ชีวิตบนท้องทุ่ง


ชีวิตของชาวนา บนท้องทุ่งสีเขียว แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใด แต่มันก็คือทั้งชีวิตค่ะ
     ช่วงนี้หน้าฝนค่ะ หลายพื้นที่น้ำท่วม แต่หลายพื้นที่ก็กำลังดำนา ปลูกข้าวกัน เอาเป็นว่า วันนี้ขอลงเรื่องของปากท้องก่อนดีกว่าค่ะ  "ชีวิตบนท้องทุ่ง"  เป็นชีวิตของพ่อเทง กะแม่สุพรรณ  ปิมวงศ์ ของผู้เขียนเองค่ะ  ผู้เขียนเป็นลูกชาวนา ของแท้แน่นอนค่ะ 
     ถ้าไม่ติดงานจริงๆ ก็จะกลับบ้านทุกอาทิตย์  ประกอบกับช่วงนี้พ่อกะแม่ทำนาด้วย เลยขอติดตามชีวิตบนท้องทุ่ง มาฝากผู้อ่านกันค่ะ  ตอนแรกผู้เขียนตั้งใจจะลงเป็นตอนๆ แต่ยอมรับว่าไม่ค่อยมีเวลา งานนี้เลยขอรวบยอดทีเดียวละกันนะค่ะ
     ตามมาดู "ชีวิตบนท้องทุ่ง" กันดีกว่าค่ะ

 

ต้นกล้าของแม่ค่ะ  กำลังเจริญงอกงามเต็มที่เลย  น่าเสียดายที่ไม่ได้เก็บภาพตอนที่แม่ ว่านกล้าค่ะ 

 

 

 

เมื่อต้นกล้าโตเต็มที่ อายุประมาณ 1 เดือน  พ่อกับแม่ และพี่ ป้า น้า อา ก็มาช่วยกันถอนต้นกล้าค่ะ 
  

 

 

 

 ต้นกล้าที่ถอนได้ค่ะ เตรียมพร้อมจะนำไป "ดิมกล้า"  ลักษณะเหมือนเป็นการเพาะชำต้นกล้า ให้แข็งแรงขึ้นค่ะ 

 

 

 

 

 แปลงต้นกล้าที่ถอนออกบางส่วนล่ะค่ะ

 

 

 

เมื่อต้นกล้าพร้อม  "รถไถนา" คันเล็กของพ่อ ก็ถึงคิวออกโชว์ความสามารถล่ะค่ะ

 

 

 หน้าตาของต้นกล้าที่พ่อกับแม่เรียกกันว่า "ดิมกล้า" ค่ะ จะมีลักษณะเหมือนกันการปลูกข้าว หรือ การดำนา นั่นแหละค่ะ แต่จะปลูกชิดกันมาก   ต้นกล้าที่ผ่านการดิมกล้าแปลงหนึ่ง สามารถนำไปแบ่งปลูกได้ เกือบ 3 ไร่ เลยค่ะ
 

 

จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน กับการ "ดิมกล้า" ค่ะ  เพื่อให้กล้าที่ดิมแข็งแรงเต็มที่ พร้อมกับการปลูก 

 

     เก็บบรรยากาศ กระต๊อบหลังเล็ก ของเรามาฝากกันค่ะ  ข้างๆ กระต๊อบมีสระน้ำเล็กๆ อยู่ด้วย   (ที่บ้านเรียกกระต๊อบว่า "ฮ้าง" หรือ "ห้าง" ค่ะ ไม่ใช่ ห้างสรรพสินค้าน่ะ อิอิ)

 

 

เวลาผ่านไป 1 เดือน ไวเหมือนโกหก อิอิ... และแล้วก็ถึงเวลาถอนกล้าที่ดิมไว้  และเตรียมตัวดำนา ปลูกข้าวกันค่ะ 

 

 

 

 

 การลงแขกดำนา  ที่บ้านเรียก "เอาแฮง" ค่ะ พวกพี่ ป้า น้า อา จะมาช่วยแม่ปลูกข้าวกันค่ะ  เมื่อเสร็จของแม่แล้ว  แม่ก็ต้องไปช่วยคืน  ยังเป็นสังคมเกื้อหนุนกันอยู่ค่ะ  ไม่ต้องจ้างให้เสียเงิน เสียแต่แรง อย่างเดียวค่ะ  วันนี้มีคนมาช่วยแม่เยอะเลยค่ะ   

 

 

 

 "นาข้าว"  ของแม่ที่ปลูกเสร็จบางแปลงค่ะ

 

 

 

 

 ทำงานมาทั้งวัน เหนื่อยสุดๆ งานนี้ก็ต้องมีการพักผ่อน กันหน่อยค่ะ กับฝีมือการทำกับข้าว ของแม่ครัวจำเป็น อาแปง กับ น้องเอิงค่ะ  สำหรับผู้เขียนเองก็อยู่ในฝ่ายเสบียงนี้เหมือนกัน  เพราะทดลองไปปลูกข้าวแล้ว ยอมรับว่า ไม่ไหวเลยค่ะ  อิอิ

 

เมนูวันนี้ก็ง่ายๆ ค่ะ กลางวันมี ลาบหมู กับ แกงไก่ใส่ฟัก ตอนเย็นมีปลาดุกย่าง  กับยำวุ้นเส้น   
 

 

 ถึงเวลาพักเหนื่อย  กระต๊อบเล็กๆ ของพ่อ ดูยิ่งเล็ก ยิ่งแคบไปอีกเยอะเลยค่ะ  อร่อยไม่อร่อยดูกันเอาเองค่ะ  เป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นจริงๆ ค่ะ

 

 

 

 ปิดท้ายด้วยภาพท้องทุ่งสีเขียว  แล้วจะเก็บภาพนาข้าวของพ่อกับแม่มาฝากอีกน่ะค่ะ  ตามดูว่าต้นข้าวเล็กๆ ที่เห็นจะเป็นยังงัยต่อไป
 

 

 สำหรับวันนี้ ข้อมูลต่างๆ อาจจะได้ไม่เต็มที่ อาศัยดูรูปประกอบละกันนะค่ะ  ท้ายนี้ ขอบคุณลุง ป้า น้า อา พี่ๆ ทุกคนที่มาช่วยกันปลูกข้าวที่ "โต้งใต้" ของเรา  รวมถึง "น้องเอิง" ผู้ช่วยแม่ครัวตัวน้อยด้วยค่ะ  ขอบคุณชาวนาทุกคน ที่ทำให้เรามีข้าวกิน และขอบคุณที่สุด ขอบคุณที่ได้เกิดเป็นลูกของพ่อกับแม่ "ลูกชาวนา" ค่ะ 

 

แล้วพบกันใหม่ค่ะ
กอหญ้า...
หมายเลขบันทึก: 454195เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

-สวัสดีครับ..

-แวะมาแอ่ว"โต้งใต้"

-ชอบ ๆ  ๆ ประโยคเหล่านี้..

1."ดิมกล้า"  ลักษณะเหมือนเป็นการเพาะชำต้นกล้า ให้แข็งแรงขึ้น

2.เมื่อต้นกล้าพร้อม  "รถไถนา" คันเล็กของพ่อ ก็ถึงคิวออกโชว์ความสามารถ

3.ที่บ้านเรียกกระต๊อบว่า "ฮ้าง" หรือ "ห้าง" ค่ะ ไม่ใช่ ห้างสรรพสินค้า

4.ถึงเวลาพักเหนื่อย  กระต๊อบเล็กๆ ของพ่อ ดูยิ่งเล็ก ยิ่งแคบไปอีกเยอะเลย

-ขอบคุณมากเน้อ....

ขอบคุณค่ะคุณเพชร

รูปนี้ไม่ใช่เป็นการ "สร้างภาพ" แม่นก่อ 5555

ยินดีที่ได้รู้จักลูกชาวนา

ผมลูกชาวไร่อ้อย แต่หนีไร่นามานานแล้ว

เกษียณแล้วกะว่าจะกลับไปทำหน้าที่เดิมครับ

  • สวัสดีค่ะ 
  • รู้สึกยินดีด้วยจังเลยค่ะ ที่มีคนช่วย อย่างมากมายเลยย

สงสัยขั้นตอน "ดิมกล้า"ค่ะ ทางบ้านแม่ใหญ่เขาถอนกล้าแล้วเอามา "ดำ"เลย แสดงว่า ข้าวจะมีอายุสองเดือนก่อน แล้วจึงจะเอามา "ดำ" จริงๆ หรือคะ และแสดงว่า ผู้ปลูกต้องทำการ "ดำ" สองรอบหรือคะ คือ ดำรอบแรก ตอน ดิมกล้า และ ดำรอบสองตอนปลูกจริงๆ ถ้าเป็นแบบนี้ ต้องเหนื่อยในการดำสองรอบใช่ไหมคะ

น่าอิจฉา ท่ามกลางอากาศที่บริสุทธิ์ ญาติมิตรที่แสนจะอบอุ่น เคล้าคลุ้งด้วยกลิ่นโค,นสาปควาย...... ตามมาดู........สบายดีน๊ะ....ช่วยแม่ทำนาน๊ะดีแล้ว....

ดูอบอุ่นจัง ตรงบริเวณกระท่อม น่าปลูกต้นไม้ให้เต็มไปเลย ในสระถ้ามีดอกบัว ก็ดีสิ

เรียกเหมือนกันกับที่อำเภอหนองบัว นครสวรรค์เลย คือ"ห้างนา"

เลยนำห้างนาหลังน้อยๆมาฝากให้ชมเพลินๆ และขอแถมเรื่องที่เขียนไว้เกี่ยวกับห้างนาอีกหนึ่งเรื่องมาแลกเปลี่ยนกันด้วย "แม่ฉัน เลี้ยงฉันบนห้าง"

http://www.gotoknow.org/blog/nongbua-community/385674

                
                 ภาพ : ห้างนาที่อำเภอหนองบัว ถ่ายโดย ดร.วิรันต์ คำศรีจันทร์

สวัสดีค่ะ

- คุณเพชรน้ำหนึ่ง  ท่าถอนกล้าแต่ละคนเกินบรรยายเลยค่ะ

- คุณโสภณ  ยินดีที่ได้รู้จักลูกชาวไร่อ้อย เช่นกันค่ะ

- คุณ pa_daeng  คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะช่วยกันตลอดค่ะ ไม่ว่าจะเป็นงานของใคร ใครว่างก็ช่วย ใครติดงานอื่น ก็ไม่ว่ากันค่ะ

- คุณแม่ใหญ่  ความเข้าใจของคุณแม่ใหญ่ถูกต้องล่ะค่ะ  การ "ดิมกล้า" คือการเอาต้นกล้าที่หว่าน มา "ดิม" ค่ะ ลักษณะเหมือนการดำนาปลูกข้าว นั่นแหละค่ะ  ทำให้ต้นกล้าแข็งแรงขึ้น  หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน จึงทำการถอนต้นกล้าที่ดิมไว้  มาทำการปลูกข้าว หรือดำนา อีกรอบค่ะ 

- คุณ Todsapol  บรรยากาศอบอุ่นด้วยญาติมิตร มันรู้สึกดีจริงๆ ค่ะ

- คุณ Nopparat  ถ้าฤดูแล้ง น้ำในสระจะแห้งเหลือน้ำนิดเดียวเองค่ะ น้ำจะเต็มสระเฉพาะในช่วงฤดูฝน เคยเอาบัวมาลงละค่ะ แต่มันไม่ขึ้น ส่วนต้นไม้ใหญ่จะรับไว้พิจารณาปลูกรอบๆ กระต๊อบค่ะ  ตอนนี้ที่ปลูกมี ต้นตาล ค่ะ

- ขออนุญาตเรียก หลวงพี่ น่ะค่ะ  ขอบคุณสำหรับบันทึกเกี่ยวกับห้างนา "แม่ฉันเลี้ยงฉันบนห้าง" 

ขอบคุณผู้ให้ดอกไม้ทุกท่านด้วยค่ะ  ขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบันทึกนี้ค่ะ

หวัดดีเจ้า บรรยากาศม่วนขนาดเลยน่อ เสียดายบ่ได้ไปตวย

เอารูปโยนกล้ามาฝาก เอาไว้เผื่อนารอบหน้าเจ้า

 

-สวัสดีครับ..

-แวะมาแอ่วหาแหมรอบ 5555

-มาจวนไปกิ๋นขนมต้มนะก่ะ 555

-ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

ขอเพิ่มเติมข้อมูล เกี่ยวกับการดิมกล้าน่ะค่ะ ส่วนหนึ่งเป็นการดิมกล้าเพื่อรอน้ำฝนด้วยค่ะ

เพราะที่บ้านไม่มีน้ำสูบชลประทาน เวลาทำนาต้องรอน้ำฝนอย่างเดียวค่ะ ถ้าฝนไม่ตก

ก็ต้องใช้วิธีสูบน้ำจากสระเก็บน้ำแทนค่ะ ถ้าสังเกตดีๆ เจ้าของนาทุกคนจะมีสระเก็บน้ำเป็นของตัวเองด้วยค่ะ

เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง

สวรรค์บนดิน ขอบคุณเจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท