Spiral down the drain (ทิศทางของสังคมไทยที่น่ากลัว)


วันนี้เราน่าจะมาถกกันว่าทำอย่างไรจะทำให้เด็กไทยมีนิสัย “รักการเรียนรู้” ไม่ใช่ว่าทำอย่างไรจะให้เขาใช้คอมฯ เป็น

รัฐบาลไทยโดยการเมืองไทยก็ติดกับดัก คิดกันได้แบบตื้นๆ เหมือนเดิมๆ ว่า ความรู้ความเก่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการแจกอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น คอมพิวเตอร์ ให้นร.ทุกคน...ต้องทันสมัยแบบสิงคโปร์เขาสิ (แบบที่พวกเราเสียเงินเดินทางไปดูงานกันมา ...แบบนี้มันเสียค่าโง่หลายต่อมากจริงๆ )

 

คนโง่จะทำให้มันฉลาดต้องแจกคอมพิวเตอร์  ส่วนคนจน จะทำให้มันรวย ก็ต้องแจกเงินกู้สิ มันคิดกันได้ง่ายๆ แค่นี้เอง

 

ส่วนประเทศไทยในภาพรวม อยากรวย ง่ายนิดเดียว เปิดประเทศ ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน (ข่มขืน) ได้เสรี ส่วนเรานอนนับเงิน ซำบาย (ประมาณว่าโสเภณี)

 

นี่มันคงเป็นผลพวงแห่งความคิดหยิบโหย่ง ใฝ่หาแต่ความสบายที่ปลายยอดของคนไทย กระมัง  เลยทำให้มองอะไรแบบฉายฉวย ตื้นเขิน และ ง่ายๆ ถึงเพียงนี้

 

ปัญหาเรื่องการเรียนรู้นั้นรากของมันอยู่ที่ “การรักการแสวงหาความรู้” ไม่ใช่อยู่ที่วิธีการหาความรู้ เช่น การแจกคอมพิวเตอร์  (ซึ่งเป็นเพียงวิธีการหาความรู้หนึ่งในหลากหลายวิธีเท่านั้นเอง)

 

 วันนี้เราน่าจะมาถกกันว่าทำอย่างไรจะทำให้เด็กไทยมีนิสัย “รักการเรียนรู้”  ไม่ใช่ว่าทำอย่างไรจะให้เขาใช้คอมฯ เป็น เพราะถ้าเขารักการเรียนรู้เสียแล้ว ต่อไปเขาก็เรียนรู้การใช้คอมพ์เป็นด้วยตนเอง และอื่นๆอีกมากมหาศาล  ...อ้อลืมไป สงสัย วิธีแรกมันไม่มีงบการซื้อครุภัณฑ์ ก็เลยไม่มีแรงกระตุ้นให้คิดกันออก

 

ปัญหาความยากจนนั้นมันก็มีรากมาจากการขาดการ “รักการเรียนรู้” (อีกแล้ว )  และ การขยันขันแข็ง แต่นี่เขาคิดกันว่า ให้มันกู้ไป เดี๋ยวก็รวยเอง ..ขอทำนายว่าถ้าไม่มีความรู้ในการทำงาน และไม่ขยัน กู้ไปก็เจ๊งหมด สุดท้ายรัฐบาลก็มา “ประนอมหนี้” (ยกหนี้ให้) เพื่อหวังคะแนนเสียงในสมัยหน้า

 เมื่อคนปัจเจกมันไม่รักการเรียนรู้ มันก็ โง่ จน แล้ววนเลือกนักการเมืองเลวโง่เข้าไปเต็มสภา เพื่อมากำหนดนโยบายแจกดะแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าชาติไทยเรามันจะไหลวนลงสู่ก้นท่อ (spiral down the drain)  ในที่สุด  เพราะความโง่มันดูดกันลงสู่ใจกลางที่ต่ำแบบวนเกลียวนั่นแล

เหมือนสังคมอารยะอื่นๆ ที่สูญสิ้นหายไปไร้ร่องรอย

 

...คนถางทาง (๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔)

หมายเลขบันทึก: 456182เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท