1 ไร่ 100,000 และพลังง้วนดิน ก้อนสรรพสิ่ง: อะตอมนามิโน”


การพัฒนาอย่างยั่งยืน การเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1 ไร่ 100,000 และพลังง้วนดิน ก้อนสรรพสิ่ง : อะตอมนามิโน”

            เมื่อวันจันทร์  ที่  15  สิงหาคม 2554 ได้พานิสิตคณะครุศาสตร์ ปี 3 -4  ไปศึกษาดูงานนวัตกรรมการเกษตร 1 ไร่ 100,000  บาท ที่สำนักงานเทศบาลตำบลวังผาง  อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน  ได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากคณะผู้บริหารและบุคลากรของเทศบาลฯ   โดยเฉพาะท่านนายกสืบศักดิ์  สุภิมาส  ท่านปลัด และลุงดาบตำรวจ  ที่กรุณาอนุเคราะห์เล่าถึงสภาพชุมชน  นโยบาย แผนงานการบริหาร กิจกรรมเด่น  ทั้งยังนำพาไปศึกษาดูนวัตกรรม 1 ไร่ 100,000 และ”พลังง้วนดิน : อะตอมนามิโน” 

           ท่านนายกสืบศักดิ์ ได้เล่าถึงความพยายามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลวังผาง โดยคำนึงถึงมิติการเกื้อกูลเรื่องสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชน  รูปธรรมหนึ่งของการขับเคลื่อนงานคือ โครงการ  1 ไร่ 100,000 และ”พลังง้วนดิน : อะตอมนามิโน”   พวกเราจึงมีโอกาสได้เห็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งมีการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรตามแนวคิด 1 ไร่ 100,000  บาท  ซึ่งพบว่า  เป็นการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่  การเลี้ยงปลาในนาข้าว  การเกษตรแบบชีววิถีภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โดยมีวิธีการคือ   การขุดปรับที่ดินโดยรอบที่นาให้มีขนากว้างลึกประมาณ 1*1 เมตร  นำดินที่ขุดได้มาทำเป็นคันนาด้านนอกขนาดกว้างประมาณ  1 - 1.5 เมตร เพื่อใช้สำหรับการเพาะปลูกพืชหมุนเวียนต่าง ๆ  และด้านในคูรอบที่นา  ทั้งนี้ให้เว้นบริเวณด้านหนึ่งของที่นาเป็นทางสำหรับรถไถเข้าออกที่นา

          การทำเกษตรลักษณะนี้  เริ่มจากการปรับที่ดินในข้างต้น  วางระบบน้ำเพื่อเข้าสู่ที่นา และไถคราดเพื่อการดำนา  ระหว่างนั้นให้นำพ่อแม่พันธุ์ปลานิลปล่อยในร่องน้ำ  เพื่อให้วางไข่ ปลานิลหนึ่งตัวจะวางไข่ประมาณ  2000 ฟอง  พื้นที่หนึ่งควรปล่อยพ่อแม่พันธ์ประมาณ 3 คู่ และในหนึ่งปีปลานิลจะวางไข่ 2- 3 ครั้ง   ก่อนปล่อยปลาวางสู่ร่องน้ำให้เตรียมอาหารธรรมชาติคือใช้ก้อนพลังง้วนดิน : อะตอมนามิโน ใส่ลงไปเพื่อสร้างแพลงค์ตอนพืช  หลังจากปล่อยปลานิลประมาณ 2เดือน ก็ปล่อยปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุกในร่องและนาข้าว  รวมทั้งบางไร่อาจปล่อยกบนาเลี้ยงไปพร้อมกัน

          ข้าวพันธุ์ที่เลือกปลูกคือ  ข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีคุณค่าอาหารสูงและเป็นที่นิยม  การบำรุงต้นข้าวและดิน  ก็เน้นชีววิถีคือ ใส่ก้อนพลังง้วนดิน หรือก้อนสรรพสิ่ง หรือ อะตอมนามิโน 

         ส่วนบริเวณคันนาก็เลือกปลูกผักหมุนเวียนเพื่อการบริโภคในครัวเรือน และเหลือจำหน่าย โดยเน้นการปลูกผักตามฤดูกาล  การไม่ใช้สารเคมี  การบำรุงดินก็ใช้ใส่ก้อนพลังง้วนดิน หรือก้อนสรรพสิ่ง หรือ อะตอมนามิโน  หากเกิดปัญหาศัตรูพืชก็ใช้สารสมุนไพรฉีดพ่นเป็นระยะและป้องกันโดยการปลูกพืชคละชนิดเพื่อการควบคุมแมลง

           ผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยว  นอกจากบริโภคในครัวเรือนก็จะจัดจำหน่ายทั้งภายในและนอกชุมชนโดยการรวมกลุ่มจำหน่ายและแปรรูป  เช่น  ข้าวก็จะมีโรงสีข้าวปลอดสารพิษ บรรจุถุงจำหน่ายภายใต้ชื่อ  ข้าวกล้องบุญ   และมีความพยายามคิดค้นแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ร่วมกับสำนักงาน สวทช.ภาคเหนือ   ซึ่งข้าวกล้องของวังผางนี้   มีกลิ่นหอมเนื้อหนุ่มมาก  หุงง่ายเพิ่มเติมน้ำ 1.75 – 2  เท่า ก็หุงได้เลยโดยไม่ต้องแช่(ทดลองซื้อมาหุงแล้วคะราคากิโลละ 50 บาท)    

          นอกจากนี้  ที่วังผาง ยังมีผลิตภัณฑ์ลำไยทั้งสดและแปรรูปจำหน่าย  ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มะม่วงแปรรูปจำหน่าย  ทำเป็นลักษณะแผ่นม้วนเหมือนขนมทองม้วน   รสชาติอร่อยมาก ไม่ติดฟัน   กรรมวิธีผลิตก็สะอาด  ทำจากมะม่วงมหาชนก  ซึ่งสาเหตุที่นำมาแปรรูปเพราะปีนี้ราคามะม่วงมหาชนกต่ำและผลผลิตล้วนตลาด  ราคากล่องละ 35 บาทคะ

         สำหรับโครงการ 1 ไร่ 100000 นี้  ทางเทศบาลวังผางได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหอการค้า และทางเทศบาลได้จัดสรรพื้นที่ทำนาให้แก่เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ฯ ซึ่งมีเกษตรกรตัวจริงและเกษตรกรหน้าใหม่สนใจเข้าร่วม เช่น  เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจในตำบล   และเจ้าหน้าที่เทศบาลวังผาง  ทั้งนี้นายกสืบศักดิ์  พูดน่าสนใจว่า  อยากให้เจ้าหน้าที่เทศบาลเป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้านได้  รู้จริงจากการปฏิบัติ เพื่อสามารถบอกชาวบ้านได้อย่างเต็มปากเต็มคำ  ไม่ใช่ว่า  บอกชาวบ้านทำแต่ตนเองไม่เคยทำ หรือหากเจ้าหน้าที่ยังทำไม่สำเร็จจะไปส่งเสริมให้ชาวบ้านทำได้อย่างไร  ดังนั้นเจ้าหน้าที่เทศบาลนอกจากทำงานในหน้าที่ประจำ  ยังรับผิดชอบโครงการและทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภายนอกเช่น  สวทช.ภาคเหนือ  ,สกว. ,สสส.และหน่วยงานต่าง ๆ 

        การศึกษาดูงานครั้งนี้  ได้รับความรู้มากมาย  ที่สนใจมากคือ องค์ความรู้เรื่องอะตอมมิคนาโน จากท้องทุ่ง  หรือ สรรพสิ่งหรือง้วนดิน  ซึ่งได้พยายามไปหาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าคือ

        1. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photo synthetic bacteria; PSB) พบทั่วไปในธรรมชาติ เป็นแบคที่เรียที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่งพลังงาน และออกซิไดซ์ สารประกอบอินทรีย์โดยเฉพาะกรดอินทรีย์หลายชนิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีแสงได้ จึงมีคุณประโยชน์ในการเกษตร และ      ปศุสัตว์ รวมถึง อุตสาหกรรมทางเคมี และปิโตเลียม เป็นต้น

        2. พลังง้วนดินธรรมชาติ (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง) สามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้โดยการแบ่งอนุภาคอะตอมเดียว แบคทีเรียสังเคราะห์แสงบรรจุไว้ใน “อะตอมมิก”ซึ่งเป็นซากสัตว์สองเซลล์ที่มีรูพรุน มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ด้วยสารเคมีสูตรเข้มข้นโดยวิธีการหมัก สังเคราะห์ จะทำให้มีกลิ่นหอม สร้างกรดอะมีโน วิตามิน และน้ำตาลมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

        3. พลังแอนตี้ออกซิแดนท์ เกิดจากการที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดสนามคลื่นสั่นสะเทือนเท่ากัน ก่อให้เกิดความสมดุล คามกลมกลืน ผลผลิต พืชและสัตว์โตสม่ำเสมอ

       4. จุลินทรีย์ที่เกิดจากพลังงานง้วนดิน(อะตอมมิกนาโม) เป็นแบคทีเรีย ประเภทที่ตรึงไนโตรเจนอิสระประเภทต้องการออกซิเจน (O2) น้อยอยู่ในตระกูลเอ็นเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacter) รวมกันอยู่ทั้ง 2 สกุล และเป็นชนิด เคล็บซิล่าวาริอิโคลา (Klebsilla cariicola) อยู่รวมกับเอ็นเทอโรแบคเตอร์โควานิอิ (Enterobacter) เป็นสายพันธุ์แบคที่เรียที่ตรึงไนโตรเจนที่พบใหม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในไร่นาเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้

      5. วิธีเพาะเลี้ยง เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนเข้มข้น โดยใช้ขั้นตอนดังนี้

      ขั้นที่ 1 นำเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากธรรมชาติเรียกว่า “ง้วนดิน” มาเลี้ยงด้วยอาหารที่มีกรดโปรตีนเข้มข้น เช่นน้ำนม น้ำมะพร้าวอ่อน สาหร่าย และเกลือสตุ แล้วบรรจุเชื้อแบคทีเรียไว้ในอะตอมสัตว์สองเซลล์เรียกว่า “อะตอมนามิกโน”

     ขั้นที่ 2 นำอะตอมมิกนาโนชนิดผงและชนิดน้ำมาขยายผลต่อในกองจุลินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ รำอ่อน เศษวัสดุ พืชผักต่างๆ ฟางข้าวและหญ้า เป็นต้น หรือนำมาหมักด้วยผลไม้อย่างน้อย 5 ชนิด เพื่อทำเป็นฮอร์โมนสกัด มาเป็นสารเร่งเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นสารต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant)

     ขั้นที่ 3 เมื่อนำเอาน้ำหมักที่ได้จากขั้นที่ 2 มากลั่นเป็นฮอร์โมนชนิดเข้มข้นผสมเจือจางกับน้ำธรรมชาติในอัตราส่วน 1: 500 และ 1: 1000 ใช้เป็นอาหารเสริมทางใบและเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์

    ขอขอบคุณคณะผู้บริหารและบุคลากรเทศบาลตำบลวังผาง  ที่ให้การอนุเคราะห์คณะเรา  ดูแลพวกเราอย่างดี  พวกเราไปดูงานทั้งหมด  27  รูป/ คน ทีมงานเทศบาลมาต้อนรับเรา  15 คน  ทั้งบรรยายในกลุ่มใหญ่  พาดูงานในแปลงนา  ตั้งแต่เวลา 13.30 – 17.00 น. เราจึงเดินทางกลับ  และยังกรุณาบอกว่า  ยินดีต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากที่ต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อันจะนำสู่การสานพลังข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน 

 

หมายเลขบันทึก: 456428เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2011 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สนใจในความรู้ด้านนี้ แต่คงเอาไปทำไม่ได้หรอก เพราะมีการให้องค์ความรู้ไม่ครอบคลุม มีการเก็บไว้บางส่วนเพื่อใช้ในการอบรม ทำให้ผู้อ่านนำไปปฏิบัติด้วยตนเองไม่ได้ เช่น สรรพสิ่งน้ำคืออะไร สรรพสิ่งผงคืออะไร ฯลฯ มีวิธีการทำอย่างไร? ไม่มีการให้รายละเอียด 

เข้าใจถูกต้องครับ เพราะเรื่องจุลินทรีย์ ที่ใช้สำหรับทำสรรพสิ่งนั้นผู้คิดค้นขอเก็บเป็นความลับ ด้วยเกรงว่าหากบริษัทเอกชน หรือบริษัทต่างชาติ รับรู้ก็จะนำไปแสวงหาประโยชน์ครับ

แล้วจะหาซื้อได้ืั่ที่ไหนได้บ้างครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท