KM กับโครงการประกวดนวัตกรรมฯ


เป็นนวัตกรรมเล็กๆ สามารถขยายได้ เรียกว่าการดิ้นได้ และสามารถต่อยอดผลงานเรื่อยๆ

    

     ในวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา นำทีมโดยคุณรุจิเรข แสงจิตต์พันธุ์ คุณวิภาพร นิธิปรีชานนท์ และคุณบรรเจิดพร สู่แสนสุข จากสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามาหารือกับ สคส. ในการใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำงานของหน่วยงานและสร้างความเข้าใจให้กับศึกษานิเทศก์แกนนำในการคัดเลือกนวัตกรรมทางการศึกษาจากโรงเรียนในพื้นที่  และคุณวิภาพรได้ให้รายละเอียดว่า ในโครงการประกวดนวัตกรรมฯ ที่ดำเนินงานอยู่นี้ เป็นการสร้างนวัตกรรมของครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอน เป็นผลงานของครูและมีผลต่อเด็ก             

      โดยโครงการประกวดนวัตกรรมฯ ขณะนี้ทีผลงานที่ส่งเข้ามา 700 นวัตกรรม ระดับเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 175 เขต ใน 5 ภูมิภาคที่เข้าร่วมโครงการ มี 4 สาขาหลักคือ

  1. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
  2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
  3. นวัตกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม
  4. นวัตกรรมอื่นๆ และสิ่งประดิษฐ์  ซึ่งโครงการฯ (ส่วนกลาง)

      และสนับสนุนด้านงบประมาณให้กับเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 175 เขต และให้ศึกษานิเทศก์ในแต่ละเขตฯ คัดเลือกโรงเรียนในเบื้องต้น หลังจากนั้นส่วนกลางจะคัดเลือกในลำดับต่อไป  

     สิ่งที่สำคัญคือ การกระตุ้น กระตุกความคิด ให้เกิดการสร้างผลงานที่มีอยู่ เป็นการต่อยอดผลงาน และ ขยายสิ่งที่มีอยู่ในโรงเรียนของตนไปยังที่อื่น (โรงเรียนอื่นๆ ได้)

     สิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้คือ

·        ความเข้าใจไม่ตรงกันของคำว่า "นวัตกรรม" และส่วนใหญ่มักคิดว่านวัตกรรม คือ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ใหญ่โต  แต่แท้ที่จริงแล้วความหมายคือ เป็นนวัตกรรมเล็กๆ สามารถขยายได้ เรียกว่าการดิ้นได้ การต่อยอดผลงาน ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เรียกว่า the best  และต้องสามารถต่อยอดไปเรื่อยๆ (dynamic)

·        นวัตกรรม คือ กลยุทธ์ หรืออุบายในการชักจูงให้ครูเอาใจใส่คุณภาพของเด็ก  ครูทำหน้าที่กระตุ้นเด็ก รดน้ำพรมเด็ก ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดง สร้างพื้นที่โอกาสนั้น

·        ทีมงานมีความตั้งใจที่จะนำ KM เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครู

·        การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ ต้องสัมผัสด้วยการเข้าไปคลุกคลี และถ้าสามารถเรียนรู้ได้ถึงเนื้อหนังลึกไปถึงจิตวิญญาณ   ถึงจะเห็นบริบทที่แท้จริง นั่นแหละของจริง

·        นวัตกรรมที่ครูสร้างขึ้นให้กำหนดว่าต้องมีผลถึงเด็ก และคิดด้วยว่าจะวัดผลอย่างไร ไม่อยากให้ครูมองแค่ผลลัพธ์คือรางวัลอย่างเดียว

หมายเลขบันทึก: 45572เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท