ป.เอก นวัตกรรมการจัดการรุ่นที่ 5 ที่สวนสุนันทา


สวัสดีครับนักศึกษา ป.เอก รุ่น5 ทั้งที่อยู่ในกรุงเทพและศูนย์ต่างจังหวัด รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ผมได้รับเกียรติมาสอน เเละมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทาง มรภ.สวนสุนันทาได้พัฒนาการสอนเป็นเเบบการถ่ายทอดทางไกลไปที่ต่างจังหวัดอีก 3 ศูนย์ คือที่...
มีต่อ
นางสาวน้ำผึ้ง คะเชนทน (สวนสุนันทา กทม.)

ยินดีที่ได้รู้จักคะและดีใจที่ได้จะรับความรู้จากอาจารย์คะ

ศูนย์นครราชสีมา ยินดีที่ได้แชร์ข้อมูล กับ อาจารย์เรื่องเปิดเสรีเวทีอาเซียน ทำให้ นศ ตื่นตัวกันมาก

ว่าที่ร้อยตรีหญิงอัชฌาวดี ตันเจริญ (สวนสุนันทา)

สวัสดีค่ะอาจาย์ รอเรียนกับอาจาย์มาตั้งแต่เทอม 1 แล้วค่ะมาได้เรียนเทอม 3

ยินดีที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์ครับ

ทดลอง.. สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกท่าน Logistic(การขนส่ง ลดต้นทุน) สำคัญมาก เช่น Tessco Lotus ไม่ให้คนของเรามาขนของแล้วนะ ถ้าเจรจาต่อรองไม่เก่ง ใช้ Game Theory ในการเจรจาต่อรองนะครับ จากประสบการณ์ในการสรรสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ต่างๆในองค์การ และการประยุกต์ใช้ 5 ทักษะที่สำคัญ อันประกอบด้วย การคิดเชิงระบบ (System Thinking) รูปแบบการคิด (Mental Model) การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery) การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง (Self-Directed Learning) และการเสวนา (Dialogue) การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ และการทำงานลักษณะที่เป็นทีม (Team work) เป็นการเปลี่ยนองค์การที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้มาก่อน  ได้เข้าใจถึงบริบท และการประยุกต์ใช้ วิธีการต่างๆ ในการสร้างงานในลักษณะที่แตกต่างออกไป การเรียนรู้เชิงปรับตัว (Adaptive Learning) การเรียนรู้เชิงคาดการณ์ (Anticipatory Learning) และการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Action Learning) ก็เป็นหัวใจสำคัญนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอบคุณมากนะคะ ดีใจที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์อาจารย์ค่ะ

ปฐมพร เปล่งคงคม ศูนย์นครราชสีมา

ทดสอบblog ยินดีครับ่ที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์

สวัสดีค่ะ ดีใจที่ได้เรียนกับอาจารย์ค่ะ และสนใจเกียวกับเรื่องเสรีอาเซียนค่ะ

ปฐมพร เปล่งคงคม ศูนย์นครราชสีมา

ทดสอบblog ยินดีครับ่ที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์

เพราะ “คน คือ ทรัพยากรอันมีค่าที่หายากที่สุด” ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน เป็นยอดปรารถนาของทุกองค์กรและทุกองค์กรต้องอาศัย“พนักงาน”ในการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดให้ได้กำไรอยู่รอด และเจริญก้าวหน้าไปอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth) ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ผู้บริหาร/ ผู้บังคับบัญชา ทุกคนทุกระดับชั้นในองค์กรพึงหันมาให้ความสนใจทุ่มเทอย่างจริงจังในการ“พัฒนาและรักษาทรัพยากร บุคคล” ขององค์กรทุกคนเป็นอย่างระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้เป็น “ต้นทุน”ที่เหมาะสมที่สุด

ของการประกอบธุรกิจตลอดเวลา

ทดสอบBlog ศูนย์นครราชสีมา ปฐมพร เปล่งคงคม

การสอนของอาจารย์ดร.จิระฯ จะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก มนุษย์หรือคนคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด จาก quatation ของอ.พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และที่อาจารย์ดร.จิระฯ ได้พูดไว้คือ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุครื่องบัน ไม่ใช่ เงิน สิ่งของหรือเครืองจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล ซึ่งดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง....

การเรียนในวันนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ Concept 4l's 2R's Creativity and Innovation ทุนมนุษย์ 8K's 5K"s โลกาภิวัฒน์และผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น Information Technology รวมทั้ง Nanotechnology Biotecnology การค้าเสรี การเงินเสรี บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา Global warning Green ฯลฯ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ความเสี่ยง เศรษฐกิจแบบสร้างสรร (Creative economy) และให้โอกาสนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างดีเยี่ยมทำให้เกิด Value Diversity

สุดท้ายอาจารย์ได้สรุปูการเรียนรู้ที่ตรงประเด็นนละเป็นไปค่อนข้างมาก สิ่งที่สำคัญคือทุนทางนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงจากMacro ไปสู่Micro พื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8 K's : ทฤษฏีทุน 8 ประเภท). การรองรับ Asean เสรี และการก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแรงด้วย การตัดสินใจระยะสั้นต้องไม่ทำลายระยะยาว การไฝ่รู้ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องและระยะยาวอย่างยั่งยืน

ตลอดชีวิต

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดีใจที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์ สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ คิดว่าจะนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้พัฒนา ให้มากที่สุด

รัตมณี (สวนสุนันทา,กรุงเทพ)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ขอบพระคุณมากค่ะที่ได้เป็นลูกศิษย์ท่านเพราะปลื้มท่านมานานแล้วฟังท่านบรรยายแล้วเกิดแรงบันดาลใจมากค่ะและเห็นว่าคนไทยเก่งไม่แพ้ชาติไหน ๆ ค่ะ พิมพ์บุญ พันสวัสดิวง นักศึกษา ป.เอก ศูนย์จังหวัดเลย หนังสือยังไม่ได้รับน่ะค่ะ การบ้านเลยยังไม่ได้ทำส่งอาจารย์ค่ะ

ถึง ลูกศิษย์ ป.เอกสวนสุนันทาทุกท่าน

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึกษาพารณ – จีระ…มุ่งมั่น…พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 – 208 ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (นำเสนอเป็นโครงการฯ จากข้อมูลข้างล่างนี้)

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน เสนอ

•ความคิดใหม่ (Idea)

•ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

•ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

2. เสนอเป็น

•การเขียนโครงการ Project Proposal

•การนำเสนอโครงการ Project Presentation

•การขออนุมัติ Project Approval และ

•การบริหารโครงการ Project Implementation

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

สรุป ป.เอก นวัตกรรมการจัดการ 28 ส.ค. 54

การเรียนในยุคใหม่

•การเรียนต้องมอให้เป็น Process

•เป็นการลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ในการเรียน ป.เอก

•การเรียนต้องเอาชนะอุปสรรค

•เป็นส่วนหนึ่งของ Chain Value คือ เพื่อจัดการตัวเองในการสอบวิทยานิพนธ์ในสำเร็จ เป็นคนที่มีความรู้และมีใบอนุญาตให้มีการเรียนจนจบ

ปัญหาการเรียน ป.เอก

•คือการที่คน Supervise จะมีประสบการณ์น้อย อาจารย์ประจำไม่มีอาจารย์ประจำที่เก่งๆ

•ค้นหาตนเองไม่เจอว่าเรียนเพื่ออะไร

•มีความไม่แน่นอนมากมาย

การเรียนที่นี่คือการที่ลงทุนให้นักศึกษาแข่งแกร่ง

ที่ผ่านมา 4 รุ่นที่ประสบความสำเร็จอีกอย่างคือการหาความรู้ด้วยตนเอง

การเรียนต้องมี Process ไปสู่การเขียนวอทยานิพนธ์

ต้องมี Value เพิ่มขึ้น

Value Added = การเพิ่มพูนทางความรู้

Value Creation = คือการร่วมกันคิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้าง Concept ใหม่ๆขึ้นมา HR คือสิ่งที่อยู่ข้างใน เพื่อหาสิ่งที่วัดไม่ได้ Intangible เพราะมนุษย์มีสิ่งที่ต่างจากสัตว์เพราะมีจินตนาการ Human Imagination เพื่อให้มนุษย์มีศักยภาพให้มากขึ้น System Think คือการสร้างการเรียนที่มีคุณค่ามากที่สุด

Value Diversity = ต้องเอาความหลากหลายมาสร้างความเป็นหนึ่งและมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ เช่น การเปิดอาเซียนเสรีในปี 2556 หรือเรื่อง Age Group

วิทยาพนธ์ที่ดี

•การต้องโจทย์ที่ท้าทาย (Hypostasis)

•มีประโยชน์ให้สังคม

•เอาประเทศไทยเป็นบริบท

ไม่มีการหยุดการเรียนรู้

การสร้างนวัตกรรมคือการสร้างอะไรที่ใหม่

ทุนทางความสุขกับการทำงานอย่างมีความสุขต่างกัน

ทุนทางความสุขของผม (ต่างกับ Quality Of Work life )

•Health

•Passion

•Purpose

•Mean

• Capability

วัตถุประสงค์การเรียน

1.เรียนเพื่อนำไปใช้ และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตรขึ้นอยู่กับผู้เรียน

2.ถ้าสนใจอะไรก็สามารถเพิ่มเติมได้

3.อาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้ เป็น Coach เป็น Facilitator บรรยากาศการเรียนต้องเป็นบรรยากาศที่สร้างสรรค์

4.หาหัวข้อวิจัยที่เป็นประโยชน์ อะไรคือหัวข้อที่น่าสนใจ แต่ Manageable วิธีการทำอย่างไร

5.สร้าง Ideas ใหม่ ๆ สร้างนวัตกรรมทางความคิด

6.มีอิทธิพลต่อสังคมและธุรกิจเรื่องทุนมนุษย์เพื่อการรองรับเสรีอาเซียน จะเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม คือ Diversity ขยาย มูลค่าเพิ่ม ไปสู่อาเซียนเสรี

•พัฒนาศักยภาพเรื่อง ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน

•ค่านิยมเรื่องอาเซียเสรี เพราะยังมองว่าประเทศอื่นยังด้อยพัฒนาอยู่

•ข้าราชการไทย

•พัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจเช่น เกษตร การท่องเที่ยว โลจิสติกส์

ทุนมี 4 ชนิด คือ การเงิน, โรงงาน, ทุนทางธรรมชาติ, คน

พัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11

•Knowledge Base Society

•Creative Economy

•Life Long Learning

•International Business

เรื่องทุนมนุษย์มี Quality กับ Quantity และต้องสร้าง Networking เพราะเราไม่มีทรัพยากรมาพอ เราต้องแบ่งกันกิน

นวัตกรรมในการเรียน

•มีความรู้ มีฐานข้อมูล นวัตกรรมหลายอย่างจบลงเพราะไม่มีข้อมูลที่ดี

•มีความคิดสร้างสรรค์

•มีความคิดใหม่

•Turn Idea Into Value

Innovation คือ การสร้างนวัตกรรม การคิดใหม่ๆเสมอ

Innovative คือ นวัตกรรม

Macro ไปสู่ Micro คือ การเรียนจากภาพใหญ่ให้เข้าใจปัจจัยภายนอกที่มีทั้งบวกและลบก่อน เช่น เศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อน นโยบายที่ผลิตบุคลากรก่อนเข้ามาทำงานในองค์กรน่าเป็นห่อวงที่สุด

Sequent Model เป็นเริ่มขึ้นอย่างไร โตขึ้นมาก็เป็นอย่างนั้น ต้องหาช่องว่างในกับตนเองแล้วเติมเข้าไป

คิดว่าหลักสูตรนี้เป็นอย่างไร(ศูนย์กรุงเทพ)

•คิดว่าจะช่วยเรื่องคิดวิทยานิพนธ์ได้

•หนักใจเรื่องภาษสิ่งที่ได้คือต้องหาคุณค่าในตัวเองให้เจอ

อ.จีระ : ต้องเน้นเรื่องการเรียนเป็นทีม

•อยากเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง

•เพื่อหาแนวทางการพัฒนาในเรื่องงานที่ทำอยู่คือด้านการศึกษา

อ.จีระ: การสร้างนวัตกรรมต้องสร้าง network

•อาจารย์ จะสอนในเรื่องการปฏิบัติด้วย ทฤษฎีต่างๆของอาจารย์สามรถปรับใช้ได้กับทุกองค์กร

การเรียนในห้องคือการที่เราเอา Tacit intellectual ออกมา มีพลังขับดันในการหาหัวข้อวิจัยให้ได้

•การเอาแผน 11 มาปรับใช้การทำนโยบาย Buddhism in ASEAN

อ.จีระ : น่าทำเรื่อง Integration in ASEAN

นวัตกรรมคือการมีอะไรใหม่ๆเสมอ อย่างการเรียน ป.เอกต้องเกิดการกระตุ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์

3 เรื่องที่เราต้องคำนึงถึงคือ ความคิดใหม่ๆ คิดอะไรด้วยตัวเองโดยที่เจ้านายเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้ออก

การที่ตัดสินใจพูดเรื่องนวัตกรรมความเห็น และประยุกต์กับสถานการณ์ที่เป็นความจริงได้

Imagination

Creativity

Innovation การที่เรามี Idea ใหม่เสมอ อ.ไม่เคยคิดที่จะให้ลูกศิษย์มีส่วนร่วม ต้องเกิดการปะทะกันทางปัญญาจึงเกิด นวัตกรรม เพราะ อ.ในยุคนี้เอาสิ่งที่มาสอนคือการที่เราลอกเขามา สิ่งที่เกิดนี้เพราะเมืองไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

วันนี้สิ่งที่เกิดคือเรื่อง Social Community เราต้อง apply

แต่ Innovation ในประเทศไทย มีปัญหาคือเรื่องงบประมาณ เราก็ต้องแก้ปัญหาโดยการคิดนอกกรอบ

เมื่อเราทำได้

Project Proposal

Project Presentation

Project Improve

Project Implementation

ดูเทปแล้วคิดอย่างไร

•ฐานความรู้ต้องแน่น ต้องเข้าใจระบบ ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์เกิดมาจากไม่มีอะไร ความคิดเป็นระบบต้องมาก่อน (สมองด้านซ้าย) คิดแบบวิทยาศาสตร์ต้องมาก่อน แม้แต่พุทธศาสนาก็สอนเป็นวิทยาศาสตร์ก่อนให้เข้าใจความเป็นจริง

อ.จีระ: การนำนวัตกรรมเข้าไปใช้ได้ง่าย แต่การทำให้สำเร็จยาก เอาจริง กัดไม่ปล่อย อดทน

•วิทยานิพนธ์นวัตกรรมทางด้านการศึกษาต้องการจะยกระดับสถานศึกษาขึ้นมาให้เทียบเท่ากันโรงเรียนทั่วไป

อ.จีระ : ต้องตั้งโจทย์ให้สอดคล้องกับงานของเรา

•การนำ Chain value คน เทคโนโลยี เงิน เพื่อ improve นักเรียนของเราให้ได้มาตรฐานในเขตโรงเรียน

อ.จีระ : น่าทำเรื่องเขตการศึกษา น่าสนใจเรื่อง Conflict ในเรื่องการศึกษาเพราะผู้น้อยไปดูแลผู้ใหญ่

•การเมืองในสถานศึกษาคือการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง จึงเกิดปัญหาเรื่องการทำงานเป็นทีม และรู้จักว่าจะแลกเปลี่ยนศักยภาพซึ่งกันและกัน

อ.จีระ : อย่างนี้คือ Management Innovation

•นวัตกรรมต้องมีกระบวนการ ที่ศึกษาให้ดีอย่างท่องแท้เป็นการตลาด แบบไม่มีการจ่ายเงินSocial Marketing

อ.จีระ : ทุกเรื่องที่เราจะพูดต่อไปนี้คือ เรื่องทุนมนุษย์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

อ.จีระ : ฉะนั้นทุกวันต้องสำรวจตัวเองว่าได้อะไร แล้วดูว่าไปสู่ Value 3 ตัวหรือเปล่า นี่คือหนทางไปสู่ Innovation

อ.จีระ : Skill ต่างๆ นอกจากคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ แล้วต้องมี Networking การที่เราจะมี Networking ต้องมีความรู้ และสร้างพันธมิตร

สวัสดี ครับ อาจารย์

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

ศูนย์นครราชสีมา ครับ

ปรารถนา เชาวน์เสฏฐกุล

เรียน อ.ดร.จีระ ที่เคารพ

งานที่อาจารย์มอบหมายให้ อ่านบทที่ 10 แล้วให้นักศึกษานำเสนอโครงการอะไรก็ได้ที่เป็นการพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ โดยโครงการนั้นต้องเป็นนวัตกรรม

สุธาสินี และ พีชะพะงา นิรัตติมานนท์

I and my younger twin sister had a great chance to listen Phuket Creative Tourism Forum seminar. This seminar held at Royal Phuket Marina. The forum was organized by the Phuket Tourism Association (PTA) in conjunction with Phuket Rajabhat University Faculty of Management Science. The first time that we saw Prof Chira Hongladarom. ^__^ ^__^

Still remember, Aj. Chira said that “Phuket should focus on maintaining brand positioning and we should bring in more creative persons from throughout ASEAN to work with us, because everybody already wants to come here for vacation. We need to offer something different,” and “IT facilities and human capacity should also be a primary focus of development.”

We also agree with your ideas. Thailand will join AFTA in next three years and four month, which means stronger competition among ASEAN members. The challenge is how to preserve the good things that Phuket has, how to develop human potential to compete with other ASEAN tourist cities, and how to create Phuket tourism as sustainable industry.” We sure that we can find this answer in this great classroom.

Thank you very much. ^^ ^^

Miss Sutasinee Nirattimanon (สุธาสินี นิรัตติมานนท์)

Miss Peechapanga Nirattimanon (พีชะพะงา นิรัตติมานนท์)

Phuket province center (ศูนย์ภูเก็ต)

PS. We are twin. Many confuse us Who and Who ?? :) :)

เรียน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพ

จากการเรียนของอาจารย์ เป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษา มีความมั่นใจ เกิดพลังและพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อการพัฒนาการศึกษา

ของไทย ให้ก้าวไกลอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ และสิ่งที่ภูมิใจที่สุดตอนนี้ก็คือ ตนเองได้พัฒนาให้เป็นแบบอย่างกับบุคคลอีกหลาย

ๆ คน ในองค์กร เหมือนกับอาจารย์ที่ได้กล่าวไว้ประโยคหนึ่งว่า คนเราต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่าหยุดยั้ง จึงจะอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

นายกมล ค้าไกล (ศูนย์ภูเก็ต)

ขอขอบพระคุณท่าน อาจารย์จีระ ที่สละเวลามาสอนให้กับนักศึกษา ป.เอก สวนสุนันทา นักศึกษาศูนย์ภูเก็ตขอร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยครับ

นางจงดี พฤกษารักษ์

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ท่านอาจารย์ได้สละเวลามาสอนให้นักศึกษา ป.เอก สวนสุนันทาศูนย์ภูเก็ตในการเรียนการสอนเป็นวิธีการเรียนการสอนที่น่าสนใจมากๆและชวนให้คิดติดตามอยู่ตลอดเวลา อาจารย์สอนให้นักศึกษากระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลาดิฉันคิดว่าเป็นการสอนอัตลักษณ์ ดิฉันเห็นอาจารย์สอนด้วยอารมณ์ร่าเริงอยู่ตลอดเวลาทำให้นักศึกษาสดใส ดิฉันขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆในนามลูกศิษย์ ป.เอก ศูนย์ภูเก็ต

ด้วยความเคารพอย่างสูง

จงดี พฤกษารักษ์

ป.เอก ศูนย์ภูเก็ต

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร(ศูนย์ภูเก็ต)

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ที่เคารพ ผมดีใจที่ได้เป็นศิษย์ของอาจารย์ อีกหนึ่งท่านครับและต้องขอขอบพระคุณท่านมากครับ

นางสาวพรรณวดี ขำจริง (นักศึกษาศูนย์ภูเก็ต)

ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องของ กรณีศึกษาพารณ-จีระ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

ก่อนอื่นตัวบอกว่าบทความนี้เป็นบทความและนวัตกรรมที่ดีที่เหมาะกับการเป็นแรงบันดาลในให้คนรุ่นใหม่ที่จะก้าวเข้าสู่

การทำงานในแวดวงการศึกษาของไทยยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและโลกโลกาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นอย่างทุกวันนี้

เพราะบางครั้งการเรียนการสอนที่มาจากครูเป็นศูนย์การหรือทางส่วนกลางเป็นผู้จัดให้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสอดคล้อง

หรือจะเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนหรือสถานศึกษานั้นมากเท่าไรนัก ดังนั้นผู้ที่ริเริ่มก็ควรจะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดหรืออยู่ในสถานศึกษาเอง ข้ามกลางยุคที่เปลี่ยนไปจากคลื่นลูกที่1-5 นั้น แสดงให้เป็นว่าวันนี้ครูจะเป็นผู้สอนหรือบรรยายฝ่ายเดียวไม่ได้ครูจะต้องเป็นผู้แนะนำ เป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมให้เกิดขึ้นและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน/ชุมชน/นักเรียนและผู้สอน จึงขาดไม่ได้ที่จะต้องนำเรื่องของนวัตกรรมเขามาจัดการเรียนการสอนมาเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นและสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบันในผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากทที่สุด

To Inspire Teacher.

Although it's 1st session we get many inspirations from you and team by learning process, participations, motivation learners for thinking and sharing idea.

We proud to be your students

Phramaha Sathit Metheejanyaporn

Head, Institute Research and Information Section(IRIS)

Planning Division, MCU.

ข้อคิดจากกรณีศึกษา คุณครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯ

โดย: พระมหาสาธิต เมธีจรรยาภรณ์ ([email protected])

1.กรณีศึกษา คุณครูปรารถนา มีกระบวนการก่อเกิด การพัฒนาอย่างเป็นเป็นระบบ จนเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางสังคม กล่าวคือ คุณครูได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระดับนานาชาติเป็นที่ปรึกษาโดยความเห็นชอบของผู้บริหาร ประสานในการสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างความยอมรับ และเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน โดยเฉพาะองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ ในการร่วมกันจัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูงแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อร่วมเรียนรู้แนวคิดการบริหารจัดการกับวิทยากรชั้นนำ นำไปประยุกต์กับการบริหารโรงเรียน มีการศึกษาดูงานต่างประเทศ โดยไม่รอพึ่งพางบประมาณจากรัฐ ได้มุมมองความคิดการการจัดการศึกษาไทยในระดับโลกาภิวัตน์ ที่ต้องคิดกว้างระดับโลก (Think Global) บูรณาการปรับใช้ในการปฏิบัติได้ในระดับพื้นที่ (Act Local) นำแนวคิดการบริหารจัดการศึกษาดูงานต่างประเทศ มาประกอบการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ภาวะคุกคาม และโอกาสการพัฒนา ก่อให้เกิดการจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับพื้นที่ โดยมีนักเรียนเป็นเป้าหมาย มองไกลถึงการประกอบอาชีพของผู้เรียนในอนาคต จัดการฝึกงานเสริมในภาคฤดูร้อน ผลจากการสร้างนวัตกรรมการบริหาร ก่อเกิดความพึงพอใจของผู้ปกครอง ผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียในชุมชน และมีการเปลี่ยนภาพลักษณ์โรงเรียน โดยการตั้งชื่อใหม่ ก้าวไกลด้วยการสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษากับต่างประเทศหลายสถาบัน พัฒนาขึ้นเป็นนวัตกรรมทางสังคม

2.การคิดและนำเสนอโครงการ เกิดจากการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิ ตกผลึกทางคิดได้แนวทางในการปฏิบัติ นำไปหารือกับผู้บังคับบัญชา รวมทั้งการนำเสนอให้ได้พบกับผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อเกิดเป็นโครงการโดยความร่วมมือของโรงเรียน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การไปศึกษาดูงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติ เป็นการไปพบเห็น เป็นการสร้างประสบการณ์ตรง ก่อเกิดเป็นองค์ความรู้นำมาต่อยอดในการคิดเขียนโครงการที่นำไปสู่การปฏิบัติ โดยแต่ละโครงการส่งผลต่อเนื่องถึงโครงการต่อๆ มาเป็นลำดับ คือ 1.โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง 2.โครงการศึกษาดูงานการจัดการศึกษา ณ ประเทศเวียตนาม 3.โครงการศึกษาดูงานการจัดการศึกษา ณ ประเทศสิงคโปร์ 4.โครงการหลักสูตรเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานท้องถิ่น 5.โครงการศึกษาดูงานจัดการศึกษา ณ ประเทศเกาหลีไต้ 6.โครงการความร่วมมือทางการจัดการศึกษา (Sister School) กับโรงเรียน Wadong Middle School ประเทศเกาหลีไต้

3.ปัจจัยความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์จากกรณีศึกษา คือการชี้ชวนชักนำผู้ทรงคุณวุฒิได้พบกับผู้บริหาร ผู้นำท้องถิ่น ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดความรู้ นำไปสู่การทำโครงการที่ปฏิบัติได้ คือการได้ไปดูแบบอย่างที่ดีในการจัดการศึกษาด้วยการศึกษาดูงาน ได้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ทำให้เกิดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ย้ำความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการศึกษาด้วยการไปศึกษาดูงานหลาย ๆ แบบ แล้วนำมาบูรการเป็นแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการ การประสานความร่วมมือกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ยึดติดในกรอบระเบียบ และงบประมาณทางราชการมากนัก ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรมนุษย์มีทั้งส่วนของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง และผู้เรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดในการดำเนินการ ในกรณีศึกษาได้เกิดนวัตกรรมขึ้นสองด้าน คือนวัตกรรมการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางสังคม

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว อาจเกิดขึ้นได้หลายขั้นตอน ตั้งแต่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่ประสานความร่วมมือ ไม่จัดทำแผนปฏิบัติ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา ไม่มีความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ไม่ได้ไปดูแบบอย่างความสำเร็จจากการศึกษาดูงาน ไม่บูรณาการความคิดจากการศึกษาดูงานเป็นแผนปฏิบัติสำหรับส่วนงาน เป็นต้น ความสำเร็จหรือนวัตกรรมการบริหาร และนวัตกรรมทางสังคม ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

จึงสรุปได้ว่า กรณีศึกษาคุณครูปรารถนา เธอไม่ได้หยุดอยู่แค่ความคิดสร้างสรรค์ แต่ได้ทำความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ ประสานความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนในการทำให้เกิดปัจจัยแห่งความสำเร็จ ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารองค์การส่วนท้องถิ่น ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางสังคม จึงเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จที่ควรศึกษา และนำมาปรับบูรณาการใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอื่น ๆ ต่อไป

จากการอ่านมนุษย์พันธ์แท้ กรณีศึกษาการพัฒนาการศึกษาไทย ณ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ)

1. การพัฒนาการศึกษากับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ จากการวางแผน โดยใช้ทฤษฏี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าที่สุด ควบคู่ไปกับนวัตกรรม โดยมีทฤษฏี 4L 8K 5K มาพัฒนา กระตุ้นผู้บริหาร เพื่อให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อน ที่ว่าให้หัวกระดิก และให้ตัวกับหางกระดิกด้วย แนวความคิดใหม่ที่นำมาใช้ในการพัฒนา คือ การให้โรงเรียนรู้จักตัวเอง ชุมชน สภาพแวดล้อม จัดทำ SWOT เพื่อจะใช้ในการพัฒนาโรงเรียนโดยนำจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค์ สภาพแวดล้อมจะมีสนามบิน โรงงาน และนำนวัตกรรมขึ้นมาจัดหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความสร้างสรรค์ คือให้นักเรียนมีแนวทางในการดำเนินชีวิต

2. โครงการที่ใช่ในการพัฒนาการศึกษากับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ มีการทำโครงการที่ต่อเนื่องตั้งแต่การพัฒนาผู้บริการ ครู นำแนวความคิดของโรงเรียนต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาดูงานซึ่งเป็นการดูงานโดยงบประมาณตัวเอง ไม่รองบจากรัฐ ซึ่งอาจจะไม่ได้มา เช่นโครงการศึกษาดูงานที่เวียดนาม และสิงคโปร์ซึ่งทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทางด้านสภาพแวดล้อม แต่มีจุดแข็งคนละแบบและมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการที่จะนำแนวทางมีพัฒนาต่อไป

3. การจัดการทุนมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคคลร่วมกันใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการสรรหา การคัดเลือก และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้เข้าปฏิบัติงานในองค์กร พร้อมทั้งคอยดูแลและพัฒนาให้บุคลากรขององค์กรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน และมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่เหมาะสม ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลว ก็คือ บุคคล หรือมนุษย์ ถ้าไม่มีคนทำ หรือมีคนทำ แต่ขากประสิทธิภาพเพราะไม่มีความรู้หรือทักษะที่เพียงพอ การดำเนินกิจกรรมก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปให้มีประสิทธิภาพหรือบรรลุเป้าหมายได้ ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบผลสำเร็จก็คือ บุคคลหรือมนุษย์ ถ้ามีบุคคลที่มีความกระตือรือร้น หรือที่เรียกว่า ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ตลอดเวลา ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ เป็นการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ทำให้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ประสบความสำเร็จก็คือ การวิเคราะห์โรงเรียน จัดทำ SWOT รู้จุดอ่อน จุดแข็ง นำสภาพแวดล้อม ชุมชน มาใช้ในการบริหารจัดการ จัดทำหลักสูตรของโรงเรียนที่ส่งผลให้นักเรียนเกิดความมั่นใจ ในการเรียนว่าเมื่อเรียนแล้ว จะได้อะไร ความต้องการของตนเองว่าต้องการเป็นอะไร และเมื่อจบไปแล้วจะประกอบอาชีพอะไร โดยจัดการส่งเสริมอาชีพ มีวิทยากรมาให้ความรู้ มีการฝึกการปฏิบัติงานจริงซึ่งถือว่าสิ่งเหล่านี้อยู่นอกเหนือหลักสูตร แต่ก็สามารถทำได้และประสบความสำเร็จ

จากการศึกษาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค ของ ท่านพารณ อัครเสนา ณ อยุธยา และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ – จีระ ...มุ่งมั่น... พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ โดย วาสนา รังสร้อย ([email protected])

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน

- แนวคิดใหม่ ( Idea) ซึ่งได้จากประสบการณ์ทั้งทางตรง หรือ จากการอ่านหนังสือดี ๆ การสืบค้นหาข้อมูลทาง Internet การได้พบปะพูดคุยกับผู้รู้ จึงเกิดเป็น Idea ใหม่ ๆ ที่ เป็นประโยชน์ ได้รู้จักการคิดนอกกรอบ แม้ว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อประเพณีวัฒนธรรมองค์กร ก็ตาม ถ้าเรามีความมุ่งมั่นพัฒนาให้เห็นผลเป็นรูปธรรม และให้เป็นผลสำเร็จ จนเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในองค์กรและนอกองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับผลประโยชน์ที่คุ้มค่า เกิดความพึงพอใจในคุณภาพ เช่น โครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากแต่ ครูปรารถนา ทำได้สำเร็จ เพราะ รู้จักคิด หาโอกาสจากปัญหาและอุปสรรค ครูปรารถนาได้แสดงศักยภาพของตนที่มีอยู่ ในการบริหาร Project ให้ชนะในอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จ โดยได้นำแนวทางการพัฒนาทรัพยการมนุษย์ ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับ การนำเอา ทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s และการทำงานด้วยความมุ่งมั่น จริงใจ ทำอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ครูปรารถนาสนใจในเรื่อง Innovation แต่การจัดการให้ Innovation สำเร็จและมีประสิทธิภาพ ได้ ผู้นำต้องมี Innovation ผู้บริหารต้องมี Product ใหม่ ๆ การจัดระบบบริการใหม่ ๆ มีการบริหารจัดการแบบใหม่ (Process Management) และต้องใช้นวัตกรรมทางสังคมได้อย่างคุ้มค่า เป็นประโยชน์ เช่น ชุมชน การศึกษา ดังคำกล่าวที่ว่า ถ้าหัวกระดิก หางก็ส่าย สามารถให้ผู้บริหารโรงเรียนอื่น ๆ คล้อยตามได้

- ความคิดสร้างสรรค์ Creativity และบวกกับความรู้ นำไปสร้างโครงการที่สามารถปฏิบัติได้ (Action plan) โดยเน้น Project Proposal - Project Approval และเน้น Execution และ GTD (Get thing Done )โดยเฉพาะการเขียน Project และ อนุมัติ Project กล่าวคือ ผู้บริหารสนับสนุนให้เกิดโครงการ จึงอนุมัติ Project ให้ จะเห็นได้ว่า การที่จะพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ไม่ได้มาจาก บุคคล ที่เก่ง มีความรู้ความสามารถ เพียงคนเดียว หรือผู้นำเก่งคนเดียวแต่เชื่อว่าทุกคนในองค์กรเก่ง มีความรู้ ความสามารถที่แตกต่างกันไปสามารถ chare ความรู้ร่วมกันในองค์กร โดยนำมาปฏิบัติเชื่อมโยงสัมพันธ์ บูรณาการ กันได้ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรให้พัฒนาก้าวไกลหรือก้าวสู่ความเป็นเลิศได้ ผู้นำ หรือผู้บริหารที่จะรู้จักการบริหารจัดการกับทรัพยากรอันมีค่าที่มีอยู่ในองค์กร โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผู้บริหารต้องรู้จักคิดนอกกรอบ ในเชิงสร้างสรรค์ เพราะผู้นำในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ต้องเป็นผู้บริหารทรัพยากรคนใฝ่รู้ตลอดชีวิต

- ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง นั่นก็คือ อาจารย์ปรารถนาทำโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ ได้สำร็จโดยอาจารย์ปรารถนาเป็นเพียง กระตุ้นให้เกิดโครงการนี้โดยใช้องค์ความรู้ ร่วมกับวิทยากรชั้นนำ ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารโรงเรียนสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นนวัตกรรมชิ้นแรกที่ประสบผลสำเร็จและเป็นประโยชน์ กับโรงเรียนต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรปราการ โครงการที่ตามมาเป็นโครงการที่สอง ที่สาม ก็คือ โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศเวียดนาม ของผู้บริหารที่เข้าร่วมการอบรมและครูไปต่อยอดการเรียนที่ประเทศเวียดนามด้วยทุนของตนเอง โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ โดยให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้นำในการไปทัศนศึกษาครั้งนี้ นอกจากนี้ยัง โครงการเปิดหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานที่อาจจะไปทำงานในสนามบิน สุวรรณภูมิ โครงการเปิดหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการฝึกงานภาคฤดูร้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา นอกจากนี้ยังมีโครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้ โครงการ Sister School กับโรงเรียนWadong Middle School ของประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น

2. การนำเสนอการเขียนโครงการ (Project Proposal) พัฒนาผู้บริหารโรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ ของครูปรารถนา ประสบผลสำเร็จเกิดจาก ครูปรารถนามีความรู้ ความคิดใหม่ ๆที่สร้างสรรค์ที่เป็นระบบ บวกกับฐานความรู้ ที่มีเป็นทุนอยู่แล้ว และครูปรารถนาได้มีโอกาส พบปะกับผู้รู้ อย่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จึงสามารถ ผลักดันให้ครูและผู้บริหารเกิดการใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น การนำเสนอโครงการ (Project Presentation) และการขออนุมัติ (Project Approval) จึงเป็นไปอย่างราบรื่น ในการบริหารโครงการ(Project Imprimentation) ก็เป็นโอกาสของโรงเรียนบางหัวเสือแจ่มเนียมนิล ที่มีมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ดูแลและให้การสนับสนุน โครงการแรกดำเนินจนประสบผลสำเร็จ เมื่อโครงการแรกสำเร็จ จึงเป็นผลทำให้เกิดโครงการใหม่ ๆ ตามมาที่ไม่ต้องรองบประมาณจากรัฐ ทุกคนเต็มใจที่จะลงทุนด้วยตนเอง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ง่าย ถ้าคิดแล้วไม่ทำ

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องอะไรบ้าง

ปัจจัยความสำเร็จหรือความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ นั้นขึ้นอยู่กับ

1. วิสัยทัศน์ (vision) ของผู้นำเป็นเรื่องสำคัญ การมีสายตากว้างไกล มองไปข้างหน้าหรือมองเห็นอนาคต ต้องหาทางที่จะเรียนรู้เข้าใจ มีเป้าหมายและลงมือทำโดยไม่รอช้า เมื่อมีโอกาส

2. ผู้นำมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดนอกกรอบ รอบรู้ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา และทรัพยากรในองค์กรในส่วนที่เป็นคน ซึ่งถือว่าเป็นทุนที่ช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

3. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา ในส่วนของหลักสูตรท้องถิ่น ที่ได้มาจากการมีเป้าหมายร่วมกัน การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างอนาคตของเยาวชนเข้าสู่ตลาดแรงงานจากบริบทของจังหวัดสมุทรปราการ ก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ยุคใหม่

มุมมองทางด้านความเกี่ยวข้องของทุนมนุษย์กับนวัตกรรม กล่าวคือ นวัตกรรมเกิดจากมนุษย์ที่ถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างพัฒนาสอดคล้องสัมพันธ์กันได้ ทั้งทางด้านความรู้ ความคิดในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแนวคิด การดำเนินงานต่าง ที่เป็นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อไปสู่การปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จ และสามารถเอาชนะต่ออุปสรรค

เรียน อ.ดร.จีระ ที่เคารพ

แรกเร่ิมว่าจะได้เรียนกับอาจารย์ก็ดีใจ แต่ก็มีผู้บอกกล่าวว่า อาจารย์ซีเรียสกับการเรียนของนักศึกษานะ

ก็เกร็ง และกลัว แต่เมื่อได้นั่งฟังอาจารย์แล้วรู้สึก กันเอง เปิดกว้าง ดีใจครับ

อุทุมพร เครือบคนโท

จากการศึกษาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ – จีระ ...มุ่งมั่น... พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ โดย อุทุมพร เครือบคนโท ([email protected])

จากการศึกษพบว่า

การนำเอาทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s และวิธีการกระต้น โดยการทำงานแบบทฤษฎี 3 ต. คือต่อเนื่อง ต่อเนื่องและ ต่อเนื่อง ตลอดมา มาใช้กระตุ้น ให้ครูผู้บริหารเกิดการเรียนรู้ คิดนอกกรอบ หลังจากอาจารย์ได้เยี่ยมโรงเรียนแล้วทำให้เกิดโครงการขึ้นมาได้แก่

1.โครงการพัฒนาผู้บริหาร ผู้บริหารได้รับการพัฒนา ให้มีความรอบรู้ เป็นผู้บริหารต้องบริหารมืออาชีพ มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ จนสามารถผลักดันผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงด้วย โดยคำนึงถึง ความต้องการของครู นักเรียน ใช้รูปแบบการทำงานเป็นทีม นำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาใช้การประสานงานและกำกับติดตามงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ โครงการประสบผลสำเร็จ มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และมีนวัตกรรมที่สามารถนำมา ใช้เพื่อพัฒนาเครือข่าย ให้ประสบผลสำเร็จได้เช่นกัน

2. โครงการทัศนศึกษา ประเทศเวียดนาม ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการเรียนที่เน้นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ประเทศสิงคโปร์ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ในการสร้างหลักสูตรใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา และเตรียมความพร้อมให้กับแรงงาน และประเทศเกาหลีใต้ ส่งผลให้โรงเรียนเป็น APEC ICT SCHOOL มีการนำนักเรียนทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศเกาหลีใต้ การทัศนศึกษา เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่โรงเรียนได้เป็นอย่างดี ในด้านการนำสิ่งที่พบ ที่คิดว่าสามารถทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนมาประยุกต์ใช้ และนำสิ่งที่คิดว่าดี สิ่งที่ไม่เคยพบ ไม่เคยปฏิบัติในโรงเรียน นอกจากนี้ควรคำนึงถึงมีความแปลกใหม่ที่ดี มีความแตกต่างกับสภาพปัจจุบันในโรงเรียน มาปรับใช้ให้เกิดประโยขน์กับโรงเรียนของตน โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน ในที่นี้ จะเห็นว่า ได้มีการทัศนศึกษาประเทศ เวียดนาม สิงโปร์ และเกาหลีใต้ โรงเรียนได้นำมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน มีการสร้างหลักสูตรใหม่ในโรงเรียน มีและเป็นโรงเรียนเดียวที่ใช้หลักสูตรนี้ ไม่มีโรงเรียนแห่งใดทำมาก่อน รวมถึงการนำนักเรียนไทย เกาหลีใต้ แลกเปลี่ยนกันทัศนศึกษา นั่นแสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ มีความสร้างสรรค์ สามารถปฏิบัติได้ให้เกิดความยั่งยืน และเกิดประโยชน์กับสถานศึกษา หากสถานศึกษาอื่นที่มีความพร้อมนำไปปรับใช้ หรือร่วมเป็นเครือข่ายในการพัฒนา ก็จะทำให้เกิดประโยชน์กับนักเรียน โรงเรียน ท้องถิ่นและประเทศชาติต่อไปได้ นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางให้หลายโรงเรียน หลายองค์กรทาง

การศึกษาได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ให้เกิดการพัฒนาในวงกว้างต่อไป

จึงสรุปได้ว่า การคิดในสิ่งใหม่ๆ คิดเชิงสร้างสรรค์ มีการลงมือทำอย่างจริงจัง ทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง ถือว่าเป็นนวัตกรรม

ที่ทำให้เกิดปัจจัยแห่งความสำเร็จไ้ด้ ภายใต้การทำงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ผู้บริหาควร มีวิสัยทัศน์ เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ มีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร มีการทำงานเชิงรุก

และกล้าเสี่ยง เมื่อมีคุณลักษณะดังกล่าวแล้วผู้บริหารจะสามารถนำพาองค์กรปฏิบัติงานจนประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี

นางสาวพัมพ์บุญ พันสวัสดิวง

นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง

นักศึกษาปริญญาเอก

สาขา นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์จังหวัดเลย)

เรียน อาจารย์ ศ. ดร.จีระ หงส์ระดารม

ขอส่งงานครั้งที่ 1 วันพุธ ที่ 31 สิงหาคม 2554

โครงการปลูกจิตสำนึกรักองค์กร

1. ชื่อโครงการ ปลูกจิตสำนึกรักองค์กร

2. หลักการและเหตุผล

องค์กรเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการบริหารและบุคลากรคือทรัพยากรหลักสำคัญยิ่งกว่าที่จะผลักดันให้พันธกิจขององค์กรบรรลุความสำเร็จตามเป้าประสงค์และหากองค์กรสามารถสร้างแรงจูงใจและความผูกพันธ์ตลอดจนความรู้สึกสำนึกในการทำงานให้บุคลากรอุทิศตนและทุมเทเสียสละกับการทำงานโดยตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ตลอดจนสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กรเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกคนโดยที่องค์กรสามารถมีเทคนิคและแนวทางในการหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมในอันที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมกันของบุคลากรก็จะทำให้ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการทำงานให้เกิดความรักและความผูกพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและองค์กรเสมือนหนึ่งคนในครอบครัวเดียวกันสมัครสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันตลอดจนตระหนักในความเป็นเจ้าของกิจการและช่วยเหลือกันเห็นใจซึ่งกันและกันเพราะ “ คนไม่ใช่เครื่องจักรต้องการความรักและความเห็นใจ “ และจะทำอย่างไรจะทำให้บุคลากรดังกล่าวมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรทุ่มเทเสียสละอุทิศตนทำงานอย่างมีความสุขและสนุกอยู่กับการทำงาน และความตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ในการบริหารงานขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบัน มีรูปแบบมากมายหลากหลายวิธีมากขึ้น โดยการนำเทคนิคจากนานาประเทศมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ แต่ปัญหาในการบริหารและการจัดการบางประการ ที่การพัฒนารูปแบบการบริหารถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ยังไงก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มากนัก ปัญหานั้นก็คือปัญหาด้านการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานรักในงานอยากทำงาน และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่องานที่ทำ ซึ่งการพัฒนาพนักงานเพื่อให้เกิดแรงจูงใจรักงาน อยากทำงาน รักองค์กรและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่องาน ต่อองค์กร เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การบริการการบริหารและการจัดการ ให้ประสบความสำเร็จ และเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนารูปแบบการให้บริการ บริหาร และการจัดการ ในอนาคตขององค์กรต่อไป จึงเห็นสมควรจัดฝึกอบรม หลักสูตร จิตสำนึกรักองค์กร ขึ้น

3. วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี และตระหนักในหน้าที่ บทบาทของตนเองในการทำงานในองค์กรได้อย่างถูกต้อง

2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีจิตสำนึกความรักความผูกพันธ์ต่อองค์กรเสมือนหนึ่งองค์กรเป็นบ้านของตนและร่วมกันทุ่มเทอุทิศตนเพื่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. . เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี และตระหนักในหน้าที่ บทบาทของตนเองในการทำงานในองค์กรไปใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ ทักษะและทัศนคติ ตลอดจนนำแนวคิดทฤษฎีที่ได้รับไปใช้ในการให้บริการในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะและทัศนคติ ตลอดจนแนวคิดทฤษฎีที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นตลอดจนทำงานอย่างเป็นสุขและสนุกกับการทำงานและสามารถทุ่มเทอุทิศตนในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิและได้ศึกษากรณีตัวอย่างที่องค์กรประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกันในอันจะทำให้องค์กรบรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์กร

4. วิทยากร

อาจารย์ ศ. ดร. จีระ หงส์รดารมภ์

โทรศัพท์ 089-200-1471

5. กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตร จิตสำนึกรักองค์กร

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา 08.30 – 12.00 น. เวลา 13.00 – 16.00 น.

วันที่ 20 กันยยน 2554

• ลงทะเบียน

• พิธีเปิด

• ความรู้เกี่ยวกับหลักและแนวคิดทฤษฎีในการสร้างจิตสำนึกการรักองค์กร แรงจูงใจและแรงขับในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

• หลักการเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อ

ให้เกิดความรักความผูกพันธ์ต่อองค์กร

• กระบวนการในการสร้างสร้างจิตสำนึกของ

คนทำงานและจิตสำนึกรักองค์กรและการ

สร้างแรงจูงใจเพื่อความรักความผูกพันธ์ต่อ

องค์กร

• การสร้างความผูกพันธ์กับองค์กรและแนวโน้มการทำงานในยุคสหัสวรรษเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กร

วันที่ 21 กันยายน 2554

• ความรู้เกี่ยวกับและแนวคิดทฤษฎีการบริหาร

• ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของการบริหารงาน

• การสร้างภาพลักษณ์องค์กรแก่สังคม ในยุคสหัสวรรษ

• เทคนิคในการบังคับบัญชา

• กรณีศึกษาและความสำเร็จในการให้บริหาร

วันที่ 22 กันยายน 2554

• ความสำคัญ และองค์ประกอบกระบวนการของการเสริมสร้างจิตสำนึกในงานทำงานและวินัยในการทำงานร่วมกัน

• การพัฒนาการเรียนรู้และศิลปะการครองใจประชาชน

• การบูรณาการการทำงานประสบความสำเร็จ

• การเชื่อมโยงความคิดสู่การปฏิบัตเพื่อการบริการให้สู่ความเป็นเลิศ

• การนำความคิดสู่การปฏิบัติโดยการทำ Workshop เพื่อการพัฒนาศักยภาพงานด้านการให้บริการและการสร้างค่านิยมใหม่ในการให้บริหาร

• แนวทางการหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนความคิดพิชิตงาน

• การสร้างสัมพันธภาพกับบุคลากรและเพื่อนร่วมงานในองค์กร

• การทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและสนุกกับการทำงานร่วมกัน

• กรณีศึกษา (Case Study) การสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กรให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน

• การค้นหาตนเองและประเมินตนเองบนความเที่ยง

• สรุป ตอบคำถามและประเมินผล

• การพัฒนาบุคลิกภาพและการเสริมสร้างบุคลิกภาพในงานบริการ

• การสร้างมาตรฐานในการให้บริการ

• การฝึกปฎิบัติการการบริหารอย่างมืออาชีพ

• กรณีศึกษาและความสำเร็จในการให้บริหาร

• การปรับพฤติกรรมและการสร้างค่านิยมรักองค์กร

• การประเมินตนเองเพื่อการปลูกฝังปลูกฝังให้บริการที่มีประสิทธิภาพ

• การพัฒนาศักยภาพทางความคิดติดอาวุธทางปัญญาในการเสริมสร้างจิตสำนึกและพฤตินิสัยในงานบริการ

• กรณีศึกษาการปลูกฝังทัศนคติและ

ค่านิยมในการรักองค์กร

• การเสริมสร้างพลังขับในการให้บริหารและการเพิ่มสมรรถนะในการให้บริหาร

• การมุ่งมั่นสร้างสรรค์เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรเพื่อสู่ความเป็นหนึ่งและการนำเสนอผลงาน

• สรุป & ถาม-ตอบ ข้อซักถาม

ประเมินผลการฝึกอบรม

หมายเหตุ สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการฝึกอบรมและประโยชน์ของผู้เข้ารับการ

ฝึกอบรมได้ตามความเหมาะสม

6. วิธีดำเนินการ

1. อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้บทที่ 10 วิเคราะห์ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ และนำนวัตกรรมที่นำไปใช้ในโรงเรียนมาปรับใช้ให้เข้าองค์กร

2. ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรมนุษย์ จัดทำหลักสูตร และออกแบบสอบถามบุคคลากรในองค์กรถึงความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3. เขียนโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขอนุมัติโครงการ

4. หลังจากได้รับการอนุมัติโครงการแล้ว เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ ดำเนินการติดต่อประสานงานกับวิทยากร จัดทำตารางการจัดอบรม จัดเตรียมสถานที่ จัดเตรียมเอกสาร ทำหนังสือเชิญประธานเปิดอบรมโครงการ เชิญผู้มีเกียรติเข้าร่วมโครงการ เชิญสื่อมวลชนเข้าประชาสัมพันธ์โครงการ

7. งบประมาณ

ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยเพื่อดำเนินการจัดการฝึกอบรม

8. การประเมินผลโครงการ

ผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 80 พึงพอใจกับหลักสูตรการฝึกอบรม และเกิดนวัตกรรมใหม่ที่จะนำไปใช้ในทำงาน

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี และตระหนักในหน้าที่ บทบาทของตนเองในการทำงานในองค์กรได้อย่างถูกต้อง

2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีจิตสำนึกความรักความผูกพันธ์ต่อองค์กรเสมือนหนึ่งองค์กรเป็นบ้านของตนและร่วมกันทุ่มเทอุทิศตนเพื่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี และตระหนักในหน้าที่ บทบาทของตนเองในการทำงานในองค์กรไปใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

(ลงชื่อ) ผู้เขียนโครงการ

(นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง)

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา (ศูนย์ จ.เลย)

(ลงชื่อ) ผู้เสนอโครงการ

(นายวีรชัย เพชรรัตน์)

ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดเลย

(ลงชื่อ) ผู้อนุมัติโครงการ

(นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ)

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์มีหลายประการด้วยกันแต่จากการอ่านเอกสารในบทที่ 10 พอสรุปได้ 5 ปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ค่านิยมในสังคม ในสังคมไทยยอมรับนับถือผู้อาวุโส ทั้งด้านคุณวุฒิและทางด้านวัยวุฒิซึ่งส่งผลสำเร็จต่อความสำเร็จหากผู้มีชื่อเสียง มีอำนาจ มีฐานะทางสังคมเข้ามาดำเนินการขับเคลื่อนงานใด ๆ จะทำให้งานนั้นสำเร็จ เช่นโครงการพระราชดำริ หรือ งานที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ให้ความสนใจ ซึ่งนั่นหมายถึงว่ามันเป็นทุนอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ที่มีต้นทุนทางสังคมสูง แต่ถ้ามนุษย์ที่มีทุนทางสังคมต่ำจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรสักเรื่องจะทำเพียงลำพังไม่ได้จำเป็นต้องรวมตัวกันจำนวนมากจึงจะเกิดแรงกระเพื่อม

2. ปัจจัยการสร้างเครือข่าย ที่มีการ Connection กับบุคคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้มาความรู้ ความแนะนำ และขยายเครือข่ายไปทั้งภาครัฐและเอกชนและขยายไปยังภูมิภาคประเทศใกล้เคียงเพื่อนำองค์ความรู้ที่มีความหลากหลายมาปรับใช้กับระบบการศึกษาไทยให้เหมาะสม

3. ปัจจัยทางการศึกษา จากการอ่านบทที่ 10 พบว่าครูปราถนา ไปศึกษาที่ มหาลัยบูรพา ในระดับปริญญาเอกซึ่งอาจารย์เองก็ยังเป็นไม่ได้มีตำแหน่งในการบริหารที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงโรงเรียนได้ แต่เพราะว่าไปเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ จีระ จึงได้เป็นที่มาของการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้กับโรงเรียนบางหัวเสือแจ่มเนียนนิล จนกระทั่งเป็นเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ แค่ชื่อโรงเรียนก็นวัตกรรมแล้ว แสดงถึงว่าการศึกษาจะช่วยยกระดับทางสติปัญญา ทางสังคม ให้มนุษย์มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น

4. ปัจจัยด้านการประสานงานภายในและภายกองค์กร รวมทั้งการบริหารงานซึ่งกันและกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความคิดเห็นสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาให้โรงเรียนมีวิธีการจัดการเรียนการสอนดีเป็นที่ต้องการของนักเรียนและทันต่อโลกภายนอก

5. ปัจจัยทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ทั้ง 2 ด้านนี้เป็นปัจจัยภายในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จเพราะบางคนที่เก่ง มีความรู้มีความสามารถ เรียนมามาก เป็นผู้บริหารแต่ไม่มีจิตสำนึกในการพัฒนา ไม่ยอมคิดใหม่ ไม่มองหานวัตกรรมใหม่ ๆ แต่คนเก่ง คนดี และมีจิตสำนึกที่ดีด้วยจะทำให้ทุกองค์กรประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ

โครงการโรงเรียนประถมศึกษาอัจฉริยะ

สภาพปัญหาด้านการศึกษาของประเทศไทย

-การกระจายอำนาจดำเนินการได้ค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากการขาดการบูรณาการในระดับพื้นที่

-การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสอบเท่านั้นไม่ได้มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ขาดโอกาสทางการแข่งขัน

-การจัดการเรียนการสอนไม่ได้ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

-โรงเรียนมีกระจายเกินความจำเป็นเนื่องจากบางแห่งจำนวนนักเรียนน้อยแต่ไม่ได้บริหารจัดการ ทำให้ทรัพยากร เช่น งบประมาณ และครูไม่เพียงพอ ประสิทธิผลการศึกษาต่ำ

-การปฏิรูปการศึกษาไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้

-ทีมงานด้านการศึกษายอมรับการเปลี่ยนแปลงน้อย จึงทำให้มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบเก่าๆและทำให้ระบบการศึกษาของไทยอ่อนแอ

-ระบบธุรกิจการศึกษาเช่นการกวดวิชาเข้ามาเกี่ยวข้องและเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย

-ทัศนคติของผู้ที่เป็นครูมาจากการเลือกเรียนอันดับท้ายๆ

-ระบบการประเมินผลโรงเรียน เช่นโรงเรียนปลอดยาเสพติดจึงทำให้มีการปกปิดข้อมูล ทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข

โรงเรียนระดับประถมศึกษาเป็นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคบังคับ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตั้งแต่เริ่มการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาและปรับตัวเข้ากับระบบการเรียนการสอนแบบใหม่

จากปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนประถมศึกษาอัจฉริยะขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความสนใจ และสมัครเข้าร่วมโครงการ

1.แนวคิดด้านนวัตกรรม

ความคิดใหม่

-จัดการเรียนการสอนสู่สังคมอาเซียนอย่างมืออาชีพ และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

-เน้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในเด็กนักเรียน และจัดสภาพแวดล้อมเป็นโรงเรียนสีขาว

-วิธีการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยการบูรณาการ

ความคิดสร้างสรรค์

-หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

-ร่วมดำเนินการเป็นเครือข่าย โดยสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนในบริเวณใกล้เคียง(ยุบรวมโรงเรียนเล็กๆเพื่อเป็นเครือข่ายและทำให้รวมพลังสร้างสรรค์งานรวมทั้งทรัพยากรในพื้นที่)

-พัฒนาเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลด้านสุขภาพแบบองค์รวมบูรณาการด้านการออกกำลังกายด้วยเวชศาสตร์การกีฬา และปรับสภาพแวดล้อมภายในทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนเป็นพื้นที่สีขาว

-บริหารจัดการอย่างมืออาชีพเพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น

-สนับสนุนการสร้างผลงานเด่นของชั้นเรียน (เน้นการทำงานเป็นทีม)

-นักเรียนมีโครงงานที่สนใจเป็นของตนเอง (เน้นความถนัดส่วนบุคคล)

-สร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

-แสวงหาความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ

-ค้นหาโรงเรียนต้นแบบที่ต้องการจะให้เป็นต้นแบบทั้งภายในและต่างประเทศ

-ถอดบทเรียนและศึกษาบริบทของพื้นที่ ปรับปรุงเป็นหลักสูตรที่ต้องการจะพัฒนาโดยมีจุดเน้นคือนักเรียนเป็นศูนย์กลาง จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาไทย ภาษาท้องถิ่นและภาษาอังกฤษควบคู่กันอย่างสมดุล และมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

-เตรียมการด้านผู้เรียนและผู้สอนเพื่อความพร้อม และปราชญ์ชาวบ้านในบทเรียนของท้องถิ่น

-หลักสูตรที่พัฒนาและสามารถปฏิบัติได้จริง

2.การนำเสนอ

Project Presentation

-ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง เช่น จัดทำ Web site เผยแพร่

-เชิญชวนผู้ที่มีความสนใจร่วมทีมงาน

-เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-สร้าง Model หลักสูตร และจัดการประชาพิจารณ์

Project Management

-แสวงหาความร่วมมือเพื่อบริหารและจัดการเรียนการสอน

-บริหารหลักสูตรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่น

-จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการโรงเรียนอัจฉริยะ

-ประสานงานหน่วยงานระดับนโยบาย

-เน้นงานนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของหน่วยงาน

Project Implement

-ประชุมทีมงาน

-ประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ครู อาจารย์ ผู้นำชุมชน ประชาชน หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้นำส่วนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

-รับสมัครโรงเรียนที่มีความสนใจและเข้าร่วมโครงการ

-จัดทำหลักสูตร รวมทั้งวิธีการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมระหว่างครู ปราชญ์ชาวบ้าน และชุมชน

-จัดการความรู้รวมทั้งการถอดบทเรียน และสกัดเป็นองค์ความรู้ รวบรวมเผยแพร่

-ประเมินผลการดำเนินงาน และนำผลจากการวิเคราะห์และเรียนรู้มาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีความยั่งยืน และด้านวัดผลด้านผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาจากนักเรียน

3.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

-ผู้นำหน่วยงานคือผู้บริหารของสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์และพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง(Shift Paradigm) และผู้บริหารหน่วยเหนือในทุกระดับให้โอกาส

-ทีมงานยอมรับและเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสในการพัฒนา

-หน่วยงานอื่นๆรวมทั้งภาคีที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ

-ชุมชนมีการเรียนรู้และร่วมทำงานแบบบูรณาการ

-ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีการแก้ปัญหาด้วยปัญญา

-ผู้ปกครองและนักเรียนมีการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นต่อหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น

=====================================

ปรารถนา เชาวน์เสฏฐกุล (ศูนย์ภูเก็ต)

โครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา

นับตั้งแต่ที่อาเซียน (ASEAN – Association of South East Asian Nations) ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคแบบหลวม ๆ ในความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของการศึกษาในการส่งเสริมการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยได้ประกาศไว้ในวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งของการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า “เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษา

ในขณะที่โลกพัฒนาเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการรวมตัวกันมากขึ้น และได้กำหนดวิสัยทัศน์ภายในปี ค.ศ. 2020 ของอาเซียนปรากฏในข้อหนึ่งว่า “เพื่อพัฒนาอาเซียนให้มีความเข้มแข็งในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งด้านการศึกษา โดยระบุให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุก ๆ ส่วนของเศรษฐกิจโดยผ่านการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา การพัฒนาทักษะ ศักยภาพ และการฝึกอบรม”

การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษา

- ภาษาอังกฤษ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน

- ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน หลักสูตรอาเซียนศึกษา

- ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบต่าง ๆ ของอาเซียน

- พัฒนาทักษะของแรงงานฝีมือให้มีมาตรฐาน

- สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาอาเซียน

บทบาทการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน

- การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Empowering People) ให้มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน เพื่อที่จะสนับสนุนการค้าและการลงทุนในอาเซียน

- การศึกษาในฐานะภาคบริการหนึ่งที่จะต้องมีการเปิดเสรี

การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของไทยในระดับอาชีวศึกษา

- การเสริมสร้างทักษะวิชาชีพ

- สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาในอาเซียน (และขยายไปสู่อาเซียน +3)

- โครงการโอนหน่วยกิต (และขยายไปสู่อาเซียน +3)

- โครงการเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่ากับใหม่ เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านทุนการศึกษาด้าน ICT

- การจัดทำหลักสูตร Inter + ASEAN

โครงการส่งเสริมนวัตกรรมกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา โดยการสนับสนุน 3 ด้าน คือ (1) นวัตกรรมการเรียนการสอน (2) การยกระดับคุณภาพผู้เรียน (3) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และสร้างคุณค่าวิชาชีพอาชีวศึกษา

โครงการมี 3 ประเด็นที่จะดำเนินการ คือ

1. การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Effective Learning and Teaching) มุ่งยกระดับประสิทธิผลการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะสำหรับการศึกษาต่อ การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยอาจพัฒนารูปแบบดังนี้

• การพัฒนาสื่อและวัสดุการเรียนการสอน จากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ (คู่มือ ตำรา) สื่อโสตทัศน์ และการศึกษาวิจัยในชั้นเรียน เพื่อสนับสนุนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และแสดงออก

• การจัดให้มีกิจกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนได้โดยตรงและเห็นผลอย่างชัดเจน รวมถึงสร้างโอกาสให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียนใช้ทักษะที่สำคัญ เช่น ภาษาเพื่อการสื่อสาร การจัดรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรม เช่น การชมภาพยนตร์ การเข้าค่ายฝึกอบรม การโต้วาที การทัศนะศึกษา ฯลฯ

• การพัฒนาให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นการสร้างโอกาสแก่ผู้เรียนให้กระหายใคร่เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เสริมสร้างวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ เช่น การอ่านเพื่อการเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนหรือชุมชนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระ

• การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างครูในการขยายเครือข่ายโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมความร่วมมือ และการแบ่งปันความรู้ในวิธีการเรียนการสอน และเพื่อเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี

• การร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรธุรกิจเอกชน ผู้ปกครอง ชุมชน ในการให้บริการเสริมในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดสอนฟื้นฟูและทบทวนความรู้ด้านภาษา การให้คำปรึกษา การศึกษาแบบเรียน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน และเกิดรูปแบบการช่วยเหลือ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิผลของการเรียนการสอนและการประกอบวิชาชีพ

2. การเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับโรงเรียน (Healthy School) มุ่งหมายที่จะกระตุ้นให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยวิถีชีวิตสุขภาวะ ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา ตัวอย่างได้แก่

• การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของชีวิตและเคารพสิทธิการมีชีวิตของผู้อื่น และการให้ความสำคัญกับสังคมส่วนรวม

• การเสริมสร้างให้เยาวชนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และมีความอดทน การฝึกการปรับตัวต่อสังคมแวดล้อม โดยอาจใช้เทคนิคการพูดคุย การจัดประชุมปฏิบัติการ หรือวิธีการอื่นที่เป็นนวัตกรรม

• การส่งเสริมค่านิยมที่ดีงามในหมู่ผู้เรียน อาทิ การเคารพตนเอง การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่มีความยากลำบาก การมีจิตใจเพื่อสาธารณะ โดยการจัดกิจกรรมด้านต่าง ๆ เช่น การทำงานอาสาสมัคร ภายในและนอกโรงเรียน

• การเฝ้าระวัง คัดกรอง ให้คำปรึกษาและแก้ไข สำหรับเยาวชนที่มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาในการเรียนรู้หรือปัญหาทางสังคม เช่น หนีโรงเรียน ทะเลาะวิวาท เล่นการพนัน ก่อเหตุรุนแรง อาชญากรรม เป็นต้น

• การเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเอง ค้นพบตนเอง มีทักษะพื้นฐานในการพัฒนาตนเองและร่วมมือร่วมใจกับหมู่คณะ เช่น จัดฝึกอบรม จัดกิจกรรมร่วมกันในโรงเรียน

• การออกแบบและจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมความแข็งแรงและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน รวมถึงความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพ การมีโภชนาการที่ดี การควบคุมน้ำหนัก โดยการจัดกิจกรรมทั้งในหรือนอกอาคาร เช่น การจัดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อฝึกให้ร่างกายแข็งแรง การออกผจญภัยฝึกความอดทน รวมถึงการออกค่ายพักแรม การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ และวิ่งแข่งสู่เป้าหมายโดยมีเข็มทิศและแผนที่เป็นตัวช่วย

• การให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด เพศศึกษา โดยจัดให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติ การแสดงละครเวที รวมถึงการจัดบริการช่วยเหลือเยาวชนที่ใช้ยาในทางที่ผิด เยาวชนที่ติดบุหรี่ ฯลฯ

• การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับการประเมินและวิธีการอื่น ๆ เพื่อให้คำจำกัดความวิถีชีวิตสุขภาพในบริบทของไทย พร้อมทั้งให้ข้อเสนอว่าจะเข้าสู่วิถีชีวิตสุขภาพได้อย่างไร

3. การบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิผล (Efficiency for School Management) นำวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลมาใช้และพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียน และสามารถพัฒนาให้เป็นต้นแบบแสดงถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้ชัดเจน โดยอาจพัฒนารูปแบบดังนี้

• การสำรวจ ประมวลข้อมูลของสถานศึกษาและชุมชน จัดทำฐานข้อมูล ฯลฯ และมีการใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดปัญหาและแนวทางพัฒนา

• การวิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานของโรงเรียนรวมทั้งคิดค้นนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการจัดการเรื่องการเรียนการสอนในโรงเรียน

• การเสริมสร้างทักษะการบริหารจัดการ และภาวะผู้นำด้านการบริหารจัดการ พร้อมทั้งปรับปรุงการบริหารโรงเรียน เช่น การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างภาวะผู้นำ จัดกิจกรรมแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทดลองการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่และการให้คำปรึกษาแนะนำในระดับโรงเรียน

• การกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการบริหารโรงเรียน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบ้าน-โรงเรียนและ/หรือ ชุมชนโดยกำหนดหน้าที่และบทบาทของผู้เกี่ยวข้องอย่าชัดเจน

• การปรับปรุงธรรมาภิบาลของการบริหารสถานศึกษา อันรวมถึงการพัฒนาคุณภาพและบทบาทของผู้บริหารคณะกรรมการบริหาร หน่วยตรวจสอบหรือกลไกบริหารอื่นให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามหลักธรรมาภิบาล

• การจัดระบบริหารจัดการหรือแผนงานเพื่อระดมทรัพยากรในท้องถิ่นสำหรับพัฒนาการเรียนการสอน

ปัจจัยในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น นั่นคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steakholders) ประกอบด้วย ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ ได้ประโยชน์จากการจัดทำโครงการ โดยวัดคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาจากมุมมองของครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าได้ประโยชน์ ได้กำไร หรือสังคมดีขึ้น จากโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา

โดย นางสาวปรารถนา เชาวน์เสฏฐกุล (ศูนย์ภูเก็ต)

สรุปช่วงบ่าย โดยเอราวรรณ

  • โครงการใหม่ ๆ ที่โรงเรียนกับดร.จีระ ทำร่วมกัน การมี  Idea ใหม่ๆ
  • ทุนมนุษย์กับนวัตกรรม อย่างน้อย คือ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้
  • เน้น ลูกค้า ครู นักเรียน
  • ไม่เกิดการบริหาร สั่งการ แบบ Top down

 

อาเซียนเสรี มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ถ้ามาตรฐานอ่อน เขาต้องแข่งกับเรา มี Professional

1.ต้องมีภาษา

2.มีจิตวิญญาณในการอยู่ในนานาชาติ

3. ต้องมีความเป็นมืออาชีพ เราต้องเป็น Partner กับเขา

 

  • ต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ อยู่ในโลกอาเซียนเสรีได้ เน้นนวัตกรรม
  • สะท้อนวัฒนธรรมของเรา
  • สรุป หลักสูตรนี้ เป็น Intangible สิ่งที่ควรออกมาจากข้างใน

 

 

จากศูนย์โคราช

มุมมอง เรื่อง เสรีอาเซียน  คือชาวบ้านไม่รู้เรื่อง  ปัญหาที่สำคัญ คือ 3 ปี ต่อไปนี้เราจะเตรียมตัวเรื่องคนได้หรือไม่

จะสามารถให้ข้อคิดอย่างไร สามารถไปถ่ายทอดสร้างวิธีคิด เป็นวิชาที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียน

  • ตอนนี้เป็นอาเซียน +8 ไปแล้ว อาเซียนไปรวมตัวกับทางอเมริกา

มีการเตรียมตัว ที่รวมกับกระทรวงศึกษา ต้องกระจายทุกจุด คนจน โชว์ห่วย ไม่รอด ประเทศไทยก็ไม่รอด ก็หวังว่า ปริญญาเอกทุกคน จะได้กระจายไป ทั้ง  Face book  blog twitter  ด้วย

  • การที่เรามีเครือข่าย Network ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งของทุนมนุษย์ และมองถึงทุนปัญญา และทุนทางคุณธรรมจริยธรรมด้วย

 

เป็นประโยชน์มากครับ คนไทยถ้าจะพูดถึงความสามารถเฉพาะคงไม่แพ้กับประเทศอื่น เรามีปมด้วยแค่เรื่อง ภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง

  • ขอย่องแนวคิด นี้ มองไปที่สะพาน ข้ามประเทศต่างๆ ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศแม่น้ำโขง เช่น จีน กุนหมิง ยูนาน กวางสี  อีกหน่อยถ้ามีรถไฟ แถวนั้นก็เจริญมากขึ้น
  • คนกรุงเทพฯเริ่มตื่นตัวเรื่อง ที่ดิน มีการลงทุนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือแน่นอน
  • ฝากทุกคนที่อยู่ศูนย์ต่างๆไว้ด้วยครับ

 

ศูนย์เลย

มีการเพิ่มการทำความผิดมาก ขึ้น มีผู้ต้องขังมากขึ้น เมื่อมีเสรีอาเซียนขึ้น

  • ถึงเวลาที่เราต้องดูแล เรื่องนี้ ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เราต้องดูที่การศึกษาด้วย
  • อาจจะทำวิจัยเรื่อง การอาชญากรรมข้ามชาติด้วย

 

 

 

  • เวลาที่เหลืออยู่ระหว่าง Macro กับ Micro
  • วิธีการเรียน
  • พูดถึงทฤษฎี HR
  • มนุษย์เกิดมาแล้ว เท่ากัน

 

  • คุณภาพการศึกษาเป็นจุดนึงที่ขอฝากไว้ โดยเฉพาะการศึกษาในต่างจังหวัด
  • เด็กในเมืองไทยต้องมี 8k’s , 5k’s
  • ขอฝาก ทฤษฎี HR  ด้วย
  • คุณภาพการศึกษาในอดีตต้องเป็นคนเก่ง ในต่างจังหวัดได้ทุนมาเรียน
  • ขอฝากลูกศิษย์ว่า การค้าระหว่างประเทศต้องมีเงินตราระหว่างประเทศเป็นการแลกเปลี่ยน อย่างอเมริกาการค้าขาดดุลตลอด ขายพันธบัตรให้จีน และนำเงินมาใช้จ่ายทำให้เกิดปัญหาตามมา
  • ของแพงไม่ได้เลว แต่คุณต้องใช้อย่างปบระหยัด ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย
  • ทุนมนุษย์ไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กๆ

 

โลกาภิวัตน์และผลกระทบ

  1. Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
  2. เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015 ฯลฯ
  3. เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน
  4. บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา
  5. เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
  6. เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ                   
  7. เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
  8. เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
  9. เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯลฯ

 

  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอยากให้ลูกศิษย์ ได้มอง
  • ที่เราเป็นประเทศเปิดกว้าง แต่ไม่เก่งในเรื่องเจรจาต่อรอง ต้องดูว่าอันไหนพร้อมหรือไม่พร้อม
  • อัตราแลกเปลี่ยน ครั้งหนึ่งเคย เปลี่ยน จาก 20 เป็น 50 บาท
  • บทบาทจีน อินเดีย ที่เคยเป็นประเทศปิด ก็มาเปิด อีกไม่ถึง 4 ปี จีนจะเป็นอันดับหนึ่งของโลก
  • ขณะนี้รูปแบบประชาธิปไตยยืมมาจากตะวันตก
  • ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของอากาศมีมากมายขึ้น เกิดธุรกิจใหม่ คือ Green Hotel ให้เห็นว่าเราจะมีชีวิตแบบเดิมไม่ได้
  • การก่อการร้ายข้ามชาติ ถ้า 3 จังหวัดภาคใต้ลามมาที่ถึงประจวบ จะทำอย่างไร?
  • ต้องมี Macro ไปสู่ Micro

 

การเตรียมตัวเข้าสู่โลกาภิวัตน์

จุดแข็ง

-         กระตุ้นให้ประเทศตื่นตัวปรับนโยบายทั้งระดับ Macro และ Micro

-          ผู้บริโภคมีทางเลือกของคุณภาพสินค้ามากขึ้น

-          ราคามีการแข่งขันกันอย่างเสรี

-          ทำให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้าง

-          ผู้มีความรู้ หรือ Knowledge worker ได้ประโยชน์ งานที่ทำจะเป็นงานที่มีรายได้สูงขึ้น

-         นักอุตสาหกรรม  ผู้ส่งออก ได้รับประโยชน์

-          

 

จุดอ่อน

-         แรงงานไร้ฝีมือปรับตัวไม่ทัน เกิดปัญหาการว่างงาน และปลดคนงาน

-          ภาคราชการ  ภาคแรงงานไร้ฝีมือ  ผู้หญิง  เด็ก  คนพิการจะลำบากยิ่งขึ้น

-          เกิดปัญหาทางสังคมมากขึ้น

-          ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

-          บริษัทข้ามชาติจะได้เปรียบเพราะมีระบบการทำงานที่ดีกว่า

-          คนไทยยังไม่เข้าใจและไม่มีใครชี้นำ

-          ภาคการศึกษาไทยยังขาดการปฏิรูปสังคมการเรียนรู้

-          

โอกาส

-         ใครมีต้นทุนการผลิตถูกกว่า จะส่งออกได้มากขึ้น

-          มีสินค้าให้เลือกมากขึ้นในราคาที่ถูกลง

-          มีโอกาสได้รับค่าจ้างมากขึ้น

-          ต้นทุนการสื่อสารและโทรคมนาคมมีราคาถูกลง

-         ได้รับเทคโนโลยีใหม่ได้ง่ายกว่าเดิม

-          

ความเสี่ยง

-         ธุรกิจภายในประเทศบางอย่างจะล้ม เพราะแข่งขันสู้ต่างประเทศไม่ได้

-          ขาดดุลการค้ามากขึ้น เพราะส่งออกไปต่างประเทศลดลง แต่เรานำเข้ามากขึ้น

-          มีการปลดแรงงาน

-          มีความแตกต่างในรายได้มากกว่าเดิม

-          ถูกต่างชาติครอบงำทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

 

  • ที่พูดมาเกี่ยวอะไรกับทุนมนุษย์
  • เรื่องการสื่อสาร ปรับและเตรียมตัว
  • เป็นโอกาสถ้าเรา ฉกฉวยได้ ไม่ว่าครู อาจารย์ก็สามารถ search ข้อมุลได้
  • มองเป็นภาพรวมใหญ่ เรื่องการค้าเสรี มีการเกาะกลุ่มกัน มองที่ศักยภาพไปที่ทุนมนุษย์
  • เราเอาส่วนที่จะเกิดขึ้น มาสื่อสาร เกี่ยวกับโลกที่จะอยู่อีกโลกหนึ่งมาปรับเปลี่ยนให้กับเรา
  • การเก็งทอง เหมือนกับการเล่นหุ้น อยากให้คนไทยมองเรื่องโลกาภิวัตน์ แต่ใครจะเป็นคนบอกได้
  • มองเตรียมที่ศักยภาพ ที่เราถนัด และมีประโยชน์ ต้องโฟกัสจุดใดจุดหนึ่ง

 

 

ศูนย์โคราช

รถยนต์ บ้านเรามีภาษีสูงมาก อาเซียนเสรี อีก 3 ปี 4 เดือน อุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร ทำให้ภาษีศุลกากร มันลดลงเรื่อยๆ  แต่ เราได้บริโภคสินค้าจากต่างประเทศ ได้ราคาถูกลง และได้ Export มากขึ้น

  • มองจากบริบทของโลก ใช้ทรัพยากร  เช่น การส่งมังคุดไปต่างประเทศไม่ได้ เพราะ  เราขาดเรื่องโลจิสติกส์และResearch ตรงนี้ที่คนไทยจะต้องทำเพิ่มขึ้น
  • พัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 มีดี อย่างเรื่อง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แต่มีเท่าไหร่?
  • บรรยากาศวันนี้อยากให้พัฒนาเรื่องคนก่อน มีปัญญา มี Business Mind

 

ศูนย์โคราช

เห็นโอกาสอะไรบ้างเรื่องทุนมนุษย์กับโลกาภิวัตน์ในภาคอีสาน

  • เห็นโอกาสมากขึ้นอยู่ว่ามุมไหน เช่น การท่องเที่ยว ซึ่งภาคอีสานเราไม่มีมาก
  • การศึกษาเราเองยังไม่กระตุ้นในการศึกษามาก มีการเตรียมคนเพื่อเปิดการค้าเสรี
  • มีการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ
  • พยายามมองทุนมนุษย์ไปถึง Value Added คิดธุรกิจใหม่ อยู่เสมอ

 

ศูนย์ภูเก็ต

  • ในจุดดีคือ การศึกษา เราสามารถ MOU กับต่างประเทศมากขึ้น
  • เรื่องสุขภาพ
  • เรื่องวัฒนธรรมในท้องถิ่นเราจะสูญหายไป
  • ธุรกิจเล็กๆในประเทศหายไป

 

การพัฒนาทุนมนุษย์ในโครงสร้างของภูเก็ตเราพร้อมหรือไม่? เราอยากมีมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นหรือไม่

  • มีเพิ่มขึ้นแล้ว เช่น มอ.สงขลา ที่อินเตอร์ เป็นต้น
  • เรื่องสิ่งที่จะเกิดขึ้น มีมิตรประเทศในกลุ่มประเทศ มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น
  • จุดอ่อน ปัญหาเชื้อชาติ
  • การศึกษากับเด็กต่างชาติ
  • เรื่องการลงทุนด้านสุขภาพ
  • สินค้าเรื่องการเกษตร
  • วัฒนธรรม

 

เรื่อง 8K’s

  • พูดเรื่องนวัตกรรม ว่าเป็นอะไรและจำเป็นต่อเศรษฐกิจและสังคมและโยงมาที่ทุนมนุษย์ ในทฤษฎีผม เรียกว่า ทุนทางนวัตกรรม ถ้ามีนวัตกรรมก็ต้องขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์
  • บ่ายพูดเรื่องเสรีอาเซียน และเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ Macro ไปสู่ Micro วาดภาพใหญ่ของโลกาภิวัตน์  เราต้องจัดการกับโลกาภิวัตน์ และมีภาพโอกาสและการคุกคาม มีเรื่องตั้งแต่เกิดและไปสู่การทำงาน มีกาศึกษา การฝึกอบรม มีคุณภาพในทุนมนุษย์ คุณภาพของคนเหล่านั้นยังมีแต่ปริมาณ
  • ทุกคนมีทุนมนุษย์ทุกคน แล้วแต่ว่า จะมากหรือน้อย วัดตามปริมาณ เช่น ทางเศรษฐศาสตร์ วัดจากการเรียน ถ้าเราเรียนมาก เงินเดือนก็จะเพิ่มขึ้น  แต่ทำไม คนเรียนเท่ากันมีเงินไม่เท่ากัน หรือคนที่เรียนมาน้อย ถึงสามารถมีเงินมากได้
  • ขณะนี้คนมีปริญญา แต่งี่เง่ามีเยอะมาก การที่เราคิดได้เราต้องมีวิธีการเรียน มีการให้คิดเพิ่มขึ้น
  • การที่เรามีโลกาภิวัตน์ การผลิตบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ต้องทำอย่างไร มีตลาดเพิ่มขึ้น ไม่พอ ต้องมีลูกค้า มี Value Added เพิ่มขึ้น
  • มีการสร้างความหลากหลายให้สู่ความมีมูลค่า ก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่ง ประเทศเราต้องก้าวไปสู่ข้างหน้า
  • เมื่อเรามีปัญญา เราต้องมองดูว่าเราเป็นคนดีหรือไม่ การมีการหลอกลวงด้านการค้า ต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม
  • เครือข่าย ที่สำคัญคือ เครือข่ายต่างประเทศ เป็นประเทศที่เราต้องการไป เช่นการส่งไปสิงคโปร์ ต้องรู้เขารู้เรา
  • ลาว พม่า เขมร เขามีทรัพยากร เกษตร พลังงาน ซึ่งคนไทยต้องพึ่งพาเขามาก
  • การตัดสินใจของคน ระยะสั้น ต้องไม่ทำร้ายระยะยาว ต้องเป็นคนใฝ่รู้ อย่าเป็นคนอวิชาเด็ดขาด
  • ลูกศิษย์ที่ผมสอนมา ผมสังเกตแล้ว ทุกคนมีการกระตุ้นเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี คิดว่าดีขึ้นมาก
  • ความสามารถในเรื่อง ทักษะ ความรู้ และ ทัศนคติที่ดี

 

 

สรุป ป.เอก นวัตกรรมการจัดการ 28 ส.ค. 54

การเรียนในยุคใหม่

•การเรียนต้องมอให้เป็น Process

•เป็นการลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ในการเรียน ป.เอกการเรียนต้องเอาชนะอุปสรรค

•เป็นส่วนหนึ่งของ Chain Value คือ เพื่อจัดการตัวเองในการสอบวิทยานิพนธ์ในสำเร็จ เป็นคนที่มีความรู้และมีใบอนุญาตให้มีการเรียนจนจบ

ปัญหาการเรียน ป.เอก

•คือการที่คน Supervise จะมีประสบการณ์น้อย อาจารย์ประจำไม่มีอาจารย์ประจำที่เก่งๆ

•ค้นหาตนเองไม่เจอว่าเรียนเพื่ออะไร

•มีความไม่แน่นอนมากมาย

การเรียนที่นี่คือการที่ลงทุนให้นักศึกษาแข่งแกร่ง

ที่ผ่านมา 4 รุ่นที่ประสบความสำเร็จอีกอย่างคือการหาความรู้ด้วยตนเอง

การเรียนต้องมี Process ไปสู่การเขียนวอทยานิพนธ์

ต้องมี Value เพิ่มขึ้น

Value Added = การเพิ่มพูนทางความรู้

Value Creation = คือการร่วมกันคิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้าง Concept ใหม่ๆขึ้นมา HR คือสิ่งที่อยู่ข้างใน เพื่อหาสิ่งที่วัดไม่ได้ Intangible เพราะมนุษย์มีสิ่งที่ต่างจากสัตว์เพราะมีจินตนาการ Human Imagination เพื่อให้มนุษย์มีศักยภาพให้มากขึ้น System Think คือการสร้างการเรียนที่มีคุณค่ามากที่สุด

Value Diversity = ต้องเอาความหลากหลายมาสร้างความเป็นหนึ่งและมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ เช่น การเปิดอาเซียนเสรีในปี 2556 หรือเรื่อง Age Group

วิทยาพนธ์ที่ดี

•การต้องโจทย์ที่ท้าทาย (Hypothesis)

•มีประโยชน์ให้สังคม

•เอาประเทศไทยเป็นบริบท

ไม่มีการหยุดการเรียนรู้

การสร้างนวัตกรรมคือการสร้างอะไรที่ใหม่

ทุนทางความสุขกับการทำงานอย่างมีความสุขต่างกัน

ทุนทางความสุขของผม (ต่างกับ Quality Of Work life )

•Health

•Passion

•Purpose

•Mean

• Capability

วัตถุประสงค์การเรียน

1.เรียนเพื่อนำไปใช้ และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตรขึ้นอยู่กับผู้เรียน

2.ถ้าสนใจอะไรก็สามารถเพิ่มเติมได้

3.อาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้ เป็น Coach เป็น Facilitator บรรยากาศการเรียนต้องเป็นบรรยากาศที่สร้างสรรค์

4.หาหัวข้อวิจัยที่เป็นประโยชน์ อะไรคือหัวข้อที่น่าสนใจ แต่ Manageable วิธีการทำอย่างไร

5.สร้าง Ideas ใหม่ ๆ สร้างนวัตกรรมทางความคิด

6.มีอิทธิพลต่อสังคมและธุรกิจเรื่องทุนมนุษย์เพื่อการรองรับเสรีอาเซียน จะเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม คือ Diversity ขยาย มูลค่าเพิ่ม ไปสู่อาเซียนเสรี

•พัฒนาศักยภาพเรื่อง ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน

•ค่านิยมเรื่องอาเซียเสรี เพราะยังมองว่าประเทศอื่นยังด้อยพัฒนาอยู่

•ข้าราชการไทย

•พัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจเช่น เกษตร การท่องเที่ยว โลจิสติกส์

ทุนมี 4 ชนิด คือ การเงิน, โรงงาน, ทุนทางธรรมชาติ, คน

พัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11

•Knowledge Base Society

•Creative Economy

•Life Long Learning

•International Business

เรื่องทุนมนุษย์มี Quality กับ Quantity และต้องสร้าง Networking เพราะเราไม่มีทรัพยากรมาพอ เราต้องแบ่งกันกิน

นวัตกรรมในการเรียน

•มีความรู้ มีฐานข้อมูล นวัตกรรมหลายอย่างจบลงเพราะไม่มีข้อมูลที่ดี

•มีความคิดสร้างสรรค์

•มีความคิดใหม่

•Turn Idea Into Value

Innovation คือ การสร้างนวัตกรรม การคิดใหม่ๆเสมอ

Innovative คือ นวัตกรรม

Macro ไปสู่ Micro คือ การเรียนจากภาพใหญ่ให้เข้าใจปัจจัยภายนอกที่มีทั้งบวกและลบก่อน เช่น เศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อน นโยบายที่ผลิตบุคลากรก่อนเข้ามาทำงานในองค์กรน่าเป็นห่อวงที่สุด

Sequent Model เป็นเริ่มขึ้นอย่างไร โตขึ้นมาก็เป็นอย่างนั้น ต้องหาช่องว่างในกับตนเองแล้วเติมเข้าไป

คิดว่าหลักสูตรนี้เป็นอย่างไร(ศูนย์กรุงเทพ)

•คิดว่าจะช่วยเรื่องคิดวิทยานิพนธ์ได้

•หนักใจเรื่องภาษสิ่งที่ได้คือต้องหาคุณค่าในตัวเองให้เจอ

อ.จีระ : ต้องเน้นเรื่องการเรียนเป็นทีม

•อยากเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง

•เพื่อหาแนวทางการพัฒนาในเรื่องงานที่ทำอยู่คือด้านการศึกษา

อ.จีระ: การสร้างนวัตกรรมต้องสร้าง network

•อาจารย์ จะสอนในเรื่องการปฏิบัติด้วย ทฤษฎีต่างๆของอาจารย์สามรถปรับใช้ได้กับทุกองค์กร

การเรียนในห้องคือการที่เราเอา Tacit intellectual ออกมา มีพลังขับดันในการหาหัวข้อวิจัยให้ได้

•การเอาแผน 11 มาปรับใช้การทำนโยบาย Buddhism in ASEAN

อ.จีระ : น่าทำเรื่อง Integration in ASEAN

นวัตกรรมคือการมีอะไรใหม่ๆเสมอ อย่างการเรียน ป.เอกต้องเกิดการกระตุ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์

3 เรื่องที่เราต้องคำนึงถึงคือ ความคิดใหม่ๆ คิดอะไรด้วยตัวเองโดยที่เจ้านายเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้ออก

การที่ตัดสินใจพูดเรื่องนวัตกรรมความเห็น และประยุกต์กับสถานการณ์ที่เป็นความจริงได้

Imagination

Creativity

Innovation การที่เรามี Idea ใหม่เสมอ อ.ไม่เคยคิดที่จะให้ลูกศิษย์มีส่วนร่วม ต้องเกิดการปะทะกันทางปัญญาจึงเกิด นวัตกรรม เพราะ อ.ในยุคนี้เอาสิ่งที่มาสอนคือการที่เราลอกเขามา สิ่งที่เกิดนี้เพราะเมืองไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

วันนี้สิ่งที่เกิดคือเรื่อง Social Community เราต้อง apply

แต่ Innovation ในประเทศไทย มีปัญหาคือเรื่องงบประมาณ เราก็ต้องแก้ปัญหาโดยการคิดนอกกรอบ

เมื่อเราทำได้

Project Proposal

Project Presentation

Project Improve

Project Implementation

ดูเทปแล้วคิดอย่างไร

•ฐานความรู้ต้องแน่น ต้องเข้าใจระบบ ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์เกิดมาจากไม่มีอะไร ความคิดเป็นระบบต้องมาก่อน (สมองด้านซ้าย) คิดแบบวิทยาศาสตร์ต้องมาก่อน แม้แต่พุทธศาสนาก็สอนเป็นวิทยาศาสตร์ก่อนให้เข้าใจความเป็นจริง

อ.จีระ: การนำนวัตกรรมเข้าไปใช้ได้ง่าย แต่การทำให้สำเร็จยาก เอาจริง กัดไม่ปล่อย อดทน

•วิทยานิพนธ์นวัตกรรมทางด้านการศึกษาต้องการจะยกระดับสถานศึกษาขึ้นมาให้เทียบเท่ากันโรงเรียนทั่วไป

อ.จีระ : ต้องตั้งโจทย์ให้สอดคล้องกับงานของเรา

•การนำ Chain value คน เทคโนโลยี เงิน เพื่อ improve นักเรียนของเราให้ได้มาตรฐานในเขตโรงเรียน

อ.จีระ : น่าทำเรื่องเขตการศึกษา น่าสนใจเรื่อง Conflict ในเรื่องการศึกษาเพราะผู้น้อยไปดูแลผู้ใหญ่

•การเมืองในสถานศึกษาคือการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง จึงเกิดปัญหาเรื่องการทำงานเป็นทีม และรู้จักว่าจะแลกเปลี่ยนศักยภาพซึ่งกันและกัน

อ.จีระ : อย่างนี้คือ Management Innovation

•นวัตกรรมต้องมีกระบวนการ ที่ศึกษาให้ดีอย่างท่องแท้เป็นการตลาด แบบไม่มีการจ่ายเงินSocial Marketing

อ.จีระ : ทุกเรื่องที่เราจะพูดต่อไปนี้คือ เรื่องทุนมนุษย์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

อ.จีระ : ฉะนั้นทุกวันต้องสำรวจตัวเองว่าได้อะไร แล้วดูว่าไปสู่ Value 3 ตัวหรือเปล่า นี่คือหนทางไปสู่ Innovation

อ.จีระ : Skill ต่างๆ นอกจากคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ แล้วต้องมี Networking การที่เราจะมี Networking ต้องมีความรู้ และสร้างพันธมิตร

โครงการกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม

แนวคิด

สถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชน สามารถแต่งตั้งระดมความคิดความเห็นเพื่อให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่องค์กร จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

๑ ความคิดใหม่ การบริหารจัดการองค์กรปัจจัยที่สำคัญคือกระบวนการมีส่วนร่วม สังคมเป็นเจ้าของ จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จสังคมมีความสุข

๒ ความคิดสร้างสรรค์ ผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน หรือสังคมเป็นเจ้าขององค์กร การบริหารจัดการโดยกระบวนการมีส่วนร่วม จะมาซึ่งความสำเร็จเช่น ที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร ที่ปรึกษาฝ่ายบุคลากร ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมส่งเสริม ที่ปรึกษาฝ่ายการเงินและงบประมาณ

๓ การใช้ความรู้เป็นความจริง การแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาหมายถึง การแต่งตั้งบุคคลที่มีความเหมาะสม มีความรู้ ความสามารถ ระดมความคิด ประสบการณ์เฉพาะทางเป็นปรึกษาคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือองค์กร เพื่อให้การบริหารจัดการได้แนวคิด วิธีคิดใหม่ๆ และการปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งในชุมชนและนอกชุมชน เพื่อให้คนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนเป็นเจ้าของยังสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ตอบสนองความต้องการของสังคมได้

การนำเสนอโครงการ องค์กรหรือผู้บริหารเป็นผู้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ โดยความเห็นชอบของผู้เกี่ยวข้องในองค์กร

การบริหารโครงการ ผู้บริหารองค์กรต้องประสานแนวคิด วิธีการทำงานแบบมีส่วนร่วมประสานความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร และที่สำคัญคือการทาบทามที่ปรึกษาแต่ละฝ่ายและกระบวนการทำงานและการให้คำปรึกษา ขั้นตอนเทคนิคการขอคำปรึกษา การระดมความคิด การนำแนวความคิดมาสู่การปฏิบัติ ต้องอาศัยความสามารถในการประสานงาน ซึ่งต้องอาศัยความสามารถ ในการประสานใจ ดังคำกล่าวที่ว่า ประสานใจก่อนค่อยประสานงาน

ปัจจัยความสำเร็จ โครงการกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม จะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้บริหารในการระดมความคิด เทคนิคการขอความปรึกษา เทคนิคการประสานงาน กระบวนการวางแผน แผนการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน โดยการสร้างแรงจูงใจ

ปัจจัยความล้มเหลว องค์กรขาดแผนการทำงาน ผู้บริหารองค์กรขาดทักษะการประสานงาน บุคลากรขององค์กรไม่เห็นความสำคัญของที่ปรึกษา ไม่นำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ ขาดการประเมินผล

จากการศึกษา กรณีศึกษาพารณ-จีระ

นวัตกรรมประกอบด้วย

1. ความคิดใหม่ เช่น การนำรูปแบบการเรียนรู้ (Constructionism) ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ และ

มุ่งพัฒนาทักษะ 5 ด้านให้กับผู้เรียน ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด ความมั่นคงทางอารมณ์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการใช้เทคโนโลยี และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยอาศัยทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎีทุน 8 K’s, 5 K’s และทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

2. ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากการเดินทางไปศึกษาดูงาน แสวงหาความรู้ตลอดเวลา การเชิญ

ผู้เชี่ยวชาญ มาเป็นที่ปรึกษา นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ เช่น การพัฒนาหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับท้องถิ่นและความต้องการแรงงาน นักเรียนได้เรียนรู้ ทดลอง และหาข้อมูล สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

3. นำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จ และไม่หยุดที่จะต่อยอด

องค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อไป และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย

เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ มุ่งเน้นให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนาการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องอาศัยการพัฒนากระบวนการคิด ให้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และในฐานะที่คนเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสังคม และสิ่งแวดล้อม คุณภาพของคนดังกล่าวจะเป็นสภาพที่เสริมสร้างการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม และสืบทอดวัฒนธรรม อันเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

1. การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ (Constructionism) นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการประเมินผล ต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อไป

2. การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงาน เกิดทักษะและให้มีคุณภาพมากขึ้น

ปัจจัยความสำเร็จ ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ศึกษา แสวงหาความรู้ตลอดเวลา จนเป็นนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต

ปัจจัยความล้มเหลว ผู้นำถ้าขาดภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่ขับเคลื่อนงานไปสู่ความสำเร็จได้ และการทำงานสิ่งใดเมื่อคิด วางแผนแล้วไม่ทำ ก็ไม่เกิดงานและไม่ประสบความสำเร็จ

นางสาวนันท์นภัส วิกุล

Ph.D นครราชสีมา

นายอำนวย คุ้มบ้าน

จากการได้ศึกษาเอกสารมนุษย์พันธ์แท้ กรณีศึกษาการพัฒนาการศึกษาไทย ณ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ) กรณีศึกษาพารณ – จีระ.. มุ่งมั่น..พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

สรุปแนวคิดดังกล่าวได้ดังนี้ คุณครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯ ได้ทุ่มเทกำลังกาย ใจ และความคิดเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณของทางราชการ แต่สามารถระดมความร่วมมือจากเครือข่ายผู้ปกครองอย่างเป็นระบบและกระบวนการสามารถสร้างนวัตกรรมการพัฒนาการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับและแสวงหาความร่วมมือช่วยเหลือจากผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาสนับสนุนจนเกิดนวัตกรรมดังกล่าว อันส่งผลให้ผู้บริหารการศึกษาเห็นความสำคัญได้ส่งบุคลากรไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศ อีกทั้งสามารถเชื่อมเครือข่ายการเรียนระหว่างประเทศได้เป็นผลสำเร็จ สร้างศักยภาพทางการเรียนการสอนให้โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ) เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก

สำหรับการจัดทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาเอกสารมนุษย์พันธ์แท้ กรณีศึกษาการพัฒนาการศึกษาไทย ณ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ) กรณีศึกษาพารณ – จีระ.. มุ่งมั่น..พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ นั้น ผู้ศึกษาได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน คือ การสอนวิชาชีพภาษานานาชาติสู่โรงเรียนในการเตรียมรับสังคมอาเซี่ยนเสรี โดยได้จัดทำโครงการ”เสริมสร้างวิชาชีพภาษาสู่โรงเรียน” พอสังเขปดังนี้

1.ชื่อโครงการ”เสริมสร้างวิชาชีพภาษาสู่โรงเรียน”

2. หลักการและเหตุผล

จากกรณีศึกษามีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการบริหารจัดการ การพัฒนาการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสด้านภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น พม่า กัมพูชา มาเลเซีย และภาษาอื่น ๆ ที่สามารถใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซี่ยน โดยกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียคือผู้ปกครองนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยยึดหลักการสร้างนวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) คิดค้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง Media Lab Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาวิจัยพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กมากว่า 20 ปีและได้สรุปเป็นทฤษฏีว่า“การเรียนรู้ที่ดีกว่า ไม่ได้เกิดจากการที่ครูค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่า แต่เกิดมาจากการที่ครูให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง” Prof. Seymour Papert, 1996 จากกรณีศึกษาจากเอกสารยังต้องใช้ทฤษฏี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าที่สุด ควบคู่ไปกับการเกิดนวัตกรรมใหม่ โดยมีการใช้ทฤษฏี 4 L’s ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s มากระตุ้นผู้บริหารโรงเรียนเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาการเรียนการสอนที่เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถสร้างความรู้ด้านภาษาในกลุ่มอาเซี่ยนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับสังคมอาเซี่ยนเสรี

3.วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนโรงเรียน

2.เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนทุกระดับชั้นในการเรียนรู้ด้านภาษา

3.เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม

4.เพื่อยกระดับการพัฒนาโรงเรียนไปสู่ระดับนานาชาติที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

5.เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัตน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมอาเซี่ยนเสรี

4.ร่วมกันนำเสนอปัญหาในการทำงานและแนวทางแก้ไข

จากกรณีศึกษา แนวคิดด้านนวัตกรรม ในรูปแบบต่างๆคือ ต้องมาจากความคิดใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลาเมื่อมีความคิดใหม่แล้ว ต้องลงมือทำ เพราะถ้าคิดแต่ไม่ทำ นวัตกรรมก็ไม่เกิด ผู้บริหารของโรงเรียนสนับสนุนให้เกิดโครงการใหม่ ๆ คือมีการทำไปทำ (Action) หรือเรียกว่ามีการเริ่มให้เป็นรูปธรรม (Initiative for action) ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลว่าคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจากมุมมองของครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ประโยชน์มากขึ้นจากคุณภาพการศึกษาที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น

ความคิดใหม่ (Idea) การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพได้นั้น จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมในการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและชุมชน สังคม รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสองส่วนที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก คือ ครูและผู้ปกครอง บ้านและโรงเรียน การสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน นั้น ผู้บริหารโรงเรียนหรือครูต้องยึดแนวทางของ ครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯ ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อนเป็นอันดับแรก ให้ผู้ปกครองเข้าใจแนวทางของโรงเรียน แนวทางการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมจากจุดเล็กๆ ตามแนวทาง มีการทำไปทำ (Action) หรือเรียกว่ามีการเริ่มให้เป็นรูปธรรม (Initiative for action) ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลว่าคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจากมุมมองของครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ประโยชน์มากขึ้นจากคุณภาพการศึกษาที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น จัดการเรียนการสอนสู่สังคมอาเซียนอย่างมืออาชีพ และสอดรับกับสังคมตามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเน้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้นักเรียนเก่งอย่างมีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมพร้อมจะเติบโตเป็นบุคลากรของสังคมที่ดีมีคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ต้องมีวิธีการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยการบูรณาการด้วย

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบการพัฒนากระบวนการคิดและการจัดการนี้ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดและการจัดการ เพื่อให้คิดค้น ค้นคว้า แก้ปัญหา ด้วยตนเองและเป็นกลุ่ม ลักษณะการจัดกิจกรรมจะต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ในชีวิตจริง เน้นฝึกทักษะการสืบเสาะหาความรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทั้งการคิดและการจัดการ มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับการคิดสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ใช้กระบวนการกลุ่มระดมความคิด ร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์ วางแผนหาแนวทางปฏิบัติ เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาส่งเสริมศักยภาพ โดยเฉพาะด้านความมีเหตุผล การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีจิตวิจารณญาณ คำนึงถึงการพัฒนาของผู้เรียน แต่ละช่วงชั้นเรียน ทั้งด้านความสามารถ ความสนใจ อารมณ์ความสุขสนุกกับการเรียน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับทุนมนุษย์จากกรณีศึกษา การได้นำแนวทางของคุณครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯมาจัดทำโครงการ”เสริมสร้างวิชาชีพภาษาสู่โรงเรียน” นวัตกรรม (Innovations) หากผู้บริหารเห็นถึงความสำคัญและมีวิสัยทัศน์ที่ดีต่อการพัฒนาการศึกษา พร้อมทั้งยอมรับในนวัตกรรมด้านการเปิดสอนวิชาชีพด้านภาษาในโรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นตลอดจนระดับนานาชาติโดยไม่ต้องใช้งบประมาณของทางราชการ เป็นการแสวงหาความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองต่างก็มีความหลากหลายด้านความรู้และวิชาชีพ แต่ในจำนวนนี้ย่อมมีผู้มีความรู้ด้านภาษาหรืออาจจะเป็นการร่วมระดมทุนจัดสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ ตามแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็สามารถสร้างความสำเร็จได้ อีกทั้งการได้แสวงหาความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาและต้องผ่านการลงมือทำอย่างจริงจัง พร้อมทั้งการติดตามประเมินผล สรุปบทเรียนในจุดอ่อนข้อผิดพลาดเพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาใหม่ให้เกิดผลสำเร็จ

สรุป ตามโครงการ”เสริมสร้างวิชาชีพภาษาสู่โรงเรียน” ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวทางของคุณครูปรารถนา ณ โรงเรียนบางหัวเสือฯได้ใช้หลักการนำองค์ความรู้มาใช้ได้จริง คือ องค์ความรู้ที่ผู้ปกครองนักเรียนมี หรือองค์ความรู้ที่โรงเรียนมี ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ที่เกิดจากการระดมความคิดระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน แบบร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อสร้างสรรค์การเรียนที่ดีสู่ลูกหลานเรา ในขณะเดียวกันต้องเกิดการประสานงานสร้างแรงจูงใจและผ่านกระบวนการทำซ้ำแล้วซ้ำอีก จนบรรลุเป้าหมาย จากนั้นต้องนำเข้าสู่กระบวนการ บูรณาการในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในลำดับอื่นต่อไป

----------------------------------------

นายกมล ค้าไกล (ศูนย์ภูเก็ต)

โครงการกิจกรรมเครือข่ายผู้ปกครอง ประจำปี 2554

1.ชื่อโครงการ”การเสวนาเครือข่ายผู้ปกครอง”

เรื่อง “บทบาทหน้าที่ของเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน โรงเรียนภูเก็ต”

จากกรณีศึกษา ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ กรณีศึกษาพารณ-จีระ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางสังคม โดยกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียคือผู้ปกครองนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

2. หลักการและเหตุผล

เครือข่ายผู้ปกครอง คือคณะบุคคลที่ประกอบขึ้นด้วยคณะของผู้ปกครองนักเรียนในแต่ละห้องเรียน ที่รวมตัวขึ้นมาเพื่อร่วมกันพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียน ตามสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โดยกำหนดให้เครือข่ายผู้ปกครอง ตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับครูที่ปรึกษา ร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านการเรียนของนักเรียน และทำให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะหารือกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนในห้องเดียวกัน

เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา การดำเนินการและรูปแบบของเครือข่ายผู้ปกครองขาดความชัดเจน การที่เครือข่ายผู้ปกครองและครู ต่างไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย อาจทำให้การทำงานร่วมกันมีปัญหาอุปสรรคได้ ดังนั้นเครือข่ายผู้ปกครองจึงเห็นความสำคัญของการจัดเสวนาในครั้งนี้เพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ไม่ก้าวก่ายการทำงานของโรงเรียนและครูมีความเข้าใจการทำงานของเครือข่ายผู้ปกครองมากขึ้น มุ่งหวังที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกัน ทำให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปอย่างยั่งยืน และปราศจากอุปสรรค เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อนักเรียนและโรงเรียนภูเก็ต

จากกรณีศึกษาใช้ทฤษฏี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าที่สุด ควบคู่ไปกับการเกิดนวัตกรรมใหม่ โดยมีการใช้ทฤษฏี 4 L’s ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากระตุ้นผู้บริหารโรงเรียนเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาระบบเครือข่ายผู้ปกครอง อย่างแท้จริง

3.วัตถุประสงค์

(1)เพื่อให้เครือข่ายผู้ปกครองทุกคน มีความรู้และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง

(2)เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกอันเป็นเรื่องสำคัญในการทำงานร่วมกัน รวมถึงเรื่องความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความมีจิตอาสา ความเสียสละ ของเครือข่ายผู้ปกครอง

(3)เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ครูและเครือข่ายผู้ปกครอง ให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกัน เครือข่ายผู้ปกครองสามารถให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนโรงเรียน

(4)ร่วมกันนำเสนอปัญหาในการทำงานและแนวทางแก้ไข

จากกรณีศึกษา มีแนวคิดด้านนวัตกรรม ในรูปแบบต่างๆคือ

ความคิดใหม่ (Idea)

การจัดการเรียนรู้ที่ดีและจะสำเร็จได้ ต้องมาจากสองส่วน โดยเกิดจากความร่วมมือของครูและผู้ปกครอง ทั้งบ้านและโรงเรียน ซึ่งการที่จะทำให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมได้นั้น ครูต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อนเป็นอันดับแรก ให้ผู้ปกครองเข้าใจแนวทางของโรงเรียน แนวทางการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมเช่น อาสาสมัคร จิตอาสา และค่อยๆ มีส่วนร่วมในการพัฒนาลูกร่วมกับทางโรงเรียน เช่น ช่วยแก้ปัญหาต่างๆของลูกร่วมกับครู จัดกิจกรรมพัฒนาลูก เป็นวิทยากรสอนในสิ่งที่ตนเองถนัด และในขั้นสูงสุดให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการเป็นเจ้าของกิจกรรมและออกแบบจัดกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียน เช่น งานวันไหว้ครู งานกีฬาสัมพันธ์ เป็นต้น โดยโรงเรียนควรปลูกฝังเรื่องนี้ให้กับผู้ปกครองตั้งแต่ส่งลูกเข้าเรียนอนุบาลและทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเด็กทุกคน และเพื่ออนาคตของชาติ

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

จากการระดมความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มาจากหลายอาชีพ มีความคิดเห็น การปฏิบัติงานและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มาสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน ทำให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของโรงเรียนและชุมชนว่ามีปัญหาหรือความต้องการ ความคาดหวัง ที่อยากให้เกิดกับตัวนักเรียนอย่างไร มีสิ่งใดที่ต้องการให้โรงเรียนดำเนินการ นอกจากนี้ยังอาจมีการเสียสละในด้านกำลังทรัพย์ของตนเอง ความคิด และแรงงาน ในการเข้าร่วมกับกิจกรรมเพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย นับตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น การวางแผน การดำเนินการและการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางตรง คือ ร่วมเป็นคณะทำงานและทางอ้อมร่วมวางแนวทาง นโยบาย โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม คือ หลักร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับผิดชอบ

4.เป้าหมาย

ด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ

5.สถานที่ดำเนินการ

หอประชุมโรงเรียนภูเก็ต

6.ระยะเวลา

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 08.30 - 16.00 น.

7.วิธีดำเนินการ (ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นประเมินผล )

8.งบประมาณดำเนินการ

ค่าเอกสาร ,ค่าอาหารว่าง ,ค่าอาหารกลางวัน ฯ ขอสนับสนุนจากโรงเรียนภูเก็ต

9.ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนภูเก็ต

10.ผู้เกี่ยวข้อง

ผู้บริหารโรงเรียน ,ครูหัวหน้าระดับทุกระดับ , ครูที่ปรึกษาทุกห้อง

คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองทุกคน (ระดับโรงเรียน,ระดับชั้นเรียน,ระดับห้องเรียน)

11.การติดตามประเมินผล ( ระบุวิธีการ ,เครื่องมือ และเวลา )

วิธีการ (แบบสอบถาม) เครื่องมือ(แบบสอบถาม) เวลา(หลังจากเสร็จสิ้นการเสวนา)

12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) เครือข่ายผู้ปกครองมีความเข้าใจในบทบาทของตนเอง

(2) เครือข่ายผู้ปกครองมีความสามัคคีเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน มีจิตอาสา มีความเสียสละ มีทัศนคติเชิงบวก มีความร่วมมือกันทำงานทุกระดับชั้นโดยมีนักเรียนและโรงเรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ

(3)ครูมีความเข้าใจการทำงานของผู้ปกครองและสามารถประสานงานและช่วยเหลือร่วมมือกันทำงานเพื่อนักเรียนและโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ความเข้าใจระหว่างครูและผู้ปกครองมีมากขึ้น

(4)มีแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น

13. ผู้เสนอโครงการ

ประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนภูเก็ต

14.ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ต

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์เกิดจากการสร้างเครือข่าย(Network)ที่ดี มีการใช้ Connection กับผู้ปกครองที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาให้ความรู้ การแนะนำ และขยายเครือข่ายออกไป การมีส่วนร่วมของประชาชน นับเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น หากชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา รวมถึงการเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้และมีเวลาว่างมาเป็นครูให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านภูมิปัญญากับบุตรหลาน ย่อมเกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนที่ได้บุคลากรเพิ่ม ส่วนผู้ปกครองย่อมภาคภูมิใจที่ได้สอนบุตรหลานในโรงเรียน รวมถึงนักเรียนที่จะมีความเคารพและนับถือในตัวผู้ปกครองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียนและชุนชม

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว อาจเกิดขึ้นได้ในหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ขาดการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ไม่มีการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร ไม่ได้ดูแบบอย่างของความสำเร็จจากการศึกษาดูงานของโรงเรียนต่างๆ และสุดท้ายไม่มีการบูรณาการทางความคิดจากการศึกษาดูงาน ทำให้การบริหารงานเครือข่ายผู้ปกครองล้มเหลวในที่สุด

จากการอ่านกรณีศึกษาพารณ-จีระ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ สรุปได้ดังนี้

1.นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมที่สร้างองค์ความรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา(CONSTRUCTIOISM) คิดค้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง Medis Lab Massachuestts Institue of Technology) (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เป็นการเรียนรู้แบบลงมือปฎิบัติ โดยการทำโครงงานบูรณาการด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจรรยา โดยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยให้บทบาทของครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เพื่อให้ครูติดตามพัฒนาการด้านพฤติกรรม อุปนิสัยและจิตใจของเด็กนักเรียน โดยเริ่มการจากเขียนโครงการ นำเสนอโครงการ การขอนุมัติและการบริการโครงการ โดยอาจจะเริ่มจากความสนใจของผู้เรียน ว่าสนใจโครงงานใดบ้าง เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ภาษา คณิตศาสตร์ ซึ่งครูจะต้องเตรียมโครงงานที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างโดยใช้เทคโนโลยี่เป็นสื่อ ซึ่งครูและผู้เรียนจะวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความเป็นเจ้าของโครงงานและมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานนั้นให้บรรลุผลสำเร็จ ขั้นตอนต่อไปมาเป็นเรียนรู้โดยการลงมือทำจริง เพื่อที่ผู้เรียนจะได้สัมผัสและเข้าใจกับสิ่งต่างๆได้อย่างลึกซึ้ง โดยสรุปความรู้และเก็บบันทึกผลงานอาจจะในรูปแบบของบทความ สมุด รวบรวมผลงาน แผนภาพความคิด เป็นการให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้เอง และนำเสนอองค์ความรู้ด้วยการจัดนิทรรศการ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิดแผนที่นำเสนอเอง แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ประเมินผลแบบ 360 องศา เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ และการประเมินด้านความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม ผ่านแบบทดสอบ ชิ้นงาน กิจกรรม แฟ้มผลงานแบบบันทึกพฤติกรรมโดยครู ซึ่งจะสามารถนำมาต่อยอดองค์ความรู้ โดยการนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงการมาใช้เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่การทำโครงงานที่ใหญ่ขึ้น โดยรูปแบบการเรียนรู้ที่ต้อเนื่องอย่างไม่มีสิ้นสุด(Spiral Model)

2.การเสนอเป็นโครงการ

แบบเสนอโครงการ

ชื่อโครงการ นิทัศน์การส่งเสริมเพิ่มการเรียนรู้ภาษาไทยสู่สากล

ชื่อหัวหน้าโครงการ หัวหน้าห้องชั้นประถมปีที่ 6

ชื่อหัวหน้าผู้ดูแลโครงการ คุณครูประจำชั้นประถมปีที่ 6

ระยะเวลาของโครงงาน 2 วัน งบประมาณ 1,500-บาท

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 รู้จักพัฒนาทักษะในกระบวนการคิดและการถ่ายทอด ทำงานเป็นทีม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความคิดใหม่และคิดในเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา รู้จักคิดเป็น คิดนอกกรอบ ซึ่งจะเป็นให้เกิดโครงการใหม่ๆ ต่อไป

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ คือ ปัจจัยในการบริหารคน คนที่มีความพร้อมทางสมรรถนะในการปฏิบัติงานจะเป็นทรัพยากรที่ทุก ๆ องค์การต้องสรรหาเข้ามาปฏิบัติงาน หรือถ้าเป็นทุนมนุษย์ที่มีอยู่แล้วในองค์การ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการรักษา และจูงใจให้ทุนมนุษย์เหล่านั้นอยู่ปฏิบัติงานนาน ๆ สรุปง่าย ๆ ได้ว่าปัจจุบันองค์การต่าง ๆ กำลังถูกทุนมนุษย์ที่มีสมรรถนะพร้อมในการปฏิบัติงานเลือกว่าพวกเขาจะเลือกองค์การใดในการทำงาน เพราะฉะนั้นองค์การต่าง ๆ จึงต้องมีการปรับตัวพัฒนาแนวคิดในการบริหารองค์การเสียใหม่ เพื่อที่จะพัฒนาองค์การให้เป็น “องค์การแห่งทางเลือก (Employer of choice)” ในหมู่ทุนมนุษย์ที่มีฝีมือเหล่านั้น การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งทางเลือก

โดยนางสาววรัญญา นาคดิลก นักศึกษา ป.เอก ม.สวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์ ศูนย์ภูเก็ต

จากการได้อ่านกรณีศึกษาพารณ – จีระ..มุ่งมั่น..พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านชาคลี อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ข้าพเจ้ารู้สึกปลื้มปิติในความมุ่งมั่นและการพัฒนาทุนมนุษย์ของท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่มีคุณูปการต่อการพัฒนาการศึกษาไทย ในกรณีศึกษาการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ และกรณีของคุณพารณ คือการสร้างนวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ที่สันกำแพงและที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ข้าพเจ้าชื่นชอบในการค้นหาความรู้และวิธีวิทยการสอนใหม่ๆ จากทางอินเทอร์เน็ต ข้าพเจ้าเคยอ่านบทความของท่านอาจารย์จากทางอินเทอร์เน็ต ท่านอาจารย์เป็นแรงบันดาลใจ ที่ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ทุนที่สำคัญคือทุนมนุษย์ และข้าพเจ้าเชื่อว่า ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าทุกคนเป็นผู้มีศักยภาพไม่แพ้เด็กที่อยู่ในเมืองกรุง ขึ้นอยู่กับว่าครูจะดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคคลมาสู่การเรียนรู้อย่างมีความหมายได้อย่างไร กรณีศึกษาเรื่องภาพยนตร์สั้นสื่อสร้างเสริมคุณธรรมในโลกยุคดิจิตอลของโรงเรียนบ้านชาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง เป็นกรณีศึกษาที่นำไปสู่การคิดค้นโครงการภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่สอดคล้องกับโลกยุคไอทีผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างกลมกลืนเพื่อการก้าวไปในสากลของโรงเรียนในเขตชนบท

กรณีศึกษา ภาพยนตร์สั้นสื่อสร้างเสริมคุณธรรมในโลกยุคดิจิตอลของโรงเรียนบ้านชาคลี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

…..จากการที่นักเรียนโรงเรียนบ้านชาคลี ได้เรียนรู้และสร้างภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรมเรื่อง “เด็กเลี้ยงแพะ” ด้วยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงและเชื่อในแนวคิด “Think Global, Act Local” ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลผลงานประทับใจคณะกรรมการ ระดับประเทศและรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ ๑ ระดับภาคใต้ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ ๖๐ “สุดยอดเด็กไทย ก้าวใหม่ที่ไกลกว่า” และ เป็นครั้งแรกในรอบ ๖๐ ปีของการก่อตั้งโรงเรียนที่นักเรียนโรงเรียนบ้านชาคลีคว้ารางวัลระดับประเทศมาครอง รวมถึงเป็นครั้งแรกของจังหวัดระนอง ที่โรงเรียนในเขตชนบทเป็นตัวแทนเข้าร่วมในกิจกรรมวิชาการระดับประเทศ และสร้างกระแสภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษาให้ตื่นตัว โรงเรียนบ้านชาคลีทำได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าศึกษา…..

สังคมโลกปัจจุบันมีความก้าวหน้าขององค์ความรู้และวิทยาการต่างๆ อย่างมากมาย ความเจริญทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตเพิ่มมากขึ้นจนหลายครั้งความสะดวกสบายเหล่านี้กลายเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาสังคม สมาชิกในสังคมเกิดความหลงลืมละเลยที่จะพัฒนาคุณธรรมหรือคุณงามความดีที่มีอยู่ในตนเอง (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖) ให้ทัดเทียมเท่าทันความรุดหน้าทางวิทยาการที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่คุณธรรมนั่นจะช่วยให้การใช้ความรุดหน้าของวิทยาการเหล่านี้เป็นไปในครรลองที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ดังที่ประจักษ์กันอยู่ทั่วไป

การพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษาให้เกิดคุณธรรมนั้นเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากคุณลักษณะดังกล่าวมีผลต่อการเรียนรู้และเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนและจากสภาพความเป็นจริงพบว่ายังมีผู้เรียนในระดับประถมศึกษาขาดคุณธรรมดังกล่าว

หลักสูตรกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

๑. แนวคิด ทฤษฎี หลักการเบื้องต้นของภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา

๒. มุมมองและการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์สั้น

๓. การเขียนบทภาพยนตร์สั้นเบื้องต้น

๔. การกำกับภาพ

๕. การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น

๖. การตัดต่อ การลำดับภาพ การตัดต่อเสียง

๗. การฝึกปฏิบัติการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ความยาว ๑๐ นาที

๘. การวิจารณ์ภาพยนตร์สั้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผล

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

1.นักเรียนทดสอบก่อนเรียน

2.นักเรียนรับชมตัวอย่างภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนเห็นตัวอย่าง

3.ครูแนะนำวิธีการ ขั้นตอนในการผลิตภาพยนตร์สั้น เช่น การเขียนบทภาพยนตร์สั้น การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น การตัดต่อภาพยนตร์สั้น เป็นต้น

4.นักเรียนฝึกปฏิบัติการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ครูประเมินคุณธรรมในระหว่างการปฏิบัติงาน

5.นักเรียนนำเสนอผลงานภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

6.ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองจากภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในด้านของข้อคิดคุณธรรมจากการรับชม

7.นักเรียนทดสอบหลังเรียน

เสนอแนวทางการนำนวัตกรรมมาประยุกต์พัฒนาหน่วยการศึกษา – สถานศึกษากรณีศึกษา

รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมโดยใช้กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา เป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนในสถานศึกษา เนื่องจากนักเรียนจะได้การสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารข้อมูล ผ่านมุมมอง อันสะท้อนถึงจินตนาการและมโนธรรม ภายใต้หัวข้อของการสร้างสรรค์บนพื้นฐานหลักคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้สามารถนำมาบูรณาการได้เป็นอย่างดีกับนักเรียนในทุกระดับชั้น โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕-๖ จะมีหน้าที่หลักในการการเขียนบทภาพยนตร์สั้น การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น การตัดต่อภาพยนตร์สั้น เป็นต้น ส่วนนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ เหมาะสมกับหน้าที่นักแสดง จะเห็นได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกสนาน สอดแทรกแง่คิดคุณธรรมในทุกขั้นตอน นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ดังเช่น กรณีศึกษาของโรงเรียนบ้านชาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง

ผลงานภาคภูมิใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านชาคลี

ภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ

“แวะมาเที่ยวชาคลี มาดูเด็กดี เป็นเด็กเลี้ยงแพะ ไม่ใช่เด็กเลี้ยงแกะ”

ทางโรงเรียนบ้านชาคลีได้ฝึกซ้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน จังหวัดระนอง ผลการแข่งขันภาพยนตร์สั้นคุณธรรมจริยธรรม เรื่อง “เด็กเลี้ยงแพะ” กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ได้รับเหรียญทองระดับจังหวัด นักเรียนในทีม ๕ คนได้เป็นตัวแทนจังหวัดเข้าร่วมแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาคใต้ ในระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ จังหวัดตรัง ผลการแข่งขันนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับ ๑ ระดับภาคใต้ และเป็นตัวแทนภาคเข้าร่วมการแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับประเทศ ณ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา นักเรียนได้รับรางวัลผลงานประทับใจคณะกรรรมการ สร้างความภาคภูมิใจให้คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และชุมชนชาวชาคลีเป็นอย่างยิ่ง

ภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ เป็นเรื่องราวที่มุ่งสอนให้นักเรียนรักและเมตตากรุณาต่อสัตว์เลี้ยงของตน รวมทั้งสร้างความตระหนักไม่ให้นักเรียนหลงใหลในเทคโนโลยีจนมากเกินไป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากโรงเรียนบ้านชาคลีได้จัดทำโครงการ “แหล่งเรียนรู้แพะโรงเรียน” ขึ้น นักเรียนจึงได้เรียนรู้และใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในการถ่ายทำหนังสั้นด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เริ่มตั้งแต่การเขียนบทภาพยนตร์ การถ่ายทำ และการตัดต่อภาพยนตร์ โดยครูเป็นผู้แนะนำอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน ด้วยผลแห่งความพยายาม และตั้งใจจริงของนักเรียน ทางคณะกรรมการจึงมอบรางวัลผลงานประทับใจคณะกรรรมการ คณะกรรมการตัดสินผลการประกวดระดับประเทศได้กล่าวในวันตัดสินผลการประกวดว่า “ผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ เป็นผลงานที่ดูแล้วมีความสุข แสดงถึงความใสซื่อ จริงใจ ช่างจินตนาการของนักเรียน”

บทสรุป

ปัจจุบัน ภาพยนตร์นับเป็นสื่อบันเทิงที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังสามารถสอดแทรกสาระความรู้ รวมถึงให้แง่คิดในเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

“ภาพยนตร์สั้น” หรือ “หนังสั้น” คือหนังที่มีความยาวไม่เกิน ๓๐ นาที การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นอีกทางออกหนึ่งของเยาวชนในการสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารข้อมูล ผ่านมุมมอง อันสะท้อนถึงจินตนาการและมโนธรรม ภายใต้หัวข้อของการสร้างสรรค์บนพื้นฐานหลักคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีขอบเขตที่จะพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ซึ่งประกอบด้วย คุณธรรมด้านความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ ทั้งนี้เนื่องจากผลการศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และผลการวิจัยพบว่าคุณธรรมพื้นฐานทั้ง ๘ ประการเป็นคุณธรรมที่พึงประสงค์ซึ่งต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นกับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาเป็นลำดับแรก

รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมโดยใช้กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้น มีดังนี้ ๑) จูงใจสู่บทเรียน ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมซึ่งเป็นผลงานที่ครูได้รวบรวมไว้เพื่อให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมผลิตภาพยนตร์สั้น

๒) แจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ทราบ ครูแจ้งวัตถุประสงค์ในการผลิตภาพยนตร์สั้นให้นักเรียนรับทราบ โดยครูอาจแบ่งเป็นหัวข้อคุณธรรมให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบตามความสมัครใจ ๓) นำเสนอบทเรียนใหม่ หรือจัดสถานการณ์ ครูแนะนำกระบวนการเขียนบทภาพยนตร์สั้น การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น และการตัดต่อภาพยนตร์สั้นให้แก่นักเรียน ๔) ปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม นักเรียนแต่ละกลุ่มประชุมวางแผนและแบ่งหน้าที่กันภายในกองถ่าย จากนั้นช่วยกันระดมความคิดเพื่อวางแผนในการเขียนบทภาพยนตร์ การถ่ายทำ และการตัดต่อภาพยนตร์สั้น และนำแผนไปสู่การปฏิบัติจริง๕) นำเสนอผลงาน นักเรียนจัดฉายภาพยนตร์ให้ครูและเพื่อนสมาชิกคนอื่นๆในห้องได้รับชม๖) ร่วมกันเสนอแนะและวิจารณ์ นักเรียนและครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อคุณธรรมที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ พร้อมกับอภิปรายข้อคิด คุณค่าที่ได้รับจากภาพยนตร์ในแต่ละเรื่อง ข้อคิดคุณธรรมจากการรับชม ๗) นำไปใช้ นักเรียนเผยแพร่ผลงานให้นักเรียนชั้นอื่น ๆได้รับชม หรือการเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมคุณธรรมอันดีงามให้เกิดขึ้นในสังคม

จากกรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้ภาพยนตร์สั้นของโรงเรียนบ้านชาคลี ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้การทำผลิตภาพยนตร์สั้นจากคุณครู และสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สั้นส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มุ่งสอนให้นักเรียนรักและเมตตากรุณาต่อสัตว์เลี้ยงของตน รวมทั้งสร้างความตระหนักไม่ให้นักเรียนหลงใหลในเทคโนโลยีจนมากเกินไป โดยนักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนคือ โครงการ “แหล่งเรียนรู้แพะโรงเรียน” ในการถ่ายทำเรื่องราวความผูกพันระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง เริ่มตั้งแต่การเขียนบทภาพยนตร์ การถ่ายทำ และการตัดต่อภาพยนตร์ โดยครูเป็นผู้แนะนำอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน ด้วยผลแห่งความพยายาม และตั้งใจจริงของนักเรียน ทางคณะกรรมการจึงมอบรางวัลผลงานประทับใจคณะกรรรมการ คณะกรรมการตัดสินผลการประกวดระดับประเทศได้กล่าวในวันตัดสินผลการประกวดว่า “ผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง เด็กเลี้ยงแพะ เป็นผลงานที่ดูแล้วมีความสุข แสดงถึงความใสซื่อ จริงใจ ช่างจินตนาการของนักเรียน” ทั้งนี้จากการประเมินผลนักเรียนด้านพฤติกรรมคุณธรรมและเจตคติที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวพบว่า นักเรียนทุกคนมีความรักและเมตตาต่อสัตว์เลี้ยงมากขึ้น และนักเรียนในโรงเรียนที่ได้รับชมก็เพลิดเพลินและได้รับข้อคิดคุณธรรมจากตัวอย่างที่นักเรียนได้รับชมจากภาพยนตร์

ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมคุณธรรมในสถานศึกษาด้วยกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นในระดับประถมศึกษา

ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมคุณธรรมในสถานศึกษาด้วยกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา ในระดับประถมศึกษา มีดังต่อไปนี้

สำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ควรส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อช่วยให้เกิดพฤติกรรมคุณธรรมของผู้เรียน เนื่องจากในระดับการศึกษานี้ ครูมีอิทธิพลสูงและมี “บทบาทโดยตรง” ในการดูแลจัดการ และเป็นต้นแบบให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมคุณธรรมขึ้นได้ ทั้งนี้ ควรจัดโครงการฝึกอบรมครูให้มีความเข้าใจในความหมายของ “คุณธรรม” ด้านต่างๆ ที่ต้องการส่งเสริมอย่างชัดเจน และฝึกทักษะครูในการถ่ายทอดคุณธรรมไปสู่นักเรียน ทั้งในลักษณะของการถ่ายทอดผ่านการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรให้กับเด็ก

นอกจากนี้ สถานศึกษายังสามารถกำหนดนโยบายต่างๆ ในการส่งเสริมคุณธรรมและจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมต่างๆ ให้แก่ผู้เรียนได้โดยตรง เช่นกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เนื่องจากผู้เรียนในระดับประถมศึกษามีการยอมตามและเชื่อในครูผู้สอนค่อนข้างมาก ทั้งยังให้ความสำคัญกับกฎระเบียบมากกว่าผู้เรียนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การที่นักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนเดียวกัน มักจะมีพฤติกรรมและความคิดในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากมาจากชุมชนใกล้โรงเรียนซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ได้รับบรรทัดฐานจากชุมชนในระดับใกล้เคียงกัน และมีลักษณะครอบครัวที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้ง่ายสำหรับสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมที่เป็นที่สนใจและเหมาะสมกับนักเรียนในชุมชนได้ ทั้งนี้ควรพิจารณาให้ความสำคัญในการจัดบรรยากาศในสถานศึกษาเช่น การจัดโครงการแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ให้เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมและพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนนักศึกษาโดยอาจเน้นการส่งเสริมในด้านกิจกรรมนอกหลักสูตรต่างๆ ของนักเรียนให้เป็นกิจวัตรต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อให้บรรยากาศในการสร้างเสริมคุณธรรมในสถานศึกษามีความชัดเจน และเกิดการรับรู้ในกลุ่มนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งในระยะเวลาในหนึ่งปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้เป็นวิทยากรเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาพยนตร์สั้นให้แก่คณะครูจากกลุ่มโรงเรียนในฝันและในปีนี้ก็ได้จัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ ๒ โดยเป้าหมายในปีนี้นอกจากจะอบรมครูแล้วยังขยายผลไปสู่โรงเรียนเครือข่าย โดยแต่ละโรงเรียนจะส่งครูหนึ่งคนและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องภาพยนตร์สั้นและสร้างเครือข่ายการผลิตภาพยนตร์สั้นให้เป็นที่รับรู้โดยกว้างขวาง

ชื่อโครงการ โครงการอบรมภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา

ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๕-๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

๑. หลักการและเหตุผล

ภาพยนตร์สั้นนับเป็นสื่อบันเทิงที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังสามารถสอดแทรกสาระความรู้ รวมถึงให้แง่คิดในเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี กระแสภาพยนตร์สั้นได้รับเสียงตอบรับจากคนส่วนใหญ่อย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์สั้นจะมีช่วงเวลาในการฉายไม่เกิน ๑๕-๓๐ นาที โดยเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือแสดงขึ้นตามจินตนาการ ทั้งนี้จะเป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้ภาพยนตร์สั้นจึงเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นอีกทางหนึ่งของเยาวชนในการสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารข้อมูล ความคิด ผ่านมุมมอง อันสะท้อนถึงจินตนาการผ่านสื่อ คณะผู้จัดเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงจัดโครงการอบรมภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษาขึ้นเพื่อมุ่งหมายที่จะให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ถึงเทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นให้ตรึงใจผู้ชม

๒. วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อภาพยนตร์สั้นออกสู่สาธารณชน และสามารถนำผลงานการผลิตไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้

๒. เพื่อส่งเสริมเกิดการเรียนรู้ สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการจัดการเรียนรู้ได้

๓. เพื่อส่งเสริมการจัดทำสื่อภาพยนตร์สั้นให้กับหน่วยงานการศึกษาให้พึ่งพาด้วยตนเองได้

๔. เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนองค์แห่งการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูแต่ละโรงเรียน

๓. เป้าหมาย

๓.๑ เชิงปริมาณ

ครูและนักเรียน จำนวน ๕๐ คน

๓.๒ เชิงคุณภาพ

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อภาพยนตร์สั้น ร้อยละ ๘๐

๔. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน

๑)ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดโครงการ ทำความเข้าใจรายละเอียดของโครงการ การเตรียมความพร้อมของทีมทั้งด้านวิชาการ ทักษะการดำเนินงาน

๒) เตรียมคน โดยการประชาสัมพันธ์และกระตุ้นให้ครูในเครือข่ายได้รับรู้ความ

เป็นมาของโครงการและการดำเนินกิจกรรม

๓) ดำเนินการอบรมตามหลักสูตรภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา

๔) ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

๕) นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ

๕. หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

๑. แนวคิด ทฤษฎี หลักการเบื้องต้นของภาพยนตร์สั้น

๒. มุมมองและการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์สั้น

๓. การเขียนบทภาพยนตร์สั้นเบื้องต้น

๔. การกำกับภาพ

๕. การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น

๖. การตัดต่อ การลำดับภาพ การตัดต่อเสียง

๗. การฝึกปฏิบัติการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ความยาว ๑๐ นาที

๘. การวิจารณ์ภาพยนตร์สั้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผล

๖.ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

๑. ผู้เข้ารับการอบรมรับชมตัวอย่างภาพยนตร์สั้น เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตภาพยนตร์สั้น

๒. วิทยากรแนะนำวิธีการ ขั้นตอนในการผลิตภาพยนตร์สั้น เช่น การเขียนบทภาพยนตร์สั้น การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น การตัดต่อภาพยนตร์สั้น เป็นต้น

๓. ผู้เข้ารับการอบรมฝึกปฏิบัติการผลิตภาพยนตร์สั้น

๔. ผู้เข้ารับการอบรมเสนอผลงานภาพยนตร์สั้น

๕. วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองจากภาพยนตร์สั้น

๗. สถานที่ดำเนินการ โรงแรมไอเฟลล์อินน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์)

๑. ได้ร่วมพัฒนาครูและนักเรียนของโรงเรียนให้มีความรู้ในการผลิตภาพยนตร์สั้น

๒. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อภาพยนตร์สั้นออกสู่สาธารณชน และสามารถนำผลงานการผลิตไปใช้ประโยชน์ในอนาคต

ชมภาพยนตร์สั้นเด็กเลี้ยงแพะได้ที่ youtube แล้วพิมพ์ เด็กเลี้ยงแพะ

หรือเว็บไซต์โรงเรียนบ้านชาคลี ที่ www.banchaklee.com

ชนินท์ภรณ์ อธิกรพัฒนนนท์

วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2554

นางสาวชนินท์ภรณ์ อธิกรพัฒนนนท์ รหัสนักศึกษา 53484931017

E-Mail [email protected] Tel.081-8204822

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตภูเก็ต ระดับปริญญาเอก

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการทั่วไป ปีการศึกษา 2554 เทอม 1

รหัสวิชา PHD 8202 วิชา การจัดการทุนมนุษย์

________________________________________

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึษาพารณ – จีระ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่ 193 – 208 ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (นำเสนอเป็นโครงการฯ จากข้อมูลข้างล่างนี้) ตามไฟล์เอกสารแนบ

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน เสนอ

ความคิดใหม่ (Idea)

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

2. เสนอเป็น

Project Management

Project Presentation

Project Implementation

3. ปัจจัยในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

________________________________________

โครงการ ICT เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ

1. ผู้นำดำเนินการอย่างจริงจังจนเห็นผลทั้งระดับประเทศ กระทรวง สถานศึกษาโดยกำกับดูแลติดตาม และช่วยเอื้ออำนวยให้โครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

2. การสื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่ชัดเจน

3. ความพร้อมของสถานศึกษา

4. การประเมินผลมุ่งผลสำเร็จเป็นสำคัญและให้เป็นไปตามระบบเชิงวิจัยและพัฒนา

5. มีองค์กรที่รับผิดชอบโครงการที่มีดำเนินการอย่างอิสระ และโป่รงใส

6. ทุกองค์ประกอบต้องสอดรับกันทั้งระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ

เป้าหมายพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อ

1. เด็กและเยาวชนพัฒนาเด็กตามศักยภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีความพร้อม

2. ส่งเสริมให้สถานศึกษาที่มีความพร้อม สามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างก้าวกระโดด (Fast Trask)

3. เป็นแรงผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการศึกษาอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน

1. จัดให้มีทีมงานที่เข้มแข็งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาและจัดให้มีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ

2. ศึกษา รวบรวมข้อความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นแหล่งในการศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาการศึกษา

3. เน้นการทำงานในลักษณะเครือข่าย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทั้งภาครัฐเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

4. จัดระบบการติดต่อสื่อสาร และประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน แบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ ๑ : ทดลองนำร่องในโรงเรียนที่สมัครใจและมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ ซึ่งสามารถวัดผลประเมินผลได้ตามเกณฑ์กำหนดไว้

ระยะที่ ๒ : พัฒนารูปแบบและสร้างองค์ความรู้เชิงวิจัย และพัฒนาจากการทดลองนำร่องให้สามารถนำสู่การปฎิบัติจริงในโรงเรียนที่จะขยายผลต่อไป

ระยะที่๓ : ทยอยขยายผลสู่โรงเรียน

กิจกรรมสำคัญ

1. จัดตั้งสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการประสานงานการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

2. จัดให้มีแหล่งรวบรวมนวัตกรรมการศึกษาทั้งระดับชาติและเขตพื้นที่การศึกษาและจัดให้มี Website นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

3. ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมที่จำเป็น

4. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการศึกษาระดับชาติและเขตพื้นที่

6. มีระบบยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและใช้นวัตกรรมตลอดจนมีระบบเสริมแรงจูงใจแก่ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆ ที่มีสถานศึกษา

7. ระดมทรัพยากรจากหน่วยงาน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

8. ปรับปรุงกฏระเบียบและแนวปฏิบัติให้เอื้อต่อการดำเนินงานนวัตกรรมการศึกษา

9. มีระบบการตรวจสอบประเมินโดยองค์กรภายนอก

10. ในการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใช้กิจกรรมสำคัญดังนี้

 สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อสะท้อนความคิด แนวปฏิบัติที่ผ่านมาเพื่อการพัฒนาโรงเรียนก่อนเริ่มโครงการ

 จัดทำระบบการติดต่อสื่อสาร และดำเนินการสื่อสารให้ข้อมูลทุกด้านของโครงการสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง และต่อเนื่องเพื่อปลุกเร้าคุณประโยชน์ที่จะได้รับทั้งผู้บริหารและผู้รับโดยใช้สื่อทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดผลกระทบ

 คัดเลือกโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาเข้าร่วมโครงการ

 ดำเนินการทดลองนำร่อง 5 รูปแบบ ได้แก่ โรงเรียนในกำกับของรัฐ โรงเรียนวิถีพุทธ แผนและยุทธศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ โรงเรียนสองภาษา และโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

 สร้างความรู้ ความเข้าใจในรูปแบบการจัดการศึกษารูปแบบต่างๆ เพื่อปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ

 ติดตามประเมินผลและปรับปรุงจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

 สรุปผลการดำเนินงาน

การติดตามประเมินผลติดตามประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีการพัฒนาในลักษณะก้าวกระโดดเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนในมิติที่เป็นความต้องการของประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศการบริหารจัดการแนวใหม่ การพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลควลคู่กับการพัฒนาด้านจิตใจ ทั้งนี้ในช่วงปีแรกมีนักเรียนที่ได้รับผลประโยชน์และโรงเรียนในโครงการ

สรุปโครงการโรงเรียนใช้ ICT เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้

หลักการและเหตุผล เป็นโครงการที่ใช้ ICT พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข สำหรับเป็นต้นแบบแก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์ เพื่อนำ ICT พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย โรงเรียนระดับประถมศึกษา 5 แห่ง และระดับมัธยมศึกษา 5 แห่ง

การดำเนินการ (รายละเอียดตามร่างแผนดำเนินงาน โครงการโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT)

1. มหาวิทยาลัย 5 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่งและระดับมัธยม-ศึกษา 1 csj’

2. คัดเลือกโรงเรียนจำนวน 10 แห่ง เข้าร่วมโครงการโดยมีคุณลักษณะดังนี้

2.1 เป็นโรงเรียนที่ผู้บริหาร ผู้สอน เข้าร่วมโครงการโดยมีคุณลักษณะตามต้องการ

2.2 เป็นโรงเรียนขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา

2.3 เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในระหว่างการคัดเลือก

3. มหาวิทยาลัยเสนอแผนดำเนินการเพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาบูรณาการเป็นแผนรวมของกระทรวง เพื่อขออนุมัติและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการต่อไป

4. ดำเนินการประชุมสัมมนา อบรมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT ตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยได้นำเสนอในแผนดำเนินงานซึ่งมี 2 รูปแบบ

4.1 รูปแบบที่ 1 เน้นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ ICT ด้วยทฤษฎี Constructionism

4.2 รูปแบบที่ 2 เน้นการใช้ ICT พัฒนากระบวนการเรียนการสอน

5. โรงเรียนการดำเนินการเรียนการสอนตามรูปแบบโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT

6. ติดตาม ประเมินผลและรายงานการดำเนินการให้กระทรวงพิจารณาทุกเดือน

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์    รหัสนักศึกษา 53484931019

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  ศูนย์การศึกษาภูเก็ต

 

ชื่อโครงการ           

โครงการห้องเรียนคู่ขนานระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติ

หลักการและเหตุผล

การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับคนทุกคน เป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลในสังคมที่ควรจะได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง การศึกษาเป็นบริการที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสังคมในปัจจุบันนอกจากบุคคลปกติที่มีความต้องการด้านการศึกษาแล้วนั้น ยังคงมีกลุ่มคนพิเศษ เช่น เด็กออทิสติค ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ที่ต้องการรับโอกาสทางการศึกษาที่เหมาะสม พ่อแม่ของเด็กต้องใช้ความพยายามและอดทนต่อสู้ทุกวิถีทาง เพื่อให้ลูกได้รับการศึกษาตามอัตภาพ เช่นเดียวกับเด็กในวัยเดียวกัน พึงจะได้รับเพียงเพื่อให้ลูกได้เป็นที่ยอมรับของสังคม และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ แต่มักจะถูกปฏิเสธจากโรงเรียนในการที่จะรับเด็กเข้าเรียน โดยให้เหตุผลว่า กลัวเด็กจะเข้าไปสร้างภาระให้กับโรงเรียน หรือไม่ทราบว่าจะสอนเด็กอย่างไร เพราะพฤติกรรมของเด็กแตกต่างไปจากปกติ ซึ่งอาจจะสร้างความวุ่นวาย ให้กับระบบการเรียนการสอนด้วย         เด็กออทิสติกมีความผิดปกติของสมอง ที่ทำให้เกิดความบกพร่องที่ซับซ้อน มีความยากลำบากในการใช้ชีวิต จากความบกพร่องของ การสื่อสาร อารมณ์พฤติกรรม การจินตนาการ การสื่อความหมายและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม      ทำให้ต้องหาวิธีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อให้บุคคลออทิสติกพอที่จะอยู่ในสังคมได้ โดยการพัฒนาทักษะดังกล่าวต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการสังเกต และลงมือฝึกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นการพัฒนาทักษะของเด็กออทิสติค เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองไม่ให้เกิดภาระแก่บุคคลรอบข้าง

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคสองกำหนดให้ “การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาเป็นพิเศษ” และวรรคสาม “การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกิด หรือเมื่อพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสื่อบริการอื่นใดทางการศึกษา ตามเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าสังคมของเด็กออทิสติคระดับปฐมวัยที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้
  2. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กออทิสติค ระดับปฐมวัยนำไปใช้สำหรับการพัฒนาพฤติกรรมการเข้าสังคม ให้มีความสามารถในการเข้าสังคมใกล้เคียงกับเด็กปกติ

จากเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดที่ว่า โครงการห้องเรียนคู่ขนานระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติ จะสามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ โดยใช้

ความคิดใหม่ (Idea)

การจัดการเรียนด้วย การใช้โครงสร้างของ SEAT ได้แก่

  1. (S: Student) มีการเตรียมความพร้อมของนักเรียน ที่มีความต้องการพิเศษก่อนการจัดการศึกษา
  2. (E: Environment) มีการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย วิชาการ อารมณ์ สังคมและการช่วยเหลือตนเอง การจัดสภาพแวดล้อม สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้ใช้บริการให้มีความสะดวก สะอาดและปลอดภัย โดยการกำหนดแนวทาง นโยบายการดำเนินการจัดการเรียนร่วม
  3. (A: Activities) กิจกรรมการเรียนการสอน การบริหารจัดการหลักสูตรต้องมีการจัดทำหลักสูตรเฉพาะ สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและจัดทำหลักสูตรเพิ่มเติมเพื่อสอนทักษะที่จำเป็น
  4. (T: Tools) เครื่องมือ ต้องนำเครื่องมือในการจัดการเรียนร่วมเพื่อช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหรือนักเรียนที่มีความบกพร่อง เกิดการเรียนรู้และดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสนับสนุนให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (I.E.P) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (I.I.P)

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

การเรียนร่วมระหว่างเด็กอออทิสติคกับเด็กปกติ 

  1. การเตรียมตัวบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน การสร้างความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้ปกครอง นักเรียน  และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในเรื่องของหลักการ วัตถุประสงค์วิธีดำเนินการตลอดถึงนโยบายในการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษด้วย
  2. การพิจารณารับเด็กเข้าศึกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 43 กำหนดว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐบาลต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” สถานศึกษาจึงไม่สามารถที่จะปฏิเสธการรับเด็กไม่ได้ เด็กออทิสติคที่เตรียมความพร้อมแล้ว หรืออาการไม่รุนแรงก็สามารถเรียนร่วมได้
  3. ประสานงานและความร่วมมือระหว่างสถาบันต่างๆ ทั้งทางการศึกษาทางการแพทย์และผู้ปกครอง เด็กออทิสติคบางคนอาการรุนแรง ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา โรงเรียนต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ แนะนำให้เข้าการบำบัดจากจิตแพทย์ และสถาบันอื่นตามความเหมาะสม
  4. สิ่งสำคัญครูผู้สอนต้องจัดทำแผนการศึกษาและบุคคล สำหรับเด็กออทิสติคที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางพัฒนาเด็กให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ และส่งผลให้เด็กประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กออทิสติคนั้น ก็ควรยึดหลักสูตรของสถานศึกษาเป็นหลัก แต่ต้องปรับเนื้อหา และวิธีสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  5. การประเมินผลก็ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลมีการประเมินผลทั้งระยะสั้นทุกภาคเรียน และการประเมินระยะยาวคืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และการประเมินผลทุกครั้งต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในแผนการสอนเฉพาะบุคคล

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

                มีการจัดการความรู้ (KM) เพื่อทำให้ครูสามารถนำประสบการณ์ที่ตนมีอยู่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จนสามารถสกัดเป็นแก่นและขุมความรู้ สังเคราะห์พัฒนาเป็น Best Practice ได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของบุคลากรภายในโรงเรียนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาวิทยากรจากภายนอกโรงเรียน หากโรงเรียนมีการจัดการความรู้บ่อยครั้ง อย่างสม่ำเสมอให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของครูให้สูงขึ้นและโรงเรียนเกิดความเข้มแข็งทั้งทางวิชาการและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ส่งผลให้โรงเรียนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป

เป้าหมาย

ด้านคุณภาพของเด็กออทิสติคระดับปฐมวัย

สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนพิเศษภูเก็ต

ระยะเวลา

ปีการศึกษา 2555

วิธีดำเนินการ (ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นประเมินผล )

งบประมาณดำเนินการ

โรงเรียนพิเศษภูเก็ต

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะกรรมการโรงเรียนพิเศษภูเก็ต

ผู้เกี่ยวข้อง

ผู้บริหารโรงเรียน ,ครูหัวหน้าระดับทุกระดับ , ครูที่ปรึกษาทุกห้อง

ผู้ปกครองเด็กพิเศษ, ผู้ปกครองเด็กปกติ, เด็กพิเศษ

การติดตามประเมินผล

-                  วิธีการ วางแผนดำเนินการ, ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ“การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเข้าสังคมของเด็กออทิสติคระดับปฐมวัยกับเด็กปกติ

-                  ออกแบบเครื่องมือ  การจัดการความรู้นำไปสู่การปฏบัติที่ดี,เคล็ดลับในการปฏิบัติงานไปสู่ความสำเร็จ, โมเดลสู่ความสำเร็จ,การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเด็กออทิสติคกับเด็กปกติ

-                  กำหนดกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งวัน/เวลา ในการลงภาคสนาม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ด้านรูปแบบการจัดบริหารทางการศึกษา ทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการจัดให้เด็กออทิสติคเข้าเรียนในโรงเรียนปกติ ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา โดยพิจารณาจากความพร้อมในการเรียนร่วมกับเด็กปกติของเด็กออทิสติคเป็นสำคัญ
  2. ด้านหลักสูตรและการสอน ทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า การจัดกิจกรรมให้เด็กปกติมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กปกติเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด นอกจากนี้ยังเห็นว่าการจัดกิจกรรมให้เด็กออทิสติครู้จักการปรับตัว และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กออทิสติค เป็นเรื่องสำคัญและควรกระทำ  สำหรับหลักสูตรของเด็กปกติที่นำมาใช้กับเด็กออทิสติค ในกรณีเรียนร่วมกับเด็กปกติโดยพิจารณาปรับให้เหมาะสมกับสภาพของเด็กนั้น  จะทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือกับ โครงการส่วนการวัดผลและประเมินผลให้พิจารณาจากความสามารถของเด็กแต่ละคน
  3. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอื่นๆ  จะทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่พบว่าครูประจำชั้นปกติมีความเต็มใจในการรับเด็กออทิสติคเข้าเรียนร่วม ซึ่งมีผลต่อการเรียนและขวัญกำลังใจของเด็กพิเศษ
  4. ด้านการบริหารงานโรงเรียนที่มีเด็กออทิสติคเรียนร่วม  ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนมีเจตคติที่ดีต่อเด็กออทิสติค

ผู้เสนอโครงการ

ครูผู้ชำนาญการพิเศษ

ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้อำนวยการโรงเรียนพิเศษภูเก็ต

            ปัจจัยในความสำเร็จและเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรม SEAT คือ

  1. ครูต้องมีการจัดการความรู้ (KM) เพื่อที่จะสามารถนำประสบการณ์ที่ตนมีอยู่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จนสามารถสกัดเป็นแก่นและขุมความรู้ สังเคราะห์พัฒนาเป็น Best Practice ได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของบุคลากรภายในโรงเรียนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาวิทยากรจากภายนอกโรงเรียน หากโรงเรียนมีการจัดการความรู้บ่อยครั้ง อย่างสม่ำเสมอให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของครูให้สูงขึ้นและโรงเรียนเกิดความเข้มแข็งทั้งทางวิชาการและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ส่งผลให้โรงเรียนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป
  2. ความใส่ใจของผู้บริหารสถานศึกษา  ความร่วมมือของชุมชน และวัฒนธรรมในองค์กร ในการปฏิบัติงานของครู  นอกจากนี้ โรงเรียนต้องมีเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน  มีการสร้างขวัญและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู
  3. การสร้างจิตสำนึกของผู้ปฏิบัติ เนื่องจากการพัฒนาบุคคลออทิสติก จะเริ่มจากจิตสำนึกในการทำงานประจำให้ดีที่สุด มองนอกกรอบ คิดหาวิธีการใหม่ที่ดีกว่าเดิมโดยอิงหลักทฤษฎี  ปฎิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ท้อถอย และมีความหวัง จะสามารถปรับพฤติกรรมบุคคลออทิสติกได้
  4. การสร้างบรรยากาศการทำงานอย่างมีความสุข ก็เพราะ “อยากทำ” นั่นคือ เกิดจากแรงบันดาลใจภายใน ที่แม้ยังไม่เกิดผลลัพธ์ ผู้ทำก็ยังเติมเต็มพลังใจให้ตัวเองและมีความสุขในการทำ  แต่ถ้าทำเพราะ “ต้องทำ” ผู้ทำมักแสวงหาสิ่งจูงใจภายนอก ที่เป็นรางวัล ผลตอบแทน คำชม  ซึ่งเมื่อไม่ได้รับก็จะท้อถอย หมดพลัง จนทำให้ขาดความสุขในการทำงาน
  5. ผู้ปกครองและผู้ใกล้ชิด (ครูผู้สอน) ที่จะช่วยเหลือเด็กออทิสติค ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเด็กออทิสติคแล้ว ค่อยๆเรียนรู้พฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กแต่ละคนอย่างละเอียด จึงเริ่มให้ความช่วยเหลือ เพื่อสร้างสัมพันธภาพและชักจูงให้เขาออกจากโลกส่วนตัวของเขาเองได้ก่อนดังนี้

                                5.1 ต้องรู้จักเด็กออทิสติกทั้งในด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กแต่ละคนอย่างละเอียด

                                5.2 ต้องมีความอดทน ความพยายาม ความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กอย่างจริงจัง และจริงใจ

                                5.3 ต้องเข้าใจ รู้ใจและสามารถอ่านความคิดหรืออ่านใจเด็กให้ได้จากพฤติกรรมหรือจากการแสดงออกทางอารมณ์  เมื่อสร้างสัมพันธภาพและชักจูงเด็กออกมาจากโลกส่วนตัวของเขาได้ จึงจะสามารถฝึกให้เด็กเรียนรู้ต่อไปได้ เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป

                                เด็กออทิสติคหากได้รับการช่วยเหลือก่อนอายุ 5 ปี เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านสังคมและพัฒนาการทางด้านภาษาดีขึ้น สามารถเรียนรู้ได้ แต่ยังด้อยกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน  ครูจะเริ่มเห็นปัญหาด้านการเรียนได้ชัดขึ้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากบทเรียนต้องใช้ความเข้าใจ และจินตนาการมากขึ้น เด็กจะมีความวิตกกังวลสูง บางคนจะพูดมากบางคนจะพูดน้อย หรือไม่พูดเลย ซึ่งครูจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ด้วยโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การแข่งขันทั้งภาครัฐและเอกชนทวีความรุนแรง ดังนั้นทรัพยากรบุคคลในชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเด็กเกิดมาแล้วถึงแม้จะเป็นเด็กพิเศษ แต่ก็ถือทรัพยากรของชาติ หากขาดการละเลยเอาใจใส่ เมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดชีวิต เป็นภาระแก่สังคมและชาติบ้านเมือง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารประเทศต้องให้ความสำคัญต่อคนกลุ่มนี้ จากปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความคิดเห็นของ อ.จีระ และคุณพารณ ที่มีความเห็นตรงกันว่า ความคิดในการสร้างความสำเร็จในการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขัน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  

  1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุน ที่ไม่ใช้ต้นทุน แต่มองว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญ และต้องมีการดูแลเอาใจใส่  หมั่นพัฒนา เพิ่มพูนความรู้ความสามารถตลอดเวลา  รวมทั้งต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  2. การพัฒนาให้คนเป็น คนดีและคนเก่ง    และต้องเป็นคนที่มีทั้ง  IQ ,EQ,AQ,TQ,MQ      
  3. เน้นให้เกิดความมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  การรู้จักการทำงานเป็นทีม
  4. สร้างความผูกพันและเกิความจงรักภักดีต่อองค์กร              
  5. การให้คุณค่าแก่มนุษย์  เชื่อมั่นและศรัทธาในมนุษย์  คนทุกระดับ ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ
  6. มีเครือข่ายความสัมพันธ์  Network  ในการทำงาน
  7. ความรู้ที่ได้การเรียนรู้จะต้องทันสมัยนำไปใช้ได้จริง  จะต้องมีความ Globel   Knowledge
  8. มีการกำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน
  9. เน้นการปฏิบัติจริง คือเมื่อมีความคิดแล้วต้องลงมือทำจริงเพื่อให้เกิดผล
  10. การมองว่าแรงจูงใจของคนนั้น มิใช่เพียงแต่ตัวเงินเท่านั้น แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางจิตใจด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีจิตใจ  มีความสุขกับการเป็นผู้ให้

 

อภิชนา สิงสันจิตร

อภิชนา สิงสันจิตร   รหัสนักศึกษา  53484931025

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

จากการศึกษาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งมีข้อความในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ – จีระ ...มุ่งมั่น... พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

                โดยได้มีการแบ่งนวัตกรรมไว้ 3 ส่วน คือ 

  • นวัตกรรมความคิดใหม่ (Idea) ในสภาวะปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ล้วนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด  และความเจริญก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ประสิทธิผล(Effectiveness) ขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงานและเทคโนโลยีต่างๆจากภายนอกเรียนรู้จากประสบการณ์จากกันและกันภายในและภายนอกองค์กร  นำมาพัฒนาคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  (Innovation) การพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้นั้น  ปัจจัยสำคัญที่สรรค์สร้างให้เกิดนวัตกรรม  ก็คือ  คน  ปัญญาความรู้  และทักษะความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจหลักของการสร้างประสิทธิภาพ(Efficiency)ของการทำงานและขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคง
  • นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)  ผู้บริหารระดับสูงต้องมีความมุ่งมั่นในการนำองค์กรไปสู่องค์กรสร้างนวัตกรรม  สร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การเปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กร  ได้คิดสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิด(Idea) ได้อย่างอิสระ  กล้าที่จะเสี่ยงนำเอาแนวความคิดดีๆไปพัฒนารวมทั้งการใช้รางวัลเป็นตัวกระตุ้นให้บุคลากรขององค์กรได้คิดสร้างสรรค์งาน ไม่เคร่งเครียด  ไม่ถูกตีกรอบความคิดก็มีส่วนช่วยให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ
  • การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง   นวัตกรรมจะเกิดได้จะต้องเกิดจากการสร้างกระบวนการที่สามารถจับต้องได้และนำมาใช้ก่อให้เกิดเป็นรูปธรรมได้  ดังนั้นกระบวนการในการทำหรือขั้นตอนในการนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ของนวัตกรรมนั้น  ประกอบด้วยการนำความรู้ที่จะต้องคำนึงถึง เช่น 5K, 8K, 4L, 2R ซึ่งตรงกับทฤษฎีที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้สอนและกล่าวไว้ในเอกสารมนุษย์พันธุ์แท้
  1. ชื่อโครงการ “แบ่งปันความรู้มุ่งสู่การศึกษาไร้พรหมแดน”
  2. หลักการและเหตุผล   

                “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือ 2 ลักษณะคือ

  • แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
  • แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคส์เมลล์WebBoard News-group เป็นต้น

                การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ

  1. วัตถุประสงค์

                เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแบ่งปันหรือแชร์ความรู้ ความคิดเห็นต่อกันได้ทันที และเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนให้ทันต่อสภาวการณ์ในยุคปัจจุบัน 

                หากผู้สอนไม่มีความมุ่งมั่น ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถคิดสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดได้อย่างอิสระ และไม่กล้าเสี่ยงที่จะนำแนวความคิดดีๆไปพัฒนา  รวมทั้งไม่ใช้รางวัลเป็นตัวกระตุ้นเหล่านี้  ล้วนเป็นปัญหาอุปสรรคที่ไม่อาจทำให้เกิดนวัตกรรม นอกจากนี้หากมองไปที่ต้นน้ำ  เริ่มจากสภาพปัญหาการศึกษาโดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนแปลงช้า  ระดับความรู้ส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับขีดความสามารถทางสมองของผู้เรียน  ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพเศรษฐกิจ  สังคม   และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ๆ ก็จะส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพและศักยภาพที่ดีต่อทั้งผู้สอนและผู้เรียน

 

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

                ความสำเร็จของนวัตกรรมจัดอยู่ในระดับปลายน้ำ (Down-Steam) ซึ่งจะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนวัตกรรมนั้นก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่

                ดังนั้นการนวัตกรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องเกิดจากการประสมประสานที่ดีของ 3 ขั้นตอน (3 Stages) ดังต่อไปนี้

  1. เป็นสิ่งใหม่หรือนวัตกรรม โดยจะต้องคำนึงถึงด้านจริยธรรม (Ethic) เป็นหลัก จากการนำความรู้เดิมหรือความรู้ใหม่ที่เกิดจากการวิจัย นำมาพัฒนาขึ้นใหม่ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่เรียกว่านวัตกรรม
  2. นำมาทำหรือปฏิบัติให้เกิดได้ (Getting, Done) เกิดผลเป็นจริง ตรงประเด็น (Reality, Relevancy : 2R)
  3. เป็นประโยชน์ต่อด้านเศรษฐกิจ และสังคม  จากการใช้นวัตกรรมนั้น 

 

นวัตกรรมที่ไม่ประสบผลสำเร็จเกิดจากสิ่ง 3 สิ่ง ตามทฤษฎี 3C

  1. Communication Change หมายถึง บุคลากรไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการสื่อสารของนวัตกรรมนั้น
  2. Customer Base  หมายถึง นวัตกรรมเหล่านั้นไม่ตอบโจทย์ หรือตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่างๆ ได้
  3. Command Control หมายถึง การควบคุมสั่งการไม่เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสมกับนวัตกรรมนั้น

 

                ในความสำเร็จของนวัตกรรมนั้นควรมีการให้รางวัลกับบุคลากรเหล่านั้นเมื่อคิดค้นจนสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งใหม่ๆ ที่จัดเป็นผลงานในด้านนวัตกรรม (Innovation) ได้เป็นผลสำเร็จ เพื่อเป็นแรงจูงใจ และเป็นตัวอย่างแก่บุคลากรอื่นๆ ต่อไป

                องค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovation Organization) สร้างได้ด้วยแนวคิด ทฤษฎี 3 Q เพราะ ทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้  

  1. Quality of Human Resources (HR Innovation)  องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีทรัพยากรที่มีคุณภาพ ต้องสรรหาคนที่มีคุณภาพเข้ามา ส่วนคนที่มีอยู่ต้องสร้าง ต้องรักษา ต้องใช้คนที่มีคุณภาพ “คนมีคุณภาพ"
  2. Quality of Organization คนที่มีคุณภาพมาอยู่รวมตัวในองค์กร องค์กรนั้นจะเป็นองค์กรที่มีคุณภาพเป็นองค์กรที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างไม่หยุดยั้ง
  3. Quality of Product or Service องค์กรที่มีคุณภาพ จะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม จะสามารถสร้างนวัตกรรมทางสินค้า / บริการที่มีคุณภาพ  

 

                จากโครงการ“แบ่งปันความรู้มุ่งสู่การศึกษาไร้พรหมแดน”  โดยการมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาและผู้สอน  สามารถแลกเปลี่ยนความรู้  ทัศนคติ  ทางด้านต่างๆสู่กันและกัน ตามทฤษฎี  5K, 8K, 4L, 2R ของท่านอาจารย์ จีระ และคุณพารนได้กล่าวไว้ในเอกสารมนุษย์พันธุ์แท้ที่ได้ให้นักศึกษามา

 

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร(ศูนย์ภูเก็ต)

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร รหัสนักศึกษา 53484931021 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จากการศึกษาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งมีข้อความในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ – จีระ ...มุ่งมั่น... พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

1.นวัตกรรม จากความคิดของกระผมนายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร ซึ่งเป็นศิษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กรณีศึกษาการพัฒนาการศึกษาไทยนั้น ในกรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)โดยกระผมเป็นรองประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาปริญญาเอก รายวิชา การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ซึ่งต้องมองแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้ทฤษฏี 4 L’s , ทฤษฏีทุน 8 K ’s และ5 K ’s ซึ่งคุณครูและผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองเป็นผู้ใฝ่รู้ กระตือรือร้น ศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา มีความสนใจแบบ Eager to learn รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจ โดยใช้สื่อมัลติมีเดียในการสร้างพยัญชนะภาษาจีน การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยศิลปศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบไฮ-สโคปสอนนักเรียน รวมทั้งการคิดนอกกรอบ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโครงการใหม่ๆในระดับโรงเรียนตามมามากมาย กระผมถือว่าเป็นนวัตกรรมของโรงเรียนที่ทำได้สำเร็จ ความเห็นของผมถือว่า “นวัตกรรม” ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1.มาจากความคิดใหม่และความคิดสร้างสรรค์(Creativity) การหาความรู้ตลอดเวลา โดย ผอ.สุธี ได้คิดโครงการใหม่ โดยการจัดอบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นแก่ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน และคิดใหม่โดยศึกษากับการดูแลเด็กปฐมวัยซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของระดับการศึกษา 2.เมื่อเกิดความคิดใหม่แล้ว ต้องลงมือปฏิบัติ โดยผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนให้เกิดโครงการใหม่ๆ เช่น โครงการทำ MOU การพัฒนาการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา โครงการส่งครูไปศึกษาภาษาจีนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวประเทศจีน เวลา 1 ปี ผู้อำนวยการเข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้เรียนปฐมวัย ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และไปศึกษาดูงานที่ประเทศเยอรมัน 3.ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลถึงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจากมุมมองของผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต คุณครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประโยชน์จากคุณภาพการศึกษา

2 การเสนอโครงการ.

โครงการสอนภาษาจีนกลางโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)

1. หลักการและเหตุผล ปัจจุบันนี้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่าง ๆของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย ทำให้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติ ซึ่งถือเป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก การจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนไทยก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ให้ทันการณ์ ซึ่งในด้านการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรเดิมยังไม่สามารถที่จะทำให้ผู้เรียนใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างแท้จริง และนอกจากภาษาอังกฤษที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายในยุคสารสนเทศแล้วยังมีภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา เช่นภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่น เยอรมัน ฯลฯ ก็มีความจำเป็นต่อการนำไปใช้ในสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองที่เป็นแหล่งธุรกิจท่องเที่ยวของไทยและของโลกในปัจจุบันและอนาคตอันยาวไกล เทศบาลนครภูเก็ตได้ตระหนักในปัญหาและความจำเป็นดังกล่าว จึงมีโครงการจัดการสอนภาษาจีนกลางให้กับนักเรียนในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต โดยให้โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ) จัดเป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2548 นี้

2. วัตถุประสงค์ 2.1 เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่านภาษาจีนกลาง สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่าน จากสื่อประเภทต่าง ๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ 2.2 มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็น แสดงความรู้สึกโดยใช้เทคโนโลยี และการจัดการที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.3 เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และการสื่อสารข้อมูล ความคิดเห็น และความคิดรวบยอดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและมีสุนทรียภาพ 2.4 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ 2.5 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษา และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ 2.6 สามารถใช้ภาษาจีนกลางในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตน 2.7 สามารถใช้ภาษาจีนกลางตามสถานการณ์ต่างๆใน ชุมชนและสังคม 2.8 สามารถใช้ภาษาจีนกลาง เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงาน การประกอบอาชีพได้ในอนาคต

3. เป้าหมาย ปีการศึกษา 2548 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2549 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 120 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2550 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 120 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 120 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน

4. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน 4.1 ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สภาพสังคม เศรษฐกิจ ของท้องถิ่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต 4.2 จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สาระเพิ่มเติม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนที่มีความถนัดและสนใจภาษาต่างประเทศ 4.3 สำรวจวิทยากร แหล่งเรียนรู้ เอกสาร และสื่อที่เกี่ยวข้อง 4.4 ขออนุมัติโครงการ 4.5 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 4.6 ประชุมชี้แจงโครงการ 4.7 ปฏิบัติงานตามโครงการ โดยกำหนดให้ใช้วิทยากรที่มีความสามารถเฉพาะทาง มาเป็นผู้สอนโดยโดยมีครูในโรงเรียนเป็นครูสอนร่วมและประเมินผลการดำเนินการ 4.8 สรุปและประเมินผลและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

5. ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา 2548 พฤษภาคม 2548 – มีนาคม 2549

6. สถานที่ โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)

7. งบประมาณ งบประมาณเทศบาลนครภูเก็ต เพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างวิทยากรเอกชน และสื่อการเรียนการสอน ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เป็นเงิน 48,900 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เป็นเงิน 187,400 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เป็นเงิน 249,100 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เป็นเงิน 261,900 บาท

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางสาวสุธี อารีย์พงศ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2. นางรัชนี โภชนาธาร รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการ 3. นายธีรศักดิ์ สงเดช หัวหน้างานวิชาการระดับมัธยมศึกษา 4. นางสาวธนิศรา บุณยะศิวะ หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษา

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 9.1 นักเรียนมีความรู้ในการฟัง พูดภาษาจีนกลางสามารถพูดสื่อสารได้ 9.2 นักเรียนมีความรู้ในการอ่าน – เขียนคำศัพท์ และประโยคภาษาจีนกลางทั่วไปได้ 9.3 นักเรียนสามารถนำความรู้เป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาในระดับที่สูงขึ้นหรือนำไปประกอบวิชาชีพได้

10. การประเมินผล 10.1. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ 1. กระบวนการจัดการเรียนการสอนของวิทยากร 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 10.2. ประเมินประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ บุคลากร และทรัพยากร

(ลงชื่อ) ผู้เสนอโครงการ ( นางสาวสุธี อารีย์พงศ์ ) ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)

3.ปัจจัยในความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่เกิดขึ้นและสิ่งที่เกี่ยวข้องของทุนมนุษย์กับนวัตกรรมมีดังนี้ - นางสาวสุธี อารีย์พงศ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองได้วิทยฐานะเป็นผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ นางรัชนี โภชนาธารรองผู้อำนวยการได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์ และนายธีรศักดิ์ สงเดช เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุง - มหาวิทยาลัยหัวเฉียว มณฑลฮกเกี้ยน ได้ทำ MOU ร่วมกับโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองและเทศบาลนครภูเก็ต ให้ทุนระดับปริญญาตรี ปีละ 2 ทุน เรียนที่มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน - โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองได้รับรางวัลพระราชทานระดับก่อนปฐมวัยติดต่อกันเป็นสมัยที่ 2

จากแนวคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง ได้พัฒนาหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น โดยจัดหลักสูตรการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยโดยใช้ศูนย์การเรียน ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนพื้นฐานของการศึกษา

โดยสรุปกรณีศึกษาของผู้นำในโรงเรียน ผู้บริหาร และคณาจารย์ที่คิดและทำงานนอกกรอบ สร้างนวัตกรรม ซึ่งถือว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์นั้น คือ นักเรียน และเยาวชนที่เป็นอนาคตอันสำคัญของประเทศ

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าทีร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง รหัสนักศึกษา 53484931013

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

โครงการการพัฒนาบุคลากรโดยใช้ITในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาและ

พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง

หลักการและเหตุผล

แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาภายใต้ภารกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของกระทรวงยุติธรรม และยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาพฤตินิสัยและแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร กำหนด ให้สามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กร เพื่อให้เกิดการบริหารและพัฒนาบุคลากรเชิงรุกทั้งระบบไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization) โดยให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ (Knowledge Managerment) การพัฒนาขีดความสามารถหรือสมรรถนะของบุคลากร สู่ความเป็นมืออาชีพ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสำเร็จ และการดูแลเรื่องสายงานความก้าวหน้าในอาชีพ รวมทั้งสนับสนุนให้ ทุกหน่วยงานแสวงหาแนวคิดใหม่ที่เป็นนวัตกรรมในองค์กรและยังส่งเสริมให้บุคลากรได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ให้กับองค์กรได้อย่างเต็มที่

ความคิดใหม่ (Idea)

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาพัฒนา

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานราชทัณฑ์จะเน้นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับงานราชทัณฑ์ เพื่อปรับปรุงระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการให้สะดวกรวดเร็ว ได้รับความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและวิทยาการใหม่ๆ รวมทั้งสามารถช่วยลดอัตรากำลังและภาระของบุคลากรได้ ด้วยการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดตามจุดสำคัญของเรือนจำ ติดตั้งระบบ Video Conference คือการเยี่ยมญาติและฝากขังทางไกลผ่านจอภาพ การจัด ศูนย์บริการร่วม (Call Center) ระบบ One Stop Service เป็นการให้บริการประชาชนแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ระบบข้อมูลบริหารงบประมาณภาครัฐ การติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ข้าราชการและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงงานราชทัณฑ์ได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดจนการตั้งศูนย์ปฏิบัติการสำหรับรองรับการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานราชทัณฑ์ให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ สามารถพัฒนาบุคลากรและองค์กรไปสู่องค์กรนวัตกรรมได้อย่างสมบูรณ์

ในการแก้ไขฟื้นฟูและพัฒนาพฤตินิสัย จะมุ่งเน้นการศึกษาและฝึกอบรมแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้สามารถปรับพฤติกรรมตนเองให้พร้อมกลับสู่สังคมได้โดยไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีกซึ่งประกอบด้วยการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพื่อคัดเข้าสู่โปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูแต่ละประเภทเป็นการเฉพาะ การให้การศึกษา ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ การพัฒนาจิตใจในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองเพื่อเน้นการ อบรมทักษะทางอาชีพและการอยู่ร่วมกับสังคมหลังพ้นโทษให้เป็นไปอย่างถูกต้องตรงกับลักษณะผู้ต้องขัง นอกจากนี้ยังจัดให้มีระบบการดูแลสงเคราะห์ผู้ต้องขังหลังปล่อยตัวเพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกได้อย่างปกติสุข ด้วยการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเรียกว่า ระบบการส่งต่อ เพื่อติดตามดูแลช่วยเหลือและให้การสงเคราะห์ผู้พ้นโทษให้สามารถประกอบอาชีพอยู่ในสังคมได้

การส่งเสริมการฝึกวิชาชีพในระบบอุตสาหกรรม เป็นการสร้างรายได้และฝึกวิชาชีพให้ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้โดยสุจริตภายหลังพ้นโทษ ด้วยการนำแรงงานผู้ต้องขังมาสร้างรายได้ในเชิงอุตสาหกรรม โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น และหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบที่เกิดจากการทำลายป่า รวมทั้งการยกระดับการศึกษา การฝึกวิชาชีพให้ได้มารตรฐานสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสามมารถนำออกสู่ตลาด

การใช้ไอทีเพื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นการเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ไอทีจึงมีบทบาทสำคัญในการเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ได้มาก มีระบบมัลติมีเดียที่เรียกดูได้ตามความต้องการ ระบบอินเตอร์เน็ตและกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ E- learning ซึ่งรวบรวมเนื้อหาของบทเรียน ระบบบริหารการเรียน การติดต่อสื่อสาร การสอบประเมินผล อย่างไรก็ตามการใช้ E- learning เพื่อใช้ในการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มผู้ต้องขังโดยใช้วิธีการของเว็บยังคงต้องมีข้อจำกัดในเรื่องของความมั่นคง เพราะยังถือว่าเป็นการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนกลุ่มพิเศษ

คิดแบบสร้างสรรค์ (Creativity) ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็ง จึงเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ ในระบบเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนความรู้เป็นนวัตกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้สัดส่วนความรู้ที่อยู่ภายในกับภายนอกตัวบุคคลเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีความจำเป็นและความต้องการในการเปลี่ยนแปลง ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลที่ด้อยโอกาส ให้มีสภาพกลายเป็น ความรู้ที่ปรากฏชัดเจน และพัฒนาได้

ผลดี การจัดการความรู้ทำให้เกิดการถ่ายทอดทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ให้เกิดของการดำเนินงาน อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญคือ “สมองประสานใจ” นั่นคือ ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพจะต้องมีทัศนะ ความคิดเห็น และความรู้สึกเชิงบวก รวมทั้งมีความมั่นใจและเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ผลเสีย ในขณะที่แต่ละหน่วยงานให้ความสำคัญและเร่งระดมการปรับเปลี่ยนหน่วยงานของตน แต่หากยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนตลอดจนไม่ทราบว่าจะนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างไร ก็จะทำให้ขาดประสิทธิภาพ ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างและใช้ความรู้ ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เช่น ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็จะเป็นข้าราชการเป็นบุคคลเรียนรู้ควรมีภาวะผู้นำ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น รู้ควรมีภาวะผู้นำ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานโดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันนวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน

ในปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมากเพียงแต่นวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา นั่นเอง

ปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์กับนวัตกรรม อย่างน้อย คือ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้ เน้น ลูกค้า ครู นักเรียนไม่เกิดการบริหารสั่งการ แบบ Top down อาเซียนเสรี มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ถ้ามาตรฐานอ่อน เขาต้องแข่งขันกับเรา มี Professional คือต้องมีภาษา มีจิตวิญญาณในการอยู่ในนานาชาติ และ ต้องมีความเป็นมืออาชีพ เราต้องเป็น Partner กับเขา ต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ อยู่ในโลกอาเซียนเสรีได้ เน้นนวัตกรรม สะท้อนวัฒนธรรมของเรา มุมมอง เรื่อง เสรีอาเซียน คือชาวบ้านไม่รู้เรื่องปัญหาที่สำคัญ คือ 3 ปี ต่อไปนี้เราจะเตรียมตัวเรื่องคนได้หรือไม่จะสามารถให้ข้อคิดอย่างไร สามารถไปถ่ายทอดสร้างวิธีคิด เป็นวิชาที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียนมีการเตรียมตัว ที่รวมกับกระทรวงศึกษา ต้องกระจายทุกจุด คนจน โชว์ห่วย ไม่รอด ประเทศไทยก็ไม่รอด การที่เรามีเครือข่าย Network ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งของทุนมนุษย์ และมองถึงทุนปัญญา และทุนทางคุณธรรมจริยธรรมด้วย เป็นประโยชน์มากครับ คนไทยถ้าจะพูดถึงความสามารถเฉพาะคงไม่แพ้กับประเทศอื่น เรามีปมด้วยแค่เรื่อง ภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง ส่วนการเพิ่มการทำความผิดมาก ขึ้น มีผู้ต้องขังมากขึ้น เมื่อมีเสรีอาเซียนขึ้นถึงเวลาที่เราต้องดูแล เรื่องนี้ ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เราต้องดูที่การศึกษาด้วย อาจจะทำวิจัยเรื่อง การอาชญากรรมข้ามชาติด้วย คุณภาพการศึกษาเป็นจุดหนึ่งที่เรียกว่าเร่งด่วน โดยเฉพาะการศึกษาในต่างจังหวัดเด็กในเมืองไทยต้องมี 8k’s , 5k’sคุณภาพการศึกษาในอดีตต้องเป็นคนเก่ง ในต่างจังหวัดได้ทุนมาเรียน การค้าระหว่างประเทศต้องมีเงินตราระหว่างประเทศเป็นการแลกเปลี่ยน อย่างอเมริกาการค้าขาดดุลตลอด ขายพันธบัตรให้จีน และนำเงินมาใช้จ่ายทำให้เกิดปัญหาตามมาของแพงไม่ได้หมายความว่าไม่ดีแต่เราต้องใช้อย่างปบระหยัด ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย ทุนมนุษย์ไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กๆโลกาภิวัตน์และผลกระทบ Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology, Biotechnologyเรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015 ฯลฯเรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยนบทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทนเรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯลฯการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ที่เราเป็นประเทศเปิดกว้าง แต่ไม่เก่งในเรื่องเจรจาต่อรอง ต้องดูว่าอันไหนพร้อมหรือไม่พร้อม ต้องมี Macro ไปสู่ Micro

การเตรียมตัวเข้าสู่โลกาภิวัตน์ จุดแข็ง กระตุ้นให้ประเทศตื่นตัวปรับนโยบายทั้งระดับ Macro และ Micro ผู้บริโภคมีทางเลือกของคุณภาพสินค้ามากขึ้น ราคามีการแข่งขันกันอย่างเสรี ทำให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้าง ผู้มีความรู้ หรือ Knowledge worker ได้ประโยชน์ งานที่ทำจะเป็นงานที่มีรายได้สูงขึ้น นักอุตสาหกรรม ผู้ส่งออก ได้รับประโยชน์ จุดอ่อน แรงงานไร้ฝีมือปรับตัวไม่ทัน เกิดปัญหาการว่างงาน และปลดคนงาน ภาคราชการ ภาคแรงงานไร้ฝีมือ ผู้หญิง เด็ก คนพิการจะลำบากยิ่งขึ้น เกิดปัญหาทางสังคมมากขึ้นปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ บริษัทข้ามชาติจะได้เปรียบเพราะมีระบบการทำงานที่ดีกว่า คนไทยยังไม่เข้าใจและไม่มีใครชี้นำภาคการศึกษาไทยยังขาดการปฏิรูปสังคมการเรียนรู้ โอกาส ใครมีต้นทุนการผลิตถูกกว่า จะส่งออกได้มากขึ้น มีสินค้าให้เลือกมากขึ้นในราคาที่ถูกลง มีโอกาสได้รับค่าจ้างมากขึ้นต้นทุนการสื่อสารและโทรคมนาคมมีราคาถูกลงได้รับเทคโนโลยีใหม่ได้ง่ายกว่าเดิม ความเสี่ยง ธุรกิจภายในประเทศบางอย่างจะล้ม เพราะแข่งขันสู้ต่างประเทศไม่ได้ ขาดดุลการค้ามากขึ้น เพราะส่งออกไปต่างประเทศลดลง แต่เรานำเข้ามากขึ้น มีการปลดแรงงานมีความแตกต่างในรายได้มากกว่าเดิม ถูกต่างชาติครอบงำทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมเรื่องการสื่อสาร ปรับและเตรียมตัว เป็นโอกาสถ้าเรา ฉกฉวยได้ มองเป็นภาพรวมใหญ่ เรื่องการค้าเสรี มีการเกาะกลุ่มกัน มองที่ศักยภาพไปที่ทุนมนุษย์เราเอาส่วนที่จะเกิดขึ้น มาสื่อสาร เกี่ยวกับโลกที่จะอยู่อีกโลกหนึ่งมาปรับเปลี่ยนให้กับเรา การเก็งราคาทอง เหมือนกับการเล่นหุ้น อยากให้คนไทยมองเรื่องโลกาภิวัตน์ มองเตรียมที่ศักยภาพ ที่เราถนัด และมีประโยชน์ ต้องโฟกัสจุดใดจุดหนึ่ง

• ต้องเข้าใจเรื่องนวัตกรรม ว่าเป็นอะไรและจำเป็นต่อเศรษฐกิจและสังคมและโยงมาที่ทุนมนุษย์ หรือ เรียกว่า ทุนทางนวัตกรรม ถ้ามีนวัตกรรมก็ต้องขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์

• การเปลี่ยนแปลงของ Macro ไปสู่ Micro วาดภาพใหญ่ของโลกาภิวัตน์ เราต้องจัดการกับโลกาภิวัตน์ และมีภาพโอกาสและการคุกคาม มีเรื่องตั้งแต่เกิดและไปสู่การทำงาน มีการศึกษา การฝึกอบรม มีคุณภาพในทุนมนุษย์ คุณภาพของคนเหล่านั้นยังมีแต่ปริมาณ

• ทุกคนมีทุนมนุษย์ทุกคน แล้วแต่ว่า จะมากหรือน้อย วัดตามปริมาณ เช่น ทางเศรษฐศาสตร์ วัดจากการเรียน ถ้าเราเรียนมาก เงินเดือนก็จะเพิ่มขึ้น การที่เราคิดได้เราต้องมีวิธีการเรียน มีการให้คิดเพิ่มขึ้น

• การที่เรามีโลกาภิวัตน์ การผลิตบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ต้องทำอย่างไร มีตลาดเพิ่มขึ้น ไม่พอ ต้องมีลูกค้า มี Value Added เพิ่มขึ้น

• มีการสร้างความหลากหลายให้สู่ความมีมูลค่า ก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่ง ประเทศเราต้องก้าวไปสู่ข้างหน้า

• เมื่อเรามีปัญญา เราต้องมองดูว่าเราเป็นคนดีหรือไม่ การมีการหลอกลวงด้านการค้า ต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม

• เครือข่าย ที่สำคัญคือ เครือข่ายต่างประเทศ เป็นประเทศที่เราต้องการไป เช่นการส่งไปสิงคโปร์ ต้องรู้เขารู้เรา

• ลาว พม่า เขมร เขามีทรัพยากร เกษตร พลังงาน ซึ่งคนไทยต้องพึ่งพาเขามาก

• การตัดสินใจของคน ระยะสั้น ต้องไม่ทำร้ายระยะยาว ต้องเป็นคนใฝ่รู้ อย่าเป็นคนอวิชาเด็ดขาด

• ความสามารถในเรื่อง ทักษะ ความรู้ และ ทัศนคติที่ดี

นายอานนท์ ทวีสิน รหัสนักศึกษา 53484931005 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สาขานวัตกรรมและการจัดการ ศูนย์กรุงเทพมหานคร

***ส่งการบ้าน Assignment: คำตอบข้อ 1

หลังจากที่ได้อ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทที่ 10 ตามที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบหมายไว้ ได้พบว่า ท่านอาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้สร้างนวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ซึ่งแนวคิดนี้คิดค้นโดย Professor Seymour Papert, 1996 โดยใช้ โรงเรียน ดรุณสิกขาลัย และหมู่บ้านสามขา ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่จังหวัดลำปางเป็นต้นแบบ และได้ค้นพบว่าท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ ท่านได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆจนทำให้โรงเรียนแห่งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง

ท่านอาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism ไปใช้กับโรงเรียน ดรุณสิกขาลัย โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ แบบลงมือปฏิบัติทำโครงการ (Project based learning) โดยการรวบรวมองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปะวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจรรยามาปรับใช้ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง(Self learning) และเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม(Team Learning) จนติดเป็นนิสัย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ 5 ด้าน คือ 1. IQ (Intelligent Quotient) 2. EQ (Emotional Quotient) 3. AQ (Adversity Quotient) 4. TQ(Technology Quotient) 5. MQ (Morality Quotient) นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life-long Learning) และสอดรับกับการแข่งขันในสังคมแห่งการเรียนรู้(Learning Society)ในสังคมยุคปัจจุบัน ตามหลักแนวคิดของ Professor Seymour Papert ได้กล่าวไว้ว่า “การเรียนรู้ที่ดีกว่า ไม่ได้เกิดจากการที่ครูค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่า แต่เกิดมาจากการที่ครูให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง” โดยใช้ 8 ขั้นตอนดังนี้ 1. เริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กๆสนใจ 2. ครูจะบูรณาการวิชาการ 3. ครูและเด็กจะวางแผนเรียนรู้ร่วมกัน 4. เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง 5. สรุปความรู้ และเก็บบันทึกผลงาน 6. จัดเตรียมนิทรรศการผลงานจากการเรียนรู้ 7. วิเคราะห์และประเมินผลแบบ 360 องศา 8. การต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำเอาสิ่งที่เรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง นำไปสู่การทำโครงการที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดของ Peter M. Senge แห่ง Sloan School MIT ที่กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้นนั้น เป็นเหมือนรูปก้นหอยเจดีย์หงาย (Spiral Model) ที่แต่ละรอบการเรียนรู้จะนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต่อเนื่องกันไปไม่สิ้นสุด

ท่านอาจารย์ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ โดยกระตุ้นให้ครู และผู้บริหารโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระตือรือร้นหาความรู้ มีความสนใจแบบ Eager to learn รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจ โดยการสอนให้รู้จักคิดนอกกรอบ(Iconoclast) ซึ่งทำให้เกิดโครงการใหม่ๆในระดับโรงเรียนตามมามากมาย ดังเช่น 1. การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล และองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกันจัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง 48 ชั่วโมง ให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดสมทรปราการ 2. การไปทัศนศึกษาที่ประเทศเวียดนาม โดยการนำของท่านอาจารย์นำคณะผู้บริหารและครู เข้าร่วมการอบรม โดยใช้ทุนของตนเอง ไม่พึ่งงบประมาณของรัฐ 3. การไปทัศนศึกษาที่สิงคโปร์ ไปเยี่ยมชมรับฟังการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสิงคโปร์ สนามบินชางงี และสำนักเลขาธิการของ APEC ทำให้ได้แนวคิดสร้างหลักสูตรใหม่ สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น เกิดเป็นหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่โดยรอบส่วนมากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และสนามบินสุวรรณภูมิก็อยู่ในสมุทรปราการ สามารถทำให้นักเรียนที่จบจากที่นี่ไปมีงานทำ พัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น และหลักสูตรนี้เองเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน (ซึ่งหลังจากนั้นโรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ) จนทำให้มีนักเรียนเข้ามาเรียนที่นี่เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน จากไม่ถึงพันคน มาเป็นสองพันกว่าคนเลยทีเดียว 4. การนำคณะครูไปทัศนศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้ เป็นที่มาของโครงการ Sister School กับโรงเรียน Wadong Middle School ประเทศเกาหลีใต้ จนทำให้เกิดมิตรภาพอันดีระหว่างสองประเทศ จากโครงการต่างๆมากมาย การสนับสนุนต่างๆจากหลายภาคส่วน และการบริหารงานที่เปิดกว้าง ไม่มีลักษณะเป็นการทำงานแบบยุ้งข่าว( Department Silo) ทำให้ได้รับเป็นโรงเรียนพระราชทาน เป็นโรงเรียนดีเด่นขนาดกลางในเวลาต่อมา ถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งของโรงเรียนแห่งนี้

ด้วยความวิริยอุตสาหะของท่านอาจารย์ทั้งสอง ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนมากมายในวงการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน ดรุณสิกขาลัย ที่ได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism ไปใช้ และโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ การได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน และโครงการต่างๆที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ริเริ่ม ทำให้โรงเรียนแห่งนี้ได้รับเป็นโรงเรียนพระราชทาน เป็นโรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง ทำให้การศึกษาของไทยเราพัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากยิ่งขึ้นในอีกระดับหนึ่ง

***คำตอบข้อ 2

โครงการอบรมการสร้างเวปไซต์ หนังสืออีเลกทรอนิกส์

ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT โรงเรียนดีใกล้บ้าน

โรงเรียนบ้านฉิมพลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

1. ชื่อโครงการ

โครงการอบรมการสร้างเวปไซต์และหนังสืออีเลกทรอนิกส์สำหรับครู นักเรียน กลุ่มชุมชนโรงเรียนดอนฉิมพลี ของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT โรงเรียนบ้านฉิมพลีและโรงเรียนในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา

2. แผนงานหลัก

แผนพัฒนาคุณภาพของครู นักเรียน ชุมชนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ สนองกรอบทิศทางการปฏิบัติราชการ

2.1 สพฐ.

กลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับแก้ปัญหาการอ่าน เขียน คำนวณ ส่งเสริมการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และทักษะการเรียนรู้ในระดับสูง

2.2 สพท.ศก. 3

( 1 ) ยุทธศาสตร์ การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

( 2 ) กลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ

2.3 โรงเรียน

( 1 ) พันธกิจ พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

( 2 ) กลยุทธ์ พัฒนาระบบการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอน ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด และเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ

2.4 สนองมาตรฐานของสมศ.

ข้อที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.5 สนองตัวชี้วัดของสมศ.

ข้อที่ 4 ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียน

2.6 สนองการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องทุนมนุษย์กับการพัฒนานวัตกรรม

ภายใต้ทฤษฏีของดร.จิระ หงส์รดารมณ์กูรูในเรื่องนี้คือทฤษฏี 8K’s 5K’s 2L’s 2 R’s 2 I’s C&E

HRDS 3L’s โดยให้ทันกับกระแสโลกาภิวัตน์และ Asean เสรี

3. หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเจริญและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดทำสื่อของครูผู้สอน การสืบค้นข้อมูลของครูและนักเรียน การจัดทำฐานข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งนับว่าคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ครูผู้สอนตามไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การจัดทำเวปไซต์ และสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่า E-Book หรือหนังสืออิเลกทรอนิกส์ เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาสื่อ และการเรียนรู้ของโรงเรียน ซึ่งมีครู และนักเรียน ตลอดจนชุมชน เข้ามามีส่วนเผยแพร่ การเรียนรู้ ตลอดจนการประสานงานเครือข่ายการเรียนรู้ จากหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน ครู และชุมชน ซึ่งสามารถสร้างเป็นเครือข่ายในการฝึกอาชีพ และการจัดทำสือการเรียนการสอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เรียกว่า E-book ก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อโรงเรียนและชุมชน เพราะครูสามารถนำไปสร้างโดยให้นักเรียนสามารถใช้ได้ครั้งละหลาย ๆ คน หรือสามารถสอนผ่านระบบเครือข่ายได้ ตลอดจนชุมชนก็สามารถใช้ในการเรียนรู้ เพื่อการฝึกอาชีพ เพราะโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ให้กับนักเรียนและชุมชน ในการสร้างงาน และสร้างอาชีพได้อีกด้วย ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการอบรมและเพิ่มพูนความรู้ด้านการสร้างเวปไซต์ และเนื้อหาในเวปไซต์ ตลอดจนด้านการใช้โปรแกรมสร้างหนังสืออิเลกทรอนิกส์ให้กับครูผู้สอน และชุมชน เพื่อรองรับกับความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งรองรับสื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนเอง และเครือข่ายอีเลคทรอนิคส์ที่สามารถ On-line ได้ทั่วโลก

4. วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ครู นักเรียน และชุมชน สามารถสร้างเวปไซต์ และสื่ออีเลคทรอนิคส์ได้ ด้วยตนเองโดยสามารถติดต่ดกับโรงเรียนและชุมชนในเขตการศึกษาในพื้นที่และทั่วโลกได้

2. เพื่อให้ครู นักเรียน และชุมชน มีหนังสืออิเลกทรอนิคส์ ในรายวิชาที่สอนเพื่อเป็นสื่อหลักและ สื่อรอง สำหรับการสอนความรู้เพิ่มเติมให้กับนักเรียนตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล ตลอดจนสามารถใช้สื่อในการนำเสนองานต่างๆได้

3. เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของครู นักเรียนกลุ่มชุมชนให้สูงขึ้นสามารถพัฒนาไปสู่สากลและสามารถรองรับASEAN เสรีได้ทันท่วงที

5. เป้าหมาย

5.1 ด้านปริมาณ

ครูโรงเรียนดอนฉิมพลี โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา จำนวน 100 คน นักรึยนจำนวน 300 คน และกลุ่มชุมชนจำนวน 80 คน ได้รับการพัฒนาเวปไซค์และสามารถทำหนังสืออิเลกทรอนิกส์ได้

5.2ด้านคุณภาพ

5.2.1 ครูผู้สอนและกลุ่มชุมชนสามารถสร้างเวปไซค์ และหนังสืออิเลกทรอนิกส์ได้โดยจะเป็นประโยชน์สูงสุดในด้านองค์ความรู้จากเวปไซค์และหนังสืออิเลกทรอนิกส์นำสู่การปฎิบัติ

5.2.3 ครูผู้สอนมีหนังสืออิเลกทรอนิกส์ ในรายวิชาที่สอนเพื่อเป็นสื่อหลักและสื่อรอง สำหรับการสอนความรู้เพิ่มเติมให้กับนักเรียนตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคลและนักเรียนโรงเรียนจำนวน 300 คนสามารถใช้นำเสนอผลงาน ส่วนชุมชนสามาถนำเสนอผลงานและการนำเสนอเช่น สินค้าชุมชน การท่องเที่ยว ฯลฯผ่านหนังสืออิเลกทรอนิกส์ได้

5.2.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของชุมชนและการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

สิ่งเหล่านี้จะเป็น Digital Capital (ทุนทาง IT) Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม) Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข) Social Capital (ทุนทางสังคม) Sustainability Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน)และTalented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ)ให้กับโรงเรียนในสำนักเขตการศึกษาฉะเชิงเทราซึ่งส่งผลีต่อเขตการศึกษาและชุมชนอื่นๆซึ่งส่งผลดีต่อชาติได้อีกด้วย

6. พื้นที่ดำเนินการ

ห้องประชุม ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนบ้านฉิมพลี

7. การดำเนินงาน

7.1 ระยะเวลาดำเนินการ 1 กันยายน- พฤศจิกายน2554

7.2 วิธีดำเนินการ

7.2.1 ประชุมคณะทำงานอาสาสมัครและคณะกรรมการพัฒนาการเรียนรู้และวางแผนและจัดทำโครงการ

7.2.2 เสนอขออนุมัติโครงการ

7.2.3 ตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

7.2.4 ดำเนินการตามโครงการ

7.2.5 เสนอสรุปงานโครงการ

กิจกรรม/ขั้นตอน

ระยะเวลา ก.ย-พ.ย

1. แต่งตั้งคณะทำงานอาสาสมัคร ประชุมวางแผนและประสานงาน

2. เสนออนุมัติโครงการ

3. ตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนและประชุมเตรียมความพร้อม

4. ดำเนินการตามแผน

5. สรุปเสนอรายงานและวางแผนขยายผลต่อเนื่อง

8. ตัวชี้วัด/ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ

ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างเวปไซค์และ มีหนังสืออิเลกทรอนิกส์เป็นของตนเอง อย่างน้อย 90%

9. งบประมาณ จำนวน 427,703 บาท(สี่แสนสองหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยสามบาทถ้วน) จากบริษัทคอมพิวเตอร์ SGV และบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (มหาชน) จำกัด

รายการ เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์บริจาค รวมเป็นเงิน

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมเป็นเงิน - - 427,703

10. ผู้รับผิดชอบโครงการ

10.1 นายอานนท์ ทวีสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนดอนฉิมพลี ประธานศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT

10.2 นายสุวัฒน์ ศรีรัตนาเลขานุการศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

11. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

11.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

11.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

11.3 ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICT โรงเรียนในฝัน โรงเรียนฉิมพลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

11.4 โรงเรียนบ้านฉิมพลี

11.5 โรงเรียนบ้านหงส์

11.6 โรงเรียนบ้านกิ่งแก้ว

11.7 โรงเรียนบ้านเมธินี

11.8 โรงเรียนบ้านณัษฐนนท

11.9 โรงเรียนบ้านพระ

11.10 โรงเรียนบ้านตูม

11.11 โรงเรียนบ้านเอ้

11.12 โรงเรียนบ้านเอราวัณ

11.13 โรงเรียนบ้านพิศมัย

11.14 โรงเรียนบ้านโอ๊ค

12. การติดตามประเมินผล

12.1 สำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม

12.2 ประเมินผลจากหนังสืออิเลกทรอนิกส์ที่ครูสร้างขึ้น

12.3 สรุปรายงานต่อโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

13.1 ครูผู้สอน นักเรียน และผู้แทนชุมชน นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้

13.2 ครูผู้สอน นักเรียนและผู้แทนชุมชน ถ่ายทอดสาระการเรียนรู้รายวิชาที่สอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ได้ด้วยตนเอง

13.3 ครูผู้สอน นักเรียนและผู้แทนชุมชน สามารถสร้างหนังสืออิเลกทรอนิกส์ด้วยตนเองได้

13.4 ครูผู้สอน และผู้แทนชุมชน มีหนังสืออิเลกทรอนิกส์ ในรายวิชาที่สอนเพื่อเป็นสื่อหลักและสื่อรอง สำหรับการสอนความรู้เพิ่มเติมให้กับนักเรียนตามศักยภาพและความสามารถ ของแต่ละบุคคลตลอดจนนักเรียนสามาถผลิตสื่อและสอนต่อน้องได้

14. รายละเอียดงบประมาณ (ที่ รายการ ราคา จำนวน รวมเป็นเงิน)

ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างครูที่เข้าอบรม 100คนและผู้แทนชุมชน 80 คนละ 170 บาท /วัน รวม 3 วัน รวม 94,803 บาท

ค่าอาหารและของว่างอบรมขยายผลต่อให้นักเรียน3รุ่นๆละ100 คนๆละ 100 บาทจำนวน 9 วัน เป็นเงิน 90,000 บาท

ค่าเกียรติบัตร รวม 2,400 บาท

ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ10คนๆละ 600 บาท รวม 18,000 บาท

จำนวน 3 ครั้ง

ค่าวิทยากรบรรยายพิธีเปิด 3 ท่าน รวม 3,000 บาท

ค่าวิทยากรบรรยายด้านIT 3 คนรวม 12 วันๆละ1,200 บาทต่อคน รวม 7,200 บาท

ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ประจำห้องประชุมอบจ.จำนวน2 คน 9 วัน รวม 3,600 บาท

ค่าจัดทำเอกสารการอบรม รวม 7,200 บาท

ค่าเอกสารสรุปรายงานนำเสนอภาครัฐ เอกชนและโรงเรียน 50 ชุด รวม 1,500 บาท

ค่าคอมพิวเตอร์บริจาค รวม 200,000 บาท

(ขอถัวจ่ายทุกรายการ)

ค่าใช้จ่ายงบประมาณนี้ ไม่ได้เบิกจ่ายภาครัฐ เนื่องจากภาคเอกชน เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ตามงบประมาณข้างต้นทั้งหมด

ลงชื่อ ผู้เสนอโครงการ

( นายอานนท์ ทวีสิน )

ประธานศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ICTและ

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านฉิมพลี

ลงชื่อ ผู้เห็นชอบโครงการ

( น.ส. กิ่งแก้ว ประสงค์ดี)

ผู้อำนวยการโรงเรียนฉิมพลี

ลงชื่อ ผู้เห็นชอบโครงการ

(น.ส.เอราวัณ งามพร้อม)

ประธานผู้ประสานเครือข่ายโรงเรียนเขตพื้นที่

ลงชื่อ ผู้เห็นชอบโครงการ

(นายชะลอ ทำดี)

ศึกษานิเทศก์ สพท.ศก.

ลงชื่อ ผู้อนุมัติโครงการ

(นายโชติช่วง ชัชวาลย์)

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา

สรุป: ได้เสนอตัวอย่างโครงการข้างต้นซึ่งครอบคลุม 4 ประเด็นข้างท้ายนี้คือ

• การเงิน Project Proposal

• การทำ Project Presentation

• การอนุมัติ Project Approval และ

• การบริหาร Project Implementation

อนึ่ง ในการนำเสนอจะต้องใช้ทฤษฏีชองอาจารย์ ดร.จิระ หงส์รดารมณ์ คือทฤษฏี 2I’S คือ

1. Inspiration จุอประกาย

2. Imagination การสร้างจินตนาการ

และทฤษฏี 3 L’s คือ

1. Learning from pain

2. Learning from experience

3. Learning from listening

รวมทั้งทฤษฏี 3 วงกลมโดยมี motivation แรงจูงใจที่ทำให้ทุกฝ่ายเห็นด้วยอันนำไปสู่ความสำเร็จ

โดร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ

1. Connecting

2. Engaging

***คำตอบข้อ 3

Lynda Gratton และ Sumantra Ghoshal ได้ให้ความหมายของ “ทุนมนุษย์” ว่าหมายถึงส่วนผสมของ 3 สิ่ง (นิสดารก์ เวชยานนท์. 2551. หน้า 5) คือ

1. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ประกอบด้วย ความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทักษะ ประสบการณ์ที่คนสะสมไว้ รวมทั้งความรู้ที่อยู่ในตัวเราที่เรียกว่า Tacit Knowledge

2. ทุนทางสังคม (Social Capital) ประกอบด้วยเครือข่ายความสัมพันธ์

3. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆเช่น การรับรู้ตนเอง(Self Awareness) ความมีศักดิ์ศรี (Integrity) การมีความยืดหยุ่น (Resilience)

ปัจจัยแห่งความล้มเหลวของทรัพยากรมนุษย์

1. หากองค์กรได้คนไม่ดี ไม่มีความสามารถ องค์กรก็ต้องจ่ายเงินเพื่อเทรนนิ่ง พัฒนาเขาขึ้นมา

2. หากมีการ ทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น องค์กรจะยิ่งขาดทุนหนัก

3. หากองค์กรต้องเลิกจ้างพนักงาน ความเสี่ยงในการก่อม็อบ การประท้วง และการร้องเรียนของพนักงานก็มากยิ่งขึ้น

4. หากคนในองค์กรไม่เข้าใจทฤษฏีของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์รดารมณ์ ก็เป็นปัจจัยแห่งความล้มเหลวได้

จากการสำรวจเรื่องความเสี่ยงของ Chartered Institute of Personal and Development (CIPD) พบว่า สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงมีความกังวลว่าเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ 5 ประการ คือ

1.การไม่เอาจริงเอาจังในการทำงานของพนักงาน

2.การสูญเสียผลผลิตจากการที่พนักงานขาดงาน ลาออก การสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถ

3.การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์

4.การไม่จ่ายภาษีตามที่กฎหมายกำหนด และ

5.พนักงานได้รับ บาดเจ็บอย่างรุนแรง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของทุนมนุษย์

1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของทุนมนุษย์ ต้องเริ่มจากครอบครัวที่อบอุ่น

2. เปลี่ยนจากการมองคนเป็นค่าใช้จ่ายไปสู่การมองคนเป็นสินทรัพย์

3. มองทุนมนุษย์ในลักษณะที่เป็นคุณสมบัติแยกออกต่างหากจากตัวบุคคล

4. สร้างแนวคิดคู่ประสานระหว่างการสร้างความผูกพันและการพัฒนาทุนทางปัญญา

5. ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติด้านเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์

6. เน้นคุณค่าของคนและวิธีการที่ใช้ในการบริหารคนมากกว่าหน้าที่เฉพาะบุคคล

น้ำผึ้ง คะเชนทน (มรภ.สวนสุนันทา กทม.)

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึกษาพารณ – จีระ…มุ่งมั่น…พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 – 208 ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน

- ความคิดใหม่ (Idea) ได้ศึกษาจากแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับการนำเอา ทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s และทำงานตามแบบทฤษฎี 3 ต. จากการศึกษาดังกล่าวจึงได้มองเห็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนของตัวเอง

- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จึงก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโรงเรียน ซึ่งในขั้นต้นต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริหารโรงเรียนก่อนเป็นอันดับแรก จึงได้ทำโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ

- ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้นและจากการดำเนินการตามโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กรในจังหวัดสมุทรปราการ ทำให้โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ และได้มีโครงการอื่นๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองกับท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น 1) โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศเวียดนาม โดยให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้นำคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมการอบรมและครูไปต่อยอดการเรียนที่ประเทศเวียดนามด้วยทุนของตนเอง 2) โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ โดยให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้นำไปทัศนศึกษา 3) โครงการเปิดหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม ) โครงการฝึกงานภาคฤดูร้อนในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา 6) โครงการไปทัศนศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้ 7) โครงการ Sister School กับโรงเรียน Wadong Middle School ของประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น

2. อ.ปรารถนา ศรีสุข ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับและก้าวเข้าสู่อินเตอร์โดยได้ดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้

การเขียนโครงการ Project Proposal ได้คิดวิเคราะห์เป็นโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ

การนำเสนอโครงการ Project Presentation เมื่อเขียนโครงการแล้วก็นำเสนอต่อผู้บริหารโรงเรียน มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ

การขออนุมัติ Project Approval รอการพิจารณาอนุมัติโครงการจากผู้บริหารโรงเรียน มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ

การบริหารโครงการ Project Implementation ได้รับความร่วมมือจากครูในโรงเรียน มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและองค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการกว่า 50 คน มาร่วมเรียนรู้แนวคิดกับวิทยากรชั้นนำเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารโรงเรียนสมัยใหม่

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องอะไรบ้าง

ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จและเกิดความล้มเหลว คือปัจจัยเกี่ยวกับการบริหาร “คน” โดยที่ทรัพยากรคนที่เรียกกันว่าทุนมนุษย์ที่มีความพร้อมทางสมรรถนะในการปฏิบัติงานจะเป็นทรัพยากรที่ทุกองค์กรต้องสรรหาเข้ามาปฏิบัติงาน หรือถ้าเป็นทุนมนุษย์ที่มีอยู่แล้วในองค์กร ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการรักษา และจูงใจให้ทุนมนุษย์อยู่ปฏิบัติงานนานๆ โดยใช้ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

• Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

• Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

• Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

• Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

มีความเกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ 1) ความคิดใหม่ ( Idea) หากไม่มีความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นก็จะไม่มีการพัฒนา 2) ความคิดสร้างสรรค์ ใช้ในการคิดค้นหากระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ 3) ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง เมื่อคิดได้มีกระบวนการแล้วก็จะเป็นการลงมือทำ

ซึ่งจากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้ว่างานจะสำเร็จลุล่วงได้ขึ้นของกับคน (ทุนมนุษย์) ทุกระดับ ร่วมทั้งผู้ที่ให้ความร่วมมือในการทำงาน เพื่อให้งานประสิทธิภาพสูงสุดก็ต้องนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการทำงานด้วย

นางจงดี พฤกษารักษ์

[email protected]

นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัสนักศึกษา 53484931011

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

วิชาการจัดการมนุษย์ PHD8202

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันได้อ่าน บทที่ 10 เรื่องกรณีศึกษา พารณ-จีระมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทย เพื่อความเป็นเลิศตั้งแต่ 193-208 ในหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ ดิฉัน เป็นครูผู้สอนรู้สึกปลื้นปิติในความมุ่งมั่นและการพัฒนาการศึกษาไทย ในกรณีศึกษาการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรประการและกรณีของพารณ คือการสร้างวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญยา (Construct ionism) ที่สันกำแพงและที่โรงเรียนครูสิกขาลัย ดิฉันชื่นชอบในการค้นหาความรู้และวิธีการสอนใหม่ๆจากทาง Internet ดิฉันได้อ่านบทความความของท่านอาจารย์หลายๆ บทความดิฉันได้รับแรงดลบันดาลใจที่ทำให้ดิฉันเชื่อมั่นว่า นวัตกรรมมี 3 ส่วน ได้แก่ความคิดใหม่ (Iolea); ความคิดสร้างสรรค์ (Creat ivity) และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่า ทุนที่สำคัญคือ "ทุนมนุษย์" และดิฉันได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน คือการสอนวิชาชีพภาษานานาชาติสู่สังคมอาเชียนเสรี Think Global,Aet Local ไทยได้ทำโครงการเสริมสร้างวิชาชีพสู่โรงเรียน พอสังเขปดังนี้

1.) ชื่อโครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาภาษาจีนควบคู่คุณธรรมจริยธรรม"

2.) หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา24 (4) ระบุว่าการจัดการสอนโดยผสมผสานสาระและความรู้ต่างๆ ได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งสามารถใช้เป็นภาษาเพื่อสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยกำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือผู้ปกครองนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนโดยยึดหลักการสร้างนวัตกรรมด้วยแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Construct ionism) ซึ่งประกอบด้วย

วัตถุประสงค์

Projuct Management คือ

1.) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนทุกระดับชั้นในการเรียนรู้ภาษา

2.) เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านภาษาเข้ามามีบทบาทโดยการสนับสนุนโรงเรียน

3.) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและสังคม

4.) เพื่อเป็นการยกระดับการพัฒนาโรงเรียนไปสู่ระดับนานาชาติ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

5.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่ สังคมอาเซียนเสรี

6.) เพื่อเป็นการแสวงความร่วมมือในการบริการจัดการเรียนการสอน

7.) เพื่อเป็นการบริหารหลักสูตรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีความคล่องตัวและยืดหยุ่น

8.) เพื่อเป็นการทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ

9.) เพื่อเป็นการประสานงานร่วมทั้งเน้นงานนวัตกรรมในด้านความคิดสร้างสรรค์

วิธีการดำเนินงาน Project Implement

1.) ประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยทีมงาน ประกอบด้วยครู อาจารย์ ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

2.)รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรรวมทั้งวิธีการสอนสอดคล้องกับบริษัทโดยมีส่วนร่วมครู ปราชญ์ชาวบ้านและชุมชน

3.) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์และเรียนรู้ปรับปรุงวิเคราะห์เพื่อให้มีความยั่งยืน

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

- ผู้นำหน่วยงานคือผู้บริหารของสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ (Vision) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (Shift Paradigm)

- ทีมงานยอมรับและเห็นการเปลียนแปลงเปิดโอกาสในการพัฒนาภาษาจีน

- หน่วยงานอื่นๆ องค์กรร่วมทั้งภาคีที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ

- ชุมชนมีการเรียนรู้และร่วมทำงานแบบบูรณาการ

- ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีการแก้ปัญหาด้วยปัญญา (Constructionism)

- ผู้ปกครองและนักเรียนมีการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นต่อหลักสูตรพัฒนาขึ้น ซึ่งสรุป

1.) การวางแผนการดำเนินงาน (D)

2.) การดำเนินงานตามโครงการ (D)

3.) การตรวจสอบติดตามประเมินผล (D)

4.) การสรุปผล ปรับปรุงและการพัฒนา (A)

5.) สถานที่ดำเนินการ

- วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

6.) งบประมาณดำเนินการ จำนวน 2,000 บาท

7.) การจัดและประเมินผล

7.1.) วิธีการสังเกต

7.2.) แบบสอนถาม

8.) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1.) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและสังคม

8.2.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมอาเซียนเสรี

8.3.) เพื่อเป็นการแสวงความร่วมมือในการบริการจัดการเรียนการสอน ฯลฯ

ผู้เสนอโครงการ ............................................................

(นางจงดี พฤกษารักษ์)

รองผู้อำนวยการ

ความคิดเห็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

อนุมัติโครงการ

ใบอนุมัติโครงการ

.................................................

(นายจิตติ์ เอียดสังข์)

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

นางวิภารณี แก้วใส

นางวิภารณี แก้วใส รหัสประจำตัว 53484931022 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ชื่อโครงการ

“ตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจปวงประชา”

หลักการและเหตุผล

อำเภอกะทู้ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา หมู่ที่ 2 ตำบลกมลา เพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ข้อมูล เพื่อสนับสนุนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชน ได้ศึกษา ค้นคว้า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ และนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตามภูมิสังคม อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการบูรณาการงานของส่วนราชการในพื้นที่ระดับอำเภอ และอำเภอกะทู้มีนโยบายในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จึงจัดทำโครงการกิจกรรมตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจปวงประชา ขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

2. เพื่อขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรลุผลเป็นรูปธรรม

3. เพื่อให้แกนนำหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำไปขยายผลสู่ครัวเรือน หมู่บ้านและชุมชนของตนเอง

เป้าหมายการดำเนินงาน

จัดการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการศึกษาดูงานในพื้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้แก่แกนนำหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 40 คน เพื่อให้เป็นแกนนำหลักในการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการดำเนินการ

1. เชิญแกนนำหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่อำเภอกะทู้ เข้าร่วมการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ในพื้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความมุ่งหวังและมีความมุ่งมั่น

2. ดำเนินงานด้านธุรการ ด้านการประสานงานสถานที่ดูงาน พาหนะ อาหาร ที่พัก ของ

ที่ระลึก เป็นต้น

3. จัดทำคู่มือการศึกษาดูงาน

4. ปฐมนิเทศก่อนการศึกษาดูงาน และบรรยายสรุป

5. ประเมินผลและติดตามการศึกษาดูงาน

ระยะเวลาดำเนินการ

จำนวน 3 วัน ปีงบประมาณ พ.ศ.2554 (1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2554)

งบประมาณ

งบประมาณกรมการปกครองจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

จำแนกเป็น

1) ค่าเช่ารถยนต์ตู้ จำนวน 3 คันๆ ละ 3,000 บาท รวม 9,000 บาท

2) ค่าน้ำมัน รวม 7,500 บาท

3) ค่าของที่ระลึก รวม 7,000 บาท

4) ค่าอาหารและเครื่องดื่ม รวม 24,000 บาท

5) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รวม 4,000 บาท

6) ค่าที่พักเหมาจ่าย รวม 32,000 บาท

7) ค่าจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรมฯ รวม 8,900 บาท

8) ค่าจัดทำประกาศนียบัตรฯ รวม 4,000 บาท

9) ค่าวิทยากรฝึกอบรม รวม 3,600 บาท

รวม 100,000 บาท

หมายเหตุ สามารถถัวจ่ายได้ทุกรายการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ที่ว่าการอำเภอกะทู้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้แสดงออกถึงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

2. ได้ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรลุผลเป็นรูปธรรม

3. แกนนำหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำไปขยายผลสู่ครัวเรือน หมู่บ้านและชุมชนของตนเอง

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึกษาพารณ – จีระ…มุ่งมั่น…พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 – 208 ในหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ โดย ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ นั้น สรุปได้ดังนี้

นวัตกรรม (Innovation) คือ การศึกษาดูงาน

การศึกษาดูงาน (Practical Training) หมายถึงอะไร

การศึกษา หมายถึง การเล่าเรียน ฝึกฝน อบรม

ดู หมายถึง การใช้สายตาเพื่อให้เห็น เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์จริง

ดังนั้นการศึกษาดูงาน หมายถึง การอบรม การฝึกฝนเพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์จริงเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในสถานที่ต่าง ๆ

การศึกษาดูงาน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเก่า ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องนัก ทั้งนี้ การศึกษาดูงานในอดีตหรือที่เคยปฏิบัติกันมา มักจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น ประชาชนไม่ได้ตั้งใจที่จะศึกษาดูงานจริง แต่อาจเป็นเพียงการไปท่องเที่ยว การศึกษาดูงานเป็นนโยบายของเบื้องบน ของหน่วยเหนือ หรือของผู้บริหารไม่ได้เป็นความต้องการที่แท้จริงของสมาชิกองค์กร การไม่สามารถนำสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานมาปฏิบัติจริงได้ เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาดูงานในยุคปัจจุบัน จึงเป็นกิจกรรมที่เป็นความคิดแนวใหม่ (New Idea) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และสามารถสามารถใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริงได้ (Application) ซึ่ง นวัตกรรมการศึกษาดูงาน ถือว่าเป็นนวัตกรรมประเภทเครื่องมือการบริหารหรือเทคนิคการบริหารในยุคสมัยใหม่ ควรมีลักษณะการดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การเตรียมการ

1) เลือกสถานที่ดูงานให้ตรงกับปัญหา และความต้องการจำเป็นของสมาชิกหรือขององค์กร

2) กำหนดวัตถุประสงค์ และรายละเอียดของการศึกษาดูงานให้ชัดเจน

3) ประสานงานกับหน่วยงานที่จะไปศึกษาดูงานในเรื่องวัน เวลา สถานที่ จำนวนสมาชิกที่จะไป เรื่องที่ต้องการศึกษาดูงานให้ชัดเจน และระบุชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

4) ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาดูงาน เช่น การทำหนังสือขออนุญาตทางราชการยานพาหนะ จัดทำคำสั่ง แบบรายงานการศึกษาดูงาน เป็นต้น

5) แจ้งรายละเอียดการศึกษาดูงานแก่สมาชิกที่จะไปเรื่องวันเวลา สถานที่ วัตถุประสงค์ การมอบหมายงาน เป็นต้น

ขั้นที่ 2 การศึกษาดูงาน

1) ฟังการบรรยายสรุป และซักถามปัญหา

2) ใช้เวลาศึกษาดูงานตามที่ได้รับมอบหมาย และตามความสนใจและความต้องการของแต่ละคน

3) บันทึกรายละเอียดของการศึกษาดูงาน

ขั้นที่ 3 ประเมินผล

1) ผู้ไปศึกษาดูงาน เขียนรายงานการศึกษาดูงาน สรุปแนวคิดจากการศึกษาดูงาน

2) ผู้ไปศึกษาดูงานประเมินศักยภาพของตน (Individual Analysis)จากการศึกษาดูงาน

ขั้นที่ 4 การติดตามผล

ผู้นิเทศติดตามผลการพัฒนาตน และพัฒนางานของผู้ไปศึกษาดูงาน โดยมีแบบติดตามประเมินผลที่เกิดจากการระดมพลังสมองของสมาชิก (Brainstorming)

ปัจจัยในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ความสำเร็จที่เกิดจากการศึกษาดูงาน เป็นการเรียนรู้ในเชิงประจักษ์ ซึ่งนักวิชาการกล่าวว่า ภาพที่เห็น 1 ภาพ (ประสบการณ์จริง) มีค่ามากกว่าคำบรรยาย 1,000 คำ ดังนั้นปัจจัยแห่งความสำเร็จของนวัตกรรมการศึกษาดูงานซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 4 ประการดังนี้

1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ความคาดหวังแห่งความสำเร็จของผู้ศึกษาดูงาน

2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สำเร็จของแหล่งศึกษาดูงานที่สามารถเป็นแบบอย่าง (Model) ได้ ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลในมิติต่างๆ เป็นต้น

3. ปัจจัยแทรกซ้อน ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ การเดินทาง สภาพของพาหนะ อาหาร ที่พัก เป็นต้น

ซึ่งปัจจัยแทรกซ้อน นับเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการศึกษาดูงานที่ไม่ควรมองข้าม

4. ปัจจัยเสริม คือ ความต่อเนื่อง ความต่อยอด และการทำซ้ำในโครงการประเภทเดียวกัน หรือโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

การศึกษาดูงานเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์ คือประชาชนที่เป็นแกนนำของหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำไปขยายผลสู่ครัวเรือน หมู่บ้านและชุมชนของตนเอง ซึ่งนอกจากจะได้รับความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะและคุณธรรมจริยธรรมด้านต่างๆดังนี้

1. การเป็นผู้นำ ทั้งเป็นผู้นำตนเองและนำผู้อื่น

2. การทำงานเป็นทีม

3. การระดมพลังสมอง

4. การแสดงความคิดเห็น

5. การใช้ชีวิตแบบประชาธิปไตยในการฟังเสียงส่วนมากและเคารพเสียงข้างน้อย

6. การสร้างเครือข่ายระหว่างกัน (Network)

ผลแห่งความสำเร็จโครงการกิจกรรมตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจปวงประชา ประชาชนในท้องที่ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต มีบุคลิกลักษณะ 3G อันพึงประสงค์ คือ

G (Genius) คือ ความฉลาดหลักแหลมในการใช้ชีวิต ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

G (General) คือ การใช้ชีวิตแบบคนปกติทั่วไปไม่ประมาท แฝงด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

G (Generosity) คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในหมู่บ้าน ชุมชนของตน ซึ่งนับวันปรากฏให้เห็นน้อยมาก เนื่องจากได้บริโภคระบบทุนนิยมมากเกินไป

สรุป โครงการ “ตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจปวงประชา” เป็นนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยทฤษฎี 4 L’s , ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

นางกรนิภา ไตรฟื้น

จากการอ่าน บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ-จีระ …มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 - 208 ในหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ โดย กรนิภา ไตรฟื้น นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์จังหวัดเลย

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน

- แนวคิดใหม่ ( Idea ) เป็นสิ่งที่มองจากการเปลี่ยนแปลง จากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกขององค์กรแล้วมีผลเข้ามาสู่ในองค์กรแล้วแปลงไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความยั่งยืน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ประกอบกับจะต้องสามารถมองประเด็นปัญหา ทั้งที่เป็นเชิงโครงสร้าง เชิงนโยบายและยุทธทศาสตร์ เพื่อวางทิศทางใหม่ในการนำพาองค์กรไปสู่อนาคต ให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ซึ่งจากการไปทัศนศึกษาในประเทศสิงค์โปร์ เพื่อรับฟังการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานที่จะไปทำงานในสนามบิน จากแนวคิดใหม่ที่ได้รับมาจึงทำให้โรงเรียนได้สร้างหลักสูตรใหม่ขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม

- ความคิดสร้างสรรค์ ( Creativity ) การคิดสร้างสรรค์จะต้องเป็นกระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดในการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการคิดนอกกรอบ คิดแบบริเริ่ม ยืดหยุ่น ผลที่ได้จากการคิดจึงเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ มีคุณค่าต่อผู้ที่คิดและต่อสังคม จากที่พบคือการค้นพบวิธีการสอนแบบที่ดีกว่าเดิม โดยที่คุณครูได้ให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนได้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่ติดตัวไปตลอดชีวิต จนเกิดเป็นต้นแบบของการเรียนรู้ในวงการศึกษาไทยที่เป็นการคิดแบบนอกกรอบที่มีคุณค่าต่อสังคมทางด้านการศึกษา

- ใช้องค์ความรู้ในองค์กรให้เป็นความจริง คือการจัดองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว โดยการรวบรวม สร้าง จัดระเบียบและประยุกต์ใช้ความรู้ภายในองค์กร ซึ่งจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาเป็นเฉพาะด้าน เช่น การแบ่งปันภูมิปัญญา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น ไม่ใช่เป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีเท่านั้น หากแต่มีการนำองค์ความรู้ที่ได้มาปฏิบัติจริง ด้วยการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การจัดการเรียนรู้แบบ Constructionism โดยเน้นสร้างองค์ความรู้ แบบลงมือปฏิบัติทำโครงการบูรณาการด้วยการใช้เทคโนโลยี วิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจริยธรรม ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นทีม จนติดนิสัยเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งมีการจัดการสอนในรูปแบบการเรียนรู้แบบผ่านโครงงาน ที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนามาจากการปฏิบัติจริงในเรื่องที่ตนสนใจ และบูรณาการวิชาการต่าง ๆ ที่มุ่งพัฒนาด้านทักษะขบวนการคิด การพัฒนาตนเอง การพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้ถือปฏิบัติจนเคยชินตลอดไป

2. เสนอเป็น

- การเขียนโครงการ ( Project Proposal ) ที่มาของโครงการโดยเริ่มจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์( Human Resource Development) ที่นับว่าเป็นกุญแจที่สำคัญนำพาไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ โดยอาศัยเครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่เดียวกันด้วยการประสานงาน จัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง 48 ชั่วโมง ให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนต่างๆในจังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการฝึกอบรม ( Trainning) เพื่อทำให้ทักษะ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี พร้อมทั้งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การนำเสนอโครงการ ( Project Presentation ) โดยการให้ผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมเรียนรู้แนวคิดต่างๆ ที่หลากหลาย กับผู้บริหารด้วยกัน ซึ่งก่อให้เกิดการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน รวมทั้งเป็นการเรียนรู้ร่วมกันทำให้เกิดการพบปะ รวมไปถึงโอกาสการเรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จึงเป็นช่องทางที่เกิดการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่ได้จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ในองค์กรที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากทุนมนุษย์แสวงหาแนวคิดใหม่ร่วมกัน ที่จะพัฒนาองค์กรให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเท่าทันภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์

- การอนุมัติโครงการ ( Project Approval ) โดยมีโรงเรียนบางหัวเสือฯ เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการโดยใช้หลักทุนความสัมพันธ์ ( Relationship Capition ) สร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนที่ร่วมเป็นเครือข่ายที่มีแนวคิดร่วมกัน จนนำไปสู่ความร่วมมือและการทำงานร่วมกัน เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจวางใจต่อกันจนไปถึงการอนุมัติในการจัดทำโครงการ

- การบริหารโครงการ ( Project Implementation ) เป็นการบริหารทุนมนุษย์ที่เป็นทุนเดิมที่มีอยู่แล้วนั่นคือ สมรรถนะและความสามารถซึ่งติดตัวของคนแต่ละคน ภายในองค์กรที่มีความหลากหลายที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้การบริหารโครงการดังกล่าวนี้ได้ใช้เทคนิคทางการบริหารจัดการทุนมนุษย์ที่มีอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจากหน่วยงานของภาครัฐแต่เดียว ไม่คิดว่าหากไม่มีงบประมาณโครงการก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ แต่หากเกิดจากการใช้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่เดิมแล้วต่อยอดการเรียนรู้ ให้กับองค์กรเดินหน้าต่อไปจนประสบความสำเร็จ

3. ปัจจัยในความสำเร็จ และความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และความเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ทุนมนุษย์ ( Human Capital ) ในองค์ประกอบของทุนมนุษย์นี้จะสามารถแบ่งออกเป็นด้านความสามารถ พฤติกรรม ความสามารถ รวมถึงความดีงามต่างๆที่สั่งสมอยู่ในแต่ละบุคคล ส่วนนวัตกรรม ( Innovations ) เป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ทอมัส ฮิวซ์ ( Thomas Hughes ) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีใหม่ ๆ มาปฏิบัติ หลังจากผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนาแล้ว โดยเริ่มต้นตั้งแต่การคิดค้น ( Invention ) พัฒนาการ ( Development ) และอาจรวมไปถึงรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน ( Pilot Project ) แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการที่เคยปฏิบัติมาก่อน จึงเรียกว่า นวัตกรรม ( Innovation ) และจากแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมของ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และทฤษฎี 4L’ S , ทฤษฎีทุน 8K’ S และทฤษฎีทุน 5K’ S ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับมนุษย์ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี คือ คน ซึ่งคนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุดจาก Quatation ของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้พูดถึงทรัพยากรคัญที่สุดในปัจจุบัน คือเรื่องคนไม่ใช่เรื่องเงินหรือเรื่องเครื่องจักรแต่เป็นเรื่องคน ปัจจัยในเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ก็คือเรื่องคนนั่นเอง ส่วนเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมในเรื่องการลงมือปฏิบัติ เพราะโครงการใดจะสำเร็จได้ก็ขึ้นอยู่มนุษย์ในการลงมือปฏิบัติจริง ทุนมนุษย์แม้มีมาตั้งแต่เกิดหากเมื่อมาทำงานถ้าได้ฝึกอบรมที่ดี มีการศึกษาจะทำให้คุณภาพทุนมนุษย์ มีคุณค่า มีปัญญา แต่หากมีปัญญาเท่านั้นจึงไม่พอ จะต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมและมีจริยธรรม สามารถทำประโยชน์ได้ในระยะยาวเป็นสากลอยู่ตลอดเวลา ทุนทางวัตกรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงจาก Macro ไปสู่ Micro ซึ่งพื้นฐานมาจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

สรุปมุมมองการพัฒนาทรัพยากรทุนมนุษย์กับนวัตกรรมได้ว่า ถึงแม้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทักษะ การสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หลังจากนั้นหากมีความคิดใหม่เกิดขึ้น ก็ต้องลงมือปฏิบัติจริง เพราะถ้าคิดแล้วไม่มีการปฏิบัติจริง ทำจริง ก็จะไม่เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นได้

ชื่อ นาย อดุลย์ อยู่ยืน นศ ป เอก ราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484931006

Cell phone 081 876 4025 E-mail: [email protected]; www.adulyouyoun.com

การกำจัดขยะอินทรีย์โดยไส้เดือนดินระดับครัวเรือน

วัตถุประสงค์

- ลดโลกร้อน

-เ พื่อเป็นการลดขยะ

- เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขยะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

- เพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่ายรายครัวเรือน

สำรวจ

ปัญหาเรื่องขยะ เป็นปัญหาระดับประเทศ ทุกคนสร้างขยะแต่ไม่มีใครอยากเก็บโดยเฉพาะขยะอินทรีย์ โดยพื้นฐานขยะอินทรีย์มีการย่อยสลายได้เองโดยธรรมชาติ แต่ใช้เวลาในการย่อยสลายและเกิดกลิ่น ดังนั้นจึงเป็นภาระต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องจัดเก็บขยะทุกวันเพื่อไม่ให้มีกลิ่น แม้แต่ระดับครัวเรือนก็ไม่อยากให้ไครนำขยะมาอยู่ไกล้บ้าน

วิจัย

จากการทดลองในระดับมหาวิทยาลัยมีการจัดการขยะในระดับชุมชน โดยการเก็บรวบรวมและนำไปย่อยสลายโดยไส้เดือนดิน ก็ได้ผลดียิ่ง แต่เป็นการแก้ปัญหาที่บ่อขยะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบยังใช้รถวิ่งเก็บขยะเหมือนเดิม แถมเพิ่มงานในการนำขยะอินทรีย์ไปแยกกำจัด ดังนั้นจึงพยายามแก้ตั้งแต่ต้นเหตุ

วางแผน

มีการรณรงค์แยกขยะอินทรีย์ในระดับพื้นที่บ้าน และจัดการขยะอินทรีย์ที่บ้านโดยไส้เดือนดิน

ให้ความรู้ สิ่งที่จะได้ เป็นประโยชน์ที่สัมผัสได้ เช่น ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน สามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายได้

โดยมีเป้าหมายลดขยะบ้านละ1กก จากบ้านที่ร่วมโครงการ 1000หลัง

ปฏิบัติการ

วางแผนจากของจริงคือเส้นทางรถขยะ ให้ได้ตามเป้าหมาย

เริ่มอบรมให้ความรู้ และ แจกพันธ์ไส้เดือน

ประเมินผล

สามารถประเมินได้จากการเก็บขยะน่าจะลดน้อยลง

สรุป

การให้ความรู้ การมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม เป็นปัจจัยในความสำเร็จและล้มเหลวเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

รหัสนักศึกษา 53484931003

สาขานวัตกรรมและการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

คำตอบข้อ1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน ประกอบด้วย  ความคิดใหม่ (Idea)   ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)  และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

 

          กรณีศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า สมุทรปราการ เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา(Education Innovation) สำคัญในวงการศึกษาไทย โดยเริ่มต้นที่ “คน”  เพราะ “ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร  แต่เป็นคน”(ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)

            “คน” ในกรณีศึกษานี้อาจารย์ปรารถนา ศรีสุข ครูที่ผ่านการพัฒนานวัตกรรม 5 เรื่องตามลำดับที่ดร.จีระฯเห็นว่าต้องประกอบด้วย

  1. อดทน
  2. พร้อมที่จะล้มเหลวและผิดหวัง
  3. หาความรู้หลายๆศาสตร์ และสด
  4. ค่อยๆทำเป็น Step อย่ารีบร้อน
  5. สร้าง Innovation Culture ในองค์กร

ทั้งนี้ นวัตกรรมมี 3 ส่วน ประกอบด้วย  ความคิดใหม่ (Idea)   ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)  และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

 

ความคิดใหม่ (Idea)  

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาโรงเรียนมาจากแรงบันดาลที่เกิดจากความเจ็บปวด ซึ่งอาจารย์ปรารถนาได้อธิบายถึงสถาบันการศึกษาแห่งนี้ในอดีตชื่อ โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล เป็นโรงเรียนประจำตำบลบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ นักเรียนที่มาเรียนประกอบด้วยคนท้องถิ่นที่ไม่สามารถไปเรียนต่อที่อื่นได้ เพราะขาดปัจจัย หรือไม่สามารถเข้าศึกษายังสถาบันที่มีชื่อเสียงได้ เสียงของคนชุมชนส่วนมากจะมองว่าเป็นโรงเรียนที่ไม่ค่อยได้มาตรฐาน ซึ่งจริงๆแล้วมิใช่อย่างนั้น

ในฐานะผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ได้ใหม่อยู่ตลอดเวลาว่า จะทำอย่างไรให้โรงเรียนดี ได้รับการยอมรับจากชุมชน  ในเบื้องต้นการเปิดโลกทัศน์ของอาจารย์เลือกใช้วิธีการไปดูงานโรงเรียนอื่นๆ สถานที่ ห้องเรียน อุปกรณ์ดีมาก ฯลฯ การได้เห็น ได้สัมผัส ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากเพื่อร่วมวิชาชีพต่างสถาบัน ต่างถิ่น ยิ่งเป็นแรงบันดาลใจที่ต้องการจะทำให้แนวคิดใหม่เป็นรูปธรรมอย่างมีนวัตกรรม

อาจารย์ปรารถนาเลือกเรียนทรัพยากรมนุษย์เพราะ เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ ไม่ต้องลาเรียน  และขณะนั้นยังไม่เข้าใจว่า ทรัพยากรมนุษย์มีขอบเขตเพียงใด แต่คิดว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่พัฒนาเมื่อโต หรือเฉพาะคนในองค์กร มนุษย์ควรจะถูกปลูกฝังสิ่งที่ดีๆ ตั้งแต่เยาว์วัย  นำไปสู่การทำวิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาศักยภาพนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านธุรกิจอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ

10แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ของ ศ.ดร. จีระฯเป็นเรื่องใหม่ที่อาจารย์ปรารถนาได้เปิดโลกทัศน์ตนเอง  และในกระบวนการสอนของศ.ดร.จีระฯ ไม่ได้สอนเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่แฝงความคิดที่จะนำมาสู่การปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ โดยการใช้ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย Reality   มองความจริง  และRelevance    ตรงประเด็น  เพื่อตอบโจทย์ให้ตรงกับสิ่งที่ตั้งไว้ด้วยทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย Inspiration   จุดประกาย  และImagination   สร้างจินตนาการ

 

ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) 

เพื่อจะให้เกิด Innovation Culture ในองค์กรได้ อาจารย์ปรารถนาเลือกใช้ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย  Connecting   การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน Engaging   การมีส่วนร่วม  และทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

Learning Methodology  (วิธีการเรียนรู้)  Learning Environment   (บรรยากาศการเรียนรู้) Learning Opportunities  (โอกาสการเรียนรู้)  Learning Communities  (ชุมชนแห่งการเรียนรู้)  โดยต้องการให้ครูที่โรงเรียนได้ฟังบ้าง เพราะการที่คนในองค์กรมีแนวคิดไปในทางเดียวกัน การปฏิบัติงานจะไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้น จึงได้เรียนเชิญดร.จีระมาพูดให้ครูในโรงเรียนฟัง และเชิญโรงเรียนใกล้เคียงมาด้วย พร้อมทั้งเรียนเชิญท่าน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามาด้วย โดยการสนับสนุนจากท่านผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีวิสัยทัศน์วิสัยทัศน์กว้างไกล นำไปสู่การจัดอบรมพัฒนาผู้บริหารของจังหวัดสมุทรปราการ 48 ท่าน

การคิดเชิงรุกของอาจารย์ปรารถนาก็มองออกไปนอกประเทศ  เพราะเห็นว่าหลังการไปศึกษาดูงานเกิดจากการอบรมภาวะผู้นำของผู้บริหาร 48 ชั่วโมง  ต้องการต่อยอดความรู้ สร้างประสบการณ์ตรง ต้องการดูว่าต่างประเทศจัดการศึกษาอย่างไร เพื่อเปรียบเทียบ ประยุกต์ใช้ และพัฒนา เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนคือ การนำโรงเรียนสู่สากลโดยโรงเรียนมีหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษด้วย

ดร.จีระได้ช่วยโครงการต่อเนื่องที่ตามมา คือ นำคณะอาจารย์ไปทัศนศึกษาด้านการศึกษาที่ประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ เกาหลี   โดยอาจารย์ปรารถนาได้เข้าพบท่านประธานสถานศึกษาของโรงเรียนได้ช่วยแนะนำเรื่องค่าใช้จ่าย และก็ประสบความสำเร็จ โดยไม่รองบประมาณจากรัฐดังเช่นอดีต

ผลต่อเนื่องจากการไปดูงานต่างประเทศศ. ดร.จีระฯจึงได้นำโรงเรียนนี้เข้าร่วมโครงการ เป็นที่มาของ Sister School กับโรงเรียน Wadong Middle school ประเทศเกาหลีใต้ ได้นำนักเรียนเดินทางไปยังเกาหลีใต้ เพื่อทำความรู้จักสัมพันธ์ระหว่างกัน และโรงเรียน  Wadong Middle school ได้นำนักเรียนซึ่งเป็น buddy เดินทางมาเยี่ยมโรงเรียนที่เมืองไทยเช่นกัน

ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

จากแนวคิด HR Archtecture ของท่านศ. ดร.จีระฯ ด้าน คิดวิเคราะห์ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จิตสาธารณะที่ได้รับมา โรงเรียนแห่งนี้ก็ได้สร้างหลักสูตรใหม่ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น เกิดเป็นหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม เพราะโรงเรียนแห่งนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ล้อมรอบ และสนามบินสุวรรณภูมิก็อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนจึงได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองกับท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงาน ให้มีคุณภาพมากขึ้น ได้เชิญวิทยากรจากภายนอกมาสอนในหลักสูตรนี้มากมาย

นวัตกรรมทุนมนุษย์ส่งผลต่อการศึกษาไทยที่จะต้องเปลี่ยนแปลงทั้งตัวครูและนักเรียน

ซึ่งอาจารย์ปรารถนาเห็นว่า นิยามของครู + นักเรียนยุคใหม่คือ

ครู ไม่ใช่สอนเนื้อหาอย่างเดียว ต้องสอนวิธีคิด ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม วิธีเรียนรู้ นำไปสู่ life long learning ต้องเข้าใจเด็ก และแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ให้นักเรียนเสมอนักเรียน  มีความรู้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ที่ดี การเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวไม่ได้ผลมาสามารถพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถ สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้วิธีเรียนรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ คิดเป็นสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก อะไรผิด

การบริหารโรงเรียนปัจจุบัน อาจารย์ปรารถนายังคงใช้ 10แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ของศ. ดร. จีระฯ มาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

รหัสนักศึกษา 53484931003

สาขานวัตกรรมและการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

คำตอบข้อ2:  นวัตกรรมสร้างจิตสำนึกนักเรียนช่วยเหลือสังคมโดยความร่วมมือจากภาคเอกชน (CSSR-Corporate School Social Responsibility)

  • การเงิน Project Proposal
  • การทำ Project  Presentation
  • การอนุมัติ Project Approval และ
  • การบริหาร Project  Implementation 

โครงการเสริมศักยภาพจิตอาสานักเรียน  

1.ความเป็นมา

เมื่อทุกคนต้องการเห็นประเทศไทยดีขึ้นกว่านี้ การจะอยู่สุขสบายคนเดียวโดยที่คนแวดล้อมลำบากย่อมเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกันภาครัฐ หรือภาคเอกชน จะนิ่งดูดายไม่ได้เมื่อเห็นชุมชนที่เกี่ยวข้องต้องการความช่วยเหลือ และความร่วมมือ  ดังนั้น “ความรับผิดชอบต่อสังคม” อย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา จะต้องเกิดขึ้น และจะต้องเริ่มบ่มเพาะขั้นแรกที่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา    ซึ่งสอดคล้องกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีจุดหมายข้อหนึ่งคือ มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข    

2.วัตถุประสงค์ 

2.1 เพื่อปลูกฝังแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมในมิติต่างๆ อาทิ ชุมชน สิ่งแวดล้อม พลังงาน ฯลฯ อย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

2.2 เพื่อปลูกฝังแนวคิดสร้างสรรค์ทำงานเป็นทีม มีกระบวนการทำงาน ในรูปแบบที่ต้องมีความเข้าใจปัญหา และความต้องการของชุมชน ก่อนการลงมือทำงาน โดยมีความสามัคคีจากการทำงานของนักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

2.3 เพื่อปลูกฝังแนวคิดการบริหารจัดการทางการเงิน การต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ “อาจจะ” เกิดจากความรับผิดชอบต่อสังคมในมิติต่างๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม อย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

2.4 เพื่อปลูกฝังแนวคิดแบบอย่างของการผู้นำและประชาชนของประเทศ ในการมีจิตสำนึกเพื่อรับผิดชอบต่อสังคมในมิติต่างๆ อย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

2.5 เพื่อปลูกฝังทุนมนุษย์ให้มีแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมตามทฤษฎีของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์      

3. เป้าหมาย               

3.1 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 95 ได้เข้าใจบทบาทหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนของตนเอง ในการร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ได้อย่างรอบด้าน และได้เข้าใจการเชื่อมต่อรูปแบบการทำงานทั้ง 3 ส่วนคือภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ที่จะต้องทำงานร่วมงาน

3.2 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เข้าถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในบริบทของการทำงานที่แตกต่างกันออกไป

3.3 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ต้องมีความสามัคคี เปิดใจในการทำงานเป็นทีมอย่างสร้างสรรค์ โดยมีความเคารพต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

3.4 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 สามารถนำความรู้เรื่องการรับผิดชอบต่อสังคมในโครงการฯ ไปสานงานต่อ หรือริเริ่มโครงการใหม่ๆ ในการเรียนขั้นสูงต่อไป จนกระทั่งสามารถหารายได้จากการเลี้ยงชีพด้วยตนเอง ทั้งในบทบาทการเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง หรือเจ้าของธุรกิจ ก็ยังคงทำเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีคุณธรรมคู่จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจา

3.5 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ อาจจะมีส่วนร่วมต่อยอด บริหารจัดการทางการเงิน หรือก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1-2 ประเภท

3.6 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ถือเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาระดับมัธยมได้เข้าใจในบริบทความรับผิดชอบต่อสังคมในอีกรูปแบบหนึ่ง 

4. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 

4.1 บุคลากรครูที่รับผิดชอบโครงการโรงเรียนละ 10 คนจาก 60 โรงเรียน รวม 600 คน

4.2 นักเรียนมัธยมปีที่ 1-6 จำนวน 3,000 คน มาจากการรับสมัครและคัดเลือกโรงเรียนละ 50 คนจาก 60 โรงเรียน 

5.ระยะเวลา 

ภาคเรียนที่ 2/2554 ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2554 -  20 มกราคม 2555 รวมเวลา 11 สัปดาห์ในการลงพื้นที่โดยสัปดาห์ที่ 12 เป็นการสรุปงาน และประเมินผลโครงการสร้างศักยภาพจิตอาสานักเรียน 

6.ผู้เกี่ยวข้อง 

                6.1 โรงเรียนระดับมัธยม 60 โรงเรียน

                6.2 เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

                6.3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด

                6.4 ชุมชน OTOP  (ด้านข้าว ด้านผ้าไหม)

                6.5 ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดร้อยเอ็ด

                6.6 เอสซีจี (โดยโฮมมาร์ต จังหวัดร้อยเอ็ด)

                6.7 บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด ในเครือบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

                6.8 ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด สาขาร้อยเอ็ด

                6.9 ตัวแทนวัดนาป่าพง รังสิตคลอง 11

                6.10 มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                6.11 บริษัท ตรีรัตนะ จำกัด

6.12 สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด ดูแลโรงเรียนมัธยมจำนวน 60 โรงเรียน

6.13 บริษัท สยามคูโบต้า จำกัด (อาจจะเป็นสาขาร้อยเอ็ด) 

7. กระบวนการแบ่งปันเรียนรู้สู่การพัฒนาโดยภาครัฐ ชุมชนและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษาแนะนำ

7.1         นักเรียนเสริมศักยภาพความรู้ ความเข้าใจ จากภาครัฐ ชุมชน และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

7.2         นักเรียนศึกษาและสำรวจความต้องการชุมชน ก่อนวางแผนร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างกิจกรรมดีๆให้ตรงกับความต้องการของชุมชนตนเอง ก่อนที่จะขยายไปยังชุมชนใกล้เคียง

7.3         นักเรียนติดตามประเมินผล ร่วมแก้ปัญหากับชุมชน

7.4         นักเรียนร่วมกันนำข้อมูลการร่วมมือรับผิดชอบต่อสังคม มาพัฒนาเป็นสื่อรณรงค์ในด้านต่างๆ เช่น คลิปวิดีโอ ข่าวสั้น บทความ ผ่านสังคมออน์ไลน์ (Social Network) ของโรงเรียน รวมถึงภาครัฐ ชุมชนและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

7.5         นักเรียนและชุมชนสามารถนำสินค้าท้องถิ่นที่มีการต่อยอด หรือพัฒนาขึ้นมาใหม่จากโครงการแสดงผลงานของนักเรียนรวมถึงชุมชน 

7.6         นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำ 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ของ ดร. จีระ จากมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ มาช่วยประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมของกิจกรรม  โดยสิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้  Human Capital  ทุนมนุษย์  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข Social Capital  ทุนทางสังคมSustainability Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน  Digital Capital  ทุนทาง IT  และTalented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ 

8.  กิจกรรมดำเนินการ

โครงการเสริมศักยภาพจิตอาสานักเรียนมัธยมร้อยเอ็ดประกอบด้วย 6 กิจกรรมคือ

 

กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม

รูปแบบกิจกรรม : รายละเอียด

1

เสริมศักยภาพด้านคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์

บรรยายโครงสร้างบทบาท ความเป็นธรรมมาภิบาล ของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องโครงการนี้ : ทำ Mind Map เพื่อเห็นภาพของการเป็นธรรมมาภิบาลภายใต้ทรัพยากรทุนมนุษย์

2

เสริมศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน

บรรยายความสำคัญสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนการปลูกพืชผักสวนครัวต้นไม้ การปลูกข้าว การบริหารจัดการขยะ:  จัดกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวในที่ว่างของอาคาร บ้านเรือน เพื่อนำมาใช้กินเอง ปลูกต้นไม่ในพื้นที่ต่างๆของชุมชน  ปลูกข้าวทั้งแบบดั้งเดิม และใช้เครื่องจักร คัดแยกขยะด้วยหลัก 4R ยังใช้ได้อยู่ (Reuse) , ดูท่าพอแก้ไข (Repair) , ควรหมุนเวียนกลับมาใช้ (Recycle), มีพิษภัยควรหลีกเลี่ยง (Reject)

 

3

เสริมศักยภาพด้านภูมิทัศน์ เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง

ดำรงชีวิตของชุมชน  ใช้ภูมิทัศน์ธรรมชาติของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่แล้ว รวมถึงปัญหาชุมชน : เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านของชุมชนในด้านต่างๆ

4

เสริมศักยภาพด้านการเสียสละ และบริการให้ชุมชน

การมีจิตบริการ เช่นที่ชุมชนมีอยู่แล้วในอดีต : การร่วมดำนา  เกี่ยวข้าวทั้งแรงงานคนและเครื่องจักร บริการ

อสม.  และอื่นๆ

5

เสริมศักยภาพด้านสุขาภิบาล และอนามัยให้ชุมชน

บรรยายความสำคัญ : ทำน้ำหมักชีวภาพ ผลิตจากเศษสิ่งของที่มีอยู่ใช้ล้างห้องน้ำ ห้องสุขา ครัว ดีกว่าใช้เคมี ถังดักไขมัน

6

เสริมศักยภาพด้านการบริหารจัดการมีรายได้เหมาะสม

บรรยายความสำคัญ : เปิดบัญชีการบริหารเงิน  การจัดการรายได้รายจ่ายจากกิจกรรมที่ 2-5 เข้าไปให้ความรู้กับชุมชน ส่งเสริมการมีอาชีพฯลฯ

 

ในกิจกรรมนี้สามารถนำทฤษฎี  3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน  จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
วงกลมที่ 1  พิจารณา Context หรือ บริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน ภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ฯลฯ  ภายใน ได้แก่ การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน หรือ Process วิธีการบริหารจัดการ   ฯลฯ 

วงกลมที่ 2   พิจารณา Skills และ Competencies เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้   ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
วงกลมที่ 3  พิจารณา เรื่องการสร้างแรงจูงใจ (Motivation)  นอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดี  ประกอบกับการมีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว  สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่น้อยกว่า ก็คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ  มีความพึงพอใจ  มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการทำงาน  ฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง 

9. รายละเอียดเวลาดำเนินการ  เดือนกันยายน 2554- 20 มกราคม 2555 

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ก.ย.54

ต.ค.54

1พ.ย.54

ธ.ค.54

13ม.ค.55

20ม.ค.55

ขั้นเตรียมการ

1. ประชุมครูในกลุ่มเพื่อเตรียมการดำเนินงาน

2. เสนอโครงการต่อผู้บริหาร

3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

4. สำรวจและจัดเตรียมสถานที่

5. กำหนดคุณสมบัตินักเรียนร่วมโครงการ

 

>>>>> 

>>>>> 

 

 

>>>>> 

 

 

 

>>>>> 

>>>>> 

 

 

 

 

 

ขั้นดำเนินงาน

1. จัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์

2. ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ

3. รับสมัครนักเรียน ม.1-6

4. คัดเลือกนักเรียน ม.1-6 จำนวน 50 คน

5. ประกาศผลคัดเลือกนักเรียน 50 คน

6. แจ้งผู้บริหารและคณะครูที่เข้าร่วมโครงการ

7. แจ้งภาคีเครือข่ายที่ร่วมโครงการ

8. นักเรียนเข้าพื้นที่

      กิจกรรม

1. เสริมศักยภาพด้านคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์

2. เสริมศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน

3. เสริมศักยภาพด้านภูมิทัศน์ เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง

4. เสริมศักยภาพด้านการเสียสละ และบริการให้ชุมชน

5. เสริมศักยภาพด้านสุขาภิบาล และอนามัยให้ชุมชน

6. เสริมศักยภาพด้านการบริหารจัดการมีรายได้เหมาะสม

 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

 

 

 

 

 

 

 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

>>>>> 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

>>>> 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นประเมินผล

1.ตรวจสอบแบบสอบถาม

2.สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

3.สรุปผลการดำเนินงานเป็นรายงาน

4.จัดบรรยากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม

5.การต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ หรือสร้างสิ่งใหม่โดยเฉพาะนักเรียนและชุมชน  

 

 

 

 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

>>>>> 

10. งบประมาณ

รายละเอียดงบประมาณในการทำโครงการเสริมศักยภาพจิตอาสานักเรียน ร้อยเอ็ด จำนวน 1,000,000 บาท(หนึ่งล้านบาทบาทถ้วน)   โดยงบประมาณทั้งหมดได้จากการสนับสนุนผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน  พ่อค้าประชาชน  หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนที่ร่วมกันสร้างโครงการเสริมศักยภาพฯให้เกิดขึ้น 

กิจกรรม

ประเภทกิจกรรม

งบประมาณ     (บาท)

              หมวดรายจ่าย

ค่าตอบแทน

ค่าอาหาร

ค่าวัสดุ

เสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็ง สร้างจิตสำนึกจิตสาธารณะอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์  พัฒนากิจกรรมด้วยแนวคิด ทำ “ให้” มิใช่ ทำ “เอา” เชื่อมโยง “บวรชม”คือ บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และมัสยิด

กิจกรรมที่ 1บรรยายโครงสร้างบทบาท ความเป็นธรรมมาภิบาลของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องโครงการนี้

กิจกรรมที่ 2 บรรยายความสำคัญสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน

การปลูกต้นไม้ การปลูกข้าว การบริหารจัดการขยะ

กิจกรรมที่ 3ดำรงชีวิตของชุมชน  ใช้ภูมิทัศน์ธรรมชาติของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่แล้ว รวมถึงปัญหาชุมชน

กิจกรรมที่ 4การมีจิตบริการ เช่นที่ชุมชนมีอยู่แล้วในอดีตการลงแขก เก็บเกี่ยวข้าว  และอื่นๆ

กิจกรรมที่ 5บรรยายความสำคัญของการใช้น้ำหมักชีวภาพ ผลิตจากเศษสิ่งของที่มีอยู่ใช้ล้างห้องน้ำ ห้องสุขา ครัว ดีกว่าใช้เคมี

กิจกรรมที่ 6บรรยายความสำคัญการบริหารเงิน  การจัดการรายได้รายจ่ายจากกิจกรรมที่ 2-5 เข้าไปให้ความรู้กับชุมชน

อื่นๆ ค่ารถ ค่าน้ำมันรถ

50,000

 

 

 

300,000

 

 

 

100,000

 

 

 

100,000

 

 

200,000

 

 

 

150,000

 

 

 

100,000

-

 

 

 

-

 

 

 

-

 

 

 

-

 

 

-

 

 

 

-

 

 

 

 

25,000

 

 

 

100,000

 

 

 

45,000

 

 

 

45,000

 

 

50,000

 

 

 

50,000

 

 

 

 

25,000

 

 

 

200,000

 

 

 

55,000

 

 

 

55,000

 

 

150,000

 

 

 

100,000

 

 

 

-

 

ขั้นสะท้อนผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านคุณธรรม และการสร้างการรับรู้ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติตามหลักสูตร

ขั้นประเมินผลระดับคุณธรรม ตามตัวชี้วัด โดยใช้เกณฑ์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่โรงเรียนใช้ทั่วประเทศ  โดย –ตอบแบบสอบถาม - สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม – สรุปผลการดำเนินงานเป็นรายงานตามตัวชี้วัด

 

 

 

 

ขั้นประเมินสรุป ถอดองค์ความรู้ การมีจิตสำนึก ความดี ความมีคุณธรรม ความมีจริยธรรม  ความซื่อสัตย์ การเสียสละโดยจิตอาสา

 

ขั้นประกาศความแข็งแกร่งสู่สาธารณะชน -ในระดับจังหวัด – ในระดับวงกว้างผ่านสื่อ  พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนในเครือข่าย

 

 

 

 

 

11. ปัญหาและอุปสรรค

                11.1 เงินบริจาคอาจจะไม่เพียงพอ

                11.2 เวลาของคณะครู และนักเรียนที่ร่วมโครงการฯ อาจจะมีไม่เต็มที่

                11.3 ความสะดวกในการเดินทางของนักเรียน

                11.4 จำนวนสิ่งของที่ใช้ในโครงการอาจจะไม่เพียงพอ

12.ผลที่คาดจะได้รับจากโครงการ

12.1    นักเรียนได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ขณะการดำเนินโครงการฯ ได้ผ่านการอบรมและได้รับการสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิต ด้วยการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม

12.2    นักเรียนได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ทำให้มีความรู้ความเข้าใจและเกิดทัศนคติและค่านิยมที่ถูกที่ดีงาม

12.3    นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักรักถิ่นฐาน ตลอดจนมีกระบวนการคิดสร้างสรรค์ต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

12.4    นักเรียน มีจิตสาธารณะที่จะรับผิดชอบสังคมในรูปแบบการทำ “ให้” มิใช่ ทำ “เอา”  และเกิดความภาคภูมิใจในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และมีสัมมาวาจาอยู่เสมอ

13. การติดตาม และประเมินผลโครงการ

13.1ผู้ติดตามและประเมินผล

13.1.1ครู บุคลากร นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ

13.2 วิธีติดตามและประเมินผล

13.2.1 การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

13.2.2 การตอบแบบสอบถาม

ในแผนการเงินรวมอยู่ในโครงการแล้ว  โดยการนำเสนอโครงการจะนำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องที่กล่าวถึงตามข้อ 6  โดยในเบื้องต้นจะนำเสนอต่อภาคเอกชน และมูลนิธิฯ  เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของการให้ในการสร้างจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคมของนักเรียน  จากนั้นนำเสนอต่อสพฐ.เพื่ออนุมัติต่อไป  โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องถือเป็น Strategic Partner มีคุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน ทำหน้านี้เป็นเลขานุการโครงการ  เพื่อ Implementation โครงการนี้ให้สำเร็จต่อไป

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน

รหัสนักศึกษา 53484931003

สาขานวัตกรรมและการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

ข้อ3 :ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง 

                คำตอบ: ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านทุนมนุษย์ผ่านการพัฒนานวัตกรรม 5 เรื่องตามลำดับที่

ศ.ดร.จีระฯเห็นว่าต้องประกอบด้วย

  • อดทน
  • พร้อมที่จะล้มเหลวและผิดหวัง
  • หาความรู้หลายๆศาสตร์ และสด
  • ค่อยๆทำเป็น Step อย่ารีบร้อน
  • สร้าง Innovation Culture ในองค์กร

 

                 ปัจจัยแห่งความล้มเหลว  เกิดจากการมีส่วนร่วม และพื้นฐานจิตสำนึก พื้นฐานครอบครัว และพื้นฐานการศึกษามีความแตกต่างกันมาก  ขณะเดียวกันเด็กนักเรียนมีความละเอียดอ่อนในวุฒิภาวะทางอารมณ์อยู่มาก  จึงต้องให้ความระมัดเป็นพิเศษโดยเฉพาะการเดินทางออกนอกพื้นที่ของโรงเรียน อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรม   นอกจากนี้เรื่องเวลาในการทำกิจกรรมจะต้องจัดให้ลงตัว ไม่กระทบต่อการเรียน การเตรียมเตรียมตัวสอบ และการสอบของนักเรียน  เมื่อเกิดอุปสรรคอาจจะต้องเลื่อนโครงการออกไป  เพื่อให้ได้ช่วงเวลาที่เหมาะสม

                นอกจากนี้ยังมีความล้มเหลวจากทุนมนุษย์คือ การคิดแตกต่างกัน   เพราะฉะนั้นการศึกษาทุนมนุษย์จะไม่ได้คิดถึงเฉพาะตนเองเท่านั้น ต้องเกี่ยวเนื่องกับครอบครัว ชุมชน สังคม และภาพใหญ่คือประเทศไทยด้วย

                ทั้งนี้ ความสำเร็จของการที่ทุนมนุษย์ประสบความสำเร็จได้ คือการมีครอบครัวเป็นผู้สนับสนุน นำเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือทางอ้อมเข้ามาช่วยเหลือ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพียงอย่างเดียว  สอดคล้องกับทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

  • Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม
  • Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน
  • Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  • Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว 

                การลงทุนมนุษย์ เป็นการลงทุนในตัวบุคคล เพิ่มศักยภาพบุคคล เพื่อไปเพิ่มคุณค่าผลผลิตในรูปของการสร้างคุณค่าและการฝึกอบรม เป็นการลงทุนทรัพย์ที่สำคัญที่สุด (Becker.2006,P1) ในการลงทุนทรัพยากรมนุษย์ คนงานได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้จากภายนอกโรงเรียน โดยทักษะจากการทำงาน เป็นการเพิ่มประสบการณ์ จึงเป็นการสะสมทุนมนุษย์ นอกจากนั้น การดูแลรักษาทางการแพทย์ถือว่าเป็นการรักษาสุขภาพส่วนบุคคลให้สมบูรณ์  ทุนมนุษย์จึงประกอบด้วยทั้งศักยภาพและสุขภาพของมนุษย์ มีตัวอย่างที่ให้เห็นในปัจจุบันที่คนดังมากและทุกคนส่วนใหญ่รู้จัก คือ Steve Jobs มีปัญหาสุขภาพ ล่าสุดลาออกจาก CEO’s ของ Applesมาเป็นแค่ประธาน เพราะStave Jobs ตกเรื่องการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ขาดความสมดุลในทุนแห่งความสุข ตามกฎ 5 ข้อของศ.ดร.จิระฯคือเรื่อง ทุนแห่งความสุข Steve Jobs ผ่านแค่ 4 แต่ตกข้อ 1   คือสุขภาพ ตก      

      * Passion ในการทำงาน ผ่าน
     * มีเป้าหมาย (Purpose) ในการทำงาน ผ่าน
     * การทำงานอย่างมีความหมาย ผ่าน
     * มีศักยภาพที่จะทำงานยากให้สำเร็จ ผ่าน

ถ้าสุขภาพไม่ผ่านอย่างอื่นๆก็ไม่รอด

                ในยุคปัจจุบัน การแข่งขันศักยภาพของมนุษย์ในด้านความรู้ ถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของผลผลิตส่วนบุคคลและประเทศชาติ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่มีการลงทุนทางมนุษย์ทั้งในเรื่องการศึกษาการฝึกอบรมและสุขภาพ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง เกหลีใต้ และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ซึ่งได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์มาก ผลปรากฏว่าประชาชนมีความศึกษาดี สุขภาพดี มีความสามารถสูง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้เป็นปัจจัยนำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จ การสร้างเสริมความรู้ทางทฤษฎีทุนมนุษย์จะเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์เพื่อเพิ่มทุนมนุษย์  นำไปสู่การพัฒนาองค์กรและสังคม

                 ดังนั้น  ทุนมนุษย์จึงเป็นวิธีการกำหนดและจัดแบ่งทักษะและความสามารถของบุคคลที่นำไปใช้ในการทำงานหรืออย่างอื่นที่ช่วยให้มีรายได้  นักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในยุคหนึ่งกล่าวว่า  “แรงงาน” ถือเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของผลผลิต

           การเชื่อมต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จระยะยาว จะต้องมองถึงความสัมพันธ์ของ Asean Community (AEC) ที่จะเกิดในปี 2558  ซึ่งทุนมนุษย์จะมีความสำคัญมากในการจะถูกพัฒนาด้าน Tacit Knowledge ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่าง ๆ นอกจากExplicit Knowledge และการเพิ่มการวิจัยย่อยๆ กับทุนมนุษย์ตั้งแต่เด็กนักเรียน  เพื่อให้ได้ผลติดตามแก้ไขในทุนมนุษย์ต่อไปในระยะยาว   สุดท้ายช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับนักเรียน ชุมชนให้มีความสุขได้

นายราวี ซามี

รหัสนักศึกษา 534849310030

สาขานวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ชื่อโครงการ พัฒนาระบบการประกันคุณภาพและเตรียมความพร้อมการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน

หลักการและเหตุผล

ด้วยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรมผลผลิตสู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ และสืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) มีสาระบัญญัติกำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่ง มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภายภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามาตรฐาน โดยให้มีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

- เพื่อพัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอันประกอบด้วย นโยบาย แผน กล-ยุทธ์ เกณฑ์การประเมิน เครื่องมือ คู่มือการประกันคุณภาพ

- เพื่อดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามระบบที่วางไว้อย่างมี ประสิทธิภาพ

- เพื่อตรวจสอบ ทบทวนและเขียนรายงานการประเมินตนเอง

- เพื่อนำผลการประเมินภายในมาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ

- เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินภายในและภายนอกในครั้งต่อไป

ความคิดใหม่(Idea)

ในแง่จุดประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจว่า การที่จะเข้าใจในจุดประสงค์ของการบริหารจัดการทุนมนุษย์ได้ จะต้องเข้าใจถึงเป้าประสงค์ขององค์กรเสียก่อน หากกล่าวในเชิงปรัชญาก็อาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ "สัมบูรณ์" (absolute) ในตัวมันเอง แต่ทว่าเป็นสิ่งที่จะต้อง "สัมพัทธ์" (relative) ไปกับปัจจัยควบคุมนั่นคือ นโยบายการบริหารจัดการองค์กร กล่าวง่ายๆ ก็คือ เป้าประสงค์ขององค์กรจะเป็นตัวกำหนดเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ในทางธุรกิจองค์กรเอกชนแบบจารีตดั้งเดิมมักจะมีเป้าหมายใหญ่ๆ สำคัญ 2 ประการ คือประการที่ 1: เป้าหมายของการที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงบรรดาผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจที่จะรักษาความเป็นหุ้นส่วนไว้หรือไม่

ประการที่ 2: องค์กรเอกชนอาจจะต้องแสวงหารูปแบบของการมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดและมีกำไรที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในโลกยุคสมัยใหม่ที่มนุษย์ และสังคมได้ผ่านวิวัฒนาการและการพัฒนาทางความคิดและวิถีการดำรงชีวิตมาถึงจุดหนึ่ง ทำให้ยังมีสิ่งที่องค์กรพึงต้องพิจารณาให้ความสำคัญเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเศรษฐกิจสังคมยุคปัจจุบัน ที่เกิดพลวัตผลักดันสังคมให้ก้าวสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมบนฐานความรู้ ประการที่ 3: การประกอบธุรกิจนั้นมิใช่จะมุ่งมองแต่เรื่องผลกำไร และความอยู่รอดทางธุรกิจ ตามแนวคิดแบบจารีตดั้งเดิมได้อีกต่อไป สำหรับกระแสนิยมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเรียกร้องให้เกิดแนวคิดที่ว่า การดำรงอยู่ขององค์กรก็จะต้องให้ความใส่ใจกับผลกระทบที่ตนเองจะก่อให้เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวมด้วย ดังนั้นองค์กรธุรกิจเอกชนจะต้องมีเป้าหมายเรื่องความชอบธรรมทางสังคมขององค์กรด้วย

ความคิดสร้างสรร สิ่งท้าทายและแนวโน้มในการบริหารทรัยากรมนุษย์ จากการสำรวจแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ (อดีตย้อนหลัง 3 ปี ปัจจุบัน และอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า) วิเคราะห์แล้วเห็นเลยว่า

"การบริหารความเปลี่ยนแปลง (change management)" คือเรื่องที่ท้าทายและมีแนวโน้มคงอยู่จากอดีต สู่ปัจจุบัน รวมทั้งยังมีบทบาทสำคัญในอนาคตอีกด้วย หากถามผมเรื่องนี้เห็นจะเป็นจริง เพราะตอนนี้โลกหมุนเร็วและแคบขึ้นมากด้วยปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนผ่านระหว่างวัย (Generation) และ "ข่าวล่าสุดมีรายงานตามสื่อว่ามี 8 แบรนด์ดังที่ก่อตั้งมายาวนานปิดตัวลงเหลือเพียงชื่อ" เช่น Kodachrome ฟิล์มของค่ายโกดักที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2478 ที่โด่งดังในฐานะฟิล์มสีที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์มากที่สุดและใครต่อใครก็รู้จัก ร้านแซทเทิร์นแบรนด์รถยนต์ในเครือจีเอ็ม และโฮม ดีโป เอ็กซ์โป ของเชนค้าปลีกอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

ปัจจัยภาวะผู้นำ (Leadership) ประเด็น Hot ตลอดหลายปีที่ผ่านมากำลังลดความสำคัญลง และเรื่องอื่นจะเข้ามาทดแทน?... ภาวะผู้นำใช่จะหมดสำคัญ แต่เป็นเพราะมีประเด็นอื่นมีความจำเป็นและโดดเด่นขึ้มามาก โดยเฉพาะ"การจัดทำแผนทดแทนตำแหน่ง (succession plan) และการบริหารพนักงานศักยภาพสูง (talent management) เข้ามาทดแทน"เนื่องจากโลกได้เข้าสู่ยุค "ไซเบอร์" หรือโลกยุคหลังสมัยใหม่ (Post-modern) แล้วการจัดการเรื่องคนจึงตกไปเป็นประเด็นข้างต้นแทน

การจัดการผลงาน (performance management) หายไป?!!... แต่หากพิจารณาผลที่เกิดขึ้นให้ดี "จะไม่ได้หมายความว่าจะไม่ดูระบบการจัดการผลงาน" เพราะยังติด Top5 นั่นหมายความว่าอนาคตการจัดการผลงานในแต่ละองค์ยังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ตั้งแต่การกำหนดทิศทางองค์การ การตั้งเป้า ตัวชี้วัด และการถ่ายทอดตัวชี้วัดลงมาสู่ระดับพนักงานรายบุคคล แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานต้องมานั่งที่ Office แต่จะเป็นการส่งมอบผลงานโดยในลักษณะองค์กรเสมือนจริง จากมุมไหนของโลกก็ได้ ด้วยศักยภาพที่สูงของของพนักงานแต่ละคนนั่นเอง...

การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง เมื่อองค์กรมีเป้าประสงค์ 3 ประการข้างต้น ได้แก่ การอยู่รอดด้วยผลกำไรที่เพียงพอ การมีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และการมีความชอบธรรมทางสังคม เป้าประสงค์เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งอาจจะสามารถแปลงเป้าประสงค์ใหญ่ระดับองค์กรมาสู่เป้าประสงค์ย่อยในระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะสามารถช่วยให้เราเห็นภาพเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ดังนี้

1.ในแง่ของการที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะสามารถอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องกำหนดเป้าประสงค์ในแง่ของการสร้างผลิตภาพด้านแรงงานให้เกิดขึ้นภายในองค์กร นั่นย่อมหมายถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำให้องค์กรเกิดความคุ้มค่าในการลงทุนที่เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลในองค์กร

1. ในแง่ของการที่องค์กรประสงค์ที่จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ก็คงจะต้องกำหนดเป้าประสงค์ในแง่ของการที่จะทำให้องค์กรพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอย่างยั่งยืนจึงเป็นเป้าประสงค์ที่สำคัญอีกประการของงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

2. ในแง่ของการที่องค์กรประสงค์ที่จะมีความชอบธรรมทางสังคม ก็ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องมีเป้าหมายที่มุ่งเน้นการสร้างความรู้สึกให้องค์กรให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบต่อบุคลากรภายในองค์กร และผลกระทบจากการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัท ที่จะไปมีผลต่อสังคมภายนอก ซึ่งต่อมาได้ขยายนิยามความรับผิดชอบ ออกไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างๆ

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม "อ่อน" ที่ใช้ปรัชญาแบบ "มนุษย์นิยมเชิงพัฒนา" หรือกลุ่ม "แข็ง" ที่มีปรัชญาแบบ "บริหารจัดการนิยม" มีผู้สรุปแนวโน้มของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไว้ แม้ในทางความคิดจะเป็นแนวคิดที่ต่างกลุ่มต่างสำนัก แต่ในที่สุดแล้วในทางปฏิบัติทั้ง 2 แนวคิดนี้จะต้องถูกบริหารจัดการหรือบูรณาการเข้าด้วยกัน โดยผู้ศึกษามี 4 มิติมุมมองที่จะช่วยยึดโยงกับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์มากยิ่งขึ้น ได้แก่

1. การกำหนดนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรจะต้องบูรณาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น ทั้งในแง่ของการบูรณาการกันเองของงานย่อยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร และการบูรณาการนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเข้ากับแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์กร

2. ความรับผิดชอบในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การจะไม่ได้อยู่กับผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลอีกต่อไป แต่จะถูกกำหนดให้ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารสายงานด้านต่างๆ จะต้องรับผิดชอบ

3. เรื่องของแรงงานสัมพันธ์ ที่เคยเป็นการเผชิญหน้าระหว่างผู้บริหารกับสหภาพแรงงาน จะเปลี่ยนไปเป็นเรื่องพนักงานสัมพันธ์ ทำให้แนวคิดการบริหารจัดการคนในองค์การเปลี่ยนจากแบบ "กลุ่มนิยม" (collectivism) ไปเป็น "ปัจเจกนิยม" (individualism)

4. แนวคิดเรื่องของการสร้างความมีพันธกิจผูกพัน การทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร การคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ทำให้ผู้บริหารจะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่บทบาทผู้นำในรูปแบบใหม่ๆ เช่น เป็นผู้เอื้ออำนวย เพิ่มบทบาทอำนาจ และ สร้างขีดความสามารถให้กับบุคลากร

นายโกมล ดุมลักษณ์

นายโกมล ดุมลักษณ์

รหัสนักศึกษา 534849310026

สาขานวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำศาสนาสู่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคโลกาภิวัฒน์

หลักการและเหตุผล

ในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนกลยุทธ์ของหน่วยงานไปสู่เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการนั้นทรัพยากรบุคคลคือปัจจัยที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการพัฒนาผู้นำศาสนาการไปสู่การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่องเป็นระบบ ซึ่งการจัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรนี้เป็นความพยายามที่จะทำให้การพัฒนาบุคลากรตอบสนองต่อวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกศาสนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบโดยมีเป้าหมายทิศทางที่ชัดเจนสอดคล้องกัน และสอดรับกับภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการพัฒนาผู้นำศาสนา จะทำให้ สามารถจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการพัฒนาบนฐานข้อมูลที่ทันสมัย ซึ่งจะส่งผลให้การจัดสรรใช้จ่ายงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาเกิดประโยชน์สูงสุด การพัฒนาทรัพยากรบุคคลยึดสมรรถนะเป็นหลัก มุ่งให้บุคลากรมีสมรรถนะเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยต้องเชื่อมโยงกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

การบริหารบุคลากรที่ประสบความสำเร็จจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบหรือฟังก์ชั่นหลัก ๆ ของการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากผู้บริหารรวมถึงนักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บางคนยังเข้าใจผิดคิดว่างานพัฒนาบุคลากรก็คืองานฝึกอบรม โดยมีหน่วยงานบุคคลทำหน้าที่ในการจัดฝึกอบรม ติดตาม และประเมินผลความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากรในองค์การ ซึ่งผู้บริหารระดับ CEO มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า “จัดฝึกอบรม แล้วพนักงานจะพัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาบ้างหรือไม่” ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันว่า องค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากรมิใช่มีเพียงแค่การฝึกอบรมเท่านั้น พบว่ามีนักวิชาการจำนวนมากได้ศึกษาถึงแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากร

วัตถุประสงค์

o เพื่อสอนแนะวิธีปฏิบัติงานที่ดีที่สุด

o เพื่อพัฒนาผูนำศาสนาให้การปฏิบัติงานให้ได้ผลสูงสุด

o เพื่อลดความสิ้นเปลืองและป้องกันอุบัติเหตุในองค์การ

o เพื่อจัดวางมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

o เพื่อพัฒนาฝีมือในการปฏิบัติงานของบุคลากร

o เพื่อความก้าวหน้าของงานและการขยายตัวขององค์กร

o เพื่อความก้าวหน้า

ความคิดใหม่ (Idea)

ผู้ศึกษาขอนำเสนอหลักการพิจารณาถึงองค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากร โดยแบ่งองค์ประกอบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้มิติทางด้านจุดเน้น (Focus) และมิติด้านผลลัพธ์ (Results) เป็นปัจจัยที่กำหนดกรอบการพัฒนา ดังต่อไปนี้

จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากรต้องมีเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้การบริหารบุคลากร ในทุก ๆ เรื่องประสบความสำเร็จก็คือ ขีดความสามารถ Competency) ที่องค์การหลาย ๆ แห่งมีการกำหนดขึ้น หรือองค์การหลาย ๆ แห่งมีแผนที่จะกำหนดขีดความสามารถของแต่ละตำแหน่งงานขึ้นมาด้วยเช่นกัน ซึ่ง Competency ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือการบริหาร (Management Tools) ที่นำมาใช้ได้ทั้งการพัฒนารายบุคคล การพัฒนาสายอาชีพของพนักงาน การบริหารผลการดำเนินงาน และการพัฒนาองค์กร สำหรับในแง่มุมของการพัฒนารายบุคคล Competency จะถูกนำมาใช้เพื่อประเมินดูว่าพนักงานแต่ละคนมีขีดความสามารถใดที่เป็นจุดแข็ง (Strength) และขีดความสามารถใดที่เป็นจุดอ่อน (Weakness) โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องเลือกขีดความสามารถที่จะต้องพัฒนาว่าควรจะเป็นเรื่องใด หลังจากนั้นจึงกำหนดเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งเครื่องมือที่ผู้บริหารควรตระหนักถึงก็คือ เครื่องมือที่มิใช่การฝึกอบรมในห้องเรียนเท่านั้น เครื่องมือการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานมีจำนวนมาก อาทิเช่น การสอนงาน (Coaching) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) การมอบหมายงานที่ยากและท้าทาย (Job Enrichment) การเพิ่มปริมาณงาน (Job Enlargement) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Learning) การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง (Job Shadowing) เป็นต้น

นอกจากนี้ Competency ยังถูกนำมาใช้ในเรื่องการพัฒนาสายอาชีพ นั่นก็คือ การกำหนดผังความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ที่ไม่ใช่การเลื่อนตำแหน่งงาน (Promotion) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ความก้าวหน้าในสายอาชีพจะรวมไปถึงการโอนย้ายงาน (Job Transfer) ซึ่ง Competency จะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความพร้อมว่า การจัดทำแผนพัฒนาคนเก่งและคนดี (Talent Management) ยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ที่องค์การหลายแห่งเริ่มตระหนักถึงความสำคัญ และได้เริ่มสรรหาคนเก่งและคนดีในองค์การ เพื่อที่ว่าองค์การจะได้หาวิธีการในการจูงใจและรักษาบุคลากรเหล่านี้ให้อยู่ในองค์การได้นานที่สุด ซึ่งบุคคลเหล่านี้ที่องค์การได้มีการเตรียมให้เป็นผู้สืบทอดทายาทหรือผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successors) สำหรับตำแหน่งงานระดับบริหารต่อไป

สำหรับองค์ประกอบสุดท้ายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็คือ การพัฒนาองค์การ (Organization Development) ที่เน้นการนำเครื่องมือด้านการบริหารบุคลากรมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์การตามแบบอย่างที่ผู้บริหารต้องการ ซึ่ง Competency จะถูกนำมาใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั่วทั้งองค์การ แนวคิดของการพัฒนาองค์การถือได้ว่านำองค์ประกอบต่าง ๆ ของการพัฒนาบุคลากรมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เนื่องจากองค์การจะพัฒนาไปได้นั้นก็ต่อเมื่อองค์การจะต้องมีการพัฒนาพนักงานแต่ละคน การรักษาพวกเขาไว้ด้วยการพัฒนาสายอาชีพของพนักงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความยุติธรรมในการประเมินผลงาน

สรุปว่าการพัฒนาบุคลากรถือได้ว่าเป็นแผนงานที่สำคัญที่องค์การหลาย ๆแห่งได้กำหนดเป็นกลยุทธ์ธุรกิจขึ้นมา ประเด็นอยู่ที่ว่าการมุ่งเน้นในแต่ละองค์ประกอบของแต่ละองค์การไม่เหมือนกัน ซึ่งงานที่สำคัญที่องค์การจะต้องคำนึงถึงก็คือ การวิเคราะห์ปัญหาว่าอะไรคือสิ่งที่องค์การต้องการ เพื่อที่ว่าองค์การจะได้มุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบของการพัฒนาบุคลากรให้ถูกจุดและถูกที่

พบว่าขีดความสามารถหรือ Competency นั้นเป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อผลการทำงานของพนักงาน ซึ่งปัจจุบันการวัดผลงานนั้นจะวัดไปที่ปัจจัยวัดผลการดำเนินงานหลัก หรือ Key Performance Indicators: KPIs ทั้งนี้ Competency ของแต่ละฟังก์ชั่นมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน และงานพัฒนาหรือ Human Resource Development เป็นอีกฟังก์ชั่นหนึ่งที่สำคัญซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานในด้านนี้ย่อมต้องการ Competency เฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากงานอื่น ๆ เช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่าการที่จะเป็นนัก HRD ที่ดีนั้น พวกเขาจะต้องมี Competency ที่สำคัญใน 4 เรื่องหลักด้วยกัน ได้แก่

ความสามารถด้านทักษะวิชาชีพ (Technical Competency)

นัก HRD ที่ดีจะต้องมีขีดความสามารถในงานวิชาชีพเฉพาะด้าน งานวิชาชีพนั้นถือได้ว่าเป็นงานทางเทคนิคที่ไม่เหมือนสายงานอื่น ๆ ทั้งนี้สมาคมเพื่อการฝึกอบรมและพัฒนาของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American for Training Development : ASTD) โดย McLagan ได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบของงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Models for HRD Practice) ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าวทำให้ได้ข้อกำหนดของ Technical Competency ซึ่งหมายถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติหน้าที่

พบว่าขีดความสามารถในงานเทคนิคเฉพาะด้านนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่นัก HRD จะต้องเรียนรู้ รักที่จะแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความสามารถเหล่านี้ ซึ่งเป็นเสมือนความสามารถขั้นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นของนัก HRD ที่มีความต้องการที่จะก้าวเข้าสู่นัก HRD มืออาชีพ ซึ่งความรู้ความสามารถทั้ง 11 ประการนี้จะส่งผลให้นัก HRD เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Administration Expert) ด้านงานพัฒนาบุคลากรที่สามารถให้ความช่วยเหลือ และตอบข้อซักถามต่าง ๆ จากพนักงานได้ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนมีความสนใจเกี่ยวกับ “พฤติกรรมมนุษย์” ไม่ว่าจะเป็นในสมัยเรียนมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปริญญาตรีและปริญญาโท ก็เลือกศึกษาทางด้านจิตวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์โดยเฉพาะ และเมื่อจบออกมาก็เข้าไปทำงานในบริษัทเอกชนทางด้านการพัฒนาคน และอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยทางด้านจิตวิทยาจนมาถึงทุกวันนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาตัวของผู้เขียนเองมีความเชื่อว่า “มนุษย์สามารถที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา” จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง

ผู้ศึกษาพยายามศึกษาและพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะการพัฒนามนุษย์ด้วยเทคนิคการใช้ชุดฝึกอบรม (Training Package) ก่อนอื่นขอขยายความและให้ความหมายของคำว่า “ชุดฝึกอบรม” ก่อนว่าหมายความว่าอย่างไร

ชุดฝึกอบรม (Training Package) หมายถึง การนำเทคนิคต่างๆ การฝึกอบรมมาใช้เป็นสื่อในการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ประกอบไปด้วย กิจกรรมกลุ่ม, กิจกรรม Walk Rally, การให้ข้อสนเทศ, การบรรยาย, การสาธิต, กรณีศึกษา, สถานการณ์จำลอง,บทบาทสมมติ, การระดมความคิด เป็นต้น

คำถามจองท่านอาจารย์จีระ ถามว่าปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์มีอะไรบ้าง?

ตอบว่ามีอยู่ 2 ส่วนสำคัญ คือ

1. ปัจจัยภายนอก

o การแข่งขันในระดับประเทศและระดับโลกที่สูงขึ้น

o ความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี

o การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

2. ปัจจัยภายใน

o ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 ควรมีทัศนคติที่ดี และ เข้าใจวัตถุประสงค์

 มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นจะเรียนรู้

 นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

o ผู้บังคับบัญชา

 ผู้บริหาร ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือไม่

 ต้องแจ้งความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบทุกครั้ง

 แจ้งเหตุผลในการคัดเลือกบุคคลให้เข้าร่วมกิจกรรม

 ให้ความสนใจและอำนวยความสะดวก

จากผลการศึกษาดังกล่าวผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้พฤติกรรมของคนเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในการที่ดีขึ้นนั้น ก็คือ การทำให้คนเหล่านั้นเห็นคุณค่า/ประโยชน์/ความสำคัญ และเกิดตระหนักใน “ความคิดใหม่” และเมื่อความคิดแบบเดิมๆ เปลี่ยนไป ความเชื่อและทัศนคติ และพฤติกรรมใหม่ก็จะเกิดการขึ้นตามมา

การพัฒนาทัศนคติและความคิดของคนเรานั้นสามารถพัฒนาได้ โดยเริ่มต้นจากการใส่ข้อมูลที่เป็นเหตุเป็นผล และมีความสมเหตุและสมผล ทำให้คนเกิดการยอมรับ ในความคิดและความเชื่อในสิ่งใหม่ เครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ก็คือ การรู้จักเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมเป็นสื่อในการฝึกอบรมให้เหมาะสมแต่ละกลุ่มคน และมีความหลากหลาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมจะทำให้การฝึกอบรมในหลักสูตรนั้นๆ เกิดประสิทธิผลสูงสุด

หากองค์กรของท่านกำลังประสบปัญหาในเรื่องสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน ผู้เขียนหวังว่าความคิดอิสระแบบสร้างสรรค์นี้ น่าจะเป็นประโยชน์ที่ท่านจะนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของผู้นำ ผู้บริหารต่อไป และท้ายที่สุดนี้ผู้ศึกษาอยากจะให้กำลังใจ และเป็นกำลังใจให้กับนักฝึกอบรม นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลายท่านที่มุ่งมั่น อย่าท้อถ้อยกับการพัฒนาคน เพราะการสร้างคนมิสามารถสร้างได้ตามใจนึกต้องใช้เวลา เปรียบเสมือนกับการทำความดี 10 ครั้ง อาจจะมีคนเห็นเพียง 1 ครั้ง แต่เราก็มีความสุขมิใช่หรือที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เราชอบ

เรียนอ.จีระ ดิฉันนส.เมทิณี สิทธิสงค์ จากศูนย์กทม.คะ คือส่งการบ้านไว้ตั้งแต่วันพุธตามกำหนดไว้ที่เมล์คุณเอราวัณนะคะ เนื่องจากอับขึ้นเซิฟเวอร์ไม่ได้คะ จึงขอนำส่งวันนี้คะ

จากการอ่าน บทที่ 10 เรื่อง กรณีศึกษาพารณ – จีระ…มุ่งมั่น…พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ตั้งแต่หน้า 193 – 208 ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (นำเสนอเป็นโครงการฯ จากข้อมูลข้างล่างนี้)

1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน เสนอ

•ความคิดใหม่ (Idea) ในด้านของอ.พารณ ท่านสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา โดยท่านเชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีกว่าผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมายของท่านคือนักเรียน ส่วนในด้านของอ.จีระ ท่านได้กระตุ้นให้ครูและผู้บริหารใฝ่รู้ กระตือรือร้นหาความรู้ รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็นเน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจอีกทั้งครูและผู้บริหารต้องกล้าคิดนอกกรอบ จากแนวความคิดใหม่ของทั้งสองท่านผลักดันให้โรงเรียนทั้งสองแห่งประสบความสำเร็จในด้านการเรียน การสอน และคุณภาพของนักเรียนอย่างสูงสุด

•ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) อ.พารณนำการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้แบบให้นักเรียนได้ลงมือปฎิบัติจริงและเรียนรู้ด้วยตนเองจากสิ่งที่ตนเองสนใจ อ.จีระ ผลักดันครูและผู้บริหารให้กล้าคิด กล้าสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและเพื่อนร่วมอาชีพ โดยการจัดให้มีโครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ, โครงการศึกษาดูงานในต่างประเทศ, ผลักดันในเกิดหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นคือหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมฯลฯ ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากความเพียรพยายามของอ.ทั้งสองท่านก็คือตัวนักเรียนเองที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและบ้านเมืองต่อไปในอนาคต

•ใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง จากการที่อ.พารณนำการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่เน้นให้ผุ้เรียนลงมือปฎิบัติเองในสิ่งที่ตนเองสนใจ ผู้เรียนจะรู้จักคิดเป็น วางแผนเป็น เรียนรู้ร่วมกันเป็นลงมือทำเองเป็น สรุปความรู้และเก็บผลงานเป็น จัดการนำเสนอผลงานเป็น และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคเป็นเอง โดยมีครูเป็นผู้บูรณาการอยู่ข้าง ๆ จากการเรียนรู้ในลักษณะนี้ผู้เรียนจะรู้จักการพัฒนาตนเองไปสู่การทำงานที่ใหญ่ขึ้น ลึกซึ่งขึ้น หรือแม้แต่กระทั้งเรื่องใหม่ ๆ วงจรการเรียนรุ้แบบนี้จะเริ่มไปตั้งแต่ต้นจนจบวงจรได้ในตัวกระบวนการของมันเอง ผู้เรียนจะรู้จักคิดเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนในลักษณะดังกล่าวติดตัวไปจนโต อ.จีระ มุ่งเน้นที่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความคิดใหม่แล้วต้องลงมือทำเพราะถ้าไม่ทำนวัตกรรมไม่เกิด ดังนั้นเมื่ออ.จีระผลักดันให้ครูและคณะผู้บริหารจัดทำโครงการมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงเกิดเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการโรงเรียนในรูปแบบใหม่ขึ้นมา เช่นแนวคิดที่เปิดหลักสุตรเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานที่อาจจะไปทำงานในสนามบิน และจากการที่นำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลีนำมาปรับใช้จนกลายเป็นโครงการSister Schoolมีการแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนทั้งสองแห่ง จากองค์ความรู้ของอ.ทั้งสองท่านสามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้มากมายและต่อยอดไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

2. เสนอเป็น

•การเขียนโครงการ Project Proposal

ชื่อโครงการ โรงเรียนต้นแบบการสร้างนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาอย่างยั่งยืน

หลักการและเหตุผล

กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการพัฒนาคนให้มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง เพื่อการดำรงค์ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข มีความสามารถในการคิด แก้ไขปัญหาและปรับตัวเข้ากับสังคมได้ การปฎิรูปการศึกษาหรือการปฎิรูปการเรียนรู้ สาระสำคัญอยู่ที่กระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริง การฝึกปฏิบัติ คิดเป็น ทำเป็นสามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นและรู้จักบูรณาด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปะวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจรรยา และรู้จักการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างนวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา

2. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ไปสู่การปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่

•การนำเสนอโครงการ Project Presentation

นำโครงการแต่ละโครงการที่ร่วมกันบูรณาการระหว่างครูกับนักเรียน ผ่านการนำเสนอโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย

•การขออนุมัติ Project Approval

รวบรวมโครงการที่สมบูรณ์แบบพร้อมทั้งเรื่องงบประมาณเพื่อขออนุมัติจากเจ้าของสถาบัน

•การบริหารโครงการ Project Implementation

แบ่งเป็น 8 ขั้นตอน

- เริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กๆ สนใจ

- ครูบูรณาการทางวิชาการ

- การวางแผนร่วมกัน

- การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง

- สรุปความรู้ และเก็บบันทึกผลงาน

- จัดเตรียมนิทรรศการผลงานจากกาเรียนรุ้

- วิเคราะห์และประเมินผลแบบ 360 องศา

- การต่อยอดองค์ความรู้

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ตามแนวความคิดของดิฉันปัจจัยในความสำเร็จของทุนมนุษย์คือปัจจัยทางสังคม มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมทุนมนุษย์ของแต่ละบุคคล บางคนมีทุนติดตัวมาเยอะคือรวยครอบครัวอบอุ่น บางคนยากจนครอบครัวแตกแยก ในส่วนนี้สังคมมีหน้าที่ในการคัดเกลาเพื่อลดปัญหาช่องว่างดังกล่าว ทำอย่างไรให้เกิดทุนมนุษย์ที่มีความเสมอภาค อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็คือรัฐบาลควรจะให้ความสำคัญกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงหมดอายุไขเหมือนกับเช่นบางประเทศที่ให้ความสำคัญและประเทศเหล่านั้นก็เกิดความเจริญก้าวหน้า

ปัจจัยที่เป็นความล้มเหลวของทุนมนุษย์ก็คือ ไม่รู้จักคิดใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่พยายามพัฒนาและไม่ชอบทำงานเป็นทีม

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง ในเรื่องของการพัฒนา หากปัจจัยด้านทุนมนุษย์ล้มเหลวมนุษย์จะไม่รู้จักการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าจะย่ำอยู่กับที่จะเป็นประเทศที่ล้าหลัง มนุษย์ไม่สามารถแสดงศักยภาพใดๆ ได้เลย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนาทุนมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นคนขับเคลื่อนและนำมาซี่งนวัตกรรมใหม่ๆ เผยแพร่เพื่อเพิ่มศักยภาพตัวมนุษย์เอง สังคม องค์กรรวมถึงประเทศชายอีกด้วย

ว่าที่ร.ต.กิติ์ไกรสีห์ เขียวหวาน

ว่าที่ร.ต.กิติ์ไกรสีห์ เขียวหวาน รหัสนักศึกษา 53484931024 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จากการศึกษาเรื่องทรัพยากรพันธุ์แท้ ซึ่งมีข้อความในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ & จีระ....มุ่งมั่น....พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

คำตอบข้อ1. นวัตกรรมมี 3 ส่วน ประกอบด้วย ความคิดใหม่ (Idea) ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง

กรณีศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เป็นนวัตกรรมในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการนำทฤษฎี 4L's, ทฟษฎีทุน 8K's และทฤษฎ๊ 5K's ตลอดจนวิธีการกระตุ้น ได้แก่ การกระตุ้นให้ใฝ่รู้ กระตือรือร้นที่จะหาความรู้ มีความสนใจแบบ Eager to learn รู้จักคิด วิเคราะห์เป็น อีกทั้งยังได้นำเอาทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องมาใช้ และเน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจให้นักเรียนสนใจ และการคิดนอกกรอบ

ดังนั้นนวัตรกรรมน่าจะเป็น

1. การคิดใหม่ คิดเชิงสร้างสรรค์ และหาความรู้ตลอดเวลา

2. การลงมือทำ

3. การทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง

ความคิดใหม่ (Idea)

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาโรงเรียนมาจากนักเรียนที่มาเรียนประกอบด้วยคนท้องถิ่น(พระประแดง)ที่ไม่สามารถไปเรียนต่อที่อื่นได้ เพราะขาดปัจจัย หรือไม่สามารถเข้าศึกษายังสถาบันที่มีชื่อเสียงได้ ซึ่งคนในชุมชนส่วนมากจะมองว่าเป็นโรงเรียนที่ไม่ค่อยได้มาตรฐาน ซึ่งจริงๆแล้วมิใช่อย่างนั้น ในเบื้องต้นการเปิดโลกทัศน์ของอาจารย์เลือกใช้วิธีการไปดูงานโรงเรียนอื่นๆ สถานที่ ห้องเรียน อุปกรณ์ดีมาก ฯลฯ การได้เห็น ได้สัมผัส ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากเพื่อร่วมวิชาชีพต่างสถาบัน ต่างถิ่น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการที่จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่เป็นอย่างเป็นรูปธรรม และนำ 10 แนวคิด และทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ ศ.ดร. จีระฯมาใช้

ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)

นำทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย Learning Methodology (วิธีการเรียนรู้) Learning Environment (บรรยากาศการเรียนรู้) Learning Opportunities (โอกาสการเรียนรู้) Learning Communities (ชุมชนแห่งการเรียนรู้) โดยการเรียนเชิญดร.จีระมาพูดให้ครูในโรงเรียนฟัง และเชิญโรงเรียนใกล้เคียงมาด้วย พร้อมทั้งเรียนเชิญผู้บริหารสถานศึกษา มาฟัง อีกทั้งพาไปศึกษาดูงาน เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนคือ การนำโรงเรียนสู่สากลโดยโรงเรียนมีหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษ

คำตอบข้อ2: นวัตกรรมการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการติดต่อประสานงานราชการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต

•การเงิน Project Proposal

•การทำ Project Presentation

•การอนุมัติ Project Approval และ

•การบริหาร Project Implementation

โครงการเสริมศักยภาพจิตอาสานักเรียน

1.ความเป็นมา

สืบเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่เป็นเมืองหลักในการนำรายได้จากการท่องเที่ยว อันถือได้ว่าเป็นรายได้หลักในการพัฒนาประเทศ และนำมาซึ่งอุตสาหกรรมการให้บริการในด้านการท่องเที่ยว ที่แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยือนปีละไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน และมีเงินหมุนเวียนอันเนื่องมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวปีหนึ่งเป็นหมื่นล้านบาท อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ซึ่งมีนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาแสวงหาการลงทุน แต่ปัญหาที่ประสบคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถให้บริการของรัฐแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเหล่านั้น สืบเนื่องมาจากการไม่สามารถพูดสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเหล่านั้นได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนาบุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพูดสื่อสารในภาษาสากล เช่น ภาษาอังกฤษ ได้

2.วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถพูดสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้

2.2 เพื่อปลูกฝังแนวคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการ มีกระบวนการทำงาน ในรูปแบบสามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้เข้าใจอย่างง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แก่บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.3 เพื่อให้บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความกล้าที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

3. เป้าหมาย

บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 รุ่นๆละ 150 คน

4. ระยะเวลาดำเนินการ

เดือนตุลาคม 2554 ถึง เดือน กันยายน 2555

5. สถานที่

โรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

โรงเรียน Britist English School ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

6. วิธีดำเนินการ

6.1 เชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมปรึกษาหารือ และร่วมกันจัดทำหลักสูตรหรือวิชาหรือภาษาที่จะใช้สอนเพื่อนำไปใช้ในการสื่อสาร

6.2 เขียนโครงการ

6.3 เสนอโครงการให้ผู้มีอำนาจพิจารณา

6.4 อนุมัติโครงการ

6.5 ดำเนินโครงการ

6.6 ประเมินผลโครงการ

6.7 ประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม

6.7.1 ประเมินผลก่อนและหลังการอบรม

6.7.2 ประเมินผลหลังจากอบรมไปแล้วทุก 3 เดือน จำนวน 4 ครั้ง

7. งบประมาณในการดำเนินการ

งบประมาณจำนวน 2,500,000 บาท เบิกจ่ายจากงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภุเก็ต

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพูดสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้

9.2 บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการ สามารถสร้างกระบวนการทำงาน หรือรูปแบบการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวอย่างง่ายได้

9.3 บุคลากรของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความกล้าที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

10. ดัชนีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

10.1 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

10.2 คะแนนประเมินของผู้เข้าร่วมโครงการ

11. การประเมินผล

11.1 ประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการทั้งก่อนและหลังสำเร็จการอบรม

11.2 ประเมินผลหลังจากอบรมไปแล้วทุก 3 เดือน จำนวน 4 ครั้ง โดยดูจากการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

11.3 ประเมินผลตามข้อ 11.2 จากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ

12. ผู้เขียนโครงการ

ว่าที่ร.ต.กิติ์ไกรสีห์ เขียวหวาน

13. ผู้เสนอโครงการ

นายส. ก.

ท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

14. ผู้พิจารณาโครงการ

นาย ส น.

รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

15. ผู้อนุมัติโครงการ

นาย ต. อ.

ผู้ว่าราชการจังหวัดภู้ก็ต

ข้อ3 :ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

คำตอบ: ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านทุนมนุษย์ผ่านการพัฒนานวัตกรรม 5 เรื่องตามลำดับที่

•อดทน

•หาความรู้หลายๆศาสตร์

•ค่อยๆทำเป็น Step อย่ารีบร้อน

•สร้าง Innovation Culture ในองค์กร

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว เกิดจากการมีส่วนร่วม และพื้นฐานจิตสำนึก พื้นฐานครอบครัว และพื้นฐานการศึกษามีความแตกต่างกันมาก เรื่องเวลาในการทำกิจกรรมจะต้องจัดให้ลงตัว ไม่กระทบต่อการทำงาน เมื่อเกิดอุปสรรคอาจจะต้องเลื่อนโครงการออกไป เพื่อให้ได้ช่วงเวลาที่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีความล้มเหลวจากทุนมนุษย์คือ การคิดแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาทุนมนุษย์จะไม่ได้คิดถึงเฉพาะตนเองเท่านั้น ต้องเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ชุมชน สังคม และภาพใหญ่คือประเทศไทยด้วย

ทั้งนี้ ความสำเร็จของการที่ทุนมนุษย์ประสบความสำเร็จได้ คือการมีครอบครัวเป็นผู้สนับสนุน นำเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือทางอ้อมเข้ามาช่วยเหลือ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพียงอย่างเดียว สอดคล้องกับทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

•Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

•Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

•Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

•Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

เรียน ศ.ดร.จีระฯ

ผมไม่ใช่นักศึกษาปริญญาเอก ที่ มร. สวนสุนันทา จบปริญญาเอกแล้วจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2004 ชื่นชมอาจารย์มานานแล้วครับ ผมรับราชการและทำธุรกิจส่วนตัวที่ภูเก็ต ต้องบริหารคนเป็นจำนวนมาก ได้นำทฤษฎีและแนวคิดของอาจารย์มาปรับใช้กับการบริหารงานทั้งในภาครัฐและในบริษัทของผมเอง ได้ผลเป็นอย่างดีมากครับอาจารย์  ...ขอบคุณครับ

P.S.  ในเฟรมภาพ presentation  เลขาฯของอาจารย์น่าจะพิมพ์คำว่า  crouse outline ผิดนะครับ (ด้วยความเคารพครับ)

นายวิสิษฐ์ ใจอาจ ศูนย์ภูเก็ต 53484931023

จากเอกสารที่ท่าน ศ.ดรจีระ ได้ให้มาศึกษาเกี่ยวกับ ทรัพยากรมนุษย์แฟนพันธุ์แท้ ทำให้ได้ทราบถึงแนวทางในการทำโครงการต่างๆ และแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ จึงมาความคิดเห็นขอเสนอ โครงการที่เป็นนวัตกรรมต่อการศึกษาดังนี้ครับ

1. ชื่อโครงการ “E-Learning ได้ทั่วทุกภูมิภาค”

2. หลักการและเหตุผล

มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business

เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น

การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

การเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะเด่นดังนี้

1. ผู้เรียนมีความคิด

2. ไม่มีรูปแบบตายตัว

3. ใช้ได้ทุกโอกาสทุกเวลา

4. ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง

5. มีการบูรณาการในตัว

6. มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูง

7. เปิดทางเลือกให้ผู้เรียนหาคำตอบที่หลากหลาย

8. ชื่อรูปแบบมีนัยเชิงบวก ท้าทาย กระตือรือร้น

9. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในการคิดที่สันติสุข

10. ผู้เรียนสร้างชิ้นงานผลงานสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่ที่เป็นรูปธรรม

11. เชื่อมโยงความคิดที่เป็นระบบอย่างมีขั้นตอนจากง่ายไปยากและใกล้ตัวไปไกลตัว

12. นำไปจัดการเรียนรู้ได้กับทุกกลุ่มสาระและสามารถเชื่อมโยงได้กับรูปแบบการ เรียนรู้อื่น ๆ

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

“เพื่อการแก้ไขปัญหา สร้างสิ่งใหม่ ก้าวไกลเกินฝัน”

การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ : โดยกระบวนการพัฒนา จิตเหนือสำนึก การพัฒนาของ มนุษย์นั้น จะต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย, จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมี พลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึก ดังต่อไปนี้

1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย

2. การฝึกการคิดนอกกรอบ

3. การฝึกการคิดทางบวก

4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ ฯลฯ

Kiranie Narabal (ศูนย์ภูเก็ต # 53484931018)

โครงการพัฒนาตัวแบบขององค์กรสู่ความเป็นเลิศภายใต้บริบทไทยในยุคโลกาภิวัตน์

(The development of an organizational excellence framework under context of Thailand in globalization)

ภูมิหลังของโครงการ

ท่ามกลางการไหลบ่าของกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของบริทบทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน พบว่าองค์กรทุกๆ รูปแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความแข็งแกร่งและเพิ่มพูนขีดความสามารถเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะการแข่งขัน อีกทั้งต้องมีความยืดหยุ่นและเตรียมพร้อมที่จะรับมือและปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที

ประเทศไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับการไหลเข้ามาของกระแสโลกาภิวัตน์ และโดยเนื้อแท้ยังมีความไม่พร้อมที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมออย่างดีพอ เห็นได้จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง หรือกล่าวได้ว่า ยังขาดความภูมิคุ้มกันที่ดี คือยังพึ่งพาตนเองไม่ได้ และขาดความพอดีในเรื่องสำคัญรวม 5 ประการ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและ ด้านเทคโนโลยีและ ด้านจิตใจ เมื่อองค์กรในบริบทของสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ได้รับแรงกดดันจำเป็นต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถ ทั้งในแง่ของผลิตภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือตัวแบบในการบริหารจัดการ (Management Model) ขององค์กรที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพหรือองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (Organizational Excellent หรือ Corporate Excellent) จึงมีความสำคัญและมีอำนาจอ้างอิงในฐานะต้นแบบสากลให้องค์กรรุ่นหลังๆ พัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ละเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์กรรู้ว่าจะใช้ความพยายามและทรัพยากรไปในปัจจัยสำคัญใดจึงจะสามารถประสบความสำเร็จและนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศที่ใกล้เคียงกันได้

ความสำคัญของโครงการ

เนื่องจากตัวแบบขององค์กรที่มีประสิทธิภาพนั้นมีอยู่หลากหลายและได้ถูกกล่าวถึงโดยนักนวัตกรรมการจัดการทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออกภายใต้กรอบความคิดและองค์ประกอบที่แตกต่างกันตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้นำองค์กรในยุคโลกาภิวัตน์จึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ ความรอบรู้และความเข้าใจในการเลือกสรร เทียบเคียง ประยุกต์ ผสมผสานหรือกำหนดขึ้นซึ่งต้นแบบองค์กรแห่งความเป็นเลิศเพื่อนำมาใช้กับองค์กรของตนได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ประเด็นคำถามสำหรับโครงการ

ประเด็นคำถามที่กลายมาเป็นข้อสำคัญในการเสนอหัวข้อวิจัยในครั้งนี้ได้แก่

1) ตัวแบบด้านการบริหารจัดการแบบใด ที่จะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมไทยที่องค์กรนั้นๆ ดำรงอยู่ อีกทั้งสามารถบ่งชี้ถึงปัจจัยแห่งประสิทธิภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้ในเวลาเดียวกัน?

2) หากมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างตัวแบบดังกล่าวในเชิงนวัตกรรมการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพในบริบทของสังคมไทยขึ้น ตัวแบบนั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดเป็นสำคัญ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและองค์ประกอบขององค์กรแห่งความเป็นเลิศร่วมสมัย 7-s หรือตัวแบบ 7 ปัจจัยของ Mc. Kensey (R. Waterman และ T. Peter, 1980) อันเป็นที่ยอมรับและอ้างถึงอย่างกว้างขวางในฝั่งฟากตะวันตก เมื่อ 30 ปีก่อน

2) เพื่อศึกษาและระบุถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบขององค์กรแห่งความเป็นเลิศในบริบทสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันเป็นที่ยอมรับในซีกโลกตะวันออก ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

3) เพื่อนำตัวแบบ ‘ปัจจัยสู่ความเป็นเลิศขององค์กรแบบไทย’ ซึ่งผู้วิจัยได้แรงบันดาลใจในการสร้างขึ้นจากการผสมผสานระหว่าง ตัวแบบ 7 ปัจจัยของ Mc. Kensey กับปัจจัยด้านการความพอเพียง (Sufficiency) และปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) จนได้เป็นตัวแบบ 9-s หรือตัวแบบ 9 ปัจจัยเพื่อองค์กรสู่ความเป็นเลิศ นำไปทดสอบประสิทธิภาพและทดลองใช้กับองค์กรกรณีศึกษาในบริบททางเศรษฐกิจและสังคมภายในจังหวัดภูเก็ต

4) เพื่อประเมินความเหมาะสมและการยอมรับองค์ประกอบทั้ง 9 ของตัวแบบ 9-s ที่สร้างขึ้น ในฐานะปัจจัยบ่งชี้ความเป็นเลิศขององค์กร เมื่อทดลองใช้กับองค์กรกรณีศึกษา

กรอบความคิดและสังเขปทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1) ตัวแบบ 7 ปัจจัยของ Mc. Kensey (R. Waterman และ T. Peter, 1980) 7-s ของ Mc Kinsey กล่าวถึงการกำหนดกรอบการพิจารณาและการวางแผนเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ในองค์กรโดยการประสานองค์ประกอบทั้ง 7 ปัจจัยให้สอดคล้องประสานกัน ตัวแปรแต่ละตัวมีความสำคัญต่อการบริหารองค์การ เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์องค์การเกี่ยวข้องกับการพิจารณาโครงสร้างองค์การ เป้าหมายขององค์การ ระบบการดำเนินงาน ทักษะที่ใช้ในการทำงาน บุคลากร รูปแบบพฤติกรรมของพนักงานและเป้าหมายที่ต้องการ แนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 โดย Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips ซึ่งได้ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ In search of excellent ในปีเดียวกัน แนวคิดนี้ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 7 ประการ ของธุกิจว่ามีลักษณะและมีสภาพอย่างไร

1.กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณา SWOT ขององค์กร

2.โครงสร้าง (Structure) เป็นโครงสร้างขององค์กรที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงการควบคุมและการกระจายอำนาจ

3.ระบบ (System) หมายถึงกระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องกันทุกระดับ

4.รูปแบบ (Style) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์กร เช่น การสั่งการ การควบคุม การจูงใจ ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์กร

5.บุคคลากร (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลกรอย่างต่อเนื่อง

6.ทักษะ (Skill) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญด้านความรู้และทักษะสำคัญขององค์กร

7.ค่านิยมร่วม ( Shared value) หมายถึง ข้อกำหนดที่ยึดถือสอดคล้องกันระหว่างคนในองค์กร

2) แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (2540)

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะกระแสของโลกาภิวัตน์และการแข่งขันในระบบทุนนิยม ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากรอบด้าน และจึงต้องยืนหยัดอยู่ในสังคมโลกให้ได้อย่างเข้มแข็ง และไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น ในกระบวนการการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554) จึงได้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันที่ดี “เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่ก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากปัญหาต่างๆ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีสาระสำคัญคือ การชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ส่วนความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

นวัตกรรมสำหรับการดำเนินโครงการ

ได้หยิบยกตัวแบบ 7S Model ของ Mc.Kensey (R. Waterman และ T. Peter, 1980) มาผนวกเข้ากับตัวแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อพ.ศ. 2540 และสังเคราะห์ออกมาเป็นตัวแบบ 9-s หรือ ตัวแบบองค์กรสู่ความเป็นเลิศในบริบทสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์ โดยมีองค์ประกอบส่วนที่เพิ่มในที่นี้ 2 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ กับปัจจัยด้านการความพอเพียง (Sufficiency) และปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) ซึ่งส่งผลให้ตัวแบนี้มีคุณลักษณะที่คาดว่าจะมีความสอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมไทยมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วยการทดสอบประสิทธิภาพของตัวแบบและทดลองใช้ตัวแบบ 9-s กับองค์กรกรณีศึกษาในบริบททางเศรษฐกิจและสังคมภายในจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินความเหมาะสมและการยอมรับของผู้บริหารองค์กรกรณีศึกษา ที่มีต่อองค์ประกอบทั้ง 9 ของตัวแบบ 9-s ที่สร้างขึ้น ในฐานะปัจจัยบ่งชี้ความเป็นเลิศขององค์กร

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

หากผลการทดสอบในด้านประสิทธิภาพบงชี้และเจตคติต่อการยอมรับตัวแบบ 9-s โดยองค์กรและผู้บริหารองค์กรกรณีศึกษาเป็นไปในทางสนับสนุน ย่อมเป็นการยืนยันว่าตัวแบบ 9-s มีคุณลักษณะของปัจจัยชี้วัดองค์กรแห่งความสำเร็จภายใต้บริบทของสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอื่นๆ อย่างกว้างขวางทั้งในแง่ของการยกพัฒนาองค์กรในภาพรวมโดยอาศัยตัวแบบดังกล่าวเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ (Benchmarking) และการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน (competitiveness development) จากองค์ประกอบทั้ง 9 ของตัวแบบ ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมไทย และมีประโยชน์โดยตรงต่อขององค์กรในแง่ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกๆ ด้าน

สุธาสินี นิรัตติมานนท์ ศูนย์ภูเก็ต

Project Proposal

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ THE NEW CREATIVE กล้าพันธุ์นักออกแบบสื่อยุคดิจิตอล (การจัดการความรู้ (KM) ด้านการออกแบบจากอาจารย์ ผู้ประกอบการ และนักศึกษา) โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

1. ชื่อโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ THE NEW CREATIVE กล้าพันธุ์นักออกแบบสื่อยุคดิจิตอล (การจัดการความรู้ (KM) ด้านการออกแบบจากอาจารย์ ผู้ประกอบการ และนักศึกษา)

2. หลักการและเหตุผล

ในยุคปัจจุบันเราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ของโลกใบนี้ไปได้ การแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ ในโลกของเทคโนโลยีจึงดำเนินไปอย่างไม่รู้จบ ในการออกแบบในยุคปัจจุบันจึงมีเทรนด์ใหม่ ๆ ออกมาตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ‘New Traditions’ ที่หยิบเอาการเคลื่อนที่ของเวลา หรือหยิบเอาของเก่าและของใหม่มาผสมผสานกันให้ดูเข้าถึงง่ายคลาสสิก และทันสมัยในเวลาเดียวกัน ‘Natural Governance’ การเคลื่อนที่เข้าหาธรรมชาติและการเป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ ‘Creative Consumer’ การออกแบบเพื่อสร้างอรรถประโยชน์แบบครบวงจร ซึ่งรวมถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือใช้ประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่ง ดังนั้นเมื่อโลกแห่งการออกแบบสื่อใหม่ในยุคดิจิตอลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาก็ต้องเตรียมพร้อมตัวเองเป็นนักคิดเชิงสร้างสรรค์ตลอดเวลาที่จะเข้าสู่ในยุคการแห่งการเปลี่ยนแปลง

นอกจากความรู้ในห้องเรียนที่นักศึกษาได้เรียนรู้ การเชิญวิทยาการผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นและมีประสบการณ์มาถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้อันมีคุณค่าให้กับนักศึกษาก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่สำคัญให้นักศึกษาได้เป็นอย่างดี และเป็นการเพิ่มทุนทางปัญญาให้กับนักศึกษาก่อนที่จะออกไปสัมผัสโลกแห่งการทำงานจริง การจัดโครงการในครั้งนี้ ได้เน้นเป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงานจริง โดยมีวิทยากรเป็นพี่เลี้ยงดูแล ให้คำแนะนำ ดังนั้นเมื่อเสร็จโครงการนี้ ทางโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์จะได้นักศึกษาที่สนใจ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (specialization) ด้านการออกแบบมากขึ้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ก่อผลดีให้แก่ตนเองและสังคมต่อไป

3. วัตถุประสงค์

1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบสื่อในยุคดิจิตอลให้กับนักศึกษา

2. เพื่อบ่มเพาะกล้าพันธุ์นักออกแบบสื่อยุคดิจิตอล

3. เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต

4. เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการความรู้ระหว่าง อาจารย์ นักศึกษา และผู้ประกอบการ

4. กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ

ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 40 คน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบสื่อในยุคดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้น

5. งบประมาณ

ใช้งบประมาณจาก งบบำรุงการศึกษา โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ เป็นเงินทั้งหมด 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน)

5.1 ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก จำนวน 6,000 บาท

5.2 ค่าวัสดุประกอบการสัมมนา จำนวน 2,000 บาท

6. ระยะเวลา

2 วัน

7.สถานที่

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้อง 531-532 อาคาร 5 คณะวิทยาการจัดการ

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบสื่อในยุคดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น

8.2 นักศึกษาสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน

8.3 เป็นก้าวแรกในการบ่มเพาะกล้าพันธุ์นักออกแบบสื่อยุคดิจิตอล

8.4 เป็นการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ ผู้ประกอบการ และนักศึกษา

9. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ (KPI)

Hieratical Objective Assumption on decision

1. Goal นักศึกษามีศักยภาพทางการออกแบบสื่อเพิ่มสูงขึ้น...ตามหลักสูตรของโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์

2. Purpose จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติกาi...นักศึกษาให้ความร่วมมือในการอบรม 100%

3. Output ได้นักศึกษาที่มีความรู้และความสามารถในด้านการออกแบบสื่อยุคดิจิตอล...ใช้วิทยากรระดับมืออาชีพในท้องถิ่น

4. Input Activity...กิจกรรมการฝึกอบรม

5. Resources รูปแบบการอบรม,เงิน,เวลา...นักศึกษามีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

อาจารย์สุธาสินี นิรัตติมานนท์ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวของทุนมนุษย์ ข้าพเจ้าคิดว่ามีหลายประการ แต่ประการสำคัญที่สุดก่อนที่จะเริ่มพัฒนาทุนมนุษย์ เราต้องตอบคำถามตนเองให้ได้ก่อนว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร และปลายทางของคำตอบนั้น จะเป็นจุดสำคัญให้คุณเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างตรงทิศทาง

หัวใจสำคัญที่สุด คือ การเข้าใจ ยอมรับตนเอง และความสามารถในการวิเคราะห์ศักยภาพตนเองให้ได้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาตนเอง เพราะเมื่อเราต่างเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนของตนเองได้แล้ว เราก็จะเกิดความมานะในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้ตนเองได้อย่างถูกต้อง ตรงทิศทางมากขึ้น

นางสาวพรรณวดี ขำจริง

นางสาวพรรณวดี ขำจริง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จากการศึกษาเรื่องทรัพยากรพันธุ์แท้ ซึ่งมีข้อความในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 กรณีศึกษาพารณ & จีระ....มุ่งมั่น....พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

1.ชื่อโครงการ โครงการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ต่อชุมชน

เรื่อง การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต

4. หลักการและเหตุผล

การพัฒนาการเรียนการสอนแก่นักศึกษา ถือเป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาการอุดมศึกษา การสร้างคุณภาพผู้เรียนให้เข้าสู่มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสังคม จึงได้วางแผนพัฒนา แนวทางการปฏิบัติให้แก่สถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน อย่างเป็นระบบอัน จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของรัฐบาล จัดการศึกษาที่หลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมีคุณภาพเพื่อเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป การจัดการศึกษาสร้างองค์ความรู้บนพื้นฐานแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม ย่อมเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย วิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดพันธกิจที่ชัดเจนดังนี้ ในการจัดและพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทางด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เพื่อผลิตกำลังคน โดยเน้นสาขาวิชาที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นเป็นหลัก เพื่อส่งผลให้บุคคล ท้องถิ่น ชุมชน และประเทศชาติมีการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยเป็นที่พึ่งทางวิชาการทุกสาขาที่เปิดสอนในชุมชน และมีรูปแบบการให้บริการทั้งเชิงรุกและเชิงรับสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต เป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของการเสียสละต่อส่วนรวม และการร่วมมือกันสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม ฝึกใจให้มีคุณธรรมพร้อมตอบแทนคุณของบ้านเมือง ตามความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยหลักการของการทำงานเป็น “ ทีม - Team ” ในการที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ (3P) ได้แก่

1.มีวัตถุประสงค์ (Purpose) ต้องชัดเจน

2.มีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในการทำงาน

3.มีผลการทำงาน (Performance)

บวกกับการแข่งขัน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด สร้างความสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง โดยมีกติกา ในการคิดและร่วมกิจกรรม

ทั้งเพื่อส่งเสริมไทย มีความรักความผูกพันต่อท้องถิ่น และมีความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทย เห็นประโยชน์ของส่วนรวม ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ดี มีความรับผิดชอบ ขยัน อดทน และพึ่งตนเองได้ มีความเป็นผู้นำ

6. วัตถุประสงค์

6.1 เพื่อให้สร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ต่อชุมชน

6.2 เพื่อให้ผู้เรียนการทำงานเป็น “ ทีม - Team ”

6.3 เพื่อสร้างจิตอาสา และบริการชุมชน

7. สถานที่ดำเนินงาน

พื้นที่ในเขต จ.ภูเก็ต

8. ระยะเวลาดำเนินการ (ระบุวัน/เดือน/ปี)

มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

9. ผู้เข้ารับบริการ (ระบุชื่อกลุ่มเป้าหมาย)

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

10. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ (ตอบวัตถุประสงค์ของกิจกรรม)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ค่าเป้าหมาย

เชิงปริมาณ

1. นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 800 คน ร้อยละ 80

เชิงคุณภาพ

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีการทำงานเป็นทีม ร้อยละ 80

2. เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตอาสา รักในท้องถิ่น ร้อยละ 80

เชิงเวลา

1. โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

เชิงต้นทุน

1. ค่าใช้จ่ายของโครงการเป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติ จำนวน 30,000 บาท

11. วิธีการดำเนินงาน

รูปแบบเริ่มจากการบรรยายถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต

- ทำกิจกรรมโดยแบ่งกลุ่มต่าง เพื่อที่จะกิจกรรมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต ในแต่ละกลุ่ม นำเสนอต่อคณะกรรมการ ให้ทำการคัดเลือกเพียง 10 กลุ่ม

- เริ่มปฏิบัติกิจกรรมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต พร้อมบันทึกผลการทำกิจกรรมที่เกิดขึ้น

- นำเสนอผลหลังจากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมสรุปผล ให้ทำการคัดเลือกเพียง 1 กลุ่ม เป็นผู้ชนะเลิศ

12. งบประมาณรวม 30,000 บาท

13. รายละเอียดงบประมาณ

งบประมาณเงินรายได้

งบรายจ่าย จำนวนเงิน รายละเอียดค่าใช้จ่าย

โครงการ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในเขตพื้นที่ชุมชน จ.ภูเก็ต(งบประมาณ บ.กศ. ปี 2555) 30,000.- 1.ค่าตอบแทนวิทยากร 3,000 บาท

2.ค่าเอกสารประกอบ 10,000 บาท

3.ค่าอาหารกลางวัน 10,000 บาท

4.ค่าอาหารว่าง 5,000 บาท

5.ค่าอื่นๆ 2,000 บาท

รวม 30,000 บาท

14. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

14.1 เพื่อให้ผู้เรียนหน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ใช้เป็นเครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในงาน

14.2 เพื่อในผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม

14.3 มีสำนึกรักบ้านเกิด

นวัตกรรมที่ใช้

1.การทำงานเป็น “ ทีม - Team ”

2.การแข่งขัน

เป็นปัจจัยในความสำเร็จเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้น เช่น จากโครงการที่เขียนนักศึกษาเป็นคนในพื้นที่จ.ภูเก็ต

สามารถที่จะเข้าถึงและตอบโจทย์ในเรื่องของหัวข้องในการบำเพ็ญประโยชน์ที่ตรงประเด็นมากแล้วชนะการแข่งขันก็ได้

หรืออาจจะเกิดจากตัวนักศึกษาที่มีความอยากเอาชนะ ซึ่งการแข่งขันจะเป็นตัวกระตุ้น

เป็นปัจจัยในความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้น เช่น ความไม่สามัคคีการมีความคิดที่แตกแยก

นางสาวพรทิพย์ รอดพ้น นวตกรรมการจัดการ ศูนย์นครราชสีมา

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนใหญ่เราจะนิยมพัฒนาทรัพยากมนุษย์ในองค์กร เมื่อคนเข้ามาทำงานในองค์กร แล้วมีการพัฒนาให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เราไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พื้นฐานมากนัก คือการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเป็นต้นไป ซึ่งจากกรณีศึกษาของพารณ-จีระ ...มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ถือเป็นนวตกรรมใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น จนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในอนาคต สามารถสรุปได้ดังนี้

1. นวัตกรรม 3 ส่วน

- ความคิดใหม่ (Idea) มีการจัดการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติทำโครงงาน (Project based learning) มุ่งให้ผู้เรียนมีการพัฒนาจากการปฏิบัติจริงในเรื่องที่ตนเองสนใจ เมื่อมีความสนใจในเรื่องอะไรจะทำให้มีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไม่เหมือนสมัยก่อนที่ครูคอยป้อนเนื้อหาต่าง ๆ ให้เด็กจำ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ให้เป็นสิ่งที่เด็กต้องการหรือไม่ ซึ่งการเรียนรู้แบบโครงงานนี้ เป็น Idea ใหม่ที่ผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนให้เลือกโครงงานที่สนใจที่สุด พัฒนาโครงงานของตนเองทำให้เกิดพลังการเรียนรู้ที่มีความกระตือรือร้น มุมานะ จดจ่อกับสิ่งนั้น จนเกิดประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด

นอกจากนี้ กรณีของ ศ.ดร.จีระ ความคิดใหม่ คือ กระตุ้นให้ครูและผู้บริหารใฝ่รู้ มีความสนใจ

แบบ Eager to learn รู้จักการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่ทำตามระเบียบ หรือเนวทางที่ภาครัฐกำหนดมาให้ทั้งหมด ซึ่งเมื่อครู-ผู้บริหาร คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และมีการคิดนอกกรอบจากที่เคยปฏิบัติ จะไปสู่ นวัตกรรม หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนต่อไปได้

- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คุณพารณ ได้มีการมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยในการสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เด็กเกิดความเข้าใจและความสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาทักษะของผู้เรียนทั้ง 5 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น IQ , EQ , AQ ,TQ และ MQ ซึ่งการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ๆ การส่งเสริมในเรื่อง AQ คือทักษะในการแก้ปัญหาและเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงยังมีน้อย

นอกจากนี้ กรณีของ ศ.ดร.จีระ ท่านได้มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค

โลกาภิวัฒน์ ได้ทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันทางธุรกิจ เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม จึงได้มีแนวคิด

ในการ พาครู ผู้บริหาร ทัศนศึกษาดูงานต่างประเทศ โดยไม่ต้องรองบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล หรือการ นำนักเรียนเดินทางเชื่อมความสัมพันธไมตรีต่างประเทศ จนได้แนวคิดใหม่ในการมองการศึกษาไทยในระดับโลกาภิวํฒน์ว่า ต้อง Think Global และ Act Local

- การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง จากความคิดใหม่ ที่สร้างสรรค์ของทั้งสองท่าน ที่ได้พัฒนาโรงเรียนทั้งสองแห่ง สามารถนำแนวคิดไปใช้ได้จริง และเกิดการพัฒนา รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนอื่นที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องได้

2. เสนอโครงการ “เด็กเก่งดี วิถีพุทธ”

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กำหนดคุณสมบัติของเยาวชนไทยให้เป็นคนดี เก่ง มีความสุขเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย ได้รับการกล่อมเกลาจากคำสอนของพระพุทธศาสนามาตังแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ที่ทั่วโลกยอมรับ การนำหลักพุทธธรรมที่เป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นระบบวิถีชีวิตในการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรม ย่อมเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดปัญญา และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต อันเป็นคุณสมบัติของคนดี เก่งและมีความสุขอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

-เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่ดีงามตามวิถีพุทธ

-เพื่อนำหลักพุทธธรรมมาปฏิบัติเป็นวิถีชีวิตในโรงเรียนและที่บ้าน

-นักเรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

3. ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

“การจัดการทุนมนุษย์ที่ดี มีผลต่อความเจริญ ความมั่นคงและความสำเร็จขององค์กร” องค์กรที่จะประสบความสำเร็จ และมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องต้องบริหาร“ทุนมนุษย์” ให้ดี และเหนือกว่าคู่แข่งเพื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยกลยุทธ์การบริหาร/จัดการและเงินทุนแต่ละองค์กรสามารถ ซื้อหากันได้ไม่แตกต่างกัน หากมีเงินทุนที่เพียงพอ แต่ “ทุนมนุษย์” ไม่ใช่สิ่งที่จะหาซื้อกันได้ง่าย ๆ ต้องใช้เวลาในการสร้าง พัฒนา และรักษา ให้ก้าวหน้าเติบใหญ่ไปพร้อมกับองค์กร ดังนั้น “คน” จึงเป็นตัวสร้างความแตกต่างระหว่างองค์กรที่สำเร็จกับองค์กรที่ล้มเหลว

จากการอ่าน บทความของท่าน ศ.ดร.จีระ กรณีศึกษาพารณ – จีระ.. มุ่งมั่น..พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ แล้วพบว่า ความเป็น นวัตกรรม 3 ส่วน ของกรณีศึกษานี้คือ

1. ด้านความคิดใหม่ (Idea) ในความคิดเห็นของดิฉัน คิดว่า การที่ อาจารย์ได้สอน เรื่องโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลง และการจ้างงานในอนาคต เพื่อให้นักเรียนเรียนแบบมีเป้าหมาย มีการวางแผน ไม่ใช่เรียนโดยไม่ดูว่าจบแล้วจะมีงานทำหรือไม่ และมีการฝึกงานภาคฤดูร้อนที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา นับเป็นนวัตกรรมของการเรียนในระดับมัธยมศึกษา เพราะการฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษา ไม่ใช่ในระดับมัธยมศึกษา เป็นแนวความคิดใหม่ที่สามารถทำให้ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเรียนว่าตนเองเรียนไปเพื่ออะไร ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมของการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถวางแผนการทำงานในอนาคตได้ว่าตนเองชอบ หรือมีความถนัดในศาสตร์หรือสาขาการทำงานอย่างไร ซึ่งแตกต่างจากการเรียนในอดีตที่เรียนเพื่อเน้นการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และต่อจากนั้นจึงมาคิดว่าจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว จะทำงานอะไร

2. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คือโรงเรียนได้สร้างหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ เพื่อตอบสนองกับท้องถิ่น เนื่องด้วยอาจารย์เห็นว่าโรงเรียนแห่งนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ล้อมรอบ และสนามบินสุวรรณภูมิ การให้นักเรียนเรียนในหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม จึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานให้มีคุณภาพมากขึ้น และมีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาสอนในหลักสูตรนี้ด้วย การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน เน้นการมีงานทำ คือ ให้นักเรียนในระดับมัธยมปลายได้เรียนรู้เรื่องธุรกิจและการจ้างงาน เช่น ให้มีการเรียนรู้เรื่องการตลาด การเงิน การเป็นผู้ประกอบการ ฯลฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการเรียนรู้ในยุคใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งนักเรียนบางคนอาจจะไม่สามารถทำการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ จากปัจจัยต่างๆ ของนักเรียน การส่งเสริมการเรียนในเชิงปฎิบัติตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งของการพัฒนาทักษะของนักเรียนในด้านอาชีพได้เป็นอย่างดี

3. การใช้องค์ความรู้ให้เป็นจริง คือการให้นักเรียนได้มีการฝึกภาคปฎิบัติ และการทำให้โรงเรียน

เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ เป็น APEC ICT SCHOOL ซึ่งทำให้เด็กนักเรียนของโรงเรียนกับเด็กเกาหลีใต้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และวัฒนธรรมซึ่งกันและกันโดยใช้อินเตอร์เน็ต

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์กับนวัตกรรมเรื่องใดบ้าง

ปัจจัยในความสำเร็จและความล้มเหลวเกี่ยวกับทุนมนุษย์ประการหนึ่ง คือ เรื่องการศึกษา เพราะการศึกษาทำให้คนเกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีด้านสังคม วัฒนธรรมของแต่ละองค์กร ที่เป็นจุดหล่อหลอมให้คนเกิดแนวคิด สังคมดี วัฒนธรรมดีคนก็คิดดี และเนื่องจากโลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดน การแข่งขันระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่แต่ละประเทศต้องตระหนักต้องพัฒนาคนของตนให้สามารถเอาชนะการแข่งขันได้ คนจึงกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของสังคม การเตรียมทรัพยากรมนุษย์ หรือทุนมนุษย์ที่ดีของสังคมไทย ควรมีการพัฒนาด้านระบบการศึกษาของไทย การพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรมทางความคิดใหม่ๆให้กับคนไทย ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดใหม่ ให้เกิดกระบวนการคิดในเชิงนวัตกรรม การคิดเชิงสร้างสรรค์และการคิดแบบองค์รวมในเชิงบูรณาการ รวมทั้งกระบวนทัศน์ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีวิสัยทัศน์ในการมองการณ์ไกล กล้านำและผลักดันการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ จะทำให้เราสามารถยืนหยัดในอาเซียนได้อย่างยั่งยืน

ณัทปภา สุริยะ นวัตกรรมการจัดการ ศูนย์โคราช

นางจงดี พฤกษารักษ์

[email protected]

นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัสนักศึกษา 53484931011

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

วิชาการจัดการมนุษย์ PHD8202

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันได้อ่าน บทที่ 10 เรื่องกรณีศึกษา พารณ-จีระมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทย เพื่อความเป็นเลิศตั้งแต่ 193-208 ในหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ ดิฉัน เป็นครูผู้สอนรู้สึกปลื้นปิติในความมุ่งมั่นและการพัฒนาการศึกษาไทย ในกรณีศึกษาการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรประการและกรณีของพารณ คือการสร้างวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญยา (Constructionism) ที่สันกำแพงและที่โรงเรียนครูสิกขาลัย ดิฉันชื่นชอบในการค้นหาความรู้และวิธีการสอนใหม่ๆจากทาง Internet ดิฉันได้อ่านบทความความของท่านอาจารย์หลายๆ บทความดิฉันได้รับแรงดลบันดาลใจที่ทำให้ดิฉันเชื่อมั่นว่า นวัตกรรมมี 3 ส่วน ได้แก่ความคิดใหม่ (Idea); ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และใช้องค์ความรู้ให้เป็นความจริง ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่า ทุนที่สำคัญคือ "ทุนมนุษย์" และดิฉันได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน คือการสอนวิชาชีพภาษานานาชาติสู่สังคมอาเชียนเสรี

Think Global,Aet Local ไทยได้ทำโครงการเสริมสร้างวิชาชีพสู่โรงเรียน พอสังเขปดังนี้

1.) ชื่อโครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาภาษาจีนควบคู่คุณธรรมจริยธรรม"

2.) หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา24 (4) ระบุว่าการจัดการสอนโดยผสมผสานสาระและความรู้ต่างๆ ได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งสามารถใช้เป็นภาษาเพื่อสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยกำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือผู้ปกครองนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนโดยยึดหลักการสร้างนวัตกรรมด้วยแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ซึ่งประกอบด้วย

วัตถุประสงค์

Project Management คือ

1.) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนทุกระดับชั้นในการเรียนรู้ภาษา

2.) เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านภาษาเข้ามามีบทบาทโดยการสนับสนุนโรงเรียน

3.) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและสังคม

4.) เพื่อเป็นการยกระดับการพัฒนาโรงเรียนไปสู่ระดับนานาชาติ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

5.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่ สังคมอาเซียนเสรี

6.) เพื่อเป็นการแสวงความร่วมมือในการบริการจัดการเรียนการสอน

7.) เพื่อเป็นการบริหารหลักสูตรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีความคล่องตัวและยืดหยุ่น

8.) เพื่อเป็นการทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ

9.) เพื่อเป็นการประสานงานร่วมทั้งเน้นงานนวัตกรรมในด้านความคิดสร้างสรรค์

วิธีการดำเนินงาน Project Implement

1.) ประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยทีมงาน ประกอบด้วยครู อาจารย์ ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

2.) รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรรวมทั้งวิธีการสอนสอดคล้องกับบริษัทโดยมีส่วนร่วมครู ปราชญ์ชาวบ้านและชุมชน

3.) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์และเรียนรู้ปรับปรุงวิเคราะห์เพื่อให้มีความยั่งยืน

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

- ผู้นำหน่วยงานคือผู้บริหารของสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ (Vision) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

(Shift Paradigm)

- ทีมงานยอมรับและเห็นการเปลียนแปลงเปิดโอกาสในการพัฒนาภาษาจีน

- หน่วยงานอื่นๆ องค์กรร่วมทั้งภาคีที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ

- ชุมชนมีการเรียนรู้และร่วมทำงานแบบบูรณาการ

- ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีการแก้ปัญหาด้วยปัญญา (Constructionism)

- ผู้ปกครองและนักเรียนมีการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นต่อหลักสูตรพัฒนาขึ้น ซึ่งสรุป

1.) การวางแผนการดำเนินงาน (P)

2.) การดำเนินงานตามโครงการ (D)

3.) การตรวจสอบติดตามประเมินผล (C)

4.) การสรุปผล ปรับปรุงและการพัฒนา (A)

5.) สถานที่ดำเนินการ

- วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

6.) งบประมาณดำเนินการ จำนวน 2,000 บาท

7.) การจัดและประเมินผล

7.1.) วิธีการสังเกต

7.2.) แบบสอนถาม

8.) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1.) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและสังคม

8.2.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการต้อนรับยุคโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมอาเซียนเสรี

8.3.) เพื่อเป็นการแสวงความร่วมมือในการบริการจัดการเรียนการสอน ฯลฯ

ผู้เสนอโครงการ ............................................................

(นางจงดี พฤกษารักษ์)

รองผู้อำนวยการ

ความคิดเห็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

อนุมัติโครงการ

ใบอนุมัติโครงการ

.................................................

(นายจิตติ์ เอียดสังข์)

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต

ต้องขอขอบคุณ ดร.จตุพงษ์ ที่ช่วยเเก้ไขภาษาอังกฤษที่ผิด เเละผมจะคอยตรวจสอบให้ดีอีกครั้งก่อนที่จะนำมาเผยเเพร่ครับ

                                                                   จีระ หงส์ลดารมภ์

ว่าที่ร้อยตรีหญิงอัชฌาวดี ตันเจริญ ศูนย์สวนสุนันทรา กรุงเทพมหานคร...โทร..081-1913-012

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กลุ่มนิเทศติดตาและประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจวบคีรีขันธ์เขต 2

ชื่อโครงการ การนิเทศกรณีศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อยกระดับสถานศึกษาสู่ โรงเรียนคุณภาพ

หน่วยงานที่รับชอบ ว่าที่ร้อยตรีหญิงอัชฌาวดี ตันเจริญ

ระยะเวลาดำเนินงาน โครงการต่อเนื่อง

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบท ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มักด้อยโอกาสในการได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพอย่างไรก็ตามจากการรายงานของธนาคารโลกพบว่าผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งในการขยายโอกาสทางการศึกษาขณะที่คุณภาพทางการศึกษามีแนวโน้มลดลงโดยมีโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเทียบเคียงได้กับค่าเฉลี่ยของประเทศสหรัฐอเมริกา (the World Bank,2009) แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ที่อยู่ในเขตชนบทยังด้วยคุณภาพ ทั้งผลการวิจัยยังพบว่าการทุ่มเททำงานจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาเด็กด้อยโอกาสในท้องถิ่นของชนบทจะตอบแทนทางเศษรฐกิจ (economicretums)ของประเทศอย่างยิ่ง ทั้งยังลดปัญหาสังคมและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโดยรวม (Newsweek,2009:Aug 1.)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต2 (กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา) ตระหนักในความสำคัญดังกล่าวจึงวางแผนกำหนดนโยบายการพัฒนา “โรงเรียนคุณภาพ”ในเขตพื้นที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ และเตรียมความพร้อมยกระดับเป็นโรงเรียนต้นแบบ หรือศูนย์สาธิตการให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ตลอดจนเป็นศูนย์รวม หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของเชื่อมั่นและศรัทธาในการปฏิบัติงานของโรงเรียนและไม่จำเป็นที่ต้องส่งลูกหลานไปเรียนในเมือง นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองโดยโรงเรียน และชุมชนสามารถจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์บริการและเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องอีกทั้งเป็นการสนองนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาโครงการโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการโรงเรียนในฝัน โครงการรงเรียนมาตรฐานสากล และโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล เพื่อเป็นการยกระดับสู่”โรงเรียนคุณภาพ”

2.วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อพัฒนาโรงเรียนในเขตพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพ”มีความพร้อมและเข้มแข็งทางด้านวิชาการ และการพัฒนาสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพ และมีกิจกรรมบริการชุมชน

2.2 เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท

2.3เพื่อส่งเสริมความร่วมมือละการมีส่วนร่วมจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำไปสู่ความเข้มแข็งของโรงเรียนและรองรับการกระจายอำนาจ

3. เป้าหมาย

สถานศึกษาที่อยู่ในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 4 แห่ง โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและความสมัครใจของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเป็นหลัก

4.แนวคิดทฤษฏี/รูปแบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา

การนิเทศการสอนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการ PDCA

วงจรเดมมิ่งมีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอน ดำเนินการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เมื่อครบรอบวงจรแล้ว จึงดำเนินการเริ่มต้นใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน

1. ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan -P)

2. ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do - D)

3. ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C)

4. ขั้นที่ 4 การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข ( Action - A)

ขั้นตอนการดำเนินงานนิเทศการสอนแบบมีส่วนร่วมตามกระบวนการ PDCA

การเตรียมการ

1. เตรียมความพร้อมของบุคลากร

- สร้างความตระหนัก

- พัฒนาความรู้และทักษะ

2. แต่งตั้งกรรมการที่รับผิดชอบ

การดำเนินการ

1. วางแผนการปฏิบัติงาน (P)

1.1 กำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษา 1.2 จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย

1.3 กำหนดแนวทางการดำเนินงาน 1.4 กำหนดระยะเวลา

1.5 กำหนดงบประมาณ 1.6 กำหนดผู้รับผิดชอบ

1.7 จัดทำคู่มือการส่งเสริมและัพัฒนา

2. ดำเนินการตามแผน (D)

2.1 ส่งเสริม สนับสนุน 2.2 จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนทรัพยากร

2.3 กำกับ ติดตาม 2.4 ให้การนิเทศ

3. ตรวจสอบประเมินผล (C)

3.1 วางกรอบการประเมิน 3.2 จัดหาหรือจัดทำเครื่องมือ

3.3 เก็บข้อมูล 3.3 วิเคราะห์ข้อมูล

3.4 แปลความหมาย 3.5 ตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน

4. นำผลการประเมินมาปรับปรุง (A)

4.1 ปรับปรุงการปฏิบัติงานของบุคลากร 4.2 วางแผนในระยะต่อไป

4.3 จัดทำข้อมูลสารสนเทศ

การรายงาน

จัดทำรายงานประเมินตนเองหรือรายงานประจำปี

- รวบรวมผลการดำเนินงานและผลการประเมิน

- วิเคราะห์ตามมาตรฐาน

- เขียนรายงาน

สรุป จากการประเมิน

ผลการประเมินสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้บริหารและ

บุคลากรและใช้ในการวางแผนต่อไป รวมทั้งจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

ในเรื่องต่างๆ ได้ นอกจากนี้การใช้วงจร PDCA ก่อให้เกิด

1. ระบบการประเมินตนเองของบุคลากรควบคู่กันไปในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้ได้พัฒนาตนเองให้

เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันเป็นการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง ผลจากการปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกทางคุณภาพ

จะพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้ปฏิบัติเพิ่มขึ้น ให้มีผลงานที่เน้นคุณภาพ เป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้

2. การป้องกัน การปฏิบัติงานตามวงจรจะเริ่มจากการวางแผนซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันอุปสรรคและ

ปัญหาต่าง ๆ ระบบป้องกันถูกสอดแทรกไว้ในกระบวนการปฏิบัติงาน

กระบวนการ PDCA มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

1. การวางแผน ( Plan - P )

การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องจัดทำเป็นการคิดเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบเพื่อจะทำงาน

ให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในการวางแผนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายแนวทางการดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบงานกำหนดระยะเวลาและทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ

ตามแผนการส่งเสริมและพัฒนาแผนปฎิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

แผนงบประมาณซึ่งแผนต่างๆ ต้องมีความเชื่อมโยงกับนโยบายและความต้องการของท้องถิ่นด้วย

2. การปฏิบัติตามแผน (Do - D)

เมื่อสถานศึกษาได้วางแผนการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว

บุคลากรก็ร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้

โดยระหว่างการดำเนินงานผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงาน

อย่างมีความสุข ดังนี้

2.1 จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้การปฏิบัิติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และเพียงพอ

2.2 กำกับ ติดตาม ทั้งระดับรายบุคคล / หมวดวิชา เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผน

2.3 ให้การนิเทศในระหว่างการปฏิบัติงาน

ผู้บริหารสถานศึกษาต้องกำกับและติดตามว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนดไว้หรือมีปัญหาหรือไม่

หากไม่เป็นไปตามแผนหรือมีปัญหาจะได้ให้การนิเทศเพื่อปรับปรุงแก้ไข

การกำกับและติดตามการปฏิบัติงานมีหลายวิธี เช่น ผู้บริหารอาจติดตามด้วยการสอบถามเป็นรายบุคคล

จัดประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือให้แต่ละบุคคลรายงานความก้าวหน้าของการทำงานเป็นรายสับดาห์หรือ

รายเดือนซึ่งอาจเป็นการรายงานปากเปล่าหรือจัดทำรายงานเสนอเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

การปฎิบัติงานต่อไป

ผู้บริหารควรให้การนิเทศเพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินตนเองและทักษะในด้านต่างๆ

โดยผู้บริหารให้การนิเทศเองหรือเชิญวิทยากร เช่น ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้การนิเทศ

หรือส่งบุคคลไปฝึกอบรม เป็นต้น

3. การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C)

การประเมินผลเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ

ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด

ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง

ผู้บริหารและครูที่เข้าใจระบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เหมาะสมจะตระหนักถึง

ความสำคัญของการประเมินผลไม่กลัวการประเมินผลโดยเฉพาะการประเมินตนเอง

ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อพัฒนา ไม่ใช่การตัดสิน ถูก-ผิด

ไม่ใช่การประเมินเพื่อประเมินและไม่ใช่เรื่องที่ทำยาก ไม่ต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินมากมาย

แต่เป็นการประเมินในงานที่ทำอยู่เป็นประจำเครื่องมือที่ใช้อาจเป็นเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว

โดยไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่ เช่น สถิติที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของฝ่ายวิชาการ

ผลงานหรือการบ้านตลอดจนการทดสอบย่อยของผู้เรียนในชั้นเรียน

ซ้ำเป็นข้อมูลที่ครูมีอยู่แล้วเพียงจัดเก็บให้เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้น

ในระหว่างที่สถานศึกษาดำเนินการตามแผนปฏิบัติการควรมีการตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะๆ

เพื่อพิจารณาการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือมาตรฐาน

และตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการหรือไม่เพียงใด มีจุดอ่อน จุดแข็งประการใด

มีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดมากที่สุด

และเมื่อสิ้นภาคเรียนหรือสื้นปีการศึกษาก็จะต้องมีการประเมินสรุปความเพื่อนำผลมาพิจารณาแก้ไข

ปรับปรุง การดำเนินการในระยะต่อไป

4. การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข (Action - A)

เมื่อบุคลากรแต่ละคน / ฝ่าย มีการประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ส่งผลให้กับคณะกรรมการที่รับผิดชอบ

ซึ่งจะต้องรวบรวมผลการประเมินมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผลในภาพรวมทั้งหมด

แล้วนำเสนอผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา ครูประจำวิชา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนางานของตนเองต่อไป การเผยแพร่ผลการประเมิน

อาจใช้วิธีจัดประชุมครูภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สถานศึกษาจัดป้ายนิเทศ

หรือจัดทำรายงานผลการประเมินฉบับย่อแจกบุคลากร..

10 แนวคิดและทฤษฏีเพื่อการพัฒนา”ทรัพยากรมนุษย์”

1. HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสมารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)

2. ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นแนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 1 พิจารณา Context หรือ บริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน ภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ฯลฯ ภายใน ได้แก่ การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน หรือ Process วิธีการบริหารจัดการ ฯลฯ

วงกลมที่ 2 พิจารณา Skills และ Competencies เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 3 พิจารณา เรื่องการสร้างแรงจูงใจ (Motivation) นอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดี ประกอบกับการมีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่น้อยกว่า ก็คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ มีความพึงพอใจ มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการทำงาน ฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

3.ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้

• Human Capital ทุนมนุษย์

• Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

• Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

• Social Capital ทุนทางสังคม

• Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

• Digital Capital ทุนทาง IT

• Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

4.ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5 K’s new)ที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะต้องตระหนักถึงทุนที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีก 5 เรื่อง ประกอบด้วย

• Knowledge Capital ทุนทางความรู้

• Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

• Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

• Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

• Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

5. ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

• Learning Methodology วิธีการเรียนรู้

• Learning Environment บรรยากาศการเรียนรู้

• Learning Opportunities โอกาสการเรียนรู้

• Learning Communities ชุมชนแห่งการเรียนรู้

6.ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย

• Reality มองความจริง

• Relevance ตรงประเด็น

7.ทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

• Inspiration จุดประกาย

• Imagination สร้างจินตนาการ

8. ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย

• Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน

• Engaging การมีส่วนร่วม

9. ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

• Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

• Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

• Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

• Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

10.ทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

• Learning from pain

• Learning from experience

• Learning from listening

« Back

5.รูปแบบการพัฒนา

ความคาดหวังการพัฒนา คือ เป็นโรงเรียนดีประจำตำบล (1อำเภอ 1 ตำบล) หรือเป็นโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม โดยกำหนดคุณลักษณะหรือภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่ต้องการ คือ

*เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง มีความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นการทำโครงงาน

*เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทางด้านกายภาพที่มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย

*เป็น”โรงเรียนของชุมชน”ที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นและการบริการชุมชนอย่างมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

5.1ภาพความสำเร็จ (ตัวชี้วัดความสำเร็จ)

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูงไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 กลุ่มสาระหลัก

2. เป็นโรงเรียน 3 D (democracy/ decency/drugs Free) สร้างวัฒนธรรมและวิถีประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็งและไม่มีปัญหายาเสพติด

3. โรงเรียนมีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย ให้ความร่วมมือและบริการกับชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง

4. ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

5. นักเรียนมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ มีสำนักความเป็นไทยมีความรู้และทักษะพื้นฐาน มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ระดับสูง และมีสุขภาพพลานามัยดี

6. นักเรียนมีความรู้ และทักษะอย่างดีด้านภาษาที่สองอื่นๆ ตามความสนใจหรือความถนัด

7.ครูและผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

8.ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานตามโครงการและข้อค้นพบอย่างต่อเนื่อง (กับผู้ที่เกี่ยวข้อง)

9.สรุปและรายงานผลการดำเนินการต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

5.2กิจกรรมดำเนินการสำคัญ

5.2.1จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเข้มข้น โดยเน้น

1) ความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น เน้นทักษะพื้นฐานของนักเรียนทุกคน (โดยเน้นการทำโครงงานนักเรียนจะเป็นผู้เลือกตามความสนใจร่วมกันในการจัดการเรียนการสอน)

2.การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและเน้นการคิดวิเคราะห์ให้เกิดกับตัวผู้เรียนด้วยการเรียนแบบโครงงาน (project-based learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา (problem-based learning) โดยเฉพาะ5 สาระหลัก และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นต้น

3.ส่งเสริมให้นักเรียนมีการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์โดยเทคนิค วิธีการ ที่เป็นกระบานการหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เชื่อมโยงกับการบริการหรือพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างจิตสาธารณะ เป็นสมาชิกของชุมชนที่มีคุณภาพ นำไปสู่การรักและพัฒนาถิ่นฐานของตน

4.การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียน และบุคลากรทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

5.2.2 พัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่การพัฒนาจัดหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ

5.2.3บริหารการจัดการบุคลากรครู และผู้บริหารโรงเรียนอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย เช่น ควรมีครูที่จบเอกภาษาไทย คณิตศาสตร์หรือได้รับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพอย่างน้อย 5 กลุ่มสาระหลักและสามารถนำ (ICT) มาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2.4 เน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการทำบันทึก MOU กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการดูแลและส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายผู้ปกครองคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐ และเอกชนสถานประกอบการ เพื่อระดมสรรพกำลัง

5.2.5 ดำเนินการตามระบบประกับภายในอย่างเข้มแข็งเพื่อให้เห็นความก้าวหน้าสู่โรงเรียนคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

1.โรงเรียนประเมินตนเอง (เน้นความร่วมมือจากองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง)

2.โรงเรียนกำหนดแผนปฏิบัติการรายปี และแผนพัฒนาระยะ 4 ปี เพื่อพัฒนาตนเองให้บรรลุเป้าหมาย อย่างชัดเจน (เน้นความร่วมมือจากองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง)

3.โรงเรียนรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

หมายเหตุ ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

4.ได้มีการติดตาม ตรวจสอบ ระบบการประกันคุณภาพภายสถานศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

หมายเหตุ อย่างน้อย ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง

5.มีการประเมินผลความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระและทุกโครงงาน/โครงการของสถานศึกษารวมทั้งระบบการบริหารการศึกษาทั้งระบบ

หมายเหตุ เน้นความร่วมมือจากองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

6.ขั้นตอนการดำเนินการและปฏิทินการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

แผนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

ขั้นตอน

การดำเนินงาน เป้าหมาย วิธีการดำเนินการ/กิจกรรม ตัววัดความสำเร็จ/การประเมิน งบประมาณ วัน/เดือน/ปี

ข้อเสนอแนะ/การ

พัฒนาของโครงการระหว่างดำเนินการ

แจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

*บุคลากรในสถานศึกษาโรงเรียนในโครงการ

*จัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 1.ประชุมครูผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา

2.ให้สถานศึกษาประเมินตนเอง *บันทึกวาระการประชุม

*เครื่องมือประเมินตนเองด้านความพร้อมก่อนเข้าร่วมโครงการของสถานศึกษา

*ข้อสรุปแนวทางการพัฒนาของสถานศึกษา * โครงการติดตามนิเทศโรงเรียนดีประจำตำบล(สพฐ/เขตพื้นที่) 1-5 พ.ค. 2555

6-10 พ.ค. 2555

แจ้งวัตถุประสงค์การนิเทศ/เพื่อวางแผนพัฒนาร่วมกัน

ครูผู้บริหารและคณะกรรมการในองค์กรที่เกี่ยวข้อง

3.ประชุมครูผู้บริหารและคณะองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อ

ชี้แจงรายละเอียดของโครงการและวางแผนพัฒนาร่วมกัน

* บันทึกวาระการประชุม

* ข้อสรุปแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาของคณะกรรมการตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จของโครงการ

*เครื่องมือประเมินตนเองด้านความพร้อมก่อนเข้าร่วมโครงการของสถานศึกษา

*โครงการติดตามนิเทศโรงเรียนดีประจำตำบล(สพฐ./เขตพื้นที่)

20-30 พ.ค.ถึงมิ.ย.2555

การประเมินเพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องของสถานศึกษาตามตัวชี้วัดความสำเร็จ

สถานศึกษาที่อยู่ในโครงการพัฒนา

ครูผู้บริหาร

และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

4. คณะกรรมการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระหว่างการพัฒนาของสถานศึกษา/ระหว่างการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

5.ประชุมคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับหลังการประเมิน

*แบบสรุปและรายงานการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนาตามระยะเวลา

*แบบสรุปรายงานผลการประเมินเพื่อพัฒนาสถานศึกษาของคณะกรรมการ/ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ระยะที่1

ระยะที่2

ระยะที่3

ระยะที่4

ระยะที่5(ตามความเหมาะสมตลอดโครงการ)

* รายงานผลข้อมูลย้อนกลับ(ข้อมูลที่ได้จะช่วยในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องบนเส้นทางการก้าวสู่”โรงเรียนคุณภาพ”)

*โครงการติดตามนิเทศโรงเรียนดีประจำตำบล(สพฐ./เขตพื้นที่

1ก.ค ถึง30 ก.พ.2555

ปิดประกาศแจ้งผลการดำเนินงานตามโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้เสียกับสถานศึกษาทราบอย่างเป็นทา ครูผู้บริหารและคณะกรรมการผู้ที่เกี่ยวข้อง 6.จัดทำเอกสารสรุปผลรายงานของสถานศึกษา/และสรุปผลการรายงานการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษาของสถานศึกษาในโครงการ

*แบบรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษา/และของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามโครงการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาประจำปีการศึกษา *โครงการติดตาม นิเทศ โรงเรียนดีประจำตำบล (สพฐ./เขตพื้นที่) 1 มี.ค.ถึง30เม.ย.2555

*หมายเหตุ* ยังมีแผนการนิเทศย่อยแทรกเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการ

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ.........................

ว่าที่ร้อยตรีหญิง……………………………………….ผู้เสนอโครงการ

(อัชฌาวดี ตันเจริญ)

ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

............................................ผู้อนุมัติโครงการ

(...................................)

ชื่อ นายวรสัณห์ คชสาร นักศึกษา ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ศูนย์ให้การศึกษา จ.นครราชสีมา รหัสประจำตัว 53484940002 หลักสูตร ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขา นวัตกรรมจัดการศึกษา แขนงนวัตกรรมการบริหารจัดการนโยบายและยุทธศาสตร์

เรื่อง สรุปบทเรียน จากหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทที่ 10

กรณีศึกษาพารณ – จีระ...มุ่งมั่น....พัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ

บทความของนักคิดพัฒนาการศึกษาไทย 2 ท่าน คือ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา และ

รศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อการพัฒนาการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ ในการพัฒนาบุคลากรในระดับองค์กรเป็นหลักในแนวของการพัฒนาด้านแรงงานและทรัพยากรมนุษย์

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้แนวทางการคิดพัฒนาการศึกษาไทย ดังนี้ สร้างนวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา(Constructionism) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการที่ครูให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง เน้น “ สร้างองค์ความรู้ ” การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มและจากการลงมือปฏิบัติทำโครงงาน(Project based learning) ในรูปแบบของการบูรณาการหลากหลายองค์ความรู้ ให้เกิดในลักษณะผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ติดเป็นนิสัยไปตลอดชีวิต โดยมุ่งพัฒนาทั้ง 5 ด้านให้กับผู้เรียน ดังนี้ IQ ( intelligence Quotient ) EQ ( Emotional Quotient ) AQ ( Adversity Quotient ) TQ ( Technology Quotient ) และ MQ ( Morality Quotient )

ส่วนท่านรศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ได้กล่าวถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามทฤษฎีท่านรศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ 4L‘s , ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5K’s เพื่อการกระตุ้นให้ครูและผู้บริหารที่ใฝ่รู้ กระตือรือร้นหาความรู้ ให้มีความสนใจในรูปแบบ Eager to learn คือ ให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจ ให้นักเรียนสนใจรวม ทั้งกระบวนการคิดนอกกรอบ ซึ่งทำให้เกิดโครงการใหม่ ๆ และถือว่าเป็น “ นวัตกรรม ” ระดับโรงเรียน ประกอบด้วย ความคิดมาจากความคิดที่ใหม่ ๆ คิดเชิงสร้างสรรค์ การหาความรู้ตลอดเวลา และเมื่อมีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาผู้บริหารต้องผลักดันให้เกิดการลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมทำให้สำเร็จอย่างต่อเนื่อง และมีการวัดประเมินผลจากหลายฝ่าย ครูและผู้บริหารต้องใช้การบริหารงานแบบโครงการ ใช้วิธีคิดแบบสร้างสรรค์และให้เกิดการปฏิบัติจริง มองการศึกษาไทยในระดับโลกาภิวัตน์ เช่น มีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการหรือตอบสนองกับท้องถิ่น การสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมโดยการไปศึกษาดูงานที่ต่าง ๆ แสวงหาวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาช่วย ทำให้โรงเรียนที่ดำเนินการไปนั้นนักเรียนเรียนแบบมีเป้าหมาย มีการวางแผน มีการฝึกงาน ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง เกิดเป็นโรงเรียนมีคุณภาพ และสามารถขับเคลื่อนโรงเรียนไปสู่ความเป็นเลิศได้

...............................................................

7 กันยายน 2554

วิเคราะห์ กรณีศึกษา พารณ - จีระ มุ่งมั่น พัฒนาการศึกษาไทย เพื่อความเป็นเลิศ

จากเรื่องที่อ่าน พบว่าในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการทำงานต้องเริ่มที่การพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การการพัฒนาองค์กรของตน เหตุผลของการพัฒนางานได้สำเร็จเกิดจากแรงบันดาลใจแรงขับเคลื่อนของตัวตน บุคคลตัวอย่าง ครูปราถนาโดยศึกษาต่อเพื่อรับการพัฒนาศักยภาพและมุ่งที่จะพัฒนาให้องค์กรของตนเป็นองค์กรที่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน คงอยู่และคงทน และที่สำคัญเกิดจากที่ปรึกษาร่วมที่เห็นความสำคัญและมี vision กว้าง บวกกับประสบการณ์ที่ท่านให้คำปรึกษาและให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา เปิดรับการเรียนรู้สิ่งที่กำลังจะเกิด เตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงสร้างความพร้อมให้องค์กรและที่สำคัญข้อคิดที่ได้คือ รู้จริง เอาจริง กับการพัฒนาองค์กรอย่างแท้จริงของท่านอาจารย์จิระ จากที่อ่านหนังสือที่ท่านเขียนทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ต้องยอมรับว่าท่านคือ Idol ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบยั่งยืน และในการพัฒนาต้องทำอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน และดูตัวอย่างที่ดีเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สนองตอบต่อองค์กรการทำงานของตนอย่างแท้จริง ซึ่งในการขับเคลื่อนต้องใช้แรงขับเคลื่อนภายในอย่างแท้จริง ต้องมีความอดทนต่ออุปสรรคความกดดันรอบข้างเพื่อให้ได้มาซึ่งความยั่งยืน

ขอบพระคุณอาจารย์จิระที่ได้เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาปริญญาเอกที่ได้ให้เกียรติมาให้ความรู้ข้อคิดและกระตุ้นแนวคิดของผู้เรียนได้อย่างดีเยี่ยม ภาษาวัยรุ่นเรียกว่า ตัวพ่อแห่งวงการทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง เรียนท่านอาจารย์จิระที่เคารพ โรงเรียนของดิฉันก็เป็นโรงเรียนหนึ่งที่อยากขับเคลื่อนการบริหารการจัดการศึกษาให้เป็นระบบและมีความยั่งยืน อยากให้โรงเรียนเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียนได้อย่างมีคุณภาพอยากให้โรงเรียนมีความพร้อมในการเตรียมสถานศึกษาเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในปี 2558 ทั้งนี้ขอบพระคุณที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้มีโอกาสเชิญอาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยแรงขับเคลื่อนและมองการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ให้กับดิฉัน ดิฉันเป็นครูสายผู้สอน ในวิชาฟิสิกส์ และบริบทโรงเรียนของตนเอง เป็นโรงเรียนแรกที่มีการถ่ายโอนโรงเรียนเข้าสู่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ชื่อโรงเรียนบัวใหญ่ ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 58 โรงเรียน จากปัญหาการบริหารงานของโรงเรียน พบว่าต้องมีการทำความเข้าใจของคณะผู้บริหาร คณะครู ในการเดินหน้าการทำงานอย่างมั่นคงและยั่งยืน ปัญหาและสาเหตุหลักในการจัดการบริหารงานภายในโรงเรียน ปัญหาเกิดจากคนทุกคนมีศักยภาพในการทำงานแต่ต่างคนต่างทำ เข้าใจในการทำงานแบบรู้จริงมีน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดแข็งของโรงเรียนคือความเป็นกัลยาณมิตรภายในองค์กร ผู้น้อยให้เกียรติผู้ใหญ่ ปัญหาหลักของโรงเรียนคือการทำงานที่ขาดความชัดเจน รู้ไม่จริงในการทำงาน ความต้องการอยากให้โรงเรียนของตนเองเป็นโรงเรียนต้นแบบที่มีการถ่ายโอนเข้าท้องถิ่นแล้วประสบผลสำเร็จ อยากให้การบริหารงานของโรงเรียนออกมาเป็นรูปธรรมออกมาเป็นตัวเลข สถิติ ที่สามารถบอกความแน่นอนของสถานศึกษาได้จริง อยากให้นักเรียนที่จบออกไปมีศักยภาพ รู้ตัวตนของตนเองในการจบออกไป ผู้เรียนเกิดความรักองค์กรของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เรียนสถานศึกษาแห่งนี้ และที่สำคัญที่มีความต้องการไม่แตกต่างจากครูปราถนาคือต้องการให้อาจารย์จิระเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาของตนเอง เป็นผู้ชี้แนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการบริหารการเปลี่ยนแปลงการศึกษาสู่กลุ่มประเทศอาเซียนต่อไป

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิชา สัมมนาการจัดการทุนมนุษย์ระหว่างประเทศ

Seminar in International Human Capital Management

โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กันยายน 2554

ช่วงบ่าย

• ดร.จีระพูดถึงการได้ทฤษฎี 8K’s กับ 5K’s มาจากการเรียนเรื่องเศรษฐศาสตร์ ที่ให้ความสำคัญเรื่องทุน ... Adam Smith พูดว่า....มีกรณีที่ว่าคนสองคนเรียนเหมือนกันแต่รายได้ไม่เท่ากัน..เพราะอะไร ?

• แต่ก่อนคนมีความรู้มากกว่าแต่รายได้มากกว่า แต่ปัจจุบันเป็นแบบ Mass Customization ต้องใส่ Input ที่ไม่เฉพาะทุนมนุษย์แบบเดิมแต่ต้องอาศัยความหลากหลายของปัญญา ของ Wisdom

• Ph.D เรียนแล้วต้อง Manage ให้ได้ … ประมวลวิชาอยู่ที่ไหวพริบ หรือ Wisdom คิดให้ดี ความจริงแล้วก็คือต้องมีแรงบันดาลใจ

• ในชีวิตจริง ต้องรู้ ใฝ่รู้ แล้วเอาไปทำ

• สูตรสำเร็จเกี่ยวกับการดำรงชีวิต สิ่งที่ฝากไว้มี 4 ขั้นตอนคือ

- Where are we? สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ทั้งระดับ Macro และ Micro

- Where do we want to go? ต้องตอบโจทย์เป้าหมายให้ได้คือ Vision ,Mission ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือคนทำงานใน Field ทรัพยากรมนุษย์ไม่รู้เป้าหมายขององค์กร

เป้าหมายคือแก้ปัญหา แล้วไปสู่ Futuristic ทุนมนุษย์คือเครื่องมือที่พาไปสู่เป้าหมาย

เช่นส่งคนไปโลกพระจันทร์ต้องมีคนที่เก่งด้านทรัพยากรมนุษย์อยู่ด้วยในส่วนต่าง ๆ แล้วรวม ๆ จะเกิดแรงบันดาลใจ เกิด นีล อาร์มสตรองซึ่งเป็นคนเดินทางไปพระจันทร์คนแรก

ดูว่า Trend ของ เศรษฐกิจการเมืองไปทางไหน แล้วคนถึงต้องไปตอบสนองมัน แต่ปัญหาคือเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อน การจ้างงานจึงเน้นไปที่เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นการจ้างงานเขียว หรือเรียกว่า Green Economy เป็น Job ด้านพลังงานทดแทน ทำให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่รอบ ๆ ดีขึ้น

ในอนาคตข้างหน้าเด็กสนใจอะไร Generation ต่าง ๆ เป็นรุ่นสู่รุ่น แต่ที่น่ากลัวคือประเทศไทยไม่มีพรมแดนเรื่องการย้ายถิ่น การจ้างงานในอนาคต

มียุทธวิธี แต่ยุทธวิธีนี้ไม่เกี่ยวกับการทำให้สำเร็จ

- งานที่ยิ่งใหญ่ในห้องนี้คือ HR Execution คือ Get things done ไม่ How to เท่านั้น แต่จะ Execute นโยบายให้สูงสุด สิ่งที่อันตรายคือการฝังรากในความคิดของคนในสังคมไทยที่ไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง

……………………………………………………………………………….

• ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่านวัตกรรมคืออะไร แล้วเพื่อให้ Survive ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

• การทำ Public Seminar ต้องมี Impact กับคนฟัง

• กฎข้อสุดท้ายของ 7 Habits คือ ถ้าเรามีเลื่อยเราต้องลับเลื่อยให้คม หมายถึงเราต้องทันกับการเปลี่ยนแปลง ถ้า Rate of Change เปลี่ยน แต่คนอื่นเปลี่ยนมากกว่าเรา เราก็อยู่ไม่ได้ อยากให้การเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็น Learning Community

• คนสอน HR ในอนาคต ต้องรู้เป้าหมายองค์กร ต้องรู้ How to ต้องรู้ How to difficulty

• ในการทำอะไรก็แล้วแต่ปัจจัยเรื่องคนต้องอยู่ใน Equation ทุกอัน เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้

• วิชาที่ยากที่สุดคือ Idea ในการทำวิจัยจะมาจากไหน?เราควรมี Creativity ,ใฝ่รู้ ,Idea ข้ามศาสตร์ ,KM ไม่ใช่แค่ LO แล้ว LO จะเกิดขึ้นได้ต้องมี LC แล้ว LC จะเกิดขึ้นได้ต้องมี LN ตัวอย่าง กฟภ.ฝึกคนให้รู้ LO คือการมองอนาคตองค์กรให้ได้ ไม่ใช่มองอดีต เพราะโลกในอนาคตเปลี่ยน

• สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันคือเทคโนโลยีสารสนเทศไม่โกหก เพราะนี่คือยุคอินเตอร์เนต ในอดีตเรามีเทคโนโลยีหลายอย่าง แต่ไม่มีครั้งใดที่อิทธิพลสมัยใหม่ยุค IT กว้างขวางเท่าวันนี้

• อยากให้นวัตกรรมอันหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ Educational Innovation

• Social Capital – Networking

- มีเครือข่ายแบบกว้างหรือ แคบ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ Information คนสองคน Information ไม่เท่ากันก็ยุ่ง

- โอกาสที่ไป Network กับคนมีมาก แต่ Network ที่สำคัญที่สุดคือโลกทัศน์ของคน มนุษย์เราแคบ เราจะสละความแคบเป็นความกว้างจะทำอย่างไร? ต้องรู้จักคนมากขึ้น ไม่ต้องลงทุนเยอะ ต้นทุนในการทำ Networking ไม่สูง สำคัญที่สุดเมื่อรู้จักคนแล้ว คือการเดินไปอีก Step หนึ่ง สิ่งสำคัญคือต้องมีวิชาเจรจาต่อรอง แล้วต้องทำให้เป็นด้วย เป็นแนวร่วมซึ่งกันและกัน ทำให้เป็น Win-Win

- Never Eat Alone ให้สังเกตบุคคลที่ ออฟฟิตของคุณ ถ้าคนไหนกินข้าวคนเดียวไม่มีเพื่อน แล้วนอกองค์กรจะมีเพื่อนได้อย่างไร นี่คือจุดอ่อนของกระทรวงศึกษาธิการ คือรู้จักใครบ้าง แล้วเขามีเพื่อนเป็นใคร นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด

- ในอนาคตข้างหน้า Global Networking สำคัญที่สุด ต้องเป็นองค์กรที่รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราต้องรู้เขา รู้เรา ต้องมีมารยาทในการรู้จักคน เป็นวิชาที่ต้องข้ามศาสตร์ ที่อันตรายคือคนไทยในอาเซียนเสรี รู้จักประเทศอื่นน้อยมาก ความจริง อาเซียนเสรีคือการปรับทัศนคติว่าทุกประเทศเท่ากัน แต่สำหรับทัศนคติที่ว่าถ้าเป็นพรมแดนที่เป็นประเทศยากจนก็จะดูถูกเขาไปด้วยทัศนคติอย่างนี้ถือเป็นอันตรายมากสำหรับประเทศ

• 8K’s ข้อ 6 เรื่องความยั่งยืนได้แนวคิดมาจากรัชกาลที่ 9 คือ การคิดอย่างมีเหตุมีผล เดินสายกลาง แล้วมีภูมิคุ้มกัน และ 2ตัวที่สำคัญที่สุดคือ ความรู้ คู่คุณธรรม

- ตอนเศรษฐกิจดี เราก็ประหยัด พอเศรษฐกิจไม่ดีเราก็ปลดคนงานออก ไม่ว่าเราจะรวยจะจนเราต้องอยู่รอด เศรษฐกิจพอเพียงคือการอยู่รอดในระยะยาวของคนไทย

- คนไทยเป็นคนที่เวอร์ในการแสดงออกว่าร่ำรวย จริง ๆ แล้วความร่ำรวยอยู่ที่ Value ของเราเอง

- ตอน ฟองสบู่แตก ถ้าทุกคนโลภคิดว่าที่ดินขึ้นตลอดเวลาก็ไม่ยั่งยืน เราต้องบริหารความไม่แน่นอนให้ได้ ด้วยการรู้ว่าระยะสั้นต้องไม่ทำร้ายระยะยาว เช่น ถ้าเรียนแล้วต้องช่วย Thesis ได้ หมายถึงถ้าเราทำอะไรในวันนี้ต้องช่วยเราในวันหน้า แต่ถ้าเราทำอะไรในวันนี้ไปขัดแย้งในวันหน้าจะยุ่งมากเลย เราจำเป็นต้องแน่ใจว่าเราตัดสินใจวันนี้ช่วยให้อยู่รอดได้ในระยะยาว

- ห้ามทำตัวเป็นคนรู้เยอะ ต้องบอกว่าฉันยังรู้ไม่พอ เพราะความรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ความรู้เป็น Infinity ศาสตร์วันนี้คือ ศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์บวกกัน ศาสตร์และศิลป์ต้องไปด้วยกัน ถือเป็นจุดหนึ่งแห่งความยั่งยืน

• ข้อเสนอแนะ ในอาเซียนเสรี หรือ การ Deal กับ Globalization คน ๆ หนึ่งต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือ ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ

- ทักษะไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างเดียว ต้องรู้ว่าใครเป็น Advisor เรา

- ทัศนคติต้องเป็นทัศนคติที่ทำให้เราเข้มแข็งขึ้น

• คุณภาพของทุนมนุษย์ 80 % อยู่ข้างในเรา

5K’s

• เรายังเปลี่ยนคุณค่าทางวัฒนธรรมมาเพื่อสังคม และเศรษฐกิจยังไม่พอ

• ท้องถิ่นสนใจทุนทางวัฒนธรรมอย่างมหาศาล

• จุดอ่อนเรื่องวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ เราต้องปรับให้ได้

• ถ้าเขาจะบริโภคทุนทางวัฒนธรรม เรามีการบริหารจัดการให้สินค้าทางวัฒนธรรมมี Value หรือไม่

• การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องสำคัญ การ Deal กับวัฒนธรรมข้ามชาติจึงครควบคุมอารมณ์ให้ดี

ให้ร่วมแสดงความเห็น

หลังจากฟังประเด็น 8K’s 5K’s แล้วให้โคราช ภูเก็ต เลย แสดงความคิดว่ามาได้มาอย่างไร?

โคราช

• ตรงที่อาจารย์พูดเรื่อง 8K’s ช่วงแรก เห็นด้วยตรงที่ทุนมนุษย์นั้นคือทุนพื้นฐานครอบครัว เรียนเหมือนกันแต่สามารถมีรายได้ไม่เท่ากัน อาจเกี่ยวข้องกับโอกาสและปัจจัยอื่น ๆ ด้วย

• ดร.จีระ บอกว่าในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เป็นการวัดจากคนที่เรียนมากได้เงินมากในลักษณะ Gary Becker สำหรับส่วนที่นักศึกษาพูดมานั้นถือวส่าพูดถูกคือต้องเอาปัจจัยอื่นมาด้วย เอาตัวแปรที่วัดได้แต่เป็นตัวแปรทางด้าน Quality ใส่เข้าไปด้วยก็ได้เช่น บางคนมาจากครอบครัวดี รายได้อาจสูงกว่าแม้เรียนหนังสือเท่ากัน หรือเรื่องเพศก็สำคัญเช่นผู้หญิงถูกเปรียบเทียบกับผู้ชายในการทำงานเป็นต้น

ภูเก็ต

• เมื่อเช้าอาจารย์พูดถึงเรื่อง HRDS น่าจะเพิ่มเรื่อง Trustworthy และเรื่องConfidence คือความมั่นใจในความถูกต้อง

• ดร.จีระ เห็นด้วย แล้วเสริมว่ามนุษย์เราอยู่ที่พันธุ์ คือ พูดแล้วจะเก็บเกี่ยวได้หรือเปล่า ปลูกข้าวต้องเก็บเกี่ยวด้วย มี Case study

เลย

• สรุปทวนการบ้านของที่เรียนมามี 2 ชิ้นคือ

1.8K’s 5K’s จับคู่ 2 คนทำเป็น Paper ส่งตอน Final แล้วปรึกษากัน

2. อ่านบทความในสิ่งที่ดร.จีระไม่เคยเห็นแล้วมาวิเคราะห์ว่าเกี่ยวกับที่เรียนใน 2 สัปดาห์อย่างไรบ้าง แล้วมาวิเคราะห์ ส่งทาง Blog ศุกร์หน้าเป็น Case

ดร.จีระ เสนอตัวอย่างที่ ในการทำเรื่องทุนความสุข..

เช่นการวัดความสุขในองค์กรมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนก็ Ranking อันดับออกมา แล้วแต่ Statistics ค่าเฉลี่ยของความสุขจะกลายเป็นวิทยานิพนธ์ได้ ทำให้ผลประกอบการดีขึ้น เป็น Independent Variable แต่ความสุขสามารถเป็น Dependent Variable ด้วยเช่นกัน คนมี Purpose จะอธิบายอย่างไรให้คนรู้ว่ามีความสุขในการทำงาน อย่างเจ้านายใน กทม. อยากรู้ว่าผู้นำมีความสำคัญหรือเปล่าใช้การ Run Equation

ข้อเสนอแนะ จากศิษย์เก่า

• อยากให้ทุกท่านที่เรียนคอยตามไปเรื่อย ๆ

• อยากแนะนำว่าเรียนกับดร.จีระ พยายามนึกถึงสิ่งเป็นจริงของชีวิตในการทำงาน ในเรื่องอนาคตที่ต้องเปลี่ยน เพราะมีสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องเอาความคิดของคนอื่นมาใช้ แต่ให้ประมวลโดยใส่มุมมองของเราเข้าไป

• สิ่งที่สอนช่วยในเรื่องการพัฒนาตัวเอง อย่างเรื่องทุนในด้านต่าง ๆ ให้วิเคราะห์ให้ดีเพราะมีประโยชน์มาก

ดร.จีระ ต่อ

• แต่ละคนมี Value Added, Value Creation, Value Diversity ได้อย่างไร

• ตัวอย่างบทความภาษาอังกฤษที่ให้ไป เราทำอย่างไรถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นการสร้าง Relationship ที่ดี เกิดความเป็นเจ้าของ

• หลักการที่อยากฝากไว้ตอนบ่ายวันอาทิตย์คืออยากให้มุ่งมั่นว่าแต่ละวันที่ไม่ได้เจออาจารย์จีระ ใช้เวลาช่วงไหนที่จะมุ่งมั่น Concentrate แล้วมีสมาธิ

• ต้องศึกษาว่าอาจารย์จีระ ทำอะไรบ้าง ให้แต่ละคนมองอะไรให้กว้างแล้วลงลึกทีหลัง อย่าลงลึกก่อนแล้วไปกว้าง ถ้ามุ่งมั่นในห้องเรียนแล้วองค์กรก็จะประสบความสำเร็จ กระตุ้นให้เกิดการจุดประกาย

• หันดูตัวเราเองว่าช่องว่างอยู่ที่ไหน 8K’s 5K’s อ่อนอะไรก็เติมตรงนั้น แล้วอ่านทฤษฎีทุนมนุษย์คนอื่นด้วย

• ต้องมี Global Perspective อย่างตัวอย่าง Situation Leadership

• หลังจากเรียนจบแล้วต้องมีเครื่องมือช่วยให้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

• Progress of Science ทฤษฎีเมืองนอกมีแต่สะสมเพิ่มเติม

• Ph.D คือมุมมองที่ต้องใช้เรื่องความรู้ ความสามารถ ถ้าชินกับแนวคิดที่ดี ๆ ก็เก็บไว้ อย่าทำตัวแบบเขียนไว้ ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับวัฒนธรรมองค์กร ดูแลแบบ Accommodate

หลังจากฟังเทป Robert Trucker

ถาม...ถ้าเราจะทำวิทยานิพนธ์ที่คุณ Robert Trucker เขียนหนังสือเล่มนี้ เขาใช้ Methodology อย่างไร

ตอบ...

• เริ่มจากวิเคราะห์องค์กรของเราเป็นอย่างไร หารูปแบบ แล้วนำรูปแบบมาใช้

เน้นการทำ Expert Opinion Survey เนื่องจากจะช่วยให้เขียนได้เชิงลึกมากกว่า

• สิ่งที่ Robert Trucker คิดนั้นมีทุนทางจริยธรรมด้วยคือสินค้าที่ผลิตต้องตรงกับความต้องการของผู้บริโภคด้วย คือ จริยธรรม สังคม มีส่วนตรงกับในทฤษฎี 8K’s อาจารย์จีระ

ดร.จีระเสริมว่า…

• การทำวิจัยต้องมุ่งมั่น ทำงานเป็นทีม มีอารมณ์ในการเขียน ถ้าบริหารวิจัย ต้องบริหารทีมเวอร์กให้ดี

• ใช้ลักษณะการค้นหาความจริง มีความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ ความคิดใหม่ ๆ สิ่งที่ CEO ต้องมีคือมีความคิดไม่เหมือนคนอื่น แต่ละคนพยายามทำนู้น ทำนี่ ถ้าเป็นราชการทำซื่อบื้อเพราะอาจไม่ได้ผลประโยชน์ ดังนั้นถ้าจะทำวิจัยต้องทำให้ลึกซึ้ง

• หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเน้นนวัตกรรมแล้วเอาทุนมนุษย์ไปจับ แล้ว Creativity จะเกิดได้อย่างไร ? ถ้าระบบการศึกษายังเป็นแบบนี้อยู่ ต้องคิดนอกกรอบ และศึกษาให้เรียบร้อย

• สิ่งที่จะให้เรียนมากขึ้นคือเรื่องภาวะผู้นำ ในทรัพยากรมนุษย์ไม่ต้องมีทรัพยากรเฉย ๆ หลายคนต้องมีบทบาทผู้นำด้วย ต้องสร้างแรงบันดาลใจ

สิ่งที่ฝากไว้....

1. การบ้านส่ง Blogวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554

1. ให้ทุกคนอ่านบทความมา 1 เรื่อง (เรื่องใดก็ได้ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์แล้ว ดร.จีระไม่เคยเห็น)ลองสรุปสิ่งที่อ่าน แล้ววิเคราะห์ให้เกี่ยวข้องกับการเรียน 2 อาทิตย์ที่สอนไป

2. สรุปบทความ How to Cultivate Engaged Employees ที่ให้ไปส่งทาง Blog

2. ทำรายงาน เป็น Case Study ส่งก่อน Final

ให้จับคู่ 2 คนในห้อง คัดเลือกทุนที่อยู่ในทฤษฎี 8K’s มา 2 ทุน วิเคราะห์ พร้อมยกตัวอย่าง Case Study ที่แสดงถึงทุนทั้ง 2 ทุนนั้นประกอบ

3. อ่านบทความ สภาพัฒน์ฯ กับแผนพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการศึกษาแห่งชาติเพื่อผู้นำท้องถิ่น อยู่ใน Blog : chiraacademy หัวข้อ สัมมนาวิชาการเรื่อง “ทุนมนุษย์กับความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก” ม.นเรศวร

ตาม link นี้...http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/443052

นางจงดี พฤกษารักษ์

เรียน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ดิฉัน นางจงดี พฤกษารักษ์ รหัส 53484931011 นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต ดิฉันได้รับการสอนของท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 จำนวน 6 ชั่วโมง ดิฉันได้ข้อคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์ (Human Capital) ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั้นดิฉันคิดว่า การดำเนินเกี่ยวกับองค์กรในวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตที่ดิฉันทำงานอยู่นั้นโดยใช้ทฤษฎี 2 R’s ได้แก่ R ที่ 1 คือ Reality ความรู้จากความจริงโดยการศึกษาดูงานใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อทิเช่น คุณครูสอนเรื่องหุ้น คุณครูก็นำนักศึกษาทัศนะศึกษาดูงานตลาดหลักทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต โดยให้ผู้เชียวชาญในตลาดหลักทรัพย์บรรยาย ซักถาม ส่วนที่ R ที่ 2 คือ Relvance โดยตรงความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการทราบเกี่ยวกับ การซื้อขายหุ้นและทิศทางของหุ้น ซึ่งดิฉันได้นำมาใช้กับนักศึกษาของดิฉันระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) สายพาณิชยกรรม พร้อมทั้งให้นักศึกษาได้รับ Value ทุนแห่งความยั่งยืนเกี่ยวกับวัฒนธรรมของภูเก็ตจากประสบการณ์ตรงในตลาดหลักทรัพย์ KT

ของภูเก็ต

ท้ายสุดนี้ดิฉันได้รับทุนแห่งความสุข (Happincss Capital) จากท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประเด็นเกี่ยวกับ

เรียนรู้จากงานและคุณค่าตลอดเวลา (Learning)

ดิฉันได้ข้อคิด "คนสำเร็จมองปัญญาเป็นโอกาส คนล้มเหลวมองโอกาส เป็นปัญหา"

ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆ

ด้วยความเคารพ

นางจงดี พฤกษารักษ์

นักศึกษาปริญญาเอก (ศูนย์ภูเก็ต)

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

คำว่า วัด ในศาสนาพุทธของไทยเรา นับเป็นสถานที่สำคัญอย่างยิ่งที่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน นั่นก็คือการทำบุญ ซึ้งในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจและกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงคนในยุคปัจจุบันมักจะห่างเหินจากวัด ทั้งที่ในวัดยังมีต้นทุนทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่า คือ ,มีอริยะสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมทั้งมีหลักคำสั่งสอนเผยแพร่สู่บุคคลภายนอกวัด ที่เป็นผลที่เกิดมาจากภายในวัด รวมทั้งเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากคนที่มีวัยที่แตกต่างกัน แม้ว่าอริยะสงฆ์ทิ่อยู่ในวัด ท่านได้ละสังขารไปนานแล้วก็ตาม แต่ขุมทรัพย์ของทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวก็ยังคงอยู่ตลอดไป อาทิเช่น อริยะสงฆ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ตรงกับวันพุธขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย นับว่าเป็นอริยะสงฆ์ ที่ทรงคุณค่า โดยเฉพาะมีหลักคำสอนที่สามารถเชื่อมโยงและเป็นเครือข่ายที่ให้ศิษยานุศิษย์ได้ถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาตาม ทฤษฎี 8k’s , 5k’s , 4l’s ดังต่อไปนี้ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เล่าเอาไว้ว่าในการปฏิบัติธรรมของท่าน ท่านได้วางตัวเป็นปกติโดยปราศจากความเห่อเหิมแต่ประการใด แต่จะพยายามคิดและพิจารณาไตร่ตรองเทียบเคียงข้อวัตรในการปฏิบัติของท่าน กับคำสั่งสอนจากครูอาจารย์ที่ได้รับมา โดยมีความระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดถ้ามีก็ต้องน้อยที่สุด หากมีความเสื่อมถอยลงก็ต้องใช้ความเพียรพยายามให้มีมากขึ้นมากกว่าเดิม พร้อมทั้งจะต้องมีสติ รักษาจิตไม่ให้พลั้งเผลอไปกับสิ่งที่พบเห็น อีกทั้งเมื่อครั้งหลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ขาว และพระอาจารย์มั่น ได้มีการสนทนาธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดความรื่นรมในธรรมร่วมกัน โดยการสนทนาธรรมกัณฑ์ใหญ่ก่อน ที่พระอาจารย์มั่น ได้ปะทะกับศิษย์เอกทั้งคู่นั่นหมายถึง หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และหลวงปู่ขาว ด้วยเทศนากัณฑ์ใหญ่ โดยเริ่มว่า กลัวแต่คนอื่นจะเห็นตับไตไส้พุงและจิตใจของตัวเอง ว่ามันมีอะไรอยู่ภายในนั้น มัวเพลินดู เพลินฝัน เพลินคิด แต่เรื่องคนอื่น กลัวเขาจะมาเห็นตับไตไส้พุงของเรา คิดส่งออกไปภายนอกไม่สนใจคิดเข้ามาภายใน นักปฏิบัติเรา ไม่สนใจดูกาย ดูใจของตัวเราเอง จะหาความฉลาดรอบรู้มาจากไหน หลวงปู่ชอบ ฐานสโม สบตาหลวงปู่ขาว แล้วนิ่งอยู่ด้วยความสำรวม

ส่วนในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างประโยชน์สุขให้กับสังคม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม บางครั้งท่านได้เดินทางออกไปจากสภาพที่เป็นเมืองเพื่อออกมาให้ชาวบ้านได้มีโอกาสทำบุญ และท่านก็ได้ทำประโยชน์แก่หมู่พวกพระกรรมฐานรุ่นต่อๆ ไป ด้วยการหาที่สงัดวิเวกสำหรับพักภาวนา ในทีที่มีความเจริญได้มายืนและในส่วนที่ถูกรุกไล่ป่าให้กลายเป็นเมืองมากยิ่งขึ้น ต้นไม้ที่ให้ร่มเงาความร่มเย็นก็ถูกมนุษย์ทำลาย ภูเขาก็ถูกทำลายจนกลายเป็นทุ่งหญ้า ดังนั้นท่านจึงได้สร้างบริเวณดังกล่าวให้เป็นวัดป่า จนสามารถที่จะคงสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์เอาไว้ได้ สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ก็ได้มาอาศัยในป่าแห่งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับบ้านเมืองและประเทศชาติของเรา ส่วนในเรื่องการดำรงชีวิตของท่าน มีวิธีการเรียนรู้และการสร้างบรรยากาศที่เรียบง่าย มาง่าย ไปง่าย รวมทั้งการเลือกคบเพื่อนที่มีนิสัยที่มีใจเด็ดเดี่ยว อดทนต่อความยากลำบาก ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น อุปนิสัยดังกล่าวนี้จะเหมือนท่านทุกประการ นอกจากนี้ท่านยังปฏิบัติตามคำสั่งสอนที่ครูอาจารย์ให้ความรู้ หลังจากนั้นก็นำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ของท่านอีกทอดหนึ่งในความที่ว่า การทำจริง ย่อมได้รับผลจริงอย่างไม่ต้องสงสัย สำคัญแต่ว่าทุกคนจะยอม ทำจริง หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าสลบไปกี่ครั้ง? ท่านพระอาจารย์มั่นสลบไปกี่ครั้ง? ประวัติครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ที่ภาวนาสละความตาย ซวนซบสลบไปแต่ละองค์ องค์ละกี่ครั้ง? ผู้ที่มารู้จัก มากราบไหว้ในภายหลังก็เห็นแต่ตอนที่ท่าน ผ่าน แดนตายมาแล้วเท่านั้น

สรุปได้ว่าการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรวมทั้งคำสั่งสอนของท่านหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่เป็นอริยะสงฆ์ของชาวจังหวัดเลยมีความสอดคล้องกับทฤษฎี 8k’s , 5k’s ,4l’s ของท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จนสามารถทำให้เกิดการเชื่อมโยงขึ้นได้อย่างลงตัว แม้จะเป็นทางโลกและทางธรรมซึ่งนับว่าไม่มีพรมแดนที่ขวางกั้นได้ สิ่งที่ท่านเคยปฏิบัติมาในอดีตหรือที่เป็นคำสั่งสอน ยังเป็นเรื่องที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ในโลกยุคปัจจุบัน โดยทำให้เกิดมุมมองอย่างสร้างสรรค์ มองให้ไกล และก็ต้องไปให้ถึง มองภาพใหญ่ไปหาภาพเล็ก พร้อมทั้งมีการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากที่จะเกิดความยั่งยืนในเรื่องดังกล่าวนี้

เอกสารอ้างอิง

สุรีพันธ์ มณีวัต . ชีวประวัติพระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม. ( ฉบับปรับปรุง 2535 ) . หน้า 84 - 129 . คณะศิษยานุศิษย์ จัดพิมพ์ถวายเป็นมหาเถรบูชาพระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม สำหรับแจกเป็นธรรมวิทยาทานแก่สานุศิษย์และผู้ศรัทธา.

เข้าถึงได้จาก : http:// www.go toknow.org/blogl chaiadd/416471 ( วันที่ค้นข้อมูล : 11 กันยายน 2554 )

เสนอ ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จัดทำโดย นางกรนิภา ไตรฟื้น วิชาการจัดการทุนมนุษย์ ( PHD 8202) นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์จังหวัดเลย

บทความภาษาอังกฤษเพื่อทำการบ้าน

 

พิมพ์บุญ พันสวัสดิวง

นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง นักศึกษา ปริญญาเอก มหาวิทยาราชภัฎสวนสุนันทา รุ่นที่ 5

สาขานวัติกรรมการบริหารภาครัฐและท้องถิ่น ศูนย์ จังหวัดเลย

บทความ

เรื่อง ประเพณีแห่ผีตาโขนกับความสัมพันธ์ ทุนมนุษย์ (Human Capital)

งานประเพณีแห่ผีตาโขน นั้นเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า “งานบุญหลวง” หรือ “บุญผะเหวด” ซึ่งตรงกับเดือน 7 จัดขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งชาวบ้านจะจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุเจดีย์ศรีสองรัก ปูชนียสถาน สำคัญของชาวอำเภอด่านซ้าย

ประเพณีแห่ผีตาโขน

ต้นกำเนิดผีตาโขน

การละเล่นประเพณีผีตาโขนนั้นมีที่มาไม่ชัดเจนเท่าใดนัก กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของ อาณาจักรล้านช้าง หลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

ชนิดของผีตาโขน

ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิด คือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก

ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี

ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน

การแต่งกายผีตาโขน

ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกายของผีตาโขน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วย

ส่วนหัวหรือที่เรียกว่าหน้ากากนั้น ทำด้วย "หวด" หรือภาชนะที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว ซึ่งเป็นส่วนด้านบนดูคล้ายหมวก ส่วนหน้านั้นทำจากโคนก้านมะพร้าว นำมาตัดปาดให้เป็นรูปหน้ากากและเจาะช่องตา จมูกนั้นทำจากไม้เนื้ออ่อน แกะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โดยทำเป็นลักษณะยาวแหลมคล้ายงวงช้าง ส่วนเขานั้นทำจากปลีมะพร้าวแห้ง โดยนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาเย็บติดเข้าไว้ด้วยกัน และทาสีสันวาดลวดลายไปบนด้านหน้าของหน้ากากนั้น ๆ หลังจากนั้นจะเย็บเศษผ้าติดไว้บริเวณด้านบน(หลัง) เพื่อให้คลุมส่วนคอของผู้ใส่ไปจนถึงไหล่

ด้านเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย นั้น เป็นชุดที่ทำจากเศษผ้านำมาเย็บติดกัน และมี "หมากกะแหล่ง" หรือกระดิ่ง (คล้ายกับที่แขวนคอโค, กระบือ) แขวนผูกไว้บริเวณเอว เพื่อให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะเวลาเดิน และส่ายสะโพก

ส่วนประกอบสุดท้าย คือ ดาบหรือง้าว ที่จะทำจากไม้เนื้ออ่อน ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน

การละเล่นผีตาโขน

เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวม ๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งถือว่าเป็นทุนมนุษย์ที่สอดสอดคล้องกับ ทฤษฎี 4L's , 8K's, 5k's ของอาจารย์จีระ หงส์ระดารมย์ เพราะประเพณีผีตาโขนถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นเชื่อมโยงความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านชุมชน สร้างความไว้เนื้อใจกันของคนในชุมชน และในปัจจุบันสามารถนำประเพณีผีตาโขนมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นทุนทางเศรษฐกิจส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดเลย สามารถสร้างกระแสวัฒนาธรรมให้เกิดขึ้นในจังหวัดเลย และใช้ทุนทาง เทคโนโลยีในการประชาสัมพันธ์ให้ประเพณีผีตาโขนดังไปทั่วโลก จนสร้างป็นกระแสวัฒนธรรมของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และยังเชื่อมโยงกับ ทฤษฎีของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสร้างความยั่งยืนในชุมชน เกิดความสามัคคีในชุมชน ทำงานเป็นทีม (Teem work) เพราะการละเล่นในแต่ละปีชาวอำเภอด่านซ้ายจะรวมตัวกันทุกครอบครัวมาร่วมการละเล่น และการทำหัวผีตาโขนจะต้องเป็นคนที่มีความรู้( knowledge ) และมี ทักษะ (Skill ) สามารถนำของเหลือใช้มาใช้เป็นหัวผีตาโขน และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนที่จะถ่ายความรู้นี้ให้แก่คนรุ่นต่อไปซึ่งถือเป็นทุนทางวัฒนธรรม (Culture Capital) และเมื่อใกล้ถึงฤดูกาลประชาชนในชุมชนก็จะเฝ้ารอและเตรียมตัวที่จะเข้าร่วมประเพณีแสดงถึงทุนทางความสุข (Happyness Capital) ที่มีอยู่ในตัวตนของชาวบ้าน ในสังคมไทยไม่ว่าภูมิภาคไหนมีทุนตาม ทฤษฎี 8K , 5K , 4L เศรษฐกิจพอเพียง

ทุกอยู่ในสังคมไทย ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องช่วยกันทำให้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่แสดงศักยภาพของตัวตนออกมาอย่างเต็มที่ เต็มศักยภาพ และเต็มกำลัง จึงทำให้ประเทศชาติของเราก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์

________________________________________

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

เอกสาร “งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน” โดยศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดเลย, เอกสาร "บทสรุป ผีตาขน" โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย

หนังสือ "พระธาตุศรีสองรัก" โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย, พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย จ.เลย อ้างใน

ประเภทของหน้า: วัฒนธรรม และประเพณีไทย

นางจงดี พฤกษารักษ์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์

ดิฉัน นางจงดี พฤกษารักษ์ เลขรหัส (53484931011)

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) หลักสูตร ปริญญานวัตกรรม

เรื่อง การอ่านบทความ "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) คืออะไร" คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากคำว่า CAI (Computer Assisted Instruction) หมายถึงวิถีทางของการสอนรายบคคลโดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่แตกต่างกันด้วย บทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นเครื่องมือช่วยส่วนอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนจะตอบคำถาม ทางแป้นพิมพ์แสดงออกมาทางจอภาพ มีทั้งรูปภาพและตัวหนังสือหรือบางทีอาจใช้ร่วมกันกับ อุปกรณ์อย่างอื่นด้วยเช่น สไลด์ เทปวีดีทัศน์ เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นตอน ดังนี้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน จะเริ่มตั้งแต่การทักทายผู้เรียน บอกวิธีการเรียน และบอกจุดประสงค์ของการเรียน

เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้ทราบว่า เมื่อจบบทเรียนนี้แล้วเขาจะสามารถทำอะไรได้บาง คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถเสนอวิธีการในแบบที่น่าสนใจได้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหว เสียงหรือผสมผสานหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน ให้มุ่งความสนใจเข้าสู่บทเรียนบางโปรแกรมอาจจะมีแบบทดสอบวัดความพร้อมของผู้เรียนก่อน หรือมีรายการ เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจ และผู้เรียนสามารถจัดลำดับรายการเรียนก่อนหลังได้ด้วยตนเอง

ขั้นการเสนอเนื้อหา เมื่อผู้เรียนเลือกเรียนในเรื่องใดแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเสนอเนื้อหาออกมาเป็นกรอบๆ ในรูปแบบที่เป็น ตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพกราฟิก และภาพเคลื่อนไหว เพื่อเร้าความสนใจในการเรียน และสร้างความสนใจในความคิดรวบยอดต่างๆ แต่ละกรอบ หรือเสนอเนื้อหาเรียงลำดับไปทีละอย่างทีละประเด็น โดยเริ่มจากง่ายไปหายาก ผู้เรียนจะควบคุมความเร็วในการเรียนด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้ได้เรียนรู้มากที่สุด ตามความสามารถ แลมีการชี้แนะหรือการจัดเนื้อหาสำหรับการช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

ขั้นคำถามและคำตอบ หลังจากเสนอเนื้อหาของบทเรียนไปแล้ว เพื่อที่จะวัดผู้เรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาแล้วเพียงใดก็จะมีการทบทวนโดยการให้ทำแบบฝึกหัด และช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ เช่น ให้ทำแบบฝึกหัดชนิดคำถาม แบบเลือกตอบ แบบถูกผิด แบบจับคู่ และแบบเติมคำ เป็นต้น

นวัตกรรมและเทคโนโลยีรสนเทศทางการศึกษา - นวัตกรรมการศึกษาล่าสุด

คอมผิวเตอร์ช่วยสอนสามารถสอนแบบฝึกหัดแก่ผู้เรียนได้น่าสนใจมากกว่าแบบทดสอบธรรมดา และผู้เรียนตอบคำถามผ่านทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถจับเวลาในการตอบคำถามของผู้เรียนได้ด้วย ถ้าผู้เรียนไม่สามารถตอบคำถามได้ในเวลาที่กำหนดไว้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเสนอความช่วยเหลือให้

ขั้นการตอบคำถาม เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับคำตอบจากผู้เรียนแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะตรวจคำตอบและแจ้งผลให้ผู้เรียนได้ทราบ การแจ้งอาจแจ้งเป็นแบบข้อความ กราฟิกหรือเสีนง ถ้าผู้เรียนตอบถูกก็จะได้รับการเสริมแรง (Reinforcement) เช่น การให้คำชมเชย เสียงเพลง หรือให้ภาพกราฟิกสวยๆและถ้าผู้เรียนตอบผิด คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะบอกใบ้ให้หรือให้การซ่อมเสริมเนื้อหาแล้วให้คำถาม

นั้นใหม่เมื่อตอบได้ถูกต้องจึงก้าวไปสู่หัวเรื่องใหม่ต่อไป ซึ่งจะหมุนเวียนเป็นวงจรอยู่จนกว่าจะหมดบทเรียนในหน่วยนั้น ๆ

ขั้นของการปิดบทเรียน เมื่อผู้เรียนเรียนจบเรียนแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะทำการประเมินผลของผู้เรียนโดยการทำแบบทดสอบ ซึ่งจุดเด่นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ สามารถสุ่มข้อสอบออกมาจากคลังข้อสอบที่ได้สร้างเก็บไว้และเสนอให้ผู้เรียนแต่ละคนโดยที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถจดจำคำตอบจากการทำในครั้งแรกๆ นั้นได้หรือแบบไปรู้คำตอบนั้นมาก่อนเอามาใช้ประโยชน์ เมื่อทำแบบทดสอบนั้นเสร็จแล้ว ผู้เรียนจะได้รับทราบคะแนนการทำแบบทดสอบของตนเองว่าผ่านตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่แรกและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะบอกเวลาที่ใช้ในการเรียนในหน่วยนั้นๆ ได้ด้วยเป็นต้น

จากบทความ: ชื่อ ส่งผลให้การเรียนการศึกษาของเด็กไทยนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ของคุณสุนิสา พิมพานัส

เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) ได้อ่านบทความของ

คุณสุนิสา พิมพานัส เรื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) คืออะไร ดิฉันในฐานะเป็นครูผู้สอนในวิทยาลัยภูเก็ตเทคโนโลยี ดิฉันคิดว่าการใช้ CAI พบผลลัพธ์ต้องการและไม่ต้องการ ในประเด็นต้องการนักศึกษาไม่เสียเวลาในการจดบันทึก ไม่ต้องการ นักศึกษาขาดทักษะในการเขียนบทความและประเด็นต่างๆ ดิฉันคิดว่าการนำ CAI เข้ามาในการสอนของครูอาจารย์ทำให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง ( organizational Change & Innovation ) ดังคำพูดของคอลัมนิสต์ Carol Hymowitz กล่าวว่า "การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงจะต้องทำด้วยความใสใจจริงๆ" หรือ Mc Guinn กล่าวว่า ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำด้วยความพยายามแล้ว แต่กลับมีบางสิ่งทำไม่ได้ ก็ต้องยอมรับโดยมองหาโอกาสใหม่ที่แตกต่างจากประเพณีดั่งเดิม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 8 K ' S ได้แก่ Human Capital และ Digital Capital รวมทั้ง Intellectual Capital ประเด่นที่ค้นพบในบทความ CAI นวัตกรรมที่หามานั้นสามารถใช้ได้ ในระบบการศึกษาของไทย เนื่องจากการเรียนการสอนแบบ CAI นั้นมีลักษณะ ได้แก่

การจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพราะการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง คนที่เรียนอ่อนก็ศึกษาเนื้อหาไปแบบช้าๆ แต่ถ้านักเรียนที่มีความสามารถก็สามารถเรียนโดยใช้ระยะเวลาเพียงน้อยนิด และถ้าผู้เรียนคนใดต้องการศึกษาเนื้อหาตามที่ตัวเองสนใจก็สานมาถเลือกเรียนได้ โดยไม่ต้องพึ่งครูผู้สอนหรือเพื่อน ต้องการเรียนเนื้อหาใด เมื่อใดก็สามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจ (Anywhere Anytime Learning)

ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต โดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้เข้ามาช่วยในส่วนของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องมีความหลากหลาย ครอบคลุมช่องทางรับรู้ของลุคคล เพราะสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมา มักจะเป็นสื่อมัลติมีเดีย ที่มีทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว แล้วแต่ลัษณะการออกแบบ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนและการเรียนรู้นั้นก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพ

ซึ่งส่งผลให้การเรียนการศึกษาของเด็กไทยนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดิฉันคิดว่า การใช้ CAI นั้น

สอดคล้องกับทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ทางด้านตัวครูผู้สอนเรื่องเวลา ได้แก่ เวลาที่ครูต้องมานั่งเขียนหรือยืนเขียนหน้ากระดาน ได้ใช้เวลาในด้านศักยภาพของครูผู้สอนเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ ซึ่งมีประเด็นให้คิดว่าการเปลี่ยนแปลง (Innovation) สอดคล้องกับ Peter Drurckcr นักทฤษฎีการจัดการกล่าวว่าการเลี่ยนแปลงมี 2 ประเด็นให้เกิดในด้าน

1.) การเปลี่ยนแปลงทันที (Reactive Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงก่อนที่เกิดความเสียหายที่สอดคล้องปัญหาที่เกิดขึ้นคือการ

สอบแบบจดหน้ากระดาษ เปลี่ยนแปลงเป็นการสอน CAI ดีกว่าเนื่องจากเพิ่มสีสันบรรยากาศในการสอน ซึ่งตรงกันข้ามแบบเก่าคือบรรยากาศในการสอนขาดสีสัน ส่วนประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงโดยการวางแผนล่วงหน้า (Proactive Change) เป็นการเปลี่ยแปลงเริ่มจากการประเมินความเป็นไปได้ในปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้าอย่างรัมัดระวังและรอบคอบโดยการสอนแบบค้นหาจากแบบเรียนหรือหนังสือพิมพ์แบบเก่า เปลี่ยนแปลง (Innovation) เป็นการสอน CAI โดยมี Power Point สร้างสิ่งที่น่าสนใจในบทเรียนมากกว่าเดิมในการกรณีเห็นภาพไม่เคลื่อนไหว แต่ CAI เห็นภาพเคลื่อนไหวซึ่งสอดคล้องกับท่านอาจารย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านกล่าวว่าต้องดี Happiness Capital ในด้านศักยภาพในการถ่ายทอดงาน Communkatc Effectively และเกิด Keep Focus มุ่งมั่นในงานการสอน โดยทำให้ดิฉันได้รับแรงดลบันดาลจากท่านอาจารย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ "ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ" (Reduce He ' s ho uk ds) จากบทความนี้รายละเอียดบางเรื่องไม่ได้ชี้แจงให้ทราบ อทิเช่น ขั้นตอนในการดำเนิน หรือกระบวนการ ซึ่งเหมาะสำหรับคุณครูที่มีความรู้ทางด้าน Computer พื้นฐาน นอกจากนั้นจุดเด่น ของการสอน CAI สอดคล้องกับการสอนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 4 L's ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) ได้แก่ Learning Methodology วิธีการเรียนรู้โดยสือจากความข้างต้นและ Learning Environment สร้างบรรยากาศการเรียนแบบมีสีสันจากการสอน CAI ; Learning Opportunities สร้างโอกาสการเรียนรวมทั้ง Learning Communities เกิดห้องเสมือนชุมชนแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้และการสอน CAI ดิฉันคิดว่า ในฐานะเป็นครูผู้สอนในแง่บวกมากกว่าในแง่ลบ ถ้าคุณคิดว่าคุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะมันมีส่วนต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรงถ้าการศึกษาเป็นจุดอ่อนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ทันอาเซียนเสรี

การสอน CAI (Computcr Assisted Instruction) เมื่อเรียนจบบทเรียน นักศึกษา สามารถจัดลำดับรายการเรียนก่อนหลังได้ด้วนตนเอง แต่ การสอน CAI ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Technological Advancements การจัดเก็บข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา (ผู้เรียน) ทำให้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ด้วยเครื่องมือแบบเก่าต้องเปลี่ยนแปลงไป นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ซึ่งเป็นนวัตกรรมการศึกษาล่าสุด ซึ่งดิฉันได้ศึกษา พบว่า มีลักษณะเปลี่ยนแปลงคน (Changing People) กับผู้เรียนพอสังเขปได้ดังนี้

1.) การรับรู้ (Perceptions)

2.) ทัศนคติ (Attitudes)

3.) ผลการปฏิบัติงาน (Performances) และ

4.) ทักษะ (skills)

ส่งผลในระบบองค์กรสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต เมื่อดิฉันได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์ (Changing Strategy) ไปสู่กลยุทธ์ทาง internet อุปสรรคระดับสูงในสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต (Very Threatening) โดยการปฏิบัติการสอน CAI สิ่งใหม่ๆ มีความซับซ้อนมาก ค่าใช้จ่ายสูงและมีความไม่แน่นอนซึ่งต้องใช้ขีดความสามารถสูงสุดเพื่อสร้างความเชื่อมั่น กำหนดหลักประกันและเงื่อนไขต่างๆในการจัดการ การสอน CAI ผ่าน Internet สอดคล้องกับ Johnkottcr ต้องการสร้างสำนึกของการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนให้เห็นถึงสาเหตุและผล ; สร้างความร่วมมือร่วมใจกันด้วยอำนาจหน้าที่เพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสื่อสารวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลง ดิฉันคิดว่าสอดคล้องทฤษฎีทุนใหม่ 5 k ' s จากการสอนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาวิวัฒน์ได้แก่ Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ , ทุนทางความรู้ Knowledge Capital และ Innovation Capital ทุนทางความรู้รวมทั้ง Emotional Capital นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได Cultural Capital ทุนวัฒนธรรม ในฐานะจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดซึ่งมีวัฒนธรรมแหล่งเรียนรู้หลากหลายและสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตมีทุนวัฒนธรรม ในการเรียนรู้สู่การเปลี่ยแปลง ท้ายสุดนี่ดิฉันได้เสนอบทความคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีทั้งในด้านดีและไม่ดีนั้นตรงกับข้อคิด มุ่งสร้างให้เป็นคนดี ดีกว่าสร้างให้คนเก่ง ซึ่งการสอน CAI ส่งผลให้การศึกษาของเด็กไทยนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต้อนรับอาเซียนเสรี

ดิฉันนางจงดี พฤกษารักษ์ นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต) รหัส 53484931011 จากบทความที่นำเสนออาจารย์สอนให้เกิด

(H) Happiness Capital

(R) Reduce He ' shoukds ;

(D) Digital Capital ; Reality and Relevance

ขอบคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นางสาวพรรณวดี ขำจริง นักศึกษาศูนย์ภูเก็ต

บทความเรื่อง การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อไปสู่ความสำเร็จ ของคุณวัฒนา สุนทรธัย

อ้างอิงจาก http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=157

บทความนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเรื่องการเรียน การทำงาน และการพัฒนาชีวิต หากอ่านแล้วไม่นำไปปฏิบัติ ก็ไม่อาจทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงได้ ต้องลงมือปฏิบัติอย่างยืนหยัด ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอเท่านั้น จึงจะสามารถสร้างนิสัยแห่งความสำเร็จ และช่วยให้ผู้ปฏิบัติประสบความสำเร็จในชีวิตได้ และทุกอย่างจะต้องเริ่มจากตัวของเรา "เราจะเป็นอย่างที่เราคิด" เป็นการปลุกตัวของเราให้เราตื่นตัวพร้อมที่จะรับสถานการณ์ต่างๆ ดั้งนั้นการสร้างแรงบันดาลใจกับตัวของเราเอง เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามที่คาดหวังนั้น เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาบุคลากรเสียใหม่จากการ “พัฒนาหรือฝึกอบรม” ไปสู่ “การบริหารทุนปัญญา” การบริหารทุนปัญญาหมายถึงการมองคนเป็นทุนหรือสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง แต่ทุนประเภทนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตัวมันเองได้ เป็นทุนที่มองไม่เห็น แต่สามารถวัดได้จากระดับความสามารถที่แสดงออกและผลงานที่เกิดขึ้น สิ่งที่เราเรียนว่าแรงบันดาลใจนี้จะช่วยกระตุ้นให้คนเราแสดทุนปัญญานี้ออกมาก

บทความทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข

เรื่อง “การสร้างความสุขในการทางาน”

อนันต์ สุดขำ หน่วยนครราชสีมา

หากนับว่าการใช้เวลากับครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดแล้วนั้น การใช้เวลาในการทางานก็คงจะเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน นั่นเป็นเพราะว่า เราต้องใช้เวลาอยู่ในที่ทางานไม่ต่ำกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องเจอกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากบุคคล เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งจากตัวเราเอง

พระสุรศักดิ์ สุรญาโณ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ท่านได้ให้ข้อคิดในการทำงานให้สนุกและมีความสุขในการทำงานไว้ว่า การทำงานให้มีความสุขเราต้องทำงานด้วยความเต็มใจและมีความภูมิใจในงานที่ทำ โดยใช้หลักธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เรื่อง อิทธิบาท 4 ที่ว่าด้วย

1) ฉันทะ คือความพอใจในงานที่ทำ

2) วิริยะคือ ความเพียรพยายาม

3) จิตตะ คือการมีเวลาทำงานที่จดจ่อมีสมาธิ

4) วิมังสา คือทำแล้วต้องพิจารณาตรวจสอบใคร่ครวญให้รอบคอบ

ดร. ประพนธ์ ผาสุกยืด สถาบันส่งเสริมความรู้เพื่อสังคม ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้คนทำงานได้อย่างมีความสุข มี 4 ปัจจัย คือ

1) งาน... งานที่ทำนั้นมีความท้าทายหรือไม่ เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่หรือไม่ ทาให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกมีคุณค่าหรือไม่ เพียงใด

2) วัฒนธรรมการทำงาน... เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้ตัดสินใจ มีส่วนร่วม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือไม่ เพียงใด

3) ปัจจัยแวดล้อม... สภาพแวดล้อมในที่ทำงานส่งเสริมหรือเอื้ออานวยต่อการทำงานหรือไม่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร

4) ภาวะผู้นา.... ผู้นาส่งเสริมการทำงานหรือไม่ มีการให้ทิศทางที่ชัดเจนในการทำงานหรือไม่ สามารถสร้างขวัญกาลังใจได้ดีเพียงใด

Joanna Brandi ได้เสนอ 8 วิธี ในการส่งเสริมความสุขในที่ทำงาน

1) การมองในแง่ดี (optimism) มีงานวิจัยกล่าวว่า คนที่มองในแง่ดีมีอายุยืนยาวกว่า คนที่มองในแง่ไม่ดี ถึง 10 ปี

2) การแสดงความขอบคุณ (gratitude) การแสดงความขอบคุณต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงานและเป็นวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร

3) การให้อภัย (forgiveness) การสร้างความสงบสุข เป็นหนทางแห่งความสุข

4) พัฒนาตนเองทางการพูด (improve yourself-talk) การพูดในทางบวกช่วยลดความเครียดและทำให้สมองผ่อนคลาย มีความคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาต่างๆได้

5) ปลดปล่อย (flow) ลืมสิ่งที่ไม่ดี ปล่อยให้มันผ่านไป การลืมเป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมความสุขที่ดี

6) มีความสุขหรือเพลิดเพลินกับสิ่งที่ทำ (savor) ความเพลิดเพลินกับงานนั้นเราสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งก่อนที่เราจะลงมือทำ ขณะที่ทำ และคิดถึงมันหลังจากงานได้ลุล่วงไปแล้ว

7) มองมุมใหม่ (reframe) การมองสิ่งเดิม ในมุมใหม่ ๆ จะช่วยให้ความคิดในทางลบเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกมากขึ้น

8) การสร้างความสุขจากสิ่งที่เราทำได้ดี (building on strength) ความสุขนั้นจะเป็นความสุขที่ยั่งยืนถ้าเป็นความสุขที่เราได้ทำสิ่งที่เราทำได้ดี หาโอกาสได้ทำในสิ่งที่ตนเองทำได้ดีแล้วคุณจะไม่เบื่อและมีความสุข

เราสามารถบริหารตนเองเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขโดยปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้

1) การแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี การทำงานย่อมมีปัญหาเป็นธรรมดา อย่าแก้ปัญหาโดยการใช้อารมณ์จะทำให้เครียดมากขึ้นควรเริ่มต้นแก้ปัญหาที่สาเหตุ เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมเพราะเมื่อแก้ปัญหาได้ก็จะสบายใจหายเครียด

2) การบริหารเวลาอย่างเหมาะสม จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีเวลาเหลือสาหรับการพักผ่อนและครอบครัว ทำให้เครียดน้อยลง ควรทบทวนดูว่า ใช้เวลาแต่ละวันไปกับเรื่องใดบ้างเพื่อการจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสมทั้งการทำงาน การสังสรรค์กับครอบครัวและการพักผ่อน ลองสังเกตเพื่อนร่วมงานที่บริหารเวลาได้ดีและลองทำตาม อาจนามาช่วยในการบริหารเวลาของตนเองได้

3) การปรับเปลี่ยนความคิด ส่วนหนึ่งมาจากความคิดของคนเรานั่นเอง เพราะถ้าเรารู้จักปรับเปลี่ยนความคิดในแง่มุมใหม่จะช่วยให้เครียดน้อยลง หากรู้สึกว่าตัวเองคิดมาก หาทางออกไม่ได้ควรหยุดคิดสักพัก คิดให้ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างที่คนอื่นคิดและคิดถึงคนอื่นบ้าง

4) การพักผ่อนหย่อนใจ หลังเลิกงานแล้วควรได้พักผ่อนหย่อนใจบ้างเพื่อผ่อนคลายจิตใจ ทำให้พร้อมที่จะกลับไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ มีอยู่มากมาย ควรเลือกให้ตรงข้ามกับงานประจา เช่น งานประจานั่งโต๊ะทั้งวัน ยามว่างควรทำกิจกรรมกลางแจ้งเคลื่อนไหวร่างกาย หรืองานประจาเป็นผู้ให้บริการ ยามว่างควรให้ผู้อื่นบริการเราบ้าง

5) การรู้จักยืนยันสิทธิของตน ความเครียดอาจเกิดจากการยอมอ่อนข้อ เกรงใจผู้อื่นมากเกินไป ควรรู้จักยืนยันสิทธิของตนเองบ้างจะทำให้เป็นตัวของตัวเอง และเป็นการสร้างความเกรงใจจากผู้อื่นที่มีต่อเรา สิทธิที่ควรรักษาคือสิทธิที่จะปฏิเสธอย่างมีเหตุผล สิทธิที่จะทำงานด่วนของตนให้เสร็จก่อน สิทธิที่จะไต่ถามเพราะความไม่เข้าใจ สิทธิเปลี่ยนใจเมื่อได้ข้อมูลใหม่

6) การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว จิตใจที่เข้มแข็งจะช่วยให้เอาชนะความเครียดได้ การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจโดยสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง พัฒนาปรับปรุงตัวเอง เข้าใจชีวิตว่าไม่มีอะไรแน่นอน ไม่ยึดติดกับอดีตหรือกังวลกับอนาคตมากเกินไป อย่าลืมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวเพราะครอบครัวเป็นกาลังใจที่สำคัญในการต่อสู้กับอุปสรรคปัญหาต่างๆ

7) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน การที่ผู้ร่วมงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความร่วมมือกันในการทำงาน จะทำให้เกิดความอบอุ่น มีกาลังใจและสนุกสนานกับงานมากกว่าการทำงานโดยลาพัง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานสามารถทำได้โดยเอาใจเขามาใส่ใจเราอยู่เสมอ

8) การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม การเก็บอารมณ์ที่ไม่ดีเอาไว้และการแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมทาให้เกิดความเครียด ควรฝึกควบคุมอารมณ์ คิดก่อนทำ ทำอย่างเหมาะสม จะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง เมื่ออารมณ์ดีควรแสดงออกด้วยการยิ้ม พูดเล่นฮัมเพลง เพื่อให้คนใกล้ชิดรู้สึกดีด้วย หายใจลึกๆไตร่ตรองผลที่จะตามมาจะทาให้มีสติ มีความเครียดน้อยลง

9) การออกกาลังกาย เมื่อรู้สึกเครียดจากการทำงาน การออกกาลังกายจนเหนื่อยและเหงื่อออกจะช่วยคลายเครียดได้ หลังเลิกงานหรือในวันหยุดควรออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬากับกลุ่มเพื่อนจะรู้สึกสนุกสนานและเพลิดเพลินยิ่งขึ้น การช่วยกันทำงานบ้านในวันหยุดก็ถือว่าเป็นการออกกาลังกายที่ดีและช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว

10) การพูดอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน การกล่าวคาว่า “สวัสดี” “ขอโทษ” “ขอบคุณ” ควรเป็นประโยคที่ควรพูดติดปากจะแสดงถึงการมีมารยาทและเป็นเสน่ห์แก่ผู้พูด หมั่นพูดชมเชยไต่ถามทุกข์สุขให้กาลังใจประสานความเข้าใจเพื่อลดความขัดแย้งในการทำงาน จะช่วยตัดปัญหาลดความเครียดได้

การทำงานอย่างมีความสุขอาจจะต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ แต่ถ้าหากเราลอง ริเริ่มจากตนเอง ปรับความคิดและทัศนคติให้เป็นไปในเชิงบวกได้แล้วนั้น อย่างน้อยที่สุดเราก็สามารถสร้างกาลังใจให้แก่ตนเองเพื่อเป็นพลังในการรับมือกับปัญหาต่างๆได้ โดยไม่สำคัญว่าปัญหานั้นจะใหญ่หรือยากเพียงใด

สรุป จากบทความ เราได้รับความรู้เป็นทุน

1 Ethical capital

2 Happiness capital

3 Human capital

***ส่งการบ้าน***

Name: นายอานนท์ ทวีสิน

ID: 53484931005

University: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Major: สาขานวัตกรรมและการจัดการ

Assignment 1: สรุปเอกสารภาษาอังกฤษ

Managing yourself

How to Cultivate Engaged Employees

By Charalambos A. Vlachoutsicos

ความสำเร็จของผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ทักษะทางการตลาดของจอห์จ(George) ความสามารถในการรันตัวเลขของมาเรีย(Maria) ความรู้ทางด้านท้องถิ่นของไมเคิ้ล(Michael) ความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศของไดมิต้า(Dimitra) และหนังสือมากมายที่อยู่บนชั้น สิ่งเหล่านี้ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริหารระดับสูงจะรู้จักวิธีในการมอบอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความร่วมมือในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ผนวกกับการควบคุมที่มีประสิทธิภาพก็สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้เหมือนกัน ในปัจจุบันหลายบริษัทในอเมริกา และยุโรปตะวันตกเริ่มที่จะลดการบังคับบัญชาแบบบนลงล่างและรูปแบบของการสั่งการ ควบคุม ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้ปฏิบัติงานหลายท่านยังปิดบังปัญหาต่างๆ และไม่ให้ความร่วมมืออยู่ ถึงสมาชิกในกลุ่มจะกลมเกลี่ยวกัน แต่มันก็ไม่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่สำคัญๆก็กระจัดกระจายเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

จากประสบการณ์การทำงานหลายๆแห่งในบริษัทที่ประสบปัญหา และการทำงานในกิจการของครอบครัวกว่า 30 ปี ทำให้ผู้แต่งได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ส่งผลให้เขาได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และเอกสารชุดนี้ ได้เล่าถึง 6 ขั้นตอนในการพัฒนาสถานที่ที่ประสบปัญหาต่างๆของผู้อ่านให้ดีขึ้น จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของผู้แต่งเอง โดยแบ่งได้ ดังนี้

1. Be Modest (อ่อนน้อมถ่อมตน) ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจากบริษัทบรรจุปลากระป๋องแห่งหนึ่งที่เขาเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาในปี ค.ศ. 1990 ในขณะที่เขาร่วมประชุมกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานแห่งนี้ ทุกอย่างเป็นไปได้ดี จนกระทั้งมีผู้บริหารท่านหนึ่งเริ่มที่จะทำให้บรรกาศในที่ประชุมเสีย โดยเขาได้เล่าว่า ผู้บริหารท่านนี้ ท่านชื่อ เคอร์(Kurt) ได้กล่าวในที่ประชุมว่า เขารู้ทุกอย่าง และพวกคุณไม่รู้อะไรเลย (Given that I know everything and you know nothing) การกระทำของเขาเป็นการจุดประกายไฟด้วยไม้ขีดอันเดียวในที่ประชุม สุดท้ายก็ไม่มีใครกล้าพูดอะไร และออกจากที่ประชุมไป ผู้แต่งได้เล่าว่า หากคุณ(ผู้อ่าน) กำลังเป็นเช่นเดียวกับ เคอร์ นี้ให้รีบปรับปรุงตัวโดยด่วน และพิสูจน์ตนเอง ว่าคุณไม่ได้เป็นผู้บันทึก ผู้แก้ไขปัญหา แต่เป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีในการแลกเปลี่ยนข้อผิดพลาด และสิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเอง

2. Listen Seriously and Show it(ฟังอย่างตั้งใจและแสดงออกมา) โดยทั่วๆไปนั้น ผู้บริหารเริ่มที่จะเป็นผู้ฟังมากขึ้น แต่ลูกทีมนั้นไม่เข้าใจและเห็นมัน ผู้แต่งได้เล่าว่า ผุ้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่โรงโม้แป้งในจอเจียร์ ภายหลังถูกนักลงทุนต่างชาติชาวตะวันตกมาบริหารแทน มีผู้อำนวยการท้องถิ่นท่านหนึ่งไม่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผู้แต่งวางแผนไว้ ทั้งๆที่เขาทำออกมาเป็นอย่างดี ผู้แต่งได้เล่าถึงเหตุการณ์หนึ่ง ในตอนที่ เขานั่งข้างๆผู้บริหารที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในที่ประชุม ผู้แต่งได้บอกผู้บริหารท่านนี้ว่า เขาได้จดบันทึกในสิ่งที่สำคัญในที่ประชุม ซึ่งในขณะนั้น เขาใช้เพียงเศษกระดาษในการบันทึก ซึ่งผู้บริหารท่านนี้เห็นแล้ว ก็กล่าวออกมาว่า เขาเห็นว่าคุณบันทึกอะไร แต่คุณได้ใช้เศษกระดาษในการจดบันทึก ไม่นานคุณก็จะโยนมันทิ้งไป ในวันต่อมาผู้แต่งก็ได้นำบันทึกที่เขาเรียบเรียงออกมาเป็นอย่างดีแสดงให้เขาเห็น ทำให้ผู้บริหารท่านนี้ได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้แต่งมากขึ้น จากประสบการณ์ที่สอนผู้แต่งนั้น แสดงให้เห็นถึงการสื่อสารนั้นมีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาร่างกายหรือภาษามือ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ห้ามมองนาฬิกาขณะที่คนอื่นเขากำลังพูดอยู่

3. Invite Disagreement (เชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย) แม้ว่าหลายบริษัทกำลังเปลี่ยนแปลงเป็นการทำงานแบบแนวราบ วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และบรรทัดฐานของบริษัทที่ต่อต้านความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน หนทางเดียวที่จะต่อสู้กับความโน้มเอี่ยงนี้ ก็คือ การจัดรูปแบบการประชุม ปรึกษาหารือใหม่ ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจาก บริษัทการสื่อสารของยูเครน ที่ผู้บริหารกำลังดิ้นรนทุกหนทางในการที่จะบังคับให้ลูกน้องของเขาทำในสิ่งที่เขาต้องการ ผู้แต่งได้แนะนำให้ เริ่มจากการเปลี่ยนโต๊ะประชุม จากโต๊ะที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ออกมาเป็นโต๊ะกลม เพื่อที่จะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีความรู้สึกถึงความเป็นกันเอง ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งผลออกมาได้เป็นที่น่าพอใจ แต่แนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ไม่ได้ง่ายแบบนี้ เสมอไป บางครั้ง ก็ต้องกระตุ้นให้เขาแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นของเขาออกมา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ครั้งหนึ่งผู้แต่ง เคยถูกถามจากบริษัทจัดส่งสินค้าแห่งหนึ่งในอเมริกาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในการที่จะให้ผู้ปฎิบัติยอมบอกปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้น เปกก้า(Pekka) เป็นผู้ดูแลอยู่ เขาก็กล่าวว่า ไม่ว่าเขาจะทำอย่างไร ไม่มีใครยอมบอกปัญญาจริงๆที่เกิดขึ้น หนึ่งปัญหาในขณะนั้น คือการเสียภาษีอันแสนแพงของสำนักงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาในขณะนั้น คือการติดสินบนเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด ในที่ประชุม เปกก้า ได้ความคิดที่จะถามความเห็นจากสถานฑูตอเมริกา ในการที่จะไปประท้วง ในแต่ไม่มีใครในที่ประชุมออกความคิดเห็น ต่อมาผู้แต่งได้ไปพบกับ ไอเกอร์(Igor) ผู้จัดการท้องถิ่น เขาไม่ลังเลที่จะถามความคิดเห็น และได้คำตอบว่า พวกเขาสามารถช่วยเรื่องภาษีสำนักงาน ด้วยเงินประจำ ไอเกอร์เสนอการจ่ายเงินให้ก่อนล่วงหน้าทุกต้นเดือน เป็นจำนวนเงินที่เฉลี่ยจากภาษีที่ต้องจ่าย 6 เดิอน และช่วยจ่ายค่าธรรมเนียมทุก 3 เดือน หลังจากนั้น ผู้แต่งได้เสนอแนวคิดที่ไม่ค่อยฉลาดนี้ให้ เปกก้า เขายอมรับความคิดนี้ ในที่สุดปัญหาก็ได้รับการแก้ไข ต่อมาผู้แต่งได้อธิบายเปกก้าว่า 3 ศตวรรต ภายใต้การปกครองของคอมมิวนิส ซึ่งเปกก้าเข้าใจดีว่าหมายถึงอะไร ไม่มีใครเสนอตัวในการออกความคิดเห็น นอกจากจะถามเป็นการส่วนตัว หลังจากที่ได้ฟังแล้ว เปกก้าได้เริ่มเปลี่ยนเปลงตัวเองโดยการจูงใจเพื่อให้ได้คำแนะนำจากการถามเป็นการส่วนตัวก่อน แล้วค่อยๆกระจายออกไป ซึ่งไม่กี่เดือนต่อมาผู้ใต้บังคับชาให้ความร่วมมือมากขึ้นในการเสนอความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่ แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างจะสามารถมองเห็นปัญหาได้ดีกว่า

4. Focus the Agenda(รวบรวมความสนใจในวาระการประชุม) เส้นทางที่นำไปสู่ความล้มเลวคือความไม่ตั้งใจ บ่อยครั้งที่ผู้แต่งได้เห็นผู้บริหารมุ่งมั่นที่จะเชิญชวนความเห็นที่แตกต่างในวิธีทางที่ไม่ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประชุมที่ความคิดเห็นทุกอย่างอยู่บนโต๊ะ การใส่ปัญหาลงไปมากๆ ทำให้เวลาของผู้พูดลดลง ยิ่งถ้าเวลาจำกัด ผู้พูดต้องรีบเร่งพูดแข่งกับเวลาก็ให้เกิดปัญหาตามมา ในปี 1960 ทางเหนือของกรีส คือบริษัทของครอบครัวผู้แต่ง ที่เจริญเติปโตเร็วที่สุด พวกเขาได้เปิดสำนักงานในเมืองหลวง และนัดพบ สตาฟวอส (Stavros) คนที่มีประสบการณ์ในการขายมากที่สุดของบริษัทเป็นผู้นำ แต่ผลที่ได้ออกมาในทางกลับกัน ผลการขายหยุดชะงัก เนื่องจากในการประชุมเสวนาปัญหาต่างๆ โดยการนำของ สตาฟวอส และผู้อำนวยการอีก 8 ท่านเป็นผู้เข้าร่วมประชุม มีวาระที่มีลักษณะซับซ้อน และใช้เวลานานมาก ในที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้มีโอกาสพูด โดยแบ่งท่านละ 2 ชั่วโมง แต่ท้ายที่สุดการประชุมก็สิ้นสุดลง โดยผ่านไปได้ครึ่งเดียว ปัญหาที่สำคัญต่างๆก็ไม่ได้นำมาร่วมเสวนา เพราะไม่ได้จัดให้อยู่ในลำดับต้นๆ ผู้แต่งเลยช่วยให้การประชุมกระชับและครอบคลุม โดยการเสนอให้สรุปวาระการประชุมต่างๆในแต่ละวันมาให้ก่อน และกระชับเวลาในการเสวนาลง เพียงไม่กี่เดือนการประชุมพัฒนาขึ้น จากใช้เวลานานมาก มาเหลือไม่เกิน 30 นาที และครอบคลุม

5. Don’t Try to Have All the Answers(อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ) บางครั้งปัญหาได้ถูกแก้ไขโดยความรู้สึกของผู้บริหาร ซึ่งจะเกิดปัญหาได้ หากความรู้สึกนั้นไม่เพียงพอ ดังเช่น เหตุการณ์ของผู้แต่ง ที่กล่าวถึงกิจการครอบครัว ที่ครั้งหนึ่งเคยที่จะตัดสินใจจัดสรรพื้นที่ในโกดังสินค้า เพื่อวางผลิตภัณฑ์ใหม่ สปายรอส(Spyros) ผู้จัดการโกดังสินค้า เป็นคนที่สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่เป็นคนที่ข้อนข้างบีบบังคับคนอื่น มีอยู่วันหนึ่งเขาเสนอการจัดสรรพื้นที่โดยการเคลื่อนย้ายลังสินค้าที่มีอยู่ ให้ไปวางติดๆกัน และเขาก็รีบบอกคนอื่นๆมาช่วยกันเคลื่อนย้ายอย่างที่เขาบอก แต่ตัวผู้แต่งเองรู้สึกอึดอัดใจ เหมือนกับคนงานอื่นๆ อันที่ ถ้าการเคลื่อนย้ายลังสินค้าวางติดๆกันมากเกินไป จะทำให้รถบรรทุกสินค้าไม่สามารถจัดการกับลังสินค้าพวกนี้ได้ ทำให้ปัญหาบานปลาย ผู้แต่งเลยเสนอแนวทางการแก้ปัญหา ร่วมกับคนงาน สปายรอส และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ผลออกมาทำให้สปายรอสเสียหน้ามาก และสอนให้สปายรอสรู้จักยอมรับความผิดพลาดของตนเอง น่าเศร้าที่เขาไม่เคยสนใจ บ่อยครั้งที่ต้องหาคนมาแทนเขา การที่จะประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารต้องเป็นเพียงผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหา มากกว่าเป็นผู้แก้ไขปัญหาเสียเอง และทักษะของผู้บริหารที่สำคัญนั้น ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม และปล่อยให้ลูกทีมเสนอแนวคิดของพวกเขาเองออกมาบ้าง

6. Don’t Insist that A Decision Must Be Made(อย่ายืนกรานว่าแนวทางการตัดสินใจต้องถูกทำให้เกิดขึ้น) มีความผิดพลาดที่ล้มเหลวดีกว่าไม่มีเลย เห็นทีจะไม่จริงอีกต่อไป ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ทำงานในบริษัทของเขาเอง ในลักษณะที่เป็นคนเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น บ่อยครั้งที่มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หาบทลงเอยไม่ได้ เขานี่เองที่เป็นผู้เสนอแนวคิดเห็นนั้นๆออกมาในการแก้ปัญหา ซึ่งเขามาทราบที่หลังว่า มันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด แต่ลูกน้องของเขาเองก็ไม่กล้าจะแสดงออกอะไร โดยให้เหตุผลว่า แนวทางที่ผู้แต่งเสนอออกมานั้น มันก้าวไกลกว่าพวกเขา และในฐานะที่ผู้แต่งเป็นลูกเจ้าของ ย่อมรู้ปัญหาที่พวกเขาไม่รู้ หลังจากที่ผู้แต่งได้ทราบเหตุผลนี้ เขาก็ขอโทษ และเริ่มทำงานให้สอดคล้องกับคนอื่นๆ เมื่อลูกน้องของเขาได้ทราบถึงความตั้งใจของเขา พวกเขาก็เริ่มที่จะร่วมมืออีกครั้ง ผลออกมาความผิดพลาดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้แต่งได้แนะนำว่า ถ้าไม่สามารถหาจุดกึ่งกลางของปัญหา อย่ารีบที่จะตัดสินใจอะไรออกมา จนกว่าจะหาแนวทางได้อย่างชัดเจนร่วมกัน ถึงแม้ว่าอาจจะช้า และอาจจะมีความขัดแย้งบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสูญเสียความตั้งใจ

6 บทเรียนที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์ของผู้แต่ง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริหารสามารถที่จะเกื้อหนุนและทำลาย ความสำเร็จของงานได้ สวรรค์รู้มูลค่าที่สำคัญกระจัดกระจายไปเท่าไหร่ ก่อนที่จะทำให้ทุกอย่างลงตัว จาก 6 บทเรียน 6 แนวทาง จะช่วยให้เป็นอุทาหรณ์แก่ผู้บริหารมือใหม่ และเป็นรางวัลในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นแปลงการทำงานจากบนลงล่าง ไปสู่แนวราบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน นำไปสู่การแก้ไขปัญหา การกระตุ้น การมอบอำนาจเต็มให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็สามารถทำให้ประสบผลสำเร็จร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

Assignment 2: บทความทุนมนุษย์

หลังจากที่ได้อ่านบทความต่างๆ ตามที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบหมายไว้ ได้พบว่า ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมต่างๆ เพราะคนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องทำงานแทนเครื่องจักร ถึงเครื่องจักรจะทันสมัยแค่ไหน ก็ไม่มีความสามารถที่หลากหลายและสลับซับซ้อนได้เหมือนการทำงานของสมองมนุษย์ หรืออีกในหนึ่ง ถึงเครื่องจักรจะมีสมรรถนะ มีความแม่นยำสูง และมีความทนทานกว่ามนุษย์ แต่ไม่มีทักษะที่จะสามารถพัฒนาตนเองได้ ไม่สามารถวางแผนกลยุทธ์ คิดเชิงระบบ หรือก้าวไปสู่การคิดนอกกรอบได้ จากคำกล่าวที่ว่าคนคือศูนย์กลางของการพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือ ปัจจัยภายใน การรักษาผลกำไรของผู้ถือหุ้น การจัดบรรยากาศแบบเปิดในสถานที่ทำงาน และการสร้างวัฒนธรรมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเสียแล้ว ถ้าหากได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง เพื่อขานรับประชาคมการค้าเสรีที่กำลังจะมาถึง ในยุคโลกาภิวัตน์ที่ไร้พรมแดน

มนุษย์ถือเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วไม่สามารถวัดเป็นมูลค่าทางธุรกิจ ที่เป็นตัวเงินได้ แต่จริงๆแล้วสามารถที่จะแปลงสภาพให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถเทียบมูลค่าออกมาได้และยังสามารถทำให้การดำเนินธุรกิจไปได้เป็นอย่างดี ถ้าหากเรา เปลี่ยนจากการมองคนที่เป็นค่าใช้จ่ายไปสู่การมองคนเป็นสินทรัพย์ ที่เพิ่มมูลค่าในตัวเองได้ ทั้งด้านความรู้ความสามารถ ทักษะ หรือความชำนาญ โดยเน้นความสำคัญในเรื่องของความรู้และการใช้สติปัญญา ในการนำข้อมูลสารสนเทศทั้งหลายมาประยุกต์ใช้ ให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพออกมาและก่อให้เกิดข้อได้เปรียบแก่องค์กร ในสภาวการณ์ที่มีสภาพการแข่งขันสูง โดยมีการประสานงานดำเนินการร่วมกับส่วนงานอื่นๆ ซึ่งถือเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ในลักษณะเชิงบูรณาการความรู้และทักษะ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ดังคำกล่าวที่ว่า Teamwork is the key to success เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน อย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างแท้จริง

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ถือเป็นว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลกในปัจจุบัน สำหรับการพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้บริบท โดยมีเป้าหมายโดยย่อในการ (1) ส่งเสริมการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (2) เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (3) พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และ(4) บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยได้กำหนดกรอบระยะเวลาให้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงภายในปี 2558 เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น การพัฒนาทุนมนษย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างสูงในขณะนี้ เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ทันต่อการเปล่ยนแปลงที่กำลังมาถึงในอีกไม่นาน

การพัฒนาทุนมนุษย์ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่ง ในการที่จะพัฒนาขีดความสามารถของคนในประเทศในทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุดที่ไร้พรมแดน ในสภาพการแข่งขันที่สูง หากเราไม่เห็นความสำคัญของคน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะทำให้องค์การ หรือหน่วยงานต่างๆในประเทศประสบความสำเร็จ ก็เท่ากับว่า เรากำลังที่จะก้าวถอยหลังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เครื่องจักรอาจจะทนทาน และต้นทุนการผลิตโดยรวมอาจจะถูกกว่าในระยะยาว เมื่อเทียบกับการจ้างแรงงานที่มีราคาแพง แต่ความสามารถไม่พอ แต่มนุษย์ก็สามารถพัฒนาฝีมือ และทำในสิ่งที่เครื่องจักรทำไม่ได้ เพื่อรองรับกับขีดความสามารถระดับอาเซียน ประชาคมการค้าเสรีที่กำลังจะมาถึง ซึ่งมีแต่คนเก่งๆ มีความสามารถ จนก้าวไปสู่ประเทศที่กำลังจะขึ้นชื่อว่าพัฒนาแล้วในอีกไม่ช้า

(ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม http://www.dip.go.th http://www.thailandindustry.com/home/news_preview.php?id=11232&section=28&rcount=Y

http://www.oknation.net)

ชุติกาญจน์ ถาวรบัณฑิต

*******ส่งการบ้าน...ข้อ 3. อ่านบทความ

นางสาวพิมพ์บุญ พันสวัสดิวง นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาสวนสุนันทา

รุ่นที่ 5 ศูนย์จังหวัดเลย

สรุปบทความ “การสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน” ( How to cultivate Engaged Employees )

ในบทความนี้ อธิบายวิธีการสร้าง "การมีส่วนร่วม" ระหว่างผู้บังคับบัญชา กับ พนักงาน เขาเชื่อว่าบทเรียนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารที่ยึดมั่นกับรูปแบบเก่าของการเป็นผู้นำจากบนลงล่าง และ ลำดับชั้นของห่วงโซ่การบังคับบัญชา "รางวัลที่มีคุณค่าสูงสุด" คือการที่ไม่พยายามที่จะควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา โดยปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานมีส่วนร่วมให้พละกำลังแก่เขา และ กระตุ้นให้พวกเขาเสนอความรู้และประสบการณ์ของพวกเขาถึงวิธีการ ที่จะทำให้องค์กรมีความก้าวหน้า ผู้บังคับบัญชาที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองและต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

1. ต้องรู้จักประมาณตน (Be Modest) เจียมเนื้อเจียมตัวถึงแม้จะมีตำแหน่งใหญ่โตหรือเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กรเพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นเพียงความผิดพลาดหรือความหวาดกลัวของผู้บริหารต้องไปเอาประสบการณ์ไปทับถมพนักงานจนทำให้เขาไม่กล้าแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็น ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีจะผลักดันให้พนักงานแสดงพละกำลังที่มีอยู่ออกจากภายในและทุ่มเทให้แก่องค์กร

2. ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Listen seriously- and show it ) ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ฟังที่ดีและฟังอย่างจดจ่อและแสดงให้พนักงานเห็นว่าใส่ใจกับสิ่งที่ได้รับฟังมาอาจจะต้องมีการบันทึกไว้ในเอกสารที่มีความสำคัญเพื่อมิให้ลืมซึ่งจะทำให้พนักงานเห็นคุณค่าในสิ่งที่เขาได้แสดงความคิดเห็น

3. เชิญชวนไม่เห็นด้วย ( Invite disagreement ) ในขณะเดียวกันนั้นผู้บริหารก็จะต้องเชิญชวนให้ผู้ที่ไม่แสดงความคิดเห็นได้แสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่มีการเสนอประเด็นขึ้นมาเพื่อให้มีการวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง และเกิดการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง

4. มุ่งเน้นวาระการประชุมที่สำคัญ (Focus the agenda ) การจัดการประชุมหากมีวาระมาก ๆ ประเด็นที่สำคัญอาจตกไปเป็นวาระที่ไม่สำคัญดังนั้นอาจจะต้องมีการจัดประชุมเฉพาะวาระนั้น ๆ และดำเนินการประชุมแบบเป็นกันเองในลักษณะปรึกษาหารือ การจัดห้องประชุมอาจะจัดเป็นรูปวงกลมเพื่อให้มีบรรยากาศในการเป็นกันเองมากขึ้น

5. อย่าพยายามที่จะมีคำตอบทั้งหมด (Don’t " try to have all the answers ) ในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นหรือข้อเสนอต่างๆ เพราะบางครั้งไม่อาจจะทำได้ทั้งหมดต้องเลือกประเด็นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือ ต้องจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้ประเด็นนั้นได้ดำเนินการอย่างแท้จริง

6. ไม่ยืนยันว่าการตัดสินใจที่จะต้องทำ (Don’t " insist that a decision must be made ) ผู้บริหารจะต้องไม่ยืนยันว่าจะสิ่งที่เป็นเด็นในการเสนอจะต้องได้รับการดำเนินการทุกเรื่องเพราะจะทำให้ผู้เสนอมีความคาดหวังหากไม่ได้ดำเนินการผู้เสนอความคิดเห็นจะเกิดการท้อแท้ไม่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดอีก

สรุป

หากผู้บังคับบัญชาต้องการให้พนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการบริหารงานอย่างแท้จริง ต้องเปิดใจกว้างและลดตัวลงมาเพื่อยอมรับฟังปัญหาหรือความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาและจะต้องมีความตั้งใจจริงที่จะรับฟังความคิดเห็นนั้น ๆ และต้องแสดงให้พนักงานได้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญ และ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่เห็นด้วยกับความคิดเห็นนั้นได้มีโอกาสแสดงออก และเลือกประเด็นสำคัญ ๆ นำมาเป็นประเด็นในการประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อให้ความคิดเห็นได้นำไปสู่การดำเนินการ และ หากมีประเด็นปัญหาที่ต้องดำเนินการมากก็ไม่จำเป็นต้องจัดการทุกประเด็น และก็ไม่ยืนยันว่าการตัดสินใจนั้นจะได้ต้องได้รับการดำเนินการทุกอย่าง หากดำเนินการได้ดังนี้จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในองค์กร ประเทศไทยถือว่าเป็นองค์หนึ่งซึ่งมีหลากหลายของสถาบันต่าง ๆของสังคม หากผู้นำประเทศมีศักยภาพในการที่จะทำให้ทุกภาคเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศก็จะทำให้ประเทศไทยของเรามีความพร้อมที่เข้าสู่ ประชาคม อาเซี่ยน เสรีในปี พ.ศ.2558

กมล ค้าไกล (ศูนย์ภูเก็ต)

"โชห่วย" ต้องไม่ห่วย

คอลัมน์ คลื่นความคิด ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ

มติชนรายวัน วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10082

http://training01.makewebeasy.com

ปัจจุบันร้านค้าปลีกขนาดย่อย หรือที่รู้จักกันในนามของร้านโชห่วย ที่ขายของจิปาถะใกล้บ้าน ต่างก็เร่งปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ไม่เช่นนั้นคงต้องสูญพันธุ์และเสียธุรกิจที่อุตส่าห์สร้างสมมาเป็นเวลาช้านาน ให้กับโมเดิร์นเทรดที่มีสายพันธุ์ทั้งของคนไทย และต่างชาติ ที่ต่างก็ทยอยเปิดกันอย่างดาษดื่นรอบเมืองจนน่าตกใจ ทำให้ร้านโชห่วยสายพันธุ์ดั้งเดิมที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ต้องดิ้นรนปรับโฉมหนีตายกันอย่างเร่งด่วน ปัจจัยในการปรับเปลี่ยนร้านโชห่วย ให้สามารถต่อสู้กับโมเดิร์นเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ใช้หลักทฤษฎี 3 วงกลม ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นสูตรรับมือสำหรับการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management มาประยุกต์ใช้ดังนี้

วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือบริบท ของจัดการสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้อต่อการทำงาน การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสม คล่องตัว เน้นการทำงานแบบ process การใช้ระบบ IT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ โดยร้านโชห่วยต้องมีการปรับสถานที่ตั้ง นับเป็นปัจจัยที่เจ้าของร้านค้าต้องพิจารณาเป็นลำดับแรก ต้องให้ความสำคัญกับการคมนาคมที่สะดวก เข้าออกง่าย และยิ่งในปัจจุบันนั้นลูกค้ามักพิจารณาเรื่องที่จอดรถอีกด้วย สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกร้านค้า ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางสินค้าอย่างเป็นระเบียบและมีระบบ นอกจากนี้ ความสะอาดภายในและภายนอกร้านค้าก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจโชห่วยด้วยเช่นกัน

วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies คือสมรรถนะหรือทักษะความสามารถของบุคคลในองค์กร หรืออาแป๊ะเจ้าของร้านโชห่วยยุคใหม่นี้ต้องทันต่อเหตุการณ์ ติดตามข่าวสาร และเป็นคนทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การตลาดยุคใหม่นั้นต้องทราบว่า อะไรคือวิกฤติและอะไรคือโอกาส แล้วปรับมุมมอง ปรับแผน การตลาดในแบบที่ควรมี ในกรอบและสิ่งที่มีเนื่องจากการตลาดยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การค้าสมัยใหม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีประกอบสร้างช่องทาง แต่โชห่วยนั้นไม่ได้มีเงินทุนหรือความรู้มากขนาดที่สามารถทำเว็บไซต์ สร้างเป็นการค้าออนไลน์ แต่สิ่งที่คุณจะทำได้คือ การติดตามข่าวสาร รู้ว่าเกิดอะไรในสังคม ประเด็นใดที่นำมาปรับใช้ จับมาเป็นโอกาส เช่น ในกรณีข้าวสารแพง โชห่วยได้อะไร อาจใช้ช่องทางนี้ทำโปรโมชันข้าวสารที่มีราคาถูก หรือหากมีสินค้าการเกษตรล้นตลาด เราก็รับจากเกษตรกรมาในราคาถูกแล้วนำมาขายในราคาที่ถูก เพื่อลดต้นทุนและสร้างโอกาสให้โชห่วยยุคใหม่

วงกลมที่ 3 เรื่อง Motivation คือการสร้างแรงจูงใจ ให้คนในองค์กรมีแรงจูงใจในการทำงานให้เต็มที่ อาจจะไม่ตรงกับร้านโชห่วยทีเดียว แต่อาจประยุกต์ใช้ในทิศทางในด้านลูกค้าหรือผู้ซื้อ ซึ่งจุดเด่นของร้านโชห่วยในเรื่องของความสัมพันธ์กับลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญ และอยู่คู่โชห่วยมานาน ดังนั้น ควรรักษาไว้ให้ดีและเพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมด้วย กลยุทธ์การตลาด ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ของแถม กลยุทธ์ส่วนลด ต่อรองราคา หรือซื้อเงินเชื่อ และการบริการส่งถึงบ้าน จุดนี้เองที่ทำให้โชห่วยยังอยู่คู่กับชุมชนตลอดมา

นางสาวพรรณวดี ขำจริง

นางสาวพรรณวดี ขำจริง นักศึกษาศูนย์ภูเก็ต

ความสำเร็จของผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของลูกน้อง ผู้บริหารระดับสูงจะรู้จักวิธีในการมอบอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความร่วมมือในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ผนวกกับการควบคุมที่มีประสิทธิภาพก็สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้เหมือนกัน โดยมี 6 ประการในการพัฒนา ดังนี้

1. การอ่อนน้อมถ่อมตน

2. การฟังอย่างตั้งใจและแสดงความคิดเห็นออกมา

3. เชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วยเพื่อต่อต้านความขัดแย้ง

4. รวบรวมประเด็นที่สนใจ สร้างเส้นทางที่นำไปสู่ความล้มเลวคือความไม่ตั้งใจ

5. อย่าพยายามที่จะหาคำตอบ

6. อย่าคิดว่าการตัดสินใจต้องถูกเสมอ

ซึ่ง 6 หลักการในการพัฒนา แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริหารสามารถที่จะเกื้อหนุนและทำลาย ความสำเร็จของงานได้ จะช่วยให้เป็นแนวทางแก่ผู้บริหารมือใหม่ และเป็นการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการการทำงานจากบนลงล่าง ไปสู่แนวราบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน นำไปสู่การแก้ไขปัญหา การกระตุ้น ระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้อง ก็สามารถทำให้ประสบผลสำเร็จร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

สรุปการวิเคราะห์บทความ โดย นางวาสนา รังสร้อย นศ. ป.เอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ส่วนกลาง

องค์กรและการบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ (www.hrtothai.com สืบค้นเมื่อวันที่ 14/9/54)

การพัฒนาให้เป็นองค์การที่สมบูรณ์เป้าหมายของการเป็นองค์การที่สมบูรณ์ (Total Organization : TO)

มีอยู่ 3 ระดับคือ

1. พัฒนาสมาชิกในองค์การให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (Total Person)นั่นก็คือเจตนารมณ์การที่มุ่งพัฒนาสมาชิกในองค์กรอย่างมีคุณภาพ ตามแนวคิดทฤษฎี 8 K’s หรือทุน 8 ประการ โดยมีอยู่ 6 ด้านคือ

1.1 ด้านร่างกาย มีสมรรถนะพร้อมต่อการทำงานหรือไม่ หรือจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการทำงานอย่างปกติราบรื่นหรือไม่ โดยเ น้นที่ตัวบุคคลในการมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาบรรยากาศดังกล่าวด้วย อาจใช้กิจกรรม 5 ส. เป็นฐานก็ได้ ซึ่งอยู่ใน K 1 Human Capital

1.2 ด้านจิตใจ การปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์การอาจมีความเครียดเกิดขึ้นได้จึงต้องจัดระบบการบริหารความเครียดให้กับพนักงาน เช่น การฝึกคลายกล้อมเนื้อโดยการออกกำลังกาย การจัดที่ปรึกษาด้านจิตหรือรับฟังความวิตกทุกข์ร้อนของสมาชิก อยู่ใน ทฤษฎี 5 K’s ด้าน Emotional Capital ซึ่งถือว่าจะสามารถช่วยให้ทุนมนุษย์ มีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอดอย่างภาคภูมิใจ

1.3 ด้านสติปัญญา ประเมินจากการเรียนรู้ในระหว่างการปฏิบัติงานก็ได้ว่า พนักงานสร้างแนวทางใหม่ ๆ ที่จะปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ประหยัดขึ้น หรือสร้างสรรค์แนวคิดแปลก ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การหรือไม่ หากไม่มีทั้งนวตกรรมใหม่ ๆ และความคิดสร้างสรรค์ใด ๆ เลย อาจตีความได้ว่าผู้บริหารยังไม่จัดบรรยากาศ หรือเปิดโอกาสให้เขาแสดงบทบาทได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอยู่ใน K 2 Intellectual Capital

1.4 ด้านความรู้และคุณธรรม ประเมินจากผลงานที่เกิดขึ้นว่าได้เข้าไปพัฒนา ความรู้จนเกิดความเชี่ยวชาญ แก่พนักงานหรือไม่ โดยตรวจวัดจากปริมาณ และคุณภาพของผล ผลิตหรือบริการ ในขณะเดียวกันการพัฒนาแต่ความรู้โดยไม่ผนวกความรับผิดชอบต่อตนเองและ ส่วนรวม มุ่งแต่จะพัฒนาผลผลิตโดยไม่สนใจผลกระทบใด ๆ ต่อบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมก็คงเป็น การลำบากอย่างยิ่งที่จะเป็นมุนษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งความรู้และคุณธรรมต้องพัฒนาไปด้วยกัน แยก ส่วนไม่ได้ ซึ่งอยู่ใน K 8 Talented Capital

1.5 ด้านจริยธรรม และวัฒนธรรมในการปฏิบัติงาน จิตเป็นนายและกายเป็น บ่าว หากจิตมีลักษณะอย่างไรก็จะกำกับหรือสั่งกายให้มีพฤติกรรมไปในทิศทางนั้น ดังนั้นการ พัฒนาคุณธรรมของสมาชิกในองค์การจะมีส่วนในการนั้นพฤติกรรมได้ เช่น การรับผิดชอบต่อตน เอง ต่อผู้อื่น ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อลูกค้า ต่อองค์การ ซึ่งอยู่ใน K 3 Ethical Capital

1.6 สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สมาชิกในองค์การที่ตัดสินปัญหา ด้วยเหตุผล แทนการตัดสินปัญหาด้วยอารมณ์จะสามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การ จัดระบบให้มีการตรวจประเมินสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในองค์การอยู่เนือง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น กล่าวโดยสรุปตัวชี้วัดที่ไวที่สุดที่จะวัดว่าสมาชิกในองค์การ ปฏิบัติงานอย่างมีความ สุขหรือไม่ คือ "อาการทน" หรือ "ความรู้สึกทน" ถ้าหากต้องปฏิบัติงานอย่างทนทำ สักวันหนึ่ง ความเครียดสะสมก็จะถึงจุดที่เรียกว่า "ทนไม่ได้" หรือ "ทนไม่ไหว" สมาชิกก็จะต้องออกจากองค์ การไป หากเขาเป็นกำลังสำคัญขององค์การ องค์การก็จะต้องสูญเสียสิ่งที่เรียกว่าเป็นอวัยวะที่ดีไป การจัดหาอวัยวะใหม่มาทดแทนก็อาจจะทำให้การดำเนินงานขององค์การได้รับผลกระทบถึงขั้นหยุดชงักได้ บุคคลที่ไม่มีธุรกิจของครอบครัวหรือเป็นเจ้าของธุรกิจหรือกิจการของตัวเอง อาจจะ ต้องเข้าไปทำงานในองค์การหรือหน่วยงานอื่น ดังนั้นการได้เรียนรู้ถึงแนวทางหรือหลักการในการ บริหารงานทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งอยู่ใน K 4 Happiness Capital

อาจกล่าวโดยสรุปว่า การบริหารองค์กรเป็นการบริหารงานบุคคลให้สามารถพัฒนาสร้างสรรค์งาน และปรับปรุงพัฒนางานได้ด้วยตัวของเขาเอง ในยุคปัจจุบันจึงถือเป็นยุคของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง เป็นกระบวนการในการสร้างสภาวะให้เอื้อต่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความคิด สร้างสรรค์ของบุคคลผ่านการทำงาน (Learning and Creativity Through Action) อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง การพัฒนาสมาชิกในองค์กรจึงเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ฝึกให้คิดนอกกรอบ มีความหลากหลายในการหาคำตอบจากโจทย์ปัญหาที่เข้ามาในการทำงาน และสิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผล ให้แนวคิดทฤษฎีของ ศาตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 8 K’s และทฤษฎี 5K’s (ใหม่) ในทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ พัฒนาสมาชิกในองค์กรอย่างมีคุณภาพทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

กระบวนการให้ได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์อยู่ 4 กิจกรรมสำคัญคือ

1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (HR. Planning) เป็นทุนมนุษย์ด้าน K 1 Human Capital โดยมีกระบวนการ

ที่สำคัญอยู่ 5 ขั้นตอน คือ

1.1 กำหนดกรอบอัตรากำลัง (Profiling)

1.2 ประมาณการจำนวน (Estimating)

1.3 การจัดทำประวัติ (Inventorying)

1.4 การคาดการณ์ (Forecasting)

1.5 การวางแผน (Planning)

2. การสรรหาทรัพยากรมนุษย์ (HR. Recruitment) เป็นทุนมนุษย์ด้าน K 8 Talented Capital ที่นำแผนมาสู่การ ปฏิบัติ

3. การคัดเลือก (HR. Selection) เป็นทุนมนุษย์ด้าน K 2 Intellectual Capital ต้องคำนึงถึงบุคลิกภาพและความสามารถที่สำคัญ 4 ประการ คือ ความสามารถในการคิดหรือทักษะในการคิด (Conceptual Skill) ความสามารถหรือ ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Human Relation Skill) และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ (Creativity Skill)

4. การปฐมนิเทศ (Orientation) เป็นทุนมนุษย์ด้าน Cultural Capital การแนะนำให้เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร

สรุป การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ การรักษาและพัฒนา ทั้ง 3 ส่วน เป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์

โดยใช้แนวคิดทฤษฎี 8 K’s หรือ ทุน 8 ประการและทฤษฎี 5K’s (ใหม่)เพื่อจะทำให้เขาได้เตรียมความพร้อมและพัฒนาตนเองให้เหมาะสมสอดคล้องตลอดช่วงชีวิตการทำงานเพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรับปรุงตนเองเพื่อที่จะพัฒนางาน พัฒนาคุณภาพของงานที่ทำอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลัก 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

และได้ตระหนักถึงคุณค่าของการเป็นทรัพยากรมนุษย์ยิ่งกว่าการเป็นเพียงบุคคลที่ทำงาน

การสร้างแรงจูงใจให้คนทำงาน

ปัจจัยที่จะทำให้คนเกิดแรงจูงใจที่จะทำงาน มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

1. รู้ความต้องการของบุคคล (Need Access) ต้องให้ครอบคลุมทั้งความต้องการทางด้านร่างกาย จิต และความต้องการของจิตใต้สำนึก ซึ่งเป็นความต้องการที่ล่วงรู้ได้

2. สร้างความพึงพอใจในงาน (Job Satisfaction) การสนองความต้องการของบุคคลที่นิยมใช้คือวิธีการของ เฮอร์ซเบิร์ก (Herzberg's Two Factors Theory)

3. สร้างขวัญในการทำงาน (Morale in Work)

4. การสร้างค่านิยมร่วม (Shared / Common Value) ถือเป็นวิธีการที่สำคัญในการเสริมแรงหรือเปลี่ยนแปลงเจตคติของบุคคล

5. การสนองความต้องการทางด้านสรีระ (Reply to Physiological Needs)

6. การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)

สรุปได้ว่า

การพัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือทำให้ทีมแห่งความสมบูรณ์ต้องมีแรงจูงใจที่จะทำให้บุคคลมีพฤติกรรมการทำงานไปในทิศทางบวกหรือลบก็ได้ทีมจะเป็นการทำงานร่วมกัน มีการแบ่งงานหรือบทบาทการทำงาน ประสานงานกันทุกระดับ เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันดังนั้นกลุ่มการทำงานร่วมกันจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานที่สำคัญของทีมโดยต้องรู้จักควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC)

เมื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และพัฒนามนุษย์ให้ทำงานเป็นทีมอย่างทีมที่มีความสมบูรณ์แล้ว การพัฒนาให้ทีมทำงานประสานกันกับทีมอื่น ๆ ในองค์การ ก็จะกลายเป็นการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่สมบูรณ์ โดยสามารถเขียนตามแนวคิดทฤษฎี 8 K’s หรือ ทุน 8 ประการและทฤษฎี 5K’s (ใหม่) ที่มีเป้าระดับ Macro คือองค์กรและไปสู่ Micro คือ ตัวบุคคลที่มีประสิทธิภาพ

นางอุทุมพร เครือบคนโท รหัสนักศึกษา 53484940001

นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์นครราชสีมา

ศึกษาบทความเรื่อง การสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย โดย... คุณบุณิกา จันทร์เกตุ

อ้างอิงมาจาก http://www.stou.ac.th/study/sumrit/8-54(500)/page1-8-54(500).html

ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านวัตถุในปัจจุบัน เป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมโดยทั่วไป มีค่านิยมที่ให้ความสำคัญ ในการแสวงหาเงิน ทอง แสวงหาอำนาจ บารมี มากกว่าที่จะให้ความสำคัญทางด้านจิตใจ สังคมในปัจจุบันจึงกลับเสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ปัญหาต่าง ๆ ที่มีมากมาย ดังนั้นการปลูกฝังความสำนึกให้กับบุคคลเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมจึงควรที่จะเกิดขึ้นในสังคม ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน จึงมีการกล่าวถึงคำว่า “จิตสาธารณะ” เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณะมากกว่าตนเอง นั่นหมายถึงว่า ทุกคนต้องมีการให้ มากกว่า การรับ เพราะสิ่งเหล่านี้ ถ้าสามารถปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักสังคมย่อมได้รับแต่ความสุขอย่างแน่นอน คำว่า “จิตสาธารณะ” จึงมีความสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยส่วนรวม

การปลูกฝังความสำนึก กับบุคคลต่าง ๆ ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมหรือสาธารณะ จะเป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรม ให้เกิดขึ้นกับบุคคลโดยทั่วไป โดยเฉพาะ เด็กและเยาวชน รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากภายในกายของคน "จิตสาธารณะ" เป็นความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนรู้จัก การเสียสละ การร่วมแรงร่วมใจร่วมมือในการทำประโยชน์ เพื่อสังคมและส่วนรวม อีกทั้งจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคม การช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต อันจะเป็น

หลักการในการดำเนินชีวิต เป็นการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับสังคมอย่างได้ผลเป็นเชิงประจักษ์ได้พจนานุกรมไทยฉบับของราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 14 ปรับปรุง-เพิ่มเติมใหม่) พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายของจิตสาธารณะ ไว้ดังนี้

จิต (จิด) น. มีความหมายว่า ใจ, ความรู้สึกนึกคิด

สาธารณ (สา-ทา-ระ-นะ) หรือ สาธารณะ มีความหมายว่า ทั่วไป, เป็นของกลางสำหรับส่วนรวม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของ จิตสาธารณะ ว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า “จิตสาธารณะ” หมายถึง “ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นส่วนรวม” หรือพูดและฟังได้ง่าย ๆ ว่า“การตระหนักรู้ และคำนึงถึงการมีส่วนรวมร่วมกัน การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์ที่เป็นสังคมเดียวกัน เป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม การบริการชุมชน การทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นวัตถุหรือสิ่งของทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้”

ดังนั้นจิตสาธารณะ จึงเปรียบได้กับความรู้สึกนึกคิด ถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะร่วมกัน การใช้สิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล รวมทั้งการบำรุงรักษาสิ่งของที่เป็นของส่วนรวมร่วมกันเช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่ทิ้งขยะลงที่พื้นทั่วไปต้องทิ้งขยะในที่จัดไว้ให้ ไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ เช่นโทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างตามถนนหนทาง การใช้น้ำธรรมชาติและน้ำประปาอย่างประหยัดร่วมกัน การใช้กระแสไฟฟ้าสาธารณะให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ตลอดจนช่วยเหลือดูแลผู้ตกทุกข์ได้ยาก อันเป็นการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสตามสมควร แต่ต้องไม่ทำให้ตนเองและครอบครัวเดือดร้อน และการช่วยเหลือต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง อันเป็นประโยชน์ของส่วนรวม

หากคนในสังคมขาดจิตสาธารณะแล้ว ก็จะเกิดผลกระทบมากมายเช่น ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ในครอบครัวมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันน้อยลง แก่งแย่ง ทะเลาะเบาะแว้ง เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก เห็นแก่ตัว ชิงดีชิงเด่น เบียดเบียนสมบัติขององค์กรเพื่อมาเป็นสมบัติของตนเอง องค์กรไม่ก้าวหน้า ประสิทธิภาพและคุณภาพของงานลดลง ทำให้ชุมชนเกิดความอ่อนแอ เพราะต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการพัฒนา ยิ่งปล่อยนานยิ่งทรุดโทรม เกิดอาชญากรรมในชุมชน ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำ ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะแต่ละคนมองเห็นเรื่องของตนเองเป็นใหญ่ เกิดวิกฤตการณ์ภายในประเทศบ่อยครั้งและแก้ปัญหาไม่ได้ เกิดการเบียดเบียนทำลายทรัยยากรและสมบัติของส่วนรวม ประเทศชาติล้าหลัง ขาดพลังของคนในสังคม เมื่อนำมาตรการใดออกมาใช้ก็ไม่ได้ผลเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือ เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก แก่งแย่งแข่งขัน ทุจริตคอรัปชั่น ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหา เช่น การสะสมอาวุธ การกลั่นแกล้ง แก่งแย่งหรือครอบงำทางการค้าระหว่างประเทศเกิดการรังเกียจเหยียดหยามคนต่างชาติพันธุ์ของตนเองดูถูกดังนั้น จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ เป็นสิ่ง

ที่มีความจำเป็น อันจะเป็นประโยชน์ ในทุกระดับของสังคม ถ้าหากได้มีการพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็ง ตั้งแต่บุคคลในระดับครอบครัว ทั่วโลก ย่อมส่งผลดีในระดับที่สูงขึ้นเป็นลำดับ และที่สำคัญที่สุดการสร้างและปลูกฝังจิตสำนึก ที่ดีนั้น ต้องสร้างกับ เด็กและเยาวชน เพราะเด็กสามารถรับรู้ในสิ่งที่ดีงามจากพ่อแม่ที่บ้าน รับรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชน พระสงฆ์องค์เจ้า ดูแลลูกหลานในระดับชุมชนและสังคม และสถาบันการศึกษาที่นอกจากจะอบรมสั่งสอนทั้งด้านวิชาการ ยังจะต้อง อบรมคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักการเสียสละ การให้ มากกว่า การรับ อย่างเดียวจะทำให้เด็กและเยาวชน พัฒนาจิตใจในการช่วยเหลือผู้อื่น มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เตรียมเข้าสู่การพัฒนา จิตใจตนเองสู่จิตสำนึกสาธารณะต่อไปในอนาคต

สรุปจากบทความ ได้ว่ามีความสอดคล้องแนวคิดทฤษฎี 8K’s 5K’s ที่เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ทำให้เกิด Ethical Capital, Happiness Capital และ Social Capital จะเห็นได้ว่าการสร้างจิตสาธารณะให้เกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆ ประการในการสร้าง เช่นการสร้างความตระหนัก ให้เกิดขึ้น การปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม การเป็นแบบอย่างที่ดีของรุ่นพ่อแม่ ต้องใช้ความรู้ คุณธรรม ความอดทน พยายาม เสียสละภายใต้ความกดดันของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ รอบด้าน รวมถึงการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในสังคมในยุคปัจจุบัน จากบทความนี้จึงเชื่อได้ว่า บุคคลที่มีจิตสำนึกสาธารณะจะต้องได้รับการปลูกฝังมายาวนาน ต่อเนื่อง จนเกิดขึ้นภายใต้จิตใจโดยแท้จริง เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่ควรจะเกิดขึ้นกับคนในสังคมในยุคปัจจุบัน อันจะเป็นประโยชน์ ในทุกระดับ ไม่ว่าระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชาติหรือระดับโลก ถ้าหากมีการพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็ง ทุกคนล้วนแต่มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสาธารณะ สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน สร้างความเชื่อและสร้างภาพการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตได้เป็นอย่างดี

พีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

Assignment 1: สรุปเอกสารภาษาอังกฤษ

Managing yourself

How to Cultivate Engaged Employees

By Charalambos A. Vlachoutsicos

จากการอ่านเอกสารภาษาอังกฤษเรื่อง How to Cultivate Engaged Employees ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของผู้แต่งคือ Charalambos A. Vlachoutsicos เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นองค์ความรู้ใน 6 หัวข้อ ข้าพเจ้าจึงได้แต่งบทกลอนแปดเพื่อสรุปองค์ความรู้ในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อช่วยในการจดจำและนำไปใช้ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1.Be Modest (จงอ่อนน้อมถ่อมตน)

2.Listen Seriously and Show it (ฟังอย่างตั้งใจและแสดงความคิดเห็นเมื่อถึงเวลา)

3.Invite Disagreement (เชิญชวนการแสดงสิ่งที่ไม่เห็นด้วยเพื่อลดความขัดแย้ง)

4.Focus the agenda (มุ่งเน้นวาระการประชุมที่สำคัญ)

5.Don’t Try to Have All the Answers (อย่าพยายามที่จะได้ทุกคำตอบ)

6.Don’t Insist that A Decision Must Be Made (อย่าคิดว่าการตัดสินใจของตนเองต้องถูกต้องเสมอ)

บริหารอย่างไรจึงจะดี สร้างการมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย

คำตอบชัดเจนแจ้งมีมากมาย สาธยายเห็นชัดประจักษ์จริง

หนึ่งอ่อนน้อมรู้จักประมาณตน อย่าสับสนโอ้อวดไปทุกสิ่ง

สองตั้งใจรับฟังไม่ท้วงติง เป็นยอดยิ่งผู้นำตลอดไป

สามเชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย เปิดใจช่วยรับฟังเรื่องราวใหม่ สี่มุ่งเน้นวาระน่าแก้ไข งานเดินไปข้างหน้าไม่รอช้า

ห้าจงอย่าคาดคั้นทุกคำตอบ ทำตามชอบตรงเกินก็เสียหน้า

หกไม่คิดว่าตนถูกทุกเวลา เหล่านี้หนาคือหกข้อสร้างสัมพันธ์ นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์

ผู้ประพันธ์

สุธาสินี นิรัตติมานนท์ ศูนย์ภูเก็ต

INCOMAR 2011 Conference

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์  รหัสนักศึกษา 53484941001
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต
ข้อที่ 1 การบ้านอ่านบทความ เชื่อมโยงกับทฤษฏี 8K s' 5K s'

    It a great chance that I had participated INCOMAR 2011 Conference at "Customer Engagement in the Connected World" 13 -14 September 2011 at  Pullman Hotel, Putrajaya, Malaysia. 

    This conference aims to share information and ideas relating to marketing and retail practices and develop opportunities for collaboration amongst academics and practitioners for the purpose of initiating training programs and research project useful for both parties. 

     In this conference I read many article that relate to 8K’s , 5K’s theory. One that I impress that Malaysia has strong  Culture Capital.

    Malaysia is a country that is known for its cultural heritage. Malaysia, people strongly believe in respecting each other’s culture and religion. I can find a good mix of Malay, Chinese and even Indian communities. The Malaysian culture shows a lot of modern influences that is seen in the western culture today. But when I walk in big department store, I have seen young girls still use a piece of cloth that covers their head which is called as Tudung. Family values forms still have a strong foothold in the culture of Malaysia. Nowadays Malaysia is one of the big market in Asian Country.

จากการอ่านเอกสารภาษาอังกฤษเรื่อง How to Cultivate Engaged Employees ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของผู้แต่งคือ Charalambos A. Vlachoutsicos เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นองค์ความรู้ใน 6 หัวข้อ ข้าพเจ้าจึงได้แต่งบทกลอนแปดเพื่อสรุปองค์ความรู้ในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อช่วยในการจดจำและนำไปใช้ ดังนี้

บริหารอย่างไรจึงจะดี

สร้างการมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย

คำตอบชัดเจนแจ้งมีมากมาย

สาธยายเห็นชัดประจักษ์จริง

หนึ่งอ่อนน้อมรู้จักประมาณตน

อย่าสับสนโอ้อวดไปทุกสิ่ง

สองตั้งใจรับฟังไม่ท้วงติง

เป็นยอดยิ่งผู้นำตลอดไป

สามเชิญชวนสิ่งที่ไม่เห็นด้วย

เปิดใจช่วยรับฟังเรื่องราวใหม่

สี่มุ่งเน้นวาระน่าแก้ไข

งานเดินไปข้างหน้าไม่รอช้า

ห้าจงอย่าคาดคั้นทุกคำตอบ

ทำตามชอบตรงเกินก็เสียหน้า

หกไม่คิดว่าตนถูกทุกเวลา

เหล่านี้หนาคือหกข้อสร้างสัมพันธ์

พีชะพะงา นิรัตติมานนท์

ผู้ประพันธ์

คำตอบข้อ 1 Engagement Leader คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003 จากเนื้อหาบทความเรื่อง Managing yourself “ HOW TO CULTIVATE ENGAGED EMPLOYEES”ที่เขียนโดย Charalambos A.Vlachoutscos จะเห็นถึงความมุ่งมั่นของการเป็นผู้นำ เพราะความสำเร็จของผู้จัดการหรือผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้นำจะต้องมีวิธีการดึงความสามารถของพนักงานแต่ละคนออกมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยควรจะต้องยุติการบริหารแบบ Top-Down แบบที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีหายแห่งที่ใช้ระบบการทำงานแบบ “นายสั่ง”อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในฐานะผู้นำจะต้องรู้จักคัดเลือกผลงาน และเลื่อนขั้นลูกจ้างในท้องถิ่นนั้นๆ เพราะงานของเจ้านาย คือ การทำให้ทุกคนมั่นใจและเกิดความรู้สึกพึ่งพากัน หรือที่เรียกว่า การร่วมแรงร่วมใจหรือความสามัคคี ความรู้ในบทความที่ Charalambos A.Vlachoutscos ผู้เขียนไว้ 6 หัวข้อหลักๆ ได้แก่ 1. จงอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ (Be Modest) กรณีศึกษาของบริษัทบรรจุปลากระป๋อง ที่ผู้บริหารแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทุกเรื่องในธุรกิจประเภทนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงมากเพียงใดก็ตาม แต่ในภาวะการเป็นผู้นำนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงบทบาทในฐานะผู้ให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้ ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ความรู้อย่างแท้จริงมากกว่า 2. ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา (Listen Seriously and Show it ) ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจในการฟังอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะในที่ประชุม ทั้งนี้ในการฟังนั้นหากมีการจดบันทึกไว้ ก็จะต้องนำเสนอภายใหลังอย่างเป็นระเบียบ และระบบ 3. ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา( Invite Disagreement) นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้นำ เมื่อต้องการให้วัฒนธรรมองค์กรเปิดกว้าง ผู้ใต้บังคับบัญชากล้าแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนปัญหา แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับผู้นำ ในการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะมีลูกทีมไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตามการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย แล้วนำมาปรับ โดยเริ่มจากตัวเอง พร้อมพูดคุยกับเพื่อให้ได้คำแนะนำจากลูกทีม ซึ่งในเวลาต่อผู้นำจะได้รับความร่วมมือขากผู้ใต้บัญคับบัญชามากขึ้น 4. จัดระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง( Focus the Agenda ) หลายครั้งในการประชุมไม่ว่าจะเป็นวงใดก็ตาม มักจะมีเรื่องเกี่ยวกับไม่ได้มีการเตรียมการประชุม จึงส่งผลที่ทำให้การประชุมล้มเหลว เพราะลืม หรือข้ามประเด็นไป ส่งผลให้การประชุมไม่สมบูรณ์ตามเป้าหมายในแต่ละครั้ง และที่สำคัญทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าระหว่างการประชุมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เสียเวลาต่อเรื่องอื่นๆที่จะต้องทำต่อไป ดังนั้นการจัดระเบียบวาระ นับเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การประชุมเป็นไปตามเป้า ไม่หลุดประเด็น และอยู่ในเวลา 5. อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่าง( Don’t Try to Have All the Answers) ผู้บริหารไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง กษะของผู้บริหารนั้นมีความคัญมาก เพียงกระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาจะดีกว่า และสิ่งที่ต้องยอมรับคือ เราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม 6. อย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง( Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ควรจะร่วมกันหาแนวทางได้อย่างชัดเจน ระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ก่อนจะที่จะได้ข้อสรุป ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายไม่สูญเสียความตั้งใจ อย่างไรก็ตาม “ผู้นำ” ในกระบวนคิดของ ดร.จีระฯ มีรูปแบบหลายๆ อย่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียว โดยสามารถศึกษาดูได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป และ ภาวะผู้นำ จำเป็นทุกๆ ระดับ ไม่ใช่เน้นเฉพาะหัวหน้าเท่านั้น ลูกน้องก็จะต้องถูกสร้างให้มีภาวะผู้นำ ทั้งนี้ภาวะผู้นำจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของ “ทุนมนุษย์ 8 K’s และ 5 K’” ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติจะต้องมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วยReality มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น ทุนทางจริยธรรม ด้วยหลักการง่ายๆ คนที่เป็นผู้นำจะต้องเป็นคนดี มีใจเป็นธรรม มีความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดลงไปยังลูกน้อง ทุนนวัตกรรม มุ่งเน้นให้เกิดการคิดนอกกรอบ มุ่งหาความรู้ รูปแบบความรู้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ใช่ที่ที่คุ้นเคย ที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง... ต่อเนื่อง... และต่อเนื่อง... ความเหมือนและความแตกต่างกันในเรื่องการเป็นผู้นำระหว่าง Charalambos A.Vlachoutscos และดร.จีระฯ อยู่ที่จุดเน้นของแนวคิด(ชื่อหัวข้อแตกต่าง)แต่ผลปฎิบัติคล้ายกันเนื่องจากทั้ง 2 ท่านมีประสบการณ์การทำงานมานานเช่นกันซึ่งสามารถยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปได้ดังนี้: ทุนทางปัญญา( Intellectual Capital) ของ ดร.จิระฯ หมายถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็น และนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่มาของข้อมูล ดร.จีระฯมักจะพูดเสมอว่า ข้อมูลจะต้องเพิ่มมูลค่าเป็นข่าวสาร จากนั้นเป็นความรู้ และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม คือนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา การค้นคิดสิ่งแปลกใหม่ซึ่งรวมการรับฟังความคิดเห็นด้วย ฯลฯ ในขณะที่ Charalambos เห็นว่า ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา คือการฟังความคิดเห็นจากลูกน้องจะได้ข้อมูลใหม่ใหม่ๆ ไม่ใช่การสั่งจากผู้นำเพียงอย่างเดียว ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา นั่นถือเป็นการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นแล้วนำมาวิเคราะห์ เป็นหลักการประชาธิปไตย ส่วนเน้นระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง ถือเป็นการเตรียมการในการวางแผนที่จะพูด คือต้องมีประเด็น มีวาระ ทั้งนี้อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่างเพราะผุ้คัดค้านอาจจะมีข้อมูลที่ดี หรือมีข้อยุติใหม่ๆ คล้ายกับผู้นำอย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง เพราะต้องรับฟัง และวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ทุนทางจริยธรรมและทุนทางสังคม( Ethical and Social Capital) ดร.จิระฯให้ความเห็นในการทำงานของผู้นำที่มีคุณภาพคงไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะและปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม จะต้องมองผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และต้องทำไม่ให้เกิดขึ้น หรือน้อยที่สุดโดยไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ในการกระทำของผู้นำเกี่ยวเนื่องกับงานใหม่ หรือโครงการอะไรก็ตาม การเข้าไปขอคำปรึกษาจากหลายๆส่วนรอบด้านจะช่วยให้กระบวนการทำงานไม่ยากเกินไปนัก รวมทั้งการสร้างNetworking ซึ่ง Charalambos เห็นว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ จัดเป็น Engagement Leader ละเลยไม่ได้เช่นกัน ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital) เรื่องนี้ Charalambos ไม่มี ดร.จิระฯ ให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างน่าประทับใจและเป็นจริง “ ….การทำงานนั้นผมให้ความสำคัญที่ความสุข เมื่อมีความสุขงานที่ออกมาก็จะได้ประสิทธิภาพที่ดี” โดยเฉพาะ Modelของดร.จิระฯ“กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข” 11 ประการ(ดูแลสุขภาพทั้งใจกาย ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน มีความสามารถที่ที่จะทำให้งานสำเร็จ เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานเป็นทีม ทำหน้าที่เป็นโคชให้กับทีมงานและลูกทีม ทำงานที่ท้าทาย ทำงานที่มีคุณค่า)ซึ่งตรงกับดิฉันที่ใช้แนวคิดนี้ปฎิบัติตั้งแต่ปฎิบัติงานที่หน่วยงานที่ชื่อว่า “กรุงเทพมหานคร”มาเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว แต่การมุ่งมั่นในการสร้างทุนแห่งความสุขในการทำงานทุกตำแหน่งหน้าที่มากเกินไปจนลืมให้เวลาความสุขที่บ้านบ้างย่อมมีปัญหาบ้างเป็นธรรมดา จึงต้องยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือ “ทางสายกลาง” ซึ่งสอดคล้องกับทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainable Capital) ตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ท่านเน้น: เดินสายกลาง คิดเป็นระบบ มีภูมิคุ้มกัน 

ทั้งนี้เมื่อเราได้เรียนรู้จากดร.จิระฯ ในเรือง 6 ปัจจัยในการสร้างทุนแห่งความยั่งยืน(Chira’ s 6 factors) ก็สามารถพัฒนาตนเอง และลูกจ้างหรือลูกน้องได้อย่างดีนั่นเอง ..................................................................................

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์ รหัสนักศึกษา 53484931019

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

CPF Way "วิถีซีพีเอฟ"

บนเส้นทาง "ธุรกิจระดับโลก"

จาก กรุงเทพธุรกิจ BizWeek วันที่ 16 มีนาคม 2550

ภายหลังจากการเติบโตอย่างมหัศจรรย์มา 40 ปี "ซีพีเอฟ" กำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหม่ บนเป้าหมายสำคัญคือ ก้าวสู่ "ธุรกิจระดับโลก" นั่นเป็นที่มาของการมองย้อนไปค้นหา "ต้นตอ" ความสำเร็จในอดีต ก่อนจะนำ Best Practise มาปั้นสูตร CPF Way ทำซ้ำคุณค่าองค์กร เพื่อก้าวข้ามความท้าทายครั้งใหม่

"วันนี้ ซีพีเอฟ กลับมาโฟกัสที่คน" เพื่อตอบโจทย์สำคัญ "ซีพีกำลังก้าวสู่การเป็นธุรกิจระดับโลก" วิสัยทัศน์ของซีพี สะท้อนจากความเคลื่อนไหวภายในของเครือซีพี โดยเฉพาะซีพีเอฟ ซึ่งขยับปรับกระบวนทัศน์ในเรื่องการบริหาร และ เรื่อง "คน" มาตลอด 2 ปี และจนถึงวันนี้ ตกตะกอนพอที่จะมีแนวทางการพัฒนาคน ซึ่งเป็น "สูตรเฉพาะตัว"

ก่อนหน้านี้ผู้บริหารเครือซีพี เดินทางไปชมกิจการระดับโลกหลายต่อหลายแห่ง ซึ่งรวมถึง ซัมซุง สัญชาติเกาหลีที่กลายเป็นโกลบอล คอมปะนี ไปแล้ว หรือ จีอี สหรัฐอเมริกา แม่แบบของการบริหารจัดการระดับโลก

"เราตระเวนไปดูว่า บริษัทชั้นนำของโลกเขามีอะไรดี เขาบริหารจัดการอย่างไร แล้วก็พบว่า เรื่องคนต้องมาก่อน อย่าง จีอี เขามีศูนย์พัฒนาบุคลากรมาหลายสิบปีแล้ว" นอกจากจะเป็นที่มาของโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ (Leadership Center) ทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน การตระเวนดูกิจการยักษ์ระดับโลก ยังจุดประกายการบริหารคน และ สร้าง "ผู้นำ" ของเครือซีพีอีกด้วย

"เห็นชัดว่า บริษัทระดับโลก เรื่องคนต้องมาก่อน เราก็มาคิดว่า การสร้างคนของเรา ควรจะมีแพทเทิร์นของตัวเอง เราต้องมองหาสูตรที่เหมาะสมกับเรา" กระบวนการนี้เริ่มตั้งแต่รื้อฟื้น ค้นหา DNA ความเป็น ซีพีเอฟ "40 ปีที่ผ่านมา ซีพีเอฟ เติบโตอย่างมหัศจรรย์ ธุรกิจของเราขยายเร็วมาก ทั้งในและต่างประเทศ เฉพาะในประเทศเรามีพนักงานกว่า 6 หมื่นคน เราจึงมาย้อนดูตัวเอง เฟ้นหาข้อมูลในอดีต เพื่อให้ได้คำตอบว่า เราประสบความสำเร็จมาได้อย่างไร"

ผลจากย้อนดูตัว เพื่อค้นหา "ที่มาของความสำเร็จ" พบว่า ความมหัศจรรย์ของซีพีเอฟ มาจาก 3 อย่าง คือ

1. วิชั่นของซีพี ซึ่งวางโครงสร้างการเติบโตที่ถูกต้องให้กับซีพี

2. มาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาสะสม

3. และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ ความเก่งของคนซีพีเอฟ

"คนของเราเก่งมาก อดทนมาก และทำให้เราสามารถขยายธุรกิจไปยังอินเดีย จีน หรือ อินโดนีเซีย ได้อย่างรวดเร็ว”

คน ซีพีเอฟ เก่งอย่างไร ? ทีมพัฒนาบุคลากรของซีพีเอฟพยายามถอดแบบความสำเร็จในอดีต เพื่อมองหา "คนแบบซีพีเอฟ" โดยสรุปออกมาได้เป็น CPF Way บน 5 คุณค่าหลัก

คุณค่าประการแรกของ "คนแบบซีพีเอฟ" คือ "ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และโลกาภิวัตน์"

คุณค่าประการที่สองต้อง "ใฝ่รู้ และ แบ่งปันความรู้" เพื่อให้เกิดการต่อยอดขององค์กรความรู้ และ คนแบบซีพีเอฟ จะต้องมี "นวัตกรรม" สร้างอินโนเวชั่น

ลักษณะของคนแบบซีพีเอฟ ประการที่สี่คือ "มีคุณธรรม" และ สุดท้าย คนแบบซีพีเอฟ ต้องมุ่งที่ "ผลงาน" บน 5 คุณค่าหลัก วิถีซีพีเอฟ จะเป็นต้นทางฟูมฟักบุคลากร เริ่มจาก "ผู้นำ" ประกาศวิสัยทัศน์ ตามด้วยสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับผู้บริหาร กระจายไปทั้งองค์กร

"วิธีพัฒนาคนหมู่มาก ต้องเริ่มจากการสร้าง Awareness โดยซีอีโอต้องเป็นผู้นำ ต้องเป็นตัวอย่าง ก่อนที่จะรณรงค์ ตอกย้ำไปทั้งองค์กร" อดิเรก กล่าว

เริ่มจากความพยายามค้นหาดีเอ็นเอของ ซีพีเอฟ เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ CPF Way กำลังถูกถ่ายทอดลงสู่พนักงานทุกระดับอย่างเข้มข้น

CPF Way ไม่ได้อยู่ลอยๆ บนปฏิบัติการสร้างคน ซีพีเอฟได้ปรับกระบวนการบริหารงานไปพร้อมๆ กัน หนึ่งในการจัดทัพคือ การนำระบบ "Target Setting" หรือ การบริหารงานที่วัดผลได้มากำกับอีกขั้น เพื่อให้มั่นใจว่า "คนดี คนเก่ง แบบ CPF Way จะมีผลงานให้เป็นที่ประจักษ์"

"ลีดเดอร์ ของ ซีพีเอฟ ต้องมีทักษะของ Global Management มีวิสัยทัศน์ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้า เป็นคนดี คิดเป็น แต่ปฏิบัติไม่เป็น ไม่มีผลงาน ก็ไม่ได้ เพราะองค์กรอยู่ได้ด้วยผลงาน เราก็เลยมี Target Setting ขึ้นมาวัดผลของงาน"

ในแวดวงบริหารจัดการอาจคุ้นกับ Balance Scorecard ด้วยตัววัดผล 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ลูกค้า กระบวนการในการผลิต ท้ายสุดคือ การเรียนรู้และการเติบโต แต่สำหรับ ซีพีเอฟ การบริหารที่ "วัดผลได้" ผ่านการปรับจูนให้เหมาะกับตัวเองมาแล้ว

Target Setting ของที่นี่มีตัววัดถึง 5 ตัวด้วยกัน คือ

1. "การเงิน" กำไร ผลตอบแทนจากการลงทุน

2. "ลูกค้า" ซึ่งต้องดู มาร์เก็ตแชร์ จำนวนลูกค้าใหม่

3. ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความสูญเสีย ลดการใช้พลังงาน

4. เรื่องของ "คน" การรักษาคนดี มองหาบุคลากรที่มีศักยภาพ หรือ talent

5. "ความยั่งยืนของกิจการ" ทั้งในเรื่องของการดูแลสิ่งแวดล้อม และความโปร่งใสในการบริหารงาน การจัดทัพปรับ การบริหารจัดการ และ การสร้างคนของซีพีเอฟ ซึ่งทำมาต่อเนื่องตลอด 2 ปี ไม่ใช่แค่ตอบโจทย์ของการก้าวสู่การเป็น "ธุรกิจระดับโลก" เท่านั้น

อีกหนึ่งความท้าทายที่ทำให้ ซีพีเอฟ ต้องย้อนกลับมาดู "คน" อย่างจริงจังก็คือ การเปลี่ยนแปลงใน Business Model 40 ปี ที่ผ่านมา แม้ว่า ซีพีเอฟ จะเติบโตมาอย่างมหัศจรรย์ แต่เป็นการเริ่มจาก ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจฟาร์ม และเข้าสู่กระบวนการของการแปรรูปในโรงงาน แต่ในขณะนี้ ซีพีเอฟ กำลังก้าวไปอีกขั้น ในธุรกิจอาหาร และกำลังเร่งสร้างแบรนด์ เพื่อให้สามารถ ไปกิน "ต้นน้ำ" ของสายโซ่การผลิต หรือ Value Chain

"แต่คนของเรามีทักษะ 3 รูปแบบแรกมากกว่า เราทำอาหารสัตว์มาก่อน ทำฟาร์มมาก่อน และมาทำโปรเซสแปรรูป แต่เรากำลังก้าวไปสู่การทำแบรนด์ ซึ่งต้องการทักษะอีกแบบหนึ่ง การปรับตัว และการเรียนรู้ จึงสำคัญ"

สรุปจากบทความของ CP Way “วิถีซีพีเอฟ” บนเส้นทาง “ธุรกิจระดับโลก” สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่า ซีพีเป็นธุรกิจเกษตรที่ครบวงจร เขามีแนวทางปฏิบัติในการบริหารคน ที่เป็นอาชีพ เกษตรกรได้อย่างน่าคิด โดยเขามีการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร และซีพีก็ได้ทำมาหลายสิบปีที่ช่วยเกษตรกรไม่ให้รับความเสี่ยง ซีพีให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ปลูกข้าวโพด ปลูกพืชต่างๆ โดยใช้พันธุ์ของตนเอง อาหารของตนเอง ปุ๋ย ยา และอื่นๆ ของตนเอง ชาวบ้านมีหน้าที่เพียงเลี้ยง-ปลูก ดูแลให้โต ให้ได้ผลตามวิธีการ ขั้นตอนที่ซีพีบอกชาวบ้านคิดว่า ปลูกแล้ว เลี้ยงแล้วจะเอาพันธุ์ไปขยายเอง ปลูกเอง เลี้ยงเองก็ทำไม่ได้ ต้องเอาของซีพีเท่านั้น ถึงเอาไปจากที่ตนเองปลูกและเลี้ยงก็ปลูกไม่ได้ เลี้ยงไม่โตโดยมีผู้จัดการใหญ่นั่งคอยบอกคอยสอน คอยควบคุมดูแล ระบบแบบนี้ขอเรียกว่า "ทุนอุปถัมภ์" และซีพีกล่าวว่าเรื่องทุนมนุษย์สำคัญที่สุด

ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากซีพี ต้องบริหารคนในทุกระดับไม่ว่าพนักงานในองค์กรเองตลอดจนเกษตรกร ก็จัดได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของซีพี ถึงแม้ว่าการบริหารจัดการจะแตกต่างไปจากการจัดการคนในองค์กรตามปกติ ดังนั้นซีพีจึงลุกขึ้นมาสร้างคน สร้างทุนมนุษย์เพื่อทำงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ของซีพีที่ก้าวสู่การเป็นธุรกิจระดับโลก

แนวความคิด CPF Way "วิถีซีพีเอฟ" บน 5 คุณค่าหลักของซีพี มีส่วนประกอบ ดังนี้

1. การเงิน

2. ลูกค้า

3. การเพิ่มประสิทธิภาพ

4. คน

5. ความยั่งยืนของกิจการ

"คนแบบซีพีเอฟ" โดยสรุปออกมาได้เป็น CPF Way บน 5 คุณค่าหลัก

1. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และโลกาภิวัตน์

2. ใฝ่รู้ และ แบ่งปันความรู้ เพื่อให้เกิดการต่อยอดขององค์กรความรู้

3. จะต้องมี "นวัตกรรม"

4. มีคุณธรรม

5. ต้องมุ่งที่ "ผลงาน"

สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี 8 K’s ของอาจารย์ ดร.จีระ

ดร.จีระ อธิบายว่า “แนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือ ทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ”

K1 Human Capital ทุนมนุษย์

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข

K5 Social Capital ทุนทางสังคม

K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT

K8 Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

โดยความสำคัญหลักๆของ ซีพีนั้นจะเน้นไปที่ HCM ซึ่งย่อมาจาก Human Capital Management หรือการจัดการทุนมนุษย์ ความหมายก็คือ การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมุมมองใหม่ ที่มองว่า คน คือ ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยแรกของการทำธุรกิจ ดังนั้นจึงควรที่จะพัฒนาและบริหารคนโดยให้ความสำคัญว่า คนคือ Capital หรือสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสูงขององค์กร ไม่ใช่มองแค่เป็น Cost หรือต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระ (Liability) ส่วนวิธีการก็ขึ้นกับแต่ละองค์กรว่าจะทำให้เป็นรูปธรรมอย่างไร ที่จะทำให้พัฒนาได้ตามแนวทางข้างต้น โดยนำมาปรับวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้กันอยู่ เช่น การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพให้พนักงาน การจัดสวัสดิการ การบริหารและพัฒนาคนเก่ง (Talent) เป็นต้น

การบริหาร “คน” ในองค์กรต่างๆ มักจะมอบภารหน้าที่นี้ให้กับคนสองกลุ่มคือ ผู้บริหาร ระดับสูงกับ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่ดิฉันมีความเชื่อว่าถ้าโครงสร้างการบริหารคนในองค์กรยังเป็นแบบนี้อยู่ โอกาสการสร้างศักยภาพของคนเพื่อการแข่งขันคงจะไปได้ไม่ไกลมากนัก เพราะอะไร เพราะไม่แตกต่างอะไรกับช้างที่ขาขาดไปข้างหนึ่ง ถึงแม้จะเดินได้ แต่ก็คงไม่สะดวกนัก และขาที่เหลือก็ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป ทุกองค์กรต่างมุ่งหวังให้บุคลากรของตนมีศักยภาพที่สูงขึ้นพร้อมๆกับเป้าหมายที่ยากขึ้น แต่มีสักกี่องค์กรที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนอย่างจริงจังอย่างเป็นรูปธรรม เรามักจะเห็นกันอยู่เสมอว่าองค์กรต่างๆมักจะเข้าใจว่าการพัฒนาความสามารถบุคลากรคือการฝึกอบรม การฝึกอบรมคือการพัฒนาบุคลากร ถ้าใครถามว่าบริษัทของคุณให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมากน้อยเพียงใด หลายคนมักจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ บริษัทผมเน้นมากเลยในเรื่องนี้ ดูซิในแต่ละปีผมต้องเข้าอบรมเยอะมากเลย แทบจะไม่มีเวลาทำงาน อบรมมากจริงๆ” แต่สำหรับซีพีแล้วนั้นกลับมองว่า หากจะให้การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามที่คาดหวังนั้น เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาบุคลากรเสียใหม่จากการ “พัฒนาหรือฝึกอบรม” ไปสู่ “การบริหารทุนปัญญา” การบริหารทุนปัญญาหมายถึงการมองคนเป็นทุนหรือสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง แต่ทุนประเภทนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตัวมันเองได้ เป็นทุนที่มองไม่เห็น แต่สามารถวัดได้จากระดับความสามารถที่แสดงออกและผลงานที่เกิดขึ้น

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมาเป็นตัวกำหนดวิสัยทัศน์ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งวิสัยทัศน์ ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์นี้จะเปรียบเสมือนแนวทางและทิศทาง ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในอนาคตระยะยาว เช่น

“มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง เพื่อให้พนักงานเป็นคนเก่งคิด เก่งทำ เน้นการทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ มีการเรียนรู้ตลอดเวลา”

“พัฒนาพนักงานให้เป็นคนเก่งคิด เก่งทำ และต้องหาทางจูงใจให้พนักงานเหล่านี้ อยากอยู่ อยากคิด อยากทำ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร"

นางสาวอภิชนา สิงสันจิตร (ศูนย์ภูเก็ต)

นางสาวอภิชนา สิงสันจิตร รหัสนักศึกษา 53484931025

นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

เทคนิคการ “เขย่าขวดยา” เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับองค์กรยุคใหม่

เขียนโดย..ณรงค์วิทย์ แสนทอง (วิทยากร ที่ปรึกษา และนักเขียนอิสระ)

หลายครั้งที่เราซื้อยาชนิดน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำและตัวยามาเก็บไว้ เมื่อเราเก็บไว้สักระยะหนึ่งปรากฏว่าจะมีการตกตะกอนซึ่งถ้าตะกอนยังไม่แข็งตัวมาก เราสามารถจะเขย่าให้ตะกอนนั้นหายไปได้ แต่ถ้าเก็บไว้นานเกินไปตะกอนดังกล่าวจะค่อยๆจับตัวกันจนกลายเป็นก้อนแข็ง จนบางครั้งไม่สามารถเขย่าให้ตะกอนนั้นออกมาทำละลายกับส่วนผสมที่เป็นน้ำได้ ปัญหาที่ติดตามมา คือ คุณภาพของยาอาจจะด้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น

องค์กรเองก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากยาชนิดน้ำ ถ้าเราปล่อยให้องค์กรอยู่นิ่งๆนานๆ เมื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างหนึ่งจะทำได้ยากมาก เพราะคนในองค์กรไม่เคยชินกับการเปลี่ยน แปลง เหมือนกับคนบางคนที่ไม่เคยถูกโยกย้ายงานเลยในรอบระยะเวลาสิบกว่าปีที่ทำงานมา พอถูกย้ายตำแหน่งหน้าที่ขึ้นมาก็รับไม่ได้ รู้สึกอึดอัดใจในการปรับตัวเข้ากับงานใหม่และเพื่อนร่วมงานใหม่ บางคนไม่เคยย้ายบ้านจะรู้สึกไม่ค่อยคุ้นเคยกับการย้ายบ้านใหม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ลำบากไม่เหมือนคนที่เปลี่ยนงานมาบ่อยไม่เหมือนคนที่ย้ายที่อยู่ตลอดเวลา คนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เพราะเขาเคยมีประสบการณ์มาแล้ว

ในเมื่อองค์กรเปรียบเสมือนขวดยาชนิดน้ำแล้ว เราจะมีวิธีการเขย่าขวดยาองค์กรนี้ได้อย่างไร?

คุณณรงค์วิทย์ แสนทอง จึงเสนอแนะวิธีการในการเขย่าขวดยาองค์กรดังนี้

1. จัดทำแผนกลยุทธ์ในการเขย่าขวดยา

2. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการตกตะกอน

3. ควรเขย่าขวดยาน้อยๆแต่บ่อยครั้ง

4. สังเกตการจับตัวของตะกอน

การจัดทำแผนกลยุทธ์ในการเขย่าขวดยา หมายถึง การจัดทำแผนงานเพื่อการเปลี่ยน แปลงขององค์กรในระยะยาว โดยวิเคราะห์จากแผนกลยุทธ์ของธุรกิจว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เช่น องค์กรของเราอาจจะขยายธุรกิจออกไปสู่ต่างประเทศ เราก็คงจะทราบแล้วว่าในอนาคตคนของเราจะต้องสามารถหิ้วกระเป๋าใบเดียวเดินทางไปทำธุรกิจยังต่างประเทศได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องวิเคราะห์จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะเข้ามากระทบต่อองค์กรของเรา เช่น ระบบมาตรฐานสากลต่างๆ อีกหลายตัวที่จะเข้ามากระทบกับองค์กรของเรา คนของเราจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการทำงานที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

เมื่อเราวิเคราะห์ทิศทางการดำเนินธุรกิจและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ให้นำมากำหนดเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งแผนระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว ว่าในแต่ละช่วงเวลาเราจะมีการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง บางอย่างอาจจะเป็นแผนเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น บางอย่างอาจจะเป็นแผนซ้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้คนเกิดความเคยชินกับการเปลี่ยนแปลง บางอย่างอาจจะเป็นแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ

เมื่อเรามีแผนกลยุทธ์ในการเขย่าขวดยาแล้ว ควรจะมีการแปลงแผนกลยุทธ์ออกมาสู่แผนงาน โครงการและกิจกรรมที่จะนำไปปฏิบัติจริงๆ คุณณรงค์วิทย์ แสนทองจึงแนะนำว่าองค์กรควรจะมีการวางแผนไว้เลยว่า ในแต่ละช่วงเวลาจะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะนำมาสร้างบรรยากาศภายในองค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เหมือนกันการที่เรากำหนดว่าทุกวันจันทร์เราจะต้องเขย่าขวดยาหนึ่งครั้ง แต่ถ้าเป็นในองค์กรเราอาจจะกำหนดว่าทุกไตรมาส เราจะต้องมีกิจกรรมสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาอย่างน้อยหนึ่งกิจกรรม ลองสังเกตดูนะครับว่าทุกครั้งที่เรามีกิจกรรมเกิดขึ้นในองค์กรจะช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานให้กับพนักงานได้มากทีเดียว เช่น ในช่วงเวลาที่เรามีการประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ พนักงานทั้งบริษัทจะพูดคุยกันถึงเรื่องนี้ สีหน้าแววตาของพนักงานสดใสมีชีวิตชีวามากขึ้นแน่นอนว่าถ้าตอนทานข้าวกลางวันเขามีความสุขกับการพูดถึงกิจกรรมร้องเพลงนี้กับเพื่อนๆ พอถึงเวลาทำงาน อารมณ์แห่งความสุขนั้นติดตัวเขาเข้าไปในที่ทำงานด้วย

การจัดกิจกรรมเพื่อฝึกซ้อมให้เคยชินกับการเปลี่ยนแปลงควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพราะจะสามารถสอดแทรกการเปลี่ยนแปลงเข้าไปได้ทีละเล็กทีละน้อย อย่าปล่อยให้องค์กรว่างจากกิจกรรมใดๆเป็นเวลานาน และกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่จัดทุกปีแต่เหมือนเดิมทุกปีอีกเช่นกัน อย่างนี้ถือเป็นกิจกรรมธรรมดา ไม่ใช่กิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราทราบว่าวัฒนธรรมองค์กรของเราตกตะกอนหรือไม่นั้น ให้สังเกตดูว่าการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งมีใครหรือคนกลุ่มใดบ้างที่ไม่ค่อยเห็นด้วย หรือไม่ค่อยเข้าร่วม ให้ลองสังเกตสักครั้ง สองครั้ง เราจะพบว่าคนที่ต่อการการเปลี่ยนแปลงทั้งที่แสดงออกชัดเจนและไม่แสดงออกจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ เหมือนกับที่เราเห็นตะกอนที่นอนอยู่ก้นขวดยา ถ้าตะกอนก้อนไหนแข็งตัวแล้ว เขย่ากี่ครั้งๆก็ยังเป็นก้อนเดิมๆอยู่ เราควรจะดำเนินการกับคนที่เป็นตะกอนขององค์กรได้หลายวิธี เช่น หาของแข็งๆไปขยี้ให้ตะกอนแตกออกเป็นผงแล้วค่อยเขย่าใหม่ หรือถ้าแข็งเกินกว่าที่จะขยี้ให้แตกออกมาได้ ก็ใช้วิธีการเขี่ยออกจากขวด เพราะมิฉะนั้น ตะกอนก้อนนั้นจะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดตะกอนที่โตขึ้น ซึ่งจะเขย่าลำบากมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับคนที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง อย่าปล่อยเอาไว้นานควรดำเนินการด้วยวิธีการเชิงบวกก่อน แต่ถ้าไม่ได้ผลค่อยนำมาตรฐานที่เด็ดขาดเข้ามาจัดการ เพราะมิฉะนั้นนอกจากเขาจะเป็นตัวถ่วงขององค์กรแล้ว เขาอาจจะเชื้อโรคที่จะชักชวนให้คนอื่นๆต่อต้านการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

เทคนิคการเขย่าขวดยาขององค์กรถือเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับการบริหารองค์กรภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้เราไม่ต้องการเปลี่ยน แต่สภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่แข่ง เทคโนโลยี สภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทุกองค์กรจะต้องนำเอาเรื่องการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงเข้ามาเป็นวาระแห่งชาติมากขึ้น จะปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาตินั้นคงจะไม่ได้อีกต่อไป องค์กรจะต้องมีแผนในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เราสามารถกำหนดได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ รูปแบบการเกิดเป็นอย่างไร ส่วนเทคนิควิธีการนั้นคุณณรงค์วิทย์ แสนทอง คิดว่าแต่ละองค์กรคงจะมีแนวทางที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กรอยู่แล้ว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในแต่ละปีนอกจากองค์กรจะให้ความสำคัญกับเรื่องเป้าหมายการดำเนินงาน การจัดทำงบประมาณประจำปีหรือเรื่องอื่นๆแล้ว หนึ่งในนั้นน่าจะมีเรื่องของการวางแผนกลยุทธ์เพื่อการ “เขย่าขวดยา” อยู่ในวาระการประชุมผู้บริหารระดับสูงขององค์กรด้วย

ซึ่งหลังจากได้อ่านบทความของคุณณรงค์วิทย์ แสนทอง แล้วนำมาวิเคราะห์จะเห็นว่ามีความเกี่ยวข้อง สอดคล้องกับแนวคิดของท่านอาจารย์ ดร.จีระ ในเรื่องของทฤษฎี 8K’S ที่ว่าด้วยเรื่องของทุน 8 ประการ ดังนี้

1. Human Capital ทุนมนุษย์

2. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

3. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

4. Happiness Capital ทุนทางความสุข

5. Social Capital ทุนทางสังคม

6. Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

7. Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT

8. Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ในบทความของคุณณรงค์วิทย์ แสนทอง นี้จะเห็นว่ามีเรื่องของทุนทั้ง 8 ประการเข้ามาเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงระหว่างกันอย่างเห็นได้อย่าง ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็นและการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลมีข้อมูลต่างๆมากมาย แต่หากบุคคลในองค์กรนั้นมีทุนทางปัญญา เขาจะสามารถนำไปสร้างเป็นข่าวสาร พัฒนาเป็นความรู้และนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง นั่นคือ สามารถนำไปวางแผนประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ คิดค้นนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง องค์กร ประเทศชาติและมนุษยชาติ แต่ก่อนที่จะบุคคลในองค์กรนี้จะมีทุนทางปัญญาได้ จะต้องมีทุนอื่นประกอบกันไปด้วย ซึ่งอันดับแรกก็คือ

ทุนมนุษย์ (Human Capital) อันเป็นความรู้พื้นฐานที่ได้จากการศึกษา เรียนรู้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อที่จะได้รู้ว่าสิ่งที่กำลังคิดวิเคราะห์นั้นคืออะไร

ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) คือ การรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน เป็นการนำเอาทุนทางปัญญาไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ ไม่สร้างภาระและปัญหาให้กับสังคม

ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือ การใช้ทุนทางปัญญาทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดความสุขแก่ตัวบุคคลและผู้อื่น รวมทั้งทำการต่างๆด้วยความสุข ไม่ก่อความทุกข์ให้กับตนเองและผู้อื่น

ทุนทางสังคม (Social Capital) คือ ทุนทางปัญญาจะเกิดไม่ได้หากมัวแต่หลงตนเองว่าตนนั้นเก่งกล้าสามารถ หรือคิดว่าตัวเองนั้นแน่ที่สุด ไม่มีใครเก่งเกิน ซึ่งความคิดนั้นจะปิดกั้นมิให้เกิดทุนทางปัญญาที่กว้างขวาง หรือที่เรียกว่า ตกหลุมพรางทางความคิด

ดังนั้น สิ่งที่จะก่อให้เกิดทุนทางปัญญาที่สามารถหาทางออก หรือหนทางแก้ไขปัญหาได้จะต้องรู้จักการติดต่อสื่อสารกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพ ในทุกสังคม รู้จักการศึกษาแบบข้ามศาสตร์ สามารถศึกษาเรียนรู้จากทุกศาสตร์ ทุกสาขา ทุกผู้คนในสังคม

ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) คือ การมีทุนทางปัญญาอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความผันผวนและความแปรเปลี่ยนในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่จะทำให้ทุนทางปัญญามีความยั่งยืนได้ บุคคลต้องมีทุนแห่งความยั่งยืน ต้องรู้จักการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต้องเรียนรู้ตลอดชีพ ต้องไม่หยุดยั้งที่จะเรียนรู้

ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งที่ต้องเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากโลกยุคโลกาภิวัฒน์คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และเกิดประโยชน์อย่างจริงจัง การติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันมีความรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งการที่จะเกิดทุนทางปัญญาที่มีความเฉียบคมได้จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รู้จักว่าสิ่งใดในโลกไซเบอร์แห่งนี้คือประโยชน์ สิ่งใดคือขยะ ที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ (Talented Capital) คือ การจะใช้ทุนทางปัญญาในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้อง จะต้องมีทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ สิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติ บุคคลจะต้องมีทัศนคติในทางที่ดี รู้จักคิดในทางบวก (Positive Thinking) มีความรู้ และทักษะที่ชำนาญและเชี่ยวชาญ

สุธาสินี นิรัตติมานนท์ (ศูนย์ภูเก็ต)

ภาพสรุปบทความ

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์  รหัสนักศึกษา 53484941001
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต
ข้อที่ 2 การบ้านสรุปบทความภาษาอังกฤษ ^___^

คำตอบข้อ 1 Engagement Leader คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003 จากเนื้อหาบทความเรื่อง Managing yourself “ HOW TO CULTIVATE ENGAGED EMPLOYEES”ที่เขียนโดย Charalambos A.Vlachoutscos จะเห็นถึงความมุ่งมั่นของการเป็นผู้นำ เพราะความสำเร็จของผู้จัดการหรือผู้บริหารนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้นำจะต้องมีวิธีการดึงความสามารถของพนักงานแต่ละคนออกมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยควรจะต้องยุติการบริหารแบบ Top-Down แบบที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีหายแห่งที่ใช้ระบบการทำงานแบบนายสั่งอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในฐานะผู้นำจะต้องรู้จักคัดเลือกผลงาน และเลื่อนขั้นลูกจ้างในท้องถิ่นนั้นๆ เพราะงานของเจ้านาย คือ การทำให้ทุกคนมั่นใจและเกิดความรู้สึกพึ่งพากัน หรือที่เรียกว่า การร่วมแรงร่วมใจหรือความสามัคคี ความรู้ในบทความที่ Charalambos A.Vlachoutscos ผู้เขียนไว้ 6 หัวข้อหลักๆ ได้แก่ 1. จงอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ (Be Modest) กรณีศึกษาของบริษัทบรรจุปลากระป๋อง ที่ผู้บริหารแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทุกเรื่องในธุรกิจประเภทนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงมากเพียงใดก็ตาม แต่ในภาวะการเป็นผู้นำนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงบทบาทในฐานะผู้ให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้ ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ความรู้อย่างแท้จริงมากกว่า 2. ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา (Listen Seriously and Show it ) ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจในการฟังอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะในที่ประชุม ทั้งนี้ในการฟังนั้นหากมีการจดบันทึกไว้ ก็จะต้องนำเสนอภายใหลังอย่างเป็นระเบียบ และระบบ 3. ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา( Invite Disagreement) นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้นำ เมื่อต้องการให้วัฒนธรรมองค์กรเปิดกว้าง ผู้ใต้บังคับบัญชากล้าแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนปัญหา แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับผู้นำ ในการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะมีลูกทีมไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตามการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย แล้วนำมาปรับ โดยเริ่มจากตัวเอง พร้อมพูดคุยกับเพื่อให้ได้คำแนะนำจากลูกทีม ซึ่งในเวลาต่อผู้นำจะได้รับความร่วมมือขากผู้ใต้บัญคับบัญชามากขึ้น 4. จัดระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง( Focus the Agenda ) หลายครั้งในการประชุมไม่ว่าจะเป็นวงใดก็ตาม มักจะมีเรื่องเกี่ยวกับไม่ได้มีการเตรียมการประชุม จึงส่งผลที่ทำให้การประชุมล้มเหลว เพราะลืม หรือข้ามประเด็นไป ส่งผลให้การประชุมไม่สมบูรณ์ตามเป้าหมายในแต่ละครั้ง และที่สำคัญทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าระหว่างการประชุมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เสียเวลาต่อเรื่องอื่นๆที่จะต้องทำต่อไป ดังนั้นการจัดระเบียบวาระ นับเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การประชุมเป็นไปตามเป้า ไม่หลุดประเด็น และอยู่ในเวลา 5. อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่าง( Don’t Try to Have All the Answers) ผู้บริหารไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง กษะของผู้บริหารนั้นมีความคัญมาก เพียงกระตุ้นให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาจะดีกว่า และสิ่งที่ต้องยอมรับคือ เราไม่ได้รู้ดีไปกว่าลูกทีม 6. อย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง( Don’t Insist that A Decision Must Be Made) ควรจะร่วมกันหาแนวทางได้อย่างชัดเจน ระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ก่อนจะที่จะได้ข้อสรุป ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายไม่สูญเสียความตั้งใจ อย่างไรก็ตามผู้นำ ในกระบวนคิดของ ดร.จีระฯ มีรูปแบบหลายๆ อย่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียว โดยสามารถศึกษาดูได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป และ ภาวะผู้นำ จำเป็นทุกๆ ระดับ ไม่ใช่เน้นเฉพาะหัวหน้าเท่านั้น ลูกน้องก็จะต้องถูกสร้างให้มีภาวะผู้นำ ทั้งนี้ภาวะผู้นำจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของทุนมนุษย์ 8 K และ 5 K ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติจะต้องมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วยReality มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น ทุนทางจริยธรรม ด้วยหลักการง่ายๆ คนที่เป็นผู้นำจะต้องเป็นคนดี มีใจเป็นธรรม มีความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดลงไปยังลูกน้อง ทุนนวัตกรรม มุ่งเน้นให้เกิดการคิดนอกกรอบ มุ่งหาความรู้ รูปแบบความรู้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ใช่ที่ที่คุ้นเคย ที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง... ต่อเนื่อง... และต่อเนื่อง... ความเหมือนและความแตกต่างกันในเรื่องการเป็นผู้นำระหว่าง Charalambos A.Vlachoutscos และดร.จีระฯ อยู่ที่จุดเน้นของแนวคิด(ชื่อหัวข้อแตกต่าง)แต่ผลปฎิบัติคล้ายกันเนื่องจากทั้ง 2 ท่านมีประสบการณ์การทำงานมานานเช่นกันซึ่งสามารถยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปได้ดังนี้: ทุนทางปัญญา( Intellectual Capital) ของ ดร.จิระฯ หมายถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็น และนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่มาของข้อมูล ดร.จีระฯมักจะพูดเสมอว่า ข้อมูลจะต้องเพิ่มมูลค่าเป็นข่าวสาร จากนั้นเป็นความรู้ และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม คือนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา การค้นคิดสิ่งแปลกใหม่ซึ่งรวมการรับฟังความคิดเห็นด้วย ฯลฯ ในขณะที่ Charalambos เห็นว่า ฟังอย่างตั้งใจและแสดงมันออกมา คือการฟังความคิดเห็นจากลูกน้องจะได้ข้อมูลใหม่ใหม่ๆ ไม่ใช่การสั่งจากผู้นำเพียงอย่างเดียว ยินดีเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเรา นั่นถือเป็นการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นแล้วนำมาวิเคราะห์ เป็นหลักการประชาธิปไตย ส่วนเน้นระเบียบวาระการทำงานแต่ละครั้ง ถือเป็นการเตรียมการในการวางแผนที่จะพูด คือต้องมีประเด็น มีวาระ ทั้งนี้อย่าพยายามที่จะมีคำตอบสำหรับทุกอย่างเพราะผุ้คัดค้านอาจจะมีข้อมูลที่ดี หรือมีข้อยุติใหม่ๆ คล้ายกับผู้นำอย่ายืนกรานว่าจะต้องตัดสินใจทุกๆ เรื่อง เพราะต้องรับฟัง และวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ทุนทางจริยธรรมและทุนทางสังคม( Ethical and Social Capital) ดร.จิระฯให้ความเห็นในการทำงานของผู้นำที่มีคุณภาพคงไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะและปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม จะต้องมองผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และต้องทำไม่ให้เกิดขึ้น หรือน้อยที่สุดโดยไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ในการกระทำของผู้นำเกี่ยวเนื่องกับงานใหม่ หรือโครงการอะไรก็ตาม การเข้าไปขอคำปรึกษาจากหลายๆส่วนรอบด้านจะช่วยให้กระบวนการทำงานไม่ยากเกินไปนัก รวมทั้งการสร้างNetworking ซึ่ง Charalambos เห็นว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ จัดเป็น Engagement Leader ละเลยไม่ได้เช่นกัน ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital) เรื่องนี้ Charalambos ไม่มี ดร.จิระฯ ให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างน่าประทับใจและเป็นจริง “ ….การทำงานนั้นผมให้ความสำคัญที่ความสุข เมื่อมีความสุขงานที่ออกมาก็จะได้ประสิทธิภาพที่ดี” โดยเฉพาะ Modelของดร.จิระฯ“กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข” 11 ประการ(ดูแลสุขภาพทั้งใจกาย ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน มีความสามารถที่ที่จะทำให้งานสำเร็จ เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานเป็นทีม ทำหน้าที่เป็นโคชให้กับทีมงานและลูกทีม ทำงานที่ท้าทาย ทำงานที่มีคุณค่า)ซึ่งตรงกับดิฉันที่ใช้แนวคิดนี้ปฎิบัติตั้งแต่ปฎิบัติงานที่หน่วยงานที่ชื่อว่า"กรุงเทพมหานคร"มาเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว แต่การมุ่งมั่นในการสร้างทุนแห่งความสุขในการทำงานทุกตำแหน่งหน้าที่มากเกินไปจนลืมให้เวลาความสุขที่บ้านบ้างย่อมมีปัญหาบ้างเป็นธรรมดา จึงต้องยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือ “ทางสายกลาง” ซึ่งสอดคล้องกับทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainable Capital) ตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ท่านเน้น: เดินสายกลาง คิดเป็นระบบ มีภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้เมื่อเราได้เรียนรู้จากดร.จิระฯ ในเรือง 6 ปัจจัยในการสร้างทุนแห่งความยั่งยืน(Chira’ s 6 factors) ก็สามารถพัฒนาตนเอง และลูกจ้างหรือลูกน้องได้อย่างดีนั่นเอง ..................................................................................

คำตอบข้อ 2

การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003

หนังสือเรื่อง...นักบุกเบิกรุ่นใหม่

แปล... นันทิยา เล็กสมบูรณ์

จากเรื่อง.... The New Pioneers

Copyright 2010 John Wiley & Sons

พิมพ์ครั้งที่ 1... โพสต์บุ๊กส์, มิถุนายน 2554

จำนวน 399 หน้า

คำนำสำนักพิมพ์ของหนังสือเล่มนี้กล่าวไว้ว่า “นักบุกเบิก หมายถึง บุคคลผู้แรกที่ทำการศึกษา และพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ เช่น ความรู้ วัฒนธรรม หรือบุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มแรกๆ ที่เข้าไปในพื้นที่ หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อตั้งรกรากหรือประกอบการงาน” (พจนานุกรมออกซฟอร์ด ฉบับแอดวานซ์ เลิร์นเนอร์)

คนเหล่านี้ ทั้งที่เป็นคนธรรมดาไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร หรือเป็นลูกจ้างในระดับผู้นำองค์กร กลายเป็นนักบุกเบิกรุ่นใหม่ ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คำว่า “การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21” เพราะการเป็นหุ้นส่วนคือการเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน แต่สำหรับหุ้นส่วนสังคม ทุกคน “มีส่วนร่วม” ที่จะแสดงความรับผิดชอบสังคม ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ที่เกิดจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวเดิมๆอยู่ก็ตาม

เป็นที่แน่ชัดว่า การเกิดกระบวนทัศน์ใหม่ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ ย่อมมีแนวคิดอย่างหนึ่งที่ตรงกับแนวคิดทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s(ใหม่) ของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ว่า ทุนแต่ละชนิดจะต้องมีการเสียโอกาสวันนี้ เพื่อที่จะได้มาในวันหน้า

เช่นเดียวกัน “การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21” จากกระบวนทัศน์เก่า สู่กระบวนทัศน์ใหม่ย่อมต้องเสียโอกาสวันนี้ เพื่อที่จะได้มาในวันหน้าเช่นกัน โดยทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s(ใหม่) สามารถที่เกี่ยวเนื่องในการเปลี่ยนแปลงแต่ละหัวข้อที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้

การเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ที่ได้อธิบายในหนังสือเล่มนี้

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

โลกธุรกิจที่ไร้ระเบียบ -ความรับผิดชอบขององค์กรคือภาระ

-ความละโมบ

-either/or -ความรับผิดชอบขององค์กรคือธุรกิจ

-ความสนใจส่วนตัวที่สว่างวาบขึ้นมา

-both/and

ระบบทุนนิยมก่อให้เกิดกฎเหล็กทางเศรษฐศาสตร์ “การสร้างกำไรสูงสุด”จึงตามมาด้วยความละโมบของการทำธุรกิจทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเอาเปรียบแรงงาน รวมถึงการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมให้อ่อนแอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในอดีต ได้สร้างกายขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีการจ้างแรงงาน ส่งผลให้ทุกอย่างพัฒนาขึ้นท่ามกลางซากปรักหักพังหลายเรื่อง แต่ปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่ “ใบอนุญาตสำหรับการดำเนินงานอีกต่อไป เพราะธุรกิจวันนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการตอบสนองความคาดหวังของชุมชน ท้องถิ่นในภาพรวม ทั้งในเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งการพัฒนาการศึกษา และทักษะในชุมชน...เพราะฉะนั้นการทำธุรกิจแบบเดิมๆนั้น ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป...

• Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้ลึก รู้จริง นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ทางสายโลกาภิวัฒน์ -ธุรกิจข้ามชาติ

-โลกตะวันตก/ระดับชาติ/ท้องถิ่น

-ทรัพยากรธรรมชาติ

-ความรู้ทั่วไป

-สังคมอุตสาหกรรม

-การเติบโตแบบไร้ขีดจำกัด -ธุรกิจที่ควบรวมโลก

-Global/glocal

-ทรัพยากรมนุษย์

-การประยุกต์ใช้ความรู้ในวิถีใหม่ๆ

-สังคมความรู้และนวัตกรรม

-การเติบโตอย่างยั่งยืน

การแข่งขันของประเทศต่างๆ ทำให้แนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนธุรกิจทั้งในเชิงโครงสร้าง การดำเนินงานและวัฒนธรรมองค์กร และในอนาคตธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม จะถูกนิยามโดยสัญชาติน้อยลง แต่โลกทั้งโลกจะกลายเป็นบ้านของธุรกิจเอง โดยการสร้างการเติบโตซึ่งเป็นเสาหลักของทุกประเทศจะต้องอยู่ที่ยุทธศาสตร์ การพัฒนาและใช้ทรัพยากร หมายถึงทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีและทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ตามบริบทด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ “เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลดทอนความสามารถของคนรุ่นหลังในการตอบสนองความต้องการของตนเอง...Brundtlannd Conmmission 1987”

• Human Capital ทุนมนุษย์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

โลกห้าใบที่เราต้องการ -ระบบอุตสาหกรรม

-กระบวนการแบบเส้นตรง

-Cradle to Grave(จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน)

-ประสิทธิภาพทางนิเวศ

-เศรษฐกิจคาร์บอนสูง

-ควบคุมธรรมชาติ -ระบบนิเวศทางอุตสาหกรรม

-กระบวนการแบบวงกลข

-Cradle to Cradle (จากครรภ์มารดาสู่เชิงครรภ์มารดา)

-ประสิทธิผลทางนิเวศ

-เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

-เรียนรู้จากธรรมชาติ

การขาดสมดุลทางสิ่งแวดล้อม ภาวะขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม หรือขนาดแคลนอาหาร สภาวะโลกร้อน ที่กำลังประสบภัยกันอย่างถ้วนหน้าทั่วทั้งโลกขณะนี้ เป็นผลกระทบจากระบบอุตสาหกรรมหลายๆ อย่างได้ถูกส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา จนกระทั่งกลายเป็นข้อ

เรียกร้องต่อการเคลื่อนไหวของธุรกิจ ส่งผลให้ผู้นำในเชิงรุกทั่วโลกกำลังเปลี่ยนความจำเป็นในเรื่องสิ่งแวดล้อมไปเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ แทนที่จะคิดว่ามันคือภาระ ถือเป็นทางใหม่ที่สร้างสรรค์ทางหนึ่งในการหลีกเลี่ยงการล้มละลายทางชีววิทยา และนำไปสู่

ธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต

• Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ความสามารถพิเศษ

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ความมั่งคั่งและความไม่เท่าเทียมที่มากขึ้น -ความช่วยเหลือของสาธารณะ / การกุศล

-คนยากจน

-ตลาดสินค้าพรีเมี่ยม

-การเติบโตของตลาด

-ขยายการกระจายสินค้า -ความช่วยเหลือในการค้า / กิจการส่วนตัว

-ผู้ประกอบการ / ลูกค้า /หุ้นส่วน

-ตลาดฐานล่างพีระมิด

-การเติบโตแบบครอบคลุม

-สร้างการมีส่วนเกี่ยวข้องที่แบ่งปันร่วมกัน

การขาดสมดุลทางเศรษฐกิจ เมื่อความยากจนเป็นมากกว่ากระเป๋าสตางค์ที่ว่างเปล่า เพราะความยากจนนำไปสู่ทุกปัญหาของสังคม แม้กระทั่งการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นปัญหาของคนพันๆล้านที่ฐานล่าง หรือ Bottom of Pyramid คนจำมากที่สร้างสรรค์แนวทางการช่วยเหลือเพื่อให้คนยากจนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยมาจากการทำงานในชุมชน หรือกู้ยืมเงินจากธนาคารที่มีดอกเบี้ยน้อยนำไปค้าขาย เลี้ยงชีพ ส่งเงินคืนตามสัญญา ส่วนบริษัทขนาดใหญ่เองก็ตั้งหน่วยงานหนึ่งเพื่อมาแก้ไขปัญหาคนยากจน ทั้งสองรูปแบบเปลี่ยนแปลงให้คนยากจนกลายเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมของตนเองเช่นกัน

• Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ฆาตกรเงียบ -การเติบโตทางวัตถุ

-ความมั่งคั่งและการทำให้ดี

-บรรลุเป้าหมายมากขึ้นด้วยการทำงานหนัก -การเติบโตที่ไม่ใช่วัตถุ

-สุขภาพและความอยู่ดีมีสุข

-บรรลุเป้าหมายมากขึ้นด้วยการทำงานน้อยลง

ภาวะไร้สมดุลทางสังคม เกิดจากหลายโรคร้ายที่มีเหตุมาจากความเครียดในรูปแบบต่างๆ มาจาก

บุหรี่ ฯลฯ ภัยเงียบเหล่านี้ส่วนใหญ่มักมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่งคั่งของคน แต่ก็ต้องมีการจ่ายในการดูแลรักษาโรคกับภัยเหล่านี้ การแก้ปัญหาคือการเพิ่มมาตรวัดเชิงคุณภาพรวมถึงสุขภาพ ความอยู่ดีมีสุข และคุณค่าที่ไม่ใช่วัตถุอื่นๆ ซึ่งเราจำเป็นต้องสร้างเศรษฐกิจแห่งอนาคตจากความจำเป็นที่แท้จริง ไม่ใช่จากความปรารถนา

• Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้ลึก รู้จริง นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

เจเนอเรชั่น MeWe -ทำงานเพื่อความอยู่รอด /

ความมั่งคั่ง

-ใช้เหตุผล อารมณ์

-การจัดการทรัพยากรบุคคล

-เป้าหมายในชีวิตคือ ความสำเร็จในเชิงวัตถุ -ทำงานเพื่อความตระหนักในตัวเอง / ความอยู่ดีมีสุข

-ใช้เหตุผล อารมณ์ จิตวิญญาณ

-การจัดการเป้าหมายส่วนบุคคล

-เป้าหมายในชีวิตคือสมดุล ระหว่างภายใน / ภายนอก

ตลาดแรงงานแห่งจิตสำนึก พนักงานเจนเนอร์เรชั่น MeWe กำลังสร่างความกดดันต่อองค์กรธุรกิจในการค้นหาส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างแรงจูงใจและการเงินเพื่อเติมเต็มให้ตนเอง พนักงานที่ยึดมั่นและผูกพันกับองค์กรคือหัวใจในการสร้างประสิทธิภาพ และนวัตกรรม องค์กรจะต้องนำเรื่องจริยธรรมและชื่อเสียง ความยั่งขยืนมาเป็นแรงดึงดูดแรงงานในการสร้างชีวิตการทำงานให้ดี มีเป้าหมายร่วมกันมากกำไร แต่เป็นเรื่องการแบ่งปันคุณค่าเป็นหัวใจสำคัญ ซีอีโอจะต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้

• Human Capital ทุนมนุษย์

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

สมองของโลก -ชุมชนทางภูมิศาสตร์

-องค์กร

-การปกป้องสิทธิ

-ข้อมูล

-พลังของคนไม่กี่คน -ชุมชนออนไลน์

-เครือข่าย

-การแบ่งปันความรู้

-ปฏิสัมพันธ์

-พลังจากคนจำนวนมาก

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนและความร่วมมือขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเคยเห็น เริ่มจากกลุ่มเล็กๆที่ปฏิบัติการในโลกออนไลน์ โอเพ่นซอร์ส เพื่อเป็นการช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งในเวลาต่อมาสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงเรื่องว่าจะเปลี่ยนโลกอย่างไร แต่มันคือการเปลี่ยนวิถีทางการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยซ้ำ

• Digital Capital ทุนทาง ITต้องใช้อินเตอร์เนตให้เป็น

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

นักแก้ปัญหารวมหมู่ -กลุ่มของผู้เกี่ยวข้อง

-การแก้ปัญหาแบบรวมศูนย์

-การบริโภคแบบมวลรวม

-การวิจัยและพัฒนาแบบปิด -เครือข่ายสังคม

-การแก้ปัญหาแบบรวมหมู่

-การมีส่วนร่วมแบบมวลรวม

-การสร้างสรรค์ร่วมแบบเปิด

ตลาดปัญญารวมหมู่ การพยายามใช้ตลาดคาดการณ์ ช่วยให้เราเข้าใจวิถีใหม่ๆที่ดีกว่าในการจัดระบบธุรกิจ พัฒนาวิทยาศาสตร์ บริหารบ้านเมือง และอาจจะช่วยให้เราแก้ปัญหาที่เรากำลังเผชิญในฐานะสังคม และในฐานะโลก ผ่านการแบ่งปันหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการ

หลอมรวมของโลกออนไลน์ และออฟไลน์

• Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

นายหน้าแห่งพลังสาธารณะ -กฎระเบียบ

-พลังขององค์กรสาธารระ

-สื่อกระแสหลัก

-นักกิจกรรมสังคมบนถนน

-ฝ่ายตรงข้าม -กิจกรรมสังคมทั่วโลก

-พลังของรากหญ้า

-สื่อพลเมือง

-นักกิจกรรมสังคมออนไลน์

-หุ้นส่วนพันธมิตร

ธุรกิจคือหนึ่งในสถาบันที่ทรงอิทธิพลที่สุดในศตวรรษนี้ แต่ก็มีอำนาจทรงพลังอย่างหนึ่งที่ปรากฏในฉากโลกาภิวัตน์ และสร้างความกดดันให้แก่รัฐบาลและโลกธุรกิจเท่าๆกันคือ “นักกิจกรรมสังคม” หรือบางครั้งจะเรียกว่าเอ็นจีโอ ซึ่งมีทั้งที่เป็นอิสระ และเป็นนักกิจกรรมในองค์กร ซึ่งในปัจจุบันสามารถเข้าถึงการต่อสู้ใหม่ๆ มีเงินทุนจากผู้ร่วมบริจาคจำนวนมหาศาลผ่านช่องทางออนไลน์ แต่การเผชิญหน้าระหว่างนายหน้าแห่งพลังสาธารณะกับองค์กรธุรกิจนั้น ไม่จำเป็นต้องจบลงบนความขัดแย้ง ตรงกันข้าม อาจจะเป็นการพัฒนาให้เกิดพื้นฐานใหม่สำหรับการดำเนินธุรกิจ หรือแม้แต่รูปแบบใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

องค์กรธุรกิจควรเชิญนายหน้าเล่านี้มาร่วมมือเป็นที่ปรึกษา และเป็น “ผู้ตรวจสอบธุรกิจ” จะเป็นทางออกที่ดี มิฉะนั้นจะกลายเป็นผู้คุกคามทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดคือ ตราสินค้าหรือ Brand นั่นเอง

• Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ผู้บริโภคที่มีจิตสำนึก -การคว่ำบาตร (Boycotts)

-ผลิตภัณฑ์ที่อยู่บนราคา / คุณภาพ

-การบริโภคแบบฟุ่มเฟือย

-แบรนด์ที่มีขนาดใหญ่ -การสนับสนุนด้วยการซื้อ (Buycotts)

-ผลิตภัณฑ์ที่อยู่บนคุณค่า

-การบริโภคแบบยั่งยืน

-แบรนด์ที่มีจริยธรรม

ปัจจุบันมีตัวเลขต่างๆจำนวนมากที่วัดผลการซื้อสินค้าหลายประเภทพบว่า ความตระหนักใน

อำนาจซื้อของผู้บริโภคที่มีจิตสำนึกนั้น กำลังกลายเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป และมีความสำคัญต่อธุรกิจ ซึ่งจะเห็นตั้งแต่การเลือกซื้อสินค้า ใช้บริการกับแบรนด์ที่มีความเป็นธรรมกับสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ แม้กระทั่งการเลือกซื้อหลอดประหยัดพลังงาน มากกว่าแบรนด์ที่ไม่มีจริยธรรม ด้วยเหตุนี้หลายแบรนด์ต่างก็โดดเข้าร่วมสนามการการค้าอย่างมีจริยธรรมด้วยเช่นกัน

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

หน้าใหม่ของทุนนิยม -โมเดลสวัสดิการแบบสามภาคส่วน

-การกุศลและองค์กรสาธารณะ

-ผู้มีจิตเมตตา

-ความเห็นแก่ผู้อื่น

-ผู้ประกอบธุรกิจ -วิธีคิดแบบภาคส่วนที่สี่

-กิจการเพื่อสังคม

-ผู้ลงทุนในกิจการเพื่อสังคม

-โอกาสทางธุรกิจ

-ผู้ประกอบการ (ธุรกิจ) สังคม

ภาระหน้าที่ทางสังคมและเศรษฐกิจเดินไปพร้อมๆกัน โดยเชื่อมกับส่วนผสมของกลไกทางตลาด และที่ไม่ใช่การตลาด นั่นคือ องค์กรรัฐ ที่จะต้องมีประสิทธิภาพในเชิงเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาเรื่องความอยู่ดีมีสุขอย่างมีประสิทธิผล เอ็นจีโอหรือองค์กรการกุศลจะต้องมีความยั่งยืน มีประสิทธิภาพและการเงินขระที่กำลังทำความดี และองค์กรธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะที่ต้องทำกำไรตามหลักการของการเป็นองค์กรเอกชน

เช่นเดียวกัน

• Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

คุณค่าของการประกอบการสังคม -สังคมคือผู้ที่เกี่ยวข้อง

-มูลค่าและทุนทางการเงิน

-ปัญหาและการขาดแคลน

-กำไรคือเป้าหมาย

-ผลตอบแทนจากการลงทุน

-การเติบโตเชิงปริมาณ -สังคมคือผุ้รับผลประโยชน์

-คุณค่าและทุนที่หลอมรวม

-โอกาสและทรัพยากร

-กำไรคือวิธีการ

-ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน

-การเติบโตเชิงคุณภาพ

กระบวนทัศน์ทางธุรกิจใหม่ในสามมิติ คือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือเป้าหมายหลัก การแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมคือทางออก และวิธีการแบบธุรกิจคือหนทาง

• Social Capital ทุนทางสังคม

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

ธุรกิจที่รับผิดชอบ2.0 -บรรทัดสุดท้าย

-การสร้างคุณค่าสำหรับผู้ถือหุ้น

-การกำกับดูแลกิจการและจัดการความเสี่ยง

-CSRส่วนเสริม

-การเปลี่ยนแปลงที่ริมขอบ

-CSR -สอง / สามบรรทัดสุดท้าย

-การสร้างคุณค่าสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง

-การพัฒนาธุรกิจ

-CSR โดยกลยุทธ์

-การเปลี่ยนแปลงที่แกนกลาง

-CSR , CSI , CSE

เมื่อโลกแคบลง และความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้นเรื่อย อีกทั้งผู้นำในเจเนอเรชั่น MeWe กำลังก้าวขึ้นมาเป็นรองประธานและซีอีโอ CSR กำลังเคลื่อนตัวจากแนวคิดแบบการกุศลสำหรับทุนิยมที่รับผิดชอบไปสู่ CSR เวอร์ชั่นใหม่ที่ถูกจัดวางอยู่ตรงใจกลางยุทธศาสตร์ของธุรกิจ และบางธุรกิจก็จัดอยู่ตรงใจกลางของธุรกิจนั้นเลย

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

หัวข้อ กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่

พลังแห่งความดีของธุรกิจ -คู่แข่ง

-การควบรวม

-บนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบน

-ความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร -หุ้นส่วน

-การซื้อเข้า

-บนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบน

-ผู้ประกอบการสังคมภายในองค์กร

ความร่วมมือและทางที่บรรจบกัน ในแบบ “หุ้นส่วน” จะเปิดโอกาสสำหรับแต่ละฝ่ายที่จะโฟกัสในสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีที่สุด และบนสิ่งที่เป็นเป้าหมายหลัก โดยดำเนินงานในโครงสร้างที่แยกออกจากกัน ซึ่งออกแบบเพื่อการสร้าผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมที่สูงที่สุด เพื่อความรต่วมมือในการสร้างโมเดลที่มีความสมบูรณ์ที่สุด

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

จากเนื้อหาข้างต้น ทุกคนคือส่วนหนึ่งของเรื่องนี้...พลังของเรา ในฐานะปัจเจกชน (พลเมือง ผู้บริโภค พนักงาน และผู้บริหาร) เราจะต้องตระหนักรู้ถึงโอกาสที่เราสามารถทำบางสิ่งบางอย่างกับการพัฒนาในปัจจุบัน ในฐานะผู้สร้างร่วมที่กระตือรือร้นสำหรับอนาคต เราไม่สามารถรอให้ผุ้อื่นตัดสินใจแทนเราได้ เราต้องเริ่มจาก “ตัวเราเอง” โดยการตัดสินใจเลือก

อย่างมีสติทุกๆวัน และโดยการใช้ชีวิตและทำงานเพื่อคุณค่า ด้วยความเสี่ยงในการเย้ยหยัน และวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยความเสี่ยงในการทำสิ่งที่แปลกแยก และทำไม่ได้ดีร้อยเปอร์เซนต์ แต่เส้นทางสายนี้ยังคงอยู่ และแผนที่ความยั่งยืนแห่งอนาคตจะถูกกำหนดโดยเราทุกคนในฐานะ“การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21”

ในท้ายที่สุด“การเป็นหุ้นส่วนสังคม ศตวรรษ 21” สอดคล้องกับทฤษฎี HRDS ของดร.จิระ เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

• Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

• Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

• Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

• Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

…………………………………………………………………………………..

คำตอบ บทความข้อ 3(จับคู่ร่วมกันทำ) ทุนสังคม,ทุนจริยธรรม กฎใหม่ของโลก กรณีศึกษา 5 D+ Model คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003 นายอานนท์ ทวีสิน รหัส 53484931005 ในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะถูกจัดให้อยู่ในยุคใด และใช้การขับเคลื่อนโลกด้วยทุนประเภทใดก็ตาม ถึงนาทีนี้และต่อไปในอนาคตเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ไม่มีทุนใดเหนือกว่า “ทุนมนุษย์” ได้อีกแล้ว ซึ่งสิ่งที่ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้อธิบายไว้ใน 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบันที่แม้แต่ทฤษฎีทางการตลาด ก็ยังให้ความสำคัญเรื่องนี้ เพราะบริษัทไม่สามารถที่จะให้บริการเพียงเพราะเขาเป็นลูกค้า หรือผู้บริโภคแบบเดิมอีกต่อไป แต่บริษัทต้องให้บริการในฐานะที่ลูกค้าและผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็น “มนุษย์” ซึ่งมีปัญญา มีความคิด อีกทั้งปัจจุบันมีความรอบรู้ในหลายเรื่องมากกว่าบริษัทด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนและผู้นำไปใช้ต้องเปิดใจกว้างในความเห็นที่แตกต่าง ซึ่งดร.จีระฯได้อธิบายทฤษฎีทุน ซึ่งทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)นับเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คงจะเป็นกล่าวไม่เกินความจริงนัก หากจะบอกว่าทฤษฎีนี้ถือเป็นหนึ่งในกฎใหม่ของโลกเช่นกัน ในบทความนี้ได้เลือก Social Capital ทุนทางสังคม และ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม มาอธิบายต่อกรณีศึกษา 5 D+ Model ถ้าทุนทางสังคม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 8K’s จะต้องมาจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และ องค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม ในขณะที่ถ้าทุนทางจริยธรรมซึ่งเป็นหนึ่งใน 8K’s เช่นกันหมายถึง การอาศัยคุณธรรมซึ่งสอนให้รู้การรับผิดชอบ ชั่ว ดี ใช้จิตสำนึกขั้นพื้นฐานประกอบด้วยปัญญาไปบริหารแก้ไขการทำงานเพื่อสนองความต้องการของชุมชน อย่างไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรมแล้ว กรอบของการเกิด 5 D+ Model ก็มิได้แตกต่างกันมากนัก กล่าวกันว่าในศตวรรษที่ 21 ข้อตกใหม่ของโลกกว่าจะเกิดขึ้นมาได้ต้องใช้เวลาเริ่มต้นตั้ง ปี 2515 กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เปิด "การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on Human Environment, Stockholm Conference) " ได้หยิบยกปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขึ้นเจรจา เรียกร้องให้ทุกประเทศตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และเกินขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ประชากรในประเทศยากจนยังคงมีความเป็นอยู่อย่างขาดแคลน ผลการประชุมดังกล่าว ได้เกิดหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญ เช่นโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งประชาชาติ (United Nations Environment Programme - หรือเรียก สั้นๆ ว่า UNEP) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินสถานการณ์ และทิศทางของสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับชาติ ระดับนานาชาติ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกในการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน UNEP ทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายองค์กรภายในสหประชาชาติและรัฐบาลในแต่ละประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและองค์กรเอกชน หน่วยงานเอกชนและชุมชน โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา และสำนักงานภูมิภาคอีก 6 แห่ง ในแอฟริกา เอเซียตะวันออก เอเซียและแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน รวมทั้งในยุโรป โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก การเผยแพร่เนื้อหาเหล่านี้ในขณะนั้นคือ ตีพิมพ์เอกสาร "Our Common Future" เผยแพร่คำนิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืน และเรียกร้องให้ประชาคมโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเพื่ออนาคตของคนในรุ่นต่อไป จากนั้นปี 2521องค์การสหประชาชาติจุดพลุถึงการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา (UN commission on Environment and Development) ปี 2530 UN บัญญัติศัพท์ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development-SD ) โดยอธิบายว่า “ Sustainable Development is a development that meet the needs of the present without compromising the ability of future generation to meet their own needs ” (การพัฒนาที่ตอบสนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนในรุ่นอนาคตต้องประนีประนอมลดทอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนเอง) ปี 2535 มี Earth Summit อีก 10 ปีต่อมาปี 2545 เกิด Agenda 21 World Summit on Sustain Development (WSSD) จากนั้นปี 2546-2557 Decade of Education for Sustainable Development ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัททั่วโลกจะต้องเปลี่ยนแปลง โดยเพิ่มเครื่องมือทางการตลาดที่เรียกว่า "Corporate Social Responsibility" หรือ "ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ" หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "CSR" เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะทำธุรกิจท่ามกลางการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและภัยจากธรรมชาติ ดังนั้นการสร้างสมดุลย์ ระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนภายใต้กรอบของหลักธรรมาภิบาลนั้น นับเป็นความท้าทายสำคัญของภาคธุรกิจ ทั้งนี้ เมื่อมาถึงปี 2553 Philip Kotler , Hermawan Kartajaya & Iwan Setiawan ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง Marketing 3.0 (From Products to Customers to the Human Spirit) โดยเนชั่นส์บุ๊คส์ ได้ลิขสิทธิ์มาให้ นงลักษณ์ จารุวัฒน์ แปล เริ่มพิมพ์ครั้งแรกเมื่อมกราคม 2554 ซึ่งในส่วนสุดท้ายของหนังสือได้พูดถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวทางการตลาด 3.0 เพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น ปัญหาการกินดีอยู่ดี ปัญหาความยากจน และความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งอธิบายวิธีที่องค์กรธุรกิจสามารถทำประโยชน์ให้สังคมด้วยโมเดลธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อมนุษย์ ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโลกใบนี้ และแน่นอนในการขับเคลื่อน SD ในประเทศย่อมเกี่ยวเนื่องกับภาครัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แท้จริงแล้ว กฎใหม่ที่กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้น ได้เกิดเป็นภาคปฏิบัติเมื่อ 39 ปีที่แล้วในพื้นที่เทศบาลนครกรุงเทพ จนกระทั่งมาถึงกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา โดยหากมองภาพใหญ่จาก Social Capital ทุนทางสังคม เมืองหลวงแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,568.7ตารางกิโลเมตร รองรับคนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน วิถีชีวิตของคนเมืองใหญ่ต้องดิ้นรน ต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด เพื่อให้ได้เงินทองมาเลี้ยงชีพ มีที่อยู่อาศัย และอื่นๆตามปัจจัยสี่ ส่วนที่เหลือจากนี้ ก็เป็นเรื่องความสะดวกสบาย ความปลอดภัยทุกๆ ด้าน สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าที่ทุกคนต้องดิ้นรน ถูกหล่อหลอมให้อยู่ในสังคมใหญ่อย่างมีคุณภาพ โดยมีเครือข่าย (Networks) มีความไว้วางใจ (Trust) มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติ (Norms) เพื่อการส่งเสริม เกื้อหนุน และร่วมมือในการดำเนินงานซึ่งกันและกัน อย่างจริงใจบนพื้นฐานของ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมเป็นที่ตั้งเช่นเดียวกัน เมื่อคนกว่า 10 ล้านคนในมหานคร มีพื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกันมาก มาใช้ชีวิตร่วมกัน ปัญหาหลายอย่างก็ตามเข้ามา ทั้ง 3 มิติคือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในฐานข้าราชการกทม.มีหน้าที่รับใช้ประชาชน โดยยึดผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นที่ตั้ง จึงต้องสร้างสมดุลทั้ง 3 เรื่อง โดยกฎใหม่ของโลกในยุคปัจจุบัน ถูกนำไปใช้เมื่อ 39 ปีที่แล้วด้วยปัจจัยพื้นฐานของคนเมืองหลวงที่ค้นพบว่า ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนหลีกไม่พ้นความต้องการเหล่านี้ 1. Physical Development กายภาพดี 2. Economical Development มีรายได้เหมาะสม 3. Social Development สังคมร่วมใจ 4. Healthy Development อนามัยสมบูรณ์ 5. Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม ทั้ง 5 ข้ออยู่ภายใต้ “ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ตั้งแต่ปี 2515 เป็นต้นมา “ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ได้คิดและปฏิบัติมาโดยตลอดในการรับใช้ประชาชนกทม. ซึ่งเนื้อหาของงาน 5 D+ Model ต่างเป็นจิ๊กซอว์ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ เพราะมีความเชื่อมโยงกันในทุกมิติของความต้องการ ปัญหา และการแก้ไขปัญหา เพื่อประชาชนเจ้าของพื้นที่กทม.ได้รับความสะดวกสบาย มีความปลอดภัย อยู่ร่วมกันด้วยสังคมที่ร่วมใจดูแลซึ่งกันและกัน Physical Development กายภาพดี หมายถึงโครงสร้างทางกายภาพของเมือง รวมถึงสาธารณูปโภคทุกประเภท ระบบการสื่อสารบ้านเรือน อาคารสำนักงานทั้งแนวราบและแนวสูง การป้องกันภัยทุกประเภท สิ่งแวดล้อมทุกด้านของเมือง Economical Development มีรายได้เหมาะสม หมายถึงช่องทางการทำมาหากินอย่างสุจริต เพื่อสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้อยู่ได้อย่างมั่นคง แม้กระทั่งชุมชนที่หาเศษขยะไปขาย เมื่อนำของทิ้งแล้วบางประเภทเช่น ร่มมาทำใหม่ (Reuse) ก็สามารถขายสร้างรายได้อย่างเหมาะสมกับชุมชน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องช่วยเหลือพร้อมกัน คือ“หาตลาด” ให้ก่อน อาจจะต้องประสานกับหน่วยงานรัฐเพื่อให้ช่วยเป็นช่องทางการขายสินค้า หรือส่วนอื่นๆ ที่จะรับซื้อของจากชุมชน โดยชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ป้อนด้านวัตถุดิบ แม้กระทั่งต้องระดมความคิดกับชุมชน รวมถึงข้าราชการกทม.ที่ดูแลพื้นที่ นักวิชาการเพื่อสร้างพื้นที่นั้นๆ ให้มีเอกลักษณ์ด้านอาหารบางประเภท ชนิดถ้าจะทานแบบของแท้ให้อร่อยก็ต้องมาที่นี่ หรือเป็นที่เรียนรู้ทางด้านใดด้านหนึ่ง โดยชุมชนมีส่วนร่วม และมีรายได้จากตลาดที่สร้างขึ้นมา Social Development สังคมร่วมใจ หมายถึงการมีจิตสำนึกของประชาชนที่จะร่วมกันทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด ถ้าเป็นคำศัพท์ที่ชอบใช้กันมากในยุคที่โลกเต็มไปด้วยภัยภิบัติทางธรรมชาติ ก็ต้องพูดถึงคำว่า “การมีจิตสำนึกของประชาชน” ที่จะร่วมกันทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด ร่วมช่วยเหลือที่จะดูแลเมืองที่ตัวเองอยู่อาศัยทั้ง 5 ด้าน ให้ปราศจากสิ่งที่ไม่ดี Healthy Development อนามัยสมบูรณ์ หมายถึงการมีสุขภาพที่ดี มีอาหารและเครื่องดื่มปลอดภัย มีการรักษายาบาลผู้ป่วยไข้อย่างดีที่สุด เพราะทุกชีวิตล้วนมีค่า การอยู่รอดของคนเมืองหลวงในด้านนี้ นับเป็นความสำคัญไม่ด้อยกว่าเรื่องอื่นๆ ถ้าหากจะกล่าวว่า การมีสุขอนามัยที่ดีมีผลมายังสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีคงไม่ผิด Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม หมายถึงผู้ที่วางระบบให้ประเทศ วางระบบให้เมืองและชุมชน จะต้องมีคุณธรรม ไม่มีการคอรัปชั่น ซึ่งในฐานะผู้นำ จะต้องมีเรื่องคุณธรรมอยู่ในจิตใจมากที่สุด การเพิ่มพูนคุณธรรมก็ต้องมีฐานมาจากเรื่องการมีจิตสำนึกที่ดี ทั้ง 2 ทุนสอดคล้องกับสิ่งที่ทำมาตลอด เพราะทิศทางการอยู่รอดของคนเมืองหลวงผ่าน“ปฏิบัติการ 5 D+ Model”. ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ เนื่องจากครอบคลุมหลักทุกส่วนเอาไว้ทั้งหมดแล้ว ที่เหลือคือการปรับรายละเอียดการใช้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนไป เพื่อการอยู่รอดอย่าง “คนที่มีคุณภาพ” ของกรุงเทพมหานคร จากทุนทางสังคมและทุนจริยธรรม เมื่อใช้ในการบริหารงานราชการอย่างจริงจังก็สามารถที่จะสอดคล้องทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ของดร.จีระฯประกอบด้วย Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว สิ่งเหล่านี้เป็นจิตสำนึกขั้นพื้นฐานในการบริหารงานราชกทม. เพื่อสามารถที่จะทำงานใหญ่ด้วย“ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ที่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกทม.ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน เอ็นจีโอ ชุมชนต่างๆ แม้กระทั่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อย่างเปิดเผย ถูกกฎหมาย และทุกภาคส่วนสามารถตรวจสอบได้เมื่อเกิดปัญหา ทั้งหมดนี้ได้เกี่ยวเนื่องกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลจาก“ปฏิบัติการ 5 D+ Model”หลายเรื่องได้เกิดขึ้นเมื่อ 39 ปีที่ผ่านมาได้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เรียนระดับประถมโดยได้ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก พยายามผลักดันให้ช่วยดูแลรักษา ทั้งปฏิบัติและบอกต่อเนื่องว่า "ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย... ดิฉันและนายอานนท์เราก็มีโค้ดลับที่คอยเตือนใจว่า NICS ย่อมาจาก Narok (นรก) is coming soon.(อ่านเพิ่มเติม Mind Responsibility ; NICS : Narok (นรก) is coming soon.24 มกราคม 2553 www.brandage.com) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร BrandAge ปก FAIR TRADE ว่า ...เราเอาอนาคตธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของลูกหลานมาใช้มากเกินไป ถ้าเราไม่ช่วยกัน...ไม่ลด ละ สิ่งที่ทำร้ายธรรมชาติ...ก็มีศัพท์คำหนึ่งคือ SD คือ Sustainable Death !!! (อ่านเพิ่มเติม นิตยสาร BrandAge เดือนพฤศจิกายน 2553) ปี 2553 กฎใหม่ของโลก ในการตลาด 3.0 สรุปว่า พฤติกรรมและค่านิยมองค์กรเปิดกว้างให้สาธารณชนเข้ามาตรวจสอบได้มากขึ้น เครือข่ายสังคมและชุมชนออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำให้ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์บริษัท ผลิตภัณฑ์ และตราสินค้า(Brand)ได้ง่ายขึ้น ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสนใจกับปัญหาและความท้าทายทางสังคมมากขึ้น องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องเคลื่อนไหว และปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้... ………………………………………………………………………………………………………………..

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์ (ศูนย์ภูเก็ต)

การบ้านสรุปภาษาอังกฤษ

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์  รหัสนักศึกษา 53484941001
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต
ข้อที่ 2 การบ้านสรุปบทความภาษาอังกฤษ ^___^

คำตอบข้อ 3 งานกลุ่ม 2 คน

ทุนสังคม,ทุนจริยธรรม กฎใหม่ของโลก

กรณีศึกษา 5 D+ Model

คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน รหัส 53484931003

นายอานนท์ ทวีสิน รหัส 53484931005

ในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะถูกจัดให้อยู่ในยุคใด และใช้การขับเคลื่อนโลกด้วยทุนประเภทใดก็ตาม ถึงนาทีนี้และต่อไปในอนาคตเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ไม่มีทุนใดเหนือกว่า “ทุนมนุษย์” ได้อีกแล้ว ซึ่งสิ่งที่ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้อธิบายไว้ใน 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบันที่แม้แต่ทฤษฎีทางการตลาด ก็ยังให้ความสำคัญเรื่องนี้ เพราะบริษัทไม่สามารถที่จะให้บริการเพียงเพราะเขาเป็นลูกค้า หรือผู้บริโภคแบบเดิมอีกต่อไป แต่บริษัทต้องให้บริการในฐานะที่ลูกค้าและผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็น “มนุษย์” ซึ่งมีปัญญา มีความคิด อีกทั้งปัจจุบันมีความรอบรู้ในหลายเรื่องมากกว่าบริษัทด้วยซ้ำ

ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนและผู้นำไปใช้ต้องเปิดใจกว้างในความเห็นที่แตกต่าง ซึ่งดร.จีระฯได้อธิบายทฤษฎีทุน ซึ่งทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)นับเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คงจะเป็นกล่าวไม่เกินความจริงนัก หากจะบอกว่าทฤษฎีนี้ถือเป็นหนึ่งในกฎใหม่ของโลกเช่นกัน

ในบทความนี้ได้เลือก Social Capital ทุนทางสังคม และ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม มาอธิบายต่อกรณีศึกษา 5 D+ Model

ถ้าทุนทางสังคม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 8K’s จะต้องมาจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และ องค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม ในขณะที่ถ้าทุนทางจริยธรรมซึ่งเป็นหนึ่งใน 8K’s เช่นกันหมายถึง การอาศัยคุณธรรมซึ่งสอนให้รู้การรับผิดชอบ ชั่ว ดี ใช้จิตสำนึกขั้นพื้นฐานประกอบด้วยปัญญาไปบริหารแก้ไขการทำงานเพื่อสนองความต้องการของชุมชน อย่างไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรมแล้ว กรอบของการเกิด 5 D+ Model ก็มิได้แตกต่างกันมากนัก

กล่าวกันว่าในศตวรรษที่ 21 ข้อตกใหม่ของโลกกว่าจะเกิดขึ้นมาได้ต้องใช้เวลาเริ่มต้นตั้ง ปี 2515 กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เปิด "การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on Human Environment, Stockholm Conference) " ได้หยิบยกปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขึ้นเจรจา เรียกร้องให้ทุกประเทศตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และเกินขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ประชากรในประเทศยากจนยังคงมีความเป็นอยู่อย่างขาดแคลน

ผลการประชุมดังกล่าว ได้เกิดหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญ เช่นโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งประชาชาติ (United Nations Environment Programme - หรือเรียก สั้นๆ ว่า UNEP) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินสถานการณ์ และทิศทางของสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับชาติ ระดับนานาชาติ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกในการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

UNEP ทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายองค์กรภายในสหประชาชาติและรัฐบาลในแต่ละประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและองค์กรเอกชน หน่วยงานเอกชนและชุมชน โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา และสำนักงานภูมิภาคอีก 6 แห่ง ในแอฟริกา เอเซียตะวันออก เอเซียและแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน รวมทั้งในยุโรป โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

การเผยแพร่เนื้อหาเหล่านี้ในขณะนั้นคือ ตีพิมพ์เอกสาร "Our Common Future" เผยแพร่คำนิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืน และเรียกร้องให้ประชาคมโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเพื่ออนาคตของคนในรุ่นต่อไป

จากนั้นปี 2521องค์การสหประชาชาติจุดพลุถึงการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา (UN commission on Environment and Development) ปี 2530 UN บัญญัติศัพท์ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development-SD ) โดยอธิบายว่า “ Sustainable Development is a development that meet the needs of the present without compromising the ability of future generation to meet their own needs ” (การพัฒนาที่ตอบสนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนในรุ่นอนาคตต้องประนีประนอมลดทอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนเอง) ปี 2535 มี Earth Summit อีก 10 ปีต่อมาปี 2545 เกิด Agenda 21 World Summit on Sustain Development (WSSD) จากนั้นปี 2546-2557 Decade of Education for Sustainable Development

ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัททั่วโลกจะต้องเปลี่ยนแปลง โดยเพิ่มเครื่องมือทางการตลาดที่เรียกว่า "Corporate Social Responsibility" หรือ "ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ" หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "CSR" เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะทำธุรกิจท่ามกลางการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและภัยจากธรรมชาติ ดังนั้นการสร้างสมดุลย์ ระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนภายใต้กรอบของหลักธรรมาภิบาลนั้น นับเป็นความท้าทายสำคัญของภาคธุรกิจ

ทั้งนี้ เมื่อมาถึงปี 2553 Philip Kotler , Hermawan Kartajaya & Iwan Setiawan ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง Marketing 3.0 (From Products to Customers to the Human Spirit) โดยเนชั่นส์บุ๊คส์ ได้ลิขสิทธิ์มาให้ นงลักษณ์ จารุวัฒน์ แปล เริ่มพิมพ์ครั้งแรกเมื่อมกราคม 2554 ซึ่งในส่วนสุดท้ายของหนังสือได้พูดถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวทางการตลาด 3.0 เพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น ปัญหาการกินดีอยู่ดี ปัญหาความยากจน และความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งอธิบายวิธีที่องค์กรธุรกิจสามารถทำประโยชน์ให้สังคมด้วยโมเดลธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อมนุษย์ ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโลกใบนี้ และแน่นอนในการขับเคลื่อน SD ในประเทศย่อมเกี่ยวเนื่องกับภาครัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แท้จริงแล้ว กฎใหม่ที่กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้น ได้เกิดเป็นภาคปฏิบัติเมื่อ 39 ปีที่แล้วในพื้นที่เทศบาลนครกรุงเทพ จนกระทั่งมาถึงกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา โดยหากมองภาพใหญ่จาก Social Capital ทุนทางสังคม เมืองหลวงแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,568.7ตารางกิโลเมตร รองรับคนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน วิถีชีวิตของคนเมืองใหญ่ต้องดิ้นรน ต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด เพื่อให้ได้เงินทองมาเลี้ยงชีพ มีที่อยู่อาศัย และอื่นๆตามปัจจัยสี่ ส่วนที่เหลือจากนี้ ก็เป็นเรื่องความสะดวกสบาย ความปลอดภัยทุกๆ ด้าน สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าที่ทุกคนต้องดิ้นรน ถูกหล่อหลอมให้อยู่ในสังคมใหญ่อย่างมีคุณภาพ โดยมีเครือข่าย (Networks) มีความไว้วางใจ (Trust) มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติ (Norms) เพื่อการส่งเสริม เกื้อหนุน และร่วมมือในการดำเนินงานซึ่งกันและกัน อย่างจริงใจบนพื้นฐานของ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมเป็นที่ตั้งเช่นเดียวกัน

เมื่อคนกว่า 10 ล้านคนในมหานคร มีพื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกันมาก มาใช้ชีวิตร่วมกัน ปัญหาหลายอย่างก็ตามเข้ามา ทั้ง 3 มิติคือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในฐานข้าราชการกทม.มีหน้าที่รับใช้ประชาชน โดยยึดผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นที่ตั้ง จึงต้องสร้างสมดุลทั้ง 3 เรื่อง โดยกฎใหม่ของโลกในยุคปัจจุบัน ถูกนำไปใช้เมื่อ 39 ปีที่แล้วด้วยปัจจัยพื้นฐานของคนเมืองหลวงที่ค้นพบว่า ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนหลีกไม่พ้นความต้องการเหล่านี้

1. Physical Development กายภาพดี

2. Economical Development มีรายได้เหมาะสม

3. Social Development สังคมร่วมใจ

4. Healthy Development อนามัยสมบูรณ์

5. Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม

ทั้ง 5 ข้ออยู่ภายใต้ “ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ตั้งแต่ปี 2515 เป็นต้นมา

“ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ได้คิดและปฏิบัติมาโดยตลอดในการรับใช้ประชาชนกทม. ซึ่งเนื้อหาของงาน

5 D+ Model ต่างเป็นจิ๊กซอว์ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ เพราะมีความเชื่อมโยงกันในทุกมิติของความต้องการ ปัญหา และการแก้ไขปัญหา เพื่อประชาชนเจ้าของพื้นที่กทม.ได้รับความสะดวกสบาย มีความปลอดภัย อยู่ร่วมกันด้วยสังคมที่ร่วมใจดูแลซึ่งกันและกัน

Physical Development กายภาพดี หมายถึงโครงสร้างทางกายภาพของเมือง รวมถึงสาธารณูปโภคทุกประเภท ระบบการสื่อสารบ้านเรือน อาคารสำนักงานทั้งแนวราบและแนวสูง การป้องกันภัยทุกประเภท สิ่งแวดล้อมทุกด้านของเมือง

Economical Development มีรายได้เหมาะสม หมายถึงช่องทางการทำมาหากินอย่างสุจริต เพื่อสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้อยู่ได้อย่างมั่นคง แม้กระทั่งชุมชนที่หาเศษขยะไปขาย เมื่อนำของทิ้งแล้วบางประเภทเช่น ร่มมาทำใหม่ (Reuse) ก็สามารถขายสร้างรายได้อย่างเหมาะสมกับชุมชน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องช่วยเหลือพร้อมกัน คือ“หาตลาด” ให้ก่อน อาจจะต้องประสานกับหน่วยงานรัฐเพื่อให้ช่วยเป็นช่องทางการขายสินค้า หรือส่วนอื่นๆ ที่จะรับซื้อของจากชุมชน โดยชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ป้อนด้านวัตถุดิบ แม้กระทั่งต้องระดมความคิดกับชุมชน รวมถึงข้าราชการกทม.ที่ดูแลพื้นที่ นักวิชาการเพื่อสร้างพื้นที่นั้นๆ ให้มีเอกลักษณ์ด้านอาหารบางประเภท ชนิดถ้าจะทานแบบของแท้ให้อร่อยก็ต้องมาที่นี่ หรือเป็นที่เรียนรู้ทางด้านใดด้านหนึ่ง โดยชุมชนมีส่วนร่วม และมีรายได้จากตลาดที่สร้างขึ้นมา

Social Development สังคมร่วมใจ หมายถึงการมีจิตสำนึกของประชาชนที่จะร่วมกันทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด ถ้าเป็นคำศัพท์ที่ชอบใช้กันมากในยุคที่โลกเต็มไปด้วยภัยภิบัติทางธรรมชาติ ก็ต้องพูดถึงคำว่า “การมีจิตสำนึกของประชาชน” ที่จะร่วมกันทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด ร่วมช่วยเหลือที่จะดูแลเมืองที่ตัวเองอยู่อาศัยทั้ง 5 ด้าน ให้ปราศจากสิ่งที่ไม่ดี

Healthy Development อนามัยสมบูรณ์ หมายถึงการมีสุขภาพที่ดี มีอาหารและเครื่องดื่มปลอดภัย มีการรักษายาบาลผู้ป่วยไข้อย่างดีที่สุด เพราะทุกชีวิตล้วนมีค่า การอยู่รอดของคนเมืองหลวงในด้านนี้ นับเป็นความสำคัญไม่ด้อยกว่าเรื่องอื่นๆ ถ้าหากจะกล่าวว่า การมีสุขอนามัยที่ดีมีผลมายังสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีคงไม่ผิด

Ethical Development เพิ่มพูนคุณธรรม หมายถึงผู้ที่วางระบบให้ประเทศ วางระบบให้เมืองและชุมชน จะต้องมีคุณธรรม ไม่มีการคอรัปชั่น ซึ่งในฐานะผู้นำ จะต้องมีเรื่องคุณธรรมอยู่ในจิตใจมากที่สุด การเพิ่มพูนคุณธรรมก็ต้องมีฐานมาจากเรื่องการมีจิตสำนึกที่ดี

ทั้ง 2 ทุนสอดคล้องกับสิ่งที่ทำมาตลอด เพราะทิศทางการอยู่รอดของคนเมืองหลวงผ่าน“ปฏิบัติการ 5 D+ Model”. ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ เนื่องจากครอบคลุมหลักทุกส่วนเอาไว้ทั้งหมดแล้ว ที่เหลือคือการปรับรายละเอียดการใช้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนไป เพื่อการอยู่รอดอย่าง “คนที่มีคุณภาพ” ของกรุงเทพมหานคร

จากทุนทางสังคมและทุนจริยธรรม เมื่อใช้ในการบริหารงานราชการอย่างจริงจังก็สามารถที่จะสอดคล้องทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ของดร.จีระฯประกอบด้วย Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว สิ่งเหล่านี้เป็นจิตสำนึกขั้นพื้นฐานในการบริหารงานราชกทม. เพื่อสามารถที่จะทำงานใหญ่ด้วย“ปฏิบัติการ 5 D+ Model” ที่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกทม.ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน เอ็นจีโอ ชุมชนต่างๆ แม้กระทั่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อย่างเปิดเผย ถูกกฎหมาย และทุกภาคส่วนสามารถตรวจสอบได้เมื่อเกิดปัญหา ทั้งหมดนี้ได้เกี่ยวเนื่องกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผลจาก“ปฏิบัติการ 5 D+ Model”หลายเรื่องได้เกิดขึ้นเมื่อ 34 ปีที่ผ่านมาได้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เรียนระดับประถมโดยได้ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก พยายามผลักดันให้ช่วยดูแลรักษา ทั้งปฏิบัติและบอกต่อเนื่องว่า "ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย... ดิฉันก็มีโค้ดลับที่คอยเตือนใจว่า NICS ย่อมาจาก Narok (นรก) is coming soon.(อ่านเพิ่มเติม Mind Responsibility ; NICS : Narok (นรก) is coming soon.24 มกราคม 2553 www.brandage.com)

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร BrandAge ปก FAIR TRADE ว่า ...เราเอาอนาคตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของลูกหลานมาใช้มากเกินไป ถ้าเราไม่ช่วยกัน...ไม่ลด ละ สิ่งที่ทำร้ายธรรมชาติ...ก็มีศัพท์คำหนึ่งคือ SD คือ Sustainable Death !!! (อ่านเพิ่มเติม นิตยสาร BrandAge เดือนพฤศจิกายน 2553)

ปี 2553 กฎใหม่ของโลก ในการตลาด 3.0 สรุปว่า พฤติกรรมและค่านิยมองค์กรเปิดกว้างให้สาธารณชนเข้ามาตรวจสอบได้มากขึ้น เครือข่ายสังคมและชุมชนออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำให้ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์บริษัท ผลิตภัณฑ์ และตราสินค้า(Brand)ได้ง่ายขึ้น ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสนใจกับปัญหาและความท้าทายทางสังคมมากขึ้น องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องเคลื่อนไหว และปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้...

………………………………………………………………………………………………………………..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท