การศึกษาเอียงซ้าย ?


มีผู้เปรียบ สมอง ก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย
มีสองซีก  ข้างไหนใช้มากก็แข็งแรงกว่าอีกข้างหนึ่ง
ถึงมันมีขนาดไม่เท่ากัน
แต่เราต้องประสานสองข้างอย่างสมดุลเพื่อดำรงชีวิต

23% ของคนทั่วไป มีขาข้างหนึ่งยาวกว่าอีกข้าง 1 cm หรือมากกว่า  ที่มา
แต่เราก็ต้องเดินด้วยขาทั้งสองข้าง
คนปกติย่อมเดินแบบ "ซ้าย ขวา ซ้าย" หรือ "ขวา ซ้าย ขวา"
ไม่ใช่เดินแบบ "ซ้าย ซ้าย ซ้าย" หรือ "ขวา ขวา ขวา"

สมองก็เช่นกัน
Left Big "L" (mindsight, Siegel)
Late develope : เมื่อเด็กเริ่มถาม "Why?"
Linear thought : Y = BX + C
List : ประการที่ 1 , 2, 3..
Lingusitic language : "ขาว" (ไม่ใช่เขียวนะ)
Logical operation : ตัดสินแบบ "on/off" เช่น  "0/1" "ขาว/ดำ" "ถูก/ผิด"

แต่ไม่ว่าเราจะเป็น Right thinker หรือ Left thinker
ชีวิตที่สมดุล ต้องการสมองซึกซ้ายและขวา ประสานกันอย่างสมดุล
ไม่มีซึกไหน สำคัญไปกว่าซีกไหน

น่าคิดว่า..
การศึกษา แบบ
สอนสูตร "linear" แล้วสอบแบบ "linear"
สอนเป็น "list" แล้วสอบแบบ "list"
สอนเป็น "lingustic" แล้วสอบแบบ "lingustic"
สอนแบบใดก็ตาม แต่สุดท้าย "จงเลือกเพียงหนึ่งข้อ.."
คือการใช้สมองแบบเอียงซ้าย หรือไม่

การใช้ "จิตสัมผัส" ถึงความรู้สึก นึกคิด "ภายใน"
แล้วเขียนบรรยายด้วยตัวอักษร
ในการเขียนต้องเรียบเรียงประติดประต่อ
คือ การใช้สมอง แบบ "ขวา ซ้าย ขวา"

วิเคราะห์จากบทเรียนคนอื่นในอดีต
ผนวกกับบทเรียนของตนเอง
เปรียบเทียบ ความเหมือนความต่าง
แล้วนำมาสังเคราะห์ สรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่
คือ การใช้สมอง แบบ "ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา"

Research question มองภาพรวม ทำไปทำไม ทำไปเพื่อใคร
Data collection วางแผนเก็บข้อมูล
Analysis   วิเคราะห์ข้อมูล
Conclusion สรุปเพื่อการนำไปใช้

คือ การใช้สมอง แบบ "ขวา ซ้าย ซ้าย ขวา" -> ข้าพเจ้าจึงเดินสะดุดหัวคะมำอยู่เรื่อย

****

ข้าพเจ้า สังเกตตัวเองเร็วๆ นี้
ว่าอ่านหนังสือแบบซึมซับอรรถรส ไม่ค่อยประสบควาามสำเร็จ
เพราะจะคอยเปิด หน้าแรก - กลาง - หลัง ให้รู้ว่าโครงสร้างคืออะไร
ติดกับ "list" เสียแล้ว...

 

หมายเลขบันทึก: 453479เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2011 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ข้อ ง. ข้อ ก, ข และ ค ถูก

ข้อ จ. ถูกทุกข้อ

...................................

เขียนดีอีกตามเคยครับ คุณหมอ

NO COMMENT ดีกว่า ;)...

 ข้อ ฮ.นกฮูก  ทำไมอาจารย์นอนดึกจังคะ..

  • เป็นผู้อ่านที่หมือนโดนดักคอไปด้วยเลยละครับ เพราะพออ่านปร๊าดด ก็ทำท่าจะจัดตัวอย่างจากประสบการ์อย่างนี้ของอาจารย์เข้า List ตัวอย่างของการบรรลุกระบวนการเรียนรู้กลุ่มหนึ่งที่เขาเรียก Transfer of Learning
  • ในการทำงาน Creative หรือการทำงานศิลปะ ลักษณะที่น่าสนใจของการผสมผสานทักษะทั้งสองด้าน จากสมองทั้งสองซีกอย่างที่อาจารย์หมอนำมาเล่าแบ่งปันกันนี่ พอจะจัดเข้ากับลักษณะของการเรียนรู้ที่มีความบันดาลใจได้เหมือนกันครับ เพราะประสบการณ์ต่อสิ่งหนึ่ง ด้วยกระบวนการทางความคิดแบบหนึ่ง แต่กลับสามารถข้ามโหมด ไปทำให้เกิดความคิดและทำสิ่งหนึ่งได้ ซึ่งอธิบายไม่ได้ในแง่ความต่อเนื่องและระบบเหตุผล อีกทั้งจัดเข้า List แบบต่างๆก็อาจจะไม่เข้าหมวดหมู่และไม่เข้าชุดกันเลย แต่มีชุดของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้ เช่น เกิดประสบการณ์ต่อริมคลองและธารน้ำ ในบรรยากาศที่ประทับใจ และในจังหวะที่จิตใจละเอียดอ่อน ก็สะท้อนไปสู่การเขีนบทกลอน วาดรูป แต่งเพลงหรือเรียบเรียงเสียงประสานของดนตรีได้ ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่อง ไม่เป็นเหตุเป็นผล ไม่เป็น Linguistic ในชุดเดียวกัน
  • คนทำงานศิลปะสาขาต่างๆจะใส่ใจกับอารมณ์และมิตินี้ของชีวิตมาก เพราะมันเป็นพลังความบันดาลใจ ที่จะทำให้คนเราสามารถแปรประสบการณ์ต่อโลกรอบข้างและต่อประสบการณ์ทางจิตใจของตนเอง ให้ข้าม Mode ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้
  • ตรงที่อาจารย์พยายามเรียนรู้ตนเองนั้น มีลักษณะเหมือนอย่างนี้เหมือนกันครับ ทำให้สามารถแปรประสบการณ์และสะท้อนไปสู่การทำสิ่งต่างๆในมิติอื่นๆที่ไม่ได้ต่อเนื่องแบบ Linear กับเหตุการณ์เงื่อนไขได้เยอะเลย (ต้องบอกว่าน่าทึ่งมากครับ) อาจารย์ทำให้ผมนึกถึงคุณหมอชัญวลี ศรีสุโข กับ อ.อุดาการ เลย

List ตัวอย่างของการบรรลุกระบวนการเรียนรู้กลุ่มหนึ่งที่เขาเรียก Transfer of Learning

เรียนอาจารย์วิรัตน์..ด้วยใจจริงคะ ว่าทุก comment ของอาจารย์นั้นมีความลึกซึ้ง
และทำให้ได้เรียนรู้ ศาสตร์ของการศึกษา ทีละนิดทีละนิด..

ตอนเขียนบทความนี้ ก็เกรงอยู่ลึกๆ ว่า จะปล่อยไก่คะ เนื่องจากไม่ได้เป็นนักการศึกษา เพียงมีความสนใจ เพราะสงสัยจาก "ประสบการณ์" ตนเองตอนเป็นนักศึกษา อาจเรียนไม่เป็น เลยรู้สึกเรียนแบบเหนื่อยๆ..

การใช้ "จิตสัมผัส" ถึงความรู้สึก นึกคิด "ภายใน"
แล้วเขียนบรรยายด้วยตัวอักษร
ในการเขียนต้องเรียบเรียงประติดประต่อ
คือ การใช้สมอง แบบ "ขวา ซ้าย ขวา"

..

ขอบคุณสำหรับสาระแห่งการคิดในครั้งนี้ครับ

 

ÄÄÄÄ...มีการใช้..สมอง..แบบ..กลางๆ..(บ้างไหมเจ้าคะ..เพื่อ..กัน..สะดุด..เจ้าค่ะ...ยายธี)....

เป็นเกียรติคะ ที่  idol blogger มาเยี่ยมเยียน

เชื่อว่า การเขียนสะท้อนความรู้สึก เขียนไดอารี่ พัฒนาสมองและจิตวิญญาณ ได้คะ

นั่นสิคะ ทำไมธรรมชาติไม่ออกแบบมาให้มีสมองส่วนกลาง (mid brain)
ใช้คิดได้ด้วย 
เดินสะดุด ไม่เป็นไรคะ มีเพื่อนๆ คอยประคองซะอย่าง 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท