ประวัติพระพุทธศาสนาตอนที่ ๖


การแยกนิกายในพระพุทธศาสนา



๓.๔  การแยกนิกายในพระพุทธศาสนา

 

                   เสถียร โพธินันทะ
ได้กล่าวถึงการแยกนิกายจากคัมภีร์ทีปวังสะ ไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาว่า
คัมภีร์ทีปวังสะซึ่งเป็นปกรณ์สำคัญเล่มหนึ่ง อันนักศึกษาจักมองข้ามไม่ได้
ในคัมภีร์ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์แยกนิกายของสังฆมณฑลยุคพุทธศตวรรษที่
๒ อย่างพิสดารดีมาก ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้


                   ๑)  นิกฺกฑฺฒิตา ปาปภิกฺขู   เถเรหิ
วชฺชิปุตฺตกา

อญฺํ ปกฺขํ ลภิตฺวาน                            อธมฺมวาที
พหู ชนา

                   ภิกษุลามกเหล่าวัชชีบุตร
ถูกพระเถระ (ที่ทำทุติยสังคายนา) ขับออกจากหมู่แล้ว ได้พวกอื่นอีก
รวมกันเป็นฝ่ายอธรรมวาที มีจำนวนมากมาย

                   ๒)ทสสหสฺส สมาคนฺตวา               อกํสุ ธมฺมสงฺคหํ

                         ตสฺมายํ ธมฺมสงฺคีติ                 มหาสงฺคีตีติ
วุจฺจติ

                   ภิกษุเหล่านั้นประมาณหมื่นรูป
ได้ประชุมกันทำสังคายนาพระธรรม(วินัย) เรียกการทำสังคายนาครั้งนี้ว่า “มหาสังคีติ”

                   ๓)มหาสงฺคีติกา ภิกฺขู                      วิโลมํ
อกํสุ สาสเน

                         ภินฺทิตฺวา มูลสงฺคหํ                    อญฺํ
อกํสุ สงฺคหํ

                   ภิกษุเหล่ามหาสังคีติกะ
ได้ทำความขัดแย้งไว้ในพระศาสนา ได้ทำลายสังคายนาเดิมเสีย (หมายถึงปฐมสังคายนา)
แล้วจัดทำสังคายนาอื่น

                   ๔)อญฺตฺร สงฺคหิตํ สุตฺตํ              อญฺญตฺร อกรึสุ เตอตฺถํ ธมฺมญฺจ ภินฺทึสุ     วินเย นิกาเยสุ จ ปญฺจสุ

                   ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรอื่นจากที่ท่าน
(พระเถระครั้งปฐมสังคายนา) ไว้อีกเล่า ได้ตัดทอนอรรถธรรมในพระวินัยและพระสูตรทั้ง
๕ นิกาย



                   ๕)ปริยายเทสิตญฺจาปิ                       อโถ
นิปฺปริยายเทสิตํ



                         นีตตฺถญฺเจว เนยฺยตฺถํ                  อชานิตฺวาน
ภิกฺขโว



                   ภิกษุเหล่านั้นมิได้รู้ธรรมอัน
(พระศาสดา) ทรงแสดงไว้เป็นปริยายทั้งธรรมอัน(พระศาสดา) ทรงแสดงไว้เป็นนิปปริยาย
มิได้รู้ทั้งอรรถที่ท่านแนะไว้อย่างชัดเจน ทั้งอรรถที่ควรอนุมานเอา



                   ๖)  อญฺํ สนฺธาย ภณิตํ                              อญฺํ อตฺถํ ปยึสุ เต



                         พฺยญฺชนจฺฉายาย เต
ภิกฺขู          พหุ อตฺถํ วินาสยุ



                   แล้วได้กำหนดอรรถอย่างอื่น
ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาอีกอย่างหนึ่ง (ไม่ตรงกัน)
ภิกษุเหล่านั้นได้ยังอรรถให้เสียไปด้วยฉายาพยัญชนะมากหลาย



                   ๗)ฉฑฺเฑตฺวาน เอกเทสํ สุตฺตํ วินยคมฺภีรํ



                         ปฏิรูปํ สุตฺตํ วินยํ                        ตญฺจ อญฺญํ กรึสุ เต



                   ภิกษุเหล่านั้นทอดทิ้งพระสูตรบางเอกเทศ
และพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย (บางเรื่อง)ได้แต่งพระสูตรเทียม พระวินัยเทียม
และพระสูตรอื่น พระวินัยอื่นไว้



                   ๘)ปริวารํ อตฺถุทฺธารํ                        อภิธมฺมํ
ฉปฺปกรณํ              



                         ปฏิสมฺภิทญฺจ นิทฺเทสํ               เอกเทสญฺจ
ชาตกํ



                   คัมภีร์ปริวารที่สังเขปความก็ดี
พระอภิธรรมทั้ง ๖ ปกรณ์ก็ดี ปฏิสัมภิทามรรคก็ดี นิสเทสก็ดี ชาดกบางส่วนก็ดี



                   ๙)  เอตฺตกํ วิภชิตฺวาน                      อญฺานิ อกรึสุ เต             



                         นามํ ลิงฺคํ ปริกฺขารํ                     อากปฺปกรณิยานิ จ



เหล่านี้
ภิกษุเหล่านั้นจำแนกไว้ต่างๆ แล้วแต่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนาม เพศ บริขาร
และอากัปปะที่สมควร



                   ๑๐)ปกติภาวํ วิชหิตฺวา                     ตญฺจ
อญฺํ อกํสุ เต



                         ปุพฺพงฺคมา ภินฺนวาทา              มหาสงฺคีติ-การกา



                   (คัมภีร์) นั้นๆ
อันเป็นดั้งเดิม ก็ถูกภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเสียแล้วได้กระทำสิ่งที่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุเหล่ามหาสังคีติกะได้มีวาทะแตกต่างเป็นตัวอย่างก่อน



                   ๑๑) เตสญฺจ อนุกาเรน                    ภินฺนวาทาพหู
อหุ



                         ตโต อปรกาลมฺหิ                        ตสฺมึ เภโท อชายถ



                   และโดยการทำตามภิกษุเหล่านั้น   ได้มีภิกษุที่มีวาทะแตกกันเป็นจำนวนมาก
ภายหลังแต่นั้นมา ได้เกิดการแตกแยกขึ้นในวาทะ (มหาสังฆิกะ) นั้นคือ



                   ๑๒) โคกุลิกา เอกโพฺยหารี            ทฺวิธา ภิชฺชิตฺถ ภิกฺขโว



                         โคกุลิกานํ เทฺว เภทา                 อปรกาลมฺหิ ชายถ



                   ภิกษุทั้งหลายแตกออกเป็น ๒
ฝ่าย เป็นโคกุลิกวาท และเอกัพโยหาริกวาท ต่อมาฝ่ายโคกุลิกแตกกันเป็น ๒ พวกคือ



                   ๑๓) พหุสฺสุติกา จ ปญฺตฺติ         ทฺวิธา ภิชฺชิตฺถ ภิกฺขโว



                         เจติยา จ ปุน วาที                        หาสงฺคีติเภทกา



                   ภิกษุทั้งหลายแตกกันเป็นพหุสสุติกวาท
และปัญญัตติกวาท กับทั้งเจตยวาท อีกพวกหนึ่ง ได้แตกมาแต่มหาสังคีตีกวาท



                   (ฯลฯ – ฯลฯ ข้อ ๑๔, ๑๕ ใจความคล้ายกับข้อ
๙, ๑๐)



                   ๑๖) วิสุทฺธตฺเถรวาทมฺหิ                 ปุน
เภโท อชายถ



                         มหิสาสกา วชฺชิปุตฺตกา             ทฺวิธา
ภิชฺชิตฺถ ภิกฺขโว



                   ในระหว่างเถรวาทอันบริสุทธิ์แท้
ได้เกิดการแตกแยกกันอีกคือ ภิกษุทั้งหลายได้แตกออกเป็น ๒ ฝ่าย
เป็นมหิสาสกวาทและวัชชีปุตตกวาท



                   ๑๗) วชฺชิปุตฺตกวาทมฺหิ                 จตุเภโท
อชายถ



                         ธมฺมุตฺตริกา ภทฺรยานิกา           ฉนฺนาคาริกา
จ สมิติ



                   ในวัชชีปุตตกวาทได้เกิดการแตกกันอีกเป็น
๔ พวกคือ ธรรมมุตตริกวาท ภัทรยานิกวาท ฉันนาคาริกวาท และสมิตียวาท



                   ๑๘)  มหิสาสกานํ เทฺว เภทา         อปรกาลมฺหิ ชายถ



                         สพฺพตฺถิวาทา ธมฺมคุตฺตา          ทฺวิธา
ภิชฺชิตฺถ ภิกฺขโว



                   ในกาลต่อมาฝ่ายมหิสาสกะแตกกันอีก
๒ พวก คือภิกษุทั้งหลาย (ในฝ่ายมหิสาสกะ) แตกออกเป็น ๒ คือ
สัพพัตถิกวาท กับธรรมคุตตวาท



                   ๑๙) สพฺพตฺถิกวาทํ กสฺสปิกา         สงฺกนฺติ กสฺสปิเกน จ



                         สงฺกนฺติกานํ สุตฺตวาที               อนุปุพฺเพน
ภิชฺชถ



                   พวกสัพพัตถิกวาทยังแตกเป็นกัสสปิกวาทอีกเล่า
และจากกัสสปิกวาทได้เกิดสังกันติกวาทขึ้น จากสังกันติกวาทยังแตกออกเป็นสุตตวาทอีกโดยลำดับ



                   ๒๐) อิเม เอกาทส วาทา                                 สมฺภินฺนา
เถรวาทโต



                         อตฺถํ ธมฺมญฺจ ภินฺทึสุ เอกเทสญฺจ สงฺคหํ



                   วาทะ (หรือนิกาย) ทั้ง ๑๑ นี้
แตกไปจากเถรวาท ภิกษุเหล่านั้นได้ทำลายอรรถและธรรมกับทั้งสังคหะ
(ข้อที่สังคายนาครั้งปฐม) บางส่วน ได้ทอดทิ้งคัมภีร์บางเอกเทศเสียด้วย
แล้วแต่งอย่างอื่นไว้



                   (ฯลฯ คาถาข้อ ๒๑ คล้ายข้อ ๑๐)



                   ๒๒) สตฺตรส ภินฺนวาทา                เอกวาโท อภินฺนโก



                         สพฺเพวฏฺารส โหนฺติ            ภินฺนวาเทน
เต สห



                   วาทะที่แตก ๑๗ วาทะที่ไม่แตก ๑
รวมวาทะที่ได้แยกกันทั้งหมดเป็น ๑๘



                   ๒๓) นิโคฺรโธว มหารุกฺโข             เถรวาทานมุตฺตโม



                         อนูนํ อนธิกญฺจ                          
เกวลํ ชินสาสนํ



                   พระศาสนาแห่งพระชินพุทธเจ้า
ที่ล้วนๆ ไม่หย่อนและไม่ยิ่งของฝ่ายเถรวาทเป็นสูงสุด ดุจต้นไทรใหญ่ฉะนั้น
(ข้อนี้ย่อมเป็นความจริงอย่างยิ่ง)



                   ๒๔) สนฺตกา วิย รุกฺขมฺหิ               นิพฺพตฺตา วาทเสสกา



                         ปเม วสฺสสเต นตฺถิ                               ทุติเย วสฺสสตนฺตเร



                         ภินฺนา สตฺตรส วาทา                 อุปฺปนฺนา
ชินสาสเนติ ฯ



                   วาทะทั้งหลายที่เหลือ เป็นประดุจกาฝากซึ่งเกิดที่ต้นไทรในศตวรรตแรกมิได้มีการแตกแยกกัน
ในระหว่างศตวรรษที่ ๒ วาทะที่แตก ๑๗ ได้เกิดขึ้นในศาสนาแห่งพระชินพุทธเจ้าแล



 



๓.๕  สรุปการทำสังคายนาครั้งที่



                   สาเหตุ                                 :  ปรารภภิกษุเหล่าวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี
มีความต้องการที่



                                                                   จะเลี่ยงพระวินัย จึงแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
ซึ่งขัดกับหลักพระธรรมวินัย



                   ทำเมื่อ                                 : พระพุทธศักราช ๑๐๐ ปี



                   สถานที่ทำ          :
ณ วาลุการาม เมืองเวสาลี เพื่อชำระวัตถุ ๑๐ ประการ



                   เวลาทำ                :
ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ



                   ประธานสงฆ์    :
พระยสกากัณฑกบุตร



                   การกสงฆ์           :
พระอรหันต์ขีณาสพ ๗๐๐ รูป



                   ผู้ถาม                                  : พระสัพพกามีเถระ



                   ผู้แก้                                     :
พระเรวตเถระ



                   ผู้อุปถัมภ์            :
พระเจ้ากาฬาโศกราช แห่งกรุงเวสาลี

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯ
หมายเลขบันทึก: 455306เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท