แนวทางการให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิสัญญี (ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย, 2554)


ขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆชาววิสัญญีได้รับทราบความก้าวหน้าทางวิชาการที่สนับสนุนการปฏิบัติการบริการพยาบาลวิสัญญี

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยได้ออก (ร่างที่ 5) แนวทางการให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิสัญญี Guidance for patient information about anesthesia (พ.ศ. 2554) ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554

เนื้อหาภายในประกอบด้วย

-      ขอบเขตการใช้แนวทาง

-      ข้อจำกัดของแนวทาง

นอกจากนั้นยังมีข้อมูลที่สำคัญที่ชาววิสัญญีสามารถนำไปอ้างอิงประกอบการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ เช่น

-      ข้อดี และข้อจำกัดการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว

-      ข้อดี และข้อจำกัดของการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน

-      อุบัติการณ์เกิดภาวะแทรกซ้อนจากวิสัญญีในการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว(จากข้อมูลในประเทศและต่างประเทศ)

-      อุบัติการณ์เกิดภาวะแทรกซ้อนจากวิสัญญีในการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน(จากข้อมูลในประเทศและต่างประเทศ)

-      อุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีจากการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว(ข้อมูลจากต่างประเทศ)

จึงขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆชาววิสัญญีได้รับทราบความก้าวหน้าทางวิชาการที่สนับสนุนการปฏิบัติการบริการวิสัญญีของพวกเราค่ะ

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

ขอขอบพระคุณราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยที่ทบทวนและ Update ความรู้เกี่ยวกับวิสัญญีวิทยาอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้วิสัญญีพยาบาลสามารถอ่านเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ง่าย

หมายเลขบันทึก: 454278เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากรู้เกี่ยวกับงานr2r ในภาวะรู้สึกตัวในงานวิสัญญีค่ะไม่ทราบว่าพอจะมีให้เป็นแนวทางในการเขียนบ้างมั้ยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณธนาลัย ไชยศรีษะ (ขอโทษค่ะที่ตอบช้า)

มีการศึกษาการใช้ดนตรีในผู้ป่วยออร์โธฯของคุณรัชนี ไตรยะวงศ์ ตีพิมพ์ในวิสัญญีสาร ปลายปี 2554 ค่ะ ลองศึกษาดูนะคะ

โดยความเห็นส่วนตัวนั้นคิดว่า เราสามารถเริ่มเองได้ค่ะโดยเริ่มจาก

- ประเด็นปัญหาซึ่งควรตั้งต้นจาก ปัญหาผู้ป่วยในภาวะรู้สึกตัวในงานวิสัญญีที่เราพบในงานของเราเอง...

- ศึกษาปัญหานั้นว่าที่อื่นมีใครให้การดูแลผู้ป่วยแบบไหน แล้วเราทำอะไรอยู่บ้าง เรียกว่าทำ gap analysis... อะไรที่เราไม่ได้ทำ

- ลองนำวิธีนั้นมาปรับใช้ในบริบท(บ้าน)ของเรา

- จากนั้นดูผลลัพธ์ค่ะว่าใช้ได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร แล้ววิเคราะห์ วิจารณ์ดู

เลือกปัญหาที่พบในงานของเราที่คิดว่าน่านำมาพัฒนาดูจะดีที่สุดค่ะ เพราะผลลัพธ์ที่ได้จะใช้แก้ไขปัญหาของผู้ป่วยของเราเองได้โดยตรง กุศลนี้ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยค่ะ

ชื่นชมค่ะที่สนใจพัฒนางานวิสัญญีด้วยกัน

โชคดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท