคว้นเจ้า แล้วกลับคืนสู่แคว้นจิ๋น จากนั้นจะทำนุบำรุงให้มีอำนาจวาสนาเป็นรัชทายาท และเป็นอ๋องแห่งแคว้นจิ๋นสืบแทนพระราชบิดา

แต่หลี่น้อยเจ้าความคิดได้ปกปิดบิดาตนในความสำคัญประการหนึ่งว่า นางรำผู้เลอโฉมแห่งแคว้นเจ้าซึ่งเป็นภริยาลับของตนนั้นกำลังเริ่มตั้งครรภ์อ่อนๆ แต่เชื่อในบุญวาสนาตัวว่าเด็กในครรภ์นั้นจะเป็นผู้ชาย

หลี่ปู้เหว่ยวางแผนลับอีกชั้นหนึ่งคือจะหาทางยกภริยาลับนั้นให้เป็นภริยาของเจ้าชายแห่งแคว้นจิ๋น เมื่อใดที่เจ้าชายได้เป็นอ๋องแห่งจิ๋น เด็กติดครรภ์มารดานั้นก็จะได้เป็นราชบุตร มีโอกาสได้เสวยสิริราชสมบัติในกาลข้างหน้า

หลี่ผู้บิดาได้ฟังแผนการอันล้ำลึกของบุตรเจ้าปัญญาแล้ว แม้มิทราบความนัยเรื่องเด็กติดครรภ์มารดา แต่ก็เห็นว่าเป็นแผนการลงทุนที่ล้ำเลิศ มีความเป็นไปได้ ไร้ช่องโหว่ จะได้ผลเกินคณานับ

ดังนั้นสองพ่อลูกจึงเห็นพ้องต้องกันในแผนการลงทุนพิสดารนี้ ตกลงกันว่าจะทุ่มเททรัพย์สมบัติของตระกูลหลี่ทั้งหมดไปในการลงทุนครั้งนี้

แผนการดังกล่าวนั้นจึงเคลื่อนตัวไปสู่การปฏิบัติอย่างรัดกุม

หลี่ปู้เหว่ยได้ยกนางงามสะคราญตากว่าใครในแผ่นดินให้เป็นภริยาของเจ้าชายผู้ว้าเหว่เอกา

จากนั้นก็วิ่งเต้นอำมาตย์และขุนนางต่าง ๆ ช่วยเหลือจนเจ้าชายพ้นจากฐานะตัวประกันแล้วเดินทางกลับแคว้นจิ๋น

และด้วยการทุ่มเทช่วยเหลือวิ่งเต้นทั้งฝ่ายใน ฝ่ายหน้า ในราชสำนักจิ๋นของหลี่ปู้เหว่ย ในที่สุดเจ้าชายก็ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทแห่งแคว้นจิ๋น

ตำแหน่งรัชทายาทที่เกิดขึ้นตามแผนการลงทุนอันล้ำลึกลี้ลับของหลี่ปู้เหว่ย เมื่อบรรลุแผนการขั้นใหญ่ที่เจ้าชายได้รับสถาปนาเป็นองค์รัชทายาทแล้ว จึงส่งผลให้อ๋องจิ๋นอายุสั้นกว่าเวลาอันควร พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ

แผ่นดินมิอาจว่างกษัตริย์ องค์รัชทายาทได้เข้าพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นอ๋องแห่งแคว้นจิ๋นสืบแทนพระราชบิดา

อ๋องจิ๋นพระองค์ใหม่ได้ทรงแต่งตั้งให้หลี่ปู้เหว่ยเป็นอัครมหาเสนาบดี รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งการข้างในราชสำนักและการนอกราชสำนักทั้งปวง

ด้วยเงินทุนมหาศาล ด้วยพวกพ้องที่มากมายแต่เดิมมา บวกกับเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกด้าน และกว้างไกลไปในแคว้นต่างๆ ดังนั้นเมื่อคุณชายหลี่เจ้าปัญญาได้เข้าถืออำนาจรัฐแล้ว มหาอำมาตย์ หลี่จึงดุจดังพยัคฆ์ติดปีก มีฤทธานุภาพทั้งบนดินและบนฟ้า ครอบคลุมทั้งราชอาณาจักรจิ๋น ทั้งแผ่นดินจะดูเหมือนว่าอัครมหาเสนาบดีเป็นรองก็แต่อ๋องจิ๋นพระองค์เดียวเท่านั้น

เมื่อได้ครองราชย์แล้ว อ๋องจิ๋นพระองค์ใหม่ได้โปรดให้แต่งคณะทูตไปรับนางรำผู้เป็นภริยาแต่ครั้งยามยากจากแคว้นเจ้ากลับแคว้นจิ๋น เพื่อจะสถาปนาเป็นพระราชินีเคียงคู่ราชบัลลังก์แคว้นจิ๋นต่อไป

ระหว่างเดินทางมาแคว้นจิ๋น นางผู้มีครรภ์แก่ครบถ้วนทศมาศได้คลอดบุตรเป็นชาย และได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า อาเจิ้ง เป็นเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์มาก เวลาร้องเสียงดังก้องสนั่นประดุจเสียงฟ้า ส่อว่าจะมีอำนาจวาสนาเป็นใหญ่กว่าใครทั้งปวง

เมื่อเดินทางถึงแคว้นจิ๋นแล้ว อ๋องจิ๋นได้เสด็จออกไปรับถึงหน้าวัง จากนั้นก็สถาปนาภริยาผู้ยากขึ้นเป็นที่ฮองเฮาอัครมเหสี และสถาปนาอาเจิ้งเป็นรัชทายาท

อัครมหาเสนาบดีหลี่ปู้เหว่ยได้ทำนุบำรุงแคว้นจิ๋นจนมีความแข็งแกร่ง ทั้งการปกครอง การเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ ทั้งได้บำรุงอบรมบ่มเพาะรัชทายาทให้เจริญในศิลปศาสตร์ทั้งปวง

แผนการลงทุนปลูกคนของหลี่ปู้เหว่ยได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และให้ดอกออกผลสมดังที่ผู้เฒ่า หลี่ผู้บิดาได้บอกไว้ นั่นคือได้อำนาจวาสนาและความสุขที่เสพมิสิ้นเลย

แต่แผนการลับที่หลี่ปู้เหว่ยมิได้บอกแก่บิดาเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น และยังคงต้องดำเนินต่อไป ดังนั้นเมื่อเตรียมการทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมแล้ว แผนการขั้นสำคัญก็เกิดขึ้น นั่นคือการส่งวิญญาณของท่านอ๋องไปสู่สรวงสวรรค์ อ๋องจิ๋นได้เสด็จสวรรคตลงอีกองค์หนึ่ง

อาเจิ้งรัชทายาทผู้เยาว์ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์มังกรทองสืบแทนอ๋องจิ๋นผู้เป็นพระราชบิดาตามราชประเพณี แต่เพราะเหตุที่ยังทรงพระเยาว์ อ๋องผู้เยาว์จึงได้แต่งตั้งอัครมหาเสนาบดีหลี่ปู้เหว่ยเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ใช้พระราชอำนาจของอ๋องแห่งแคว้นจิ๋นอีกตำแหน่งหนึ่ง

หลี่ปู้เหว่ยได้บรรลุแผนการอันล้ำลึกลี้ลับอย่างสมบูรณ์ ใต้ผืนฟ้านี้จะเป็นรองก็แต่อ๋องจิ๋นพระองค์เดียว และยังเป็นผู้ใช้อำนาจแทนอ๋องจิ๋นอีกด้วย การลงทุนในคนและปลูกคนของหลี่ปู้เหว่ยให้ดอกผลยิ่งกว่าที่บิดาตนคาดหมายไว้มากมายนัก

อ๋องจิ๋นองค์ใหม่แม้วัยเยาว์ แต่ทรงเฉลียวฉลาดล้ำลึกดุจดังพญามังกรที่ยังไม่อาจสำแดงฤทธิ์ ก็รู้จักที่จะซ่อนเร้นงำประกาย

สามารถหลบอยู่ในหลืบทรายหรือในเปลือกหอยก็ได้ สามารถที่จะท่องไปในฟองคลื่นหรือกลีบเมฆก็ได้

อ๋องผู้เยาว์ทรงคบหามิตรสหาย ผู้มีสติปัญญา และผู้กล้าหาญจำนวนมาก ควบคู่กับการศึกษาวิทยาการทั้งปวง

ทรงศึกษาจนจบสิ้น เว้นแต่เพียงอย่างเดียวที่มิได้ถูกปลูกฝังบ่มเพาะไว้ในน้ำพระทัยคือธรรมะ

อ๋องน้อยเจริญวัยขึ้นเพียงใดก็ทรงขับเคี่ยวเกมอำนาจกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดินซึ่งกุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไว้แต่ผู้เดียว จนกระทั่งติดยึดอำนาจเพียงนั้น

วันแล้ววันเล่า กำลังอำนาจของอ๋องน้อยก็เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับ ในที่สุดด้วยพลังแห่งโลกนิติ และราชนิติ มหาอำมาตย์ก็ไม่อาจต้านทานได้ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินหลี่ปู้เหว่ยจึงต้องจำใจประกอบพิธีบรมราชาภิเษกให้อ๋องจิ๋นมีพระราชอำนาจเต็มตัว

อ๋องจิ๋นเมื่อเข้าพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ก็ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ ซึ่งเป็นพระจักรพรรดิที่มีชื่อเสียงโด่งดังเกริกไกรตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบันนี้

พระองค์ทรงขับเคี่ยวช่วงชิงอำนาจกับอัครมหาเสนาบดีหลี่ปู้เหว่ยต่อไป เพื่อช่วงชิงอำนาจบริหารจากมือของหลี่ปู้เหว่ยกลับมาเป็นของพระองค์แต่ผู้เดียว

ในที่สุดด้วยพระปรีชาสามารถ ด้วยความเข้มแข็งเด็ดขาด และด้วยพระราชอำนาจที่ทรงมี พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ก็สามารถกุมอำนาจได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้งการข้างราชสำนัก และการบริหารราชการแผ่นดิน จากนั้นจึงได้พระราชทานสุราพิษเป็นรางวัลแก่อัครมหาเสนาบดี

หลี่ปู้เหว่ยเจ้าปัญญาจอมวางแผนที่ลี้ลับ ล้ำลึก จึงได้รับดอกผลของการลงทุนอันพิสดารนี้อีกสถานหนึ่ง ซึ่งบิดาได้บอกไว้แต่กาลก่อน นั่นคือต้องถูกประหารชีวิตด้วยยาพิษ

นั่นเพราะการลงทุนปลูกคนจนเป็นถึงพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดินจีน แต่การลงทุนนั้นกลับละเลยไม่ได้ปลูกฝังธรรมไว้กับใจคน คนจึงไม่พ้นสภาพจากคนสู่ความเป็นมนุษย์ หลี่ผู้ปราดเปรื่องจึงต้องรับโทษประหารด้วยประการฉะนี้

แม้ว่าพระจักรพรรดิมิได้ตั้งอยู่ในธรรม หากทรงใช้อำนาจเป็นธรรม แต่กระนั้นด้วยความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและเด็ดขาด ประกอบทั้งทรงมีสติปัญญาความสามารถสูงยิ่งนัก พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้จึงสามารถรวบรวมแคว้นต่าง ๆ ทั่วทั้งแผ่นดินจีนเข้าเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ จากนั้นก็ทรงปฏิวัติจีนอย่างทั่วด้าน มีผลงานทิ้งไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และรับเอาประโยชน์มากมายมหาศาล ยิ่งกว่าพระจักรพรรดิพระองค์ใดของแผ่นดินจีน

แต่ทว่า ความไร้ธรรมอำไพ นำไปสู่ความบรรลัยแน่นอนนั้น เป็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้ไม่แปรผัน ความบรรลัยค่อย ๆ กล้ำกรายเข้ามาในราชสำนักจิ๋นมากขึ้นทุกที

พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์หลายครั้ง แต่ทรงรอดปลอดภัย ทว่าอายุรัชกาลของพระองค์ก็สั้นยิ่งนัก พระองค์เสด็จสวรรคตโดยไม่ทันได้เห็นบรรลัยตามกฎสามัญของการขาดธรรม วิบากกรรมจึงตกมาถึงองค์รัชทายาทที่เพิ่งขึ้นครองราชย์

เนื่องเพราะพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ไม่ตั้งพระองค์อยู่ในธรรม ไม่ทรงถือธรรมเป็นใหญ่ พระองค์ทรงใช้แต่อำนาจเป็นประมาณ คนทั้งปวงที่เป็นขุนนางข้าราชการทั้งฝ่ายใน ฝ่ายหน้า จึงกลายเป็นคนไร้ธรรม และแสวงหาแต่อำนาจและประโยชน์

มหาขันทีผู้เจริญรอยอำมหิตและกระสันต์อำนาจได้วางแผนสังหารขุนนางที่เป็นหลักชัยแผ่นดินจนสิ้นสูญ แล้วก่อการกบฏ สังหารพระจักรพรรดิผู้เยาว์เสีย

ความบรรลัยยังไม่สิ้นสุด บรรดาขุนศึกหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินจีนไม่ยอมรับนับถือผู้กบฏ พากันแข็งเมือง ตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ แล้วต่อสู้กันจนเป็นสงครามกลางเมืองทั่วทั้งแผ่นดินเป็นเวลายาวนาน

สงครามทำลายทุกสิ่งในสงคราม คู่ศึกสงครามพากันล้มหายตายจากและล่มสลาย จนกระทั่งเหลือ ๒ เสือใหญ่แห่ง ๒ แคว้น คือฮั่นอ๋อง แห่งแคว้นฉู่ และฌ้ออ๋อง แห่งแคว้นฌ้อ แม้เหลือเพียงคู่ศึกคู่เดียว และแผ่นดินก็กว้างใหญ่ แต่ก็ไม่สามารถปรองดองกันได้ ๒ อ๋องยังคงทำศึกต่อกันอีกหลายครั้ง ฮั่นอ๋องปราชัยแก่ฌ้ออ๋องครั้งแล้วครั้งเล่านับได้ ๖ ครั้ง

ฟ้าย่อมเข้าข้างและอำนวยวาสนาแก่ผู้มีความพยายาม ฮั่นอ๋องได้เพียรพยายามต่อสู้อย่างไม่ลดละ ในที่สุดโชคก็เข้าข้าง ฮั่นอ๋องได้ ๓ ยอดคนมาช่วยทำการ

หนึ่งคือเตียวเหลียง เป็นยอดกุนซือ หนึ่งคือฮั่นสิน เป็นแม่ทัพใหญ่ อีกหนึ่งคือเซียวเหอ เป็นพลาธิการใหญ่

ในศึกสุดท้ายฮั่นอ๋องก็มีชัยต่อฌ้ออ๋อง พระเจ้าฌ้อปาอ๋องได้เชือดพระศอพระองค์เองและเสด็จสวรรคต ณ ริมฝั่งน้ำที่กองทัพล่าถอยไปติดอยู่ สงครามก็สิ้นสุดลง สันติภาพได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ฮั่นอ๋องหรือพระเจ้าเล่าปังก็คือบรรพบุรุษของเล่าปี่ จึงได้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นครองแผ่นดินจีนตั้งแต่บัดนั้นมา เฉลิมพระนามาภิไธยว่าพระเจ้าฮั่นโกโจ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น

ราชวงศ์ฮั่นปกครองแผ่นดินจีนต่อเนื่องมาเป็นเวลาสี่ร้อยกว่าปี เท่าๆ กับช่วงระยะเวลาของกรุงศรีอยุธยา มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาถึง ๔๔ พระองค์ และราชวงศ์ฮั่นก็ถึงกาลล่มสลาย

สิ้นสุดลงในมือของพระเจ้าเล่าเสี้ยน ผู้เป็นบุตรของพระเจ้าเล่าปี่ในยุคปลายสมัยสามก๊ก คือหลังจากที่มหาอุปราชจูกัดเหลียงขงเบ้งได้สิ้นบุญไปนานหลายปี

การปลูกคนให้ผลคุ้มค่ากว่าการลงทุนทั้งปวงก็จริงอยู่ แต่การลงทุนนั้นจะเป็นโทษภัยมหันต์ถ้าหากมิได้ปลูกฝังธรรมไว้ในใจคนด้วย ดังตัวอย่างที่พรรณนามานั่นแล

จากบทความข้างต้น ผู้ที่มีหน้าที่ปลูกมนุษย์คงต้องไตร่ตรองให้รอบคอบว่าควรลงทุนปลูกกับใครด้วยวิธีใด เพราะเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลจากปลูกการอาจไม่คุ้มค่าดังที่คิดและคาดหวังไว้ ดังเช่นปัจจุบันเรือนจำในอดีตที่ผ่านมาผู้ที่กระทำผิดย้อนหลังไปสัก 10 ปี พบว่าผู้ต้องขังส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีการศึกษาฐานะยากจน แต่เดี๋ยวนี้เรือนจำทุกแห่งมีสถิติผู้ต้องขังที่มีการศึกษาสูง ๆ มีฐานะทางสังคม และ มีอาชีพที่สังคมยอมรับแต่ยังทำผิดระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย เช่น หมอบางคน ฆ่าภรรยา นายธนาคารโกงเงินประชาชน รัฐมนตรีคอรัปชั่น สมาชิกวุฒิสภาถูกจับเพราะพากผู้เยาว์ พระถูกจับเพราะค้ายาบ้า มั่วสีกา

คนเหล่านี้ล้วนลงทุนปลูกด้วยทรัพย์จำนวนมาก แต่การปลูกมิได้ปลูกคุณธรรม จริยธรรมลงไปด้วย ทำให้โลกเราสับสนวุ่นวายถึงจะมีความเจริญรุ่งเรืองแต่ก็ยังยั่งยืน ดังนั้น ..... จึงอยากเชิญชวนให้เริ่มปลูกคุณธรรม จริยธรรม ให้กับตนเองก่อน และ เริ่มปลูกให้แก่คนรอบข้าง คนในองค์กร และคนในสังคมที่ตนเองรับผิดชอบ สังคมนี้คงน่าอยู่และมีความสุขนะคะ

นางวิภารณี แก้วใส

นางวิภารณี แก้วใส รหัส 53484931022 นศ.ป.เอก ศูนย์ภูเก็ต

ส่งการบ้าน

สรุปบทความ เรื่อง การมีส่วนร่วมของพนักงานสร้างได้อย่างไร (How to Cultivate Engaged Employees)

ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพหรือความสามารถของพนักงาน ดังนั้นการสร้างทีมงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง บริษัทจำนวนมากทั้งในอเมริกาและยุโรป ได้ละทิ้งรูปแบบการสั่งการจากเบื้องบนลงล่าง และรูปแบบการควบคุมต่างๆ

ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องมองว่าตนเองเป็นเสมือนตัวสลายปัญหา มากกว่าเป็นเพียงนักแก้ปัญหา

จากประสบการณ์ของผู้เขียน ได้นำเสนอความเห็นว่า ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานและบริหารคนเพื่อการสร้างความมีส่วนร่วมนั้นควรมีลักษณะดังนี้

1. มีความอ่อนน้อม ( Be Modest)

ภูมิปัญญาไทยกล่าวถึงความอ่อนน้อมว่า ขอให้ทำตัวเหมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดสมบูรณ์ รวงข้าวนั้นจะโค้งโน้มตัวลงต่ำ ส่วนรวงข้าวที่มีเมล็ดเน่าเสีย รวงข้าวจะชี้ขึ้นฟ้า เปรียบเสมือนคนที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ เหมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดสมบูรณ์ ส่วนคนไร้ประสิทธิภาพเปรียบเสมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดเน่าเสียไม่มีใครต้องการ ผู้บริหารที่มีความอ่อนน้อม ย่อมเป็นมูลเหตุจูงใจต่อการสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน

2. มีการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ และแสดงออกมาให้พนักงานเห็นว่าได้ตั้งใจฟังอย่างจริงจัง

( Listen Seriously – and show it) ผู้บริหารต้องละทิ้ง พฤติกรรม “พูดไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด” ซึ่งหมายถึง ฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อ หรือทำต่ออย่างผิดๆ พลาดๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายที่ร้ายแรงแก่องค์กร ดังนั้น นักบริหารต้องเป็นนักฟังที่ดีด้วย

3. ไม่มองข้ามความคิดเห็นที่แตกต่าง (Invite Disagreement) ความแตกต่างทางด้านความคิดของแต่พนักงานแต่ละคน (Individual Difference) เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งต่อการสร้างความมีส่วนร่วมขององค์กร

4. การประชุม (Focus the Agenda) ผู้บริหารต้องมีการประชุมบ่อยครั้ง เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นและแรงผลักดันกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการบริหารงานอีกทางหนึ่งด้วย และการประชุมก็ไม่ควรเป็นการประชุม “ตรายาง”เท่านั้น ผู้บริหารไม่ควรเอาความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ บังคับให้พนักงานทำตามความต้องการของตน ดังภูมิปัญญาไทยที่กล่าวว่า “อย่าข่มเขาโค ขืนให้กินหญ้า” หมายถึงผู้บริหารไม่ควรบังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามความคิดเห็นหรือความต้องการของตน

5. อย่าพยายามมีคำตอบให้กับทุกเรื่อง ( Don’t try to have all the question)

ผู้บริหารต้องเป็นตัวกระตุ้นชี้แนวทางให้พนักงานได้คิดค้นหาเหตุผล หาทางออกของปัญหา แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เป็นเสมือนการติดอาวุธทางปัญญาให้กับพนักงานของเรา ตามภูมิปัญญาไทยที่ว่า “ปัญญา สมาอาภา แปลว่า แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี”

6. อย่าคะยั้นคะยอว่าจะต้องตัดสินใจ ( Don’t Insist that A Decision Must Be Made)

การทำงานร่วมกัน อาจต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด การปล่อยเวลาไว้สักระยะหนึ่ง ฝากเป็นการบ้านให้พนักงานช่วยคิดหาทางแก้ไขปัญหา และร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งก่อให้เกิดความสำเร็จในหน่วยงานต่างๆมามากแล้ว

สรุป ผู้บริหารที่แท้จริง ต้องมองว่า ทุกปัญหามีทางออก ไม่ใช่ทุกทางออกเป็นปัญหาไปหมด ผู้บริหารที่ครองใจของพนักงานและสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรได้ต้อง เป็นผู้สลายปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ ต้องเป็นผู้ที่ทำให้ปัญหาใหญ่ กลายเป็นปัญหาเล็ก ทำให้ปัญหาเล็กกลายเป็นปัญหาจิ๊บจ๊อย และทำให้ปัญหาจิ๊บจ๊อย กลายเป็นปัญหาตลกขบขัน นั่นเอง

คำตอบข้อ 1 Engagement Leader คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003 จากเนื้อหาบทความเรื่อง Managing yourself “ HOW TO CULTIVATE ENGAGED EMPLOYEES”ที่เขียนโดย Charalambos A.Vlachoutscos จะเห็นถึงความมุ่งมั่นของการเป็นผู้นำ เพราะความสำเร็จของผู้จัดการหรือผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้นำจะต้องมีวิธีการดึงความสามารถของพนักงานแต่ละคนออกมาเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายร่วมกัน โดยควรจะต้องยุติการบริหารแบบ Top-Down แบบที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีหายแห่งที่ใช้ระบบการทำงานแบบ “นายสั่ง”อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในฐานะผู้นำจะต้องรู้จักคัดเลือกผลงาน และเลื่อนขั้นลูกจ้างในท้องถิ่นนั้นๆ เพราะงานของเจ้านาย คือ การทำให้ทุกคนมั่นใจและเกิดความรู้สึกพึ่งพากัน หรือที่เรียกว่า การร่วมแรงร่วมใจหรือความสามัคคี ความรู้ในบทความที่ Charalambos A.Vlachoutscos ผู้เขียนไว้ 6 หัวข้อหลักๆ ได้แก่ 1. จงอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ (Be Modest) กรณีศึกษาของบริษัทบรรจุปลากระป๋อง ที่ผู้บริหารแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทุกเรื่องในธุรกิจประเภทนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงมากเพียงใดก็ตาม แต่ในภาวะการเป็นผู้นำนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงบทบาทในฐานะผู้ให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้ ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ความรู้อย่างแท้จริงมากกว่า 2. ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา (Listen Seriously and Show it ) ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจในการฟังอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะในที่ประชุม ทั้งนี้ในการฟังนั้นหากมีการจดบันทึกไว้ ก็จะต้องนำเสนอภายใหลังอย่างเป็นระเบียบ และระบบ 3. ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา( Invite Disagreement) นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้นำ เมื่อต้องการให้วัฒนธรรมองค์กรเปิดกว้าง ผู้ใต้บังคับบัญชากล้าแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนปัญหา แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับผู้นำ ในการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะมีลูกทีมไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตามการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย แล้วนำมาปรับ โดยเริ่มจากตัวเอง พร้อมพูดคุยกับเพื่อให้ได้คำแนะนำจากลูกทีม ซึ่งในเวลาต่อผู้นำจะได้รับความร่วมมือขากผู้ใต้บัญคับบัญชามากขึ้น 4. จัดระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง( Focus the Agenda ) หลายครั้งในการประชุมไม่ว่าจะเป็นวงใดก็ตาม มักจะมีเรื่องเกี่ยวกับไม่ได้มีการเตรียมการประชุม จึงส่งผลที่ทำให้การประชุมล้มเหลว เพราะลืม หรือข้ามประเด็นไป ส่งผลให้การประชุมไม่สมบูรณ์ตามเป้าหมายในแต่ละครั้ง และที่สำคัญทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าระหว่างการประชุมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เสียเวลาต่อเรื่องอื่นๆที่จะต้องทำต่อไป ดังนั้นการจัดระเบียบวาระ นับเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การประชุมเป็นไปตามเป้า ไม่หลุดประเด็น และอยู่ในเวลา 5. อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่าง( Don’t Try to Have All the Answers) ผู้บริหารไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง กษะของผู้บริหารนั้นมีความคัญมาก เพียงกระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาจะดีกว่า และสิ่งที่ต้องยอมรับคือ เราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม 6. อย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง( Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ควรจะร่วมกันหาแนวทางได้อย่างชัดเจน ระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ก่อนจะที่จะได้ข้อสรุป ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายไม่สูญเสียความตั้งใจ อย่างไรก็ตาม “ผู้นำ” ในกระบวนคิดของ ดร.จีระฯ มีรูปแบบหลายๆ อย่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียว โดยสามารถศึกษาดูได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป และ ภาวะผู้นำ จำเป็นทุกๆ ระดับ ไม่ใช่เน้นเฉพาะหัวหน้าเท่านั้น ลูกน้องก็จะต้องถูกสร้างให้มีภาวะผู้นำ ทั้งนี้ภาวะผู้นำจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของ “ทุนมนุษย์ 8 K’s และ 5 K’” ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติจะต้องมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วยReality มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น ทุนทางจริยธรรม ด้วยหลักการง่ายๆ คนที่เป็นผู้นำจะต้องเป็นคนดี มีใจเป็นธรรม มีความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดลงไปยังลูกน้อง ทุนนวัตกรรม มุ่งเน้นให้เกิดการคิดนอกกรอบ มุ่งหาความรู้ รูปแบบความรู้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ใช่ที่ที่คุ้นเคย ที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง... ต่อเนื่อง... และต่อเนื่อง... ความเหมือนและความแตกต่างกันในเรื่องการเป็นผู้นำระหว่าง Charalambos A.Vlachoutscos และดร.จีระฯ อยู่ที่จุดเน้นของแนวคิด(ชื่อหัวข้อแตกต่าง)แต่ผลปฎิบัติคล้ายกันเนื่องจาก ทั้ง 2 ท่านมีประสบการณ์การทำงานมานานเช่นกันซึ่งสามารถยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปได้ ดังนี้: ทุนทางปัญญา( Intellectual Capital) ของ ดร.จิระฯ หมายถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็น และนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่มาของข้อมูล ดร.จีระฯมักจะพูดเสมอว่า ข้อมูลจะต้องเพิ่มมูลค่าเป็นข่าวสาร จากนั้นเป็นความรู้ และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม คือนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา การค้นคิดสิ่งแปลกใหม่ซึ่งรวมการรับฟังความคิดเห็นด้วย ฯลฯ ในขณะที่ Charalambos เห็นว่า ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา คือการฟังความคิดเห็นจากลูกน้องจะได้ข้อมูลใหม่ใหม่ๆ ไม่ใช่การสั่งจากผู้นำเพียงอย่างเดียว ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา นั่นถือเป็นการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นแล้วนำมาวิเคราะห์ เป็นหลักการประชาธิปไตย ส่วนเน้นระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง ถือเป็นการเตรียมการในการวางแผนที่จะพูด คือต้องมีประเด็น มีวาระ ทั้งนี้อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่างเพราะผุ้คัดค้านอาจจะมีข้อมูล ที่ดี หรือมีข้อยุติใหม่ๆ คล้ายกับผู้นำอย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง เพราะต้องรับฟัง และวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ทุนทางจริยธรรมและทุนทางสังคม( Ethical and Social Capital) ดร.จิระฯให้ความเห็นในการทำงานของผู้นำที่มีคุณภาพคงไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะและปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม จะต้องมองผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และต้องทำไม่ให้เกิดขึ้น หรือน้อยที่สุดโดยไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ในการกระทำของผู้นำเกี่ยวเนื่องกับงานใหม่ หรือโครงการอะไรก็ตาม การเข้าไปขอคำปรึกษาจากหลายๆส่วนรอบด้านจะช่วยให้กระบวนการทำงานไม่ยากเกิน ไปนัก รวมทั้งการสร้างNetworking ซึ่ง Charalambos เห็นว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ จัดเป็น Engagement Leader ละเลยไม่ได้เช่นกัน ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital) เรื่องนี้ Charalambos ไม่มี ดร.จิระฯ ให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างน่าประทับใจและเป็นจริง “ ….การทำงานนั้นผมให้ความสำคัญที่ความสุข เมื่อมีความสุขงานที่ออกมาก็จะได้ประสิทธิภาพที่ดี” โดยเฉพาะ Modelของดร.จิระฯ“กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข” 11 ประการ(ดูแลสุขภาพทั้งใจกาย ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน มีความสามารถที่ที่จะทำให้งานสำเร็จ เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานเป็นทีม ทำหน้าที่เป็นโคชให้กับทีมงานและลูกทีม ทำงานที่ท้าทาย ทำงานที่มีคุณค่า)ซึ่งตรงกับดิฉันที่ใช้แนวคิดนี้ปฎิบัติตั้งแต่ปฎิบัติงาน ที่หน่วยงานที่ชื่อว่า “กรุงเทพมหานคร”มาเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว แต่การมุ่งมั่นในการสร้างทุนแห่งความสุขในการทำงานทุกตำแหน่งหน้าที่มากเกิน ไปจนลืมให้เวลาความสุขที่บ้านบ้างย่อมมีปัญหาบ้างเป็นธรรมดา จึงต้องยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือ “ทางสายกลาง” ซึ่งสอดคล้องกับทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainable Capital) ตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ท่าน เน้น: เดินสายกลาง คิดเป็นระบบ มีภูมิคุ้มกัน

นางวิภารณี แก้วใส

นางวิภารณี แก้วใส รหัส 53484931022 นศ.ป.เอก ศูนย์ภูเก็ต

ส่งการบ้าน

สรุปบทความ เรื่อง การมีส่วนร่วมของพนักงานสร้างได้อย่างไร (How to Cultivate Engaged Employees)

ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพหรือความสามารถของพนักงาน ดังนั้นการสร้างทีมงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง บริษัทจำนวนมากทั้งในอเมริกาและยุโรป ได้ละทิ้งรูปแบบการสั่งการจากเบื้องบนลงล่าง และรูปแบบการควบคุมต่างๆ

ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องมองว่าตนเองเป็นเสมือนตัวสลายปัญหา มากกว่าเป็นเพียงนักแก้ปัญหา

จากประสบการณ์ของผู้เขียน ได้นำเสนอความเห็นว่า ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานและบริหารคนเพื่อการสร้างความมีส่วนร่วมนั้นควรมีลักษณะดังนี้

1. มีความอ่อนน้อม ( Be Modest)

ภูมิปัญญาไทยกล่าวถึงความอ่อนน้อมว่า ขอให้ทำตัวเหมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดสมบูรณ์ รวงข้าวนั้นจะโค้งโน้มตัวลงต่ำ ส่วนรวงข้าวที่มีเมล็ดเน่าเสีย รวงข้าวจะชี้ขึ้นฟ้า เปรียบเสมือนคนที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ เหมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดสมบูรณ์ ส่วนคนไร้ประสิทธิภาพเปรียบเสมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดเน่าเสียไม่มีใครต้องการ ผู้บริหารที่มีความอ่อนน้อม ย่อมเป็นมูลเหตุจูงใจต่อการสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน

2. มีการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ และแสดงออกมาให้พนักงานเห็นว่าได้ตั้งใจฟังอย่างจริงจัง

( Listen Seriously – and show it) ผู้บริหารต้องละทิ้ง พฤติกรรม “พูดไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด” ซึ่งหมายถึง ฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อ หรือทำต่ออย่างผิดๆ พลาดๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายที่ร้ายแรงแก่องค์กร ดังนั้น นักบริหารต้องเป็นนักฟังที่ดีด้วย

3. ไม่มองข้ามความคิดเห็นที่แตกต่าง (Invite Disagreement) ความแตกต่างทางด้านความคิดของแต่พนักงานแต่ละคน (Individual Difference) เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งต่อการสร้างความมีส่วนร่วมขององค์กร

4. การประชุม (Focus the Agenda) ผู้บริหารต้องมีการประชุมบ่อยครั้ง เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นและแรงผลักดันกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการบริหารงานอีกทางหนึ่งด้วย และการประชุมก็ไม่ควรเป็นการประชุม “ตรายาง”เท่านั้น ผู้บริหารไม่ควรเอาความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ บังคับให้พนักงานทำตามความต้องการของตน ดังภูมิปัญญาไทยที่กล่าวว่า “อย่าข่มเขาโค ขืนให้กินหญ้า” หมายถึงผู้บริหารไม่ควรบังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามความคิดเห็นหรือความต้องการของตน

5. อย่าพยายามมีคำตอบให้กับทุกเรื่อง ( Don’t try to have all the question)

ผู้บริหารต้องเป็นตัวกระตุ้นชี้แนวทางให้พนักงานได้คิดค้นหาเหตุผล หาทางออกของปัญหา แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เป็นเสมือนการติดอาวุธทางปัญญาให้กับพนักงานของเรา ตามภูมิปัญญาไทยที่ว่า “ปัญญา สมาอาภา แปลว่า แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี”

6. อย่าคะยั้นคะยอว่าจะต้องตัดสินใจ ( Don’t Insist that A Decision Must Be Made)

การทำงานร่วมกัน อาจต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด การปล่อยเวลาไว้สักระยะหนึ่ง ฝากเป็นการบ้านให้พนักงานช่วยคิดหาทางแก้ไขปัญหา และร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งก่อให้เกิดความสำเร็จในหน่วยงานต่างๆมามากแล้ว

สรุป ผู้บริหารที่แท้จริง ต้องมองว่า ทุกปัญหามีทางออก ไม่ใช่ทุกทางออกเป็นปัญหาไปหมด ผู้บริหารที่ครองใจของพนักงานและสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรได้ต้อง เป็นผู้สลายปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ ต้องเป็นผู้ที่ทำให้ปัญหาใหญ่ กลายเป็นปัญหาเล็ก ทำให้ปัญหาเล็กกลายเป็นปัญหาจิ๊บจ๊อย และทำให้ปัญหาจิ๊บจ๊อย กลายเป็นปัญหาตลกขบขัน นั่นเอง

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง รหัสนักศึกษา 53484931013 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

Review:

Regard the good fortune of Thai child , at the United Nations Organization which , be world-class institute , get foresee the importance of child Thai future , at day by day will extremely meet with many a lot of all format problems , neither will harmful from the nature that a child or , adult , can not can avoid , or , a danger from all-round social that those baby no is person before , except , be a problem that happen from a person round a side , all-round social will fully can injure the baby every second the life.

I think , if , every part part has been united , help solve give with the small children seriously , not pretend present the project for solve a problem to give with a child and the youth but , behind get back to make a huge scoop the gain adds the self and the friends , because , if , an adult in Thai social still is such , I [ hair ] believes in sure that , , of Thailand future will not only go backwards down the channel , but , have no although , a chance will open one's eyes to see the world , because , Thai child who is National future , get touch [ cheap ] destroy down already completely zero community education that is of good quality then is numr one good choice and interesting very much , for all remedy of these baby.

จากบทความนี้ ถือว่า นับเป็นความโชคดีของเด็กไทย ที่องค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของอนาคตเด็กไทย ที่นับวันจะยิ่งประสบกับปัญหาต่างๆมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติที่เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือภัยจากสังคมรอบตัวที่เด็กน้อยเหล่านั้นไม่ได้เป็นผู้ก่อน หากแต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากบุคคลรอบด้าน สังคมรอบตัวที่พร้อมจะทำร้ายเด็กน้อยได้ทุกวินาทีชีวิต

บทวิเคราะห์

หากทุกภาคส่วนได้หันหน้าเข้าหากัน ร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหาให้กับเด็กๆอย่างจริงจัง มิใช่แกล้งทำเสนอโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับเด็กและเยาวชนแต่เบื้องหลังกลับกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้อง เพราะหากผู้ใหญ่ในสังคมไทยยังเป็นเช่นนี้ เชื่อแน่ว่า อนาคตของไทยมิใช่แค่จะถอยหลังลงคลอง แต่จะไม่มีแม้โอกาสจะลืมตาดูโลก เพราะเด็กไทยผู้ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ได้ถูกทำลายลงแล้วอย่างสิ้นเชิง ศูนย์การเรียนชุมชนที่มีคุณภาพจึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีและน่าสนใจอย่างยิ่ง สำหรับการแก้ปัญหาต่างๆของเด็กน้อยเหล่านี้

ถ้าเปรียบเทียบ IC ของ Steward 8K’s อาจารย์จีระ และ 8H’s ของคุณหญิงทิพาวดี ซึ่งล้วนเป็นแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่มองจากแง่มุมที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าแต่ละท่านมีพื้นฐานทางสังคม และการดำเนินชีวิตที่ต่างกัน 8K’s อาจารย์จีระ และ 8H’s คุณหญิงทิพาวดี จะมีแนวคิดเป็นฝั่งตะวันออก ซึ่งมองถึงภายใน ความเป็นตัวตน และคุณค่าของมนุษย์ (Humanistic) ในขณะที่ Steward นั้นมีแนวคิดทางฝั่งตะวันตก ซึ่งมองถึงภายนอก วัตถุต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างมีเหตุผลและพิสูจน์ได้ (Sciencetific) อันจะนำไปสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม และถ้าหากจะให้พิเคราะห์ดูว่า แนวคิดแบบไหนจะดีกว่ากัน สำหรับตัวผมเองก็ต้องบอกว่าทางฝั่งตะวันออก ของอาจารย์จีระ และคุณหญิงทิพาวดี คงจะดีกว่า เพราะผมก็เป็นคนทางฝั่งนี้ มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบตะวันออก ชอบการพัฒนาคุณภาพรากเหง้าชีวิตตนเองที่มีทั้งทุนทางปัญญา สุขภาพ จริยธรรม วัฒนธรรม ความปรองดองทางสังคม มีความสุขอย่างพอเพียงและยั่งยืน มากกว่าที่จะถูกมองเป็นเพียงวัตถุหนึ่ง(Human Cap.) ของการพัฒนาองค์ประกอบ 3 อย่าง ทางฝั่งตะวันตก ของ Steward แต่อย่างไรก็ตามความเหมาะสมที่สุดน่าจะเกิดขึ้นได้ จากการนำแนวคิดต่าง ๆ มาปรับใช้การดำเนินชีวิตของตนเอง สภาพและโครงสร้างของหน่วยงาน และภาวะแวดล้อมที่ดำเนินอยู่

สำหรับประเด็นเรื่องของทุนของกระทรวงศึกษาธิการ นั้น ผมเองมีความเห็นว่า ที่เราได้ดำเนินการมาแล้วหลายปี (แผนพัฒนาฯ 1-8) เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นไปตามแนวคิดของตะวันตก มีการพัฒนาวัตถุต่าง ๆ เช่น มนุษย์(เฉพาะลักษณะ และสิ่งจำเป็นในการทำงาน) โครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ ของผู้มีส่วนได้/เสีย ซึ่งทำให้กระทรวงศึกษาธิการ มีปัจจัยเหล่านี้ค่อนข้างพร้อม ถึงบางครั้งมากเกินความจำเป็น เป็นระบบที่อ้วน หนา เทอะทะ การดำเนินงานก็ยังได้ผลไม่ดีนัก บุคคลากรมุ่งสู่วัตถุนิยม พวกพ้อง และอำนาจ ระบบการบริหารกระจุกตัวอยู่ตามขั้วต่าง ๆ แต่เมื่อเริ่มแผนฯ 9 เราเริ่มมองการพัฒนาเข้าไปในรากเหง้าความเป็นตัวตนของมนุษย์มากขึ้น การพัฒนาความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ ศีลธรรม จริยธรรม วัฒนาธรรม ฯลฯ ถูกนำมาเป็นประเด็นในการพิจารณากำหนดแผน ซึ่งน่าจะมีผลนำไปสู่ความยั่งยืนของสังคมต่อไป

อย่าลืมว่าองค์ประกอบหลักทั้ง ๔ ด้านมีบทบาทและยึดโยงให้เกิดทุนทางสังคม เช่น

- คน มีบทบาทหลักในการพัฒนาประเทศ ที่ต้องได้รับการพัฒนาในทุกมิติทั้งด้านสุขภาพ ที่มุ่งให้คนมีร่างกายแข็งแรงสามารถดูแลตนเองได้ ด้านจิตใจ ให้เป็นคนที่มีจิตใจดี มีน้ำใจ เอื้ออาทร เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม และรักชาติ ด้านสติปัญญา ให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

- สถาบัน มีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดพลังร่วมของคนในชุมชน/สังคม และการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยสถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานในสังคมที่หล่อหลอมคนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม สถาบันศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจของคนในสังคม กล่อมเกลาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดี

- สถาบันการเมืองการปกครอง ทำหน้าที่กำกับ ดูแลให้สังคมอยู่ในระเบียบแบบแผนและให้คนในสังคมปฏิบัติตามกฏระเบียบที่กำหนดร่วมกัน สถาบันการศึกษา เป็นแหล่งสร้างความรู้ทางวิชาการควบคู่กับการพัฒนาให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมแก่คนในสังคม ภาคธุรกิจเอกชน ใช้หลักบรรษัทภิบาลในการดำเนินธุรกิจที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมซึ่งเป็นทุนทางสังคมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมหาศาล และสื่อ เป็นสถาบันที่สามารถชี้นำและมีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรม ค่านิยมของคนในสังคมในวงกว้าง

- วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมายาวนานและเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ โดยอยู่ในรูปของความเชื่อ ความศรัทธา จารีตประเพณีที่ดีงาม ค่านิยม ความเป็นไทย นอกจากนี้ ยังมีในรูปของแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ฯลฯ วัฒนธรรมเป็นตัวยึดโยงคนในสังคมให้ตระหนักถึงรากเหง้าของตนเอง เกิดความหวงแหน ภูมิใจที่จะรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาและต่อยอด เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ

- องค์ความรู้ ประกอบด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ โดย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นศาสตร์และศิลป์ของการดำเนินชีวิตที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นฐานคิดและหลักเกณฑ์การกำหนดคุณค่าและจริยธรรมที่มีการสั่งสมสืบทอดกันมายาวนาน ทำให้เกิดความหลากหลายของความรู้ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้และสร้างสมดุลในการอยู่ร่วมกันของคนและธรรมชาติ

ส่วนความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้ มีความหลากหลาย ปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ เช่น ความต้องการของตลาด การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้อย่างเหมาะสม เป็นต้น

นายราวี ซามี นายราวี ซามี รหัสนักศึกษา 534849310030

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

The Unisafe helps children education 3 children

in the south :

Wander the blessing at permanent undersecretary of an education officer ministry . She disclose that , Mr. Katrin Lmnof. The faction education boss funds office for the United Nations child or UNICEF. He get meet and consult cooperate the self for accompany with the development manages to study in refugee camp. And UNICEF way takes an interest to give the assistance to child group has no chance . So , the Ministry of Education will cooperate with UNICEF manages to study for the people. Neither will the administration studies for edge boy , a child has no chance , be in poor , and effective child affects every a kind , such as , the cause encounters danger natural Tsunami disaster. A child who receive a problem from violence problem in 3 provinces borderland South areas.

In order that , the self will assign an office administrates the non-formal education the Department of Non-Formal Education is entering help analyse in quality administration guarantee studies in education community center. The format for develop center these learning has standard quality more and more.

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า นาย Katrin Imnof หัวหน้าฝ่ายการศึกษา สำนักงานกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเซฟ ได้พบและหารือร่วมกับตน เพื่อร่วมกันพัฒนาการจัดการศึกษาในค่ายผู้อพยพ รวมทั้งทางยูนิเซฟสนใจให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเด็กด้อยโอกาส

ดังนั้น ทาง ศธ.จะร่วมมือกับยูนิเซฟจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กชายขอบ เด็กด้อยโอกาส อยู่ในสภาพยากไร้ และเด็กที่ได้ผลกระทบทุกประเภท เช่น กรณีประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติสึนามิ เด็กที่ได้รับปัญหาจากปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทั้งนี้ ตนจะมอบหมายให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เข้าไปช่วยวิเคราะห์ในการรับรองคุณภาพการจัดการศึกษาในรูปแบบศูนย์การศึกษาชุมชน เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เหล่านี้ให้มีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้น

จากบทความนี้เมื่อวิเคราะห์เทียบเคียง การเปรียบเทียบ IC ของ Stewart, 8K's และ 8H's Concepts ของ 8K's และ 8H's คล้ายคลึงกันโดยจะเน้นหรือให้น้ำหนักไปที่การพัฒนาคน ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญขององค์กร และประเทศชาติ ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่ในวัยเด็ก หรือตั้งแต่ที่บ้านกันเลย พัฒนาทั้งความรู้ ความสามารถ ความคิด จิตใจ และที่สำคัญต้องไม่ลืมความเป็นไทย เป็นทฤษฎีที่เหมาะสมกับคนไทยอย่างยิ่ง โดยสามารถเปรียบเทียบแต่ละข้อของทฤษฎีทั้ง 2 เข้าด้วยกันได้ดังนี้

8 H’s 8 K’s

Heritage Sustainable C.

Head Intellectual C.

Hand Talent C.

Heart Ethical C.

Home + Health Human C.

Happiness Happiness C.

Harmony Social C.

สำหรับ Digital C. ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ใน 8H's ไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจาก 8H's จะมองที่ตัวเองมากกว่า ส่วน 8K's จะมองกว้างไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาตนเอง ส่วน IC ของ Stewart ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.Human Capital 2.Structural Capital 3.Customer Capital เป็นทฤษฎีที่เน้นพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อการสร้างมูลค่าเพื่ม บรรลุผลในเชิงธุรกิจหรือขององค์กรมากกว่า ถือได้ว่า IC ของ Stewart เป็นส่วนหนึ่งของ Head ใน 8 H’s และ Intellectual C. ของ 8K's ข้อ 2. จะสร้างมูลค่าเพิ่มจาก IC ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้อย่างไร IC ของกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 3 ส่วน ถือได้ว่ามีอยู่มากมาย ทั้ง Human Capital Structural Capital และ Customer Capital เพียงแต่ไม่มีการจัดการที่เป็นระบบ การจัดการความรู้หรือ KM จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร นำความรู้ทางวิชาการที่บุคลากรมีมากอยู่แล้ว มาผนวกกับความรู้หรือปัญหา ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติ มาร่วมกันคิด ช่วยกันแก้ปัญหานั้น ๆ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ เกิดนวัตกรรมในด้านการศึกษา นำความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ๆ ไปถ่ายทอด แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันในองค์กร สร้างนวัตกรรม ต่อไป

แนวคิดและความสำคัญของทุนทางสังคมเป็นที่ยอมรับขององค์กรพัฒนาระหว่างประเทศต่าง ๆเช่น ธนาคารโลก องค์กรความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ต่างก็ตระหนักในคุณค่าของทุนทางสังคมว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนอันนำไปสู่ความผาสุกของคนในชาติ โดยเฉพาะ OECD พิจารณาว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดจากทุน4 ประเภท ได้แก่ ทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนมนุษย์และทุนทางสังคม ซึ่งจากการประเมินประสิทธิภาพของปัจจัยทั้ง 4 ทุนดังกล่าว พบว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเป็นผลมาจากปัจจัยด้านทุนมนุษย์และทุนทางสังคมถึง 4 ส่วน ขณะที่เกิดจากทุนทางกายภาพและทุนทางการเงินเพียง2 ส่วนเท่านั้น

สรุปการเรียนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2554 (ต้องทำใหม่ เพราะเมื่อวันที่ 25 ทำแล้วลืมกด

send เลย เพิ่งพบวันนี้เลยทำใหม่ค่ะ ต้องขอโทษอาจารย์ค่ะ) ครั้งนี้จึงตอบผนวกกับคำถามที่อาจารย์ให้ไว้ดังนี้:

15 ประเด็นที่ได้รับใหม่ในการเรียนครั้งนี้ และได้มาเพราะอะไร? แตกต่างกันอย่างไร ? และจะปรับพฤติกรรมของท่านได้อย่างไร? และจะอยู่ยั่งยืนได้อย่างไร?

 

15 ประเด็นใหม่

ได้มาเพราะอะไร?

แตกต่างอย่างไร ?

จะปรับพฤติกรรมท่านได้อย่างไร?

จะอยู่ยั่งยืนได้อย่างไร?

1. HR Architecture

เป็นโครงสร้างหลักของการพัฒนาทุนมนุษย์

มีความละเอียดทั้งในส่วน Supply และ Demand Side นำไปใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์ของประเทศได้ ซึ่งรัฐบาลนายกฯอภิสทธิ์ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก

จะต้องมองเชิงโครงสร้างของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างละเอียดให้รอบด้านเสมอ

ถูกนำไปประยกุต์ใช้อย่างเข้าใจ และควรจะเชิญดร.จีระฯในฐานเป็นเจ้าของทฤษฎีเป็นที่ปรึกษา

2.ทฤษฎี 3 วงกลม  

การจัดการบริหารทุกเรื่องของภาคเอกชนและรัฐมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกมากเมื่อวิสัยทัศน์ผู้หารชัดเจนการนำทฤษฎี3 วงกลมมาประยุกต์ใช้ในเนื้องานด้านทุนมนุษย์จึงมีความจำเป็นมาก

ทั้ง 3 วงมีประเด็นในการทำงานระดับปฏิบัติการอย่างละเอียด ครอบคลุมทุกด้านเพราะปกติหากพูดถึงการบริหารคนมักจะกล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ

การคิดร่วมกันเป็นเรื่องสำคัญ ความรู้ไม่ใช่เรื่องเดียวในการพิจารณาคน แต่จะต้องมีเรื่อง Skill เพิ่มเข้ามาด้วย รวมถึงเรื่อง Abilityจะต้องเกี่ยวข้อง เพื่อให้คนร่วมงานมีศักยภาพ

การวัดคุณภาพคนทำงานต้องประเมิณที่ถูกต้องวัดจากสัมฤทธิ์ผล ความสามารถในการทำงาน การทำงานที่มีความโปร่งใสไม่เลือกที่รักมักที่ชัง จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการวัดประสิทธิภาพคน

3.ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)

ทรัพยากรมนุษ์เป็นสิ่งที่องค์กรต้องลงทุน เพราะการแข่งขันโลกยุคนี้ไม่ได้วัดเพียงสินค้าหรือบริการที่ออกมา แต่ต้องวัดกันตั้งแต่ภายในองค์กรเลย

การลงทุนกับทุนมนุษย์จะต้องมีการเสียโอกาสวันนี้เพื่อให้ได้โอกาสในวันหน้าโดยมีทุนจริยธรรม ทุนทางปัญญาเป็นตัวเชื่อมสำคัญที่ทำให้เชื่อว่าการลงทุนมนุษย์จะได้ผลดี

มุ่งมั่นในความรวดเร็วในการพัฒนาทุกมนุษย์ทั้ง 8 ประการ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ไทยให้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเป็นกำลังแข่งขันในโลก

คนดี มีทัศนคติดีกว่าผู้อื่นทั้งต่อผู้ที่เหนือกว่า ด้อยกว่าและต่อลูกค้าของบริษัท และมีเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมด้วยทฤษฎีทุน 8 ประการ

4.ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5 K’s new)

โลกเพิ่มความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์จึงปรับเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมในตัวเราเอง

การได้อ่านหนังสือหนังสือดีๆ ได้ใช้อินเตอร์เน็ท พูดคุยกับคนเก่ง ปะทะคนเก่ง ทำงานกับชุมชนคือการช่วยเสริมทุนใหม่ 5 ประการ

มีการติดตามการสร้างเครือข่ายให้ได้ผลมากที่สุด มีทัศคติเป็นเชิงบวก ชอบความหลากหลายทางความคิด และวิถีชิวิตต่างๆ

มีIdeaใหม่ หรือมี Creativityกับความรู้ที่กว้างขวางขึ้น โดยทำนามธรรมดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมให้สำเร็จ

5.  ทฤษฎี 4 L’s

เมื่อเกิดมาจะต้องเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น การศึกษาต่อในครั้งนี้ก็เช่นกันได้เรียนรู้อย่างสนุกเพื่อนำมาสร้างสรรค์ต่อไป

กระบวนการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องยึด “รูปแบบ”เดิมๆ รูปแบบที่ดร.จีระฯเลือกใช้เป็นการเรียนรู้ที่ผู้สอนเปิดกว้างต่อการแลกเปลี่ยนทัศนะ

การใฝ่รู้อย่างไม่สิ้นสุดในรูปแบบที่เปิดกว้างรับฟังต่อทุกความคิดเห็น สร้างโอกาสที่เปิดกว้างให้กับตัวเองและทีมงาน

ภูมิปัญญาจากผู้รู้ ผู้เข้าใจ และผู้เชี่ยวชาญที่ได้จากทฤษฎีนี้ จะรู้ตัวไม่ใช่ปราชญ์ เป็นคนธรรมดาที่ทำตัวเป็นแก้วน้ำที่น้ำไม่เคยเต็มแก้วเสียที

6.ทฤษฎี 2 R’s

ปัญหาของสังคมและโลกคือการที่ไม่มองความจริง  ในทฤษฎีนี้ต้องมองวิเคราะห์ปัญหาเรียนรู้จากความจริงอย่างตรงประเด็น

ถือเป็นการวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง เพราะถ้าเริ่มในสิ่งที่ไม่ถูกต้องทุกอย่างจะคลาดเคลื่อนเช่นเรื่องราคาก๊าซ NGV,LPG

ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม การตัดสินใจทำงานต้องมีฐาน2 เรื่องนี้สำคัญคือความจริง ถูกกฎหมาย แม้ว่าจะทางการเมืองไม่เห็นด้วย

ความจริงที่ได้อย่างตรงไปตรงมาคือความยั่งยืนมากที่สุด

7.ทฤษฎี 2 I’s 

แรงบันดาลใจและจิตนาการถือเป็นการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน โดยเฉพาะในยุคการค้ามีการแข่งขันทางด้าน Creative Economy ทุกรูปแบบ

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยผสานความคิดสร้างสรรค์ของคน วิถีชีวิต วัฒนธรรม และเทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ และนำไปสู่การสร้างเงิน สร้างงานให้กับประเทศ

นำแรงบันดาลใจและจินตนาการบวกกับองค์ความรู้ที่ชุมชนมีอยู่ทางด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ผสมผสานกับงานรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะกระบวนการReuseจะเกิดสินค้าใหม่

การใช้ทฤษฎี 2 I’sเป็นฐานให้ประเทศไทยมีจุดแข็ง และมีศักยภาพในหลายอุตสาหกรรม เช่น บันเทิง ของขวัญ ของเล่น แฟชั่น ของใช้ในครัวเรือน ภัตตาคาร และการท่องเที่ยว เป็นต้น

8.ทฤษฎี C&E

การเรียนรู้-การทำงานยุคใหม่จะต้องมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดและเน้นการมีส่วนร่วม

เรื่องนี้มีความสำคัญภายในองค์กรมาก ถ้าองค์กรละเลยหรือจากประสทธิภาพจะมีปัญหาในการทำงานระหว่างพนักงานด้วยกัน

การมีส่วนร่วมในการทำงานได้ทำมาโดยตลอดเพราะถือว่าเป็นความสำคัญที่จะได้ความรู้จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแม้กระทั่งการแบ่งกลุ่มการทำงานในห้องเรียน ในกลุ่มทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมเช่นการนำสเนองานเป็นบทบาทของทุกคน แต่สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือมักลืมทำโทรศัพท์ มือถือหายขาดการติดต่อ

เมื่อการทำงานเน้นการมีส่วนร่วมและติดต่ออย่างใกล้ชิดแล้ว  การติดตามงานหลังจากนั้นจะทำให้คนทำงานได้ทำงานอย่างเข้าใจรู้ว่าปัญหาอะไร และมีที่ปรึกษาที่เป็นผู้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิด-ต่อเนื่อง

9.ทฤษฎี HRDS 

นอกจากทักษะในการทำงานที่จะต้องยอมรับความเก่งของแต่ละคนในการทำงานแล้ว ด้านจิตใจทฤษฎีดังกล่าวนี้ช่วยเรื่องด้านจิตใจได้มากเพื่อความสุขในการทำงานที่จะต้องมีการยอมรับ-ยกย่องเพื่อให้เกิดความสุข

การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีความสุขในการทำงาน

การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม การยอมรับนับถือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกันคือสิ่งที่ดำเนินการมาตลอดและมากขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพราะถือเป็นความจริงใจในการทำงานอีกรูปแบบหนึ่ง

ทฤษฎีดังกล่าวนี้จะเป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาทุนทุนมนุษย์ที่จะมีความยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาว

10.ทฤษฎี 3 L’s

การยอมรับความความจริงในการทำงานย่อมจะต้องยอมรับความเจ็บปวดหลากหลายเรื่อง เพื่อการแก้ไขเป้นกำลังในการทำงานต่อไป

พร้อมที่จะรับฟัง ใช้ประสบการณ์เข้ามาช่วยเหลือจากความเจ็บปวดในการทำความจริงคือสิ่งที่ทฤษฎีดังกล่าวให้ความสำคัญ

ในการทำงานเป็นข้าราชการกทม.ต้องรับใช้ประชาชนโดยเลือกวิธีการที่ให้ประโยชน์สูงสุดภายใต้กฎหมายที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งสามารถทำได้หลายเรื่อง แต่เมื่อเป็นงานที่นักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแม้การยืนหยัดในการทำถูกต้องตามกฎหมาย จิตบริสุทธิ์ กลับกลายกลายเป็นความเจ็บปวดที่ได้รับจากการทุ่มเทการทำงาน 

ความถูกต้องและถูกกฎหมายย่อมจะเป็นเรื่องที่มีความยั่งยืนสูงสุด ในการทำงาน

11.การทูตภาคประชาชน

การเชื่อมโยง ปะทะคนเก่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ที่จะสามารถเปิดโลกทัศน์ได้กว้างขึ้น อีกทั้งสามารถเป็นการทูตภาคประชาชนได้อย่างน่าสนใจ

เป็นความร่วมมือของนักวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและมูลนิธิไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง และเป็นการเน้นเรื่องทุนมนุษย์

ในเรื่องการเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่ดำเนินการมาตลอดเมื่อมีโอกาสแต่จะเป็นในลักษณะของภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่ารูปแบบอื่น อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาจะเป็นความร่วมมือในเรื่อง USR(University Social Responsibility) แต่อาจจะยังไม่ได้มองไปถึงเรื่องทุนมนุษย์

เปิดใจให้กว้างยอมรับ

งานวิชาการที่ย่อมจะมีความแตกต่างกันตามวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์แต่ละประเทศที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ควรนำสิ่งดีๆที่เป็นความแตกต่างจากทุนมนุษย์ในเมืองไทยมาประยุกต์ใช้ในงานวิชาการไทย

12.เศรษฐกิจพอเพียง

ผลกระทบจากเศรษฐกิจของยุโรปและอเมริกาส่งผลอย่างหนักต่อตลาดหุ้นและราคาทองคำทั่วโลก การคำนึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งสำคัญมาก

เศรษฐกิจพอเพียงยึดหลักทางสายกลางความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันแตกต่างระบบทุนนิยมที่ยึดถือกันทั่วโลก และทำให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้น-ทองคำ

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงคงจะได้ไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมใด เพราะยึดถือตลอดเวลา และตักเตือนชุมชนไม่น้อย รวมถึงต้องให้ระวังเรื่องการลงทุนดังกล่าว

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่ได้พิสูจน์แล้วว่า จะทำให้ชีวิตยั่งยืนหากรู้จักใช้ผ่านเงื่อนไขความรู้รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และเงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน

13.การปลูก การเก็บเกี่ยว

การเปิดกว้างของการเรียนทุนมนุษย์โดยดร.จีระฯถือเป็นการปลูกและการเก็บเกี่ยวครั้งสำคัญในการศึกษา

ด้วยรูปแบบการสอนของดร.จีระฯมุ่งเปิดพื้นที่คิดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านทุนมนุษย์ทั้ง 10 ทฤษฎี ซึ่งเสมือนการปลูกความรู้ที่มีความแตกต่างกันจากประสบการณ์ทุกด้านที่แตกต่าง

กันของนักศึกษา สิ่งที่ร่วมกันปลูกเมื่อเติบโตขึ้นมาการเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ทุนมนุษย์ที่ได้จากการเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปใช้ประโยชน์

นอกจากในห้องเรียนแล้ว พื้นที่การปลูกและการเก็บเกี่ยวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประชุมในรูปแบบต่างๆ ในทุกวงของการประชุม เพื่อจะได้ร่วมกันปลูก และเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิผล

การปลูก การเก็บเกี่ยวจะต้องถูกกำหนดจากภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่เปิดกว้าง สามารถที่จะเพาะปลูกได้หลายรูปแบบจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จนกระทั่งสามารถเก็บเกี่ยวสิ่งที่ปลูกไว้ได้ นำไปใช้เป็นประโยชน์

14.ผู้นำ

ในทุนมนุษย์ ผู้นำมีความจำเป็นของทุกองค์กร

ในเรื่องทุนมนุษย์จะเห็นความสัมพันธ์ความคิดของ CEOและ HR จะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน CEOต้องเอาด้วยกับHRที่เก่งจึงจะเห็นประสิทธิผลและประสิทธิภาพของทุนมนุษย์อย่างแท้จริงในองค์กรนั้นๆ

"การพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร จะสำเร็จไม่ได้หากขากการร่วมมือกัน 3 ฝ่ายในองค์กร” คือ

  1. ผู้นำ หรือ CEO+
  2. 2.    Smart HR+
    1. Non - HR

 

พยายามเร่งสร้างเจ้าหน้าที่ขององค์กรรัฐที่ดูแลเรื่องคนให้เข้าใจถึงความสำคัญทุนมนุษย์ เพื่อที่จะได้ทำงานเป็นเนื้อเดียวกันกับผู้นำได้

ต้องวางกฎระเบียบเรื่องบุคคลากรในทุกมิติอย่างโปร่งใส มีระบบการจัดการการวัดคุณภาพการทำงาน ซึ่งHRจะต้องเข้าใจทุนมนุษย์ได้เป็นอย่างดีไม่แพ้ CEOของตัวเอง

15.การทูตภาคประชาชนที่เมืองเทียนสิน ประเทศจีน

 

 

 

 

 

 

 

 

อ.ได้รับเชิญไปบรรยายและเปิดสัมมนา

เป็นการบรรยายอ.จีระฯในต่างแดน จีนได้เก็บเกี่ยวความรู้จากอ.ดร.

จีระฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เป็นเมืองและมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ และเป็นเมืองที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

ร่วมพลังนศ.ไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จริงและตรงประเด็น(ปลูก)โดยนำความรู้มาพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปตามหลัก 2R คือReality&Relevance

 

 

 

 

 

สรุปบทความ เรื่อง Managing yourself “How to Cultivate Engaged Employees” โดย Charalambos A. Vlachoutsicos

การบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของพนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีทักษะ การทำงานที่แตกต่างกัน เมื่อมาทำงานรวมกันเป็นทีม จะสามารถทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ นอกจานี้สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือ การเรียนรู้เกี่ยวกับการบังคับบัญชาเพื่อให้เกิดงาน การมีส่วนร่วมของพนักงาน การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน การสร้างความรู้สึกที่ดีในการพัฒนาองค์กร การที่ผู้บริหารไม่ยึดติดกับการบริหารที่เน้นรูปแบบการบังคับบัญชาจากบนลง ล่าง หลักในการทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหาร ของผู้บริหาร ควรใช้หลักสำคัญ 6 ประการดังนี้

1. Be Modest (มีความอ่อนน้อมถ่อมตน) ผู้บริหารควรมีลักษณะอ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวเป็น แสดงออกอย่างเหมาะสม กล้าคิดกล้าทำเมื่อพบข้อผิดพลาดก็กล้าที่จะยอมรับผิด หรือกล่าวคำขอโทษ ไม่แสดงว่าเป็นผู้รู้ในทุกเรื่อง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำมาพัฒนาองค์กรให้สำเร็จ

2. Listen Seriously and Show It (ฟังอย่างจริงจังและแสดงความคิดเห็น) ผู้บริหารควรเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นออกมา เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจพัฒนางาน

3. Invite Disagreement (เปิดโอกาสให้แสดงความคิดที่ไม่เห็นด้วย) การเปลี่ยนแปลงการทำงานย่อมมีความขัดแย้ง มีการต่อต้านเกิดขึ้น ผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นของบุคคลเหล่านั้น อาจใช้รูปแบบของการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น มีการกระตุ้นเพื่อให้แสดงความรู้สึกนั้นออกมา ทำให้เขากล้าที่จะบอกถึงปัญหาต่างๆ หรือสิ่งที่คิด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน

4. Focus the Agenda (มุ่งเน้นวาระการประชุม) การประชุมที่ดี ควรมีการสรุปวาระในการประชุม จัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ใช้ในการประชุม จัดการประชุมให้กระชับและครอบคลุม ตามกรอบเวลาที่เหมาะสม

5. Don’t Try to Have All the Answers(ไม่พยายามที่จะมีคำตอบทั้งหมด)ผู้บริหารต้องไม่คิดว่าตนทำได้ ทุกอย่าง และบังคับให้ผู้อื่นทำตาม แต่ควรเป็นผู้ที่คอยกระตุ้นให้เกิดแนวทางในการทำงาน แก้ปัญหาและควรเรียนรู้การทำงานไปพร้อมๆ กับผู้ร่วมงาน และรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน

6. Don't Insist that A Decision Must Be Mode "อย่าคิดว่า การตัดสินใจของตนเองต้องถูกต้องเสมอ" ในฐานะผู้บริหารควรจะร่วมกันหาแนวทางได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับกระบวนการคิด

สรุป

ดิฉันคิดว่าปัจจุบันผู้บริหาร มีรูปแบบหลายๆอย่างไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียวกันโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ต่างๆ ภายใต้กรอบของทุนมนุษย์ 8K ' s และ 5K ' s ทุนทางความรู้ " ผู้บริหารมีทักษะและทัศนคติจะต้องมองวิเคราะห์ปัญหาและการเรียนรู้ ประกอบด้วย Reality มองความจริงและ Relevance ตรงประเด็น มีทุนทางจริยธรรมด้วยหลักการง่ายๆ คนเป็นผู้นำจะต้องเป็นคนดี มีใจเป็นธรรม มีความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดลงไปสู่ลูกน้อง และมูลค่าเพิ่ม พร้อมนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา ค่ะ

น.ส.วรัญญา นาคดิลก นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

นางอุทุมพร เครือบคนโท รหัสนักศึกษา 53484940001

นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน วันที่ 2 ตุลาคม 2554 ใน 3 ประเด็น ดังนี้

1. การพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่นหรือสิ่งที่มีอยู่ท้องถิ่นให้มีคุณค่า ติดอันดับของอาเซียน เช่นพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จะต้องชี้แจงให้ผู้นำในท้องถิ่น ประชากรในท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงความจำเป็นความสำคัญ ประโยชน์ของการพัฒนาสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มีคุณค่า โดยทุกคนในท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพ ดูแลรักษาร่วมกัน เมื่อทุกคนตระหนักแล้วควรพัฒนาคนในท้องถิ่นโดยศึกษาดูงานในสถานที่ ที่มีการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศแล้วมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและโลก และนำความรู้กลับมาพัฒนาท้องถิ่นของตน ให้มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และใช้การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว

2. บทบาทที่ดีของ CEO คืออะไรในทุนมนุษย์

บทบาทที่ดีของ CEO คือต้องเป็นนักวางแผนที่ดี มีความรู้ความเข้าใจในองค์กร มีความสามารถในการบริหารองค์กร มองไกล มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ในการการบริหารบุคคล มีความเชื่อในคุณค่าและศักดิ์ศรีความของคน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

3. บทบาทของ HR ใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในบริบทของระบบราชการ การศึกษา รัฐวิสาหกิจและเอกชนคือ ความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมาย การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ความสามารถในการสร้างกลยุทธ์ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้สอดคล้องกับองค์กร การสร้างมาตรฐานการทำงาน และตัวชี้วัดการทำงานให้สำเร็จขององค์กร เป็นผู้ที่สามารถเอาชนะใจผู้ร่วมงานได้ เป็นผู้รับฟังที่ดี เพื่อนำมาใช้พัฒนาองค์กร และ สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลง สามารถสื่อสารทำความเข้าใจ จูงใจบุคลากร ให้มีความพร้อม เตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

สรุปการเรียนรู้ ในวันที่ 2 ต.ค. 2554 โดย ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์ ดังนี้

1. ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ประชาชน ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีคุณค่า ให้ติดอันดับในอาเชี่ยน โดยให้ทุกศูนย์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ทุ่งดอกกระเจียว จ.ชัยภูมิ พอจะสรุปได้ดังนี้

ส่งเสริมให้บุคลในท้องถิ่นเปิดโลกทัศน์พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ศึกษาดูงานจากสถานที่ที่ประสบความสำเร็จ มีการทำงานเป็นทีม การสร้างเครือข่าย การสร้างสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งในปัจจุบันจะต้องให้ความสำคัญของเครือข่ายของสร้างปัญญา หรือ networking of Intellgence เพื่อจะได้ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป เพื่อสู่การท่องเที่ยวในระดับอาเชี่ยนได้

2.ทฤษฎี 3 วงกลม มาปรับใช้ในระดับ Micro ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นแนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ใน องค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการเรียนรู้แบบสถาปานิก Design ในระดับ Micro

3.บทบาทของ ceo

ผู้บริหาร CEO จะต้องมีการสร้างวิสับทัศน์ และต้องทำให้ทุกคนภายในองค์กรมองเห็นภาพเหมือนกันว่า องค์กรจะมีสภาพหรือหน้าตาเป็นอย่างไรในอนาคตภายหลังการเปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ที่ CEO และทีมงานร่วมกันกำหนดขึ้นมานี้ จะต้องสามารถถ่ายทอดและสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน มีการวางแผนงานที่ดี รู้จักสร้างทีมงานที่ดี มีความรู้ความเข้าใจในองค์กร และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี

โดยนางสาววรัญญา นาคดิลก นักศึกษา ป.เอก ม.สวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

นางจงดี พฤกษารักษ์

นางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก(ศูนย์ภูเก็ต) โปรแกรมวิชานวัตกรรมการจัดการ รหัส 53484931011

เรียน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์

ดิฉันได้รับความรู้ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554ในวันนี้มี 3 ประเด็นได้แก่ CEO , Smart HR ,Non HR ดิฉันคิดว่า

CEO: มีบทบาทในทุนมนุษย์เกี่ยวกับ ให้ความสำคัญของผลงาน และ ให้ความสำคัญในเรื่องการให้คำแนะนำของลูกน้องรวมท้งในการใช้เวลาการบริหารจัดการร่วมกับลูกน้องทั้งนี้ได้ใช้ " HRDS" โดย " H "เป็นการสร้างความสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสวนรวม สวน " R "เป็นการยอมรับซึ่งกันและกัน และ "D" เป็นการยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน "S" เป็นความยั่งยืนซึ่งในกรณีนี้ดิฉันคิดว่าผู้นำ CEO จะต้องมองไปถึงเป้าหมายในระยะยาว ในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ผู้อำนวยการ และ รองผู้อำนวยการ 1 คนในการทำงาน ใช้การบริหาร โดย (1) รู้หลักการ "ต้องรู้ รู้งาน รู้หน้าที่ รู้กติกา " (2) รู้จุดมุ่งหมาย ในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ผู้อำนวยการ และ รองผู้อำนวยการ มีความชัดเจนในแน่วแน่พร้อมทั้งมุ่งมั่นไปถึงจุดมุ่งหมาย (Vision ) และ (Skills) (3).รู้ตน ดิฉันคิดว่าประเด็นนี้ CEO มีคุณสมบัติความพร้อม มีความถนัด สติปัญญาและความสามารถ (4).รู้ประมาณ CEO ในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตรู้จักการประมาณในการดำเนินงานมีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องและพอเหมาะพอดี (5).รู้กาล CEOในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตในประเด็นนี้เกี่ยวกับ "การพูดจา การวางแผนในเรื่องเวลา "(6).รู้ชุมชน CEO ในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ต้องรู้สังคมโลกรวมทั้งสังคมอาเซียนและ(7).รู้บุคคล CEO ในวิทยาลัยฯเป็นการรู้ความแตกต่างเฉพาะบุคคลและให้บุคคลได้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ในกรณี Smart HRดิฉันมองในประเด็นนี้ควรมี 5 E (1) Example ในประเด็นนี้การมีตัวอย่าง Role Model (2).Experience ดิฉันมองในประเด็นนี้การมีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์ (3).Edueation ดิฉันคิดว่าได้เรียนรู้จากการอบรม และ Internet (4).Environment ในกรณีดิฉันคิดว่าการสร้าง Talentด้วยบรรยากาศโดยการเปิดโอกาสให้คนแสดงความสามารถ (5).Evaluation ดิฉันมองในกรณีเกี่ยวกับการประเมินโดยให้รางวัลพร้อมทั้งให้เวทีแสดงความสามารถ ดิฉันได้รับความรู้จากการสอนของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ตกผนึกในเรื่อง Smart HR ดิฉันคิดว่าควรมีความคิดสร้างสรรค์ 2 องค์ประกอบได้แก่ (1).Lateral Thinking และ(2). เทคนิคการคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพ ดิฉันมองในประเด็นนี้ "คนสร้างสรรค์ คือ คนสร้างชาติ สร้างความมั่นคงถาวร" สรุปได้ว่า (1).คนสร้างสรรค์ (2).สื่อสร้างสรรค์ (3).สภาพแวดล้อมสร้างสรรค์ พร้อมทั้ง 4 L 1).Learning Methodology 2).Learning Environment 3).Learning Opportunities 4).Learnning Communities โดย Macro ไปสู่ Micro ทำให้เกิด Value of Peopleและ ทุนปัญญา โดยสินทรัพย์ไม่ใช่ตัวเงิน แต่ เป็นสินทรัพย์เกิดจาก (1).Hand (2).Head (3).Heart ส่วนในประเด็นเกี่ยวกับ Non HR ดิฉันคิดว่าใช้ศักยภาพที่นอกเหนือจากทุนมนุษย์มาใช้บริการและการจัดการโดยปรับสภาพแวดล้อมให้ทันโลกเทคโนโลยี หรือ การทำงานสำเร็จเกิดจากการสรรหาพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตโดยให้ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เอกชน ชมรม สื่อสารมวลชน อทิเช่น ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของจังหวัดภูเก็ต วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำขนมใช้ในเทศกาลประกอบด้วย ขนมเข่ง ขนมปุยฝ้าย และขนมข้าวเหนียวแก้ว ซึ่งสถาบันเป็นแหล่งอุปกรณ์ ทรัพย์กรมนุษย์ครูอาจารย์และนักศึกษา ชุมชน ทีวีให้ความร่วมมือประชาสัมพันธ์ กรมการค้าภายในจังหวัดภูเก็ตให้ความร่วมมือในสถานที่จัดจำหน่ายรวมทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงฯลฯ สรุป ดิฉันได้รับความรู้จากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ดังนี้

1).Leadership ดิฉันคิดว่าไม่ได้มาจาก Power แต่ เพียงต้องการให้เขาเห็นด้วยกับเรา เรียกว่า "ต้องมีศิลปะให้ลูกน้องในการยากทำงานให้กับเรา" และ ผู้นำมาจากพรสวรรค์ก็จริงแต่สำคัญที่สุดมาจากพรแสวงคือการเรียนรู้และฝึกฝนได้

2).HR Architecture โครงสร้างหลักของการพัฒนามนุษย์ซึ่งมีความละเอียดใน Supply and Demand Side โดยเป็นยุทธศาสตร์สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ความสำคัญมาก ในการปรับพฤติกรรมโดยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างละเอียดรอบด้านนำไปประยุกต์ใช้อย่างเข้าใจซึ่งดิฉันคิดว่า ศ.ดร.จีระเป็นที่ปรึกษาในวันนี้ดิฉันได้รับข้อคิดจากท่านอาจารย์พอสังเขปดังนี้(1).Change Leader (2).Visionary Leader (3).Energizing Leader (4).Life-long Learner Leader (5)Networking Leader

ท้ายสุดนี้ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับ Reality and Relevancerihv,พร้อมทั้งตกผนึกจากท่าน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ ดิฉันมีความรู้สึกท่านอาจารย์ในวันนี้อาจารย์ให้คุ้มมากเกิดองค์ประกอบ 4 ประเด็นได้แก่ 1).Physical Development 2).Economical Development 3).Social Development 4).Healthy Devclopment 5).Ethical Devclopment .ขอบคุณมากๆ

นายโกมล ดุมลักษณ์

นายโกมล ดุมลักษณ์ รหัสนักศึกษา 53484931026 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ผมได้อ่านวารสารการศึกษา มีข้อความโดยสรุปว่า

The Council of University Rectors has agreed to use new university admission criteria after years of controversy over the entrance examination system.

Wanchai Sirichana, chairman of the council, said that under the new admission system, the Advanced National Education Test (A-Net) and the grade point average (GPA) would be omitted.

The Ordinary National Educational Test (O-net), the cumulative grade point average (GPAX) scores, and the aptitude test, would be the key criteria for the new admission system, said Mr wanchai.

However, the council had yet to finalise the weighting ratio of each criteria, he said, adding that the council had assigned Monthon Sa-nguansermsri,rector of Naresuan University and chair of the Admission Forum,to study the proper weighting ratio.

The council would make the decision on the weighting of the three criteria in May.

Mr Wanchai said the university admissions criteria would remain unchanged to avoid causing confusion among high school students.

Currently, tests for O-net and A-net scores account for 70% of university admission criteria while grade point average (GPA) and the cumulative grade point average (GPAX) scores make up the rest.

ระบบการคัดเลือกนิสิต นักศึกษา แบบใหม่ ให้ใช้ admission ระบบใหม่ หลังจากที่มีการถกถียงเกี่ยวกับระบบ entrance เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ประธานที่ประชุมอธิการบดี กล่าวว่าภายใต้ระบบใหม่การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติชั้นสูง (A-net) และผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA) จะถูกยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-net) คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย ( GPAX) และการทดสอบความถนัดจะเป็นเกณฑ์ในระบบ admission ใหม่

อย่างไรก็ตามที่ประชุมอธิการบดียังไม่ได้กำหนดสัดส่วนค่าน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบ เขากล่าวและพูดเพิ่มเติมอีกว่า ที่ประชุมอธิการบดี ได้แต่งตั้ง นายมณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดี มหาวิทลัยนเรศวร ซึ่งเป็นประธาน Admission Forum ให้ไปศึกษาหาสัดส่วนค่าน้ำหนักที่เหมาะสมและที่ประชุมอธิการบดีจะตัดสินเรื่องนี้ในเดือนพฤษภาคมนี้

จะเห็นว่า ระบบ admission จะยังเหมือนเดิม เพื่อไม่ให้นักเรียน ม.ปลายเกิดความสับสนในขณะนี้เกณฑ์ admission ใช้คะแนน O-net และ A-net 70% และ GPA กับ GPAX อีก 30%

มองเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนใกล้บ้านคือโรงเรียนมัธยมศึกษาในสิงคโปร์จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบและจะมีหลักสูตรแตกต่างกันไปทั้งนี้ นักเรียนจะถูกเลือก ให้อยู่ระบบใดระบบหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับผลการสอบ PSLE ของนักเรียนแต่ละคน ระบบที่ใช้ระยะเวลา 4 ปี จะเรียกว่า Special and Express Courses ซึ่งการเรียนการสอนนั้น จะเน้นการเตรียมตัวให้นักเรียนสอบ The Singapore-Cambridge General Certificate of Education “Ordinary” (GCE ‘O’) ตอน จบมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ ระบบที่ใช้ระยะเวลา 5 ปี คือ Normal Course แบ่งการเรียนการสอนเป็น Academic และ Technical และเมื่อนักเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education “Normal”(GCE ‘N’)

สำหรับนักเรียนที่สอบได้คะแนนดี สามารถเรียนต่อ มัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อสอบ GCE ‘O’ ต่อไป แต่สำหรับ นักเรียนที่สอบได้คะแนน GCE ‘N’ ไม่ดี ก็สามารถเรียนต่อในทางด้านเทคนิค ITE. หลังจากนักเรียน จบการศึกษา ในระดับมัธยมนักเรียนสามารถที่จะเลือกเรียนในขั้นอุดมศึกษาต่อไป

การเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยที่สิงคโปร์ (Junior College หรือ Pre University)

สำหรับนักเรียนที่ได้ผ่านการทดสอบ GCE ‘O’ Level เรียบ ร้อยแล้วและมีความประสงค์ที่จะเลือกเรียนต่อที่ Junior College ใช้ระยะเวลา 2 ปี หรือ หลักสูตรเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย (Pre-university) ใช้ระยะเวลา 3 ปี เพื่อการเตรียมพร้อมสอบ GCE ‘A’ Level เมื่อสอบผ่านนักเรียนถึงจะสามารถเข้าเรียนต่อในระดับชั้นมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทั่วโลก สำหรับนักเรียนที่สอบไม่ผ่าน GCE ‘A’ Level ก็สามารถที่จะเลือกเรียนต่อโปลีเทคนิค

ผมคิดนอกกรอบเพื่อประเทศไทยว่า ถ้าจะปฏิรูปบุคลากร แยกสายงานไปเลย ครู ฝ่ายปกครอง ฝ่ายธุรการ เพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการเพื่อกระตุ้นให้คนเก่งๆ อยากเป็นครู และเพิ่มมาตรฐานการคัดคนมาเป็นครูมากขึ้น ใครที่อาสาไปสอนตาม ร.ร. ในชนบท ให้ค่าเสี่ยงภัย ค่ากันดารเพิ่มต่างหาก ระบบการสอน 9 ปีแรก ( ป.1 - ม.3 ) ใช้การเรียนรวมแบบปกติ แต่เนื้อหาพื้นๆ ไม่ต้องไปหนักหน่วงมาก ทั้งนี้เอาแค่ให้เด็กพอเห็นภาพแล้วว่าสนใจสาขาไหน ถนัดด้านใด เข้า ม.ปลาย แยกสายการเรียน เน้นเรียนเฉพาะด้านมากขึ้น คนเรียนสายสังคมศาสตร์ไม่ต้อง pro คณิตและวิทย์ฯ มากนัก ขณะที่พวกวิทย์คณิตก็เรียนแต่วิชาสายตัวเองแบบลึกๆ ไปเลย บุคลากรระดับมัธยมไม่หลากหลายเท่ามหา'ลัยแน่ๆ สังเกตว่าที่เปิดสอนกันก็แค่ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น ) มาถึงขั้นนี้ ข้อสอบเน้นบรรยายเป็นหลัก เพื่อฝึกการใช้ความคิดก่อนเข้ามหา'ลัย สำหรับเด็กบางคนที่อยากทำงานไปเรียนไป ให้มีหลักสูตร ม.ปลายภาคค่ำ ( แบบเดียวกับอาชีวะภาคค่ำ ) และประสานกระทรวงแรงงานฯ กับกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ช่วยแก้ กฏหมาย. ให้เด็กทำงานได้ตั้งแต่อายุ 15 ทั้งนี้ให้ทำงานได้แค่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็นเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้นายจ้างรับแรงงานเด็กได้ถูก กฏหมาย. จะได้เป็นผลดีกับเด็กเองในแง่สวัสดิการที่ควรได้รับ อนึ่ง เป็นการปลูกฝังการรู้จักหาเงินเองของเยาวชนแบบเด็กในประเทศตะวันตก ข้อนี้คงไม่ถูกใจพวกเสรีนิยม แต่จำเป็นต้องเสนอแนะ คือ " ไม้เรียวต้องกลับมา " แต่ไม่ได้กลับมาแบบเมื่อก่อน หากแต่เป็นระบบมากขึ้น คร่าวๆ คือมีการสอบสวนคล้ายกับศาลยุติธรรมทั่วไป การตีเด็กคือโทษที่หนักรองจากการพักการเรียนและไล่ออก อนึ่งกฏต้องเท่ากันทุกที่ และต้องเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ไม่ใช่ธรรมเนียมนิยม ถ้าเป็นไปได้ให้เรียกผู้ปกครองมาเป็นพยานด้วยเพื่อให้โรงเรียนและผู้ปกครอง ประสานกันได้ บุคลากรที่เป็นฝ่ายปกครองต้องผ่านการอบรมพิเศษมากกว่าครูทั่วไป นอกจากลงโทษแล้ว อีกด้านหนึ่งต้องสอนต้องแนะนำเป็นด้วย ( ถ้าได้พวกสายจิตวิทยามาเป็นจะดีมาก ) ยกระดับ ร.ร. พวก C Class ให้อย่างน้อยต้องกลายมาเป็น B Class ในด้านสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนการสอน ถ้างบพอก็ทำให้เป็น A Class ทำไปเรื่อยๆ ( อันนี้ก็ต้องประสานพวกกระทรวงสายเศรษฐกิจ พวกคลัง พาณิชย์ อุตสาหกรรม ให้ขยายแหล่งงานออกไปในชนบท เพราะเมื่อมีแหล่งงานแล้ว ความเจริญย่อมไปถึง โรงเรียนก็ต้องพัฒนาอย่าว่ากันนะครับ ผมมองว่า GPA ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะแต่ละที่ให้เกรดไม่เหมือนกัน บางที่เคี่ยว บางทีปล่อย ผลร้ายอยู่กับเด็ก เพราะเวลาไปสอบข้อสอบกลาง พวกที่มาจากการปล่อยเกรดทำไม่ได้ หรือต่อให้สอบผ่านเข้าไป ก็เรียนไม่ได้อยู่ดีเพราะระดับมหา'ลัยกับมัธยมมันคนละเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเพื่อให้ทุกสาย ไม่ว่าจะเป็นสายปกติ หรือ ม.ปลายภาคค่ำที่ผมเสนอแนะไป สามารถเข้าสอบได้อย่างเท่าเทียมกัน อีกประการหนึ่ง ผมมองว่าวัยรุ่นหนุ่มสาวควรได้ทำอะไรในช่วง ม.ปลายมากกว่าเรียนอย่างเดียว ( มีคนเคยบอกว่า ม.ปลายเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดในชีวิตชาติหนึ่งของมนุษย์ ) ไม่ควรให้เครียดอย่างเดียว ตรงนี้มีผลทางจิตวิทยาต่อนิสัยการทำงานในอนาคตด้วย เพราะในเมื่อเรียนหนัก เรียนเครียด ต่อไปทำงานก็จะเอาคืนด้วยการทุจริต เรียกว่าให้คุ้มกับที่ลำบากเรียนมา

คำกล่าวว่า “การพัฒนาองค์กร คือ การพัฒนาคน” Organization Development is

Human Resource Development หากภารกิจขององค์กรจะบรรลุได้นั้น ต้องเกิดจากการ การพัฒนาการศึกษา ที่เปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม จากขาดความรู้ให้กลายเป็นมีความรู้เพิ่มขึ้น จากขาดทักษะความเชี่ยวชาญให้กลายเป็นความเชี่ยวชาญ จากขาดความเข้าใจให้กลายเป็นความเข้าใจ และจากทัศนคติในเชิงลบหรือไม่ดีให้กลายเป็นทัศนคติเชิงบวก8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทของอาจารย์จีระฯ ก็น่าจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งระบบได้ดีก็คือ

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ

เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

***ส่งการบ้าน***

Name: นายอานนท์ ทวีสิน

ID: 53484931005

University: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Major: สาขานวัตกรรมและการจัดการ

Assignment 1: สิ่งที่ได้ในวันนี้

จากการที่ได้ศึกษากับท่าน ศ.คร. จีระ หงส์ระดารมภ์ ในวันนี้ ได้ เรียนรู้ในหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เคยทราบมาก่อน เช่น เรื่องของ HR For NON-HR จากคนเราๆนี่ ไปสู่ระดับองค์กร ไปจนถึงเป้าหมายขององค์กรที่มุ่ง Outcome ผลประกอบการที่เป็นเลิศ ความสุขของพนักงาน ความพึงพอใจของลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้องค์กรดำเนินต่อไป การที่จะทำงานสำเร็จลุล่วงได้นั้น จำเป็นต้องมีตัวละคร 3 กลุ่ม คือ CEO, Smart HR และ Non-HR แต่ท่านอาจารย์จีระ ท่านได้เพิ่มมาอีก 3 ตัว คือ 1. Stakeholder (ผู้มีส่วนได้เสีย) 2. Ruler (ผู้ปกครอง) และ 3. External Society (สังคมภายนอก) เป็นตัวขับเคลื่อน (Drive) ในการทำงานให้สำเร็จยิ่งขึ้น HR แบบเก่า ควรจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคปัจจุบันที่ไร้พรมแดนมาเป็น HR แบบใหม่ เช่น การทำงานที่เป็นกิจวัตร ควรเปลี่ยนมาเป็นกลยุทธ์ แผนกทรัพยากรมนุษย์ มาเป็น CEO + แผนกอื่นๆ, การฝึกฝน มาเป็นการเรียนรู้, ค่าใช้จ่าย มาเป็นการลงทุน, การหยุดนิ่ง มาเป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลง, ข้อมูล มาเป็นความรู้, การทำงานคนเดียว มาเป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่น, ประสิทธิภาพ มาเป็นประสิทธิผล, มูลค่า มาเป็นมูลค่าเพิ่ม, การสั่งการและการควบคุม มาเป็นการเคารพและให้เกียรติ, จากระดับจุลภาค มาเป็นระดับมหภาคสู่จุลภาค ทฤษฏี ทะเลแดง มาเป็นทะเลน้ำเงิน ที่มุ่งทำตลาดใหม่แบบเป็นมิตร จากหนี้สิน มาเป็นสินทัพย์ นอกจากนี้ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง ดอกกระเจียว ทำอย่างไรให้ชัยภูมิดังได้ ดังนี้ 1. ต้องมีการฝึกฝนมัคคุเทศก์ 2. ประชาสัมพันธ์เป็นภาษาต่างๆ ตอบรับอาเซียนเสรี 3. สร้างเครือข่าย 4. ประสานงานภาครัฐ 5. ทำ Research 6. สร้างสังคมการเรียนรู้ เน้น ผู้นำชุมชน, สถานศึกษา 7. ทำทุกอย่างอย่างต่อเนื่อง (ศูนย์กรุงเทพฯ) 8. รักษามูลค่าของดอกกระเจียว 9. พัฒนาคน พาชาวบ้านไปศึกษาดูงานต่างประเทศที่เกี่ยวกับอาเซียนเสรี 10. บุคคลที่ต้อนรับต้องยิ้มแย้มแจ่มใส ค้าขายอย่างเป็นธรรมและมี Service Mind(ศูนย์ภูเก็ต) และท่านได้กล่าวถึง ให้เน้น Self-learning มากกว่า Training เนื่องจากคนไทยขาดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตอบรับการเปิดเสรีอาเซียน เพื่อลดช่องว่างทางความสามารถ

การที่ได้ศึกษาในวันนี้ ได้รับรู้เรื่องราวหลายๆอย่างจากศูนย์อื่นๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนทางความคิด จนนำไปสู่การพัฒนาร่วมกัน ต้องขอขอบพระคุณท่าน ศ.คร. จีระ หงส์ระดารมภ์ ที่ทำให้ Class ดีๆ เกิดขึ้นในวันนี้ แถมยังมีดอกไม้สีสันสวยงาม มาให้ชมกันอีก ซึ่งไม่เคยมีท่านอาจารย์ท่านใด ทำมาก่อนตั้งแต่ผมศึกษามาจนถึงวิชาสุดท้ายนี้ ขอบพระคุณท่านอาจารย์จริงๆครับ ผมมีความภาคภูมิใจที่สุดที่ได้ศึกษาร่วมกันกับท่านอาจารย์ หากลูกศิษย์คนนี้ ทำอะไรล่วงเกินท่านอาจรย์ไป กระผมต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ

************************************************************************************************************************************

Assignment 2: Benchmarking, Quality, Global Standard, Best practices, and Excellence

**Benchmarking

Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจากความหมายนี้ สรุปได้ว่าการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการเปรียบเทียบวัดให้รู้ถึงผู้ที่ทำได้ดีกว่า และเข้าไปเรียนรู้วิธีการปฏิบัติซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จหรือมีค่า Benchmark สูง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรของตนเอง

(ที่มา : http://www.onesqa.or.th)

**Quality

Quality ความหมายของคุณภาพ (กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์, 2542, หน้า 20-21) การที่ผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพที่ดี จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. การปฏิบัติงานได้ (Performance) ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้

2. ความสวยงาม (Aesthetics) ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปร่าง , ผิวสัมผัส , กลิ่น , รสชาติ , สีสัน ที่ดึงดูดใจลูกค้า

3. คุณสมบัติพิเศษ (Special Features) ผลิตภัณฑ์ควรมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น

4. ความสอดคล้อง (Conformance) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด

5. ความปลอดภัย (Safety) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด

6. ความเชื่อถือได้ (Reliability) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ

7. ความคงทน (Durability) ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง

8. คุณค่าที่รับรู้ (Perceived Quality) ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า

9. การบริการหลังการขาย (Service After Sale)

แต่อย่างไรก็ดี มุมมองด้านคุณภาพในสายตาของผู้ผลิตและผู้ใช้แตกต่างกัน เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการใช้สอยผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ย่อมแตกต่างกับพันธกิจ (Mission) ในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต ดังนั้นจะสรุปทัศนะของผู้ผลิตกับลูกค้าในแง่ของคุณภาพได้ดังต่อไปนี้

สำหรับ ลูกค้า คุณภาพที่ดีหมายถึง

ก. ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้ดีตาม Specification ที่ระบุไว้

ข. ผลิตภัณฑ์คุ้มค่ากับเงินหรือราคา ที่ลูกค้าจ่ายเพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา

ค. ผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ โดยมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

ง. ผลิตภัณฑ์มีการบริการประกอบเพื่อความสะดวกของลูกค้า หรือเพื่อรักษาสภาพสมบูรณ์ของสินค้าให้คงอยู่ในช่วงระยะเวลาการใช้งานได้ตลอด

จ. ผลิตภัณฑ์สร้างความภาคภูมิใจ ความประทับใจให้แก่ผู้ใช้

สำหรับ ผู้ผลิต คุณภาพที่ดีหมายถึง

ก. การผลิตให้ถูกต้องตั้งแต่แรก

ข. การผลิตที่มีระดับของของเสียอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเป็น Zero Defects ซึ่งถึงไม่มีของเสียจากการผลิตเลย

ค. การผลิตตามตัวแปรที่ต้องการอย่างถูกต้อง ไม่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่ตั้งไว้

ง. การผลิตที่มีระดับต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่มีความต้องการสามารถซื้อได้ในระดับราคาที่ยอมรับได้

(ที่มา: http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%209/lesson%209.html)

**Global Standard (มาตรฐานสากล)

ISO มาจากคำว่า International Standardization and Organization มีชื่อว่าองค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1946 หรือพ.ศ.2489 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีวัตถุประสงค์คล้ายๆกับองค์การการค้าอื่นๆของโลก คือจัดระเบียบการค้าโลก ด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา ใครเข้าระบบกติกานี้ถึงจะอยู่ได้ ช่วงที่ ISO ก่อตั้งขึ้น เป็นช่วงสงครามโลกก็เพิ่งจะจบลงใหม่ๆ ดังนั้นประเทศต่างๆก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ต่างคนต่างขายของ โดยมีระบบมาตรฐานไม่เหมือนกัน จนกระทั่งในปี 2521 เยอรมนีเป็นตัวตั้งตัวตีให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกัน ส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้น ต่อมาอีก1ปี อังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบเอกสาร หรือที่เรียกว่า อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้ในทุกประเทศทั่วโลก ตัวเลข 9000 เป็นชื่ออนุกรมหนึ่ง ที่แตกแยกย่อยความเข้มของมาตรฐานงานออกเป็นอีก 3 ระดับ คือ ISO 9001 , ISO 9001 และ ISO 9003 นอกจากนี้ยังมีอีกอนุกรมหนึ่งคือ ISO 14000 เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและระบบคุณภาพ 9000 เป็นแนวทางในการเลือก และกรอบในการเลือกใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม ISO 9001 มีระดับความเข้มมากที่สุด คือหน่วยงานที่จะได้รับอนุมัติว่ามีระบบคุณภาพมาตรฐานสากลในระดับนี้จะต้องมีรูปแบบลักษณะการทำงานในองค์กรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 20 ข้อ โดยมีการกำกับดูแลตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การผลิตและการบริการ ยกตัวอย่างชื่อหัวข้อที่พอจะเข้าใจ เช่น กลวิธีทางสถิติ การตรวจสอบการย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บการเคลื่อนย้าย เป็นต้น ISO 9002 ก็จะเหลือเพียง 19 ข้อ ดูแลเฉพาะระบบการผลิต การติดตั้งและการบริการ (ตัดกลวิธีทางสถิติออกไป) ส่วน ISO 9003 เหลือแค่ 16 ข้อ ดูแลเฉพาะการตรวจสอบขั้นสุดท้าย 9004 เป็นแนวทางในการบริหารระบบคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น ถ้าอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ISO 9000 ก็คือ การกำหนดมาตรฐานสากลในการจัดระบบงานของหน่วยงานให้ตรงตามที่มาตรฐาน ISO 9000 กำหนดไว้ หน่วยงานที่คิดว่าตนเองจัดรูปแบบได้ตามที่ ISO 9000 กำหนดไว้แล้วจะมีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบและออกใบรับรองให้อย่างเป็นทางการ คือ สมอ. หรือ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามมีบริษัทต่างชาติที่เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบและสามารถออกใบรับรองให้ได้ ขั้นตอนการขอ ISO 9000 เริ่มจากการขอข้อมูล ยื่นคำขอ ตรวจประเมิน ออกใบรับรอง ตรวจติดตาม ตรวจประเมินใหม่ ส่วนการเตรียมระบบคุณภาพมี 4 ข้อใหญ่ๆ คือ

1.ทบทวนสถานภาพกิจการปัจจุบัน

2.จัดทำแผนการดำเนินงานและระบบเอกสาร

3.นำระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ

4.ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบคุณภาพ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องนี้ตกประมาณ 2-3 แสน ถ้าเป็นสินค้าหรือบริการส่งออก รัฐบาลจะช่วยออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนเวลาดำเนินการจะประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ISO ใช้วัดคุณภาพ ทั้งด้าน 1.โรงแรม ภัตตาคารและการท่องเที่ยว 2.กลุ่มคมนาคม สนามบิน และการสื่อสาร 3.สาธารณสุข โรงพยาบาล คลินิก 4.ซ่อมบำรุง 5.สาธารณูปโภคต่างๆ 6.การจัดจำหน่าย 7.มืออาชีพ การสำรวจ ออกแบบ ฝึกอบรม และที่ปรึกษา 8.บริหารบุคลากร และบริการในสำนักงาน 9.วิทยาศาสตร์ การวิจัยและพัฒนา

(ที่มา : http://www.matichon.co.th/youth/youth.php)

**ความหมายของ มาตรฐานการปฏิบัติงาน(Performance Standard)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(2529:53) ได้ให้ความหมายไว้ว่ามาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standard) เป็นผลการปฏิบัติงานในระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจ หรืออยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำได้ การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน จะเป็นลักษณะข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในงานที่ต้องปฏิบัติ โดยจะมีกรอบในการพิจารณากำหนดมาตรฐานหลายๆ ด้านด้วยกัน อาทิ ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ ด้านระยะเวลา ด้านค่าใช้จ่าย หรือพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องมาจากมาตรฐานของงานบางประเภทจะออกมาในรูปของปริมาณ ในขณะที่บางประเภทอาจออกมาในรูปแบบของคุณภาพองค์การจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงานประเภทนั้นๆ

(ที่มา: http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/index.php?option=com_content&view=article&id=71:performance-standard&catid=16&Itemid=2)

**Best Practices

American Productivity and Quality Center ให้นิยาม Best Practice ไว้ว่า คือการปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ หรือวิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศ

ตัวอย่าง: Best Practices ของสถานศึกษา เป็นวิธีการทำงานใหม่ที่สถานศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ตอบสนองความคาดหวังของชุมชน ผู้ปกครอง และเป้าหมายของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ ก้าวสู่ความเป็นเลิศ

วิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่จะเรียกได้ว่าเป็น Best Practices นั้น มีแนวทางการพิจารณา 6 ข้อ ดังนี้

1.วิธีปฏิบัตินั้น ดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนหรือผู้ปกครองที่มีต่อสถานศึกษา หรือเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนในสถานศึกษาได้

2.วิธีปฏิบัตินั้น ผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจร จนเห็นผลอย่างชัดเจนว่า ทำให้เกิดคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็นแนวโน้มของตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น

3.สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร” (what) “ทำอย่างไร” (how) และ “ทำไมจึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

4.ผลลัพธ์จากวิธีปฏิบัตินั้น เป็นไปตามองค์ประกอบ ข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

5.วิธีปฏิบัตินั้น สามารถระบุได้ว่า เกิดจากปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน และปัจจัยนั้นก่อให้เกิดการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

6.วิธีปฏิบัตินั้นใช้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) เช่นการเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการถอดบทเรียนจากการดำเนินการ

สรุป ได้ว่า วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice ) หมายถึง วิธีปฏิบัติในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ ภายใต้เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่สถานศึกษาเผชิญอยู่

(ที่มา: รวบรวมจากบทความ ใน IE.)

**Excellence

E = Excellence มุ่งผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศในผลงาน (กพร ใช้คำว่า การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH)) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 ทำงานให้ถูกต้อง ขยันหมั่นเพียร ตรงต่อเวลา

ทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย ตามหน้าที่

กระตือรือร้น สนใจใคร่รู้ มีความรับผิดชอบ สามารถทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย

ระดับที่ 2 กำหนดมาตรฐาน หรือเป้าหมายในการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีตามผู้บังคับบัญชามอบหมาย

ติดตามผลงานและประเมินผลงานของตนอย่างสม่ำเสมอโดยเป็นนิสัย

ระดับที่ 3 มีความละเอียดรอบคอบเอาใจใส่ ตรวจตราความถูกต้องของงาน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ

มีการคิดค้น และเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงาน เพื่อให้งานมีคุณภาพประสิทธิภาพดีขึ้น

ระดับที่ 4 ทำการพัฒนาระบบ ขั้นตอน วิธีการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่น และแตกต่างไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

มีการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย และเป็นไปได้ยาก

สร้างนวัตกรรม และเผยแพร่นวัตกรรม มีการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่สามารถเป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานอื่นในองค์กรได้

ระดับที่ 5 ตัดสินใจโดยมีการคำนวณผลได้ผลเสียอย่างชัดเจน และดำเนินการ เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

บริหารจัดการและทุ่มเทเวลา และทัรพยากร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจของหน่วยงานตามที่วางแผนไว้

(ที่มา: http://med.swu.ac.th/msmc/index.php?option=com_content&view=article&id=57&Itemid=76)

รัตมณี เสนีกาญจน์ สวนสุนันทา กรุงเทพ

จากการที่เรียนในวันที่ 2 ตุลาคม 54

ในเนื้อหาของ Benchmark , Quality , Global Standard , Best practices และ Excellence

Benchmark

ความหมายของ Benchmark คือเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการวัดเปรียบเทียบ ความ สามารถ โดยมีนัยที่แสดงถึงว่าผู้ที่ดีที่สุดหรือเก่งที่สุด คือต้นแบบที่ผู้อื่นจะใช้วัด เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของตนเอง ผู้ที่เป็น Benchmark อาจไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดในโลก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของเราว่าเราต้องการเปรียบเทียบตนเองในระดับไหน และต้องการไปให้ถึงจุดไหน Benchmark เป็นสิ่งที่ไม่อยู่กับที่ตลอดเวลา สามารถขยับขึ้นไปได้เรื่อยๆ

Quality

ความหมายของ Quality คือ การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม ตามแต่ลักษณะของงาน

1 ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Goods)

2 ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services)

3 ทัศนะคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

4 ทัศนคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

Global Standard

เนื้อหาข้อกำหนดของมาตรฐานสากลประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่

1.หน่วยงานจะต้องมีการประเมินในส่วนขั้นตอนการจัดเก็บและขนส่งที่อาจจะมีปัจจัยที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งเรียกว่าระบบการวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยง (Hazard and risk analysis system) ระบบการวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยง

2.ระบบบริหารคุณภาพ (Quality management system) การสร้างระบบบริหารงานคุณภาพจำเป็นที่จะต้องจัดทำเป็นเอกสาร ซึ่งเอกสารในระบบบริหารคุณภาพประกอบด้วยนโยบายคุณภาพ ระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติงาน วัตถุประสงค์และเป้าหมายคุณภาพขององค์กร ในเรื่อง

3.การควบคุมสภาวะแวดล้อม การควบคุมสินค้า และบุคคลากร ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน การควบคุมสภาวะแวดล้อมในจัดเก็บ และขนส่ง ยังรวมไปถึง การดูแลความสะอาด การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ปลวก แมงสาบ เป็นต้น

4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับบุคคลากรซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมและสุขลักษณะตัวอย่างอกำหนดดังกล่าวข้างต้นจะไม่สามารถบรรลุผลได้ถ้าขาดระบบการบริหารบุคคลากรในองค์กร การอบรมทบทวนความรู้ให้กับพนักงานจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการทำงานผิดพลาดและข้อร้องเรียนจากลูกค้าได้

Best practices

คือ วิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือคือการปฏิบัติที่นำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างเห็นได้ชัด มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานเป็นเลิศ ได้รับการยอมรับจากบุคคลหรือองค์กรที่เชื่อถือไดได้รับการยอมรับจากลูกค้าและผู้ส่งมอบเป็นจำนวนมาก ทำซ้ำได้ แสดงผลลัพธ์เชิงปริมาณที่เป็นที่ยอมรับ/วัดผลได้

Excellence

Excellences สู่ความสำเร็จ ต้องประกอบด้วย Excellence หลายด้าน ได้แก่

1) Leadership Excellence การเป็นผู้นำต้องเข้าใจและมีวิสัยทัศน์ในการนำองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมาย

2) HR หมายถึงพนักงานในองค์กรบริษัทนั้นๆ ซึ่งจุดอ่อนของประเทศไทยคือเด็กจบใหม่อยากได้เงินเดือนสูง แต่ไม่มีประสบการณ์ ดังนั้นจึงเห็นว่าเด็กจบใหม่ต้องมีการไต่เต้าเป็นลำดับ ต้องเริ่มต้นที่ความลำบากก่อน

3) Management Excellence คือการบริหารจัดการต้องทันยุคทันสมัย ซึ่งปัจจุบันการบริหารจัดการไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลๆ เพราะเทคโนโลยีทำให้สะดวกขึ้นได้สามารถประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดในยุคนี้ ไปจนถึงการบริหารจัดการ

4)Technology Excellence คือการรู้จักนำเทคโนโลยีมาสร้างจุดแกร่งให้เกิดประโยชน์

ใช้ได้กับธุรกิจการเงิน ร้านอาหาร และการขนส่ง และ

5) Marketing Excellence เพราะองค์กรจะไม่ประสบความสำเร็จได้หากไม่เข้าใจความต้องการของตลาด ทำยังไงถึงจะเข้าใจว่าผู้บริโภคจีนต้องการสินค้าแบบไหน และทำอย่างไรถึงจะเข้าใจว่าลูกค้าอินเดียชอบสินค้าแบบใด

เพื่อให้เกิด performance ความพึงพอใจทั้งคนในองค์กรและผู้รับบริการ

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ นักศึกษา ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รุ่นที่ 5

รหัส 53484931029

ศูนย์วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต

สรุปบทความเรื่อง Managing Yourself : How to cultivate engaged Employee

โดย Charalambos A. Vlachoutsicos

จากบทความดังกล่าวเป็นข้อค้นพบของผู้เขียนที่เป็นประสบการณ์ตรงจากการดำเนินงานธุรกิจของครอบครัว และได้เขียนเป็นข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารองค์กรซึ่งจะประกอบด้วยทีมงานทั้งผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะต้องร่วมมือและทำงานเป็นทีมเดียวกัน โดยมีประเด็นสำคัญ 6 ประการที่ควรให้ความสนใจ คือ

1. Be Modest (การอ่อนน้อมถ่อมตน) คือการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นำข้อผิดพลาดมาเป็นบทเรียน เป็นผู้ชี้แนะและให้คำปรึกษาที่ดี

2. Listen Serious and show it (รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างตั้งใจ) โดยบทบาทของผู้บริหารจะต้องรับฟังให้มากขึ้นและกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำมาพัฒนาองค์กร

3. Invite Disagreement (รับฟังความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย) โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกันและให้ความสำคัญกับทุกความคิดเห็น

4. Focus the Agenda (ให้ความสำคัญกับวาระการประชุม) การจัดระเบียบวาระการประชุมจะต้องเรียบเรียงเนื้อหาและประเด็นสาระสำคัญให้ครอบคลุมและดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมอย่างกระชับ

5. Don’t Try to have all the answers (ไม่พยายามที่จะให้ได้ทุกคำตอบ) ผู้บริหารต้องเป็นเพียงผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาและต้องไม่ลงมือแก้ปัญหาเอง

6. Don’t Insist that a decision must be made (ไม่ยืนยันที่จะต้องตัดสินใจทุกเรื่อง) อย่ารีบตัดสินใจจนกว่าจะได้แนวทางที่ชัดเจนร่วมกัน เพื่อไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสียความตั้งใจ

ทั้ง 6 วิธีเป็นข้อเตือนใจผู้บริหารในการบริหารองค์กรโดยการแสวงหาความร่วมมือจากบุคลากรทั้งองค์กร นำข้อมูลมาร่วมกันตัดสินใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา จะทำให้องค์กรพัฒนาและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

HR ^__^ CEO ^__^ NON HR ^^
       HAPPY TOGETHER

I believe most CEO these days do understand –and more importantly support- the HR agenda. This CEO who don’t has HR reporting directly, let’s not waste our time on him/her.

In the same way , the everyone in the company may provide more information to the CEO and by that deliver the CEO info directly in his/her comfort zone. It helps to makes discussions somewhat easier. The HR Director will –alongside measurable criteria- also need to convince the CEO with less analytical data such as “feelings”, “emotions”, etc.

Successful CEO will  also has ears to this. And that’s the challenge, as isn’t the CEO mainly there to predict delivery to the shareholders?

From the great class I learn a lot of the art of living. To gain this ability in life. It's very simple. Just a skill: the ability to free your mind of the past, to free your mind of the future fears, and to be able to play with every situation that is in front of you. This happy classroom make me has a new creativity I just set my “study tour for myself” to learn new things form travel and take photo And this picture that I would like to give to our friendship in this blog ^___^

ขอบคุณท่านอาจารย์จีระ ที่ได้เปิดมุมมองใหม่ ๆ ในการเรียนรู้
Professor Dr. Chira Hongladarom Thank you very much.
นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์
ศูนย์ภูเก็ต

***ส่งการบ้าน***

Name: คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

ID: 53484931003

University: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Major: สาขานวัตกรรมและการจัดการ

การสอนของอ.ดร.จิระฯวันนี้ ได้เรียนรู้หลายเรื่อง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยทุกคนสามารถนำเสนอข้อคิดเห็นในประเด็นที่อ.ได้ตั้งคำถาม

1. อาเซียนเสรีที่ จ.ว.ชัยภูมิ ~: มีดอกกระเจียว ทำอย่างไรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ในอาเซียนเสรีทราบมากขึ้น

  • Trend มักคุเทศก์
  • ประชาสัมพันธ์ ทุกภาษาในอาเซียน
  • สร้างเครือข่าย
  • ประสานงานกับภาครัฐ
  • ให้ความรู้ และResearch วิจัย ข้อมูลและดอกกระเจียว ทำเป็นกระบวนการ
  • ทำทุกอย่างให้ต่อเนื่อง

2 .ถ้าเรามีของดีในประเทศไทย เอาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก จะให้ติดอันดับในอาเซียน จะทำอย่างไร?

ทุกศูนย์ให้ข้อคิดเห็นหลากหลายโดยทุกคนเห็นเป้าหมายร่วมกันเพื่อต้องการให้ติดอันดับอาเซียนได้อย่างดี และอ.ช่วย comment พร้อมให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

3.ให้ทุกกลุ่มทุกศูนย์ Define บทบาทของ Boss

4. ท่านเข้าใจบทบาทใหม่ของ HR ให้อธิบายว่าความสำเร็จอยู่ที่ไหน: การศึกษา วิสาหกิจ เอกชน

 

 

5. บทบาทของ Non HR เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ได้อยู่ใน CEO ที่จะนำกับCEO ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร?

ทุกศูนย์ระดมสมองและให้ข้อคิดเห็น ศูนย์กรุงเทพฯแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้ทำ Mind mapping นำเสนอ นอกจากได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ยังเป็นการพิสูจน์การทำงานเป็นทีมในระยะจำกัดอย่างเยี่ยมยอดทุกศูนย์

ต่อจากนี้เป็นความคิดเห็นของดีฉันที่อ.ให้คิดและมีข้อคิดเห็นนำเสนอ โปรดติดตาม ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ( 3 ต)......

 

การจะเป็น “องค์กรชั้นนำ” ทุนมนุษย์จะต้องประกอบด้วย “ความสัมพันธ์” 2 กลุ่มหลัก

 

  1. ผู้นำระดับนโยบาย
  2. รายละเอียดการทำงาน

 

 1. ผู้นำระดับนโยบาย

 

                ในองค์กรยุคใหม่ จะต้องมีผู้เล่นระดับแกนนำสำคัญของส่วนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3 ส่วนคือ CEO ,  Smart HR และ Non HR (Line Manager) ในขณะที่ CEO จะต้องลงรายละเอียดกับบทบาทผู้นำที่มีสมรรถนะสูงในเรื่องบุคลากร วิสัยทัศน์ และการสร้างความน่าเชื่อถือผ่านทุกสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัท  แต่จะต้องเริ่มที่ภายในองค์กรคือทุนมนุษย์ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสภาพธุรกิจ วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์องค์กร ส่วน Smart HR ก็ต้องมีกลยุทธ์ กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าลงทุน สร้างคุณค่าเพิ่ม ฯลฯ  ซึ่งจะต้องสอดคล้องไปกับนโยบายของ CEO

 

                เช่นในกรณีบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) ซึ่งอ.ดร. จีระ ฯได้คุยกับผู้บริหาร IRPC:Human Talk แสดงผ่านวีดีทัศน์เมื่อวันอาทิตย์มีการสัมภาษณ์และการนำเสนอการจัดการเรื่องทุนมนุษย์ของบริษัท IRPC โดยนายไกรสิทธิ์  อนุกูลอุทัยวงค์ ผู้อำนวยการผู้จัดการใหญ่สายงานบุคคลจากการติดตามงานของบริษัทนี้ ภายใต้การนำของนายไกรสิทธิ์ฯพบว่าบริษัท มีเป้าหมายจะเป็นบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำครบวงจรของเอเชียภายในปี 2557  ดังนั้นบริษัทจึงวางรากฐานเพิ่มความ

 

 

 

แข็งแกร่งในการบริหาร “ทุนมนุษย์” ถือเป็นทรัพย์สินสำคัญที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับองค์กร เพื่อให้พนักงานเป็นกลไกในการพัฒนาบริษัทสู่การเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศทุกด้าน    โดยเฉพาะการพัฒนาและการบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพนี้ (Career Path) ซึ่งเสมือนหนึ่ง Line Manager  ซึ่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทได้วางนโยบายว่า  พนักงานทุกคนในองค์กรมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาให้ขึ้นตำแหน่งสูงสุด ตราบเท่าที่ความสามารถและความต้องการของพนักงานคนนั้นมีอยู่

                ทั้งนี้ บทบาทผู้นำสอดคล้องกับทฤษฎี 5E’sของดร.จีระ และทฤษฎี 5Q’s -ของดิฉัน

 

ทฤษฎี 5E’sของดร.จีระ

ทฤษฎี 5Q’s ของดิฉัน

 

1. Example คือ เป็น/สร้างตัวอย่างที่ดี

 

  1. Quality of Non Bias ไม่มีอคติ

-Role Model

-Open Mind

-Open Heart

 

2.Experience คือ สะสม/ถ่ายทอดประสบการณ์

 

  1. Quality of Valuable Given

       การให้อย่างมีคุณค่า

-Training

-Learning + Life Long Learning

-Share Experience

-Willingness

-Nuturance

-Generousity

-Knowledge

 

3. Education คือ ให้การศึกษา ให้ความรู้

 

  1. Quality of Fairness เป็นธรรม

-Public Mind @ Heart

-CSR

- Green Mind @ Heart

-Trust

-Accountability

-Respect

 

4. Environment คือ สร้างบรรยากาศที่ดี

 

4. Quality of Working life คุณภาพชีวิตในการทำงาน

-Smart HR, Non HR

-Ambient

-Environment

-Endurance

-Intelligence

 

5. Evaluation คือ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

  1.  Quality of Sustainability          คุณภาพความยั่งยืน

-Product

-Value Added

-Macro to Micro

-KPI

-Orientation

-Continuous Improvement

 

 

กรณีศึกษาเอสซีจี ปัจจุบัน  ข้อมูลจากการเปิดเผยต่อสาธารณะ ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคล  นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดใหญ่ เอสซีจี ได้นำทฤษฎี5E’sของดร.จีระ และทฤษฎี 5Q’s ของดิฉันเข้ามาใช้ในเรื่องนี้ โดย จะเป็นหลักในการทบทวนหลักสูตรพัฒนาดังกล่าว เพื่อให้ทันโลก  และยังให้อย่างมีคุณค่า  ในการ Training and development ใช้งบประมาณ 400-500 ล้านบาทต่อปี เฉพาะ Classroom Training ซึ่งยังไม่รวม On the job training หรือส่งไปอบรมทั้งในและต่างประเทศ

การพัฒนาบุคลากรของเอสซีจีจะดำเนินการโดยการให้ทุนการศึกษาและการอบรม โดยการอบรมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Business Knowledge และ Leadership Skills ซึ่งทางเอสซีจีได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 0.19 ของรายได้ของบริษัทในปี 2550สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรทั้งหมดแล้วและได้ขึ้นเป็นผู้บริหาร ทางเอสซีจีได้จัดหลักสูตรอบรม

 

 

 

เพิ่มเติมได้แก่ Advance Management Program (AMP) และ Executive Development Program (EDP) โดยหลักสูตรแรกเอสซีจีร่วมมือกับ ฮาวาร์ด บิสสิเนสท สคูล และวาร์ตัน บิสสิเนส สคูล ส่วนหลักสูตร EDP ร่วมมือกับ โคลัมเบีย บิสสิเนส สคูล ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับฝึกอบรมผู้บริหารนี้จะแยกอิสระออกจากงบพัฒนาบุคคลหลัก

ส่วนการให้ความสำคัญในลักษณะ Diversity ปัจจุบันเอสซีจีมีนโยบายในการกระจายอำนาจ (Empowerment) เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าได้รับอิสระในการทำงาน มีการเสริมสร้างบทบาทผู้นำในด้านการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หลักการและกลยุทธ์ที่สำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของเอสซีจี ประกอบด้วย Merit System ระบบคุณธรรม ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ มีการโปรโมตยกย่อง แต่งตั้งคนเก่ง คนดี ทำงานดี ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นได้ตลอดเวลา Fairness มีความเป็นธรรม มีเหตุผล มีข้อมูลสนับสนุนในการเลื่อนลำดับขั้น หรือเลือกคนให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยไม่มีความลำเอียง ไม่มีการเลือกสถาบัน มีระบบกรรมการดูแลพนักงานทั้งเครือ Best  Recruit and Retain กระบวนการในการสรรหาบุคลากรใหม่ที่ดีที่สุด  
 
  2. รายละเอียดการทำงาน

 

                ในกระบวนการบริหารจัดการ “ทุนมนุษย์” ยุคใหม่ ภายใต้กรอบที่ CEO , Smart HR ,Non HR ที่มองตาจะต้องก็เข้าใจ และสามารถรับลูกยุทธศาสตร์ขององค์กรได้อย่างรู้ทันซึ่งกันและกัน ตามทฤษฎี 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ของ ดร. จีระ แล้ว เมื่อลงถึงรายละเอียดในการทำงาน จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือมาตรฐานในการชี้วัดหรือตรวจสอบ ประกอบด้วย Benchmarking, Quality, Global Standard, Best practices, and Excellence

                เครื่องมือทั้ง 5  จะทำหน้าที่สัมพันธ์กันภายใต้ Empower ของพนักงาน ที่ได้รับจากผู้นำองค์กรตาม ทฤษฎี 5E’sของดร.จีระ และทฤษฎี 5Q’s ของคุณหญิงณัษฐนนท (ดังที่กล่าวไว้ในข้อ 1) 

Benchmarking  หัวใจสำคัญของการทำ Benchmarking อยู่ตรงที่ทำให้องค์กรมีวิธีการปรับปรุงที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพราะใช้องค์กรที่เหนือกว่าเป็นตัวตั้งและนำมาเปรียบเทียบ วิธีการนี้เราจะรู้ว่า องค์กรของเราอยู่ห่างชั้นกับองค์กรนั้นๆ แค่ไหน และต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะเดินไปถึงจุดหมาย หรือมีอุปสรรคตรงส่วนไหนในหน่วยงาน เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ เป็นต้น

กรณีที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม เอไอเอสซึ่งใช้สัญลักษณ์ลูกโลกสีฟ้าของบริษัทโดยเป็นโลโก้เดียวกับกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น  ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ใหม่ (รีแบรนด์) เป็นรอยยิ้มสีเขียว แทนความเป็นมิตร การสร้างสรรค์ การเติบโต และการแสดงออกทางความรู้สึกที่มุ่งมั่น ชัดเจน ภายใต้แนวคิด "เอไอเอส ชีวิตในแบบคุณ"

การรีแบรนด์ครั้งนี้เพื่อต้องการหารหลุดพ้นจากการที่นำไปโยงเรื่องการเมือง นั่นเป็นเรื่องหนึ่ง  แต่สิ่งที่เอไอเอสต้องทำทันทีในภายในองค์กรคือBenchmarking  กับ ดีแทค และทรู มูฟที่ทำมาก่อนหน้านั้น เพื่อให้หลังการรีแบรนด์ของเอสไอเอสครั้งนี้เดินไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้

 Quality ความของคำนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้กับบริบทใด เพราะสามารถใช้ได้กับ คน สัตว์ สิ่งของ  มีความหมายชัดเจนเป็นเรื่องคุณภาพ ซึ่งคุณภาพของพนักงานในองค์กรมีความสำคัญมากเท่าใด คุณภาพของสินค้าของบริษัทก็มีความสำคัญไม่ด้อยกว่ากัน เพราะคุณภาพสินค้าในที่นี้หมายถึงเรื่องความน่าเชื่อถือต่อสินค้า ต่อ Brand ที่ต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าสำหรับการใช้งาน โดยมีราคาสมเหตุผลกับสินค้านั้นๆ

ปัจจุบันเมื่อกฎเกณฑ์ทางการค้าถูกผู้บริโภคบังคับเท่าๆกับถูกกฎเกณฑ์การค้าขายอย่างเป็นธรรมบังคับ เช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมโลกบังคับ  ส่งผลมาถึงบริษัทก็มีสำนึกในเรื่องการค้าอย่างเป็นธรรมมากขึ้น สินค้าขององค์กรขนาดใหญ่ต้องคำนึงถึงสินค้าของตนเองต้องมี “คุณภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” จึงเป็นที่มาของตรามาตรฐานของแต่ละองค์กรในต่างประเทศ  ภาคเอกชนของไทยรายแรนกที่เริ่มเรื่องนี้คือเอสซีจี มีฉลาก SCG eco value การันตีนวัตกรรมของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผู้บริโภค ได้รับสินค้าและบริการคุณภาพสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ประหยัดพลังงาน รีไซเคิลได้ อายุการใช้งานยืนยาวขึ้น มีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

Global Standard มีมากมายสำหรับมาตรฐานสากล อาทิ  ISO (International Standardization and Organization)  คือ มาตรฐานด้านเทคนิคและระบบต่าง ๆ  เพื่อจัดระเบียบการค้าโลก สร้างมาตรฐานสากลให้การรับรอง  หรือTQM (Total Quality Management) เป็นระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าภายใต้ความร่วมมือของพนักงานทั่วทั้งองค์กรที่จะปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ TQM จึงเป็นแนวทางที่หลายองค์กรนำมาใช้ปรับปรุงงาน  Risk Management การบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการในการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดลำดับความสำคัญ และการกำหนดมาตรการในการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานขององค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจที่กำหนดไว้

 

จากตัวอย่าง 3 เรื่องเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรไม่สามารถปฏิเสธเครื่องมือเหล่านี้ได้  เพราะข้อมูลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ไม่ได้ใช้ในองค์กรตนเองเพียงอย่างเดียว มาตรฐานสากลหลายอย่างเป็นสิ่งการันตีคุณภาพ และการบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาลไปในตัวด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้า และคู่ค้าโดยเฉพาะต่างประเทศต้องการทราบข้อมูลไม่น้อยกว่าเจ้าของบริษัท

Best practices   คือการปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ หรือวิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศ ทำให้เกิดขึ้นได้หลายช่องทาง  เช่นเกิดจากบุคคล มาจากการเรียนรู้หรือประสบการณ์ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิธีการใหม่หรือวิธีการที่ดีกว่า  เกิดจากปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้มีการแสวงหาแนวทาง กระบวนการ วิธีการที่ดีกว่า เพื่อให้ได้ผลสำเร็จสูงสุด หรือเกิดจากแรงขับเคลื่อนการพัฒนา ค้นหาวิธีการใหม่ สร้างความพึงพอใจของผู้รับบริการ เสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กร

เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ดิฉันได้เห็นปัญหาพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวมีน้อยลงมาก เพราะกรุงเทพฯมีอาคารเพิ่มขึ้นมากมาย ดังนั้นจึงได้ย้ายการปลูกพืชผักสวนครัวไปไว้บนพื้นที่ว่างของอาคารสำนักงานเขตกทม.เริ่มจากเขตคลองเตย โดยใช้ดาดฟ้า ต่อมาเพิ่มเป็นระเบียงอาคารปลูกผักสวนครัวไร้สารเคมี ช่วยให้เจ้าหน้าที่กทม.และชุมชนประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเหล่านี้เพราะสามารถเด็ดไปทำอาหารได้เลย และไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีตกค้าง

ล่าสุดในงานระดับโลก มิลานแฟร์ 2011 ได้เผยให้เห็นคอนเซ็ปต์ใหม่ของการออกแบบอาคารสูง ที่จะต้องมีพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวบนอาคารได้ !!

Excellence ความหมายจากการแปลตามศัพท์คือ ยอดดีหรือยอดเยี่ยมในทางใดเป็นพิเศษ

ในทางการบริหารทุนมนุษย์  ก็สามารถทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในขั้นยอดเยี่ยมได้เช่นกัน เช่นในกรณีคุณพารณฝากฝีมือการบริหารในการเลือกคนเข้าทำงานที่ปูนซิเมนต์ไทยจะต้องเป็น “คนดี และคนเก่ง” 2 คำนี้ถูกสืบทอดมาอย่างยาวนานจนกระทั่งปัจจุบัน และบริษัทอื่นก็นำหลักการนี้ไปใช้ในการคัดเลือกคนเช่นเดียวกัน

หรือในเรื่อง 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ของ ดร. จีระ ได้ถูกหลายองค์กรเลือกนำไปใช้เช่น ไออาร์พีซี รวมถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ สนับสนุนให้อยู่ในแผนฯ11อย่างเต็มที่

รายละเอียดการทำงานผ่านคอนเซ็ปต์ของเครื่องมือทั้ง 5นี้มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดโดยตัวเอง  และยังถูกผู้เล่าสำคัญขององค์กรใช้อย่างสม่ำเสมอ ในการสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กร

...................................................................................

สรุปประเด็นช่วงเช้าวันที่ 2 ตุลาคม 2554

เสนอ Concept 5 อย่าง

  • Benchmarking
  • Quality
  • Standard
  • Best practices
  • excellent

อาเซียนเสรี จ.ชัยภูมิ

มีดอกกระเจียว ทำอย่างไรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ในอาเซียนเสรีทราบมากขึ้น

  • Trend มักคุเทศก์
  • ประชาสัมพันธ์ ทุกภาษาในอาเซียน
  • สร้างเครือข่าย
  • ประสานงานกับภาครัฐ
  • ให้ความรู้ และResearch วิจัย ข้อมูลและดอกกระเจียว ทำเป็นกระบวนการ
  • ทำทุกอย่างให้ต่อเนื่อง

ดร.จีระ  ที่ได้ดีเพราะ อยู่ที่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่ธรรมศาสตร์มานาน และ มรภ.สุนันทาได้ดีเพราะ ผมมาสอน 5 รุ่นแล้ว  

คำถาม ถ้าเรามีของดีในประเทศไทย เอาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก จะให้ติดอันดับในอาเซียน จะทำอย่างไร

ศูนย์ภูเก็ต

  • ในมุมมอง คือ ต้องพัฒนาคน นำชาวบ้านไปดูงานในต่างประเทศ  คือในเอเชียและอาเซียน อย่าไปยุโรป
  • เห็นด้วยกับคนแรก ต้องเรียนรู้เรื่องนี้ก่อน มาเป็นสิ่งที่มีค่า น่าหวงแหน และทำให้สวยกว่าเดิม
  • เรื่องคน ดอกกระเจียวจะสวยได้คนก็ต้องมีความยิ้มแย้มแจ่มใส เหมือนในภูเก็ตที่มีรถตุ๊กตุ๊กเก็บชาวไทยกับต่างไทยคนละราคา ไม่เป็นสิ่งจำเป็น

ดร.จีระ

  • อย่าขายอย่างเดียว ต้องรักษาด้วย สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็น รักษาธรรมชาติเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • มีวิธีการเรียนรู้  ทำวิจัยในที่ต่างๆ เช่น ร.ร.โอเรียนเต็ล ได้รับอันดับ 1 , 2 ของโลก แต่ทำอย่างไร คือ การมีรอยยิ้ม มี Felling มีอะไรเล็กๆน้อยๆ ที่ทำให้เสริมจุดใหญ่ได้ โดย มี K ที่ลิงก์กันด้วย คือ Learning Organization และ Customer Capital  ระบบราชการ Customer คือ ประชาชน ไม่เคยเรียน เรื่องความพึงพอใจของประชาชน เรื่อง CRM ไม่เคยถามว่า ความรู้ขณะนี้ยิงไปใน DNA ของเราหรือยัง?
  • 8K’s 5K’s ช่วยได้ในเรื่องอาเซียนเสรี สามารถนำช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องดอกกระเจียวก็ตาม แล้วบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ต่างจังหวัด ถ้าไม่มี 5 ตัว  คือ Benchmarking ,Quality,Standard,Best practices , excellent จะอยู่ได้หรือไม่? ต้องวิ่งไปหา Global Standard
  • ถ้าจะเป็นศึกษานิเทศก์ ต้องหาจุดให้ได้ว่าจะอยู่ตรงไหน อีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร อย่างได้รางวัลต่างๆ ในการเรียนอย่างโอลิมปิกระดับโลก แต่สามารถนำมาใช้ให้ประสบความสำเร็จเหมือน บิวเกตได้หรือไม่ เราต้องเก่งในวันนี้ และต้องยั่งยืนด้วย ควรจะนำเรื่องนี้มาทำเรื่องวิทยานิพนธ์ ในเรื่องอาเซียนเสรี Speech ในความเร็ว ,ความไม่แนนอน ,ทายไม่ถูกว่าอะไรจะเกิดขึ้น

ศูนย์เลย

  • เราต้องรู้สภาพพื้นที่ก่อน อยู่อ.เทศกิจ จะดูว่าองค์ประกอบ ว่ากี่ตำบล มี อบต.เทศบาล เท่าไหร่ อบต.มีวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมาผนวกกับจุดเด่น และนำมาเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ต้องมี Story ต้องส่งเสริมให้มีในประเทศไทยประเทศเดียว จึงจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้

ดร.จีระ

  • อยู่ในทฤษฎี 8k เรื่องเกษตร ท่องเที่ยว สุขภาพอนามัย สมุนไพร การใช้ชีวิต แต่ไม่มีคนเก่งในเรื่องนี้เลย ไปเก่งด้านวิศวกรรมแต่ในภายหน้าเราสู่จีนไม่ได้
  • สังคมไทย ไม่เคยบ้าคลั่งความดี บ้าการเป็นดารา ควรใช้จังหวะได้ดี
  • มีหนังสือเรื่องหนึ่ง เรื่อง The Economist ประเทศใดก็ตามที่ติดตัว ผลประโยชน์ต่อประชาชนน้อย คือจีน ไม่ถึง 30 ปี คนไทยเปลี่ยนจาก
  • อินเดีย เกิดขึ้นจาก 1991 อินเดียเจริญมาก และรัสเซีย ไม่เคยขายสินค้าให้ประเทศในโลก
  • ถ้าเราเปิดประเทศในโลกเรามีอันหนึ่ง คือ Benchmarking ราคาและคุณภาพ ต้องแข่งขันกับประเทศอื่นให้ได้ คนไทยต้องรู้ว่าเราต้องมีมาตรฐานให้สูงขึ้น ยืนอย่างสง่าผ่าเผย เตรียมพร้อมทุนมนุษย์ให้เป็น ต้องเจรจาต่อรอง มีการคิดเป็นวิเคราะห์เป็น
  • เห็นด้วยกับ สัมมนา เรื่อง Leader ship อาเซียน พระคุณเจ้าอาจจะผู้นำของสงฆ์มาด้วย
  • การหารือวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง อยู่กับผมไม่ต้องบ้า PowerPoint มีการวางแผนว่าต้องพูดเรื่องอะไร
  • ขอขอบคุณหมอวิจารณ์พาณิชย์ที่มีเว็ปไซด์ Gotoknow ขึ้นมา เขาพูดว่า ผมอ่าน  Gotoknow ของอาจารย์ทุกบทความ ทำไมอ.มีผลงานมากเลย การคลิกบล็อกสวนสุนันทา ประมาณสองพัน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเยอะ
  • ผมสอนที่มหิดล ป.เอก คิดเงินแค่คิดเจ็ดหมื่นเอง แต่มีคนดร็อปไปแล้วเยอะมาก เขาสอนเป็นภาษาอังกฤษหมด PHd. ในเมืองไทยเรียน ป.เอกง่ายเพียงแค่มีเงิน เราเรียนหนังสือ อ่านหนังสือเองน้อยมาก การเขียนบล็อก สามารถ
  • ต้อง Story เป็นภาษาอาเซียนด้วย คนไทยคิดไม่เป็น ไม่ชอบหาความรู้นอกห้องเรียน ตีโจทย์ไม่แตก แต่ผมบังคับให้คุณคิด หลังจากนั้นควรมี Learning Community ใน 4L’s ด้วย

ศูนย์โคราช

  • การสร้างมูลค่าเพิ่มให้การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติให้มูลค่า รองรับอาเซียนเสรี มองในเรื่องการตระหนักถึงการเตรียมตัว ในแหล่งการรองรับการท่องเที่ยว ถ้าท้องถิ่นตระหนักเรื่องท่องเที่ยว ก็จะมีระดมสมองในเรื่องการท่องเที่ยว มีการช่วยเหลือการท่องเที่ยว จากกระทรวงต่างๆ  

ดร.จีระ

  • ทุนทาง 8k, 5k’s ทุนทางปัญญา และ เครือข่าย ในจังหวัด กระทรวง มีผู้นำท้องถิ่นและชาวบ้าน มีแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเดียวไม่พอ ควร  Benchmarking ,Quality, Standard, Best practices , excellent    ถ้าอยู่เฉยก็เท่ากับเราไม่ได้เปิดประเทศ ก็จะเหมือนพม่า ไม่ได้เปิดเฉพาะสินค้า แต่เปิดโลกทัศน์ด้วย เราต้องมี Learning ต้องมีบรรยากาศ เกิดการ Self Learning หรือต้องมีองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องดูดีมานไซด์ ให้ดี มี Customer Value มีแรงผลักในการเรียนรู้ที่ดี หา Gap Analysis ให้ได้ว่าอยู่ตรงไหน มีกลุ่มพลังให้เกิดสมรรถนะของคน ช่วยให้เกิดบรรยากาศให้เกิดระดับ ป.เอก เข้า ทฤษฎี 2R’s คือ Reality , relevance ด้วย ซึ่งได้เขียนในบทความแนวหน้าด้วย
  •  ถ้าอาเซียนเสรี ทำให้คนรวย ประเทศไม่รอด แต่ถ้ากระจายทุนมนุษย์ให้คนล่าง ประเทศก็จะอยู่รอด ผมมีความสุขที่ได้ช่วยประชาชน ด้วย มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ต้องช่วยกัน ต้องแน่น ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ช่วยสังคมด้วย

ข้อสอบ

  • ข้อ 1 มีทฤษฎี HR Architecture  ต้องได้รับการลงทุนด้าน การศึกษา โภชนา ครองครัว เทรนนิ่ง ดูทฤษฎี 3 วงกลม เรียกว่า บริบท องค์กร Context competency 1 และ 3 เก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวน้อยลง
  • Motivation แยก 3 ตัว แรงจูงใจ แรงบันดาลใจ Empower
  • ออกแบบที่แตกต่าง 3 วงกลม อย่างไร แต่เป้าหมาย การปลูกมี 3 ประเภท มีการปลูกก่อนเก็บเกี่ยว คือปลูกก่อนทำงาน กับปลูกตอนทำงาน ถ้าปลูกไม่ดีก่อนเข้าองค์กร องค์กรอาจจะไม่ดี และปลูกตอนแก่
  • คนมี wisdom มี Knowledge ที่ซ่อนเร้นอยู่ข้างใน ต้องบริหารคนในช่วย 22 – 60 ปี ทำอย่างไรให้สำเร็จให้ได้
  • คลิกเข้าไปในอินเตอร์เน็ท เรื่อง Micro hr design ดูว่าเป็นอย่างไร ? เป็นเรื่องประกอบข้อนี้ ทำเป็น Model หรือกราฟ ก็ได้ Design แบบออกมา
  • ข้อ 2 เลือกอันใดอันหนึ่ง นำมาเขียน เช่น ทุนมนุษย์กับการศึกษา หรือทุนมนุษย์กับชุมชน รู้ว่า
    • Where we are?
    • Where do we want to go?
    • How to get there?
    • How do achieve HR or HC execution? Make it successful.

เขียนออกมา ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณธรรมจริยธรรม ถ้ามีเป้าหมาย ยุทธวิธีคืออะไร  เสนอแนะว่าเมื่อมียุทธวิธี แล้วจะทำอย่างไรให้สำเร็จ

  • ข้อ 3 ความสุข คนชอบพูดกว้าง เช่น องค์กรหนึ่งไปสร้างให้ไปมีความสุขเล็กๆ ขึ้นมา มีความพร้อมทั้งร่างกายที่ดี มี Passion มี Purpose มีความมุ่งมั่น คนเราจะมีความสำเร็จในชีวิตไม่ได้แค่มีรถเบนซ์หรือเรือยอร์ช แต่เงินมาก แต่ความสุขลดลงก็ไม่ดี การสำรวจ คนที่เบื่อคือช่วง 8 – 5 โมง แต่ช่วงที่มีความสุขเป็นช่วงที่ไม่ได้ทำงาน ช่วงที่อยู่กับครอบครัว การได้เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว  ซึ่งจะทำอย่างไรให้ช่วงที่เบื่อกลับมามีความสุขได้
  • ทำ Survey ในการทำงาน ว่าได้คะแนนเท่าไหร่ คนที่ได้น้อย การทำงานเป็นอย่างไร
  • แล้วความสุขเกิดขึ้นได้อย่างไร มีปัจจัยอะไรสำคัญบ้าง เช่น ชอบงาน ทำงานมีเป้าหมาย ไม่บ้าเงิน และมีความสามารถในการทำงานนั้นๆ เช่น การมีตำแหน่งใหม่ ต้องมีความสามารถในการทำงาน ต้องทำได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย
  • มีการ Reinventing เสมอ
  • การถามคน 2 กลุ่ม มองเรื่องความสุขอย่างไร ตัวฉันทำอย่างไร และคนที่ไม่มีความสุขด้วย แต่คำถามต้องสำคัญจาก 1 ไป 2 หรือ จาก 2 ไป 3 ต้องเป็นไปในเชิงลึก ได้มาอย่างไร มาจากไหน เจ็บปวดอย่างไร ได้มาจาก Nobel อะไร เป็นต้น
  • ต้องเป็นบุคคล มีความสุขเท่าไหร่ เพราะอะไร ส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้นำ ทุนมนุษย์ก็คือ ฉันอยากทำ ฉันจึงมาทำอาชีพนี้ ไม่เหมือนอาชีพครู ไม่อยากทำในตำแหน่งนี้ทำให้ลืมในการดูแลเด็ก
  • ข้อ 4 มองให้ออกว่า แตกต่างกันอย่างไร ในแต่ละหัวข้อ ถ้าจะเสนอแนะเรื่องวิจัยจะทำอย่างไร
  • ข้อ 5 อ่านบทความที่ให้ไป การกระตุ้นให้คนมี Open mind, Open Hard และ Action ทำให้การทำงานเกิดความสุข อยู่ข้างใน สะท้อนจากสิ่งที่มองไม่เห็น Apply จากคนไทยได้ก็ดี
  • ข้อ 6 อธิบายใน 4L’s 8k 5k’s
  • ข้อ 7 ไม่อธิบาย
  • ข้อ 8 แต่ละคนน่าจะเขียนว่าหลักๆ ที่ได้ไปคืออะไร

ตัวอย่างข้อ 8 จากศูนย์ภูเก็ต 5 ข้อ

  • ทำให้เราย้อนกลับมามองว่าการทำงาน การเรียน การใช้ชีวิต อะไรบ้าง
  • ดร.จีระ สำคัญที่สุดคือการค้นหาตัวเอง รู้ตัวหรือ Being you self  สิ่งที่ให้ไปคือ เบ็ดตกปลา กรอบความคิด ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมลึกๆ
  • ได้เกิด 5E คือได้รู้จักกับดร.จีระ ชอบเพราะได้ประสบตามตรงสามารถนำไปใช้ได้จริง
  • ดร.จีระ ถ้าจะ Develop เราอย่าสอน แต่ให้ดูถึง Role Model ถามถึงความเจ็บปวด ไม่ยอมแพ้และลุกขึ้นมาสู้กับมันต่อไป มีการออกกำลังกาย มีความสุข ด้วย
  • ได้เรื่อง เรามีความตั้งใจด้าน HR เราต้องมีความพร้อมและอารมณ์ ด้วย
  • ดร.จีระ ด้านอารมณ์สำคัญมากอย่าให้เกิด คนที่เตือนผมเรื่องนี้คือ คุณเชาวรัตน์ ชาญวีรกูล ตอนที่พูดร่วมกับคุณประยูร เฉลิมศรี ว่าต้องปล่อยวางบ้าง ผมจึงเข้าใจ
  • จากสวนสุนันทา ความรู้การค้นหาตัวเอง ว่าอะไรที่สมบูรณ์ อะไรที่ขาด และนำมาเติมเต็ม นำ 8k’s 5k’s เข้ามาเสริมด้วย
  • ดร.จีระ Ph.D มีความหมายมากสำหรับผม เรื่องปรัชญามีความหมายในต่างประเทศ เป้าหมายในชีวิตสำคัญมาก การค้นหาตัวเองและทำให้คนอื่นได้ดี มีบุญมาก ต้องทำให้ดียิ่งๆขึ้นไปอีก
  • ข้อ 9 ต้อง Apply ให้ดี อย่ามองเป้าหมายแคบๆ เช่น CEO อย่ามองกำไรอย่างเดียว ต้องมองประโยชน์และความยั่งยืนด้วย ต้องมี Vision Commitment และ Character ด้วย   
ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง รหัสนักศึกษา 53484931013

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

สรุปการเรียนวันที่ 2 ตุลาคม 2554 เนื้อหาของ Benchmark , Quality , Global Standard , Best practices และ Excellence

Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจากความหมายนี้ สรุปได้ว่าการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) 2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices)

ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ในการทำ Benchmarking คือ

1. การปรับปรุงตนเองด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่นไม่ใช่การลอกเลียนแบบ เนื่องจากแต่ละองค์กรมีวัฒนธรรม วิสัยทัศน์ สภาพธุรกิจและปัจจัยภายในองค์กรที่แตกต่างกัน ดังนั้น Benchmarking จึงต้องเป็นการเรียนรู้เพื่อนำ Best Practices ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร

2. การแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำ Benchmarking ต้องทำอย่างเป็นระบบ ได้รับการยอมรับและเต็มใจจากองค์กรต้นแบบไม่เปิดเผยข้อมูลหรือนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในการทำ ซึ่งในส่วนนี้จะมีจรรยาบรรณ (Code of Conduct) ควบคุม เพื่อให้การทำ Benchmarking ยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

- หลักการด้านกฎหมาย : หลีกเลี่ยงการทำความผิด หรือใช้วิธีการไม่เหมาะสมในการได้มาซึ่งความลับทางธุรกิจ

- หลักการด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล : เต็มใจในการแลกเปลี่ยน และให้ข้อมูลที่เป็นจริง

- หลักการด้านความลับ : รักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับ ไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลก่อนได้รับการยินยอมจากองค์กรที่ให้ข้อมูล

- หลักการด้านการใช้ข้อมูล : ใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

- หลักการด้านการติดต่อ : ติดต่อผ่านช่องทาง/บุคคลที่กำหนด และไม่เปิดเผยชื่อบุคคลก่อนได้รับการยินยอม

- หลักการด้านการเตรียมตัว : เตรียมตัวให้พร้อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

- หลักการด้านการทำให้สำเร็จ : ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ให้ลุล่วงทันเวลา

- หลักการด้านความเข้าใจและการปฏิบัติ : ปฏิบัติต่อผู้ที่ทำ Benchmarking ตามที่เขาต้องการ

3. เป้าหมายที่แท้จริง (Ultimate Purpose) ของ Benchmarking คือการศึกษา Best Practices ปรับปรุงตนเอง มิใช่ การมุ่งเน้นเพียงการเปรียบเทียบวัดเท่านั้น ซึ่งเทียบเป็นสัดส่วนระหว่างตัววัดและ Best Practices เป็น 10% - 20% : 80% - 90%

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงองค์กรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้มีการปรับปรุงองค์กรอย่างก้าวกระโดดจึงขยายผลอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันมีการทำ Benchmarking ทั่วทั้งองค์กร ปัจจุบัน Benchmarking ได้รับการยอมรับและนำมาใช้มากขึ้น เนื่องจากเหตุผลดังนี้

- เพื่อความยั่งยืนขององค์กร : สภาพการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น การที่องค์กรจะยั่งยืนจำเป็นต้องรักษษและยกระดับความสามารถของตนเองเพื่อให้แข่งขันได้ จึงต้องมีการเรียนรู้และปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่องโดยเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้คือ Benchmarking

- เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด : ความเร็วในการปรับปรุงตนเองเป็นเงื่อนไขสำคัญขอความได้เปรียบในการแข่งขัน Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรม (Innovation) ในองค์กร ซึ่งทำให้เกิดารเปลี่ยนแปลงในเชิงปรับปรุงในระยะเวลาอันสั้นเนื่องจากเป็นการรเรียนรู้ วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดจากภายนอกองค์กรทำให้สามารถ “เรียนลัด” เพื่อก้าวให้ทันองค์กรอื่น ๆ จึงเป็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด

กระบวนการทำ Benchmarking

กระบวนการทำ Benchmarking มีการพัฒนาและนำไปใช้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรต้นแบบที่นำไปใช้นั้นต้องการเน้นรายละเอียดในด้านใด อย่างไรก็ตาม ทุกกระบวนการ/รูปแบบที่ทำก็ยังอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมของบริษัทชั้นนำในระดับโลก ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก และ 10 ขั้นตอนย่อยดังนี้

1. ขั้นตอนการวางแผน (Planning stage) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

1.1 การกำหนดหัวข้อการทำ Benchmarking

1.2 การกำหนดองค์กรเปรียบเทียบ

1.3 การกำหนดวิธีการเก็บและการเก็บข้อมูล

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Stage) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

1.1 การวิเคราะห์ช่วงห่างระหว่างเรากับ Benchmarking Partner เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างของประสิทธิภาพหรือความสามารถขององค์กรเราและ Benchmarking Partner ในปัจจุบันและคาดคะเนความแตกต่างในอนาคต นอกจากนั้นในการวิเคราะห์มุ่งเน้นค้นหาและตอบคำถามให้ได้ว่า Benchmarking Partner นั้น ๆ ทำอย่างไรจึงสามารถสร้าง Best practices ในองค์กรได้และมี Enabler ที่สนับสนุนอย่างไรบ้าง ผลจากการวิเคราะห์ช่วงห่าง (Gap Analysis) จะทำให้เราตอบคำถามได้ว่ามี Gap เท่าไร และ Practices ใดบ้างที่เราเรียนรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเราได้

1.2 การคาดคะเนช่วงห่างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นการประมาณการ Gap ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อประมาณได้ว่าเมื่อใดเราจึงจะสามารถปิดช่วงห่างและเขยิบตนเองได้ หรืออาจกล่าวว่าสามารถปรับปรุงตนเองให้ดีเท่าหรือสูงกว่าคู่เปรียบเทียบได้

2. ขั้นตอนการบูรณการ (Integration Stage) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

2.1 การสื่อสารผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และสร้างการยอมรับ

2.2 การตั้งเป้าหมาย

3. ขั้นตอนการปฏิบัติ (Action Stage) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

3.1 การจัดทำแผนดำเนินการ

3.2 การนำแผนไปสู่การปฏิบัติและการควบคุมกำกับดูแลให้เป็นไปตามแผน

3.3 การทบทวนผลโดยเทียบค่ากับผู้ที่ดีที่สุด หรือ คู่เปรียบเทียบหลักจากการดำเนินงานตามแผนแล้วองค์กรต้องทบทวนผลการดำเนินการโดยตอบคำถามว่า องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

Quality คือ การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม ตามแต่ลักษณะของงาน

1 ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Goods)

2 ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services)

3 ทัศนะคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

4 ทัศนคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

Standard

เนื้อหาข้อกำหนดของมาตรฐานสากลประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่

1.หน่วย งานจะต้องมีการประเมินในส่วนขั้นตอนการจัดเก็บและขนส่งที่อาจจะมีปัจจัยที่ อาจเป็นอันตราย ซึ่งเรียกว่าระบบการวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยง (Hazard and risk analysis system) ระบบการวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยง

2.ระบบบริหารคุณภาพ (Quality management system) การสร้างระบบบริหารงานคุณภาพจำเป็นที่จะต้องจัดทำเป็นเอกสาร ซึ่งเอกสารในระบบบริหารคุณภาพประกอบด้วยนโยบายคุณภาพ ระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติงาน วัตถุประสงค์และเป้าหมายคุณภาพขององค์กร ในเรื่อง

3.การ ควบคุมสภาวะแวดล้อม การควบคุมสินค้า และบุคคลากร ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน การควบคุมสภาวะแวดล้อมในจัดเก็บ และขนส่ง ยังรวมไปถึง การดูแลความสะอาด การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ปลวก แมงสาบ เป็นต้น

4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับบุคคลากรซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยว กับการฝึกอบรมและสุขลักษณะตัวอย่างอกำหนดดังกล่าวข้างต้นจะไม่สามารถบรรลุผล ได้ถ้าขาดระบบการบริหารบุคคลากรในองค์กร การอบรมทบทวนความรู้ให้กับพนักงานจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการ ทำงานผิดพลาดและข้อร้องเรียนจากลูกค้าได้

Best practices Best Practice คือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง แล้วสรุปความรู้และประสบการณ์นั้น เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของตนเอง

Best Practice เป็นบทสรุปของวิธีการปฏิบัติที่เป็น Tacit Knowledge (ความรู้ในตัวคน) ซึ่งเผยแพร่เป็น Explicit Knowledge (ความรู้ที่ปรากฏให้เห็นชัดแจ้งในรูปแบบต่างๆ) เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปทดลองปฏิบัติ

Excellences สู่ความสำเร็จ ต้องประกอบด้วย Excellence หลายด้าน ได้แก่

1) Leadership Excellence การเป็นผู้นำต้องเข้าใจและมีวิสัยทัศน์ในการนำองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมาย

2) HR หมายถึงพนักงานในองค์กรบริษัทนั้นๆ ซึ่งจุดอ่อนของประเทศไทยคือเด็กจบใหม่อยากได้เงินเดือนสูง แต่ไม่มีประสบการณ์ ดังนั้นจึงเห็นว่าเด็กจบใหม่ต้องมีการไต่เต้าเป็นลำดับ ต้องเริ่มต้นที่ความลำบากก่อน

3) Management Excellence คือการบริหารจัดการต้องทันยุคทันสมัย ซึ่งปัจจุบันการบริหารจัดการไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลๆ เพราะเทคโนโลยีทำให้สะดวกขึ้นได้สามารถประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดในยุคนี้ ไปจนถึงการบริหารจัดการ

4)Technology Excellence คือการรู้จักนำเทคโนโลยีมาสร้างจุดแกร่งให้เกิดประโยชน์

ใช้ได้กับธุรกิจการเงิน ร้านอาหาร และการขนส่ง

5) Marketing Excellence เพราะองค์กรจะไม่ประสบความสำเร็จได้หากไม่เข้าใจความต้องการของตลาด ทำยังไงถึงจะเข้าใจว่าผู้บริโภคจีนต้องการสินค้าแบบไหน และทำอย่างไรถึงจะเข้าใจว่าลูกค้าอินเดียชอบสินค้าแบบใด

เพื่อให้เกิด performance ความพึงพอใจทั้งคนในองค์กรและผู้รับบริการ

อาเซียนเสรี โลกาภิวัตน์ไม่ใช่เรื่องใหม่

ปัญหาน้ำมัน โลกร้อน ชายแดน มันจะมีวิกฤติมาเรื่อยๆ

ถ้าเรามีความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ก็จะจัดการโลกาภิวัตน์ได้

ตอนนี้คนเก่งไม่เข้าทำงานในระบบราชการ

ประเทศอื่นๆ มีคนเก่งทำงานในระบบราชการ

ตอนนี้ ประเทศไทยมีการเมืองที่แย่ คนเซ็นเปิดเสรี ไม่รู้ผลกระทบจากการเปิดเสรีอาเซียน

อยากให้คุณมีบทบาทนำในการดูแลประเทศ อย่าพึ่งข้าราชการและนักการเมืองเท่านั้น

ต้องฝึกให้คนคิด ไม่ลอกความคิดเห็น

การเรียนยุคใหม่ต้องสะท้อนความจริง มีแรงบันดาลใจในการสร้างทุนมนุษย์

ต้องผนึกกำลังกันให้ประเทศไทยลงทุนด้านทุนมนุษย์

ท่านอาสา สารสิน ประธานคนแรกของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศก็เน้นให้ดูแลคนไทยด้วย

โลกในอนาคตมีทั้งความไม่แน่นอน โอกาสและภัยคุกคาม มนุษย์ที่มีปัญญาและเครือข่ายต้องผนึกกำลังกันไปช่วยสังคม

การศึกษายุคใหม่ต้องออกนอกห้องเรียน ต้องฟังปราชญ์ชาวบ้าน เป็น Center of Experts

ทุกคนสามารถช่วยเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนได้ พึ่งตนเองดีที่สุด

ทุกอย่างที่เราทำต้องมีผลกระทบต่อสังคมไทย

การเปิดเสรี ต้องเจอเรื่องบทบาทจีน อินเดีย สิทธิมนุษย์ชน ภาวะโลกร้อน พลังงาน

ตอนี้คนอีสาน เริ่มมีประตูที่มุกดาหารและหนองคาย ที่ดินราคากำลังขึ้น จะมีนายทุนกว้านซื้อที่ดินแถบริมแม่น้ำโขง ต้องกระตุ้นให้ประเทศไทยเข้มแข็ง ต้องสร้างความสัมพันธ์ เพราะจะเป็นประตูไปสู่ลาว กัมพูชา จีน (ยูนนาน)

การแข่งขันจากการค้าเสรีทำให้มีความกระตือรือร้น นี่คือแรงผลัก

ภาคอีสานยังลงทุนทุนมนุษย์ไม่พอ

การเปิดการค้าเสรีต้องทำให้เราเกิดโลกทัศน์กว้างขึ้น ต้องเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้งาน ไม่ใช่แค่สอบผ่าน

ใน 10 ประเทศกลุ่มอาเซียน ไทยอยู่อันดับ 7 เรื่องความเข้าใจการเปิดเสรีอาเซียน

อาเซียนเสรีคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์

บางทีเราอาจจะได้เปรียบบางประเทศในกลุ่มอาเซียน

ต้องเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยจากปริมาณมาเป็นคุณภาพ เพราะคุณภาพการศึกษาเป็นคุณภาพของทุนมนุษย์

ชาวเวียดนามเรียนอาชีวะมาก ไม่บ้าปริญญา แต่คนไทยบ้าปริญญาซึ่งเป็นค่านิยมที่ผิด

หนังสือพิมพ์ควรจะพูดเรื่องทุนมนุษย์กับการจัดการความไม่แน่นอนมากขึ้น สิ่งที่ตัดสินใจทำวันนี้ต้องทำให้เราอยู่รอดใน อนาคต ต้องมีการวางแผนเพื่อระยะยาว

ต้องเปลี่ยนทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นมูลค่าเพิ่ม

ต้องบริหารความสมดุลและความเสี่ยงในโลกาภิวัตน์ เดินสายกลาง ใช้เหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี

เรียนการเงินแล้วต้องสร้างประโยชน์ระยะยาวแก่สังคม

ควรสนใจทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถใช้ในภาคธุรกิจได้ด้วย

โลกในอนาคต เราต้องใช้ปัญญาในการจัดการ อดีตไม่ใช่ตัวตัดสิน อย่าพึ่งพาตะวันตกมากเกินไป

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการเปิดเสรีอาเซียน เราต้องมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม ใช้เศรษฐกิจพอเพียง แล้วจะฉกฉวยโอกาสได้

ต้องเดินสายกลางเรื่องปัญหาชายแดน

ต้องมีจินตนาการ มีความคิดแปลกใหม่

ต้องศึกษาการเปิดเสรีอาเซียนให้ดี และสร้างโอกาส

ต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและจีน

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง รหัสนักศึกษา 53484931013

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

สรุปการเรียนวันที่ 2 ตุลาคม 2554 เนื้อหาของ Benchmark , Quality , Global Standard , Best practices และ Excellence

Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจากความหมายนี้ สรุปได้ว่าการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) 2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices)

ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ในการทำ Benchmarking คือ

1. การปรับปรุงตนเองด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่นไม่ใช่การลอกเลียนแบบ เนื่องจากแต่ละองค์กรมีวัฒนธรรม วิสัยทัศน์ สภาพธุรกิจและปัจจัยภายในองค์กรที่แตกต่างกัน ดังนั้น Benchmarking จึงต้องเป็นการเรียนรู้เพื่อนำ Best Practices ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร

2. การแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำ Benchmarking ต้องทำอย่างเป็นระบบ ได้รับการยอมรับและเต็มใจจากองค์กรต้นแบบไม่เปิดเผยข้อมูลหรือนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในการทำ ซึ่งในส่วนนี้จะมีจรรยาบรรณ (Code of Conduct) ควบคุม เพื่อให้การทำ Benchmarking ยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

- หลักการด้านกฎหมาย : หลีกเลี่ยงการทำความผิด หรือใช้วิธีการไม่เหมาะสมในการได้มาซึ่งความลับทางธุรกิจ

- หลักการด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล : เต็มใจในการแลกเปลี่ยน และให้ข้อมูลที่เป็นจริง

- หลักการด้านความลับ : รักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับ ไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลก่อนได้รับการยินยอมจากองค์กรที่ให้ข้อมูล

- หลักการด้านการใช้ข้อมูล : ใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

- หลักการด้านการติดต่อ : ติดต่อผ่านช่องทาง/บุคคลที่กำหนด และไม่เปิดเผยชื่อบุคคลก่อนได้รับการยินยอม

- หลักการด้านการเตรียมตัว : เตรียมตัวให้พร้อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

- หลักการด้านการทำให้สำเร็จ : ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ให้ลุล่วงทันเวลา

- หลักการด้านความเข้าใจและการปฏิบัติ : ปฏิบัติต่อผู้ที่ทำ Benchmarking ตามที่เขาต้องการ

3. เป้าหมายที่แท้จริง (Ultimate Purpose) ของ Benchmarking คือการศึกษา Best Practices ปรับปรุงตนเอง มิใช่ การมุ่งเน้นเพียงการเปรียบเทียบวัดเท่านั้น ซึ่งเทียบเป็นสัดส่วนระหว่างตัววัดและ Best Practices เป็น 10% - 20% : 80% - 90%

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงองค์กรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้มีการปรับปรุงองค์กรอย่างก้าวกระโดดจึงขยายผลอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันมีการทำ Benchmarking ทั่วทั้งองค์กร ปัจจุบัน Benchmarking ได้รับการยอมรับและนำมาใช้มากขึ้น เนื่องจากเหตุผลดังนี้

- เพื่อความยั่งยืนขององค์กร : สภาพการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น การที่องค์กรจะยั่งยืนจำเป็นต้องรักษษและยกระดับความสามารถของตนเองเพื่อให้แข่งขันได้ จึงต้องมีการเรียนรู้และปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่องโดยเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้คือ Benchmarking

- เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด : ความเร็วในการปรับปรุงตนเองเป็นเงื่อนไขสำคัญขอความได้เปรียบในการแข่งขัน Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรม (Innovation) ในองค์กร ซึ่งทำให้เกิดารเปลี่ยนแปลงในเชิงปรับปรุงในระยะเวลาอันสั้นเนื่องจากเป็นการรเรียนรู้ วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดจากภายนอกองค์กรทำให้สามารถ “เรียนลัด” เพื่อก้าวให้ทันองค์กรอื่น ๆ จึงเป็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด

กระบวนการทำ Benchmarking

กระบวนการทำ Benchmarking มีการพัฒนาและนำไปใช้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรต้นแบบที่นำไปใช้นั้นต้องการเน้นรายละเอียดในด้านใด อย่างไรก็ตาม ทุกกระบวนการ/รูปแบบที่ทำก็ยังอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมของบริษัทชั้นนำในระดับโลก ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก และ 10 ขั้นตอนย่อยดังนี้

1. ขั้นตอนการวางแผน (Planning stage) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

1.1 การกำหนดหัวข้อการทำ Benchmarking

1.2 การกำหนดองค์กรเปรียบเทียบ

1.3 การกำหนดวิธีการเก็บและการเก็บข้อมูล

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Stage) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

1.1 การวิเคราะห์ช่วงห่างระหว่างเรากับ Benchmarking Partner เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างของประสิทธิภาพหรือความสามารถขององค์กรเราและ Benchmarking Partner ในปัจจุบันและคาดคะเนความแตกต่างในอนาคต นอกจากนั้นในการวิเคราะห์มุ่งเน้นค้นหาและตอบคำถามให้ได้ว่า Benchmarking Partner นั้น ๆ ทำอย่างไรจึงสามารถสร้าง Best practices ในองค์กรได้และมี Enabler ที่สนับสนุนอย่างไรบ้าง ผลจากการวิเคราะห์ช่วงห่าง (Gap Analysis) จะทำให้เราตอบคำถามได้ว่ามี Gap เท่าไร และ Practices ใดบ้างที่เราเรียนรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเราได้

1.2 การคาดคะเนช่วงห่างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นการประมาณการ Gap ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อประมาณได้ว่าเมื่อใดเราจึงจะสามารถปิดช่วงห่างและเขยิบตนเองได้ หรืออาจกล่าวว่าสามารถปรับปรุงตนเองให้ดีเท่าหรือสูงกว่าคู่เปรียบเทียบได้

2. ขั้นตอนการบูรณการ (Integration Stage) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

2.1 การสื่อสารผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และสร้างการยอมรับ

2.2 การตั้งเป้าหมาย

3. ขั้นตอนการปฏิบัติ (Action Stage) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

3.1 การจัดทำแผนดำเนินการ

3.2 การนำแผนไปสู่การปฏิบัติและการควบคุมกำกับดูแลให้เป็นไปตามแผน

3.3 การทบทวนผลโดยเทียบค่ากับผู้ที่ดีที่สุด หรือ คู่เปรียบเทียบหลักจากการดำเนินงานตามแผนแล้วองค์กรต้องทบทวนผลการดำเนินการโดยตอบคำถามว่า องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

Quality คือ การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม ตามแต่ลักษณะของงาน

1 ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Goods)

2 ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services)

3 ทัศนะคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

4 ทัศนคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

Standard

เนื้อหาข้อกำหนดของมาตรฐานสากลประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่

1.หน่วย งานจะต้องมีการประเมินในส่วนขั้นตอนการจัดเก็บและขนส่งที่อาจจะมีปัจจัยที่ อาจเป็นอันตราย ซึ่งเรียกว่าระบบการวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยง (Hazard and risk analysis system) ระบบการวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยง

2.ระบบบริหารคุณภาพ (Quality management system) การสร้างระบบบริหารงานคุณภาพจำเป็นที่จะต้องจัดทำเป็นเอกสาร ซึ่งเอกสารในระบบบริหารคุณภาพประกอบด้วยนโยบายคุณภาพ ระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติงาน วัตถุประสงค์และเป้าหมายคุณภาพขององค์กร ในเรื่อง

3.การ ควบคุมสภาวะแวดล้อม การควบคุมสินค้า และบุคคลากร ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน การควบคุมสภาวะแวดล้อมในจัดเก็บ และขนส่ง ยังรวมไปถึง การดูแลความสะอาด การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ปลวก แมงสาบ เป็นต้น

4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับบุคคลากรซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยว กับการฝึกอบรมและสุขลักษณะตัวอย่างอกำหนดดังกล่าวข้างต้นจะไม่สามารถบรรลุผล ได้ถ้าขาดระบบการบริหารบุคคลากรในองค์กร การอบรมทบทวนความรู้ให้กับพนักงานจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการ ทำงานผิดพลาดและข้อร้องเรียนจากลูกค้าได้

Best practices Best Practice คือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง แล้วสรุปความรู้และประสบการณ์นั้น เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของตนเอง

Best Practice เป็นบทสรุปของวิธีการปฏิบัติที่เป็น Tacit Knowledge (ความรู้ในตัวคน) ซึ่งเผยแพร่เป็น Explicit Knowledge (ความรู้ที่ปรากฏให้เห็นชัดแจ้งในรูปแบบต่างๆ) เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปทดลองปฏิบัติ

Excellences สู่ความสำเร็จ ต้องประกอบด้วย Excellence หลายด้าน ได้แก่

1) Leadership Excellence การเป็นผู้นำต้องเข้าใจและมีวิสัยทัศน์ในการนำองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมาย

2) HR หมายถึงพนักงานในองค์กรบริษัทนั้นๆ ซึ่งจุดอ่อนของประเทศไทยคือเด็กจบใหม่อยากได้เงินเดือนสูง แต่ไม่มีประสบการณ์ ดังนั้นจึงเห็นว่าเด็กจบใหม่ต้องมีการไต่เต้าเป็นลำดับ ต้องเริ่มต้นที่ความลำบากก่อน

3) Management Excellence คือการบริหารจัดการต้องทันยุคทันสมัย ซึ่งปัจจุบันการบริหารจัดการไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลๆ เพราะเทคโนโลยีทำให้สะดวกขึ้นได้สามารถประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดในยุคนี้ ไปจนถึงการบริหารจัดการ

4)Technology Excellence คือการรู้จักนำเทคโนโลยีมาสร้างจุดแกร่งให้เกิดประโยชน์

ใช้ได้กับธุรกิจการเงิน ร้านอาหาร และการขนส่ง

5) Marketing Excellence เพราะองค์กรจะไม่ประสบความสำเร็จได้หากไม่เข้าใจความต้องการของตลาด ทำยังไงถึงจะเข้าใจว่าผู้บริโภคจีนต้องการสินค้าแบบไหน และทำอย่างไรถึงจะเข้าใจว่าลูกค้าอินเดียชอบสินค้าแบบใด

เพื่อให้เกิด performance ความพึงพอใจทั้งคนในองค์กรและผู้รับบริการ

อาเซียนเสรี โลกาภิวัตน์ไม่ใช่เรื่องใหม่

ปัญหาน้ำมัน โลกร้อน ชายแดน มันจะมีวิกฤติมาเรื่อยๆ

ถ้าเรามีความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ก็จะจัดการโลกาภิวัตน์ได้

ตอนนี้คนเก่งไม่เข้าทำงานในระบบราชการ

ประเทศอื่นๆ มีคนเก่งทำงานในระบบราชการ

ตอนนี้ ประเทศไทยมีการเมืองที่แย่ คนเซ็นเปิดเสรี ไม่รู้ผลกระทบจากการเปิดเสรีอาเซียน

อยากให้คุณมีบทบาทนำในการดูแลประเทศ อย่าพึ่งข้าราชการและนักการเมืองเท่านั้น

ต้องฝึกให้คนคิด ไม่ลอกความคิดเห็น

การเรียนยุคใหม่ต้องสะท้อนความจริง มีแรงบันดาลใจในการสร้างทุนมนุษย์

ต้องผนึกกำลังกันให้ประเทศไทยลงทุนด้านทุนมนุษย์

ท่านอาสา สารสิน ประธานคนแรกของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศก็เน้นให้ดูแลคนไทยด้วย

โลกในอนาคตมีทั้งความไม่แน่นอน โอกาสและภัยคุกคาม มนุษย์ที่มีปัญญาและเครือข่ายต้องผนึกกำลังกันไปช่วยสังคม

การศึกษายุคใหม่ต้องออกนอกห้องเรียน ต้องฟังปราชญ์ชาวบ้าน เป็น Center of Experts

ทุกคนสามารถช่วยเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนได้ พึ่งตนเองดีที่สุด

ทุกอย่างที่เราทำต้องมีผลกระทบต่อสังคมไทย

การเปิดเสรี ต้องเจอเรื่องบทบาทจีน อินเดีย สิทธิมนุษย์ชน ภาวะโลกร้อน พลังงาน

ตอนี้คนอีสาน เริ่มมีประตูที่มุกดาหารและหนองคาย ที่ดินราคากำลังขึ้น จะมีนายทุนกว้านซื้อที่ดินแถบริมแม่น้ำโขง ต้องกระตุ้นให้ประเทศไทยเข้มแข็ง ต้องสร้างความสัมพันธ์ เพราะจะเป็นประตูไปสู่ลาว กัมพูชา จีน (ยูนนาน)

การแข่งขันจากการค้าเสรีทำให้มีความกระตือรือร้น นี่คือแรงผลัก

ภาคอีสานยังลงทุนทุนมนุษย์ไม่พอ

การเปิดการค้าเสรีต้องทำให้เราเกิดโลกทัศน์กว้างขึ้น ต้องเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้งาน ไม่ใช่แค่สอบผ่าน

ใน 10 ประเทศกลุ่มอาเซียน ไทยอยู่อันดับ 7 เรื่องความเข้าใจการเปิดเสรีอาเซียน

อาเซียนเสรีคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์

บางทีเราอาจจะได้เปรียบบางประเทศในกลุ่มอาเซียน

ต้องเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยจากปริมาณมาเป็นคุณภาพ เพราะคุณภาพการศึกษาเป็นคุณภาพของทุนมนุษย์

ชาวเวียดนามเรียนอาชีวะมาก ไม่บ้าปริญญา แต่คนไทยบ้าปริญญาซึ่งเป็นค่านิยมที่ผิด

หนังสือพิมพ์ควรจะพูดเรื่องทุนมนุษย์กับการจัดการความไม่แน่นอนมากขึ้น สิ่งที่ตัดสินใจทำวันนี้ต้องทำให้เราอยู่รอดใน อนาคต ต้องมีการวางแผนเพื่อระยะยาว

ต้องเปลี่ยนทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นมูลค่าเพิ่ม

ต้องบริหารความสมดุลและความเสี่ยงในโลกาภิวัตน์ เดินสายกลาง ใช้เหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี

เรียนการเงินแล้วต้องสร้างประโยชน์ระยะยาวแก่สังคม

ควรสนใจทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถใช้ในภาคธุรกิจได้ด้วย

โลกในอนาคต เราต้องใช้ปัญญาในการจัดการ อดีตไม่ใช่ตัวตัดสิน อย่าพึ่งพาตะวันตกมากเกินไป

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการเปิดเสรีอาเซียน เราต้องมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม ใช้เศรษฐกิจพอเพียง แล้วจะฉกฉวยโอกาสได้

ต้องเดินสายกลางเรื่องปัญหาชายแดน

ต้องมีจินตนาการ มีความคิดแปลกใหม่

ต้องศึกษาการเปิดเสรีอาเซียนให้ดี และสร้างโอกาส

ต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและจีน

นายราวี ซามี นายราวี ซามี รหัสนักศึกษา 534849310030

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

สรุปการเรียนจากห้องเรียน เมื่อ 2 กันยายน 2554

หัวใจสำคัญของการทำ Benchmarking อยู่ตรงที่ทำให้องค์กรมีวิธีการปรับปรุงที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพราะใช้องค์กรที่เหนือกว่าเป็นตัวตั้งและนำมาเปรียบเทียบ วิธีการนี้เราจะรู้ว่า องค์กรของเราอยู่ห่างชั้นกับองค์กรนั้นๆ แค่ไหน และต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะเดินไปถึงจุดหมาย หรือมีอุปสรรคตรงส่วนไหนในหน่วยงาน เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ เป็นต้น

Quality ความหมายของคำนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้กับบริบทใด เพราะสามารถใช้ได้กับ คน สัตว์ สิ่งของ มีความหมายชัดเจนเป็นเรื่องคุณภาพ ซึ่งคุณภาพของพนักงานในองค์กรมีความสำคัญมากเท่าใด คุณภาพของสินค้าของบริษัทก็มีความสำคัญไม่ด้อยกว่ากัน เพราะคุณภาพสินค้าในที่นี้หมายถึงเรื่องความน่าเชื่อถือต่อสินค้า ต่อ Brand ที่ต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าสำหรับการใช้งาน โดยมีราคาสมเหตุผลกับสินค้านั้นๆปัจจุบันเมื่อกฎเกณฑ์ทางการค้าถูกผู้บริโภคบังคับเท่าๆกับถูกกฎเกณฑ์การ ค้าขายอย่างเป็นธรรมบังคับ เช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมโลกบังคับ ส่งผลมาถึงบริษัทก็มีสำนึกในเรื่องการค้าอย่างเป็นธรรมมากขึ้น สินค้าขององค์กรขนาดใหญ่ต้องคำนึงถึงสินค้าของตนเองต้องมี “คุณภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” จึงเป็นที่มาของตรามาตรฐานของแต่ละองค์กรในต่างประเทศ ภาคเอกชนของไทยรายแรนกที่เริ่มเรื่องนี้คือเอสซีจี มีฉลาก SCG eco value การันตีนวัตกรรมของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผู้บริโภค ได้รับสินค้าและบริการคุณภาพสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ประหยัดพลังงาน รีไซเคิลได้ อายุการใช้งานยืนยาวขึ้น มีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

Global Standard มีมากมายสำหรับมาตรฐานสากล อาทิ ISO คือ มาตรฐานด้านเทคนิคและระบบต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบการค้าโลก สร้างมาตรฐานสากลให้การรับรอง หรือTQM เป็นระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าภายใต้ความ ร่วมมือของพนักงานทั่วทั้งองค์กรที่จะปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ TQM จึงเป็นแนวทางที่หลายองค์กรนำมาใช้ปรับปรุงงาน Risk Management การบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการในการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดลำดับความสำคัญ และการกำหนดมาตรการในการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานขององค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และ ภารกิจที่กำหนดไว้จากตัวอย่าง 3 เรื่องเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรไม่สามารถปฏิเสธเครื่องมือเหล่านี้ได้ เพราะข้อมูลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ไม่ได้ใช้ในองค์กรตนเองเพียงอย่างเดียว มาตรฐานสากลหลายอย่างเป็นสิ่งการันตีคุณภาพ และการบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาลไปในตัวด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้า และคู่ค้าโดยเฉพาะต่างประเทศต้องการทราบข้อมูลไม่น้อยกว่าเจ้าของบริษัท

Best practices คือการปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อ ให้เกิดผลที่เป็นเลิศ หรือวิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศ ทำให้เกิดขึ้นได้หลายช่องทาง เช่นเกิดจากบุคคล มาจากการเรียนรู้หรือประสบการณ์ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิธีการใหม่หรือวิธี การที่ดีกว่า เกิดจากปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้มีการแสวงหาแนวทาง กระบวนการ วิธีการที่ดีกว่า เพื่อให้ได้ผลสำเร็จสูงสุด หรือเกิดจากแรงขับเคลื่อนการพัฒนา ค้นหาวิธีการใหม่ สร้างความพึงพอใจของผู้รับบริการ เสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กร

Excellence ความหมายคือ ยอดดีหรือยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษในทางการบริหารทุนมนุษย์ ก็สามารถทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในขั้นยอดเยี่ยมได้เช่นกัน เช่นในกรณีคุณพารณฝากฝีมือการบริหารในการเลือกคนเข้าทำงานที่ปูนซิเมนต์ไทยจะต้องเป็น “คนดี และคนเก่ง”

คุณสมบัติผู้นำ CEO ที่ให้สัมฤทธิ์ผล

1. มีทางเลือกของตนเองว่าจะไปไหน แล้วพาพวกไปด้วยกัน (Path Finder and Implement) คือ จะดูสิ่งแวดล้อมโลกว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร หาจุดอ่อนจุดแข็งออกมา แล้วหาสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกัน เอาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาวิเคราะห์ SWOT แล้วมากำหนดยุทธศาสตร์ว่ามีกี่หนทาง แล้วเลือกทางเดิน หาทีมงานมาทำ แล้วก็ช่วยกันทำให้มันเกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นมา

2. เชื่อมโยงทีมงาน และกระตุ้นทีมให้เดินหน้า (Allianing) โดยการเตรียมระบบ สื่อสาร เตรียมคน รวมพลัง และผลักดันนโยบายให้เดิน กระตุ้นให้เขาทำงานโดยการให้เกียรติ อดทน และฟังเขาพูด

3. มอบอำนาจให้กับทีมทำงาน (Empowerment) โดยการกระจายอำนาจให้งานตามแผนคล่องตัว แต่ความรับผิดชอบยังเป็นของนาย ไม่ใช่ผิดไม่เอา เอาแต่ชอบ งานไม่ทำ เอาแต่นายอย่างนี้ลูกน้องท้อใจ

4. ต้องเป็นแม่ทัพเดินนำหน้า (Leader) โดยไม่เป็นแม่ทัพแอบอยู่ข้างหลัง แต่กลับส่งลูกน้องออกไปตายข้างหน้า เพื่อแสดงให้ลูกน้องดูเป็นตัวอย่าง (แบบสมเด็จพระนเรศวร) และนายต้องมีคุณธรรม และเข้าไปนั่งในหัวใจของลูกน้องได้

มองผู้นำ (CEO) ในศตวรรษที่ 21

ผมตั้งธงผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะ CEO ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มองไปข้างหน้า

2. ต้องเป็นนักสื่อสารที่ดี สามารถบอกให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบว่า องค์กรจะเดินไปไหนภายใต้การนำของเรา

3. ต้องเป็นคนที่น่าเชื่อถือ ไม่เป็นคนโกหก หลอกลวง

4. ต้องกล้าได้ กล้าเสีย ไม่กลัวผิด วางแผนแล้วต้องเดินหน้า ลงมือปฏิบัติเลย ถ้าทำผิดแล้วให้รีบแก้ไขทันที ไม่นั่งทับปัญหา

5. ต้องกล้าคิดนอกกรอบ คิดให้หลุดพ้นไปจากความเคยชินเดิม ๆ และต้องคิดให้เกิดความเชื่อมโยงในกรอบของโลกาภิวัฒน์ และมีมติของความคิดใหม่ ๆ

6. ต้องทำให้องค์กรมีความกระทัดรัด มีความคล่องตัว องค์กรยิ่งใหญ่ยิ่งต้องมีจิตวิญญาณขององค์กรเล็ก

ขั้นตอนของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของ (CEO)

การบริหารการเปลี่ยนแปลงมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. วิสัยทัศน์ (จะไปไหน อยากจะเป็นอะไร)

2. ลงมือทำ (ทำตามแผนที่จะไปที่ได้วางกลยุทธ์ไว้)

3. สนับสนุน (สนับสนุนทีมงานให้ทำงาน และกระจายอำนาจ และให้ทำงานแบบเป็นเจ้าของกิจการเอง)

4. การติดตั้ง (เอาสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงลงไปในระบบการทำงาน)

5. การเน้นย้ำ (สื่อสารตอกย้ำให้แน่วแน่ ไม่ไขว้เขว ให้พนักงานยอมรับในการเปลี่ยนแปลง ให้กำลังใจลดการคัดค้าน)

6. การสังเกตุ (ตรวจดูผลลัพธ์แน่ใจว่าทุกคนให้ความร่วมมือ วัดความสำเร็จ)

หัวใจ 4 อย่างในการบริหารธุรกิจ

การทำธุรกิจนั้นต้องคำนึงถึงอย่างน้อย 4 อย่าง ดังนี้

1. สินค้าดี (Quality Product)

ของดีมาจากวัตถุดิบดี ผลิตดี ควบคุมคุณภาพดี มีมาตรฐาน หรือระบบรองรับที่น่าเชื่อถือ

2. บริการดี (Good Service)

บริการดี ก็ต้องอบรมพนักงานให้ดีทั้งวิธีการ และการเอาใจลูกค้า ทำให้ลูกค้าสะดวก สบายใจ

3. ต้นทุนต่ำ (Cost Management)

ต้นทุนต่ำย่อมได้เปรียบ แต่ต้องไม่ลดคุณภาพและบริการ

4. ดูแลพนักงานดี (Compensation)

สร้างขวัญกำลังใจพนักงานดี โดยใช้ระบบการตอบแทนดี ทั้งสวัสดิการ ค่าจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การรักษาพยาบาล

กงล้อของวิวัฒนาการทางธุรกิจ ในการบริหารความเปลี่ยนแปลงในองค์กรมี 8 ขั้นตอน ดังนี้

1. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

2. ธุรกิจที่เป็นไปตามกลไกเศรษฐกิจ

3. การออกแบบธุรกิจ

4. รูปแบบของการเป็นผู้นำ

5. คุณค่าขององค์กร

6. ขั้นตอนการบริหาร

7. ระบบการจัดการความรู้

8. มาตรการปฏิบัติ

คิดแบบคนเก่ง 7 อย่าง

1. พลังเกิดจากความเชื่อและศรัทธา (Competence Starts with Feeling Competent)

ถ้าเราเชื่อว่ามันเป็นไปได้ก็จะมีแรงผลักดันให้เราสามารถชนะอุปสรรคแล้วทำงานได้สำเร็จจริง ๆ

2. เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ (Paradigm Shift)

หัดคิดนอกกรอบบ้าง จะได้หลุดจากสิ่งเดิมที่เรายึดติด แล้วกล้าเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ให้คิดใหม่ทำใหม่

3. ใช้จุดแข็งของคู่แข่งเสริมจุดอ่อนของเรา (Seek Input from your Opposites)

ในองค์กรมีผู้บริหารที่มีสไตล์ไม่เหมือนกัน บางคนลงในรายละเอียด บางคนเก่งมองภาพรวม บางคนเก่งวางแผนแต่ปฏิบัติไม่เก่ง ทำไมไม่อาศัยความแตกต่างของลูกทีมมาเสริมจุดอ่อนที่ผู้นำมี

4. เป็นผู้ฟังให้มากขึ้น (The Best Defense is to Listen)

คนที่ประสบความสำเร็จมักไม่ชอบฟังคนอื่นมีอัตตาสูง ใครวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ต้องพูดปกป้อง จง

หัดฟังมากกว่าพูด เพื่อหาข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ

5. เปิดรับโอกาสอยู่ตลอดเวลา (Play the Odds)

โอกาสที่อยู่ทุก ๆ ที่ ขึ้นอยู่ว่าจะจับมันไว้หรือปล่อยมันไป แม้นแต่วิกฤติก็เป็นโอกาส

6. มีวิสัยทัศน์ (Take off your Blinders)

การใช้ประสบการณ์ในอดีตของตนเอง ในการประเมินตนเองและคนอื่นทำให้โอกาสลดลงเกือบครึ่ง จงเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อป้องกันโอกาสข้างหน้าที่ปิดกั้น จงหลุดพ้นจากการตาบอด แล้ววางวิสัยทัศน์ข้างหน้าจากสิ่งใหม่ ๆ

7. ตระหนักอยู่เสมอว่ากฎบางกฎก็ใช้ไม่ได้กับทุกสถานการณ์ (Life is not a Zero-Sum Game)

ทำอย่างไรจึงไม่เป็นหนี้ ถ้าจะซื้อรถ เรื่องบ้านก็ต้องรอไปก่อน บางคนบ่นว่างานมากก็เลยสละเวลา

ของครอบครัวเอาไปทุ่มให้งาน แต่ผู้บริหารบางคนก็บอกว่าแม้นจะให้เวลากับครอบครัวน้อยก็จะใช้เวลา

นั้นอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ (เวลาให้ครอบครัว 8 ชั่วโมง อาจมีคุณภาพน้อยกว่าให้เวลาแก่ครอบครัวแค่วันละชั่วโมง) ดังนั้นต้องบริหารเวลาให้เป็น

ผมเห็นว่าปัจจุบันนี้จะเห็นว่า ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงเป็นของคู่กัน เมื่อมองแบบผิวเผินแล้วจะเห็นว่าเป็นของใหม่ หากมองให้ลึกลงไปก็จะพบว่าใช้หลักตำราพิชัยสงครามของซุนวู และหลักทางพุทธศาสนามาผสมผสานกันอย่างแนบเนียน ก็เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อว่า หลักการที่ใช้มาเมื่อหลายพันปีที่ผ่านมากลับกลายเป็นเครื่องมือทันสมัยในการ บริหารธุรกิจไปได้

รัตมณี เสนีกาญจน์ สวนสุนันทา กรุงเทพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนวันที่ 2 ตุลาคม

การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่อาเชี่ยนเสรี ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านใด ต้องส่งเสริมอย่างไรอย่างแรก ประชาสัมพันธ์ เตรียมความพร้อม สร้างเครือข่าย ประสานงานกับภาครัฐ ให้ความรู้ชุมชน ต้องรู้สภาพพื้นที่ ดูวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมโยง(ทุนทางวัฒนธรรมเป็นจุดแข็งที่สุดของไทยเช่นเกษตร ท่องเที่ยว สุขภาพอนามัย สมุนไพร) ต้องใช้จังหวะให้ดี ดูศักยภาพของการแข่งขัน มีเป้าหมายที่แท้จริง เปิดเสรีอาเซียนคือ...เราต้องทำให้มาตรฐานที่ดีขึ้น มีแรงผลัก แรงบัลดาลใจ เพื่อให้อยู่ในอาเซียนเสรีได้ สร้างความเป็น story ให้มีความเป็นหนึ่งเทียบกับต่างชาติได้ องค์กรในพื้นที่มีการเตรียมตัว ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีแนวทางช่วยเหลือในการพัฒนา ปัญญา เครือข่าย และกระทรวง สิ่งที่อ่อนที่สุดคือมีภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่พอ เรายังไม่ได้เปิดประเทศ ต้องเปิดโลกทัศน์ของคน สร้างสังคมการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (ชุมชน, รัฐ )

สถานที่ต่าง ๆ ต้องมีบรรยากาศในการสร้างสรรค์ให้มีความสุขในการทำ เวลาอยู่ในองค์กรต้องรู้ว่าคนรอบข้างมีความพึงพอใจในส่วนต่าง ๆ อย่างไร ต้องคำนึงถึงคนรอบข้าง ว่ามีความต้องการอย่างไร

ทุนมนุษย์ทั้งปลูกและเก็บเกี่ยว

1. บทบาทของ CEO คือ เป็นผู้ที่มี vision มีวัฒนธรรมขององค์กร ดูคนได้ใช้คนเป็น การเน้นการทำงานเป็นทีม ชี้นำองค์กร พัฒนาตามพันธกิจขององค์กร กระจายอำนาจได้ จริงใจ จริงจัง มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม รู้คนต้องรู้ให้สำเร็จ ต้องมีนโยบาย รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

2. บทบาทของ HR ใหม่ สร้างความสุขให้องค์กร มีโลกทัศน์กว้าง คุยกับใครก็ได้ รู้ทุกเรื่อง HR ขากแคลนในเรื่องการทำงานด้านยุทธศาสตร์

3. บทบาทของ NON HR ประสบความสำเร็จ ตัวช่วยให้ประสบความสำเร็จ

รู้จักตนเอง ทำให้ทุกคนรู้ว่าตัวเองมีความสำคัญขององค์กร ทราบเป้าหมายขององค์กร

กระตุ้นให้มีการพัฒนาตนเอง ความร่วมมือ HR และ NON HR วัฒนธรรมขององค์กร

เปลี่ยนตัวเองก่อนแล้วแล้วค่อยเปลี่ยนตนอื่น ให้มีบทบาท ครูแต่ละคน ไม่เพียงแต่รับคำสั่ง ต้องรู้จักทรัพยากรมนุษย์ ต้องไปบริการฝ่าย ต่าง ๆ ได้ รู้จักลูกน้องของตัวเอง

จากเทปของไกรสิทธิ์ เรื่องทิศทาง ปี5

1. การปรับตัวกับการขั้นลงของน้ำมัน

2. อย่าประมาทเรื่องของความรุนแรง สังคมเรื่องคนเป็นเรื่องใหม่ ควรพัฒนาคนที่เป็นตัวแทนของธุรกิจใหม่ อยากให้มีการพัฒนาที่ยาวแต่ยั่งยืน ค้นหาตัวเอง

3. การจะเป็นผู้บริหาร ที่ทำงานในองค์กร ถ้าลงทุนไปแล้วสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้

ความคิดของไกรสิทธิ์

การดูแลทรัพยากรมนุษย์ เมื่อก่อนดูว่าทำอย่างไรต้นทุนจะถูกที่สุด แต่ปัจจุบัน เป็นทรัพย์สินที่มีชีวิต การบริหาร เราต้องให้เขาทำงานด้วยความตั้งใจ มีวัฒนธรรมเป้าหมายร่วมกัน ทัศนคติที่ร่วมกัน มี TEEM WORK ผู้บริหารต้องเป็น hr manager

แยกนโยบายกับฝ่ายปฏิบัติ หน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา NON HR ทำงานคู่กันกับ hr manager สร้างบารมี ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในองค์กร CEO เปรียบเสมือนกับตันเรือ สิ่งที่ต้องทำ คือมีวิสัยทัศน์ แสดงความเป็นผู้นำ จูงใจคน

ทุนมนุษย์กับทุนทางบัญชี ทำให้พนักงานมีความก้าวหน้าของเขาไปพร้อม ๆ กันกับความก้าวหน้าขององค์กร

ชื่อ นาย อดุลย์ อยู่ยืน ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484931006

Cell phone 081 876 4025 E-mail: [email protected]; www.adulyouyoun.com

ชื่อชิ้นงาน How to Cultivate Engaged Employees

1 Be Modest ผู้บริหารควรถ่อมตนไม่ใช่ว่าเก่งและรู้ทุกเรื่อง และยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

2 Listen Seriously and show it ผู้บริหารต้องฟังอย่างตั้งใจและแสดงออกมาให้เห็น

3 Invite disagreement การรับฟังความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยจะเป็นการช่วยมองอีกมุมหนึ่งที่ผู้บริหารอาจจะมองไม่เห็น

4 Focus the agenda บ่อยครั้งที่การประชุมไม่มีสาระ หรือเสียเวลาเนิ่นนาน เพราะไม่ได้ทำตามและอยู่ในวาระการประชุม

5 Don’t try to have all the answer ไม่จำเป็นที่จะต้องได้ทุกคำตอบ

6 Don’t insist that a decision must be อย่ายืนกรานว่าจะต้องทำตามที่ตัดสินใจ บางขณะเวลาเปลี่ยน เงื่อนไขการตัดสินใจอาจจะต้องเปลี่ยนตาม

นางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก (ศูนย์ภูเก็ต) รหัส 53484931011

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เครพ

Assignment :

ดิฉันได้รับความรู้จากท่าน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านให้นักศึกษาตกผนึกในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย Benchmarking , Quality ; Global Standard Best Practiees และ Excellence เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 ซึ่งดิฉันขอสรุปดังนี้

1.) Benchmarking : เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบเพื่อให้องค์กรสามารถปฏิบัติทำได้ดีกว่าโดยให้ตนเองมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ในประเด็นนี้ดิฉันพูดเกี่ยวกับ 2 ปัจจัย

1.1) Benchmark : การเปรียบเทียบวัดซึ่งกำหนดตัววัด Key Performance Indicator (KPi) สู่ความมีคุณภาพหรือความเป็นเลิศ

1.2) Best Practiees : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดีสู่ความเป็นเลิศมีผลทำให้ประสบความสำเร็จโดยค่า Benchmark

สู่เพื่อสามารถนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรสู่ความมีคุณภาพหรือความเป็นเลิศ

2.) Quality : เป็นการปฏิบัติที่ดีโดยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสู่ความเป็นเลิศมีปัจจัยดังนี้ได้แก่มีผลต่อองค์กรสู่อาเซียนเสรี

2.1) Performance : ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่กำหนดไว้

2.2) Acsthetics : ผลิตภัณฑ์มีรูปร่าง ผิวสัมผัส กลิ่น รสชาติ สีสัน เป็นที่ดึงดูดใจให้สนใจ

2.3) Special Featares : ผลิตภัณฑ์มัลักษณะพิเศษโดดเด่น

2.4) Conformance : ผลิตภัณฑ์มีความเสียงอันตรายในการใช้งานน้อยที่สุด

2.5) Safety : ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยในการใช้งาน

2.6) Reliability : ผลิตภัณฑ์มีความเชื่อถือได้ในการใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ

2.7) Durability : ผลิตภัณฑ์มีความคงทนมีอายุการใช้งานยาวนาน

2.8) Perceived Quality : ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจพร้อมทั้งมีภาพพจน์ที่ดี

ท้ายสุดนี้ดิฉันคิดว่า ในปัจจัยที่น่าสนใจได้แก่ Service Aster Sale เป็นปัจจัยที่องค์กรทุกองค์กรควรจัดไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล หรือภาคเอกชน สามารถนำมาสู่อาเซียนเสรีเมื่อ Quality เป็นจุดแข็งที่ดิฉันได้กล่าวข้างต้นแล้วเสริมด้วย Hand

(ทุนเกิดจากความรู้ได้จากประสบการณ์) และ Hand (ทุนเกิดจากความคิดวิเคราะห์เหตุผล) รวมทั้ง Heart (ทุนเกิดจากความรู้สึกของเราจะนำไปสู่ความเป็นเลิศอาเซียน)

3.) Global Standard: ดิฉันคิดว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องมีปัจจัย 4 ปัจจัยช่วยนุ่นให้ Global Standard สู่คุณภาพความเป็นเลิศและอาเซียน เสรี ประกอบด้วย

3.1) Hazard and risk analysis System โดยระบบวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสียง

3.2) Quality Management Systrm ด้วยการสร้างระบบบริหารงานคุณภาพจำเป็นโดยระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติ

3.3) ควบคุมสภาวะแวดล้อม รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนได้แก่ข้อกำหนดบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องมือ ช่วยลดปัญหาการทำงานผิดพลาด

4.) Best Practices : ดิฉันคิดว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 6 ประเด็นได้แก่

4.1) การทำงานที่สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนพร้อมทั้งสร้างความพึงพอใจให้ทุกคน

4.2) การทำงานเป็นกระบวนการนำไปใช้โดย PDCA จนเกิดผลชัดเจนอย่างต่อเนื่อง

4.3) การทำงานที่สามารถบอกได้ว่า "ทำอะไร What " ; "ทำอย่างไร HOW และ " "ทำไมจึงไม่ทำ WHy "

4.4) การทำงานโดยมีข้อกำหนดในการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

4.5) การทำงานโดยมีปัจจัยก่อให่เกิดปฏิบัติต่อเนื่องและยั่งยืน

4.6) การทำงานใช้กระบวนความรู้ (KM) โดย Story telling ทั้งหมดที่ดิฉันกล่าวข้างต้นนำสู่ความเป็นเลิศและอาเซียนโดย

Best Practiees

5.) Excellence : ดิฉันคิดว่าการดำเนินเพื่อพัฒนาคุณภาพจัดการบริหารทรัพยากรมนูษย์โดนมีปัจจัย 5 ประเด็นดังนี้

5.1) การดำเนินงานต้องให้ถูกต้องแม่นย่ำ พร้อมทั้งขยันมันเพียรและตรงต่อเวลา

5.2) การดำเนินงานสามารถกำหนดมาตรฐานพร้อมทั้งเป้าหมายในการทำงาน

5.3) การดำเนินงานโดยต้องมีความละเอียดรอบครอบเอาใจใส่

5.4) การดำเนินงานโดยทำตามระบบขั้นตอนรวมทั้งวิธีการทำงานโดย PDCA

5.5) การดำเนินงานโดยการตัดสินใจภายใต้บริหารและทุ่มเทเวลาบริหารทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งต้องประกอบด้วยองค์ดังนี้ Leadership Exeellences โดยมีวิสัยทัศน์สู่จุดมุ่งหมาย ; Management Excellences โดยการจัดการให้ทันยุดทันสมัยและมี Techology Excellences โดยนำเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ รวมทั้ง Marketing Excellences โดยนำเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ รวมทั้ง Marketing Excellences โดยมีความเข้าใจผู้รับบริการ

หลังจากนี้ดิฉันคิดว่า Assignment ทุกๆองค์มุ่ง Qutcome สู่ความเป็นเลิศเพื่อความสุขของคนในองค์กรและคนรอบๆองค์ชุมชนได้แก่ Stakeholder ; Ruler และ Exterral Society ในวันที่ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึง "ดอกกระเจียว"

ดิฉันมีมุนมองเกี่ยวกับปัจจัยหลายๆด้านได้แก่ 1.) มัคคุเทศก์ : ให้ความสำคัญโดยมีการอบรมเชิงทฤษฎี 2.) Injormation

3.) Hetwork 4.) Research 5.) Learning Methodology 6.) Learning Environment 7.) Learning Opportunities และ 8.) Learning Communities ส่วนในเรื่อง "HR" เก่าให้เป็น HR ใหม่นั้นดิฉันคิดว่าควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้ได้แก่

1.) ทรัพยากรมนุษย์การทำงานจากเช้าชาม.....เย็นชาม หรือกิจวัตร เปลี่ยนแปลงการทำงานโดยใช้กลยุทธ์

2.) ทัพยากรมนุษย์ (Innovacation) การทำงานแบบการฝึกฝนเปลี่ยนแปลงเป็นการเรียนรู้

3.) ทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยค่าใช้จ่าย (Innovacation) เปลี่ยนแปลงเป็นมาการลงทุน

4.) ทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยการทำงานคนเดียว Innovaeation เป็นการทำงานกลุ่ม

5.) ทรัพยากรมนุษย์แบบสั่งการและควบคุม Innovaeation เป็นการเครพและการให้เกียรติ

6.) ทรัพยากรมนุษย์บริหารจัดการเป็นหนี้สิน Innovaeation เป็นสินทรัพย์

ดิฉันขอขอบคุณท่าน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์อย่างสูงให้ประสบการณ์หลายๆด้าน ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง

นางจงดี พฤกษารักษ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

สรุปบทเรียน โดย วาสนา รังสร้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ กรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์ที่ 2 / 10 /2011 ดังนี้

1. สรุป ในทางองค์กร การบริหารคน ต้องมี Concept 5 ข้อ คือ

1. Benchmark เป็นเกณฑ์กำหนดตัวชี้วัดหรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) ที่จะสามารถเปรียบเทียบกับใครบ้าง และในเรื่องใดในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรโดยจะพิจารณา Context หรือ บริบท ทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก พิจารณา Skills และ Competencies ทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ มีความพึงพอใจ มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการทำงาน นั่นคือการสร้างแรงจูงใจ (Motivation)นั่นเอง ซึ่งตรงกับทฤษฎี 3 วงกลมของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

2. Quality เป็นการทำงานให้ได้คุณภาพตามข้อกำหนดตาม Benchmark เช่น คนคุณภาพของเครือ CP ถ้าไปศึกษาดูงานไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศ หรือต่างประเทศ กล่าวไว้ว่า “เรามีอายุ 50 ปีแล้ว ก็ต้องให้คนที่อายุ 40 ปี และคนที่อายุ 30 ปีไปด้วย อย่างน้อยต้องมี 3 ระดับไปศึกษาดูงานด้วยกันเพราะเรามีอายุมากขึ้นก็ยิ่งต้องใช้คนหนุ่มสาวเราถึงจะได้ความรู้ใหม่ ๆ จากคนหนุ่มสาว ธุรกิจนี้ต้องมีของใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถึงจะขับเคลื่อน สร้างองค์กรได้สำเร็จ ” เป็นต้น หรือหากเป็นการให้บริการก็สามารถให้บริการได้ตามที่ประกาศไว้ เช่น อาหารเสร็จภายใน 7 นาที, ซ่อมเสร็จภายใน 2 วัน เป็นตัน

จากการพัฒนคนให้ได้คุณภาพดังตัวอย่างสรุปได้ว่า การสร้างบุคลากรให้มีคุณภาพสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย นั้น ไม่เพียงแต่ให้เขาศึกษางานภายในองค์กรเท่านั้นแต่ยังเปิดโอกาสให้คนที่สามารถเป็นตัวแทนในฝ่ายต่าง ๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรอื่นหรือสังคมภายนอกที่มีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน และสามารถนำมาพัฒนางานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากมีการมอบหมายงาน โดยมีตัวเราเป็นพีเลี้ยง คอยติดตามประเมินผล ให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง

3. Standard หมายถึง มาตรฐานที่จัดทำขึ้นจากการเห็นพ้องต้องกันในคุณภาพ และได้รับความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป มาตรฐานดังกล่าว วางกฎระเบียบแนวทางปฏิบัติหรือลักษณะเฉพาะแห่งกิจกรรม หรือผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดให้ได้ตาม Quality เช่น มาตรฐานคุณภาพของเครือ CP ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะนำเทคโนโลยีเครื่องจักรอันทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิตและการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง การให้ความสำคัญในการดำเนินงานตาม ระบบมาตรฐานสากล ไม่ว่า จะเป็น ระบบการ จัดการคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000, ระบบตรวจสอบวิเคราะห์ความปลอดภัย ในผลิตภัณฑ์ อาหาร HACCP, และระบบคุณภาพโดยรวม TQM ทำให้กิจการของบริษัทฯเจริญ ก้าวหน้าและเติบโตอย่าง มีประสิทธิภาพ มาโดยลำดับ

4. Best plactice เป็นวิธีปฏิบัติในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ หรือวิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศ เช่น Best Practices คุณธนินท์ เจียวนนท์ ที่ไม่หยุดที่จะหาคนเก่งเข้าสู่องค์กรตลอด ตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของการบริหารงานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ก้าวสู่ความเป็นเลิศ นั้นต้องมีคนคุณภาพโดยเริ่มจากการสรรหาคนเก่ง มาช่วยสร้างธุรกิจให้เป็นปึกแผ่น

5. Excellent เป็นการมุ่งเน้นในการสร้างความเป็นเลิศในสิ่งที่ทำ หรือประสบผลสำเร็จในธุรกิจ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซฟเว่น อีเลฟเว่น ขยายไปยังบุคคลทุกระดับ ทุกซอกทุกซอย เป็นที่รุ้จักของคนทั่วไป ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นการคัดเลือกคนเก่งเข้ามาร่วมงานก็ต้องรู้จัก ให้โอกาส ให้เกียรติ ให้อำนาจให้เงินดือนไม่ด้อยกว่าเถ้าแก่ ถือว่าเป็นการการบริหารจัดของ คุณธนินท์ เจียวนนท์ สิ่งเหล่านี้คือเคล็ดลับในการสร้างคน เพื่อจะสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้กับองค์กร

2. ความรู้ที่ได้ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 มี 3 ประเด็น ได้แก่

CEO , Smart HR และ Non - HR พอสรุปได้ว่า

1. CEO ผู้บริหาร มีลักษณะ

- จริงใจ จริงจัง

- วิสัยทัศน์ดี

- มีใหวพริบดี

- มีความรู้ความสามารถรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง

- มีคุณธรรมจริยธรรม

- สร้างวัฒนธรรมองค์กร

- มีการทำอย่างต่อเนื่อง

2. บทบาทใหม่ HR นำไปสู่ความสำเร็จ performent ของผู้รับบริการ

1. Benchmark

2. Quality

3. Standard

4. Best plactice

5. Excelent

1. Non HR เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้งานประสบผลสำเร็จโดยวิธีการแก้ปัญหากล่าวคือ ผู้บริหารอาจจะเป็น Non HR แต่ต้องทำ HR

การเรียนเป็นปรัชญา เป็นการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ถ้า HR ทำหน้าที่ Training ก็จะถอยหลังไปเรื่อย ๆ ดังนั้นต้องมีบทบาทร่วมกับคนอื่น และต้องยกย่องคนภายนอกองค์กรที่มีศักยภาพ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเอาความรุ้ความสามารถมาพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย

น.ส.อภิชนา สิงสันจิตร (ศูนย์ภูเก็ต)

น.ส.อภิชนา สิงสันจิตร (ศูนย์ภูเก็ต) รหัสนักศึกษา 53484931025

Assignment 1: สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนเกี่ยวกับเรื่อง "การปลูก" และ "การเก็บเกี่ยว"

จากการเรียนรู้ของรายวิชาที่ท่าน อาจารย์ รศ.ดร.จีระ ได้สอนเกี่ยวกับการ “ปลูก” และ “เก็บเกี่ยว” นั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตามความเข้าใจว่า การปลูกก็เหมือนการเริ่มต้น การถ่ายทอด การดูแลเอาใจใส่ เพื่อเป็นการวางรากฐานความมั่นคงก่อน หากทำการปลูกไม่ดี ไม่ใส่ใจ ไม่รอบคอบ ก็จะส่งผลให้รากฐานไม่ดีไม่มั่นคง อาจเกิดการล้มได้ ส่วนคำว่าการ“เก็บเกี่ยว”นั้น ก็เปรียบเสมือนดังการได้ผลลัพธ์จากการปลูกนั้นเอง แต่ถ้าจะมองในแง่ให้เราเป็นผู้ที่มาเอาผลประโยชน์จากการปลูกแล้วนั้น เราก็ควรที่จะเลือกเก็บเกี่ยวเฉพาะในส่วนที่ดี ที่เราต้องการ เลือกสรรเก็บเกี่ยวเฉพาะส่วนที่มีสารประโยชน์และเก็บเกี่ยวให้มากที่สุดเท่าที่จะเก็บได้

จากการเก็บเกี่ยวในผลลัพธ์ เมื่อให้ใช้ผลจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว เราก็ควรที่จะนำสิ่งที่อยู่ในผลในทำการเพาะปลูกใหม่อีกครั้งนั้นก็คือ “เมล็ด” เอาเมล็ดมาทำการเพาะปลูกและทำการเก็บเกี่ยวกันอีกต่อๆไป

นางณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์ (ศูนย์ภูเก็ต)

นางณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์ ศูนย์ภูเก็ต รหัสนักศึกษา 53484931019

จากการเรียนรู้ภายในห้อง เกี่ยวกับ "การปลูก" และ "การเก็บเกี่ยว" ของท่านอาจารย์ รศ.ดร.จีระ

ในมุมมองความคิดของดิฉันในเรื่องของ “การปลูก” และ “การเก็บเกี่ยว” ตามที่ท่านอาจารย์ได้ทำการชี้แนะในห้องเรียนมาให้นั้น ดิฉันมีความเห็นว่า การปลูกก็เหมือนการนำสิ่งๆที่หนึ่ง(คือเมล็ด)ที่เราต้องการจะเรียนรู้ ไปปลูกในสถานที่และเวลาที่เหมาะสม โดยการปลูกนั้นก็จะมีกระบานการต่างๆมากมาย เช่น การใส่ปุ๋ย(การเพิ่มเติมสารประโยชน์เข้าไป) การพรวนดิน(ก็เปรียบเสมือนการปรับปรุง พัฒนาในระหว่างนั้น) เป็นต้น ส่วนการ “เก็บเกี่ยว” ก็คือ ผลที่ได้มาจากปลูกนั้นเอง หากเราปลูกกล้วยเราก็จะได้ผลกล้วย หากเราปลูกหญ้าเราก็จะได้หญ้านั่นเอง การเก็บเกี่ยวก็คือการนำเอาผลลัพธ์ที่ได้จากการปลูกมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดด้วยวิธีการต่างๆกันไป ในส่วนของดิฉันนั้นมองว่าการที่ท่านอาจารย์ได้ทำการพูดคุยเปิดประเด็นมาให้นักศึกษาได้คิดและวิเคราะห์นั้นก็เหมือนการปลูก การวางรากฐาน ส่วนนักศึกษานั้นก็มีหน้าที่ในการเก็บเกี่ยวนำผลไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการใช้ประโยชน์นั้นก็อาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะนักศึกษาต่างก็เก็บเกี่ยวในผลลัพธ์ที่ต่างกัน และวิธีการเก็บเกี่ยวก็ต่างกัน แต่อาจจะนำผลลัพธ์นั้นมาใช้ประโยชน์ในแนวทางเดียวกัน เป็นต้น

กระผมนายวิสิษฐ์ ใจอาจ นักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์การศึกษาภูเก็ต

รหัสนักศึกษา 53484931022

มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง ปลูก และ เก็บเกี่ยว ตามที่อาจารย์ รศ.ดร.จีระ ได้สอนในห้องเรียนดังนี้

จากการในเรียนรู้ในห้อง เกี่ยวกับเรื่องการ “ปลูกและเก็บเกี่ยว” ตามที่อาจารย์ รศ.ดร.จีระ ได้สอนและได้ทำการให้แนวทางในการคิดวิเคราะห์มานั้น ทำให้กระผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การปลูกนั้นก็เปรียบเสมือนการนำเอาความรู้มารวมกันใส่ลงไปในกระถางที่จัดเตรียมไว้อย่างเหมาะสม และทำการดูแลเอาใจใส่ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน เมื่อเวลาผ่านไปการปลูกที่ได้ทำการสะสมสิ่งที่มีประโยชน์ ก็จะไปผลออกมา เพื่อเข้าสู่กระบวนการเก็บเกี่ยวผลที่ได้ การเก็บเกี่ยวก็เหมือนกันคัดสรร คัดเลือก เก็บเกี่ยวแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ นำหาไปใช้ให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นเอง ในมุมมองของกระผมมองว่า อาจารย์ รศ.ดร.จีระ ก็เหมือนการปลูก ส่วนนักศึกษาก็เหมือนการเก็บเกี่ยว ในสิ่งที่อาจารย์ได้ปลูกไว้ให้ แต่ก็แล้วแต่ว่าใครจะทำการเก็บเกี่ยวได้มากน้อยแค่ไหน และใครจะเก็บเกี่ยวได้ในส่วนใดเท่านั้นเอง

นางวิภารณี แก้วใส

นางวิภารณี แก้วใส นักศึกษาศูนย์ภูเก็ต รหัสนักศึกษา 53484931022

การบ้านเรื่อง การปลูก และ การเก็บเกี่ยว

การปลูกและเก็บเกี่ยวตามความคิดเห็นของข้าพเจ้าหลังจากที่ได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์จีระแล้วนั้น มีความคิดเห็นว่า อาจารย์จีระได้เป็นผู้ปลูก ซึ่งการปลูกในที่นี้ก็คือ การนำเมล็ดมาทำการเพาะในดิน ใส่ปุ๋ย ดูแล เอาใจใส่ (ก็เหมือนกับการที่ท่านอาจารย์ได้ทำการเพิ่มเติมสิ่งที่มีเนื้อหาสาระที่ดี ถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นออกมา) ส่วนนักศึกษาก็เป็นผู้เก็บเกี่ยว นำผลที่ได้มาบริโภค หรือใช้สอยให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการนั้น ในการเก็บเกี่ยวที่นักศึกษาจะได้มานั้น นักศึกษาเองจะเป็นผู้เลือกในการเก็บ ซึ่งอาจารย์จะไม่สามารถเลือกให้นักศึกษาได้ หรือแม้ว่าอาจารย์จะยื่นผลที่ดีที่สุดมาให้แล้วก็ตามหากนักศึกษารับไว้แต่นำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่เหมาะสม หรือได้ดีเท่าที่ควร ก็เล่าประโยชน์ ดังนั้นการปลูกที่ท่านอาจารย์ได้ทำการปลูกไว้ให้นั้น ก็จะมีผลออกมาหลากหลาย อยู่ที่ผู้เก็บเกี่ยวเองที่จะเลือกเก็บเกี่ยวเอาไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์

นายกมล ค้าไกล ศูนย์ภูเก็ต

สรุป การเรียน ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554

ประเด็นที่ 1.

Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

Quality คือ การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม ตามแต่ลักษณะของงาน

Standard คือเป็นผลการปฏิบัติงานในระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจ หรืออยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำได้ อาจเป็นการตกลงร่วมกันขององค์กรเพื่อเป็นกรอบในการพิจารณากำหนดมาตรฐาน

Best Practices คือการปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ หรือวิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศ

Excellence คือการมุ่งผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศในผลงาน

ประเด็นที่ 2.

การเปิดประตูท่องเที่ยวสู่อาเซียนเสรี ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารจัดการ (Community-based Tourism) โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ และสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจชุมชนของคนในท้องถิ่นหรือเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" (Ecotourism) โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับทฤษฏีทุน 8 ประการ

ประเด็นที่ 3.

ส่วนสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ คือ ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้นำองค์กร (Leader) หรือผู้ตาม ( Follower) ก็ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของตนเอง คือ

ผู้นำที่ดี ต้องรู้จัก การครองตน ใช้หลัก “สัปปุริสธรรม 7” (เป็นแบบอย่างที่ดีของคนในองค์กร,มีกริยามารยาท แต่งกายดี , พูดจาไพเราะ ,มีความเป็นผู้ใหญ่ เชื่อถือได้ , มีวินัยในตนเอง , ยึดหลักธรรม คำสั่งสอนของศาสนาฯ) การครองคน ใช้หลัก “ พรหมวิหาร 4 ” (ประพฤติดี ประพฤติชอบ , มีความหนักแน่นอดทน , มีความยุติธรรม , มีอัธยาศัยดี ฯ) และการครองงาน ใช้หลัก “อิทธิบาท 4” ( มีความรู้ แสวงหา ประสบการณ์ , มีวิสัยทัศน์กว้างไกล , มีความคิดสร้างสรรค์ , มีความรับผิดชอบสูง,ยึดหลักธรรมประจำใจในการปฏิบัติงาน ฯ)

ผู้ตามที่ดี (ต้องยอมรับนายอย่างที่เป็น อย่าคิดไปเปลี่ยนนาย ,หาทางเสริมในสิ่งที่นายขาด , อ่านเกมนายให้ออก ต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ เป้าหมาย , ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร , ทำงานให้เกินความคาดหวัง , รักษาสัญญา , สื่อสารและสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างดีเยี่ยม , กล้าที่จะให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งด้านดีและด้านร้าย , ทำงานเป็นทีม)

สรุป.ผู้ตามมีความสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จขององค์กรไม่น้อยไปกว่าผู้นำ

CEO HR AND NON-HR

          CEO : Chief Executive Officer. The executive who is responsible for a company's operations, usually the President or the Chairman of the Board.

          HR : “What is the definition of human resources?”  William R. Tracey, in The Human Resources Glossary defines Human Resources as: “The people that staff and operate an organization … as contrasted with the financial and material resources of an organization. The organizational function that deals with the people ...” Long a term used sarcastically by individuals in the line organization, because it relegates humans to the same category as financial and material resources.  But now human resources will be replaced by more customer-friendly.

            Non – HR : The Value of Non-HR Employees in HR Function. The non-HR person helped accelerate the progress of HR in many ways.  They knew the company and they knew the players. Between non-HR and HR it is not difficult to be mutually motivating and to act as a mentor/trainer, usually when things were actually happening.  As long as the person transferred was trusted to keep confidences and communicated nicely, acceptance was at quite a high level.

            From the great class I learn a lot new thing in my life.  Especially Creativity The part of the creative process going on all around  you in nature.  Sometime I think that office work may be boring, but possibly with hidden opportunities. And if not, why not make a change so that it does not stop  your growth?  I and my students at Ban Chaklee School  try to make a short film. First of all I would like to tell that Ban Chaklee School  is located in rural area. Far away from technology, Far away from facility. But we have creativity to make a new thing. Finally I and my students can complete our short film.

Poster of short film ^^

The process of develop student  to make a shot film .

Thank you very much, Professor Dr. Chira Hongladarom . You are our idol.

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์
ศูนย์ภูเก็ต

เรียน นศ.ทุกท่าน

สืบเนื่องจากการ Study Tour ที่ประเทศจีนนั้น เอ้ได้ประสานงานเบื้องต้นไปแล้วในทั้งใน ม.วิทยาลัยที่ปักกิ่งเเละ ม.ที่เทียนจินค่ะ (กำหนดการและรายละเอียดเอ้ส่งเข้า Mail ทุกท่านถ้าใครยังไม่ได้รับกรุณาเเจ้งด้วยค่ะ)

ในส่วนของการประสานงาน กรุงเทพเอ้จะประสานงานกับคุณหญิงนันทนนท์ เลยเอ้จะประสานกับคุณพิมพ์บุญและที่โคราชจะประสานกับครูน้ำค่ะ

ตอนนี้เอ้ขอรายชื่อของคนที่จะเดินทางไปทัศนศึกษาและจับคู่นอนให้ด้วยค่ะจะได้ทราบว่ากี่ห้อง และอย่าลืมส่ง Passport ให้เอ้ทำ VISA นะคะ

รายละเอียดสถานที่ส่ง Passport เเละ เรื่องการจ่ายค่าเดินทางเอ้จะส่ง Mail ให้ค่ะ

และสำหรับ นศ.ที่ภูเก็ตนั้นไม่สามารถเดินทางไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ได้ อ.จีระ จึงให้ทำจัดทัศนศึกษาในประเทศ และเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานั้นเอ้ได้เรียนสายกับคุณกมลซึ่งได้เสนอว่ามี 2 ที่ ที่กำลังพิจารณาอยู่คือที่ธนาคารกสิกรไทยและที่โรงเเรมที่จัดหวัดภูเก็ต ขอให้เขียนข้อเสนอโครงการและกำหนดวันการทัศนศึกษาค่ะ

สุดท้ายในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ (9 ต.ต. 54) จะเป็นการสอบ โดยที่ อ.จีระ จะเลือกให้ 3 ข้อ ใช้เวลาทำ 1 ชม. เป็นการสอบแบบไม่เปิดหนังสือนะคะ และหลังจากนั้นจะมีวิทยากรพิเศษเป็นชาวสวีเดนมาเป็น Key Note และ Workshop เรื่อง Leadership ตั้งเเต่ 10.30-12.00 น.ค่ะ

ขอบคุณและยินดีให้ความช่วยเหลือ

เอ้ (จงกลกร)

ผู้ช่วย อ.จีระ

 

เรียน ศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

นางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก (ศูนย์ภูเก็ต) รหัส 53484931011

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เครพ

Assignment :

ดิฉันได้รับความรู้จากท่าน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านให้นักศึกษาตกผนึกในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย Benchmarking , Quality ; Global Standard Best Practiees และ Excellence เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 ซึ่งดิฉันขอสรุปดังนี้

1.) Benchmarking : เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบเพื่อให้องค์กรสามารถปฏิบัติทำได้ดีกว่าโดยให้ตนเองมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ในประเด็นนี้ดิฉันพูดเกี่ยวกับ 2 ปัจจัย

1.1) Benchmark : การเปรียบเทียบวัดซึ่งกำหนดตัววัด Key Performance Indicator (KPi) สู่ความมีคุณภาพหรือความเป็นเลิศ

1.2) Best Practiees : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดีสู่ความเป็นเลิศมีผลทำให้ประสบความสำเร็จโดยค่า Benchmark

สู่เพื่อสามารถนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรสู่ความมีคุณภาพหรือความเป็นเลิศ

2.) Quality : เป็นการปฏิบัติที่ดีโดยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสู่ความเป็นเลิศมีปัจจัยดังนี้ได้แก่มีผลต่อองค์กรสู่อาเซียนเสรี

2.1) Performance : ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่กำหนดไว้

2.2) Acsthetics : ผลิตภัณฑ์มีรูปร่าง ผิวสัมผัส กลิ่น รสชาติ สีสัน เป็นที่ดึงดูดใจให้สนใจ

2.3) Special Featares : ผลิตภัณฑ์มัลักษณะพิเศษโดดเด่น

2.4) Conformance : ผลิตภัณฑ์มีความเสียงอันตรายในการใช้งานน้อยที่สุด

2.5) Safety : ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยในการใช้งาน

2.6) Reliability : ผลิตภัณฑ์มีความเชื่อถือได้ในการใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ

2.7) Durability : ผลิตภัณฑ์มีความคงทนมีอายุการใช้งานยาวนาน

2.8) Perceived Quality : ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจพร้อมทั้งมีภาพพจน์ที่ดี

ท้ายสุดนี้ดิฉันคิดว่า ในปัจจัยที่น่าสนใจได้แก่ Service Aster Sale เป็นปัจจัยที่องค์กรทุกองค์กรควรจัดไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล หรือภาคเอกชน สามารถนำมาสู่อาเซียนเสรีเมื่อ Quality เป็นจุดแข็งที่ดิฉันได้กล่าวข้างต้นแล้วเสริมด้วย Hand

(ทุนเกิดจากความรู้ได้จากประสบการณ์) และ Head (ทุนเกิดจากความคิดวิเคราะห์เหตุผล) รวมทั้ง Heart (ทุนเกิดจากความรู้สึกของเราจะนำไปสู่ความเป็นเลิศอาเซียน)

3.) Global Standard: ดิฉันคิดว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องมีปัจจัย 4 ปัจจัยช่วยนุ่นให้ Global Standard สู่คุณภาพความเป็นเลิศและอาเซียน เสรี ประกอบด้วย

3.1) Hazard and risk analysis System โดยระบบวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสียง

3.2) Quality Management Systrm ด้วยการสร้างระบบบริหารงานคุณภาพจำเป็นโดยระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติ

3.3) ควบคุมสภาวะแวดล้อม รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนได้แก่ข้อกำหนดบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องมือ ช่วยลดปัญหาการทำงานผิดพลาด

4.) Best Practices : ดิฉันคิดว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 6 ประเด็นได้แก่

4.1) การทำงานที่สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนพร้อมทั้งสร้างความพึงพอใจให้ทุกคน

4.2) การทำงานเป็นกระบวนการนำไปใช้โดย PDCA จนเกิดผลชัดเจนอย่างต่อเนื่อง

4.3) การทำงานที่สามารถบอกได้ว่า "ทำอะไร What " ; "ทำอย่างไร HOW และ " "ทำไมจึงไม่ทำ WHy "

4.4) การทำงานโดยมีข้อกำหนดในการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

4.5) การทำงานโดยมีปัจจัยก่อให่เกิดปฏิบัติต่อเนื่องและยั่งยืน

4.6) การทำงานใช้กระบวนความรู้ (KM) โดย Story telling ทั้งหมดที่ดิฉันกล่าวข้างต้นนำสู่ความเป็นเลิศและอาเซียนโดย

Best Practiees

5.) Excellence : ดิฉันคิดว่าการดำเนินเพื่อพัฒนาคุณภาพจัดการบริหารทรัพยากรมนูษย์โดนมีปัจจัย 5 ประเด็นดังนี้

5.1) การดำเนินงานต้องให้ถูกต้องแม่นย่ำ พร้อมทั้งขยันมันเพียรและตรงต่อเวลา

5.2) การดำเนินงานสามารถกำหนดมาตรฐานพร้อมทั้งเป้าหมายในการทำงาน

5.3) การดำเนินงานโดยต้องมีความละเอียดรอบครอบเอาใจใส่

5.4) การดำเนินงานโดยทำตามระบบขั้นตอนรวมทั้งวิธีการทำงานโดย PDCA

5.5) การดำเนินงานโดยการตัดสินใจภายใต้บริหารและทุ่มเทเวลาบริหารทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งต้องประกอบด้วยองค์ดังนี้ Leadership Exeellences โดยมีวิสัยทัศน์สู่จุดมุ่งหมาย ; Management Excellences โดยการจัดการให้ทันยุดทันสมัยและมี Techology Excellences โดยนำเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ รวมทั้ง Marketing Excellences โดยนำเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ รวมทั้ง Marketing Excellences โดยมีความเข้าใจผู้รับบริการ

หลังจากนี้ดิฉันคิดว่า Assignment ทุกๆองค์มุ่ง Qutcome สู่ความเป็นเลิศเพื่อความสุขของคนในองค์กรและคนรอบๆองค์ชุมชนได้แก่ Stakeholder ; Ruler และ Exterral Society ในวันที่ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึง "ดอกกระเจียว"

ดิฉันมีมุนมองเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายๆด้านได้แก่ 1.) มัคคุเทศก์ : ให้ความสำคัญโดยมีการอบรมเชิงทฤษฎี 2.) Information

ภายในและภายนอกประเทศ 3.) Hetwork สร้างเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ 4.) Research : เชิงทดลองและResearch Special

5.) Learning Methodology 6.) Learning Environment 7.) Learning Opportunities และ 8.) Learning Communities ส่วนในเรื่อง "HR" เก่าให้เป็น HR ใหม่นั้นดิฉันคิดว่าควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้ได้แก่

1.) ทรัพยากรมนุษย์การทำงานจากเช้าชาม.....เย็นชาม หรือกิจวัตร เปลี่ยนแปลงการทำงานโดยใช้กลยุทธ์

2.) ทัพยากรมนุษย์ (Innovacation) การทำงานแบบการฝึกฝนเปลี่ยนแปลงเป็นการเรียนรู้

3.) ทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยค่าใช้จ่าย (Innovacation) เปลี่ยนแปลงเป็นมาการลงทุน

4.) ทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยการทำงานคนเดียว Innovaeation เป็นการทำงานกลุ่ม

5.) ทรัพยากรมนุษย์แบบสั่งการและควบคุม Innovaeation เป็นการเครพและการให้เกียรติ

6.) ทรัพยากรมนุษย์บริหารจัดการเป็นหนี้สิน Innovaeation เป็นสินทรัพย์

ดิฉันขอขอบคุณท่าน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์อย่างสูงให้ประสบการณ์หลายๆด้าน ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง

นางจงดี พฤกษารักษ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดมรมภ์

ส่งการบ้านเขียนบทความ วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554

นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ศูนย์จังหวัดเลย

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2554 ได้เรียนรู้การทำงานของ CEO ,HR และ NON HR ด้านทรัพยากรมนุษย์ซึ่งพอจะสรุปเป็นModel ได้ดังนี้

Model การทำงานร่วมกัน HR ,Non HR ,CEO

CEO มีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านบุคลากร กำหนดทิศทางในการพัฒนาบุคคล โดยต้องไม่มอง เงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคคลเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ต้องมองเป็นทุน ซึ่งจะทำให้องค์กรมองค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเป็นทุนเพราะคนจะทำให้องค์กรมีมูลค่าเพิ่มทำให้องค์กรมีความเจริญรุ่ง เช่น สโมสรฟุตบอล ลงทุนซื้อตัวนักเตะเพื่อมาเสริมกำลังให้ทีมฟุตบอลมีความแข็งแกร่ง และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน และแฟนฟุตบอล ดังนั้นการจะทำให้นักฟุตบอลมีทักษะ มีฝีเท้าในการแข่งขัน ต้องลงทุนเช่นจ้างโค้ชที่เก่ง ๆ ไปฝึกซ้อมในต่างประเทศ การจัดสวัสดิการให้แก่นักฟุตบอล เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของการลงทุน ดัง เช่น สโมสรฟุต แมนเชลเตอร์ซิตี้ เชลชี อาร์เซนอล สเปอร์ เป็นต้น ดังนั้นหากภาคราชการ หรือภาคเอกชนยังมองการลงทุนด้านคนเป็นค่าใช้จ่ายก็จะทำให้ไม่กล้าลงทุนและจะต้องพยายามลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องคนให้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาด้านคนจะถูกตัดทอนคุณภาพของคนในองค์กรและองค์กรก็จะลดน้อยถอยลงตามไปด้วย

HR มีหน้าที่ในการทำงานเกี่ยวบุคคลเริ่มตั้งแต่กระบวนการวางแผนด้านกำลังคน การสรรหาบุคคล การพัฒนาบุคลากรก่อนเข้าทำงาน ระหว่างทำงาน การให้ความดีความชอบ การให้สวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ จนกระทั่งพ้นจากองค์กร ซึ่ง ในภาคราชการเรียกว่า กองการเจ้าหน้าที่ ภาคเอกชนอาจเรียกว่าฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายพัฒนาบุคคล และ มีหน้าที่ในการที่ประสานกับ CEO ในการการจัดทำงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากร ประสาน Non HR ด้านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ กฎระเบียบ ด้านบุคคล ด้านอาคารสถานที่ เวลา ด้านความต้องการของบุคคล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรร่วมกัน

ส่วน Non HR ก็มีหน้าที่ในการให้การสนับสนุน ด้านต่าง ๆ เช่น อาคารสถานที่ งบประมาณ การจัดทำข้อมูลข่าวสารให้ HR การส่งบุคลากร เข้ารับการฝึกอบรม สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสอนงาน และรับนโยบาย กฎระเบียบต่าง ๆ ไปสู่บุคลากร และ มีหน้าที่ในการสื่อสารระหว่าง HR กับบุคลากรให้กำหนดแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน

วันนี้ได้เท่านี้ก่อนนะคะสัปดาห์หน้าค่อยสรุปใหม่ขอไปเตรียมตัวสอบก่อนนะค่ะ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน วันที่ 2 ตุลาคม 2554

1. การพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้มีคุณค่า ติดอันดับของอาเซียน เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จะต้องให้ความรู้กับผู้นำ และประชากรในท้องถิ่น ให้ตระหนักและคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ คำนึงถึงความจำเป็น ความสำคัญ และประโยชน์ของการพัฒนา ทุกคนในท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา นอกจากนี้ ควรพัฒนาคนในท้องถิ่นด้วยการนำไปศึกษาดูงานในสถานที่มีการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับ และนำความรู้กลับมาประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นของตน พัฒนาคนให้มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ใช้การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว

2. บทบาทของ CEO คือ ต้องเป็นผู้วางกลยุทธ์ได้ดี เพื่อให้องค์กรอยู่รอด และเจริญรุ่งโรจน์ต่อไป การวางกลยุทธ์ได้ดี ต้องวางอย่างมีวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ CEO จะต้องลงไปคลุกคลีกับงาน เข้าใจกระบวนการทั้งหมด จากนั้นจึงแสดงวิสัยทัศน์ชี้นำ และมอบหมายอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติ CEO จะต้องตระหนักในคุณค่า และให้ความสำคัญต่อพนักงานทุกระดับ ต้องรับรู้ทุกข์สุข ปัญหาความขัดแย้ง เป็นผู้คอยไกล่เกลี่ยตัดสิน โดยยึดความถูกต้องยุติธรรมเป็นที่ตั้ง สร้างทีมงานที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

3. ทฤษฎี 3 วงกลม มาปรับใช้ในระดับ Micro เป็นทฤษฎีใช้เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน จึงนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 1 ดูบริบทContextในองค์กร โดยจะพิจารณาภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ภายใน ได้แก่ การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน วิธีการบริหารจัดการ

วงกลมที่ 2 ดูทักษะ และศักยภาพ Competencies เพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 3 สร้างแรงจูงใจ (Motivation) นอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดี สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็น ก็คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ มีความพึงพอใจ มีความตั้งใจและทัศนคติ ที่ดีในการทำงาน ฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

นันท์นภัส วิกุล Ph.D นครราชสีมา

ถอดบทเรียน จากการเรียนรู้ วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 ช่วงเช้า

พระมหาสาธิต เมธีจรรยาภรณ์ ศูนย์กรุงเทพ

ความคิดหลักในการส่งเสริมสมรรถนะทุนมนุษย์ที่อาจส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร 5 อย่าง

- Benchmarking การตั้งเป้าหมายองค์กร เปรียบเทียบกับองค์กรที่สูงกว่า เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานให้ของบุคลากรและองค์กรให้สูงขึ้น

- Qualities คุณภาพคน คุณภาพงาน ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร

- Standard การจัดทำมาตรฐานงาน

- Best practice การยกย่อง แสดงผลงานของบุคลากรหรือส่วนงานที่ดำเนินงานประสบความสำเร็จ เป็นแบบอย่าง

- Excellent การส่งเสริมการพัฒนางานสู่ความเป็นเลิศ

ทั้งนี้ จะต้องมี ปัจจัยเรื่องความยั่งยืน (Sustainable) เป็นเครื่องกำกับด้วย

เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น อาจารย์ได้ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันจากกรณีศึกษาทุ่งดอกกระเจียวที่จังหวัดชัยภูมิ ประเด็นการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ประชาคมอาเชียน ซึ่งจะต้องมีตัวละคร หรือผู้เล่นที่จะต้องเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาอย่างไร

ผู้เล่นในที่นี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ที่จะต้องประสานความร่วมมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักคือ ทุ่งดอกกระเจียว ผลิตภัณฑ์สนับสนุน เช่นการท่องเทียวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาของทุกฝ่าย

นางกรนิภา ไตรฟื้น

สรุปจากการเรียนกับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 เวลา 09.00 - 17.00 น.

สามารถสรุปประเด็นได้เป็น 3 ประเด็นดังนี้

1. คน + องค์กร + ผลประกอบการ / ความเป็นเลิศ

เรื่องการบริหารคน ในระดับองค์กรนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากคนเป็นผู้ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ผลของการประกอบการสู่ความเป็นเลิศได้ อันดับแรกในการมองเรื่องคนจะต้องมีความเชื่อและศรัทธาก่อน หลังจากนั้นก็จะเกิดแรงผลักดันทำให้ใจอยากร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในองค์กาและภายนอกองค์กร จะเห็นได้ว่าคนจึงเป็นทรัพย์สินที่มีค่าไม่สามารถประเมินราคาได้ มีคุณค่าต่อองค์กรอย่ามหาศาล ซึ่งคนจะเดินไปในทิศทางใดขององค์กรก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญหลายประการ เช่น อาจขึ้นอยู่กับพฤติกรรมหรือทัศนคติของแต่ละคน เนื่องมาจากพื้นฐานความเป็นอยู่ที่มีความแตกต่างกันซึ่งถือว่าเป็นภูมิหลังของแต่ละคน พร้อมทั้งตัวผู้ที่อยู่ในระดับสูงกว่าที่มีอำนาจในการสั่งว่าจะขวาหันหรือซ้ายหัน แล้วทำอย่างไรจะทำให้คนในองค์กรสร้างผลของการกระทำให้เกิดผลประกอบการที่ได้สู่ความเป็นเลิศ

ดังนั้นการมองคุณค่าของคนภายในองค์กร เห็นคนว่ามีคุณค่าต่อองค์กรผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าในองค์กร ต้องมีความใส่ใจ ลงมาดูคนในองค์กรด้วยตัวเองเสมอแม้ในช่วงนั้นจะมีหรือไม่มีปัญหาใดๆก็ตาม เช่นเมื่อคนในองค์กรมีความสุข หรือไม่มีความสุขต้องรู้ต้นตอแห่งสาเหตุให้ชัดเจน บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่มันไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอย่างที่คิด เพราะคนไม่ใช่เครื่องจักรแต่มีชีวิตจิตใจ มีจิตวิญญาณ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างธุรกิจใหม่ๆ ได้หลากหลายเกินกว่าที่คาดคิด สามารถทำให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้าได้ รวมทั้งในปัจจุบันความใช้เครื่องจักรเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น เรื่องง่ายๆ ที่เราเจอกันในชีวิตประจำวัน หากมีการจัดซื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานเราเปิดเครื่องคอมทิ้งไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะพิมพ์งานให้เราเองได้ จะต้องใช้คนมาจัดการในเรื่องดังกล่าวจึงจะสามารถทำให้สำเร็จได้ การสร้างคนในองค์กรเราจะต้องให้ความสำคัญของคนในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับบนหรือระดับล่างหากมีปัญหาเกิดขึ้นภายในองค์กร หรือได้รับความดีความชอบก็จะต้องได้รับร่วมกัน มีการประชุมร่วมปรึกษาหารือกันเป็นประจำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในข้อคิดเห็นต่างๆ นำมาแก้ไขปรับปรุงองค์กรอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งการบริหารองค์กรทั้งทางภาคราชการและภาคธุรกิจจะมีความเกี่ยวข้องกับคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดทั้งหมด แต่ในเรื่องผลของการประกอบการจะมีความแตกต่างกันเช่น ภาคราชการเป็นการบริหารงานที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงินได้ พร้อมทั้งวัดเป็นกำไรและการขาดทุนไม่ได้ ตัวอย่างการจัดเจ็บขยะในพื้นที่ใช้รถขยะในการจัดเก็บเมื่อเปรียบเทียบกับค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้กับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินการเก็บขยะจะมากกว่า แต่เราก็ไม่สามารถคิดเป็นเรื่องกำไรขาดทุนได้ เนื่องจากว่าเป็นการบริหารงานที่เกี่ยวกับการบริการด้านสาธารณะ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องได้รับจากการบริหารงานภาคราช คือการอยู่ดี กินดี หากเรื่องดังกล่าวนี้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด วัดความเป็นเลิศขององค์กรภาคราชการได้จึงเป็นการวัดจากความพึงพอใจของประชาชน ที่มารับบริการนั่นเอง ส่วนการบริหารภาคธุรกิจ เป็นการบริหารงานที่มุ่งหวังผลกำไรมาเป็นอันดับแรก ในปัจจุบันบริษัทแม้จะมีการตั้งเป้าหมายไว้ในเรื่องผลกำไรสูงสุดให้กับองค์กรจริง แต่ก็ยังยึดหลักธรรมมาภิบาลในการบริหารจัดการ พร้อมทั้งคำนึงถึงว่าทำอย่างไรให้บริษัทอยู่รอดได้ มีเงินที่จะจ้างคนงานได้ หลีกเลี่ยงการปลดคนงานออก

การบริหารองค์กรภาพรวมใหญ่ที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการหรือภาคเอกชน การที่จะก้าวไปสู่ความเป็นเลิศและความยั่งยืนได้จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

1. Benchmarking ความสามารถในการคาดคะเนช่วงห่างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า Gap ที่เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อทำให้เกิดการประมาณการได้ว่าเมื่อใดจึงจะสามารถปิด Gap และดีดตัวเองขึ้นได้ได้ หรือสามารถปรับปรุงตัวเองให้ดีเท่าหรือสูงกว่าคู่เปรียบเทียบได้ เช่น การนำเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง มาปรับระบบภายในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการพัฒนาให้ก้าวหน้า ล้ำสมัยอยู่เสมอ

2. Quality คุณลักษณะสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนอง และสร้างความพึงพอใจของผู้รับบริการ ในต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม เช่น การบริการประชาชนในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไร่ละ 5 บาท ซึ่งผู้รับบริการเต็มใจที่จะชำระภาษีตามที่กำหนด

3. Standard การกำหนดขึ้นมาด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐานที่ดี ซึ่งต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เช่น การปรับปรุงระบบการศึกษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่อาเซียนในปี 2558 โดยการเน้นเรื่องภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน

4. Best Practices การหาวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดที่จะนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศให้ได้ เช่น การเปรียบเทียบกระบวนการองค์กรอื่นกับการทำงานที่มีความคล้ายคลึงกันกับภายในองค์กรของเรา ดูว่าส่วนไหนที่คล้ายคลึงกับเราที่ทำให้เขาสู่ความเป็นเลิศได้

5. Excellence การเป็นองค์กรที่ดีที่สุด และสามารถได้เปรียบคู่แข่งขันอื่น เช่นการได้รับการรับรางวัลคุณภาพที่มีเกณฑ์เป็นที่ยอมรับเป็นสากล

ในส่วนที่จะต้องเติมเต็มอีกเรื่องก็คือการเอื้ออาทรณ์ ความเห็นอกเห็นใจของผู้ที่อยู่ในระดับสูงกว่าในองค์กรต่อผู้ที่อยู่ในระดับล่าง อย่างไรก็ตามแม้ว่าเรื่องคนจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์กรก็ตาม ส่วนในโลกแห่งความเป็นจริงที่ปรากฏคนก็ยังเปรียบเสมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน มีทั้งส่วนที่ขาดที่จะต้องหาส่วนที่มาเติมเต็ม และส่วนที่เต็มอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องหาอะไรมาสริมแต่งหากมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว ในส่วนที่ขาดหายไปแต่ละคนจะต้องคนหาด้วยตนเองหากเมื่อเจอแล้วก็ต้องหาต้องรีบดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน โดยผู้ที่อยู่ในระดับบนต้องเข้ามาร่วมแก้ไขไม่ใช่ปล่อยไปแล้วแต่เวรแต่กรรมของลูกน้องก็แล้วกัน ความดีความชอบรับทุกอย่าง

สรุปได้ว่าไม่ว่าองค์กรใดก็ตาม หากขาดความสนใจในเรื่องคนเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกก็จะส่งผลกระทบถึง องค์กร ผลประกอบการ การก้าวสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งในเรื่องการบริหารจัดการเรื่องคนส่วนที่ช่วยเป็นเครื่องมือในการจัดการที่ดีที่สุดในยุคสมัยนี้ก็คือ ทฤษฏี 8k’s และทฤษฏี 5k’s ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านขนานใหญ่ที่ต้องพกพาไว้ตลอดจะขาดเสียมิได้

2. Human Capital กับการก้าวสู่ประตูเป็นอาเซียน

ประเด็นนี้ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ยกตัวอย่าง ทุ่งดอกกระเจียวที่จังหวัดชัยภูมิ พร้อมทั้งได้พูดถึงจุดแข็งของประเทศไทยเราที่พบ จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ เรื่องการเกษตร การท่องเที่ยว และสุขภาพอนามัย ส่วนในเรื่องทุ่งดอกกระเจียว จะเป็นจุดแข็งในเรื่องการท่องเที่ยว เราจะต้องสืบค้นว่าตัวตนที่แท้จริงของทุ่งดอกกระเจียวคืออะไร รวมทั้งมีประวัติศาสตร์ตำนานอะไรบ้างที่สามารถผูกเป็นเรื่องราวเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นตัวตนอย่างแท้จริงของคนท้องถิ่นจากนั้นจึงพัฒนาให้ติดตลาดในระดับภายนอกไม่ว่าภายในหรือนอกประเทศต่อไป โบราณสถานที่สำคัญที่ใดบ้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอะไรบ้าง มีหน่วยงานไหนบ้างหรือพื้นที่ใดที่จะสามารถมาเป็นเครือข่ายได้บ้าง แต่ในส่วนนี้จะเริ่มจากท้องถิ่นในพื้นที่ก่อนในส่วนนี้จะต้องเจาะลึกลงตัวผู้นำท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ต้องมีการเปิดกว้างทางด้านวิสัยทัศน์ สร้างจิตสำนึกอย่างจริงจังให้ทำงานเพื่อท้องถิ่น ที่ถือว่าเป็น เชื่อมโยงไปถึงระดับอำเภอ ระดับจังหวัด แล้วประสานไปยังผู้มีอำนาจสูงสุดในการสั่งการ แล้วจึงเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับจังหวัดใกล้เคียง อาทิเช่น จังหวัดเลยซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยว หลายแห่ง มีภูกระดึง ภูเรือ อำเภอเชียงคาน หลังจากนั้นเราก็ทำเป็นจังหวัดพี่น้องกันระหว่างจังหวัดมีผู้ว่าราชการเป็นผู้ทำความตกลงร่วมกัน นอกจากนั้นไม่พอพื้นที่ของจังหวัดเลยยังมีพื้นที่ ที่สามารถเป็นหุ้นส่วนของประเทศลาวได้ ก็สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวร่วมกันเป็นบ้านพี่เมืองน้องระดับระหว่างประเทศที่ผู้นำทั้งสองประเทศทำข้อตกลงร่วมกันต่อไป

ในเรื่องของการจัดการท่องเที่ยวต้องเน้นเรื่องการบริการแบบ Service mind ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนในท้องถิ่นเองก่อน แล้วจึงนำมาผสมผสานกับส่วนที่เป็นนานาชาติจนสามารถทำให้เกิดการลงตัวแต่ยังเน้นความเป็นตัวตนที่แท้จริงของเราอยู่ เช่น การจัดที่พักค้างคืนแบบวิถีชาวบ้าน กลางคืนมีการแสดงศิลปะการแสดงท้องท้องถิ่น มีการเล่าเรื่องตำนานที่น่าสนใจในท้องถิ่น การรับประทานอาหารก็เป็นรายการเมนูอาหารที่เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อเป็นต้นตำหรับโดยเฉพาะ ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติก็รับประทานเน้นวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษ รวมทั้งเน้นเรื่องสมุนไพรไทย ที่ขึ้นชื่อมาเป็นเครื่องปรุงเพิ่มรสชาติ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ อยากไปแหล่งท่องเที่ยวก็จะมีมัคคุเทศน์ที่เกิดจากคนท้องถิ่นที่มีการฝึกภาษาในการสื่อสารไว้เป็นอย่างดี

จากจุดแข็งของประเทศไทยเรามี 3 ข้อดังที่กล่าวมาข้างต้นน่าจะเพิ่มอีก ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎี 8k’s 5k’s 4L’s 2R’sของ ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ นั่นก็คือ เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยเราที่นับว่าเป็นเรื่องที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ที่เป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ไม่ยาก เนื่องจากการคิดเอง แล้วนำมาสร้างสรรค์นำมาปฏิบัติเป็นปกติ จนเกิดเป็นประสบการณ์ ตามของแต่ละสภาพพื้นที่ที่ดำรงชีวิตอยู่ ตัวอย่างเช่น เรื่องการจักสานที่นับว่าเป็นอาชีพที่ดั้งเดิมของคนไทยเรา ที่ควบคู่กับการทำนามาตลอดไม่ว่ายุคไหนสมัยไหนรวมทั้งในปัจจุบัน สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆของคนอิสาน จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักสานที่เป็นไม้ไผ่ หลายๆอย่าง ได้แก่ กระติบข้าว กระด้ง กระจาด พาแลง หรือแม้แต่ที่อยู่อาศัย ในเรื่องการจักสานจึงเป็นกิจวัตรประจำวันของคนอิสานตั้งแต่โบราณนานมาแล้ว หากเราสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นดังกล่าวมาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับปรุงให้เป็นผลิตภัณฑ์จนสามารถเป็นที่ต้องตา ต้องใจของนานาชาติได้ ก็คงเป็นการเปิดโลกทรรศน์ใหม่ในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยในเรื่องดังกล่าวนี้ แต่ยังคงเอกลักษณ์และจุดเด่นของความเป็นไทยไว้ก็นับว่าคงความเป็นไทยให้ลูกหลานสืบทอดตลอดไป ได้อย่างน่าภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

3. บทบาทของ HR, Non- HR, CEO

เมื่อพูดถึงในเรื่อง HR ใหม่ในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ Logistic ดังนั้นการค้นหาตัวเองในเรื่อง Logistic เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศ พร้อมทั้งสามารถให้อยู่รอดได้ จนสามารถนำพาเข้าสู่การที่จะเข้าร่วมแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างสง่าผ่าเผยไม่อายใคร ยืนบนลำแข้งตัวเองได้ หลังจากนั้นก็ต้องสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ตลอดเวลา ในการสร้างความเป็นเลิศเป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ 1. Value Added 2. Value Creation ให้เกิดขึ้นในด้านความคิด สามารถพูดคุยได้ในด้าน Logistic ผ่าน Social Network พร้อมทั้งสร้างคุณค่าและประโยชน์ให้กับคนอื่นได้ เน้นในเรื่องจิตอาสาและการแบ่งปันให้กับสังคม 3. Value Diversity ที่เกิดจากการเรียนรู้ที่แตกต่างกันจนทำให้เกิดความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทางแนวความคิด หรือกระทั่งแม้ในด้านธุรกิจก็ตาม

ในส่วนของ Non-HR เป็นการท้าทายว่าต้องดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ออกมาให้ได้ ว่าจะทำอะไรบ้าง พอทำเสร็จแล้วก็จะต้องไม่จบแค่เท่าที่ทำได้เท่านั้น หลังจากนั้นต้องมีการคิดต่อยอดไปอีกเรื่อยๆ แล้วคิดต่อไปอีกหลังจากที่มีการทำไปแล้ววันนี้ แล้ววันหน้าจะทำอะไรเพื่อทำให้เกิด Value ต้องรู้ในเรื่อง Business รวมทั้ง People Management รวมทั้งต้องสามารถบริหารช่องว่างที่เกิดขึ้นให้ได้ ส่วน HR นับว่าเป็นตัวที่ช่วยในการสนับสนุนนโยบาย และ Non-HR จะเป็นตัวที่อยู่ชิดHR มากที่สุด และ CEO เป็นตัวเสมือนนำแสงสว่างที่จะนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ สามารถบริหารต้นทุน บริหารลูกค้า พร้อมทั้งสามารถคิดได้ว่าจิทำอย่างไรให้เพื่อนบ้านมาสนับสนุนตนเองให้ได้ มีความพร้อมในการมองจากข้างนอกองค์กรเข้าสู่ภายในองค์กร และเป็นผู้ให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ส่วนล่างภายในองค์กรมากกว่าผลกำไร ไม่ว่าภาคราชการ หรือภาคธุรกิจ ต้องเน้นในเรื่องการสื่อสารเป็นสำคัญรวมทั้งต้องสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเข้ามาสู่องค์กรให้มาก ต้องสามารถทำงานหลาย ๆ ด้านกับองค์กร อาทิเช่น บทบาทของ CEO จะต้องสามารถสื่อสารให้มาภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการทำ SWOT ส่งพนักงานไปฝึกอบรม จนทำให้เขาสามารถทำงานได้ทุกอย่างได้สำเร็จ สามารถค้นหาตัวเองว่าได้ทำอะไร ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้เกิดภาวะผู้นำ ระดับ CEO จำเป็นจะต้องสร้างความผูกพันของคนในองค์กรทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ภายในองค์กรมีการจัดกิจกรรมออกบริการประชาชน แม้วันที่ออกบริกรประชาชนจะเป็นวันหยุดราชการ CEO ก็จะต้องสามารถทำให้ทุกคนภายในองค์กรร่วมมือร่วมใจกันทำงานในการให้บริการอย่างเต็มอกเต็มใจในการให้บริการ ทำให้สามารถทำงานเป็นทีมด้วยความสำเร็จเพราะมี CEO เป็นโค้ชที่ดีให้ ดังนั้น HR , Non-HR , CEO จะต้องเป็นผู้ทำการสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรร่วมกัน พร้อมทั้งจะต้องร่วมกันอย่างจริงจัง เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ต้องเน้นความต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง และใช้หลักทฤษฏี 4L’S ตามที่ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวไว้

เสนอ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

จัดทำโดย นางกรนิภา ไตรฟื้น

วิชา การจัดการทุนมนุษย์ ( PHD 8202)

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์จังหวัดเลย

ชื่อ นาย อดุลย์ อยู่ยืน ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484931006

Cell phone 081 876 4025 E-mail: [email protected]; www.adulyouyoun.com

ชื่อชิ้นงาน ปลูก vs เก็บเกี่ยว

การปลูก เป็นการทำอะไรสักอย่างเพื่อหวังผลที่ควรจะได้ เปรียบเป็นการลงทุน ซึ่งจะมี2 ระยะด้วยกัน ระยะแรกคือการเริ่มให้ได้ และระยะที่สองคือการส่งเสริม เพิ่ม เพื่อให้เข้ากับเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น การปลูกข้าว ก็เพื่อหวังได้เมล็ดข้าว ซึ่งการปลูกระยะแรกนั้นจะเป็นการปลูกอย่างไรให้ขึ้น ส่วนระยะที่สองก็ต้องใส่ปุ๋ยเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ เปรียบเทียบกับปลูกมนุษย์ เริ่มแรกก็ทำอย่างไรให้ได้เป็นมนุษย์มาเสียก่อน จากนั้นก็หวังว่าจะให้เป็นอะไรก็ปลูกเพิ่มไปในทางที่อยากให้เป็น

การเก็บเกี่ยว เป็นการเก็บสิ่งที่ปลูก จะเห็นว่าการเก็บเกี่ยวง่ายกว่าปลูกมาก แต่การจะเก็บเกี่ยวอย่างไรให้ได้นานและคุ้มค่ากับที่ปลูกสำคัญ

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ ศูนย์วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต

รหัสนักศึกษา 53484931029

การปลูกและการเก็บเกี่ยว

จากที่ได้เรียนรู้จากการสอนของอาจารย์จีระและจากการแลกเปลี่ยนกันในห้องเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกและการเก็บเกี่ยว โดยสรุปได้ดังนี้

การปลูกเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งต้องปลูกตั้งแต่วัยเด็กและสามารถปลูกได้ตลอดชีวิต โดยความหมายของการปลูก คือ การที่ได้รับการพัฒนาในศักยภาพด้านการเรียนรู้ทั้งการเรียนในห้องเรียน เรียนรู้จากการฝึกอบรม รวมทั้งการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ด้วย และการเรียนรู้ของคนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต โดยองค์ประกอบที่สำคัญของการปลูก คือ

-การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ (ปลูกในสถานศึกษา)

-การส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาด้านความเป็นเลิศจากพรสวรรค์ที่มีในตัวบุคคล และ

หน่วยงานให้โอกาส

-การพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติมในระหว่างปฏิบัติการหรือประจำการในหน่วยงานต่างๆ

การเก็บเกี่ยวเป็นการนำทุนมนุษย์ที่ได้จากการพัฒนาแล้ว และมีการดึงศักยภาพจากการพัฒนามาใช้ในการพัฒนาหน่วยงานหรือในด้านที่มีความถนัดและมีความสนใจโดยในการเก็บเกี่ยวจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น

-วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการทำงาน และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน เป็น Happy work place บุคลากรมีความสุขในการทำงาน หน่วยงานก็สามารถเก็บเกี่ยวได้มาก

-คนในองค์กรที่มีคุณธรรม จริยธรรม

-ผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานในองค์กรโดยใช้หลัก Good governance ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาค่อนข้างมาก

-การมีจิตสาธารณะ เป็นต้น

โดยสรุปการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีจะต้องมีการวางนโยบายที่ชัดเจน มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกคนมีคุณธรรมและจริยธรรมและผลสุดท้ายคือเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าเท่าทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร

จากการที่นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากรได้ศึกษากับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ทราบถึง

Assignment 1: การทำงานจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีมาตรฐานในการตรวจสอบ ประกอบด้วย Benchmarking, Quality, Standard, Best practices, and Excellence

Benchmarking หัวใจสำคัญคือ การปรับปรุงองค์กรโดยใช้การเปรียบเทียบจากองค์กรที่เป็นเลิศ เพื่อนำสิ่งที่ด้อยและสิ่งที่ขาดขององค์กรของเรา เติมให้เต็มตามสิ่งที่ต้องการ

Quality คุณภาพ สามารถใช้กับ คน สิ่งของ เช่น คุณภาพของพนักงานในองค์กรซึ่งมีความสำคัญมาก คุณภาพของสินค้าหมายถึงความน่าเชื่อถือต่อสินค้า ขึ้นกับความพอใจ และราคา

Standard มาตรฐานมีมากมายอาทิ ISO คือ มาตรฐานด้านเทคนิคและระบบต่างๆ เพื่อจัดระเบียบการค้าโลก แล้วสร้างมาตรฐานสากลให้การรับรอง หรือTQM เป็นกระบวนการบริหารคุณภาพของพนักงานทั้งองค์กรที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้า

Best Practices คือ วิธีการปฏิบัติที่สามารถทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศ

Excellence คือ ความเป็นเลิศในผลงาน หรือยอดเยี่ยมในทางใดเป็นพิเศษ

Assignment 2: มีดอกกระเจียว จ.ชัยภูมิ ทำอย่างไรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้อาเซียนเสรีทราบมากขึ้น ได้ดังนี้

1.ประชาสัมพันธ์ ทุกภาษาในอาเซียน 2.Trend มักคุเทศก์ 3.สร้างเครือข่าย 4.ให้ความรู้ และResearch 5.ทำทุกเรื่องพร้อมๆกันอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น Self-learning มากกว่า Training เนื่องจากคนไทยขาดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบรับการเปิดเสรีอาเซียน

Assignment 3: กระบวนการบริหารจัดการ “ทุนมนุษย์” ยุคใหม่ ภายใต้ CEO, HR, Non HR ขององค์กรซึ่งนำไปสู่การทำงานให้สำเร็จมุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยบทบาทของผู้นำ CEO จะต้องที่มีสมรรถนะสูง มีวิสัยทัศน์ และการบริหาร โดยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับStakeholder ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร ส่วนHR เป็นแนวทางการมองภาพรวมและให้ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ผู้นำต้องกล้าต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีNon HR เน้นการทำงานที่มุ่งประสิทธิภาพ และประสิทธิผลซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการทำงานในองค์กรยุคใหม่

นางสาวอภิชนา สิงสันจิตร

นางสาวอภิชนา สิงสันจิตร นักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์ภูเก็ต รหัสนักศึกษา 53484931025

ขอเสนองานเกี่ยวกับ 3 Assignment ที่ท่านอาจารย์ รศ.ดร.จีระ ได้สอนในห้องเรียน มาแชร์กับเพื่อนๆพี่ๆนักศึกษาคะ

Assignment 1 : เรื่องเกี่ยวกับ HR, Non-HR ”คน” เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร การมีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ทักษะและความสามารถ จะช่วยให้องค์กรมีผลสัมฤทธิ์เหนือคู่แข่งและสามารถยืนหยัดอยู่ในธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ในปัจจุบันหน้าที่ในการบริหารคนไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นหน้าที่ของหัวหน้างานทุกคนที่จะต้องบริหารคนในส่วนงานที่ตนเองรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งหัวหน้างานจะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารคนตั้งแต่การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานที่ตนเองต้องการ การคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจัดสวัสดิการ จนกระทั่งเดินออกไปไปจากองค์กร การให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินการบริหารเพียงฝ่ายเดียวไม่ใช่หนทางที่จะช่วยให้การบริหารคนมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ การให้ความรู้แก่หัวหน้างานเกี่ยวกับการบริหารคนแก่หัวหน้างานจึงเป็นสิ่งที่องค์กรจะต้องดำเนินการ

ปัจจุบันการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management) ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจของทุกองค์กร องค์กรที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง (high competitive advantage) จะตระหนักถึงคุณค่าของคนว่าเป็นทรัพย์สิน (asset) ที่มีสภาพเป็นทุนมนุษย์ (human Capital) และจะคาดหวังต่อบทบาทของผู้รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรมนุษย์ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงหัวหน้าหน่วยงานอื่น ๆ (line Managers) ด้วย ว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อการสร้างความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ด้วยเหตุผลดังกล่าว หัวหน้าหน่วยงานจึงจำเป็นต้องทราบและเข้าใจหลักสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และสามารถนำเครื่องมือการบริหารบางชนิดไปใช้เพื่อสนับสนุนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานของตนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล (efficiency and effectiveness) และมีขวัญกำลังใจ (morale) ดังคำกล่าวที่ว่า “Line Manager is a HR Manager”

Assignment 2: Bench marking, Best Practice, Quality, Performance, Excellent, , standard Benchmarking จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด ผลที่ได้รับจากการทำ Benchmarking คือทำให้รู้ว่าใครหรือองค์กรใดเป็นผู้ปฏิบัติได้ดีที่สุดและมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เพื่อองค์กรอื่นจะนำมาปรับปรุงผลการดำเนินงานของตน โดยเลือกสรรและนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศเหล่านั้น ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานของตนเอง ซึ่งไม่ใช่การลอกเลียนแบบแต่เป็นการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ อันเกิดจากการเรียนรู้ Best Practices คือวิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือคือการปฏิบัติที่นำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างเห็นได้ชัด มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานเป็นเลิศ ได้รับการยอมรับจากบุคคลหรือองค์กรที่เชื่อถือได้ได้รับการยอมรับจากลูกค้าและผู้ส่งมอบเป็นจำนวนมาก ทำซ้ำได้ แสดงผลลัพธ์เชิงปริมาณที่เป็นที่ยอมรับ/วัดผลได้

Assignment 3: ทฤษฎี 3 วงกลม

เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ วงกลมที่ 1 ดู context หรือสภาพแวดล้อมในองค์กรในองค์กรว่าเอื้ออำนวยต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น ระบบโครงสร้างองค์กรที่คล่องตัว, การนำระบบ IT มาใช้ในการบริหารงาน, Process ของงาน, การนำ data และ knowledge มาสร้างมูลค่าเพิ่ม วงกลมที่ 2 มองดูคุณภาพจาก Gap Analysisว่ามี Skills และ Competencies อะไร? และขาดอะไร แล้วพยายามลดช่องว่าง เช่น การแสวงหาความรู้ (Learning Culture), เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้, ภาวะผู้นำ, การมองโลกทัศน์ที่กว้างและกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดี, Innovation, การบริหารเวลา (Time Management), Creativity, การมีทัศนคติเป็นบวก (Positive Thinking), ทำงานเป็นทีม, การบริหาร Knowledge , Change management, การกระจายอำนาจให้ได้ผล, ความสามารถในการตัดสินใจ, ความสามารถในการรับฟังและยอมรับความจริง วงกลมที่ 3 จะทำอย่างไรให้การ motivation มีประสิทธิภาพและเกิดผลจริงกับงาน การมีระบบโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เหมาะสม และเน้น Pay for Performance และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในองค์กร เช่น การมีโอกาสและความก้าวหน้าในงานและองค์กร, การมีส่วนร่วม, การทำงานที่ท้าทาย, การทำงานเป็นทีม, การให้รางวัลพิเศษ, การให้โอกาสไปเพิ่มพูนความรู้, วัฒนธรรมองค์กร, การประเมินผลอย่างโปร่งใส, ความเป็นธรรม, Style การบริหาร, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, Empowerment เป็นต้น

นางณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์

นางณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์ภูเก็ต รหัสนักศึกษา 53484931019

การบ้านเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนของรายวิชา รศ.ดร.จีระ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 ....3 Assignment

Assignment 1: เกี่ยวกับเรื่อง ทฤษฎี 3 วงกลม

ทฤษฎีวงกลมที่ 1: Context หรือบริบท ในวงกลมที่ 1 พิจารณา Context หรือบริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน - ภายนอกได้แก่ระบบโลกาภิวัตน์ - ภายใน ได้แก่การนำระบบ IT , Process.การนำ Data และ Knowledge ฯลฯ การพัฒนาและการเสริมหลักสูตรที่จำเป็นต้องใช้ในองค์กร ให้มีประสิทธิภาพสามารถทำได้ เช่น

1.การปรับองค์กรให้เหมาะสม มีความทันสมัยทั้งด้านเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมในการทำงานในองค์กรสร้างให้ องค์กรมีบรรยากาศของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกาภิวัตน์ ตลอด จนความพึงพอใจของลูกค้าและพนักงานในองค์กร

2.การทำงานเป็นกระบวนการ (Process) ที่รวดเร็ว และมีคุณภาพ (Job Design) หรือ Re- engineering 1.3 การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ นำเอาองค์ความรู้ (Knowledge) ที่มีอยู่มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม การลดต้นทุนทั้งทางด้านการบริหารจัดการ และการผลิต

ทฤษฎีวงกลมที่ 2 : คือ Competencies หรือ ความสามารถของบุคลากร

ในวงกลมที่ 2 ต้องสร้างบุคคลากรให้มีความสามารถหรือมี Competencies โดยการวิเคราะห์จาก Gap Analysis ว่ามี Skills และ Competencies อะไรและขาดอะไร แล้วพยายามเติมช่องว่างนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรพัฒนาศักยภาพ ทักษะและความสามารถ ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง เพื่อเป็นประโยชน์ในการเพิ่มทักษะ และประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของระบบราชการ จึงควรพิจารณาถึงหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นประการสำคัญ แต่ก็ควรพิจารณาถึงหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของส่วนอื่นๆ ของระบบราชการด้วย เนื่องจากทุกหน่วยงาน ทุกฝ่ายในระบบราชการจะต้องดำเนินการให้มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน Skills และ Competencies ที่จำเป็นสำหรับระบบราชการอาจ จัดแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ

1.Skills และ Competencies สำหรับผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ซึ่งได้แก่ข้าราชการระดับ10 และ 11 ดังนั้น Skills และ Competencies ในระดับนี้ ควรจะให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้ เช่น การบริหารจัดการ, ภาวะผู้นะ, ความคิดสร้างสรรค์, การคิดอย่างเป็นระบบ, การเจรจาต่อรอง, การเข้าใจวัฒนธรรมข้ามชาติ, การวางแผนอย่างเป็นยุทธศาสตร์, การสร้างและการบริหารเครือข่าย, การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง, การวางโครงสร้าง และ reengineering, การสื่อสารความคิด, การประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

2.Skills และ Competencies สำหรับข้าราชการระดับกลาง ข้าราชการระดับกลาง ได้แก่ ข้าราชการระดับ 8-9 ดังนั้น Skills และ Competencies ระดับนี้ ควรจะให้ความสำคัญในด้าน ได้แก่ การมีความคิดและทัศนคติที่ดี, การวิเคราะห์, การตัดสินใจ, การมีส่วนร่วม เป็นต้น

3.Skills และ Competencies สำหรับกลุ่มคลื่นลูกใหม่ ข้าราชการที่เป็นกลุ่มคลื่นลูกใหม่ ได้แก่ ข้าราชการรับ 5-7 ซึ่งจะเป็นผู้นำพาการเปลี่ยนแปลงมาสู้ระบบราชการในระยะยาว ดังนั้น Skills และ Competencies ระดับนี้ควรจะให้ความสำคัญในด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วม, การรับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการฟัง, การทำงานร่วมกบผู้อื่นและทีม, การสร้างนวัตกรรมทางผลงาน, การบริหารความรู้และวัฒนธรรมการเรียนรู้, การเป็นผู้มีความรู้ในขอบข่ายงานของตน, การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เป็นต้น

ทฤษฎีวงกลมที่ 3: คือ Motivation หรือ แรงจูงใจในระบบการทำงาน

ทฤษฎีวงกลมที่ 3: คือเมื่อมีวงกลมที่ 1 และวงกลมที่ 2 แล้ว ในระบบราชการจะต้องแน่ใจว่าการบริหารจัดการขององค์กรกระตุ้น หรือ Motivation ข้าราชการให้ทำงานอย่างเต็มที่ซึ่งมีการวิเคราะห์เรื่องโครงสร้างเงินเดือน สวัสดิการที่จะต้องสอดคล้องกับ Performance หรือระบบจูงใจอื่นๆ เช่นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การให้ empowerment และวัฒนธรรมองค์กร (corporate culture) ที่ต้องปรับปรุงให้เหมาะสมการทำงานให้มีประสิทธิภาพโดยการใช้ Motivation ซึงควรพิจารณาจาก

1. ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์กร

2. ความสามารถและผลงาน

3. ระยะเวลาการทำงาน

4. สิ่งที่บุคลากรในองค์กรคาดหวังในการทำงาน

Assignment 2: เรื่องเกี่ยวกับภาวะผู้นำ CEO ควรจะมีบทบาทสำคัญในด้านต่อไปนี้

1. เป็นผู้วางกลยุทธ์ ให้บริษัทอยู่รอดทางธุรกิจ และเจริญรุ่งโรจน์ต่อไป การวางกลยุทธ์ได้ดี ต้องวางอย่างมีวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ในที่นี้ไม่ได้หมายความแค่จินตนาการ คิดปุ๊บแล้วสั่งให้ทำปั๊บ CEO จะต้องลงไปคลุกคลีกับงานจนรู้แจ้งแทงตลอด เข้าใจกระบวนการทั้งหมด จากนั้นจึงแสดงวิสัยทัศน์ชี้นำ และมอบหมายอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติ ไม่ใช่จะมากล่าวยกย่องกันเอง

2. เป็นผู้วางโครงสร้างวัฒนธรรมภายใน เพื่อเป็นพลังขององค์กร CEO จึงควรสวมหัวใจของ Human Resource Manager ด้วย เพราะวิญญาณขององค์กรอยู่ที่ “คน” ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโต๊ะทำงาน CEO จึงต้องตระหนักในคุณค่า และให้ความสำคัญต่อพนักงานทุกระดับ โดยมีหน่วยงาน Human Resource เป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายให้บรรลุผล ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากโดยทั่วไป CEO จะเป็นผู้รับฟังข้อเสนอและความคิดต่าง ๆ จากทาง Human Resource และเลือกดูว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ แล้วก็ปล่อยให้ Human Resource Managerไปดำเนินการตามยถากรรม แต่ถ้า CEO เข้าใจว่างานด้าน Human Resource Manager เป็นหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของตน ก็จะใส่ใจคิดหาวิธีการและลงมือผลักดันอย่างจริงจัง โอกาสที่นโยบายจะประสบความสำเร็จจึงมีสูงกว่า ขวัญและกำลังใจพนักงานก็จะได้รับการทะนุบำรุงด้วยระบบคุณธรรม โดยมี CEO เป็นผู้กำกับ

3. เป็นผู้ดูแลด้านงานปกครอง ต้องรับรู้ทุกข์สุข ปัญหาความขัดแย้ง เป็นผู้คอยไกล่เกลี่ยตัดสิน โดยยึดความถูกต้องยุติธรรมเป็นที่ตั้ง ซึ่งถ้าทำหน้าที่ได้ดีก็จะเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างสูงจากสมาชิกในบริษัท

4. CEO ต้องเป็นเบอร์หนึ่งในด้านการประชาสัมพันธ์ เพราะ CEO คือคนที่กำหนดว่าจะให้สาธารณะชนรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กรไปในลักษณะใด เพื่อให้สังคมส่วนรวมให้การยอมรับและ

สนับสนุนกิจการขององค์กรในทุกสถานการณ์

5. CEO เปรียบเสมือน Conductor หรือผู้ควบคุมวงดนตรี CEO ต้องคอยเฝ้าสังเกตดูพฤติกรรมสมาชิกในองค์กร เพื่อปรับโครงสร้างและตัวบุคคล เช่นเดียวกับ Conductor ที่ต้องคอยปรับแต่งเสียงของเครื่องดนตรีที่แตกต่างกันให้บรรเลงออกมาประสานสอดคล้อง และไพเราะน่าฟังที่สุด

6. CEO ต้องเป็นนักบัญชีการเงิน เพราะภาพรวมทางบัญชีการเงิน คือ ภาพเอ็กซเรย์ขององค์กร เราจะสามารถมองทะลุเห็นโครงกระดูก ตับไต ไส้พุงของบริษัทอย่างชัดเจน ถ้ามองด้วยสายตาของนักบัญชี วิธีคิดแบบนักบัญชีจะช่วยให้ CEO มองเห็นสถานะสินทรัพย์ของบริษัทอย่างเป็นระบบระเบียบ เหมือนบริษัทเป็นบ้านหลังหนึ่ง ห้องนี้ เป็นห้องเก็บทรัพย์สิน ห้องนั้นเป็นห้องเก็บหนี้สิน ถ้ามีทรัพย์สินแปลกใหม่เข้ามาชิ้นหนึ่ง จะต้องรู้ว่าต้องจัดเก็บไว้ที่ห้องไหนจึงจะปลอดภัย และใช้ประโยชน์ได้สูงสุด CEO ที่ไม่รู้ว่าข้างของในบ้านตัวเองมีอะไรบ้าง จัดเก็บไว้ที่ไหน แม้จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่ก็ไม่สมกับเป็น “เจ้าของบ้านตัวจริง”

7. CEO ต้องเป็นครูให้กับคนในองค์กร CEO ที่ดีไม่ใช่ “สั่ง” อย่างเดียว แต่ควรจะ “สอน” เป็นด้วย เพราะจะให้ทุกคนในองค์กรเก่งเหมือน CEO คงเป็นไปไม่ได้ มิฉะนั้นคงเป็น CEO หมดทั้งบริษัท CEO ไม่ควรโกรธเมื่อลูกน้องทำไม่ได้ดั่งใจ (เช่นเดียวกับไม่ควรโกรธคนขับรถว่าไม่ฉลาดพอ เพราะถ้าเขาฉลาดกว่านี้ก็คงไม่เป็นแค่คนขับรถอย่างที่เห็น) CEO ต้องสุขุมเยือกเย็นพอที่จะชี้แนะสั่งสอนให้ลูกน้องเกิดการพัฒนา ถ้าสอนแล้วเขาจดจำและทำได้ ถือว่าโชคดี หากบังเอิญมีลูกน้องที่เก่งเองโดยเราไม่ต้องเสียเวลาสอน CEO ก็เหมือนกับถูกลอตเตอรี่รางวัลใหญ่ แต่คงไม่มีใครดวงดีถึงขั้นถูกหวยตลอดทั้งปี CEO จึงต้องอดทนปากเปียกปากแฉะชี้แนะ สั่งสอนลูกน้องต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ

Assignment 3: เกี่ยวกับเรื่อง HR, Non-HR

ทุกองค์กรจะมีผู้บริหารในสายงานหลัก( Line Functions) ขององค์กรคือกลุ่มคนที่มีความสำคัญมากกว่าคนในสายงานสนับสนุน ( Support Functions) เพราะผู้บริหารในสายงานหลักเป็นกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภารกิจหลักขององค์กร ความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กรมักจะขึ้นอยู่กับคนกลุ่มนี้เป็นหลัก จะเห็นว่าองค์กรให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ตั้งแต่การรับเข้ามาทำงานด้วยค่าจ้างที่สูงกว่าคนในสายงานสนับสนุนเมื่อเข้ามาทำงานแล้วคนกลุ่มนี้ก็ได้รับการยอมรับและได้เล่นบทบาทที่สำคัญกว่าหน่วยงาน สนับสนุนเสมอ ซึ่งผู้บริหารในสายงานหลักจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจเพราะเขาเหล่านั้นจะมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการคน ให้เป็นไปอย่างที่องค์กรคาดหวังแต่อาจจะเป็นเพราะว่าผู้บริหารในสายงานหลักได้รับการยกย่องมากเกินไปหรือผู้บริหารในสายงานหลักต้องรับผิดชอบงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรมากเกินไป หรืออาจจะเป็นเพราะผู้บริหารที่ทำงานในสายงานหลักมีความมั่นใจในตัวเองสูงมากเกินไป จึงทำให้องค์กรต่างๆประสบปัญหาที่เกิดจากการบริหารงานของผู้บริหารในสายงานหลักที่มักจะมุ่งเน้นแต่งานหลักของตัวเองไม่ค่อยสนใจเรื่องการบริหารคน เมื่อองค์กรประสบปัญหาเรื่องผู้บริหารสายงานหลักไม่สนใจการบริหารงานคน

นางสาวพรรณวดี ขำจริง

นางสาวพรรณวดี ขำจริง

สรุป การเรียน ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554

1. หน้าที่หลักของการบริหารปัจจัยด้าน "คน" ยังคงเหมือนเดิม คือ ต้องจัดการสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับคน ทั้งการสรรหาคน จูงใจ รักษาคน แต่ที่ต้องดูเพิ่มมากขึ้นคือต้องพิถีพิถันเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูพนักงานให้อยู่ได้ รวมทั้งมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานมากขึ้น ด้วยเหตุผลของการพัฒนาธุรกิจที่ก้าวข้ามประเทศทำให้ระดับการครองชีพและความเป็นอยู่ถูกกระทบสูง โดยเฉพาะ ความมั่นคงในการทำงานอันเนื่องจากการขาดความรู้ซึ่งกลายเป็นปัญหาของพนักงานโดยตรง

2. ต้องมีการพัฒนาความรู้ให้กับนักบริหารและผู้ทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ [HR Professionals] ให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเติบโตในสายงาน หรือเติบโตได้ในส่วนอื่นๆ ขององค์กร

3. นอกจากต้องเก่งและมีความรู้ด้าน HR อย่างดีแล้ว นักบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องขยายการเรียนรู้ไปสู่แขนงอื่นๆ เพื่อให้สามารถรับบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ให้ครอบคลุมกว้างขวางทั้งองค์กร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงได้ขยายไปกว้างทั่วองค์กร และในทุกจุดต่างมีปัจจัยเรื่อง "คน" เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ

4. นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องถือเป็นธุระคอยติดตามสังเกต ลงมือริเริ่ม และปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร [Corporate Culture] เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปเพราะนี่คือ "บุคลิกภาพขององค์กร" ที่มีอิทธิพลในการชักจูงคนให้เข้ามาทำงาน ทั้งยังหล่อหลอมความคิด และการกระทำของพนักงาน เนื่องจาก "วัฒนธรรม” เป็นเครื่องสะท้อนถึง "ภาพลักษณ์" และ "จุดเด่นขององค์กร" การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นบทบาทหน้าที่ของ HR Professionals โดยตรง

5. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ต้องรับบทบาทในการสร้าง "ความสามารถ [Capabilities] ให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อใช้แทน "โครงสร้าง" [Structure] ด้วยความจริงที่ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากอิทธิพลด้านไอทีทำให้โครงสร้างองค์กรยืดหยุ่น และพึ่งพามากขึ้นในเรื่อง "คนกับระบบการทำงานบนไอที" ดังนั้นการสร้างความสามารถที่มี "คน" เป็นศูนย์กลางจึงมีความสำคัญมากขึ้น HR Professionals ที่มีทักษะความรู้เรื่องคนเป็นทุนเดิม จึงควรเป็นเจ้าภาพในการพัฒนา "ความสามารถ" ขององค์กรผ่านความสามารถของ "คน"

6. HR ต้องเปลี่ยนตัวเอง จากลักษณะวิชาชีพที่เป็นศิลปะ [Art] ให้เป็นการตัดสินใจที่เป็นศาสตร์ [Science] โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน มากกว่าการบรรยายความ หรือคาดคะเนกว้างๆ เพราะโลกยุคใหม่มีการแข่งขันสูง และต้องมีการ "แข่งประสิทธิภาพ" ที่วัดผลได้จริง ทำให้การจัดการเรื่องคนต้องวัดประสิทธิภาพได้ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน

7. นักบริหาร HR ต้องทำตัวเก่งและรับบทบาทในด้าน "การประสานและสร้างความร่วมมือ" [Collaboration and Cooperation] เพราะ การประสานความร่วมมือคือ "หัวใจขององค์กร" ในอนาคต การต้องรับหน้าที่สร้างกลไกการประสานและหลอมให้เข้ากัน และรวมพลังทำงานเป็นหนึ่งเดียว จะสำคัญยิ่งที่จะป้องกันมิให้เกิดสภาพต่างคนต่างทำ

8. นักบริหาร HR ต้องทำหน้าที่ติดตามแก้ไขปัญหาด้านสังคม และตามทันนโยบายสาธารณะต่างๆ เพราะความเจริญของข่าวสารและกระแสความโปร่งใส ทำให้พลังของ Stakeholders กลุ่มต่างๆ แข็งแรงขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการถูกกระทบ จึงต้องมีคนคอยติดตามนโยบายสาธารณะ [Public Policy] และคอยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากสังคมภายนอก ซึ่งนักบริหาร HR คือ ผู้เหมาะสมกับบทบาทด้านนี้มากที่สุด

9. ต้องบริหารในบริบทโลกได้ คือ นั่นคือ ผู้บริหาร HR จะต้องทำได้เสมอเหมือนผู้บริหารด้านอื่น โดยตามทันกระแสโลกาภิวัตน์ในโลกสมัยใหม่ และสามารถประยุกต์การแก้ปัญหาให้ตรงกับสถานการณ์ในท้องถิ่นได้ด้วย เหมือนคำกล่าวที่ว่า "Live Globally, Act Locally" นั่นเอง

นายวิสิษฐ์ ใจอาจ ศูนย์ภูเก็ต รหัสนักศึกษา 53484931023

การบ้านอ.จีระ 3 เรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาที่ อ.ได้ร่วมพูดคุยกับนักศึกษาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554

เรื่องที่ 1: การพัฒนาคน

ทุกองค์กรต่างมุ่งหวังให้บุคลากรของตนมีศักยภาพที่สูงขึ้นพร้อมๆกับเป้าหมายที่ยากขึ้น แต่มีสักกี่องค์กรที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนอย่างจริงจังอย่างเป็นรูปธรรม เรามักจะเห็นกันอยู่เสมอว่าองค์กรต่างๆมักจะเข้าใจว่าการพัฒนาความสามารถบุคลากรคือการฝึกอบรม การฝึกอบรมคือการพัฒนาบุคลากร ถ้าใครถามว่าบริษัทของคุณให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมากน้อยเพียงใด หลายคนมักจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “โอ๊ย บริษัทผมเน้นมากเลยในเรื่องนี้ ดูซิในแต่ละปีผมต้องเข้าอบรมเยอะมากเลย แทบจะไม่มีเวลาทำงาน อบรมมากจริงๆ”

การบริหาร “คน” ในองค์กรต่างๆ มักจะมอบภารหน้าที่นี้ให้กับคนสองกลุ่มคือ ผู้บริหาร ระดับสูงกับ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผมมีความเชื่อว่าถ้าโครงสร้างการบริหารคนในองค์กรยังเป็นแบบนี้อยู่ โอกาสการสร้างศักยภาพของคนเพื่อการแข่งขันคงจะไปได้ไม่ไกลมากนัก เพราะอะไร เพราะไม่แตกต่างอะไรกับช้างที่ขาขาดไปข้างหนึ่ง ถึงแม้จะเดินได้ แต่ก็คงไม่สะดวกนัก และขาที่เหลือก็ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป

ในอดีตและปัจจุบันนี้การเปรียบเทียบการพัฒนาบุคลากรระหว่างองค์กรมักจะดูกันที่เปอร์เซ็นต์งบประมาณด้านการฝึกอบรมบุคลากรว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างทั้งปี สำหรับตัวชี้วัดตัวนี้ผมคิดว่าเป็นเพียงตัวบ่งชี้ว่าองค์กรได้ให้ความสำคัญโดยการจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรมากน้อยเพียงใดเท่านั้นเอง แต่ยังบอกไม่ได้ว่างบประมาณที่ได้ไปนั้น องค์กรได้นำไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเกิดประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด บุคลากรมีความสามารถเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามที่คาดหวังนั้น เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาบุคลากรเสียใหม่จากการ “พัฒนาหรือฝึกอบรม” ไปสู่ “การบริหารทุนปัญญา” การบริหารทุนปัญญาหมายถึงการมองคนเป็นทุนหรือสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง แต่ทุนประเภทนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตัวมันเองได้ เป็นทุนที่มองไม่เห็น แต่สามารถวัดได้จากระดับความสามารถที่แสดงออกและผลงานที่เกิดขึ้น

เรื่องที่ 2: เกี่ยวกับ CEO

CEO ต้องเป็นผู้ให้ความสำคัญกับความรู้ เป็นผู้ที่สนับสนุนให้เกิดความรู้ขึ้นในองค์กร โดยเฉพาะความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นตัวผลักดันให้องค์กรเกิดการพัฒนาโดยกระบวนการในการจัดการความรู้ที่ CEO ต้องดำเนินการ คือ

1. การกำหนดว่าความรู้ใดเป็นความรู้ที่มีความสำคัญกับองค์กร และจำเป็นต้องใช้ในการทำงาน

2. การพิจารณาความรู้ที่จะจัดเก็บว่าจะนำไปใช้ในด้านใดบ้าง ซึ่งการจะทราบว่าความรู้ที่ได้จัดเก็บไว้นั้นจะนำไปใช้ในส่วนใด อาจพิจารณาได้จากหลายทาง เช่น จากลูกค้า จากบุคลากรในองค์กร เป็นต้น

3. การกำหนดวิธีการในการเข้าถึงความรู้ที่ได้ทำการจัดเก็บไว้ ซึ่งในส่วนนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการ

4. การกำหนดภาษาที่ใช้ในการจัดการความรู้ ควรเป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่าย

5. การสร้างความรู้เสมือน คือ การสร้างแหล่งความรู้ให้สามารถเข้าใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา

6. สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร

7. วัดผลที่ได้รับจากการสร้าง ระบบการจัดการความรู้ ที่ใช้ในองค์กร ซึ่งอาจวัดได้จากกำไรที่ทางบริษัทได้รับ

8. CEO ต้องสามารถคาดคะเนได้ว่าสิ่งที่ลงทุนไปนั้นจะเป็นสิ่งที่มีความคุ้มค่ากับองค์กร

9. CEO ต้องมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาความรู้ขององค์กรอยู่เสมอ เพื่อให้องค์กรมีความรู้ใหม่ๆในการพัฒนางาน

เรื่องที่ 3: HR, Non-HR

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) มีหน้าที่ในการทำงานเกี่ยวบุคคลเริ่มตั้งแต่กระบวนการวางแผนด้านกำลังคน การสรรหาบุคคล การพัฒนาบุคลากรก่อนเข้าทำงาน ระหว่างทำงาน การให้ความดีความชอบ การให้สวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ จนกระทั่งพ้นจากองค์กร ซึ่ง ในภาคราชการเรียกว่า กองการเจ้าหน้าที่ ภาคเอกชนอาจเรียกว่าฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายพัฒนาบุคคล และ มีหน้าที่ในการที่ประสานกับ CEO ในการการจัดทำงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากร ประสาน Non HR ด้านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ กฎระเบียบ ด้านบุคคล ด้านอาคารสถานที่ เวลา ด้านความต้องการของบุคคล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ส่วนในเรื่องของ Non HRนั้น ก็มีหน้าที่ในการให้การสนับสนุน ด้านต่าง ๆ เช่น อาคารสถานที่ งบประมาณ การจัดทำข้อมูลข่าวสารให้ HR การส่งบุคลากร เข้ารับการฝึกอบรม สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสอนงาน และรับนโยบาย กฎระเบียบต่าง ๆ ไปสู่บุคลากร และ มีหน้าที่ในการสื่อสารระหว่าง HR กับบุคลากรให้กำหนดแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้แก่องค์กร

นายอำนวย คุ้มบ้าน

ชื่อ นายอำนวย คุ้มบ้าน รหัสนักศึกษา 53484931020 (ศูนย์ภูเก็ต)

การบ้าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง การปลูก เก็บเกี่ยว

“Ang PAO” for Chinnese New Year

Ang Pao is a present that will be given and accepted according to Chinese culture.Ang Pao means a red envelope that will be given with money Inside.Phuket people love to Hand over Ang Pao to children on the night of the family gathering. After the dinner, children will be called to gather together to receive Ang Pao. It will be given older children and then the younger, except those who get married. If children have a job, they will give Ang Pao to their parent to bless for their healthy and long life.

Planting In Chinese culture, giving “Ang Pao” or red packet containing money to children in the family or workers is considering planting.

Harvesting Those receiving “Ang Pao” are encouraged to be happy and motivated to produce good results in what ever they do.

***ส่งการบ้าน***

Name: นายอานนท์ ทวีสิน

ID: 53484931005

University: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Major: สาขานวัตกรรมและการจัดการ

Assignment 1: สรุปบทเรียนวันนี้

จากการที่ได้เรียนกับท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และ Peter Bjok ในวันนี้ ท่านสอนเรื่องต่างๆมากมาย Peter Bjok : Peter thought us about Leadership, leadership style, Research, How we can transform the research to some practical method to improve leadership in the organization. ได้กล่าวถึง ที่สวีเดนมีโรงงานหลายที่ๆเกี่ยวกับนวัตกรรม มีหลายท่านที่ได้รับ Nobel และ ท่านได้กล่าวถึง Ikea ที่จะเปิดในประเทศไทย จะได้มีการจ้างแรงงานไทยไปทำงานด้วย ประมาณ 2000 คน สิ่งที่เป็นสินค้าส่งออกที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ เรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเรื่องของการออกแบบ เพลง สิ่งที่ดึงดูดหลายๆอย่าง ต่อไปจะเป็นเรื่องของสวีเดน ได้กล่าวถึงเรื่องของอนุเสาวรีย์ และมีการจัดงานสงการณ์ของคนไทยที่สวีเดน และเขาได้กล่าวถึงเรื่อง Leadership ทำหน้าที่จัดการคนในองค์กร ผู้จัดการควรจะมีทักษะภาวะผู้นำ ผู้นำสื่อสารกับเป้าหมายขององค์กร นำแนวทางไปสู่เป้าหมาย และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สิ่งที่สำคัญควรจะมีทัศนะคติที่ดี และสร้างค่านิยมในองค์กรเพื่ออนาคตขององค์กร ความเป็นผู้นำควรจะมีบริบทขององค์กร ความเป็นผู้นำ ผู้ตาม และสร้างวัฒนธรรม ค่านิยมต่างๆในองค์กร และได้กล่าวถึง งานวิจัยรูปแบบภาวะผู้นำในอเมริกา สนใจเกี่ยวกับคน และผลผลิต ในมิติของคนนั้น เกี่ยวกับ มีความเป็นประชาธิปไตย, ส่วนบุคคล, ทฤษฏี y, ความสัมพันธ์, เป็นผู้สนับสนุนและ มีการตัดสินใจที่ดี ส่วนในมิติของผลผลิตนั้น จะมองถึง อำนาจบังคับบัญชา, ผลผลิต, ทฤษฏี x, Task ต่างๆ, เป็นผู้กำกับ และโครงสร้าง ต่อมา ได้พูดถึง Managerial Grid เกี่ยวกับคน สิ่งที่ต้องระวัง คือเรื่องของความไม่เป็นธรรมในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเรื่อง ระบบเส้น เป็นต้น และท่านอาจารย์ จีระได้เล่าถึง ทฤษฏี X,Y ของ Mcgagor คนทฤษฏี x คือ คนขี้เกียด คนทฤษฏี y คือ คนขยัน เป็นต้น และต่อจากนั้น Peter ได้กล่าวถึง Farax Profiles ซึ่งเกี่ยวกับผู้นำในรูปแบบต่างๆในสวีเดน ผู้นำสบายๆ เน้นด้านการเปลี่ยนแปลง ด้านโครงสร้าง แต่ด้านความสัมพันธ์จะไม่มี ผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น แต่จะไม่มีในเรื่องของโครงสร้าง และความสัมพันธ์ ผู้นำที่เป็นคนดี จะมีแต่ความสัมพันธ์ แต่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงและโครงสร้างจะไม่มี ผู้นำที่เป็นทางการ จะเน้นแต่โครงสร้าง เรื่องของการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์จะไม่มี ผู้นำที่เป็นคนสวน จะมีการสร้างการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น แต่จะไม่มีเรื่องโครงสร้าง เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ที่ต้องรดน้ำ พรวนดิน ให้แสง และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่จะทำให้ต้นไม้โตให้ผลผลิตที่ดี ผู้นำที่นำโปรเจทเดิมมาพัฒนา จะมีแต่โครงสร้าง และความสัมพันธ์ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้นำที่มีรูปแบบเจ้าของกิจการ จะมีความเปลี่ยนแปลง และโครงสร้าง แต่ความสัมพันธ์จะไม่มี แต่ถ้าเป็นผู้นำที่ชัดเจนจะมีครบในทุกด้าน และได้กล่าวถึง การตรวจสอบ 360 องศาที่ ต้องได้รับการตรวจสอบจาก หัวหน้า ตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ครอบคลุมทุกด้าน และได้กล่าวถึง KM LC LO คือ การจัดการความรู้ ต้องผ่านวัฒนธรรมการเรียนรู้ก่อนไปถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ถึงจะถูกต้อง KM ที่ถูกต้องควรจะเป็นข้อมูลที่เก็บจาก Tacit and Explicit เป็นอย่างน้อย ท้ายชั่วโมงของ Peter นั้น ได้มีการสอบถามว่าเรียนรู้อะไรบ้างจากที่ฟังมา 1.เริ่มจากพระมหาสาธิตโต “I learnt from you about integration from my religious field”. “We balance about people and jobs”. “You use the word Production”. “In concept, we cannot wait for people. Not for people but we can wait for jobs”. “I learnt from you about concerning people and concerning production with high performance”. “I have a question in slide 15”. “You summarize the Visible leader is”. “In Authority level, they can move performance of organization more than the top manager” he said. Peter ตอบว่า leader ไม่จำเป็นต้องมีอำนาจก็ได้ แต่เป็น Visible leader ในรูปแบบของการเคารพนับถือกัน 2. ผมอานนท์ ทวีสิน ได้ถามว่า How can we create the Shared purpose in the organization? Peter ตอบว่า Top-down and Bottom-Up 3. คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน “We have leant a lot about the word “Gardener” she said. She told us that Dr, Jira, is a kind of person, liking to transform the organization and he is a good leader as well. She had a question about Gardener and strategic leadership. Peter answered that Gardener can be the top level manager and can be a nice strategic leadership but lacking the structure according to his FARAX theory. 3. พระสุเมโธ He has excused that He came late and showed his gratitude for letting him follow the class and share something with พระสุเมธ. 4. หมี He thanked for letting him joy the class and asked a question about how we can go to mix the gardener with an officer? Peter answered that there are many activities like a training to improve Gardeners’ skills. 5. อ้อ กล่าวว่า ทราบถึงการเปรียบเทียบภาพ 3 มิติ ที่ชัดเจนขึ้น สามารถหาจุดบกพร่องในการทำงานได้ 6. ท่านเมธินี She has learnt something from Peter. She would like to know the key of a young leadership to succeed in the organization. Peter answered ได้ตอบว่า มีเด็กหลายคนที่มีความสามารถและเป็นที่ยอมรับ ไม่จำเป็นต้องมองที่อายุ แต่มองที่ความรู้ที่มี 7. ครูวาสนา เข้าใจในเรื่องของบทบาทของผู้นำ ผู้นำสามารถเป็นผู้นำก็ได้ เป็นผู้ประสานงานก็ได้ สามารถสร้างวัฒนธรรมให้กับองค์กร กล้าที่จะตัดสินใจ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้สมบูรณ์และยั่งยืนได้ 8.ครูกทมอีกท่านหนึ่ง การเป็นผู้นำที่ควรมีองค์รวม ประกอบกัน ก็คือต้องมีผู้นำ ผู้ตาม วัฒนธรรมขององค์กร และก็บริบทที่จะสร้างตรงนั้นขึ้นมา บริบทที่จะสร้างขึ้นมาต้องมีเป้าหมายขององค์กร เป้าหมายก็ต้องมีวิสัยทัศน์ การสื่อสาร พอมีวิสัยทัศน์แล้วเราก็ต้องเอาไปขยายความตรงนั้น ให้องค์กรได้รู้ว่า คนนอกองค์กรมีความเข้าใจอย่างไร คนนอกองค์กรเข้าใจในบริบทขององค์กรว่าจะเดินไปอย่างไร มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น ตรงไหนที่มีการแข่งขัน เราก็ต้องเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับตรงนั้น และที่สำคัญเราต้องรู้ว่า ความต้องการของพนักงานคืออะไร

@@สนุกมาครับวันนี้ สอบเหนื่อยสุดๆ@@

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิชา สัมมนาการจัดการทุนมนุษย์ระหว่างประเทศ

Seminar in International Human Capital Management

โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 9 ตุลาคม 2554

ช่วงบ่าย

ให้สรุปศูนย์ละประมาณ 2 ท่านว่าคุณ Peter Bjork พูดอะไรไปสรุปมา 2 เรื่อง

สรุปจาก ดร.จีระ (เนื่องจากทางศูนย์ต่างจังหวัดไม่ค่อยได้ยิน)

Peter Bjork ได้ Model ที่มีการทำวิจัยคล้ายกับที่สวีเดน

Peter Bjork แบ่งเป็น 3 Concept คือ

1. รู้เรื่องคนได้ดี

2. รู้เรื่องงานได้ดี

3. รู้การเปลี่ยนแปลง

ผู้นำมีลักษณะแตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้นำที่ทำตัวเป็นคนสวน คือเป็นคนที่รับใช้คนในองค์กร ต้องปลูกใส่ปุ๋ย พรวนดิน ใส่ยาฆ่าแมลง และให้ต้นไม้โต

Gardener ใน Sense ของ Peter Bjork คือ

- ต้องปลูกคน พัฒนาคน

- สนับสนุน ดูแล โอบอ้อมอารี ดูแลลูกน้องให้ดีขึ้น

- เป็นลักษณะเดียวกับ Servant Leadership

- Leader ต้องเข้าใจความต้องการของ Employee

- Leader ในเมืองไทยส่วนใหญ่ใช้ลักษณะ 2 C คือ Command & Control

- ผู้นำที่ดีต้องเก่งทั้งทีมคือ Gardener

- เวลาประเมิน Leader ให้ทุกฝ่ายประเมินเรียกว่า 360 องศา แต่สำหรับประเทศไทยการประเมินแบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้น สิ่งที่สวีเดนทำคืออยากให้ลูกน้องประเมิน

- การเป็นผู้นำที่ดีจึงเหมือนการ เอ็กซเรย์ ตัวเอง

Sequential Model

วิธีการปลูกคือต้องใช้ 4L’s ถึงเรียกว่ามีทุนทางปัญญา

เรื่อง Learning Organization

• KM ไม่ใช่ LO และก่อนมี LO ต้องมี LC (Learning Culture) ถ้าทำสำเร็จก็จะมี LN (Learning Nation)

• ทำไมสมัยนี้ถึงเรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ ความรู้ KM หรือ Knowledge แตกต่างกันอย่างไร

• KM คือการถ่ายทอดความรู้จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง มีการแสวงหาความรู้ตลอดเวลา

• KM คือการเก็บข้อมูลได้ เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง

• KM คืออะไรที่เกิดขึ้นแล้ว

• เมืองไทยไม่มีระบบที่เก็บ

• เมื่อเก็บมาแล้วบางทีไม่ได้เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เก็บจากข้อมูลที่มีปัญหาคือ Explicit แต่ไม่ได้เก็บจากข้อมูลที่เป็น Implicit

• KM ข้อแรกที่ต้องระมัดระวังคือ เก็บเฉพาะที่มองเห็น ที่มองไม่เห็นไม่ได้เก็บ ในองค์กรทำ KM อย่างเดียวให้เป็นประโยชน์

• เวลาเราปะทะกันทางปัญญาเรียก Tacit Interaction

ทำไม LO ถึงสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน สำคัญเพราะอะไร ?

กรุงเทพฯ

• องค์กรแห่งการเรียนรู้จะนำความฉลาดของคนใช้อย่างมีประสิทธิภาพและถ่ายทอดความรู้ร่วมกัน

เลย

• แต่ละองค์กรมีวัฒนธรรมแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ต้องมีการจัดเก็บองค์ความรู้ที่ต้องถ่ายทอดต่อไปเพื่อให้ได้ความรู้จากองค์กรนั้น ๆ

กรุงเทพฯ

• ศักยภาพพรสวรรค์หรือความสามารถแตกต่างกัน แต่ถ้านำความรู้มาบันทึกมาจดไว้มาเป็นคู่มือปฏิบัติงานชิ้นนี้ สามารถเอาส่วนที่คนมองไม่เห็นเขียนออกมา (implicit) ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาที่สูญหายไป

• องค์กรแห่งการเรียนรู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าองค์กรที่ขาดการเรียนรู้

• โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่เป็น Implicit ข้างในเอาออกมา รวมกับ People Empowerment ,KM จะทำให้มีประโยชน์มากขึ้น ทำให้การบริหารงานก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

สรุป

• ดร.จีระ ได้พูดว่าที่พูดมาไม่มีใครผิด แต่ควรพูดถึงเรื่องอนาคตด้วย อนาคตเป็นโลกที่ไม่แน่นอน ควรเอา Knowledge มาสร้างอนาคต

• อนาคตเอา KM ไปหาความรู้จากอนาคต ถูกไม่ถึง 50% เนื่องจากในอนาคตเป็น Non Linear มีขึ้นมีลงมีการเปลี่ยนแปลง

• อดีตไม่ได้เป็นตัวตัดสินอนาคต

• LC (Learning Culture) ของอาจารย์จีระ บอกว่า ถ้าจะเอา LC มาสอนน.ศ.รุ่น 5 ตัว Relevance ที่สุดคือความไม่แน่นอน มีเรื่อง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม Global Warming ฯลฯ สิ่งสำคัญที่สุดคือคนที่จะลากองค์กรไปสู่จุดที่อยู่ได้ ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร

• วิชานี้เป็นวิชาที่สำคัญที่สุดวิชาหนึ่งที่ดร.จีระจะฝากไว้ สรุปคือความใฝ่รู้ต้องเกิดขึ้นกับตัวเอง การมี Habit ในการแสวงหาความรู้คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเรียนรู้

• KM เป็นเครื่องมืออันแรกทำให้เราสามารถนึกถึงสิ่งที่เราทำมาแล้ว ให้นำมาใช้ และบวกกับวัฒนธรรมการเรียนรู้

• ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ที่ข้ามศาสตร์ ทันเหตุการณ์ สร้างการเปลี่ยนแปลง และสร้างตัว V (Value added ,Value Creation, Value Diversity) ให้จับประเด็นให้ดี

Learning Organization

• อุปสรรคอันหนึ่งของคนเก่งแต่ไม่เกิดผู้ประกอบการดีได้เพราะขาดวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร

• ถ้ามี KM ไม่มี LC ก็ไม่มี LO

• มี KM มี LC ก็มี LO

• ต้องมีอุปนิสัยในการใฝ่รู้ หาความรู้ติดตัวเราตลอดเวลา

• อาชีพอาจารย์คือจ้างให้อ่านหนังสือเพื่อไปสอน (ความรู้ล้าสมัยทุก 2 ปี)

• บรรยากาศการเรียนรู้สำคัญ ให้ค้นหาตัวเองให้เจอว่าเก่งเพราะอะไร

• IQ อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Inspiration กับ Imagination ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดด้วย

• Hypothesis คือทำอย่างไรจึงสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้

• มี KM อย่างเดียวไม่พอ ต้องใฝ่รู้ ต้องหาความรู้เพิ่มเติม คนไทยรู้เยอะ แต่ไม่ใฝ่รู้ การใฝ่รู้เป็นอุปนิสัยอันหนึ่งที่ต่างประเทศเขาทำกัน ตัวอย่างเด็กต่างจังหวัดที่ใฝ่รู้จะสามารถสอบเอนทรานส์ได้

• Awareness รู้ว่า KM กับ LO ต่างกันอย่างไร และเมื่อมี LO ประโยชน์ที่ได้จริง ๆ คืออะไร ต้องสร้างบรรยากาศให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อนร่วมงาน Share กัน ต้องมีการ Debate กัน

• มี KM แล้วต้องมี LC (Learning Culture) แล้วมา Share กัน ศึกษานิเทศน์ต้องมา Shareประสบการณ์ อันไหนที่ทำสำเร็จ ต้อง Know and Do เพราะ Benchmarking ไม่พอ ต้องเกิด Value อย่างแท้จริง

• The Third Wave โลกมี 3 คลื่น คือ เกษตร, อุตสาหกรรม, IT การอ่านหนังสือเยอะจะทำให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ต้องมองในลักษณะ Futuristic มีการสร้างแรงบันดาลใจ กระโดดข้ามรั้ว ค้ำถ่อ เน้นลักษณะการค้นหาตัวเอง

• การเป็นสังคมการเรียนรู้อย่างน้อยสร้างประโยชน์ในองค์กร 3 เรื่อง

1.รู้ว่าตลาดถึงไหน ลูกค้าต้องการอะไร

2.รู้ว่า Curriculum ต้องเปลี่ยนอย่างไร

3.ต้องมียุทธวิธีที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ

• Idea ใหม่ ๆ เอาอนาคตมาจับกับความเป็นจริง แล้ว Valueที่ได้จากการสร้างสังคมการเรียนรู้คือลดต้นทุน ,ต่อมาเข้าใจว่าจะบริการลูกค้าอย่างไร, ทำให้ Productivity เพิ่มขึ้น) ต้องวางแผนให้ Health ดี

• Value ของ Innovation มาจากองค์กรการเรียนรู้ KM เป็นส่วนสำคัญ ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และใฝ่รู้

• KM คือ Foundation ขององค์กร สิ่งที่ KM ทำไม่ดีในเมืองไทยคือไม่ได้เก็บข้อมูล Implicit

• ผมคิดว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ สำคัญ อย่างน้อยๆ จะตอบโจทย์ได้ 3-4 เรื่อง

1.จะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้

2.จะเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)

3.จาก Good อาจจะไปสู่ Great

4.พนักงานจะภูมิใจและมีความสุขในการทำงาน

5. การทำงานอย่างยั่งยืนในอนาคต

• ความรู้ใหม่ ๆ ได้จากการอ่านหนังสือ สิ่งสำคัญคือความยั่งยืน

• Training กับ Learning ต่างกัน คือไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้กระจายไปทุกกลุ่ม และไม่ต่อเนื่อง

• เราควรเน้นการหาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการทำงาน อย่ากระจุกตัวอยู่ระดับบน แล้วให้มีการกระจายสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม

• วัฒนธรรมการเรียนรู้ต้องมีอุปนิสัยใฝ่รู้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และกระตือรือร้นตลอดเวลา

พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นตัวอย่างขององค์กรแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้

1) ทำอะไร

2) ทำอย่างไร

3) ทำเพื่อใคร

4) ทำแล้วได้อะไร

• เรากำลังสร้างสังคมที่เต็มไปด้วยความไม่รู้..เต็มไปด้วยปริญญาแต่ขาดปัญญา การเรียนหนังสือยุคใหม่ไม่มีใครมายัดเยียดปริญญากับเรา

• ระหว่างเรียนรู้กับรู้อะไรที่ทำให้เราอยู่รอดในระยะยาว ถ้าเรารู้แบบเดิมเราก็สู้เขาไม่ได้ พระเจ้าอยู่หัวฯ สอนให้เรามองอะไรให้ยั่งยืน ดีที่สุดคือเดินสายกลาง อย่าน้อยเกินไปหรือมากเกินไป ความไม่ใฝ่รู้ หรือไม่สนใจความรู้รอบตัวน้อยเกินไปก็ไม่ดี ตัวอย่าง Bill Gates หรือ Steve Jobs ได้ความรู้จากการอ่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้องอ่านแล้วสรุปให้ได้ว่าคืออะไร

• 6 หลักการในการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

1) คิด Macro ทำ Micro

2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน

3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ

5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)

6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

 รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง

 รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ

 สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือ ร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

• ข้อเสียของทีมเวอร์กในไทยคือยึดติดกับตำแหน่ง การทำงานยุคใหม่ต้องเน้นเรื่องความหลากหลาย

• กฎของ Peter Senge (อยู่ในหนังสือ Rethinking the Future)

• Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง (อย่าอัตตามากเกินไป)

• Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด (คนที่ไม่ใฝ่รู้มักเชื่อกรอบความคิดเดิม ๆ กรอบความคิดเรียกว่า Paradigm เราต้องพร้อมที่จะ Shift Paradigm ของเรา)

• Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน (Shared Value)

• Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน (การเรียนยุคใหม่ควรเรียนเป็นทีม แล้วนำความหลากหลายมาใช้)

• System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

• แนวคิดใหม่ของ Grid - Democracy of Ideas and Information ประชาธิปไตยต้องอยู่ที่องค์กรด้วย อย่าให้บางกลุ่มได้ บางกลุ่มไม่ได้ กลุ่มไหนก็ตามมี Information น้อยกว่ากลุ่มหนึ่งกลุ่มนั้นจะเสียเปรียบ สิ่งสำคัญที่สุดของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้คือ การแบ่งปัน และการ Share กัน

• สรุป KM คือการเก็บข้อมูลย้อนหลังในองค์กรนั้น อาจเป็น Best Practice หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่อ่อนมาก ๆ คือ Implicit แต่ว่าการนำไปใช้ให้ได้ผลไม่เพียงพอเนื่องจากเป็นข้อมูลเก่า แต่สิ่งสำคัญคือการรู้ว่าอนาคตของเขาจะอยู่อย่างไร เมื่อมีความรู้ก็ควรมาแบ่งกัน สามารถลดต้นทุนได้ และมีการจัดการที่มีคุณภาพ และสามารถนำไปสู่นวัตกรรมได้

• การอ่านอย่างเดียวไม่พอ ต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้

• ถ้ามี KM บางคนอาจไม่เคยใช้ ถึงแม้ใช้อาจไม่พอก็ได้ ดังนั้นในอนาคตถ้าจะถามว่าในประเทศเราจะมีการทำธุรกิจใหม่ ๆ อนาคตใหม่ ๆ ก็ต้องมีการทำ KM กับ LO

• ส่ง Youtube เทปสัมภาษณ์ผู้ว่าการกฟผ.

• มีการทำวิจัยที่ Harvard ว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่แค่ Concept แล้ว ในทางปฏิบัติคือ

1. ขาดผู้นำ ต้องเป็นผู้นำแห่งองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกองค์กรต้องมีผู้นำที่ใฝ่รู้ก่อน ผู้นำต้องเป็นคนที่สร้างให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

2. วัฒนธรรมองค์กร บางองค์กรไม่อยากให้มี KM หรือ LO เยอะ เพราะ LO ทำให้องค์กรฉลาด การเป็นผู้นำที่ดีต้องมีทั้งคุณธรรม จริยธรรม มีคุณภาพที่ดีและสร้างบรรยากาศให้มีการเรียนรู้เกิดขึ้น เนื่องจากเป้าหมายสุดท้ายคือการสร้างความยั่งยืน

3. ถ้าเราเกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้น เราได้อะไร

Workshop

1. สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร? อธิบายให้ชัดเจน

2. LO สำคัญอย่างไรในองค์กร

- ราชการ

- การศึกษา

- ธุรกิจ

3. อุปสรรคของ LO คืออะไร ให้บอกมา 3 เรื่อง

กลุ่ม 1

1. สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร? อธิบายให้ชัดเจน

• วาดรูปเป็นลักษณะตัวปลา

• หัวปลาคือองค์กรแห่งความยั่งยืน หางปลาคือทุนทางความรู้

• ทุนทางความรู้จะยั่งยืนได้ต้องประกอบด้วย KM กับ LO บวกกัน

• ความรู้คือ ตัว K มีความรู้ กระบวน และการมี LC ที่ฝังแนบแน่น

• มี LO คือการทำงานเป็นทีม มีความรู้ วิสัยทัศน์ ทำเป็นระบบ

2. LO สำคัญอย่างไรในองค์กร

- ราชการ

• ปรับตัวให้เข้ากับผู้รับบริการ เช่น อย่างเดี๋ยวนี้เอกชนเข้ามาสวัสดี เราก็ทำอย่างนั้น

• ยึดหลักธรรมาภิบาล

• ยึดประโยชน์สูงสุดเน้นประชาชนเป็นหลัก

- การศึกษา

• หลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ยึดชุมชนเป็นหลัก

• ชุมชนมีส่วนร่วมทางการศึกษา

• เชื่อมโยงความรู้อย่างเป็นระบบเครือข่าย สร้างเครือข่ายแต่ละโรงเรียน

• สร้างการทำงานเป็นทีม

• ผู้เรียนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

- ธุรกิจ

• สร้างพันธมิตรเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ

• มีวิสัยทัศน์พัฒนาองค์กร

• สร้างความพึงพอใจของลูกค้า CSR

• รับฟังคนในองค์กรทุกระดับ

3.อุปสรรคของ LO คืออะไร ให้บอกมา 3 เรื่อง

• คนส่วนใหญ่ไม่อยู่นอกกรอบ คิดไม่เป็น ขาดความคิดสร้างสรรค์

• มองแบบแยกส่วนไม่เป็นองค์รวม

• ขาดการใฝ่รู้ ไม่มีความมุ่งมั่น

สรุป ดร.จีระ บอกว่า LO ต้องไปบวกกับความคิดสร้างสรรค์ มูลค่าเพิ่ม และการมองอนาคต

กลุ่ม 2

1. สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร? อธิบายให้ชัดเจน

• KM ความรู้ที่อยู่ในตัวเรา ในองค์กร ที่ปฏิบัติหน้าที่ปัจจุบัน ข้อมูลเก่ากับปัจจุบัน แต่ขาดอนาคต

• LO คือการหาความรู้เพิ่มเติม การมีวัฒนธรรมการเรียนรู้แตกต่างกัน การขวนขวายการนำความรู้มาสู่ตนแตกต่างกัน LO 1.อาจมีการหาความรู้เพิ่มเติมจากในองค์กรของตนเองแตกต่างกับหน้าที่ของตน 2.การหาความรู้นอกองค์กรแล้ว 3 . ความรู้ให้เกิดใหม่เป็นความคิดของตนเอง

• ดร.จีระ เสริมว่าควรมี LC ก่อนไปถึง LO ,KM คือ Knowledge ที่เกิดขึ้นในองค์กร เช่นข้อมูลของน้ำท่วม แต่ปัญหาของคนไทยคือเราไม่มี Habit ในการอ่าน ตัวอย่างเช่น ปัญหา ยิว กับ ปาเลสไตน์ในโลกคืออะไร Education คืออะไร เป็นต้น

2. LO สำคัญอย่างไรในองค์กร

ทั้ง ราชการ ,การศึกษา, ธุรกิจ เน้น LO สำคัญคือ เป็น

เส้นทางการสร้างความสมบูรณ์ในองค์กร เกิดนวัตกรรมใหม่ และเป็นหัวใจในการพัฒนาองค์กร

ดร.จีระเสนอว่า ทำอย่างไรให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ มีความสุขในการทำงาน มี Wisdom ใครจะทำ ? งาน LO ต้องใหญ่กว่า KM

-

3. อุปสรรคของ LO คืออะไร ให้บอกมา 3 เรื่อง

• ยึดติดการทำงานแบบเดิม พ.ร.ฏ. 2546

• คนไม่กล้าคิดนอกกรอบ เกิดอคติธรรม

• กลัวข้อผิดพลาดจะเกิดเปิดเผย

• คนในองค์กรหวงความรู้ของตนเอง กลัวคนแย่งความรู้ไปหมด

• กลัวที่จะเพิ่มภาระงาน

สรุป ...ดร.จีระ เน้นเรื่องการสร้าง LO คือ 1.ความตระหนัก 2.การตรวจสอบ LO Auditing 3.เขียนบทความ บทความคือเราอยากสรุปอะไร เราก็เขียนขึ้นมา

ถึงลูกศิษย์ สวนสุนันทาทุกๆคน

            ผ่านไป 5 สัปดาห์แล้ว ผมภูมิใจมากที่มีการเรียนที่สนุก ได้ idea ใหม่ๆ นำไปปรับปรุกับตัวเองและองค์กร

  • เมื่อวานนี้ (9 ตุลาคม 2554) เสียดาย ศูนย์อีก 3 แห่ง คือศูนย์เลย ศูนย์นครราชสีมา ศูนย์ภูเก็ต ไม่มีสัญญาณ
  • เพราะคุณ Peter Bjork มาช่วยพูด เสริมเรื่องภาวะผู้นำได้ดี และช่วงบ่ายผมเน้นเรื่อง Lo  (Learning Organization) ซึ่งศูนย์กรุงเทพฯ คุยถกเถียงกันได้ดี ได้ความรู้มาก  แถมยังได้ทานข้าวกลางวันด้วยกัน

 

 

นายกมล ค้าไกล ศูนย์ภูเก็ต

เรียน ท่านอาจารย์จีระ ที่เคารพอย่างสูง

ในการสอบกลางภาค เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ต.ค.54 นักศึกษาศูนย์ภูเก็ต บางส่วน เข้าใจผิด

ทำจากโจทย์ข้อ 1 - 4 เลือกทำ 3 ข้อ (ตามที่ผู้คุมสอบ ศูนย์ฯ กทม.แจ้ง) และบางส่วน ทำจากโจทย์ข้อ 1 - 9 เลือกทำ 3 ข้อ ไม่ทราบว่าผิดถูกประการใดบ้างครับ

นางสาวพรรณวดี ขำจริง


สรุป การเรียน ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554
1.  หน้าที่หลักของการบริหารปัจจัยด้าน "คน" ยังคงเหมือนเดิม คือ ต้องจัดการสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับคน ทั้งการสรรหาคน จูงใจ รักษาคน แต่ที่ต้องดูเพิ่มมากขึ้นคือต้องพิถีพิถันเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูพนักงานให้อยู่ได้ รวมทั้งมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานมากขึ้น  ด้วยเหตุผลของการพัฒนาธุรกิจที่ก้าวข้ามประเทศทำให้ระดับการครองชีพและความเป็นอยู่ถูกกระทบสูง โดยเฉพาะ ความมั่นคงในการทำงานอันเนื่องจากการขาดความรู้ซึ่งกลายเป็นปัญหาของพนักงานโดยตรง
 2.  ต้องมีการพัฒนาความรู้ให้กับนักบริหารและผู้ทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ [HR Professionals] ให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเติบโตในสายงาน หรือเติบโตได้ในส่วนอื่นๆ ขององค์กร
 3.  นอกจากต้องเก่งและมีความรู้ด้าน HR อย่างดีแล้ว นักบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องขยายการเรียนรู้ไปสู่แขนงอื่นๆ เพื่อให้สามารถรับบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ให้ครอบคลุมกว้างขวางทั้งองค์กร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงได้ขยายไปกว้างทั่วองค์กร และในทุกจุดต่างมีปัจจัยเรื่อง "คน" เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ
4.  นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องถือเป็นธุระคอยติดตามสังเกต ลงมือริเริ่ม และปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร [Corporate Culture] เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปเพราะนี่คือ "บุคลิกภาพขององค์กร" ที่มีอิทธิพลในการชักจูงคนให้เข้ามาทำงาน ทั้งยังหล่อหลอมความคิด และการกระทำของพนักงาน เนื่องจาก "วัฒนธรรม” เป็นเครื่องสะท้อนถึง "ภาพลักษณ์" และ "จุดเด่นขององค์กร" การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นบทบาทหน้าที่ของ HR Professionals โดยตรง
 5.  การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ต้องรับบทบาทในการสร้าง "ความสามารถ [Capabilities] ให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อใช้แทน "โครงสร้าง" [Structure]  ด้วยความจริงที่ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากอิทธิพลด้านไอทีทำให้โครงสร้างองค์กรยืดหยุ่น และพึ่งพามากขึ้นในเรื่อง "คนกับระบบการทำงานบนไอที" ดังนั้นการสร้างความสามารถที่มี "คน" เป็นศูนย์กลางจึงมีความสำคัญมากขึ้น  HR Professionals ที่มีทักษะความรู้เรื่องคนเป็นทุนเดิม จึงควรเป็นเจ้าภาพในการพัฒนา "ความสามารถ" ขององค์กรผ่านความสามารถของ "คน"
 6.  HR ต้องเปลี่ยนตัวเอง จากลักษณะวิชาชีพที่เป็นศิลปะ [Art] ให้เป็นการตัดสินใจที่เป็นศาสตร์ [Science] โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน มากกว่าการบรรยายความ หรือคาดคะเนกว้างๆ เพราะโลกยุคใหม่มีการแข่งขันสูง และต้องมีการ "แข่งประสิทธิภาพ" ที่วัดผลได้จริง ทำให้การจัดการเรื่องคนต้องวัดประสิทธิภาพได้ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน
 7.  นักบริหาร HR ต้องทำตัวเก่งและรับบทบาทในด้าน "การประสานและสร้างความร่วมมือ" [Collaboration and Cooperation] เพราะ การประสานความร่วมมือคือ "หัวใจขององค์กร" ในอนาคต การต้องรับหน้าที่สร้างกลไกการประสานและหลอมให้เข้ากัน และรวมพลังทำงานเป็นหนึ่งเดียว จะสำคัญยิ่งที่จะป้องกันมิให้เกิดสภาพต่างคนต่างทำ
8.  นักบริหาร HR ต้องทำหน้าที่ติดตามแก้ไขปัญหาด้านสังคม และตามทันนโยบายสาธารณะต่างๆ เพราะความเจริญของข่าวสารและกระแสความโปร่งใส ทำให้พลังของ Stakeholders กลุ่มต่างๆ แข็งแรงขึ้น  ดังนั้นเพื่อป้องกันการถูกกระทบ จึงต้องมีคนคอยติดตามนโยบายสาธารณะ [Public Policy] และคอยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากสังคมภายนอก ซึ่งนักบริหาร HR คือ ผู้เหมาะสมกับบทบาทด้านนี้มากที่สุด
9. ต้องบริหารในบริบทโลกได้ คือ นั่นคือ ผู้บริหาร HR จะต้องทำได้เสมอเหมือนผู้บริหารด้านอื่น โดยตามทันกระแสโลกาภิวัตน์ในโลกสมัยใหม่ และสามารถประยุกต์การแก้ปัญหาให้ตรงกับสถานการณ์ในท้องถิ่นได้ด้วย เหมือนคำกล่าวที่ว่า "Live Globally, Act Locally" นั่นเอง

ขอซ่อมการสอบในวันที่ 9/10 /11 ของนางวาสนา รังสร้อย นศ.ป.เอก สวนสุนันทา1. ในระดับ HR Macro มีทฤษฎี HR Architecture ในระดับ Micro ให้ลอง Design รูปแบบการบริหาร ตอบ การศึกษารูปแบบการบริหารการศึกษาที่ใช้ กระบวนการสร้างภาคีเครือข่าย บ ว ร ส อ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จากรูปวงกลมทั้ง 6 วงนี้ เป็นการออกแบบการบริหารการศึกษาระบบภาคีเครือข่าย ที่ดิฉันมองเห็นทฤษฎี 3 วงกลม แล้วได้นำมาต่อยอดในการจัดระบบการบริหารการศึกษาระบบภาคีเครือข่าย 6 วงกลม เนื่องจากหลักสูตรการศึกษามีลักษณะเป็นพลวัตร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ดังนั้นหลักสูตรต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย และถ้าเป็นเช่นนี้ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรฝ่ายเดียวคงจะดำเนินการบริหารจัดการศึกษาไม่สำเร็จแน่นอน ต้องออกแบบที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ดิฉันเห็นว่าส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการศึกษานั้นบรรลุเป้าหมาย จึงมีทั้งหมด 5 องค์กร กล่าวคือ 1. บ้าน หรือชุมชน(บ) เป็นส่วนของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อช่วยรวบรวมทรัพยากรเพื่อการศึกษาหรือที่เรียกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วยจัดทำแผนปฏิบัติการ ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง สอดส่องดูแลพฤติกรรมบุตรหลาน เมื่ออยู่ที่บ้านหรือชุมชน 2. วัด(ว)พระภิกษุ สามเณร เผยแพร่ธรรมะสอนจริยธรรมโดยผสมผสาน สร้างนิสัย ใช้นาฬิกาชีวิต วินัยดี มีวิถีชีวิตที่พอเพียง 3. โรงเรียน (ร) ครูสอน ปลูกฝังนิสัย นักเรียนใส่ใจธรรม ลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยง นักเรียนนำไปปฏิบัติ และนำความรู้สู่ครอบครัว 4. สถานบริการสาธารณสุข (ส)ให้ความรู้ ดูแลสุขภาพ(ภาวะโภชนาการ) ฝึกปฏิบัติ จัดกิจกรรม ตรวจเช็คร่างกาย สม่ำเสมอ 5. อบต./แกนนำชุมชน(อ) สนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ อุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตามความเป็นจริงแล้วการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ก็อาศัยระบบนี้มาโดยตลอดอยู่แล้ว จะสังเกตว่าชื่อโรงเรียนจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “วัด” เช่น โรงเรียนของดิฉันชื่อโรงเรียนวัดลานบุญเพราะสถานศึกษา เป็นที่ที่เรียกว่า “ธรณีสงฆ์” สร้างเป็นโรงเรียนเพื่อคนชุมชนลานบุญ และชุมชนใกล้เคียง ถ้าผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มองเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาโดยใช้ระบบเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม จริงจัง ต่อเนื่อง สัมพันธ์กันตลอด ประโยชน์ที่ได้รับมหาศาล โรงเรียนมีรั้วที่ไม่ต้องลงทุน ถ้ามองเห็นความสำคัญและให้โอกาสทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนได้เข้ามามีบทบาทให้กับองค์กร ในที่สุด แนวทางการพัฒนาการศึกษาระบบภาคีเครือข่ายก็สมบูรณ์แบบตามทฤษฎษี 8 K’s 5K’s ของท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ที่นำไปใช้ได้จริง การจะทำงานสำเร็จได้ต้องอาศัยทรัพยากร 3 กลุ่มได้แก่ CEO/ผู้นำ Smart HR และ Non – HR 2. ร่างแผนพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจ การศึกษา และชุมชน A Where we are ?”เราอยู่ไหน” - เกิดการแข่งขันกันแรงมากขึ้นเรื่อย องค์กรต้องมีการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่เน้นการตรวจสอบสภาวะแวดล้อมภายนอกและภายใน และการมองเห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน วิกฤติ และโอกาสต่าง ๆ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์นั่นเอง - ถ้าธุรกิจไทยเปิด ต้องเกิดปัญหาเสถียรภาพคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ค่อนข้างต่ำการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ มีแต่ปริมาณ ขาดคุณภาพ - ต้องพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 8K’s 5 K’s และฝึกการใฝ่รู้ใฝ่เรียนจนเป็นนิสัยติดตัวอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ - Productivity of Labor ไทยต่ำมาก - ต้องสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ในสภาพัฒน์ฯในแผน 11 B Where do we want to go ? “เราต้องการไปที่ไหน” ในการบริหารหัวใจที่สำคัญก็คือ การกำหนดเป้าหมาย ซึ่งอาจหมายถึงผลกำไร ผลผลิต ผลประโยชน์ที่ได้รับ หรืออาจจะเป็นความสุขที่ทุกคนแสวงหา ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ ที่จะต้องมี 1. ต้องมีความสมดุล ยั่งยืนแข่งขันได้ 2. ต้องสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ต้องมุ่งเน้นไปที่ภาคบริการ การท่องเที่ยว Health Care การเกษตรมูลค่าเพิ่มรักษาความสมดุลระหว่างอาหารและพลังงาน 4. มุ่งสู่ Green Economy 5. อุตสาหกรรมต้องมี R&D เช่น แพทย์แผนใหม่ต้องพึ่งภูมิปัญญามากขึ้น 6. ไทยต้องเน้นเศรษฐกิจสร้างสรรรค์ 7. หาธุรกิจใหม่แบบ Blue Ocean 8. ต้องไปสู่ธุรกิจนานาชาติให้ได้ C How do we get there ? “จะไปถึงที่นั่นได้อย่างไร” นั่นก็คือยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์(Strategies) เปรียบเสมือนหัวใจ เปรียบเสมือนการเล็งปืนให้ตรงเป้า ลูกกระสุนก็จะสามารถถูกเป้า และการดำเนินการให้ตรงเป้าหมายจะสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ สอดรับกับภารกิจ ซึ่งต้องกำหนดหรือระบุมาตรการ เช่น - รัฐบาลต้องสนใจเรื่องทุนมนุษย์ - ต้องมีความสมดุลระหว่าง Supply กับ Demand - ต้องวิจัยว่ามีสิ่งที่ทำอยู่มีขีดจำกัดอะไรและอนาคตของ HR จะเป็นอย่างไร - ต้องสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ - ต้องบรรจุแผนการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติไว้ในแผนฯ 11 D How do achieve HR or HC execution ? Make it successful.”ทำอย่างไรจึงจะผ่านอุปสรรคและประสบผลสำเร็จ ” ก็ต้องนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ โดย 1. ประสานงานกับหน่วยงานทุกด้าน 2. จัดตั้งองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการทำงาน ไว้ในแผนฯ 11 3. การบริหารจัดการให้ใช้มืออาชีพ โปร่งใส พึ่งตนเอง เน้นสร้าง Net Work คล่องตัว 4. ให้มีการทำ Master Plan ของ HR กับธุรกิจ เน้นการบริหารปัจจัยเสี่ยงและความสำเร็จ 3. ถ้าจะวัดความสำเร็จของ Happiness Capital กับองค์ประกอบทางธุรกิจเป็นแนวทางวิทยานิพนธ์ของท่าน a) เสนอ Methodology แบบ quantitative b) เสนอวิธีการแบบวิจัยโดยคุณภาพ c) ระหว่างทุนแห่งความสุขกับองค์กรที่สร้างความสุขให้พนักงานกับ Happy Work Place แตกต่างกันอย่างไร? และมีแนวทางวิจัยอย่างไร? จากการทำวิจัยในเชิงคุณภาพเรื่องการศึกษารูปแบบการบริหารการศึกษาที่ใช้ กระบวนการสร้างภาคีเครือข่าย บ ว ร ส อ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยการนำทฤษฎี 4 L’s เป็นทฤษฎีการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนเปิดกว้างต่อการแลกเปลี่ยนทัศนะต่อทุกความคิดเห็น ได้รับภูมิปัญญาจากผู้รู้ ผู้เข้าใจ และผู้เชี่ยวชาญในชุมชน ในทฤษฎี 4L’s จะต้องมีทฤษฎี 2R’sและ 2 I’s ประกอบ เพราะสังคมและโลกที่ต้องมองความจริง ในทฤษฎีนี้ต้องมองวิเคราะห์ปัญหา เรียนรู้จากความจริงอย่างตรงประเด็น ที่ส่วนหนึ่งได้องค์ความรู้จากชุมชนมีอยู่ ทางด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ผสมผสานกับการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำทฤษฎี 8K’s ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อคุณภาพของทุนมนุษย์จึงจะเกิดความยั่งยืน เนื่องจากหลักสูตรการศึกษามีลักษณะเป็นพลวัตร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ดังนั้นหลักสูตรต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย และถ้าเป็นเช่นนี้ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรฝ่ายเดียวคงจะดำเนินการบริหารจัดการศึกษาไม่สำเร็จแน่นอน ต้องออกแบบที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ก็จำเป็นต้องนำเอาทฤษฎี 5 K’s เพราะจะเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพเพียงพอ สามารถยืนหยัดและแข่งขันได้ในทุก ๆ เวที ไม่เฉพาะแต่เวทีอาเซียนเสรีเท่านั้น แม้แต่เวทีโลก เด็กที่เรียนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ก็จะไม่เป็นรองใคร ด้วยรูปแบบการบริหารการศึกษาที่ใช้ กระบวนการสร้างภาคีเครือข่าย บ ว ร ส อ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มุ่งเปิดแนวการจัดการเรียนรู้ที่มีการคิดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านทุนมนุษย์ทั้ง 5 ทฤษฎี ซึ่งเสมือนการปลูกความรู้ที่มีความแตกต่างกันจากประสบการณ์ทุกด้านที่แตกต่างกันของผู้เรียน สิ่งที่ร่วมกันปลูกเมื่อเติบโตขึ้นมาการเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ทุนมนุษย์ที่ได้จากการเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และการปลูก การเก็บเกี่ยวจะต้องถูกกำหนดจากหน่วยงานทั้ง 5 หน่วยงาน ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่เปิดกว้าง สามารถที่จะเพาะปลูกได้หลายรูปแบบจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จนกระทั่งสามารถเก็บเกี่ยวสิ่งที่ปลูกไว้ได้ ผลที่ได้ดังกล่าวสามารถกำหนดเป็นนโยบายของกรุงเทพมหานคร โดยแถลงชี้แจงหรือทำประชาคมสร้างเป็นชุมชนต้นแบบแห่งการจัดการศึกษาที่ใช้ กระบวนการสร้างภาคีเครือข่าย บ ว ร ส อ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

 



ขอซ่อมการสอบในวันที่ 9/10 /11 ของนางวาสนา รังสร้อย นศ.ป.เอก สวนสุนันทา

1. ในระดับ HR Macro มีทฤษฎี HR Architecture ในระดับ Micro ให้ลอง Design รูปแบบการบริหาร ตอบ การศึกษารูปแบบการบริหารการศึกษาที่ใช้ กระบวนการสร้างภาคีเครือข่าย บ ว ร ส อ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จากรูปวงกลมทั้ง 6 วงนี้ เป็นการออกแบบการบริหารการศึกษาระบบภาคีเครือข่าย

  wasa1

ที่ดิฉันมองเห็น 3 วงกลม แล้วได้นำมาต่อยอดในการจัดระบบการบริหารการศึกษาระบบภาคีเครือข่าย 6 วงกลม เนื่องจากหลักสูตรการศึกษามีลักษณะเป็นพลวัตร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ดังนั้นหลักสูตรต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย และถ้าเป็นเช่นนี้ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรฝ่ายเดียวคงจะดำเนินการบริหารจัดการศึกษาไม่สำเร็จแน่นอน ต้องออกแบบที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ดิฉันเห็นว่าส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการศึกษานั้นบรรลุเป้าหมาย จึงมีทั้งหมด 5 องค์กร กล่าวคือ 1. บ้าน หรือชุมชน(บ) เป็นส่วนของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อช่วยรวบรวมทรัพยากรเพื่อการศึกษาหรือที่เรียกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วยจัดทำแผนปฏิบัติการ ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง สอดส่องดูแลพฤติกรรมบุตรหลาน เมื่ออยู่ที่บ้านหรือชุมชน2. วัด(ว)พระภิกษุ สามเณร เผยแพร่ธรรมะสอนจริยธรรมโดยผสมผสาน สร้างนิสัย ใช้นาฬิกาชีวิต วินัยดี มีวิถีชีวิตที่พอเพียง 3. โรงเรียน (ร) ครูสอน ปลูกฝังนิสัย นักเรียนใส่ใจธรรม ลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยง นักเรียนนำไปปฏิบัติ และนำความรู้สู่ครอบครัว 4. สถานบริการสาธารณสุข (ส)ให้ความรู้ ดูแลสุขภาพ(ภาวะโภชนาการ) ฝึกปฏิบัติ จัดกิจกรรม ตรวจเช็คร่างกาย สม่ำเสมอ 5. อบต./แกนนำชุมชน(อ) สนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ อุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตามความเป็นจริงแล้วการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ก็อาศัยระบบนี้มาโดยตลอดอยู่แล้ว จะสังเกตว่าชื่อโรงเรียนจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “วัด” เช่น โรงเรียนของดิฉันชื่อโรงเรียนวัดลานบุญเพราะสถานศึกษา เป็นที่ที่เรียกว่า “ธรณีสงฆ์” สร้างเป็นโรงเรียนเพื่อคนชุมชนลานบุญ และชุมชนใกล้เคียง ถ้าผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มองเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาโดยใช้ระบบเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม จริงจัง ต่อเนื่อง สัมพันธ์กันตลอด ประโยชน์ที่ได้รับมหาศาล โรงเรียนมีรั้วที่ไม่ต้องลงทุน ถ้ามองเห็นความสำคัญและให้โอกาสทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนได้เข้ามามีบทบาทให้กับองค์กร ในที่สุด แนวทางการพัฒนาการศึกษาระบบภาคีเครือข่ายก็สมบูรณ์แบบตามทฤษฎษี 8 K’s 5K’s ของท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ที่นำไปใช้ได้จริง การจะทำงานสำเร็จได้ต้องอาศัยทรัพยากร 3 กลุ่มได้แก่ CEO/ผู้นำ Smart HR และ Non – HR 2. ร่างแผนพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจ การศึกษา และชุมชน A Where we are ?”เราอยู่ไหน” - เกิดการแข่งขันกันแรงมากขึ้นเรื่อย องค์กรต้องมีการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่เน้นการตรวจสอบสภาวะแวดล้อมภายนอกและภายใน และการมองเห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน วิกฤติ และโอกาสต่าง ๆ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์นั่นเอง - ถ้าธุรกิจไทยเปิด ต้องเกิดปัญหาเสถียรภาพคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ค่อนข้างต่ำการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ มีแต่ปริมาณ ขาดคุณภาพ - ต้องพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 8K’s 5 K’s และฝึกการใฝ่รู้ใฝ่เรียนจนเป็นนิสัยติดตัวอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ - Productivity of Labor ไทยต่ำมาก - ต้องสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ในสภาพัฒน์ฯในแผน 11 B Where do we want to go ? “เราต้องการไปที่ไหน” ในการบริหารหัวใจที่สำคัญก็คือ การกำหนดเป้าหมาย ซึ่งอาจหมายถึงผลกำไร ผลผลิต ผลประโยชน์ที่ได้รับ หรืออาจจะเป็นความสุขที่ทุกคนแสวงหา ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ ที่จะต้องมี 1. ต้องมีความสมดุล ยั่งยืนแข่งขันได้ 2. ต้องสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ต้องมุ่งเน้นไปที่ภาคบริการ การท่องเที่ยว Health Care การเกษตรมูลค่าเพิ่มรักษาความสมดุลระหว่างอาหารและพลังงาน 4. มุ่งสู่ Green Economy 5. อุตสาหกรรมต้องมี R&D เช่น แพทย์แผนใหม่ต้องพึ่งภูมิปัญญามากขึ้น 6. ไทยต้องเน้นเศรษฐกิจสร้างสรรรค์ 7. หาธุรกิจใหม่แบบ Blue Ocean 8. ต้องไปสู่ธุรกิจนานาชาติให้ได้ C How do we get there ? “จะไปถึงที่นั่นได้อย่างไร” นั่นก็คือยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์(Strategies) เปรียบเสมือนหัวใจ เปรียบเสมือนการเล็งปืนให้ตรงเป้า ลูกกระสุนก็จะสามารถถูกเป้า และการดำเนินการให้ตรงเป้าหมายจะสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ สอดรับกับภารกิจ ซึ่งต้องกำหนดหรือระบุมาตรการ เช่น - รัฐบาลต้องสนใจเรื่องทุนมนุษย์ - ต้องมีความสมดุลระหว่าง Supply กับ Demand - ต้องวิจัยว่ามีสิ่งที่ทำอยู่มีขีดจำกัดอะไรและอนาคตของ HR จะเป็นอย่างไร - ต้องสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ - ต้องบรรจุแผนการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติไว้ในแผนฯ 11 D How do achieve HR or HC execution ? Make it successful.”ทำอย่างไรจึงจะผ่านอุปสรรคและประสบผลสำเร็จ ” ก็ต้องนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ โดย 1. ประสานงานกับหน่วยงานทุกด้าน 2. จัดตั้งองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการทำงาน ไว้ในแผนฯ 11 3. การบริหารจัดการให้ใช้มืออาชีพ โปร่งใส พึ่งตนเอง เน้นสร้าง Net Work คล่องตัว 4. ให้มีการทำ Master Plan ของ HR กับธุรกิจ เน้นการบริหารปัจจัยเสี่ยงและความสำเร็จ 3. ถ้าจะวัดความสำเร็จของ Happiness Capital กับองค์ประกอบทางธุรกิจเป็นแนวทางวิทยานิพนธ์ของท่าน a) เสนอ Methodology แบบ quantitative b) เสนอวิธีการแบบวิจัยโดยคุณภาพ c) ระหว่างทุนแห่งความสุขกับองค์กรที่สร้างความสุขให้พนักงานกับ Happy Work Place แตกต่างกันอย่างไร? และมีแนวทางวิจัยอย่างไร? จากการทำวิจัยในเชิงคุณภาพเรื่องการศึกษารูปแบบการบริหารการศึกษาที่ใช้ กระบวนการสร้างภาคีเครือข่าย บ ว ร ส อ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยการนำทฤษฎี 4 L’s เป็นทฤษฎีการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนเปิดกว้างต่อการแลกเปลี่ยนทัศนะต่อทุกความคิดเห็น ได้รับภูมิปัญญาจากผู้รู้ ผู้เข้าใจ และผู้เชี่ยวชาญในชุมชน ในทฤษฎี 4L’s จะต้องมีทฤษฎี 2R’sและ 2 I’s ประกอบ เพราะสังคมและโลกที่ต้องมองความจริง ในทฤษฎีนี้ต้องมองวิเคราะห์ปัญหา เรียนรู้จากความจริงอย่างตรงประเด็น ที่ส่วนหนึ่งได้องค์ความรู้จากชุมชนมีอยู่ ทางด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ผสมผสานกับการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำทฤษฎี 8K’s ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อคุณภาพของทุนมนุษย์จึงจะเกิดความยั่งยืน เนื่องจากหลักสูตรการศึกษามีลักษณะเป็นพลวัตร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ดังนั้นหลักสูตรต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย และถ้าเป็นเช่นนี้ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรฝ่ายเดียวคงจะดำเนินการบริหารจัดการศึกษาไม่สำเร็จแน่นอน ต้องออกแบบที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ก็จำเป็นต้องนำเอาทฤษฎี 5 K’s เพราะจะเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพเพียงพอ สามารถยืนหยัดและแข่งขันได้ในทุก ๆ เวที ไม่เฉพาะแต่เวทีอาเซียนเสรีเท่านั้น แม้แต่เวทีโลก เด็กที่เรียนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ก็จะไม่เป็นรองใคร ด้วยรูปแบบการบริหารการศึกษาที่ใช้ กระบวนการสร้างภาคีเครือข่าย บ ว ร ส อ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มุ่งเปิดแนวการจัดการเรียนรู้ที่มีการคิดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านทุนมนุษย์ทั้ง 5 ทฤษฎี ซึ่งเสมือนการปลูกความรู้ที่มีความแตกต่างกันจากประสบการณ์ทุกด้านที่แตกต่างกันของผู้เรียน สิ่งที่ร่วมกันปลูกเมื่อเติบโตขึ้นมาการเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ทุนมนุษย์ที่ได้จากการเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และการปลูก การเก็บเกี่ยวจะต้องถูกกำหนดจากหน่วยงานทั้ง 5 หน่วยงาน ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่เปิดกว้าง สามารถที่จะเพาะปลูกได้หลายรูปแบบจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จนกระทั่งสามารถเก็บเกี่ยวสิ่งที่ปลูกไว้ได้ ผลที่ได้ดังกล่าวสามารถกำหนดเป็นนโยบายของกรุงเทพมหานคร โดยแถลงชี้แจงหรือทำประชาคมสร้างเป็นชุมชนต้นแบบแห่งการจัดการศึกษาที่ใช้ กระบวนการสร้างภาคีเครือข่าย บ ว ร ส อ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร



นางจงดี พฤการักษ์

นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัส 53484931011 สาขาวิชานวัตกรรมและการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

Assignment : เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพ ดิฉันคิดว่าในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2554 ระบบการถ่ายทอดมีปัญหาไม่สามารถรับรู้ได้ ในเรื่องของ Peter Bjok : Peter thought ดิฉันขอสรุปชีทที่ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นั้นได้มอบให้ซึ่งจะแยกเป็นตอน

ดังนี้

Chapter 1 : Why Enchantment ?

ดิฉันขอสรุปในประเด็นนี้ ทฤษฎีคุณภาพของคนไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์หรือ Competency แนวโน้มอะไรที่วัดไม่ได้ Intanglbleวิเคราะห์เกี่ยวกับอะไร ฉะนั้นทฤษฎี Enchantment ถือว่าผู้นำให้คนเชื่อ โดยใช้แนวคิดต่างๆ เพื่อทำให้คนมีความศรัทธาในตัวเรา อทิเช่น : คนที่อาศัยอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์มีคนก่อการร้าย สั่งเด็กวัยรุ่นไปเผยแพร่เกี่ยวกับประชาธิปไตยในหมู่บ้าน แต่ ผู้หญิงซึ่งเป็นผู้นำ เมื่อทราบว่ามีผู้ก่อการร้ายเข้ามาในหมู่บ้าน ผู้หญิงซึ่งเป็นผู้นำ ทำหน้าที่เชิญ ผู้ก่อการร้ายมาดื่มกาแฟ จนสามารถทำให้ผู้ก่อการร้าย กลายมาเป็นมิตรในกรณี ผู้หญิงเป็นผู้นำใช้ทฤษฎี Enchantment กับผู้ก่อการร้าย

Enchantment : ทำเมื่อเป็นเลิศพอสังเขปดังนี้

1.) หาแนวร่วม 2.) กรณีที่ตัดสินใจยากๆ ในกรณีเป็นกรณีที่ไม่ใช้เกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้เกิดความเสี่ยง ความเสียดทาน หรือในกรณีขายไอเดีย (Idia) คน 3.) กรณีเปลี่ยนนิสัยคนไม่ดี อทิเช่น ในองค์กรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในองค์กรโดย Enchantment 4.) กรณีการทำสวนกะแส ทุกคนขายสินค้าแต่เราขายสินค้าอย่างอื่น หรือ การเปลี่ยนแนวคิดโดยเปลี่ยนแปลงองค์กรต้องมี Enchantment 5.) กรณีคนอื่นคิด "เรารู้เขารู้เรา" ฉะนั้นกรณีพูดกับคนอื่นๆ มี 2 ประเด็น คือ

1.) สิ่งที่ขอให้คนอื่น เราต้องกล้าทำเสียก่อน อย่าไปขอในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ อย่าสูบบุหรี่ แต่ เราสูบบุหรี่

2.) มีความขัดแย้งในตัวเรา หรือเปล่า ถ้าเรา Enchantment มีความสร้างสรรค์หรือเปล่า ฉะนั้น ทำอย่างไรให้เขาชอบเรา

Enchantment : ทำอย่างไรให้เขาชอบเราพอสังเขปดังนี้

1.) ยิ้ม ในประเด็นนี้ เพื่อสร้างความเป็นมิตรโดยการสร้างรอยยิ้ม

2.) การแต่งตัว ในประเด็นนี้ คือ การไปพบใครต้องรู้จักกาละเทศะ ได้แก่ เวลา สถานที่ โอกาส อทิเช่น ผู้นำไปพบเกษตรกรต้องแต่งตัวไม่จำเป็นต้องใส่สูท

3.) การเช็กเฮน (การจับมือ) : โดยการไหว้ให้รู้ระดับ โดยเฉพาะการจับมือเน้นๆ สื่อถึงมีความรู้สึกในทางดี

4.) การเจอกัน : ในกรณีต้องมองด้วยสายตายิ้ม

5.) การใช้คำพูดง่ายๆ : เพื่อเป็นการสือให้เข้าใจ ในประเด็นนี้ ถือว่าการพูดสร้างความประทับใจ

สรุป : Enchantment ใน Chapter 2 How to Achieve Likability : ในกรณีการ Enchantment เมื่อตัวเรามีการขัดแย้งโดยการสร้างสรรค์พอสังเขปดังนี้

1.) เปิดใจยอมรับผู้อื่น ในประเด็นนี้ ทุกคนมีค่าทั้งนั้นคนอื่นมีค่ากว่าเราบางเรื่อง โดยเฉพาะคนทั่วไปเหมือนกันหลายเรื่อง

อทิเช่น ชอบความสะดวกสบาย

2.) รู้จักให้โอกาส ในประเด็นนี้ เจอกันครั้งแรกไม่ประทับใจอย่าตัดสินใจว่าดีหรือไม่ดี

3.) การแต่งกายเหมาะสม ในประเด็นนี้โดยเฉพาะต้องรู้จักกาละเทศะ

4.) การเอาความคิดหรือค่านิยมหยักเหยืยดให้คนอื่น ต้องฟังค่านิยมของคนอื่น โดนกรณี อย่าคิดว่า คนทั่วไปเหมือนกันหลายเรื่อง เช่น ชอบความสะดวกสบาย

5.) การให้รู้จักโอกาส โดยในประเด็นนี้เจอกันครั้งแรกโดย "อย่าตัดสินใจว่าดีหรือไม่ดี"

6.) ควรหาความคล้ายคลึงกันในความชอบ ฉะนั้นในเรื่องนี้ "ชวนคุยในเรื่องที่มีสิ่งเหมือนกัน" อทิเช่น ชอบเรื่องฟุตบอล ก็คุยเรื่องฟุตบอล ฉะนั้นทุกคนมีสิ่งที่ชอบในประเด็นนี้สามารถเอาความชอบเชื่อมโยงกัน ดิฉันคิดว่าในประเด็นนี้ควรต้องศึกษาก่อนไป

Enchantment

7.) การชนะอย่างเดี่ยว "Win Win Win" ในประเด็นผู้นำมอบหมายให้ลูกน้องทำงานควรมีสิ่งค่าตอบแทนกรณีที่นอกเหนือเวลา หรือ ให้ลูกน้องมีความรู้สึกในการทำงานด้วยความเต็มใจ นายได้ลูกน้องได้ จึงสอดคล้องกับคำว่า "Win Win Win"

Chapter 3 : How to Achieve Trustworthiness ดิฉันขอสรุปประเด็นนี้ การ Enehantment โดยต้องการให้คนอื่นเชื่อได้

พอสังเขปดังนี้ :

1.) เริ่มเชื่อถือคนอื่น ในขณะที่คนอื่นจะไว้ใจเราเป็นปัจจัยของการสร้างความเชื่อถือ

2.) การมีมนุษย์สัมพันธ์ในประเด็นนี้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ดิฉันขอกล่าวว่าควรมีความจริงใจ "ถ้ากรณีที่มีคนทำผิดให้ปฏิบัติกับเขาด้วยความเมตตา"

3.) สัญญาอะไรต้องทำ ในประเด็นนี้ต้องช่วยเหลือไม่หวังผลตอบแทน

4.) การยอมรับตำหนิ ในประเด็นนี้การยอมรับแล้วคิดแก้ใคร

5.) รู้จักจ้างคนฉลาด ให้เขาเจริญเติบโตได้ต้องส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชา

6.) ในการ Enehantment ต้องไม่ไปขัดคอคนโดยการปล่อยให้เขาพูด

7.) ในการ Enehantment ในเวลาเสนอ Idia "อย่าตัดสินใจเร็วรวมทั้งต้องรู้จักการแชร์ความคิดโดยการแบ่งปันความคิด"

8.) ในการ Enehantment สอดคล้องกับเราต้องการอะไรเกี่ยวกับต้องชัดเจนมีจุดยืน พร้อมทั้งการใฝ่หาความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา

9.) ในการ Enehantment สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งสร้างการจูงใจในประเด็นนี้ด้วยการทำงานหนักแต่มีค่าตอบแทนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจ อทิเช่น "นโยบายของรัฐบาลที่ให้ค่าตอบแทน 300 บาท/วัน ฯลฯ"

Chapter4 : How to Prepare

ดิฉันขอสรุปในประเด็นนี้เกี่ยวกับการเตรียมตัวประกอบด้วย ได้แก่

1.) การใช้สมองในการคิด 2.) ความเฉลียวฉลาด รวมทั้ง 3.) การวางแผนสร้างความสำเร็จเกิดขึ้นได้ อทิเช่น กรณีศึกษา ในงานเลี้ยงแห่งหนึ่งโดยมีถังขยะ 2 ใบ ประกอบด้วย ถังขยะแบบเปิด และ ถังขยะแบบเจาะรู เมื่องานเลี้ยงเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า โดยให้กระป๋องหยอดลงในถังขยะ แบบเจาะรู มากกว่าถังขยะแบบเปิด สอดคล้องกับการเจรจา "พูดคุย" ในกรณีการพูดเวลาพูด เสนอ 2 สิ่ง น่าจะไปไหนต้องเสนอทางาเลื่อกโดยการยกตัวอย่าง 2 ประเภทชี้ให้เห็นชัดพอสังเขปได้ดังนี้

- เวลาพูด : ให้การกระฉับสั้นในทางบวก เพื่อเป็นการเคารพผู้ฟัง (ให้เกียรติผู้ฟัง) ทะลายกำแพง ตัวอย่าง : การจองโรงแรมที่เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อจองแล้วล่วงหน้ากันเปล่า 7 เหรียญ แต่ โรงแรมอีกแห่งหนึ่งมีค่าที่พัก 300 เหรียญในกรณีนี้ทำให้ทางโรงแรมเสียโอกาส ดิฉันคิดว่าควรสนับสนุน

4 วิธี 1.) Charactcr : คุณลักษณะที่ฟังปรารถนา

2.) Leadership Skill : ผู้นำมีลักษณะที่สำคัญ

3.) Leadership Process : ผู้นำมัลักษณะโดยมี Vision

4.) Leadership Value : ผู้นำมีลักษณะให้ความสำคัญมีความเห็นคุณค่า

ใน Chapter 4 สอดคล้องกับทฤษฎี 5 E ประกอบด้วย

1.) Example คือเป็นสร้างตัวอย่างที่ดี

2.) Experlence คือสะสมพร้อมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์

3.) Education คือให้การศึกษาร่วมทั้งให้ความรู้

4.) Envlronment คือการสร้างบรรยากาศที่ดี

5.) Evaluation คือการสร้างผงการประเมิน

Chapter 5 : การลงมือทำ Enehantment ดิฉันขอสรุปพอสังเขปดังนี้

1.) ให้เรารู้จักเล่าเรื่อง "สร้างมิตรภาพ"

2.) ให้เราเห็นความต้องการความคาดหวังสิ่งสำคัญ

3.) ให้เล่าเรื่องเห็นภาพประสบการณ์โดยเข้าใกล้สถานการณ์มากที่สุด ในกรณีนี้ดิฉันขอยกประเด็นนี้ในการเข้าไปใ

ในส่วนแห่งหนึ่งมีการรมกันอยู่ทำให้เขาเห็นภาพสถานการณ์จริง หรือ สรุปในเรื่องความเหมือนและความแตกต่างกัน

4.) ให้แสดงด้วยว่า ถ้าทำแล้วได้อะไร ถ้าไม่ทำเกิดอะไร

5.) ให้คนสามารถทดสอบได้ (ทดลองทำได้)

6.) เวลาให้ทดสอบ ไม่ต้องมีขั้นตอนมาก ทำอะไรให้ชัดเจน สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม ฯลฯ

7.) อย่าคิดว่าตนเองไปควบคุมคนอื่นได้ อะไรประเด็นที่อย่าหว่านพืชหลายๆแบบ อทิเช่น ไร่นาสวนผสม สอดคล้องกับ

ทฤษฎีเศรษกิจพอเพียง

8.) รู้จักถามคน ในประเด็นนี้ดิฉันขอกล่าวว่า "การตกลงคุณเห็นด้วยกับผมหรือไม่ ? ดิฉันคิดว่าเมื่อถามในประเด็นนี้แล้ว

โดยตั้งคำถาม " ถ้าถามแล้วไม่ชอบต้องเปลี่ยนเทคนิค" สรุปแล้ว ต้องตกลงแล้วจะทำด้วยความเต็มใจ ในกรณีนี้การ

ให้ความรู้จักใช้คำที่ผลดี อทิเช่น "การโฆษณารถยนตร์" บริษัทที่1 PR : การใช้นำมันรถยนตร์ต่อกิโลเมตร แต่

บริษัทที่ 2 PR : การใช้นามันรถยนตร์ต่อปี หรือ แอร์กินไฟ บริษัท PR กรณีที่ 1 การใช้ไฟต่อเดือนละ 30

บาท หรือการกินไฟวันละ 1 บาท กรณีที่ 2 การใช้ต่อปีละ 1,500 บาท สรุปประเด็นนี้เสนอเรื่องใหญ่ก่อนแล้วเรื่อง

เล็กทีหลัง

ท้ายนี้ดิฉันคิดว่าสอดคล้องกับ Enehantment ประกอบด้วยคุณค่าของคน (Value of PeoPle) ทุนทางปัญญา

ได้แก่

1.) ทุนที่เกิดจากความรู้ได้จากประสบการณ์ (Hand) ; 2.) ทุนที่เกิดจากความคิดวิเคราะห์หาเหตุผลที่ถูกที่ควร (Head)

และ 3.) ทุนที่เกิดจากความรู้สึกของเรา (Heart)

ขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดาภมภ์ มากๆ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

(ศูนย์ภูเก็ต)

นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัส 53484931011 สาขาวิชานวัตกรรมและการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

Assignment : เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพ ดิฉันคิดว่าในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2554 ระบบการถ่ายทอดมีปัญหาไม่สามารถรับรู้ได้ ในเรื่องของ Peter Bjok : Peter thought ดิฉันขอสรุปชีทที่ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นั้นได้มอบให้ซึ่งจะแยกเป็นตอน

ดังนี้

Chapter 1 : Why Enchantment ?

ดิฉันขอสรุปในประเด็นนี้ ทฤษฎีคุณภาพของคนไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์หรือ Competency แนวโน้มอะไรที่วัดไม่ได้ Intanglbleวิเคราะห์เกี่ยวกับอะไร ฉะนั้นทฤษฎี Enchantment ถือว่าผู้นำให้คนเชื่อ โดยใช้แนวคิดต่างๆ เพื่อทำให้คนมีความศรัทธาในตัวเรา อทิเช่น : คนที่อาศัยอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์มีคนก่อการร้าย สั่งเด็กวัยรุ่นไปเผยแพร่เกี่ยวกับประชาธิปไตยในหมู่บ้าน แต่ ผู้หญิงซึ่งเป็นผู้นำ เมื่อทราบว่ามีผู้ก่อการร้ายเข้ามาในหมู่บ้าน ผู้หญิงซึ่งเป็นผู้นำ ทำหน้าที่เชิญ ผู้ก่อการร้ายมาดื่มกาแฟ จนสามารถทำให้ผู้ก่อการร้าย กลายมาเป็นมิตรในกรณี ผู้หญิงเป็นผู้นำใช้ทฤษฎี Enchantment กับผู้ก่อการร้าย

Enchantment : ทำเมื่อเป็นเลิศพอสังเขปดังนี้

1.) หาแนวร่วม 2.) กรณีที่ตัดสินใจยากๆ ในกรณีเป็นกรณีที่ไม่ใช้เกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้เกิดความเสี่ยง ความเสียดทาน หรือในกรณีขายไอเดีย (Idia) คน 3.) กรณีเปลี่ยนนิสัยคนไม่ดี อทิเช่น ในองค์กรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในองค์กรโดย Enchantment 4.) กรณีการทำสวนกะแส ทุกคนขายสินค้าแต่เราขายสินค้าอย่างอื่น หรือ การเปลี่ยนแนวคิดโดยเปลี่ยนแปลงองค์กรต้องมี Enchantment 5.) กรณีคนอื่นคิด "เรารู้เขารู้เรา" ฉะนั้นกรณีพูดกับคนอื่นๆ มี 2 ประเด็น คือ

1.) สิ่งที่ขอให้คนอื่น เราต้องกล้าทำเสียก่อน อย่าไปขอในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ อย่าสูบบุหรี่ แต่ เราสูบบุหรี่

2.) มีความขัดแย้งในตัวเรา หรือเปล่า ถ้าเรา Enchantment มีความสร้างสรรค์หรือเปล่า ฉะนั้น ทำอย่างไรให้เขาชอบเรา

Enchantment : ทำอย่างไรให้เขาชอบเราพอสังเขปดังนี้

1.) ยิ้ม ในประเด็นนี้ เพื่อสร้างความเป็นมิตรโดยการสร้างรอยยิ้ม

2.) การแต่งตัว ในประเด็นนี้ คือ การไปพบใครต้องรู้จักกาละเทศะ ได้แก่ เวลา สถานที่ โอกาส อทิเช่น ผู้นำไปพบเกษตรกรต้องแต่งตัวไม่จำเป็นต้องใส่สูท

3.) การเช็กเฮน (การจับมือ) : โดยการไหว้ให้รู้ระดับ โดยเฉพาะการจับมือเน้นๆ สื่อถึงมีความรู้สึกในทางดี

4.) การเจอกัน : ในกรณีต้องมองด้วยสายตายิ้ม

5.) การใช้คำพูดง่ายๆ : เพื่อเป็นการสือให้เข้าใจ ในประเด็นนี้ ถือว่าการพูดสร้างความประทับใจ

สรุป : Enchantment ใน Chapter 2 How to Achieve Likability : ในกรณีการ Enchantment เมื่อตัวเรามีการขัดแย้งโดยการสร้างสรรค์พอสังเขปดังนี้

1.) เปิดใจยอมรับผู้อื่น ในประเด็นนี้ ทุกคนมีค่าทั้งนั้นคนอื่นมีค่ากว่าเราบางเรื่อง โดยเฉพาะคนทั่วไปเหมือนกันหลายเรื่อง

อทิเช่น ชอบความสะดวกสบาย

2.) รู้จักให้โอกาส ในประเด็นนี้ เจอกันครั้งแรกไม่ประทับใจอย่าตัดสินใจว่าดีหรือไม่ดี

3.) การแต่งกายเหมาะสม ในประเด็นนี้โดยเฉพาะต้องรู้จักกาละเทศะ

4.) การเอาความคิดหรือค่านิยมหยักเหยืยดให้คนอื่น ต้องฟังค่านิยมของคนอื่น โดนกรณี อย่าคิดว่า คนทั่วไปเหมือนกันหลายเรื่อง เช่น ชอบความสะดวกสบาย

5.) การให้รู้จักโอกาส โดยในประเด็นนี้เจอกันครั้งแรกโดย "อย่าตัดสินใจว่าดีหรือไม่ดี"

6.) ควรหาความคล้ายคลึงกันในความชอบ ฉะนั้นในเรื่องนี้ "ชวนคุยในเรื่องที่มีสิ่งเหมือนกัน" อทิเช่น ชอบเรื่องฟุตบอล ก็คุยเรื่องฟุตบอล ฉะนั้นทุกคนมีสิ่งที่ชอบในประเด็นนี้สามารถเอาความชอบเชื่อมโยงกัน ดิฉันคิดว่าในประเด็นนี้ควรต้องศึกษาก่อนไป

Enchantment

7.) การชนะอย่างเดี่ยว "Win Win Win" ในประเด็นผู้นำมอบหมายให้ลูกน้องทำงานควรมีสิ่งค่าตอบแทนกรณีที่นอกเหนือเวลา หรือ ให้ลูกน้องมีความรู้สึกในการทำงานด้วยความเต็มใจ นายได้ลูกน้องได้ จึงสอดคล้องกับคำว่า "Win Win Win"

Chapter 3 : How to Achieve Trustworthiness ดิฉันขอสรุปประเด็นนี้ การ Enehantment โดยต้องการให้คนอื่นเชื่อได้

พอสังเขปดังนี้ :

1.) เริ่มเชื่อถือคนอื่น ในขณะที่คนอื่นจะไว้ใจเราเป็นปัจจัยของการสร้างความเชื่อถือ

2.) การมีมนุษย์สัมพันธ์ในประเด็นนี้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ดิฉันขอกล่าวว่าควรมีความจริงใจ "ถ้ากรณีที่มีคนทำผิดให้ปฏิบัติกับเขาด้วยความเมตตา"

3.) สัญญาอะไรต้องทำ ในประเด็นนี้ต้องช่วยเหลือไม่หวังผลตอบแทน

4.) การยอมรับตำหนิ ในประเด็นนี้การยอมรับแล้วคิดแก้ใคร

5.) รู้จักจ้างคนฉลาด ให้เขาเจริญเติบโตได้ต้องส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชา

6.) ในการ Enehantment ต้องไม่ไปขัดคอคนโดยการปล่อยให้เขาพูด

7.) ในการ Enehantment ในเวลาเสนอ Idia "อย่าตัดสินใจเร็วรวมทั้งต้องรู้จักการแชร์ความคิดโดยการแบ่งปันความคิด"

8.) ในการ Enehantment สอดคล้องกับเราต้องการอะไรเกี่ยวกับต้องชัดเจนมีจุดยืน พร้อมทั้งการใฝ่หาความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา

9.) ในการ Enehantment สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งสร้างการจูงใจในประเด็นนี้ด้วยการทำงานหนักแต่มีค่าตอบแทนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจ อทิเช่น "นโยบายของรัฐบาลที่ให้ค่าตอบแทน 300 บาท/วัน ฯลฯ"

Chapter4 : How to Prepare

ดิฉันขอสรุปในประเด็นนี้เกี่ยวกับการเตรียมตัวประกอบด้วย ได้แก่

1.) การใช้สมองในการคิด 2.) ความเฉลียวฉลาด รวมทั้ง 3.) การวางแผนสร้างความสำเร็จเกิดขึ้นได้ อทิเช่น กรณีศึกษา ในงานเลี้ยงแห่งหนึ่งโดยมีถังขยะ 2 ใบ ประกอบด้วย ถังขยะแบบเปิด และ ถังขยะแบบเจาะรู เมื่องานเลี้ยงเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า โดยให้กระป๋องหยอดลงในถังขยะ แบบเจาะรู มากกว่าถังขยะแบบเปิด สอดคล้องกับการเจรจา "พูดคุย" ในกรณีการพูดเวลาพูด เสนอ 2 สิ่ง น่าจะไปไหนต้องเสนอทางาเลื่อกโดยการยกตัวอย่าง 2 ประเภทชี้ให้เห็นชัดพอสังเขปได้ดังนี้

- เวลาพูด : ให้การกระฉับสั้นในทางบวก เพื่อเป็นการเคารพผู้ฟัง (ให้เกียรติผู้ฟัง) ทะลายกำแพง ตัวอย่าง : การจองโรงแรมที่เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อจองแล้วล่วงหน้ากันเปล่า 7 เหรียญ แต่ โรงแรมอีกแห่งหนึ่งมีค่าที่พัก 300 เหรียญในกรณีนี้ทำให้ทางโรงแรมเสียโอกาส ดิฉันคิดว่าควรสนับสนุน

4 วิธี 1.) Charactcr : คุณลักษณะที่ฟังปรารถนา

2.) Leadership Skill : ผู้นำมีลักษณะที่สำคัญ

3.) Leadership Process : ผู้นำมัลักษณะโดยมี Vision

4.) Leadership Value : ผู้นำมีลักษณะให้ความสำคัญมีความเห็นคุณค่า

ใน Chapter 4 สอดคล้องกับทฤษฎี 5 E ประกอบด้วย

1.) Example คือเป็นสร้างตัวอย่างที่ดี

2.) Experlence คือสะสมพร้อมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์

3.) Education คือให้การศึกษาร่วมทั้งให้ความรู้

4.) Envlronment คือการสร้างบรรยากาศที่ดี

5.) Evaluation คือการสร้างผงการประเมิน

Chapter 5 : การลงมือทำ Enehantment ดิฉันขอสรุปพอสังเขปดังนี้

1.) ให้เรารู้จักเล่าเรื่อง "สร้างมิตรภาพ"

2.) ให้เราเห็นความต้องการความคาดหวังสิ่งสำคัญ

3.) ให้เล่าเรื่องเห็นภาพประสบการณ์โดยเข้าใกล้สถานการณ์มากที่สุด ในกรณีนี้ดิฉันขอยกประเด็นนี้ในการเข้าไปใ

ในส่วนแห่งหนึ่งมีการรมกันอยู่ทำให้เขาเห็นภาพสถานการณ์จริง หรือ สรุปในเรื่องความเหมือนและความแตกต่างกัน

4.) ให้แสดงด้วยว่า ถ้าทำแล้วได้อะไร ถ้าไม่ทำเกิดอะไร

5.) ให้คนสามารถทดสอบได้ (ทดลองทำได้)

6.) เวลาให้ทดสอบ ไม่ต้องมีขั้นตอนมาก ทำอะไรให้ชัดเจน สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม ฯลฯ

7.) อย่าคิดว่าตนเองไปควบคุมคนอื่นได้ อะไรประเด็นที่อย่าหว่านพืชหลายๆแบบ อทิเช่น ไร่นาสวนผสม สอดคล้องกับ

ทฤษฎีเศรษกิจพอเพียง

8.) รู้จักถามคน ในประเด็นนี้ดิฉันขอกล่าวว่า "การตกลงคุณเห็นด้วยกับผมหรือไม่ ? ดิฉันคิดว่าเมื่อถามในประเด็นนี้แล้ว

โดยตั้งคำถาม " ถ้าถามแล้วไม่ชอบต้องเปลี่ยนเทคนิค" สรุปแล้ว ต้องตกลงแล้วจะทำด้วยความเต็มใจ ในกรณีนี้การ

ให้ความรู้จักใช้คำที่ผลดี อทิเช่น "การโฆษณารถยนตร์" บริษัทที่1 PR : การใช้นำมันรถยนตร์ต่อกิโลเมตร แต่

บริษัทที่ 2 PR : การใช้นามันรถยนตร์ต่อปี หรือ แอร์กินไฟ บริษัท PR กรณีที่ 1 การใช้ไฟต่อเดือนละ 30

บาท หรือการกินไฟวันละ 1 บาท กรณีที่ 2 การใช้ต่อปีละ 1,500 บาท สรุปประเด็นนี้เสนอเรื่องใหญ่ก่อนแล้วเรื่อง

เล็กทีหลัง

ท้ายนี้ดิฉันคิดว่าสอดคล้องกับ Enehantment ประกอบด้วยคุณค่าของคน (Value of PeoPle) ทุนทางปัญญา

ได้แก่

1.) ทุนที่เกิดจากความรู้ได้จากประสบการณ์ (Hand) ; 2.) ทุนที่เกิดจากความคิดวิเคราะห์หาเหตุผลที่ถูกที่ควร (Head)

และ 3.) ทุนที่เกิดจากความรู้สึกของเรา (Heart)

ขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดาภมภ์ มากๆ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Thank you for inviting guest speaker, Mr.Peter Bjork, to dialogue with us on Oct 9, 2011. We harvest many ideas about leadership especialy the FARAX leader Development. It define clearly attribute of leaders. However If we had more time we could approach details of FARAX deeply including how to measurements, processes and cases in Thailand.

ข้อ. 2. แผนการพัฒนาทันมนุษย์

วิเคราะห์ปัญหา

-          ปัญหา  สาเหตุของปัญหา

-          วิเคราะห์ WTO  FTA  ASEAN

-          ทุนมนุษย์ที่มีแต่ปริมาณ แต่ขาดคุณภาพ

-          แรงงานไทยที่เข้าสู่ช่วงผู้สูงอายุ

 

วิเคราะห์ปัญหา

-          กำหนดให้ทุนมนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ

-          ทำการวิจัยในสิ่งที่จะเป็นต่อทุนมนุษย์

-          สร้างและพัฒนาทุนมนุษย์อย่างสร้างสรรค์

-          บรรจุไว้ในแผนพัฒน์ฯ ที่ 11

 

ขั้นที่ 2

-          ประสานงานดู จุดแข็ง จุดอ่อน ขององค์กร

-          จัดทั้งองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการทำงาน

-          บริการโปร่งใส พึ่งตนเอง  โปร่งใส  สร้างเครือข่าย

-          ออกกฎหมายรองรับ

-          ทำ  Master Plan ของ HR เน้นการบริการปัจจัยเสี่ยง

 

ขั้ขที่ 3

-          สมดุล  ยั่งยืน 

-          เน้นภาคการบริการ การท่องเที่ยว การแพทย์ การเกษตร

-          เน้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์

-          หลีกเลี่ยงอุตสาหกรรมหนัก

-ขั้นที่ 3

 

-          ประสานงานดู จุดแข็ง จุดอ่อน ขององค์กร

-          จัดทั้งองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการทำงาน

-          บริการโปร่งใส พึ่งตนเอง  โปร่งใส  สร้างเครือข่าย

-          ออกกฎหมายรองรับ

-          ทำ  Master Plan ของ HR

 ข้อ3.  การทำวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฏี 4L,  2 R  และ8 K  เพื่อให้บรรลุผล Happiness  Capital การวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เริ่มแรกใช้ทฤษฏี 4 L กรรมวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Dicovery  Learning  เป็นกระบวนการเรียนรู้แบค้นพบด้วยตัวของนักเรียนเองและสามารถจดจำความรู้ได้นาน การจัดกระบวนการเรียนรู้สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากยิ่งขั้นในการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้นสามารถจัดได้ทั้งในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนขึ้นอยู่กับบริบทในแต่ละบทเรียน   อีกทั้งการเรียนรู้ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการปะทะกันทางปัญญาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตัวเองกับเพื่อน ๆ ซึ่งเนื้อหานั้นสามารถนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยจะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

                ในฐานนะครูผู้สอน ต้องมีความเข้าในลูกศิษย์ของตัวเองว่านักเรียนมีความต้องการอะไร  อยากที่จะเรียนรู้ในเรื่องใดบ้าง ครูต้องคอกสนับสนุนหรือเป็นผู้ชี้แนะให้กับศิษย์ การเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงตามจุดต้องมองในเรื่องของความเป็นจริงที่ตรงประเด็น ดั้งทฤษฏี  2R

                R1          มองความจริง

R2           ตรงประเด็น

เมื่อนักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดและมองปัญหาจากความเป็นจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะหาทางออกได้ไม่ยาก เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้แล้วการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างเต็มที่จะต้องตามด้วยทฤษฏี  8K

ทุนมนุษย์

ทุนทางปัญญา

ทุนทางจริยธรรม

ทุนแห่งความสุข

ทุนทางสังคม

ทุนแห่งความยิ่งยืน

ทุนทาง IT

ทุนแห่งความรู้ ทักษะ

จากทฤษฏีเบื้องต้นได้มีการทำการวิจัยและพัฒนาที่เป็น  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบ เรื่องเทคนิคการสร้างภาพศิลปะ    ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยได้พัฒนาชุดกิจกรรมตามหลักการพัฒนาสื่อ  ตามกระบวนการและขั้นตอนการสร้างอย่างเป็นระบบ  มีการศึกษารายละเอียดในหลักสูตร  เพื่อวิเคราะห์สาระการเรียนรู้  ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบ   กำหนดโครงสร้างและออกแบบให้มีกิจกรรมการฝึกที่หลากหลาย น่าสนใจ มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระ  ดำเนินการสร้างแบบฝึกตามแผนที่วางไว้  แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบก่อนจะนำไปทดลองใช้  เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไข  จึงทำให้แบบฝึกทักษะนี้มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสร้างที่กำหนดไว้  สามารถนำไปใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้เป็นที่น่าพึงพอใจ

ชุดกิจกรรมที่ครูผู้สอนเน้นให้นักเรียนเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบค้นพบ โดยครูจะใช้คำถามถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง กิจกรรมที่จัดให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนคอยประเมินผลการเรียน  ให้กำลังใจ  ชี้แจงข้อบกพร่อง  โดยจัดกิจกรรมในลักษณะที่นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย มีขั้นตอนกิจกรรมของเนื้อหาแต่ละขั้นตอนชี้แจงไว้อย่างชัดเจน  หลังจากได้ข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียน ได้นำเสนอผลงานร่วมกันพร้อมทั้งร่วมกันแสดงความคิดเห็น จากนั้นทำแบบทดสอบ  ในระหว่าการจัดการเรียนรู้ได้จัดกระบวนการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบค้นพบประกอบด้วยขั้นตอนกิจกรรม 6 ขั้นตอน  ดังนี้.ขั้นกำหนดปัญหา  ขั้นแสวงหาความรู้  ขั้นสร้างความรู้  ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้   ขั้นนำเสนอความรู้ ขั้นสรุปและประเมินผล  ในแต่ละขั้นตอนเป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 6 ขั้นตอนด้วยตัวของนักเรียน  โดยครูเป็นเพียงผู้ให้ความช่วยเหลือ ให้ความสะดวกและแนะนำการปฏิบัติกิจกรรม ในแต่ละขั้นตอน นักเรียนได้ฝึกและพัฒนาความสามารถต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ เช่น การสังเกต การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญต่อการค้นพบความรู้ ในแต่ละขั้นตอนดังนี้  ขั้นกำหนดปัญหา  เป็นการกระตุ้นความสนใจของนักเรียนให้เกิดความอยากรู้ให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา อยากที่จะแก้ปัญหา ขั้นแสวงหาความรู้ เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นคำถามที่สนใจศึกษาแล้วมีการวางแผนกำหนดแนวทางโดยนักเรียนเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าหากรรมวิธีการทำงานโดยการปรึกษาหารือกับ  ร่วมกันแสดงความคิด  และหาคำตอบที่ต้องการจากคู่มือที่มีให้  จากครู จากรุ่นพี่ หรือจากครูผู้สอนศิลปะคนอื่น ๆ   ขั้นสร้างความรู้ เมื่อได้คำตอบแล้วลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยครูปล่อยให้นักเรียนทำอย่างอิสระและครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำและเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเมื่อมีปัญหา ใน และเสนอผลการปฏิบัติภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแล้ว   ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ เมื่อนักเรียนได้ข้อมูลจากการสำรวจ  คิดวิเคราะห์  และการร่วมแสดงความคิดเห็น นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ของแต่ละคน  ในระหว่างปฏิบัติครูปล่อยให้นักเรียนทำงานอย่างอิสระและเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำ  ขั้นนำเสนอความรู้ เป็นการนำเสนอความรู้ที่สร้างขึ้น  โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ปฏิบัติกิจกรรม โดยบอกขั้นตอนการทำงาน  และแนวความคิด   ขั้นสรุปและประเมินผล เป็นการวัดความรู้ความสามารถของนักเรียน  ด้านความรู้  ความเข้าใจ โดยดูจากการทำแบบทดสอบ  ความกระตือรือร้น  การรู้จักแสวงหาความรู้ นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับชีวิตจริง การกล้าพูดกล้าแสดงออก และรู้จักการทำงานร่วมกัน

          จากการประเมินทางด้านกระบวนการปรากฏว่านักเรียนในกลุ่มควบคุมซึ่งสอนโดยครูประจำชั้นที่ไม่มีความชำนาญทางด้านการสอนศิลปะ  สอนโดยการบอกเล่า  สาธิต  แล้วนักเรียนทำตามจะเห็นได้ว่าผลงานที่ออกมาจะมีลักษณะคล้าย ๆ กับ  เช่นครูสาธิตในภาพดอกไม้นักเรียนก็ทำตามซึ่งเป็นภาพแบบเดียวกันหมดไม่มีที่แตกต่างออกไป  แต่การประเมินทางด้านกระบวนการของกลุ่มทดลองผลที่ออกมาภาพจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน  คือ  มีภาพ  ต้นไม้  บ้าน  ดอกไม้  คน  หรือภาพการ์ตูน ซึ่งมรช่วงของการทดลองเทคนิคเกลือและน้ำตางเนื่องจากผู้วิจัยได้ปรับชั่วโมงเป็น  ครั้งละ  1  ชั่วโมง  นักเรียนซึ่งเรียนรู้ขั้นตอนของการสร้างความรู้  วันต่อมานักเรียนได้นำอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกลือและน้ำตาลคือ  แป้ง  นมผง  ผงชูรส  ทราย  มาด้วยและผู้วิจัยไม่ได้อยู่ดูกระบวนการทำงานเนื่องจากติดประชุมจากนั้นกลับมาปรากฏว่านักเรียนทำกิจกรรมได้ผลงานที่ออกมาดีมากและนักเรียนมีความสุขในการทำกิจกรรมมากกว่าตอนที่มีครู

จากการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบ เรื่อง เทคนิคการสร้างภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  มีระดับความพึงพอใจ  ในระดับเห็นด้วยมาก  กับการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมทั้งนี้เนื่องมาจากนักเรียนได้รับการสอน โดยใช้ ชุดกิจกรรม ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นหาความรู้ด้วยตัวเอง ทำให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียน  ซึ่งไม่เหมือนกับการเรียนตามปกติที่ครูสาธิตและการบอกเล่า  จนเกิดทักษะการแก้ปัญหาการตัดสินใจ อันนำไปสู่ความพึงพอใจต่อการเรียน 

 

 

 

 

เจ้าสัวซีพีธนินท์ เจียรวนนท์ ปลูกแนวคิดวิธีการทำงานให้แก่พนักงาน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความภาคภูมิใจ จึงเก็บเกี่ยวได้วัฒนธรรมในการทำงานแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์(VISION) ของเจ้าสัว เริ่มจากการมองอนาคต พึ่งตนเอง สร้างคนเก่ง เป็นประโยชน์แก่สังคม ไม่เอาเปรียบ เป็นการแยกแยะในการจัดการความรู้KM(Knowlage Management) สร้างLC(Learning Culture) จึงเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้LO(Learning Organization) ดังนั้นต้องจัดการ KM จัดคน จัดประเภทงาน กระบวนการทำงาน การประเมินการทำงาน

รวมทั้งบริบท และการสร้างขวัญกำลังใจ ต่างๆ

เปิดคัมภีร์รวยแสนล้าน ธนินท์ เจ้าสัวซีพี

วารสารข่าวของ ซีพีกรุ๊ฟ CP E-News ฉบับ 5ก.ย.2554 ได้เขียนถึงเคล็ดลับความสำเร็จของ" ธนินท์ เจียรวนนท์" ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ไว้ว่า...จากการเปิดเผยรายชื่อ 40 อันดับ มหาเศรษฐีของไทย (Thailand's top 40 Richest 2011) ประจำปี 2554 ของฟอร์บส์ (Forbes) นิตยสารชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่า "ธนินท์ เจียรวนนท์" ครองตำแหน่งอันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์ 7,400 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 222,000 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 400 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้นับว่าเป็นการครองแชมป์ต่อเนื่องเป็นปีที่สองติดต่อกันจากเมื่อปี 2553 สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงสะท้อนถึงความเป็นผู้นำทางธุรกิจของ"ธนินท์"เท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นวิสัยทัศน์อันกว้างไกลที่นำพาธุรกิจสู่ความมั่งคั่งรุ่งเรือง ปัจจุบัน"ธนินท์" มีตำแหน่งเป็น "ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร" เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ที่รู้จักในชื่อ "ซี.พี." ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำของไทยที่ดำเนินธุรกิจหลากหลายในลักษณะที่เรียกว่า Conglomorate มีธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารเป็นธุรกิจหลัก โดยมีการค้าการลงทุนใน 15 ประเทศทั่วโลก และมีบริษัทในเครือประมาณ 200 แห่งทั่วโลก พนักงานราว 280,000 คน ซึ่งความสำเร็จของซี.พี.ทั้งหมด เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์และความสามารถของ ‘ธนินท์ เจียรวนนท์' นั่นเอง

เคล็ดลับการลงทุนสไตล์ ‘ธนินท์'

"ตลาดทั่วโลก วัตถุดิบทั่วโลก คนเก่งทั่วโลก การเงินทั่วโลกล้วนเป็นของซี.พี." นี่คือสิ่งสำคัญที่ ธนินท์ เจียรวนนท์ ตอกย้ำกับผู้บริหารและพนักงานซี.พี.อยู่เสมอแสดงให้เห็นชัดเจนถึงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลซึ่งได้นำพาให้ซี.พี.เติบโตเป็นปึกแผ่น เป็นบริษัทคนไทยที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนในต่างประเทศ สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย "ผมมองว่าที่ผมทำงานนี่ไม่ได้คิดเลยเรื่องกำไร ไม่ได้คิดว่าทำธุรกิจนี้แล้วจะได้กำไรเท่าไร ผมคิดว่าทำธุรกิจนี้ อันแรกมีโอกาสสำเร็จไหม ถ้ามีแล้วถ้าจะใหญ่นี่ ธุรกิจอันนั้นจะต้องไปเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ไปเกี่ยวข้องกับคนส่วนน้อย ธุรกิจอันนี้จะไม่ใหญ่ ถ้าธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับประเทศเดียวธุรกิจก็ไม่ใหญ่ ต้องเกี่ยวข้องกับทั่วโลก สินค้านี้ต้องขายได้ทั่วโลกมันถึงจะมีโอกาสใหญ่ แล้วธุรกิจนี้ต้องลงทุนได้ทั่วโลกธุรกิจนี้ถึงจะมีโอกาสใหญ่ และยิ่งสำคัญกว่าเรื่องอื่นคือธุรกิจที่เราทำเป็นประโยชน์แก่ประชาชนไหม ถ้าไม่ ธุรกิจอันนี้ก็ไม่มีความยิ่งใหญ่" ธนินท์ กล่าว

ทำอะไรอย่าคิดแต่ความสำเร็จอย่างเดียว!

แม้ซี.พี.จะเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจจนเป็นที่ยอมรับทั่วไป ซึ่งสร้างความภูมิใจแก่ทุกคนในองค์กร แต่"ธนินท์" ในฐานะผู้นำไม่เคยกระหยิ่มยิ้มย่อง กลับคิดว่า"เราทำอะไรอย่าไปคิดในทางสำเร็จอย่างเดียว ต้องคิดว่ามีปัญหาอะไรตามมาอีก มีหวานต้องมีขม ได้อย่างต้องเสียอย่าง ถ้างานยิ่งใหญ่ ปัญหายิ่งมีมาก" ทั้งยังกล่าวกับผู้บริหารและพนักงานเป็นประจำว่า"เมื่อได้รับความสำเร็จ ผมดีใจแค่วันเดียว เพราะยิ่งรับงานใหญ่ ภาระของเราก็ยิ่งมากขึ้น"ด้วยคิดเช่นนี้ ธุรกิจของซี.พี.ภายใต้การบริหารของ ธนินท์ จึงปรับตัวเร็ว และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

เน้นสร้าง"คน"รองรับการเติบโต

กุญแจสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของซี.พี.ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ "คน" ..."ธนินท์"ให้ความสำคัญกับการสร้างคน และมีนโยบายให้ผู้นำกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือซี.พี.เร่งดำเนินการสร้างและพัฒนาคนเก่งเพื่อรองรับการเติบโตบนเวทีการค้าโลก เพราะถ้าไม่มีคนเก่ง ซี.พี.ก็ไม่สามารถชนะในตลาดโลกได้"ธนินท์" กล่าวว่า การที่จะก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงของซี.พี.นั้น จะต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ในการสร้างคน โดยหนึ่งในวัฒนธรรมของซี.พี.ที่สำคัญก็คือต้องโปรโมทผู้ใต้บังคับบัญชาโดยเฉพาะการสร้างคนที่เก่งกว่าตัวเองขึ้นมา อย่างเช่นที่ตนเองเคยได้รับโอกาสนั้นจากพี่ชายทั้งสอง คือ จรัญ และ มนตรี เจียรวนนท์ ในการสร้างคนนั้น"ธนินท์" ให้ข้อคิดว่า อย่าไปแบ่งว่าใครเป็นคนของใคร ผู้บริหารที่ดีจะต้องสร้างตัวแทนขึ้นมาให้ได้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง ต้องรู้จักแสวงหาคนเก่งมาทดแทน ต้องเปิดโอกาสให้คนเก่งได้แสดงความสามารถ "ผู้บริหารทุกท่าน ต้องสร้างตัวแทน ผมจะยกย่องและนับถือคนที่สามารถสร้างตัวแทนขึ้นมาได้ คนที่รู้จักใช้คนเก่ง คือคนที่เก่งยิ่งกว่า ผมชอบคนเก่ง และอดที่จะเคารพนับถือคนเก่งไม่ได้" ธนินท์ กล่าว "ธนินท์" กล่าวกับ ผู้บริหารระดับสูงในเครือซี.พี. อยู่เสมอว่า"ถ้าคุณสามารถสร้างคนเก่งได้ คุณคือคนที่เก่งที่สุด" ในการนี้"ธนินท์" ได้บอกถึงเคล็ดลับ 3 ประการในการสร้างคนเก่ง คือ 1.อำนาจ เพราะคนเก่งต้องมีเวทีมีอำนาจสำหรับใช้ในการแสดงความสามารถ 2.เกียรติ เพราะนอกจากการแสดงความสามารถอย่างเต็มที่แล้ว คนเก่งต้องการได้รับการยอมรับ และ 3.เงิน ก็คือผลตอบแทนที่จูงใจจะเห็นได้ว่า เงิน ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญประการแรกในการสร้างคนตามสไตล์ของ"ธนินท์" ทั้งนี้เพราะ"ธนินท์"คิดว่า สำหรับคนเก่งนั้นเงินไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด อำนาจ และเกียรติต้องมาก่อน ด้วยเหตุนี้ซี.พี.จึงมีบริษัทในเครือฯมากมายถึง 200 กว่าแห่งทั่วโลก เพื่อเป็นเวทีสำหรับคนเก่งนอกจากนี้"ธนินท์" ยังกล่าวว่า ผมมองคนอื่นว่าเก่งกว่าผมเสมอ ผมไม่เคยมองใครว่าเก่งสู้ผมไม่ได้ สำหรับคนที่ทำงานกับเรา ผมยึดหลักว่าเราจะต้องเปิดโอกาส ให้โอกาสเขาได้แสดงความสามารถ เมื่อใครแสดงความสามารถออกมา เราจะต้องส่งเสริมสนับสนุนเขาให้มีตำแหน่งสูง ๆ ขึ้นไป เราจะต้องพยายามรักษาเขาให้อยู่กับเราให้นานที่สุด เราจะต้องสร้างคนที่มีความสามารถให้เกิดขึ้นให้มาก ๆ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารของซี.พี.ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง "ธนินท์" ได้เปิดโอกาสให้พนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ร่วมประชุมด้วย และเรียกกลุ่มคนรุ่นใหม่นี้ว่า Young Talent ซึ่งพนักงานคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมประชุม จะได้รับโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ แก่ซี.พี. ซึ่งมีหลายครั้งที่ ธนินท์ นำข้อเสนอแนะไปใช้ในการดำเนินธุรกิจของซี.พี.

"รักษาคู่แข่ง ไม่เอาเปรียบลูกค้า ดูแลสังคม"

ในโลกแห่งการแข่งขันทางการค้าและการทำธุรกิจ "ธนินท์" มีนโยบายให้รักษาคู่แข่ง และไม่เอาเปรียบลูกค้า "ธนินท์" กล่าวว่า นักธุรกิจที่แท้จริง จะพยายามแข่งขันกันอยู่ในขอบเขต จะไม่แข่งจนตายไปฝ่ายเดียว หรือพังไปข้างหนึ่ง ถ้าเรามีความสามารถ เราก็ไปหาธุรกิจที่อื่น ทำไมต้องมาเจาะจงมาแย่งข้าวชามเดียวกัน สุดท้ายสองคน สามคนไม่อิ่มสักคน แล้วก็ไม่มีประสิทธิภาพ"สมมติว่าเราสองคนต่อยกัน ต่อยกันจนคนหนึ่งตายไป นึกว่าอีกคนไม่เจ็บหรือ ก็เจ็บ...เพราะฉะนั้นวิธีการของ ซี.พี.คือ การถอนแล้วเราก็ไปหาตลาดใหม่ ผมไม่เคยทำให้คู่แข่งผมล้มละลาย" "ธนินท์" มักจะกล่าวกับผู้บริหารและพนักงานว่าซี.พี.มีนโยบายรักษาคู่แข่ง เราจะไม่ทำลายคู่แข่ง และยังต้องแบ่งตลาดให้ เพื่อให้คู่แข่งสามารถอยู่รอดในตลาดได้ ทั้งนี้เพราะถ้าเราทำลายคู่แข่งไป ก็อาจมีคู่แข่งใหม่เข้ามาซึ่งอาจจะแข็งแกร่งกว่า นอกจากนี้ ยังให้มองถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก รวมไปถึงคู่ค้าและ Suppliers ด้วย ต้องให้พวกเขาเหล่านั้นอยู่ได้ ต้องไม่เอาเปรียบลูกค้า และยังต้องดูแลสังคม ทั้งนี้เพราะเราเป็นส่วนหนี่งของสังคม ถ้าสังคมอยู่ไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้

ขายคุณภาพบวกความซื่อสัตย์

คุณภาพ และความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจของซี.พี. ซึ่งยึดถือมาตั้งแต่ทำเจียไต๋ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธุรกิจเครือซี.พี. (เจียไต๋ คือ ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักฯลฯ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2464 เป็นต้นกำเนิดของธุรกิจต่าง ๆ ในเครือซี.พี. ปัจจุบันเจียไต๋เป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อันดับต้น ๆ ของเอเซีย)"ธนินท์" เคยเล่าให้ฟังว่า คุณพ่อผมมีหัวเรื่องเทคโนโลยี ท่านมีพรสวรรค์เรื่อง พันธุ์พืช พ่อผมไปพัฒนาเมล็ดพันธุ์ผักซัวเถาจากโซนร้อน ซึ่งในประเทศโซนร้อนปลูกทุกครั้ง เก็บอีกทีไม่โตแล้ว ซึ่งแปลกมาก คุณพ่อมาเปิดร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่เมืองไทยชื่อร้านเจียไต๋ ซึ่งคุณพ่อได้สร้างพันธุ์ คัดพันธุ์ที่มีผลผลิตสูง รักษาคุณภาพใส่ในซองที่พิมพ์วันที่ เพราะเมล็ดพันธุ์พอถึงเวลาหนึ่งจะไม่งอก คุณพ่อบอกว่าถ้าใครซื้อเมล็ดพันธุ์ถ้าเลยวันที่กำหนดแล้วให้เอามาคืน จึงเป็นมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อแล้วที่ต้องรักษาคุณภาพ "คุณพ่อท่านบอกว่า ถ้าเราจะทำธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ถ้าลูกค้าอยู่ไม่ได้เราก็อยู่ไม่ได้ ถ้าลูกค้าร่ำรวย ธุรกิจเจียไต๋ที่คุณพ่อทำ ลูกค้าปลูกเอาไปขาย ไม่ใช่ปลูกเล่นดูสวยงามถ้าลูกค้าปลูกแล้วขายไม่ได้ไม่มีราคา ขาดทุน เที่ยวหน้าเขาก็ไม่มาซื้อ เหมือนเลี้ยงไก่เพื่อต้องการขายไข่ได้กำไร ถ้าเราไม่มีวิธีการไปช่วยเขา ไม่ได้ช่วยเขาควบคุมเรื่องคุณภาพ เขาอยู่ไม่ได้"

ยึดหลัก"3 ประโยชน์" นักธุรกิจที่จะทำธุรกิจใหญ่ ต้องเข้าใจด้วยว่า เราอยู่ด้วยตัวเราคนเดียวไม่ได้ ถ้าสังคมอยู่ไม่ได้เราจะอยู่ได้อย่างไร ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน "เครือเจริญโภคภัณฑ์ จะทำอะไรก็ตามต้องคำนึงถึงว่า ประเทศชาติต้องได้ประโยชน์ ประชาชนต้องได้ประโยชน์ และบริษัทก็ต้องได้ประโยชน์ด้วย" ธนินท์ กล่าว "นโยบาย 3 ประโยชน์" ซึ่งเป็นปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของเครือซี.พี. "ผมถือว่า ธุรกิจที่ผมทำเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ต่อสังคม ผมคิดว่าถ้าเรามีโอกาสสร้างคน สร้างงาน ก็จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตลอดเวลาผมถือแบบนี้ เข็มมันจะแหลมไปทั้ง 2 ข้างไม่ได้ ต้องทู่ข้างหนึ่ง แต่สำคัญว่า ธุรกิจต้องเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ก็จะเท่ากับเป็นการช่วยสังคม เราสร้างสรรค์ สร้างงาน สร้างอาชีพ ผมคิดอยู่ตลอดเวลาว่าอะไรคือการกระจายรายได้ คนมักเข้าใจว่าต้องกระจายแต่ไม่รู้ว่าการ กระจายจริง ๆ เป็นอย่างไร วิธีที่ถูกต้องคือการสร้างงาน" "ธนินท์"กล่าวว่า ซี.พี.ก้าวหน้าและเติบโตมาจนถึงปัจจุบันจะก้าวสู่ปีที่ 90 ในปี 2554 ด้วยเพราะได้ดำเนินธุรกิจอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงต้อง"ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน"อันได้แก่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ธุรกิจกิจการของซี.พี.จึงราบรื่น เติบโตอย่างมั่นคงและเป็นปึกแผ่นได้ในประเทศไทย และสามารถขยายกิจการไปยังต่างประเทศได้อย่างไม่หยุดยั้ง ในมุมมองของการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินของ"ธนินท์" ในฐานะที่เป็นนักธุรกิจนั้น คิดว่าการทุ่มเทการทำงานเพื่อสร้างธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า การได้สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่คนมากมาย สร้างรายได้มหาศาลเข้าประเทศ การเสียภาษีให้กับรัฐบาล การมีความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างคนเก่ง สร้างคนไทยให้ไปแข่งขันทางธุรกิจกับทั่วโลก เป็นการพัฒนาคนให้ได้เหรียญทองทางธุรกิจ เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติเช่นเดียวกับการที่นักกีฬาได้รับเหรียญทองโอลิมปิก ทั้งหมดคือปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้"ธนินท์ เจียรวนนท์" เป็นผู้บริหารที่โดดเด่นบนเวทีโลก

  1.  

เรียน อาจารย์และเพื่อนๆทุกศุนย์ยกเว้นศูนย์กรุงเทพฯ เพื่อนๆที่ไม่สามารถได้รับข้อมูลเนื่องจากมีปัญหาระบบ ขอให้อ่านข้อมูลที่น้องอานนท์สรุปไว้ค่อนข้างละเอียดและดูเอกสารประกอบไปด้วยนะคะ ส่วนในเรื่องการสอบที่ผ่นมาเวลาน้อยมาก ทำไม่ละเอียดเท่าที่ควร จึงได้คุยกับอาจารญ์ขอส่งรายละเอียดที่คิดจะตอบได้ผ่านทาง blog นี้นะคะ

 

ข้อ 1ระดับ HR Macro มีทฤษฎี HR Architecture  ในระดับ Micro ให้ลอง Design รูปแบบบริหารเหมือนคนในองค์กรที่แตกต่างที่ดีกว่าทฤษฏี 3 วงกลม

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””คำตอบ

 

 

 

HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง

สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)

ปัจจุบันศตวรรษที่ 21 โลกได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ กลายเป็นนรกที่มาเยือนโลกใบนี้พร้อมกันอย่างสมบูรณ์ และเห็นพร้อมกันผ่านการเชื่อมโยงของโลกด้วยระบบสื่อสารสารสนเทศ และสังคมออนไลน์ ซึ่งนวัตกรรมทางด้านไอทีที่เกิดขึ้นยังเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษยชาติ โดยเฉพาะมนุษย์ทำงาน ให้กลายเป็นคนที่สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา มองเห็นหลายเรื่องรอบด้านตั้งแต่เยาว์วัย  สิ่งต่างๆเหล่านี้กลายเป็นแรงขับดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทุนมนุษย์ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป  โดยยังมีความสุขในการทำงานเพราะยึดหลักคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย

Ethical Mind@Heart

 

 


  1. Social Networking

     

    Workforce diversity

    Workforce Diversity
  1. Social Networking
  2. Competencies

    Competencies
  1. Ethical Mind@Heart

 

 

 

ความหลากหลายของพนักงาน Workforce Diversity หมายถึง ปัจจัยหรือสิ่งต่างๆที่ทให้คนๆหนึ่งในองค์กรมีความแตกต่างกันเช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา บุคลิก ความรู้ ความสามารถ ความคิด สไตล์การทำงาน ประสบการณ์ บทบาทหน้าที่การงาน สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ไปจนถึงความต้องการของพนักงาน

หลายองค์กรทั่วโลกขณะนี้มีพนักงาน Generation Y (Generation Why)ในสหรัฐอเมริกาจะหมายถึงผู้ที่เกิดในระหว่างปี 2520 – 2537 (ค.ศ. 1977 - 1994)  ในประเทศไทยระบุว่าคนกลุ่มนี้ คือ กลุ่มคนที่เพิ่งเกิดไม่เกินปี 2521 หรือ ขณะนี้มีอายุต่ำกว่า 33 ปี คนกลุ่มนี้จึงเป็นคนที่เพิ่งจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท และกำลังเริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งมีจำนวนประมาณ 20% หรือ ประมาณ 13 ล้านคนคนกลุ่มนี้ต้องทำงานคู่กับ Generation X คือ กลุ่มคนที่อายุมากกว่า 33-47 ปี มีลักษณะพฤติกรรมชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการให้ความ สำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work-life Balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง เพื่อการปรับปรุงและ พัฒนาตนเอง และยังต้องทำงานกับ Generation B  หรือประมาณ 64 ปีขึ้นไป เป็นรุ่นที่เกิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยึดกับขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุด เพราะยุคนั้นจะมีการประกาศเอกราชของประเทศต่างๆ มีการสร้งและดำรงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประจำชาติไว้ จึงบ่งบอกถึงความเป็นชาตินิยมไม่อยู่ภายใต้อำนาจชาติใด 

สำหรับลักษณะเด่นของ Gen Yต้องการอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าแสดงออกทางความคิด การพูด การแต่งกาย เคารพคนอื่นที่ตัวตน ไม่ใช่ความอาวุโส มีความอดทนต่ำ ชอบท้าทายกฎระเบียบ มีความทะเยอทะยานต้องการประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น คุ้นเคยกับเทคโนโลยี ชอบการเปลี่ยนแปลง มีความกระตือรือร้น มองโลกในแง่ดี และมีไอเดียชอบคิดอะไรนอกกรอบและชอบถาม “ทำไม” ด้วยความอยากรู้มากกว่าเพียงแค่รับคำสั่ง ให้ความสนใจและรักษาสุขภาพ เนื่องจากเขาได้รับการเลี้ยงดูที่พยายามให้เขามีความมั่นใจในตัวเองและพยายามค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียกพวกเขา “Generation Why”

                ดังนั้น เมื่อองค์กรหนึ่งจะต้องมีทุนมนุษย์ที่มีความหลากหลายจำนวนมากเช่นนี้รวมกันอยู่ เป็นนโยบายที่ให้โอกาสแก่พนักงานเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นด้านชาติพันธุ์ เพศ หรือความทุพพลภาพ เป็นต้น โดยเป็นที่ทำงานแบบอย่างทางด้านการเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงาน โอกาสให้พนักงานได้เติบโตในสายงานที่ต้องการอย่างเต็มที่ และเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญผ่านโครงการฝึกอบรมหลากหลายมีบริษัทจัดขึ้น

ในส่วนนี้ควรมุ่งสร้างสรรค์องค์กรใน 4 ด้านหลัก คือ

1. บรรยากาศการทำงาน (Climate) ถ้าเครื่องไม้เครื่องมือในการทำงานเสมือน Hardware มีครบถ้วน ใช้สอยได้อย่างสะดวกต่องาน ในสถานที่ที่โล่งสบาย ฯลฯก็จะช่วยให้บรรยากาศการทำงานสะดวกสบายมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือทุนมนุษย์ซึ่งเสมือน Software หากมีการบริหารจัดการความแตกต่างของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่มีความสำคัญด้วยอาการทั้ง 5 จะเกิดขึ้นคือ หัวเราะ ห่วงใย เห็นอกเห็นใจ ให้ และเหตุผลมาก่อนอารมณ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเชื่อมโยงความหลากหลายของทุนมนุษย์ในที่ทำงานหนึ่งๆได้เป็นอย่างดี

2. วัฒนธรรมองค์กร (Culture) ในภาพใหญ่ของทุนมนุษย์ของดร.จีระฯ ให้ความสำคัญในเรื่องทุนทางวัฒนธรรมมาก เพราะเป็นเสมือน DNA ที่ฝั่งอยู่ในตัวพนักงานขององค์กร กรณีศึกษาเอสซีจี ในยุคคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้วางรากฐานเรื่องคนขององค์กรต้องเป็น “คนดี และคนเก่ง” ผู้บริหารทุกคนไม่ต้องเรียนรู้เรื่องนี้อีกแล้ว เพราะได้อยู่ในสายเลือดพนักงานเอสซีจีตลอดเวลาที่ทำงานจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร  ในขณะที่องค์กรใหม่ของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ก็มีความพยายามที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาเพื่อให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของพนักงาน ซึ่งปัจจุบันวัฒนธรรมองค์กรเรื่องนี้ที่ภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นมาคือเรื่อง การมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม หรือ Corporate Social Responsibility (CSR)

3. การเสริมสร้างและส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร (Capability) ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาความหลากหลายของพนักงาน  ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานของพนักงานมีความคล่องตัวขึ้น

4. การปรับระบบการทำงานให้เกิดความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด (Flexibility) ปรับเปลี่ยนแผนงานได้อย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เลือกและปรับเปลี่ยนแนวทางเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเวลา จูงใจให้สมาชิกในทีมเข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อลดปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

การมุ่งสร้างสรรค์ 4 เรื่องหลักที่กล่าวมานี้ยังส่งผลต่อเนื่องถึงทฤษฎี HRDS ของดร.จีระเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วยHappiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน  Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

สังคมออนไลน์ Social Networking เครื่องมือนี้สามารถให้นักทรัพยากรบุคคลเข้าถึงความเป็นตัวตน และความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลได้อย่างสาธารณะ ซึ่งกาลํ งได้รับความนิยมอย่างมาก ในฐานะผู้ใช้ทั่วไปใช้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว บทความ รูปภาพ ผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็นในครอบคครัว คนใกล้ชิด เพื่อนฝูง ก่อนที่ขยายวงออกไปวงนอกทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว 

การบริหารจัดการเรื่องนี้จำเป็นมากสร้างผลกระทบต่อมวลชนมหาศาล เช่นกรณีนายบารัค โอบามา ใช้สื่อประเภทนี้เมื่อครั้งลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และก็ได้ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น  ปัจจุบันฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สามารถที่จะใช้ช่องทางนี้ในการค้นหาคนดี คนเก่งเพื่อเข้ามาเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญในองค์กร พร้อมกันนี้ช่องทางสังคมออนไลน์ก็สามารถที่จะส่งผลบวกหรือลบให้กับการกระทำขององค์กรได้อย่างรวดเร็วแบบการสื่อสาร 2 ทางมากที่สุด และกลายเป็น “เครือข่ายคน”ที่กว้างใหญ่จากคนหลายประเภททั่วโลก

ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Competencies ดร.จีระฯ เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ไม่ว่าจะจบจากที่ใดก็ตามไม่สำคัญ เพราะต้องมองเรื่องนี้เป็นหลัก และเมื่อเข้ามาแล้วต้องมีงานที่ท้าทายมีโอกาสก้าวหน้า กรณีของเอสซีจีตั้งแต่ยุคนายพารณฯถึงปัจจุบัน จะการันตีว่า คนดีจะต้องก้าวหน้าเสมอ จะมีระบบให้ทุนไปศึกษาต่อ สำหรับพนักงานที่สนใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปัจจุบันบริษัทก็มีทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกให้ปีละหลายทุน   ยังเปิดโลกทัศน์ของพนักงานด้วยโครงการดูงานในสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากมายเปิดกว้างให้พนักงานโยกย้ายงาน

เพื่อยกระดับศักยภาพของพนักงานให้มีความสามารถที่หลากหลาย มีมุมมองในการทำงานที่กว้างขึ้น ในปี 2554 นี้เอสซีจีตั้งงบลงทุนด้าน R&D เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท เพื่อมุ่งสู่การแข่งขันระดับโลก และการเป็นผู้นำแห่งอาเซียน ถือเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์เรียบร้อย 

ปลูกพืชต้องเตรียมดิน

จะกินต้องเตรียมอาหาร(เพื่อสุขภาพ)

จะพัฒนาการต้องพัฒนาตน

จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ

แต่จะพัฒนาใครต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน

 

Ethical Mind@Heart คุณธรรมความซื่อสัตย์ในจิต@หัวใจ ซึ่งในส่วนนี้จะพบ 2 คำคือ

Good Governance หรือหลักธรรมมาภิบาล คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้นแต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม  และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น

Corporate Governanceหมายถึง การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหย้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้อง โปร่งใส การมีจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันเกี่ยวเนื่องกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR)   ความสำคัญของซีเอสอาร์ การเจริญเติบโต (Growth) ของธุรกิจหนึ่งๆ มาจากการพัฒนาองค์กรให้มีความ “เก่ง” อยู่ในตัว ในขณะที่การพัฒนาองค์กรให้มีความ “ดี” อยู่ในตัว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ของธุรกิจนั้นๆ โดยตระหนักถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakehoders) ที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทอย่างรอบด้าน

                กรณีศึกษาเอสซีจีในอุดมการณ์ 4 ประการ ที่ถือกำเนิดมาพร้อมองค์กรนี้เมื่อประมาณ 96 ปีที่ผ่านมาคือ

  1. ตั้งมั่นในความเป็นธรรม                                     
  2. มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ
  3. เชื่อมั่นในคุณค่าคน
  4. ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

ปัจจุบันในเรื่องนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับความซื่อสัตย์ขององค์กรต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ ภายใต้คำว่า Green  หากองค์กรเอกชนใด หรือม้กระทั่งหน่วยราชการใดไม่ได้มีคุณธรรมความซื่อสัตย์ต่อสิ่งเหล่านี้ ในภาคเอกชนก็อาจจะไม่มีที่ให้ยืนในเวทีการค้าโลก ส่วนภาครัฐก็คงจะมีหลายส่วนที่เคลือบแคลงใจต่อการกระทำที่ไม่จริงใจต่อโลกใบนี้

...........................................................................................................

1. ในระดับ HR Macro มีทฤษฎี HR Architecture ในระดับ Micro ให้ลอง Design รูปแบบบริหารเหมือนคนในองค์กรที่แตกต่างที่ดีกว่าทฤษฏี 3 วงกลม

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””คำตอบ

HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง

สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)

ปัจจุบันศตวรรษที่ 21 โลกได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ กลายเป็นนรกที่มาเยือนโลกใบนี้พร้อมกันอย่างสมบูรณ์ และเห็นพร้อมกันผ่านการเชื่อมโยงของโลกด้วยระบบสื่อสารสารสนเทศ และสังคมออนไลน์ ซึ่งนวัตกรรมทางด้านไอทีที่เกิดขึ้นยังเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษยชาติ โดยเฉพาะมนุษย์ทำงาน ให้กลายเป็นคนที่สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา มองเห็นหลายเรื่องรอบด้านตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งต่างๆเหล่านี้กลายเป็นแรงขับดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทุนมนุษย์ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยยังมีความสุขในการทำงานเพราะยึดหลักคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย

ก Workforce Diversity

ข Social Networking

ค Competencies

ง Ethical Mind@Heart

ก. ความหลากหลายของพนักงาน Workforce Diversity หมายถึง ปัจจัยหรือสิ่งต่างๆที่ทให้คนๆหนึ่งในองค์กรมีความแตกต่างกันเช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา บุคลิก ความรู้ ความสามารถ ความคิด สไตล์การทำงาน ประสบการณ์ บทบาทหน้าที่การงาน สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ไปจนถึงความต้องการของพนักงาน

หลายองค์กรทั่วโลกขณะนี้มีพนักงาน Generation Y (Generation Why)ในสหรัฐอเมริกาจะหมายถึงผู้ที่เกิดในระหว่างปี 2520 – 2537 (ค.ศ. 1977 - 1994) ในประเทศไทยระบุว่าคนกลุ่มนี้ คือ กลุ่มคนที่เพิ่งเกิดไม่เกินปี 2521 หรือ ขณะนี้มีอายุต่ำกว่า 33 ปี คนกลุ่มนี้จึงเป็นคนที่เพิ่งจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท และกำลังเริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งมีจำนวนประมาณ 20% หรือ ประมาณ 13 ล้านคนคนกลุ่มนี้ต้องทำงานคู่กับ Generation X คือ กลุ่มคนที่อายุมากกว่า 33-47 ปี มีลักษณะพฤติกรรมชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการให้ความ สำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work-life Balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง เพื่อการปรับปรุงและ พัฒนาตนเอง และยังต้องทำงานกับ Generation B หรือประมาณ 64 ปีขึ้นไป เป็นรุ่นที่เกิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยึดกับขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุด เพราะยุคนั้นจะมีการประกาศเอกราชของประเทศต่างๆ มีการสร้งและดำรงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประจำชาติไว้ จึงบ่งบอกถึงความเป็นชาตินิยมไม่อยู่ภายใต้อำนาจชาติใด

สำหรับลักษณะเด่นของ Gen Yต้องการอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าแสดงออกทางความคิด การพูด การแต่งกาย เคารพคนอื่นที่ตัวตน ไม่ใช่ความอาวุโส มีความอดทนต่ำ ชอบท้าทายกฎระเบียบ มีความทะเยอทะยานต้องการประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น คุ้นเคยกับเทคโนโลยี ชอบการเปลี่ยนแปลง มีความกระตือรือร้น มองโลกในแง่ดี และมีไอเดียชอบคิดอะไรนอกกรอบและชอบถาม “ทำไม” ด้วยความอยากรู้มากกว่าเพียงแค่รับคำสั่ง ให้ความสนใจและรักษาสุขภาพ เนื่องจากเขาได้รับการเลี้ยงดูที่พยายามให้เขามีความมั่นใจในตัวเองและพยายามค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียกพวกเขา “Generation Why”

ดังนั้น เมื่อองค์กรหนึ่งจะต้องมีทุนมนุษย์ที่มีความหลากหลายจำนวนมากเช่นนี้รวมกันอยู่ เป็นนโยบายที่ให้โอกาสแก่พนักงานเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นด้านชาติพันธุ์ เพศ หรือความทุพพลภาพ เป็นต้น โดยเป็นที่ทำงานแบบอย่างทางด้านการเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงาน โอกาสให้พนักงานได้เติบโตในสายงานที่ต้องการอย่างเต็มที่ และเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญผ่านโครงการฝึกอบรมหลากหลายมีบริษัทจัดขึ้น

ในส่วนนี้ควรมุ่งสร้างสรรค์องค์กรใน 4 ด้านหลัก คือ

1. บรรยากาศการทำงาน (Climate) ถ้าเครื่องไม้เครื่องมือในการทำงานเสมือน Hardware มีครบถ้วน ใช้สอยได้อย่างสะดวกต่องาน ในสถานที่ที่โล่งสบาย ฯลฯก็จะช่วยให้บรรยากาศการทำงานสะดวกสบายมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือทุนมนุษย์ซึ่งเสมือน Software หากมีการบริหารจัดการความแตกต่างของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่มีความสำคัญด้วยอาการทั้ง 5 จะเกิดขึ้นคือ หัวเราะ ห่วงใย เห็นอกเห็นใจ ให้ และเหตุผลมาก่อนอารมณ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเชื่อมโยงความหลากหลายของทุนมนุษย์ในที่ทำงานหนึ่งๆได้เป็นอย่างดี

2. วัฒนธรรมองค์กร (Culture) ในภาพใหญ่ของทุนมนุษย์ของดร.จีระฯ ให้ความสำคัญในเรื่องทุนทางวัฒนธรรมมาก เพราะเป็นเสมือน DNA ที่ฝั่งอยู่ในตัวพนักงานขององค์กร กรณีศึกษาเอสซีจี ในยุคคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้วางรากฐานเรื่องคนขององค์กรต้องเป็น “คนดี และคนเก่ง” ผู้บริหารทุกคนไม่ต้องเรียนรู้เรื่องนี้อีกแล้ว เพราะได้อยู่ในสายเลือดพนักงานเอสซีจีตลอดเวลาที่ทำงานจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ในขณะที่องค์กรใหม่ของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ก็มีความพยายามที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาเพื่อให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของพนักงาน ซึ่งปัจจุบันวัฒนธรรมองค์กรเรื่องนี้ที่ภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นมาคือเรื่อง การมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม หรือ Corporate Social Responsibility (CSR)

3. การเสริมสร้างและส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร (Capability) ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาความหลากหลายของพนักงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานของพนักงานมีความคล่องตัวขึ้น

4. การปรับระบบการทำงานให้เกิดความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด (Flexibility) ปรับเปลี่ยนแผนงานได้อย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เลือกและปรับเปลี่ยนแนวทางเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเวลา จูงใจให้สมาชิกในทีมเข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อลดปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

การมุ่งสร้างสรรค์ 4 เรื่องหลักที่กล่าวมานี้ยังส่งผลต่อเนื่องถึงทฤษฎี HRDS ของดร.จีระเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วยHappiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

ข. สังคมออนไลน์ Social Networking เครื่องมือนี้สามารถให้นักทรัพยากรบุคคลเข้าถึงความเป็นตัวตน และความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลได้อย่างสาธารณะ ซึ่งกาลํ งได้รับความนิยมอย่างมาก ในฐานะผู้ใช้ทั่วไปใช้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว บทความ รูปภาพ ผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็นในครอบคครัว คนใกล้ชิด เพื่อนฝูง ก่อนที่ขยายวงออกไปวงนอกทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว

การบริหารจัดการเรื่องนี้จำเป็นมากสร้างผลกระทบต่อมวลชนมหาศาล เช่นกรณีนายบารัค โอบามา ใช้สื่อประเภทนี้เมื่อครั้งลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และก็ได้ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น ปัจจุบันฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สามารถที่จะใช้ช่องทางนี้ในการค้นหาคนดี คนเก่งเพื่อเข้ามาเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญในองค์กร พร้อมกันนี้ช่องทางสังคมออนไลน์ก็สามารถที่จะส่งผลบวกหรือลบให้กับการกระทำขององค์กรได้อย่างรวดเร็วแบบการสื่อสาร 2 ทางมากที่สุด และกลายเป็น “เครือข่ายคน”ที่กว้างใหญ่จากคนหลายประเภททั่วโลก

ค. ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Competencies ดร.จีระฯ เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ไม่ว่าจะจบจากที่ใดก็ตามไม่สำคัญ เพราะต้องมองเรื่องนี้เป็นหลัก และเมื่อเข้ามาแล้วต้องมีงานที่ท้าทายมีโอกาสก้าวหน้า กรณีของเอสซีจีตั้งแต่ยุคนายพารณฯถึงปัจจุบัน จะการันตีว่า คนดีจะต้องก้าวหน้าเสมอ จะมีระบบให้ทุนไปศึกษาต่อ สำหรับพนักงานที่สนใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปัจจุบันบริษัทก็มีทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกให้ปีละหลายทุน ยังเปิดโลกทัศน์ของพนักงานด้วยโครงการดูงานในสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากมายเปิดกว้างให้พนักงานโยกย้ายงาน

เพื่อยกระดับศักยภาพของพนักงานให้มีความสามารถที่หลากหลาย มีมุมมองในการทำงานที่กว้างขึ้น ในปี 2554 นี้เอสซีจีตั้งงบลงทุนด้าน R&D เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท เพื่อมุ่งสู่การแข่งขันระดับโลก และการเป็นผู้นำแห่งอาเซียน ถือเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์เรียบร้อย

ปลูกพืชต้องเตรียมดิน

จะกินต้องเตรียมอาหาร(เพื่อสุขภาพ)

จะพัฒนาการต้องพัฒนาตน

จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ

แต่จะพัฒนาใครต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน

ง. Ethical Mind@Heart คุณธรรมความซื่อสัตย์ในจิต@หัวใจ ซึ่งในส่วนนี้จะพบ 2 คำคือ

Good Governance หรือหลักธรรมมาภิบาล คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้นแต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น

Corporate Governanceหมายถึง การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหย้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้อง โปร่งใส การมีจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันเกี่ยวเนื่องกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ความสำคัญของซีเอสอาร์ การเจริญเติบโต (Growth) ของธุรกิจหนึ่งๆ มาจากการพัฒนาองค์กรให้มีความ “เก่ง” อยู่ในตัว ในขณะที่การพัฒนาองค์กรให้มีความ “ดี” อยู่ในตัว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ของธุรกิจนั้นๆ โดยตระหนักถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakehoders) ที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทอย่างรอบด้าน

กรณีศึกษาเอสซีจีในอุดมการณ์ 4 ประการ ที่ถือกำเนิดมาพร้อมองค์กรนี้เมื่อประมาณ 96 ปีที่ผ่านมาคือ

1. ตั้งมั่นในความเป็นธรรม

2. มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ

3. เชื่อมั่นในคุณค่าคน

4. ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

ปัจจุบันในเรื่องนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับความซื่อสัตย์ขององค์กรต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ ภายใต้คำว่า Green หากองค์กรเอกชนใด หรือม้กระทั่งหน่วยราชการใดไม่ได้มีคุณธรรมความซื่อสัตย์ต่อสิ่งเหล่านี้ ในภาคเอกชนก็อาจจะไม่มีที่ให้ยืนในเวทีการค้าโลก ส่วนภาครัฐก็คงจะมีหลายส่วนที่เคลือบแคลงใจต่อการกระทำที่ไม่จริงใจต่อโลกใบนี้

..............................................................................................................

เรียน อาจารย์และเพื่อนๆทุกคน ข้อมูลที่ส่งไปครั้งแรกอ่านแล้วคงเกิดการสับสน จึงขอให้เพื่อนๆติดตามสรุปของน้องอานนท์ที่สรุปไว้เป็นประโยชน์ที่ไม่สามารถติดตามบนจอได้ สำหรับการสอบเนื่องจากเวลาจำกัด จึงขอส่งลายละเอียดให้อาจารย์ผ่าน blog ตามที่ได้หารือกับอาจารย์ไว้ดังนี้ค่ะ

1. ในระดับ HR Macro มีทฤษฎี HR Architecture ในระดับ Micro ให้ลอง Design รูปแบบบริหารเหมือนคนในองค์กรที่แตกต่างที่ดีกว่าทฤษฏี 3 วงกลม “”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””คำ

ตอบ HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro) ปัจจุบันศตวรรษที่ 21 โลกได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ กลายเป็นนรกที่มาเยือนโลกใบนี้พร้อมกันอย่างสมบูรณ์ และเห็นพร้อมกันผ่านการเชื่อมโยงของโลกด้วยระบบสื่อสารสารสนเทศ และสังคมออนไลน์ ซึ่งนวัตกรรมทางด้านไอทีที่เกิดขึ้นยังเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษยชาติ โดยเฉพาะมนุษย์ทำงาน ให้กลายเป็นคนที่สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา มองเห็นหลายเรื่องรอบด้านตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งต่างๆเหล่านี้กลายเป็นแรงขับดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทุนมนุษย์ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยยังมีความสุขในการทำงานเพราะยึดหลักคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย

ก Workforce Diversity

ข Social Networking

ค Competencies

ง Ethical Mind@Heart

      ก. ความหลากหลายของพนักงาน Workforce Diversity หมายถึง ปัจจัยหรือสิ่งต่างๆที่ทให้คนๆหนึ่งในองค์กรมีความแตกต่างกันเช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา บุคลิก ความรู้ ความสามารถ ความคิด สไตล์การทำงาน ประสบการณ์ บทบาทหน้าที่การงาน สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ไปจนถึงความต้องการของพนักงาน หลายองค์กรทั่วโลกขณะนี้มีพนักงาน Generation Y (Generation Why)ในสหรัฐอเมริกาจะหมายถึงผู้ที่เกิดในระหว่างปี 2520 – 2537 (ค.ศ. 1977 - 1994) ในประเทศไทยระบุว่าคนกลุ่มนี้ คือ กลุ่มคนที่เพิ่งเกิดไม่เกินปี 2521 หรือ ขณะนี้มีอายุต่ำกว่า 33 ปี คนกลุ่มนี้จึงเป็นคนที่เพิ่งจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท และกำลังเริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งมีจำนวนประมาณ 20% หรือ ประมาณ 13 ล้านคนคนกลุ่มนี้ต้องทำงานคู่กับ Generation X คือ กลุ่มคนที่อายุมากกว่า 33-47 ปี มีลักษณะพฤติกรรมชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการให้ความ สำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work-life Balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง เพื่อการปรับปรุงและ พัฒนาตนเอง และยังต้องทำงานกับ Generation B หรือประมาณ 64 ปีขึ้นไป เป็นรุ่นที่เกิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยึดกับขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุด เพราะยุคนั้นจะมีการประกาศเอกราชของประเทศต่างๆ มีการสร้งและดำรงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประจำชาติไว้ จึงบ่งบอกถึงความเป็นชาตินิยมไม่อยู่ภายใต้อำนาจชาติใด

สำหรับลักษณะเด่นของ Gen Yต้องการอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าแสดงออกทางความคิด การพูด การแต่งกาย เคารพคนอื่นที่ตัวตน ไม่ใช่ความอาวุโส มีความอดทนต่ำ ชอบท้าทายกฎระเบียบ มีความทะเยอทะยานต้องการประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น คุ้นเคยกับเทคโนโลยี ชอบการเปลี่ยนแปลง มีความกระตือรือร้น มองโลกในแง่ดี และมีไอเดียชอบคิดอะไรนอกกรอบและชอบถาม “ทำไม” ด้วยความอยากรู้มากกว่าเพียงแค่รับคำสั่ง ให้ความสนใจและรักษาสุขภาพ เนื่องจากเขาได้รับการเลี้ยงดูที่พยายามให้เขามีความมั่นใจในตัวเองและพยายามค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียกพวกเขา “Generation Why”

ดังนั้น เมื่อองค์กรหนึ่งจะต้องมีทุนมนุษย์ที่มีความหลากหลายจำนวนมากเช่นนี้รวมกันอยู่ เป็นนโยบายที่ให้โอกาสแก่พนักงานเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นด้านชาติพันธุ์ เพศ หรือความทุพพลภาพ เป็นต้น โดยเป็นที่ทำงานแบบอย่างทางด้านการเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงาน โอกาสให้พนักงานได้เติบโตในสายงานที่ต้องการอย่างเต็มที่ และเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญผ่านโครงการฝึกอบรมหลากหลายมีบริษัทจัดขึ้น ในส่วนนี้ควรมุ่งสร้างสรรค์องค์กรใน 4 ด้านหลัก คือ

1. บรรยากาศการทำงาน (Climate) ถ้าเครื่องไม้เครื่องมือในการทำงานเสมือน Hardware มีครบถ้วน ใช้สอยได้อย่างสะดวกต่องาน ในสถานที่ที่โล่งสบาย ฯลฯก็จะช่วยให้บรรยากาศการทำงานสะดวกสบายมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือทุนมนุษย์ซึ่งเสมือน Software หากมีการบริหารจัดการความแตกต่างของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่มีความสำคัญด้วยอาการทั้ง 5 จะเกิดขึ้นคือ หัวเราะ ห่วงใย เห็นอกเห็นใจ ให้ และเหตุผลมาก่อนอารมณ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเชื่อมโยงความหลากหลายของทุนมนุษย์ในที่ทำงานหนึ่งๆได้เป็นอย่างดี

2. วัฒนธรรมองค์กร (Culture) ในภาพใหญ่ของทุนมนุษย์ของดร.จีระฯ ให้ความสำคัญในเรื่องทุนทางวัฒนธรรมมาก เพราะเป็นเสมือน DNA ที่ฝั่งอยู่ในตัวพนักงานขององค์กร กรณีศึกษาเอสซีจี ในยุคคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้วางรากฐานเรื่องคนขององค์กรต้องเป็น “คนดี และคนเก่ง” ผู้บริหารทุกคนไม่ต้องเรียนรู้เรื่องนี้อีกแล้ว เพราะได้อยู่ในสายเลือดพนักงานเอสซีจีตลอดเวลาที่ทำงานจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ในขณะที่องค์กรใหม่ของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ก็มีความพยายามที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาเพื่อให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของพนักงาน ซึ่งปัจจุบันวัฒนธรรมองค์กรเรื่องนี้ที่ภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นมาคือเรื่อง การมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม หรือ Corporate Social Responsibility (CSR)

3. การเสริมสร้างและส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร (Capability) ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาความหลากหลายของพนักงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานของพนักงานมีความคล่องตัวขึ้น

4. การปรับระบบการทำงานให้เกิดความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด (Flexibility) ปรับเปลี่ยนแผนงานได้อย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เลือกและปรับเปลี่ยนแนวทางเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเวลา จูงใจให้สมาชิกในทีมเข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อลดปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

การมุ่งสร้างสรรค์ 4 เรื่องหลักที่กล่าวมานี้ยังส่งผลต่อเนื่องถึงทฤษฎี HRDS ของดร.จีระเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วยHappiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

      ข. สังคมออนไลน์ Social Networking เครื่องมือนี้สามารถให้นักทรัพยากรบุคคลเข้าถึงความเป็นตัวตน และความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลได้อย่างสาธารณะ ซึ่งกาลํ งได้รับความนิยมอย่างมาก ในฐานะผู้ใช้ทั่วไปใช้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว บทความ รูปภาพ ผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็นในครอบคครัว คนใกล้ชิด เพื่อนฝูง ก่อนที่ขยายวงออกไปวงนอกทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว การบริหารจัดการเรื่องนี้จำเป็นมากสร้างผลกระทบต่อมวลชนมหาศาล เช่นกรณีนายบารัค โอบามา ใช้สื่อประเภทนี้เมื่อครั้งลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และก็ได้ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น ปัจจุบันฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สามารถที่จะใช้ช่องทางนี้ในการค้นหาคนดี คนเก่งเพื่อเข้ามาเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญในองค์กร พร้อมกันนี้ช่องทางสังคมออนไลน์ก็สามารถที่จะส่งผลบวกหรือลบให้กับการกระทำขององค์กรได้อย่างรวดเร็วแบบการสื่อสาร 2 ทางมากที่สุด และกลายเป็น “เครือข่ายคน”ที่กว้างใหญ่จากคนหลายประเภททั่วโลก

      ค. ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Competencies ดร.จีระฯ เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ไม่ว่าจะจบจากที่ใดก็ตามไม่สำคัญ เพราะต้องมองเรื่องนี้เป็นหลัก และเมื่อเข้ามาแล้วต้องมีงานที่ท้าทายมีโอกาสก้าวหน้า กรณีของเอสซีจีตั้งแต่ยุคนายพารณฯถึงปัจจุบัน จะการันตีว่า คนดีจะต้องก้าวหน้าเสมอ จะมีระบบให้ทุนไปศึกษาต่อ สำหรับพนักงานที่สนใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปัจจุบันบริษัทก็มีทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกให้ปีละหลายทุน ยังเปิดโลกทัศน์ของพนักงานด้วยโครงการดูงานในสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากมายเปิดกว้างให้พนักงานโยกย้ายงาน เพื่อยกระดับศักยภาพของพนักงานให้มีความสามารถที่หลากหลาย มีมุมมองในการทำงานที่กว้างขึ้น ในปี 2554 นี้เอสซีจีตั้งงบลงทุนด้าน R&D เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท เพื่อมุ่งสู่การแข่งขันระดับโลก และการเป็นผู้นำแห่งอาเซียน ถือเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์เรียบร้อย ปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร(เพื่อสุขภาพ) จะพัฒนาการต้องพัฒนาตน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ แต่จะพัฒนาใครต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน

      ง. Ethical Mind@Heart คุณธรรมความซื่อสัตย์ในจิต@หัวใจ ซึ่งในส่วนนี้จะพบ 2 คำคือ Good Governance หรือหลักธรรมมาภิบาล คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้นแต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น Corporate Governanceหมายถึง การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหย้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้อง โปร่งใส การมีจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันเกี่ยวเนื่องกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ความสำคัญของซีเอสอาร์ การเจริญเติบโต (Growth) ของธุรกิจหนึ่งๆ มาจากการพัฒนาองค์กรให้มีความ “เก่ง” อยู่ในตัว ในขณะที่การพัฒนาองค์กรให้มีความ “ดี” อยู่ในตัว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ของธุรกิจนั้นๆ โดยตระหนักถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakehoders) ที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทอย่างรอบด้าน กรณีศึกษาเอสซีจีในอุดมการณ์ 4 ประการ ที่ถือกำเนิดมาพร้อมองค์กรนี้เมื่อประมาณ 96 ปีที่ผ่านมาคือ

1. ตั้งมั่นในความเป็นธรรม

2. มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ

3. เชื่อมั่นในคุณค่าคน

4. ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

ปัจจุบันในเรื่องนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับความซื่อสัตย์ขององค์กรต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ ภายใต้คำว่า Green หากองค์กรเอกชนใด หรือม้กระทั่งหน่วยราชการใดไม่ได้มีคุณธรรมความซื่อสัตย์ต่อสิ่งเหล่านี้ ในภาคเอกชนก็อาจจะไม่มีที่ให้ยืนในเวทีการค้าโลก ส่วนภาครัฐก็คงจะมีหลายส่วนที่เคลือบแคลงใจต่อการกระทำที่ไม่จริงใจต่อโลกใบนี้ ..............................................................................................................

2. ร่างแผนพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจ การศึกษาและชุมชน

a. Where we are?

b. Where do we want to go?

c. How to get there?

d. How do achieve HR or HC execution? Make it successful.

ภาพใหญ่ของเวทีการแข่งขันทุกด้านบนโลกใบนี้ ล้วนมีความเข้มข้นอย่างมาก การออกความร่วมมือต่างๆของโลกว่าจะเป็น WTO, FTA, ASEAN เสรี 2015 ฯลฯ แม้กระทั่งการออกกฎเกณฑ์มาตรฐานสากลเช่น ISO หรือมาตรฐานสินค้านำเข้าจะต้องมีเรื่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวเนื่องด้วยนั้น นับเป็นความร่วมมือในการขับเคลื่อนธุรกิจโลกให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีความสงสัยว่าฤาเป็นเพียงเรื่อง “การกีดกันทางการค้า” ไม่ว่าจะเป็นการตั้งข้อสังเกตทางใดก็ตาม ประเทศไทย ประเทศที่การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงประชาชนส่วนใหญ่นั้น ถือเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นสมาชิกภาคเครือข่ายด้านการค้าที่เชื่อมโยงทั่วโลก ก็จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ “ข้อตกลงของโลก” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่จากการศึกษาข้อมูลดร.จีระฯในเรื่อง“ทุนมนุษย์กับความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก” จะพบปัญหามากมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ดร.จีระฯเป็นแม่เหล็กสำคัญในการผลักดัน โดยมีฯพณฯนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในเวลานั้น เห็นชอบกับแนวความคิดในเรื่องนี้ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ เริ่มจาก

Where we are? ทุนมนุษย์เกิดปัญหา มีเฉพาะปริมาณ ขาดคุณภาพ มีปริญญาไม่ใช่ปัญญา สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสามารถฝึกฝนได้ ขาด 8 K’s และ 5K’s ขาดการคิดเป็นยุทธศาสตร์ ขาดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และขาดวัฒนธรรมในการใฝ่รู้ เรียนรู้ ส่งผลให้เกิด Skill ต่ำเป็นแรงงานราคาถูกในทุก Sector ของธุรกิจ สิ่งที่ตามมา Productivity of Labor ไทยต่ำมาก เพิ่มช้าไม่เกิน 2 – 3% ในขณะที่จีน และเวียตนามอยู่ระหว่าง 5 – 8%

Where do we want to go? ทิศทางที่จะไปต้องไปสู่ธุรกิจนานาชาติให้ แต่ต้องสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องสมดุล ยั่งยืน แข่งขันได้ในธุรกิจที่ต้องเน้นภาคบริการมากขึ้น เช่นการท่องเที่ยว สุขภาพ(Healthcare) การค้า ภาคเกษตรมูลค่าเพิ่มมุ่งไปที่ Green Economy เลือกธุรกิจใหม่แบบ Blue Ocean เช่น ธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจสิ่งแวดล้อม, New Medias

How to get there? ถือเป็นบทบาทโดยตรงของรัฐบาลต้องสนใจเรื่องทุนมนุษย์ อย่างจริงจัง - กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติบรรจุแผนการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติไว้ในแผนฯ 11 ของสภาพัฒน์ฯ โดยต้องสำรวจสภาพธุรกิจและการใช้ทุนมนุษย์ – HR Audit ในทุก ๆ Sectors เพื่อสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ในธุรกิจที่เน้นความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง Supply กับ Demand และชี้ให้เห็นว่าอนาคตของ HR จะเป็นอย่างไร

How do achieve HR or HC execution? Make it successful. ประสานงานกับหน่วยงานทุกด้าน รับฟังความคิดเห็น ดูจุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร ทำงานผ่าน“สำนักงานพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติ” ในฐานะองค์กรอิสระบริหารจัดการให้ใช้มืออาชีพ โปร่งใส พึ่งตัวเอง เน้นสร้าง Network คล่องตัว มีการทำ Master Plan ของ HR กับ ธุรกิจ (แผน 5 ปี) เน้นการบริหารปัจจัยเสี่ยง และความสำเร็จซึ่งจะถูกบรรจุไว้ในแผนฯ 11 การเริ่มต้นการทำงานจะอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ก่อน การเอาชนะอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จในครั้งนี้ คือ ให้มีการร่างแผนจัดตั้งฯ และทำ Feasibility study วิธีการทำงานของหน่วยงานดังกล่าวให้เสร็จภายในปี 2011 เน้นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและเอาชนะอุปสรรค

ร่างแผนทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจ

Where we are? แบ่งเป็น 2 เรื่องสำคัญคือ คุณภาพคน และคุณภาพธุรกิจ ในเรื่องแรกยังเป็นปัญหาที่สืบทอดมาอย่างยาวนานสำหรับทุนมนุษย์ในประเทศมีเรื่องเหล่านี้น้อยเช่น ความคิดสร้างสรรค์ การสรมูลค่าเพิ่ม วัฒนธรรมการเรียนรู้ คุณธรรมจริยธรรม การบริหารวัฒนธรรมหลากหลาย ความสามารถด้านภาษาซึ่งต่อเนื่องการสร้างเครือข่าย ทำให้แรงงานไม่มีศักยภาพ ผลผลิตต่ำ ปัจจุบันปัญหาใหม่กำลังตามมาเพราะประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว จึงมีผลต่อเนื่องถึงแรงงานสูงอายุด้วย ส่วนคุณภาพธุรกิจนั้น ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศมองเป้าหมายระยะยาวอย่างเป็นระบบ แต่ธุรกิจที่เป็น Real Sector ของไทยคือ SMEs กลับมองเป้าหมายระยะสั้น เพราะฉะนั้นอย่าได้แปลกใจที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากยังไม่เห็นประโยชนืจากการเกิด AEC ยังไม่เห็นประโยชน์ที่จะต้องเป็น Green Industry แม้กระทั่งเรื่องง่ายที่สุดในการประหยัดพลังงานประหยัดเงินในกระเป๋าตนเองด้วยการลงทุนเปลี่ยนหลอดไฟเป็น T5

Where do we want to go? อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจของไทยยังมีจุดแข็งที่จะแก้ปัญหาสถานการณ์ปัจจุบันเช่นมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ พร้อมจะมียุทธศาสตร์และแนวทางในการดำเนินการผ่านความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน พัฒนาคนในภาคธุรกิจอยู่ในฐานสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน พัฒนาสังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ รวมถึงพัฒนาสังคมผู้สูงอายุของไทยให้มีคุณค่า

How to get there? กลยุทธ์ในการะพัฒนามีหลักใหญ่ คือ การออกแบบทรัพยากรมนุษย์และการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานคุณภาพของทุนมนุษย์ ศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับธุรกิจระหว่างประเทศ ลดอุปสรรคเรื่องวัฒนธรรมทุนมนุษย์นะดับชาติและระดับองค์กร สร้างโอกาสและพัฒนาทุนมนุษย์ในธุรกิจใหม่ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เลือกไว้ก่อนหน้านี้ และนายอลงกรณ์ พลบุตรรมช.กระทรวงพาณิชย์เวลานั้น ได้ประกาศผ่านสื่อมวลชนไปแล้วประกอบด้วย ธุรกิจสร้างสรรค์ ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม และธุรกิจสมัยใหม่ ธุรกิจ Software Application ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจอาหารและแปรรูปการเกษตร ธุรกิจแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจตัวแทนการค้าและจัดจำหน่าย ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ & Life Science ธุรกิจเกี่ยวกับความรู้ ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ธุรกิจเกี่ยวกับการเษตร เป็นต้น

How do achieve HR or HC execution? Make it successful. มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทั้งในภาคความร่วมมือหน่วยงานรัฐ สมาคมต่างๆที่เกี่ยวเนื่อง เช่นสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา ระหว่างนั้นต้องทำวิจัยเพื่อหาความต้องการเสนอแนวทางทางด้านทุนมนุษย์ อีกทั้งออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ โดยเนื้อหาทั้งหมดจะต้องเสนอผ่านสื่อ และมีการติดตามผลงานอย่างใกล้ชิด

ร่างแผนทุนมนุษย์เพื่อการศึกษา

Where we are? ปัจจุบันคนไทยยังคงมีปัญหาด้านคุณภาพการศึกาและสติปัญญา แม้ว่าเด็กและเยาวชนมีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่คุณภาพการศึกษายังมีปัญหามาก เด็กมีพัฒนาการด้านความสามารถทางเชาวน์ปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ค่อนข้างต่ำ กล่าวกันว่าคนไทยเกือบ 60% ของผู้มีอายุเกิน 15 ปีขึ้นไปไม่สามารถคิดเป็น ทำเป็น ทำให้ขาดทักษะในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งผลเมื่อโตขึ้นกลายเป็นแรงงานที่มีคุณภาพต่ำ

นอกจากนี้ยังมีปัญหาแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงรียน สถานที่ศึกษาที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผลลบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างไม่ระมัดระวัง สิ่งเหล่านี้กลายเป็นตัวทำลายร่างกาย จิตใจ และสมองของเด็กเยาวชนมีคุณภาพด้อยลง ทั้งๆที่คนเหล่านี้กำลังจะเป็นแรงงานใหม่ทดแทนผู้สูงอายุ สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว

Where do we want to go? เป้าประสงค์ในการพัฒนา เมื่อปัญหาข้างต้นมาจากระบบครอบครัวไทยทีมีความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กระแสโลกาภิวัตน์ และความจำเป็นในการประกอบอาชีพส่งผลให้ครอบครัวไทยในอดีตที่อยู่ร่วมกัน พ่อ แม่ลูก หลานที่เคยอยู่ร่วมกัน ขาดกลไกเชื่อมโยงแบบ บ้าน วัด โรงเรียน หรือบวร เป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ให้ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว ซึ่งในเวลาต่อมาดิฉันได้นำมาต่อยอดเพื่อให้เกิดขยายวงไปยังชุมชน และมัสยิด กลายเป็น “บวรชม”

โดยในการพัฒนาโรงเรียนนั้น ตัวโรงเรียนสามารถที่จะสร้างระบบ Out side-in และ Inside-out ซึ่งในการเปิดตนเองออกไปข้างนอกก็เป็นในลักษณะจิตอาสาในรูปแบบต่างๆ หรือนำนักเรียนออกไปเรียนรู้จากโลกภายนอก หรือใช้เป็นสถานที่รับซื้อขยะโดยธนาคารโรงเรียนจะรับผิดชอบเรื่องนี้ ก่อนที่จะนำไปขายต่อไป รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของโรงเรียน เป็นการช่วยฝึกนักเรียนทั้งด้านจิตอาสา การเงิน และสิ่งแวดล้อมไปในตัว ส่วนการเปิดตัวให้ชุมชนเข้ามาใช้พื้นที่ของโรงเรียนก็มีทั้งเรื่อง เป็นสถานที่ฝึกอาชีพเพื่อให้มีอาชีพติดตัว หรือเปิดพื้นที่ให้เป็นที่ค้าขายรูปแบบต่างๆที่ชุมชนหาซื้อได้ อีกทั้งยังเป้นพื้นที่ในการร่วมเล่นกีฬา การเปิดพื้นที่ออกไปเช่นนี้เกี่ยวเนื่องกับหลัก 5D+ Model ตลอดการทำงานที่ผ่านมา

How to get there? กลยุทธ์พัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษา ต้องเริ่มต้นจากเด็กทีอาจจะมีพื้นฐานจากบวรชม พัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน พัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพ ด้วยการเสริมสร้างทักษะให้มีจิตสาธารณะ เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น มีการสังเคราะห์ความรู้สั่งสม และต่อยอดสู่นวัตกรรมความรู้ ฝึกฝนจนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้าพร้อมรับทุกความคิดเห็น และการปลูกฝังจิตที่มีคุณธรรม รวมทั้งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มั่นคง เอื้อต่อการพัฒนาอย่างสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

How do achieve HR or HC execution? Make it successful. สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายด้านการศึกษา เด็ก และเยาวชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน พัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันการเปลี่ยนแปลง สร้างความเข้มแข็งจากสถาบันหลักคือครอบครัว การศึกษา ศาสนา ให้มีบทบาทในการหล่อหลอม บ่มเพาะเยาวชนไทยให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม สร้างโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ให้ทุกกลุ่มเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้อย่างหลากหลายทั้งวัฒนธรรม และภูมิปัญญา ทั้งรูปแบบโดยตรงและผ่านสื่อทุกประเภท เพื่อจะได้เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ร่างแผนทุนมนุษย์เพื่อชุมชน

Where we are? สถานการณ์ปัจจุบันชาวบ้านขาดการมีส่วนร่วมในการคิดเอง ทำเอง แต่เป็นเจ้าหน้าที่คิดให้ทุกรูปแบบ เมื่อโครงการที่เจ้าหน้าที่มาเริ่มทำจบลงก็หมายถึงการจบลงเช่นกัน อีกทั้งไม่มีการเชื่อมโยงมิติครอบครัวและชุมนแบบเดิม ต่างคนต่างอยู่ เป็นสังคมเชิงเดี่ยวมากขึ้น เพราะทุกคนจะมองเฉพาะตนเองอย่างเดียวเท่านั้น

Where do we want to go? ส่วนหนึ่งของแผนฯ11 จะพูดถึงเรื่องความสมานฉันท์จึงเป็นเรื่องที่ชุมชนควรจะบูรณาการ “บวรชม” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และมัสยิด ให้มีความเข้มแข็ง ทั้งภายในชุมชนเองก่อนที่จะขยายไปยังสังคม และสิ่งที่ผู้นำชุมชนหลายแห่งจะต้องคิดถึงคือเมื่อ AEC เปิดอย่างสมบูรณ์ นั่นหมายถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ในทุกชุมชน ภายใต้รากฐานบวรชมที่แข็งแรง

How to get there? กลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ เริ่มจากสร้างความแข็งแกร่งให้กับทุนมนุษย์ของบวรชม ด้วยรูปแบบ 5 D+ Model ประกอบด้วย Physical Development กายภาพดี Economical Development มีรายได้เหมาะสม Social Development สังคมร่วมใจ Healthy Development อนามัยสมบูรณ์ Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม

โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนทุกแห่ง ภายใต้การเปิดจิตและเปิดใจ เปิดความคิดแบบ Outside-in และ Inside-Out เพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาทุนมนุษย์ เป็นรากฐานคุณภาพของทุนมนุษย์ ศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับธุรกิจระหว่างประเทศ ลดอุปสรรคเรื่องวัฒนธรรมทุนมนุษย์ระดับชาติและระดับองค์กร

How do achieve HR or HC execution? Make it successful. เร่งสร้างทุนมนุษย์ของดร.จีระฯตามหลัก8 K’s และ 5K’s คิดเป็นยุทธศาสตร์ เรียนรู้ตลอดชีวิต และมีวัฒนธรรมในการใฝ่รู้ เรียนรู้ เมื่อมาผสมผสานกับหลัก 5 D+ Model ผู้นำชุมชนจำเป็นจะต้องมีเรื่องคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในทุกส่วนของร่างกาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนผู้นำชุมชนให้มีศักยภาพที่แข็งแกร่ง สามารถนำพาชุมชนที่มีความเชื่อมโยงแบบบวรชม เดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบภายใต้สิ่งที่ถูกต้องเมื่อตัดสินใจตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม

.......................................................................................................

3.ถ้าจะวัดความสำเร็จของ Happiness Capital กับองค์ประกอบทางธุรกิจเป็นแนวทางวิทยานิพนธ์ของท่าน a) เสนอ Methodology แบบ quantitative b) เสนอวิธีการแบบวิจัยโดยคุณภาพ c) ระหว่างทุนแห่งความสุขกับองค์กรที่สร้างความสุขให้พนักงานกับ Happy Work Place แตกต่างกันอย่างไร? และมีแนวทางวิจัยอย่างไร? ……………………………………………………………………………………………….. คำตอบ องค์ประกอบทางธุรกิจ คำว่า องค์ประกอบทางธุรกิจ เป็นคำที่กว้างมาก และมองได้หลายมิติ ถ้ามองในมิติของการบริหารธุรกิจ ธุรกิจก็จะประกอบด้วยการบริหารในหลายกิจกรรม องค์ประกอบธุรกิจก็จะประกอบด้วย

1 การบริหารการผลิต

2 การบริหารการตลาด

3 การบริหารการเงิน

4 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

หรือหากมองในมิติของปัจจัยทางธุรกิจ องค์ประกอบของธุรกิจก็จะประกอบด้วย

5 คน ที่ดิน แรงงาน เครื่องจักร เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า Happiness Capital นั้นสามารถเชื่อมโยงกับองค์ประกอบธุรกิจได้ทั้งที่เป็นองค์ประกอบในมิติของการบริหาร และมิติของปัจจัยทางธุรกิจ และสามารถนำแนวคิดความสำเร็จของ Happiness Capital มาเป็นประยุกต์ใช้ทั้งการบริหารจัดการทางธุรกิจ หรือการจัดสรรปัจจัยทางธุรกิจ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

ดังที่กล่าวแล้วว่าองค์ประกอบทางธุรกิจมีหลายมิติและหลายด้าน ในที่นี้ขอนำเสนอการนำแนวคิดความสำเร็จของ Happiness Capital มาประยุกต์กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ทั้งนี้เนื่องจากว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญของธุรกิจ ธุรกิจจะบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างไรให้ได้คนดีมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับงานมาทำงานให้ธุรกิจ จะพัฒนาบุคลากรเหล่านั้นให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร และจะรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เหล่านั้นให้อยู่กับธุรกิจได้อย่างไร

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวมีความสำคัญมาก ซึ่งเชื่อว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของ Happiness Capital จึงนำไปสู่กรอบแนวคิดการวิจัยดังนี้

a) และb) วัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง Happiness Capital กับองค์ประกอบทางธุรกิจ

คำถาม องค์ประกอบทางธุรกิจมีผลต่อระดับ Happiness Capital หรือไม่

กรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

  สมมติฐาน

องค์ประกอบธุรกิจแต่ละด้านมีผลเชิงบวกหรือลบต่อ Happiness Capital

  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ในองค์กรหนึ่งๆ จะใช้การสอบถามจากผู้บริหารระดับสูงเช่น ประธานบริษัท CEO รองCEO ผู้บริหารระดับผู้จัดการหน่วยงานต่างๆในองค์กร พนักงานในองค์กรทุกระดับ การตั้งคำถามเป็นแบบ Questionary จากนั้นประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

  รูปแบบการวิจัย

เป็นกรณีศึกษาซึ่งศึกษาเฉพาะบริษัทที่ประสบความสำเร็จทาง Happiness Capital เครื่องมือวิจัย แบบสอบถามใช้แบบสอบถามความคิดเห็น (โดยมีข้อคำถามเหมือนตัวแปร) วัดระดับความพึงพอใจแต่ละด้านของ Happiness Capital

  การวัด

  a) ผลคะแนนแห่งความสุข ถ้าคะแนน 1 - 10 การทำงานของท่านมีความสุขอยู่ระดับใด? ถ้าผลออกมาอยู่ต่ำกว่า 6 ลงมา ก็พยายามหาทางปรับปรุง เพิ่มเป็น 6.5 ผลประกอบการจะดีขึ้น

  b) จากผลการสัมภาษณ์ สังเกตุการณ์คนในองค์กร และจากการปฏิบัติงาน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆที่คนในองค์กรปฎิบัติ

  ผลประโยชน์ที่ได้รับ

a)และb) เมื่อความสุข เป็นได้ทั้งวิธีการและเป้าหมาย คือทั้ง Mean และ End หากมีวิธีการที่ดี ผลประกอบการก็จะดีขึ้นจากความสุขอย่างยั่งยืน และมีรายได้อย่างสมเหตุสมผลจากการทำงานบนพื้นฐานทุนแห่งความสุขของทุกคนในองค์กร

  c) ระหว่างทุนแห่งความสุขกับองค์กรที่สร้างความสุขให้พนักงานกับ Happy Work Place แตกต่างกันอย่างไร? และมีแนวทางวิจัยอย่างไร?

  Happiness Capital (Dr. Chira Hongladarom’s Model)

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

  Happy Workplace (Thaihealth’s Model)

1. Happy Body (สุขภาพดี) มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ

2. Happy Heart (น้ำใจงาม) มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันและกัน

3. Happy Soul (ทางสงบ) มีความศรัทธาในศาสนาและมีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต

4. Happy Relax (ผ่อนคลาย) รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต

5. Happy Brain (หาความรู้) การศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา

6. Happy Money (ปลอดหนี้) มีเงินรู้จักเก็บ รู้จักใช้ ไม่เป็นหนี้

7. Happy Family (ครอบครัวดี) มีครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง

8. Happy Society (สังคมดี) มีความรักสามัคคี เอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่ตนทำงานและที่พักอาศัย

  ความแตกต่างของ Happiness Capital และ Happy Workplace คือ

Happiness Capital คือ หลักของการทำงานในองค์กรอย่างมีความสุข ส่วน Happy Workplace เป็นรายละเอียดของวิถีชีวิตประจำวันที่จะสร้างความสุขในการทำงาน ภายใต้หลัก Happiness Capital ซึ่งเสมือนวิสัยทัศน์องค์กร

แนวคิด Happy Workplace คือกระบวนการพัฒนาบุคคลในองค์กรอย่างมีเป้าหมายและมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรเพื่อให้องค์กรมีความสามารถ และพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นำพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้าและการเติบโตอย่างยั่งยืน

แนวทางการวิจัยเป็นการวิจัยโดยคุณภาพ เพราะฉะนั้นในส่วนคำถามจะต้องเจาะลึก เพื่อดึง Happiness Capital และ Happy Work Place ออกมาจากผู้ถูกสัมภาษณ์

ใช้กรณีศึกษาบริษัท NOK

กรอบการศึกษา

1. ลักษณะ รูปแบบ Happiness Capital และ Happy Work Place

2. ลักษณะ รูปแบบองค์กรข้ามชาติจากญี่ปุ่น

3. ความแตกต่างเชิงรูปธรรมการนำ Happiness Capital และ Happy Work Place ไปใช้ใน บริษัท NOK

4. พนักงานได้นำHappiness Capital และ Happy Work Place ไปต่อยอดอย่างไร

  วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษารูปแบบ Happiness Capital และ Happy Work Placeที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้และเทคนิดHappiness Capital และ Happy Work Place ให้กับ SMEs ไทย

  วิธีการศึกษา

เอกสาร ประสานงาน สร้างแบบสอบถาม ลงสำรวจพื้นที่และ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

รูปแบบภาวะผู้นำ พนักงาน และชุมชนในท้องถิ่นที่มี Happiness Capital และ Happy Work Place

  เปรียบเทียบ

กรอบองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคการพัฒนาHappiness Capital และ Happy Work Placeที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ SMEs ไทยในอนาคต

  แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับทฤษฎีHappiness Capital และ Happy Work Place

- ความหมาย, คุณสมบัติ, ทฤษฎี, และความสำเร็จในอนาคต

  ทฤษฎีเกี่ยวกับHappiness Capital และ Happy Work Place

1 ทฤษฎีHappiness Capital โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมย์

2 ทฤษฎีทุนมนุษย์ โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมย์

3 ทฤษฏีความสุขของ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

4  ทฤษฎี นิสัยความสุขในที่ทำงาน สิบสองเคล็ดลับการทำงานอย่างมีความสุข โดย Michele

5 ทฤษฎี X และทฤษฎี Y (แม็คเกรเกอร์)

6 ทฤษฎี Z

7 คู่มือ ความสุข 8 ประการในการทำงาน HAPPY WORK PLACE สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)

8 www.nokpct.net

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา Seminar & Workshop Passion & Happiness Capital มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้ครับ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/464540

ส่งการบ้าน Work Shop ของวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม โดย นส.เมทิณี สิทธิสงค์

1. สรุปอีกครั้งว่า KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร อธิบายอย่างชัดเจน

KM คือ ความรู้ กระบวนการ LC ความรู้ที่เด่นชัด ความรู้ที่แอบแฝง LO คือ ทำงานเป็นทีมมีวิสัยทัศน์ เปิดรับสิ่งใหม่ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีการพัฒนาตนเอง เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ

KM เป็นการเรียนรู้ภายในองค์กร ส่วน LO เป็นความรู้ในลักษณะ Macro ที่นำมาบูรณาการใช้ในองค์กรและภายนอกองค์กร ตย.เช่น ความรู้เรื่องน้ำท่วม อาจเป็นเพียง KM แต่การเรียนรู้เรื่องสภาพแวดล้อม สภาวะอากาศ หรือแม้แต่ ภาวะโลกร้อน ที่ใช้ในการอธิบายปรากฎการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายประเทศ แบบนี้ จัดว่าเป็น LO

ในกระบวนการ KM ก็ต้องมี LC sharing อยู่ด้วย กล่าวคือ tacit and explicit knowledge เกิดขึ้นจาก knowledge capture, dialoque, tell story กระบวนการเหล่านี้ ล้วนเป็น learning culture และ sharing ทั้งนั้น อยู่ที่การใช้คำ และระดับภาษาในการอธิบายความของแต่ละบุคคล

2. LO สำคัญอย่างไรในองค์กร

ภาคราชการ เข้าใจความต้องการของประชาชนมากขึ้น เน้นผู้รับบริการ มีการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล การบริหารทรัพยากรมีความประหยัด มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

ภาคการศึกษา การมีส่วนร่วมของภาคสังคมในการจัดการศึกษามากขึ้น หลักสูตรมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน บริบททางสังคมมากขึ้น

ภาคธุรกิจ มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น (CSR) คำนึงถึงผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมมากขึ้น

3. อุปสรรคของLO คืออะไร ให้บอกมาสามเรื่อง

3.1 คนส่วนใหญ่ไม่อยู่นอกกรอบ ขาดความคิดสร้างสรรค์ (อ.บอกถูปต้อง)

3.2 การเชื่องโยงให้เป็นระบบไม่ได้ไม่มีความคิดเป็นองค์รวม

3.3 ขาดความใฝ่รู้ ไม่มีความมุ่งมั่น ในการพัฒนาตัวเอง

การบ้าน Work Shop ของวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2554

1. สรุปอีกครั้งว่า KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร อธิบายอย่างชัดเจน

การจัดการความรู้ KM คือ การดึงเอาความรู้ที่กระจัดกระจาย ฝังอยู่ทั่วไปภายในองค์กร ออกมารวบรวม และแบ่งกลุ่ม จัดเก็บให้เป็นองค์ความรู้ขององค์กร เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาไปสู่เป้าหมายขององค์กร

การบริหารจัดการเพื่อให้ “คน” ที่ต้องการใช้ความรู้ ได้รับความรู้ที่ต้องการใช้ ในเวลาที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำงาน

องค์กรแห่งการเรียนรู้ LO หมายถึง องค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนและค้นหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้องค์กรสามารถสร้าง จัดหา ถ่ายทอดความรู้ในการพัฒนากระบวนการทำงาน ผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการทำให้คนในองค์กรมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ หรือแสวงหาองค์ความรู้ที่เหมาะสมใหม่ๆ มาใช้อย่างต่อเนื่อง

หากองค์กรมีการพัฒนาคนก่อนให้เป็นองค์กรแห่งการแห่งเรียนรู้ (LO) แล้วค่อยมาพัฒนา KM ก็จะทำได้ง่ายมาก แต่หากเรามีกระบวนการจัดการความรู้ แต่ยังไม่มีการพัฒนาให้เป็น LO ก็จะมีแต่ความรู้ที่คนไม่เข้าถึงความรู้นั้นๆ ไม่ค่อยมีลักษณะใฝ่รู้ ไม่มีความเป็น LO ในตัว และขาดวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้ เราอาจทำ KM ก่อน โดยการจับความรู้เป็นเรื่องๆ ก่อน ให้บุคลากรในองค์กรเห็นความรู้ที่เป็นรูปธรรมก่อน แล้วค่อยมาดำเนินการในกระบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาบุคคลภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจขององค์กร

การจัดการความรู้ KM เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่จะทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ LO

2. LO สำคัญอย่างไรในองค์กร

ภาคราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 3 มาตรา 11 “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้” ซึ่งภาคราชการจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 สำหรับ หมวด 3 มาตรา11 นี้เป็นเรื่องของการนำหน่วยราชการไปสู่การเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยให้หน่วยงานแต่ละหน่วยเริ่มจาก การจัดการความรู้ เพราะการจัดการความรู้เป็นจุดเริ่มที่จะนำไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการติดตามและประเมินผล

ภาคการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการศึกษาทุกระดับจะต้องเกิดขึ้น เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะการทำงานของบุคคลและใช้ทุกสิ่งจากการทำงานเป็นฐานความรู้ที่สำคัญประกอบกับใช้กลยุทธ์การแสวงหาความรู้ การแบ่งปันความรู้ การสร้างองค์ความรู้ และการใช้ความรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง Michael Beck (1992) อธิบายว่า “องค์การเอื้อการเรียนรู้ คือ องค์การที่เอื้ออำนวยการเรียนรู้ และพัฒนาบุคลากรทุกคน ขณะเดียวกันก็มีการปฏิรูปองค์การอย่างต่อเนื่อง” ตัวอย่างเช่น ท่านอธิการบดี รังสรรค์ แสงสุข ที่ได้ชี้นำ เพื่อการปรับสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยท่านได้ให้รวบรวมความรู้ในส่วนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เข้าสู่ระบบดิจิตอล และท่านริเริ่มให้ผู้บริหารทุกท่านเขียนบทความ เพื่อดึงความรู้ความสามารถแต่ละท่านออกมา

ภาคธุรกิจ การพัฒนาองค์กร ให้ยั่งยืน แข่งขันกับคู่แข่ง และสามารถนั่งอยู่ในใจผู้บริโภคหรือผู้รับบริการได้ สิ่งสำคัญคือ องค์กรนั้นต้องมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ การปรับโครงสร้างองค์การ หรือกิจกรรมการเพิ่มผลผลิต เพียงแต่พยายามทำให้คนในองค์การเห็นว่า ทุกสิ่งที่เขาทำอยู่แล้วนั้นล้วนเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น เขาจะต้องเห็นถึงกระบวนการในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น และสามารถเก็บเกี่ยวความรู้จากประสบการณ์นั้นๆ ไว้เป็นสินทรัพย์ ทางปัญญา (Intellectual Asset) ที่สามารถเก็บสะสมไว้สำหรับเลือกนำมาใช้ในอนาคต

3. อุปสรรคของ LO คืออะไร ให้บอกมาสามเรื่อง

3.1 มีความเห็นที่แตกต่างออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ

3.2 ขาดกระบวนการกลุ่ม ทำให้คนบางคนหรือบางกลุ่มเปลี่ยนใจหรือไม่เอาด้วย

3.3 คนส่วนใหญ่อยู่ในกรอบ ขาดความคิดสร้างสรรค์

นันท์นภัส วิกุล PhD นครราชสีมา

Work Shop ของวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2554 โดย นส.วรัญญา นาคดิลก นักศึกษา ป.เอก ศูนย์นครราชสีมา

1. สรุปอีกครั้งว่า KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร อธิบายอย่างชัดเจน

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ถือ เป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ ด้านงาน ด้านการพัฒนาคน และด้านการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แต่เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด การจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย อันตรายที่จะเกิดตามมาก็คือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้

องค์กรแห่งการเรียน(Learning Organization)เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์กร โดยการเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ภาวะของการเป็นผู้นำในองค์กร การเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กร เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กร

2. LO สำคัญอย่างไรในองค์กร

ภาคราชการ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ให้หน่วยงานแต่ละหน่วยเริ่มจาก การจัดการความรู้ เพราะการจัดการความรู้เป็นจุดเริ่มที่จะนำไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมี (ก.พ.ร.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการติดตามและประเมินผล

ภาคธุรกิจ การพัฒนาองค์กร ให้ยั่งยืน แข่งขันกับคู่แข่ง ต้องมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ และที่สำคัญในปัจจุบันภาคธุรกิจ มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น (CSR) คำนึงถึงผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมมากขึ้น

ภาคการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการศึกษาทุกระดับจะต้องเกิดขึ้น เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะการทำงานของบุคคลและใช้ทุกสิ่งจากการทำงานเป็นฐานความรู้ที่สำคัญ ประกอบกับใช้กลยุทธ์การแสวงหาความรู้ การแบ่งปันความรู้ การสร้างองค์ความรู้ และการใช้ความรู้

3. อุปสรรคของ LO คืออะไร ให้บอกมาสามเรื่อง

1.ความคร่ำครึขององค์กรที่มีทัศนคติต่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

2.ยึดติดวิธีที่พบกับความสำเร็จเก่าๆ จนไม่คำนึกถึงความเป็นจริงในอนาคต

3.ผู้นำองค์ไม่ใส่ใจความรู้ความสามารถของคนรุ่นใหม่และไม่ค่อยยอมปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่

Work Shop ของวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2554 โดย นส.วาสนาไทย สิงหฬ นักศึกษา ปริญญาเอก ศูนย์ นครราชสีมา

1. สรุปอีกครั้งว่า KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร อธิบายอย่างชัดเจน

การจัดการความรู้ (Knowledge Management-KM) เป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียมซึ่งเป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การสร้างแรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้

แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การทำการจัดการความรู้แบบเทียม และนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด กล่าวคือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ หรือทำเพื่อชื่อเสียง ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร (HRD) หน่วยสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) หรือหน่วยพัฒนาองค์กร (OD) ต้องการใช้การจัดการความรู้ในการสร้างความเด่น หรือสร้างผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน ที่ชอบของเล่นใหม่ๆ ชอบกิจกรรมที่ดูทันสมัย เป็นแฟชั่น แต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดำเนินการจัดการความรู้อย่างแท้จริง

ประเภทความรู้ ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ

๑. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน

๒. ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

องค์การเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันการมีองค์การแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน Learning Organization หรือ การทำให้องค์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นคำที่ใช้เรียกการรวมชุดของความคิดที่เกิดขึ้นมาจากการศึกษาเรื่องขององค์การ Chris Argyris ได้ให้แนวคิดทางด้าน Organization Learning ร่วมกับ Donald Schon ไว้ว่า เป็นกระบวนการที่สมาชิกขององค์การให้การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ด้วยการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ ในองค์การ ความรู้จาก Organization Learning เป็นหลักการที่ Peter Senge ได้รวบรวมจากแนวคิดของ Chris Argyris และ Donald Schon รวมถึงนักวิชาการท่านอื่น มาเขียนหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับ Learning Organization ซึ่งมีชื่อว่า .”The Fifth Discipline”

แนวคิดของ Learning Organization

Chris Argyris และ Donald Schon ได้ให้คำนิยามการเรียนรู้สองรูปแบบที่มีความสำคัญในการสร้าง Learning Organization คือ Single Loop Learning ( First Order / Corrective Learning) หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแก่องค์การเมื่อการทำงานบรรลุผลที่ต้องการลักษณะการเรียนรู้แบบที่สองเรียกว่า Double Loop Learning (Second Oder/Generative Learning)หมายถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับผลการกระทำ

Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้

1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ

2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ

3. Shared Vission การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มมผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มน้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภพบวกต่อองค์การ

4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ

5. System Thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้

องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ (Learning Base) โดยมีกระบวนการ ดังนี้

1. กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติการ คือ

1.1 กลยุทธ์ชี้นำ (Surge Strategy) โดยคณะผู้บริหารระดับสูงร่วมรับผิดชอบและสนับสนุน

1.2 กลยุทธ์ปลูกฝัง(Cultivate Strategy) โดยให้คณะทำงานในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ

1.3 กลยุทธ์ปฏิรูป (Transform Strategy) โดยคณะทำงานพิเศษจากทุก ๆ หน่วยงานในองค์การมาร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ

2. กำหนดแผนงานให้ชัดเจน ดังนี้

2.1 ปรับโครงสร้างในการบริหารให้เป็นการทำงานแบบทีม

2.2 จัดทำแผนทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับโครงสร้างในการบริหารงานให้มีลักษณะเป็นหารทำงานเป็นทีม โดยวางแผนพัฒนาองค์ความรู้ โดยการฝึกอบรม และพัฒนาประสบการณ์พร้อมทักษะจากการเรียนรู้ในที่ทำงาน

2.3 จัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการฝึกอบรม และการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ เช่น ห้องฝึกอบรม ห้องประชุม โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น

3. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับรู้กลไกของการพัฒนาและผลกระทบทุก ๆ ด้านที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง

4. พัฒนาพื้นฐานสำคัญขององค์การเรียนรู้ดังนี้

4.1 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery) เพื่อให้เก่งในทุก ๆ ด้าน เก่งในการเรียนรู้ เก่งคิด เก่งทำ มีไหวพริบปฏิภาณ มีความเพียรพยายามตั้งแต่เยาว์วัยและใฝ่รู้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based) ที่ต้องมีการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต โดยมีการคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้

การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) ซึ่งได้แก่ความคาดหวังของแต่ละคนที่ต้องการจะให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในชีวิตของตน

มุ่งมั่นสร้างสรรค์ (Creative Tension) มีความขยัน ใฝ่ดี มีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา

ใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจ เพื่อให้มีระบบคิด และการตัดสินใจที่ดี

ฝึกใช้จิตใต้สำนึก (Subconcious) สั่งงาน เพื่อให้กากรทำงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ และได้ผลงานที่ดี

4.2 รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental Model) ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ได้สะสมมาตั้งแต่เด็กกับพื้นฐานของวุฒิภาวะทางอารมณ์ของแต่ละบุคคล ทำให้ความคิดและความเข้าใจของแต่ละคนแตกต่างกัน และหากปล่อยให้ต่างคนต่างคิดจะกลายเป็นปัญหาใหญ่เพราะมีการยึดติด กับรูปแบบและวิธีการที่ตนเองคุ้นเคย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว

4.3 การสร้างและสานวิสัยทัศน์ (Share Value) ให้ทุกคนได้รู้ได้เข้าใจ จะได้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยมีการนำวิสัยทัศน์ที่ได้สร้างขึ้นมาเป็นเป้าหมายของการกำหนดแผนกลยุทธ์ เพื่อสานให้วิสัยทัศน์เป็นจริงด้วยแผนการปฏิบัติต่อไป

4.4 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learn) เป็นการเน้นการทำงานเป็นทีมโดยให้ทุกคนในทีมงานใช้วิจารณญาณร่วมกันตลอดเวลาว่า กำลังทำงานอะไร จะทำให้ดีขึ้นอย่างไร เป็นการเรียนรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลสามัคคี ขยันคิด ขยันเรียนรู้ และขยันทำด้วยความเชื่อว่าการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะช่วยเสริมสร้างอัจฉริยะภาพของทีมงาน

4.5 ความคิดความเข้าใจเชิงระบบ (System Thinking) เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ทำให้มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นภาพรวม จะได้สามารถเผชิญกับภาวะวิกฤติ และการแข่งขันได้

5. พัฒนาพนักงานในระดับผู้นำองค์การ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าโครงการ หรือหัวหน้าทีมงาน ให้มีความเข้าใจบทบาทของผู้นำในองค์การเรียนรู้จะได้มีการปฏิบัติติให้มีคุณลักษณะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้อื่นในการปฏิบัติงานให้ราบรื่น

6. มอบหมายพันธกิจ (Mision) และกระบวนงานต่าง ๆ แก่ทีมงานเพื่อให้สามารถบริหารและรับผิดชอบด้วยตัวเองได้ เป็นการเพื่ออำนาจให้แก่พนักงาน จะได้เกิดความคล่องตัว

7. สร้างวัฒนธรรมองค์การด้านการพัฒนา และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นตลอดเวลา

8. ทำการประเมินผล (Assessment) เพื่อปรับปรุงผลงานเสมอ

2. LO สำคัญอย่างไรในองค์กร

สรุปพื้นฐานที่สำคัญต่อการ Learning Organization ไว้ 4 ประการ

องค์การทุกแห่งมีระบบการเรียนรู้ของตนเอง (All Organization Are Learning System)

รูปแบบการเรียนรู้ขององค์การสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ (Learning Comforms to Culture)

รูปแบบการเรียนรู้ผันแปรตามระบบการเรียนรู้ขององค์การ (Style Varies between Learning System)

มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ขององค์การ (Generic Processes Facilitate Learning)

การเกิด Learning Organization คือ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การ การนำเอาวิธรการเรียนรู้แบบใหม่เข้าสู่องค์การจะต้องมีการพิจารณาว่าเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การหรือไม่ และจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อรูปแบบการเรียนรู้ปัจจุบันไม่สามารถสร้างความได้เปรียบเชิงระบบธุรกิจเหนือคู่แข่งทั้งในปัจจุบันและในอนาคตแล้วเท่านั้น ซึ่งจะมีปัญหาก็คือองค์การมีความเสี่ยงต่อการต่อต้านจากพนักงานสูงมาก และระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนอาจใช้เวลานาน ทั้งนี้เนื่องมาจากองค์การแต่ละองค์การมีวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกัน การพยายามเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้อย่างสิ้นเชิงย่อมทำได้ยากและใช้ระยะเวลานานในการพัฒนาองค์การ

3.อุปสรรคของ LO คืออะไร ให้บอกมาสามเรื่อง

3.1แนวคิดของ Learning Organization ขาดแนวทางและขั้นตอนที่ชัดเจนที่จะทำให้องค์การ

สามารถไปสู่ Learning Organization ได้อย่างแท้จริง

3.2 Model ของ Learning Organization ไม่ได้เจาะจงวัฒนธรรมองค์การใดองค์การหนึ่งและไม่ได้วิเคราะห์ถึงข้อจำกัดด้านวัฒนธรรมองค์การทำให้ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง กระบวนการในการนำ Learning Organization ไปใช้ยังไม่ชัดเจนขาดคนที่รู้จริง

3.3 ขอบเขตของการนำ Learning Organization กว้างมากทำให้ควบคุมได้ยาก ดัชนีที่ใช้วัดองค์การที่มีความเป็น Learning Organization ไม่ชัดเจน และการใช้เวลายาวนานในการมุ่งไปสู่การเป็น Learning Organization ทำให้ขาดกำลังใจ และหากมีการเปลี่ยนผู้นำ ความสนใจที่จะกระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในองค์การจะหายไป

นายอำนวย คุ้มบ้าน

นายอำนวย คุ้มบ้าน นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รหัส 53484931020 ( ศูนย์ภูเก็ต ) วิชา การจัดการทุนมนุษย์ ( PHD 8202)

งานสรุปสาระการศึกษาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 โดยสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

ปัจจัยที่เป็นตัวส่งเสริมหลักในการสร้างความสำเร็จสู่องค์กร คือ ความคิดทุนมนุษย์ 5 ประการ ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดประสิทธิภาพขององค์กร ดังนี้

1. Benchmarking การทำงานที่ต้องยกองค์กรของเราไปเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่เหนือกว่า เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้บุคลากรมีแรงขับเคลื่อนมากขึ้นกว่าปกติ

2. Qualities เน้นคุณภาพทั้งในด้านทรัพยากรบุคคลและคุณภาพของผลงานขับเคลื่อนสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ

3. Standard ในการสร้างระบบของงานต้องคำนึงถึงมาตรฐาน

4. Best practice การสร้างขวัญกำลังใจในการสนับสนุนคนดีเรื่องดีในการทำงานดีต้องมีรางวัล เช่น คำยกย่อง ชมเชย ประกาศเกียรติคุณ เป็นต้น

5. Excellent เป้าหมายสู่ความเป็นเลิศเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง

อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กรทั้ง 5 ประการนี้ เป็นลักษณะกระบวนการการขับเคลื่อน ฉะนั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยในการคอยควบคุมกำกับปัจจัยทั้ง 5 ประการข้างต้นให้สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมี Sustainable คือ ปัจจัยความยั่งยืน ในวันนี้อาจารย์ยังได้สร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยได้ยกกรณีศึกษาทุ่งดอกกระเจียว จังหวัดชัยภูมิ ในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์สู่สังคมอาเซี่ยน โดยจะต้องรู้ถึงบทบาทของการพัฒนานี้ ว่า จะดำเนินการอย่างไร มีผู้ที่จะต้องเข้าสู่บทบาทในเรื่องนี้ 3 องค์กรใหญ่ ๆ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน ซึ่งต้องประสานความร่วมมือกันในการสร้างผลผลิต ทั้งด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ถือได้ว่านี่เป็นผลิตผลหลักของ ทุ่งดอกกระเจียว จังหวัดชัยภูมิ ในขณะเดียวกันต้องสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมไปด้วย คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเฝ้าระวังวิถีวัฒนธรรม และร่วมสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง การเรียนในวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2554

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)รหัส.53484931011 ดิฉันได้รับความรู้จากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Assignment ดิฉันคิดว่า Workshop ในวันนี้พอสังเขปได้ดังนี้ โดยท่านอาจารย์เป็นโค้ช Coach จากการได้รับความรู้ในการทำธุรกิจต้องรู้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอเพราะมีผลกระทบต่อตัวเรา ต้องเปลียนวิกฤตให้เป็นโอกาสเพราะเศรษฐกิจไม่มีความแน่นอน นอกจากต้องรู้เรื่องโลกาภิวัฒน์แล้วยังต้องเน้นคุณภาพสินค้าและต้องมองความสำคัญของลูกค้าด้วยเพราะธุรกิจจะอยู่ด้วยการมีลูกค้าและการซื้อสินค้าของลูกค้าขึ้นอยู่ได้ด้วยการมีลูกค้าและการซื้อสินค้าของลูกค้าขึ้นอยู่กับความพอใจฉะนั้นเราต้องมี EQได้แก่ การมีน้ำใจ ; การให้เกียรติลูกค้า ;มีความจริงใจไม่เอาเปรียบลูกค้าพร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าทำให้ลูกค้าพอใจWIN WIN WIN ซึ่งทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นกลายเป็นลูกค้าของเราตลอดไป ดิฉันคิดว่าการประสบความสำเร็จควรมี 4 Q

1).IQ ในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าความฉลาดซึ่งมีตั้งแต่เกิดแต่ไม่ใช่พรสวรรค์ สามารถมีได้ถ้ามีความพยายามรวมทั้งสะสมความใฝ่รู้

ความคิดริเริ่มส้างสรรค์ซึ่งในกรณีนี้ดิฉันคิดว่า ."ต้องคิดให้เป็น แต่การเรียนรู้ของคนไทยชอบใช้ความจำ "

2).EQ ในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าการมีอารมณ์ดีสามารถควบคุมอารมณ์ได้การควบคุมอารมณ์ "นั่งสมาธิรู้จักถนอมน้ำใจผู้อื่น

3).AQ ในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าความเป็นอยู่อาจไม่ราบรื่นต้องมีความอดทนอีกอย่างหนึ่งต้องไม่มองผู้อื่นในแง่ร้าย"คิดอยู่เสมอว่าแก้ไขไม่ได้ต้องมุมานะทำงานให้สำเร็จอาจจะหนักในวันนี้แต่เพื่ออนาคต "ชีวิตต้องสู้"

4).MQในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าความยุติธรรมคนเราจะเก่งอย่างเดียวยังไม่ดีพอ ต้องเป็นคนทั้งคนเก่งและคนดี

สรุป IQ: MQ; EQ ; AQ ทำให้เรารักตัวเองและเข้าใจการทำงานพร้อมทั้งพัฒนาองค์กรและมีคุณธรรมจริยธรรม ดิฉันคิดว่าได้ตกผนึกจากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับ 1).เข้าใจวิธีการเรียนรู้ 2).สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 3).สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีความสุข สุขความพอใจ สุขความอบอุ่น สุขความสนุกสน่านร่าเริง รวมทั้งเกิด 3 ประเด็นได้แก่ 1).ดีการรู้จักอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ 2).ดีการมีนำใจใสใจและเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น 3).ดีการรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิดและการยอมรับผิด พร้อมทั้งอาจารย์ให้ดิฉันในการนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้ 1).เก่งเกิดจากแรงจูงใจที่อาจารย์ได้มอบเป็นตัวอย่าง 2).เก่งเกิดจากรู้จักการปรับตัวต่อการเปลียนแปลงและปรับตัวต่อปัญหาที่อาจารย์มอบให้ 3).เก่งเกิดจากการกล้าพูดกล้าบอกและกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ในวันนี้ดิฉันได้บอกอาจารย์ว่า ศูนย์ภูเก็ต เสมือนทุเรียน รวมทั้งดิฉันได้ข้อคิดพร้อมทั้งปลูกและเก็บเกี่ยวจากท่านอาจารย์พอสรุปรวมได้ดังนี้ "การเป็นผู้นำที่ดีต้องให้คนอื่นดีด้วย '"การเป็นผู้นำที่ดีต้องให้สังคมดีด้วย" หรือ :มองตัวเองก่อนมองคนอื่นทำงานเป็นทีม ได้รับรู้การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพดิฉันคิดว่าเป็นการพัฒนาทางความคิดนอกจากนี้ดิฉันได้นำสิ่งที่ ศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์สอนมาบูรณาการณ์ในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ได้แก่ 1).วิธีการเรียน 2).บรรยากาศในการเรียน 3).ปะทะทางปัญญา 4).สร้งองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ เราต้องเรียนรู้อยู่ในโลกนี้และให้คนอื่นยอมรับมีความคิด การเรียนรู้มีพื้นฐานและปรับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยการปรับอารมณ์ให้ดีตลอด ไม่อารมณ์ร้อน ต้องเรียนรู้อยู่ในสังคมให้ได้ เราต้องรู้จัดอดทนในการกระทำ เราต้องเป็นคนดีค้วยในการทำงานในวิทยาลัยฯ การไหว้ การแต่งกายต้องให้สุภาพเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนองค์กรเห็นแล้วและทำตามต้องไม่อารมณ์ร้อน ยิ้มให้เก่ง การเรียนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต มองเห็นความสุขและมองเห็นคุณค่าของตนเอง ความรู้ที่เรามีนั้นต้องเป็นความรู้สดและสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ พร้อมทั้งให้ความสุขกับทุกคนเพื่อให้เกิดความสามัคคีและให้เกิดการทำงานเป็นทีม ดิฉันเกิด Idia 1).Whitc hat คิดมีเหตุผล 2).Red hat คิดตามอารมณ์ตามความรู้สึก 3).Black hat คิดแบบอนุรักษ์นิยม 4).Yellow hat คิดเร็วไปข้างหน้า มองอะไรดีไปหมด 5).Green hat คิดสร้างสรรค์ 6).Blue hat การมอง 5 hat นำมาวิเคราะห์สอดคล้องทฤษฎี Peter Senge ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิชา สัมมนาการจัดการทุนมนุษย์ระหว่างประเทศ

Seminar in International Human Capital Management

โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 16 ตุลาคม 2554

………………………………………..

ฟังเทป LO ของ กฟภ.ให้เวลา 2 อาทิตย์ ในการทำ Paper ส่งแทน Final

Search Internet ใน Blog โครงการ กฟภ. กับ LO

1. โครงการใน Phase 1 กับ Phase2 ต่างกันอย่างไร

2. ทำไม Phase 2 ต้องทำวิจัย และมีอะไรบ้าง

3. การทำ Questionnaire มีจุดอ่อนอะไรบ้าง

4. ถ้าอยากจะปรับปรุง Questionnaire เสนอมาว่าจะปรับปรุงอย่างไร

..........................................................

สรุปสิ่งที่ทำแทน Final มี

1. Public Seminar หรือ Study Tour

2. Case Study

3. Paper เรื่อง ทุนมนุษย์

..........................................................

• การวัด LO เป็นนามธรรม แต่ทำไมถึงสำคัญ การมี LO ทำให้มองอนาคตได้ง่ายกว่า ทั้งการศึกษา การเปลี่ยนแปลง และทุกมิติ

• องค์กรแห่งการเรียนรู้ลดต้นทุนส่วนหนึ่งทำให้ต้นทุนต่ำลง แต่อีกด้านหนึ่งไปเพิ่มรายได้ด้วย

• การจัดให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ควรทำแบบ Coach ,Facilitator, Mentor

• สิ่งที่นศ.จะทำคือการวัดผลว่าการลงทุน 1 บาทใน HR คุ้มหรือไม่ ตัวอย่างบริษัที่ทำได้ดีที่สุดคือ Watson Wyatt

• กำไรไม่ได้อยู่ที่คนเท่านั้น เพราะมีปัจจัยตัวแปร Independent หลายตัว ทางสถิติจึงต้องใช้เวลา

Generation

• Trend อันหนึ่งคือเปลี่ยน Diversity เป็น Excellence

• ฟังเลคเชอร์เสร็จ แบ่งกลุ่มมาเน้นทางด้านเก็บเกี่ยว

• พูดเสร็จจะถามว่าควรบริหารจัดการอย่างไรในความหลากหลาย

• สภาพแวดล้อมภายนอกที่กระทบเราคือโครงสร้างประชากร มีการลดอัตราการเกิดเยอะ เลยมีคนแก่มากขึ้น มีคนรุ่นใหม่ ๆ เข้ามาในการตลาด

วัตถุประสงค์หลัก

1. เปิดโลกทัศน์ ให้มองปัจจัยภายนอก โครงสร้างประชากรที่กระทบต่อการทำงานในยุคใหม่

2. สร้างความเข้าใจในธรรมชาติ (Nature) ของคนใน Generation ต่าง ๆ ..รู้เขา – รู้เรา

3. เรียนรู้วิธีการบริหาร “คนต่าง GEN” ให้ทำงานร่วมกันในองค์กรได้อย่างมีความสุข เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4. สร้าง Value Diversity ใหได้ผล

5. สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้ เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ สร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป

6. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

Generation ต่าง ๆ ใน ไทย แบ่งเป็น 5 กลุ่ม

1. Builders เป็นช่วงยุคแรก ๆ คืออายุประมาณ 70-90 ปี ดร.อำนวย วีรวรรณ

คุณอานันท์ ปันยารชุน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

2. Baby Boom การมี Generation ที่ 2 เกิดจากช่วงที่อดอยาก ในช่วงหลังสงครามโลกที่ 2 ซึ่งจะพบว่าคนที่แต่งงานแล้วมีลูกเยอะ คือช่วง Baby Boom ส่วนใหญ่เกิดปี ค.ศ.1945 อยู่ระหว่างช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป รุ่นนี้มีข้อดีคือเห็นรุ่นพ่อลำบากเลยมีความมุ่งมั่นสูง ต้องการความสำเร็จสูง และมีความจงรักภักดี

3. Generation X อายุประมาณ 30 – 50 ปีเป็นช่วงที่ต้องทำวิจัยเยอะ ๆ ตอนนั้น Internet ยังไม่ดัง อยู่กึ่ง ๆ ระหว่าง Y กับ Baby Boom เป็นช่วงพร้อมก็ไม่พร้อมมาก เด็กก็ไม่เด็ก จึงเป็นช่วงที่น่าศึกษา ต้องศึกษาเยอะหน่อยว่าเป็นอย่างไร

4. Generation Y อายุประมาณ 16 – 30 ปี เป็นพวกที่ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก Influence โดย Internet เป็นหลัก เปลี่ยนงานบ่อย

5. Millenniums กลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี คนรุ่นใหม่จริง ๆ

การบริหารจัดการ

การมองเรื่องยุทธวิธีทั้งการปลูกและเก็บเกี่ยวทำได้ 3-4 เรื่องด้วยกัน

1. มีความขัดแย้งระหว่าง loyalty กับ Performance เป็นการ Trade off ระหว่างความจงรักภักดี กับผลประกอบการ

แต่ Generation X,Y ส่วนใหญ่ เน้นเรื่องความสำเร็จ ต้องการยอมรับจากเจ้านาย การมีส่วนร่วม การแสดงออก โดยไม่ดูรากเหง้าขององค์กรมากนัก หน้าที่ของผู้นำหรือ HR ก็คือ จะลดความไม่จงรักภักดีลง แต่ยังรักษาความเป็นเลิศไว้ เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ

2. Value Diversity เป็นอะไรที่เรา Need ซึ่งกันและกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นคนสร้างสะพานขึ้นมา และ Bridge ความหลากหลายในพฤติกรรมองค์กรนั้น ความหลากหลายต้องเป็นพลัง หรือ Synergy สำคัญ ตัวอย่างที่ดีของการมี Synergy คือ Obama กับ จอมพลสฤษดิ์

- ตัวอย่าง Obama เชิญ Jue Bider และ Hilary มาทำงาน แม้ว่ามีอายุต่างกันเกือบ 20 ปี หรือแม้ว่าเป็นคู่แข่งกันมาก่อน เป็นต้น

- ดังนั้นการมี Network สำหรับคนที่หลากหลายจึงเป็นเรื่องสำคัญ

- ต้องให้เด็กเข้าใจผู้ใหญ่ เน้นเรื่องมารยาท และปิยะวาจา คนรุ่นเก่าต้องเข้าใจว่าเด็กรุ่นใหม่มีอะไรที่คนรุ่นเก่าไม่มี และคนรุ่นใหม่ก็ต้องเข้าใจว่าคนรุ่นเก่ามีประสบการณ์ มีความรอบคอบมากกว่า เป็นต้น

3. ทฤษฎีสร้างทุนมนุษย์ของดร.จีระ

จะเห็นว่า โดยเฉพาะ 3 Gen จะมีศักยภาพของทุนมนุษย์ไม่เท่ากัน ก็มี 2 อย่าง คือ เสริม Gen ที่ขาดเข้ามา หรือฝึกให้ Gen เหล่านั้นมีทุน (K) เพิ่มขึ้น

สังเกตได้ว่าคุณธรรมจริยธรรมของคนรุ่นใหม่หายไปหมดแล้ว คนรุ่นใหม่ บ้าเงิน บ้าตำแหน่ง บ้าอำนาจ ไม่มีความสุข เน้นการแข่งขัน ขาดการสมดุลในชีวิต

3. จาก Research ของ APM น่าสนใจอยากให้ท่านผู้อ่านลองนำไปพิจารณา

คนรุ่นใหม่จะตายที่ทุนทางวัฒนธรรมและอารมณ์ ไม่สำเร็จ ก็อาจฆ่าตัวตาย แต่คนรุ่นเก่าจะเน้นเรื่องความอดทน

5.ทฤษฎีที่จะช่วยเรื่องการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คนต่าง GEN” ดังต่อไปนี้

1. ทฤษฎีการสร้างทุนแห่งความสุข (Happiness Capital Development) และ

2. ทฤษฎี HRDS

• คนรุ่นใหม่บางครั้งบ้างาน บ้าผลประกอบการ บ้าการดำเนินชีวิต บางครั้งจึงนำตารางทุนแห่งความสุขไปใช้บ้างจะช่วยทำให้เกิดความสมดุล

• เราต้องยอมรับว่าคนที่เป็น Baby Boom แล้วสะสมประสบการณ์อาจมีประโยชน์ก็ได้ นักวิจัยต้องทำการศึกษาตรงนี้ให้ดี

• คนที่จะชี้นำสังคมถ้าเป็นสื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้สังคมมีปัญหา

• โลกเรามีทั้ง Messenger และ Message การนำสาระไปให้กับคนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การเชื่อมโยงต้องมีสาระด้วย , Work & Worker คนละคนกัน Work ในยุคใหม่ เป็นยุคที่ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่ Worker ทำงานแบบยุคใหม่ไม่ได้ ดังนั้นคนที่ว่างงานคือคนที่ทักษะล้าสมัย Worker เป็นภาษาของคนที่ใช้แรงงานไม่ได้ใช้สมอง

• ระมัดระวังให้ดีว่าคนรุ่นใหม่อยู่หน้าจอต้องพยายามให้พวกเขาออกไปที่ต่าง ๆ บ้าง

• ปัญหาอย่ามองให้เป็นปัญหาแต่มองให้เป็นโอกาสจะดีกว่า

การสรุปร่วมกัน

โคราช

• มนุษย์มีความจำเป็นมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศดังนั้นในองค์กรต่าง ๆ การจัดการมนุษย์จึงมีความสำคัญ การจัดการเรื่อง KM หรือการจัดการความรู้มีความจำเป็นก่อนเป็น LC จึงจำเป็นต้องหาวิธีว่าทำยังไงถึงเป็น LC ได้

• อย่างเช่นการมาเรียนให้ตรงเวลา รู้ขอบข่ายงาน รู้ว่าเราต้องส่งงาน ผ่าน blog อย่างไร ศึกษาเปลี่ยนแปลง เป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป เน้นเรื่องการเอาไปปรับใช้

• ถ้าจะเกิด LO ไม่มี LC เป็นไปไม่ได้

• ในวงการศึกษามีที่เด็กอ่านหนังสือไม่ออก คุณภาพการศึกษาต่ำ แสดงว่าไม่ให้ความสำคัญเรื่องทุนมนุษย์ แต่ไปเน้นที่บริหารอำนาจ องค์กรจึงไม่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

• ดร.จีระ บอกว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร

รู้ให้จริง, กรอบความคิดเปลี่ยนตลอดเวลา ,เรียนเป็นทีม Share Vision ,และสุดท้ายคือ System Thinking คนที่มีสมาธิส่วนใหญ่จะชนะ ต้องรู้จักการมี Concentration หมายถึงถ้าเราจะทำอะไรให้สำเร็จ เราต้องมุ่งมั่น จับประเด็น และมีความนิ่งเราก็จะรอด ซึ่งวันหนึ่งจะใช้หลักจากศาสนาพุทธมาช่วย

เลย

• Generation มีปัญหาและอุปสรรคในการทำงานอยู่เหมือนกัน คนรุ่นเก่าไม่เก่ง IT ไม่ชอบเรียนรู้ ส่วนคนรุ่นใหม่ เก่ง IT แต่ไม่ค่อยมีสัมมาคารวะ ดูถูกคนรุ่นเก่า การปรับเข้าหากันควรใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ เช่นเรื่องสัมมาคารวะ โดยพยายามให้ทำงานร่วมกันให้ได้ คนรุ่นเก่ามีความสุขุม และคิดรอบคอบมากกว่า ส่วนคนรุ่นใหม่เป็นลักษณะ Hyper ตัดสินใจเร็ว ดังนั้นจึงควรสร้างให้เกิดการทำงานร่วมกันจะเกิดประสิทธิภาพมากกว่า

• ทำงานที่อปท. มีการแบ่ง Generation รุ่นเก่า กับรุ่นใหม่ ตัวอย่างเช่นได้มีการจัดให้คนรุ่นใหม่ได้มีการเข้าวัดทุกวันพระ กับวันอาทิตย์ ให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ มีการปรับใช้ เน้นเรื่องการเอาทุนจริยธรรมเข้ามา

ภูเก็ต

• มองว่าคนรุ่นใหม่ ขาดจริยธรรม ขาดความคิดสร้างสรรค์ ส่วนคนรุ่นเก่าขาดเรื่อง IT แต่สามารถเรียนรู้ได้

• ผู้นำเก่งคนเป็นทีมจะดีกว่า

ดร.จีระ ให้ เสนอแนะไม่ว่าจะเป็นเรื่องปลูกหรือเก็บเกี่ยวว่ามีอะไรที่เราจะเพิ่มเติมได้ในการทำให้ Gen ทำงานร่วมกัน แล้วลองยกตัวอย่างงานวิจัยที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งที่เราทำได้เกี่ยวกับ Generation ถ้าทำเรื่อง Gen ทำได้หลายเรื่อง

ตอบคนที่ 1

• คนรุ่นเก่าเขาปลูกมาก่อน คนรุ่นเก่าการสอนจะลึกซึ้งกว่า เป็นลักษณะการปลูกมาแล้ว ส่วนคนรุ่นใหม่จะมาปลูกเลย หรือเก็บเกี่ยว สอนไม่เหมือนเดิม

• คนรุ่นเก่า เทคนิคการสอนเขาจะหลากหลาย

• เทคนิคการสอนของคนรุ่นใหม่ บางครั้งคนรุ่นเก่าไม่สามารถต่อยอดได้เลย

• วิธีการคือ เอาทั้ง 2 รุ่นมาร่วมกัน เอาผู้ปกครองเข้ามีส่วนร่วมในวิธีการสอนด้วย

• เรื่องการวิจัยเราตกแต่งมากทางการศึกษา เมืองนอกที่เจ๊งแล้วแล้วปรากฎว่าเราเอามาใช้

• การทำวิจัยควรดูหลักการสอนเปรียบเทียบว่าทำไมเด็กอ่านหนังสือไม่ออก มีวิธีการเปรียบเทียบกับเด็กรุ่นเก่า เอาสิ่งที่ดีของเด็กรุ่นเก่ามา ด้วยไม่ใช่ เน้นเรื่องนวัตกรรมอย่างเดียว

ตอบคนที่ 2

• การเรียนรู้ต้องเริ่มที่ผู้นำก่อน รู้อย่างไรถึงประสานกันได้ เช่นแต่ก่อนมีการนำนิทานเข้าไปสู่แนวคิด เช่นเรื่องการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

• คนรุ่นใหม่ทำอย่างไรให้เด็กสนใจ ให้เอา IT มาจับ เช่นจะแต่งเรื่องนี้ได้อย่างไร สามารถเรียนรู้ผลสรุปได้

• เรื่อง วิจัยเน้นเรื่องการจัดระบบการศึกษาแบบภาคีเครือข่าย สถานีอนามัย หรือบริการสาธารณสุข เน้นการร่วมด้วยช่วยกันทั้ง 5 ฝ่ายทางด้านการจัดการศึกษา

วัดมีส่วนช่วยสร้างคุณธรรมจริยธรรม กทม. มีงบประมาณให้แล้ว ให้โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

ตอบคนที่ 3

• การปลูกให้ถูกที่ถูกทางถูกคน เช่นมีความสามารถอย่างหนึ่งแต่ไปยัดเยียดความสามารถอีกอย่างหนึ่งให้เขา ทำให้เป็นการศูนย์เสียบุคลากรไป

• เนื้อหาที่เรียนกับอาจารย์เห็นด้วยเรื่องตารางการแบ่งแต่ละ Gen เช่น Gen Y ทุนทางจริยธรรมจะน้อย เป็นต้น

• เรียนรู้แนวทางการปลูกคนให้ถูกที่ถูกเวลา เช่น Gen Y ควรจะปลูกเรื่องตรงไหน

• ดร.จีระบอกว่า ข้อดีคือการปลูกจุดอ่อนแต่ละ Gen หลังจากนั้นต้องมีการบริหาร ต้องเข้าใจ Manner

ตอบคนที่ 4

• การปรับตัวคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าให้จูนเข้าหากัน ให้มีการประเมินดูองค์กรข้างล่าง มีการประเมินภายใน นำเอาผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในการศึกษานั้นเป็นทีมในการประเมินให้เขารับรู้แล้วมีการปรับตัวใน Case ที่ทางการศึกษาพูดมา

• รุ่นเก่ารุ่นใหม่จะมีการปรับตัวเข้าหากันโดยนำมาสู่ที่การวิจัยได้ โดยผู้ปกครองสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนา

• ดร.จีระ เสนอว่าให้ใช้ Gen เป็นหลัก จะได้รู้ว่าจุดอ่อนจุดแข็ง เป็นอย่างไร ให้ดูตรงนี้ก่อน ถ้าจะปรับต้องปรับจุดอ่อนของ Gen Y ให้ได้ แล้วปรับจุดอ่อนของ Baby Boom แล้วปรับจุดอ่อนของ Gen X

ตอบคนที่ 5

• ควรสอนให้เด็น Gen X,Y ว่าที่ปลูกฝังเด็กทำเพื่ออะไรทำเพื่อใคร ปลูกฝังจริยธรรม สอนให้เด็กไม่ต้องมองโลกในมิติเดียว

• งานวิจัยควรไปศึกษาดูงานจากต่างประเทศแล้วเอามาเป็น Benchmarking

ตอบคนที่ 6

• Gen มีหลากหลาย ใช้ วงกลม 4 วง คือ Diversity Workforce สร้างบรรยากาศในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร เป็นDNA ที่ฝังในพนักงานทุกคน และเน้นการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรทุกระดับ

• วัฒนธรรมองค์กรต้องรองรับความหลากหลาย

• ปรับระบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่น

• จาก Workforce เอา HRDS มาปรับใช้ด้วย

• สังคม Online เร็วมากต้องวิเคราะห์แยกแยะให้เป็น

• เทคนิคคุณธรรม ความซื่อสัตย์ในหัวใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือทุนทางจริยธรรม อย่างเช่น SCG เน้นเรื่องการตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ ใช้การพัฒนาร่วมกัน ตัวอย่างบริษัทที่ดีคือ SCG ,NOKCT ที่เน้นเรื่องการเสริมสร้างความสุขให้พนักงานได้อย่างไร

ตอบคนที่ 7

• การปลูกฝังการทำงานให้มีความสุข ให้ทำงานเป็นทีมโดยรวมแต่ละGenเข้ามาหากัน ให้มีความหลากหลาย และทำงานร่วมกันให้ได้

ตอบคนที่ 8

• ตามหลักพุทธศาสนาจะมีทั้งรูปธรรม กับนามธรรม

• การโอบอ้อมอารี คือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันให้สิ่งของภายนอก

• วจีไพเราะ คือพูดจาไพเราะ ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก

• สงเคราะห์เจือจาง เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น

• การวิจัย ลองตั้งสมมุติฐานมีทั้ง 2 ส่วนคือ ใน 3 กลุ่มคือ กลุ่ม Baby Boom ,Gen X,Gen Y นี้มีผลอ้างอิงตามทฤษฎีของอาจารย์มีผลอย่างไรแล้วส่งผลกับประสิทธิภาพองค์กรได้อย่างไร เพื่อมาเทียบเคียงได้

ตอบคนที่ 9

• คิดว่าในทฤษฎี 8K’s ,5K’s เป็นประโยชน์มากในการนำมาปรับใช้เรื่อง Gen โดยเฉพาะเรื่องทุนทางจริยธรรม

• วิธีการที่จะนำไปปรับใช้ ทุนทางจริยธรรม ช่วยในการพัฒนา Thesis

• มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มจากทุนทางจริยธรรม แล้วควรเริ่มตั้งแต่ครอบครัว และโรงเรียน เช่นการรักษาศิลเป็นเบื้องต้นของการพัฒนาทุนทางจริยธรรม

• ทฤษฎี 2 R’s ก็เป็นอีกตัวอย่างที่ดีที่สามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนา Gen ได้

สรุปโดย ดร.จีระ

• Generation Y ควรเอาใจใส่เยอะหน่อยในเรื่องทุนทางวัฒนธรรม จริยธรรม และอารมณ์

• Gen X ควรศึกษาเรื่อง IT เพิ่มขึ้น

• HR Manager ควรให้ความสนใจเรื่องการสร้าง Benchmark ,Quality ถึงไปสู่ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นได้

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ (ศูนย์ภูเก็ต) รหัสนักศึกษา 53484931029

จากการเรียนในวันที่ 2 ตุลาคม 2554 อาจารย์ได้นำประเด็นต่างๆ เพื่อมาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ในหลายประเด็นด้วยกัน คือ

Assignment 1 ถ้าเรามีของดีในประเทศไทย เอาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลักจะให้ติดอันดับใน ASEAN ได้อย่างไรนั้น จากกรณีทุ่งดอกกระเจียว อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ มีส่วนที่จะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากเพื่อนๆ คือ

-การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในด้าน การอำนวยความสะดวก ด้าน อาหาร ที่พัก ขนส่ง ที่มีความเชื่อมโยงและสะดวกสบายและส่วนที่จะต้องเด่นคือการต้อนรับแบบไทย งามอย่างไทย

-ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

-แผนการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ครอบคลุมทั้งในระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ เพื่อให้มีการพัฒนาสู่ความยั่งยืน เน้นความโดดเด่นด้านเอกลักษณ์วัฒนธรรมของความเป็นไทย และเน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

Assignment 2 เป็นเครื่องมือวัดมาตรฐานที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบการทำงานในหน่วยงาน โดยมีคำอธิบายทั้ง 5 คำสำคัญ ดังนี้

1. Benchmarking คือกระบวนการจัดการความรู้ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice)การศึกษาจากประการณ์ตรงขององค์กรอื่นแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม ซึ่งจะเป็นการประหยัดเวลา และลดการลองผิดลองถูก โดยกระบวนการจะมุ่งเน้นที่การปฏิบัติที่เป็นเลิศมากกว่ามุ่งเน้นวัดผลงานที่ปฏิบัติงาน ผลที่ได้คือ ทำให้รู้ว่าใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดีที่สุดและมีวิธีปฏิบัติอย่างไร โดยการเปรียบเทียบอาจจะเปรียบเทียบด้านใดด้านหนึ่ง เช่น

-Performance Benchmarking เปรียบเทียบเฉพาะผลการปฏิบัติงานหรือตัวชี้วัด เพื่อดูความสามารถในการปฏิบัติงานของกิจกรรมหรือผลลัพธ์การทำงาน

-Process Benchmarking เปรียบเทียบกระบวนการการทำงานหรือวิธีปฏิบัติงาน เน้นการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี (Best practice)

-Product Benchmarking เปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าเป็นการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์หรือบริการ

-Strategy Benchmarking เปรียบเทียบยุทธศาสตร์ระหว่างองค์กร ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระดับสูง โดยหน่วยงานที่มียุทธศาสตร์ที่ดีจะมีทิศทางในการเดินไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนและทำให้การวางกลยุทธ์ในการบริหารงานในองค์กรมีแนวทางที่ชัดเจนขึ้น

หัวใจสำคัญของการทำ Benchmarking คือทำให้องค์กรมีวิธีการปรับปรุงที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด ทำให้ทราบถึงศักยภาพหรือขีดความสามารถที่แท้จริงขององค์กรตนเอง ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

2. Best practice เป็นวิธีการทำงานที่เป็นเลิศในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ในแต่ละเรื่องซึ่งเป็นผลมาจากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริงและสรุปความรู้ รวมทั้งประสบการณ์นำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกหน่วยงานจากหลายช่องทาง ทั้งตัวผู้นำ ผู้ร่วมงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือภาวะปัญหาและการริเริ่ม สร้างสรรค์ การพัฒนาที่มีขั้นตอน มีความสำคัญ คือทำให้ต่อยอดความรู้ให้แตกแขนงออกไปอย่างกว้างขวาง คนในองค์กรทำงานที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ

Best practiceจึงเป็นบทสรุปของวิธีการปฏิบัติที่เป็น Tacit knowledge และเผยแพร่เป็น

Explicit knowledgeเพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปทดลองปฏิบัติ

3. Global Standard คำว่า Standard หมายถึง มาตรฐาน เกณฑ์ กฏเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่กำหนดขึ้นเป็นสากลซึ่งใช้ร่วมกันเป็นมาตรฐานสากลทั่วโลก และประเทศที่เป็นสมาชิกจะต้องปฏิบัติตาม

ตัวอย่าง ในระดับสากลมี่ใช้ในระบบการจัดการด้านอาหารที่เป็นที่ยอมรับ และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร คือ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point ) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก

4. Quality คือ การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม ซึ่งสามารถใช้ได้กับ

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Qoals)

ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services) เป็นต้น

5. Excellence หรือ ความเป็นเลิศ โดยองค์กรที่เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศในองค์กรควรมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ

-องค์กรที่ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน

-องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือสังคม

-เป็นองค์กรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มใหักับผลผลิตที่มีคุณค่าต่อการลงทุนระยะยาว

ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ คือ

People บุคคลากรที่มุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติ

Care of Customer การใส่ใจต่อลูกค้า

Constant Innovation การสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

Leadership การมีภาวะผู้นำ และจะเป็นตัวเชื่อม 3 ปัจจัยเข้าด้วยกัน รวมทั้งมี . การวางแผนกลยุทธเชิงรุก บริหารงานตามทฤษฎี Blue Ocean

บริหารคนด้วย ทฤษฎี 8k’s 5k’s ของอาจารย์จีระ

ตัวอย่าง องค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพ ที่มีเกณฑ์เป็นที่ยอมรับเป็นสากล เช่น รางวัลคุณภาพแห่งชาติ MBNQA (Malcolm Baldrige Nation Quality Award) ในประเทศสหรัฐอเมริกา และในขณะนี้ประเทศต่างๆ ได้นำมาประยุกต์เป็นรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ชื่อ SQA (Singapore Quality Award) ประเทศไทย ชื่อ TQA (Thailand Quality Award) เป็นต้น

Assignment 3 ความสำคัญของ CEO ,Smart HR , Non HR ต่อองค์กร

• CEO (Chief Executive Officer) หมายถึง บุคคลที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่จากคณะกรรมการอำนวยการ หรือบอร์ดของบริษัท ให้มีอำนาจในการจัดการ ซึ่งรวมถึงการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ และการใช้อำนาจจัดการบริษัทอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จึงเป็นผู้ที่มีอำนาจและความรับผิดชอบสูงสุดในองค์การหรือบริษัทนั้น โดยมีแนวคิดมาจากระบบธุรกิจอเมริกัน ที่นิยมการบริหารงานที่ค่อนข้างเด็ดขาด รวดเร็ว และการตัดสินสินที่ฉับพลัน เพราะในวงการธุรกิจ เต็มไปด้วยการแข่งขัน ฉกฉวยแย่งชิงโอกาส ไม่ว่าจะเป็นผลิต หรือการช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลควบคุมการใช้บุคลากรให้เต็มศักยภาพ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญ คือเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญที่จะทำให้บริษัท มีกำไร หรือขาดทุน มีความเจริญก้าวหน้าหรือความอยู่รอดขององค์การ ดังนั้นผู้ที่เป็น CEO จึงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และความสามารถสูง

ในภาคราชการ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูประบบราชการ (กพร.)ได้มีการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการบริหารงานในระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่เป็นCEOและเป็นผู้บริหารสูงสุดในระดับจังหวัด

บทบาทโดยทั่วไปของ CEOคือ

1. ในฐานะผู้นำเป็นผู้แทนองค์กร เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำในองค์กร

2. ในฐานะผู้บริหารวางกลยุทธ์ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ปกครองดูแล บริหารจัดการองค์กร

3. ในฐานะผู้ตัดสินใจตัดสินใจ แนะนำการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร นำเสนอนโยบาย

4. ในฐานะผู้จัดการจัดการทรัพยากรในองค์กร ปรับปรุงแผนงาน

5. ในฐานะนักพัฒนานำสิ่งใหม่มาเพื่อความเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยี ความรู้

• Smart HR (Human Resource) แนวความคิดของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา จึงทำให้มุมมองในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) มีความแตกต่างกันด้วย โดยหลักๆมีสาระที่สำคัญ คือ

1. เน้นให้ควบคุมตนเอง

2. เน้นการทำ งานแบบมีแผน

3. มีการวางแผนระยะยาว

4. มีกำ หนดอำ นาจหน้าที่หลายด้าน

5. มององค์การแบบสมัยปัจจุบัน

6. ให้ความสนใจในสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล

7. ปฏิบัติต่อคนในองค์การแตกต่างกัน

8. มีการนำ ระบบ IT มาใช้ในการเก็บข้อมูล

9. มองสภาพแวดล้อมขององค์การมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลง

10. มองบุคคลในองค์การแตกต่างกัน

11. มีการกำ หนดบทบาทของบุคคลที่ยืดหยุ่นมากกว่า

12. มองประโยชน์ที่จะได้รับจากบุคคลเป็นหลัก

13. มองบุคคลเป็นสินทรัพย์

ดังนั้นองค์กรจะต้องให้ความสำคัญในการสรรหาคนดีมีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับงาน พัฒนาพนักงานที่ได้มา รักษาพนักงานที่ดีไว้กับองค์กร และจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร โดยใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และหลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ยังคงใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย คือ” Put the right man on the right job at the right time”

• Non HR คือสายงานอื่นที่ไม่ได้มีหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยตรง และจะต้องทำงานใกล้ชิดกับ HRขององค์กรเพื่อให้สามารถส่งมอบงานให้กับองค์กรได้ตามเป้าหมาย โดย Non HR จะอยู่ใกล้ชิดกับบุคลากรในองค์กร และจะเป็นผู้สร้างบรรยากาศในการทำงาน สร้างวัฒนธรรมขององค์กร สร้างแนวร่วมในการทำงาน รวมทั้งการทำงานแบบบูรณาการกับภาคีต่างๆ เป็นต้น

ศูนย์การศึกษาภูเก็ต นำเสนอโครงการ Study Tour

กำหนดการ

โครงการทัศนศึกษา (Study Tour)

เรื่อง “การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต”

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ เทศบาลนครภูเก็ต

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. ลงทะเบียน

๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๐ น. นายกเทศมนตรีนครภูเก็ตกล่าวต้อนรับ

๐๙.๔๐ – ๑๑.๐๐ น. ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , ผู้บริหารเทศบาล , นักศึกษา และผู้เข้าร่วมโครงการฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

๑๑.๐๐ – ๑๑.๑๕ น. รับประทานอาหารว่าง

๑๑.๑๕ – ๑๒.๑๕ น. นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวสรุป

๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๔๕ – ๑๕.๐๐ น. เยี่ยมชมและฟังบรรยายพิเศษการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครภูเก็ต ณ ศูนย์รวมการกำจัดขยะ

๑๕.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ชมถนนสายวัฒนธรรม มนต์เสน่ห์แห่งภูเก็ต

๑๖.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. รับประทานอาหารว่าง - ตามอัธยาศัย

* หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาตามความเหมาะสม

การบ้าน Work Shop 9 ตุลาคม 2554

1. สรุป KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร อธิบายอย่างชัดเจน

การจัดการความรู้ (Knowledge Management ) เป็น กระบวนการที่มีระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด

การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

ส่วนองค์กรเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นขั้นตอนต่อจาก KM ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนา การเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ(Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กร (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกันและพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน การมีองค์กรแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการ ในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน

สรุปได้ว่า KM เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับระบบการประมวลข้อมูล ดึงเอาความรู้ที่มีอยู่มาจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ส่วน LO เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์กรโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์กร(Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กร (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและ การแข่งขัน

2. LO สำคัญอย่างไรกับองค์กร

องค์กรการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) เป็นกระบวนการบริหารองค์กรรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา ความเป็นผู้นำและการเรียนรู้ของบุคลากรให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน นอกจากนี้ องค์กรการเรียนรู้จะเน้นในเรื่องของการทำงานเป็นทีม (Teamwork) มีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์กร รวมทั้งมีการเสริมสร้างความคิดใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำงานอย่างเป็นระบบ เมื่อบุคลากรได้พัฒนาตนเอง มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างมีคุณภาพ จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่งมั่นคง มีศักยภาพในการพัฒนางานส่งผลให้องค์กรเกิดความก้าวหน้า มีความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถอยู่รอดและเติบโตก้าวหน้าต่อไป อย่างรวดเร็ว

3. อุปสรรคของ LO คืออะไร บอกมาสามเรื่อง

3.1 การที่ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน อย่างแท้จริง ทำให้คนในองค์กรไม่เกิดความเข้าใจในงานของตนเอง ขาดศักยภาพ การมอบหมายงานในองค์กรไม่สอดคล้องกับความสามารถของผู้ปฎิบัติ จะส่งผลให้องค์กรอ่อนแอ เสียเปรียบ ในการแข่งขัน พัฒนาได้ช้า

3.2 การไม่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม แนวคิดใหม่ๆ และการสร้างนวัตกรรมซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน เพื่อเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง

3.3 ขาดการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริง ทำให้ององค์กรไม่มีศักยภาพ ขาดความเข้มแข็ง

นายอำนวย คุ้มบ้าน

ศูนย์การศึกษาภูเก็ต นำเสนอโครงการ Study Tour

เรื่อง “การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต”

ขอเพิ่มเติมข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้จะมีผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต

ผู้นำชุมชน และเครือข่าย การจัดการทุนมนุษย์ของ เทศบาลนครภูเก็ต

เข้าร่วมงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวนมาก

เพื่อค้นหาการสู่ความเป็นเลิศทำได้อย่างไร

ทุกท่านจะได้ระดมความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเต็มที่

เรียนนักศึกษาที่เดินทางไปทัศนศึกษาที่จีนทุกท่าน

        อ.จีระให้เตรียมข้อมูลเพื่อเเลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยที่เราจะไปดูงานค่ะ โดยให้มีตัวเเทนศูนย์โคราช 1 ท่าน และที่กรุงเทพ 1 ท่าน

       การ Present การเรียนที่มหาวิทยาลัยในฐานะนักศึกษาปริญญาเอก บทบาทของนักศึกษากับสังคมไทย การให้ความสำคัญของทุนมนุษย์ในประเทศไทย โดยเน้นที่การเเลกเปลี่ยนความรู้ด้านทุนมนุษย์ สังคม วัฒนธรรมของไทยเเละจีนค่ะ หรือนักศึกษาเห็นว่ามีหัวข้อ ประเด็นใดที่น่าสนใจน่าจะนำเสนอให้ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยก็สามารถนำเสนอได้ค่ะ

       อ.จีระ อยากให้นักศึกษาเเสดงบทบาทและศักยภาพให้อาจารย์และนักเรียนในมหาวิทยาลัยประเทศจีนได้เห็นค่ะ

                                                                        เอ้

ชื่อ นาย อดุลย์ อยู่ยืน ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484931006

Cell phone 081 876 4025 E-mail: [email protected]; www.adulyouyoun.com

ชื่อชิ้นงาน KM vs LO

Km การจัดการความรู้

การจัดการความรู้เปรียบบันได 4ขั้นการเรียนรู้

1 ไม่รู้ คนส่วนมาก มักจะเข้าข่ายนี้ ไม่รู้ไม่ชี้ vs ไม่รู้แต่ชี้

2 รับรู้ บางส่วนรับรู้มีการพัฒนา รับมาทำตาม vs รับมาแต่ไม่ทำ

3 เรียนรู้ เริ่มสนใจจริงจะศึกษาเพิ่มเติม ทำเป็นรู้จริง vs รู้จำ

4 รู้แจ้ง กล้าเปลี่ยนแปลงไม่ติดกรอบ

Km model

Vision มีการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย

Sharing มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยมีผู้นำทำ

Asset มีการเก็บความรู้เพื่อนำไปใช้ในอนาคตต่อไปได้ ในรูปinternet

Lo องค์การแห่งการเรียนรู้

แบ่งได้3ระดับ

1ระดับองค์กร ควรจะมีvision เหมือนกัน

2ระดับกลุ่ม team learning มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

3ระดับบุคคล บุคคลก็ต้องมีข้อมูลที่จะมาแลกเปลี่ยน ดังนั้นต้องใผ่หาข้อมูล

จากการจัดการความรู้ สู่การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

จะเห็นว่าการจัดการทุกระดับจะต้องเกี่ยวเนื่องกับคน ไม่ว่าจะต้องมีผู้นำในการนำพาองค์การไปทิศทางใด ผู้ร่วมจะหาข้อมูล และนำมาแลกเปลี่ยนกัน

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง LO สำคัญอย่างไร และ LO มีอปสรรค์อย่างไร

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)

ในวันนี้ดิฉันขอนำทฤษฏี Learning Organizationg . ในกรณีประเด็นเกี่ยวกับทฤษฏีดิฉันคิดว่า Single Loop Learning การเรียนรู้เกิดแก่องค์กร"น้ำท่วม"ในการเรียนรู้ที่เกิดในจังหวัดอยุธยา ถ้าองค์กรทำงานบรรลุผลที่ต้องการ .....ส่วนDouble Loop

Learning ในกรณี " น้ำท่วม " เมื่อการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับผลการกระทำ

อิเช่น ผู้ว่าราชการ้องขอกระสอบทราย แต่ทางรัฐบาลส่งกระสอบทรายที่ไม่สามารถใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ เพราะกระสอบทรายเป็นกระสอบที่ข้างนอกเป็นกระดาษที่มีความลื่นซึ่งเมื่อบรรจุทรายไปวางซ้อนๆกัน ทำให้เกิดลื่นไหล ในประเด็นน้ดิฉันคิดว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมดูๆก็เป็นธรรมดา แต่การแก้ปัญหาเป็นระบบโดยเฉพาะ การให้ข่าวกับชาวบ้าน ในขณะนี้ " คนไทยยังต้องรอดูใจ

รอคูฝีมือของรัฐบาล ท่ามกลางสถาณการณ์ปัญหาที่รุนแรง ที่เร้อรังมานาน " ซึ่งดิฉันคิดว่า Reputation and Trust พร้อมทั้ง

Skill and Competencies จะสำเร็จนะค่ะ

ด้วยความเคารพ ขอบคุณ

ขอบคุณ คุณหญิงและน้องอานนท์มากนะคะ

นางสาวพรรณวดี ขำจริง(ภูเก็ต)

เรื่อง LO สำคัญอย่างไร กับชีวิตการทำงานที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร (ศูนย์ภูเก็ต)

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร เลขประจำตัว 53484931021

นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ ศูนย์ภูเก็ต

จากโครงการทัศนศึกษา(Study Tour) เรื่อง “การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต”

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับ ผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต และนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

วันที่ 19 ตุลาคม 2554 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เดินทางโดย TG.211 ถึงภูเก็ตเวลา 19.20 น.ด้วยการต้อนรับจาก นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต หลังจากนั้นได้รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ต่อด้วยการเข้าพักที่โรงแรมภูเก็ตรอแยลซิตี้ แทนที่ท่านอาจารย์จะเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทาง แต่ท่านกับบอกให้เวลาที่เหลือช่วงค่ำคืนนี้ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ 21.00-24.00 น.พบปะพูดคุยกัน โดยกระผมมองดูใบหน้าของท่านมีรอยยิ้มด้วยความเต็มใจที่ต้องการจะได้พบปะพูดคุยกับลูกศิษย์ตัวต่อตัวเพื่อให้เกิดความรู้ ถือเป็นการปลูก แล้วผลของการเก็บเกี่ยว นำไปสู่งานวิทยานิพนธ์ โดยกระผม นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร ตำแหน่งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ได้พูดคุยกับท่านเรื่องสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับ ขยะ ซึ่งในอีก 5 – 10ปีข้างหน้าจะเป็นปัญหากับการพัฒนาของเมืองท่องเที่ยวภุเก็ต ปัจจุบันนี้เทศบาลนครภูเก็ต เป็นศูนย์รวมการกำจัดขยะ ของจังหวัดภูเก็ต งานวิจัยนั้นได้ตั้งคำถาม มีแนวทางอย่างไรต่อการจัดการขยะระดับครัวเรือนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต ใช้ชื่อเรื่อง “กระบวนการมีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะระดับครัวเรือนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต” ซึ่งกระผมวิเคราะห์ว่า การได้รับความรู้จากท่านถือเป็นการที่ท่านได้ใช้การปลูกให้กับศิษย์ จากนั้นศิษย์ก็ต้องนำสิ่งที่ปลูกมาพัฒนาตัวเอง หรือองค์กร ให้เป็นการเก็บเกี่ยวที่ก่อให้เกิดประโยชน์ และความสุขอย่างแท้จริง

เช้าวันที่ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 07.30 น.นัดหมายทานอาหารเช้าพื้นเมืองชาวภูเก็ต มีกาแฟโบราณ(โกปี้) หมี่ซั่ว ปาท่องโก๋ ขนมจีบ(เซ่วโป๋ย) จากนั้น 09.00 – 09.30 น.ลงทะเบียน มีนักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์ภูเก็ต ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วน ของเทศบาลนครภูเก็ต ประธานชุมชน Old Phuket Town และสมาคมเพอรานากัน

09.30 – 12.30 น. เป็นการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยคุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวต้อนรับ ท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เจ้าของ 10 ทฤษฏี ประกอบด้วย HR, ทฤษฏี 3 วงกลม, ทฤษฏี 8 k’s, ทฤษฏี 5 k’s, ทฤษฏี 4 L’s, ทฤษฏี 2 R’s, ทฤษฏี 2 I’s, ทฤษฏี C&E, ทฤษฏี HRDS, ทฤษฏี 3 L’s และทฤษฏีที่ท่านได้พบในรุ่นนี้คือ การปลูกกับการเก็บเกี่ยว ส่วนวิสัยทัศน์ของเทศบาลนครภูเก็ต “ สร้างนครภูเก็ต ให้เป็นนครแห่งความสุข และน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 8 ความสุข

ด้านการศึกษา เน้นการศึกษาในระบบ มีระดับอนุบาล ถึง มัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งเสริมให้เกิดภาษาที่สอง ภาษาอังกฤษ และภาษาที่สาม ภาษาจีน เน้นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษานอกระบบ เปิดศูนย์ ITC และการศึกษาตามอัธยาศัย

ด้านสังคม เน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ดูแลและจัดสวัสดิการแก่คนทุกวัย

ด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ การจัดการน้ำ เน้นพื้นที่สีเขียว

ด้านคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสุขภาพโดยดูแลแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนกระทั่งทุกคนที่ต้องจากลาโลกนี้

ด้านการบริหารจัดการ เน้นการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล มองประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการน้ำทั้งน้ำดีและน้ำเสีย การคมนาคมดี ถนนสวย ไฟฟ้าสว่าง

ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมือง เน้นการสร้างงานจากฝีมือและการบริการเพื่อรายได้

ด้านการเสริมสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของเมือง สนับสนุนย่านการค้าเมืองเก่า OLD PHUKET TOWN วัฒนธรรมอาคาร ชิโน – โปรตุกีซ การแต่งกาย อาหารพื้นเมือง และประเพณี แต่งงาน กินผัก เป็นต้น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของภาคเช้า ทำให้กระผมวิเคราะห์ได้ว่า คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ได้ใช้ ทฤษฏี 2 R’s การมองความจริง ถึงสิ่งที่บุคลากรในองค์กรและประชาชนต้องการ รวมทั้งการมองตรงประเด็น ซึ่งมองถึงอนาคต โดยการเป็นผู้บริหารที่เปิดใจให้กว้าง Open Mind ใช้การอ่อนน้อมถ่อมตน โดยมองถึงความสำเร็จและรางวัลที่ได้รับไม่ใช่ได้มาจากท่านเพียงผู้เดียวโดยใช้ ทฤษฏี HRDS คือ การสร้างความสุข การยอมรับนับถือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความยั่งยืนที่มองเป้าหมายระยะยาว พร้อมทั้งการใช้ ทฤษฏี 4 L’s วิธีการ บรรยากาศ โอกาส และชุมชนแห่งการเรียนรู้ เข้ามาเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เกิดจากการมีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ซึ่ง 8 ความสุขนั้นมาจากที่มาของ ทฤษฏี 8 k’s, ทฤษฏี 5 k’s นั่นเอง จากนั้นท้องเริ่มบอกว่า “หิว” จึงได้เดินทางไปที่ ร้านอาหารปากน้ำซีฟู๊ด

13.45 – 15.15 น. เยี่ยมชมและฟังการบรรยายพิเศษการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครภูเก็ต ณ ศูนย์รวมการกำจัดขยะ ซึ่งประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 315,961 คน ประชากรแฝง 300,000 คน และมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 5,300,000 คน มีปริมาณขยะ วันละ 530 ตัน และมีอัตราเพิ่มกว่า 7 % ต่อปี องค์ประกอบของขยะ 85.40% เป็นขยะย่อยได้ 20.58% เป็นขยะขายได้ 14% เป็นขยะทั่วไป และ0.02% เป็นขยะอันตราย ระบบเตาเผามีการเผาขยะได้ 250 ตันต่อวันซึ่งการลงทุนของโรงงานเตาเผาขยะได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ส่วนขยะที่เหลืออีก 280 ตันต่อวันใช้การฝังกลบ ปัจจุบันนี้ได้รับเงินลงทุนจากประเทศจีนสร้างเตาเผาใหม่ ประมาณ 970 ล้านบาท เผาขยะได้ 700 ตันต่อวัน เริ่มดำเนินการได้ประมาณเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งการบริหารการจัดการกำจัดขยะของเทศบาลนครภูเก็ตได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่โรงเตาเผาอยู่ในเขตเมืองเชื่อมต่อกับทะเลในเมืองซึ่งเป็นสวนสาธารณพื้นที่สีเขียว เป็นศูนย์กีฬา และเป็นชายหาดทะเลในเขตเมืองที่เดียว จากความสำเร็จนี้กระผมวิเคราะห์ได้ว่า คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เกิดจากการนำ HR ซึ่งเป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากภาพใหญ่ Macro ไปจนถึงระดับองค์กร Micro พร้อมการใช้ทฤษฏี C&E การเชื่อมต่อกัน โดยนักลงทุนจากประเทศจีน ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการใช้ทฤษฏี HRDS คือ การสร้างความสุข การยอมรับนับถือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความยั่งยืนที่มองเป้าหมายระยะยาว การบริหารดังกล่าวสอดคล้องกับการกล่าวชมจากท่านอาจารย์ว่า คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ควรได้รับรางวัลแม๊กไซไซ

15.20 – 17.30 น. เยี่ยมชมถนนสายวัฒนธรรม ย่านการค้าเมืองเก่า OLD PHUKET TOWN วัฒนธรรมอาคาร ชิโน – โปรตุกีซ การแต่งกายด้วยชุดหย่าหยา อาหารพื้นเมือง และประเพณี แต่งงาน ซึ่งได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของรากเหง้าบรรพบุรุษ จากหลักฐาน เช่น ตู้เซฟ ที่ ปรากฏ ปี ค.ศ. 1843 ถ้วย ชามกระเบื้องลวดลายจีน ฮอลันดา เป็นต้น ความเป็นอยู่ของชาวไทยจีน ไทยมุสลิม ไทยซิกซ์ คริสตจักร ที่ประกอบธุรกิจการค้าและอยู่ร่วมกันได้จนทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน เป็นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ได้รับความรู้ รับประทานอาหารว่างพื้นเมือง เช่น ขนมผิง เต้าส้อ ม่อหล้าว ตามด้วยโอเอ๋ว โดยผู้ที่เป็นไกด์นำชมเป็นเจ้าของกิจการร้านค้าย่านเมืองเก่า ทำให้เกิดความประทับใจแก่ท่านอาจารย์และคณะ จนมีคำกล่าวจากท่านอาจารย์ ว่า ท่านมาภูเก็ตหลายครั้งไม่เคยทราบเลยว่า ยังมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ดีเช่นนี้ ซึ่งท่านรับว่าจะได้นำสิ่งที่ดีที่ได้พบและเห็นนำไปตีแผ่ให้ทุกคนได้รับทราบ พร้อมทั้งลงนามในสมุดเยี่ยมชมและถ่ายภาพร่วมกัน ดังที่ทุกท่านได้เห็น จากนั้นท่านต้องรีบเดินทางไปยังสนามบินนานาชาติภูเก็ต และเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

จากการทัศนศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ครั้งนี้ กระผมวิเคราะห์ได้ว่า คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นผู้บริหารที่นำทฤษฎี ทั้ง 10 ทฤษฎี และการปลูกกับการเก็บเกี่ยว ดังนี้ HR, ทฤษฏี 3 วงกลม, ทฤษฏี 8 k’s, ทฤษฏี 5 k’s, ทฤษฏี 4 L’s, ทฤษฏี 2 R’s, ทฤษฏี 2 I’s, ทฤษฏี C&E, ทฤษฏี HRDS, ทฤษฏี 3 L’s และทฤษฏีที่ท่านได้พบในรุ่นนี้คือ การปลูกกับการเก็บเกี่ยว มาบริหารเทศบาลนครภูเก็ต ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “ สร้างนครภูเก็ต ให้เป็นนครแห่งความสุข และน่าอยู่อย่างยั่งยืน”

โครงการทัศนศึกษา (Study Tour) ของนักศึกษา ศูนย์ภูเก็ต วันที่ 20 ตุลาคม 2554 (ฉบับย่อ)

ก่อนดำเนินการ ผม (นายกมล ค้าไกล) และเพื่อนๆ 5 – 6 คน ร่วมกันคิดโครงการ Study Tour เพื่อทดแทนการเดินทางไปประเทศจีนโครงการ Study Tour ของนักศึกษาฯ ที่ส่วนใหญ่ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โดยเริ่มจากให้พี่น้องคู่แฝด น้องปิ๊ก (นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์) น้องปั๊ก (นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์) และน้องเต้าวู้ (นางสาว พรรณวดี ขำจริง) อาสารับเขียนโครงการฯ ส่วนผมติดต่อประสานงานกับคุณเอ (คุณเอราวรรณ แก้วเนื้ออ่อน) และคุณเอ (คุณวราภรณ์ ชูภักดี) เลขาฯท่านอาจารย์ เพื่อนำเสนอโครงการและรายละเอียดให้ท่านอาจารย์ทราบ พี่ใหญ่ของพวกเรา พี่นวย (นายอำนวย คุ้มบ้าน) พี่ก๋วน (นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร) ไม่รอช้าทำหน้าที่ประสานกับ เทศบาลนครภูเก็ตทันที ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านนายกเทศมนตรี (นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา) ด้วยความเต็มใจยิ่ง ท่านนายกฯขอรายละเอียดเกี่ยวกับอาจารย์จีระฯ พี่นวยนำเสนอหนังสือของอาจารย์ และ 10 ทฤษฎี ท่านนายกฯขอนำไปศึกษาเป็นการบ้านก่อนสัก 3 – 4 คืน (เกิดความเคารพและนับถือทันที เพราะท่านอาจารย์ของพวกเราดัง มีชื่อเสียง ช่วยไม่ได้) ...สิ่งที่ผมเสียดายคือเพื่อนๆ ศูนย์เลย และโคราช ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมกันได้ โครงการดีๆแบบนี้ นานๆจะมีสักทีในรอบปี...หลังจากนั้นพี่อ๋อย(นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ)พี่หยิน (นางจงดี พฤกษารักษ์) และคุณจู้ (นางสาวปรารถนา เชาวน์เสฎฐกุล) ซึ่งเป็นนักศึกษาต่างจังหวัด ถึงกับลางานล่วงหน้ากันหลายวันเลย ทุกคนได้ระดมความคิด นำรูปแบบการทำโครงการมาถก เพื่อหาแนวทางการทำโครงการให้ดีที่สุด สมกับเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์จีระ นัดกันทำเอกสาร อุปกรณ์ และเข้าดูสถานที่ ช่วยกัน Brainstorm มีเห็นต่างกันบ้าง แต่เมื่อจุดหมายร่วมกัน อะไรก็สรุปกันง่ายขึ้น Teamwork ดีจริงๆ (ขอชมหน่อย)... หกโมงเย็นเดินทางไปรับท่านอาจารย์และคณะที่สนามบินภูเก็ต โดยรถคุณสิษฐ์ (นายวิสิษฐ์ ใจอาจ -ประธานรุ่น) และรถตู้ของเทศบาล ทุกคนตื่นเต้นกันพอสมควร น่าจะเป็นเพราะ ไม่เคยเห็นตัวจริง เสียงจริง และอีกข้อ ในห้องเรียนออนไลน์ฯ ท่านอาจารย์ดุมาก (หลังจากเจอตัวจริงแล้ว เพื่อนๆบอกว่า สามารถฝากชีวิต PHD.ไว้ได้เลย) ... อาหารมื้อค่ำรับรองท่านอาจารย์และคณะ พร้อมกับเพื่อนนักศึกษาที่มาสมทบเพิ่มเติมอีกหลายคน ที่ร้านข้าวต้มปากน้ำ (วงเวียนม้าน้ำ)ทำให้เห็นวิถีของคนภูเก็ตในยามค่ำคืน... หลังจากนั้นเดินทางสู่ที่พักโรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ นั่งเสวนาพูดคุยกับท่านอาจารย์(ทีละคน)ถึงเรื่องที่ได้รับจากการเรียนกับอาจารย์ , หัวเรื่องการทำดุษฎีนิพนธ์ ท่านอาจารย์ได้ให้แนวคิด ข้อคิด และแนะนำศิษย์แต่ละคน จนสามารถมองเห็นภาพตัวเองยืนสวมครุย ม.ราชภัฎสวนสุนันทาได้ชัดเจนขึ้น(เกือบเที่ยงคืน)...วันงาน ตอนเช้ารับท่านอาจารย์และคณะทานอาหารเช้าที่ร้านคู่ขวัญ มีอาหารเช้าพื้นเมือง ชา กาแฟ เกือบ 30 อย่าง ท่านอาจารย์และทุกคนบอกเสียงเดียวกันว่า อร่อยมาก เดินทางไปสำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต ได้รับการต้อนรับจาก ท่านนายกฯสมใจ และคณะบริหารเทศบาล อย่างดียิ่ง รวมถึงผู้นำชุมชนต่างๆ เช่น ชุมชนเมืองเก่า,สมาคมเพอรานากัน พวกเราใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมงที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้รับความรู้ แนวคิดต่างๆมากมาย เช่นการบริหารจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต ในส่วนของ 8 ความสุขที่เป็นนโยบายหลักของเทศบาลฯ ซึ่งก็ตรงและสอบคล้องกับทฤษฎี 8 K’s , 5 K’s ของท่านอาจารย์ รวมถึงกับบทบาทผู้นำของท่านนายกฯหญิงเหล็ก แห่งภูเก็ต ในเรื่องการยกย่องให้เกียรติ ยอมรับความคิดเห็นของข้าราชการประจำ (ซึ่งในปัจจุบันนักการเมืองส่วนใหญ่ชอบข่มเหง รังแก ข้าราชการประจำ) การให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้นในทุกภาคส่วน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและออกเยี่ยมเยียนในโครงการ”เทศบาลพบประชาชน” ทุกวันพุธ เพื่อสอบถามดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนทุกชุมชน ซึ่งผมก็เป็นประชาชนคนหนึ่งในเขตเทศบาลฯ นอกจากนี้ในส่วนตัวของผมในฐานะรุ่นน้องร่วมสถาบันฯ ท่านนายกฯยังได้รับประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่น “40 ปี 40 ศิษย์เก่าดีเด่น” ประจำปีพุทธศักราช 2550 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (http://www.hatyai.psu.ac.th) ท่านอาจารย์ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เรื่องอนาคตของเมืองภูเก็ต เรื่อง Benchmarking, Quality, Standard , Best Practice , excellent ... อาหารกลางวันที่ร้านปากน้ำซีฟู๊ด บ้านกู้กู อาหารเที่ยงรสชาติดีเยี่ยม... ในภาคบ่ายร่วมรับฟังและเสวนาการจัดการขยะของเทศบาล ที่เป็นเตาเผาเพียงแห่งเดียวของจังหวัดภูเก็ต รูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และเป็นเตาเผาที่เป็นต้นแบบของทั่วประเทศไทย รวมถึงการบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยพี่ประชุม(นายประชุม สุริยะ)อย่างดีเยี่ยมสมกับเป็นที่ดูงานของคณะต่างๆปีละ 400 กว่าคณะ... หลังจากนั้นเยี่ยมชมย่านการค้าเมืองเก่า ที่มีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม อาคารสไตส์”ชิโนโปรตุกีส”ที่ผสมผสานเอาความเป็นศิลปะตะวันตกและตะวันออกเข้าไว้ด้วยกันอย่าง กลมกลืน จนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเมืองภูเก็ต ตึกเก่าเหล่านี้เป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย ลักษณะ ลึกและแคบ ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ใช้สอยไปตามความลึกได้ถึงห้าส่วนด้านหน้าเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน ถัดไปเป็น ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องครัว ภายในอาคารมักมีฉิ่มแจ้ หรือบ่อน้ำบาดาลหนึ่งบ่อและเจาะช่อง ให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าอาคาร ตึกแถวในภูเก็ตจึงเย็นสบาย ส่วนที่ชั้นสองเป็นห้องนอนหน้าตึกแถวมีทาง เดินเท้า ทำเป็นช่องซุ้มโค้งเชื่อมกันไปตลอด ทั้งแนวตึกแถว เรียกว่า อาเขต (arcade) หรือ หงอคาขี่ ในภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งหมายถึง ทางเดินกว้าง ๕ ฟุตจีน ที่มีหลังคาคลุม สามารถเดินได้ต่อเนื่องกันตลอด โดยมีชั้นบนยื่นล้ำ ออกมา เป็นหลังคากันแดดกันฝนซึ่งตกเกือบตลอดปี นับเป็นสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับ สภาพภูมิอากาศอีกทั้งยัง แสดง ให้เห็นถึงความเอื้ออาทร ของเจ้าของบ้านกับผู้สัญจร ที่ชั้นสองด้านหน้าอาคารเน้นการ เจาะช่องหน้าต่างเป็น ซุ้มโค้งคูหาละสามช่อง ขนาบข้างด้วยเสาแบบกรีก และโรมัน บนพื้นผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นทั้งแบบจีน และตะวันตก ผสมกันอย่างลงตัว ซึ่งเป็นสร้างทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตให้มีความเข้มแข็ง แต่สิ่งที่ผมประทับใจมากก็คือกลุ่มชุมชนเมืองเก่า ที่ตั้งใจมาต้อนรับคณะ ตั้งแต่บ่ายโมงกว่า (แต่คณะฯเดินทางถึงประมาณสี่โมงเย็น) ที่เป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่ในเมืองเก่า ยอมเสียสละเวลาและแต่งกายด้วยชุดย่าหยา หรือชาวจีนภูเก็ตเรียกว่า ปั่วตึ่งเต่ ที่แปลว่า ครึ่งสั้น ครึ่งยาว ชาวปีนังเรียกว่า ชุดเคบาย่า เป็นชุดการแต่งกายทางชาวพื้นเมืองดั้งเดิมภูเก็ต ปัจจุบันการแต่งกายชุดย่าหยา ถือว่าเป็นการแต่งกายที่งดงาม แสดงออกถึงความสวยงามของความเป็นกุลสตรีภูเก็ต ในงานสำคัญๆเช่นงานบุญ งานประเพณีต่าง ๆจึงจะมีโอกาสได้เห็นสตรีภูเก็ตแต่งกายชุดย่าหยา ที่งามสง่าน่าพิศ น่ามองเป็นที่ประทับใจยิ่งของผู้ได้พบเห็น ถือเป็นการมีส่วนร่วมของภาคชุมชนอย่างแท้จริง และมีการรับรองด้วยอาหารว่างและขนมพื้นเมืองภูเก็ตหลากหลายชนิด โดยเฉพาะโอ้เอ๋ว หรือโอ๊ะเอ๋วเป็นอาหารท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต ได้จากวุ้นของเมล็ดโอ้เอ๋ว (คล้ายเมล็ดแมงลัก Ficus pumila var. awkeotsang หรือ Ficus awkeotsang) ที่แช่น้ำแล้วใช้เมือกโอ้เอ้วมาผสมกับเมือกของกล้วยน้ำว้า ใส่เจี่ยกอเพื่อให้โอ๊ะเอ๋ว เกาะตัวเป็นก้อน นำมาใส่น้ำเชื่อมและน้ำแข็งใส กินแก้ร้อนใน และลดการกระหายน้ำ ชาวภูเก็ตจะรับประทานโอ้เอ๋ว สามแบบ คือ โอ้เอ๋วใส่ถั่วแดงและเฉาก๊วย (ขาว ดำ แดง) โอ้เอ๋วใส่ถั่วแดง (ขาว แดง) และ โอ้เอ๋วใส่เฉาก๊วย (ขาว ดำ)บางคนนิยมใส่กล้วยและน้ำหวานด้วย...นักศึกษาร่วมส่งท่านอาจารย์และคณะฯที่สนามบิน พลขับโดยพี่ต๋อม(นายอธิคม ศรีรัตนประภาส) คำนวณเวลาผิดพลาดนิดหน่อย ทำให้ท่านอาจารย์และคณะตกไฟล์ ต้องเดินทางในไฟล์ถัดไป เนื่องจากการเดินทางรถติดมาก เป็นพิเศษกว่าทุกวัน (เหมือนกับกรุงเทพฯ จึงกราบขออภัยมานะที่นี้ด้วยครับ)... สุดท้ายขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะ ที่สละเวลามาร่วมงานในครั้งนี้ ขอบพระคุณ ท่านนายกเทศมนตรี และคณะบริหารเทศบาลนครภูเก็ต , หัวหน้าส่วนศูนย์กำจัดขยะคุณประชุม สุริยะ คุณยินดี มโนสุนทร พร้อมคณะกรรมการชุมชนย่านเมืองเก่า และคณะกรรมการสมาคมเพอรานากัน สุดท้ายเพื่อนนักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์ภูเก็ต ที่ร่วมงานโครงการทัศนศึกษา (Study Tour) ตั้งแต่การเตรียมงาน การลงทะเบียน การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคเช้า ภาคบ่าย ตลอดจนถึงการสรุป ประเมินผลโครงการ ด้วยความขอบคุณอีกครั้ง ครับผม...

นายอำนวย คุ้มบ้าน

นายอำนวย คุ้มบ้าน ศิษย์อาจารย์ ศูนย์ภูเก็ต

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ มรภ.สวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต ได้จัด โครงการ Study Tour เรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต ณ เทศบาลนครภูเก็ต โดยการนำของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ อาจารย์ประจำวิชา การจัดการทุนมนุษย์ และได้รับเกียรติจาก น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง Old Phuket Town สมาคมเพอรานากัน และโครงการเตาเผาขยะภูเก็ต ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองนครภูเก็ต ท่ามกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกรอบการเรียนที่อาจารย์จีระท่านได้กำหนด ให้ลูกศิษย์ได้มีโอกาสเรียนทั้งด้านทฤษฎีและลงมือปฏิบัติสัมผัสกับความเป็น จริงของปัญหาที่ศึกษา ในโอกาสเดียวกัน อาจารย์จีระ ท่านได้บรรยายให้ความรู้ด้านทฤษฎีที่ท่านสอนในห้องเรียนและทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อให้นักศึกษาพร้อมกับคณะผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต ได้รับรู้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีกำไรในการพัฒนา องค์กรไปสู่ความสำเร็จและเป็นเลิศ ทั้งด้านประสิทธิภาพ มาตรฐาน คุณภาพ ความเป็นเลิศ เท่าที่ผมได้ฟังอาจารย์ในทฤษฎีที่ผมคิดว่าน่าจะมีคุณค่ามากและมีบทบาทสำคัญ ในด้านการสนับสนุนให้ทฤษฎีด้านอื่น ๆ เช่น 8 K 5 K ของอาจารย์ สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็น จริงได้ในยุคใหม่ คือ ยุคโลกาภิวัตน์ นั้น ต้องนำ ทฤษฎี ดังต่อไปนี้มาเป็นส่วนสำคัญด้วย คือ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ

เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

สรุป ผมโชคดีที่ได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ ได้รับความรู้มากมายในการทำหน้าที่เป็นกลไกของสังคมภูเก็ตและเชื่อด้วยความ มั่นใจ ว่า ทฤษฎีอาจารย์มีความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์และองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้แน่นอน ในขณะเดียวกันสาระความรู้ที่เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเทศบาลนครภูเก็ต โดยเฉพาะ น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ผมมีความคิดว่าจะด้วยเหตุบังเอิญหรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตามแต่ นโยบาย 8 ความสุขของเทศบาลนครภูเก็ต ที่นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ได้นำมาเป็นข็อมูลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ นักศึกษา ป.เอก สาขานวัตกรรมการจัดการ มรภ.สวนสุนันทา ในครั้งนี้ตรงกับทฤษฎีของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์แทบทุกเรื่องประกอบด้วย HR, ทฤษฏี 3 วงกลม, ทฤษฏี 8 k’s, ทฤษฏี 5 k’s, ทฤษฏี 4 L’s, ทฤษฏี 2 R’s, ทฤษฏี 2 I’s, ทฤษฏี C&E, ทฤษฏี HRDS, ทฤษฏี 3 L’s และทฤษฏีที่เราทุกคนชื่นชมชอบในเชิงการค้นคว้าและเปรียบเทียบคือ การปลูกกับการเก็บเกี่ยว เมื่อได้นำทฤษฎีของ อาจารย์มาวิเคราะห์แนวคิด ลักษณะการบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่น ของ น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา สามารถระบุได้ ว่า ท่านไม่ใช่นักการเมือง แต่ท่านเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางทุนมนุษย์ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อย่างชัดเจนที่สุด เพราะท่านบริหารงาน บริหารคน จาก ใจ ไม่ใช่บทบาทหน้าที่ทางการเมือง จึงได้ใจคนและงานประสบความสำเร็จ ท้องถิ่นเจริญก้าวหน้า สังคมมีความเข้มแข็งและความสุขน่าอยู่อย่างยั่งยืน ขอกราบขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ให้ความเมตตาศิษย์ กราบขอบพระคุณ น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต คณะกรรมการชุมชนเมืองเก่าภูเก็ต สมาคมเพอรานากัน ผู้อำนวยการโครงการเตาเผาขยะภูเก็ต สำนักปลัดเทศบาลนครภูเก็ต โดยเฉพาะ คุณชุติมา สนิทเปรม กองวิชาการเทศบาลนครภูเก็ต ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต และทุกท่านที่ช่วยให้งานนี้ประสบความสำเร็จ ขอบพระคุณมากครับ

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง ม.ราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

การพัฒนาบุคลากรโดยใช้ IT ในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา

และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง

ทฤษฎีของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประกอบด้วย HR, ทฤษฏี 3 วงกลม, ทฤษฏี 8 k’s, ทฤษฏี 5 k’s, ทฤษฏี 4 L’s, ทฤษฏี 2 R’s, ทฤษฏี 2 I’s, ทฤษฏี C&E, ทฤษฏี HRDS, ทฤษฏี 3 L’s

ผมกำลังนำทฤษฏีของอาจารย์จีระฯ มาใช้ โดยวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์ซึ่งกำหนดทิศทางการพัฒนาภายใต้ภารกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน ยุทธศาสตร์การพัฒนาของกระทรวงยุติธรรม และยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาพฤตินิสัยและแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร กำหนด ให้สามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กร เพื่อให้เกิดการบริหารและพัฒนาบุคลากรเชิงรุกทั้งระบบไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization) โดยให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ (Knowledge Managerment) การพัฒนาขีดความสามารถหรือสมรรถนะของบุคลากร สู่ความเป็นมืออาชีพ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสำเร็จ และการดูแลเรื่องสายงานความก้าวหน้าในอาชีพ รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานแสวงหาแนวคิดใหม่ ที่เป็นนวัตกรรมในองค์กรและยังส่งเสริมให้บุคลากรได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ให้กับองค์กรได้อย่างเต็มที่

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาพัฒนา ( IT Capital)

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานราชทัณฑ์จะเน้นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับงานราชทัณฑ์ เพื่อปรับปรุงระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการให้สะดวกรวดเร็ว ได้รับความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและวิทยาการใหม่ๆ รวมทั้งสามารถช่วยลดอัตรากำลังและภาระของบุคลากรได้ ด้วยการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดตามจุดสำคัญของเรือนจำ ติดตั้งระบบ Video Conference คือการเยี่ยมญาติและฝากขังทางไกลผ่านจอภาพ การจัด ศูนย์บริการร่วม (Call Center) ระบบ One Stop Service เป็นการให้บริการประชาชนแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ระบบข้อมูลบริหารงบประมาณภาครัฐ การติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ข้าราชการและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงงานราชทัณฑ์ได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดจนการตั้งศูนย์ปฏิบัติการสำหรับรองรับการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานราชทัณฑ์ให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ สามารถพัฒนาบุคลากรและองค์กรไปสู่องค์กรนวัตกรรมได้อย่างสมบูรณ์

ในการแก้ไขฟื้นฟูและพัฒนาพฤตินิสัย จะมุ่งเน้นการศึกษาและฝึกอบรมแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้สามารถปรับพฤติกรรมตนเองให้พร้อมกลับสู่สังคมได้โดยไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีกซึ่งประกอบด้วยการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพื่อคัดเข้าสู่โปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูแต่ละประเภทเป็นการเฉพาะ การให้การศึกษา ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ การพัฒนาจิตใจในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองเพื่อเน้นการ อบรมทักษะทางอาชีพและการอยู่ร่วมกับสังคมหลังพ้นโทษให้เป็นไปอย่างถูกต้องตรงกับลักษณะผู้ต้องขัง นอกจากนี้ยังจัดให้มีระบบการดูแลสงเคราะห์ผู้ต้องขังหลังปล่อยตัวเพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกได้อย่างปกติสุข ด้วยการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเรียกว่า ระบบการส่งต่อ เพื่อติดตามดูแลช่วยเหลือและให้การสงเคราะห์ผู้พ้นโทษให้สามารถประกอบอาชีพอยู่ในสังคมได้

การส่งเสริมการฝึกวิชาชีพในระบบอุตสาหกรรม เป็นการสร้างรายได้และฝึกวิชาชีพให้ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้โดยสุจริตภายหลังพ้นโทษ ด้วยการนำแรงงานผู้ต้องขังมาสร้างรายได้ในเชิงอุตสาหกรรม โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น และหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบที่เกิดจากการทำลายป่า รวมทั้งการยกระดับการศึกษา การฝึกวิชาชีพให้ได้มารตรฐานสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสามมารถนำออกสู่ตลาดได้

สถาบันพัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานหลักของกรมราชทัณฑ์ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรของกรมราชทัณฑ์โดยคำนึงถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยรอบด้าน พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์ 5 ปี (พ.ศ. 2548 – 2551) ในขณะที่เรือนจำ /ทัณฑสถานก็ได้พัฒนาผู้ต้องขังโดยใช้วิธีการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังในรูปแบบต่างๆโดยยึดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นแนวทาง ดังนั้นการจัดการศึกษาในเรือนจำ น่าจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มงานคือ

1.งานการศึกษา ได้แก่

1.1 การศึกษาสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ

1.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา(ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2)

1.3 การศึกษาสายสามัญ ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4

1.4 การศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยการร่วมมือระหว่างกรมราชทัณฑ์กับ มสธ.ที่ทำอยู่

1.5 การศึกษาสายอาชีพ เป็นการจัดหลักสูตรวิชาชีพ

2.งานพัฒนาจิตใจ เป็นการจัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้น นักธรรมตรี นักธรรมโท และ

นักธรรมเอก และนำโปรมแกรมแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งสองกลุ่มงานจะจัดการศึกษาในรูปแบบการจัดการเรียนการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมตามโครงการพระราชดำริ ผสมผสานการเรียนรู้โดยใช้ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลทำให้การพัฒนาผู้ต้องขังด้วย ITไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง

การใช้ไอทีเพื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้ต้องขังในปัจจุบันเป็นพระราชดำริในองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุสยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้ต้องขังจึงได้จัดให้มี “ห้องสมุดพร้อมปัญญา” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นการเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ไอทีจึงมีบทบาทสำคัญในการเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ได้มาก มีระบบมัลติมีเดียที่เรียกดูได้ตามความต้องการ ระบบอินเตอร์เน็ตและกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ E- learning ซึ่งรวบรวมเนื้อหาของบทเรียน ระบบบริหารการเรียน การติดต่อสื่อสาร การสอบประเมินผล อย่างไรก็ตามการใช้ E- learning เพื่อใช้ในการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มผู้ต้องขังโดยใช้วิธีการของเว็บยังคงต้องมีข้อจำกัดในเรื่องของความมั่นคง เพราะยังถือว่าเป็นการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

วิเคราะห์ได้ว่า ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็ง จึงเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ ในระบบเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนความรู้เป็นนวัตกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้สัดส่วนความรู้ที่อยู่ภายในกับภายนอกตัวบุคคลเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีความจำเป็นและความต้องการในการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ให้มีสภาพกลายเป็น ความรู้ที่ปรากฏชัดเจน

ผลดี การจัดการความรู้ทำให้เกิดการถ่ายทอดทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ให้เกิดของการดำเนินงาน อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญคือ “สมองประสานใจ” นั่นคือ ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพจะต้องมีทัศนะ ความคิดเห็น และความรู้สึกเชิงบวก รวมทั้งมีความมั่นใจและเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ผลเสีย ในขณะที่แต่ละหน่วยงานให้ความสำคัญและเร่งระดมการปรับเปลี่ยนหน่วยงานของตน แต่หากยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนตลอดจนไม่ทราบว่าจะนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างไร ก็จะทำให้ขาดประสิทธิภาพ

แนวทางแก้ไขและความเป็นไปได้ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างและใช้ความรู้ ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เช่น ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็จะเป็นข้าราชการเป็นบุคคลเรียนรู้ควรมีภาวะผู้นำ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น รู้ควรมีภาวะผู้นำ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานโดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกัน

เรียน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง Study Tour ภูเก็ต "การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต "

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต รหัส.54484931011

ในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 ทีมนักศึกษาปริญญาเอกมีตัวแทนไปต้อนรับท่านศาสตราจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ณ.สนามบินนานาชาติภูเก็ต ดิฉันพร้อมเพื่อนๆนักศึกษารับประทานอาหารร่วมกับท่านอาจารย์และทีมงาน ณ.ร้านอาหารปากน้ำซีฟู้ต หลังจากนั้นทีมนักศึกษาพร้อมท่านอาจารย์และทีมงานใช้เวลาก่อนที่ท่านอาจารย์จะพักผ่อน ซึ่งศาสตราจารย์จีระ หงส์ลดารมโดยใช้เวลาแบบคุ้มค่ามากๆในผิวหน้าที่สดชื่นไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกชื้นชมท่านอาจารย์มากๆ อาจารย์ได้ติวเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมการทำวิทยานิพนธ์เป็นรายบุคคล ในประเด็นนี้ดิฉันได้เสนอท่านอาจารย์มีความสนใจเรื่อง"การทำ MOUในวิทยาลัยกับต่างประเทศ เปรียบเทียบ การไม่ทำ MOU " ท่านอาจารย์ได้ให้ข้อคิดอย่างดี ในคืนนี้อาจารย์ได้ใช้เวลาพูดคุยตั้งแต่เวลา 21.00 - 24.00 น.ดิฉันมีความรู้สึกในการพูดคุยกับอาจารย์ได้ใช้ทฤษฎี 4L ได้แก่ 1).วิธีการเรียน 2).บรรยากาศในการเรียน 3).ปะทะทางปัญญา 4).องค์กรแห่งการเรียนรู้ ดิฉันเกิด Intellectual Capital และ Happiness Capital

ในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ทีมนักศึกษาในช่วงเช้าของภูเก็ตพร้อมท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงาน (น้อง 2 คน)ได้รับทานอาหารเช้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดภูเก็ตเป็นร้านอาหารที่มีกลิ่นไอของคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี๋ยนซึ่งประกอบด้วย หมีซัว ปาท่องโก้ (เจี๋ยโกย) เซวโป๋ย (ขนมจีบ ) ปากู้ดเต้ รวมทั้งโกปี้ (กาแฟโบราณ )ฯลฯ เมื่อเวลา 9.00-9.30 น.นักศึกษาและผู้นำชุมชน หัวหน้าสวน ผู้อำนวยการเทศบาลนครภูเก็ต ประธานชุมชน OLD PHUKET TOWN รวมทั้ง สมาคมเพอรานากัน นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ฯลฯ เวลา 9.35 น.ท่านสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ตดิฉันเป็นตัวแทนนักศึกษาได้รับเกียรติให้ติดดอกไม้หน้าอกให้ท่านนายกฯ ต่อจากนั้นท่าน ศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ มาถึงเทศบาลนครภูเก็ตโดยนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตถือป้ายต้อนรับ หลังจากนั้นดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนนักศึกษาติดช่อดอกไม้หน้าอกให้ท่าน ศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อเวลา 9.40 น.นายกเทศบาลนครภูเก็ตกล่าวต้อนรับพร้อมทั้งเล่าเกี่ยวกับการบริหาร " การจัดการมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต " ดิฉันคิดว่าท่านนายฯเทศบาลนครภูเก็ตท่านมี VISION วิสัยทัศน์ในการบริหารการจัดการมนุษย์โดยภายใต้ยุทธศาสตร์ท้ง8ของความสุข เพื่อให้เทศบาลนครภูเก็ตเป็น นครแห่งความสุขและน่าอยู่อย่างยั่งยืน ".ดิฉันมีความรู้สึกท่านนายกสมใจ สุววณศุภพนาเป็นผู้บริหารที่ "Open Mind "ซึ่งสอดคล้องทฤษฎี HR ; ทฤษฎี 3 วงกลม การบริหารที่ให้ชุมชน/สังคมรวมทั้งประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพร้อมทั้งได้วางแผนทุนมนุษย์ให้ภูเก็ตเป็นเมืองภูเก็ตที่ยั่งยืน มีคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่ม และกระจายรายได้ให้คนไทยมากกว่าคนต่างชาติเป็นสิ่งดิฉันคิดว่าสอดคล้องกับทฤษฎี HRDS รวมทั้งทฤษฎี 3K และ ทฤษฎี3L ภูเก็ตมีความเสน่ห์ในเรื่องการบริหารจัดการมนุษย์เกี่ยวกับ การบริการ การท่องเที่ยว และการแพทย์ ฯลฯซึ่งภูเก็ตมีจุดขายโดยมียุทธวิธีที่มีความแข็งแกร่งของ BRAND ท่านนายกสมใจ สุวรรณศุภพนานายกเทศบาลนครภูเก็ตท่านได้นำทฤษฎีมาบูรณาการณ์โดยไม่ขาด 8K และ 5K ผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ตมีการคิดยุทธศาสตร์ โดยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมทั้งมีวัฒนธรรมในการใฝ่รู้ เรียนรู้ นอกจากนี้ท่านนายกสมใจ สุวรรณศุภพนาท่านมีการบริหารจัดการมุ่งไปที่ Green Economy ในประเด็นนี้ท่านประสานงานกับหน่วยงานทุกด้านรับฟังความคิดเห็น ดูจุดอ่อน จุดแข็ง ของเทศบาลนครภูเก็ต พร้อมทั้งการบริหารจัดการให้ใช้มืออาชีพ โปร่งใส พึ่งตัวเอง เน้นสร้าง Network คล่องตัว ในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ตพบว่ามีการทำ "Master Plan ของ HR เน้นปัจจัยเสี่ยง และ ปัจจัยความสำเร็จ เมื่อท่านนายกสมใจ สุวรรณศุพนา นายกเทศบาลนครภูเก็ตท่านได้ให้ศาสตราจารย์จีระ หงศ์ลดารมภ์แลกเปลี่ยนความรู้โดยท่านอาจารย์ได้ชมท่านนายกฯเทศบาลนครภูเก็ตมีการบริหารจักการทุนมนุษย์แบบมีทฤษฎีรองรับหลากหลายอทิเช่น 2R ,4L ; 2I ; HRDS ;3Lและ C&Eเป็นต้น ท่านศ.คร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การบริหารจัดการทุนมนูษย์ในระดับปริญญาเอกจะให้เกิดประโยชน์ มหาวิทยาลัยจะต้องเป็นแกนนำในการมองอนาคตของชุมชน/สังคมเน้นให้ประชาชนทุกฝ่ายมีสวนร่วมโดยเฉพาะเปิดเสรีอาเซียนในปี 2015 ภูเก็ต ดังนั้นภูเก็ตมีจุดขายมากขึ้นฉะนั้นต้องมียุทธวิธีเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของ Brand ถ้ามี Creative Economy จะต้องมี Creative City ภูเก็ตเป็นเมืองที่ดึงดูดคนเก่ง คนสร้างสรรค์ทั่วโลก โดยเพาะคน ASEAN และ ASIA ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี Blue Ocean เกี่ยวกับธุรกิจ IT :การแพทย์ :Trading และการกีฟฬา ภูเก็ตสามารถสร้าง Link กับภูมภาคมากขึ้น (Logistics) ท่านอาจารย์ฝากให้ท่านนายกฯช่วยทางภาคอีสานด้วย ท่านศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ ท่านกล่าวว่าในอนาคต....ขาดอะไร? ก็ต้องเพิ่มให้เต็ม อทิเช่น 1).Infrastructures 2).IT Facilities 3).Human Capital การบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน Global ไม่ใช่ Local ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ท่านได้คำแนะนำว่าการจัดการทุนมนุษย์ในจังหวัดภูเก็ตลองวิเคราะห์ 4 ขั้นตอนดังนี้ 1).การแข่งขัน WTO: FTA :ASEAN เสรี 2015 2).ธุรกิจต้อง Competitive 3).World Competitive Ranking ของไทยเรื่องคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ 4).สาเหตุของปัญหาระดับ Macro HR Architecture ทุนมนุษย์มีแต่ปริมาณขาดคุณภาพ มีแต่ปริญญาไม่ใช่ปัญญา ภูเก็ตต้องสมดุล ยั่งยืน แข่งขันได้ ต้องสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและต้องสมดุลระหว่าง Supply กับ Demand นอกจากนี้ต้องสำรวจทุนมนุษย์ HR Audit ในทุกๆ Sectors รวมทั้งสร้างทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ในธุรกิจที่เน้นความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ ต่อจากนั้นท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาเอกได้แลกเปลี่ยน ซึ่งดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ได้กล่าวว่าในวันนี้ที่ทางนักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จัดทำโครงการทัศนศึกษา (Study Tour ) เรื่อง "การจัดการมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต " ในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ดิฉันได้ความรู้ในการเรียนนอกห้องเรียน .เสมือนความสุขที่มาจากข้างในเป็นความสุขที่มาจากจิตใจ คือความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่ความสุขจากวัตถุ "นอกจากนี้ดิฉันได้พบ "อย่าคิดว่าสิ่งที่ทำ ได้ทำดีที่สุดแล้ว อย่าคิดว่าสิ่งที่ไม่ดี แก้ไขไม่ได้ " จากการที่นายกเทศบาลนครภูเก็ตและท่ารศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้ในวันนี้ เมื่อเรารู้จักคนรู้จักองค์กรทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กร ให้คนเก่ง คนดี มีจริยธรรม นำพาองค์กรพัฒนาต่อไปได้ เสมือนเทศบาลนครภูเก็ต ดิฉันคิดว่าเทศบาลนครภูเก็ตสามารถนำสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนได้แก่ 1).Relationships เครือข่ายพันธมิตรรวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก 2).Knowledge ความรู้และการปรับปรุงงานอยู่เสมอ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อต่อยอดความรู้ 3) Leaderships and Communication ภาวะผู้นำและการสื่อสารพร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายและทิศทางการดำเนินกิจกรรมของเทศบาลนครภูเก็ตได้อย่างชัดเจน 4).Culture and Value วัฒนธรรมและค่านิยม 5).Reputation and Trust ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของเทศบาลนครภูเก็ตที่โดดเด่นด้วยรางวัลอย่างหลากหลาย รวมทั้งการบริหารจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต 6).Process and System กระบวนการและระบบลำดับขั้นตอนที่ดำเนินการอย่างมีกรอบหรือเสมือนมืออาชีพ ดิฉันขอชื้นชมนายกสมใจ สุวรรณศุพนา นายกเทศมนตรีภูเก็ตท่านบริหารจัดการทุนมนุษย์ในการตัดสินใจโดยมี 3 หลักประกอบด้วย 1).หลักรู้ ได้แก่ความรู้ ทฤษฎี ข้อมูล และการบอกเล่า 2).หลักคิด ได้แก่ กระบวนการวิเคราะห์ กระบวนการสังเคราะห์ รวมทั้งการแปลความรู้เป็นความคิด 3).หลักการปฎิบัติ ได้แก่ วิธีการทำ และ ประสบการณ์ หลังจากนี้มีการแลกเปลี่ยนผู้นำชุมชน หัวหน้าส่วน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ตรวมทั้งผู้นำสมาคม Old Phuket Town และ สมาคมเพอรานากัน การแลกเปลี่ยนความคิดกัน ดิฉันตกผนึกว่า จังหวัดภูเก็ตโดยเฉพาะเทศบาลนครภูเก็ตได้บริหารจัดการทุนมนุษย์แบบบูรณาการณ์โดยใช้ วัฒนธรรม ชิ โน - โปรตุกีช การแต่งกายชุดหย่าหยา อาหารพื้นเมือง การแต่งงานซึ่งเป็นประเพณี คนไทยเชื้อสายจีน "ฮกเกี่ยน "เมื่อได้เวลาในการรับประทานอาหารมื้อเที่ยง "ร้านอาหารปากน้ำซีฟ้ด " ด้วยอาหารที่มีขนมจีนน้ำยาปู ด้วยเส้นหมีเล็ก พร้อมอาหารซีฟู้ดจากทะเลแบบสดๆ ด้วยผลไม้สับประรดภูเก็ตที่หวานกรอบเมื่ออิ่มท้องเดินทางไปเยี่ยมชมและฟังบรรยายพิเศษการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครภูเก็ต ณ ศูนย์รวมกำจัดการสิ่งแวดล้อมขยะจังหวัดภูเก็ตจากการรับฟังข้อมูลดิฉันคิดว่า การกำจัดขยะ จากประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 315,961 คน ประชากรแฝงจำนวน 300,000 คนและมีนักท่องเที่ยวจำนวน 5,300,000 คน ได้รับทุนจากต่างชาติซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าในปัจจุบันท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ น่าจะให้ท่านนายกฯเทศบาลนครภูเก็ตควรส่งเข้ารับรางวัลแม๊กไซไซ ซึ่งการบริหารจัดการสภาสิ่งแวดล้อมโดยการนำ HR แนวทางในการมองภาพรวมขององค์กรจากภาพใหญ่ Macro ไปสู่ระบบ Micro ด้วยการสร้างความสุข นอกจากนี้ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จะนำต่างชาติมาดูงานจัดการสิ่งแวดล้อมม ณ โรงงานเผาขยะจังหวัดภูเก็ตเร็วๆนี้ เมื่อเวลา15.20 - 17.30 น.เยี่ยมชมถนนสายวัฒนธรรม มนต์เสน่ห์แห่งภูเก็ต โดยทีมงาน Old Phuket Town โดยชมวัฒนธรรมอาคาร ชิโน -โปรตุกีช การแต่งกายด้วยชุดหย่าหยา อาหารพื้นเมืองและประเพณีการแต่งงานของคนไทยเชื้อสายจีน "ฮกเกี่ยน " ได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของรากเหง้าของบรรพบุรุษจากหลักฐานเช่นตู้เซพที่ปรากฏ คศ.1843 ด้วยชามกระเบื้องลายจีน ฮอลันดา รวมทั้งความเป็นอยู่ของชาวไทยเชื้อสายจีน ไทยมุสลิม ไทยซิกซ์ คริสจักร ด้วยการประกอบธุรกิจการค้าอยู่ในชุมชนอย่างเข้มแข็งเป็นการท่องเที่ยววัฒนธรรม ซึ่งทางทีมนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต ได้ต้อนรับด้วย ขนมโอ๋เอ๋ว เป็นขนมที่มีเฉพาะหาทานได้เฉาะจังหวัดภูเก็ตเท่านั้น ขนมเต้าส้อ ขนมม่อเหล้า ว ขนมผิง และ ขนมก้องทึ้ง ที่ร้านโก้ปี้เตียมเป็นร้านที่มีกลิ่นไอของคนไทยเชื้อสายไทยจีน ในการต้อนรับครั้งนี้ดิฉันและทีมงานได้ประชุมและวางแผนมอบหมายโดยเฉพาะดิฉันในการต้อนรับและอาหารพื้นเมือง จากการชมถนนสายวัฒนธรรม มนต์เสน่ห์แห่งภูเก็ต ด้วยบริหารจัดการทุนมนุษย์ด้วยหลัก 6 หลักในการทำงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1).คิด Macro ทำเป็น Micro 2).ทำเป็นขั้นตอน 3).ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย 4).การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการณ์ ( Communication Condination Integration )ในการดำเนินกิจกรรมของถนนสายวัฒนธรรมดิฉันได้รับความรู้ 4 ด้านได้แก่ 1).Culture 2).Climate (CSR ) 3).Flexiblity ในการทัศนศึกษา (Study Tour ) "เรื่องการจัดการทุนมนูษย์ของเทศบาลนครภูเก็ค ได้รับ Happiness ประกอบด้วย 1).Respect 2).Dignity และ 3).Sustainabilty ท้ายสุดนี้ดิฉันสุขด้วยความพอใจ สุขด้วยความอบอุ่น สุขด้วยความสนุกสน่าน พร้อมทั้งดิฉันได้ตกผนึกเกี่ยวกับ 1).เก่งด้วยแรงจูงใจ 2).เก่งด้วยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวปัญหา และ เก่งด้วยการกล้าพูดกล้าบอกและกล้าแสดงออกด้วยความเหมาะสมพร้อมทั้งได้ข้อคิด 1).ดีด้วยการรู้จักอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ 2).ดีด้วยการมีน้ำใจและการเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น และ 3).ดีด้วยการรู้จักว่าอะไรถูก อะไรผิด และการยอมรับผิด ดิฉันขอบคุณมากๆ โดยเฉพาะท่านนายกฯเทศบาลนครภูเก็ต และ ท่านศ.ดร.จีระ หงส?ลดารมภ์ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

เรียน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง Study Tour ภูเก็ต "การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต "

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต รหัส.54484931011

ในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 ทีมนักศึกษาปริญญาเอกมีตัวแทนไปต้อนรับท่านศาสตราจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ณ.สนามบินนานาชาติภูเก็ต ดิฉันพร้อมเพื่อนๆนักศึกษารับประทานอาหารร่วมกับท่านอาจารย์และทีมงาน ณ.ร้านอาหารปากน้ำซีฟู้ต หลังจากนั้นทีมนักศึกษาพร้อมท่านอาจารย์และทีมงานใช้เวลาก่อนที่ท่านอาจารย์จะพักผ่อน ซึ่งศาสตราจารย์จีระ หงส์ลดารมโดยใช้เวลาแบบคุ้มค่ามากๆในผิวหน้าที่สดชื่นไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกชื้นชมท่านอาจารย์มากๆ อาจารย์ได้ติวเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมการทำวิทยานิพนธ์เป็นรายบุคคล ในประเด็นนี้ดิฉันได้เสนอท่านอาจารย์มีความสนใจเรื่อง"การทำ MOUในวิทยาลัยกับต่างประเทศ เปรียบเทียบ การไม่ทำ MOU " ท่านอาจารย์ได้ให้ข้อคิดอย่างดี ในคืนนี้อาจารย์ได้ใช้เวลาพูดคุยตั้งแต่เวลา 21.00 - 24.00 น.ดิฉันมีความรู้สึกในการพูดคุยกับอาจารย์ได้ใช้ทฤษฎี 4L ได้แก่ 1).วิธีการเรียน 2).บรรยากาศในการเรียน 3).ปะทะทางปัญญา 4).องค์กรแห่งการเรียนรู้ ดิฉันเกิด Intellectual Capital และ Happiness Capital

ในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ทีมนักศึกษาในช่วงเช้าของภูเก็ตพร้อมท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงาน (น้อง 2 คน)ได้รับทานอาหารเช้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดภูเก็ตเป็นร้านอาหารที่มีกลิ่นไอของคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี๋ยนซึ่งประกอบด้วย หมีซัว ปาท่องโก้ (เจี๋ยโกย) เซวโป๋ย (ขนมจีบ ) ปากู้ดเต้ รวมทั้งโกปี้ (กาแฟโบราณ )ฯลฯ เมื่อเวลา 9.00-9.30 น.นักศึกษาและผู้นำชุมชน หัวหน้าสวน ผู้อำนวยการเทศบาลนครภูเก็ต ประธานชุมชน OLD PHUKET TOWN รวมทั้ง สมาคมเพอรานากัน นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ฯลฯ เวลา 9.35 น.ท่านสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ตดิฉันเป็นตัวแทนนักศึกษาได้รับเกียรติให้ติดดอกไม้หน้าอกให้ท่านนายกฯ ต่อจากนั้นท่าน ศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ มาถึงเทศบาลนครภูเก็ตโดยนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตถือป้ายต้อนรับ หลังจากนั้นดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนนักศึกษาติดช่อดอกไม้หน้าอกให้ท่าน ศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อเวลา 9.40 น.นายกเทศบาลนครภูเก็ตกล่าวต้อนรับพร้อมทั้งเล่าเกี่ยวกับการบริหาร " การจัดการมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต " ดิฉันคิดว่าท่านนายฯเทศบาลนครภูเก็ตท่านมี VISION วิสัยทัศน์ในการบริหารการจัดการมนุษย์โดยภายใต้ยุทธศาสตร์ท้ง8ของความสุข เพื่อให้เทศบาลนครภูเก็ตเป็น นครแห่งความสุขและน่าอยู่อย่างยั่งยืน ".ดิฉันมีความรู้สึกท่านนายกสมใจ สุววณศุภพนาเป็นผู้บริหารที่ "Open Mind "ซึ่งสอดคล้องทฤษฎี HR ; ทฤษฎี 3 วงกลม การบริหารที่ให้ชุมชน/สังคมรวมทั้งประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพร้อมทั้งได้วางแผนทุนมนุษย์ให้ภูเก็ตเป็นเมืองภูเก็ตที่ยั่งยืน มีคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่ม และกระจายรายได้ให้คนไทยมากกว่าคนต่างชาติเป็นสิ่งดิฉันคิดว่าสอดคล้องกับทฤษฎี HRDS รวมทั้งทฤษฎี 3K และ ทฤษฎี3L ภูเก็ตมีความเสน่ห์ในเรื่องการบริหารจัดการมนุษย์เกี่ยวกับ การบริการ การท่องเที่ยว และการแพทย์ ฯลฯซึ่งภูเก็ตมีจุดขายโดยมียุทธวิธีที่มีความแข็งแกร่งของ BRAND ท่านนายกสมใจ สุวรรณศุภพนานายกเทศบาลนครภูเก็ตท่านได้นำทฤษฎีมาบูรณาการณ์โดยไม่ขาด 8K และ 5K ผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ตมีการคิดยุทธศาสตร์ โดยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมทั้งมีวัฒนธรรมในการใฝ่รู้ เรียนรู้ นอกจากนี้ท่านนายกสมใจ สุวรรณศุภพนาท่านมีการบริหารจัดการมุ่งไปที่ Green Economy ในประเด็นนี้ท่านประสานงานกับหน่วยงานทุกด้านรับฟังความคิดเห็น ดูจุดอ่อน จุดแข็ง ของเทศบาลนครภูเก็ต พร้อมทั้งการบริหารจัดการให้ใช้มืออาชีพ โปร่งใส พึ่งตัวเอง เน้นสร้าง Network คล่องตัว ในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ตพบว่ามีการทำ "Master Plan ของ HR เน้นปัจจัยเสี่ยง และ ปัจจัยความสำเร็จ เมื่อท่านนายกสมใจ สุวรรณศุพนา นายกเทศบาลนครภูเก็ตท่านได้ให้ศาสตราจารย์จีระ หงศ์ลดารมภ์แลกเปลี่ยนความรู้โดยท่านอาจารย์ได้ชมท่านนายกฯเทศบาลนครภูเก็ตมีการบริหารจักการทุนมนุษย์แบบมีทฤษฎีรองรับหลากหลายอทิเช่น 2R ,4L ; 2I ; HRDS ;3Lและ C&Eเป็นต้น ท่านศ.คร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การบริหารจัดการทุนมนูษย์ในระดับปริญญาเอกจะให้เกิดประโยชน์ มหาวิทยาลัยจะต้องเป็นแกนนำในการมองอนาคตของชุมชน/สังคมเน้นให้ประชาชนทุกฝ่ายมีสวนร่วมโดยเฉพาะเปิดเสรีอาเซียนในปี 2015 ภูเก็ต ดังนั้นภูเก็ตมีจุดขายมากขึ้นฉะนั้นต้องมียุทธวิธีเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของ Brand ถ้ามี Creative Economy จะต้องมี Creative City ภูเก็ตเป็นเมืองที่ดึงดูดคนเก่ง คนสร้างสรรค์ทั่วโลก โดยเพาะคน ASEAN และ ASIA ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี Blue Ocean เกี่ยวกับธุรกิจ IT :การแพทย์ :Trading และการกีฟฬา ภูเก็ตสามารถสร้าง Link กับภูมภาคมากขึ้น (Logistics) ท่านอาจารย์ฝากให้ท่านนายกฯช่วยทางภาคอีสานด้วย ท่านศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ ท่านกล่าวว่าในอนาคต....ขาดอะไร? ก็ต้องเพิ่มให้เต็ม อทิเช่น 1).Infrastructures 2).IT Facilities 3).Human Capital การบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน Global ไม่ใช่ Local ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ท่านได้คำแนะนำว่าการจัดการทุนมนุษย์ในจังหวัดภูเก็ตลองวิเคราะห์ 4 ขั้นตอนดังนี้ 1).การแข่งขัน WTO: FTA :ASEAN เสรี 2015 2).ธุรกิจต้อง Competitive 3).World Competitive Ranking ของไทยเรื่องคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ 4).สาเหตุของปัญหาระดับ Macro HR Architecture ทุนมนุษย์มีแต่ปริมาณขาดคุณภาพ มีแต่ปริญญาไม่ใช่ปัญญา ภูเก็ตต้องสมดุล ยั่งยืน แข่งขันได้ ต้องสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและต้องสมดุลระหว่าง Supply กับ Demand นอกจากนี้ต้องสำรวจทุนมนุษย์ HR Audit ในทุกๆ Sectors รวมทั้งสร้างทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ในธุรกิจที่เน้นความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ ต่อจากนั้นท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาเอกได้แลกเปลี่ยน ซึ่งดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ได้กล่าวว่าในวันนี้ที่ทางนักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จัดทำโครงการทัศนศึกษา (Study Tour ) เรื่อง "การจัดการมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต " ในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ดิฉันได้ความรู้ในการเรียนนอกห้องเรียน .เสมือนความสุขที่มาจากข้างในเป็นความสุขที่มาจากจิตใจ คือความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่ความสุขจากวัตถุ "นอกจากนี้ดิฉันได้พบ "อย่าคิดว่าสิ่งที่ทำ ได้ทำดีที่สุดแล้ว อย่าคิดว่าสิ่งที่ไม่ดี แก้ไขไม่ได้ " จากการที่นายกเทศบาลนครภูเก็ตและท่ารศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้ในวันนี้ เมื่อเรารู้จักคนรู้จักองค์กรทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กร ให้คนเก่ง คนดี มีจริยธรรม นำพาองค์กรพัฒนาต่อไปได้ เสมือนเทศบาลนครภูเก็ต ดิฉันคิดว่าเทศบาลนครภูเก็ตสามารถนำสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนได้แก่ 1).Relationships เครือข่ายพันธมิตรรวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก 2).Knowledge ความรู้และการปรับปรุงงานอยู่เสมอ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อต่อยอดความรู้ 3) Leaderships and Communication ภาวะผู้นำและการสื่อสารพร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายและทิศทางการดำเนินกิจกรรมของเทศบาลนครภูเก็ตได้อย่างชัดเจน 4).Culture and Value วัฒนธรรมและค่านิยม 5).Reputation and Trust ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของเทศบาลนครภูเก็ตที่โดดเด่นด้วยรางวัลอย่างหลากหลาย รวมทั้งการบริหารจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต 6).Process and System กระบวนการและระบบลำดับขั้นตอนที่ดำเนินการอย่างมีกรอบหรือเสมือนมืออาชีพ ดิฉันขอชื้นชมนายกสมใจ สุวรรณศุพนา นายกเทศมนตรีภูเก็ตท่านบริหารจัดการทุนมนุษย์ในการตัดสินใจโดยมี 3 หลักประกอบด้วย 1).หลักรู้ ได้แก่ความรู้ ทฤษฎี ข้อมูล และการบอกเล่า 2).หลักคิด ได้แก่ กระบวนการวิเคราะห์ กระบวนการสังเคราะห์ รวมทั้งการแปลความรู้เป็นความคิด 3).หลักการปฎิบัติ ได้แก่ วิธีการทำ และ ประสบการณ์ หลังจากนี้มีการแลกเปลี่ยนผู้นำชุมชน หัวหน้าส่วน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ตรวมทั้งผู้นำสมาคม Old Phuket Town และ สมาคมเพอรานากัน การแลกเปลี่ยนความคิดกัน ดิฉันตกผนึกว่า จังหวัดภูเก็ตโดยเฉพาะเทศบาลนครภูเก็ตได้บริหารจัดการทุนมนุษย์แบบบูรณาการณ์โดยใช้ วัฒนธรรม ชิ โน - โปรตุกีช การแต่งกายชุดหย่าหยา อาหารพื้นเมือง การแต่งงานซึ่งเป็นประเพณี คนไทยเชื้อสายจีน "ฮกเกี่ยน "เมื่อได้เวลาในการรับประทานอาหารมื้อเที่ยง "ร้านอาหารปากน้ำซีฟ้ด " ด้วยอาหารที่มีขนมจีนน้ำยาปู ด้วยเส้นหมีเล็ก พร้อมอาหารซีฟู้ดจากทะเลแบบสดๆ ด้วยผลไม้สับประรดภูเก็ตที่หวานกรอบเมื่ออิ่มท้องเดินทางไปเยี่ยมชมและฟังบรรยายพิเศษการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครภูเก็ต ณ ศูนย์รวมกำจัดการสิ่งแวดล้อมขยะจังหวัดภูเก็ตจากการรับฟังข้อมูลดิฉันคิดว่า การกำจัดขยะ จากประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 315,961 คน ประชากรแฝงจำนวน 300,000 คนและมีนักท่องเที่ยวจำนวน 5,300,000 คน ได้รับทุนจากต่างชาติซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าในปัจจุบันท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ น่าจะให้ท่านนายกฯเทศบาลนครภูเก็ตควรส่งเข้ารับรางวัลแม๊กไซไซ ซึ่งการบริหารจัดการสภาสิ่งแวดล้อมโดยการนำ HR แนวทางในการมองภาพรวมขององค์กรจากภาพใหญ่ Macro ไปสู่ระบบ Micro ด้วยการสร้างความสุข นอกจากนี้ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จะนำต่างชาติมาดูงานจัดการสิ่งแวดล้อมม ณ โรงงานเผาขยะจังหวัดภูเก็ตเร็วๆนี้ เมื่อเวลา15.20 - 17.30 น.เยี่ยมชมถนนสายวัฒนธรรม มนต์เสน่ห์แห่งภูเก็ต โดยทีมงาน Old Phuket Town โดยชมวัฒนธรรมอาคาร ชิโน -โปรตุกีช การแต่งกายด้วยชุดหย่าหยา อาหารพื้นเมืองและประเพณีการแต่งงานของคนไทยเชื้อสายจีน "ฮกเกี่ยน " ได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของรากเหง้าของบรรพบุรุษจากหลักฐานเช่นตู้เซพที่ปรากฏ คศ.1843 ด้วยชามกระเบื้องลายจีน ฮอลันดา รวมทั้งความเป็นอยู่ของชาวไทยเชื้อสายจีน ไทยมุสลิม ไทยซิกซ์ คริสจักร ด้วยการประกอบธุรกิจการค้าอยู่ในชุมชนอย่างเข้มแข็งเป็นการท่องเที่ยววัฒนธรรม ซึ่งทางทีมนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต ได้ต้อนรับด้วย ขนมโอ๋เอ๋ว เป็นขนมที่มีเฉพาะหาทานได้เฉาะจังหวัดภูเก็ตเท่านั้น ขนมเต้าส้อ ขนมม่อเหล้า ว ขนมผิง และ ขนมก้องทึ้ง ที่ร้านโก้ปี้เตียมเป็นร้านที่มีกลิ่นไอของคนไทยเชื้อสายไทยจีน ในการต้อนรับครั้งนี้ดิฉันและทีมงานได้ประชุมและวางแผนมอบหมายโดยเฉพาะดิฉันในการต้อนรับและอาหารพื้นเมือง จากการชมถนนสายวัฒนธรรม มนต์เสน่ห์แห่งภูเก็ต ด้วยบริหารจัดการทุนมนุษย์ด้วยหลัก 6 หลักในการทำงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1).คิด Macro ทำเป็น Micro 2).ทำเป็นขั้นตอน 3).ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย 4).การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการณ์ ( Communication Condination Integration )ในการดำเนินกิจกรรมของถนนสายวัฒนธรรมดิฉันได้รับความรู้ 4 ด้านได้แก่ 1).Culture 2).Climate (CSR ) 3).Flexiblity ในการทัศนศึกษา (Study Tour ) "เรื่องการจัดการทุนมนูษย์ของเทศบาลนครภูเก็ค ได้รับ Happiness ประกอบด้วย 1).Respect 2).Dignity และ 3).Sustainabilty ท้ายสุดนี้ดิฉันสุขด้วยความพอใจ สุขด้วยความอบอุ่น สุขด้วยความสนุกสน่าน พร้อมทั้งดิฉันได้ตกผนึกเกี่ยวกับ 1).เก่งด้วยแรงจูงใจ 2).เก่งด้วยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวปัญหา และ เก่งด้วยการกล้าพูดกล้าบอกและกล้าแสดงออกด้วยความเหมาะสมพร้อมทั้งได้ข้อคิด 1).ดีด้วยการรู้จักอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ 2).ดีด้วยการมีน้ำใจและการเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น และ 3).ดีด้วยการรู้จักว่าอะไรถูก อะไรผิด และการยอมรับผิด ดิฉันขอบคุณมากๆ โดยเฉพาะท่านนายกฯเทศบาลนครภูเก็ต และ ท่านศ.ดร.จีระ หงส?ลดารมภ์ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

เรียน ศ. ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง Study Tour การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรมการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต รหัส. 53484931011

ดิฉันคิดว่าโครงการทัศนศึกษา ( Study Tour ) เรื่องการจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ตเริ่มในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับการต้อนรับนักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ ศูนย์ภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ดิฉันและเพื่อนๆได้นำท่าศาสตราอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ พร้อมน้องสาว 2 คนทีมงานของท่านอาจารย์ในคำคื้นนี้ต้อนรับด้วยอาหารแบบพื้นๆของจังหวัดภูเก็ตในท่ามกลางคนในจังหวัดภูเก็ตซึ่งท่านศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ท่านให้ความเป็นกันเองมากๆ ดิฉันมีความรู้สึก Motivation การทำงานมีประสิทธิภาพกับงานของท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เมื่อท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ยิ้มแย้มมีใบหน้าไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ท่านบริหารเวลาได้คุ้มค่ามากๆโดยติวการทำวิทยานิพนธ์ตัวต่อตัว ดิฉันคิดว่าท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ Emotional Capital กับนักศึกษาปริญญาเอกในคืนนั้นทุกคนใช้เวลา ประมาณ 3 ชั่วโมง (21.00 - 24.00 น.)

ในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ช่วงเช้ารับประทานอาหารเช้าแบบโบราณมีกลิ่นไอของคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี่ยน ดิฉันได้รับคำตอบท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นอาหารที่ยอดเยี่ยมดิฉันและเพื่อนๆได้รับProcess ในเรื่องการบริหารจัดการอาหารมื้อเช้านี้ขอบคุณท่านอาจารย์ เมื่อท่านนายกเทศมนตรีนครเทศบาลนครภูเก็ตมาถึงเทศบาลนครภูเก็ตดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ ได้รับเกียรติกัดช่อดอกไม้หน้าอกให้ท่านนายกเทศมนตรีภูเก็ต หลังจากนั้นท่าน ศ. ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ได้มีทีมนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตถือป้ายต้อนรับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อท่านศาสตราจารย์ถึงห้องประชุม ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ได้รับเกียรติกัดช่อดอกไม้หน้าอกให้ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ต่อจากนั้นท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตกล่าวต้อนรับพร้อมท้งกล่าวการบริหารจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ตอย่างสอดคล้องกับทฤษฎีทุน 8 ประการ พร้อมทั้งทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการรวมทั้ง 1).Reality 2).Relevance นอกจากนี้ท่านนายเทศมนตรีนครภูเก็ตท่านมี Vision เกี่ยว Inspiration และ Imagination ท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตโดยใช้ชุมชน/สังคมแบบ Connecting และ Engaging โดยท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตบริหารทุนมนุษย์ด้วยการมุ่งมั่นการสร้างนครภูเก็คให้เป็น " นครแห่งความสุขและน่าอยู่อย่างยั่งยืน "และนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตท่านมี Vision เมืองทีดี มีคนดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับการบริการที่ดี นอกจากนี้ท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตท่านกล่าว Open Mind ว่าเทศบาลนครภูเก็ตพร้อมที่จะสร้างเมืองให้น่าอยู่ สร้างสังคมให้อบอุ่น พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความเท่าเทียมกัน และ รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ของบรรพบุรุษ ซึ่งจะยึดมั่นบริหารจัดการภายใต้ธรรมรัฐ เพื่อสร้างประโยชน์สุขแก่ชาวภูเก็ตตลอดไป ต่อจากนั้นศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้ชื้นชมท่านนายกเทศมนตรีภูเก็ตเกี่ยวกับการบริหารจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ตสอดคล้องกับทฤษฎีอย่างหลากหลาย อทิเช่น 8K และ 5K รวมทั้ง Learning Methodolog : Learning Environment ; Learning Opportunities : Learning Communities ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ท่านได้แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ การเปิดเสรีอาเซียนปี 2015 ภูเก็ตจะเป็นอย่างไร? รุ่ง...หรือ...ร่วง?และเราจะวางแผนเรื่งทุนมนุษย์อย่างไร? การมียุทธวิธีเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของ Brand ซึ่งภูเก็ตเป็นเมืองที่ดึงดูดคนเก่ง คนสร้างสรรค์ทั่วโลก โดยเฉพาะคน ASEAN and ASIA นอกจากนี้สร้างภูเก็ต Link กับภูมิภาคมากขึ้น และสร้างภูเก็ตให้มี cluster ระหว่างจังหวัดใกล้เคียงมากขึ้น รวมทั้งการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น WTO ; FTA; ASEAN ฯลฯ พร้อมทั้งให้มีการทำ Master Plan ของ HR และทำ Feasibility Study วิธีการทำงานให้เสร็จภายในปี 2011 เน้นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและเอาชนะอุปสรรค์เมื่อได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ท่านนายกเทศมนตรีภูเก็ต ต่อจากนั้นเปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรมการจัดการ เรื่องการจัดการทุนมนุษย์ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ ได้กล่าวว่าทั้งท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต โดยได้ข้อคิดพอสังเขปดังนี้ 1).White Hat คิดแบบมีเหตุผล 2).Red Hat คิดตามอารมณ์ตามความรู้สึก 3).Black Hat คิดแบบอนุรักษ์นิยม 4).Yellow Hat คิดเร็วไปข้างหน้า 5).Green Hat คิดสร้างสรรค์ และ 6).Blue Hat การมองทั้ง 5 Hat นำมาวิเคราะห์ การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนก็ต้องเป็นการ Shared Vision การเป็นผู้นำที่ดีให้คนอื่นดีด้วย การเป็นผู้นำที่ดีต้องให้สังคมดีด้วย "มองตัวเองก่อนมองคนอื่นทำงานเป็นทีม ได้รู้จักการตัดสินใจการแก้ปัญหา การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพคือการพัฒนาทางความคิด พร้อมทั้งให้แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างสมาคม เพอรานากัน และชุมชน Old Phuket Town เกี่ยววัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน การแต่งกายชุดหย่าหย่ารวมทั้งประเพณี ขนบธรรมเนียม เป็นต้น หลังจากนั้นเดินทางร้านอาหารปากน้ำซีฟ้ด ประกอบด้วยอาหารอาหารทะเลแบบสดๆ และมีขนมจีนน้ำยาปู เส้นหมีเส้นเล็ก พร้อมด้วยผลไม้สัปประรดกรอบหวาน เมื่อรับประทานอาหารมื้อเที่ยงต่อไปด้วยเยี่ยมชมและฟังบรรยายพิเศษการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครภูเก็ต ณ ศูนย์รวมกำจัดขยะจังหวัดภูเก็ต ดิฉันได้ข้อติดในการแลกเปลี่ยนของท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉัน พบว่า 5E ประกอบด้วย 1). Example (Role Model ) 2). Expericrce 3).Education 4). Environment 5). Evaluation จากนั้นทีมงานนักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนภูเก็ต นำท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ชมถนนสายวัฒนธรรม มนต์เสน่ห์แห่งภูเก็ต ซึ่งมีทีมพี่สมาคมและชุมชน/สังคม Old Phuket Town ได้สัมผัสกลิ่นไอ วัฒนธรรม ชิโน - โปรตุกีช การแต่งกายพื้นเมืองชุด "หย่าหยา "ซึ่งท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แลกเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของรากเหง้าบรรพบุรุษจากหลักฐานที่ปรากฎ ค.ศ. 1843 ถ้วยชามกระเบื้องลวดลายจีน ฮอลันดา ฯลฯ พร้อมทั้งต้อนรับด้วยของหวานที่ขึ้นชื่อ โอเอ๋ว ที่มีเฉพาะในจังหวัดภูเก็ตเท่านั้น พร้อมทั้งขนมที่โบราณ ได้แก่ ขนมมอเหล้าว ขนมก้องทึ้ง ขนมผิง และ ขนมตึบตับ ฯลฯ ในถนนสายนี้มีผ้าถุงปาแต๊ะทีขึ้นชื่อ และผ้าถุงที่เป็นลายปักดอก ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ท่านมีความประทับใจมากต่อจากนั้นได้นำท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พร้อมทีมงานน้อง 2 คนที่สนามบินนานาชาติภูเก็ตเพื่อกลับกรุงเทพฯ ดิฉันขอขอบคุณทีมงานเทศบาลนครภูเก็ต โดยเฉพาะท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตและท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นอย่างสูงที่ท่านมอบ Personal Mastery : Personal Vission และ Mental Model ขอบคุณมากๆ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

สรุปการศึกษาดูงาน ณ ประเทศจีน ของคณะนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรนวัตกรรมการบริหารจัดการ

โดย พระมหาสาธิต เมธีจรรยาภรณ์ ศูนย์กรุงเทพ รุ่นที่ 5

คืนวันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. มีการทักทายปราศรัย และทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างผู้เรียนทั้ง 2 ศูนย์ คือ กรุงเทพและนครราชสีมา

23.30 น. เริ่มทยอยกันเช็คอิน ตรวจเอกสารผ่าน ตม. แล้วไปเลือกซื้อของตามอัธยาศัย คณะเราออกเดินทางประมาณ 1.00 น. โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย ประมาณ 1 ชั่วโมง ที่สนามบินกรุงปักกิ่งแยกอาคารผู้โดยสารขาเข้าออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารผู้โดยสารขาเข้าซึ่งเป็นจุดจอด และตรวจคนเข้าเมือง และเดินทางด้วยรถราง มาอีกอาคาร เพื่อรับกระเป๋า และเป็นจุดกระจายผู้โดยสาร ทราบว่า เป็นแนวคิดหลักสำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี 2008 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสาร

ช่วงเช้าวันแรก เดินทางไปเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้าม

ช่วงบ่าย เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ China University of political science and law ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งในการศึกษาดูงาน

China University of political and law ดำเนินการจัดการศึกษาบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลารวม 14,416 คน รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,753 คน

การแนะนำฝ่ายไทย นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำความเป็นมา ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมี 4 ศูนย์ประกอบด้วย กรุงเทพ นครราชสีมา เลย และภูเก็ต สำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มี 2 ศูนย์ได้แก่ กรุงเทพและนครราชสีมา รวม 21 คน

หลังจากที่ได้แนะนำการจัดการศึกษาแก่กันและกันแล้ว ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและนักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ประเด็นสำคัญที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ

1.การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บูรณาการข้ามศาสตร์ โดย China University เน้นทางด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ทางฝ่ายสวนสุนันทา โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสริมประเด็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านนามธรรม (soft side) ยกตัวประเด็นทุนทางสติปัญญา ในการออกแบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่เกิด จนถึงวัยทำงาน และการปลูกฝังความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองตลอดช่วงเวลาของการทำงานของคน เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรม เชื่อมโยงกับคุณภาพชีวิต

2.นักศึกษาจาก China University ได้ยกประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาอย่างไร ตัวแทนนักศึกษาศูนย์กรุงเทพ ได้ตอบประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มีการถามต่อเนื่องในรายละเอียด และตอบอธิบายเพิ่มเติม ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ เรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านนามธรรม เช่น ทุนทางจริยธรรม ทุนความยั่งยืน ทุนความสุข

หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว ได้เปิดโอกาสในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อเสริมจุดแข็งของกันและกัน และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

นอกจากนี้นักศึกษาของทั้งสองสถาบัน ยังได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตามความสนใจอีกด้วย

สิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นต่อไป คือความร่วมมืออันดีระหว่างสองสถาบัน ทั้งการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และอาจก้าวหน้าถึงการเปิดหลักสูตรร่วมกัน

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง Ethical Capital & Human Capital

ดิฉัน นางจงดี พฤการักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา

สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ รหัส 53484931011 (ศูนย์ภูเก็ต)

ดิฉันคิดว่า Human Capital ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของทุนอนาคตในประเด็นที่ Do the right thing โดยความถูกต้องมีประโยชน์และมีคุณธรรมจริยธรรม Ethical Capital ขณะที่ดิฉัน ทำงานทุกวันในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ทุกๆวันดิฉันได้รับความสุขจากครอบครัวเป็นแรงดลบันดาลใจในการทำงานระดับวิทยาลัย แต่เมื่อดิฉันคิดถึงคำกล่าวหรือเรื่องเล่าว่า การทำงานในระดับองค์กร ทุนมนุษย์ และ การสร้างศรัทธา (Trust) ที่ดิฉันมีความรู้สึกไม่ค่อยพอใจมากๆเมื่อมีคนกล่าวว่า ประเทศไทยของเรามีการ "คอร์รัปชั่น" ทำให้ดิฉันมองเห็นว่า บุคคลที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศ ควรจะต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม นอกเหนือจากความรู้ ความสามารถ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดแห่งความศรัทธารวมถึงปัจจุบันนี้ สังคมโลกกำลังให้ความสำคัญ ให้ความสนใจกับการสร้างความสรัทธาของผู้นำ คนไทยส่วนใหญ่ มักบอกว่าการคอรัปชั่นในสังคมไทยเป็นปัญหาใหญ่ที่กัดกร่อมสังคมไทยมานานและมีอยู่ในสังคมทุกระดับชั้น ตั้งแต่หมู่บ้าน อำเภอถึงระดับประเทศ แตกต่างกันที่ความเสียหาย โดยการทุจริตระดับชาติ ก็จะส่งความเสียหายมากกว่าการทุจริตในระดับรากหญ้า ดิฉันเห็นว่าที่มาของปัญหาการคอรัปชั่นเกิดจากค่านิยมของคนไทยที่นิยมยกย่องคนที่มีอำนาจ คนร่ำรวย โดยไม่สนใจว่าอำนาจหรือความร่ำรวยดังกล่าวได้มาอย่างไร หรือส่วนหนึ่งเป็นเพราะนิสัยของคนไทยที่ไม่ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของส่วนร่วม ถือว่าธุระไม่ใช่หากตัวเองไม่ได้รับความเดือนร้อนหรืออาจจะเกรงกลัวอำนาจจะเกรงกลัวอำนาจอิทธิพลอยากต่อต้านแต่ก็ไม่กล้า เพราะถ้าได้รับอัตรายก็ไม่มีใครช่วยเหลือจริงจัง ฉะนั้นดิฉันคิดว่า Human Capital ทุนมนุษย์มีหนทางแก้ไขจะสร้างค่านิยมให้นับถือคนเก่ง มีคุณธรรมให้ได้ Ethical Capital ในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าการช่วยกันแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น จะต้องเริ่มที่ตนเองก่อนโดยมีความเชื่อมั่นต่อตนเอง (Self Trust) ว่าจะไม่ทุจริตคิดโกงและประพฤติ ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างกับคนรอบข้าง จากนั้นจึงขยายไปสู่ครอบครัวและสังคม โดยสอนลูกหลานให้นิยมยกย่องคนเก่ง คนดีที่ซื้อสัตย์ สุจริต ถึงแม้เขาจะไม่ร่ำรวย ไม่มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตก็ตามในระดับสังคม ต้องสร้างทุนทางจริยธรรม ตั้งแต่วัยเด็กและเยาวชน ให้มีค่านิยมที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้นำองค์กรต้องประพฤติตัวให้มีความโปรงใส ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นตัวอย่างและได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากสมาชิกในองค์กรพร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยกย่องคนดี มีคุณธรรม ถึงแม่จะไม่ร่ำรวยก็ตามซึ่งดิฉันคิดว่า การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล พร้อมดิฉันคิดว่าการที่นำทฤษฎีทรัพยากรมนุษย์ & K' S มาพัฒนาให้มีความรู้ โดยให้การศึกษา ซึ่งสามารถเป็นการสร้างทุนทางปัญญา ให้สามารถคิดวิเคราะห์พร้อมกันนั้นต้องสร้างทุนทางจริยธรรมด้วย เพราะลำพัง คนเก่ง คนฉลาดอย่างเดี่ยว แต่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริตพร้อมทั้งทำงานด้วยความโปรงใส และมีความศรัทธาเชื่อมั่นรวมกันว่าคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีและให้เกียรติยกย่องนับถือ สิ่งที่คนไทยและดิฉันยึดถือในการทำงานสอดคล้องกับทุนจริยธรรมทุนแห่งความสุข ประกอบด้วยอิทธิบาท 4 ได้แก่ 1.) ฉันทะ คือความพอใจในงานที่ทำ 2.) วิริยะ คือความเพียรพยายาม 3.) จิตตะ คือการมีเวลาทำงานที่จดจ่อมีสมาธิ 4.) วิมังสา คือ ทำแล้วต้องพิจารณาตรวจสอบใคร่ครวญให้รอบคอบส่วนสิ่งที่ส่งเสริมความสุขประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1.) งาน ดิฉันคิดว่างานที่ทำนั้นมีความท้าทายหรือไม่เปิดโอกาสผู้ปฏิบัติงาน ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่หรือไม่ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกมีคุณค่าหรือไม่เพียงใด

2.) วัฒนธรรมการทำงาน เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานในการตัดสินใจมีส่วนร่วมและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือไม่เพียงใดรวมทั้ง 3.) ปัจจัยแวดล้อม สภาพแวดล้อมในที่ทำงานส่งเสริมหรือเอื้ออำนวยต่อการทำงานหรือไม่ พร้อมทั้งพิจารณาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร และ 4.) ภาวะผู้นำ ซึ่งผู้นำส่งเสริมการทำงานหรือไม่มีการให้ทิศทางที่ชัดเจนในการทำงาน หรือไม่และสามารถสร้างขวัญกำลังใจได้ดีเพียงใด ในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าการส่งเสริมความสุขในการทำงาน 8 ปัจจัย ได้แก่ 1.) การมองในแง่ดี (Optimism) ต้องมองคนในแง่ดีมีอายุยืนยาวกว่า 2.) การแสดงความขอบคุณ (gratitude) ซึ่งเป็นการแสดงความขอบคุณต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงานและเป็นวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร 3.) การให้อภัย (forgiveness) เป็นการสร้างความสงบสุขเป็นหนทางแห่งความสุข 4.) พัฒนาตนเองทางการพูด (improve your self talk) ซึ่งการพูดในทางบวกเป็นการช่วยลดความเครียดและทำให้สมอง ผ่อนคลายมีความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆได้ 5.) ปลดปล่อย (flow) ลืมสิ่งที่ทำ ปล่อยให่ผ่านไปการลืมเป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมความสุขที่ดี และ 6.) มีความสุขหรือเพลิดเพลินกับสิ่งที่ทำ (Savor) ความเพลิดเพลินกับงานนั้นเราสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น ได้ตลอดเวลา ทั้งก่อนที่เราจะลงมือทำ ขณะที่ทำและคิดถึงมันหลังจากงานได้ลุล่วงไปแล้ว 7.) มองมุมใหม่ (Reframe) การมองสิ่งเดิมในมุนใหม่ ๆ จะช่วยให้ความคิดไปทางลบเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกมากขึ้น รวมทั้ง 8.) การสร้างความสุขจากสิ่งที่ทำได้ดี (Building on strength) ความสุขนั้นจะเป็นความสุขที่ยั่งยืน ถ้าเป็นความสุขที่เราได้ทำดี หาโอกาสได้ทำในสิ่งที่ตนเองทำได้ดีแล้วคุณจะไม่เบื่อและมีความสุข

ดิฉันขอสรุป ทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความสุจนั้นพบว่าชีวิตของคนเราก็เหมือนกับเส้นด้ายที่ถูกดึงมาจากหลอดด้ายทีละนิดๆขณะที่ดึงด้ายออกมาจากหลอดด้าย นั้นบางทีเราก็รู้สึกกระหยิบว่า ยังมีด้ายเหลืออยู่อีกมากมายจึงชะล่าใจดึงด้ายออกมาใช้อย่างฟ่มเฟือยเพื่อที่จะพบว่าแท้จริงแล้ว มีด้วยอยู้เพียงนิดเดียวเย็มผ้าได้เพียงนิดหน่อยก็หมด หากแตที่เราเห็นว่ายังคงมีด้ายเหลืออยู่เยอะแยะนั้นเป็นเพราะว่าแกนด้ายม้วนใหญ่ๆต่างหากแกนด้ายหลอกตาให้เราพลอยชะล่าใจ ซึ่งตรงประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่าความสุขในกรณีพูดถึงความสำคัญของเวลาและคุณค่าของชีวิต สอดคล้องกับข้อคิด "คนสำคัญที่สุดคือคนที่อยู่เบื่องหน้าเรา" หรือข้อคิดเกี่ยวกับ "งานสำคัญสุดคืองานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้" พร้อมทั้ง "เวลาที่ดีที่สุดก็คือเวลาปัจจุบันขณะนี้" จากที่ดิฉันได้ผนวดเกี่ยวกับทุนความสุข ด้วยทุนทางจริยธรรม Key Success Factor เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จในประเด็นนี้ดิฉันพอสังเขปได้ดังนี้ 1.) นำ Best practice มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.) ส่งเสริมความสามารถของคนและ 3.) วัฒนธรรมการยอมรับผู้อื่น ท้ายสุดนี้ดิฉันขอฝากทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความสุขพอสังเขปได้ดังนี้ 1.) ถ้าคุณเปลี่ยนความคิดมันจะนำไปสู่การเปลี่ยนความเชื่อ 2.) ถ้าคุณเปลี่ยนความเชื่อมันจะนำไปสู่การเปลี่ยนความคาดหวัง 3.) ถ้าคุณเปลี่ยนความคาดหวังมันจะนำไปสู่การเลี่ยนทัศนคติ 4.) ถ้าคุณเปลี่ยนทัศนคติมันจะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมมันจะนำไปสู่การเปลี่ยนผลงาน 6.) ถ้าคุณเปลี่ยนผลงานมันจะนำไปสู่การเปลี่ยนชีวิตแล้วมีชีวิตมีความสุขและมีจรยธรรม ขอบคุณค่ะ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์

รหัส 53484931011 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์

นายวุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

รหัส 53484933008 ( ศูนย์นครราชสีมา ) วิชา การจัดการทุนมนุษย์ ( PHD 8202)

KM แตกต่างจาก LO

การจัดการความรู้ KM คือการจัดการความรู้ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย 3 อย่าง คือการพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กร

แรงจูงใจให้เกิดความรู้ คือ แรงจูงใจแท้ คือเป็นเป้าหมายที่งาน คน องค์กรเป็นสำคัญ เป็นหัวใจที่นำไปสู่ความสำเร็จ

แรงจูงใจเทียม คือ ดำเนินการตามการจัดการความรู้ในสังคมไทย นำไปสู่การจัดการแบบล้มเหลวในที่สุด คือทำเพื่อให้ได้ชื่อเสียง ทำให้องค์กรดูดี แต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการจัดการความรู้อย่างแท้จริง

ประเภทความรู้

ความรู้อาจแบ่งใหญ่ ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ

๑. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ ที่อยู่ในรู้แบบที่ เป็นเอกสาร หรือวิชาที่อยู่ในตำรา

ในตารา คู่มือปฏิบัติงาน

๒. ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ ที่สั่งสมมา

ยาวนาน เป็นภูมิปัญญา

องค์การเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน

การมีองค์การแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน

Learning Organization หรือ การทำให้องค์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นคำที่ใช้เรียกการรวมชุดของความคิดที่เกิดขึ้นมาจากการศึกษาเรื่องขององค์การ Chris Argyris ได้ให้แนวคิดทางด้าน Organization Learning ร่วมกับ Donald Schon ไว้ว่า เป็นกระบวนการที่สมาชิกขององค์การให้การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ด้วยการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ ในองค์การ

ความรู้จาก Organization Learning เป็นหลักการที่ Peter Senge ได้รวบรวมจากแนวคิดของ Chris Argyris และ Donald Schon รวมถึงนักวิชาการท่านอื่น มาเขียนหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับ Learning Organization ซึ่งมีชื่อว่า .”The Fifth Discipline”

แนวคิดของ Learning Organization

Chris Argyris และ Donald Schon ได้ให้คำนิยามการเรียนรู้สองรูปแบบที่มีความสำคัญในการสร้าง Learning Organization คือ Single Loop Learning ( First Order / Corrective Learning) หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแก่องค์การเมื่อการทำงานบรรลุผลที่ต้องการลักษณะการเรียนรู้แบบที่สองเรียกว่า Double Loop Learning (Second Oder/Generative Learning)หมายถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับผลการกระทำ

Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้

1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ

2. MentalModel: มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ

3. Shared Vission: การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มมผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มน้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภพบวกต่อองค์การ

4. Team Learn : การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ

5. System Thinking : มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

การพิจารณารูปแบบการเรียนรู้ขององค์การ (Learning Orientation) นับเป็นขึ้นตอนที่สำคัญที่ต้องทำทันทีควบคู่กันไปกับการวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ โดยองค์การจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสมรรถภาพขององค์การ โดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท คือ

1.วิธีการหาความรู้ (Knowledge Source)

2.โฟกัสที่เนื้อหาหรือที่กระบวนการ (Content -process Focus)

3.การเก็บความรู้ (Knowledge Reserve)

4.วิธีการเผยแพร่ความรู้ (Dissemination Mode)

5.ขอบเขตการเรียนรู้ (Learning Scope)

6.Value Focus

7.Learn Focus

รูปแบบการเรียนรู้เหล่านี้ไม่มีสูตรสำเร็จว่าอะไรคือรูปแบบที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ช่วยให้ทราบว่าองค์การมีการเรียนรู้อย่างไร (How Organization Learn)

ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้าง Learning Organization

แนวทางหนึ่งที่นิยมใช้ คือ SWOT ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรร เพื่อดูว่าโครงสร้างองค์การในปัจจุบันเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือไม่ แนวทางการพัฒนา Learning Organization คือการทำให้วิธีการเรียนรู้ที่องค์การใช้อยู่มีความแข็งแกร่งจนคู่แข่งตามไม่ทันกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้

1. เน้นการปรับปรุง Facilitating Factors ในกรณีที่วัฒนธรรมองค์การและรูปแบบการเรียนรู้ ทำให้เกิดความได้เปรียบในทางธุรกิจ

2. เน้นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและรูปแบบการเรียนรู้ควบคู่กับการปรับปรุง Facilitating Factors

ในกรณีที่วัฒนธรรมองค์การและรูปแบบการเรียนรู้กลายเป็นจุดอ่อนขององค์การ

ขั้นที่ 3 กระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization ครอบคลุม 2 วิธีการ คือ

การปรับปรุง Facilitating Factors แบ่งเป็น 10 แนวทาง คือ

1.Scanning Imparative การกระตุ้นให้พนักงานองค์การกระตือรือร้นเพื่อหาข้อมูลภายนอกองค์การ

2.Concern for Measurement การทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของผลต่างระหว่างระดับการปฏิบัติที่เป็นอยู่

3.Performance Gap การทำให้ทุกคนตื่นตัวและเห็นความสำคัญของผลต่างระหว่างระดับการปฏิบัติที่เป็นอยู่

4.Organization Curiousity การทำให้เกิดบรรยากาศในการทดลองความคิดใหม่ ๆ

5.Climate of Openness การทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เชื่อใจซึ่งกันและกัน

6.Contious Education การสนับสนุนให้เกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่องในหมู่พนักงาน

7.Operational Variety การทำให้พนักงานยอมรับวิธีการทำงานใหม่ ๆ

8.Multiple Leadership การทำให้เกิดผู้สนับสนุนในการเรียนรู้ เริ่มจากผู้จัดการในแต่ละส่วนงาน

9.Innovation Leadership การให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของพนักงานเพื่อสนับสนุนในทุกกิจกรรม

10.System Perspective การทำให้มองเห็นภาพการทำงานของทุกหนวนในองค์การอย่าเป็นระบบ เช่น การใช้ Job Rotation



ทางศูนย์ภูเก็ตได้สรุปโครงการ study tour ณ จังหวัดภูเก็ต เป็นวีดีทัศน์ ความยาวประมาณ 14 นาที จึงส่งมาให้ทุกท่านได้รับชมกันค่ะ ตาม link ด้านล่างค่ะ  

ที่ URL   http://www.youtube.com/watch?v=UhdNOa99aeg 

ในนามของศูนย์ภูเก็ต ขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ

 

 

 



ความทรงจำดี ๆ ที่เมืองภูเก็ต ^___^ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ประมวลภาพกิจกรรมโครงการ study tour ศูนย์ภูเก็ต

 

ในนามของนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อีกครั้ง ที่ทำให้การเรียนรู้นอกสถานที่เป็นไปด้วย
ความสนุกสนานและได้รับประสบการณ์มุมมองการเรียนรู้ใหม่  ^____^

รัตมณี เสนีกาญจน์ สวนสุนันทา กรุงเทพ

การศึกษาดูงาน ณ ประเทศจีน ของคณะนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรนวัตกรรมการบริหารจัดการ

วันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 10 สนามบินสุวรรณภูมิ ได้นัดกันที่เคาเตอร์ U เวลาประมาณ 22.00 น. ทั้งศูนย?กรุงเทพและศูนย์นครราชสีมา ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย ประมาณ 1 ชั่วโมง

ช่วงเช้าวันแรก เดินทางไปเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้าม

ช่วงบ่าย เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมกาวิทยาลัยChina University of political science and law ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งตามแผนที่วางไว้ในการศึกษาดูงาน

การแนะนำฝ่ายไทย นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำตัวและนักศึกษาที่ไปจากสวนสุนันทาด้วย หลังจากที่ได้แนะนำการจัดการศึกษาแก่กันและกันแล้ว ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและนักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ประเด็นสำคัญที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ

1.การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บูรณาการข้ามศาสตร์ โดย China University เน้นทางด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ทางฝ่ายสวนสุนันทา โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสริมประเด็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านโดยใช้ทฤษฏี 2R การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งเสริมให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตในการออกแบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่เกิด จนถึงวัยทำงาน

2.นักศึกษาจาก China University ได้ถามคำถามว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาทำอย่างไร ตัวแทนนักศึกษาศูนย์กรุงเทพ ได้ตอบว่ายึดหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบผลงานการวิจัยให้กับ China University และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

การเข้าเยี่ยมสถานทูตจีน

ได้รับการต้อนรับอย่างดี โดยท่านทูตได้ชี้แจงภารกิจทางด้านความสัมพันธ์ไทยจีน ก่อนอื่นท่านได้มอบแบบตัวอย่างที่จะพิมพ์หนังสือ “บันเทิงไทยในแดนมังกร”ให้กับศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

ท่านเล่าว่าเมื่อก่อน K POP จากเกาหลีได้รับความนิยมมากแต่ทางรัฐบาลกัวว่าจะเข้ามาครอบงำ เลยเป็นโอกาสที่ T POP ยังมีละครไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดย นักแสดงชาย คือ ติ๊ก (เจษฏาภรณ์) เคน (ธีระเดช) ส่วนนักร้องที่เป็นที่นิยม คือ บี้ THE STAR และละครไทยก็ยังนำมาแปลเป็นภาษาจีนด้วย ท่านเล่าว่าคนจีนบางคนยังเรียนภาษาไทยผ่านทาง INTERNET ด้วย

ปัจจุบันจีนได้ดำเนินการทำรถไฟความเร็วสูงที่จะไปเมืองใหญ่ๆโดยใช้เวลาน้อยและยังมีแผนที่จะทำรถไฟความเร็วสูงถึงประเทศไทย

จากนั้นมีการและเปลี่ยนเรียนรู้โดยทางศูนย์โคราชได้ถามว่าอยากจะนำ OTOPของไทยเข้ามาขายในจีนเป็นไปได้หรือไม่ ท่าได้ตอบมาว่าถ้าเราทำคุณภาพ ขายฝีมือ สร้างแบรนให้กับตัวเองก็จะเป็นไปได้ และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

รายงาน study tour นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประเทศจีนระหว่าง 23 – 27 ตุลาคม 2554 โดย วาสนา รังสร้อย ศูนย์กรุงเทพมหานคร

จากการได้ร่วม study tour กับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประเทศจีน คืนวันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. มีการทักทายปราศรัย และทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างผู้เรียนทั้ง 2 ศูนย์ คือ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา 23.30 น. เริ่มทยอยกันเช็คอิน ตรวจเอกสารผ่าน ตม. คณะเราออกเดินทางประมาณ 1.00 น. โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น.

สนามบินกรุงปักกิ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมเป็นเมือสำคัญทางการค้าของอาณาจักรเยี่ยน เมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล หลังการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและการสู้รบกลางเมือง ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ชัยชนะ จึงประกาศตั้งรัฐบาลและกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศนับแต่นั้นมา และสนามบินกรุงปักกิ่งนี้เป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 43 ล้านคนและเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015 ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกา ผู้ออกแบบสนามบินคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทางที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด และใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร แยกอาคารผู้โดยสารขาเข้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารผู้โดยสารขาเข้าซึ่งเป็นจุดจอด และตรวจคนเข้าเมือง และเดินทางด้วยรถราง มาอีกอาคาร เพื่อรับกระเป๋า ซึ่งเป็นจุดกระจายผู้โดยสาร การจัดระบบนี้เป็นแนวคิดหลักสำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี 2008 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสาร นับว่าเป็นความโชคดีของคณะ study tour ของเราที่ได้รับความสะดวกและรวดเร็ว

ท่านอาจารย์ได้พานักศึกษา ศึกษาดูงานตามวัตถุประสงค์ ที่ปักกิ่ง และเทียนจิน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับความรู้ที่หลากหลาย กล่าวคือ

1. ช่วงเช้าวันแรก 24 ตุลาคม เดินทางไปชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นจัตุรัสที่กว้างใหญ่ที่สุด

ในโลก ชมศาลาประชาคมที่สามารถบรรจุคนได้นับหมื่นคน ชมอนุสาวรีย์วีรชน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้ามซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง รวม 24 รัชกาล ภายในประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ถึง 9,999ห้องบนเนื้อที่กว่า 720,000 ตารางเมตร

2. พานักศึกษาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน China University of political and law ดำเนินการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) โดยนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้าร่วมกับการจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลารวม 14,416 คน รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,753 คน

ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำในส่วนของการจัดการการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับความเป็นมา ที่เริ่มจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมี 4 ศูนย์ที่จัดการเรียนการสอนแบบ VDO Conference ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เลย และภูเก็ต สำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มี 2 ศูนย์ได้แก่ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา รวมทั้งหมด 21 คน จาก MBA EDUCATION CENTER OF CUPL ได้รับคำถามจากนักศึกษาที่น่าสนใจเรื่องการจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความสุขในวัยรุ่น และการนำศาสนาพุทธเข้ามาพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และตัวแทนนักศึกษาฝ่ายไทยศูนย์กรุงเทพมหานครได้ช่วยตอบคำถาม ในสิ่งที่ทางประเทศไทยเราได้พัฒนาเรื่องทุนมนุษย์มานานแล้ว ทั้งทฤษฎี 8 k’s 5K’s ของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และในแนวพุทธทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ศาสนานั้นถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมาช้านานแล้ว เป็นวัฒนธรรมของคนที่นับถือศาสนาพุทธทั้งประเทศก็ว่าได้ จะเห็นได้ว่าทั้งทฤษฎีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และศาสนาพุทธ เป็นสิ่งที่คนไทยได้นำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง

3. นำชมและช้อปปิ้งตลาดรัสเซีย ทานอาหารค่ำ และเข้าชมกายกรรมปักกิ่ง “Legend of jinsha”ที่น่าตื่นเต้นเลื่องชื่อและน่าหวาดเสียวผสมผสานกับความสวยงาม อ่อนช้อยพิเศษกับการแสดงแนวใหม่ที่ตื่นเต้นมากกว่าเดิมกับมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง

4. 25 ตุลาคม ได้ชม”หอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีน ใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี ชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าชมและชิม ชาอวู่หลงของปักกิ่งและชาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่นชาแดง ชาผลไม้ ชามะลิ และชากุหลาบ

5. 26 ตุลาคม เวลา 07.00 น. ออกเดินทางชมเมืองเทียนจิน ขณะเดินทางได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของจีนโบราณที่ยังคงความสวยงามน่าชม เนื่องจากอาคารทั้งสองฟากฝั่งถนนนั้นยังคงความดั้งเดิมไว้อย่างน่าชื่นชม เมืองเทียนจินเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือไกลและใกล้ และการค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษ และขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์

ขุดน้ำมันปิโตเลียม แทรคเตอร์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช นาฬิกา โทรทัศน์ และเครื่องถ่ายรูป ฯ

เวลา 09.30 น. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน Tianjin University of Technology ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หรือเทคโนโลยีราชมงคลของไทยเรา แนวการจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน และได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้นับว่าเป็นโชคดีที่ทางสถานทูตไทย ที่ประจำในประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร

วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ และคณะ ท่านให้เกียรติกับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ

หงส์ลดารมภ์พร้อมกับนักศึกษาเข้าเยี่ยมคารวะท่านและร่วมฟังแนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและ

เชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม สุดท้ายท่านได้ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากคือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ต้องปรับระบบด้านการคิด การใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา

จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์ผีเซียะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนให้ท่านได้ชมและลูบผีเซียะโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอโชคลาภ

6. 27 ตุลาคม เริ่มออกเดินทางออกจากที่พักเวลา 07.00 น. เหมือนเดิมไปสู่กำแพงเมืองจีน ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่า จุดชมวิวกำแพงเมืองจีนที่สวยที่สุด เพราะจะได้เห็นวิวในมุม 360 องศา โดยนั่งกระเช้าขึ้นชม ผ่านการชมรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ที่สร้างขึ้นขนานราบไปตามแนวภูเขา นำสู่ด่าน จี ยง กวน นำชมกำแพงยักษ์ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ สิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก โดยพระจักรพรรดิฉินซี ทรงบัญชาให้สร้างขึ้นรวบรวมกำแพงเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันมีความยาวถึง 6,700 กิโลเมตร ครอบคลุมอาณาบริเวณทั้งสิ้นรวม 5 มณฑล เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกลและพวกเติร์ก จากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรีย สามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ เมื่อทอดสายตาตลอดแนวกำแพงไปจะเห็นได้ว่ากำแพงยักษแห่งนี้เปรียบเสมือนพญามังกรอันยิ่งใหญ่ที่กำลังเริงลีลาอยู่บนยอดเขาด้วยท่าทางอย่างองอาจและสง่างาม จากนั้นชมโรงงานหยกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ชมหยกโบราณ การแกะสลักหยกในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการดูหยกของแท้ว่าจะทำอย่างไร ได้ผ่านชมสนากีฬาโอลิมปิค สุดท้าย แวะบริษัท เป่าสู้ถาง ร้านบัวหิมะ ยาจีน ชนิดต่าง ๆ

เวลา 19.40 น. เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร

จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งเมืองจีน ทุกเมือง กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้รู้จักในนามของรัฐบาล เช่น ร้านผ้าไหม นวดฝ่าเท้า ร้านบัวหิมะ ร้านชา ร้านไข่มุก ร้านหยก ร้านผีเซียะ ทุกรายการ บรรจุในโปรแกรมทัวร์ ด้วย เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับประเทศจีนได้อย่างยั่งยืน กฎหมายและกฎข้อบังคับของจีนก็ทวีความสมบูรณ์ยิ่งฃึ้น อย่างต่อเนื่อง ตลาดเปิดกว้างยิ่งฃึ้นมิได้ขาด บรรยากาศการลงทุนได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างไม่ ขาดสาย การปฏิรูประบบการเงินได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ทั้งนี้และทั้งนั้นล้วนได้สร้างหลักประกันที่พึ่งพาอาศัยได้แก่เศรษฐกิจจีนที่จะพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

จุดแข็งและจุดอ่อนในทางเศรษฐกิจของจีน

จุดแข็งในการพัฒนา

จีนมีศักยภาพอยู่มาก เช่น

1. การมีประชากร 1,300 ล้านคน ทำให้การผลิตแบบประหยัดจากขนาดใหญ่ (Economy of Scale) ซึ่ง

เป็นขนาดในฝันของนักเศรษฐศาสตร์ นักวางแผนทั้งหลาย

2. จีนมีอัตราการออมในประเทศสูง มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงมาก

3. มีขนาดตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ ทำให้จีนพึ่งตนเองหรือพึ่งตลาดภายในประเทศเป็นสัดส่วนสูง

กว่าการพึ่งการค้าระหว่างประเทศมาก

4. การพัฒนาแบบสังคมนิยมที่ผ่านมา 50 กว่าปี (ก่อนที่จะปฏิรูปเป็นระบบตลาดเมื่อ 20 กว่าปีนี้) ทำให้

คนจีนมีพื้นฐานทางการศึกษาทั่วไป, มีวินัยในการทำงานที่ดี (แม้ว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับสูง

ยังพัฒนาได้ไม่มากนัก)

5. ไม่มีปัญหาความแตกต่างทางเชื้อชาติมาก

6. รัฐบาลค่อนข้างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ

7. จีนมีเครือข่ายคนจีนโพ้นทะเล ซึ่งชำนาญเรื่องอุตสาหกรรมการค้า ที่พร้อมจะร่วมลงทุน และเข้าไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ

ของจีน

จุดอ่อนในทางเศรษฐกิจของจีน

เมื่อเทียบกับขนาดของประเทศ และทรัพยากรต่าง ๆ การมีประชากรมากทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมาก จึงจะทำให้คน 1,300 ล้านคน(เป็นคนสูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปถึง 10% หรือ 120 ล้านคน) มีงานทำ มีอาหารการกิน มีปัจจัยสี่ และปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ อย่างเหมาะสม

นี่คือโจทย์สำคัญที่ต้องค้นคว้าเจาะลึกอย่างวิพากษ์วิจารณ์ ว่าจีนจะสามารถพัฒนาให้คน 1,300 ล้านคนมีการกินอยู่ที่ดีขึ้นทั่วถึงหรือไม่ มีความรู้ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเข้มแข็ง เจริญเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างสม่ำเสมอเพียงไร และเศรษฐกิจจีนในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนและการค้ากับประเทศอื่น ๆ จะมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างไร

บทบาทของจีนต่อเศรษฐกิจโลก

ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่มีการออม มีการลงทุนภายในประเทศสูง การลงทุนสุทธิ จากต่างชาติในรอบ 10 ปีหลัง ตกปีละกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มากที่สุดทั้งในเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด จีนกำลังจะเติบโตแน่ ๆ แต่เราไม่อาจมองเฉพาะเส้นกราฟของความเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น ต้องมองปัญหาภายในของสังคมจีน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตของคน

ฐานะขนาดใหญ่ของจีนอาจจะทำให้เกิดอำนาจต่อรองในองค์การค้าโลก (WTO) ที่จะถ่วงดุลกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมได้บ้าง แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ จีนก็คงจะคำนึงถึงประโยชน์ตัวเองมากกว่าที่จะหาเสียงทางการเมืองกับประเทศกำลังพัฒนาเหมือนในยุคที่ยังมีการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมกันอยู่ การเติบโตของจีนและผลกระทบต่ออาเซียนและต่อไทย

การมองว่าการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนจะเป็นผลดีต่ออาเซียน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกเป็นการมองตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่อย่างง่าย ๆ มากไปหน่อย เราต้องพิจารณาให้ดีว่า จะเป็นผลบวกและผลลบอย่างไร และที่ว่าเป็นประโยชน์นั้น เป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออก,ผู้สั่งเข้า, ผู้ร่วมลงทุน หรือต่อประชาชนทั่วไป จีนองก็จะได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ คนที่ได้รับผลลบคือภาคเกษตร ที่ล้าหลัง ยากจนและเคยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จะแข่งขันสินค้าเกษตรจากประเทศอื่น โดยเฉพาะจากประเทศพัฒนา เช่น สหรัฐไม่ได้, พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งขณะนี้มีถึง 70% ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมจะถูกเลิกจ้างเพราะการยุบเลิก, การแปรรูป, ปรับโครงสร้างใหม่ จีนเองก็คงรู้ว่ามีผลลบด้วย แต่จีนต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบทันสมัยจึงยอมเปิดรับบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเมื่อ 30 ปีที่แล้วเคยเป็นศัตรูทางอุดมการณ์

การมองว่า ถ้าจีนกับอาเซียน หรืออาจจะรวม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (อาเซียน + 3) รวมกันเป็นเขตการค้าเสรี จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่มหึมาในแง่ประชากร และผลิตภัณฑ์มวลรวมนั้น เป็นการมองแบบคิดเอาในเชิงสถิติเท่านั้น ความจริงก็คือ จีนกับอาเซียนผลิตสินค้าหลายอย่างใกล้เคียงกัน จึงเป็นคู่แข่งกันโดยปริยาย ปัจจุบันจีนกับอาเซียนมีการลงทุนและค้าขายกันน้อย เมื่อเทียบกับที่ทั้งจีนและอาเซียน มีการลงทุนและค้าขายกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม 3 กลุ่มใหญ่ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นด้านหลัก หรือมากกว่าครึ่งหนึ่ง

ในอนาคตมีแนวโน้มที่จีนกับอาเซียนจะลงทุนและค้าขายระหว่างกันมากขึ้น แต่การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก หมายถึง จีนจะเปิดรับการลงทุน และการค้ากับประเทศทั่วโลก

การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก ซึ่งจะทำให้จีนเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน เช่น ลดภาษีมากขึ้น จะมีผลต่อไทยทั้งในแง่บวกและลบ สินค้าที่ไทยมีโอกาสขายให้จีนได้มากขึ้น ข้าว ยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง สินค้าเกษตรแปรรูป น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เส้นด้ายและผ้าผืน ผลไม้ แต่สินค้าที่ไทยและอาเซียนจะถูกจีนแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งมีกำลังซื้อ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก เพราะจีนซึ่งมีค่าแรงงานต่ำกว่า ผลิตได้ถูกกว่า ไทยต้องเร่งรัดปรับตัวพัฒนาสินค้าออกที่มีคุณภาพมากขึ้น และต้องเจาะหาตลาดใหม่ ๆ ดังท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ ได้ให้แนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย 9hv’ยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม ในแง่การลงทุน ระหว่างจีนกับไทย ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โอกาสที่ไทยจะไปลงทุนในจีน เป็นโอกาสของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีการแข่งขันสูง ส่วนการลงทุนของจีนในไทย ก็มุ่งมาใช้ทรัพยากร เช่น ปลูกป่ายูคาลิปตัส หรือขายบริการ เช่น รับเหมา ก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ การลงทุนระหว่างสองประเทศยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนมากกว่าแก่ประชาชนในประเทศทั้งสอง ที่นอกจากได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจน้อยกว่านายทุนแล้ว ยังเสียประโยชน์ในแง่การทำลายสภาวะแวดล้อมของทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้น

ไทยและอาเซียนจะได้ประโยชน์จากจีนมากขึ้น หากการเจรจากันโดยตรงแบบทวิภาคและแบบภูมิภาค มีข้อตกลงที่พิเศษกว่าข้อตกลงทั่วไปในเวทีองค์การค้าโลก ซึ่งเป็นเวทีที่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมักจะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศกำลังพัฒนา ความจริงถ้าอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ร่วมมือกันได้จริง คือประเทศรวยกว่าใหญ่กว่ายอมผ่อนปรนช่วยเหลือประเทศที่จนกว่าเล็กกว่า ภูมิภาคนี้จะเติบโตและเข้มแข็งได้มาก แต่ทุกวันนี้พวกเขาล้วนมองไปที่สหรัฐและยุโรป ซึ่งมีความมั่งคั่งและกำลังซื้อ และต่างคนก็ต่างทำเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นของตัวเอง โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นยักษ์ที่คิดแต่ผลประโยชน์ตัวเองมากเกินไปจนเศรษฐกิจของตนเองถดถอยจนขยับไม่ได้

การลงทุนและการค้ากับจีนรวมทั้งการท่องเที่ยวมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น ถ้ามีการร่วมมือกันพัฒนาด้านการคมนาคมผ่านอินโดจีน และพม่าไปจีน ให้ครอบคลุมสะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะจะทำให้การขนส่งสินค้าลดต้นทุน และจีนทางภาคใต้ก็มีประชากรมาก และเศรษฐกิจเติบโต แต่การเติบโตแบบนี้

ก็ให้ผลประโยชน์แก่คนบางกลุ่มมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ และการเปิดประเทศกว้างขึ้น ก็สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย เช่น มีปัญหาแรงงานเถื่อน โสเภณี อาชญากรทางเศรษฐกิจ ยาเสพย์ติด โรคเอดส์ ฯลฯ เพิ่มขึ้น

ดังนั้นดิฉันคิดว่าเราจึงไม่ควรมองเรื่องการคบกับจีนในแง่ผลกระทบทางเศรษฐกิจล้วน ๆ หากต้องมองในแง่ผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย จีน ไทย อาเซียน ควรจะร่วมมือกันในแง่สังคม การศึกษา การวิจัย วิชาการด้านต่าง ๆ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย จึงทำให้ภูมิภาคเอเชียนี้เจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กันและอย่างยั่งยืน ไม่ใช่คิดแต่ในแง่การค้า การลงทุนในกรอบคิดการพัฒนาเพื่อหากำไรเอกชนของระบบทุนนิยมโลก ซึ่งสร้างปัญหา ความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความยากจน

การทำลายสิ่งแวดล้อม และปัญหาสังคมอื่นตามมมากมาย เท่านั้น

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร

1. ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองใน

ระดับโลก

2. Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ

3. มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น

4. สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว

ผลกระทบมีอะไรบ้าง?

1. การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่าง

ทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทัน และยืดหยุ่นปรับตัวให้รับ

สถานะการณ์ได้

2. ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ

ให้สามารถสื่อสารได้

3. ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management)

จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น

4. สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้าย

แรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับ ผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน

5. โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้น ในเรื่องของ

คุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ

6. เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้ มีการวิจัยอย่าง

จริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียน จากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่

คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็น

ผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์

เรื่องเล่าจากเมืองจีน

เราเดินทางจากโคราชไว้ย่าโมโดยใช้เส้นทางโคราช-กบินทร์บุรี แวะที่วังน้ำเขียว ที่ไทยสามัคคี วันที่เราเดินทางเป็นวันอาทิตย์ ร้านปิดไปหลายร้านเลยร้านชาชัก สายนี้น้ำไม่ท่วมถนนแต่บริเวณสองข้างทางจะเห็นน้ำท่วมที่ที่ฉะเชิงเซาเราได้แวะที่วัดหลวงพ่อโสธรไหว้พระปิดทองมีคนมาจำนวนมาก มีชุดที่จะต้องให้เปลี่ยนด้วย ภายในวิจิตรสายงามมาก เนื่องจากน้ำท่วมครั้งนี้เราจะเห็นรถจอดบนถนนลาดจอดรถเต็ม ไม่เหมือนสุวรรณภูมิที่เคยเห็น จากสนามบินสุวรรณภูมิเนื่องจากการเดินทางของวันนี้มีรถจอดเต็มไปหมด

เมืองแรกที่เราเดินทาง ปักกิ่ง อากาศหนาวเย็น มีถนนกว้างถึงนั้นมีรถติด มีจักยานไฟฟ้า บ้านเมืองสะอาด สวนสาธารณะจะเห็นเสาไฟที่ใช้ Solar Cell สังเกตในเมืองจะไม่มีป้ายโฆษณาในตัวเมือง จะเห็นแต่ด้านนอกถนนระหว่างเมือง ให้เห็นป้ายเตือนเราจะเห็นได้ป้ายเมาไม่ขับ อาคารมีการออกแบบที่ทันสมัยของที่นี้จะปูด้วยหินหรือกระจกเนื่องจากภูมิอากาศที่มีพายุทราย และมีการปลูกต้นไม้สูงเพื่อกันตามธรรมชาติ เรายังเห็นมีการเร่ขายของในสถานที่ท่องเพื่อขายของให้นักท่องเที่ยว ของเล่นยังเป็นแบบง่ายๆ ไพ่ ลูกข่าง และลูกแตะ การออกกำลังกายของคนจีนจะมีให้เห็นโดยตลอด การเขียนภูกันน้ำ ตะก้อ รำเล่นลูกบอล รำไทเก็ก แอโรบิค

มหาวิทยาลัยแห่งแรกได้ ที่ได้เข้าพบ เราจะได้เห็นบรรยากาศของการเรียนที่ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการจัดการทุนมนุษย์ และในด้านเศรษฐกิจ จีนและทางจีนสนใจเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา และได้เสนอ ทฤษฎี 2 R Reality ความจริง Relevance และเข้าประเด็น และได้เดินทางออกจากมหาวิทยาลัย ถ่ายรูปร่วมกัน และได้เชิญทางมหาวิทยาลัยมาที่ประเทศไทย แลกเปลี่ยนของขวัญ ถ่ายรูปร่วมกัน รับประทานอาหาร

เมืองที่ 2 ที่เราได้เดินทางคือเมืองเทียนสิน เราจะเห็นความแตกต่างของเมืองนี้จะเป็นแบบยุโรป มีแบ่งโซน และเป็นเขตปกครองพิเศษ เราจะได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายรูปร่วมกัน และได้เชิญทางมหาวิทยาลัยมาที่ประเทศไทย แลกเปลี่ยนของขวัญ ถ่ายรูปร่วมกัน

เรามีโอกาสที่ดีที่จะได้เดินทางไปสถานทูต และได้รับฟังข้อคิดเห็นจากทูตของประเทศไทยประจำประเทศจีน เรื่องของภาพยนต์ไทยที่มีความนิยมมากในประเทศจีน

เราได้ไปที่ศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ เน้นในเรื่องการดูแลตัวเองและการป้องกันไม่ใช่รักษาดังองค์จักรพรรดิจีน คังซี ผู้ดูแลตัวเอง และฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์โบราณสมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปี และรับการแช่น้ำอุ่นซึ่งคนจีนเชื่อว่าเส้นเลือดอะไรต่างๆ จะอยู่ที่เท้าจำนวนมาก ดังคำที่ว่าหัวเย็นแต่เท้าอุ่น และฟังการวินิจฉัยโรค ซื้อสมุนไพรตามอัธยาศัย เดินรับประทานอาหาร เดินไปที่ร้าน DR.tea ได้ชมการชงชา เครื่องเคลือบเปลี่ยนสีตามความร้อน และแนะนำชาแต่ละชนิด ทดลองชิมชาแบบต่างๆ เช่น อูหลง ชามะลิ และฟังเรื่องราวการเก็บชา

เราจะเห็นการส่งออกวัฒนธรรมของจีนผ่านการท่องเที่ยว โดยจะควบคุมโดยรัฐบาลทั้งหมด ไกด์ชาวจีน สมุนไพร และยา จีนมีการลงทุนสาธารณูปโภคโภคพื้นฐานอย่างมาก อาคารและมีการวางผังเมือง แบ่งโซนการค้า โซนธนาคาร และมี Model การวางผังเมือง และเน้นเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก และกำลังมีอุตสากรรมอาหาร ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อวางแผนรองรับประชากรในอนาคต เรายังสามารถเห็นเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้แสงอาทิตย์ แสดงถึงการเตรียมเรื่องพลังงาน

ถึงลูกศิษย์ Ph.D ทุกท่าน

 

·       อย่าลืมส่งการบ้านว่า Study Tour ครั้งนี้ได้อะไรบ้าง ทั้งศูนย์ภูเก็ต ที่มี Study tour ที่ภูเก็ต  1 วัน ศูนย์กลางและศูนย์โคราช ที่มี Study Tour  4 วัน ที่ประเทศจีน

·       แรงบันดาลใจ (Inspiration) ไปสู่

1.    Excellence

2.    Benchmark

3.    Quality

4.    Standard

5.    Best Practice

คืออะไร?

นางจงดี พฤกษารักษ์

ID : 53484931011

University : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

Major : สาขานวัฒกรรมและการจัดการ

Assignment : Key Success Factor ของการไฟฟ้า

จากการศึกษาดิฉันคิดว่า พนักงานเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งพนักงานที่รักองค์กรและเป็นคนเก่งด้วย เพราะฉะนั้นเราต้องให้ความสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งอยาดทำงาน อยากอยู่กับเรา ในขณะเดียวกันดิฉันคิดว่า ปัจจัยคนที่ไม่เก่งมีความพยายาม มีความตั้งใจจริง พร้อมที่จะพัฒนาตนเองด้วย ถ้าไม่ใช้อยู่เป็น Dead wood จะเป็นการสร้างปัญหามากมายในองค์กร และปัจจัยเสริมในองค์กรดิฉันคิดว่า สร้างบรรยากาศในการ Share ideas and Share Vision ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ Exccllence is not a skill but attitude

ดังนี้ 1.) Pain is gain

2.) Emotional ในทฤษฎี 5k ' s

3.) Share Vision

4.) Trust

5.) Motivation

6.) Reinventing

ในการศึกษาของการไฟฟ้าที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พอสังเขปดังนี้ 7 Habits ดังนี้

1.) Be Proactive

2.) Think with the end in mind

3.) Put first thing first

4.) Think win - win

5.) Try to understand and then to be understood

6.) synergy

7.) Sharpen the saw

ดิฉันได้ตกผนึกในการศึกษาการไฟฟ้าเป็นองค์กรใหญ่มี Training แต่ไม่ค่อยจะมี Learning เข้ามี Training เราไม่ได้ไปสร้าง Change and Value added ซึ่งจุดเด่นที่ดิฉันคิดว่าการไฟฟ้ามีได้แก่การสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้

(Learning Culture) หรือ สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Onganization)

ในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าสอดคล้องกับ Peter Senge ด้วยปัจจัยต่อไปนี้

1.) Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

2.) Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด

3.) Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน

4.) Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

5.) System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

นอกจากนี้ดิฉันคิดว่าการไฟฟ้า ยังไม่ทำอย่างเต็มที่โดยเฉพาะเรายังไม่ได้สร้างบรรยากาศในการ Share Vision ความรู้ร่วมกันในองค์กรและการบริหารส่วนใหญ่เป็นแบบ top down อยู่ซึ่งจะเน้น Command and Control หรือเป็นการทำงานแบบแนวดิ่ง Vertical Powcr มีไว้สำหรับ Participate ในทุกระดับส่วนใหญ่ทำงานกันเยอะ Working แต่ขาด Think Strategies คิดเป็นยุทธศาสตร์ไม่มาก และการทำงานเป็นทีมแต่ในระดับ Function ได้ดีแต่ไม่ Cross Function ซึ่งดิฉันคิดว่าถ้าองค์กรได้นำทฤษฎี 8H มาเสริมด้วยจะเพิ่มศักยภาพมากทีเดียวได้แก่

1.) Heritage 2.) Home 3.) Hand 4.) Head 5.) Heart

6.) Happiness 7.) Harmony 8.) Health

ดิฉันคิดว่าการไฟฟ้าสอดคล้องกับ How Passion and commitment will help in delivering excellence

ดังที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.1.) You have to enjoy you work

1.2.) You have to have pupose and meaning of work

1.3.) You have to have ability to get things done - once you have it the rcsult is that your

work is faster

1.4.) your work has guality and excellence

1.5.) your work is more than routine - value added and Value creation

1.6.) your work is more creative

ในประเด็นของการไฟฟ้า ดิฉันคิดว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้สิ่งสำคัญ Know ledgc ประกอบด้วยปัจจัยเสริมดังนี้

1.) จะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้

2.) จะเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)

3.) เริ่มดำเนิน Good ไปสู่ Great

สรุปการไฟฟ้าที่ดิฉันได้ศึกษาข้อมูลพอสังเขป ได้แก่

1.) Pain is gain 2.) Emotional ของทฤษฎี 5K'S (อารมณ์) 3.) Share Vision

4.) Trust 5.) Motivation and 6.) Reinventing พร้อมทั้ง 5E'S ได้แก่

1.) Example : เป็นสร้างตัวอย่างที่ดี 2.) Experience : ถ่ายทอดประสบการณ์ 3.) Education : การศึกษาให้ความรู้

4.) Environment : สร้างบรรยากาศที่ดีและ 5.) Evaluation : การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ท้ายสุดนี้ดิฉัน ได้ข้อคิดดังนี้ "เลือกคนดี พัฒนาคนดี รักษาคนดี" "เล็กแต่เร็ว ง่ายแต่ถูกต้อง น้อยแต่ภูมิใจ" พร้อมทั้ง "ถ้ามีปัญหาให้มองที่เป้าหมาย อย่าติดอยู่กับวิธีการ โดยมอง Goal มากกว่าสนใจ Means และระบบที่ดีต้องเป็นระบบที่ส่งเสริมสนับสนุนให้งานรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและสามารถสร้างตรวจสอบความผิดพลาดได้ดี" ขอบคุณมากๆ ขอให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีสุขภาพแข็งแรง ดิฉัน นางจงดี พฤกษารักษ์

นายราวี ซามี รหัสนักศึกษา 534849310030

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ว่าด้วยเรื่องทุนทางเทคโนโลยี (Digital Capital)

พลังงานทดแทน...พลังแห่งสายพระเนตร

เราคงจะจำกันได้ว่าในปี พ.ศ.๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้นำแกลบที่ได้จากการสีข้าวของ โรงสีข้าวตัวอย่างจากสวนจิตรลดา มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง จึงมีการจัดสร้างโรงบดแกลบขึ้นภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา การดำเนินงานในขั้นแรกเป็นการนำแกลบผสมปูนมาร์ลและปุ๋ยเคมี เพื่อใช้ในการปรับปรุงดิน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๓ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจัดซื้อเครื่องอัดแกลบให้เป็นแท่ง เพื่อนใช้แทนเชื้อเพลิงชนิดอื่น รวมทั้งจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกโครงการแกลบอัดแท่งยังคงมีการทดลองและพัฒนา ขั้นตอนการผลิตตามพระราชดำริอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่นในปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีพระราชดำริให้ทดลองอัดแกลบผสมผักตบชวา เพื่อทดลองนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชตามแหล่งน้ำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง

เศรษฐกิจพอเพียง ... หนทางสู่การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการ ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทาง การแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ พลังงานนับเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศ และนับวันจะมีผลกระทบรุนแรงต่อการพัฒนา ของประเทศไทยมากขึ้นทุกที เชื้อเพลิงต่างๆ ที่นำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น นับวันจะมีปริมาณน้อยลงทุกที และคงจะต้องหมดไปในอนาคต นอกจากนี้ ราคาของเชื้อเพลิงดังกล่าว ยังมีความผันผวนไปในแนวทางที่สูงขึ้นตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของ โลก และถึงแม้ว่าจะมีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนก็ตาม แต่ก็มีสัดส่วนที่น้อยมาก รวมทั้งแหล่งน้ำที่สามารถจะพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังมีน้อยลง และต้องประสบกับปัญหาการคัดค้านขององค์กรกลุ่มต่างๆ อีกด้วย ดังนั้น จึงมีความพยายามที่จะคิดค้นแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่ประหยัด และไม่มีวันหมดสิ้น บางชนิดก็นำมาใช้บ้างแล้ว เช่น น้ำขึ้น-น้ำลง คลื่น (ทะเล) ความร้อนจากมหาสมุทร แสงอาทิตย์ ลม และความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการพัฒนา เช่น มีราคาแพง ใช้เวลาก่อสร้างนาน หรือบางประเทศไม่มีศักยภาพของแหล่งพลังงานดังกล่าวเพียงพอ เป็นต้น พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มากเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้ว สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ไม่ว่าจะเป็นกฟผ. หรือ กฟภ.ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลังงาน ทดแทน การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสนใจ ได้มีโครงการวิจัย พัฒนา และสาธิตเกี่ยวกับพลังงานทดแทนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ ทั้งนี้เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกรูปแบบใหม่ที่จะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อ เพลิง ซึ่งประเทศไทยส่วนใหญ่ล้วนนำเข้าจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าถึง 70 % ทำให้มีความเสี่ยงทั้งความมั่นคงและราคา พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกทางเลือกที่ กฟผ. พยายามเพิ่มสัดส่วนให้เต็มที่ ก่อนที่จะหันไป มองเชื้อเพลิงอื่นๆ เช่น ถ่านหิน และนิวเคลียร์ ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการกระจายแหล่งเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่สะอาด ลดภาวะโลกร้อน ควบคู่ไปกับการให้ไฟฟ้ามีพอใช ้และราคาเป็นธรรม

ผมอยากขอยกตัวอย่างโครงการในพระราชดำริ อาจไม่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนโดยตรง เพราะฉะนั้นในแง่การป้องกันน้ำท่วมก็ได้ประโยชน์คุ้มค่าไม่รู้กี่เท่าตัว นอกจากนั้นชาวบ้านที่อยู่รอบๆ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์หลายๆ จังหวัดอาศัยน้ำท่วมในการทำเกษตรกรรม สมัยก่อนไม่เห็นไร่องุ่นแถวๆ นั้น มาตอนนี้เต็มไปหมดเลย และล่าสุดก็เพิ่งติดตั้งกังหันน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้า เท่ากับเป็นผลพลอยได้จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนป่าสักฯเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างโดยไม่มีปัญหา ผมเข้าใจว่าท่านที่ดูแลโครงการนี้มาตั้งแต่ต้นคือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านใช้เวลา 2 ปี อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจก่อนจึงเข้าไปทำเขื่อนเขื่อนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีใน การใช้ประโยชน์ในลักษณะหลายวัตถุประสงค์

"ถ้าใครมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวของเรา โดยเฉพาะโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เราจะได้เห็นพระปรีชาสามารถของพระเจ้าอยู่หัวมาก พระองค์ท่านทรงมีสายพระเนตรยาวไกลมากในเรื่องปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน เพราะฉะนั้นพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงมีโครงการหลายๆโครงการที่สวนจิตรลดา โครงการสำคัญที่เราคุยกันมากก็คงเป็นโครงการผลิตเอทานอล สมัยก่อนผลิตขึ้นมาแล้วเอาไปทดแทนน้ำมัน ดูเหมือนว่าไม่ค่อยคุ้ม เพราะเอทานอลราคาแพง เมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน เพราะว่าเมื่อก่อนเราใส่ตะกั่วลงในน้ำมัน ต่อมาเรายกเลิกไม่ใส่ตะกั่ว ไปใส่ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งต้องไปซื้อจากเมืองนอก พอมาเทียบราคากับเอทานอลซึ่งใส่แทน MTBE ได้ ก็ปรากฏว่าราคาใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องไปนำเข้าสิ่งที่เราผลิตได้ภายในประเทศโครงการเอทานอลของพระเจ้าอยู่หัว เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ แต่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมามากๆ คงเป็นเมื่อปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ตอนนั้นทั้ง ปตท.และบางจากร่วมกันนำเอทานอลมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์จำหน่าย เราทำมาหลายปีแล้ว ตอนนี้ ก็เป็นที่นิยม ส่วนเรื่องไบโอดีเซ, พระเจ้าอยู่หัวทรงมีโครงการไบโอดีเซลมาหลายปี เดิมทีพระองค์ท่านมองเรื่องการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อมามีการสร้างโรงงานไบโอดีเซลในสวนจิตรลดา ปัจจุบันโรงงานไบโอดีเซลที่ทำอยู่สามารถผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพค่อนข้างดีมาก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทางโครงการส่วนพระองค์ฯจัดทำขึ้นมา และวันนี้ก็มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้แพร่หลายกลายเป็นไบโอดีเซลชุมชนมาก ขึ้น"

เหตุผลที่ต้องทำวิจัยโครงการ Phase 2 ที่เกี่ยวกับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า คุณภาพของพลังงานไฟฟ้า การจัดการความต้องการการใช้ไฟฟ้าและการอนุรักษ์พลังงาน ระบบฐานข้อมูลระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยครอบคลุมถึงการวางแผน การออกแบบ การประดิษฐ์คิดค้น การผลิต การขนส่ง การก่อสร้าง การติดตั้ง การซ่อมแซมและบำรุงรักษา การใช้งาน และการควบคุมสั่งการอุปกรณ์และระบบไฟฟ้า รวมทั้งการให้ความรู้และข้อมูลทางด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า การกำหนดราคาค่าไฟฟ้า และการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า

(1)เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ ปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่ กฟภ. ตลอดจนเป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ กฟภ. อีกด้วย ซึ่งเป็นการระดมความคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก กฟภ. ประเด็นวิจัยและพัฒนามาจากปัญหาในปัจจุบัน และผลการวิจัยและพัฒนาดังกล่าว จะนำไปสู่การแก้ปัญหานั้นต่อไป

(2)เพื่อเตรียมรองรับปัญหาในระยะปานกลางถึงระยะยาว

เป็นการวิจัยและพัฒนาที่เตรียมความพร้อมสำหรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยปัญหาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการกำหนดขอบเขตการวิจัยและพัฒนา จะต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตการวิจัยและพัฒนาอาจจะมาจากนักวิจัยหรือผู้เกี่ยวข้องหรือจากการระดม ความคิด

(3) วิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม หรือเพื่อให้ได้ทางเลือกใหม่ในการพัฒนา

ขอบเขตงานวิจัยและพัฒนาประเภทนี้ ต้องถูกกำหนดโดยนักวิจัยที่มีประสบการณ์หรือผู้ที่เชี่ยวชาญ โดยต้องมีหลักฐานยืนยันรวมทั้งต้องชี้ให้เห็นความสำคัญและความเป็นไปได้ในเรื่องที่จะวิจัยและพัฒนา อย่างชัดเจน และต้องมีความเป็นไปได้ในการขยายผลงานวิจัยและพัฒนาดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย เป็นกระบวนการจัดการปลายทางเพื่อหาข้อมูลบางประการหรือสนับสนุนกิจกรรม บางอย่างเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนำผลงานที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาไปใช้ ประโยชน์อย่างแท้จริง งานประเภทนี้อาจมีความจำเป็นในการผลักดันให้มีการนำผล งานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจังและกว้างขวาง

นางอุทุมพร เครือบคนโท รหัส 53484940001

ศูนย์ นครราชสีมา

ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s) ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital)

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะกระแสของโลกาภิวัตน์ และการแข่งขันในระบบทุนนิยม ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากรอบด้าน และจะต้องยืนหยัดอยู่ในสังคมโลกให้ได้อย่างเข้มแข็ง และไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น ในกระบวนการการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554) จึงได้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะรับมือต่อ

การเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างดีพอ เห็นได้จากปัญหาต่างๆ

ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทย ยังขาดความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง หลงระเริงไปกับสิ่งฉาบฉวย หรือกล่าวได้ว่า ยังขาดภูมิคุ้มกันที่ดีการขาดภูมิคุ้มกันที่ดี คือ ยังพึ่งพาตนเองไม่ได้ และขาดความพอดี ในเรื่องสำคัญ 5 ประการ คือ

1. ขาดความพอดีด้านจิตใจ : คนส่วนมากมีสภาวะจิตใจไม่เข้มแข็ง ยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ขาดจิตสำนึกที่ดีไม่มีความเอื้ออาทร ไม่รู้จักประนีประนอม นึกถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว

2. ขาดความพอดีด้านสังคม ไม่ค่อยช่วยเหลือเกื้อกูลกันชุมชนขาดความเข้มแข็ง และที่สำคัญไม่มีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและเข้มแข็ง

3. ขาดความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังใช้และจัดการอย่างขาดความรอบคอบ และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไม่เป็นขั้นตอน

4. ขาดความพอดีด้านเทคโนโลยี ยังไม้รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม

5. ขาดความพอดีด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย หรือเกินฐานะของตน

การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันที่ดี ถือว่าเป็นแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ที่สะท้อนความจริงที่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี 8 K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในด้านของทุนแห่งความยั่งยืน (Subtainable Capital) ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้น พระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำว่าเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากปัญหาต่างๆ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ ในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลต่อการพัฒนา และทำให้เกิดความมั่นคง และความยั่งยืนนั้น ต้องเข้าใจ “กรอบแนวคิด” ว่าเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจคุณลักษณะว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ส่วน 2 เงื่อนไข คือการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย

เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ

เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือหลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

นับตั้งแต่มีพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2517 เป็นต้นมา พบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมี พอกิน พอใช้ การรู้จักความพอประมาณการคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ สันติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง เป็นทุนแห่งความยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างเท่าทันและนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยในที่สุด

   สำหรับแรงบันดาลใจจากการดูงานในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นการพัฒนาองค์กรเทศบาลนครภูเก็ตอย่างจริงจังผ่านใต้ความจริงใจของผู้นำอย่างท่านนายกสมใจ  สุวรรณศุภพนา      ซึ่งจะเห็นว่าการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ตมีความเป็นเลิศในทุกด้าน  (Excellence)  จากรางวัลที่การันตีคุณภาพการบริการงาน  หากเราจะเปรียบเทียบองค์กรของเรากับเทศบาลนครภูเก็ต  เราก็จะต้องกำหนดด้านที่เราต้องการ  เช่น  ตัวของข้าพเจ้าอยู่โรงเรียนก็ เปรียบเทียบการจัดการศึกษาของโรงเรียนข้าพเจ้ากับการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล  เพื่อหาช่องว่างที่เกิดขึ้นและอุดช่องว่างเหล่านั้น (Benchmark)  เพื่อนำไปสู่คุณภาพที่ต้องการ  (Quality)  เมื่อปฏิบัติจนเป็นนิสัยก็กลายเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นกับองค์กร  (Standard)  จนกลายเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best Practice)  ขององค์กรนั้น  เป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆต่อไปได้ 

จึงอาจกล่าวได้ว่าแรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และทำให้มนุษย์กล้าที่จะสร้างสรรค์สิ่งอันงดงามให้ทั้งแก่ตนเองและต่อสังคม ^___^  ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ศิษย์คนนี้
นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์  ศูนย์ภูเก็ต

สรุปความรู้เป็นกลอนหก 

มองผ่านเลนส์  พิศภาพเพลินเมืองภูเก็ต

            ยี่สิบตุลาหรรษา                ชวนกันมาจัดงานใหญ่

ทุนมนุษย์พัฒนาไทย                      ร่วมก้าวไกลเดินเคียงคู่

            ศึกษาผ่านวีดีทัศน์             ที่น้องอัดให้พี่ดู

เรื่องราวดีได้รับรู้                            เมืองภูเก็ตแต่ก่อนมา

            เทศบาลทำงานดี               ประชาชีสุขหนักหนา

ทุนความสุขดังแก้วตา                     พัฒนาจนยั่งยืน

            ท่านอาจารย์จีระนี้             ชี้แผนที่เส้นทางฟื้น

ความรู้นำใจชุ่มชื้น                         กลับคืนสู่ท้องถิ่นไทย

            มาตรฐานงานสำคัญ           จึงเทียบทันโลกไสว

กำหนดเดินก้าวไป                         แผนโปร่งใสแข่งขันได้

           ทุนมนุษย์คุณภาพ              ปัญญาวาบเรียนรู้ใหม่                       
เมืองภูเก็ตจะสดใส                        ถ้านำไปประยุกต์จริง

          แปดเค (8 K)นามทฤษฎี      เป็นทุนที่สร้างทุกสิ่ง

ใฝ่เรียนรู้ชีวิตจริง                           ดังยอดยิ่งหลักพัฒนา

            ห้าเค (5K) นี้คือทุนใหม่     ตระหนักไว้ยุคโลกา

ทุนความรู้ความคิดมา                     นวัตกรรมพารุ่งเรือง

      วัฒนธรรมล้ำเลิศ                     ชูชาติเชิดคุณค่าเมือง

อารมณ์อย่าได้เคือง                        ประเทืองสุขสร้างทางทุน

      ยามบ่ายนี้ที่สะพานหิน              นกโบยบินไม่มีฝุ่น

สิ่งแวดล้อมช่วยค้ำจุน                     ไม่มีวุ่นเรื่องขยะ

      ระบบดีต่างกล่าวขาน                จัดการเด่นเป็นชนะ

เจ้าหน้าที่เป็นธุระ                          ต่างสะสางจนสะอาด

      เพลินพิศภาพย่านเมืองเก่า         เมืองของเราดังภาพวาด

ชุดย่าหยาในตลาด                        ผ่องผุดผาดค่าสตรี

      นำความรู้ที่เรียนมา                  สร้างคุณค่าแสนสุขี

ท้องถิ่นฐานมิตรไมตรี                     ทุกนาทีนำพัฒนา

      มองดูเขาย้อนดูเรา                  กระจกเงาสะท้อนมา
ตระหนักคิดด้วยปัญญา                  ล้วนนำพาบันดาลใจ

แรงบันดาลใจทำให้มนุษย์กล้าก้าวพ้นความยากลำบาก และมุ่งมั่นจะแสวงหาแนวทางที่ดีที่สุดให้กับเส้นทางที่เราเลือกเดิน บางที่การได้อ่านคำคมอันงดงามที่อาจารย์ได้ให้ข้อคิดกับพวกเราว่า “การเรียนต้องมีเป้าหมายอย่าเพียงแต่ตั้งรับอย่างเดียว ต้องรุกไปข้างหน้าเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่เราวางไว้”  ก็เป็นข้อความกระตุ้นเตือนให้เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ (Excellence) แต่ในบางครั้งเราอาจมีข้อบกพร่องก็ต้องอุดช่องว่างของเรา นั้นก็คือการทำ Benchmark เพื่อนำไปสู่คุณภาพมาตรฐานที่ตนเองได้ตั้งไว้ (stardard) และเมื่อเราประสบผลสำเร็จตามที่ได้ว่างไว้ เราก็สามารถเป็น Best Practice ให้กับผู้อื่นได้ ขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาถ่ายทอดความรู้ที่น่าสนใจ ให้กับพวกเราทุกคนค่ะ  ^________^

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์

 

 

STUDY TOUR ณ กรุงปักกิ่ง และ นครเทียนจิน ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 23- 27 ตุลาคม 2554 โดยมีนักศึกษาจากศูนย์กรุงเทพฯ และศูนย์นครราชสีมา

เดินทางออกจากจังหวัดนครราชสีมา โดยทางคณะฯ ได้ไปกราบไหว้คุณหญิงโม ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวจังหวัดนครราชสีมา ถนนสายนี้น้ำไม่ท่วมถนนแต่บริเวณสองข้างทางจะเห็นน้ำท่วมที่จังหวัดฉะเชิงเทราแวะที่วัดหลวงพ่อโสธรไหว้พระปิดทองมีคนมาจำนวนมาก ซึ่งเห็นว่าทุกคนใช้เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจเพื่อให้เกิดความสุขในชีวิต ซึ่งภายในโบสถ์มีความวิจิตรงดงามมาก เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ จะเห็นรถจอดบนถนนลาดจอดรถเต็ม ไม่เหมือนสุวรรณภูมิที่เคยเห็น จากสนามบินสุวรรณภูมิ ทางคณะเดินทางเรามาก่อนเวลาประมาณ 6- 7ชั่วโมง เนื่องจากลัวสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจากน้ำท่วม พวกทางคณะเรามีความสุขมากเมื่อมาถึง นั่งรอกันอย่างสนุกสนาน จนถึงเวลานัดหมาย เวลา 21.00 น คืนวันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ มีการทักทายปราศรัย และทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างผู้เรียนทั้ง 2 ศูนย์ คือ กรุงเทพและนครราชสีมา ประมาณเวลา 23.30 น. เริ่มทยอยกันเช็คอิน ตรวจเอกสารผ่าน ตม. แล้วไปเลือกซื้อของตามอัธยาศัย คณะเราออกเดินทางประมาณ 1.00 น. โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย ประมาณ 1 ชั่วโมง ที่สนามบินกรุงปักกิ่งแยกอาคารผู้โดยสารขาเข้าออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารผู้โดยสารขาเข้าซึ่งตรวจคนเข้าเมือง แล้วเดินทางด้วยรถไฟรางมาอีกอาคาร เพื่อมารอรับกระเป๋า และเป็นจุดกระจายผู้โดยสาร ทราบว่า เป็นแนวคิดหลักสำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี 2008 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสาร

ช่วงเช้าวันแรก เดินทางไปเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน ชมศาลาประชาคมที่สามารถบรรจุคนได้นับหมื่นคน ชมอนุสาวรีย์วีรชน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้าม ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง รวม 24 รัชกาล ภายในประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ถึง 9,999ห้องบนเนื้อที่กว่า 720,000 ตารางเมตร ซึ่งระหว่างการเยี่ยมชมมีการพูดคุยซักถามเพื่อให้ได้รับความรู้เพิ่มจากแนะนำของไกด์ท้องถิ่น ชื่อ น้องหยก เป็นชาวไทยลื้อ

ช่วงบ่าย เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ China University of political science and law ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งในการศึกษาดูงาน China University of political and law ดำเนินการจัดการศึกษาบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ มีแนะนำมหาลัยของในแต่ละส่วน โดยของทางคณะเรา โดย ท่าน ศาสตราจารย์ ดร. จีระ การศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับความเป็นมา เริ่มจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มี 4 ศูนย์ ที่จัดการเรียนการสอนแบบ VDO CONFERENCE กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เลย และภูเก็ต โดยศูนย์กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางถ่ายทอด สำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มี 2 ศูนย์ได้แก่ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา รวมทั้งหมด 21 คน และได้ตอบคำถามจากนักศึกษาที่น่าสนใจเรื่องการจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความสุขในวัยรุ่น และการนำศาสนาพุทธเข้ามาพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และตัวแทนนักศึกษาฝ่ายไทยศูนย์กรุงเทพมหานครได้ช่วยตอบคำถาม ในสิ่งที่ทางประเทศไทยเราได้พัฒนาเรื่องทุนมนุษย์มานานแล้ว ทั้งทฤษฎี 8 K’s 5K’s และในแนวพุทธทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ศาสนานั้นถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมานานแล้ว และเป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธเกือบทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าทั้งทฤษฎีของดังกล่าว เป็นสิ่งที่คนไทยได้นำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และหลังจากลับมาเพื่อมารับประทานอาหารเย็น ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน นั่นคือเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ของทางคณะเรา ทำให้เราตั้งเปลี่ยนรถเพื่อใช้ในการทัศนศึกษาครั้งนี้ และในเหตุการณ์นี้เอง จะให้ว่าประเทศจีนมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยและคุ้มครองผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว

ในวันที่สองในประเทศจีน

ไปชม”หอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีน ใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี ชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าชมและชิม ชาอู่หลงของปักกิ่งและชาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่นชาแดง ชาผลไม้ ชามะลิ และชากุหลาบ ซึ่งมีเพื่อนๆ จากทางคณะ ได้ช็อปปิ้งกันอย่างสนุกสนาน วันนี้เป็นวันสบายๆ อีกวันของการเดินทาง

ในวันที่สามในประเทศจีน

ไปเมืองเทียนจิน ซึ่งเพิ่งได้รับการตอบรับในกลางดึกของการรับประทานอาหารเย็น การเดินทางไปเมืองเทียนจินเราได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของจีนโบราณที่ยังคงความสวยงามน่าชม อาคารทั้งสองฟากฝั่งถนนนยังคงความดั้งเดิมไว้อย่างน่าชื่นชม เมืองเทียนจินเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม และการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือ การค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษ และขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์ เป็นต้น ทางคณะเรามาถึงช้ากว่าเวลานัดหมาย เพราะคนขับรถไม่รู้จักทาง และไกด์ก็เพิ่มเคยมาเมืองเทียนเป็นครั้งแรก ก็สนุกไปอีกแบบ เมื่อประมาณเวลา 10.00 น. ก็เดินทางมาถึงที่สถาบัน Tianjin University of Technology และมีแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ทราบถึงกฎเกณฑ์ด้านการจัดการศึกษาของมหาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หรือเทคโนโลยีราชมงคลของไทยเรา แนวการจัดการศึกษา เป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน และได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีด้วย และหลังจากนั้นทางคณะเดินทางของเราโชคดีที่ทางสถานทูตไทย ที่ประจำในประเทศจีน โดย ท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ และคณะ ท่านให้เกียรติกับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พร้อมกับนักศึกษาเข้าเยี่ยมคารวะท่านและร่วมฟังแนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ซึ่งมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม ท่านได้ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมาก คือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ต้องปรับระบบด้านการคิด การใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา และทางคณะเราได้แยกทางกับ ท่า ศาสตราจารย์ ดร.จีระ ณ สถานทูตไทยในกรุงปักกิ่ง เนื่องท่านติดภารกิจที่ประเทศไทยต้องเดินกลับก่อนคณะเรา

จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์ผิเซียะ ซึ่งทางคณะเดินทางของเรา โชคดีเป็นรอบที่ 2 เพราะเวลาที่ทางคณะเรามาเกือบจะปิดพิพิธภัณฑ์ และแล้วเราได้รับฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนให้ เราได้ชมและลูบผิเซียะโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอโชคลาภ และมีการบูชาของเพื่อนๆร่วมการเดินทาง

และวันสุดท้ายของการ STUDY TOUR ในประเทศจีน

เดินทางไปสู่กำแพงเมืองจีน ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่า จุดชมวิวกำแพงเมืองจีนที่สวยที่สุด เพราะจะได้เห็นวิวในมุม 360 องศา โดยนั่งกระเช้าขึ้นชม ผ่านการชมรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ที่สร้างขึ้นขนานราบไปตามแนวภูเขา นำสู่ด่าน จี ยง กวน นำชมกำแพงยักษ์ กำแพงเมืองจีน จากนั้นชมโรงงานหยกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ชมหยกโบราณ การแกะสลักหยกในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการดูหยกของแท้ว่าจะทำอย่างไร ได้ผ่านชมสนากีฬาโอลิมปิค แวะชมบริษัท เป่าสู้ถาง ร้านบัวหิมะ ยาจีน และทางคณะเราได้ช็อปปิ้งอีกครั้ง และเดินทางกลับประเทศไทยด้วยความปลอดภัย

โดย นางสาววรัญญา นาคดิลก นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

งานคู่ : ทุนมนุษย์

นางจงดี พฤกษารักษ์

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

บทความเรื่อง จริยธรรมนำสุข

Ethical Capital & Human Capital ทุนจริยธรรมและทุนแห่งความสุข

สังคมปัจจุบันนี้รวมถึงอนาคตภาคหน้าต้องตระหนักตนเองในฐานะของสังคมแห่งการศึกษา “Education for all” ต้องมีการพัฒนาการขยายเชื่อมโยงให้เติบโตขึ้น และเน้นย้ำในคุณค่าแห่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเป็นอัตลักษณ์ของบุคคล ในฐานะที่พวกเราทั้งคู่ต่างเป็นนักการศึกษา คือ นางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตเทคโนโลยี และนางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์ เป็นครูผู้สอนโรงเรียนบ้านชาคลี อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เราต่างมองเห็นสอดคล้องกันในมิติของการพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งทุนที่พวกเราคิดว่ามีความจำเป็นในการพัฒนานักเรียน นักศึกษา ของเราในปัจจุบันท่ามกลางกระแสทุนนิยมที่ไหลเชี่ยวกราก คือ ทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความสุข ซึ่งเป็นสองทุนที่เลือกมาจากทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s) ของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การปลูกฝังจริยธรรมให้เกิดแก่นักเรียนย่อมจะนำมาซึ่งความสุขของตนเองและสังคมซึ่งจำเป็นมากสำหรับสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งทั้งสองทุนนี้เป็นทุนพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตลอดจนการจัดการศึกษาตลอดทั้งกระบวนการ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนานักเรียน นักศึกษาที่มีความดีงาม มีคุณภาพ

ทุนทางจริยธรรมนั้นถือเป็นนิยามความหมายอันสำคัญต่อการสร้างความเป็นทุนให้เกิดแก่ตัวมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทุนจริยธรรมเป็นสิ่งที่ได้มาจากการเพาะบ่ม ความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษา นับแต่การเรียนรู้จากครอบครัว สังคม มาจนถึงสถานศึกษา จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่าจริยธรรมเป็นหลักความจริงของธรรมชาติ ซึ่งท่านอาจารย์จีระ ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยทฤษฎี 2 R’s คือการเรียนรู้เพื่อการมอง การวิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย Reality มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีคือการนำความรู้ไปปะทะกับความจริง หมายถึงการนำความรู้ที่มีไปทดลองปฏิบัติให้เกิดผลจริง เช่นเดียวกัน หากเรารู้จักแต่หัวข้อคุณธรรมจริยธรรมเพียงแค่ในตำราแต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติจริง จริยธรรมนั้นก็ไม่อาจเกิดขึ้นกับตัวบุคคลได้ ในฐานะผู้บริหารและครูจะต้องจัดสถานการณ์ที่ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงและเกิดจริยธรรมในการปฏิบัติงาน การเรียนได้ เช่นในระดับวิทยาลัยก็ให้นักเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ระดับประถมศึกษาก็ให้นักเรียนทำโครงงานคุณธรรม เป็นต้น

ในอีกหนึ่งด้านคือทุนแห่งความสุข เป็นทุนที่สร้างกระแสตื่นตัวมากในปัจจุบัน นักจิตวิทยาชื่อ วีนโฮเฟ่น (1997) ให้นิยามความสุขว่า หมายถึงการประเมินของแต่ละคนว่า ชื่นชอบชีวิตโดยรวมของตนเองมากแค่ไหน การที่เราบอกว่าเรามีความสุข จึงหมายถึงเรารู้สึกชอบหรือพึงพอใจกับชีวิตเรานั่นเอง คนที่มีความสุขนั้น เป็นคนที่แทบจะไม่รู้สึกวิตกกังวลกับชีวิตตนเอง ชอบประสบการณ์ใหม่ ๆ มีอารมณ์มั่นคง ท่านอาจารย์จีระได้กล่าวว่าการทำงานที่เน้นทุนแห่งความสุขมีดังนี้ คือ ทุนความสุข เกิดจากหนึ่งคืองานที่ทำใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ สองคือมีการเข้าใจงานที่ทำอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดแนว สามคืองานที่ทำต้องสานสัมพันธ์กับผู้อื่น และสุดท้ายการทำงานอย่างมีความสุขต้องถามตัวเองว่า เวลาทำงานต้องการเน้นเรื่องอะไร? การทำงานอย่างมีความสุขจะทำให้เราทุ่มพลังของเราทำอย่างสุดฝีมือ เพื่อผลงานที่เยี่ยมยอด ไม่ใช่แค่ทำเป็นอาชีพเท่านั้น ซึ่งพวกเราก็เห็นตรงกันว่าเป็นแนวคิดที่ถูกต้อง เพราะเมื่อย้อนกลับมามองอาชีพครูที่ทำอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นว่าการเป็นครูมีทั้งศาสตร์และศิลป์ การรวมตัวของพลังที่ยิ่งใหญ่ระหว่างศาสตร์และศิลป์ จะนำไปสู่กระบวนการจัดการศึกษาอย่างมีศิลปะ และเมื่อถามตนเองด้วยคำถามสุดท้ายของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พวกเราทั้งคู่ต่างตอบตรงกันว่า “พวกเรารักในการเป็นครู เพื่อเป้าหมายคือให้นักเรียนเก่ง ดี และมีความสุข”

เมื่อทุนทางจริยธรรมมาเจอกับทุนแห่งความสุขก็ทำให้เกิดสิ่งดีๆ เกิดขึ้นมากมาย ดังหลักคำสอนที่สอดคล้องกันในทุกศาสนาว่า “จริยธรรมนำมาสู่ความสุข” ซึ่งประเด็นตรงนี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม โดยเฉพาะการตระหนักถึงสายสัมพันธ์ที่ผูกโยงเกี่ยวเนื่องกันด้วยจริยธรรมที่ดีงาม อันเป็นรากฐานแห่งบริบทอันสำคัญของสังคมไทย ทุนทางจริยธรรมจะช่วยจุดประกายทางความคิดให้ก้าวล่วงเข้าสู่วิถีแห่งแห่งความสุขได้ด้วยการที่บุคคลทุกคนจะต้องตระหนักในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งถือเป็นมิติทางนามธรรมอันยิ่งใหญ่ มิติทางนามธรรมที่สอดรับกับความเป็นอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนของคนไทย พวกเราได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนซึ่งกันและกัน และพบข้อเท็จจริงว่าลูกศิษย์ของเราจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นนักเรียนที่ไม่ได้เก่งเลอเลิศในระดับหัวกะทิของโรงเรียน แต่เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม ขยันขันแข็ง ในที่สุดก็สามารถนำพาตนเองให้สอบเข้าเรียนต่อและทำงานได้อย่างดี มีความสุข แต่ในขณะเดียวกันนักเรียนบางส่วนที่เรียนเก่ง มีปัญญาดี แต่ขาดจริยธรรม ก็ไม่สามารถนำตนเองให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งเราจำเป็นต้องสร้างทุนทางปัญญา ให้สามารถคิดวิเคราะห์พร้อมด้วยทุนทางจริยธรรม ดังนั้นในฐานะครูต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่ในระดับประถมและปฏิบัติตามทฤษฎีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์คือทฤษฎี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง จนถึงระดับอุดมศึกษา เชื่อว่านักเรียน นักศึกษาจะเป็นผู้มีจริยธรรมและมีความสุขของสังคมไทย และสังคมโลกต่อไป

พวกเราทั้งคู่เชื่อว่า การที่บุคคลผู้จะก้าวไปสู่ทุนแห่งความสุขได้ ต้องเป็นบุคคลที่ผ่านประสบการณ์ ผ่านแง่มุมเรียนรู้ และมองเห็นภาพลักษณ์แห่งอนาคตด้วยการเปิดใจกว้างและเข้าใจในชีวิต ทุกคนล้วนมีคุณค่าและทุกคนต้องรับรู้และตระหนักว่าตนเองและเพื่อนต่างมีคุณค่า การตระหนักในความหมายดังกล่าวข้างต้นจะทำให้ผู้ที่ศึกษาได้มองเห็นความจริงจากอันยิ่งใหญ่ทั้งปวงในมิติแห่งจริยธรรม จนปฏิบัติต่อเนื่องกลายเป็น “ทุนแห่งความสุข” (Happiness Capital) ทั้งนี้เนื่องด้วยมนุษย์ทุกคนล้วนมีความใฝ่ฝันและปรารถนาที่จะได้กระทำในเรื่องที่ตนทำแล้วเกิดความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกายหรือสุขใจ ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทุกคนจึงแสวงหาประสบการณ์ใหม่ผ่านมิติแห่งชีวิตของตนด้วยการคิดหรือปฏิบัติการในทางหนึ่งทางใดเพื่อหาโอกาสที่จะได้พบกับความสุข ซึ่งแน่นอนว่าเขาย่อมได้รับความสุขเป็นทุนของชีวิต ผ่านการคิดและการกระทำ ที่มุ่งมั่นตั้งใจของตนอันถือเป็นประโยชน์สูงสุดที่จะส่งผลไปถึงคนอื่นในลักษณะเดียวกันได้ด้วย

นี่คือหนทางแห่งการเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม แห่งการเป็นมนุษย์ในอุดมคติ ซึ่งต้องอาศัยปณิธานในการสร้างความสุขที่ยั่งยืนงดงามให้แก่ตนเอง ความสุขจากการมองเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของคนทุกๆคนได้อย่างเข้าใจ และสำคัญสุดคือความสุขที่หมายถึงความดีที่มนุษย์ต่อมนุษย์ไม่เบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน ทุกสิ่งทุกอย่างถูกบ่มเพาะและสะสมเป็นทุนของชีวิต ภายใต้สำนึกแห่งความจริงใจ และปณิธานที่ตั้งมั่นต่อการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผองเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

การพัฒนาตนให้มีทุนทางจริยธรรม เราได้ศึกษา ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาทฤษฎีแรกของนักศึกษาไทยที่สร้างขึ้น บุคคลผู้รวบรวมเขียนเป็นทฤษฎี คือ ศาสตราจารย์ ดร.ดวงเดือน พันธุมนาวิน กรอบแนวคิดที่เป็นจุดเด่นของทฤษฎีนี้มีความว่า ลักษณะพื้นฐานและองค์ประกอบทางจิตใจซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเป็นคนดีและ คนเก่ง ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยถึงสาเหตุพฤติกรรมของคนดีและคนเก่ง โดยได้ทำการประมวลผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 6-60 ปี ว่าพฤติกรรมเหล่านั้น มีสาเหตุทางจิตใจอะไรบ้าง และได้นำมาประยุกต์เป็นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทยขึ้น โดยแบ่งต้นไม้จริยธรรม ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1.ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ ดอกและผลไม้บนต้น ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำดีละเว้นชั่วและพฤติกรรมการทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อส่วนรวม ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมของพลเมืองดี พฤติกรรมที่เอื้อเฟื้อต่อการพัฒนาประเทศ

2.ส่วนที่สอง ได้แก่ ส่วนลำต้นของต้นไม้ แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ด้าน คือ

2.1 เหตุผลเชิงจริยธรรม

2.2 มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง

2.3 ความเชื่ออำนาจในตน

2.4 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

2.5 ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยม

3.ส่วนที่สาม ได้แก่ รากของต้นไม้ ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็งซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 3 ด้าน คือ

3.1 สติปัญญา

3.2 ประสบการณ์ทางสังคม

3.3 สุขภาพจิต

จิตลักษณะทั้งสามนี้อาจใช้เป็นสาเหตุของการพัฒนาจิตลักษณะ 5 ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ก็ได้ กล่าวคือ บุคคลจะต้องมีลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ 3 ด้าน ในปริมาณที่สูงพอเหมาะกับอายุ จึงจะเป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาจิตลักษณะทั้ง 5 ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ โดยที่จิตลักษณะทั้ง 5 นี้ จะพัฒนาไปเองโดยอัตโนมัติ ถ้าบุคคลที่มีความพร้อมทางจิตใจ 3 ด้านดังกล่าวและอยู่ในสภาพแวดล้อมทางบ้าน ทางโรงเรียนและสังคมที่เหมาะสม นอกจากนั้นบุคคลยังมีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาจิตลักษณะบางประการใน 5 ด้านนี้ โดยวิธีการอื่น ๆ ด้วย ฉะนั้นจิตลักษณะพื้นฐาน 3 ประการ จึงเป็นสาเหตุของพฤติกรรมของคนดีและของคนเก่งนั่นเอง นอกจากนี้จิตลักษณะพื้นฐาน 3 ประการที่รากนี้อาจเป็นสาเหตุร่วมกับจิตลักษณะ 5 ประการที่ลำต้น

การพัฒนาจริยธรรมด้วยวิธีพัฒนาตนเองตามขั้นตอนดังกล่าว เป็นงานที่บุคคลสามารถปฏิบัติได้ควบคู่กับการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่มิใช่เป็นการกระทำในลักษณะเสร็จสิ้น ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย เพราะจิตใจของมนุษย์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เฉกเช่น กระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นปัจจัยพื้นฐานของทุนอนาคตในประเด็นที่ Do the right thing โดยทำงานด้วยความถูกต้องและมีคุณธรรมจริยธรรม (Ethical Capital) คุณจงดีกล่าวว่า ขณะที่ทำงานทุกวันในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ทุกๆวันได้รับความสุขจากครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานระดับวิทยาลัย แต่เมื่อคิดถึงคำกล่าวหรือเรื่องเล่าว่า ประเทศไทยของเรามีการ "คอร์รัปชั่น" ทำให้เรามองเห็นว่า บุคคลที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศ ควรจะต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม นอกเหนือจากความรู้ ความสามารถ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดแห่งความศรัทธารวมถึงปัจจุบันนี้ สังคมโลกกำลังให้ความสำคัญ ให้ความสนใจกับการสร้างความศรัทธาของผู้นำ คนไทยส่วนใหญ่ มักบอกว่าการคอรัปชั่นในสังคมไทยเป็นปัญหาใหญ่ที่กัดกร่อนสังคมไทยมานานและมีอยู่ในสังคมทุกระดับชั้น ตั้งแต่หมู่บ้าน อำเภอถึงระดับประเทศ แตกต่างกันที่ความเสียหาย โดยการทุจริตระดับชาติ ก็จะส่งความเสียหายมากกว่าการทุจริตในระดับรากหญ้า ซึ่งที่มาของปัญหาการคอรัปชั่นเกิดจากค่านิยมของคนไทยที่นิยมยกย่องคนที่มีอำนาจ คนร่ำรวย โดยไม่สนใจว่าอำนาจหรือความร่ำรวยดังกล่าวได้มาอย่างไร หรือส่วนหนึ่งเป็นเพราะนิสัยของคนไทยที่ไม่ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของส่วนร่วม ถือว่าธุระไม่ใช่หากตัวเองไม่ได้รับความเดือนร้อนหรืออาจจะเกรงกลัวอำนาจจะเกรงกลัวอำนาจอิทธิพลอยากต่อต้านแต่ก็ไม่กล้า เพราะถ้าได้รับอันตรายก็ไม่มีใครช่วยเหลือจริงจัง ฉะนั้นทุนมนุษย์ (Human Capital) จึงเป็นหนทางแก้ไขปลูกฝังสร้างค่านิยมใหม่ให้คนไทยนับถือคนเก่ง มีคุณธรรมให้จงได้ ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ในประเด็นนี้จะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น โดยเริ่มที่ตนเองก่อน โดยสร้างความเชื่อมั่นต่อตนเอง (Self Trust) ว่าจะไม่ทุจริตคิดโกงและประพฤติ ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่คนรอบข้าง จากนั้นจึงขยายไปสู่ครอบครัวและสังคม โดยสอนลูกหลานให้นิยมยกย่องคนเก่ง คนดีที่ซื่อสัตย์ สุจริต ถึงแม้เขาจะไม่ร่ำรวย ไม่มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตก็ตามในระดับสังคม ต้องสร้างทุนทางจริยธรรม ตั้งแต่วัยเด็กและเยาวชน ให้มีค่านิยมที่ถูกต้อง เพื่อสร้างผู้นำองค์กรยุคใหม่ให้ประพฤติตัว มีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นตัวอย่างและได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากสมาชิกในองค์กรพร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยกย่องคนดี มีคุณธรรม ถึงแม้จะไม่ร่ำรวยก็ตาม โดยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล พร้อมกันนี้นำทฤษฎีทรัพยากรมนุษย์ & K' S มาพัฒนาคนให้มีความรู้ โดยให้การศึกษา

คุณธรรมที่คนไทยและเราทั้งคู่ยึดมั่นในการทำงานตลอดมา ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าสอดคล้องกับทุนจริยธรรมทุนแห่งความสุข นั้นคือหลักธรรม อิทธิบาท 4 ได้แก่

1) ฉันทะ คือความพอใจในงานที่ทำ

2) วิริยะ คือความเพียรพยายาม

3) จิตตะ คือการมีเวลาทำงานที่จดจ่อมีสมาธิ

4) วิมังสา คือ ทำแล้วต้องพิจารณาตรวจสอบใคร่ครวญให้รอบคอบ

ส่วนสิ่งที่ส่งเสริมความสุขประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่

1) งาน งานที่ทำนั้นต้องมีความท้าทายหรือไม่ก็เปิดโอกาสผู้ปฏิบัติงาน ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่และทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกมีคุณค่า

2) วัฒนธรรมการทำงาน เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานในการตัดสินใจมีส่วนร่วมและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ

3) ปัจจัยแวดล้อม สภาพแวดล้อมในที่ทำงานส่งเสริมหรือเอื้ออำนวยต่อการทำงานหรือไม่ พร้อมทั้งพิจารณาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร

4) ภาวะผู้นำ ซึ่งผู้นำส่งเสริมการทำงานหรือไม่มีการให้ทิศทางที่ชัดเจนในการทำงาน หรือไม่และสามารถสร้างขวัญกำลังใจได้ดีเพียงใด

ในประเด็นนี้การส่งเสริมความสุขในการทำงานมี 8 ปัจจัย ได้แก่

1) การมองในแง่ดี (Optimism) ต้องมองคนในแง่ดีมีอายุยืนยาวกว่า

2) การแสดงความขอบคุณ (gratitude) ซึ่งเป็นการแสดงความขอบคุณต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงานและเป็นวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร

3) การให้อภัย (forgiveness) เป็นการสร้างความสงบสุขเป็นหนทางแห่งความสุข

4) พัฒนาตนเองทางการพูด (improve yourself talk) ซึ่งการพูดในทางบวกเป็นการช่วยลดความเครียดและทำให้สมอง ผ่อนคลายมีความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆได้

5) ปลดปล่อย (flow) ลืมสิ่งที่ทำ ปล่อยให้ผ่านไปการลืมเป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมความสุขที่ดี และ

6) มีความสุขหรือเพลิดเพลินกับสิ่งที่ทำ (Savor) ความเพลิดเพลินกับงานนั้นเราสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น ได้ตลอดเวลา ทั้งก่อนที่เราจะลงมือทำ ขณะที่ทำและคิดถึงมันหลังจากงานได้ลุล่วงไปแล้ว

7) มองมุมใหม่ (Reframe) การมองสิ่งเดิมในมุมใหม่ๆ จะช่วยให้ความคิดไปทางลบเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกมากขึ้น

8.) การสร้างความสุขจากสิ่งที่ทำได้ดี (Building on strength) ความสุขนั้นจะเป็นความสุขที่ยั่งยืน ถ้าเป็นความสุขที่เราได้ทำดี หาโอกาสได้ทำในสิ่งที่ตนเองทำได้ดีแล้วคุณจะไม่เบื่อและมีความสุข

จากการศึกษาทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความสุขนั้นพบว่าชีวิตของคนเราก็เหมือนกับเส้นด้ายที่ถูกดึงมาจากหลอดด้ายทีละนิดๆ ขณะที่ดึงด้ายออกมาจากหลอดด้ายนั้น บางทีเราก็รู้สึกชะล่าใจว่า ยังมีด้ายเหลืออยู่อีกมากมายจึงดึงด้ายออกมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย กว่าจะพบว่าแท้จริงแล้ว มีด้ายอยู่เพียงนิดเดียวที่สามารถเย็บผ้าได้เพียงนิดหน่อยก็หมด หากแต่ที่เราเห็นว่ายังคงมีด้ายเหลืออยู่เยอะแยะนั้น แท้จริงเป็นเพราะว่าแกนด้ายม้วนใหญ่ๆต่างหาก แกนด้ายหลอกตาให้เราพลอยชะล่าใจ ซึ่งตรงประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญและมีคุณค่าต่อชีวิต สอดคล้องกับข้อคิด ข้อคิดว่า "งานสำคัญสุดคืองานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้" พร้อมทั้ง "เวลาที่ดีที่สุดก็คือเวลาปัจจุบัน” จากการได้ผสานทุนทางจริยธรรมและทุนความสุขเข้าด้วยกัน ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในประเด็นนี้โดยสังเขปมีดังนี้

1) นำ Best practice มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2) ส่งเสริมความสามารถของคน

3) วัฒนธรรมการยอมรับผู้อื่น

ซึ่งขอสรุปเป็นกลอนทุนทางจริยธรรมและทุนความสุข ไว้ดังนี้

ทุนจริยธรรมสำคัญยิ่ง

เป็นทุกสิ่งดีงามแสนประเสริฐ

ทำถูกต้องตามหลักต่างชูเชิด

คือบ่อเกิดความสุขแก่ปวงชน

ทุนแห่งความสุขทั้งใจกาย

แสนสบายเริงรื่นทุกแห่งหน

คิดสร้างสรรค์โชว์ฝีมือในตัวตน

สำราญผลความสุขได้ทำงาน

นำสองทุนมาผสานใส่แนวคิด

งานสัมฤทธิ์ทุนมนุษย์เป็นพื้นฐาน

จริยธรรมนำสุขยั่งยืนนาน

ร่วมประสานพลังใหม่สร้างทางทุน

ในฐานะครูไทยโลกยุคใหม่

ขอร่วมใจประยุกต์ใช้ไม่หันหุน

การศึกษาพัฒนาช่วยค้ำจุน

เกื้อการุณนักเรียนดีมีสุขเอย

นางจงดี พฤกษารักษ์

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

เมื่อทุนจริยธรรมปะทะทุนแห่งความสุข บทความโดย นางจงดี พฤกษารักษ์ และ
นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์ ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะ ^^  ^^

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

รหัสนักศึกษา53484931013 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

Digital Capital

สรุปโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์โครงการแรกเฟส 2 ที่มีกำลังการผลิต 4.4 เมกะวัตต์ ณ อำเภอชนแดน จังหวัด เพชรบูรณ์ ภายใต้การดูแลของ บริษัท กันกุล พาวเวอร์เจน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL ว่า สามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาและทยอยรับรู้รายได้ทันทีภายในปีนี้

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในเฟสที่ 2 มีกำลังการผลิต 4.4 เมกกะวัตต์ เมื่อรวมกับเฟสที่ 1 ซึ่งจำหน่ายไฟฟ้าได้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2554 ทำให้ปัจจุบันสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้รวม 7.4 เมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตรวมที่ได้รับอนุมัติคือ 30.9 เมกะวัตต์ ซึ่งในส่วนของกำลังการผลิตที่เหลืออีก 23.5 เมกะวัตต์ ตามแผนงานที่วางไว้คาดว่าจะก่อสร้างได้ช่วงไตรมาสที่1ในปี พ.ศ 2555 และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบได้ทันที ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ GUNKUL มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นรายได้ที่มีความแน่นอน เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถขายให้กับ กฟภ.ได้ทั้งจำนวน ที่สำคัญในช่วงแรกยังได้รับค่า adder ถึงหน่วยละ 8 บาท เป็นเวลานาน 10 ปีด้วย

นโยบายที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน อย่างครบวงจร ประกอบกับการตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสนองนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนด้านพลังงานทดแทน จึงเดินหน้าดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และในอนาคตจะขยายธุรกิจไปสู่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม เนื่องจากกลุ่มบริษัทมีประสบการณ์ด้านธุรกิจพลังงานและประสบความสำเร็จในการจัดสร้างโรงไฟฟ้า ทำให้มีความมั่นใจที่จะก้าวไปสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มภาคภูมิ ส่วนแนวโน้มผลประกอบการของ GUNKUL ในช่วงครึ่งหลังปี 2554 ผมเชื่อว่าจะมีอัตราการเติบโตที่โดดเด่นไม่แพ้ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ ยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งบริษัทยังได้รับงานของ บริษัทโซลาร์ต้า จำกัด ซึ่งเป็นการรับเหมาก่อสร้างผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 8 เมกกะวัตต์ มูลค่าโครงการกว่า 800 ล้านบาท ซึ่งเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2554 ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก

นอกจากนั้น GUNKUL ยังมีรายได้จากการจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากประเทศพม่าซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างโดดเด่น จึงทำให้มั่นใจว่าในปีนี้ผลประกอบการของ GUNKUL ในส่วนของรายได้จะมีอัตราการเติบโตได้ไม่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์โครงการแรกเฟส 2 กำลังการผลิต 4.4 เมกะวัตต์ ณ อำเภอชนแดน จังหวัด เพชรบูรณ์ ภายใต้การดูแลของ บริษัท กันกุล พาวเวอร์เจน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL ว่า สามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาและทยอยรับรู้รายได้ทันทีภายในปีนี้

บริษัทนี้มีนโยบายที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน อย่างครบวงจร ประกอบกับการตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสนองนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนด้านพลังงานทดแทน จึงเดินหน้าดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และในอนาคตจะขยายธุรกิจไปสู่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม เนื่องจากกลุ่มบริษัทมีประสบการณ์ด้านธุรกิจพลังงานและประสบความสำเร็จในการจัดสร้างโรงไฟฟ้า ทำให้มีความมั่นใจที่จะก้าวไปสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มภาคภูมิ และนี่คือทุนทางเทคโนโลยี

(Knowledge Management : KM) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

แนวคิด KM ผมแยกง่ายๆ ว่าความรู้มี 2 ประเภท กล่าวคือ ความรู้เด่นชัด ( Explicit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ในรูปแบบของเอกสารตำรา หรือสื่อIT ต่างๆ ที่รวบรวมจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ พร้อมที่จะถูกนำมาปรับใช้ได้ทันที และความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล

การจัดการความรู้เด่นชัดจะเน้นเครื่องมือและเทคโนโลยี“2T”(Tool&Technology) ในขณะที่ความรู้ซ่อนเร้นเน้นคนและกระบวนการ“2P”(Process&People)ความรู้ซ่อนเร้นมีมากกว่าในขณะที่ความรู้เด่นชัดจัดการได้ง่ายกว่า

แนวคิด KM ก็คือการจัดการความรู้ที่ซ่อนอยู่ในคน โดยอาจเริ่มต้นที่ให้คนนันทำงาน สร้างเวทีให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน ใช้ขบวนการทางสังคมไม่ใช้เทคโนโลยีมากนัก แต่ใช้ “ใจ” เป็นสำคัญ มีการให้และรับอย่างสมดุล โดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สร้างและยกระดับความรู้เพื่อนำไปปรับใช้เรียนรู้และยกระดับเป็นความรู้เด่นชัด รวบรวมจัดเก็บอย่างเป็นระบบสามารถเข้าถึงเข้าใจได้ และนำไปปรับใช้ได้ ซึ่งเป็นวัฏจักรที่หมุนเวียนอย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นการทำ KM จะต้องทำทั้งสองมิติ และขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันทั้งสองมิติ ต้องสร้างสมดุลระหว่าง 2T และ 2P

KM เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับระบบการประมวลข้อมูล ดึงเอาความรู้ที่มีอยู่มาจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้า ถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ส่วน LO เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์กรโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำ ในองค์กร(Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กร (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและ การแข่งขัน

โครงการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกับ Learning Organization : LO สำคัญอย่างไร

(Learning Organization : LO) หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นกระบวนการบริหารองค์กรรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา ความเป็นผู้นำและการเรียนรู้ของบุคลากรให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการ ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน นอกจากนี้ องค์กรการเรียนรู้จะเน้นในเรื่องของการทำงานเป็นทีม (Teamwork) มีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์กร รวมทั้งมีการเสริมสร้างความคิดใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำงานอย่างเป็นระบบ เมื่อบุคลากรได้พัฒนาตนเอง มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างมีคุณภาพ จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่งมั่นคง มีศักยภาพในการพัฒนางานส่งผลให้องค์กรเกิดความก้าวหน้า มีความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถอยู่รอดและเติบโตก้าวหน้าต่อไป อย่างรวดเร็ว

ขั้นที่ 1 การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การและประเมินรูปแบบการเรียนรู้ มีหลายองค์การที่ประสบความล้มเหลวจาการนำโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อสร้าง Learning Organization เข้ามาใช้โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ ทั้งปัญหาการต่อต้านจากพนักงาน หรือการไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ถึงแม้จะจบสิน้นโครงการไปแล้วก็ตาม หาไม่ได้รับการวิเคราะห์ คัดเลือก วางแผน และจัดการอย่างเหมาะสม

การปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization ที่มีวัฒนธรรรมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน การประเมินสถานะปัจจุบันประกอบด้วย 2 ส่วน คือการวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ และการประเมินรูปแบบการเรียนรู้

การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ (Culture Diagnosis) 3 ระดับ

ระดับที่1 คือ Artifacts

ระดับที่ 2 คือ Espaused Values

ระดับที่ 3 คือ Basic Underlining

การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ โดยองค์การจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสมรรถภาพขององค์การ โดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท คือ

1. (Knowledge Source)

2. (Content -process Focus)

3. (Knowledge Reserve)

4. (Dissemination Mode)

5. (Learning Scope)

6.Value Focus

7.Learn Focus

รูปแบบการเรียนรู้เหล่านี้ไม่มีสูตรสำเร็จว่าอะไรคือรูปแบบที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ช่วยให้ทราบว่าองค์การมีการเรียนรู้อย่างไร (How Organization Learn)

ขั้นที่2 การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้าง Learning Organization

แนวทางหนึ่งที่นิยมใช้ คือ SWOT ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อดูว่าโครงสร้างองค์การในปัจจุบันเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือไม่ แนวทางการพัฒนา Learning Organization คือการทำให้วิธีการเรียนรู้ที่องค์การใช้อยู่มีความแข็งแกร่งจนคู่แข่งตามไม่ทันกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้

1. เน้นการปรับปรุง Facilitating Factors ในกรณีที่วัฒนธรรมองค์การและรูปแบบการเรียนรู้ ทำให้เกิดความได้เปรียบในทางธุรกิจ

2. เน้นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและรูปแบบการเรียนรู้ควบคู่กับการปรับปรุง Facilitating Factors ในกรณีที่วัฒนธรรมองค์การและรูปแบบการเรียนรู้กลายเป็นจุดอ่อนขององค์การ

ขั้นที่3 กระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization คือ การปรับปรุง Facilitating Factors แบ่งเป็น 10 แนวทาง คือ

1.Scanning Imparative

2.Concern for Measurement

3.Performance Gap

4.Organization Curiousity

5.Climate of Openness

6.Contious Education

7.Operational Variety

8.Multiple Leadership

9.Innovation Leadership

10.System Perspective เช่น การใช้ Job Rotation

อุปสรรคของ Learning Organization : LO คืออะไร

Model ของ Learning Organization ไม่ได้เจาะจงวัฒนธรรมองค์การใดองค์การหนึ่งและไม่ได้วิเคราะห์ถึงข้อจำกัดด้านวัฒนธรรมองค์การทำให้ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง กระบวนการในการนำ Learning Organization ไปใช้ยังไม่ชัดเจนขาดคนที่รู้จริง

ขอบเขตของการนำ Learning Organization กว้างมากทำให้ควบคุมได้ยาก ดัชนีที่ใช้วัดองค์การที่มีความเป็น Learning Organization ไม่ชัดเจน และการใช้เวลายาวนานในการมุ่งไปสู่การเป็น Learning Organization ทำให้ขาดกำลังใจ และหากมีการเปลี่ยนผู้นำ ความสนใจที่จะกระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในองค์การจะหายไป

1. การที่ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน อย่างแท้จริง ทำให้คนในองค์กรไม่เกิดความเข้าใจในงานของตนเอง ขาดศักยภาพ การมอบหมายงานในองค์กรไม่สอดคล้องกับความสามารถของผู้ปฎิบัติ จะส่งผลให้องค์กรอ่อนแอ เสียเปรียบ ในการแข่งขัน พัฒนาได้ช้า

2.การไม่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม แนวคิดใหม่ๆ และการสร้างนวัตกรรมซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน เพื่อเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง

3. ขาดการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริง ทำให้ององค์กรไม่มีศักยภาพ ขาดความเข้มแข็ง

งานคู่ ทุนมนุษย์

นางอุทุมพร เครือบคนโท รหัส 53484940001

นางสาววาสนาไทย สิงหฬ รหัส 53484940004

นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

ทุนทางความยั่งยืน (Subtainable Capital) และทุนทางความสุข Happiness Capital

ทุนทางความยั่งยืน (Subtainable Capital)

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะกระแสของโลกาภิวัตน์ และการแข่งขันในระบบทุนนิยม ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากรอบด้าน และจะต้องยืนหยัดอยู่ในสังคมโลกให้ได้อย่างเข้มแข็ง และไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น ในกระบวนการการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554) จึงได้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะรับมือต่อ

การเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างดีพอ เห็นได้จากปัญหาต่างๆ

ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทย ยังขาดความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง หลงระเริง ไปกับสิ่งฉาบฉวย หรือกล่าวได้ว่า ยังขาดภูมิคุ้มกันที่ดีการขาดภูมิคุ้มกันที่ดี คือ ยังพึ่งพาตนเองไม่ได้ และขาดความพอดี ในเรื่องสำคัญ 5 ประการ คือ

1. ขาดความพอดีด้านจิตใจ : คนส่วนมากมีสภาวะจิตใจไม่เข้มแข็ง ยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ขาดจิตสำนึกที่ดีไม่มี ความเอื้ออาทร ไม่รู้จักประนีประนอม นึกถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว

2. ขาดความพอดีด้านสังคม ไม่ค่อยช่วยเหลือเกื้อกูลกันชุมชนขาดความเข้มแข็ง และที่สำคัญไม่มีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและเข้มแข็ง

3. ขาดความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังใช้และจัดการอย่างขาดความรอบคอบ และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไม่เป็นขั้นตอน

4. ขาดความพอดีด้านเทคโนโลยี ยังไม้รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม

5. ขาดความพอดีด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย หรือเกินฐานะของตน

การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันที่ดี ถือว่าเป็นแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ที่สะท้อนความจริงที่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี 8 K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในด้านของทุนแห่งความยั่งยืน (Subtainable Capital) ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้น พระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำว่าเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากปัญหาต่างๆ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลต่อการพัฒนา และทำให้เกิดความมั่นคง และความยั่งยืนนั้น ต้องเข้าใจ “กรอบแนวคิด” ว่าเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจคุณลักษณะว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ส่วน 2 เงื่อนไข คือการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย

เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ

เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือหลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

นับตั้งแต่มีพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2517 เป็นต้นมา พบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมี พอกิน พอใช้ การรู้จักความพอประมาณการคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ สันติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง เป็นทุนแห่งความยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างเท่าทันและนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยในที่สุด

ทุนทางความสุข Happiness Capital

ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปถึงขั้นที่เราสามารถศึกษาความสุขและความทุกข์ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบมีหลายอย่างที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ซึ่งนักวิจัยพบว่าต้นกำเนิดของความสุข ความทุกข์ ไม่ได้อยู่ที่หัวใจอย่างที่เรามีความเชื่อมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แต่อยู่ในสมองของคนเรา ซึ่งศูนย์กลางควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกทุกชนิดที่เราคิดและเป็นนั้น อยู่ในสมอง เมื่อเรารู้สึก เช่น โกรธ กลัว ดีใจ เศร้าใจ เสียใจ สมองก็จะไปสั่งการให้หัวใจสูบฉีดโลหิตเร็ว ช้า หนักเบาไปตามสถานการณ์ ซึ่งคนเราคิดว่าหัวใจเป็นตัวควบคุม เมื่อมองแล้วตัวที่ทำให้เราเข้าใจ คือ สมอง เราก็จะเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง พอเข้าใจอารมณ์และที่มาของอารมณ์ เราก็สามารถดูแล จัดวางโครงสร้างชีวิตให้เกิดความสุข และช่วยลดทอนความทุกข์อย่างได้ผล และตรงจุด ซึ่งถึงตอนนั้นความฉลาด และความสุขก็กลับกลายเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างง่าย

ในปัจจุบันการศึกษาระบบในโรงเรียนของไทยได้พยายามจัดการศึกษาให้ผู้เรียน เก่ง ดี มีสุข และการจะเกิดความสุขได้ ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายจะต้องมีความเข้าใจและลงมือปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเราจะกล่าวได้ว่า ความสุขทำให้คนฉลาดได้ ส่วนความทุกข์ทำให้เราฉลาดน้อยลง แต่อีกด้านหนึ่งของอารมณ์ ความสุข ก็สามารถหล่อเลี้ยงให้เราฉลาดขึ้นได้เช่นกัน คนที่มีความสุขมากๆ นอกจากหน้าตาแจ่มใส ผิวพรรณดี ดวงตาใสแจ๋วแล้ว ลึกลงไปในสมองคนที่มีความสุข หากนำเครื่องสแกนสมองของโรงพยาบาล จะเห็นว่าภายในสมองกำลังมีสารเคมีดีๆ หลั่งออกมาบำรุงสมองอยู่เป็นจำนวนมาก โครงสร้างของเส้นใยสมองก็วางรูปแบบทางเดินใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เราอารมณ์ดี ข้อสำคัญ ยิ่งเราอารมณ์ดี มีความสุขนานเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีเส้นใยดีที่ช่วยส่งผ่าน ข้อมูลความสุข มากขึ้นเท่านั้น สารอารมณ์ดีเหล่านี้ทำให้สมองโล่ง ตื่นตัว พร้อมทำงาน ใครก็ตามที่ตื่นมาสดชื่น แจ่มใส รู้ได้เลยว่าวันนั้นเขาจะสามารถทำงานได้ดีเป็นพิเศษ สารเอนดอร์ฟินเป็นสารที่หลั่งออกมาในสมอง ซึ่งทำให้เราเรียนรู้ดีขึ้น มีกำลังใจในการรับรู้ข้อมูลใหม่ๆ ส่วนสารโดพามีนเป็นสารที่หลั่งออกมาเมื่อเรามีความสุขแบบปลื้มใจ ภูมิใจในตนเอง แต่โดพามีนพิเศษตรงที่เป็นสารแห่งความจำ ช่วยให้เราจำข้อมูลต่างๆ ได้ดี และสุดท้าย สารเซโรโทนิน ก็เป็นสารแห่งอารมณ์สุขที่ส่งผลให้เรารู้สึกสบายใจ มีความหวัง มีความรู้สึกปลอดภัย และยังมีสารความสุขในสมองอีกหลายตัวที่ช่วยให้เราเรียนรู้ได้ดี ได้เร็ว จดจำสิ่งต่างๆได้อย่างมีคุณภาพ ในการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน ท่ามกลางการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความสุข เราจะต้องมีวิธีการจัดการพฤติกรรมเพื่อให้เกิดความสุขมากขึ้น ซึ่งถ้าสมองยิ่งสร้างเส้นใยสมองในเรื่องนั้นๆ ออกมามาก จะทำให้เราสามารถทำเรื่องนั้นได้ง่ายขึ้นในครั้งต่อๆไป เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากเป็นคนที่มีความสุขเราต้องฝึกอารมณ์ของเราให้ดีบ่อยๆ จนเกิดเป็นนิสัย

อายุยืนเพราะอารมณ์ดี การมองเรื่องความสุข เราไม่ค่อยเชื่อมโยงกันชัดเจนถึงปริมาณความสุขในชีวิตและอายุขัยของคนเราซักเท่าไหร่ แน่นอนว่า เรารู้กันมานานแล้วว่าคนที่สุขภาพจิตดี คนที่กินอาหารดี มีประโยชน์ นอนพักผ่อนเพียงพอ มีชีวิตที่เป็นบวก ย่อมมีอายุยืนยาวและมีชีวิตที่ดี แต่คนที่อารมณ์ดีทำให้เราอายุยืนได้มากกว่าเรื่องอื่นๆที่เราเคยรู้มา ซึ่งจากการอ่านหนังสือประวัติของพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายท่าน พบว่า พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแต่ละท่านมีอายุยืน อารมณ์ดี ซึ่งในตัวแปรทั้งหมดที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพของพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่น อาหารการกิน ปริมาณการออกกำลังกาย การทำงานหนัก การทำงานอย่างเคร่งเครียดหรือสบายใจ การมีเพื่อนเยอะหรือน้อย การนอนดึกหรือนอนแต่หัวค่ำ และการมองโลกในเชิงบวกนั้น สิ่งที่มีผล ต่อความยืนยาวของอายุที่สุดคือทัศนคติเชิงบวก พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะพูดถึงการปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยคำพูดเชิงบวก ตื่นตัว สร้างสรรค์ มีความสุข พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะมีอายุยืนยาว และที่สำคัญพระสรีระอังคารจะมีลักษณะใส และบางส่วนจะมีสีใสคล้ายแก้วมรกตและมีอีกหลากหลายสี ซึ่งจะเห็นได้ว่าในความเป็นจริงหากเราคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย มองคนอื่นร้ายกว่าความเป็นจริง ไม่รู้จักคิด แก้ปัญหาในเชิงบวกเท่ากับว่าเรากำลังฆ่าตัวตายผ่อนส่งทุกวันแทน ที่จะได้อยู่ทำประโยชน์ให้กับตัวเอง มีอายุยืนยาว การคิดเชิงบวกเหมือนวิตามินชีวิตเพื่ออายุที่ยืนยาวและสดใสที่เราสามารถเติม ให้ได้กับตัวเองทุกวัน

คนมีความสุขคือคนฉลาด ถ้าจะถามว่าอะไรเกิดก่อนกันระว่างความสุขกับความฉลาด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถตอบได้ว่า ทั้งสองเกิดพร้อมกัน คนที่มีความสุขสมองจะชุ่มฉ่ำไปด้วยสารดีๆหล่อเลี้ยงและบำรุงสมองอยู่เสมออยู่ในภาวะสดใส เรียนรู้อะไรรวดเร็ว และคนที่ฉลาดอย่างแท้จริงจะไม่ละเลยที่จะดูแลความสุขของตัวเอง เพราะรู้ดีว่าภาวะนี้เท่านั้นที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาอัจฉริยะภาพด้านต่างๆ ที่เราเป็นเจ้าของมาตั้งแต่เกิด ซึ่งยังไม่แสดงตัวออกมาเพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้อเท่านั้นเอง

เรามีหน้าที่เพียงแค่ทำให้สองภาวะที่เกื้อหนุนกันนี้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ซึ่งสภาพเหมาะสมที่สุดคือตอนที่เรามีความสุข ซึ่งถ้าตาคนเราสามารถสแกนสมองได้จะมองเห็นสารเอนดอร์ฟิน โดพามีน เซโรโทนิน หลั่งออกมาเต็มสมอง ของดีๆ ซึ่งไม่ต้องซื้อหากันแพงๆ สามารถสร้างได้ในสมองของเรา ซึ่งมีไว้ใช้สอยและช่วยให้สมองดีมีสุขได้ทุกวัน คนฉลาดย่อมรู้ว่าเขามีหน้าที่ดูแลชีวิตให้เป็นสุขเสมอ และคนที่มีความสุขนั้นจะมีต้นทุนทางสมองสูงพอที่จะนำไปพัฒนาเป็นความฉลาดได้ทุกเมื่อ ดังนั้นเมื่อสองสิ่งมาบรรจบกันพอดี เราจึงได้ข้อสรุปแสนง่ายว่า แท้จริงคนมีความสุขคือคนฉลาดนั่นเอง

โครงการทัศนศึกษา (Study Tour)

เรื่อง “การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต”

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ เทศบาลนครภูเก็ต

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และนายกเทศบาลนครภูเก็ต ร่วมกับ ตัวแทนสมาคมเปอรานากัน ตัวแทนสมาคมย่านเมืองเก่า ตัวแทนหัหน้าฝ่ายทางการศึกษาในเขตเทศบาล เจ้าหน้าที่เทศบาล และนักศึกษาปริญญาเอก เริ่มต้นด้วยการแนะนำการบริหาร " การจัดการมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต " โดยนายกเทศบาลนครภูเก็ตได้แสดง วิสัยทัศน์ในการบริหารการจัดการมนุษย์โดยภายใต้ยุทธศาสตร์ในแต่ละด้านของการบริหารงาน เพื่อให้เทศบาลนครภูเก็ตเป็น นครแห่งความสุขและน่าอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งมีความสอดคล้องกับทฤษฎี HR ; ทฤษฎี 3 วงกลม การบริหารที่ให้ชุมชน/สังคมรวมทั้งประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพร้อมทั้งได้วางแผนทุนมนุษย์ให้ภูเก็ตเป็นเมืองภูเก็ตที่ยั่งยืน มีคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่ม และกระจายรายได้ให้คนไทยมากกว่าคนต่างชาติ การสร้าง ภูเก็ตมีความเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ในเข้ามาท่องเที่ยวเยี่ยมชมวัฒนธรรมดั่งเดิม ซึ่งจะเป็นจุดขายแต่ต้องมีมียุทธวิธีที่มีความแข็งแกร่งในเรื่องการสร่างจุดเด่นและ BRAND จากยุทธศาสตร์ได้มีการพยายามสร้างประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมทั้งมีวัฒนธรรมในการใฝ่รู้ เรียนรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ให้เกิด และได้แลกเปลี่ยนความรู้กับศ. ดร. จีระ หงศ์ลดารมภ์ โดยแนะนำในเรื่องของทฤษฎี 2R ,4L ; 2I ; HRDS ;3L เป็นต้น ของ ศ.คร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อนำมาเติมเต็มในเรื่องของการการบริหารจัดการทุนมนุษย์ให้เกิดประโยชน์กับการบริหารจัดการพัฒนาเทศบาลนครภูเก็ตมากที่สุด และมองว่ามหาวิทยาลัยจะต้องเป็นแกนนำในการมองอนาคตของชุมชน สังคมเน้นให้ประชาชนทุกฝ่ายมีสวนร่วมโดยเฉพาะเปิดเสรีอาเซียนในปี 2015 ภูเก็ต ดังนั้นภูเก็ตมีจุดขายมากขึ้นฉะนั้นต้องมียุทธวิธีเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของ Brand ถ้ามี Creative Economy จะต้องมี Creative City ภูเก็ตเป็นเมืองที่ดึงดูดคนเก่ง คนสร้างสรรค์ทั่วโลก โดยเพาะคน ASEAN และ ASIA ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี Blue Ocean เกี่ยวกับธุรกิจ IT :การแพทย์ :Trading และการกีฬา ภูเก็ตสามารถสร้าง Link กับภูมภาคมากขึ้น (Logistics) และท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ท่านได้คำแนะนำว่าการจัดการทุนมนุษย์ในจังหวัดภูเก็ตลองวิเคราะห์ 4 ขั้นตอนดังนี้ 1).การแข่งขัน WTO: FTA :ASEAN เสรี 2015 2).ธุรกิจต้อง Competitive 3).World Competitive Ranking ของไทยเรื่องคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ 4).สาเหตุของปัญหาระดับ Macro HR Architecture ทุนมนุษย์มีแต่ปริมาณขาดคุณภาพ มีแต่ปริญญาไม่ใช่ปัญญา ภูเก็ตต้องสมดุล ยั่งยืน แข่งขันได้ ต้องสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและต้องสมดุลระหว่าง Supply กับ Demand นอกจากนี้ต้องสำรวจทุนมนุษย์ HR Audit ในทุกๆ Sectors รวมทั้งสร้างทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ในธุรกิจที่เน้นความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ ต่อจากนั้นท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาเอกได้แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อนำไปสู่การทำวิทยานิพนธ์ของแต่ละคน ซึ่งในความคิดของดิฉันนั้นเล็งเห็นว่า ในเรื่องของทุนทางวัฒนธรรมนั้นสำคัญมากสำหรับคนในชุมชนเพราะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยแต่พอนำมาค้าขายในสายตาคนต่างชาตินั้นกับได้แต่กำไร ดั้งนั้นในเรื่องขอการบริหารจัดการในเรื่องของการสร้างจุดเด่นของตนเองขึ้นมานั้นค่อนข้างสำคัญมากเพราะความเป็นเอเชียความหลากหลายวัฒนธรรมมีก็จริงอยู่แต่ความเหมือนกันก็มีเช่นเดียวกันหากเราต้องการสร้างความดึงดูดต้องหาจุดเด่นของตนเองนั้นออกมาให้ได้

Study Tour เมืองเทียนสิน - กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม 2554 – 27 ตุลาคม 2554

ของนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กับท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นางอุทุมพร เครือบคนโท รหัส 53484940001

วันที่ 23 ตุลาคม 2554 เวลา 10.00 น คณะนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา ออกเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมา ก่อนเดินทางได้ไปสักการะคุณย่าโมขอพรจากท่านเพื่อให้คณะนักศึกษาเดินทางโดยสวัสดิภาพ การเดินได้ทางผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปไหว้หลวงพ่อโสธร เพื่อความเป็นสิริมงคล หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 17.00 น เพื่อรอคณะของท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์กรุงเทพฯ จนกระทั่งเวลา 23.00 น ทุกคนได้มาพร้อมกัน ก่อนออกเดินทางท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ แนวทาง และข้อควรปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นพัฒนาทุนมนุษย์ของสังคมไทยให้มีคุณภาพและการผยแพร่แนวคิดทฤษฎี 8K’s ในเวทีต่างๆ ในการศึกษาดูงาน การเตรียมคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการปฏิบัติตนในการศึกษาดูงานสำหรับนักศึกษา หลังจากนั้นทุกคนได้เตรียมตัว ออกเดินทางจากสนามบิน เวลา 01.30 น ถึงกรุงปักกิ่ง เวลา 06.30 น เป็นเวลาท้องถิ่นที่เร็วกว่าประเทศไทย ประมาณ 1 ชั่วโมง

24 ตุลาคม 2554 เมื่อรับประทานอาหารเช้าเสร็จ ได้เดินทางสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน จตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในโลก สัญลักษณ์ของประเทศจีนยุคใหม่ สถานที่จัดงานพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ บันทึกภาพเพื่อเป็นที่ระลึกกับ อนุเสาวรีย์วีรชน ศาลาประชาคม และหอระลึกประธานเหมาเจอตุง จากนั้นคณะได้ผ่านประตูเข้าสู่ พระราชวังต้องห้าม “กู้กง” สถานที่ว่าราชการและที่ประทับของจักรพรรดิ์ 24 พระองค์ ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง นำชมโบราณสถานและสิ่งก่อสร้างที่คงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นบนพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร นำชมหมู่อาคารเครื่องไม้ที่ประกอบด้วยห้องหับต่างๆถึง 9,999 ห้อง ชมพระตำหนักว่าราชการ พระตำหนักชั้นใน ห้องบรรทมของจักรพรรดิ์ และห้องว่าราชการหลังมู่ลี่ไม้ไผ่ของพระนางซูสีไทเฮา ในภาคบ่ายท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะนักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัย China University of political and law บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่า ทางมหาวิทยาลัยมีความพร้อมอย่างยิ่งในการเตรียมบุคลากร ที่เป็นคณาจารย์และเตรียมนักศึกษาเข้ามามีบทบาทในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัย China University of Political and Law เป็นมหาวิทยาลัยสำคัญที่เปิดสอนวิชากฎหมายและเศรษฐศาสตร์ เป็นหลัก การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ย่อมส่งผลให้ประชากรของประเทศมีคุณภาพจะสังเกตได้จากผลการทดสอบในโครงการ PISA ซึ่งเป็นการประเมินที่มองไปถึงชีวิตในอนาคต ไม่ใช่การประเมินตามเนื้อหาในหลักสูตรที่เรียนกัน อยู่ในปัจจุบัน และเป็นการประเมินต่อเนื่อง โดยจำแนกเป็น 3 ระยะ ๆ ละ 3 ปี จุดเน้นของ PISA คือการประเมิน การรู้เรื่อง (Literacy) โดยยึดหลักการสำคัญ คือ ต้นแบบของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเน้นที่ ความรู้และทักษะใหม่ ที่จำเป็น เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงซึ่งนักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจากโรงเรียน แต่เพื่อให้เป็นผู้เรียนสามารถรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง การศึกษา จึงต้องให้ “ฐานราก” ที่มั่นคง พบว่าประเทศจีนมีผลการประเมินอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ท่านศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพูดถึงความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนจะมีการการเปิดเสรีมากขึ้น จะมีการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา ด้านบุคลากร การสร้างเครือข่ายการทำงาน รวมถึงตลาดแรงงาน ดังนั้นท่านศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ จึงเน้น เรื่องการจัดการทุนมนุษย์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มหาวิทยาลัย China University of Political and Law กับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จะมีโอกาสสร้างเครือข่ายร่วมกันอีก ในส่วนของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย China University of Political and Law ได้ให้ความสนใจและร่วมซักถามเกี่ยวกับการใช้หลักทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วคณะอาจารย์และนักศึกษาได้มอบของที่ระลึกให้กับมหาวิทยาลัย และถ่ายภาพร่วมกัน

25 ตุลาคม 2554 เมื่อรับประทานอาหารเช้าเสร็จ ได้เดินทางหอฟ้าเทียนถาน (Temple Of Heaven) หรือ เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า หอสักการะฟ้าเทียนถัน เป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งหอฟ้าเทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาวถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์ ตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นตําหนักเอก เป็นรูปทรงกลมหลังคา 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงิน ภายในตําหนักมีภาพวาดสีประณีตงดงาม บนเพดานวาดเป็นรูปมังกรและหงส์ ลานหยวนชิวซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นแบบคล้ายเวทีกลม 3 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีนํ้าเงินและสีขาว แต่ละชั้นล้อมรอบด้วยลูกกรงหินอ่อนสีขาว เป็นสถานซึ่งพระจักรพรรดิบวงสรวงเทพยดาหรือขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลตําหนักหวงฉงอี่สร้างเป็นรูปทรงกลมหลังคาชั้นเดียว มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงินแก่ เป็นสถานสําหรับเก็บรักษาแผ่นป้ายพระนาม"เทพเจ้าผู้ปกครองสวรรค์" ตําหนักนี้ล้อมรอบด้วยกําแพงเตี้ย ๆ กําแพงนี้สร้างถูกต้องตามหลักวิชาว่าด้วยเสียง จึงสะท้อนเสียงได้จนเป็นที่เลื่องลือ เมื่อสองคนยืนอยู่ที่กําแพงคนละฟาก คนหนึ่งพูดใส่กําแพง เบา ๆ อีกคนหนึ่งเอาหูแนบกับกําแพง จะได้ยินเสียงพูดจากฝ่ายตรงกันข้าม จากนั้นได้เข้าเยี่ยมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ที่ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการรักษาอาการต่างๆ และเข้าเยี่ยมชมและชิมชาที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงปักกิ่ง

26 ตุลาคม 2554 เดินทางไปเมืองเทียนจิน หรือ เทียนสิน เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ เป็นเมืองคู่แฝดของปักกิ่ง มีฐานะเป็นเขตปกครองพิเศษ เป็นเมืองท่าที่สำคัญ มีเนื้อที่ 11,000 ตารางกิโลเมตร เป็นนครอุตสาหกรรม ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของจีน มีน้ำมันปิโตรเลี่ยม แก๊สธรรมชาติ เกลือและ ทรัพยากรอื่น ๆ อุดมสมบูรณ์ มีพื้นฐานเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมพอ สมควร และก็เป็นศูนย์การ พาณิชย์และเมืองท่าอันสำคัญในภาคเหนือของจีน เทียนจินกลายเป็นเมืองสำคัญทางการค้าและการต่างประเทศ ค.ศ.1978 จีนตั้งศูนย์บริหารนักลงทุนต่างชาติแห่งเทียนจิน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติ สามารถติดต่อเรื่องการลงทุนได้สำเร็จภายในที่เดียว ทำให้เทียนจินกลายเป็นเขตพิเศษเพื่อธุรกิจนานาชาติ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร เป็นเมืองสมัยใหม่ที่คล่องตัว ทังทางบก ทางน้ำและทางอากาศ ขณะเดียวกันก็เป็นเมืองที่ วัฒนธรรมตะวันออก และตะวันตกผสมกันอย่างกลมกลืน จากการเดินทางไปเมืองเทียนจินครั้งนี้ ท่านศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะนักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัย Tianjin University of Technology เป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการสอนที่เน้นด้านการผลิตคนเพื่อรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของเมือง หากเปรียบเทียบกับประเทศไทย จะคล้ายกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี หรือสถาบันเทคโนโลยี ทางมหาวิทยาลัย ได้เตรียมบุคลากรให้การต้อนรับและร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านทุนมนุษย์ไว้เป็นอย่างดี จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้ทราบว่าทางมหาวิทยาลัย มีเป้าหมายในการผลิตคนออกมาให้มีคุณภาพ มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ รองรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ภาคบ่ายท่านศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะนักศึกษากลับมาที่กรุงปักกิ่งเพื่อเข้าพบและคารวะ ท่านทูตไทย ประจำประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์และคณะ ท่านได้ให้การต้อนรับ ท่านศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ และคณะนักศึกษาปริญญาเอก การเยี่ยมคารวะท่านในครั้งนี้ ท่านได้ให้ข้อคิดสำคัญเกี่ยวกับประเทศจีนว่าเป็นประเทศ ที่รวย สามารถซื้อทุกอย่างได้ และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล่วงหน้าได้ แม้เป็นประเทศที่มีพื้นที่มาก แต่ประชาชนทุกคนรับทราบนโยบายในแนวเดียวกัน มีทิศทางเหมือนกันเนื่องจากจีนยังใช้ระบบที่คล้ายกับการใช้ม้าเร็วในการสื่อสาร และการใช้ระบบการปกครองที่เด็ดขาด หากไม่ทำตามจะถูกทำโทษอย่างร้ายแรง ดังนั้นประชาชนจึงรับทราบข่าวและความเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก ประกอบกับรัฐบาลจีน เร่งปรับสร้าง วางผังเมืองใหม่ ปัจจุบันจึงเน้นความมั่งคั่งภาคประชาชน ในด้านความสุขยังไม่เกิดแต่รัฐบาลได้เห็นความสำคัญและกำลังดำเนินการในเรื่องนี้เช่นกัน ท่านดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูตด้านการพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ท่านยังได้บอกว่าเด็กนักเรียนจีนที่มาเรียนในเมืองไทยแปลกใจว่าทำไมเด็กไทยเรียนเหมือนเล่น ไม่ใฝ่รู้ ไม่จริงจัง การจัดการศึกษาค่อนข้างหย่อนยาน ดังนั้นในฐานนะที่เราเป็นนักวิชาการ นักการศึกษา ท่านต้องการให้ ระบบการศึกษามีความเข้มงวด ใส่ใจ กับนักเรียนนักศึกษาให้มากขึ้น มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา เช่นเวลาเข้าเรียน เวลาพักเที่ยง หรือเวลาเลิกเรียนควรยึดเวลาให้มั่น อย่างให้การศึกษาในประเทศไทยเสมือนกับเป็นการพักผ่อน

27 ตุลาคม 2554 เดินทางสู่กำแพงเมืองจีน สิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลกในยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วย แรงงานของคนนับหมื่นคน มีความยาว 6,350 กิโลเมตร ก่อสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณกว่า 2,000 ปีก่อน โดยจักรพรรดิจิ๋นซี ผู้รวบรวมประเทศจีนให้เป็นปึกแผ่น ตัวกำแพงสูงราว 7 เมตร กว้าง 6 เมตร ว่ากันว่าถ้านำวัสดุที่ใช้ก่อสร้างกำแพงแห่งนี้มาสร้างกำแพงที่มีความหนา 1 เมตร สูง 5 เมตร จะได้กำแพงที่มีความยาว 6,700 กิโลเมตร การขึ้นไปบนกำแพงเมืองจีน คณะได้นั่งกระเช้าขึ้นไป เมื่ออยู่บนกำแพงเมืองจีน จะพบถึงความกว้างใหญ่ แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของจักพรรดิในสมัยนั้น จากนั้นคณะได้เข้าชมโรงงานหยกที่ใหญ่ที่สุด จัดบริการด้านการขายครบวงจร และแวะร้านบัวหิมะ เดินทางมาสู่สนามบิน ออกจากสนามบินปักกิ่งเวลา 19.40 น เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร

จากการที่ท่าน ท่านศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา ไป Study Tour China University of Political Science and Law ณ เมืองปักกิ่ง Tianjin University of Technology ณ เมืองเทียนสิน และเยี่ยมคาราวะ ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูตด้าน การพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน การศึกษาครั้งนี้ทำให้มองเห็นว่าประเทศจีนความสำคัญกับทุนมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง เน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก คิดรอบด้าน มองไกล พัฒนาคนให้เก่ง สร้างผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ประเทศจีนมองเห็นว่าประเทศจะพัฒนาได้มากน้อยเพียงใดทรัพยากรมนุษย์มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ภายใต้การเจริญเติบโต ความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะกระแสของโลกาภิวัตน์ และการแข่งขัน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ความท้าทายจากรอบด้านเช่นเดียวกัน การจะยืนหยัดอยู่ได้ในสังคมโลกให้ได้อย่างเข้มแข็ง ไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับต้น นอกจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศแล้ว ควรมีการสร้างความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน มีการการเปิดเสรีมากขึ้น จะมีการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา ด้านบุคลากร รวมถึงตลาดแรงงาน และการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในอนาคต ดังนั้นประเทศไทยจึงควรเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ประเทศเกิดความพร้อมที่จะรับมือต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างดีพอมีความยั่งยืนและเกิดภูมิคุ้มกันที่ดี

การไป Study Tour ที่มหาวิทยาลัย China University of Political Science and Law ณ เมืองปักกิ่ง มหาวิทยาลัย Tianjin University of Technology ณ เมืองเทียนสิน และเยี่ยมคาราวะ ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูตด้านการพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน การศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. Excellence ที่หมายถึง ความเป็นเลิศ ความดีเยี่ยม ความยอดเยี่ยม จะเห็นได้ว่าประเทศจีน มีความเป็นเลิศในหลายด้าน โดยเริ่มจากความใส่ใจในความต้องการของลูกค้า สำรวจตลาด ความสามารถผลิตสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ออกมาได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เน้นการจำหน่ายในปริมาณมาก เป็นที่สนใจของตลาด จากการศึกษาดูงานคิดว่า ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้โดยการสร้างองค์กรให้มีความเป็นเลิศซึ่งองค์กรที่เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศในองค์กร ควรมีลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ ประสบความสำเร็จด้านการเงิน เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือสังคม และเป็นองค์กรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตที่มีคุณค่าต่อการลงทุนระยะยาว โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ คือ People บุคลากร คุณภาพของทุนมนุษย์ หรือ Quality of Human Capital หรือ บางคนอาจจะเรียกว่าเป็นสมรรถนะ (Competencies) หรือทักษะ (Skills) ซึ่งเป็นที่มาของทฤษฎี 8K’s ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รวมถึงการเน้นการลงมือปฏิบัติ Care of Customer การใส่ใจต่อลูกค้า และ Constant Innovation การสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

2. Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งประเทศจีน จะทำใช้กระบวนการวัดและเปรียบเทียบนี้เพื่อนำมาปรับปรุงองค์กรของตนจนมีความเป็นเลิศเป็นที่ยอมรับ และสามารถเป็นประเทศอันดับต้นที่มีความสามารถในการผลิตและจำหน่ายผลผลิตจากการศึกษาดูงานจะสังเกตเห็นได้ว่า การทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

2.1 การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

2.2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการเปรียบเทียบวัดให้รู้ถึงผู้ที่ทำได้ดีกว่า และเข้าไปเรียนรู้วิธีการปฏิบัติซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จหรือมีค่า Benchmark สูง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรของตนเองตัววัดเป็นข้อมูลที่เรียกว่า “Benchmark” และค่าของตัววัดนั้น ๆ เรียกค่า Benchmark เช่น บริษัท ก. ต้องการปรับปรุงเวลาที่ใช้ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า ซึ่งสมมติว่าปัจจุบันใช้เวลา 1 วัน และทราบข้อมูลว่าภายใต้เงื่อนไขและกระบวนการเดียวกัน มีบริษัท ข. ซึ่งใช้เวลาส่งมอบผลิตภัณฑ์เพียง 1 ชั่วโมง ในกรณีนี้กล่าวได้ว่าระยะเวลาที่ใช้ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า คือ Benchmark เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ และค่าของระยะเวลาที่ใช้เปรียบเทียบ เป็นค่า Benchmark ในการกำหนดว่าองค์กรควรเปรียบเทียบกับผู้ที่มีผลการปฏิบัติที่ดีกว่าในระดับใดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรว่าต้องการปรับปรุงไปสู่ระดับใด หรือต้องการแข่งขันกับคู่แข่งขันระดับใด เช่น ระดับอุตสาหกรรม ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก อย่างไรก็ตาม ค่าของ Benchmark เป็นตัวเลขซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การปรับปรุงองค์กรโดยการเปรียบเทียบวัดและเรียนรู้จากผู้ที่ทำได้ดีกว่าจึงต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เนื่องจากผู้ที่ทำได้ดีกว่าก็ย่อมมีการปรับปรุงตลอดเวลา วิธีปฏิบัติของผู้ที่ทำได้ดีกว่า/เป็นเลิศ (Best Practices) เป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปสู่การปรับปรุงองค์กร ในการทำ Benchmarking ยังมีความสับสนกับคำว่า “Best” ของ Best Practices โดยคิดว่าเป็นการยากที่จะพูดว่าเป็นวิธีปฏิบัติ “ที่ดีที่สุด” ทำให้หลายองค์กรที่ทำ Benchmarking ใช้คำว่า Good Practices หรือ Better Practices แทน อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ Best Practices หมายถึง วิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือ วิธีปฏิบัติที่นำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศซึ่งเหมาะสมกับองค์กนนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือเหมาะสมกับทุกองค์กร ก็จะทำให้สามารถใช้คำว่า Best Practices ได้ ดังนั้นในการเรียนรู้ Best Practices จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเอง ผู้ใช้ต้องนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับองค์กรของตนเองด้วย สิ่งที่จะสามารถนำมา ประยุกต์ใช้ในการทำ Benchmarking คือ

1. การปรับปรุงตนเองด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่นไม่ใช่การลอกเลียนแบบ เนื่องจากแต่ละองค์กรมีวัฒนธรรม วิสัยทัศน์ สภาพธุรกิจและปัจจัยภายในองค์กรที่แตกต่างกัน ดังนั้น Benchmarking จึงต้องเป็นการเรียนรู้เพื่อนำ Best Practices ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร

2. การแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำ Benchmarking ต้องทำอย่างเป็นระบบ ได้รับการยอมรับและเต็มใจจากองค์กรต้นแบบไม่เปิดเผยข้อมูลหรือนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในการทำ ซึ่งในส่วนนี้จะมีจรรยาบรรณ (Code of Conduct) ควบคุม เพื่อให้การทำ Benchmarking ยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

3. เป้าหมายที่แท้จริง (Ultimate Purpose) ของ Benchmarking คือการศึกษา Best Practices ปรับปรุงตนเอง มิใช่ การมุ่งเน้นเพียงการเปรียบเทียบวัดเท่านั้น ซึ่งเทียบเป็นสัดส่วนระหว่างตัววัดและ Best Practices

3. Quality เป็นการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่สามารถผลิตสินค้าได้มากที่สุด มีความหลายหลาย ใช้ต้นทุนที่ต่ำ สินค้าประเภทสินค้าเลียนแบบ มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ แต่ปัจจุบันจีนได้หันมาใส่ใจในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น ผลิตสินค้าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการของลูกค้า โดยสินค้าหรือบริการนั้นสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมได้เปรียบคู่แข่งขัน ลูกค้ามีความพึงพอใจ และยอมจ่ายราคาเพื่อซื้อความพอใจนั้น ซึ่งมิใช่เรื่องที่ประเมินจากสิ่งของที่จับต้องได้ หรือเป็นรูปธรรมเพียงด้านเดียว แต่จะต้องนำปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นนามธรรมมาประกอบการพิจารณาด้วย คุณภาพเป็นคำที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี สามารถสรุปความสอดคล้องของความหมายได้ 3 ด้าน คือ การเป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนด การสร้างความพอใจให้ลูกค้า และด้านต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม สิ่งที่ประทศไทยสามารถนำมาใช้ได้การมุ่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองให้ได้ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในคุณภาพ และเกิดความมั่นใจในสินค้า นอกจากนี้คุณภาพของทุนมนุษย์” หรือ “Quality of Human Capital” หรือ บางคนอาจจะเรียกว่าเป็นสมรรถนะ (Competencies) หรือทักษะ (Skills) ซึ่งเป็นที่มาของทฤษฎี 8K’s ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อใดก็ตามที่คนมีคุณภาพก็จะสามารถสร้างผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพออกมาได้เช่นเดียวกัน

4. Standard มาตรฐาน หมายถึง กิจกรรมในการวางข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาสำคัญที่มีอยู่หรือที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้ ประโยชน์ที่สำคัญของมาตรฐาน ได้แก่ การปรับปรุงความเหมาะสมของ ผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี และการบริการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ป้องกันไม่ให้มีอุปสรรคในทางการค้า และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในทางเทคโนโลยี หรืออาจกล่าวได้ว่า มาตรฐาน (Standard)

เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นจากการเห็นพ้องต้องกัน และได้รับ ความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสารดังกล่าววางกฎระเบียบแนวทางปฏิบัติหรือลักษณะเฉพาะแห่งกิจกรรม หรือผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้

5. Best practices เป็นวิธีการทำงานหรือวิธีปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อ ผลงานที่มีคุณภาพ หรือส่งผลต่องานที่ประสบผลสำเร็จ แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญในการเชื่อมโยงแนวคิดหลักจาก Best Practices มาใช้เพื่อการพัฒนางาน ประกอบด้วย 1. ความต้องการในการแสวง หาข้อมูลหรือความรู้เพื่อนำสู่การพัฒนางานให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือการนำความรู้ไปใช้เพื่อการสร้างประโยชน์ 2. ความเชื่อว่าความรู้ หรือแหล่งข้อมูลไม่มีเฉพาะในเอกสาร ในตำรา หรือจากการเรียนรู้ตามรูปแบบเดิม 3. ความเชื่อในวิธีการเรียนรู้ ที่เป็นกระบวนการจัดการกับความรู้ (Knowledge Management หรือKnowledge Integration )จะเห็นได้ว่าประเทศจีน เป็นประเทศที่เน้นการพัฒนา โดยเน้นวิธีการปฏิบัติการทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศหรือทำให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศ สำหรับประเทศไทย สามารถนำแนวการจัดทำ Best Practices มาใช้ โดยนำความรู้จากการ ศึกษาดูงาน พบว่า Best Practices มีแนวทางดำเนินการดังนี้

1. การเตรียมการ หมายถึงการกำหนดกรอบหรือแนวทางในการศึกษา การกำหนดเกฑ์ในการวิเคราะห์ผลงานหรือแหล่งข้อมูลที่จะจัดทำ Best Practices การกำหนดรูปแบบหรือกรอบการเขียน Case รวมถึงรูปแบบการนำเสนอ ตลอดจนการเตรียมทีมงานซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าทีม ผู้เขียน case ผู้ถ่ายภาพตัดต่อภาพและบรรณาธิการ เป็นต้น

2. การเลือกกรณีศึกษา หมายถึงการพิจารณาเลือกหน่วยงาน หรือผู้ที่มีผลงานที่เป็นเลิศ หรือมีผลงานประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับ การศึกษาผลงาน จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ยืนยันความสำเร็จอย่างน่าเชื่อถือ เช่นผ่านการประเมินตามระบบของโครงการนั้นๆ (ในกรณีที่เป็นงาน หรือโรงเรียนในโครงการเฉพาะ) ได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ผ่านการประเมิน มีความภาคภูมิใจ เป็นผลงานที่ทำให้ก้าวสู่เป้าหมายของชีวิตที่สูงขึ้นหรือเป้าหมายสูงสุดในเวลานั้น

3. การจัดทำแผนการจัดทำ Best Practices ซึ่งประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล เครื่องมือในการเก็บข้อมูลระยะเวลา การประสานงาน การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำเอกสาร การนำเสนอ Best Practices

การจัดทำ Best Practices จบลงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและควรตรวจสอบก่อนนำเสนอ การตรวจสอบ Best Practices มีแนวทางพิจารณาดังนี้ 1. วิธีการ หรือ Best Practices นั้นๆส่งผลต่อหรือสอดคล้องกับผล หรือเป้าหมายงานอย่างน่าเชื่อถือ มีข้อมูลยืนยันได้ รวมถึงผ่านกระบวนการ ที่น่าเชื่อถือเช่นกระบวนการวิจัย 2.Best Practices นั้นๆ สามารถตอบได้ว่า ทำอะไร? (what) ทำอย่างไร? (how) ทำทำไม? (why) 3. Best Practices นั้นๆ สามารถสรุปและนำไปเป็นบทเรียน ( Lesson Learned ) หรือนำสู่การพัฒนาต่อยอด หรือถอดเป็นบทเรียน (Lesson Learned ) ได้ ดังนั้นการจะพัฒนาเพื่อให้ผลงานที่มีคุณภาพ หรือส่งผลต่องานที่ประสบผลสำเร็จ ประเทศไทยจึงควรมองอันดับแรกที่การเรียนในระบบหรือการศึกษาแบบทางการนั้นเป็นการสร้างทุนมนุษย์ขั้นแรกของมนุษย์ คือเป็น K ที่ 1 ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือทุนมนุษย์ หรือ Human Capital คุณภาพของทุนมนุษย์ หรือ “Quality of Human Capital” ตามทฤษฎี 8K’s ที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ เพราะเมื่อใดก็ตามที่คนมีคุณภาพก็จะสามารถสร้างผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพออกมาได้เช่นเดียวกัน การทำให้เกิดBest Practices ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

นาง นางจงดี พฤกษารักษ์

ID : 53484931011

University : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

Major : สาขานวัตกรรมและการจัดการ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง Study Tour การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต ดิฉันขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พร้อมทีมงานและท่านนายกสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ตให้การดำเนิน Study Tour บรรลุตามเป้าหมายซึ่งดิฉันคิดว่าได้รับความรู้ครั้งนี้และได้ข้อคิดเกี่ยวกับการทำงาน"How Passion and Commitment will help in delivering exoellence" พบว่า you have to enjoy you wort " แล้วได้ทราบว่า "you have to have purpose and meaning of wort " OR you have to have ability to get things

done-once you have it the result is that your work is faster. And your work has quality and excellence. "your work is more than routine-value a dded and value creation." your work is more Creatiive. เมื่อท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตได้กล่าวการบริหารงานของการใช้กลยุทธ์ทั้ง 18 กลยุทธ์ โดยเน้นทุนมนุษย์เป็นสำคัญ พบว่า บุคคลที่เข้ามาทำงานในเทศบาลนครภูเก็ต ท่านนายกเทศมนตรีจะแจ้งให้ผู้ที่จะบรรจุทำงานทราบว่ามี Knowledge แต่ไม่มี Learning Cultune จึงไม่มี Learning Organzation ในกรณี ถ้ามี Learning Culture ก็จะไปสู่การเป็น Learning Organzation ได้ สรุปได้ว่า องค์การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ Knowlede ประกอบด้วย "จะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้ จะดำเนินการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance) พร้อมทำให้เทศบาลนครภูเก็ตจาก Good ไปสู่ Great ส่วนชุมชน Old Phuket Town ประธานท่านกล่าวว่าการดำเนินกิจกรรมขายเสื้อ เพื่อสมทบทุนและให้ความรู้ผู้ที่มีศึกษา ความรู้ เกี่ยวกับวัฒนธรรมของภูเก็ต เป็นกระบวนการเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำหน่ายบริการ และวิธีปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่าโดยนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กร Old Phuket Town สู่ความเป็นเลิศหรือ Barehmarking แต่ การดำเนินงานของโรงเรียนเผาขยะของเทศบาลนครภูเก็ต ดิฉันคิดว่า เกิด Quality ของการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของเทศบาลนครภูเก็ตต้องการโดยการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า (คนภูเก็ต) และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมเกี่ยวกับรถขยะในจังหวัดภูเก็ตมาใช้บริการ โรงเผาขยะของเทศบาลนครภูเก็ตอีกประเด็นที่ดิฉันมีความภูมิใจในฐานะเป็นชาวภูเก็ต พบว่า เทศบาลนครภูเก็ต บริหารจัดการหลายๆด้าน Standard ได้แก่ ผลปฏิบัติงานของโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลที่สังกัดเทศบาลนครภูเก็ตโดยท่านนายก

สมใจ สุวรรณศุพนา ได้รับรางวัล อาทิเช่น โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา เป็นโรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทานท่านนายกเทศมนตรี ได้รับรางวัล ศิลย์เก่าดีเด่นของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ รางวัลหลายๆอย่างที่ท่านนายกเทศมนตรี ได้รับ เกิดจากผลปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจ ดิฉันคิดว่า Study Tout Phuket เทศบาลนครภูเก็ตได้รับรางวัลการันตีคุณภาพ การบริหารงาน Excellence ในการเรียนรู้บอกห้องเรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สอนนักศึกษาให้เกิด Excellence is not askill but attitude 1.)Pain is gain 2.)Emotional ในทฤษฎี 5k (อารมณ์) 3.)Share Vision 4.)Trust 5.)Motivation 6.)Reinventing ในกรณีเยี่ยมชมถนนสายวัฒนธรรมย่านการค้า เมือง Old Phuket Town วัฒนธรรม ชิโน-โปรตุกีช ซึ่งเป็น Best Practices โดยปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ ทำให้องค์กร "เทศบาลนครภูเก็ต" ประสบความสำเร็จ หรือเกิดความเป็นเลิศ ท่านนายกสมใจ สุวรรศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ท่านได้ Quality of Valualole Given การให้อย่างมีคุณค่า โดยท่านให้ความสำคัญทุนมนุษย์เกี่ยวกับ 1.)Training 2.)Learning Life Long Lcarning 3.)Share Experincnce

4.)Willingness 5.)Nuturance 6.)Generousity และ 7.)Knowledgeทำให้เกิด Excellence ของเทศบาลนครภูเก็ตเกิดผลสัมฤทธ์และความเป็นเลิศในผลงาน

ท้ายสุดนี้ ดิฉันคิดว่า เทศบาลนครภูเก็ต การบริหารจัดการทุนมนุษย์ โดยการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้

(Learning Culture) หรือ สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) หรือเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นอกจากนี้ เทศบาลนครภูเก็ต ได้บริการจัดการจากที่ได้ Study Tour Phuket เทศบาลนครภูเก็ตแล้ว พบว่า ท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตท่านได้ใช่ 1.)Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง 2.)Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด 3.)Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน 4.)Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน และ 5.)System Thinking มีระบบการคิดมีเหตุมีผลจากได้เรียนรู้นอกห้องเรียนเกิดประสบการณ์ตรงให้นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)ขอขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณสมใจ สุวรรศุภพนา

ท่านเทศมนตรีภูเก็ตและทีมงานทุกๆคนขอให้ ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พร้อมทีมงาน และขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง

ดิฉัน นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัส 53484931011 สาขานวัตกรรมการจัดการ (ศูนย์ภูเก็ต) ขอมคุณมากๆค่ะ!

               

                               วัฒนธรรมสร้างสรรค์

เมื่อทุนทางวัฒนธรรมปะทะกับทุนความคิดสร้างสรรค์

 

                ในความหลากหลายของวัฒนธรรม จะมีจุดที่คล้ายคลึงกันอยู่ เพียงแต่ว่าเราต้องหาแรงดึงดูดและแรงจูงใจในการสร้างสรรค์และบริหารจัดการจากวัฒนธรรมที่มีอยู่ ให้มีผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า ทุนทางวัฒนธรรม คือสิ่งที่มีอยู่เดิม มีการสั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนาน ในขณะที่ทุนความคิดสร้างสรรค์ ต้องอาศัยประสบการณ์ที่ได้และแรงกระตุ้น (passion) ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างเสน่ห์ในการจัดการวัฒนธรรม โดยที่ความเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมยังคงอยู่

                จากการได้ไป study tour ที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับทุนวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่าง เช่น สถาปัตยกรรมพื้นเมือง ของชาวจีนพื้นเมือง ที่เรียกว่า ชิโนโปรตุกีส และได้ถูกนำมาใส่ความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บรรจุขนม ของร้านพรทิพย์ โดยย่อส่วน ตึกรามบ้านช่องแถบถนนถลาง เป็นกล่องสำหรับใส่ขนมพื้นเมือง เพื่อสามารถนำเป็นของฝาก ของที่ระลึกของจังหวัดภูเก็ต นับเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการใช้ทุนวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม ผสมผสานกับทุนความคิดสร้างสรรค์  

                                              

ในแต่ละชุมชนมีวัฒนธรรมเดิมที่สร้างและสั่งสมมาแต่โบราณที่เน้นความสำคัญของวัฒนธรรมชาวบ้าน ความเป็นชุมชนท้องถิ่น ที่มีลักษณะเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยไม่อยู่แบบตัวใครตัวมัน ไม่แข่งขันหรือเอารัดเอาเปรียบกัน มีภูมิปัญญาสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติในลักษณะที่ให้ความเคารพ  แต่วัฒนธรรมชุมชนนั้นก็สามารถถูกทำลายลงโดยการพัฒนาที่ทันสมัย ซึ่งนำเอาระบบทุนที่เน้นการบริโภค และบูชาการแข่งขัน เป็นผลเนื่องมาจากกระบวนการโลกาภิวัฒน์ ที่ให้ความสำคัญกับเงิน ทุกอย่างเป็นสินค้า ระบบทุนนี้มีการครอบงำจากต่างประเทศ ขณะนี้ระบบทุนได้รุกคืบ ในทางเศรษฐกิจได้ชักจูงให้เกิดการบริโภคฟุ่มเฟือย ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้น้อยลง สมาชิกมีหนี้สิน ในทางวัฒนธรรมได้โฆษณาสิทธิตัวใครตัวมันและการแข่งขัน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีทุน อีกฝ่ายหนึ่งเป็นประชาชนธรรมดา ความร่ำรวยกระจุกตัว ทั้งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ป่าและแหล่งน้ำเสื่อมโทรมมีปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาพ วัฒนธรรมชุมชนไม่สามารถมองแบบหยุดนิ่งได้ เนื่องจากมันเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของสังคมที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากปัจจัยภายในและนอกชุมชน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและเงื่อนไขทางสังคมที่ดำรงอยู่ในเวลานั้น รวมถึงระดับของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมา วัฒนธรรมชุมชนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงแต่ก็ยังดำรงอยู่มาทุกยุคทุกสมัย  แต่มองอีกแง่หนึ่งวัฒนธรรมชุมชนมันหยุดนิ่ง ไม่ไปไหน และมีลักษณะถูกกระทำจากกระแสโลกาภิวัฒน์ มันจะถูกโลกาภิวัฒน์กลืนทั้งหมด จะหลงเหลือเพียงบางสิ่งคือตัววัฒนธรรมที่ขายได้ โดยไม่ต้องลงทุนเช่น ประเพณีต่างๆ มันถูกปรับให้สนองตอบทุนนิยม จากวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิต หรือพิธีกรรมกลายมาเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว ดังตัวอย่างที่เห็นกันทั่วบ้านทั่วเมืองที่ต่างพยายามนำเอาความเป็นชุมชนหรือวิถีชีวิตแบบดังเดิมมาเป็นจุดขายให้นักท่องเที่ยว และมันจะไปด้วยกันจนเราแยกไม่ออกว่าตัวไหนเป็นวัฒนธรรมชุมชนและตัวไหนเป็นสิ่งที่มาจากภายนอก และมีอีกมุมมองหนึ่งที่แตกต่างออกไปแต่เป็นประเด็นที่สำคัญคือถ้ามองจากวิถีการผลิตระหว่างการผลิตแบบเก่ากับกับการผลิตแบบโลกาภิวัฒน์ที่ล้ำหน้า คิดว่ามันไปกันไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน ที่มันยังมีอิทธิพลอยู่อาจเป็นเพราะว่ามันคาบเกี่ยวกับทุนใหญ่ ทุนชาติในประเทศ ที่พยายามเสนอไว้เพื่อกีดกันทุนโลกาภิวัตน์

 การที่จะพัฒนาชุมชนจะต้องเริ่มจากฐานวัฒนธรรมชุมชนซึ่งเป็นปราการที่แข็งแกร่งที่สุดของชาวบ้าน เป็นพลังผลักดันการพัฒนาชุมชนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนสร้างขึ้นมาเอง และในแง่วิธีการพัฒนา จะต้องทำให้ชาวบ้านมีจิตสำนึกที่แจ่มชัดในวัฒนธรรมของเขา ปัญญาชนของชาวบ้าน เช่น ผู้เฒ่า หมอผี แถน ของชุมชนอีสาน ชาวบ้านควรร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของชุมชน เพราะสิ่งที่ชาวบ้านปฏิบัติมาช้านานนั้น การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์จะช่วยให้รื้อฟื้นค้นหาได้ว่า การปฏิบัติและพิธีกรรมมีที่มาอย่างไร ทำให้ชาวบ้านตื่นและรับรู้ รู้เอกลักษณ์และคุณค่าของตัวเอง ค้นพบจิตสำนึกอิสระของชุมชน เห็นคุณค่าของการรวมตัวเป็นชุมชน และซาบซึ้งในประวัติการต่อสู้ร่วมกันตลอดมา เห็นภัยของการครอบงำของวัฒนธรรมแปลกปลอมจากภายนอกในแง่เศรษฐกิจ ชาวบ้านควรทำการผลิตในขนาดที่เหมาะสม ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักก่อน ทำเพื่อเลี้ยงครอบครัวและชุมชนก่อน

“ชุมชนจะพัฒนาได้อย่างไรถ้าเรารู้จักความจริงในหมู่บ้านเพียงครึ่งเดียว ขณะที่ด้านความขัดแย้งและจัดการความขัดแย้งที่หายไปนั้นเป็นจุดสำคัญของชุมชน”

โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ เพื่อการรักษาวัฒนธรรมของชุมชนให้ดำรงอยู่คู่ลูกหลานของเราต่อไปประกอบด้วย  ประการแรกเราต้องมองที่  Reality มองความจริง คือการมองความจริงที่เกิดขึ้นในบริบทที่เป็นชุมชนของเรา  ว่าจริงแล้วชุมชนของเราเป็นแบบไหนและคนในชุมชนนั้นเป็นอย่างไน  มีความพร้อมหรือศักยภาพมากน้อยเพียงใดในการจัดสรรทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรมที่มีอยู่ได้อย่างทั่วถึง  ประการที่สองนั้นคือ  Relevance  ตรงประเด็น  จะต้องมีความชัดเจนตรงประเด็นเพื่อในง่ายแก่การเข้าใจในการสื่อสารหรือการจัดสรรทรัพยากรทุนทางวัฒนธรรมระหว่างคนในชุมชนให้มากที่สุดทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือ  ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า  “ ชาติใดไม่กระตือรือร้นในการบำรุงและส่งเสริมวัฒนธรรมของตนให้มีความเจริญงอกงาม และแพร่หลายได้ทันท่วงที ชาตินั้นอาจเป็นผู้ถูกชาติอื่นรุกรานในทางวัฒนธรรม ดังนั้นเพื่อไม่ให้ถูกรุกรานหรือรุกรานก็ต้านอยู่ ก็จะต้องรู้จักปรับปรุงวัฒนธรรมของตนให้เจริญ สิ่งแปลกใหม่ไม่ใช่ว่าจะเป็นของดีมีประโยชน์แก่ตนเสมอไป ถ้าสิ่งแปลกใหม่นั้นไม่เข้ากันได้ดีกับรากฐานแห่งวัฒนธรรมของตน”

ดังนั้นการส่งเสริมให้วัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเพราะจะทำให้การพัฒนายืนอยู่บนรากฐานของตนเองและภูมิปัญญาของชุมชนและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว โดยจะต้องมีการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นองค์รวม คือการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างความเข้มแข็งให้
ครอบครัวและชุมชน รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงวัฒนธรรมอันดีงามทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีโลกทัศน์ทางวัฒนธรรมที่กว้างขวาง และรู้จักเลือกสรรไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม  โดย  การเสริมสร้างสมรรถภาพของชุมชนหรือสังคมให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองโดยตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ทั้งต่อตัวเองและสังคม เพื่อให้เป็นฐานของการพัฒนา
ชุมชนต่างๆ ทั้งในเมืองและชนบท  จัดเวทีในการแสดงหรือเผยแพร่วัฒนธรรมในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การ สนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ริเริ่มโดยชุมชนท้องถิ่น การสร้างเวทีเสนอผลงานและเผยแพร่งานด้านศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาระบบจูงใจและกระบวนการสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่การสร้างผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคม  เพื่อเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างคน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างเกื้อกูลระหว่างคน  ชุมชน กับทรัพยากรธรรมชาติ และระหว่างกลุ่มคนในสังคม โดยใช้หลักความร่วมมือของประชาชนเป็นแนวทางในการดูแลพฤติกรรมของสมาชิกในชุมชน จะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้รับผิดชอบต่อคน สังคม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจนั้นๆ  ร่วมไปถึงการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพในการเผยแพร่คุณค่าของวัฒนธรรม  ที่น่าสนใจและมีลักษณะหลากหลายเพื่อถ่ายทอดและปลูกฝังคุณค่าที่ดีงามและค่านิยมที่เสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย และกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจซาบซึ้งและนำไปปฏิบัติร่วมกันได้

ทั้งนี้ยังเป็นตัวสร้างวัฒนธรรมในการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพของสื่อมวลชนและเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ  และร่วมกันตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานของข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เผยแพร่ออกสู่ประชาชน  เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัฒนธรรมและนำมิติทางวัฒนธรรมมาใช้ในการพัฒนาในเรื่องของเนื้อหาสาระหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม โดยการปรับกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ความจริงเป็นหลักและมีการเรียนรู้จากรากฐานทางวัฒนธรรม  อีกทั้งการใช้การวิจัย การรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ รวมทั้งการสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและผลการวิจัยเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาให้สูงขึ้น  เพื่อเป็นจุดส่งเสริมวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวและการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคม

การสร้างความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทย โดยการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐและท้องถิ่นในการทำนุบำรุงสร้างสรรค์และพัฒนาโบราณสถาน พิพิธภัณฑสถาน หอสมุด ฯลฯ เผยแพร่คุณค่า รักษา สืบทอดเอกลักษณ์ความเป็นไทยและการสร้างสรรค์
ศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ ขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันและอนาคต  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก รวมทั้งการขยายโลกทัศน์ทางวัฒนธรรม ในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจถึงรากฐานวัฒนธรรมระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และประโยชน์ของวัฒนธรรมที่มีต่อชุมชน และการยอมรับวิถีชีวิตที่แตกต่างหลากหลายภายในสังคม  เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยกับนานาชาติ และให้สามารถรับวัฒนธรรมต่างชาติมาประยุกต์ใช้อย่างรู้เท่าทัน  ที่สำคัญเราต้องเร่งสร้างจิตสำนึกความรู้ ความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าของวิถีชีวิตภูมิปัญญาดั้งเดิมของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งดูแลป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรม  ส่วนเรื่องของการบริหารจัดการด้านวัฒนธรรม ควรมีการจัดทำและประสานแผนปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางด้านวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา  มีการประสานชุมชนและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจและขีดความสามารถในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมเพื่อท้องถิ่น  หรืออาจจะมีการระดมทุนเพื่อเพิ่มวงเงินกองทุนวัฒนธรรมให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาแก้ไขกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ กฎกระทรวง และมติคณะรัฐ-มนตรีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวัฒนธรรม ให้มีความชัดเจนและมีความเป็นเอกภาพ รวมทั้งดำเนินการกระจายอำนาจ เพื่อช่วยให้การบริหารงานด้านวัฒนธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  สร้างระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์เกี่ยวกับทรัพยากรทางวัฒนธรรมและสร้างดัชนีชี้วัดด้านวัฒนธรรมกับการพัฒนาเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและการติดตามประเมินผลในการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน สถาบันสังคม หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนทุกแห่งเข้ามามีส่วนร่วมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจตามศักยภาพของทุนความเป็นมนุษย์ที่แต่ละคนมีด้วยการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

จากการที่ได้ไป study tour กับท่านอาจารย์ เราได้ประสบการณ์ที่มีคุณค่ายิ่ง ทำให้เราต่างตระหนักดีกว่า การเรียนเฉพาะในห้องเรียนสี่เหลี่ยมนั้น ไม่สามารถตอบโจทย์หรือตอบคำถามของเราได้ทั้งหมด ทั้งนี้เราต้องอาศัยประสบการณ์ ที่เราสามารถสัมผัสหรือลงมือปฏิบัติได้จริง จึงจะมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ เราทั้งคู่จึงได้แสวงหาประสบการณ์ใหม่ แล้วนำประสบการณ์ที่ได้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน   ภายใต้กรอบของการใช้ทุนวัฒนธรรมและทุนความคิดสร้างสรรค์ 

พรรณวดีออกเดินทางไป home stay บ้านบุ้ง จังหวัดมุกดาหาร ที่นี้มีวัฒนธรรมของชาวไทยดำ ที่ได้เปิดโอกาสให้กับบุคคลภายนอกและชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นเมืองของชาวไทยดำ มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ในเรื่องของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยดำ นั้นยังคงความเป็นดั้งเดิม ถึงแม้จะมีบุคลภายนอกเข้ามา มากหน้าหลายตา  วัฒนธรรมก็ยังคงอยู่เช่นเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือการนำวัฒนธรรมอื่นเข้ามาปะปนแต่อย่างใด  หากจะมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คงจะเป็นเรื่อง การบริหารการจัดการที่เป็นระบบอย่างสร้างสรรค์ ไม่น่าเชื่อว่าชาวบ้านชาวไทยดำ จะเล่นอินเทอร์เน็ตได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทิ้งการสื่อสารแบบปากต่อปาก จึงทำให้เป็นเรื่องง่ายในการสื่อสารกับบุคคลภายนอกและในหมู่บ้านของตนเอง นอกจากนี้พวกเขายังได้เน้นเรื่องการสื่อสารกับชาวบ้าน โดยสร้างความเข้าใจในเรื่องของการทำธุรกิจ home stay ที่ยั่งยืน ประกอบกับการมีผู้นำชุมชน ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ที่ภาวการณ์บริหารจัดการได้อย่างสมบูรณ์แบบ   เป็นที่น่าสนใจว่า แม้กระทั่งก่อนที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางออกจากหมู่บ้าน มีการให้นักท่องเที่ยวได้แสดงความคิดเห็นผ่านแบบสอบถาม เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงในการจัดการ home stay ต่อไป  แต่เมื่อได้รับผลการแสดงความคิดเห็นแล้ว ก็ใช่ว่าทางหมู่บ้านจะต้องปรับตามใจลูกค้าเสมอไป พวกเขายังคงยึดอุดมการณ์ในการสืบสานวัฒนธรรมชาวไทยดำสืบต่อไป   

                    

สุธาสินี มุ่งหน้าไปอำเภอหัวหิน เพื่อไปย้อนอดีตที่ “เพลินวาน” แหล่งวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ที่เกิดขึ้นจากความคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการผสมผสานระหว่างกลิ่นอายของวัฒนธรรมเก่า ๆที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้อย่างลงตัว จะเห็นได้ว่าสถานที่ตั้งอยู่ในท่ามกลางของความเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศ แต่ก็สามารถสร้างแรงดึงดูด และจุดเด่นได้อย่างน่าสนใจ มีการใช้การออกแบบมาช่วยในการตกแต่งสถานที่  เน้นให้ผู้มาเที่ยวชมได้มาถ่ายรูป  มาเดินชมบรรยากาศเก่า ๆ  โดยสถานที่อาจจะมีข้อจำกัด มีขนาดพื้นที่ไม่มาก แต่ที่น่าแปลกยิ่งกว่าคือ นักท่องเที่ยวไปกี่ครั้งก็ไม่มีความรู้สึกเบื่อ  ผู้คนต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการไปดื่มด่ำกับวัฒนธรรมที่ได้รังสรรค์มาเป็นอย่างดี

               

                จากการที่เราได้เดินทางไปเรียนรู้ เราได้พบว่าการผสมรวมกันระหว่างทุนวัฒนธรรมและทุนความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบแห่งความสำเร็จ มีดังนี้

1.เราต้องดำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเราเอาไว้อย่างมั่นคง โดยปราศจากการเข้ามาของวัฒนธรรมอื่น แต่ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะปิดกั้นไม่รับรู้เกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมภายนอก เราจำเป็นต้องเรียนรู้ เพราะโดยรากฐานของวัฒนธรรมคือการงอกเงยอย่างสร้างสรรค์

2.การออกแบบหรือการสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้น ก็มีผลในเรื่องของการสร้างเสน่ห์และสีสันในตัวของรูปลักลักษณ์ผลิตภัณฑ์เองที่เป็นเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นเฉพาะตัว ไปรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของตัวผลิตภัณฑ์  

3.การมีความคิดสร้างสรรค์  หรือมีความคิดที่แปลกใหม่  บางทีเป็นเรื่องของพรสรรค์แต่อย่าลืมว่าเรื่องของพรแสวงก็สามารถที่จะเป็นเครื่องมือที่จะนำพาไปสู่ความคิดที่ไม่ซ้ำใคร

นางสาวพรรณวดี ขำจริง และนางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์  ศูนย์ภูเก็ต

 

วุฒินันต์ ตันวรรณรักษ์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 8 K’s

ความฉลาดทางสุขภาวะ 

ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันเราจะเห็นว่าเป็นไปตามทุนนิยมกระแสหลัก และระบบการคิดแบบแยกส่วน โดยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เฉพาะหน้า ทั้งในเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำและไม่เคยเกิดขึ้น อาทิเช่น การจัดการปัญหาของการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงาน หรือองค์การ หรือปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น โลกร้อน แผ่นดินไหว อุทกภัย ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จะเห็นว่าในที่สุดแล้วเราจะไม่ได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นที่แท้จริง แต่จะเป็นการแก้ปัญหาตามอาการ ไม่ได้ตรงไปที่สาเหตุของปัญหา ดังนั้นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นอีกในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นการจัดการทางความฉลาดทางสุขภาวะ จะเป็นแนวคิดที่จะทำให้เกิดความสมดุล ทั้งในส่วนความเป็นจริงทางโลกคือ สมมุติทางสังคม และความเป็นจริงทางการดำเนินชีวิต

ความหมายของสุขภาวะ องค์การอนามัยโลก ได้นิยามไว้ว่า “สุขภาพ หมายถึงสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา มิใช่เพียงการปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้น” (ตามนิยาม “สุขภาพ” ขององค์การอนามัยโลก และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550)”

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) จึงได้เริ่มรณรงค์ให้ประเทศต่างๆ ได้ตระหนักถึงแนวโน้มของการทำให้ประชากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ในแนวคิดซึ่งเรียกว่า ความฉลาดทางสุขภาวะ (Health Literacy) โดยให้ความหมายว่าเป็นทักษะทางสังคมและปัญญาซึ่งก่อให้เกิดแรงจูงใจและความสามารถของบุคคล เพื่อให้เข้าถึง เข้าใจ และใช้สารสนเทศที่ได้รับ เพื่อส่งเสริมและดำรงรักษาสุขภาวะ

ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ ให้แนวคิดความฉลาดทางสุขภาวะว่า ความฉลาดทางสุขภาวะ คือ ความเป็นสุขอย่างฉลาด” เกิดขึ้นได้โดยวิธีเรียนรู้ที่จะดำเนินไปตลอดชีวิต ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ (learning to learn) หรือการฝึกฝนให้รู้วิธีที่จะเข้าใจ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง (learning to do) หรือการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่แวดล้อม การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน (learning to live together) หรือการมีส่วนร่วมและร่วมมือกับผู้อื่นในกิจการทั้งปวงของมวลมนุษย์ และการเรียนรู้เพื่อชีวิต (learning to be) หรือการมีสติปัญญาไหวพริบในการเข้าใจโลกรอบตัว มีความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการที่จำเป็น ประพฤติตนด้วยความรับผิดชอบและอย่างเป็นธรรม

 

ความฉลาดทางสุขภาวะ (health literacy) จะต้องประกอบด้วยมิติ 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม ปัญญา

     1. สุขภาวะทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่มีอุบัติภัย เป็นต้น
     2. สุขภาวะทางจิต หมายถึง จิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตา กรุณา มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น
     3. สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดี ในครอบครัว ในชุมชน ในที่ทำงาน ในสังคม ในโลก ซึ่งรวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดี และมีสันติภาพ เป็นต้น
     4. สุขภาวะทางปัญญา (จิตวิญญาณ) หมายถึง ความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากมีจิตใจสูง เข้าถึงความจริงทั้งหมด ลดละความเห็นแก่ตัว มุ่งเข้าถึงสิ่งสูงสุด ซึ่งหมายถึงพระนิพพาน หรือพระผู้เป็นเจ้าหรือความดีสูงสุด สุดแล้วแต่ความเชื่อมที่แตกต่างกันของแต่ละคน

ดังที่นักวิชาการต่างๆ ยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่เหมาะสม และได้นำเสนอในการประชุมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 ที่ประเทศเคนยา

ภาพที่ 1 องค์ประกอบและผลของการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ

ที่มา 7th Global Conference on Health Promotion, Kenya, 26-30 October, 2009

 

พฤติกรรมของบุคคลที่สามารถเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน ใช้ความรู้ และสื่อสารเกี่ยวกับสารสนเทศด้านสุขภาวะ อันเป็นทักษะ กระบวนการทางสังคมและปัญญาสู่การเกิดความฉลาดทางสุขภาวะในแต่ละขั้นตอน มีความหมายเพื่อความเข้าใจตรงกันดังนี้

1. การเข้าถึง (Access: Ac) หมายถึง การใช้ความสามารถในการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การสืบค้น และการคำนวณ ที่มีกระบวนการใคร่ครวญ ตรวจสอบ เชื่อมโยงด้วยหลักเหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องตามกฎระเบียบ และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม เพื่อให้ได้ข้อมูลและ สารสนเทศที่ต้องการเกี่ยวกับสุขภาวะ

2. การเข้าใจ (Understanding: Un) หมายถึง การตีความ แปลความ อ้างอิง จำแนกประเภท และลักษณะสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับสุขภาวะ ด้วยการคิดใคร่ครวญ ตรวจสอบตามหลัก เหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องกับกฎ ระเบียบ และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม เพื่อประมวล ความรู้ ความคิดรวบยอดจากข้อมูลและสารสนเทศนั้น

3. การประเมิน (Assessment: As) หมายถึง การตรวจสอบ อ้างอิง ทำนาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เชิงตัดสินข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ โดยคิดใคร่ครวญ ตรวจสอบด้วย หลักเหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความชอบธรรมตามสิทธิและหน้าที่ตามกฎระเบียบ และวัฒนธรรมอันดีงาม ของสังคม เพื่อเลือกและสรุปเป็นหลักการและแนวปฏิบัติที่เหมาะสม

4. การใช้ความรู้ (Utilization: Ut) หมายถึง การนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติใน บริบทของการเสริมสร้างความสุขของชีวิต ไปประยุกต์ โดยคิดใคร่ครวญ ตรวจสอบด้วยหลักเหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความชอบธรรมตามสิทธิ และหน้าที่ตามกฎ ระเบียบ และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม เพื่อแก้ปัญหา ลดความเสี่ยง และเพิ่มคุณภาพชีวิต

5. การสื่อสาร (Communication: Co) หมายถึง การนำเสนอ เผยแพร่ ชักชวน ต่อรอง และรณรงค์การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะ ด้วยการคิดใคร่ครวญ ตรวจสอบตามหลักเหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความชอบธรรมตามสิทธิ หน้าที่ กฎ ระเบียบ และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม เพื่อกระตุ้น ชักนำความคิดและวิธีปฏิบัติของครอบครัว ชุมชน สังคม

 

สำหรับระดับการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ โครงการฯ ได้สรุปจากแนวคิดของ Nutbeam ซึ่งได้จัดไว้เป็น 3 ระดับ โดยอิงกับระดับของการรู้หนังสือ  ดังนี้

1. ระดับปฏิบัติส่วนตัว (Functional Health Literacy: F) เป็นระดับการใช้ทักษะพื้นฐานในการฟัง พูด อ่าน เขียน และคิดคำนวณ ที่จำเป็นต่อการเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และประยุกต์ข้อมูล และสารสนเทศทางสุขภาวะ เพื่อแก้ปัญหา ลดความเสี่ยง และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับตนเอง พร้อมทั้งสามารถสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับสุขภาวะของตนเองได้

2. ระดับปฏิสัมพันธ์ (Interactive Health Literacy: I) เป็นระดับการใช้ทักษะพื้นฐานของการรู้หนังสือและทักษะทางสังคม ในกระบวนการเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน ประยุกต์ และสื่อสารข้อมูล และสารสนเทศทางสุขภาวะ เพื่อมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ แก้ปัญหา ลดความเสี่ยง และเพิ่มคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

3. ระดับวิจารณญาณ (Critical Health Literacy: C) เป็นระดับการใช้ทักษะพื้นฐานของการรู้หนังสือ ทักษะทางสังคม และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ใช้ข้อมูลและสารสนเทศ และการสื่อสารทางสุขภาวะอย่างมีวิจารณญาณ ตามสิทธิและหน้าที่ซึ่งรัฐและกฎหมายกำหนด เพื่อเอาชนะอุปสรรคเชิงโครงสร้างของวัฒนธรรมและสังคมที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางสุขภาวะของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ภาพที่ 2 แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ ที่มา Nutbeam, D. (2009)

         จะเห็นได้ว่าปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นของความฉลาดทางสุขภาวะคือ การรู้หนังสือ ที่ ประกอบด้วย การอ่าน การเขียน การคำนวณ และความรู้เบื้องต้นของบุคคล ซึ่งเป็นทักษะการเรียนพื้นฐานที่สามารถจะนำมาพัฒนาโดยการให้ความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความรู้และสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ เมื่อความรู้และสมรรถนะดังกล่าวเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้มีความฉลาดทางสุขภาวะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และด้วยความรู้และสมรรถนะนี้เองเมื่อได้มีการนำสู่การปฏิบัติ ก็จะทำให้บุคคลเกิดทักษะในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น และมีความเชื่อที่ถูกต้อง

เกี่ยวกับสุขภาวะ รวมทั้งยึดมั่น สนับสนุนสิ่งที่เป็นความรู้และสมรรถนะด้านสุขภาวะ นอกจากนี้ความรู้

และสมรรถนะด้านสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นยังทำให้บุคคลมีทักษะในการต่อรองและการจัดการตนเอง เช่น การเลือกบริโภคอาหารบางอย่างทดแทนอาหารที่ไม่ปลอดภัยสำหรับตน หรือในกรณีที่เป็นผู้ป่วย โรคเบาหวานก็จะสามารถควบคุมดูแลระดับน้ำตาลของตนเองให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เข้าใจและทำตามคำแนะนำของแพทย์ได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น

สรุปว่า การพัฒนาพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ทางด้านความฉลาดทางสุขภาวะนั้น เพื่อ สร้างความสมดุลของโลกที่จะหยั่งยืนให้สู่ความเป็นสากลได้นั้นจะต้อง สร้างให้เกิดการพัฒนาสุขภาวะ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญา โดยผ่านกระบวนการ เข้าใจ เข้าถึง ประเมิน การใช้ความรู้ และการสื่อสาร ทั้งในระดับที่เป็น ระดับปฏิบัติส่วนตัว เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ป้องกันลดความเสี่ยง ที่จะเกิดปัญหาอนาคตได้ ระดับปฏิสัมพันธ์ ก่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิด มุมมอง และสุดท้าย ระดับวิจารณญาณ ก่อให้เกิดการวิเคราะห์ และให้ข้อมูลอย่างสมเหตุสมผล และสังเคราะห์ให้เกิดความรู้ใหม่เพื่อพัฒนารู้แบบเปลี่ยนแปลง ทางสังคมวัฒนธรรม เพื่อความสุขที่หยั่งยืนทั้งต่อตนเอง ประเทศชาติ

 

รายงาน study tour นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ณ . ประเทศจีนระหว่าง 23 – 27 ตุลาคม 2554

นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดย นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

วันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 10 สนามบินสุวรรณภูมิ ได้นัดกันที่เคาเตอร์ U เวลาประมาณ 22.00 น. ทั้งศูนย?กรุงเทพและศูนย์นครราชสีมา ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย ประมาณ 1 ชั่วโมงช่วงเช้าวันแรก เดินทางไปเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน และพระราชวังกู้กง หรือ พระราชวังต้องห้าม (Gu Gong or Imperial Palace or Forbidden City)ตั้งอยู่ด้านหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือจรดใต้ 961 เมตร กว้าง 753 เมตร มีกำแพงวังล้อมรอบ ยาว 3 กิโลเมตร สูง 10 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบ กว้าง 52 เมตร มีประตูวัง 4 ประตู 4 ทิศ มีป้อมหอคอยกำแพงวังอยู่ 4 มุม มีพื้นที่ทั้งหมด 724,250 ตารางเมตร มีตำหนักน้อยใหญ่ถึง 9,999 ห้องสร้างในสมัยพระเจ้าหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี ค.ศ. 1406 เป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงและชิง รวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ มีการบูรณะซ่อมแซมไปหลายครั้ง แต่ยังคงสถาปัตยกรรมเดิม มีความสมบูรณ์แบบที่สุด ใหญ่ที่สุดและรักษาไว้ได้ดีที่สุด รวมทั้งมีประวัติที่ยาวนานที่สุดในโลกอีกด้วย ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วังหน้าและวังใน

- วังหน้าเป็นเขตที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการ จัดงานพิธีต่างๆ รับเข้าเฝ้า

- วังในเป็นเขตหวงห้าม ผู้ชายห้ามเข้า ยกเว้นขันทีเท่านั้น

• วังหน้ามี 3 ตำหนัก เป็นศูนย์กลางที่สร้างอยู่บนเส้นแกนตรงกันเป็นเส้นตรง ดังนี้

1.ตำหนักไถ่เหอ เป็นตำหนักด้านหน้าที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในพระราชวังหลวง ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูง 2 เมตรเศษ ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว แกะสลักเป็นเมฆ มังกร และหงส์ สร้างในปีค.ศ. 1420 สมัยของพระเจ้าหย่งเล่อ กว้าง 11 เมตร ลึก 5 เมตร หลังคาซ้อน 2 ชั้น สูง 35 เมตร พื้นที่ 2,377 ตารางเมตร ปูด้วยอิฐ(ที่นวดด้วยแป้งทองคำ) ตรงกลางมีบัลลังก์มังกรสีทอง(มังกร 5 เล็บ สัญลักษณ์ของฮ่องเต้อันสูงส่ง) ใช้เป็นสถานที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการแผ่นดินรับการเข้าเฝ้าจากขุนนางขุนศึก ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและอาคันตุกะชาวต่างต่างประเทศ หลังคามุงกระเบื้องสีทอง(สีเฉพาะของฮ่องเต้เท่านั้น)

2.ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักหลังที่ 2 อยู่ด้านหลังตำหนักไถ่เหอ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมียอดแหลม ใช้เป็นสถานที่พักรอก่อนออกว่าราชการแผ่นดิน รับการรายงานจากข้าหลวงชั้นใน รวมทั้งพิธีการจัดงานเข้าเฝ้า หากมีงานพิธีแต่งตั้งพระราชินีและจัดงานใหญ่ในพระราชวังจะต้องตรวจเอกสารความเรียบร้อยของงาน ณ ตำหนักแห่งนี้ล่วงหน้า 1 วัน ช่วงบ่าย เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยChina University of political science and law ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งตามแผนที่วางไว้ในการศึกษาดูงาน การแนะนำฝ่ายไทย นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำตัวและนักศึกษาที่ไปจากสวนสุนันทาด้วย หลังจากที่ได้แนะนำการจัดการศึกษาแก่กันและกันแล้ว ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและนักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ประเด็นสำคัญที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ 1.การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บูรณาการข้ามศาสตร์ โดย China University เน้นทางด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ทางฝ่ายสวนสุนันทา โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสริมประเด็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านโดยใช้ทฤษฏี 2R การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งเสริมให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตในการออกแบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่เกิด จนถึงวัยทำงาน 2.นักศึกษาจาก China University ได้ถามคำถามว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาทำอย่างไร ตัวแทนนักศึกษาศูนย์กรุงเทพ ได้ตอบว่ายึดหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบผลงานการวิจัยให้กับ China University และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก การพัฒนากลยุทธ์ของจีนที่มุ่งการสร้างขีดความสามารถในได้รับการยอมรับในนโยบายการศึกษาและเน้นความซับซ้อนมีผลทำให้ในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการศึกษา แปลงนี้ได้มีส่วนร่วมผูกพันทรัพยากรที่สำคัญใหม่เพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในรูปแบบองค์กรสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนเพื่อการเจริญเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องผ่านการยกระดับคุณภาพและการผลิตของความคิดและทรัพย์สินทางปัญญาตามที่กำหนดไว้ และ จำนวนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในประเทศจีนมีการเติบโตที่ประมาณ 30% จากนั้นนำชมและจับจ่ายสินค้าที่ตลาดรัสเซีย ซึ่งทีทุกอย่างที่นั่น รายการซื้อจะต้อมีการต่อรองลงประมาณ 80% และทานอาหารค่ำ เข้าชมกายกรรมปักกิ่ง “Legend of jinsha”ที่น่าตื่นเต้นเลื่องชื่อและน่าหวาดเสียวผสมผสานกับความสวยงาม อ่อนช้อยพิเศษกับการแสดงแนวใหม่ที่ตื่นเต้นมากกว่าเดิมกับมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง วันที่ 24 ตุลาคม ได้ชม”หอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีน ใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี หอฟ้าเทียนถานเป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งซึ่งยังคงรักษาไว้ในจีน ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวงฉงอี่ และลานหยวนชิว เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗๓ เฮกต้าร์ เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาวถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม ตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นตําหนักเอก เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. ๑๔๒๐ ห่างจากปัจจุบัน ๕๐๐ กว่าปี เป็นรูปทรงกลมหลังคา ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงิน ไม่มีขื่อและอกไก่ อาศัยเสาไม้ ๒๔ ต้น เป็นโครงยึดไว้ซึ่งได้ชื่อว่า "ตําหนักไม่มีขื่อ" ภายในตําหนักมีภาพวาดสีประณีตงดงาม บนเพดานวาดเป็นรูปมังกรและหงส์ ลานหยวนชิวซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นแบบคล้ายเวทีกลม ๓ ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีนํ้าเงินและสีขาว แต่ละชั้นล้อมรอบด้วยลูกกรงหินอ่อนสีขาว เป็นสถานซึ่งพระจักรพรรดิบวงสรวงเทพยดาหรือขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตําหนักหวงฉงอี่สร้างเป็นรูปทรงกลมหลังคาชั้นเดียว มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงินแก่ เป็นสถานสําหรับเก็บรักษาแผ่นป้ายพระนาม"เทพเจ้าผู้ปกครองสวรรค์" ตําหนักนี้ล้อมรอบด้วยกําแพงเตี้ย ๆ กําแพงนี้สร้างถูกต้องตามหลักวิชาว่าด้วยเสียง จึงสะท้อนเสียงได้จนเป็นที่เลื่องลือ เมื่อสองคนยืนอยู่ที่กําแพงคนละฟาก คนหนึ่งพูดใส่กําแพงเบา ๆ อีกคนหนึ่งเอาหูแนบกับกําแพง ก็จะได้ยินเสียงพูดจากฝ่ายตรงกันข้าม

ชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าชมและชิม ชาอวู่ หลงของปักกิ่งและชาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่นชาแดง ชาผลไม้ ชามะลิ ชากุหลาบ

ประวัติของชาอูหลง ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ถ้านับย้อนหลังไปก็รวมระยะเวลา ได้กว่า 4,000 ปี กล่าวคือ เมื่อ 2737 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาได้ถูกพบโดยจรรดิพรรดิ นามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิต และนักสมุนไพร เป็นคนรักความสะอาดมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนง กำลังพักผ่อนอยู่ที่ใต้ต้นชา และกำลังต้มน้ำดื่มอยู่นั้น ปรากฏว่าได้มีลมโบกกิ่งไม้เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่ม ก็เกิดความรู้สึกกระปรี่กระเปร่าขึ้น พอมาในช่วงศตวรรษที่ 3 ชาวบ้านได้รู้ถึงสรรพคุณด้านเป็นยา ในสมัยนั้น จะดื่มชาเป็นยา เป็นเครื่อง บำรุงกำลัง พอชาได้รับความนิยมมากขึ้น ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ ในช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5 ความนิยมใบชาในประเทศจีนเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการปลูกชาตามแนวเทือกเขา บริเวณหุบเขาแม่น้ำแยงซีเกียง ชาจะผลิตในรูปของการอัดแผ่น คือ การนำใบชามานึ่งก่อน และจากนั้นก็นำมากระ แทก จากนั้นนำไปผสมกับลูกพลัม ลักษณะที่ได้จะข้นๆเหนียวๆ จากนั้นนำไปเทลงบนแม่พิมพ์ และนำไปอบให้แห้ง ได้ชาออกมาเป็นแผ่น เมื่อนำมาเตรียมเป็นน้ำชา จะนำไปผิงไฟให้มันอ่อนตัว จนสามารถที่จะบดเป็นผงได้ จากนั้นก็นำไปผสมน้ำต้ม สมัยนั้น เริ่มมีการนำชาไปถวายเป็นของขวัญแด่ จักรพรรดิจีน สมัยราชวงศ์ถัง ถือเป็นยุดทองของชา(ค.ศ.618 - ค.ศ. 906) ชาไม่ได้ดื่มเพื่อเป็นยาบำรุงกำลังเพียงอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพ ในสมัยนี้ขายังเป็นรูปแบบของการอัดเป็นแผ่นอยู่ แต่ในขั้นตอนการเตรียมชา ได้มีการเติมเกลือลงไป เพื่อให้ชามีรสชาติเข้มข้นขึ้น และมีการเต่งรสอื่นๆซึ่งส่วน ใหญ่จะเป็นเครื่องเทศ เช่น หัวหอมหวาน ขิง เปลือกส้ม กานพลู และสารแหน่ สมัยราชวงศ์ซ้อง(ค.ศ. 960 - ค.ศ.1279) ชาได้เติมเครื่องเทศแบบในสมัยถัง แต่จะเพิ่ม รสบางๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว มาถึงราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368 - 1644) ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มีการรวมรวบใบชา นำมานึ่งและอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป แรกเริ่มเป็นชาเขียว เมื่อการค้าพัฒนาขึ้น อย่างต่อเนื่อง ก็มีการพัฒนาการบวนการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพของใบชาให้นานขึ้น โดนได้คิดค้นกระบวนการที่เรียกว่าการหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็น ที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีนมีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้ สมัยนั้นตลาดยุโรปต้องการมาก ออกเดินทางชมเมืองเทียนจิน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปักกิ่ง ด้านตะวันออกติดกับอ่าวป๋อไห่ (Bohai Bay) มีสถานภาพเป็น "เทศบาลเมือง" (Special Municipality) ซึ่งการปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ห่างจากเมืองปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ประมาณ 120 กิโลเมตร

เศรษฐกิจเมืองเทียนจิน นอกจากจัดเป็นเมืองท่าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศจีนท่าเรือเทียนจินมีสินค้าเข้าออกราว 160 ล้านตัน โดยสินค้าที่ผ่านท่าเรือแห่งนี้กว่า 80% เป็นถ่านหิน แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์น้ำมัน จึงนับเป็นศูนย์ท่าเรือใหญ่ริมทะเลป๋อไห่ทางภาคเหนือของประเทศ ยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางทางการค้า การขนส่งการสื่อสารที่สำคัญของจีนตอนเหนือ มีชายฝั่งทะเลยาว 133 กม.ทางฝั่งตะวันออก อุดมด้วยทรัพยากรทางทะเล และยังเป็นเขตเมืองท่าและฐานอุตสาหกรรมทางทะเลที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในมหาสมุทร สภาพภายในเมืองยังมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 ในยุคล่าอาณานิคมพื้นที่เมืองของเทียนจินตั้งอยู่ตามแม่น้ำไห่เหอ ท่าเรือที่อยู่ห่างไกลตั้งอยู่บนอ่าวป๋อไห่ บนมหาสมุทรแปซิฟิก เทศบาลนครเมียนจินมีพรมแดนติดต่อกับเหอเป่ย ไปทางเหนือ ใต้ และ ตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลนครปักกิ่งในส่วนเล็ก ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และติดต่อกับอ่าวป๋อไห่ไปทางตะวันออกขณะเดินทางได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของจีนโบราณที่ยังคงความสวยงามน่าชม เนื่องจากอาคารทั้งสองฟากฝั่งถนนนั้นยังคงความดั้งเดิมไว้อย่างน่าชื่นชม เมืองเทียนจินเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือไกลและใกล้ และการค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษ และขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์ ขุดน้ำมันปิโตเลียม แทรคเตอร์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช นาฬิกา โทรทัศน์ และเครื่องถ่ายรูป

เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน Tianjin University of Technology เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐได้รับการอนุมัติโดยสภาแห่งรัฐของจีนในปี 1981 เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลากหลายวิชา ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมในการศึกษาภาษาจีน,โปรแกรมสำหรับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, การจัดการ, วรรณคดี, ศิลปะและกฎหมาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย ยังได้เปิดวิทยาลัยการศึกษานานาชาติ The College of International Education (CIE) ที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะ จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้รับนักศึกษาต่างชาติจากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกย เป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง แนวการจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน และได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีด้วย

นอกจากนี้นับว่าเป็นโชคดีที่ทางสถานทูตไทย ที่ประจำในประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร

วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ และคณะ ท่านให้เกียรติกับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ

หงส์ลดารมภ์พร้อมกับนักศึกษาเข้าเยี่ยมคารวะท่านและร่วมฟังแนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม สุดท้ายท่านได้ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากคือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ต้องปรับระบบด้านการคิด การใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา

จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์ผีเซียะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนให้ท่านได้ชมและลูบผีเซียะโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอโชคลาภ

ไปสู่กำแพงเมืองจีน ถือว่าเป็นโครงการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดด้วยฝีมือมนุษย์ มีการเกณฑ์แรงงานเกือบล้านคน และยังมีแรงงานจากพวกนักโทษผู้ซึ่งถูกโกนหัว และมีตรวนเหล็กคล้องคอ คนเหล่านี้ต้องทำงานในถิ่นทุรกันดารท่ามกลางอุณหภูมิเลวร้าย คือ ๓๕ องศาเซลเซียสในฤดูร้อน และ -๒๑ องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ต้องอด ๆ อยาก ๆ เพราะเสบียงที่ส่งมามักถูกขโมยกินหรือถูกยักยอกนำไปขาย คนงานนับพันจึงต้องล้มตาย ร่างถูกฝังอยู่ใต้กำแพง กำแพงเมืองจีนจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลุมฝังศพที่ยาวที่สุดในโลก” ด้วย

เหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงมีการสร้างกำแพงอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นนั้นไม่มีผู้ใดทราบแน่นอน ที่มาเริ่มแรกเข้าใจว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นปราการป้องกันการบุกรุกของชนเผ่ามองโกเลียทางภาคเหนือแต่มีผู้ให้เหตุผลว่า ความจริงกำแพงสูงและยาวขนาดนี้ ไม่อาจป้องกันกองทัพใด ๆ ของผู้คิดจะบุกรุกจีนได้ เพียงทำลายส่วนหนึ่งของกำแพงลง ก็อาจยกทัพผ่านได้ ซึ่งก็เคยปรากฏอยู่เสมอในประวัติศาสตร์จีน กำแพงเป็นเพียงเครื่องสกัดกั้นหรือก่อให้ศัตรูยุ่งยากในด่านแรกเท่านั้น เหตุผลที่น่าฟังอีกอย่างหนึ่งคือ กำแพงนี้ได้ปิดกั้นทางน้ำไม่ให้ไหลออกไปภายนอก ชาวจีนทำไว้เพื่อให้ชนเผ่ามองโกเลียต้องลำบากในการปีนป่ายขึ้นมาหาน้ำเป็นสำคัญ แต่บางฝ่ายก็ให้เหตุผลว่า กษัตริย์จีนทรงสร้างกำแพงขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับพระเกียรติ ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนสนใจเฉพาะกำแพงตอนที่สร้างไว้รอบเมืองเก่าแก่เท่านั้น แต่ที่แน่นอนก็คือ กำแพงนี้ใช้เป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างชาวตะวันออกกับตะวันตก

ประวัติกำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้นกว่า 2000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิ์องค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยกษัตริย์องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมามีข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนดังนี้

1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แม้แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low earth orbit เรา สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน

2. กำแพงเมืองจีนไม่ใช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จน เป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร

3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมาก เสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความ ยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง

4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า "กำแพงยาวหมื่นลี้" (หนึ่งลี้มีความ ยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร

การขึ้นชมกำแพงเมืองจีนขณะเดินทางได้ผ่านรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่า จุดชมวิวกำแพงเมืองจีนที่สวยที่สุด เพราะจะได้เห็นวิวในมุม 360 องศา นั่งกระเช้า และเดินต่อเพื่อไปยังกำแพงเมือง ตามแต่จะสามารถเดินได้

เวลา 19.40 น. เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร

แรงบันดาลใจ (Inspiration) ไปสู่

Excellence คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น เห็นได้ว่าประเทศจีนมีการพัฒนา

ไปอย่างรวดเร็ว เห็นได้ทางด้านการพัฒนา การวางผังเมือง แผนพัฒนาในระยะยาวที่ต้องการจะจัดทำรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่สามารถเดินทางได้ในเวลาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีแผนที่จะจำสร้างให้ถึงประเทศไทยโดยรัฐบาลยึดหลักของทฤษฏีทุนแห่งความสุข ของประชาชน ที่สำคัญ ประเทศจีนเห็นความสำคัญของการศึกษาในการพัฒนาทางด้านทุนมนุษย์ เพื่ออนาคตในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทฤษฏีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เกี่ยวกับทฤษฏี 4 L

*Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้Learning

*Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้Learning

*Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้

*Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

และ 2 R

*Reality ความจริง

*Relevance ที่เกี่ยวข้อง

Benchmark คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น รัฐบาลได้จัดเตรียมการในการก่อสร้างทางด้านอาคารสถานที่ซึ่งจะแบ่งอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐาน รัฐสามารถควบคุมได้ในทุก ๆ เรื่อง เช่นปั้มน้ำมัน จะไม่มีในเมืองใหญ่ ๆ จะมีนอกเมืองเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของประเทศ และประชาชน

อย่างที่สองคือ เมืองเทียนจินเป็นเมืองอุตสาหกรรม จึงมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (Tianjin University of Technology ) จะส่งผลถึงการจัดการศึกษา เพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม ซึ่งส่งผลถึงการจัดการศึกษา ในยุคโลกาภิวัตน์ ดังแนวคิดของทฤษฏี 5 K

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

Quality คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น คนจีนนั้นโดยทั่วไปเป็นคนมีวินัย ขยันหมั่นเพียร อดทน รักตัวเองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตัวอย่างนักเรียนในประเทศจีนเป็นคนขยันตลอดเวลา รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการศึกษาอย่างมากเหนือกว่าการ พัฒนาสาขาใด ๆได้กำหนดนโยบาย "การพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ และการศึกษา" นอกจากนั้น ยังมุ่งที่จะปฏิรูประบบการศึกษาในแนวลึก โดยการจัดการศึกษาแบบให้เปล่าถึง 9 ปี รัฐบาลจีนได้สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐในทุกระดับ เพิ่มการลงทุนทางด้านการศึกษา และส่งเสริมให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การศึกษาในทุกช่องทางและทุกวิถีทาง การศึกษายึดมั่นในหลักการ "การพัฒนาสู่ความทันสมัยเปิดสู่โลกและอนาคต" และยังใช้หลักการดังกล่าวนำไปสู่การปฏิรูป และการสร้างการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไป การศึกษาของ จีนมีกระทรวงศึกษาธิการ ( Ministry of Education - MOE ) กำกับดูแล และคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ( State Education Commission - SEC ) เป็นผู้วางแผนการศึกษาตามนโยบายรัฐ และควบคุมคุณภาพการศึกษา

Standard คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น ทางด้านการศึกษา แนวคิดของการพัฒนาโรงเรียนไปสู่มาตรฐานสากล ที่ขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้นับได้ว่าเป็นการต่อยอดของการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพเป็นประเทศชั้นนำของโลกยุคปัจจุบัน บนวิถีของความเป็น มีเรื่องราวอยู่หลายประเด็นที่คนในวงการศึกษา และมีความชำนาญเรื่องอุตสาหกรรมการค้าทำให้จีนพึ่งตนเองสูง อีกยังต้องหาพันธมิตรเพื่อขยายเครือข่ายให้กว่างขวางมากขึ้นอย่างเป็นระบบ ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส

1. กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา

2. กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่า ควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีนพร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะนั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบจุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็นกันขณะนี้ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุกวันนี้ นักวิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูปต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็นอยู่ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง และยั่งยืนดังแนวคิดทฤษฏีของ ศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ ได้กล่าวว่าทรัพยากรมนุษย์ คือ การลงทุน การลงทุน คือ การเสียโอกาสวันนี้ เพื่อจะให้ได้ประโยชน์ หรือผลตอบแทนที่มากขึ้นในวันหน้า และสิ่งที่สำคัญของการทำงานเรื่องคนให้สำเร็จ คือ ผู้นำหรือองค์กรจะต้องมอง “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นการลงทุน นั่นคือ หากเราต้องการ คนเก่ง – คนดี เราต้องพัฒนา และทำอย่างต่อเนื่อง..วัดผล

Best Practice คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่มีการลงทุนภายในประเทศสูงที่สุดทั้งในเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเข้มแข็ง เจริญเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างสม่ำเสมอ มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ต้องนำเอากลยุทธ์ของการปลูกและการเก็บเกี่ยว การพัฒนาทุนมนุษย์ สร้างฝันและกำลังใจ ในการทำงาน เพื่อให้ทุนทางความสุขได้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน การปลูกคือการสร้างสิ่งใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ แรงผลักเพื่อให้คนในหน่วยงาน สร้างบรรยากาศนำหลักการบริหารองค์กรตามทฤษฏี 8K 5K ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังที่ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวไว้ว่า ”ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน” การเก็บเกี่ยวต้องมีวัฒนธรรมองค์กร บรรยากาศ การกระทำของคน ร่วมด้วย การที่อยากรู้ต้องหาความรู้ ทุนมนุษย์ต้องปลูกก่อนแล้วค่อยเก็บเกี่ยว การปลูกต้องเริ่มจากตัวเราก่อน ปลูกที่ตัวเรา สร้างองค์กร เป็นการปลูกต่อ เพื่อรอเก็บเกี่ยวในภายหลัง การเก็บเกี่ยวคือการดึงศักยภาพของหน่วยงานออกมาให้ได้ การสร้างขวัญและกำลังใจตลอดเวลา เพราะทุกอย่างต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปลูกตลอดเวลา

นางสาวเมทิณี สิทธิสงค์

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์กรุงเทพฯ)

สาขานวัตกรรมและการจัดการ

หัวข้อ ทุนทางวัฒนธรรม & ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

ในอดีตเมื่อพูดถึงคำว่า “วัฒนธรรม” ความคิดแรกที่จะตามมาก็คือ วัตถุอะไรก็ได้ที่มันโบราณตกทอดมาจากอดีตซึ่งเราจะหาชมกันได้ตามโบราณสถาน,วัด,  หรือตามพิพิธภัณฑ์ ที่เมื่อก่อนก็ไม่ได้มีเยอะสักเท่าไหร่ ส่วนด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบก็เห็นจะมีแต่กรมศิลปากรที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีในปัจจุบัน  แต่เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา กระทรวงวัฒนธรรมได้รับการสถาปนาขึ้นมาในระบบราชการโดยมีภาระกิจสำคัญครอบคลุมงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 4 ข้อ ข้อแรก รักษาสืบทอดวัฒนธรรมของชาติและความหลากหลายทางวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างมั่นคง ข้อสอง สร้างค่านิยม จิตสำนึก และภูมิปัญญาคนไทย ข้อสาม นำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศมาสร้างคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และข้อสี่  การจัดการองค์ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ซึ่งในข้อที่สาม เป็นข้อที่ดิฉันสนใจและได้หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นเพื่อส่งให้ ดร.จีระ ได้พิจารณา  ในรอบ 10 ปีมานี้ ยุทธศาสตร์ข้อที่สามของกระทรวงวัฒนธรรมยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร คือดิฉันเฝ้าติดตามและยังไม่เห็นทุนทางวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงฯ ผลิดอกออกผลมาให้เห็นเป็นรายได้เข้าประเทศ ตามยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 ของกระทรวงฯ  จะมีก็แต่เอกชนกลุ่มเล็ก ๆ ที่เล็งเห็นทุนทางวัฒนธรรมและหยิบยกขึ้นมาทำเป็นธุรกิจสร้างรายได้ให้กับตนเอง สร้างชื่อเสียงออกไปในระดับประเทศ พร้อม ๆ กับรักษาและคงคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดียิ่งอีกด้วย ขอยกตัวอย่างกลุ่มธุรกิจเอกชนที่นำทุนทางวัฒนธรรมที่ประเทศไทยมีอยู่มาผนวกกับทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดเป็นผลงานทางการแสดงที่มีโชว์ทั้งวัฒนธรรมในอดีตและภูมิปัญญาไทยที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างมหาศาลและเป็นที่รู้จักจากนานาประเทศ  ไม่ว่าจะเป็น โรงละครสยามนิรมิตร, โรงละครอักษราหุ่นละครเล็ก, หุ่นละครโจหลุยส์ หรือแม้แต่กระทั้งภูเก็ตแฟนตาซี ธุรกิจเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเอกชนทั้งสิ้น   

 

 

 

คำว่า ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) ตามแนวทางของดิฉัน หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่ารวมถึงค่านิยมของสังคมที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นการแสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ทางจารีตประเพณี วิถีชุมชน ที่มีรากฐานจากความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงความรู้และภูมิหลังของบุคคล ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประเทศชาติที่ธำรงค์อยู่เป็นลักษณะที่ดีประจำชาติสืบต่อไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง ส่วนในด้านทุนทางความคิดสร้างสรรค์ (creativity capital)  คือ การคิดต่างจากคนอื่นเป็นการคิดนอกกรอบ ทำในสิ่งที่ผู้อื่นไม่ทำ ตามที่ดร.จีระ ท่านมองไว้ว่า ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ ศิลป์  ทั้งสองทุนนี้เมื่อมาผนวกกันจริง ๆ โดยผู้ที่มองการณ์ไกลนั้นสามารถสร้างชาติได้เลยทีเดียว ยกตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จโดยการนำทั้งสองทุนนี้มาผนวกกันอีกประเทศหนึ่งก็คือ ประเทศเกาหลีใต้ เป็นประเทศที่มีความคิดสร้างสรรค์สุด ๆ ในการนำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศตนเองในด้านอาหาร ด้านการแต่งกาย ด้านประวัติศาสตร์ ฯลฯ และในทุก ๆ ด้านของประเทศนำทุนทางด้านความคิดสร้างสรรค์มาผนวกได้อย่างร่วมสมัยหรือโดนใจประเทศอื่น ๆ  จนกลายเป็นประเทศที่ใคร ๆ ก็อยากไปเยี่ยนมากที่สุดประเทศหนึ่งเลยที่เดียว

 

 

 

นาง นางจงดี พฤกษารักษ์

ID : 53484931011

University : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

Major : สาขานวัตกรรมและการจัดการ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง Study Tour การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต ดิฉันขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พร้อมทีมงานและท่านนายกสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ตให้การดำเนิน Study Tour บรรลุตามเป้าหมายซึ่งดิฉันคิดว่าได้รับความรู้ครั้งนี้และได้ข้อคิดเกี่ยวกับการทำงาน"How Passion and Commitment will help in delivering exoellence" พบว่า you have to enjoy you wort " แล้วได้ทราบว่า "you have to have purpose and meaning of wort " OR you have to have ability to get things

done-once you have it the result is that your work is faster. And your work has quality and excellence. "your work is more than routine-value a dded and value creation." your work is more Creatiive. เมื่อท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตได้กล่าวการบริหารงานของการใช้กลยุทธ์ทั้ง 18 กลยุทธ์ โดยเน้นทุนมนุษย์เป็นสำคัญ พบว่า บุคคลที่เข้ามาทำงานในเทศบาลนครภูเก็ต ท่านนายกเทศมนตรีจะแจ้งให้ผู้ที่จะบรรจุทำงานทราบว่ามี Knowledge แต่ไม่มี Learning Cultune จึงไม่มี Learning Organzation ในกรณี ถ้ามี Learning Culture ก็จะไปสู่การเป็น Learning Organzation ได้ สรุปได้ว่า องค์การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ Knowlede ประกอบด้วย "จะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้ จะดำเนินการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance) พร้อมทำให้เทศบาลนครภูเก็ตจาก Good ไปสู่ Great ส่วนชุมชน Old Phuket Town ประธานท่านกล่าวว่าการดำเนินกิจกรรมขายเสื้อ เพื่อสมทบทุนและให้ความรู้ผู้ที่มีศึกษา ความรู้ เกี่ยวกับวัฒนธรรมของภูเก็ต เป็นกระบวนการเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำหน่ายบริการ และวิธีปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่าโดยนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กร Old Phuket Town สู่ความเป็นเลิศหรือ Barehmarking แต่ การดำเนินงานของโรงเรียนเผาขยะของเทศบาลนครภูเก็ต ดิฉันคิดว่า เกิด Quality ของการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของเทศบาลนครภูเก็ตต้องการโดยการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า (คนภูเก็ต) และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมเกี่ยวกับรถขยะในจังหวัดภูเก็ตมาใช้บริการ โรงเผาขยะของเทศบาลนครภูเก็ตอีกประเด็นที่ดิฉันมีความภูมิใจในฐานะเป็นชาวภูเก็ต พบว่า เทศบาลนครภูเก็ต บริหารจัดการหลายๆด้าน Standard ได้แก่ ผลปฏิบัติงานของโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลที่สังกัดเทศบาลนครภูเก็ตโดยท่านนายก

สมใจ สุวรรณศุพนา ได้รับรางวัล อาทิเช่น โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา เป็นโรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทานท่านนายกเทศมนตรี ได้รับรางวัล ศิลย์เก่าดีเด่นของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ รางวัลหลายๆอย่างที่ท่านนายกเทศมนตรี ได้รับ เกิดจากผลปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจ ดิฉันคิดว่า Study Tout Phuket เทศบาลนครภูเก็ตได้รับรางวัลการันตีคุณภาพ การบริหารงาน Excellence ในการเรียนรู้บอกห้องเรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สอนนักศึกษาให้เกิด Excellence is not askill but attitude 1.)Pain is gain 2.)Emotional ในทฤษฎี 5k (อารมณ์) 3.)Share Vision 4.)Trust 5.)Motivation 6.)Reinventing ในกรณีเยี่ยมชมถนนสายวัฒนธรรมย่านการค้า เมือง Old Phuket Town วัฒนธรรม ชิโน-โปรตุกีช ซึ่งเป็น Best Practices โดยปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ ทำให้องค์กร "เทศบาลนครภูเก็ต" ประสบความสำเร็จ หรือเกิดความเป็นเลิศ ท่านนายกสมใจ สุวรรศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ท่านได้ Quality of Valualole Given การให้อย่างมีคุณค่า โดยท่านให้ความสำคัญทุนมนุษย์เกี่ยวกับ 1.)Training 2.)Learning Life Long Lcarning 3.)Share Experincnce

4.)Willingness 5.)Nuturance 6.)Generousity และ 7.)Knowledgeทำให้เกิด Excellence ของเทศบาลนครภูเก็ตเกิดผลสัมฤทธ์และความเป็นเลิศในผลงาน

ท้ายสุดนี้ ดิฉันคิดว่า เทศบาลนครภูเก็ต การบริหารจัดการทุนมนุษย์ โดยการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้

(Learning Culture) หรือ สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) หรือเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นอกจากนี้ เทศบาลนครภูเก็ต ได้บริการจัดการจากที่ได้ Study Tour Phuket เทศบาลนครภูเก็ตแล้ว พบว่า ท่านนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตท่านได้ใช่ 1.)Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง 2.)Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด 3.)Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน 4.)Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน และ 5.)System Thinking มีระบบการคิดมีเหตุมีผลจากได้เรียนรู้นอกห้องเรียนเกิดประสบการณ์ตรงให้นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)ขอขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณสมใจ สุวรรศุภพนา

ท่านเทศมนตรีภูเก็ตและทีมงานทุกๆคนขอให้ ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พร้อมทีมงาน และขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง

ดิฉัน นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัส 53484931011 สาขานวัตกรรมการจัดการ (ศูนย์ภูเก็ต) ขอมคุณมากๆค่ะ!

ชื่อ นางสาววาสนาไทย สิงหฬ ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484940004 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รหัส 53484940004 โทรศัพท์ 084-8341486 อีเมลล์ [email protected] ชื่อชิ้นงาน สรุป Study Tour ประเทศจีน สรุป Study Tour ปักกิ่ง เทียนสิน ประเทศจีน

จากการได้ร่วม study tour กับท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประเทศจีน วันที่ 23 ตุลาคม 2554 เริ่มออกเดินทางจากนครราชสีมา เวลา 10.00 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 18.00 น. คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. มีการทักทายปราศรัย และทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างผู้เรียนทั้ง 2 ศูนย์ คือ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา ในเวลา 23.30 น. เริ่มทยอยกันเช็คอิน ตรวจเอกสารผ่านตำรวจตรวจคนเข้าเมือง คณะเราออกเดินทางประมาณ 1.00 น. โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. สนามบินกรุงปักกิ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมเป็นเมืองสำคัญทางการค้า เมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล หลังการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและการสู้รบกลางเมือง ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ชัยชนะ จึงประกาศตั้งรัฐบาลและกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศนับแต่นั้นมา และสนามบินกรุงปักกิ่งนี้เป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 43 ล้านคนและเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015 ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกา ผู้ออกแบบสนามบินคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทางที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด และใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร แยกอาคารผู้โดยสารขาเข้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารผู้โดยสารขาเข้าซึ่งเป็นจุดจอดรถ และตรวจคนเข้าเมือง และเดินทางด้วยรถราง มาอีกอาคาร เพื่อรับกระเป๋า ซึ่งเป็นจุดกระจายผู้โดยสาร การจัดระบบนี้เป็นแนวคิดหลักสำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี 2008 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสาร นับว่าเป็นความโชคดีของคณะ study tour ของเราที่ได้รับความสะดวกและรวดเร็ว ท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้พานักศึกษา ศึกษาดูงานตามวัตถุประสงค์ ที่ปักกิ่ง และเทียนสิน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับความรู้ที่หลากหลาย กล่าวคือ

ช่วงเช้าวันแรก 24 ตุลาคม 2554 เดินทางไปชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นจัตุรัสที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ชมศาลาประชาคมที่สามารถบรรจุคนได้นับหมื่นคน ชมอนุสาวรีย์วีรชน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้ามซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง รวม 24 รัชกาล ภายในประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ถึง 9,999 ห้องบนเนื้อที่กว่า 720,000 ตารางเมตร หลังจากนั้นนักศึกษาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน China University of political and law ดำเนินการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) โดยนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้าร่วมกับการจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลารวม 14,416 คน รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,753 คน ซึ่งในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยได้พูดถึงบทบาทของการทดสอบความรู้ ที่เรียกว่า Programme for International Student Assessment หรือ PISA เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิก ที่ดำเนินการโดย Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจระบบการศึกษาของนานาประเทศว่าได้เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน โดยจัดให้มีการทดสอบสมรรถนะเด็กนักเรียนวัย 15 ปี หรือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากทั่วโลก โดยเริ่มดำเนินโครงการ ตั้งแต่ ปี 2000 ในปีที่ผ่านมานักเรียนทั้งหมด 470,000 คน จากโรงเรียนต่างๆใน 65 ประเทศ เข้าร่วมการประเมินเชิงเปรียบเทียบนี้ โดยทุกประเทศจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน และมีการกำหนดพื้นที่ ขนาดโรงเรียนในการสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยPISA มีการประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า Literacy ใน 3 ด้านคือการอ่าน (Reading Literacy) คณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งจะวัดความรู้ทั้ง 3 ด้าน แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งในการประเมินแต่ละระยะ โดยแบ่งการประเมินเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 (Phase I: PISA 2000 PISA 2003 และ PISA 2006) และรอบที่ 2 (Phase II: PISA 2009 PISA 2012 และ PISA 2015) กล่าวคือ

การประเมินผลระยะที่ 1 (PISA 2000 และ PISA 2009) เน้นด้านการอ่าน ให้น้ำหนักข้อสอบด้านการอ่าน 60% และที่เหลือเป็นด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%

การประเมินผลระยะที่ 2 (PISA 2003 และ PISA 2012) เน้นด้านคณิตศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านคณิตศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%

การประเมินผลระยะที่ 3 (PISA 2006 และ PISA 2015) เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านวิทยาศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและคณิตศาสตร์อย่างละ 20%

ในแต่ละทักษะ ไม่ได้เน้นเรื่องของการการอ่านออกเขียนได้ การคิดเลขเป็น แต่ สิ่งที่ PISA เน้นคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของโจทย์ที่ซับซ้อนได้ ผลการสอบล่าสุด เด็กนักเรียนเซี่ยงไฮ้ของจีนเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก ตามด้วยเกาหลี ฮ่องกง-จีน จีนไทเป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ที่ล้วนมีคะแนนอยู่ในกลุ่ม 5 หรือ 10 ประเทศแรก ทุกวิชา ส่วนนักเรียนไทย แสดงผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทุกวิชา และมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกวิชาเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรก (PISA 2000)โดยผลการประเมิน PISA นี้ไม่เพียงแต่เป็นกระจกที่สะท้อนให้เราเห็นได้ว่าความสามารถของเด็กนักเรียนใน ประเทศของตนเองนั้นเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ยังเป็นตัวที่บ่งชี้เรื่องการเรียนการสอนแบบไหนที่เด็กนักเรียนกำลังได้รับ – มิติได้การศึกษา ร่วมถึงการสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปอีกด้วย

จากการประเมินได้ระบุเงื่อนไขและความสำเร็จของประเทศที่พูดภาษาจีนมาจาก ชาติเหล่านี้ตรวจสอบและปรับปรุงระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มุ่งเน้นคุณภาพครูผู้สอน และปรับปรุงโรงเรียนที่มีผลการเรียนระดับต่ำ

ซึ่งจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ได้ข้อคิดในเรื่องการจัดการศึกษาของไทยในหลายด้านซึ่งด้านที่สำคัญคือการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยเพื่อให้ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังจะก้าวไปได้อย่างไรให้มีคุณภาพในอนาคต

ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำในส่วนของการจัดการการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับความเป็นมา ที่เริ่มจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมี 4 ศูนย์ที่จัดการเรียนการสอนแบบ VDO Conference ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เลย และภูเก็ต สำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มี 2 ศูนย์ได้แก่ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา รวมทั้งหมด 21 คน จาก MBA EDUCATION CENTER OF CUPL ได้รับคำถามจากนักศึกษาที่น่าสนใจเรื่องการจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความสุขในวัยรุ่น และการนำศาสนาพุทธเข้ามาพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และตัวแทนนักศึกษาไทยศูนย์กรุงเทพมหานครได้ช่วยตอบคำถาม ในสิ่งที่ทางประเทศไทยเราได้พัฒนาเรื่องทุนมนุษย์มานานแล้ว ทั้งทฤษฎี 8 k’s 5K’s ของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และในแนวพุทธทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ศาสนานั้นถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมาช้านานแล้ว เป็นวัฒนธรรมของคนที่นับถือศาสนาพุทธทั้งประเทศก็ว่าได้ จะเห็นได้ว่าทั้งทฤษฎีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และศาสนาพุทธ เป็นสิ่งที่คนไทยได้นำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ กล่าวถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จเยือนประเทศจีน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย จีน และพระราชกรณียกิจที่ท่านได้เสด็จมาประเทศจีนบ่อยครั้ง

ในช่วงเวลา 16.00 น. เป็นเวลาในประเทศจีน ซึ่งเร็วกว่าไทยหนึ่งชั่วโมง เข้าชมและช้อปปิ้งตลาดรัสเซีย ทานอาหารค่ำ และเข้าชมกายกรรมปักกิ่ง “Legend of jinsha”ที่น่าตื่นเต้นเลื่องชื่อและน่าหวาดเสียวผสมผสานกับความสวยงาม อ่อนช้อยพิเศษกับการแสดงแนวใหม่ที่ตื่นเต้นมากกว่าเดิมกับมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง

วันที่ 25 ตุลาคม 2554 ได้ชม”หอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีน ใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี ชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าชมและชิม ชาอวู่หลงของปักกิ่งและชาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่นชาแดง ชาผลไม้ ชามะลิ และชากุหลาบ

วันที่ 26 ตุลาคม 2554 เวลา 07.00 น. ออกเดินทางชมเมืองเทียนสิน ขณะเดินทางได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของจีนโบราณที่ยังคงความสวยงามน่าชม เนื่องจากอาคารทั้งสองฟากฝั่งถนนนั้นยังคงความดั้งเดิมไว้อย่างน่าชื่นชม เมืองเทียนสินเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือไกลและใกล้ และการค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมของเมืองเทียนสิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษ และขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์ ขุดน้ำมันปิโตเลียม แทรคเตอร์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช นาฬิกา โทรทัศน์ และเครื่องถ่ายรูป ฯ และในเวลา 09.30 น. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน Tianjin University of Technology ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หรือเทคโนโลยีราชมงคลของไทยเรา แนวการจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนสิน และได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน งบประมาณในการจัดการบริหารสถาบันการศึกษาได้งบสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเมืองเทียนสินส่วนหนึ่ง ในเวลาต่อมาออกเดินทางกลับเพื่อพบท่านทูตไทยในกรุงปักกิ่งใน เวลา 14.00 น. นับว่าเป็นโชคดีที่ทางสถานทูตไทย ที่ประจำในประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ และคณะ ท่านให้เกียรติกับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พร้อมกับนักศึกษาเข้าเยี่ยมคารวะท่านและร่วมฟังแนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม สุดท้ายท่านได้ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากคือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ต้องปรับระบบด้านการคิด การใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา

จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์ผีเซียะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนให้ท่านได้ชมและลูบผีเซียะโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอโชคลาภ

วันที่ 27 ตุลาคม 2554 เริ่มออกเดินทางออกจากที่พักเวลา 07.00 น. เดินทางไปสู่กำแพงเมืองจีน ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่า จุดชมวิวกำแพงเมืองจีนที่สวยที่สุด เพราะจะได้เห็นวิวในมุม 360 องศา โดยนั่งกระเช้าขึ้นชม ผ่านทางรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ที่สร้างขึ้นขนานราบไปตามแนวภูเขา นำสู่ด่าน จี ยง กวน นำชมกำแพงยักษ์ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ สิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก โดยพระจักรพรรดิฉินซี ทรงบัญชาให้สร้างขึ้นรวบรวมกำแพงเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันมีความยาวถึง 6,700 กิโลเมตร ครอบคลุมอาณาบริเวณทั้งสิ้นรวม 5 มณฑล เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกลและพวกเติร์ก จากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรีย สามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ เมื่อทอดสายตาตลอดแนวกำแพงไปจะเห็นได้ว่ากำแพงยักษ์แห่งนี้เปรียบเสมือนพญามังกรอันยิ่งใหญ่ที่กำลังเริงลีลาอยู่บนยอดเขาด้วยท่าทางอย่างองอาจและสง่างาม จากนั้นชมโรงงานหยกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ชมหยกโบราณ การแกะสลักหยกในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการดูหยกของแท้ว่าจะทำอย่างไร ได้ผ่านชมสนามกีฬาโอลิมปิค สุดท้าย แวะบริษัท เป่าสู้ถาง ร้านบัวหิมะ ยาจีน ชนิดต่าง ๆ

เวลา 19.40 น. เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งเมืองจีน ทุกเมือง กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้รู้จักในนามของรัฐบาล เช่น ร้านผ้าไหม นวดฝ่าเท้า ร้านบัวหิมะ ร้านชา ร้านไข่มุก ร้านหยก ร้านผีเซียะ ทุกรายการ บรรจุในโปรแกรมทัวร์ ด้วย เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับประเทศจีนได้อย่างยั่งยืน กฎหมายและกฎข้อบังคับของจีนก็ทวีความสมบูรณ์ยิ่งฃึ้น อย่างต่อเนื่อง ตลาดเปิดกว้างยิ่งฃึ้นมิได้ขาด บรรยากาศการลงทุนได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างไม่ ขาดสาย การปฏิรูประบบการเงินได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ทั้งนี้และทั้งนั้นล้วนได้สร้างหลักประกันที่พึ่งพาอาศัยได้แก่เศรษฐกิจจีนที่จะพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

จุดแข็งในทางเศรษฐกิจของจีนจุดแข็งในการพัฒนาจีนมีศักยภาพอยู่มาก เช่น การมีประชากร 1,300 ล้านคน ทำให้การผลิตแบบประหยัดจากขนาดใหญ่ (Economy of Scale) ซึ่ง เป็นขนาดในฝันของนักเศรษฐศาสตร์ นักวางแผนทั้งหลาย จีนมีอัตราการออมในประเทศสูง มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงมาก มีขนาดตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ ทำให้จีนพึ่งตนเองหรือพึ่งตลาดภายในประเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าการพึ่งการค้าระหว่างประเทศมาก การพัฒนาแบบสังคมนิยมที่ผ่านมา 50 กว่าปี (ก่อนที่จะปฏิรูปเป็นระบบตลาดเมื่อ 20 กว่าปีนี้) ทำให้คนจีนมีพื้นฐานทางการศึกษาทั่วไป, มีวินัยในการทำงานที่ดี (แม้ว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับสูงยังพัฒนาได้ไม่มากนัก) ไม่มีปัญหาความแตกต่างทางเชื้อชาติมาก รัฐบาลค่อนข้างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ จีนมีเครือข่ายคนจีนโพ้นทะเล ซึ่งชำนาญเรื่องอุตสาหกรรมการค้า ที่พร้อมจะร่วมลงทุน และเข้าไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ของจีน

จุดอ่อนในทางเศรษฐกิจของจีน เมื่อเทียบกับขนาดของประเทศ และทรัพยากรต่าง ๆ การมีประชากรมากทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมาก จึงจะทำให้คน 1,300 ล้านคน(เป็นคนสูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปถึง 10% หรือ 120 ล้านคน) มีงานทำ มีอาหารการกิน มีปัจจัยสี่ และปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ อย่างเหมาะสม โจทย์สำคัญที่ต้องค้นคว้าเจาะลึกอย่างวิพากษ์วิจารณ์ ว่าจีนจะสามารถพัฒนาให้คน 1,300 ล้านคนมีการกินอยู่ที่ดีขึ้นทั่วถึงหรือไม่ มีความรู้ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเข้มแข็ง เจริญเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างสม่ำเสมอเพียงไร และเศรษฐกิจจีนในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนและการค้ากับประเทศอื่น ๆ จะมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างไร

บทบาทของจีนต่อเศรษฐกิจโลก

ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่มีการออม มีการลงทุนภายในประเทศสูง การลงทุนสุทธิ จากต่างชาติในรอบ 10 ปีหลัง ตกปีละกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มากที่สุดทั้งในเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด จีนกำลังจะเติบโตแน่ ๆ แต่เราไม่อาจมองเฉพาะเส้นกราฟของความเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น ต้องมองปัญหาภายในของสังคมจีน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตของคน ฐานะขนาดใหญ่ของจีนอาจจะทำให้เกิดอำนาจต่อรองในองค์การค้าโลก (WTO) ที่จะถ่วงดุลกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมได้บ้าง แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ จีนก็คงจะคำนึงถึงประโยชน์ตัวเองมากกว่าที่จะหาเสียงทางการเมืองกับประเทศกำลังพัฒนาเหมือนในยุคที่ยังมีการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมกันอยู่ การเติบโตของจีนและผลกระทบต่ออาเซียนและต่อไทยการมองว่าการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนจะเป็นผลดีต่ออาเซียน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกเป็นการมองตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่อย่างง่าย ๆ มากไปหน่อย เราต้องพิจารณาให้ดีว่า จะเป็นผลบวกและผลลบอย่างไร และที่ว่าเป็นประโยชน์นั้น เป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออก,ผู้สั่งเข้า, ผู้ร่วมลงทุน หรือต่อประชาชนทั่วไป จีนองก็จะได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ คนที่ได้รับผลลบคือภาคเกษตร ที่ล้าหลัง ยากจนและเคยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จะแข่งขันสินค้าเกษตรจากประเทศอื่น โดยเฉพาะจากประเทศพัฒนา เช่น สหรัฐไม่ได้, พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งขณะนี้มีถึง 70% ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมจะถูกเลิกจ้างเพราะการยุบเลิก, การแปรรูป, ปรับโครงสร้างใหม่ จีนเองก็คงรู้ว่ามีผลลบด้วย แต่จีนต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบทันสมัยจึงยอมเปิดรับบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเมื่อ 30 ปีที่แล้วเคยเป็นศัตรูทางอุดมการณ์ การมองว่า ถ้าจีนกับอาเซียน หรืออาจจะรวม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (อาเซียน + 3) รวมกันเป็นเขตการค้าเสรี จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่มหึมาในแง่ประชากร และผลิตภัณฑ์มวลรวมนั้น เป็นการมองแบบคิดเอาในเชิงสถิติเท่านั้น ความจริงก็คือ จีนกับอาเซียนผลิตสินค้าหลายอย่างใกล้เคียงกัน จึงเป็นคู่แข่งกันโดยปริยาย ปัจจุบันจีนกับอาเซียนมีการลงทุนและค้าขายกันน้อย เมื่อเทียบกับที่ทั้งจีนและอาเซียน มีการลงทุนและค้าขายกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม 3 กลุ่มใหญ่ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นด้านหลัก หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่จีนกับอาเซียนจะลงทุนและค้าขายระหว่างกันมากขึ้น แต่การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก หมายถึง จีนจะเปิดรับการลงทุน และการค้ากับประเทศทั่วโลก การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก ซึ่งจะทำให้จีนเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน เช่น ลดภาษีมากขึ้น จะมีผลต่อไทยทั้งในแง่บวกและลบ สินค้าที่ไทยมีโอกาสขายให้จีนได้มากขึ้น ข้าว ยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง สินค้าเกษตรแปรรูป น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เส้นด้ายและผ้าผืน ผลไม้ แต่สินค้าที่ไทยและอาเซียนจะถูกจีนแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งมีกำลังซื้อ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก เพราะจีนซึ่งมีค่าแรงงานต่ำกว่า ผลิตได้ถูกกว่า ไทยต้องเร่งรัดปรับตัวพัฒนาสินค้าออกที่มีคุณภาพมากขึ้น และต้องเจาะหาตลาดใหม่ ๆ ดังท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ ได้ให้แนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย 9hv’ยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม ในแง่การลงทุน ระหว่างจีนกับไทย ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โอกาสที่ไทยจะไปลงทุนในจีน เป็นโอกาสของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีการแข่งขันสูง ส่วนการลงทุนของจีนในไทย ก็มุ่งมาใช้ทรัพยากร เช่น ปลูกป่ายูคาลิปตัส หรือขายบริการ เช่น รับเหมา ก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ การลงทุนระหว่างสองประเทศยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนมากกว่าแก่ประชาชนในประเทศทั้งสอง ที่นอกจากได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจน้อยกว่านายทุนแล้ว ยังเสียประโยชน์ในแง่การทำลายสภาวะแวดล้อมของทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นไทยและอาเซียนจะได้ประโยชน์จากจีนมากขึ้น หากการเจรจากันโดยตรงแบบทวิภาคและแบบภูมิภาค มีข้อตกลงที่พิเศษกว่าข้อตกลงทั่วไปในเวทีองค์การค้าโลก ซึ่งเป็นเวทีที่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมักจะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศกำลังพัฒนา ความจริงถ้าอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ร่วมมือกันได้จริง คือประเทศรวยกว่าใหญ่กว่ายอมผ่อนปรนช่วยเหลือประเทศที่จนกว่าเล็กกว่า ภูมิภาคนี้จะเติบโตและเข้มแข็งได้มาก แต่ทุกวันนี้พวกเขาล้วนมองไปที่สหรัฐและยุโรป ซึ่งมีความมั่งคั่งและกำลังซื้อ และต่างคนก็ต่างทำเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นของตัวเอง โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นยักษ์ที่คิดแต่ผลประโยชน์ตัวเองมากเกินไปจนเศรษฐกิจของตนเองถดถอยจนขยับไม่ได้ การลงทุนและการค้ากับจีนรวมทั้งการท่องเที่ยวมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น ถ้ามีการร่วมมือกันพัฒนาด้านการคมนาคมผ่านอินโดจีน และพม่าไปจีน ให้ครอบคลุมสะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะจะทำให้การขนส่งสินค้าลดต้นทุน และจีนทางภาคใต้ก็มีประชากรมาก และเศรษฐกิจเติบโต แต่การเติบโตแบบนี้ ก็ให้ผลประโยชน์แก่คนบางกลุ่มมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ และการเปิดประเทศกว้างขึ้น ก็สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย เช่น มีปัญหาแรงงานเถื่อน โสเภณี อาชญากรทางเศรษฐกิจ ยาเสพย์ติด โรคเอดส์ ฯลฯ เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองเรื่องการคบกับจีนในแง่ผลกระทบทางเศรษฐกิจล้วน ๆ หากต้องมองในแง่ผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย จีน ไทย อาเซียน ควรจะร่วมมือกันในแง่สังคม การศึกษา การวิจัย วิชาการด้านต่าง ๆ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย จึงทำให้ภูมิภาคเอเชียนี้เจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กันและอย่างยั่งยืน ไม่ใช่คิดแต่ในแง่การค้า การลงทุนในกรอบคิดการพัฒนาเพื่อหากำไรเอกชนของระบบทุนนิยมโลก ซึ่งสร้างปัญหา ความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความยากจน การทำลายสิ่งแวดล้อม และปัญหาสังคมอื่นตามมมากมาย เท่านั้น ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลกEconomy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ 3. มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว ผลกระทบมีอะไรบ้าง? การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่าง ทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทัน และยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้ ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้ ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้าย แรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับ ผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้น ในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้ มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียน จากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่ คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วย ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้) ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย และที่เด่นชัดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน ซึ่งมีการติดต่อค้าขายระหว่างกัน และไทยได้รับเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนในช่วงเวลาดังกล่าว ความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างไทยกับจีน น่าจะเริ่มมีขึ้นในช่วงนี้ด้วยจากการอพยพของชาวจีนในช่วงสงครามสมัยราชวงศ์หยวนและในช่วงต้นราชวงศ์ หมิง และนับจากนั้นมา ก็ได้มีการติดต่อค้าขายกันมาโดยตลอดและมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาตั้งรกราก ในไทย โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกและสงครามกลางเมืองของจีนในทศวรรษที่ 1930-1950 มีชาวจีนจำนวนมากจากมณฑลทางใต้ของจีน อาทิ กวางตุ้ง ไห่หนาน ฝูเจี้ยน และกวางสี หลบหนีภัยสงครามและความ อดอยากเข้ามาสร้างชีวิตใหม่ในประเทศไทย จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดดุจพี่น้องระหว่างไทย กับจีนได้มีมาอย่างยาวนาน เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” แม้กระแสทางการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นจะทำให้ไทยกับจีนขาดการติดต่อกันในระดับทางการอยู่ระยะหนึ่ง แต่กระแสการเมืองโลกดังกล่าวก็ไม่อาจจะตัดความผูกพันและความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างแนบแน่นระหว่างประชาชนไทย-จีนได้ ดังนั้น นับตั้งแต่ที่ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2518 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและราบรื่น และเป็นแบบอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มี ระบบการปกครองแตกต่างกัน โดยมีพัฒนาการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

ด้านการเมือง

ในทศวรรษแรกหลังจากที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ไทยและจีนประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันอันนำไปสู่การเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้น ซึ่งได้ช่วยสนับสนุน การพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากสนามรบกลายเป็นตลาดการค้า นอกจากนี้ พื้นฐานความเข้าใจและความใกล้ชิดดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนอีกด้วย

การที่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่างก็ทรงให้ความสำคัญและทรงใส่พระทัยต่อความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีต่อจีนส่งผลสำคัญต่อการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ยิ่งใกล้ชิดแน่นแฟ้น โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างสองประเทศทั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ เยือนจีนอย่างเป็นทางการในฐานะผู้แทนพระองค์ฯ ซึ่งถือเป็นการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในรอบหลายสิบปี ระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม 2543 เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 25 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนจีนแล้วหลายครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนจีนครบทั้ง 31 มณฑลและมหานคร ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลในฐานะทูตสันถวไมตรีจากหน่วยงานของจีนหลายรางวัล และเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกของโลกที่ทรงศึกษาภาษาจีนในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นระยะเวลา 1 เดือน ในปีนี้ พระองค์ท่านยังได้เสด็จฯ มาทอดพระเนตรพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 ในฐานะผู้แทนพระองค์ด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ก็เสด็จเยือนจีนบ่อยครั้ง เป็น เจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงแสดงดนตรี “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ในจีน นอกจากนี้ พระราชวงศ์พระองค์อื่นๆ ก็ได้เสด็จฯ เยือนจีนอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน ผู้นำของจีนนับแต่อดีตจนถึงปัจุบันได้เยือนประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นต้นมา นายเติ้ง เสี่ยวผิง ได้เยือนไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1978 นับจากนั้นประธานาธิบดีจีนทุกสมัยก็ได้เยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังเช่น นายหลี่ เซียนเนี่ยน นายห

Study Tour ณ กรุงปักกิ่ง - เทียนสิน ประเทศจีน โดยการนำของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม 2554 – 27 ตุลาคม 2554

วันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะนักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์นครราชสีมา ออกเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมา ก่อนออกเดินทางได้ไปไหว้สักการะคุณย่าโม การเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิได้ใช้เส้นทางสาย 304 เนื่องจากเกิดอุทกภัยขึ้น ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้กราบสักการะหลวงพ่อโสธร หลังจากนั้นคณะได้เดินทางต่อไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ มีรถจอดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนนำรถมาจอดให้ปลอดภัยจากอุทกภัยดังกล่าว เวลา 23.00 น คณะนักศึกษาพร้อมกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ มีการทักทายปราศรัยและทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันกับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และนักศึกษาทั้ง 2 ศูนย์ ก่อนออกเดินทางท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ แนวทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นพัฒนาทุนมนุษย์ของสังคมไทยให้มีคุณภาพ และเพื่อการเผยแพร่แนวคิดทฤษฎี 8K’s การเตรียมคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาไทย-จีน ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน + จีน และการปฏิบัติตนในการศึกษาดูงานสำหรับนักศึกษา จากนั้นคณะนักศึกษาเดินทาง โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่นที่เร็วกว่าประเทศไทย ประมาณ 1 ชั่วโมง

วันที่ 24 ตุลาคม 2554 ในภาคเช้าได้เดินทางไปจัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นจัตุรัสที่กว้างที่สุดในโลก ชมศาลาประชาคมที่สามารถบรรจุคนได้นับหมื่นคน ชมอนุสาวรีย์วีรชนพร้อมถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ชมพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้าม ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงรวม 24 รัชกาล ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆถึง 9,999 ห้องบนเนื้อที่กว่า 720,000 ต.ร.ม.

ในภาคบ่ายท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะนักศึกษาเข้าศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัย China University of political science and law เป็นมหาวิทยาลัยในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นโรงเรียนกฎหมายที่ดีที่สุดในประเทศจีน เป็นสถาบัน ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับการศึกษากฎหมาย บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเด็นทุนทางปัญญา การปลูกฝังความใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดเวลา และพูดถึงความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนจะมีการการเปิดเสรีมากขึ้น จะมีการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา ด้านบุคลากร การสร้างเครือข่ายการทำงาน รวมถึงตลาดแรงงาน ดังนั้นท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ จึงเน้นเรื่องการจัดการทุนมนุษย์ นักศึกษาของเราได้มีข้อซักถามเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างไร ที่ทำให้จีนเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก ส่วนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย China University of Political and Law ได้ให้ความสนใจและร่วมซักถามเกี่ยวกับการใช้หลักทางพระพุทธศาสนา ตัวแทนนักศึกษาได้ตอบประเด็นนี้ว่า อาศัยหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มาเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วคณะอาจารย์และนักศึกษาได้มอบของที่ระลึกและถ่ายภาพร่วมกัน

วันที่ 25 ตุลาคม 2554 ได้เดินทางหอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีนใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดินให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่างๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี ทั้งยังคงเป็น จากนั้นได้เข้าชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์โบราณตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าเยี่ยมชมที่ร้าน DR.tea ได้ชมการชงชา เครื่องเคลือบเปลี่ยนสีตามความร้อน และแนะนำชาแต่ละชนิด ทดลองชิมชาแบบต่างๆ เช่น อูหลง ชามะลิ และฟังเรื่องราวการเก็บชา

วันที่ 26 ตุลาคม 2554 ในภาคเช้าออกเดินทางไปเมืองเทียนจิน หรือ เทียนสิน เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ มีฐานะเป็นเขตปกครองพิเศษ เป็นเมืองท่าที่สำคัญ มีเนื้อที่ 11,000 ตารางกิโลเมตร เมืองเทียนจิน เป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือไกลและใกล้ และการค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมเก่าของเมืองเทียนสิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษและขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์ ขุดน้ำมันปิโตเลียม แทรคเตอร์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืชนาฬิกา เครื่องโทรทัศน์ และเครื่องถ่ายรูป เมืองเทียนจินเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมตะวันออก และตะวันตกผสมผสานกัน ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะนักศึกษาท่านไปศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัย Tianjin University of Technology เป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนที่เน้นด้านเทคโนโลยี โดยได้จัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศ รองรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นอกจากยังได้จัดหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ภาคบ่ายท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะนักศึกษากลับมาที่กรุงปักกิ่งเพื่อเข้าพบและคารวะท่านทูตพาณิชย์ ประจำประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร ท่านได้ให้ข้อคิดสำคัญเกี่ยวกับประเทศจีนว่าเป็นประเทศที่รวย มีกำลังซื้อมาก และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล่วงหน้าได้ แม้เป็นประเทศที่มีพื้นที่มาก แต่ประชาชนทุกคนรับทราบนโยบาย ในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นประชาชนจึงรับทราบข่าวและความเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก ประกอบกับรัฐบาลจีน เร่งปรับสร้าง วางผังเมืองใหม่ ปัจจุบันจึงเน้นความมั่งคั่งภาคประชาชน ในด้านความสุขยังไม่เกิดแต่รัฐบาลได้เห็นความสำคัญและกำลังดำเนินการใน เรื่องนี้เช่นกัน ท่านดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูตด้านการพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้ให้ข้อมูลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตลาดบันเทิง คือ T-pop ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำคุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม จากนั้นได้เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ผีเซียะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนเพื่อขอพร ขอโชคลาภ

วันที่ 27 ตุลาคม 2554 ภาคเช้าคณะนักศึกษาได้เข้าชมโรงงานหยกที่ใหญ่ที่สุด จัดบริการด้านการขายครบ

วงจร จากนั้นเดินทางสู่กำแพงเมืองจีน ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่าจุดชมวิวกำแพงเมืองจีนสวยที่สุด ผ่านชมรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลกเส้นทาง”รถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ที่สร้างขึ้นขนานราบไปตามแนวภูเขา นำสู่ด่าน จี ยง กวน กำแพงเมืองจีน ยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ สิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก โดยพระจักรพรรดิ์ฉินซี ทรงบัญชาให้สร้างขึ้นรวบรวมกำแพงเมืองต่างๆ เข้าด้วยกันมีความยาวถึง 6,700 กิโลเมตร ครอบคลุมอาณาบริเวณทั้งสิ้นรวม 5 มณฑลเป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วงๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้า จิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก ตลอดแนวกำแพงไปจะเห็นได้ว่า กำแพงยักษ์แห่งนี้เปรียบเสมือนพญามังกรอันยิ่งใหญ่ที่กำลังเริงลีลาอยู่บนยอดเขาด้วยท่าทางอย่างองอาจและสง่างาม ภาคบ่ายได้เข้าชมการสาธิตการใช้บัวหิมะ เดินทางมาสู่สนามบิน ออกจากสนามบินปักกิ่งเวลา 19.40 เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร

การไป Study Tour ที่มหาวิทยาลัย China University of Political Science and Law ณ กรุงปักกิ่ง มหาวิทยาลัย Tianjin University of Technology ณ เมืองเทียนสิน และเข้าคาราวะ ท่านทูตพาณิชย์ ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน การศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. Excellence ประเทศจีนมีความเป็นเลิศในการที่สามารถพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะมีประชากรจำนวนมาก มีความเป็นเอกภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวดเร็ว และมีความเท่าเทียมกันในสังคม มีการวางกฎระเบียบเคร่งครัด เห็นได้จากการวางผังเมือง อาคารพักอาศัยให้เพียงพอต่อจำนวนประชากร การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด โดยรัฐบาลยึดหลักทุนแห่งความสุขของประชาชนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ประเทศจีนเห็นว่า การศึกษาสำคัญที่สุด ในการพัฒนาทางด้านทุนมนุษย์ ปลูกฝังให้ประชาชนเรียนรู้ตลอดชีวิต สนใจใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญทางด้านการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ สินค้าและบริการที่มีคุณภาพดี และมีความเป็นอัตลักษณ์

2. Benchmarking เป็นกระบวนการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เห็นได้จาก รัฐบาลได้ปรับปรุง สินค้าและบริการของตนจนมีความเป็นเลิศเป็นที่ยอมรับ เป็นประเทศอันดับต้นที่มีความสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตการก่อสร้างทางด้านการคมนาคมและอาคารสถานที่ มีการกำหนด วางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและรองรับความต้องการได้ เมืองเทียนจินเป็นเมืองอุตสาหกรรม จึงมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (Tianjin University of Technology ) ให้เหมาะสมกับความต้องการและจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สมดุลกับการพัฒนาอุตสาหกรรม

3. Quality คนจีนส่วนใหญ่เป็นคนขยัน ประหยัด อดทน อดออม การดำเนินชีวิตของคนจีนเป็นไปเพื่อสร้างตนเองให้มีคุณภาพมากขึ้น รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการศึกษาที่สุด ส่งเสริมการใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากสร้างคนให้มีคุณภาพ ยังสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้าและบริการ ในความคิดของคนส่วนหนึ่งสินค้าจีนราคาถูกมักมีคุณภาพต่ำ แต่ความจริงแล้วสินค้าของจีนมีหลายเกรด สินค้าที่มีราคาแพง คุณภาพดีก็มี ส่วนใหญ่ผลิตในโรงงานใหญ่ที่มีมาตรฐาน และส่วนใหญ่ส่งไปขายยังตลาดอเมริกาและตลาดยุโรป สินค้าที่มีคุณภาพอยู่แล้วก็พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สินค้าที่ผลิตจากจีนที่คุณภาพระดับดี ไม่แพ้แบรนด์ชั้นนำที่ติดตลาดอยู่ทุกวันนี้ เพียงแต่ราคามันไม่ได้แตกต่างจากแบรนด์ชั้นนำที่อยู่ในตลาดมาก่อน สุดท้ายเลยไม่ค่อยมีใครรู้จัก ถ้ามีคนหาวิธีทำตลาดได้อย่างถูกต้อง ซักวันสินค้าจีนเกรดดีพวกนี้ก็คงเป็นที่ยอมรับ เพราะตอนนี้หลายๆแบรนด์ชั้นนำก็เริ่มขยายฐานการผลิตเข้าไปในจีน

4. Standard หมายถึง กิจกรรมในการวางข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาสำคัญที่มีอยู่หรือที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้

ประเทศจีนมีการพัฒนาทางด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพ เป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจของโลก ไม่ใช่เกิดจากจำนวนประชากรที่มาก แต่ก็ด้วยการพัฒนาทางด้านการศึกษาเป็นสำคัญ ในด้านสินค้าและบริการประเทศจีนมีระบบมาตรฐานที่เข้มแข็ง ซึ่งมักจะได้เปรียบในการแข่งขันเพราะได้ใช้ระบบมาตรฐานในการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ แล้วยังคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศของตนโดยการกำหนดให้สินค้าที่นำเข้าต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองอย่างเข้มงวด รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบมาตรฐานของประเทศให้เข้มแข็งมีการส่งเสริมผู้ผลิตในประเทศ ให้เรียนรู้และพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

5. Best practices หมายถึง วิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือ วิธีปฏิบัติที่นำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายเรื่องการท่องเที่ยว กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้รู้จักสินค้าและบริการในนามของรัฐบาล เช่น ศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ร้านบัวหิมะ ร้านชา ร้านไข่มุก โรงงานหยก พิพิธภัณฑ์ผีเซียะ ทุกรายการ บรรจุในโปรแกรมทัวร์ด้วย เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นจีนได้อย่างสมบูรณ์ยั่งยืน นี่เป็นเฉพาะธุรกิจด้านท่องเที่ยวในจีน ส่วนในด้านการศึกษา จีนได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีความวิธีปฏิบัติที่ดีแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่ท้ายที่สุดแล้วก็เป็นการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏี 8K’s และ5K’s ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นแนวคิดที่ท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้คิดค้นและเผยแพร่ให้กับลูกศิษย์ของท่าน ขอบพระคุณค่ะ

นันท์นภัส วิกุล PhD.นครราชสีมา

53484932002

น.ส.อภิชนา สิงสันจิตร

น.ส.อภิชนา สิงสันจิตร นักศึกษาระดับปริญญาเอก ม.สวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต) รหัสนักศึกษา 53484931025

จากการเรียนรู้รายวิชา ทุนมนุษย์ฯ ที่ท่านอาจารย์จีระ ได้สอนในวันที่ 9 ตุลาคม 2554 ความคิดเห็นในเรื่อง

LO ต่างกับ KM อย่างไร ? : มักมีคำถามจากนักพัฒนาบุคลากรว่า Learning Organization (LO) แตกต่างจาก Knowledge Management (KM) อย่างไร ? สองคำนี้ความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก โดยเป็นแนวคิดที่มีความสัมพันธ์กัน เรื่องจาก LO หมายถึงวัฒนธรรมที่หล่อหลอมให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์การ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ( Learning System) เชื่อมโยงการเรียนรู้กับผลการปฏิบัติงาน ( Performance ) ทั้งระดับตัวบุคคล ระดับหน่วยงาน และระดับองค์การ โดยมีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มผลผลิตและการนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ และช่วยให้องค์การปรับตัวได้กับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

peter senge ได้กล่าวไว้ว่า KM และ LO เป็นเหรียญสองหน้าของเหรียญเดียวกันหากดำเนินการ km องค์กรต้องพัฒนา LO การดำเนินงานของ Km ก็จะลื่นไหล

หัวใจของ LO คือการมุ่งมั่นและตกลงร่วมกันที่จะแสวงหาและให้ข้อมูลป้อนกลับระหว่างสมาชิกในทีม ซึ่งการฝึกอบรม (Training) เป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์ที่ก่อให้เกิด LO

การสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารทั้งหลายต้องให้ความร่วมมือในการเป็นนักสอนงานที่ดี เป็นพี่เลี้ยงและเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้พนักงานในทีมงานเกิดการเรียนรู้และต้องสร้างบรรยากาศของการไว้วางใจ การยอมรับฟังข้อมูลป้อนกลับจากหัวหน้างาน และยังต้องส่งเสริมให้เกิดการให้ข้อมูลป้อนกลับระหว่างพนักงานด้วยกันเอง ทั้งนี้ LO จะเกิดขึ้นในองค์การได้ก็ต่อเมื่อพนักงานมีวินัยในการเรียนรู้ 5 ประการตามความคิดของ Dr. Peter Senge ได้แก่

1. การใฝ่เรียนใฝ่รู้ (Personal Mastery) เป็นคุณลักษณะของคนที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจแสวงหา ความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา (Lifelong Learning)

2. การพัฒนากรอบแห่งภูมิปัญญา (Mental Models) รูปแบบ ความคิด ความเชื่อ มุมมอง ทัศนคติ ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ การสัมผัส การเรียนรู้ที่ถูกสั่งสมมา จนเกิดเป็นกรอบความคิดของแต่ละบุคคล

3. การแชร์วิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) ส่งเสริมให้บุคคลในองค์การมีมุมมอง ทัศนคติ เป้าหมาย และทิศทางการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นการเรียนรู้ของกลุ่มหรือทีมงานร่วมกันโดยมีความต้องการให้สมาชิกในทีมมีความคิดที่คล้ายคลึงกัน

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) เป็นขั้นตอนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการช่วยเหลือเพื่อ เสริมและพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานในกลุ่มร่วมกัน เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยและให้ข้อมูลป้อนกลับระหว่างสมาชิกในทีม

5. การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) เป็นขั้นตอนการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เนื่องจากสามารถ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ได้ถึงปัญหาหรือสาเหตุที่เกิดขึ้น นำไปสู่การวางแผนและแนวทางการแก้ปัญหาและสร้างทางเลือกใหม่สำหรับโอกาสใหม่ๆในอนาคตได้

KM ย่อมาจาก Knowledge Management ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กร สามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยมีความรู้ 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคล ในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่า เป็นความรู้แบบรูปธรรม

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)

เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอน ที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การบ่งชี้ความรู้

เช่น พิจารณาว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย คืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

2. การสร้างและการแสวงหาความรู้

เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้

เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสาร ให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้

เป็นการให้ผู้ใช้ความรู้นั้น เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่าย และสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board, บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge กาจจัดทำเป็น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ กรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7. การเรียนรู้

ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ -> นำความรู้ไปใช้ - > เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

แนวคิด Learning Organization (LO) และ Knowledge Management (KM) จึงไม่สามารถแยกจากกันได้ชัดเจน เพราะหากองค์การต้องการเป็น LO ก็จำเป็นต้องสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน KM ให้เกิดขึ้น เพราะเป้าหมายสูงสุดที่เป็นจุดร่วมกันของ LO และ KM ก็คือการสร้างผลงาน (Performance) ให้เกิดขึ้นทั้งในระดับพนักงาน หน่วยงาน และองค์กร

นายวิสิษฐ์ ใจอาจ รหัสนักศึกษา 53484931023

นักศึกษา ม.สวนสุนนัทา ระดับป.เอก (ศูนย์ภูเก็ต)

จากการเรียนรู้ภายในห้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องของ LO และ KM นั้น กระผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในการทำงานภายในองค์กรไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม มีความจำเป็นท่จะต้องใช้แนวคิดในเรื่องของ LO และ KM แทบทั้งสิ้น เพราะ LO และ Km นั้นต่างก็เป็นแรงในการขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) เป็นคำที่คนในองค์กรภาครัฐเริ่มคุ้นชินมาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง และมักจะปรากฏควบคู่กับคำว่า การจัดการความ (Knowledge Management: KM) องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่ทำงานผลิตผลงานไปพร้อม ๆ กับเกิดการสร้างความรู้ สั่งสมความรู้ เรียนรู้ สร้างความรู้ และยกระดับความรู้จากประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อพัฒนาวิธีทำงานและระบบงานขององค์กรไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นอาจพูดได้ว่าการที่องค์กรหนึ่ง ๆ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ ต้องอาศัยเครื่องมือหรือกระบวนการการจัดการความรู้

ผลลัพธ์ (Output) ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ผลงานตามภารกิจหรือยุทธศาสตร์ที่กำหนด การจัดการความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจขององค์กรนั้น รวมทั้งการสร้างและพัฒนาคน อันได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์กร จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการปฏิบัติงาน

องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต (Spiritual Learning Organization: SLO) จะเป็นองค์กรที่เน้นการสร้างคนหรือพัฒนาคนโดยเน้นมิติของจิตวิญญาณ (Spiritual focus) ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของคนในองค์กร ผ่านกระบวนการสุนทรียสนทนา (Dialogue) และการเรียนรู้ร่วมกันจากการกระทำ (Interactive learning through action) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ (Competency) ซึ่งประกอบด้วยความรู้และทักษะอันเกี่ยวกับงานขององค์กร และมีพฤติกรรม เจตคติ โลกทัศน์ วิธีคิดในลักษณะของ "บุคคลเรียนรู้" (Learning Person) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้านต่าง ๆ คล้ายมีชีวิต มีการเจริญเติบโตและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) รวมทั้งมีบุคลิกขององค์กรในลักษณะที่เรียกว่า วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยวข้องกับองค์กรสามารถรู้สึกและสัมผัสได้ และท้ายที่สุดจะนำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่อยู่ในองค์กรภายนอกอย่างชาญฉลาด

เตรียมคุณภาพคนไทยในอนาคต

เปลี่ยนจากคนวิ่งหาการศึกษาเป็นจัดการศึกษาไปหาคน

อนันต์ สุดขำ Ph.D ม.สวนสุนันทา นครราชสีมา

น้ำท่วมประเทศไทยติดต่อกันสองปีติดๆ ปีที่แล้วหนักภาคอีสาน ปี54หนักสุดภาคเหนือภาคกลาง ความเสียหาย กระทบจิตใจ ความรู้สึกด้านการค้าการลงทุน คนตกงานนับล้าน บางรายเสี่ยงก่อการฆ่าตัวตาย ภาครัฐหากขาดความจริงใจในการทำแผนพัฒนาและการแก้ปัญหา ปัญหาซ้ำซากก็จะเกิดขึ้นอีกและมีสิทธิเกิดขึ้นอีกจริง ๆ

คนไทยที่ถูกน้ำท่วมเห็นภาพต่างๆทางทีวีแล้วหดหู่ใจ ไม่นึกว่าจะเห็นคนไทยลำบากขนาดนี้ วิ่งเก็บข้าวเก็บของที่ทิ้งทางฮ. รัฐบาลต้องรู้สึกรู้สาในการแก้ปัญหา

คนกลุ่มหนึ่งที่น่าเห็นใจคือคนใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ 300บาทค่าแรงขั้นต่ำจะได้หรือเปล่า ปริญญาตรี 15,000 บาทคงลอยไปกะน้ำแล้ว

ที่อยากเสนอแนะองค์กรที่เกี่ยวข้องวันนี้คือ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กับการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ควรจะเปิดโอกาสสู่ท้องถิ่นภูมิภาคให้มากขึ้น ไม่ใช่จัดการศึกษาสร้างโอกาสกระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองใหญ่ โดยอ้างเรื่องคุณภาพเป็นหลัก สิ่งหนึ่งที่สกอ.ควรปรับคือ การจัดการเรียนการสอนระบบออนไลด์ หรือทางอินเตอร์เนต แม้แต่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยปัจจุบันก็จะร้างแล้ว เพราะสามารถค้นคว้าได้ทางอินเตอร์เนต

คนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ความรู้เพียง ม.6 สมควรเสริมสร้างทักษะฝีมือและสร้างองค์ความรู้ให้มากขึ้น เพื่อตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(ASEAN)

ข้อมูลคนที่อยู่ในวัยเรียนอายุ 6-18ปีมีประมาณ 12 ล้านคน ในขณะที่คนที่อยู่นอกวัยเรียนและอยู่วัยทำงานมีประมาณ 30 ล้านคน และ80% ของคนวัยทำงานความรู้เพียง ม.6 ในขณะเดียวกันที่คนไทยอัตราส่วนมีผู้สูงอายุมากขึ้น คนวัยเรียนน้อยลง โรงเรียนในชนบทบางแห่งร้างแทบไม่มีนักเรียน ทั้งโรงเรียนมีนักเรียน 35-50 คนเยอะมาก

สกอ. ควรปรับยุทธศาสตร์ขยายโอกาสทางการศึกษาสู่ชนบทให้มากขึ้น การศึกษาเพื่อชีวิต หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นทางออกของประเทศไทยที่จะเตรียมคนไทยให้พร้อมกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเข้าสู่ประตูอาเซียน ใน 4 ปีข้างหน้า ต้องจัดการศึกษาให้คนวันทำงานให้ดี เปลี่ยนคนวัยเรียนเป็นคนวันทำงาน(18-22ปี)และเริ่มนับจาก 15-60 ปีที่มีกว่า 40 ล้านคน

โดยเปลี่ยนคนวัยทำงานได้เรียนรู้ตลอดเวลา โลกการศึกษากับโลกอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล(Human resource) ให้พร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของโลก...จึงเป็นทางรอด

ชื่อ น.ส.วรัญญา นาคดิลก นักศึกษาปริญญาเอกศูนย์ นครราชสีมา รหัส 5348494009

Cell phone 081-877-9091,081-202-1133 E-mail:[email protected]

ชื่อ นาย อดุลย์ อยู่ยืน นักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484931006

Cell phone 081 876 4025 E-mail: [email protected]; www.adulyouyoun.com

ทุนมนุษย์ กับ 8k

ทุนมนุษย์ หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะหรือความชำนาญรวมถึงประสบการณ์ของแต่ละคนที่สั่งสมอยู่ในตัวเอง และสามารถจะนำสิ่งเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นศักยภาพในการผลิตหรือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่า สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อทุนมนุษย์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการผลิต นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากจึงหันมาให้ความสนใจบทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะกล่าวถึง 2 ทุน ที่สนใจ ดังนี้

1.ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (Digital Capital)

2. ทุนทางความยั่งยืน(Susstainable capital)

ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (Digital Capital)

ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการนำเทคโนโลยีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ และแทรกซึมเข้ามาทุกอณูในโลกระบบทุนนิยม การเข้ามาของระบบเหล่านี้จะทำให้โครงสร้างทางความคิด รูปแบบการดำรงชีวิตและทำงานของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป และหากมองย้อนไปเมื่อประมาณ 20 ปี ตามยุคต่างๆ ดังนี้

ยุคการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก

• ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นสังคมแบบดั้งเดิม การผลิตด้าน การเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นยุคอดีตจนก่อนการ ปฎิวัติอุตสาหกรรม

• ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้เกิดการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น

• ยุคเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน

• ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

โลกาภิวัตน์ (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก

โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"

โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก

ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งที่ต้องเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากโลกยุคโลกาภิวัตน์คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และเกิดประโยชน์อย่างจริงจัง การติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันมีความรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งการที่จะเกิดทุนทางปัญญาที่มีความเฉียบคมได้จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รู้จักว่าสิ่งใดในโลกไซเบอร์แห่งนี้คือประโยชน์ สิ่งใดคือขยะ ที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ (Talented Capital) การจะใช้ทุนทางปัญญาในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง จะต้องมีทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ สิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติ บุคคลจะต้องมีทัศนคติในทางที่ดี รู้จักคิดในทางบวก (Positive Thinking) มีความรู้ และทักษะที่ชำนาญและเชี่ยวชาญนอกจากนี้ และทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ จะต้องมีความรู้ ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การค้นคว้าวิจัย การแสวงหาข้อมูลที่สด และทันสมัย การสื่อสารทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มากและรวดเร็วขึ้น รวมถึงไปถึงการแบ่งปันสังคมความรู้ด้วย เช่น สังคมออนไลน์ Facebook , Mail, Messagess เป็นต้น

หารเราใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง พัฒนางานของเราก็จะเป็นประโยชน์ต่อต่อเราเอง และสังคม ในยุคโลกดิจิตอล

ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่มาก และจะคล้ายๆ กับทุนแห่งความสุข คือ การที่ตัวเราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ อย่างไร ซึ่งการมีทุนทางปัญญาอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความผันผวนและความแปรเปลี่ยนในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ สิ่งที่จะทำให้ทุนทางปัญญามีความยั่งยืนได้ บุคคลต้องมีทุนแห่งความยั่งยืน ต้องรู้จักการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต้องเรียนรู้ตลอดชีพ ต้องไม่หยุดยั้งที่จะเรียนรู้

การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่มีการคำนึงถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อม มีการป้องกันปัญหาที่เกิดแก่สิ่งแวดล้อม หรือถ้าจำเป็นจะต้องเกิดความเสียหาย ก็จะต้องทำในขอบเขตที่เสียหายน้อยที่สุด การพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมนี้ จึงเป็นรูปแบบการใช้ทรัพยากรที่มีการบำรุงรักษา และมีอัตราการใช้ที่อยู่ในขอบเขตการอำนวยให้หรือศักยภาพที่ทรัพยากรนี้จะคืนสู่สภาพปกติได้ การพัฒนาแตกต่างไปจากการเจริญเติบโตตรงที่ การพัฒนา (development) หมายถึง การปรับปรุงในเชิงคุณภาพให้ดีขึ้น โดยที่ยังมีการรักษาระดับทรัพยากรพื้นฐาน ส่วน การเจริญเติบโต ( growth) หมายถึง การปรับปรุงในเชิงปริมาณให้สูงขึ้น ดังนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นการปรับปรุงในเชิงคุณภาพให้ดีขึ้น เพื่อให้สังคมมนุษย์ที่มีคุณภาพดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ยังคงทำหน้าที่ได้อย่างปกติ โดยไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มในเชิงปริมาณให้เกินขีดจำกัด

และคุณสมบัติของทุนแห่งความยั่งยืน คือ ต้องมองให้ออกว่าระยะสั้นที่จะทำให้เกิดสิ่งใด และสิ่งสำคัญเหล่านั้นต้องไม่ขัดแย้งหรือ สร้างปัญหาในระยะยาว เพื่อที่จะอยู่ได้ในระยะยาว ซึ่งในระยะยาวจะต้องพบกับปัญหามาก ซึ่งปัจจัยในแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย 1.การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลในระยะยาว 2. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย 3.การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กับความเจริญ 4.การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องคิดเป็น วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้ และ 5. ต้องให้ระชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชน หรือประเทศเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่เป็นกระจุกหรือในสังคมกลุ่มเล็กๆ เท่านั้

การพัฒนาที่ทำให้เกิดดุลยภาพของ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ดีมีสุขตลอดไป และสุดท้ายการยั่งยืนต้องเป็นการพัฒนาที่พึงตนเอง (Self-reliance) ไม่ใช่รอความช่วยเหลืออย่างเดียว ซึ่งเป็นตามปรัชญาเศรษฐพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านเน้น เดินสายกลาง คิดเป็นระบบ มีภูมิคุ้มกัน เพราะปัจจุบันนักการเมืองถ้าไม่สนใจทุนแห่งความยั่งยืน แต่สนใจแต่อำนาจรัฐ จะทำให้คนไทย ประเทศไทยอ่อนแอ ต้องพึ่งพานักการเมือง ซึ่งจะเป็นอันตรายได้ในระยะยาว

หลังวิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทยจะไปทางใด

อนันต์ สุดขำ 53484931007 Ph.D นครราชสีมา

นันท์นภัส วิกุล 53484932002 Ph.D นครราชสีมา

นับว่าเป็นมหันตภัยที่ใหญ่หลวงนักกับวิกฤตการณ์น้ำท่วมปี 2554 ในทางเศรษฐกิจเกิดผลกระทบ

ทั้งภาคการผลิต โรงงานอุตสาหกรรมน้อยใหญ่ในนิคมอุตสากรรมที่ โรจนะ ไฮเทค สหรัตนนคร นวนคร

บางกระดี นิคมอุสาหกรรมบางชัน ลาดกระบังและธุรกิจSME ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทั้งในและนอกเขตอุตสาหกรรมนับพันนับหมื่นแห่งได้รับผลกระทบอย่างถ้วนหน้า

สายการผลิตที่ได้รับผลกระทบเชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องถึง เขตอุตสาหกรรมที่นครราชสีมา ที่มาบตาพุด และที่อื่นไม่สามารถผลิตได้ เช่นชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อีเลคทรอนิค ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะส่งออกอุตสาหกรรมต่างๆไม่ได้ ที่สำคัญคือคนตกงาน ว่างงาน กระทบการจับจ่ายใช้สอยต่อในตลาดภาคการซื้อการขายจะลดลง ธุรกิจเกิดปัญหาขาดทุน โยงถึงระบบสังคมในชนบทเพราะรายได้จากแรงงานในภาคอุตสาหกรรมจะถูกส่งไปหล่อเลี้ยงลูกหลาน พ่อแม่ในชนบท เมื่อแรงงานตกงานปัญหาจึงตามมามากมาย

ด้านภาคเกษตร นาข้าวที่ถูกน้ำท่วมในปีนี้จะลดลงไม่น้อยกว่า 5-8ล้านตันจากยอดการผลิตเฉลี่ยประมาณ 25ล้านตัน แน่นอนกระทบรายได้ส่งออกข้าวทั้งปี นอกจากนั้นเกษตรพืชสวน พืชดอก ไก่ หมู

บ่อปลา ได้รับผลกระทบมหาศาลประเมินค่าในส่วนนี้ยากนัก รัฐบาลจะดูแลช่วยเหลือให้กลับฟื้นขึ้นมาดังเดิมต้องใช้เวลานับสิบปี

ด้านการท่องเที่ยว ในช่วงปลายฝนต้นหนาวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจะเข้ามาเที่ยวเมืองไทย คนไทยก็ท่องเที่ยว จะมีกิจกรรมประเพณีลอยกระทง หลายจังหวัดต้องงด ชาวต่างประเทศเมื่อทราบข่าวน้ำท่วมก็ไม่เข้ามาเมืองไทย คนไทยเองก็งดการท่องเที่ยวลงอย่างเห็นได้ชัด

ด้านสังคม การเมือง การศึกษาต่อไปนี้คนไทยต้องตระหนักรู้ว่า น้ำท่วมใช่ว่าจะไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทย ปี 2524 2538 2553 และปีนี้ก็เกิดน้ำท่วมทั้งน้อยและมากเรื่อยมา เพียงสังคมและผู้คนของประเทศนี้จะตระหนักรู้เรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากน้ำมือที่สร้างขึ้นเพียงใด เช่นการก่อสร้างตึก สร้างถนน โรงงานอุตสาหกรรม เกิดผลกระทบต่อระบบการระบายน้ำหรือทางเดินของน้ำอย่างไร หากทำเพื่อตอบสนองความต้องการของโดยไม่คำนึงถึงระบบผังเมือง ระบบการจัดการน้ำ ก็จะประสบชะตากรรมเยี่ยงนี้เรื่อยไป

ด้านสุขภาพจิต จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบผู้ป่วยจากความเครียด ผู้สูงอายุขาดผู้ดูแล ผู้พิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้บาดเจ็บสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ซึมเศร้าเข้ารับบริการจาก 37 จังหวัดพบว่า ผู้ป่วยจากอาการเครียด 5,652 คน ซึมเศร้า 6,769 คน ต้องติดตามดูแล 1,598 คน เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 1,021 คน

นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยทางจิตจากพิษสุราเรื้องรังน้ำท่วมยังกระทบความรู้สึกวิตกกังวลต่อถิ่นที่อยู่อาศัยว่าจะเจอภัยพิบัติอีกหรือไม่

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นมากที่สุดจะเป็นด้านการคมนาคม เราจะเห็นภาพรถยนต์กับเรือสัญจรไปด้วยกัน ถนนถูกตัดขาดจำนวนมาก หันมาสัญจรทางน้ำ แม้แต่ทางอากาศอย่างสนามบินดอนเมืองยังถูกน้ำท่วม คลองระบายน้ำ จะต้องวางแผนระบบผังเมืองรวมทั้งประเทศเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม

จากภัยพิบัติครั้งนี้กระทบโดยตรงกับ “มนุษย์” การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าใจปัญหา รู้วิธีการจัดการปัญหา ผ่านข้ามปัญหาไปได้จึงนับว่าสำคัญยิ่ง

ทุนมนุษย์ (Human capital) คนไทยทุกคนต้องเรียนรู้ปัญหาร่วมกัน ผลกระทบทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็เกิดจากน้ำมือมนุษย์ การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่มนุษย์ที่ดีที่สุดคือ การปลุกจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ความเห็นแก่ตัว ความเข้มแข็งทางปัญญา เรียนรู้จากประสบการณ์สามารถจัดการกับปัญหาได้

จึงเป็นที่มาของ “คุณภาพของทุนมนุษย์”(Quality of Human capital)หรือ สมรรถนะ(competencies)

(จีระ หงส์ลดารมภ์)

ทุนทางความสุข(Happiness Capital) น้ำท่วมเกิดความวิตกกังวล ความเครียด (Overcome stress and worry) การว่างงาน น้ำท่วมไร่นา น้ำท่วมบ้านทรัพย์สินสิ่งของเสียหาย ค้าขายไม่ได้ กระทบในวงกว้าง ความสุขของผู้คนลดลง การฟื้นฟูจิตใจให้กลับคืนมาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ให้รู้สึกอดทน ต่อสู้ ฝ่าฟันอุปสรรค สร้างทุนแห่งความสุขคือ สร้างพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ความสุขเกิดจาก ความรัก ความพอเพียง มีเป้าหมายกับงานที่ทำ จึงไม่รู้สึกเบื่อหน่ายชีวิต ดังนั้นทุนทางความสุข ในสถานการณ์นี้จึงต้องเริ่มที่ ตนเอง ครอบครัว ชุมชน องค์กรในสังคมร่วมกัน เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานเป็นทีม รู้เป้าหมาย มุ่งมั่น ก็จะเป็นทุนทางความสุข(Happines Capital) และในที่สุดเมื่อคนในสังคมมีความอดทนมุ่งมั่น มีทัศนคติที่ดี ไม่เห็นแก่ตัว เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันความเข้มแข็งในสังคมก็เกิดเป็น “ทุนทางสังคม” (Social Capital)หมายความรวมถึงภาครัฐบาล ฝ่ายการเมืองผู้บริหารบ้านเมือง ท้องถิ่น ผู้นำองค์กร จะต้องเห็นความสำคัญ มีความจริงใจและเป็นหลักในการสร้างความเข้มแข็งทางสังคมด้วย

ทุนทางวัฒนธรรม เป็นวัฒนธรรมในการประกอบอาชีพ การหาแหล่งทำมากินของมนุษย์ เมื่อมีความต้องการมากขึ้นก็ก่อให้เกิดอุปสรรค เป็นปัญหาในสังคม เป็นวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และรวมใช้ในหมู่พวกเดียวกัน

คนในอำเภอวังน้ำเขียวเช่นเดียวกัน ต้องการแสงหาที่ทำกิน ความต้องการหลากหลายเกิดเป็นกลุ่มคน มีวัฒนธรรมเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่หลากหลาย จะต้องอดทนต่อความคิดที่หลากหลากหลาย ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ

คนในองค์กรในภาครัฐ ไม่มีการทำความเข้าใจในเรื่องนี้ ทุนทางวัฒนธรรมในการทำงานจะต้องเชิงรุก มีแนวปฏิบัติที่ให้ทุกคนในสังคมรับรู้และถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ

ที่ดินที่จำจองทำกินในอำเภอวังน้ำเขียว เป็นที่ดินว่างเปล่าเกิดการเหลียวแล เมื่อมีการพัฒนาโดยกลุ่มคนดังกล่าว มีคุณค่าทางธรรมชาติ ทำให้ท้องถิ่นรายได้จากการทำเกษตรกรรมการท่องเที่ยว

คนในสังคมแต่ละคนมีความต้องการมาก ย่อมเกิดปัญหา เกิดความอยากมาก มีนายทุนเกิดขึ้น เกิดวัฒนธรรมเอาเงินเป็นที่ตั้ง ภาครัฐในหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลไม่ทั่วถึง คนในภาครัฐหาผลประโยชน์เกิดวัฒนธรรมเลวๆชั่วๆ

เป็นการเรียกคืนจากภาครัฐ ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาที่ดิน เกิดความไม่เข้าใจระหว่างคนในพื้นที่กับภาครัฐ ผลที่ตามมาคือ ทุนทางวัฒนธรรมที่เลวร้าย เป็นการชุบมือเปิบ เป็นวัฒนธรรมทางอำนาจ

ภาครัฐต้องมีทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับทุนทางวัฒนธรรมในการดำเนินการของภาครัฐและเอกชนด้วย

นายวรสัณห์ คชสาร รหัส 53484940002

นายปฐมพร เปล่งคงคม รหัส 53484940003

ทุนทางวัฒนธรรม เป็นวัฒนธรรมในการประกอบอาชีพ การหาแหล่งทำมากินของมนุษย์ เมื่อมีความต้องการมากขึ้นก็ก่อให้เกิดอุปสรรค เป็นปัญหาในสังคม เป็นวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และรวมใช้ในหมู่พวกเดียวกัน

คนในอำเภอวังน้ำเขียวเช่นเดียวกัน ต้องการแสงหาที่ทำกิน ความต้องการหลากหลายเกิดเป็นกลุ่มคน มีวัฒนธรรมเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่หลากหลาย จะต้องอดทนต่อความคิดที่หลากหลากหลาย ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ

คนในองค์กรในภาครัฐ ไม่มีการทำความเข้าใจในเรื่องนี้ ทุนทางวัฒนธรรมในการทำงานจะต้องเชิงรุก มีแนวปฏิบัติที่ให้ทุกคนในสังคมรับรู้และถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ

ที่ดินที่จำจองทำกินในอำเภอวังน้ำเขียว เป็นที่ดินว่างเปล่าเกิดการเหลียวแล เมื่อมีการพัฒนาโดยกลุ่มคนดังกล่าว มีคุณค่าทางธรรมชาติ ทำให้ท้องถิ่นรายได้จากการทำเกษตรกรรมการท่องเที่ยว

คนในสังคมแต่ละคนมีความต้องการมาก ย่อมเกิดปัญหา เกิดความอยากมาก มีนายทุนเกิดขึ้น เกิดวัฒนธรรมเอาเงินเป็นที่ตั้ง ภาครัฐในหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลไม่ทั่วถึง คนในภาครัฐหาผลประโยชน์เกิดวัฒนธรรมเลวๆชั่วๆ

เป็นการเรียกคืนจากภาครัฐ ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาที่ดิน เกิดความไม่เข้าใจระหว่างคนในพื้นที่กับภาครัฐ ผลที่ตามมาคือ ทุนทางวัฒนธรรมที่เลวร้าย เป็นการชุบมือเปิบ เป็นวัฒนธรรมทางอำนาจ

ภาครัฐต้องมีทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับทุนทางวัฒนธรรมในการดำเนินการของภาครัฐและเอกชนด้วย

นายปฐมพร เปล่งคงคม รหัส 0818783469

ศูนย์นครราชสีมา สวนสุนันทา รุ่นที่5

Work Shop ของวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2554

1. สรุปอีกครั้งว่า KM กับ LO แตกต่างกันอย่างไร อธิบายอย่างชัดเจน

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ถือ เป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ ด้านงาน ด้านการพัฒนาคน และด้านการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แต่เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด การจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย อันตรายที่จะเกิดตามมาก็คือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้

องค์กรแห่งการเรียน(Learning Organization)เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์กร โดยการเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ภาวะของการเป็นผู้นำในองค์กร การเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กร เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กร

2. LO สำคัญอย่างไรในองค์กร

ภาคราชการ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ให้หน่วยงานแต่ละหน่วยเริ่มจาก การจัดการความรู้ เพราะการจัดการความรู้เป็นจุดเริ่มที่จะนำไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมี (ก.พ.ร.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการติดตามและประเมินผล

ภาคธุรกิจ การพัฒนาองค์กร ให้ยั่งยืน แข่งขันกับคู่แข่ง ต้องมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ และที่สำคัญในปัจจุบันภาคธุรกิจ มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น (CSR) คำนึงถึงผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมมากขึ้น

ภาคการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการศึกษาทุกระดับจะต้องเกิดขึ้น เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะการทำงานของบุคคลและใช้ทุกสิ่งจากการทำงานเป็นฐานความรู้ที่สำคัญ ประกอบกับใช้กลยุทธ์การแสวงหาความรู้ การแบ่งปันความรู้ การสร้างองค์ความรู้ และการใช้ความรู้

3. อุปสรรคของ LO คืออะไร ให้บอกมาสามเรื่อง

1.ความคร่ำครึขององค์กรที่มีทัศนคติต่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

2.ยึดติดวิธีที่พบกับความสำเร็จเก่าๆ จนไม่คำนึกถึงความเป็นจริงในอนาคต

3.ผู้นำองค์ไม่ใส่ใจความรู้ความสามารถของคนรุ่นใหม่และไม่ค่อยยอมปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่

นางจงดี พฤกษารักษ์

รหัส. 53484931011

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง ทุนมนุษย์การนิรโทษกรรม

จากการที่ดิฉันได้ติดตามข่าวการนิรโทษกรรมของรัฐบาล "นางสาวยิ่งลักษณ์" ในการบริหารจัดการที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดขึ้น คนที่เข้าข่ายด้วยคงเป็นใครไม่ได้ นอกจาก พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นพี่ชายแท้ๆของนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกไทยคนปัจจุบันกำลับกลุมกระแสปัญหานำท่วมไทยและในกรุงเทพฯไปทันทีทั้งๆทีอุทกภัยครั้งนี้ยังไม่คลีคลายให้ประชาชนไทยที่เดือดร้อนโล่งใจขึ้นบ้าง ดิฉันคิดว่าการนิรโทษกรรมมีการเสนอกันในที่ประชุม ครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโดยไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่อยู่ในห้องประชุม เมื่อสื่อนักข่าวสอบถามนางสาวยิ่งลักษณ์นายกไทยปัจจุบันเรื่องดังกล่าวท่านคิดว่าอย่างไร ท่านตอบว่า รัฐบาลจะทำหน้าทีอยู่ภายใต้กฎหมาย จากรายงานข่าวพบว่าข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีนำโดยท่านเฉลิม รองนายกฯคนที่3จะถูกส่งไปยังสถาบันฯเพื่อที่จะได้รับการรับรองการนิรโทษกรรม แต่พบว่าจากแหล่งข่าวมาจาก ดูไบ พ.ต.ท. ทักษิณ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถาบันสูงสุด ดิฉันคิดว่า นางสาวยิ่งลักษณ์นายกคนไทยปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาถูกวิจารณ์การบริหารจัดการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดของเมืองไทยและดิฉันคิดว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ถือว่าเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งและอาจผลักดันให้ประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤตทางการเมืองครั้งใหม่ขึ้นมาอีก ในสถานการณ์ที่ชาวไทยยังลำบากจากเหตุน้ำท่วมครั้งเลวร้าย ดิฉันคิดว่าผู้นำประเทศขาด Six Thinking Hats มี 6 ส่วนได้แก่ 1).Infomation 2).Feeling 3).pOISITIVE THINKING 4).Negative Thinking 5).Creative Thinking 6).Thinking Management ดิฉันคิดว่า "คนสร้างสรรค์คือคนสร้างชาติ สร้างความมั่นคงถาวร " ดิฉันคิดว่านายกฯไทยควรมีความเก่ง 4 ประเด็นนี้ได้แก่ 1).เก่งงาน 2).เก่งคน 3).เก่งคิด 4).เก่งเรียน นอกจากนี้ดิฉันคิดว่าท่านนายกฯไทยคนปัจจุบันควรมีความดีทั้ง 4 ประเด็นนี้ไปใช้ได้นะค่ะ 1).ประพฤติดี 2).มีน้ำใจ 3).ใฝ่ความรู้

4).มีคุณธรรม ท้ายสุดนี้ดิฉันขอขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ในการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาใช้ทฤษฎีประยุกต์ใช้ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์

รายงานการเดินทางไปศึกษาดูงาน

นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต Ed.D. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองปักกิ่ง-เมืองเทียนจิน

วันที่ 23 - 27 ตุลาคม 2554

เสนอ

อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

โดย

นายวรสัณห์ คชสาร

เลขประจำตัวนักศึกษา 5348494002

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาชุดวิชา

การจัดการทุนมนุษย์ EDU8102

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554

การเดินทางไปศึกษาดูงานของนักศึกษาระดับปริญญาเอก

หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต Ph.D. และ Ed.D. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ศึกษาดูงานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองปักกิ่ง-เมืองเทียนจิน

วันที่ 23 - 27 ตุลาคม 2554

นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

.......................................................................................................................

ในวันที่ 24 ตุลาคม 2554 เดินทางถึงกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสายการบิน AIR CHAINA (CA) รับประทานอาหารเช้าเป็นข้าวต้ม ปลาท่องโก๋ อาหารและขนมชนิดแป้งทอด – อบ รู้สึกว่าทางผู้จัดต้องการให้ลิ้มรสอาหารจีนแท้ ๆ รสชาติจืด กลิ่นเต้าหู้ ช่วงเดินเข้าภัตตาคารนั้นก็ได้กลิ่นเต้าหู้ตลอดเวลา

สาย ๆ รับทราบว่าเปลี่ยนกำหนดการศึกษาดูงาน โดยไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองเทียนสิน คือ China University of Political Science and Law (CUPL, 2011) จัดการศึกษาแบบบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลารวม 14,416 คน รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,753 คน การแนะนาฝ่ายไทย นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำความเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการจัดการศึกษาด้าน กฎหมาย การบริหารจัดการ และเศรษฐศาสตร์ พบคณาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัย

สิ่งที่ได้ คือ การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักศึกษาไทย – จีน เช่น

- การมองโลกปัจจุบันและอนาคต มองไปที่ การเปิดเสรีอาเซี่ยน + 1 (จีน)

- ให้มีการวิเคราะห์ วิจัยปัญหาร่วมกัน ศึกษาทุนมนุษย์ด้านต่าง ๆ สู่การแก้ปัญหา ให้เกิดการศึกษาต่อเนื่อง และตามอัธยาศัย

- 2 –

- ในอนาคตจีนและไทยต้องสัมผัสกันมากขึ้น ร่วมศึกษาว่าปัจจุบันเกิดอะไรขึ้นกับสังคมโลก วิจัยและแก้ปัญหาร่วมกัน ให้มีการถกประเด็นร่วมกัน หรือกรณีประเทศมีประชากรต่างระดับกันมากแล้วการพัฒนาจะเป็นอย่างไร

- จะใช้วิทยาการอะไรบ้างในการส่งเสริมและพัฒนาสู่สังคมโลก และประเทศคุณสนใจวิทยาการใด สนใจอย่างไร ระบบต่าง ๆ ต้องเปิดกว้าง การบริหารทุนต่าง ๆ ร่วมกันให้สามารถต่อสู้กับกลุ่มทุนอื่น ๆ เช่น EU หรือประเทศระบบทุนนิยมเสรี USA

นักศึกษาจาก China University of political science and law ได้ยกประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาอย่างไร ตัวแทนนักศึกษาศูนย์กรุงเทพ ได้ตอบประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มีการถามต่อเนื่องในรายละเอียด และตอบอธิบายเพิ่มเติม ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ เรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านนามธรรม เช่น ทุนทางจริยธรรม ทุนความยั่งยืน ทุนความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงหลักการและวิธีปฏิบัติเชื่อมโยงกับศึกษาดูงานครั้งนี้ ว่า เป็นการเยี่ยมแบบนักการทูตภาคประชาชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อาจารย์ นักศึกษา และแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ รวมถึงการมาครั้งนี้

ดร.จีระ ได้กล่าวถึง การพัฒนาประเทศกับการสร้างพลังสังคมระหว่างไทย กับ จีน และในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ควรเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการคิดค้นค้นคว้าหาพลังงานทดแทนนั้น ควรเป็นลักษณะของการสร้างความร่วมมือกันระหว่างประเทศ กล่าวถึงในด้านของชุมชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการสร้างมูลค่าในสินค้านั้น จีนได้อาศัยสิ่งนี้ขับเคลื่อนค่านิยมในสินค้า จึงทำให้จีนมีเงินสำรองระหว่างประเทศมากอันดับ 1 ของโลก ส่งออกสินค้ามากกว่านำเข้า แต่จีนยังตก ในเรื่องความยั่งยืน ประชากรจีนมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

- 3 –

เกิดคนรวยมากขึ้น และช่วงนี้จีนมีการปลูกยางพารามากขึ้น ควรให้ไทยทำการศึกษาวิจัยการปลูกยางพาราว่าอนาคตจะสู้จีนได้หรือไม่ หรือควรระวังไม่ส่งเสริมการปลูกยางพารามากนัก ซึ่งอาจมีผลกระทบถึงรายได้ผู้ปลูกยางพาราในไทย

Tianjin University of technology

Tianjin University of technology(TJUT, 2011) เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านเทคโนโลยี และอยู่ในสภาพแวดล้อมของเมืองอุตสาหกรรม การผลิตบุคลากรเพื่อรองรับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องสำคัญ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ Tianjin University of technology (TJUT, 2011) เป็นสถาบันให้การศึกษาที่เน้นทางด้านเทคโนโลยี ได้สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีถึง 9 สถาบัน เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ประเด็นที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันคือ การสร้างความผาสุกให้กับประชากร และการเตรียมพร้อมประชากรเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก Tianjin University of technology คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถานศึกษา แม้ว่าจะมีการประสานงานในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากเครือข่ายการประสานงาน และทุนทางสังคมที่อาจารย์มีอยู่ในจีน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นคุณสมบัติมาตรฐานเบื้องต้น ที่สนับสนุนงานการทูตภาคประชาชน ให้สามารถต่อยอดความสัมพันธ์ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น

กล่าวถึงประเด็นประเทศต่าง ๆ ในสังคมโลกได้มีการรวมกลุ่มประเทศที่มีแนวนโยบายด่านต่าง ๆ ที่คล้ายกัน รัฐบาลของจีน หรือสถานบันการศึกษาประเทศจีนมีการจัดการศึกษาอย่างไร ต่อการรองรับในเรื่องนี้

- 4 –

สถานทูตไทย ประจากรุงปักกิ่ง

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทูตการค้าไทยประจำกรุงปักกิ่ง (ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร) ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทาตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์

การมองเชิงประชากรศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทยในตลาดจีน การสร้าง Fan-page และคุณค่าเพิ่มจากการ่วมกิจกรรมทางสังคม

การมองเชิงภูมิศาสตร์ เช่นการสร้าง logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

การนำไปปรับใช้กับคนไทยมีหลายประเด็น เช่น การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการค้าขายกับจีน

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม

เรื่องการค้า

ท่านทูตฯได้เสนอแนะว่าไทยควรได้ทำการศึกษาถึง

- การสร้างมูลค่าเพิ่ม การกระจายสินค้า เพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง ความแปลกใหม่ หรือใช้กระบวนการสร้างแฟนคลับจากสินค้ารูปแบบต่าง ๆ ของไทยสู่จีน

- การนำศิลปะเข้าสู่เชิงพานิช หรือทัวร์การศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ

- 5 –

- สร้างมุมมองรูปแบบการค้า ซึ่งควรมีการกระจายทางด้านภูมิศาสตร์ การกระจายสินค้าไปหลาย ๆ จังหวัดในจีน

- ให้มีการเปิดแนวการเข้า – ออกของสินค้าระหว่างไทย – จีน ไทยควรคิดในเชิงรุก ส่งเสริมในเชิงพานิชให้มากขึ้น การแนะนำนักธุรกิจบุกตลาดจีน เช่น เปิดนิคมอุตสาหกรรมในจีน

- สร้างมิติแห่งการรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทยต่อประชากรจีนให้มากขึ้น

- การเสนอส่งสินค้ารูปแบบของ O – TOP รูปแบบสินค้าต้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากประชาชนจีนมีรายได้มากขึ้น เน้นสินค้าคุณภาพ ค่านิยมในการจับจ่ายใช้สอยเน้นหน้าตาผู้ซื้อ คือ สินค้าแบรนด์เนม และอยากเห็นสินค้า O – TOP มีความยั่งยืนขายทักษะฝีมือ แรงงานตามตลาดจีน และไทยต้องสร้างแบรนด์

ปัญหาของการค้าขายระหว่างประเทศ ท่านทูตฯได้มีข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยมีหน่วยงานดูแลมากเกินไป งบประมาณกระจาย การจัดระบบราชการไม่ดีและไม่เอื้อ มักเน้นที่ความพร้อมหรือไม่พร้อมมาเป็นตัวตั้งในการติดต่อการค้าขายระหว่างประเทศ การเมืองไม่เข้าใจผู้ประกอบการท้องถิ่น

สำหรับบทบาททางด้านศาสนาท่านทูตฯ มีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และการเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่คนในสังคม นอกจากนี้ ท่านทูตยังได้มอบบทความที่ท่านเขียนลงในหนังสือพิมพ์ และรวบรวมจัดทาเป็นรูปเล่ม เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วย

........................................................................................

บทวิเคราะห์ในแนวทางของ Human Capital ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กรณีปัญหา ผู้บุกรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติโซนซี (โซนอนุรักษ์) บริเวณเขาแผงม้า ต.วังน้ำเขียว พื้นที่รอยต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 22 แปลง

ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

(นายวรสัณห์ คชสาร นศ.ป.เอก มรภ.สวนสุนันทา รหัสนักศึกษา 5348494002)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพคงไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะ และมีปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม และต้องมีจิตสาธารณะ การสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นประโยชน์ สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในระดับบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคม ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ

แนวทางแรก การสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ท่านสอนให้เราเข้าใจและยึดมั่นใน ศีล สมาธิ และปัญญา

แนวทางที่สอง คือ “ คน ” กับคุณสมบัติสำคัญ 3 เรื่องที่สำคัญ จากที่ท่านศ.ดร.จีระได้มาจาก

กูรูชาวต่างชาติท่านหนึ่งชื่อ Peter Drucker ประกอบด้วย

Integrity คือ ความถูกต้อง

Imagination คือ จินตนาการ

Inovation คือ นวัตกรรม

Drucker กล่าวว่า คนที่เขต้องการ คือ คนที่ยึดมั่นในความถูกต้อง (Integrity) และมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องแรก เพราะถ้ายึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรมแล้ว ต่อให้เก่งในเรื่องจินตนาการหรือนวัตกรรมก็ไม่มีความสำคัญ

การสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามแนวทางแรก ประกอบด้วย

ศีล คือ การประพฤติดีงามละเว้นสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย ซึ่งบุคคลที่เข้าไปบุกรุกที่ดินป่าสงวนนั้นล้วนประกอบด้วยความโลภ ความอยากได้ ไม่ตั้งมั่นในความถูกต้อง ขาดการใช้หลักนิติธรรมซึ่งบุคคลนั้นพึงรู้ได้

สมาธิ คือ ความมั่นคงทางจิตใจ การที่มีการตั้งกลุ่มประท้วงใช้กฎหมู่เข้าไปแก้ปัญหา บุคคลเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ที่ขาดสมาธิ ขาดความยั้งคิด มีตัณหาต่อความอยากได้เป็นที่ตั้ง ขาดความคิดตริตรองว่าสิ่งที่ได้มานั้นไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้องตามกฏหมาย

ปัญญา คือ องค์ความรู้ ทักษะต่าง ๆ บุคคลเหล่านั้นไม่ใช้ปัญญาความรู้ไม่ว่าจากประสบการณ์ ความรู้สำนึก หรือจากการได้ศึกษาเรียนรู้มาพิจารณาไตร่ตรองให้ดี

จากที่ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะบุคคลที่ทำการบุกรุกที่ป่าสงวนมาเป็นของตนเองนั้น การสร้างทุนทางจริยธรรม ควรประกอบด้วย

1. องค์ประกอบทางปัญญา (cognition) หรือส่วนประกอบของความรู้ (moral reasoning) หรือมิติความรู้ (knowledge) หรือความคิดทางจริยธรรม (moral thought)

2. องค์ประกอบทางอารมณ์ (affection) หรือส่วนประกอบของอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) หรือมิติของความรู้สึก (feeling) หรือความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling)

3. องค์ประกอบทางพฤติกรรม (behavior) หรือสวนประกอบทางด้านพฤติกรรมและการแสดงออก (moral conduct) หรือมิติด้านความประพฤติ (conduct) หรือพฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior)

ทุนทางวัฒนธรรม

(นายปฐมพร เปล่งคงคม นศ.ป.เอก มรภ.สวนสุนันทา เลขประจำตัวนักศึกษา 5348494003)

เป็นวัฒนธรรมในการประกอบอาชีพ การหาแหล่งทำมากินของมนุษย์ เมื่อมีความต้องการมากขึ้นก็ก่อให้เกิดอุปสรรค เป็นปัญหาในสังคม เป็นวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และรวมใช้ในหมู่พวกเดียวกัน

คนในอำเภอวังน้ำเขียวเช่นเดียวกัน ต้องการแสงหาที่ทำกิน ความต้องการหลากหลายเกิดเป็นกลุ่มคน มีวัฒนธรรมเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่หลากหลาย จะต้องอดทนต่อความคิดที่หลากหลากหลาย ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ

คนในองค์กรในภาครัฐ ไม่มีการทำความเข้าใจในเรื่องนี้ ทุนทางวัฒนธรรมในการทำงานจะต้องเชิงรุก มีแนวปฏิบัติที่ให้ทุกคนในสังคมรับรู้และถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ

ที่ดินที่จำจองทำกินในอำเภอวังน้ำเขียว เป็นที่ดินว่างเปล่าเกิดการเหลียวแล เมื่อมีการพัฒนาโดยกลุ่มคนดังกล่าว มีคุณค่าทางธรรมชาติ ทำให้ท้องถิ่นรายได้จากการทำเกษตรกรรมการท่องเที่ยว

คนในสังคมแต่ละคนมีความต้องการมาก ย่อมเกิดปัญหา เกิดความอยากมาก มีนายทุนเกิดขึ้น เกิดวัฒนธรรมเอาเงินเป็นที่ตั้ง ภาครัฐในหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลไม่ทั่วถึง คนในภาครัฐหาผลประโยชน์เกิดวัฒนธรรมเลวๆชั่วๆ

เป็นการเรียกคืนจากภาครัฐ ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาที่ดิน เกิดความไม่เข้าใจระหว่างคนในพื้นที่กับภาครัฐ ผลที่ตามมาคือ ทุนทางวัฒนธรรมที่เลวร้าย เป็นการชุบมือเปิบ เป็นวัฒนธรรมทางอำนาจ

ภาครัฐต้องมีทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับทุนทางวัฒนธรรมในการดำเนินการของภาครัฐและเอกชนด้วย

.........................................................................

ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

8

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นครูสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตนำนักศึกษาช่วยจัดข้าวเป็นกล่องส่งให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมกรุงเทพมหานครในนามชาวภูเก็ตและดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ดิฉันได้นำทฤษฎีทุนมนุษย์เป็นปัจจัยหลักในการบริหารจัดการข้าวกล่องให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเกิดACTION LEARNING พร้อมทั้ง1).กำหนดกรอบอัตรากำลัง (Profiling) 2).ประมาณการจำนวน(Estimating) 3).การวางแผน(Planning)

6

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) และดิฉันนำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตช่วยจัดข้าวกล่องส่งไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมกรุงเทพมหานครในนามชาวภูเก็ตดิฉันเกิด Mental Models and Shared Vision รวมทั้งดิฉันได้ตกผนึก Team Learning and System Thinking

1

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ได้นำความรู้บริการให้นักเรียนในโรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ตเป็นสถาบันที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลาม ดิฉันได้รับเกียรติเป็ยวิทยากรซึ่งดิฉันได้สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้(Learning Culture)และสังแห่งการเรียนรู้(Learning Society)พร้อมทั้งองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization)

2

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ได้นำความรู้บริการ แก่นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดภูเก็ตในฐานะเป็นผู้นำเป็น Leader and Teacher ทำให้ดิฉัน"ความประทับใจเรื่องความสุข ชอบงานที่ทำและงานที่มีคุณค่า" "การสร้างแรงบันดาลใจและอิทธิพลในการเป็นภาวะผู้นำที่ดี"ซึ่งดิฉันคิดว่าทุนแห่งความสุขที่สามารถส่งเสริมทุนของการเป็นมนุษย์ 

3

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำ 4 Eประกอบด้วย1).Energy 2).Encrgize3).Edge 4).Execution

4

5

6

7

8

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ได้เกิดการเรียนรู้ทุนมนุษย์ประอบด้วย1).Pain is gain 2).Emational 3).Share Vision 4).Truts 5).Motivation 6).Reinventing ดิฉันนำนักศึกษาช่วยงานจัดอาหารกล่องช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่มในกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ (keywords): ช่วยน้ำท่วม

ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

8

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นครูสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตนำนักศึกษาช่วยจัดข้าวเป็นกล่องส่งให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมกรุงเทพมหานครในนามชาวภูเก็ตและดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ดิฉันได้นำทฤษฎีทุนมนุษย์เป็นปัจจัยหลักในการบริหารจัดการข้าวกล่องให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเกิดACTION LEARNING พร้อมทั้ง1).กำหนดกรอบอัตรากำลัง (Profiling) 2).ประมาณการจำนวน(Estimating) 3).การวางแผน(Planning)

6

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) และดิฉันนำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตช่วยจัดข้าวกล่องส่งไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมกรุงเทพมหานครในนามชาวภูเก็ตดิฉันเกิด Mental Models and Shared Vision รวมทั้งดิฉันได้ตกผนึก Team Learning and System Thinking

1

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ได้นำความรู้บริการให้นักเรียนในโรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ตเป็นสถาบันที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลาม ดิฉันได้รับเกียรติเป็ยวิทยากรซึ่งดิฉันได้สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้(Learning Culture)และสังแห่งการเรียนรู้(Learning Society)พร้อมทั้งองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization)

2

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ได้นำความรู้บริการ แก่นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดภูเก็ตในฐานะเป็นผู้นำเป็น Leader and Teacher ทำให้ดิฉัน"ความประทับใจเรื่องความสุข ชอบงานที่ทำและงานที่มีคุณค่า" "การสร้างแรงบันดาลใจและอิทธิพลในการเป็นภาวะผู้นำที่ดี"ซึ่งดิฉันคิดว่าทุนแห่งความสุขที่สามารถส่งเสริมทุนของการเป็นมนุษย์ 

3

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำ 4 Eประกอบด้วย1).Energy 2).Encrgize3).Edge 4).Execution

4

5

6

7

8

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ได้เกิดการเรียนรู้ทุนมนุษย์ประอบด้วย1).Pain is gain 2).Emational 3).Share Vision 4).Truts 5).Motivation 6).Reinventing ดิฉันนำนักศึกษาช่วยงานจัดอาหารกล่องช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่มในกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ (keywords): ช่วยน้ำท่วม

นางจงดี พฤกษารักษ์

รหัส. 53484931011

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

เรื่อง ทุนมนุษย์การนิรโทษกรรม

จากการที่ดิฉันได้ติดตามข่าวการนิรโทษกรรมของรัฐบาล "นางสาวยิ่งลักษณ์" ในการบริหารจัดการที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดขึ้น คนที่เข้าข่ายด้วยคงเป็นใครไม่ได้ นอกจาก พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นพี่ชายแท้ๆของนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกไทยคนปัจจุบันกำลับกลุมกระแสปัญหานำท่วมไทยและในกรุงเทพฯไปทันทีทั้งๆทีอุทกภัยครั้งนี้ยังไม่คลีคลายให้ประชาชนไทยที่เดือดร้อนโล่งใจขึ้นบ้าง ดิฉันคิดว่าการนิรโทษกรรมมีการเสนอกันในที่ประชุม ครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโดยไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่อยู่ในห้องประชุม เมื่อสื่อนักข่าวสอบถามนางสาวยิ่งลักษณ์นายกไทยปัจจุบันเรื่องดังกล่าวท่านคิดว่าอย่างไร ท่านตอบว่า รัฐบาลจะทำหน้าทีอยู่ภายใต้กฎหมาย จากรายงานข่าวพบว่าข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีนำโดยท่านเฉลิม รองนายกฯคนที่3จะถูกส่งไปยังสถาบันฯเพื่อที่จะได้รับการรับรองการนิรโทษกรรม แต่พบว่าจากแหล่งข่าวมาจาก ดูไบ พ.ต.ท. ทักษิณ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถาบันสูงสุด ดิฉันคิดว่า นางสาวยิ่งลักษณ์นายกคนไทยปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาถูกวิจารณ์การบริหารจัดการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดของเมืองไทยและดิฉันคิดว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ถือว่าเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งและอาจผลักดันให้ประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤตทางการเมืองครั้งใหม่ขึ้นมาอีก ในสถานการณ์ที่ชาวไทยยังลำบากจากเหตุน้ำท่วมครั้งเลวร้าย ดิฉันคิดว่าผู้นำประเทศขาด Six Thinking Hats มี 6 ส่วนได้แก่ 1).Infomation 2).Feeling 3).pOISITIVE THINKING 4).Negative Thinking 5).Creative Thinking 6).Thinking Management ดิฉันคิดว่า "คนสร้างสรรค์คือคนสร้างชาติ สร้างความมั่นคงถาวร " ดิฉันคิดว่านายกฯไทยควรมีความเก่ง 4 ประเด็นนี้ได้แก่ 1).เก่งงาน 2).เก่งคน 3).เก่งคิด 4).เก่งเรียน นอกจากนี้ดิฉันคิดว่าท่านนายกฯไทยคนปัจจุบันควรมีความดีทั้ง 4 ประเด็นนี้ไปใช้ได้นะค่ะ 1).ประพฤติดี 2).มีน้ำใจ 3).ใฝ่ความรู้

4).มีคุณธรรม ท้ายสุดนี้ดิฉันขอขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ในการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาใช้ทฤษฎีประยุกต์ใช้ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์

นางจงดี พฤกษารักษ์

รหัส 53484931011

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

วิชา การจัดการทุนมนุษย์ (PHD 8202

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่อง การแก้ปัญหาน้ำท่วม โดนรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์

ดิฉันคิดว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมดู ๆๆ ก็ธรรมดามากแต่การแก้ปัญหา.....จะดีกว่านี้ เป็นระบบกว่านี้ไม่มั่วการให้ข่าวกับชาวบ้าน ไม่ปล่อยให้คนเสียสติ.....ส่งต่อแพ......แจกชาวบ้าน น่าจะไม่ท่วมนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งๆ ค้นดินก็จะมีความแน่นหนา แข็งแรง ไม่ต้องทำพิธี ปล่อยเรือคันน้ำ กลางแม่น้ำ เลิกมีรัฐบาลเถอะ ปล่อยให้ข้าราชการประจำทำงานตามวิชาชีพของเข้าเถิด ซึ่งดิฉันคิดว่าคนไทยเป็นคนที่ใจดีมากๆ ทั้งคำพูดว่า "คนไทยยังต้องรอดูใจ รอดูวันรอดูฝีมือรัฐบาลปัจจุบันท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาที่รุนแรงที่เรื้อรังมานาน" ดิฉันคิดว่ารัฐบาลปัจจุบันแก้ปัญหาน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม โดยเฉพาะ "ศปภ" นั้นมัปัจจัยดังต่อไปนี้มาตอบคำถามต่อไปนี้หรือเปล่าได้แก่

1.) Personal Mastery (รู้อะไรรู้ให้จริง)

2.) Mental Models (มีแบบอย่างทางความคิด)

3.) Shared Vision (มีเป้าหมายร่วมกัน)

4.) Team Learning (เรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน)

5.) System Thinking (มีระบบการคิดมีเหตุมีผล)

ดิฉันคิดว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม เข้ารัฐบาลปัจจุบันเอาปัจจัยต่างๆ มาวิเคราะห์รวมทั้งตอบคำถามพวกนี้ได้

1.) Leadership Exeellences การเป็นผู้นำต้องเข้าใจและมีวิสัยทัศน์

2.) Management Exeellence บริหารจัดการต้องทันยุค ทันสมัย

3.) Technology Exeellence นำเทคโนโลยีสร้างจุดแกร่งให้เกิดประโยชน์

4.) Maketing Exeellence องค์กรประสบความสำเร็จ ต้องใจคนในชาติ (ประชาชน)

ดิฉันคิดว่าการแก้ปัญหาหลังน้ำท่วม สอดคล้องกับทฤษฎี 5Q ได้แก่

1.) Quality of Non Bias ไม่มีอคติ ประกอบด้วย

1.1.) Role Model

1.2.) Open Mind

1.3.) Open Heart

1.4.) Quality of Valuable Given การให้อย่างมีคุณภาพ ประกอบด้วย

2.1.) Training

2.2.) Learning + Life Long Learning

2.3.) Share Experience

2.4.) Willingness

2.5.) Nuturance

2.6.) Generousity

2.7.) Knowledge

3.) Quality of Fairness เป็นธรรมประกอบด้วย

3.1.) Public Mind @ Heart

3.2.) CSR

3.3.) Green Mind @ Heart

3.4.) Trust

3.5.) Aceountability

3.6.) Respect

4.) Quality of Working Life คุณภาพชีวิตในการทำงานประกอบด้วย

4.1.) Smaet HR No HR

4.2.) Ambient

4.3.) Environment

4.4.) Endurance

4.5.) intelligence

5.) Quality of Sustainability คุณภาพร่วมยั่งยืน ประกอบด้วย

5.1.) Produet

5.2.) Value Added

5.3.) Macro to Micro

5.4.) KPi

5.5.) Qricntation

5.6.) Continuous Improvemcnt

ดิฉันคิดว่า ประชาชนคงจะไม่ทะเลาะกันและไม่ออกมาประท้วง ปิดถนนของจังหวัดนนทบุรี พอสรุปได้ถ้ารัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ มีความจริงใจในเรื่องต่างๆ โดยเกี่ยวพันธ์กับ ทฤษฎี 5E'S ดังนี้

1.) Example สร้างตัวอย่างที่ดี

2.) Experience สะสมถ่ายทอดประสบการณ์

3.) Edueation การศึกษาให้ความรู้เกี่ยวกับการเยี่ยวยาหลังน้ำท่วม

4.) Environment สร้างบบรรยากาศดี

5.) Evaluation การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ดิฉันคิดว่าท้ายสุดขอฝากว่า "อันใดที่เดือดร้อนเขา เดือดร้อนเราอย่าทำ" ฉะนั้นรัฐบาลปัจจุบันควรเอา 7 ประการไปวิเคราะห์คิดด้วยได้แก่

1.) Comp etence Staets with feeling Competent

2.) Paradigm Shift

3.) Seek Input from your Oppesitcs

4.) The Best De fense is to Listen

5.) Play the Odds

6.) Take off your blinders

7.) Life is not azero-Sum Game

ท้ายสุดนี้ดิฉันคิดว่ารัฐบาลต้องบริการจัดการทุนมนุษย์เมื่อน้ำท่วมแล้ว ต้องแก้ปัญหามวลชนทั้งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯขอฝาก 5 ปัจจัยกับรัฐบาลปัจจุบันด้วยนะค่ะ

ได้แก่ 1.) Physical Development

2.) Economical Development

3.) Social Development

4.) Healthy Development

5.) Ethicae Development

ดิฉันคิดว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วม และการแก้ปัญหามวลชน ฝั่งตะวันออกและ ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯที่ออกมาประท่วงนั้น

ถ้าการทำงานควรร่วมกันระหว่างทางภาครัฐกับภาคเอกชนก็ควรจะต้องเป็นการ Shared Vision ร่วมกัน ขอบคุณ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ ปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ

(PHD 82002)มาหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) รหัส 53484931011

นางสาวศิริขวัญ กีรติโชติกุล (ศูนย์ภูเก็ต)

จากการเรียนรู้รายวิชา ทุนมนุษย์ฯ ที่ท่านอาจารย์จีระ ได้สอนในวันที่ 9 ตุลาคม 2554 ความคิดเห็นในเรื่อง

"องค์กรแห่งการเรียนรู้” ( Learning Organization : LO)

“องค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้

1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1) ระดับการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับองค์การ

2) ประเภทของการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

3) ทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ

3.1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)

3.2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model)

3.3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)

3.4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

3.5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)

3.6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue)

2. องค์การ (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่

1) วิสัยทัศน์

2) วัฒนธรรมองค์การ

3) กลยุทธ์

4) โครงสร้าง

3. สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่

1) บุคลากร

2) ผู้บริหาร / ผู้นำ

3) ผู้รับบริการ / ลูกค้า

4) คู่ค้า

5) พันธมิตร / หุ้นส่วน

6) ชุมชน

4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย

1) การแสวงหาความรู้

2) การสร้างความรู้

3) การจัดเก็บความรู้

4) การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์

5. เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) ประกอบด้วย

1) เทคโนโลยีสารสนเทศ

2) เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้

3) ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ

2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model) หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ

5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน

ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้

องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ

1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action)

2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program

3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก

4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ

5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ

อุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์การ

1. สมาชิกในองค์การรู้แต่หน้าที่ของตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ (I'm my position)

2. สมาชิกรู้ว่าปัญหาขององค์การอยู่ที่ใด แต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร (The enemy is out there)

3. ทำตามแบบที่เคยทำ เห็นแต่ภาพลวงตา ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง (The Illustration of taking change)

4. ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกินไป (A fixation on events)

5. ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจในความแตกต่างของอดีตกับปัจจุบัน (The delusion of learning from experience)

6. มีผู้บริหารที่ดีแต่ไม่ได้สืบทอดความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป (The myth of management team)

7. ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป (The boiled frog syndrome)

M (Knowledge Management) คืออะไร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

วิภารณี แก้วใส ศูนย์ภูเก็ต

การบริหารจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management : KM

การบริหารจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นพบว่าองค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆ กับการที่บุคลากรลาออกหรือเกษียณ อายุราชการ อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจากแนวคิดที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้มากแต่เพียงอย่างเดียวจึงเปลี่ยนไป และมีคำถามต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรได้เรียนรู้ด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการความรู้จึงสัมพันธ์กับเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นอย่างยิ่ง หากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมีการจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ความชำนาญแล้ว องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะไว้กับองค์กรอย่างมีระบบเพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกายังคงแข่งขันกันหาวิธีบริหารจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อให้อยู่ในโลกของการแข่งขันได้สำหรับประเทศไทยนั้นคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้บริหารที่จะหายุทธวิธีในการดึงความรู้ออกมาจากตัวบุคคล และการกระตุ้นให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนร่วมงาน ซึ่งการถ่ายทอดความรู้บางประเภทนั้น การฝึกอบรมอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด อุปสรรคที่มักพบอยู่เสมอของการบริหารจัดการความรู้คือพฤติกรรม "การหวงความรู้" และวัฒนธรรม "การไม่ยอมรับในตัวบุคคล" หากองค์กรสามารถกำจัดจุดอ่อนทั้งสองอย่างนี้ได้ การบริหารจัดการความรู้ ก็มิใช่เรื่องยากจนเกินไป

การบริหารจัดการความรู้ คืออะไร?

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีคำจำกัดความของคำว่า การบริหารจัดการความรู้ ที่เป็นหนึ่งเดียว แต่เราสามารถสรุปจุดร่วมของความหมายที่หลากหลายได้ว่า การบริหารจัดการความรู้ คือ กระบวนการใดๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวม และจัดเก็บความรู้ภายในองค์กรซึ่งเปรียบเสมือนสินทรัพย์ (Assets) อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะนำมาใช้ หรือถ่ายทอดกันได้ภายในองค์กร อันจะเกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน หรือเพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ความรู้ที่ได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบนี้จะคงอยู่เป็นความรู้ขององค์กรตลอดไป

ประโยชน์ของการบริหารจัดการความรู้

การลงทุนในเรื่องการบริหารจัดการความรู้อาจจะค่อนข้างสูงและอาจจะต้องใช้เวลา แต่หลายๆ องค์กรก็จะได้รับประโยชน์ ดังนี้

- ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการเรียนรู้งานใหม่

- บุคลากรได้รับความพึงพอใจในการ)ปฏิบัติงาน

- มีกำไรมากขึ้น/ลดต้นทุน

- ลดการสูญเสียเวลา

- มีความคงที่ในผลของการเรียนรู้ การปฏิบัติงาน และผลิตภัณฑ์

- การคงรักษาคุณภาพ หรือภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ไว้

- การพัฒนาคุณภาพของความรู้ไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ

การดำเนินการในเรื่องการบริหารจัดการความรู้

ข้อมูลสารสนเทศ จะมีบทบาทต่อการบริหารจัดการความรู้ เป็นอย่างมาก จึงควรต้องระลึกไว้เสมอว่า ข้อมูลสารสนเทศ (Information) ไม่ใช่ความรู้ กล่าวคือ ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อมูลดิบที่ยังไม่มีการแปลความหมาย สารสนเทศ (Information) เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเรียบเรียง ตีความ วิเคราะห์ และให้ความหมายแล้ว ความรู้ (Knowledge) คือสิ่งที่ได้จากกระบวนการที่มนุษย์รับข้อมูลผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยง จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ ส่วนความรู้ขั้นสูงสุดคือ ปัญญา (Wisdom) เป็นความรู้ที่สะสมหรือฝังอยู่ในตัวบุคคล การเลือกวิธีการบริหารจัดการความรู้ ได้อย่างเหมาะสม ควรรู้ว่าเราไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยง่ายเสมอไป เนื่องจาก ความรู้มี 2 ประเภท ที่มีลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ

1. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนเรียกว่าเป็น ความรู้แบบนามธรรม

2. Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น ลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็น ความรู้แบบรูปธรรม

แม้ว่าจะมีมุมมองและแนวคิดที่หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก แต่ ขั้นตอนการจัดการความรู้ นั้น สามารถสรุปได้คือ

1) การสำรวจความรู้ภายในองค์กร

2) การวางแผนความรู้เพื่อการรวบรวมและจัดเก็บ

3) การพัฒนาความรู้

4) การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) หรือการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)

สิ่งที่ควรคำนึงอย่างยิ่งก็คือ วิธีการที่ใช้กับองค์กรหนึ่งอาจจะไม่ได้ผลดีกับอีกองค์กรหนึ่ง เพื่อให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ องค์กรนั้นๆ ควรเริ่มทดลองปฏิบัติจริงและปรับเปลี่ยนวิธีการจนกว่าจะได้แนวทางที่เหมาะสมและได้ผลดีที่สุด

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO)

องค์การเรียนรู้ (Learning Organization : LO ) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน

การมีองค์การแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน

Learning Organization หรือ การทำให้องค์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นคำที่ใช้เรียกการรวมชุดของความคิดที่เกิดขึ้นมาจากการศึกษาเรื่องขององค์การ Chris Argyris ได้ให้แนวคิดทางด้าน Organization Learning ร่วมกับ Donald Schon ไว้ว่า เป็นกระบวนการที่สมาชิกขององค์การให้การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ด้วยการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ ในองค์การ

แนวคิดของ Learning Organization

Chris Argyris และ Donald Schon (สืบค้นจาก http://www.kmitnbxmie8.com) ได้ให้คำนิยามการเรียนรู้สองรูปแบบที่มีความสำคัญในการสร้าง Learning Organization คือ Single Loop Learning ( First Order / Corrective Learning) หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแก่องค์การเมื่อการทำงานบรรลุผลที่ต้องการลักษณะการเรียนรู้แบบที่สองเรียกว่า Double Loop Learning (Second Oder/Generative Learning)หมายถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับผลการกระทำ

Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้

1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ

2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ

3. Shared Vission การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มมผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มน้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภพบวกต่อองค์การ

4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ

5. System Thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ข้อจำกัดในการปรับใช้แนวคิดของ Learning Organization

Model ของ Learning Organization ไม่ได้เจาะจงวัฒนธรรมองค์การใดองค์การหนึ่งและไม่ได้วิเคราะห์ถึงข้อจำกัดด้านวัฒนธรรมองค์การทำให้ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง กระบวนการในการนำ Learning Organization ไปใช้ยังไม่ชัดเจนขาดคนที่รู้จริง

ขอบเขตของการนำ Learning Organization กว้างมากทำให้ควบคุมได้ยาก ดัชนีที่ใช้วัดองค์การที่มีความเป็น Learning Organization ไม่ชัดเจน และการใช้เวลายาวนานในการมุ่งไปสู่การเป็น Learning Organization ทำให้ขาดกำลังใจ และหากมีการเปลี่ยนผู้นำ ความสนใจที่จะกระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในองค์การจะหายไป

องค์ประกอบสำคัญของ Learning Organization จากมุมมองแบบ Capability Perspective

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีองค์การจำนวนมากที่พูดถึงแนวคิดของ Learning Organization แต่ยังขาดแนวทางและขั้นตอนที่ชัดเจนที่จะทำให้องค์การสามารถไปสู่ Learning Organization ได้อย่างแท้จริง

โดยนักเขียนจำนวนมากได้พยายามคิดค้นหาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ทั่วทั่งองค์การ และสถาปนาองค์ประกอบเหล่านี้ไม่ครบถ้วนก็ยากที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็น Learning Organization ได้อย่างสมบูรณ์

Peter Senge เป็นคนหนึ่งที่กำหนดองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับ Learning Organizationโดยร่วมกับทีมงานสรรหาองค์ประกอบที่จำเป็นจากหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกา และค้นพบวินัย 5 ประการ ที่จำเป็นสำหรับการที่จะทำให้องค์การนั้น ๆ กลายเป็น Learning Organization โดยการนำแนวคิดของ Senge ทำให้เขากลายเป็นปรมาจารย์ ด้าน Learning Organization ที่มีผู้รู้จักมากที่สุด ต่อมา Nevis และทีมงาน ได้นำเสนองานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้เปลี่ยนแนวคิดกับการพัฒนา Learning Organization ไปอย่างสิ้นเชิง และได้สรุปพื้นฐานที่สำคัญต่อการ Learning Organization ไว้ 4 ประการ คือ

1.องค์การทุกแห่งมีระบบการเรียนรู้ของตนเอง (All Organization Are Learning System)

2. รูปแบบการเรียนรู้ขององค์การสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ (Learning Comforms to Culture)

3. รูปแบบการเรียนรู้ผันแปรตามระบบการเรียนรู้ขององค์การ (Style Varies between Learning System)

4. มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ขององค์การ (Generic Processes Facilitate Learning)

มุมมองที่สองนี้ได้มององค์การในทางบวกซึ่งตรงข้ามกับมุมมองแรกโดยได้มองว่าสิ่งที่องค์การควรทำเพื่อเสริมสร้างให้เกิด Learning Organization คือ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การ การนำเอาวิธรการเรียนรู้แบบใหม่เข้าสู่องค์การจะต้องมีการพิจารณาว่าเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การหรือไม่ และจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อรูปแบบการเรียนรู้ปัจจุบันไม่สามารถสร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคู่แข่งทั้งในปัจจุบันและในอนาคตแล้วเท่านั้น

โดยที่ Div Bella และ Nevis ได้เรียกมุมมองที่สองนี้ว่า Capability Perspective คือ เป็นการสร้าง Learning Organization จะขึ้นอยู่กับสมรรถภาพขององค์การเป็นหลักและเรียกมุมมองแบบที่หนึ่ง Normative Perspective คือ ไม่ว่าจะเป็นองค์การใดแนวทางการสร้าง Learning Organization จะเป็นแบบเดียวกันหมด ซึ่งจะมีปัญหาก็คือองค์การมีความเสี่ยงต่อการต่อต้านจากพนักงานสูงมาก และระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนอาจใช้เวลานาน ทั้งนี้เนื่องมาจากองค์การแต่ละองค์การมีวัฒนธรรมองค์การที่าแตกต่างกัน การพยายามเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้อย่างสิ้นเชิงย่อมทำได้ยากและใช้ระยะเวลานานในการพัฒนาองค์การ

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้

องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ (Learning Base) โดยมีกระบวนการ ดังนี้

1. กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติการ คือ

1.1 กลยุทธ์ชี้นำ (Surge Strategy) โดยคณะผู้บริหารระดับสูงร่วมรับผิดชอบและสนับสนุน

1.2 กลยุทธ์ปลูกฝัง(Cultivate Strategy) โดยให้คณะทำงานในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ

1.3 กลยุทธ์ปฏิรูป (Transform Strategy) โดยคณะทำงานพิเศษจากทุก ๆ หน่วยงานในองค์การมาร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ

2. กำหนดแผนงานให้ชัดเจน ดังนี้

2.1 ปรับโครงสร้างในการบริหารให้เป็นการทำงานแบบทีม

2.2 จัดทำแผนทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับโครงสร้างในการบริหารงานให้มีลักษณะเป็นการทำงานเป็นทีม โดยวางแผนพัฒนาองค์ความรู้ โดยการฝึกอบรม และพัฒนาประสบการณ์พร้อมทักษะจากการเรียนรู้ในที่ทำงาน

2.3 จัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการฝึกอบรม และการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ เช่น ห้องฝึกอบรม ห้องประชุม โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น

3. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับรู้กลไกของการพัฒนาและผลกระทบทุก ๆ ด้านที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง

4. พัฒนาพื้นฐานสำคัญขององค์การเรียนรู้ดังนี้

4.1 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery) เพื่อให้เก่งในทุก ๆ ด้าน เก่งในการเรียนรู้ เก่งคิด เก่งทำ มีไหวพริบปฏิภาณ มีความเพียรพยายามตั้งแต่เยาว์วัยและใฝ่รู้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based) ที่ต้องมีการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต โดยมีการคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้

การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) ซึ่งได้แก่ความคาดหวังของแต่ละคนที่ต้องการจะให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในชีวิตของตน

มุ่งมั่นสร้างสรรค์ (Creative Tension) มีความขยัน ใฝ่ดี มีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา

ใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจ เพื่อให้มีระบบคิด และการตัดสินใจที่ดี

ฝึกใช้จิตใต้สำนึก (Subconcious) สั่งงาน เพื่อให้กากรทำงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ และได้ผลงานที่ดี

4.2 รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental Model) ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ได้สะสมมาตั้งแต่เด็กกับพื้นฐานของวุฒิภาวะทางอารมณ์ของแต่ละบุคคล ทำให้ความคิดและความเข้าใจของแต่ละคนแตกต่างกัน และหากปล่อยให้ต่างคนต่างคิดจะกลายเป็นปัญหาใหญ่เพราะมีการยึดติด กับรูปแบบและวิธีการที่ตนเองคุ้นเคย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว

4.3 การสร้างและสานวิสัยทัศน์ (Share Value) ให้ทุกคนได้รู้ได้เข้าใจ จะได้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยมีการนำวิสัยทัศน์ที่ได้สร้างขึ้นมาเป็นเป้าหมายของการกำหนดแผนกลยุทธ์ เพื่อสานให้วิสัยทัศน์เป็นจริงด้วยแผนการปฏิบัติต่อไป

4.4 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learn) เป็นการเน้นการทำงานเป็นทีมโดยให้ทุกคนในทีมงานใช้วิจารณญาณร่วมกันตลอดเวลาว่า กำลังทำงานอะไร จะทำให้ดีขึ้นอย่างไร เป็นการเรียนรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลสามัคคี ขยันคิด ขยันเรียนรู้ และขยันทำด้วยความเชื่อว่าการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะช่วยเสริมสร้างอัจฉริยะภาพของทีมงาน

4.5 ความคิดความเข้าใจเชิงระบบ (System Thinking) เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ทำให้มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นภาพรวม จะได้สามารถเผชิญกับภาวะวิกฤติ และการแข่งขันได้

5. พัฒนาพนักงานในระดับผู้นำองค์การ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าโครงการ หรือหัวหน้าทีมงาน ให้มีความเข้าใจบทบาทของผู้นำในองค์การเรียนรู้จะได้มีการปฏิบัติติให้มีคุณลักษณะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้อื่นในการปฏิบัติงานให้ราบรื่น

6. มอบหมายพันธกิจ (Mision) และกระบวนงานต่าง ๆ แก่ทีมงานเพื่อให้สามารถบริหารและรับผิดชอบด้วยตัวเองได้ เป็นการเพื่ออำนาจให้แก่พนักงาน จะได้เกิดความคล่องตัว

7. สร้างวัฒนธรรมองค์การด้านการพัฒนา และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นตลอดเวลา

8. ทำการประเมินผล (Assessment) เพื่อปรับปรุงผลงานเสมอ

Learning Organization transformation Process

ในการพัฒนา Learning Organization ในเชิง Capability Perspective ในมุมมองของ DI bella&Schein ที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ

ขั้นที่ 1 การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การและประเมินรูปแบบการเรียนรู้ มีหลายองค์การที่ประสบความล้มเหลวจาการนำโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อสร้าง Learning Organization เข้ามาใช้โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ ทั้งปัญหาการต่อต้านจากพนักงาน หรือการไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ถึงแม้จะจบสิน้นโครงการไปแล้วก็ตาม หาไม่ได้รับการวิเคราะห์ คัดเลือก วางแผน และจัดการอย่างเหมาะสม การปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization ที่มีวัฒนธรรรมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน การประเมินสถานะปัจจุบันประกอบด้วย 2 ส่วน คือการวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ และการประเมินรูปแบบการเรียนรู้

การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ (Culture Diagnosis) ได้แบ่งวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ ในระดับแรกคือ Artifacts โดยสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกตด้วยตา เช่น การจัดการแผนผัง (Layout) ของบริษัท การแต่งกายของพนักงาน

ระดับที่ 2 คือ Espaused Values เป็นค่านิยมที่ทุกคนในองค์การสื่อถึงกันว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดูกต้องควรทำ ซึ่งโดยมากจะถูกกำหนดโดยผู้นำขององค์การตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัท

ระดับที่ 3 คือ Basic Underlining Assumtion เป็นความเชื่อ การรับ ความคิด และความรู้สึกที่กำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การและเป็นระดับที่ยากที่สุดในการทำความเข้าใจและดึงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม

Schein ได้ยกตัวอย่างค่อนข้างชัดเจนที่เกี่ยวกับความซับซ้อนในการประเมินวัฒนธรรมองค์การที่จะเข้าใจวัฒนธรรมองค์การอย่างแท้จริง จะสามารุทำได้โดยการสัมภาษณ์เท่านั้น เช่นบริษัทแห่งหนึ่งมีการจัดสำนักงานแบบเปิด (Open Space)ซึ่งแสดงให้เห็นArtifacts ที่ชัดเจน ทั้งนี้เป็นเพราะองค์การให้ความสำคัญกับค่านิยม Team Work และ Communication (Espaused Values) แต่เมื่อได้สัมภาษณ์กับพนักงานหลัก ๆ ที่อยู่กับองค์การมานานกลับพบว่าระบบการประเมินผลงาน ให้รางวัลและการเลื่อนตำแหน่ง ล้วนผูกกับความสามารถส่วนบุคคลทั้งสิ้น จึงทำให้ทราบว่า Basic Underlining Assumption นั้นแท้จริงแล้วกลับเน้นที่การทำงานเพื่อปัจเจกบุคคลเป็นหลัก

การประเมินรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Orientation Assessment)

การพิจารณารูปแบบการเรียนรู้ขององค์การ (Learning Orientation) นับเป็นขึ้นตอนที่สำคัญที่ต้องทำทันทีควบคู่กันไปกับการวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ โดยองค์การจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสมรรถภาพขององค์การ โดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท คือ

1.วิธีการหาความรู้ (Knowledge Source)

2.โฟกัสที่เนื้อหาหรือที่กระบวนการ (Content -process Focus)

3.การเก็บความรู้ (Knowledge Reserve)

4.วิธีการเผยแพร่ความรู้ (Dissemination Mode)

5.ขอบเขตการเรียนรู้ (Learning Scope)

6.Value Focus

7.Learn Focus

ดังนั้น แนวคิด Learning Organization (LO) และ Knowledge Management (KM) จึงไม่สามารถแยกจากกันอย่างมีขอบเขตได้อย่างชัดเจน เพราะหากองค์การต้องการเป็น LO ก็จำเป็นต้องสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน KMให้เกิดขึ้น เพราะเป้าหมายสูงสุดที่เป็นจุดร่วมกันของ LO และ KM ก็คือการสร้างผลงาน (Performance) ให้เกิดขึ้นทั้งในระดับพนักงาน หน่วยงาน และองค์กรไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม มีความ จำเป็นที่จะต้องใช้แนวคิดในเรื่องของ LO และ KM แทบทั้งสิ้น เพราะ LO และ Km นั้นต่างก็เป็นแรงในการขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น

ขอบคุณท่านอาจารย์มากค่ะ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค :  องค์กรแห่งการเรียนรู้
  
  องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์กรที่ทำงานผลิตผลงานไปพร้อม ๆ กับ
เกิดการเรียนรู้ สั่งสมความรู้ และสร้างความรู้จากประสบการณ์ในการทำงาน พัฒนาวิธีทำงานและระบบงานขององค์กรไปพร้อมๆ กัน ดังเช่น  การดำเนินงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามทฤษฎี 4L’s , 8K’s , 5K’s , Peter Sange เพื่อไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
      ผลลัพธ์ (Output) ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ผลงานตามภารกิจที่กำหนด การสร้างศาสตร์หรือสร้างความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจขององค์กรนั้น รวมทั้งการสร้างคน อันได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร หรือมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์กร จะเกิดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยอาศัยการทำงานเป็นฐาน
      องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะเป็นพลวัต (dynamic) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้านต่าง ๆ คล้ายมีชีวิต มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรม (innovation) รวมทั้งมีบุคลิกขององค์กร ในลักษณะที่เรียกว่า วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์สามารถรู้สึกได้  เช่น  การที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้เน้นกิจกรรมด้านสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกเป็นการคืนกำไรให้กับสังคม พร้อมทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคนภายนอกได้รู้จักมากขึ้น  เช่น  นักประหยัดตัวน้อย   ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ    มิเตอร์เพื่อผู้ยากไร้    พลังงานแสงอาทิตย์  เป็นต้น
      การสร้างศาสตร์ หรือความรู้ ที่หลากหลาย ทั้งที่เกี่ยวกับงานที่เป็นเนื้องานขององค์กรนั้น   ศาสตร์ด้านการจัดการ ศาสตร์ด้านองค์กรเรียนรู้ ศาสตร์เกี่ยวกับบุคคลเรียนรู้ เป็นต้น โดยอาจร่วมมือกับหน่วยงานวิชาการหรือองค์กรเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อการสร้างศาสตร์เหล่านี้บนฐานวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย 
      การสร้างคน เพื่อให้มีความรู้และทักษะอันเกี่ยวกับงานขององค์กรและมีเจตคติ โลกทัศน์ วิธีคิดในลักษณะของ "บุคคลเรียนรู้" (Learning Person) รวมทั้งมีทักษะของการเป็นบุคคลเรียนรู้
     องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่ "ประหยัดพลังงาน" เพราะมีความสามารถในการ "รวมพลังภายใน" (องค์กร) และดึงดูดพลังจากภายนอก (องค์กร) เข้ามาใช้ในการสร้างผลลัพธ์ขององค์กร
• องค์กรแห่งการเรียนรู้ พัฒนาสร้างสรรค์องค์กรโดยการผลิตผลงาน สร้างศาสตร์ และสร้างคน
• องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกองค์กรอย่างชาญฉลาด
• องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันจากการกระทำ (interactive learning through action) ทั้งในหมู่บุคลากร และระหว่างองค์กรกับภายนอก

 

ลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย
  1.  มีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และค่านิยมร่วมกัน
  2.  มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร
  3.  พนักงานทุกคนมีส่วนสร้างและถ่ายโอนความรู้
  4.  มีเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
  5.  มุ่งเน้นคุณภาพตามสายตาลูกค้า
  6.  มีบรรยากาศเกื้อหนุนต่อการพัฒนาสมรรถนะ
  7.  มีการทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม
  8.  มีมุมมองในภาพรวมทั้งระบบที่สัมพันธ์กับงาน
คำถามที่ 1  โครงการใน Phase 1  กับ  Phase 2 ต่างกันอย่างไร
 โครงการใน  Phase 1  จะเป็นโครงการอบรมให้ความรู้กับพนักงานในเรื่องการสร้างความตระหนักในเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการปฏิบัติการทำ  Workshop  และมีการทำงานในลักษณะ  On  The  Job  Training  คือการอบรมชี้แนะและปฏิบัติงานอย่างมีแบบแผน  และในส่วนที่ 2 เป็นเรื่องของการติดตามและประเมินผลความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนางาน ทั้งนี้เพื่อให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยการนำของท่านศาสตราจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์
คำถามที่ 2  ทำไม  Phase 2  ต้องทำวิจัย  และมีอะไรบ้าง
การดำเนินงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ
ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นกลไกผลักดันให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารได้อย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจหลักของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สามารถขยายผลและเติบโตรวมถึงสร้างหน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารให้มีศักยภาพสูงขึ้นและสามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้  ทั้งนี้ในด้าน  ยุทธศาสตร์ที่ 4  ได้มุ่งพัฒนาทุนมนุษย์ และทุนทางปัญญาทางด้าน ICT เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ควบคู่ไปกับการมุ่งพัฒนาวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ และการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร (Knowledge Excellence)  และได้กำหนดแผนงานที่ 6 : Knowledge Management Support   ซึ่งเป็นแผนงานพัฒนาระบบที่สนับสนุนการสั่งสมองค์ความรู้และการพัฒนาเรียนรู้ของพนักงาน เพื่อใช้องค์ความรู้ที่สั่งสมในการปรับปรุงการปฏิบัติงานและพัฒนาองค์กร
ดังนั้นการพัฒนาในระยะที่ 2  จึงเพื่อพัฒนาให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ดังนั้นโครงการในเฟส 2 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจและติดตามความสำเร็จที่เกิดขึ้น  ดังเช่นที่  ท่านศาสตราจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ได้ริเริ่มโครงการการตรวจและติดตามผลการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งท่านได้ไปสร้างความสนใจและความตื่นตัวในเรื่อง Knowledge Management (KM) ไปสู่ วัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization หรือ LO)   โครงการเหล่านี้จะเกิดผลสำเร็จ ต้องวัดผลและต้องต่อเนื่อง เพราะความรู้จะต้องสร้างผลประกอบการที่ดีให้องค์กร นำไปใช้ปฏิบัติ และต้องวัดผลได้   ซึ่งท่านศาสตราจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ได้รับเกียรติจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ให้ดำเนินการทำวิจัย ติดตามประเมินผล ชื่อโครงการว่า Knowledge Auditing and Monitoring ซึ่งได้มีการส่งแบบสอบถามไปยังบุคคลที่เคยเรียนรู้กับท่าน เรื่อง
"การสร้างความตระหนักเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้" ว่าหลังจากที่เรียนแล้วมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาอย่างไร โดยจะแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ คือ

 - ระดับบุคคล/ตนเอง

 - ระดับองค์กร

 - ระดับชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ และการสร้างให้เกิด CSR
คำถามที่ 3  การทำ Questionnaire  มีจุดอ่อนอะไรบ้าง
 การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ เกือบ 80% ในปัจจุบันนิยมใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล  แม้ว่าแบบสอบถามจะมีข้อดีแต่แบบสอบถามก็มีจุดอ่อนหลายประการ ดังนี้
1.  การตอบแบบประเมินถ้าข้อคำถามมีผลกระทบต่อตัวผู้ตอบ  เช่น  ด้านการเลื่อนขั้นเงินเดือน   การเลื่อนตำแหน่ง ก็อาจจะทำให้ได้รับผลการประเมินที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
2.  มีข้อคำถามได้จำนวนจำกัด เพราะโดยปกติแบบสอบถามควรมีขนาดสั้น  กระทัดรัด
3.  คนบางคนมีความลำเอียงในการตอบแบบสอบถามเนื่องจากได้รับบ่อย หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับแบบสอบถามที่ไม่ดีมาก่อน จึงไม่อยากตอบ
4.  แบบสอบถามที่ได้รับคืนมานั้น ผู้วิเคราะห์ไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้ตอบแบบสอบถามนั้น จากการวิจัยพบว่าประมาณ 10% ของแบบสอบถามที่ได้รับคืนเป็นแบบที่ตอบโดยผู้อื่น
5.  ผู้ตอบที่ไม่เห็นความสำคัญอาจตอบแบบสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ  ซึ่งอาจส่งผลต่อข้อมูลที่ได้รับ

คำถามที่ 4  ถ้าอยากจะปรับปรุง  Questionnaire  เสนอมาว่าจะปรับปรุงอย่างไร

จากการศึกษาแบบสอบดังกล่าวคิดว่าควรใช้แบบสอบถามควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อค้นหาข้อมูลทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถาม  ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่กระจ่างชัดมากและทำให้ทราบถึงทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถาม
ทั้งนี้จากการศึกษาตารางสรุปแบบสอบถามเพื่อติดตามผลการเรียนรู้จากโครงการ Learning  Organization  Awareness  และการนำความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม  ซึ่งได้สอบถามในด้านพฤติกรรมที่เป็นส่วนช่วยสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  และได้วิเคราะห์ผลออกเป็น 3 ระดับ คือ

 - ระดับบุคคล/ตนเอง

 - ระดับองค์กร

 - ระดับชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ และการสร้างให้เกิด CSR
 ในข้อคำถามควรมีการเชื่อมโยงวินัย  5  ประการ  สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ซึ่งวินัย 5 ประการ ของนายปีเตอร์ เซ็งเก ที่เรียกว่า The Fifth Discipline ถ้าแปลตรงตัวจะหมายถึง วินัยตัวที่ 5 อย่างไรก็ตามการที่จะเข้าถึงวินัยตัวที่ 5 ได้นั้น ต้องมีวินัย 4 ตัวแรกก่อน โดยสรุป คือ วินัยของพนักงานในองค์กรที่เป็น Learning Organization
วินัย 5 ประการ ประกอบด้วย
  1.Mental Models (เริ่มที่ใจ):
  -เปิดใจ รับฟัง
  -แสวงหาสิ่งที่ดีกว่ามาปรับใช้
  -มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้
  -กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นตัวเองออกมา
  -มีหัวใจนักปราชญ์: สุ จิ ปุ ลิ
  2.Personal Mastery (ใฝ่พัฒนาตน):
  -ยกระดับมาตรฐาน ตัวเองตลอดเวลา
  -กำหนดเป้าหมายชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน
  3.Building Shared Vision (ร่วมสานวิสัยทัศน์)
  -สร้างวิสัยทัศน์ร่วม
  -ปรับวิสัยทัศน์ส่วนตน -> วิสัยทัศน์กลุ่ม -> วิสัยทัศน์องค์กร
  -เริ่มที่ใจ ของกลุ่มคน
  4.Team Learning (สร้างสรรค์เป็นทีม):
  -เรียนรู้เป็นทีม และร่วมสร้างผลงาน
  -วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
  5.Systems Thinking (คิดทั้งระบบ)
  -คิดเป็นระบบ
  -คำนึงถึงผลกระทบ ผลดี ผลเสีย ต่อระบบอื่นในองค์กร
  -เครือข่ายของระบบงาน

ซึ่งวินัยข้อ 1  และ  2  เกี่ยวข้องกับระดับบุคคล/ตนเอง  ข้อ 3  และ  4  เกี่ยวข้องกับระดับองค์กร และข้อสุดท้ายเกี่ยวข้องกับระดับชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ และการสร้างให้เกิด CSR
เหตุที่ใช้คำว่า "วินัย" เพราะเปรียบเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติของพนักงานในองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่แม้ไม่ตรงกับธรรมชาติของตัวเอง แต่ต้องปฏิบัติตามเมื่อมาอยู่ในองค์กรนั้น จนกลายเป็นนิสัยในที่สุด

“ทุกคนคือผู้เรียน ทุกสิ่งคือบทเรียน ทุกที่คือห้องเรียน ทุกเมื่อคือเวลาเรียน”

นางสาวพีชะพะงา  นิรัตติมานนท์ ศูนย์ภูเก็ต

คำถามข้อที่ 1 โครงการใน Phase 1 กับ Phase 2 ต่างกันอย่างไร 

                    สำหรับ โครงการใน Phase 1 จะเป็นโครงการอบรมให้ความรู้กับพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในเรื่องการสร้างความตระหนักแห่งองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีศาสตราจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ มารับหน้าที่ประสานความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในลักษณะการทำ Workshop แล้วนำปัญหาที่ได้ไปเสนอความคิดใหม่ ๆ ซึ่งได้จัดมาทั้งสิ้น 12 ครั้งทั่วประเทศ  ในขณะที่ โครงการใน Phase 2 จะเป็นการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยมุ่งหวังให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  (กฟภ.)เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่สามารถวัดผลได้

          สำหรับโครงการใน Phase 1 ได้มีการเชื่อมโยงทฤษฏีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทฤษฎี 4 L’s, 7 Habits, Peter Senge ผนวกเข้ากับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ มี Workshop ให้ผู้เข้าร่วมอบรม ร่วมวิเคราะห์ SWOT ก่อนว่า กฟภ. ควรก้าวในทิศทางใด  ตลอดจนมีกิจกรรม TEAM BUIDING กิจกรรมที่พนักงานคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรู้สึกดีดีที่มีต่อกัน บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกันโดยโดยสิ่งที่ต้องการเห็นคือ “ความสามัคคี” ในองค์กรเกิดความรักความผูกพัน โดยมุ่งหวังความสำเร็จร่วมกัน เพื่อมุ่งเป็นองค์กรชั้นนำของประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการทำ Knowledge Management (KM)  ไปสู่ วัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization หรือ LO) ซึ่งจัดกิจกรรมในรูปแบบ On the job training กับพนักงานของ กฟภ. 

          ในขณะที่โครงการใน Phase 2 เป็นการเพิ่มมูลค่าที่เกิดขึ้น จากการพบกันครั้งที่สอง คือ เป็นการกระตุ้นเตือนให้เราไม่ละเลยสิ่งที่เราได้เคย "ตระหนักที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ" จากการพบกันครั้งแรก เมื่อเวลาผ่านไป เราอาจจะละเลยลืมเลือน อาจจะด้วยหน้าที่การงานที่วุ่นวายในแต่ละวัน การพบกันครั้งนี้ จึงทำให้ เรายิ่งเห็นความชัดเจน ความจำเป็น ความสำคัญ ของการเรียนรู้ตลอดเวลา และเรียนรู้จากผู้อื่น พร้อมแบ่งปันความรู้ของเราให้ผู้อื่นด้วยเช่นกัน  

คำถามข้อที่ 2 ทำไม Phase 2 ต้องทำวิจัย และมีอะไรบ้าง 
 
         องค์การเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน

          การมีองค์การแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน

          โครงการเหล่านี้สำเร็จ ต้องวัดผลและต้องต่อเนื่อง เพราะความรู้จะต้องสร้างผลประกอบการที่ดีให้องค์กร นำไปใช้ปฏิบัติ และต้องวัดผลได้ จึง ได้เกิดโครงการตรวจและติดตามผลการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Audit & Monitoring) ครั้งที่ 1 ที่พิษณุโลก           โดยได้มีการประเมินผลจากแบบสอบถาม "การสร้างความตระหนักเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้" ในระดับบุคคล/ตนเอง ระดับองค์กร ระดับชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ และการสร้างให้เกิด CSR นอกจากนี้ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านมาร่วมแสดงความคิดเห็น

          ดังนั้นโครงการใน Phase 2 มุ่งเน้นกระบวนการทำวิจัย เพราะการทำวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่น่าเชื่อถือ เป็นระบบ และสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้  โดยอยู่ภายใต้ขอบเขต ในด้านระบบการผลิตไฟฟ้า สถานีลานไกและสถานีไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้าและระบบจำหน่ายไฟฟ้า ระบบค้าปลีกไฟฟ้าและระบบบริการผู้ใช้ไฟฟ้า ตลอดจนการพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้าและการสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

คำถามข้อที่ 3 การทำ Questionnaire มีจุดอ่อนอะไรบ้าง

          การทำ Questionnaire มีจุดอ่อน คือ หากผู้ตอบแบบสอบถามไม่ตรงกับความเป็นจริง จะทำให้ได้ผลลัพธ์ของข้อมูลไม่ถูกต้อง และหากผู้ตอบแบบสอบถามขาดความจริงใจผลของข้อมูลอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ 

คำถามข้อที่ 4 ถ้าต้องการปรับปรุง Questionnaire เสนอมาว่าจะต้องปรับปรุงอย่างไร 

ตารางสรุปแบบสอบถามเพื่อติดตามผลการเรียนรู้จากโครงการ Learning Organization Awareness และการนำความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

ขอบเขตของการนำ Learning Organization กว้างมากทำให้ควบคุมได้ยาก ดัชนีที่ใช้วัดองค์การที่มีความเป็น Learning Organization ไม่ชัดเจน อย่างไรก็วิจัยเฉพาะแบบสอบถาม อาจไม่เพียงพอต่อการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยควรใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพมาร่วมด้วยไม่ว่า จะเป็นการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวัดผลสะท้อนกลับจากลูกค้า เป็นต้น

          โดยใช้หลักของ Peter Senge ซึ่งเชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้

1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vision) เมื่อลงมือกระทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ   

          แนวในการตั้งคำถามเพื่องานวิจัย

          — วิสัยทัศน์แห่งตน (personal vision)
          — การเชื่อมโยงระหว่างตนและโลก
          — ความเมตตากรุณา
          — การอุทิศตนเพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ฯลฯ

2. Mental Model มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ

          แนวในการตั้งคำถามเพื่องานวิจัย

          — รูปแบบทางอารมณ์
          — รูปแบบการคิด ฯลฯ   

3. Shared Vision การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มเน้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภาพบวกต่อองค์การ

          แนวในการตั้งคำถามเพื่องานวิจัย
          — ความคิดเชิงบวก
          — ความคิดสร้างสรรค์
          — การสื่อสาร ฯลฯ

4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ

          แนวในการตั้งคำถามเพื่องานวิจัย

          — ความเต็มใจในความร่วมมือ
          — ความเชื่อใจซึ่งกันและกัน
          — การยอมรับนับถือ
          — การเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกับเป้าหมาย ฯลฯ

5. System Thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

          แนวในการตั้งคำถามเพื่องานวิจัย

          — การคิดเป็นระบบ

          — การจิตภาพในอนาคต

          — การเรียงลำดับความสำคัญของงาน  ฯลฯ

          การพิจารณารูปแบบการเรียนรู้ขององค์การ (Learning Orientation) นับเป็นขึ้นตอนที่สำคัญที่ต้องทำทันทีควบคู่กันไปกับการวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ โดยองค์การจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสมรรถภาพขององค์การ โดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท คือ

          1.วิธีการหาความรู้ (Knowledge Source)

2.โฟกัสที่เนื้อหาหรือที่กระบวนการ (Content -process Focus)

3.การเก็บความรู้ (Knowledge Reserve)

4.วิธีการเผยแพร่ความรู้ (Dissemination Mode)

5.ขอบเขตการเรียนรู้ (Learning Scope)

6.Value Focus

7.Learn Focus

ดังนั้นแนวในการตั้งคำถามวิจัยควรให้ครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน  ข้างต้น 

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์ ศูนย์ภูเก็ต ^___^

นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัส 53484931011

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

เรื่อง การไฟฟ้า (กฟภ)

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำถามที่ 1 : โครงการใน Phase1 กับ Phase2 แตก

ต่างกันอย่างไร ดิฉันได้ศึกษาการไฟฟ้า (กฟภ) โดยโครงการ Phaseที่1 ดิฉันคิดว่าเป็นโครงการให้ความรู้ กับ พนักงาน ในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยการปฏิบัติงาน ลักษณะการเรียนรู้ "Workshop" ในลักษณะการเรียนรู้ ประกอบด้วย

1.)มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายและค่านิยม ร่วมกัน 2.)มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ในองค์กร

3.)การถ่ายโอนความรู้ 4.)มีเทคโนโลยีการเรียนรู้ 5.)บรรยากาศเกื้อหนุ่นต่อการพัฒนาสมรรถนะ 6.)การทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างสรรค์นวัฒกรรม 7.)มุนมองในภาพรวมทั้งระบบที่สัมพันธ์กับงาน การทำงานในลักษณะ "on the Traning" โดยการอบรมชี้แนะและปฏิบัติงานอย่างมีแบบแผน รวมทั้งเป็นเรื่องการติดตามและประเมินผลความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนางาน ประเด็นนี้ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) เป็น Social Development สังคมร่วมใจ เกิดองค์การเรียนรู้ 4L'S

1.)Learning Methadology 2.)Learning Environment 3.)Learning Opportunities 4.)Learning Communities สรุป Phaseที่1 ดิฉันคิดว่า Workshop ของ "กฟภ" พบว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้จะมีลักษณะเป็นพลวัต (dynamic)

วัฒนธรรมองค์กร (Corporote Calture) การที่ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค "กฟภ" ได้ดำเนินกิจกรรมด้านสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกเป็นการคืนกำไรให้สังคมภายนอกได้รู้จักมากขึ้น อทิเช่น นักประหยัดตัวน้อย "ประหยัดไฟกำไร2ต่อมิเตอร์เพื่อผู้ยากไร" "พลังงานแสงอาทิตย์" ใน Phaseที่1 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค "กฟภ" มีพันธกิจ การไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม มีวิสันทัศน์ (Vision)ประกอบด้วย 1.)ทิศทางขององค์กร หรือทิศทางเชิงกลยุทธ์

2.)การมองคนใดคนหนึ่งมาไปข้างหน้า 3.)ความสามารถของคนใดคนหนึ่งมองในอนาคตได้อย่างชัดเจนแต่ใน Phaseที่1 และ Phaseที่2 มีความแตกต่างกัน พบว่า Phaseที่1 ได้แก่ การอบรมชี้แนะและปฏิบัติงานมีแบบแผน แต่ Phaseที2 ได้แก่การติดตามและประเมินผลความสำเร็จ ในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนางาน

คำถามที่2 : ทำไม่ Phaseที่2 ต้องทำวิจัยและมีอะไรบ้าง ดิฉันคิดว่าการทำงานใน

Phaseที่2 ของการไฟฟ้า (กฟภ)ใช้เทคโนโลยีโดยใช้สารสนเทศและสือสาร ให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่4 ได้มุ่งพัฒนาทุนมนุษย์และทุนปัญญาทางด้าน ICT เพื่อพัฒนาความสามารถและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรควบคู่ กันไปองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Culture)หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้

(Learning Organization)หรือ LO โครงการเหล้านี้เกิดผลสำเร็จ ต้องวัดผลแบบต่อเนื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)ได้ดำเนินการวิจัย ชื่อโครงการว่า Knowledge Auditing and Monitoring แบบสอบถามไปยังบุคคลที่เคยเรียนรู้กับท่านเรื่อง

"การสร้างความตระหนักเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้" ว่าหลังจากที่เรียนแล้วมรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของเขาอย่างไร โดยจะแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นระดับ 1.)ระดับบุคคลตนเอง

2.)ระดับองค์กร 3.)ระดับชุมชน สรุป Phaseที่2 ได้แก่

1.)ทุนที่เกิดจากความรู้ได้จากประสบการณ์ (Hand)

2.)ทุนที่เกิดจากความคิดวิเคราะห์หาเหตุผลที่ถูกที่ควร (Head)

3.)ทุนที่เกิดจากความรู้สึกของเรา (Heart)ดิฉันคิดว่า Phaseที่2 ประกอบด้วย

1.)สื่อสร้างสรรค์ 2.)คนสร้างสรรค์ 3.)สภาพแวดล้อมสร้างสรรค์พร้อมทั้งนี้ Phaseที่2

งานวิจัยโดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นระดับ มี 5 ขั้นตอน 1.)กำหนดกรอบอัตรากำลัง

(Profiling) 2.)ประมาณการจำนวน (Estimating)

3.)การจัดทำประวัติ (Inventorying) 4.)การคาดการณ์ (Forccasting)

5.)การวางแผน (Planning)สอดดล้อง Phaseที่2 ได้แก่ 1.)Need Aeccss

2.)Job Satisfaction 3.)Morale in work 4.)Shared/Common Value

5.)Emponcrment Phaseที่2 สอดคล้องกับปัจจัยดังนี้คือ 1.)Put First Things

first ทำสิ่งที่สำคัญก่อน 2.)Begin with the end in mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ

ฉะนั้น "ยิ้มให้วันพรุ่งนี้ที่ต้องสู่ ยิ้มให้การยิ้มอยู่ยังมีหวัง ยิ้มให้ใจอ่อนล้ามีกำลัง ยิ้มให้กันอีกครั้งอย่าตั้งใจ"

คำถามที่3:การทำ Questionnaine มีจุดอ่อนอะไรบ้าง

ดิฉันคิดว่าการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์จากการศึกษา พบว่า แบบสอบถาม (Questonnaire)เป็นเครื่องมือ ในการรวบรวมข้อมูลแม้มีแบบสอบถามข้อดี แต่ แบบสอบถามก็มีจุดอ่อนหลายประการดังนี้ 1.)การตอบแบบสอบถาม ถ้าข้อคำถามมีผลกระทบต่อตัวผู้ตอบ อทิเช่น แบบสอบถาม Questionnaire เกี่ยวกับ เงินเดือน ฯลฯ

2.)มีข้อคำถามได้จำนวนจำกัด ดิฉันคิดว่าแบบสอบถามควรมีใจความสั้นกระทัดรัด

3.)คนบางคนลำเอียงตอบแบบสอบถาม (Questionnaire)ไม่ดีมาก่อน จึงไม่ยากตอบ

4.)แบบสอบถาม (Questionnaire)ไม่สามารถทราบว่าใครเป็นผู้ตอบ

5.)ผู้ตอบแบบสอบถามไม่เห็นความสำคัญ สรุป การทำ Questionnaing พบว่า "คนสำคัญที่สุดคือคนที่อยู่เบื่องหน้าเรา" และ "งานสำคัญสุดคือ งานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้"

หรือ "Sharpon the Saw ลับเลื่อยให้คม" ดิฉันคิดว่าการทำ Questionnaire สอดคล้องทฤษฎี 5E'S ประกอบด้วย 1.)Exmple 2.)Experience

3.)Education 4.)Environment 5.)Evaluation

คำถามที่4 : ถ้าอยากจะปรับปรุง Questionnaire เสนอว่าจะปรับปรุงอย่างไร ดิฉันคิดว่าในการศึกษาแบบสอบถามดังกล่าวนั้นคิดว่าควรใช้แบบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อค้นหาข้อมูลทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่กระจางชัดมากและทำให้ทราบถึง ทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนความรู้เป็นผู้สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้ตอบแบบสอบถามในด้านพฤติกรรมเป็นส่วนช่วยสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย

1.)วิธีการหาความรู้ (Knowlcdge Source) 2.)การเก็บความรู้ (Knowledgc Reserve) 3.)วิธีการเผยแพร่ความรู้ (Disscmin ation Mode)

4.)ขอบเขตการเรียนรู้ (Learning Scope)สอดคล้องกับการปรับปรุง Questionnaire ด้วยปัจจัยดังนี้ 1.)มองอะไรกว้างขึ้น 2.)มองอะไรที่ข้าม Silo

3.)มองอะไรที่ประชาชนได้ประโยชน์ 4.)ใช้ศักยภาพแบบ Soft Skill มากกว่า Hard

Skill สรุป ถ้าอยากจะปรับปรุง Questionnairc ควรมีองค์ประกอบดังนี้ได้แก่

1.)คุณธรรมจริยธรรม 2.)ความรู้ที่กว้างไกล 3.)มีความเป็นผู้นำ 4.)บริหารจัดการได้ดี

5.)ดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหา รวมทั้ง 3 ประการดังนี้ 1.)Personal Mastery

2.)Mental Model 3.)Shared Vision ดิฉันคิดว่าในประเด็นนี้ การปรับปรุง

Questionnaire ต้องเชื่อมโยงวินัย 5 ประการของ Peter Sange เรียกว่า The fifth Disciplinc โดยสรุปเป็นวินัยของพนักงานในองค์กรที่เป็น Learning Organization 5 ประการคือ

1.)Mental Models เริ่มที่ใจ ประกอบด้วย

1.1)เปิดใจรับฟัง 1.2)แสวงหาสิ่งที่ดีกว่ามาปรับใช้ 1.3)มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้

1.4)กล้าที่จะแสดงความคิดเป็นตัวเองออกมา 1.5)มีหัวใจนักปราชญา

2.)Building Shared Vision ร่วมสานวิสัยทัศน์

2.1)สร้างวิสัยทัศน์ร่วม 2.2)ปรับวิสัยทัศน์ส่วนตน 2.3)เริ่มที่ใจของกลุ่มคน

3.)Team Learning สร้างสรรค์เป็นทีมประกอบด้วย

3.1)เรียนรู้เป็นทีมและร่วมสร้างผลงาน

3.2)วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์

4.)Systems Thinking คิดทั้งระบบประกอบด้วย

4.1)คิดเป็นระบบ

4.2)คำนึงถึงผลกระทบ ผลดีผลเสียต่อระบบอื่นในองค์กร

4.3)เครือข่ายของระบบงาน

ดิฉันคิดว่าวินัยข้อ 1 และ ข้อ 2 เกี่ยวข้องกับระดับบุคคล/ตนเอง ข้อ3 และ ข้อ 4 เกี่ยวกับระดับองค์กรและข้อสุดท้ายเกี่ยวกับระดับชุมชนสังคมและประเทศชาติและการสร้างให้เกิด CSR สอดคล้องการปรับปรุง Questionnaine ด้วยเหตุที่ใช้ คำว่า "วินัย" เพราะเปรียบเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ ของพนักงาน การไฟฟ้า (กฟภ)ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แม้ไปตรงกับธรรมชาติของตัวเองฉะนั้น คำถามที่1 ถึงคำถามที่4 ดิฉันคิดว่าควรมีปัจจัย ดังนี

1.)มีคำตอบชัดเจน 2.)เปิดใจรับเรื่องใหม่ 3.)เดืนไปข้างหน้าไม่รอช้า

4.)อย่าคาดคั่นทุกคำตอบ 5.)ไม่คิดว่าตนถูกทุกเวลา

ท้ายสุดนี้ดิฉันคิดว่าการศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)มี 2 ประเด็นคือ

1.)Tacit Kaowledge 2.)Explicit Knowledge รวมทั้งปัจจัยดังนี้ได้แก่

1.)Integrity (ความถูกต้อง) 2.)Imagination (จินตนาการณ์)

3.)Inovation (นวัตกรรม)นอกจากนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)ต้องมีปัจจัยดังนี้

1.)การสำรวจความรู้ภายในองค์กร 2.)การวางแผน 3.)การพัฒนาความรู้

4.)การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transter)และ

5.)การแบ่งบันความรู้ (Knowledge Sharing)

6.)การเรียนรู้ ร่วมกันของคนในองค์การ (Team Learning)ดิฉันคิดว่า ในข้อที่1 ถึง

ข้อที่4 สอดคล้องกับ 1.)องค์ประกอบทางปัญญา (Cognition) ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบของความรู้ (Moral reasoning);มิติความรู้ (Knowledge)รวมทั้งความคิดทางจริยธรรม (Moral thought) และ 2.)องค์ประกอบทางอารมณ์ (Attection)ด้วยส่วนประกอบของอารมณ์ความรู้สึก (Moral attitude and bdicf และ มติความรู้สึก

Feeling)รวมทั้งความรู้สึกทางจริยธรรม (Moral feeline); การเรียนรู้จากการสัมภาษณ์ (Intervicw); การเรียนรู้ด้วยการสังเกต (observation); การเรียนรู้ถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report หรือ ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกิดไป

(Afixationonevcnts)รวมทั้ง The Myth of Manag ement team and the

boiled frog Syndrome ในการเรียนรู้จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)ประกอบด้วย

1.)ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) 2.)ความรู้ที่ขัดแย้ง

(Explicit Knowledge) โดยสอดคล้องกับ Peter Senge 2 ประเด็นได้แก่

1.)มุ่งสูความเป็นเลิศ (Personnal Mastery) 2.)วิสัยทัศน์ส่วนตน (Pcrsonal Vission) ขอบคุณ!ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์

มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

จากวังน้ำเขียวถึงเขาใหญ่ อนันต์ สุดขำ

ในช่วง Long week end วันรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา มีโอกาสไปทำกิจกรรมพบปะศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่อำเภอวังน้ำเขียว ผ่านถนนสายเขาแผงม้า-ปากช่อง

ต้องตลึงตึงๆ กับจำนวนผู้คนที่หลั่งไหลเข้าจับจองที่นั่งในร้านอาหารต่างๆ ริมสองข้างทางแน่นขนัด ที่พักรีสอร์ตเช่นกันเต็มหมด ทะเบียนรถส่วนใหญ่กรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นว่า แม้ชาวภาคกลาง คนกรุงเทพจะเจอภาวะวิกฤตน้ำท่วมก็ออกจากบ้าน หาโอกาสพักผ่อน คลายความเครียด

ภาพที่น่าคิดอย่างยิ่งนี้ทำให้คิดว่า พื้นที่วังน้ำเขียวสายเขาแผงม้า-เขาใหญ่ระยะทาง 60กว่ากิโลเมตรหากมีการจัดระเบียบให้ดี เป็นพื้นที่พิเศษ ปลูกไม้ยืนต้นรักษาธรรมชาติเอาไว้ให้มากที่สุดรัศมีถนนสายนี้ แล้วเปลี่ยนเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ให้ประชาชน ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ กำหนดกั้นแนวเขตให้ชัดเจนจะเป็นพื้นที่ๆดีที่สุด เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกที่หนึ่ง ในระยะไม่ไกลจากกรุงเทพ ขึ้นเหวนรก น้ำตกเหวสุวัฒน์ ส่องสัตว์ที่เขาใหญ่ พักผ่อนหลับนอนชื่นชมธรรมชาติมวลแมกไม้แสนสวยผ่อนคลายตามถนนสายเขาแผงม้าวังน้ำเขียว ซื้อผ้าไหมอำเภอปักธงชัย เชื่อมโยง ดินเผาด่านเกวียน เวียนชมปราสาทหินพิมาย กลับมาไหว้สักการะย่าโมที่เมืองโคราช กลับบ้านซื้อของฝาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านก็แนะนำว่า ต้องปลุกให้คนวังน้ำเขียว รักธรรมชาติ รักที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยไม่บุกรุกหรือทำลายธรรมชาติแบบพอเพียงไม่เอาเงินนำหน้า ให้มีความสุขอย่างพอเพียง เป็นทุนทางความสุข(Happiness capital) ข่าวการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่บุกรุกป่าไม้ ไม่ได้ทำให้ผู้คนตกอกตกใจกลัวแต่อย่างใด น่าคิดว่าคนวิ่งหาธรรมชาติ บางทีก็ทำลายธรรมชาติ สู้ธรรมชาติ น่าคิดนะว่า เราพึงจะอยู่กับธรรมชาติอย่างไรให้มีความสุขแต่เป็นความสุขที่ยั่งยืน

 

ดิฉันนางจงดี  พฤกษารักษ์  เป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัตกรรมการจัดการ  มหาวิทยาราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) และดิฉันเป็นครูของวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตได้นำนักศึกษาจัดกิจกรรมนันทนาการให้ผู้สูงอายุสร้างความเพลิดเพลินสนุกสน่านพร้อมทั้งเลี้ยงอาหารและมอบของขวัญให้ผู้สูงอายุ ณ.บ้านพักคนชราจังหวัดภูเก็ต    ดิฉันได้นำทฤษฏี 5Eได้แก่ 1).Exmple 2).Expcriemce3).Eaucationment4).Environment4).Evaluationและดิฉันใช้ทฤษฏี4Rolesประกอบด้วย1).Path finding 2).Aligning3).Empowering4).Role model 4Rolesประกอบด้วย1).Path finding 2)finding 2).Aligning3).Empowering4).Role model

 ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

 

ดิฉันนางจงดี  พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัฒกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต) ดิฉันเป็นครูวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตนำนักศึกษาบริการความรู้การนำใบตองมาผลิตเป็นภาชนะและกระทงในรูปลักษณะต่างๆเพื่อลดภาวะโลกร้อนโดยดิฉันได้นำทฤษฎีของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์มาใช้ได้แก่1).Personal  Mastery 2).Mental Models3).Shared Vision 4).Team Learning5).System Thinking ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

 

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขานวัฒกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)  ดิฉันเป็นครูวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตนำนักศึกษาเทิดพระเกีรยติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวพร้อมปลูกป่าและถือศีลถวายเป็นพระราชกุศลโดยนำทฤษฎี8Hได้แก่ 1).Heritage2).Home3).Hand4).Head5).Heart6).Happiness7).Harmony8).Health

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

 

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)และดิฉันเป็นครูวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตนำนักศึกษาทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมทั้งนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์สอนมาใช้เกี่ยวกับความดี4ประเด็นได้แก่1).เก่งงาน2).เก่งคน3).เก่งคิด4).เก่งเรียนและดี4ประเด็นได้แก่1).ประพฤติดี2).มีน้ำใจ3).ใฝ่ความรู้4).มีคุณธรรม

 

 

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขานัวตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)ดิฉันเป็นครูวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตนำนักศึกษาใช้เวลาว่างเกิดประโยชน์และนำทฤษฎีได้รับการถ่ายทอดศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 4E1).ENERGY 2).ENCRGIZE3).EDGE4).EXECUTION

 ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

ฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขานัวตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาศูนย์ภูเก็ต ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

 

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

 

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

 

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

 

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ เป็นนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์ภูเก็ต)นำนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตทำกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพกับผู้สูงอายุเลี้ยงอาหารพร้อมมอบของขวัญให้ผูสูงอายุจังหวัดภูเก็ตนำทฤษฎีท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ประกอบด้วย 4 ประเด็น1).Sustainability2).Wisdom3).Creativity4).Innovation

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท