หลักการใช้คำกิริยาในภาษาอังกฤษ


หลักการใช้คำกิริยาในภาษาอังกฤษ

คำกิริยา 

( VERB )

          Verb คือ  คำที่แสดงถึงอาการต่าง  ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของเวลา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  คำพูดที่แสดงถึงการกระทำของตัวประธานในประโยค หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยคำกิริยาด้วยกันนั่นเอง  กิริยาเป็นคำที่มีบทบาทที่สำคัญในแต่ละประโยค  ถ้าในประโยคนั้น ๆ ขาดคำกิริยา  ความหมายก็ไม่เกิดและไม่สามารถทราบถึงเหตุการณ์ต่าง ๆได้เลย หรือมีใจความที่ไม่สมบูรณ์

          คำกิริยาตามหน้าที่แบ่งออกเป็น  3 ประเภท คือ

1.  สกรรมกิริยา ( Transitive  Verb ) คือ คำกิริยาที่ต้องมีตัวกรรม หรือคำอื่นเข้ามารองรับความหมายจึงจะสมบูรณ์ เช่น The  boys  kick  football  in  the  field. หมายความว่า 

พวกเด็ก ๆ เตะฟุตบอลอยู่ที่สนามหญ้า  คำว่า “ kick   เป็นคำกิริยา บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ว่าในขณะนี้หรือปัจจุบันนี้เด็ก ๆ กำลังเล่นกันอยู่ ส่วนคำว่า “ football ” เป็นตัวกรรมหรือตัวที่ทำหน้าที่รองรับกิริยาให้มีความหมายสมบูรณ์ขึ้น เพราะถ้าใช้คำว่า “ kick “ คำเดียวความหมายไม่สมบูรณ์ ไม่รู้ว่าเตะอะไร นั่นเอง

          2. อกรรมกิริยา ( Intransitive  Verb )  คือ คำกิริยาที่ไม่ต้องมีตัวกรรมหรือคำอื่นมารองรับก็ได้ความหมายสมบูรณ์เช่น  The  dogs  run  in  the  field.  ประโยคนี้ไม่ต้องมีตัวกรรมมารองรับ ก็ได้ใจความสมบูรณ์ดี  ซึ่งคำว่า “  run “ แปลว่า “ วิ่ง “ คงไม่ต้องถามว่าใช้อะไรวิ่งนะครับ

          3.  กิริยาช่วย (  Helping  Verb หรือ  Auxiliary  Verb ) คือ กิริยาที่มีหน้าที่ช่วยให้กิริยาด้วยกันมีความหมายดีขึ้น และยังมีหน้าที่ทำให้ตัวของมันเองมีความหมายที่สมบูรณ์ขึ้นได้ดีอีกด้วย  เช่น  She  studies  in  Lamp – Tech  college .  Does  she  study  in  Lamp – Tech College ?

 

 

วิธีใช้คำกิริยาในภาษาอังกฤษ

( HOW  TO USE  VERB  )

          คำกิริยาในภาษาอังกฤษตามหลักไวยากรณ์แบ่งออกเป็น 3 ช่อง เรียกว่า “ กิริยา 3 ช่อง “ ซึ่งแต่ละช่องก็บอกถึงเหตุการณ์ในแต่ละช่วงของเวลาได้อีกด้วย  ตามตัวอย่างในตาราง ต่อไปนี้

 

ช่องที่ 1

ช่องที่ 2

ช่องที่ 3

run

ran

run

see

saw

seen

 

กิริยาช่องที่ 1 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

กิริยาช่องที่ 2 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

กิริยาช่องที่ 3 ใช้กล่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปอย่างสมบูรณ์ทั้งในปัจจุบันและอดีต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ ส่วนสมบูรณ์ของกิริยา หรือ Complement  “

          ***  ตามความเห็นของอาจารย์ผู้เขียนนะครับ  เปรียบคำกิริยาเหมือนกับผู้กำกับหนังหรือละคร  ตัวประธาน ก็เหมือนพระเอกหรือนางเอก ส่วนตัวกรรมก็เหมือนกับบทบาท ของนักแสดงทั้งหมด ที่ผู้กำกับต้องคอยป้อน ว่าจะให้สมบทบาทแค่ไหน หรือแสดงออกมาสมจริงอย่างไร.

 

คำกิริยามีวิธีใช้อยู่ 2 วิธี คือ

  1. ใช้เป็นกิริยาแท้ของประโยคที่มีตัวประธานเป็นบุรุษสรรพนาม

( ยกเว้นสรรพนามบุรุษที่ 3 )และตัวประธานที่เป็นพหุพจน์ เช่น

                   I

                   We               want  a  book.

                   You

                   they

          The  boys  want   some  books.

2.  ใช้เป็นคำแสดข้อความที่มี  to  นำหน้ากิริยา เช่น   to work , to  go ,  to run , to buy เป็นต้น

          ทั้งหมดทั้งสิ้นที่กล่าวมานั้นก็เป็นส่วนของคำกิริยา ซึ่งนักศึกษาสามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับนักศึกษา.

          กล่าวโดยสรุปแล้ว คำกิริยาที่ได้ยกมาพูดตั้งแต่ต้น สามารถสรุปได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

  1. กิริยาแท้  ( Finite  Verb )
  2. กริยาช่วย  (Auxiliary  Verb )

ในส่วนของกิริยาช่วยนั้นอาจารย์ผู้เขียนเอง ขอกล่าวเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย ซึ่งได้ผ่านหูผ่านตานักศึกษามาบ้างแล้ว  นั่นก็คือ

  1. Verb  to  be  ( is , am , are , was , were  )  แปลว่า เป็น,  อยู่ , คือ
  2. Verb  to  have ( has , have , had ) แปลว่า  มี
  3. Verb  to  do ( do , dose, did ) แปลว่า ทำ

โดยทั่วไปแล้วเราจะเห็นว่า คำกิริยา ก็จะเป็นตัวแปร หรือตัวช่วยที่สำคัญ ที่ช่วยให้เราได้รู้

ถึงคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละประโยค ที่เรียกว่า” เหตุการณ์ “

          ก่อนที่จะยุติเรื่องการใช้คำกิริยาในภาษาอังกฤษ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อประกอบการทำความเข้าใจ  ขอเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือในชีวิตประจำวัน

          Manit  is  a  student  of  this  college. Every  day  he  gets up at  06.00 o’clock and  then  he hurry takes a  shower, cleans his  shoes and  gets  dressed. His  house is near  the  college  about  4 kilometers , some  times when  it is  raining  he  is going  to  take  a motorcycle  with  his  friend.

          คำที่พิมพ์ด้วยตัวอักษรสำดำนั้น  ล้วนแต่เป็นคำกิริยาทั้งสิ้น ซึ่งบ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน และยังบอกให้เราทราบว่าเป็นเหตุการณ์ในปัจจุบันอีกด้วย  ทั้งนี้สังเกตที่คำกิริยานั่นเอง

          หากนักศึกษาอยากเข้าใจให้มากขึ้นกว่านี้  นักศึกษาต้องพยายามอ่าน  พูด และเขียนให้เยอะ ๆ จะได้มีทักษะมากขึ้น และในที่สุดการใช้ภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งที่ง่าย

          และก่อนจาก ขอฝากข้อคิดไว้ว่า “ ไม่มีคำว่าแพ้  ในหมู่นักสู้ “

หมายเลขบันทึก: 456449เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2011 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท