Scientific Paradigm


Scientific Paradigm (กระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์)
 วันนี้ทางโรงเรียนได้ให้ครูอบรมการทำวิจัยซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สพม. 18 ชลบุรี-ระยอง ซึ่งตัวของข้าพเจ้าก้ได้เจอกับคำว่า "กระบวนทัศน์" อยู่ทุกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ท่าน  ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ ได้ให้ความหมายของกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ว่า " คือ ความรู้ที่แท้จริง (genuine Knowledge) เกิดจากการสังเกตด้วยประสาทสัมผัสและการทดลอง (การจัดการกระทำและควบคุมตัวแปรเพื่อศึกษา)" หรืออาจเปรียบ Paradigm เหมือน Lens เลนส์

กระบวนทัศน์ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 แบบ
  1. วิจัยเชิงปริมาณ
  2. วิจัยเชิงคุณภาพ

วิจัยเชิงปริมาณ
  1. ศึกษาผลของตัวแปรต้นที่มีผลต่อตัวแปรตาม
  2. ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นหลัก
  3. ใช้วิธีการเชิงนิรนัย (Deduction)
  4. มุ่งทำนาย (สรุปอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากร) (Generalization)
  5. มุ่งพิสูจน์ทฤษฎี

วิจัยเชิงคุณภาพ
  1. เน้นความหมาย (ตีความหมาย)
  2. ใช้ข้อมูลคุณภาพเป็นหลัก
  3. ใช้วิธีการอุปนัย (Induction)
  4. มุ่งอธิบายด้วยความเข้าใจองค์รวมอย่างลึกซึ้ง (ไม่มุ่งทำนาย)
  5. มุ่งสร้างทฤษฎี

คำสำคัญ (Tags): #Scientific Paradigm
หมายเลขบันทึก: 456353เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2011 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท