เรื่องน่าอ่าน (25สค54)


สวัสดีวันพฤหัสบดี... วันนี้เป็นวันครู ขอระลึกถึงพระคุณของคุณครูภาษาไทย-อังกฤษ ซึ่งท่านสอนผู้เขียนมาด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู ทำให้มีโอกาสเขียนบล็อกมาจนทุกวันนี้ ด้วยความเคารพครับ
.
(ก). บล็อกอาหาร-ท่องเที่ยวมาแรง
  • จุดแข็งของคนไทย คือ รักสนุก ชอบแสดงออก เป็นตัวของตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้คนไทยมีศักยภาพที่จะเขียนบล็อกสูงมาก
  • จุดอ่อนของคนไทย คือ ไม่เก่งภาษาอังกฤษ+ภาษาที่สาม ทำให้เราไม่มีบล็อกเกอร์ภาษาอังกฤษแบบที่หมอสิงคโปร์ท่านหนึ่งทำบล็อกแนะนำอาหารสิงคโปร์ดังไปทั่วโลก
  • กราบเรียนเสนอรัฐบาลลดภาษีให้ TV ที่สอนภาษาอังกฤษอย่างน้อย 20 นาที/วัน, จัดประกวดบทเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาที่สามทุกปี นำขึ้น YouTube, เว็บไซต์ติว (ควรเป็นของ TK park), และให้ดาวน์โหลดฟรีที่ห้องสมุดโรงเรียนทุกจังหวัด ติวจากพื้นฐานจนถึงขั้นสูง เพื่อให้ไทยแข่งขันกับนานาชาติได้
(ข). จุดอ่อนแอปเปิ้ล
  • การวิเคราะห์ "สวนกระแส (หาจุดอ่อนฝ่ายที่ประสบความสำเร็จ)" แบบนี้มีคุณค่ามากกว่าการวิเคราะห์ "ตามน้ำ (ชมฝ่ายที่ประสบความสำเร็จ)" เนื่องจากทำให้ผู้อ่านได้ข้อคิด
  • แอปเปิ้ล (iOS & OSx), กูเกิ้ล (Android), และอูบุนตู (Ubuntu Linux) มีศักยภาพสูงที่จะทำโปรแกรมปฏิบัติการ (OS) พื้นฐานพร้อมโปรแกรมออฟฟิซ ขายให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปเป็นทางเลือกราคาไม่แพง เนื่องจากโปรแกรมวินโดวส์แพงมาก
  • รัฐบาลน่าจะให้ทุน Ubuntu พัฒนาโปรแกรมที่รองรับภาษาไทย และใช้ง่ายกว่านี้ (อาจทำ 2 ชุด ชุดหนึ่งใช้ง่ายแบบวินโดวส์ อีกชุดใช้ง่ายแบบแอปเปิ้ล), เพียงลงทุนไม่กี่สิบล้านบาท... จะทำให้คนไทยใช้โปรแกรมถูกต้องมากขึ้น เถื่อนน้อยลง โดยเฉพาะนักเรียน-นิสิต-นักศึกษา

(ค). เศรษฐีฝรั่งเศสขอช่วยชาติเสียภาษีเพิ่ม

  • ก่อนหน้านี้ท่านบัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีอเมริกัน ผู้บริจาคเงินส่วนใหญ่ให้การกุศล (ร่วมกับท่านบิลล์-มิลินดา เกตส์ แห่งไมโครซอฟท์) เสนอให้เก็บภาษีคนรวยช่วยชาติเพิ่ม
  • ชาติตะวันตกเสื่อมโทรมลงจากการเป็นรัฐสวัสดิการ ทำให้มีคนรับสวัสดิการตกงานจำนวนมาก และไม่ค่อยทำงาน, ก่อสงครามเรื้อรัง
  • ยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ชาติพัฒนา คือ ส่งเสริมการศึกษา-ป้องกันโรค ไม่ทุ่มไปกับสวัสดิการมากเกินไป เช่น เพิ่มการผลิตสาขาขาดแคลน (หมอฟัน-พยาบาล-นักบิน-วิศวกรสาขาขาดแคลน โดยเฉพาะโท-เอก, ช่างอาชีวะ) เพิ่ม 3 เท่า, ลดการผลิตสาขาที่จบมาแล้วไม่มีงานทำ ฯลฯ
  • นี่เป็นเรื่องของมหาเศรษฐีผู้มากน้ำใจ... ขอกราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

(ง). ฝึกใจเป็นสุข รับจุดต่างคู่ครอง+เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ

(1). นายกฯ ภูฏานเผยประชาชนไม่พร้อม ปชต.
  • ภูฏานดูเผินๆ เหมือนเจริญด้าน GDP ความสุข, ทว่า... มีภัยคุกคามสำคัญๆ มากมาย ทั้งจากการอยู่กลางมหาอำนาจจีน-อินเดีย ประชาชนขาดโอกาสทางการศึกษา รัฐบาลก่อนหน้านี้ไม่ลงทุนด้านการศึกษา ทำให้คนในชาติล้าหลัง ขาดแรงงานฝีมือ-ความรู้ แถมยังอยู่ติดประเทศลูกดก (อินเดีย-เนปาล)
  • ภูฉานขับไล่ผู้ลี้ภัยชาวเนปาลจำนวนมาก ทางเนปาลก็ไม่รับ ทำให้กลายเป็น "ผู้ไร้สัญชาติถาวร" ตรงพรมแดน
  • ภูฏานมีโอกาสด้านการพัฒนาสูง โดยเฉพาะถ้ารีบพัฒนาด้านการศึกษา-สาธารณสุข-ท่องเที่ยว และรักษาประชาธิปไตยไว้ เพราะนี่เป็นทางเลือกทางรอดในระยะยาว

(2). เงินหยวน-จ๊าด (พม่า) น่าจะแข็งขึ้น

  • เงินของประเทศที่มีเงินตราต่างประเทศมาก เช่น จีน ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้น ตรงข้ามกับดอลลาร์สหรัฐฯ, การสวนกระแสทำเงินให้อ่อนอาจทำให้เสียเงินตราต่างประเทศ เสี่ยงต่อการเก็งกำไรค่าเงิน (เมื่อเทียบกับการลู่ตามลม)
  • พม่าดูจะอิงเงินตามค่าเงินหยวน... ตอนนี้เงินจ๊าดเลยแข็งตามไปด้วย

(3). สหรัฐฯ รับออร์เดอร์สินค้าคงทนเพิ่ม 4% > ผลจากขายเครื่องบินโบอิ้ง

(4). ผู้จัดการรถไฟจีนหัวใจวายตายระหว่างสอบสวน
  • การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ความเศร้าความกดดันมากๆ ทำให้หัวใจวายจากการ "อกหัก (broken heart)" ป่วยหรือตายได้ เพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
  • ไทยน่าจะพิจารณารถไฟรางกว้าง-รางคู่ แบบอินเดีย เน้นปลอดภัย ความเร็ว 100 ต้นๆ ที่สำคัญ คือ ควรให้เอกชนร่วมลงทุน-ดำเนินการ (ถ้าให้การรถไฟฯ ทำเสี่ยงขาดทุนถาวร!)
(5). เบื้องหลังจลาจลอังกฤษ
  • อังกฤษเป็นรัฐสวัสดิการ มีคนต่างด้าวอพยพเข้ามาก... ประชากร 1/8 รับสวัสดิการตกงาน และมีแนวโน้มจะ "ไม่ทำงาน" หรือ "หางานทำไม่ได้" แบบถาวร ทำให้คนอังกฤษที่ทำงานและเสียภาษีรังเกียจ
  • สภาพ "คนหลุดโลก (alien)" ในประเทศ ทำให้ลูกหลานคนต่างด้าว (น่าจะได้สัญชาติแล้ว), เกิดแนวคิด "ต่อต้านสังคม (anti-social)" - หาความสุขจากการทำลาย หรือทำให้คนอื่นเดือดร้อน
  • คนไทยควรศึกษาเรื่องนี้ ระวังอย่าให้เกิดค่ายผู้ลี้ภัยถาวร หรือคนไร้สัญชาติถาวรในประเทศ, ส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าว-ลูกแรงงานต่างด้าวเรียนภาษาไทย และให้ประกาศนียบัตรเมื่อสอบผ่านแต่ละชั้น จะทำให้เกิดมิตรภาพขึ้นในภูมิภาคได้ 
หมายเลขบันทึก: 456188เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท