การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของประเทศไทย


            สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จึงได้ขอให้ อุทัย  บุญประเสริฐ (2546, หน้า 58) ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการบริหาร และการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐาน และสนานจิตร  สุคนธทรัพย์ และคณะ (2542, หน้า 27) ทำการวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดโรงเรียนในกำกับของรัฐ ซึ่งได้ช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวนมากมีความรู้เรื่องนี้กระจ่างขึ้น ในประเทศไทยพยายามกระจายอำนาจจริงจังโดยกระทรวงศึกษากระจายอำนาจสู่เขต พื้นที่การศึกษา เป็นการเปลี่ยนแปลงภายใต้ความไม่พร้อมในทุกด้าน วิธีการบริหารจึงเป็นไปตามความเคยชินสุดท้ายอำนาจการบริหารก็เป็นไปในทำนอง เดิมเพียงแต่เปลี่ยนจากส่วนกลางที่เป็นกระทรวงมาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาเป็น ผู้ควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียน
          จากการศึกษางานวิจัยของ นริศว์ ปรารมย์ (2544, หน้า 56) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อุทัย  บุญประเสริฐ (2546, หน้า 95) สามารถสรุป ในการนำแนวความคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปสู่ความสำเร็จ ได้ดังต่อไปนี้
          1.   ด้านกฎหมาย/นโยบาย
                1.1 กำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ต่อการจัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้ชัดเจน ดังเช่นการออกกฎกระทรวงว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้แทนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543 ซึ่งมีปัญหาในด้านการปฏิบัติค่อนข้างมาก ตลอดจน กำหนดเป้าหมายหรือลักษณะโรงเรียนที่มีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้ ชัดเจนส่วนวิธีการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ก็แล้วแต่บริบทของโรงเรียน (เอกภาพด้านเป้าหมายนโยบาย แต่หลากหลายวิธีปฏิบัติ)
                1.2 ควรมีการพัฒนาประชาชนในท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เพื่อสร้างความเข้มแข็งของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถาบัน หรือหลักสูตรพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการเฉพาะ มีการจัดตั้งเครือข่ายคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                1.3 การประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับทราบบทบาท เพื่อกระตุ้นให้ตระหนัก ถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                1.4 ระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากร ทั้งในด้านการเก็บภาษีการศึกษา การลดหย่อนภาษี และการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
                1.5 ให้ค่าตอบแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่นเบี้ยประชุมเกียรติบัตร เพื่อจูงใจบุคคลเหล่านั้นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานมากขึ้น

          2.   ด้านโรงเรียน
                2.1 ด้านการบริหารงานวิชาการ
                      2.1.1 ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนทั้งใน ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผล การประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน ตลอดจนการวิจัย เพื่อพัฒนาการศึกษา
                      2.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนจัดทำแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาการใช้สื่อการสอน การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
                      2.1.3 ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างชัดเจน
                2.2 ด้านการบริหารงบประมาณ
                      2.2.1 รณรงค์ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ได้รับผลร่วมระดมทรัพยากร จัดกิจกรรมหารายได้ ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณ
                      2.2.2 ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้งบประมาณตามบทบาทและ หน้าที่ ให้การบริหารงบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โปร่งใสและตรวจสอบได้
                2.3 ด้านการบริหารบุคคล
                      2.3.1 ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการประเมินผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด
                      2.3.2 ให้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนเพื่อทดแทนการขาดแคลนบุคลากรด้านต่างๆ
                2.4 ด้านการบริหารทั่วไป
                      2.4.1 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักในเรื่องการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแก่ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนให้รู้และเข้าใจอย่างแท้จริง
                      2.4.2 พัฒนาผู้บริหารให้มีความรู้และทักษะการบริหารตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

          3. ด้านผู้ปกครองและชุมชน
                3.1 พัฒนาองค์กรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง มีความรู้ เข้าร่วมเป็นกรรมการโรงเรียน
                3.2 ความร่วมมือในการจัดหลักสูตรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นการเข้ามาเป็นวิทยากรในโรงเรียน
                3.3 ความมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร
                3.4 การติดตามรับทราบการดำเนินงานของโรงเรียน และให้ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

อ่อง จิต  เมธยะประภาส(2550) การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยวิธีการ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สนานจิตร  สุคนธทรัพย์ และคณะ. (2542). แนวทางการจัดโรงเรียนในกำกับของรัฐ (charter schools): บทเรียนจากต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ที. พี. พริ้นท์.

นริศว์  ปรารมย์. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำวิจัยใน ชั้นเรียนของครูในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, กรมสามัญศึกษา, กองการมัธยมศึกษา.

อุทัย  บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หมายเลขบันทึก: 454886เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2011 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท