เทคนิคของคุณอำนวยในที่ประชุมเสวนา


การตั้งคำถามที่ท้าทายของคุณอำนวยที่ประชุม เป็นเทคนิคที่น่าศึกษาเรียนรู้ครับ ได้เห็นถึงบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเข้มข้น ผู้เข้าร่วมประชุมเสวนามีความสนใจประเด็นเรียนรู้มากขึ้น แต่ก็เสี่ยงต่ออะไรหลายๆอย่างเหมือนกันครับ

         การประชุมเสวนาคุณอำนวย โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร เมื่อวันที่ 11 ส.ค.49 เรียกว่าจบลงอย่างตื่นเต้นเร้าใจครับ

          Session สุดท้ายคือการแลไปข้างหน้าว่าจะทำ KM แก้จนเมืองนครกันต่อไปอย่างไรดี

         KM แก้จนเมืองนคร ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าทุกวงเรียนรู้ เรียนรู้กระบวนการแก้จน เรียนรู้วิธีการบูรณาการจัดการความรู้ และเรียนรู้กระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งหากไม่ทำไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้อาจทำให้เราไม่ผ่านการประเมินของ สตง.(สอบตก) ได้ อันเป็นความเห็นของ อ.ภีม ภคเมธาวี ที่ปรึกษา /ทีมวิชาการ  ครับ

      ตื่นเต้นตรงลีลาและเทคนิคการจัดการความรู้ของคุณอำนวยที่ประชุมเสวนา คือ อ.ภีม ภคเมธาวี จาก มวล. ครับ

            อาจารย์ภีม ได้ทบทวนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ รวมทั้งสังเคราะห์สาระที่กลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มนำเสนอในภาคเช้า ลิ้งค์สรุปสาระภาคเช้า สาระ 1 สาระ 2  ซึ่ง อ.ภีม สรุปว่ามีหลายอำเภอที่ได้นำเสนอในทำนองว่าจากการทำเวทีแล้วทำให้เกิดกลุ่มกิจกรรมของชาวบ้านรวมในแต่ละพื้นที่รวมทั้งกลุ่มอาชีพด้วย นั้นว่าเหมือนกับว่าไม่ได้อาศัยทุนเดิม กลุ่มเดิมของชุมชน เป็นตัวเดินเรื่อง เป็นการรวมครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 64 ครัวเรือน ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ แล้วทำกิจกรรมแยกออกจากกิจกรรมที่เคยทำอยู่แล้ว ถ้าทำอย่างนี้ อ.ภีม ให้เหตุผลว่าเท่ากับเป็นการแยกงานจัดการความรู้ออกมาจากงานการปกติที่ชาวบ้านทำอยู่แล้ว รวมกลุ่มขึ้นมาใหม่เพื่อการเรียนรู้ ทั้งๆที่มีกลุ่มอยู่แล้วมากกมายใช้เรียนรู้ได้ ทำอย่างนี้อาจารย์ภีมพยากรณ์ว่าไม่ผ่านการประเมินของ สตง.หรอก (สอบตก) ซึ่งที่จริงแล้วอำเภอต่างๆที่ทำอยู่ก็มีทั้งอำเภอที่อาศัยทุนเดิมของชุมชน อาศัยน้อย หรือไม่อาศัยเลย คงมีกันหลากหลายประเภท 

          เมื่ออาจารย์ยกเรื่องนี้ขึ้นมากล่าวก็เท่ากับกระตุกแรงๆ หรือท้าทายให้คุณอำนวยได้คิดหน้าคิดหลัง คิดทบทวนหลักการจัดการความรู้ คิดเทียบเคียงกับกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ  ซึ่งได้เขียนเอาไว้เองและกำลังจะถูก สตง.ติดตามประเมิน  อำเภอที่อาศัยทุนเดิม กลุ่มเดิม ร่องรอยการกระทำเดิมของชุมชนอยู่แล้ว ก็ถือว่าทำดีอยู่แล้ว ทำดีต่อไป ส่วนบางอำเภอที่ไม่ทำอย่างนี้ก็เป็นบทเรียนที่จะได้เหลียวหลังแลหน้าปรับปรุงเสียในคราวต่อไป ทำให้ที่ประชุมเสวนาแลกเปลียนเรื่องนี้กันอย่างเผ็ดร้อน ว่าทำไม่ไม่บอกให้ทำอย่างนี้ตั้งแต่ต้น รวมกลุ่มชาวบ้าน 64 คน เป็นกลุ่มใหม่แล้วก็ต้องทำกิจกรรมใหม่ ฯลฯ  การทบทวนบทเรียนมันมีข้อดีหรือประโยชน์อย่างนี้แหละ  ทำให้แต่ละคนได้ปรับฐานคิดฐานการทำงานเสียใหม่

              ผมเห็นด้วยกับ อ.ภีม ที่ว่าให้ใช้กิจกรรมที่ชุมชนทำอยู่แล้วเป็นตัวเดินเรื่องแก้จน  ไม่ควรจะรวมกลุ่มทำกิจกรรมใหม่ที่แปลกแยกไปจากที่ทำอยู่เดิม   ทีมคุณอำนวยตำบลควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์ทุนเดิม ประสบการณ์เดิมของชุมชน คัดแยกให้เห็นว่าวงเรียนรู้คุณกิจครัวเรือน 64 ครัวเรือน กลุ่มครัวเรือนไหนกี่ครัวเรือนมีร่องรอยการทำกิจกรรมเดิมอะไรอยู่ วิเคราะห์ให้หมดทุกกลุ่มครัวเรือน แล้วใช้กิจกรรมของกลุ่มที่ค้นพบนั่นแหละแตกหน่อต่อยอดตั้งเป้าหมายใหม่เพื่อการเรียนรู้  งานเราจะไปได้เร็ว ออกตัวได้เร็ว ถ้ามัวไปก่อร่างสร้างกลุ่มใหม่มันย่อมช้าแน่นอน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะสร้างกลุ่มใหม่ที่ไม่ได้พัฒนามาจากฐานเดิมเลย ให้ยึดหลักแตกหน่อต่อยอดไปจากของเดิมก่อน

       การบ้านของคุณอำนวยในเรื่องนี้ก็คือค้นดูว่ากลุ่มกิจกรรมของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นประเภทเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ออม หรือจะทำกิจกรรมใดๆอยู่ก็ตาม จะจัดตั้งโดยใคร ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเอง หน่วยงานต่างๆ NGO  ก็ตาม จะต้องค้นหาให้เจอ และค้นหาสิ่งดีเพื่อใช้เดินเรื่องแก้จนให้ได้ KM มันจึงจะเนียนในเนื้องาน และเนียนอยู่ในวิถีชีวิตของชุมชนจริงๆ  ไม่ใช่แยกมาโดดเดี่ยวอยู่ต่างหาก อาจจะเจอกลุ่มกิจกรรม ที่ กศน. เกษตร สาธารณสุข พัฒนาชุมชน ส่งเสริมอยู่ เมื่อเจอแล้วจึงจะคิดต่อว่า แล้ว KM จะเข้าไปหนุนเสริมได้อย่างไร

             การตั้งคำถามที่ท้าทายของคุณอำนวยที่ประชุม เป็นเทคนิคที่น่าศึกษาเรียนรู้ครับ ได้เห็นถึงบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเข้มข้น ผู้เข้าร่วมประชุมเสวนามีความสนใจประเด็นเรียนรู้มากขึ้น แต่ก็เสี่ยงต่ออะไรหลายๆอย่างเหมือนกันครับ

              นี่คือสิ่งที่ผมเก็บเกี่ยวได้ แล้วนำมา ลปรร. กันครับ

หมายเลขบันทึก: 45110เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครูนงเล่าได้ตื่นเต้นเร้าใจจริงๆแหละค่ะ

ชื่นชมแนวคิดของอ.ภีม และเชื่อว่าถ้ายึดแนวนี้ และทำให้เป็นที่เข้าใจ "แนวร่วม"น่าจะเพียบนะคะ

คุณโอ๋ ครับ

       ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นนะครับ เพราะอาจจะทำให้หลายคนตั้งหลักได้

      โดนของจริงเข้าแล้ว   ได้มีโอกาสลงพื้นที่ทำงานในหลายอำเภอเพราะช่วงนี้ต้องติดตามงานสินเชื่อในกลุ่มองค์กร ที่มีปัญหาการชำระคืน พอช พบว่า ในหลายพื้นที่ไม่ได้ทำ km ให้เนียนไปกับเนื้องานเดิมแบบที่อาจารย์พูดถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ทำกิจกรรมการพึ่งพาตนเองอยู่แล้วที่หลายหน่วยงานส่งเสริมอยู่ โดยเฉพาะกิกรรมพื้นฐานอย่างการทำบัญชีครัวเรือน การลดรายจ่าย การออมจากการลดรายจ่าย เป็นต้น แต่หลายพื้นที่กำลังสร้างกุ่ลุ่มใหม่งานใหม่ ทำให้รู้สึกเป็นภาระ และคนทำงานส่วุนใหญ่ก็ยังไม่เข่าใจ มีอยู่ครั้งหนึ่งไปที่ ต.กะปาง อ.ทุ่งสง เจอเวที km  โดยบังเอิญก็เกรงใจเจ้าของพื้นที่ไม่ค่อยกล้าช่วย  แต่เข้าใจในข้อจำกัด การประสานข้อมูล อาจจะไม่ทั่วถึงคงต้องลปรร กันบ่อย ๆนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท