การตรวจประเมินโครงการ BI01 โครงการTUC


สรุปการประชุมการนำเสนอผลงานการตรวจประเมินโครงการ BI01

โครงการของ TUC เป็นโครงการเพื่อพัฒนางานดูแลคนไข้เอดส์ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งการ screening     การให้ยาARV ยาต้านไวรัส     การscreen STIหรือกามโรคที่เกิดร่วมกับคนไข้เอดส์ที่ดิฉันได้ไปนำเสนอที่มาเลเซีย    การรักษาคนไข้TB     วันนี้เรามีการประเมินข้ามสายงานตามมาตรฐานของTUCซึ่งทำร่วมกันระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา

รายละเอียดของการประเมินจะสรุปอีกครั้ง     ดิฉันขอบันทึกส่วนที่เป็นข้อคิดเห็นของอาจารย์รังสิมาและผอ.เพื่อจะได้ติดตามส่วนของงานที่ต้องพัฒนาค่ะ

ในวันที่มีการประชุมดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจที่บุคลากรของเราสามารถประเมินได้อย่างดี    มีการตำหนิอย่างชนิดที่เรียกว่าเกรงใจกันนิดๆและใช้ภาษาของHA ได้ดีทำให้งานที่ต้องพัฒนาไม่รู้สึกกังวลมากนัก

ต้องขอบคุณคุณ บุญช่วยและคุณชนกพรรณที่อดทนต่อเสี่ยงบ่นของดิฉัน     ความคาดหวังที่ดิฉันมีมากที่สุดคือหลังปิดโครงการแรก เจ้าหน้าที่สามารถประเมินงานได้ค่ะ

 

หน่วยงาน

ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ ผู้ให้ข้อคิดเห็น
คัดกรอง คำถามในการคัดกรอง ควรมีการกำหนดคำถามที่ชัดเจนเป็นคำถามเดียวกันที่ใช้ในการคัดกรอง  เช่น จะถาม 5 คำถาม เป็นต้นโดยอาจเริ่มต้นกำหนดคำถามที่จะใช้คัดกรองและกำหนดช่วงเวลาที่ลองใช้คำถามดังกล่าวร่วมกับกลุ่มเจ้าหน้าที่กลุ่มเล็กๆ ที่จะทดลองใช้ มีการจับเวลาว่าใช้เวลาแต่ละรายเท่าไร และถามแพทย์และพยาบาลที่เกี่ยวข้องว่าคำถามคัดกรองดังกล่าวมีประโยชน์หรือไม่ จากนั้นปรับเปลี่ยนคำถามในการคัดกรองให้มีความกระชับและเกิดประโยชน์สูงสุด แล้วจึงนำไปใช้ในระบบใหญ่ต่อไป พญ. รังสิมา โล่ห์เลขา
  การคัดกรองวัณโรคเพื่อนำส่งคลินิกวัณโรคสามารถนำคำถามที่คัดกรองวัณโรค (Criteria) มาทดสอบได้ว่า ใน Criteria ที่ถามนั้น สามารถคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคได้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าคำถามที่ถามคัดกรองได้ถูกต้อง สามารถเป็นองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานได้ ผู้อำนวยการ
  เลขานุการสำหรับโรคเอดส์ ในจุดคัดกรอง จุดคัดกรองควรมีผู้ที่ทำหน้าที่ประสานกับ PCTอายุรกรรม และ PCT เด็ก  และเก็บข้อมูลที่เป็น HIV/AIDS minimum data set ของสถาบัน และในกรณีที่ต้องนำเสนอข้อมูลต่อ สปสช. ต้องนำ definition ของ สปสช.มาใช้ร่วม    ขอฝากให้ พญ. นภา  จิระคุณ พิจารณาด้วย ผู้อำนวยการ

 

 

 STI หญิง/มะเร็ง

ปากมดลูก
Guideline ในการ Screening มะเร็งปากมดลูกอ้างถึงข้อมูลจาก American Society กำหนดว่า           หญิงติดเชื้อเอชไอวี ควรได้รับการตรวจ pap smear ในปีแรก 2 ครั้ง ในกรณีที่ผลปกติให้ตรวจติดตามปีละครั้ง สำหรับแนวทางในประเทศไทยควรติดตามต่อไปว่าแนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีเล่มล่าสุดที่กำลังจะออก มีการให้คำแนะนำการตรวจอย่างไร ร่วมกับติดตามนโยบาย สนับสนุนของ 30 บาทด้วย พญ. รังสิมา โล่ห์เลขา
  ปัญหาที่แจ้งว่าผู้ป่วยที่มาตรวจอายุรกรรมและส่งมา Screening STI และ pap smear มักจะไม่ได้ตรวจในวันเดียวกัน  เพราะเวลาไม่ตรงกัน (OPD สูติฯ)        ขอแนะนำให้ทำ CQI  เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยในการรับบริการของผู้ป่วย พญ. รังสิมา โล่ห์เลขา    
STI หญิง/ชาย 2)  โครงการปีต่อไปของ BI-TUC “Prevention with positives” นั้น จะเริ่ม STI service จากห้องตรวจ  อายุรกรรม โดยควรมีการคัดกรองประวัติ STI และตรวจร่างกายที่เกี่ยวข้องให้ผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการผิดปกติ  สำหรับการตรวจ PCR for GC/CT จะไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกราย แต่จะมุ่งเฉพาะกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม ซึ่งจะได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากกิจกรรม Screening ที่ได้ทำโครงการไว้ในปีนี้ ส่วนการตรวจ syphilis ก็จะมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าจำเป็นต้องตรวจทุกปีหรือไม่ สำหรับแบบฟอร์มซักประวัติต่อไปในอนาคตอาจตัดทอนให้น้อยลงเพื่อทำให้สามารถทำได้ในงานประจำ  พญ. รังสิมา โล่ห์เลขา

 

 

คลินิกยาต้านไวรัส

การนำเสนอ 10 อันดับโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในสถาบันฯได้เก็บข้อมูลหรือไม่ว่าโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่เกิดขึ้นมาจาก Immune Reconstitution Syndrome หรือไม่ในกรณีที่ได้มีการติดตามอาการหลังจากให้ยาต้านไวรัสไปแล้วถ้าเกิด OI จาก Immune Reconstitution Syndrome จะช่วยให้แพทย์เตรียมความพร้อมในการคัดกรองผู้ป่วยอย่างละเอียดก่อนให้ยาต้านไวรัส พญ. รังสิมา โล่ห์เลขา

 

 

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมสำหรับการนำเสนอผลการดำเนินงานของ  Nursing Information Corner

แบบประเมินที่ใช้กับผู้ป่วยที่มารับบริการ เสนอว่าที่หน่วยงานแนะแนวฯ มีแบบวัดระดับความตึงเครียดของผู้ป่วยในระดับต่างๆ เป็นแบบสอบถามที่มาจากโครงการ Albion Street ยินดีให้นำมาใช้ใน Information Corner คุณเปี่ยมสุข พรหมายน
  เสนอว่ากองเอดส์มีแบบประเมิน Quality of  life ซึ่งสามารถนำมาใช้ใน Information Corner หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พญ. รังสิมา โล่ห์เลขา
  แนะนำให้สร้าง Network ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เพื่อให้มาช่วยหน่วยงานให้คำแนะนำกับผู้ติดเชื้อด้วยกัน พญ. รังสิมา โล่ห์เลขา
ข้อเสนอแนะ Corner อาจจะสร้างแบบสอบถาม เพื่อถามความต้องการของผู้ป่วยที่มารับบริการในครั้งแรกว่า ผู้ป่วยอยากได้คำแนะนำในเรื่องใดบ้าง  เพื่อจะได้ตอบสนองได้ตรงจุด  และไม่ซ้ำซ้อน พญ. รังสิมา โล่ห์เลขา 
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน Information Corner ควรจะกำหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงานให้ชัดเจนว่าต้องการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มใด  และควรจะทราบ problem statement ก่อนเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ (ต้องการแก้ปัญหาอะไร  ด้วยการใช้ intervention อะไร) ต้องรู้ว่าการมีบริการ Corner นี้ดีกว่าไม่มีอย่างไร  จะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน วัดผลได้ขอให้นำประเด็นการกำหนดวัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายไปปรึกษากับอายุรแพทย์  แบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มๆ เช่น เบาหวาน  ความดันสูง  ไขมันสูง   เอชไอวี แล้วนำมาเก็บเป็นข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ผู้อำนวยการ
ขอบเขตการให้บริการคำปรึกษา

ขอให้นัดประชุมร่วมกันระหว่าง งานแนะแนวฯ 

อายุรแพทย์ และพยาบาล information corner เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันให้ชัดเจนว่าใครจะให้บริการคำปรึกษา ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
ผู้อำนวยการ
 

ถึงเราจะประเมินงานได้ดี    งานพัฒนาต่อไปซึ่งต้องประสานระหว่างพยาบาล  เภสัช  แนะแนว  แพทย์ ก็ยังต้องมีต่อไปค่ะ     การเก็บข้อมูลที่เป็นส่วนที่สำคัญคุณหมอนภากำลังจะดำเนินการค่ะ

หมายเลขบันทึก: 45161เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
          แอบสังเกตเห็น (ตามประสาคนที่อยู่ใกล้ชิด) ทีมทำงาน M&E ที่มีคุณบุญช่วยและคุณชนกพรรณเป็นแกนนำ รวมทั้งท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุ ณ ที่นี้ ช่วงที่ผ่านมาทำงานกันอย่างหนัก มีการนัดประชุมทั้งกลุ่มใหญ่รวมกัน และกลุ่มย่อยตามที่ตรวจแต่ละงาน เพื่อให้ได้ข้อสรุปและผลงานประกอบการนำเสนอ TUC  ขอแสดงความชื่นชมด้วยค่ะ
ขอชื่นชมคุณบุญช่วยและคุณชนกพรรณด้วยค่ะ ส่วนเภสัชกรคงต้องเพิ่มบทบาทการให้คำปรึกษาและการทำอย่างไรให้คนไข้กินยาถูกต้องและสมำเสมอเพื่อผลการรักษาที่ดีต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท