การคำนวณค่าใช้จ่ายผลผลิตและวิธีคำนวณค่าตอบแทน


การคำนวณค่าใช้จ่ายผลผลิตและวิธีคำนวณค่าตอบแทนทางการเงิน/เศรษฐศาสตร์

  

แนวทางการคำนวณค่าใช้จ่ายผลผลิต

 

หลักการและเหตุผล
                      ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 ข้อ 7 วรรคสองกำหนดให้ "หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ารัฐวิสาหกิจคำนวณค่าใช้จ่ายตามงบรายจ่ายในวรรคหนึ่งของแต่ละผลผลิตหรือโครงการ เพื่อใช้ในการจัดทำค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตหรือโครงการสำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป" จึงถือเป็นนโยบายในการนำค่าใช้จ่ายต่อผลผลิตมาเป็นเครื่องมือในการจัดทำและบริหารงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ และนโยบายรัฐบาล ซึ่งสำนักงบประมาณได้พัฒนาวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายผลผลิตมาเป็นลำดับ เพื่อให้การจัดทำค่าใช้จ่ายต่อผลผลิตของส่วนราชการต่างๆ สามารถจัดทำได้แล้วเสร็จ แต่เนื่องจากการจัดทำดังกล่าวยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น การกำหนดผลผลิต กิจกรรม การกำหนดตัวชี้วัดและหน่วยนับ การจัดเก็บฐานข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ การกระจายงบประมาณไปยังกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น เหล่านี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายผลผลิตที่ได้อาจบิดเบือนได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณก็ยังตระหนักว่า หากส่วนราชการไม่จัดทำค่าใช้จ่ายผลผลิตจะทำให้การวิเคราะห์/สังเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการจัดชื้อสินค้าหรือบริการจากส่วนราชการจะทำได้โดยยาก หรือจะทำให้การดำเนินการหรือติดตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นบิดเบือนตามไปด้วย


ขั้นตอนการคำนวณค่าใช้จ่ายผลผลิต
     1. วิเคราะห์โครงสร้างผลผลิต และจัดทำผังแสดงการกระจายค่าใช้จ่าย
     2. กำหนดวงเงินและเกณฑ์การกระจายค่าใช้จ่าย
     3. ประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนด

 

วิธีการคำนวณค่าผลตอบแทนทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์

การประเมินโครงการลงทุนในมุมมองของเจ้าของโครงการ หรือ ผู้ประกอบการจะมุ่งเน้นที่ ผลตอบแทนสุทธิ หลังจากหัก ภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้ว ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินไม่ว่าจะเป็น NPV IRR หรือ PB จะใช้กับกระแสเงินสด หลังจากหักภาษี เงินได้นิติบุคคล แล้วในขณะที่ การ ประเมินโครงการลงทุนในมุมมองของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักกำกับ และ อนุรักษ์พลังงาน (สกอ.) ซึ่งเป็น หน่วยงานของรัฐจะ แตกต่างจากในมุมมอง ของเจ้าของโครงการ เนื่องจากสกอ. จะต้องคำนึงถึง ผลประโยชน์ โดยรวมของระบบเศรษฐกิจที่จะเกิด จากการให้การสนับ สนุนการอนุรักษ์พลังงาน มิใช่ ผลตอบแทนที่ ภาคเอกชนจะได้รับ การวัดผลตอบแทนโดยรวม ของระบบเศรษฐกิจ จะใช่เครื่องมือที่เรียกว่า อัตรา ผลตอบแทน การลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) โครงการลงทุน ที่มีค่า EIRR เกินกว่าค่ามาตรฐาน ร้อยละ 9 ต่อปี ถือว่าเป็นโครงการที่ สกอ. น่าจะสนับสนุนให้เกิดขึ้น ในขณะเดียวกัน สกอ. ก็จะใช้ เครื่องมืออีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า อัตราผลตอบแทนการลงทุน ทางการ เงิน (Financial Internal Rate of Return : FIRR) ในการคัดเลือก โครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุน และกำหนดขอบเขต ของการสนับ สนุน แก่โครงการลงทุนที่ มีค่า FIRR เกินกว่า MRR+2 จะถือว่าเป็นโครงการที่มีผลตอบแทน ทางการเงินในตัวของมันเอง มากเพียงพอที่เจ้าของ โครงการ ควรลงทุนเอง โดยไม่ต้อง ได้รับ การสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

การคำนวณหาค่าผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR)และทางเศรษฐศาสตร์(EIRR)แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนหลัก ที่สำคัญแสดง ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่1: การคำนวณมูลค่าทางการเงิน

การคำนวณทางด้านการเงินแบ่งออกเป็น    2   ขั้น คือ

ขั้นที่ 1: การคำนวณราคา  หรือ   อัตราค่าใช้จ่ายต่อหน่วย  ณ ปีที่   t

ราคาอุปกรณ์หรือวัสดุประหยัดพลังงาน ประเภท Z (บาทต่อหน่วย)ในปีที่     t

กำหนดให้

Czt      =     ราคาอุปกรณ์หรือวัสดุประหยัดพลังงานประเภท    Z   (บาทต่อหน่วย) ในปีที่    t
Czo      =     ราคาอุปกรณ์หรือวัสดุประหยัดพลังงานประเภท    Z   (บาทต่อหน่วย)
    ในตอนเริ่มโครงการ
RIt      =     อัตราการเพิ่มขึ้น (+)/ลดลง(-)ของราคาอุปกรณ์หรือวัสดุประหยัดพลังงานอันเนื่อง
            มาจากเงินเฟ้อในปีที่    t  (กำหนดโดย สกอ.)
ค่าติดตั้งอุปกรณ์    วัสดุประหยัดพลังงาน    ประเภท   Z ต่อหน่วยในปีที่    t

กำหนดให้

ICzt      =     ค่าติดตั้งอุปกรณ์ประเภท   Z   ต่อหน่วยในปีที่    t
ICzo      =     ค่าติดตั้งอุปกรณ์ต่อหน่วยในตอนเริ่มโครงการ
RLt      =     อัตราการเพิ่มขึ้น (+)/ลดลง (-)ของอัตราค่าแรงงานในปีที่   t
            (กำหนดโดย สกอ.)
อัตราค่ากำลังไฟฟ้าประเภท   x  ในปีที่   t

กำหนดให้

Pxt      =     อัตราค่ากำลังไฟฟ้าประเภท     x    ในปีที่    t
Pxo      =     อัตราค่ากำลังไฟฟ้าประเภท     x    ในปีที่    0   (บาทต่อปี)
RPxt      =     อัตราการเพิ่มขึ้น (+)/ลดลง (-) ของอัตราค่ากำลังไฟฟ้าประเภท     x    ในปีที่   t
            (กำหนดโดย สกอ.)
ราคาพลังงานประเภท     y    ในปีที่   t

กำหนดให้

Qyt      =     ราคาพลังงานประเภท    y   ในปีที่    t
Qyo      =     ราคาพลังงานประเภท    y    ในปีที่    0
RQyt      =     อัตราการเพิ่มขึ้น (+)/ลดลง (-) ของราคาพลังงานประเภท      y   ในปีที่    t
            (กำหนดโดย สกอ.)

ขั้นที่ 2: การคำนวณมูลค่าทางการเงิน  ณ   ปีที่  t 

ค่าใช้จ่ายเงินลงทุน    ค่าวัสดุอุปกรณ์   ณ  ปีที่    t

กำหนดให้

FIt      =     ค่าใช้จ่ายเงินลงทุน   ณ   ปีที่   t
Kzt      =     จำนวนอุปกรณ์หรือวัสดุประหยัดพลังงานประเภท   Z   ที่ได้ลงทุนตาม
       มาตรการในปีที่   t  (เป็นลบ   ถ้าเป็นอุปกรณ์หรือวัสดุที่ประหยัดได้)
Kzn      =     จำนวนเทียบเท่าของอุปกรณ์หรือวัสดุประหยัดพลังงาน ประเภท  Z 
    ที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่   ณ  สิ้นสุดโครงการในปีที่  n  
  คิดคำนวณจากสัดส่วนของอายุการใช้งานที่ยังเหลือ
Czt      =     ราคาอุปกรณ์/วัสดุประหยัดพลังงานประเภท   Z  ต่อหน่วยในปีที่   t
ค่าใช้จ่ายพลังงานที่ประหยัดได้ในปีที่t

กำหนดให้

EFSt      =     ค่าใช้จ่ายของพลังงานที่ประหยัดได้ในปีที่   t
Dx      =     จำนวนกำลังไฟฟ้าประเภท    x    ที่ประหยัดได้โดยมาตรการ    ได้แก่
    กำลังไฟฟ้าสูงสุดของเดือน    กำลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วง peak   (กรณีใช้อัตรา TOD)
       กำลังไฟฟ้าสูงสุดใน ช่วง   partial   peak (กรณีใช้อัตรา TOD)   
    และกำลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วง peak (กรณีใช้ อัตรา TOU)
Pxt      =     อัตราค่ากำลังไฟฟ้าประเภท    x   ที่สามารถประหยัดได้ในปีที่    t
Ey      =     ปริมาณพลังงานประเภท    y   ที่ประหยัดได้ต่อปี    ได้แก่
    พลังงานไฟฟ้า:
    พลังงานไฟฟ้าในช่วง peak(กรณีใช้อัตรา TOD)    
    พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง partial    peak (กรณีใช้อัตรา TOD)
    พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง off peak(กรณีใช้อัตรา TOD)    
    พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง   peak(กรณีใช้อัตรา TOU)
    พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง off peak (วันธรรมดา) (กรณีใช้อัตรา TOU)   
    และพลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง off peak(วันอาทิตย์)(กรณีใช้อัตรา TOU)
 
 
พลังงานเชื้อเพลิง:
    น้ำมันดีเซล   น้ำมันเบนซิน  ก๊าซหุงต้ม   น้ำมันเตา ฯลฯ
Qyt      =     ราคาพลังงานประเภท   y   ที่สามารถประหยัดได้ในปีที่    t
ค่าใช้จ่ายแรงงานที่เพิ่มขึ้น(+)/ลดลง(-)ในปีที่   t  อันเนื่องมาจากมาตรการ

กำหนดให้

LFCt      =     ค่าใช้จ่ายแรงงานที่เพิ่มขึ้นในปีที่    t
LFCo      =     ค่าใช้จ่ายแรงงานที่เพิ่มขึ้นคิดตามอัตราค่าแรงงานในปีที่     0
RLt      =     อัตราการเพิ่มขึ้น (+)/ลดลง (-) ของอัตราค่าแรงงานในปีที่     t
            (กำหนดโดย สกอ.)
ค่าใช้จ่ายผันแปรอื่น   ๆ   ที่เพิ่มขึ้น(+)/ลดลง(-) ในปีที่    t    อันเนื่องมาจากมาตรการ

กำหนดให้

OFCt      =     ค่าใช้จ่ายแปรผันอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น(+)/ลดลง(-) ในปีที่    t
OFCo      =     ค่าใช้จ่ายแปรผันอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น(+)/ลดลง(-)คิดตามราคาในปีที่    0
ROt      =     อัตราการเพิ่มขึ้น (+)/ลดลง (-) ของค่าใช้จ่ายแปรผันอื่น
            อันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อในปีที่    t  (กำหนดโดย สกอ.)
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ประหยัดได้ หักลบด้วยค่าใช้จ่ายแปรผันที่เพิ่มขึ้นในปีที่ t

กำหนดให้

NFSt      =     ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ประหยัดได้   หักลบด้วยค่าใช้จ่ายแปรผันที่เพิ่มขึ้นในปีที่    t
EFSt      =     ค่าใช้จ่ายพลังงานที่ประหยัดได้ในปีที่    t
LFCt      =     ค่าใช้จ่ายแรงงานที่เพิ่มขึ้นในปีที่     t
OFCt     =     ค่าใช้จ่ายแปรผันอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น(+)/ลดลง(-)ในปีที่    t

ขั้นตอนที่ 2: การคำนวณมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์

ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของอุปกรณ์วัสดุพลังงานที่ลงทุนในปีที่ t

กำหนดให้

EIt      =     ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของอุปกรณ์/วัสดุประหยัดพลังงานที่ลงทุนในปีที่    t
KZt      =     จำนวนอุปกรณ์/วัสดุประหยัดพลังงานที่ได้ลงทุนตามมาตรการในปีที่    t
CZ0      =     ราคาอุปกรณ์/วัสดุประหยัดพลังงานต่อหน่วยในตอนเริ่มโครงการ(ปีที่   0)
FCz     =     อัตราการบิดเบือนจากราคาตลาดเป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
    สำหรับ    อุปกรณ์   และวัสดุประหยัดพลังงาน
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของแรงงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากมาตรการ

กำหนดให้

LECt      =     ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของแรงงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากมาตรการ   ณ  ปีที่   t
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของค่าใช้จ่ายแปรผันอันเนื่องมาจากมาตรการประหยัดพลังงาน

กำหนดให้

OECt      =     ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของค่าใช้จ่ายแปรผันอันเนื่องมาจากมาตรการ   ณ  ปีที่   t
มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของพลังงานที่ประหยัดได้ต่อปี

กำหนดให้

EESt      =     มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของพลังงานที่ประหยัดได้ต่อปี
Dx      =     จำนวนกำลังไฟฟ้าประเภท x ที่ประหยัดได้โดยมาตรการ ได้แก่
    กำลังไฟฟ้าสูงสุดของเดือน    กำลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วง peak   (กรณีใช้อัตรา TOD)
       กำลังไฟฟ้าสูงสุดใน ช่วง partial   peak (กรณีใช้อัตรา TOD)   
    และกำลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วง peak (กรณีใช้ อัตรา TOU)
FPx      =     มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อ   kW  สำหรับกำลังไฟฟ้าประเภท x ที่ประหยัดได้ต่อปี
Ey      =     ปริมาณพลังงานประเภท   y  ที่ประหยัดได้ต่อปี    ได้แก่
    พลังงานไฟฟ้า:
    พลังงานไฟฟ้าในช่วง    peak(กรณีใช้อัตรา TOD)    
    พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง    partial   peak (กรณีใช้อัตรา TOD)
    พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง    off   peak(กรณีใช้อัตรา TOD)    
    พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง peak(กรณีใช้อัตรา TOU)
    พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง off   peak (วันธรรมดา) (กรณีใช้อัตรา TOU)   
    และพลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วง off     peak(วันอาทิตย์)(กรณีใช้อัตรา TOU)
 
 
พลังงานเชื้อเพลิง:
    น้ำมันดีเซล   น้ำมันเบนซิน  ก๊าซหุงต้ม   น้ำมันเตา ฯลฯ
FQy      =     มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อหน่วยสำหรับพลังงานประเภท     y     ที่ประหยัดได้ต่อปี
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของพลังงานที่ประหยัดได้หักลบด้วยต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของค่าใช้จ่ายแปรผันที่เพิ่มขึ้นต่อปี

กำหนดให้

NESt      =     ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของพลังงาน
หมายเลขบันทึก: 454367เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2011 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท