การทำนาก็ทำไปตามปกติ เริ่มปลายกค. ถึงต้นสิงหาด้วยซ้ำ เพราะการขุดคูแบบนี้น้ำมันจะยังไม่ท่วมนา หรือถ้าจะให้เร็วขึ้นก็ทำคันในรอบในขนาดเล็กเพื่อกักน้ำก็ได้ แบบนี้ก็จะทำนาได้ตามปกติ น้ำที่มากเกินไป ก็ไขออกไปลงคูรอบๆ ให้หมด หรือทำเป็นฝายน้ำล้นไปเลย
..อ้อ..อย่าลืมการทำนาแบบ”หยอดหล่น” ด้วยนะ ..และเกี่ยวแบบ”หวีสาง” ที่ไม่ต้องนวด จากนั้นตากแห้งแบบเตียงพรุน..ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผมได้คิดไว้ให้หมดแล้ว โดยเฉพาะการตากแห้งแบบเตียงพรุ่นนั้นทดลองได้ผลแล้วด้วย
ถ้ำทำคันนาด้านในด้วย เราจะมีประตูเปิดให้ปลาพวกนี้ไปว่ายเล่นในนาข้าวด้วย มีวัชพืชออกมามันกินหมดไม่เหลือ ก็ไม่ต้องฉีดยาฆ่าหญ้า
อ้อ..ลืมไป เพิ่งจะได้แนะนำพระเอก ในซีนนี้ คือ เขียดน้อย เช่น เขียดขาคำ และ ที่เล็กกว่า เพื่อให้ไต่ไปตามใบข้าวไปกินเพลี้ย อีกทั้งแมงปอเข็มก็น่ากินเพลี้ยให้เราได้ด้วย พวกแมงใหญ่ ก็ไม่ยาก เลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำไว้สักฝูง รับรองว่าเล่นสงกรานต์กันสนุก ส่วนกบใหญ่ ที่แรกก็อยากเลี้ยง แต่กลัวมันไปกินปลาเสียหมด หอยขม ก็ปล่อยลงนาได้ เอาไม้ผุไปลอยไว้ ให้มันเกาะ ขายได้เงิน แถมมันช่วยรักษาสมดุลระบบนิเวศด้วยเพราะย่อยสลายของเน่าให้กลายเป็นปุ๋ยให้นา
การเลี้ยงปลาควรเลี้ยงแบบสางขาย คือ ตอนแรกตัวเล็กๆ ให้เลี้ยงแน่นๆ แล้วสางขายเป็นระยะเมื่อมันโตขึ้น จะมีรายได้สม่ำเสมอต่อเนื่อง อาหารปลาก็ไม่ต้องซื้อเพราะมีให้เหลือเฟือ เผลอๆ สาหร่ายที่ปลูกไว้จะโตไวเกินปลาเสียอีก ก็สางสาหร่ายเอามาทำอะไรได้มาก เช่น เลี้ยงหมู ไก่ ทำปุ๋ยสดหมัก (ปลาจีนนั้นว่ากันว่ามันกินอาหาร 3 เท่าน้ำหนักตัว ตปท. ใช้มันในการกำจัดวัชพืชน้ำ)
อ้อ..ทิศทางการวางนาอาจต้องคำนึง ให้แนวคันนาที่ปลูกไผ่อยู่ในแนวออกตก ส่วนแนวเหนือใต้อาจปลูกไม้พุ่มเศรษฐกิจแทน เช่น พริก ทั้งนี้เพื่อจะไม่ถูกบังแดด เพราะสาหร่ายชอบแดด ถ้าแดดน้อยจะโตไม่ดี อาจไม่พอให้ปลากิน
...คนถางทาง (สค ๕๔)
เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ อาจารย์
ผมเลี้้ยงเป็ดแบบคู่ขนานกับการทำนาครับ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ไปในตัวครับ
http://www.gotoknow.org/blog/supersup300/451605
บันทึกการแสดงสด ณ เเปลงนาชาวนาวันหยุด เก้าเลี้ยว นครสวรรค์
เอ้า เก้าเลี้ยว ผมเลี้ยวผ่านไปหลายที แต่ไม่ได้แวะไปสักที วันหลังจะแวะไปเยี่ยมครับ