ใครได้อะไร ? จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ KM ครั้งที่ 2 นครศรีธรรมราช(ตอนที่ ๒)


ปริมาณงานกับเวลา และความต้องการ ทุกคนต้องลนลานในการทำงานให้ทัน ไม่มีโอกาสได้ตั้งสติในการทำงาน

       ขอบันทึกเล่าต่อ  จาก ตอนที่ ๑  ครับ


          หลังจาก กิจจกรรม AAR ทีมวิทยากร ประจำวันของวันที่ 17 ส.ค.49  แล้ว  ผมก็ตรงไปเชียร์ฟุตบอล  ก็สนุกแบบง่าย ๆ ได้หัวเราะกันอีกแล้ว บางคนเดินยังไม่ค่อยไหวเพราะช่วงผมไปถึง กำลังเข้าช่วงทุกคนหมดแรง(ท้ายเกมส์)  ต่อจากนั้นทุกคนสวมหมวกคุณบันเทิง  ผ่อนคลายตามอัธยาศัย
          เช้าวันนี้ (18 ส.ค.49)  ผมตื่นมาเห็นพวกเราหลายคน วิ่ง/เดิน ออกกำลังกายชายหาด   อากาศสดชื่นไม่มีลม  ผืนน้ำราบเรียบ  แดดเป็นสีทอง  หลังทานอาหารเช้าทุกคนพร้อมที่ห้องประชุมทันที  พี่เกรียงไม่ทราบเอานกหวีดมาจากไหน  คอยเป่าแจ้งเวลาก็สร้างบรรยากาศให้ยิ้ม/หัวเราะได้อย่างดี (ไม่เข้าใจหัวเราะกันทำไม ?)
          วันนี้  ฝึกปฏิบัติ  สกัดความรู้โดยใช้ COPs  สำหรับการดำเนินงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตราฐาน

          เกริ่นนำเล็กน้อย  โดยคุณอุดม   รัตนปราการ      ส่วนการสกัดความรู้นั้นต้องการ "องค์ความรู้" จริงที่ได้วันนี้ไปปรับใช้กันต่อไป    ทุกคนนั่งรวมกลุ่มเดิมที่แบ่งไว้   คุณเล่านั้นได้เตรียมการไว้แล้วตั้งแต่เมื่อวาน  4 คน 4 เรื่อง  แยกย้ายเข้าไปเล่าเรื่องในแต่ละกลุ่ม

             การจำแนกพื้นที่ให้สำเร็จทำอย่างไร     โดย คุณประสาร  เฉลิมศรี   จาก  อ.ปากพนัง

             วิธีการแสวงหาพันธมิตรในการทำงาน    โดย คุณณัทธร  รักษ์สังข์   จาก อ.สิชล

             ทำอย่างไรให้เวที DW (สัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่โดยรวม  ระดับอำเภอ)เป็นเวทีในการเสริมการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร  โดย คุณเกษม  ดุกสุขแก้ว  จาก อ.ปากพนัง

             ทำอย่างไรให้เกษตรกรเรียนรู้อย่างมีความสุข   โดยคุณสนไชย  เมียงเมิน   จาก อ.ทุ่งสง
 


            เมื่อคุณเล่า  เล่าเสร็จแล้วสมาชิกในกลุ่มก็เล่าแลกเปลี่ยนสอบถาม  แล้วช่วยกันสรุปออกมาเป็นองค์ความรู้   แล้วนำเสนอในห้องประชุมใหญ่เพื่อแลกเปลี่ยนอีกครั้ง
            หลังเสร็จสิ้นการนำเสนอ  ผมและพี่อุดม  ก็ช่วยการสะท้อนสิ่งที่พบเห็นในกระบวนการวง KM  สี่วง

           ถึงช่วงสุดท้าย  ทำ AAR  ผู้แทนเกษตรอำเภอ  ผู้หญิง   ผู้ชาย    ผู้แทนนักวิชาการ ฯ  ผู้หญิง  ผู้ชาย   ได้ออกมาสะท้อนว่า

           หลายคนเข้าใจ 

           หลายคนได้ความรู้เพิ่ม

           หลายคนเคยหลงทาง  ก็จะได้เดินให้ถูกทาง

           ผมเอง   ถือเป็นเกียรติที่ทีมวิทยากรกรม ฯ  ได้คัดเลือกเป็นวิทยากรร่วม  และผมได้เรียนรู้หลายอย่างมากมาย จนไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรได้  เพราะเมื่อยืนดูอยู่นอกวง  ทีมวิทยากรจะคอยหารือพฤติกรรมที่พบเห็น  และคอยปรับสถานการณ์กันตลอด   ได้พบเห็นความแตกต่างของข้าราชการ  กับเกษตรกร  ซึ่งสิ่งที่ได้จะนำไปปรับใช้ได้ต่อไปสำหรับกับเกษตรกรนั้นไม่น่าจะมีปัญหาอะไร  แต่การดำเนินการกับเพื่อนข้าราชการด้วยกัน   เป็นการท้าทายวิทยากรไม่น้อย  และไม่ง่ายนักแต่ไม่ถึงกับว่าทำไม่ได้แต่ต้องใช้เวลา 
 
          มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการทำความเข้าใจ KM ให้ลึกซึ้งและฝึกปฏิบัติในวงราชการ  เช่น  ปริมาณงานกับเวลา และความต้องการ  ทุกคนต้องลนลานในการทำงานให้ทัน   ไม่มีโอกาสได้ตั้งสติในการทำงาน   ครับ

คำสำคัญ (Tags): #km#ผักปลอดภัย
หมายเลขบันทึก: 45394เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2006 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
สรุปได้ดีมาก ขอบคุณแทนพวกเราทุกคนครับ เพราะไม่แน่ใจว่าในทีมงานนครศรีธรรมราช ใครได้เข้ามาอ่านบ้าง
ได้เรียนรู้กระบวนการถอดบทเรียนครับ
  • คุณณัทธรขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยม
  • คุณครูนงเมืองคอน  ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมท่านกับผมอาจเจอกันสักงานที่กรุงเทพ ฯ ครับ
  • ทำไป เรียนรู้ไป  ไม่มีผิด ไม่มีถูก ขอเป็นกำลังใจให้ทำต่อไปนะค่ะ 
  • การเรียนรู้ ต้องอาศัยเวลา และการลงมือปฏิบัติ
  • เมื่อวันที่ 21-22 สค.49  ทีม KM ส่วนกลาง และจังหวัดนำร่อง ได้มีโอกาสอบรมทักษะการเป็นคุณบันทึก  ซึ่งมีประโยชน์มาก  อาจจะมีการจัดอีกในโอกาสต่อไปค่ะ.... 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท