อภิบาลลูกปลาริมนาข้าว (นาชีวภาพแบบข้าเจ้า..๖)


การปลูกตะกูที่ไม่ค่อยสำเร็จกันนั้นเป็นเพราะหารู้ไม่ว่ามันชอบอยู่ริมน้ำ ถ้าไม่เช่นนั้นจะโตช้า ถ้าอยู่ริมน้ำจะเร็วแบบเหลือเชื่อ ไผ่หลายสกุลก็ชอบริมน้ำ ตอนนี้ผมค่อนข้างจะโน้มมาทางไผ่ เพราะมันมีผลพลอยได้ที่ใบมันร่วงหล่นลงสู่น้ำ

พอน้ำเริ่มขังในคูมากเราก็คั่นคอกในคู ทดน้ำเข้าไปในคอก เพื่ออภิบาลลูกปลาไว้ล่วงหน้าสัก 2 เดือนกว่าน้ำจะมามาก ให้กินอาหารทั้งธรรมชาติและอาหารเสริม ซึ่งในช่วงนี้ปลายังเล็ก ราคาอาหารไม่มากนัก

 บนคันนาเราปลูกพืชยืนต้นที่ชอบแวดล้อมแบบนี้ คือมีน้ำแฉะขังรอบๆ ปีละ 8 เดือน  ที่นึกออกตอนนี้มีสองคือ ตะกูและไผ่ การปลูกตะกูที่ไม่ค่อยสำเร็จกันนั้นเป็นเพราะหารู้ไม่ว่ามันชอบอยู่ริมน้ำ ถ้าไม่เช่นนั้นจะโตช้า ถ้าอยู่ริมน้ำจะเร็วแบบเหลือเชื่อ  ไผ่หลายสกุลก็ชอบริมน้ำ ตอนนี้ผมค่อนข้างจะโน้มมาทางไผ่ เพราะมันมีผลพลอยได้ที่ใบมันร่วงหล่นลงสู่น้ำ

 และนี่คือเหตุผลเสริมว่า ทำไมมาขุดคูไว้ริมนาแบบนี้ ก็เพื่อให้มันรับล่มจากต้นไม้ และได้รับใบไม้ที่ร่วงหล่นนี่แหละ ร่มจะช่วยทำให้น้ำเย็น ปลาที่เลี้ยงไว้ในคูจะไม่ร้อนเกินไป คูน้ำนี้จะเป็นทั้งแหล่งชลประทานและบ่อเลี้ยงปลาไปในตัว

 พอน้ำท่วมนา (ปลาย กค. ) ปลาก็โตพอที่จะปล่อยได้แล้ว ให้หากินกันเอาเอง จากไรน้ำ ที่เกิดจากใบไผ่หล่นลงไปเน่าเปื่อยในน้ำ แล้วสร้างจุลินทรีย์ และไรน้ำพืชขึ้นมาเป็นอาหารให้ปลา (นี่ยังเดาอยู่นะ ต้องทดลองและหรือวิจัยต่อ ว่าสร้างจุลินทรีย์ได้ไหม หรือเผลอๆ ใบไผ่อาจเป็นพิษด้วยซ้ำ แต่เชื่อว่ามีทางใช้ประโยชน์แน่ๆจากใบไม้ริมน้ำ)

 นอกจากนี้จะเสริมด้วยสาหร่ายทีปลาชอบกิน เช่น สาหร่ายหางกระรอก พุงชะโด ข้าวเหนียว  ซึ่งเรื่องนี้พอมีพื้นฐานอยู่แล้วว่าเป็นไปได้ แต่ต้องทำวิจัยเสริมว่า สาหร่ายอะไรดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายที่ตรึงในโตรเจนและฟอสเฟตจากอึสัตว์น้ำอีกด้วย(วิจัยในกุ้ง แต่ปลาก็น่าจะเหมือนกันนะ)  นี่มันวิเศษจริงๆ สาหร่ายกินอึปลา ปลากินสาหร่าย (making money from thin air is not impossible anymore)

 ปลาที่เลี้ยงเป็นปลากินพืชเท่านั้น เช่น ปลาจีน ปลาตะเพียนทั้งหลาย ซ่ง ลิ่น สลิด กระดี่ แรด นิล หมอตาล (ไอ้เพียนนี่ต้องระวังหน่อย โดดสูงมาก ชอบโดดไปงับกินรวงข้าว ...ลูกสาวชาวนาเตือนเราไว้นานแล้ว)

 ....คนถางทาง

หมายเลขบันทึก: 455120เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2011 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท