อิงจันทร์ บ้านกลอนไฉไล
ครู รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น น้ำตาล จันทวงศ์

แสนล้านสานร้อยรอยอาลัย ๗:รอยอาลัยในกลีบไม้ (๒)


"จะว่าไปแล้วเหตุที่ผมไม่ค่อยตื่นเต้นมากนักกับความละลานตาจากสีสันของดอกไม้ไม่ว่าจะที่ใด

นั่นน่าจะเป็นเพราะชีวิตตั้งแต่เด็กผมก็อยู่ใกล้ชิดกับดอกไม้นานาชนิดมาโดยตลอด

จำได้ว่าเมื่อสมัยเป็นเด็กผมจะเป็นผู้นำดอกไม้จากบ้านไปใส่แจกันที่โต๊ะครูแทบทุกวันครับ...

บ้านผมที่ดอยมูเซอ มันคือดงดอกไม้ดี ๆ นี่เอง

นอกจากดอกไม้ซึ่งเป็นไม้เมืองหนาวแล้ว ยังมีดอกไม้ป่า และหากย้อนไปในวัยเด็กดอกฝิ่นก็มีให้เห็นละลานตา

ปู่และย่าเฌวาเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ โดยเฉพาะจำพวกไม้ดอก และน้องชายคนเล็กก็ชื่นชอบกล้วยไม้เป็นพิเศษ

ที่บ้านจึงมีไม้ดอกและกล้วยไม้จำนวนมาก

บรรดาพืชพรรณเหล่านี้ทยอยออกดอกสร้างมีสันให้กับบ้านตลอดทั้งปี 

ไปดูดอกไม้ที่ไหนก็ไม่ “งาม” เท่าที่บ้านครับพูดแล้วจะหาว่าคุย..."

หนานเกียรติ

"ดอกไม้บานรับลมหนาวที่บ้าน"

03 ตุลาคม 2553 11:40 น.

http://www.gotoknow.org/blog/kiat08/400573

ถ่ายภาพโดยหนานเกียรติ บทกลอนจากคอมเม้นท์ของอิงจั​นทร์

จากบันทึก แด่คนดี : หนานเกียรติ โดย พระมหาแล อาสโย ขำสุข

ถ่ายภาพโดย "หนานเกียรติ" บทกลอนจากคอมเม้นท์ของท่าน

ว​ิโรจน์ พูลสุข จากบันทึก ฤาไกลเกินปลายปีก โดยอิงจันทร์

ถ่ายภาพโดย "หนานเกียรติ" บทกลอนจากคอมเม้นท์ของท่าน

 ว​ิโรจน์ พูลสุข จากบันทึก คุณหนานเกียรติครับผมยังติด​หนี้คุณ

อยู่นะ โดย คุณเบดูอิน

ถ่ายภาพโดย "หนานเกียรติ" บทกลอนจากคอมเม้นท์ของ

คีต์ตะวัน จากบันทึก งานฌาปนกิจศพพี่เกียรติศักด​ิ์ ม่วงมิตร โดย ขจิต ฝอยทอง

 

ถ่ายภาพโดย "หนานเกียรติ" บทกลอนจากคอมเม้นท์ของ

ป่าไม้เลื้อย/พาดีซอ จากบันทึก งานฌาปนกิจศพพี่เกียรติศักด​ิ์ ม่วงมิตร โดย ขจิต ฝอยทอง

 

ถ่ายภาพโดย "หนานเกียรติ" บทกลอนจากคอมเม้นท์ของสันติ​สุข

สันติศาสนสุขจากบันทึก ความตายคือบั้นปลายของทุกคน​

โดยสันติสุข สันติศาสนสุ 

 

หมายเลขบันทึก: 451738เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2011 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบพระคุณค่ะสมาชิกที่ให้กำลังใจ:  Ico24 มหาศรีบรรดร, และ Ico24 วิรัตน์ คำศรีจันทร์  

อีกมุมหนึ่งที่อาลัยในหนานเกียรติของน้องครูอิง

เจริญพรคุณครูอิงจันทร์

คุณครูเขียนกลอนได้เพราะมาก

                                 มาร่วมรำลึกถึงคนดีที่โลกไม่มีวันลืม

                       
                        

@@@คนคนหนึ่งเกิดมาใต้ฟ้ากว​้าง
หวังเดินทางตามหาสิ่งที่ฝัน
แต่ก็ต้องสะดุดหยุดเดินพลัน
และมีอันเป็นไปด้วยภัยพาล@@​@

บทกลอนของคุณครู(kruqui Chutima)

  • สวัสดีตอนเช้าครับพี่อิง
  • มาช่วยย้ำเตือนว่าความดีนั้น หอมทน หอมนาน หอมไกล ไม่จางหาย
  • สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง ดอกไม้แม้งดงามเพียงใด แต่ไม่อาจยืนยง ต้องเสื่อมสูญไปตามกาลเวลา แต่ภาพจะยังงดงามตลอดไป วันนี้ณ ดอยมูเซอ ยังมีดอกไม้น้อยๆ อีกหลายดอก พร้อมที่จะเติบโตและเบ่งบานงดงาม เหมือนปณิธานของท่านหนานเกียรติ ที่มีผู้คนซาบซึ้งและสืบสาน ไม่สิ้นคนดี
  • พี่อิงสบายดีนะครับ วันสองนี้ผมอาจมีโอกาสเยือนทางใต้ แต่ช่วงนี้ฟ้าฝนทางอีสานตกทุกวัน ทางโน้นเป็นอย่างไรบ้างครับ

สวัสดีค่ะท่านพี่

Ico48
  • ตั้งใจทำบล็อกนี้สำหรับร้อยเรียงทุกเรื่องราวที่เกี่ยวกับน้องหนานเกียรติค่ะ
  • เอาไว้อ่านยามคิดถึง และเผื่อเฌวา ด้วยค่ะ

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

Ico48
  • ขอบพระคุณค่ะที่นำภาพมาเติมเต็มให้กับบันทึกนี้
  • จะพยายามรวบรวมเรื่องราวของน้องหนานเกียรติไว้ค่ะ
  • ยังลิงค์มาไม่หมดค่ะ  เพราะมีจากหลาย ๆ ที่ค่ะ  แต่จะพยายามติดตามมาลิงค์ไว้ในบล็อกนี้ค่ะ 

สวัสดีค่ะน้องชำนาญ

Ico48
  • เสียดายคนดีนะคะ  ไม่น่าจากไปเร็วขนาดนี้
  • น้องชำนาญจะเยือนจังหวัดไหนเหรอคะ  ถ้าเป็นวันที่ 4-6 พี่อิงอยู่ที่หัวหินค่ะ ต้องไปอบรมครูบรรณารักษ์ค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อิงจันทร์

คุณความดีที่ท่านหนานเกียรติได้ทำไว้ หอมไกลและหอมนาน

สบายดีนะค่ะพี่อิงจันทร์

อ่านแล้ว อ่านล่าว ทุกเรื่องราวมิรู้เบื่อ

เธอ"หนานเกียรติ"จากไปให้ธัมมะ           ผู้ชนะยืนยงคงศักดิ์ศรี

ถึงกายจากชื่ออยู่คู่ปฐพี                         คุณความดีนี่แหละค่ามนุษย์เอย       

คุณหนานเกีบรติ คนดีมีแต่ให้

ทั่วทิศไทยท่องไปไม่ท้อถอย

จากเหนือ ออก ตก ใต้ ป่าดงดอย

เรื่องใหญ่น้อยเป็นร่องรอยที่จดจำ

 

    

ต้องขอบคุณพี่อิง...(ขออนุญาตเรียกพี่..นะครับ) ที่ชักนำให้มาพบบันทึกนี้

ดีใจครับทีี่่ส่วนหนึ่งของบทกลอนที่ไว้อาลัย....ส่งดวงวิญญาณของ "อาจารย์"

ในวัน 25 ก.ค.54 มีคนนำมาต่อยอดให้กลายเป็นภาพสวยงาม ดูมีความหมายขึ้นอีกเยอะ... ขอบคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท