การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) : ศึกษากรณีโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS)


การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา หรือ Contract Farming, ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS), การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ASEAN Integration System of Preferences : AISP), ASEAN

คำนำ 

 

ภายหลังจากการล่มสลายของระบอบการปกครองสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ.1991 (2534) การทูตเปลี่ยนไปจากประเทศเล็กเกาะกับค่ายประเทศใหญ่ มาเป็น การทูตที่ประเทศเล็กเกาะกลุ่มกันเองเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจและการ เมือง ประกอบกระแสเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทั่วโลกเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุน ในปีพ.ศ. 2546 จึงเกิดความร่วมมือในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ระหว่าง 5 ประเทศขึ้น ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม

 

การศึกษาเรื่อง “การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) : ศึกษากรณีโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา – แม่โขง” มีแรงบันดาลใจต่อเนื่องมาจากการได้ศึกษาเรื่อง “การรวมกลุ่มเศรษฐกิจของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ ที่เรียกว่า หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ” ว่า GMS (Greater Mekhong Sub regional Economic Cooperation : GMS-EC) จึงเกิดความคิดที่จะศึกษาต่อยอดในประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

 

อย่างไรก็ตามขอบข่ายที่จะศึกษาเรื่อง การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) หรือ การเกษตรแบบพันธสัญญา เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในเรื่องเศรษฐศาสตร์, เรื่องธุรกิจการเกษตร, เรื่องการค้าการและลงทุนระหว่างประเทศ รวมไปถึงเรื่องกฎหมาย จึงทำให้ขอบข่ายดูค่อนข้างกว้าง   แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ศึกษาก็ได้พยายามศึกษา และจำกัดขอบข่ายการศึกษาลงเฉพาะที่คิดว่าเกี่ยวข้อง จากข้อมูลการศึกษาค้นคว้า พบว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับ “กฎหมาย” การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ กันมากนัก  ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมดได้มาจากเวบไซต์ ประกอบกับข่าวสารปัจจุบัน เพียงเท่าที่ค้นคว้าได้

 

ความบกพร่องใด ๆ ที่เกิดจากการทำรายงานฉบับนี้ ผู้ศึกษาขอน้อมรับไว้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป

23 กรกฎาคม 2554

 

บทที่ 1

บทนำ 

 

 

1.1 ความสำคัญของเรื่อง 

ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 (2534) ภายหลังจากการล่มสลายของระบอบการปกครองสหภาพโซเวียต (The Soviet Union) การทูตได้เปลี่ยนไปเป็น การทูตที่ประเทศเล็กเกาะกลุ่มกันเองเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจและการ เมือง ผนวกกับกระแสการเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุน (Free Trade) จึงทำให้ภูมิภาคต่าง ๆ เกิดการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้น ภายใต้ “ปฏิญญาพุกาม” (Bagan Declaration) พ.ศ.2546 ประเทศพม่า จึงเกิดความร่วมมือ “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา – แม่โขง” (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ระหว่าง 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย (ต่อมาเวียดนามเข้าร่วมในปี 2547)

“การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา” (Contract Farming) ไม่เพียงแต่เป็นระบบเศรษฐกิจการค้าการลงทุนที่ปฏิบัติกันภายในประเทศเท่านั้น แต่ได้เป็นข้อตกลงความร่วมมือ ภายใต้กรอบ ACMECS  ที่ได้เข้ามามีบทบาทในระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์นี้ด้วย

 

ใน1 มกราคม 2558 (2015) ก็จะเกิด AEC=ASEAN Economics Community หรือ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ซึ่งถือเป็นการพัฒนารูปแบบการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นไป อีกระดับหนึ่ง และ ก่อนจะถึงปี 2558 ประเทศไทยต้องเตรียมตัวปรับโครงสร้างรองรับไว้ โดยเฉพาะด้านกฎหมาย “การค้าและการลงทุน”

 

1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 

เพื่อทราบถึงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา หรือการทำระบบการเกษตรแบบมีพันธสัญญา (Contract Farming) กับประเทศเพื่อนบ้าน

 

1.3 ขอบเขตของการศึกษา 

ผู้ศึกษาจำกัดขอบข่ายการศึกษาใน 3 ประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาว และ กัมพูชา

ซึ่งเป็นผลการดำเนินการ ตามกรอบ ACMECS  ในช่วงปี 2549 – 2550 เนื่องจากตามกรอบโครงการนี้ สำหรับประเทศพม่า ไม่คืบหน้านัก

 

1.4 วิธีการศึกษา

ดำเนินการโดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research)

 

1.5 ประโยชน์ที่จะได้รับ 

            ทำให้ทราบถึงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา หรือการทำระบบการเกษตรแบบมีพันธสัญญา (Contract Farming) กับประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ

 

1.6 นิยามศัพท์ 

1.6.1 นิยามศัพท์โดยทั่วไป (Operation Definition)

เนื่องจาก คำว่า “Contract Farming” มีคำที่ใช้เรียกกันในภาษาไทยที่แตกต่างกันไปหลายคำ ไม่ว่าจะเป็นคำที่ใช้ในวงการ “หน่วยงานราชการหรือรัฐบาล” หรือในวงการ “ศึกษาวิจัย” หรือในวงการทั่ว ๆ ไป เท่าที่รวบรวมได้ ได้แก่

ระบบการทำฟาร์มรูปแบบสัญญาผูกพัน (อำนาจ ส่องเมือง มข., 2527), การเกษตรแบบมีสัญญาผูกพัน (อารี วิบูลพงศ์ และทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตติ์ มช., 2538), การเกษตรแบบมีพันธสัญญา (รุ่งรัตน์  ชมาฤกษ์ มช., 2539), การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (แผนลงทุนรัฐบาลไทย, 2546), ตลาดข้อตกลง (คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา, 2546), เกษตรพันธสัญญา (สุดใจ จงวรกิจวัฒนา กระทรวงเกษตร, 2549), เกษตรครบวงจร (สุเมธ ปานจำลอง, 2550), การทำสัญญาฟาร์มแบบมีข้อตกลง (พรพิมล ทองธรรมชาติ มก., 2550), ทำการเกษตรแบบมีพันธสัญญา (เบญจมาศ ฟูทรัพย์นิรันดร์ และภาสกร เตือประโคน, 2550), ระบบ สัญญาฟาร์มประกัน (วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุล, 2552), ระบบการผลิตตามสัญญาข้อตกลงล่วงหน้า (โชคชัย ใจเฉพาะ มช., 2553), การทำสัญญาข้อตกลง (วไลลักษณ์  ตรันเจริญ มข., 2553), การเกษตรแบบมีสัญญาผูกพันกับบริษัทเอกชน (รัศมี เสาร์คำ มช., 2553), เกษตรกรรมแบบมีพันธสัญญา (สุธัญญารัตน์ ฝ้ายตระกูล มช., 2553), การทำเกษตรเชิงพันธสัญญา (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2553), การปลูกพืชตามสัญญาจ้าง, การทำสัญญาแบบประกันตลาดและ/หรือประกันราคา, การทำสัญญาแบบครบวงจร ฯลฯ เป็นต้น

สรุป คำที่ใช้เรียกกันกลาง ๆ และเป็นที่เข้าใจง่ายโดยทั่ว ๆ ไป ก็คือ คำว่า “การเกษตรพันธสัญญา” ในที่นี้ผู้ศึกษาจะใช้คำว่า “การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา” ตามแผนลงทุนความร่วมมือระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย

(หมายเหตุ คำศัพท์เหล่านี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมจากวิทยานิพนธ์ และ รายงานการวิจัย หรืองานเขียนของนักวิชาการต่าง ๆ  ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในความหมายของการทำการเกษตรแบบพันธสัญญา “ภายในประเทศ” ซึ่งมีความหมายเหมือนกันกับการทำการเกษตรแบบพันธสัญญา “ภายนอกประเทศ” – ผู้ศึกษา)

 

1.6.2 นิยามศัพท์ของสหประชาชาติ 

องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) นิยามการเกษตรพันธสัญญา หรือคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming) ว่า "เป็นการตกลงกันระหว่างเกษตรกรกับบริษัทแปรรูป หรือค้าขายสินค้าเกษตรเพื่อที่จะทำการผลิตและจัดหาผลิตภัณฑ์เกษตรภายใต้ข้อ ตกลงซื้อ-ขายล่วงหน้า ซึ่งมักจะกำหนดราคาไว้ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ซื้อจัดหาปัจจัยมาสนับสนุนการ ผลิตในระดับหนึ่ง เช่น ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ และคำปรึกษาทางด้านเทคนิค"

(FAO suggests the following definition for contract farming:

“…an agreement between farmers and processing and/or marketing firms for the production andsupply of agricultural products under forward agreements, frequently at predetermined prices. The arrangement also invariably involves the purchaser in providing a degree of production support through, for example, the supply of inputs and the provision of technical advice.” (Eaton and Shepherd, 2001, p.2))

 

1.6.3 ความหมายโดยสรุป ยกตัวอย่างเพียง 4 ความหมาย

(1) เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) โดยทั่วไปหมายถึงการทำสัญญาในการทำเกษตรหรือฟาร์มสัญญาที่มีความหมายถึงการเพาะปลูกพืช หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีการทำสัญญาซื้อขายกันประกอบด้วย คู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ “ผู้ผลิต” ได้แก่ ฝ่ายฟาร์ม และคู่สัญญา อีกฝ่ายหนึ่ง คือ “ผู้ซื้อผลผลิต” ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในรูปของบริษัท หรือโรงงานแปรรูปต่างๆ ในสัญญาส่วนใหญ่จะมีการกำหนดราคาซื้อผลผลิต หรือวิธีการกำหนดราคาผลผลิต รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพของผลผลิตที่จะรับซื้อไว้ด้วย นอกจากนี้ ข้อตกลงในสัญญาในหลายๆ กรณีจะมีความเกี่ยวข้องกับการจัดหาปัจจัยสนับสนุนการผลิตต่างๆ ตลอดจนคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีในการผลิตให้กับฝ่ายผู้ผลิตเพื่อความมั่นใจในมาตรฐานของผลผลิตให้เป็นไปตามสัญญา (สุรพลและดุษฎี, 2551)

(2) Contract Farming เป็นการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีการทำสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้าระหว่าง “ผู้รับซื้อ” และ “เกษตรกร” โดยผู้รับซื้อจะให้หรือขายปัจจัยการผลิต อาทิ เมล็ดพันธุ์ และปุ๋ย แก่เกษตรกร และจะกำหนดราคารับซื้อไว้ (ในบางกรณีเพียงสัญญาว่าจะรับซื้อผลผลิตเท่านั้น ไม่มีการกำหนดราคาประกัน) ซึ่งวิธีดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของราคาผลผลิตให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมคุณภาพและอุปทานของผลผลิตได้มากขึ้น (โครงการวิจัยไทย มูลนิธิส่งเสริมสันติวิธี, 2551)

(3) Contract Farming แปลตรงตัวว่า การทำฟาร์มสัญญา หมายถึง การเพาะปลูกพืช หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีการทำสัญญาระหว่าง “เกษตรกร” กับ “ผู้รับซื้อ” ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกันตามเงื่อนไข และข้อจำกัดของทั้งสองฝ่าย โดยอาจจำแนกลักษณะของสัญญาระหว่างเกษตรกร และผู้รับซื้อได้ 3 ลักษณะ คือ (วันเพ็ญ, 2553)

ลักษณะแรก การทำสัญญาแบบประกันตลาด ผู้รับซื้อจะประกันปริมาณรับซื้อเพียงอย่างเดียว

ลักษณะที่สอง การทำสัญญาแบบประกันตลาดและประกันราคา ผู้รับซื้อจะประกันทั้งปริมาณ และราคาที่รับซื้อ และประกันราคา

ลักษณะที่สาม การทำสัญญาแบบครบวงจร ผู้รับซื้อจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ควบคุม และจัดการทั้งระบบ ตั้งแต่เริ่มลงมือเพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์ จนได้ผลผลิต เพื่อประกันคุณภาพตามที่ผู้รับซื้อต้องการ

(4) Contract Farming เป็นการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีการทําสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้า ระหว่าง “ผู้รับซื้อ” และ “เกษตรกร” โดยผู้รับซื้ออาจสนับสนุนหรือจําหน่ายปัจจัยการผลิต อาทิ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และเทคโนโลยีการผลิตแก่เกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่สัญญาดังกล่าวจะระบุชัดเจนว่าผู้รับซื้อต้องการผลผลิตลักษณะใด จํานวนเท่าใด ต้องมีวิธีการผลิตอย่างไรและจะรับซื้อในราคาเท่าใด (แต่ในบางกรณีสัญญาอาจระบุเพียงปริมาณผลผลิตที่รับซื้อ โดยไม่มีการกําหนดราคาประกัน) ภายในเวลาที่กําหนด ซึ่งวิธีดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของราคาผลผลิตและปัจจัยการผลิตขณะเดียวกันผู้รับซื้อก็สามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพผลผลิตให้มีมาตรฐานตรงตามที่ต้องการ (สถานีความรู้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม : www.ssmwiki.org)

1.7 รายงาน ผลการศึกษา วิจัยที่เกี่ยวข้อง 

 จากการค้นคว้าผลการศึกษาวิจัยสาขากฎหมาย พบว่ามีการศึกษาน้อย จึงรวบรวมผลการศึกษาที่พอจะเกี่ยวข้อง  ดังนี้

1.7.1 พัชรพล จงไพบูลย์กิจ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548) ศึกษาเรื่องการค้าชายแดนไทย-พม่าในบริบทของกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสภาพการค้าและปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้าระหว่างอำเภอแม่สายและเมืองท่าขี้เหล็ก 2) เพื่อศึกษานโยบายของรัฐต่อการค้าชายแดนระหว่างไทยกับพม่าและความเป็นมาของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอำเภอแม่สายและเมืองท่าขี้เหล็ก 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการในการค้าชายแดน การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษาพบว่า การค้าชายแดนไทย-พม่ามีแนวโน้มที่จะขยายตัวและมีความสำคัญมากขึ้นด้วยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ 1) ความก้าวหน้าของการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจโดยมีนโยบายเปิดประตูมุ่งลงใต้ของจีนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ส่งผลให้การค้าผ่านแดนไทย-จีนถือเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการค้าชายแดนไทย-พม่า 2) นโยบายกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนและแผนยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงรายภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง หรือACMECS จะเป็นปัจจัยให้การค้าชายแดนไทย-พม่ามีอัตราสูงขึ้น 3) ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในผู้ประกอบการที่มีเชื้อสายจีน ทั้งในประเทศไทย พม่าและจีนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการค้าชายแดนไทย-พม่าและการค้าผ่านแดนกับจีน ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่พบในการศึกษาครั้งนี้ พบว่าปัญหาทางการเมืองภายในของพม่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการค้าชายแดนไทย-พม่า ตลอดจนความร่วมมือในกรอบสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจและกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง หรือACMECS ทั้งนี้เพราะพม่ายังไม่สามารถทำความตกลงกับกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่รัฐฉานซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตความร่วมมือระหว่างประเทศได้ ส่งผลให้รัฐบาลพม่ายังมีมาตรการคุมเข้มทางการเมืองและเศรษฐกิจในบริเวณชายแดน รวมถึงพื้นที่ในรัฐฉาน และมีการกำหนดกฎระเบียบด้านการค้าที่ไม่เอื้อต่อการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้น ยังพบว่าพม่ายังขาดความพร้อมทางด้านประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ด้านการค้า โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาการค้าชายแดนภายใต้กรอบ ACMECS และแผนยุทธศาสตร์รองรับของจังหวัดเชียงรายได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวในส่วนของไทยในขณะเดียวกันก็เอื้อต่อการพัฒนาในพม่าด้วย การสนับสนุนด้านการค้าและการลงทุนในเขตนี้ให้มากขึ้น โดยบางส่วนได้มีดำเนินการเสร็จลุล่วงแล้ว เช่น การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า การลงทุน การเกษตรและอุตสาหกรรมในพม่า นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศจีนได้เข้ามามีบทบาทต่อการค้าชายแดนไทย-พม่า อย่างค่อนข้างมากผ่านการดำเนินการของผู้ประกอบการเชื้อสายจีนทั้งในไทยและพม่า

1.7.2 สุดใจ จงวรกิจวัฒนา (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  กระทรวงเกษตรฯ, 2549) ศึกษาเรื่องเกษตรพันธสัญญาเพื่อบรรเทาความยากจน (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่) ศึกษารูปแบบเกษตรภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming)ในพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มรายได้และสร้างเสถียรภาพของรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ผลการศึกษาในส่วนข้อมูลทั่วไปแสดงให้เห็นว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นและรายได้ที่มั่นคงสม่ำเสมอเป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบพันธสัญญา เห็นสมควรให้ส่งเสริมการทำเกษตรแบบพันธสัญญาแก่เกษตรกรทั่วไปในส่วนของต้นทุน ผลตอบแทนใน 4 พืช หลัก คือ มันฝรั่ง, ถั่วเหลืองฝักสด, พริกหวาน, ผักรวม การนำระบบเกษตรพันธสัญญามาใช้หรือมาส่งเสริมให้กับเกษตรกร จึงควรพิจารณาและตระหนักถึงผลที่ต้องการรวมไปถึงผลในระยะยาวที่จะให้ประโยชน์ถึงเกษตรกรและคุ้มค่ากับการดำเนินการเป็นสิ่งสำคัญ

1.7.3 สุรพล  เศรษฐบุตร และดุษฎี  ณ  ลำปาง (สกว., 2551) ศึกษาถึงแผนการลงทุนและกระบวนการในการทำระบบการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาในปี 2549/50 ในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ(ACMECS) บริเวณชายแดนแม่สอด-เมียวดี จังหวัดตาก ใช้เทคนิควิธีการประชุมกลุ่มในระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 ราย  ผลการวิจัยพบว่า มีผู้ร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น 28 ราย พื้นที่ปลูกรวม 7,546 ไร่ ผลผลิตเป้าหมาย 27,520  ตัน มีรูปแบบ ลักษณะการทำสัญญาฯ ที่ใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ไม่มีการทำสัญญาหรือข้อตกลง  มีกระบวนการในการผลิตสินค้าเกษตรโดยการติดต่อกับผู้ผลิตและเพาะปลูกในฝั่งพม่า  นำเข้าผ่านด่านตรวจศุลกากรและลำเลียงสินค้าส่งไปขายกับไซโลและผู้รับซื้อผลผลิตและทั้งในและนอกจังหวัดตาก  วิธีการขนส่งผลผลิตมาทางฝั่งไทยจะต้องแจ้งด่านศุลกากรแม่สอดและมีขั้นตอนการนำเข้าที่ต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิด และใบรับรองการตรวจโรคพืช ทั้งนี้ผู้ประกอบการเห็นควรให้มีการลดความเคร่งครัดในระเบียบ ขั้นตอนการนำเข้าให้มีความสะดวกขึ้น

 

บทที่ 2

ความเป็นมา

2.1 สรุปยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS)

2.2.1 ความเป็นมา ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 ตาม “ปฏิญญาพุกาม” (Bagan Declaration) โดยความริเริ่มของประเทศไทย สมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (พ.ค. 2547) ประชากรรวมกัน 5 ประเทศ ราว 215 ล้านคน หรือ 43% ของประชากรทั้งหมดของอาเซียน และพื้นที่รวมกันราว 1.906 ล้านตารางกิโลเมตร (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2548)

และมีแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS 3 ระยะ คือ

1) ระยะสั้น มีระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2546-2548

2) ระยะปานกลาง มีระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2549-2551

3) ระยะยาว มีระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2552-2555

2.2.2 ความร่วมมือ 8 สาขา (มีประเทศประสานงานหลักรายสาขา) (สุรศักดิ์, 2553)

1. การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน(ไทย)

2. เกษตรกรรม (พม่า)

3. อุตสาหกรรมและพลังงาน (เวียดนาม)

4. การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม (ลาว)

5. การท่องเที่ยว (กัมพูชา)

6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (เวียดนาม)

7. สาธารณสุข (ไทย)

8. สิ่งแวดล้อม (ที่ประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 3 เห็นพ้องเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2551)

2.2.3 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง (สุรศักดิ์, 2553)

ACMECS เป็นกรอบความร่วมมือที่ไทยผลักดันให้เกิดขึ้น โดยดำเนินงานอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

1. ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยากจนกว่า และลดความแตกต่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก

2. ลดผลกระทบที่ไทยได้รับจากความแตกต่างของระดับการพัฒนาในอนุภูมิภาค อาทิ การลักลอบเข้าเมืองของประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้าน อาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการค้ายาเสพติดข้ามแดน โรคติดต่อร้ายแรง และแรงงานอพยพ

3. ใช้โอกาสและศักยภาพของแต่ละประเทศสมาชิกเกื้อกูลกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจตามแนวชายแดน โดยสร้างงานและสร้างรายได้เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนในพื้นที่

4. ส่งเสริมความสัมพันธ์และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก

2.2.4 สรุปความร่วมมือที่สำคัญ (สุรศักดิ์, 2553)

1. โครงการทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming)

2. ความตกลงตรวจลงตราเดียว ACMECS (ACMECS Single Visa)

3. ความร่วมมือเรื่องข้าว (Rice Cooperation)

4. การเชื่อมโยงคมนาคม (Transport Linkages)

5. โครงการความร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners – DP)

6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)

7. สาธารณสุข (Public Health)

ตารางสรุปการดำเนินงานความร่วมมือของ ACMECS (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2548)

สาขาความร่วมมือ/การดำเนินงาน

1. การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน

- ไทยยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรบางรายการให้กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เช่น มันฝรั่ง ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดละหุ่ง ไม้ยูคาลิปตัส และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และลูกเดือย

- ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งตลาดค้าส่งสำหรับส่งออกตามชายแดน

- ให้เงินช่วยเหลือทั้งในรูปเงินให้เปล่า และเงินกู้โดยมีเงื่อนไขผ่อนปรน

2. ความร่วมมือด้านเกษตรและอุตสาหกรรม

- จัดทำ contract farming สำหรับสินค้าเกษตร

3. การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม

- ร่วมมือโครงการก่อสร้างถนนและสะพานเชื่อมประเทศสมาชิก ACMECS

- ศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มเส้นทางระหว่างประเทศสมาชิก ACMECS กับประเทศใกล้เคียง เช่น จีนและอินเดีย

4. การท่องเที่ยว

- โครงการ “Five Countries One Destination”

- อำนวยความสะดวกการเดินทาง เช่น การใช้วีซ่าร่วมกัน(ACMECS Single Visa)

5. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- จัดหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับความร่วมมือของ ACMECS ด้านต่างๆ

- ให้ทุนการศึกษาสำหรับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย

6. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข

- ร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดร้ายแรง โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก

หมายเลขบันทึก: 450844เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2011 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2013 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

2.2 Contract Farming (การเกษตรแบบมีสัญญา) โครงการความร่วมมือหลักภายใต้ ACMECS

(สถานีความรู้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม : www.ssmwiki.org)

2.2.1 ความเป็นมา

Contract Farming เป็นโครงการความร่วมมือในสาขาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ภายใต้ ACMECS มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า โดยการเข้าไปใช้ทรัพยากรในประเทศเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดิน และแรงงาน เพื่อทําการผลิตและรับซื้อสินค้าเกษตรที่ผลิตได้ ทั้งนี้ในการส่งสินค้าดังกล่าว กลับมายังประเทศไทย ประเทศคู่สัญญาในกลุ่ม ACMECS ซึ่งล้วนเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ ภายใต้โครงการการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ASEAN Integration System of Preferences : AISP) ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมโดยไม่มีการเจรจา ต่อรอง มีกรอบระยะเวลาการดําเนินโครงการ 8 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552

สำหรับประเทศไทย ในเบื้องต้นคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 ให้มีการลดอัตราภาษีนําเข้าเหลือร้อยละ 0 สําหรับสินค้าเกษตร 8 รายการภายใต้โครงการ Contract Farming ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส และถั่วลิสง ซึ่งต่อมาในปี 2548 ได้เพิ่มรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการอีก 2 รายการ ได้แก่ ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน รวมเป็น 10 รายการ ทั้งนี้ การลดอัตราภาษีนําเข้าดังกล่าว มีผลบังคับใช้ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2548–เมษายน 2549 ซึ่งอาจมีการเพิ่มเติมรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการได้หากประเทศเพื่อนบ้านแสดงความจํานงเข้ามา

2.2.2 แนวทางการลงทุน Contract Farming ในพื้นที่เป้าหมาย ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

(1) องค์ประกอบการลงทุน Contract Farming

- พื้นที่ : พื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพตลอดจนพื้นที่ตอนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีความพร้อม

- นักลงทุน : ทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ชายแดนเป้าหมาย

- พืชเป้าหมาย แบ่งเป็น

1. พืชไร่เศรษฐกิจ 10 ชนิด ที่มีความเหมาะสมในการย้ายฐานการลงทุน ต้องใช้แรงงานเก็บเกี่ยวจำนวนมาก และเป็นพืชที่ต้องนำเข้าจากประเทศที่สาม ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง ข้าวโพดหวาน มันฝรั่ง มะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยูคาลิปตัส ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน ซึ่งเป็นกลุ่มพืชที่รัฐบาลยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้กรอบ AISP

2. พืชพลังงาน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย

(2) รูปแบบ/แผนการลงทุน

นักลงทุนเป็นผู้กําหนดแผนการลงทุน โดยจะต้องระบุพื้นที่พืช และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย กระบวนการตั้งแต่การผลิตจนถึงการนําผลผลิต เข้าสู่ตลาด ตลอดจนความพร้อมในการสนับสนุนแบบครบวงจรทั้งเมล็ดพันธุ์ เงินทุนและเทคโนโลยีการผลิต โดยการกําหนดรูปแบบการทํา Contract Farming ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จะต้องสอดคล้องกับความพร้อมของนักลงทุนไทยตลอดจนศักยภาพการรองรับใน ประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้

รูปแบบ 1 Contract Farming ระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยบริเวณชายแดนกับเกษตรกรประเทศเพื่อนบ้าน สามารถดําเนินการได้ทันที โดยขยายผลจากการดําเนินการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้สามารถพัฒนาอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ พื้นที่ที่พร้อมจะพัฒนานําร่อง เช่น จ.ตาก-เมียวดี (ไทย-พม่า) จ.จันทบุรี-พระตะบอง (ไทย-กัมพูชา) จ.เลย-แขวงไชยบุรี (ไทย-สปป.ลาว)

รูปแบบ 2 Contract Farming ระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่กับเกษตรกรประเทศ เพื่อนบ้าน การลงทุนรูปแบบนี้(รวมพืชพลังงาน) มีมูลค่าการลงทุนสูง เน้นการนําเข้าผลผลิตที่ได้มาตรฐานจํานวนมากซึ่งการสนับสนุนให้มีการเข้าลงทุนเพิ่มเติม ของเอกชนรายใหม่นอกเหนือจากเอกชนรายใหญ่ที่เข้าลงทุนอยู่แล้วในปัจจุบัน ภาครัฐจะต้องให้มีความชัดเจนทั้งด้านศักยภาพพื้นที่ คุณภาพ ผลผลิตและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและลดความเสี่ยงนักลงทุนในระยะแรก รัฐบาลไทยจะให้ความช่วยเหลือทาง วิชาการกับประเทศเพื่อนบ้านให้ครอบคลุมเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงขยายผลในการสนับสนุนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในพื้นที่ที่เหมาะสม ต่อไป

(3) กลไกการดำเนินงาน

แบ่งงานออกเป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่มพืชไร่เศรษฐกิจ และ กลุ่มพืชพลังงาน โดยมีกลไกการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระดับ

1) ระดับพื้นที่ มีคณะทำงานระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการเป็นประธานทำหน้าที่วางแผนปฏิบัติในระดับพื้นที่

2) ระดับคณะทำงานยุทธศาสตร์ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ Contract Farming ที่มี สศช. เป็นประธานและ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน เป็นกรรมการ เพื่อพิจารณาเสนอแนะนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการผลักดันการดำเนินงาน Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบACMECS ให้สามารถสนับสนุนการเข้าลงทุนของภาคเอกชนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรมในระยะเวลาที่กำหนด และนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) ให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป

3) ระดับชาติ มีคระกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน/โครงการก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป

(4) แนวทางการดําเนินการ

ระยะสั้น : ส่งเสริมการพัฒนา Contract Farming บริเวณชายแดนให้เป็นระบบและสร้างโอกาสในการขยายฐานการลงทุนในพื้นที่ตอนในประเทศเพื่อนบ้าน

(1) การยกเว้นภาษี (ภาษี 0 % ) ภายใต้กรอบ AISP ให้เกิดผลทางปฏิบัติ พิจารณายกเว้นภาษีเพิ่มเติมกรณีพืชนําเข้าไม่ได้อยู่ในกลุ่มพืชเป้าหมาย ตลอดจนปรับแก้ กฎ ระเบียบ เพื่อให้จังหวัดดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(2) จัดตั้งคณะทํางานระดับจังหวัด สนับสนุนการดําเนินการทั้งระบบตั้งแต่จัดทําแผนการลงทุน คัดเลือก/รับสมัครผู้ประกอบการ ควบคุมการรับซื้อ รวบรวมผลผลิต และประสานงานหน่วยงานดําเนินการ อํานวยความสะดวกผ่านแดน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการสนับสนุนปัจจัยการ ผลิตในรูปแบบต่าง ๆ ให้เกิดผลทางปฏิบัติ

(3) การเจรจาทําความตกลงพื้นที่เป้าหมาย โดยดําเนินการควบคู่ทั้งในระดับจังหวัดและระดับรัฐบาล (G-to-G) เพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านพัฒนา พื้นที่เพื่อรองรับการลงทุน โดยไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุน

(4) จัดทําสัญญา Contract Farming ระหว่างเอกชนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้การเห็นชอบของรัฐบาล 2 ประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ ประสานจังหวัดและนําเอกชนเข้าทําสัญญา Contract Farming ระหว่างเอกชนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการคุ้มครองการ ลงทุน การอํานวยความสะดวกผ่านแดน และการสนับสนุนแรงงาน

(5) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการยกระดับคุณภาพการผลิต เร่งดําเนินการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการภายใต้โครงการพัฒนา ระบบผลิตพืชไร่โดยจัดทําแปลงสาธิตและฝึกอบรมเกษตรกรภายใน 2 ปี และขยายการสํารวจ/วิเคราะห์พื้นที่ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่รัฐบาลประเทศ เพื่อนบ้านเสนอให้พิจารณา

ระยะยาว: ขยายการลงทุนธุรกิจภาคเกษตรเชื่อมโยงระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และ ลดการนําเข้าพืชเป้าหมายจากประเทศที่สาม สนับสนุนภาคเอกชนรายใหญ่ลงทุน Contract Farming ในพื้นที่ตอนในประเทศเพื่อนบ้าน และขยายผลการเข้าลงทุนธุรกิจต่อเนื่องทางการเกษตรในประเทศ เพื่อนบ้าน

(5) หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ Contract Farming

เพื่อควบคุมและกํากับดูแลมิให้มีการนําเข้าสินค้าภายใต้โครงการ Contract Farming ในปริมาณที่มากเกินไปรวมทั้งเพื่อป้องกันการแอบอ้างสิทธิจากประเทศอื่นที่มิได้เป็นสมาชิก ACMECS กระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีศุลกากรของไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ Contract Farming ไว้ ดังนี้

(5.1) ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต้องติดต่อขอลงทะเบียน ณ ที่ว่าการจังหวัดนําร่องแห่งใดแห่งหนึ่งจากจํานวน 3 แห่งได้แก่ จังหวัดตาก จันทบุรี และเลย โดยต้องแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ที่สําคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดําเนินการภายใต้โครงการ Contract Farming อาทิ ชื่อผู้นําเข้าสินค้า พื้นที่เพาะปลูก (เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างแหล่งกําเนิดสินค้า) รวมทั้งชนิดและปริมาณของสินค้าเกษตรที่ได้รับอนุญาตให้นํา เข้าแต่ละครั้งอย่างชัดเจน (เพื่อให้สามารถบริหารปริมาณผลผลิตนําเข้ามิให้กระทบตลาดในประเทศ)

(5.2) นําเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรของจังหวัดที่ผู้นําเข้าติดต่อลงทะเบียนไว้ ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 แห่งใน 3 จังหวัดนําร่องได้แก่

- ด่านศุลการกรแม่สอด บริเวณชายแดนแม่สอด-เมียวดี (ไทย-พม่า)

- ด่านศุลกากรท่าลี่ บริเวณชายแดนเลย-แขวงไชยะบุรี (ไทย-สปป. ลาว)

- ด่านศุลกากรจันทบุรี บริเวณชายแดนจันทบุรี-พระตะบอง (ไทย-กัมพูชา)

(5.3) ปฏิบัติตามระเบียบพิธีการศุลกากรตามที่กรมศุลกากรกําหนด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกแก่ผู้นําเข้าสินค้าภายใต้โครงการดังกล่าว รัฐบาลไทยได้ผ่อนปรนให้สามารถนําเข้าสินค้าได้โดยไม่ต้องแสดงใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O) แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้นําเข้าติดต่อขอลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ Contract Farming ไว้ หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวมอบหมาย เพื่อให้กรมศุลกากรใช้เป็นหลักฐานในการอนุญาตให้นําเข้าสินค้า โดยได้รับสิทธิพิเศษด่านภาษี

2.3 เกษตรพันธสัญญาในประเทศต่าง ๆ

2.3.1 Contract Farming ในพม่า (http://www.ssmwiki.org/)

หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar) (เปลี่ยนชื่อใหม่ ใช้บังคับตั้งแต่ 31 มกราคม 2554)

(1) ศักยภาพ

การทำ Contract Farming ในประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงพม่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดของไทยเริ่มขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปของไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยเริ่มให้ความสนใจจัดหาแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรจากภายนอกประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับนับตั้งแต่ปี 2546 รัฐบาลไทยเริ่มส่งเสริมการทำ Contract Farming ในประเทศเพื่อนบ้านภายใต้ ACMECS อย่างจริงจัง ส่งผลให้การทำ Contract Farming ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยมากขึ้นเป็นลำดับ

พม่า มีพรมแดนร่วมกับไทยถึง 2,401 กม. เป็นประเทศที่มีพื้นที่สำหรับการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้มากถึง 66.75 ล้านไร่ หรือราวร้อยละ 16 ของพื้นที่ทั้งหมดในพม่า ทั้งยังมีทรัพยากรน้ำและดินที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ประกอบกับรัฐบาลพม่ามีนโยบายสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ ในภาคเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรมในประเทศซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของพม่าด้วยสัดส่วนราวร้อยละ 43 ของ GDP

(2) Model Contract Farming ในพม่า

บรัษัท ซูเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นเอกชนไทยรายแรกที่เข้าไปดำเนินการเพาะปลูกอ้อยในลักษณะไร่คู่สัญญาตัวอย่าง (Model Contract farming) ในจังหวัดแปรตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 บนพื้นที่เพาะปลูกรวม 825ไร่ นอกจากนี้ มีโครงการทำไร่ต้นแบบเพิ่มอีก 6,000 ไร่ ผลผลิตอ้อยจะแปรรูปโดยโรงงานน้ำตาลฟอกขาวส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ อาทิ สิงคโปร์

ปัญหาที่บริษัทประสบในช่วงเริ่มต้นโครงการคือ เกษตรกรพม่าขาดทักษะการปลูกอ้อยในเชิงพาณิชย์และความชำนาญในการใช้เครื่องจักรกลด้านการเกษตรตลอดจนมีจำนวนพันธุ์อ้อยไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก

2.3.2 Contract Farming ใน ลาว (http://www.ssmwiki.org/)

หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

(1) ศักยภาพ

ปัจจุบันภาคเอกชนไทยสนใจทำContract Farming ในประเทศลาว เนื่องจากอุปทานผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของไทยเริ่มขาดแคลน ขณะที่พื้นที่จำนวนมากในลาวยังไม่มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง

ภายใต้ ยุทธศาสตร์ ACMECS ไทยสามารถนำเข้าผลผลิตที่เพาะปลูกได้จากโครงการ Contract Farming ในลาวและประเทศสมาชิก ACMECS อื่นๆ โดยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและไม่ต้องมี ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin: C/O) ด่านศุลกากรนำร่องนำเข้าผลผลิตในโครงการ Contract Farming ภายใต้ ACMECS คือ ด่านศุลกากรท่าลี่ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำเหือง ซึ่งเชื่อมต่อชายแดนจังหวัดเลยของไทยกับแขวงไซยะบุรีของลาว สินค้าเกษตรที่อยู่ภายใต้โครงการจำนวน 10 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน มะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส ลูกเดือย ละถั่วเขียวผิวมัน

(2) ขั้นตอนการทำ Contract Farming ในลาว มีดังนี้

1) ผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของด่านศุลกากรท่าลี่ รวมทั้งต้องแจ้งชนิดของพืชที่เพาะปลูก แหล่งเพาะปลูก จำนวนพื้นที่ทำ Contract Farming และปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะเพาะปลูกได้ เพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าผลผลิต ตัวอย่างผู้ประกอบการไทยที่ทำ Contract farming ภายใต้ ACMECS ได้แก่ บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งเข้าไปทำการปลูกข้าวโพดกับเกษตรกรในแขวงไซยะบุรี

2) การขออนุญาตเข้าลงทุนทำ Contract farming ในลาว มี 2 ทางเลือกดังนี้

2.1) ติดต่อกรมส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนภายในและต่างประเทศของลาว (Department of Domestic and Foreign Investment : DDFI) ในกรุงเวียงจันทน์ของลาว เนื่องจากผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสามารถติดต่อขอทำ Contract Farming ได้ในทุกแขวงของลาวและจะได้รับความสะดวกมากขึ้นในการติดต่อกับภาครัฐในแขวงต่างๆภายหลังผ่านความเห็นชอบจากส่วนกลางแล้ว

2.2) ติดต่อแขวงที่ต้องการเข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการสามารถติดต่อขออนุญาตทำ Contract Farming ได้โดยตรงกับแขวงที่จะเข้าไปลงทุน โดยแขวงมีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนวงเงินไม่เกิน 3ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยกเว้น แขวงจำปาสัก แขวงสะหวันนะเขต แขวงหลวงพระบาง และกรุงเวียงจันทน์สามารถอนุมัติโครงการลงทุนวงเงินถึง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การขออนุญาตลงทุนโดยตรงกับแขวงจะจำกัดการลงทุนอยู่เฉพาะในแขวงนั้นเท่านั้นไม่ข้ามแขวง

3) การประชาสัมพันธ์จูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการและสอนวิธีเพาะปลูกที่ถูกต้องให้แก่เกษตรกร เนื่องจากในช่วงเริ่มต้นเกษตรกรมักยังไม่คุ้นเคยกับพืช จึงยังไม่มีความรู้และความชำนาญในการเพาะปลูก รวมทั้งไม่มั่นใจรายได้

4) การติดตามตรวจสอบความคืบหน้าของการเพาะปลูกเป็นระยะๆ เนื่องจากเกษตรกรในลาวขาดประสบการณ์ในการเพาะปลูก จึงมักไม่เข้าใจกรรมวิธีการเพาะปลูกและอาจละเลยบางขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการเพาะปลูก

5) การรับซื้อผลผลิตตามสัญญาที่ทำไว้ เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรรวมถึงหน่วยงานในภาครัฐของลาว ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรยินดีเข้าร่วมโครงการ Contract Farming มากขึ้น

2.3.3 Contract Farming ในกัมพูชา (http://www.ssmwiki.org/)

(1) ศักยภาพ

ภายใต้ ACMECS มีสินค้าเกษตร 10 รายการได้แก่ มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน มะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง ยูคาลิปตัส ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน วัตถุประสงค์หลักคือการสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา รวมทั้งสร้างและขยายฐานการผลิตพืชเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านป้อนอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปของไทย

เป็นที่น่าสังเกตว่าการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ Contract Farming นอกจากจะเอื้อประโยชน์ในการสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรกัมพูชาตลอดจนช่วยลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกษตรของไทยแล้ว ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยเกื้อหนุนให้การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับกัมพูชามีความคึกคักมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคของการค้าชายแดนลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนดังนี้

1) ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากของระเบียบพิธีการศุลกากร

2) ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรนำเข้าจากกัมพูชา

3) ลดปัญหาลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรตามแนวชายแดน

ประเทศ พื้นที่โครงการ (ไร่)

/จังหวัด/แขวง

จังหวัดเป้าหมาย

พม่า 189,546 ไร่

เมียวะดี และท่าขี้เหล็ก

ตากและเชียงราย

ลาว 558,406.25 ไร่

บ่อแก้ว อุดมไซย ไซยะบูลี หลวงพระบาง

บอลิคำไซย

เวียงจันทน์และนครหลวงเวียงจันทน์

คำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน เซกอง

จำปาสัก

เลย นครพนม อุบลราชธานี เชียงราย หนองคาย

กัมพูชา 1,003,500 ไร่

บันเตียเมียนเจย พระตะบอง ไพลิน

กัมปงธม กัมปงจาม Kandal Kracheh

Prey Veng

จันทบุรี

สระแก้ว

ปริมาณนำเข้าพืชเป้าหมายในปี 2549-2550 รวม 1,272,503 ตัน โดยมีพืชเป้าหมาย 9 ชนิดเห็นชอบให้งาเป็นพืชเพิ่มเติมรายการที่ 11 ที่ได้รับสิทธิภาษีศูนย์

2.4.3 ผลการดำเนินงานตามแผนการลงทุน Contract Farming

(1) ด้านจังหวัดเลย – ไชยบุรี ปี 2548/49

ผู้เข้าร่วมโครงการ มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 ราย

1) บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (ซีพี)

2) บริษัทเมืองเลยธัญญวัน จำกัด

ในการดำเนินโครงการ ทั้ง 2 บริษัท จะดำเนินโครงการโดยเชื่อมประสานกับโครงการพัฒนาชนบทสี่เมืองใต้ของแขวงไชยะบูลี สปป.ลาว(เป็นโครงการพัฒนาชนบทที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากบริษัทโปเดทสา ประเทศฝรั่งเศส)

พืชเป้าหมาย พืชเป้าหมาย มี 2 ชนิด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2548/49 ทางบริษัทบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ยังไม่มีการนำเข้าเอง จึงเป็นการนำเข้าโดยผู้ประกอบการค้าชายแดน ทางด่านศุลกากรท่าลี่และด่านศุลกากรเชียงคาน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงเดือนเมษายน 2549 ปริมาณนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 45,507 ตัน มูลค่าการนำเข้า 141,736,117.60 บาท

ถั่วเหลือง บริษัทเมืองเลย ธัญญวัน จำกัด ที่ได้เสนอแผนการลงทุน ปรากฏว่าทางบริษัทยังไม่สามารถดำเนินการตามแผนการลงทุนได้ เนื่องจาก ยังไม่มีความชัดเจนจากทางการของ สปป.ลาวในการส่งเสริมให้เกษตรกรลาวเพาะปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่เป้าหมาย

(2) ตามแผนการลงทุนด้านจังหวัดเลย - ไชยะบูลี ประจำปี 2549/50

ผู้เข้าร่วมโครงการ มีภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 23 ราย

พืชเป้าหมาย พืชเป้าหมาย มี 4 ชนิด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลูกเดือย

พื้นที่เพาะปลูก

1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 255,100 ไร่ ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับประมาณ

269,900 ตัน ปลูกในเขตพื้นที่แขวงไชยะบูลี และแขวงหลวงพระบาง

2) ลูกเดือย จำนวน 28,500 ไร่ ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ 93,100 ตัน ปลูกในเขตพื้นทีเมืองนาน แขวงหลวงพระบาง และเมืองเฟือง แขวงเวียงจันทน์

2.4.4 รายงานผลการดำเนินการ ปี 2549 - 2551

การรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 ตุลาคม 2550 (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี http://www.cabinet.thaigov.go.th/)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) กับประเทศเพื่อนบ้าน ปี พ.ศ. 2549-2551 ในส่วนที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบดังนี้

ผลการพิจารณาแผนการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ในแต่ละปี (ปี พ.ศ. 2549-2551) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ดำเนินงานโครงการ ฯภายใต้กรอบ ACMECS เป็นโครงการร่วม (Common Project)ระหว่างไทยกับกัมพูชา-สปป.ลาว-พม่า ได้แก่

โครงการ AC-3 : Cooperationon Food Safety ดำเนินการที่ สปป.ลาว โดยมีการประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่กักกันพืชที่เวียงจันทน์ และสะหวันนะเขต สปป.ลาว เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกฎระเบียบด้านกักกันพืช และกำหนดแนวทางปฏิบัติงานด้านกักกันพืชให้สอดคล้องกัน

โครงการ AC-4 : Cooperation on agricultural development through contract farming สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานโครงการปรับปรุงระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า) และ

โครงการ AC-5 : Joint venture for production of hybrid seeds of corns, vegetables and flowers ได้มีการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและถั่วเหลืองให้แก่เจ้าหน้าที่ไทย กัมพูชา พม่า สปป.ลาว และเวียดนาม ส่วนการพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสม เพื่อจัดทำและเสนอแผนการดำเนินโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming)

พืชพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานทดแทนในประเทศไทย (ปี พ.ศ. 2549-2551) อยู่ระหว่างประสานงานกับจังหวัดชายแดนเป้าหมาย เพื่อศึกษาสถานการณ์ และรวบรวมข้อมูลศักยภาพเชิงเศรษฐกิจพืชพลังงาน เพื่อผลิตไบโอดีเซล/เอทานอล สำหรับเตรียมการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพืชทดแทนพลังงาน โดยมีความเป็นไปได้ในด้านการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการร่วมลงทุนเชิงเศรษฐกิจที่มีผลประโยชน์ร่วมกันได้

บทที่ 3

หลักการ การดำเนินการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3.1 สิทธิทางเศรษฐกิจของบุคคล (Economic right) (พวงรัตน์, 2554)

มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดเจตจำนงของตนเองโดยเสรี (Right of self-determination) และมีศักยภาพเพียงพอ เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ซึ่งหมายรวมถึงด้านเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้เองเรื่องของเศรษฐกิจไม่ว่าจะอยู่ในระดับเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจภายในประเทศ และระดับใหญ่คือเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ล้วนแล้วแต่เป็นบริบทหนึ่งของสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ที่มนุษย์นั้นทรงสิทธิมาตั้งแต่กำเนิด (Inherent rights) อธิบายให้เห็นภาพคือ “สิทธิทางเศรษฐกิจ” เป็นสิทธิที่มีลักษณะเป็นภาวะวิสัย (Objective) โดยอาศัยภาวะของความเป็นมนุษย์ มิใช่สิทธิที่มีลักษณะอัตวิสัย (Subjective) ที่ต้องอาศัยการรับรอง การมอบให้ การยินยอม ภายใต้การกำหนดเงื่อนไขใดๆ

“สิทธิทางเศรษฐกิจ(Economic right)” หมายถึง สิทธิในการทำงาน การประกอบอาชีพ การหารายได้ ความกินดีอยู่ดี หรือสิทธิที่บุคคลจะพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านความเป็นอยู่ตามมาตรฐานของการครองชีพ หรือตามความพอใจของบุคคล

ด้วยเหตุดังกล่าว หน่วยทางสังคมที่เรียกว่า “รัฐ” อันเป็นที่รวมตัวกันของสมาชิก ซึ่งก็คือมนุษย์นั้น ย่อมต้องมีบทบาทอันแสดงออกถึงการประกัน สิทธิทางเศรษฐกิจ ของบุคคล เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถเป็นผู้ทรงสิทธิได้ทั้งในแง่ข้อกฎหมาย และในแง่ของความเป็นจริงทางสังคม ก่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ของการเป็นผู้ทรงสิทธิ์โดยแท้จริง กล่าวคือ บทบาทของรัฐที่จำต้องมีหน้าที่ในการรับรอง ส่งเสริม และคุ้มครอง สิทธิทางเศรษฐกิจของบุคคล

1.การรับรอง (recognition) เมื่อสิทธิทางเศรษฐกิจ เป็นสิทธิมนุษย์ชนประการหนึ่งที่มนุษย์พึงมี และมนุษย์เองก็มีเสรีภาพที่จะเลือกว่าจะใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ มากน้อยเพียงใด รัฐเองมีหน้าที่เพียงแค่รับรองตามข้อความคิดดังกล่าว

1.1.บริบทในทางระหว่างประเทศ

รัฐรับรองสิทธิทางเศรษฐกิจของเอกชนโดยปริยายผ่านทางกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ในรูปของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Declaration), กติการะหว่างประเทศ(International Covenant), อนุสัญญา(International Convention) เป็นต้น

1.2. บริบทของการรับรองไว้ในกฎหมายภายในของรัฐ

เป็นการประกันสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ไว้ในกฎหมายภายในของรัฐ ทั้งที่เป็นกฎหมายสูงสุด และกฎหมายลำดับรอง ยกตัวอย่างของประเทศไทยการประกันสิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปถูกเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 การจำกัดสิทธิเสรีภาพเป็นเพียงข้อยกเว้นที่จะสามารถกระทำได้เมื่อคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ (Public interest) และการจำกัดสิทธิเสรีภาพนี้ต้องแสดงออกในรูปแบบของการตรา หรือออกกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพ ภายใต้หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติรัฐ (Rechtsstaat) ในระบบกฎหมายภาคพื้นยุโรป และหลักนิติธรรม (Rule of Law) ของระบบกฎหมายคอมมอนลอร์

ตัวอย่างของบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทยที่มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจของบุคคลบางประเภท เช่น พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

2. การส่งเสริม (Promotion) ภารกิจของรัฐในส่วนของการส่งเสริมสิทธิทางเศรษฐกิจของบุคคลนั้นนอกจากจะเพื่อประโยชน์โดยตรงของบุคคลแล้ว ในบางกรณียังมีนัยทางวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย

ตัวอย่างของกฎหมายที่พิจารณาได้ว่ามีส่วนส่งเสริมสิทธิทางเศรษฐกิจของบุคคล และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520

3. การคุ้มครอง (Protection) การคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจของบุคคลโดยรัฐ เป็นส่วนหนึ่งของการประกันสิทธิเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

3.1. การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ อาทิ การออกกฎหมายแรงงาน อันมีเนื้อหาสาระที่มุ่งคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการลงทุน สิทธิในรายได้จากการทำงาน ฯลฯ

3.2. การบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ การออกกฎหมายเป็นเพียงการประกันว่าคุณมีสิทธิเช่นไร แต่หากประสงค์จะคุ้มครองการใช้สิทธิดังกล่าวคงต้องมีการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กฎหมายโดยองค์กรตุลาการ ในกรณีที่มีเอกชนฟ้องร้องเนื่องจากถูกโต้แย้งหรือละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจ อาทิ ศาลแรงงานกับการวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสิทธิในการทำงาน การได้รับเงินทดแทน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกับการวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้าของบริษัท ทำให้รายได้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเจ้าของเครื่องหมายการค้าลดต่ำลง หรือถูกตลาดในต่างประเทศปฏิเสธไม่รับสินค้าไปจำหน่าย

3.2 คำแถลงนโยบายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

แถลงต่อรัฐสภา (ณ กระทรวงการต่างประเทศ) เมื่อวันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม 2551 โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจ (เวบไซต์รัฐบาลไทย http://www.thaigov.go.th/ และ planning.dusit.ac.th/News_Document/2552.../1_25520120_114809.doc)

4. นโยบายเศรษฐกิจ …

4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ...

4.2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน

4.2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

...

4.2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

...

4.2.4.3 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4.2.4.1 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ที่สำคัญได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

3.3 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration)

ภายหลังจากการล่มสลายของระบอบการปกครองสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ.1991 (2534) การทูตได้เปลี่ยนไป ประเทศเล็กก็หันมาเกาะกลุ่มกันเองเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจและการ เมืองโดยไม่ต้องไปเกาะกับเกาะค่ายกับประเทศใหญ่เหมือนดังแต่ก่อน ประกอบกระแสเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทั่วโลกเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุน (Free Trade) จึงเกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค (Sub-region Economic Cooperation) ขึ้น

ประเทศไทยได้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคกับประเทศเพื่อนบ้านหลายกลุ่ม

(วัลย์ลดา, 2553) คือ GMS-EC, IMT-GT, BIMST-EC, ASEAN และ AEC-ASEAN Economic Community ในปี พ.ศ.2558 (2015)

กลุ่มหนึ่งที่สำคัญก็คือ ความร่วมมือที่แต่เดิมพัฒนามาจากความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดเชียงรายหรือ “สามเหลี่ยมทองคำ” คือ “สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ” (ไทย-พม่า-ลาว) ถึงปี พ.ศ. 2546 จึงเกิด “ปฏิญญาพุกาม” เป็น “สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ” (ไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา) และ ในที่สุดในปี พ.ศ.2547 ครบ 5 ประเทศเป็น “ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจ” (ไทย-พม่า-ลาวกัมพูชา-เวียดนาม) คือ “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง”(Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) มีประชากรราว 215 ล้านคน หรือราว 43% ของประชากรทั้งหมดของอาเซียน (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2548)

3.4 เรื่อง การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ(International Trading and Investment)

การค้าระหว่างประเทศเริ่มจาก ยุคพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ในศตวรรษที่ 17 ที่เกิดมีแนวคิดการค้าเสรี (Free Trade) แต่ประเทศยุคล่าอาณานิคมมุ่งทำการค้าโดยการมุ่งผลิตเพื่อขายอย่างเดียว ทำให้ต่อมาในยุค 1930’s เกิดยุคเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (Great Depression) จึงเกิดแนวคิดเพื่อมุ่งให้การค้าเสรีเป็นจริง (เพราะเห็นว่า การค้าเสรีเป็นเพียงแนวคิดอุดมคติ ที่ไม่เป็นจริง)

ได้เกิดข้อตกลง GATT ในปี1947 และเกิดองค์กร WTO ในปี1994 ขึ้น คือ GATT เป็นเพียงข้อตกลงการค้า แต่ WTO เป็นองค์กร

กระแสการค้าเสรีถือ เป็น “กระแสโลกาภิวัตน์”(Globalization) อย่างหนึ่ง ตามที่ บุชผู้พ่อได้ประกาศ “ระเบียบการจัดโลกใหม่” (New World Orders) เมื่อ ปี 1990 ใน 5 เรื่อง คือ 1.เรื่อง ประชาธิปไตย (Democracy) 2. เรื่อง สภาพแวดล้อม (Environment) 3. เรื่อง สิทธิมนุษยชน (Human Rights) 4.เรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร (Copyright) และ 5. เรื่อง การค้าเสรี (Free Trade) (กระแสโลกาภิวัตน์ ในเรื่อง ระบบเครือข่ายสารสนเทศ (Network Information Technology) เดิมมาแทนโดย ข้อ 4-5 ผู้เขียน)

1. การค้า (Trading)

เกี่ยวกับสินค้าและบริการ (Goods and Services)

ในทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ (production) ซึ่งมีปัจจัยการผลิตที่สำคัญ 4 อย่าง คือ 1. ที่ดิน (land) 2. ทุน (capital) 3. แรงงาน (labor) และ 4. ผู้ประกอบการ (enterprise)

2. การลงทุน (Investment)

เป็นการใช้จ่ายเพื่อทำให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการในอนาคตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รายจ่ายในการลงทุนประกอบด้วยรายจ่ายในการก่อสร้าง รายจ่ายในการซื้อเครื่องมือเครื่องจักรใหม่ และส่วนเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าคงเหลือ

เป็นการเคลื่อนย้ายทุนจริง ๆ(รวมปัจจัยการผลิต) มาลงทุน คือ FDI= Foreign Direct Investment ซึ่งเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งมิใช่การลงทุนโดยอ้อม คือ มิใช่เคลื่อนย้ายมาเฉพาะเงินทุน (หุ้นและพันธบัตร) FII= Foreign Indirect Investment (วัลย์ลดา, 2553)

การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศก่อให้เกิด “รายได้”ของปัจเจกชน และ รายได้ประชาชาติ (national income) เกิด ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ซึ่งหลังจากหักรายได้ (รับ) สุทธิจากต่างประเทศ จะเป็นค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP : Gross Domestic Product) อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ที่เหมาะสมควรไม่เกินปีละ 7 %

นโยบายของรัฐบาลที่เข้าเกี่ยวข้อง มี 2 นโยบายหลักคือ

1. นโยบายเกี่ยวกับการเงินการคลัง

1.1 นโยบายการเงิน (monetary policy)

การใช้เครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลาง (Central Bank) เพื่อควบคุมระดับปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ คือ การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT=Bank of Thailand)

ธนาคารกลาง(Central Bank)

หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและปกป้องระบบการเงินของประเทศ โดยทำหน้าที่หลักได้แก่การกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น การเป็นผู้ผลิตธนบัตรและดูแลปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และในบางประเทศยังเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันการเงินอีกด้วย

1.2 นโยบายการคลัง (fiscal policy)

เป็นการควบคุมนโยบายของกระทรวงการคลัง เรื่อง รายรับ รายจ่าย ของประเทศ

2. นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการค้าและการลงทุน

1.1 นโยบายการค้าเสรี (free trade policy)

1.2 นโยบายการปกป้องคุ้มครอง (protective trade policy)

เป็นมาตรการในการปกป้องคุ้มครองสินค้าภายในประเทศ มี 2 แบบ คือ

1.2.1 มาตรการที่เป็นภาษี (Tariff Measures or Barriers)

1.2.2 มาตรการที่มิใช่ภาษี (Non - Tariff Measures)

ปัจจัยสำคัญต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศในกรณีของประเทศไทย

1. อัตราการแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)

เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น) กับหนึ่งหน่วยงานของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate)

การควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม เงินบาทไม่แข็ง-อ่อนเกินไป ของ BOT (ธนาคารแห่งประเทศไทย) จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต (economics growth) มีการเพิ่มการจ้างงาน เพิ่มรายได้ ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น

2. ราคาค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ (wage)

เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน เพราะเป็นปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง การประกันค่าจ้างขั้นต่ำ คำนึงถึงสวัสดิการ (Social Welfare) ด้วย อย่างไรก็ตามมีปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวที่ราคาต่ำ และ ไม่มีทักษะคุณภาพ (no skill) ในปี 2558 จะเกิดกลุ่ม AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของกลุ่มอาเซียน จะมีปัญหาการทะลักแรงงานต่างด้าวที่ราคาต่ำกว่า และเกิดปัญหาสวัสดิภาพแรงงาน

3. เงินเฟ้อ (Inflation)

อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในระยะเวลาหนึ่งเปรียบเทียบกับอีกระยะเวลาหนึ่ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ 2 สาเหตุ คือ

1. ต้นทุนสินค้าเพิ่ม (cost push)

ต้นทุนการผลิตคือสิ่งที่ใช้พิจารณานโยบายกำหนดราคาสินค้าและบริการ ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ว่าจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น หรือราคา วัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าต้องเพิ่มขึ้นด้วย ราคาสินค้าสูงขึ้นผู้บริโภคต้องใช้เงินมากกว่าเดิมทำให้ปริมาณเงินที่ไหล เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

2. ความต้องการสินค้าเพิ่ม (demand pull)

ปริมาณที่ต้องการซื้อมากขึ้นทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า แรงดึง ทางด้านอุปสงค์เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น

มีอีกสาเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยกล่าวถึงกันก็คือสาเหตุที่ 3 การผูกขาดตัดตอนของตลาดโดยการใช้กลโกง อาทิ การควบคุมราคา โดยการกักตุนน้ำมันเพื่อเพิ่มดีมานด์ ซึ่งเราจะเห็นในการปั่นราคาน้ำมัน (Monopoly and market manipulation. Prices can be controlled by being only supplier and/or by stock-piling to raise demand (as we have seen in recent 'cooking oil' manipulation))

ผลกระทบของเงินเฟ้อ (impact)

ผลต่อความต้องการถือเงิน ผลกระทบต่อรัฐบาล และ ผลที่มีต่อการกระจายรายได้

อัตราเงินเฟ้อไม่ควรเกิน 20 % เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(เงินเฟ้อ แบ่งเป็น อย่างอ่อน 0-5% , ปานกลาง 5-20% ,รุนแรง เกินกว่า 20%)

4. การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (Political Stabilization)

การมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อนักลงทุน ถ้าการเมืองมีความมั่นคง จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น (credit) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อย ๆ ก็หมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงในนโยบาย (policy) ดังกล่าวนำในตอนต้น

3.5 มาตรการต่าง ๆ ในการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน

ในยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ผู้ศึกษาได้พิจารณาแยกหลักการที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ในประเด็นดังต่อไปนี้

1. การจัดทำ Contract Farming = CF สำหรับสินค้าเกษตร โดยบริษัทเอกชน หรือนิติบุคคลไทย ในฐานะ “ผู้รับซื้อผลผลิต” กับ กลุ่มเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้าน ในฐานะ “ผู้ผลิต” ซึ่งต้องมี “สัญญา” เข้ามาเกี่ยวข้อง และ เนื่องจากต้องขนสินค้าผ่านแดน ต้องมี “ภาษีศุลกากร” (Tariff) เข้ามาเกี่ยวข้อง

2. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ASEAN Integration System of Preferences : AISP) ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมโดยไม่มีการเจรจา ต่อรอง มีกรอบระยะเวลาการดําเนินโครงการ 8 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ภายใต้โครงการนี้ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จะต้องแสดงใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin: C/O) ที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากพม่าซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรทั้งในรูปของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences – AISP) และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 461 รายการ และเพิ่มเป็น 850 รายการในปี 2548

ผลก็คือไทยสามารถนำเข้าผลผลิตที่เพาะปลูกได้จากโครงการ Contract Farming ในลาวและประเทศสมาชิก ACMECS อื่นๆ โดยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและไม่ต้องมี ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin: C/O) การทำ Contract Farming จึงได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยมากขึ้นเป็นลำดับ

4. กระทรวงการคลัง กำหนดให้ผู้ที่จะใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรตามเงื่อนไข ในฐานะสมาชิกอาเซียนใหม่ ( AISP ) ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ( Form AISP ) จากสหภาพพม่ามาแสดงในขณะผ่านพิธีการทางศุลกากร

5. การนำเข้าตามการเปิดตลาดตามข้อผูกพันของ WTO (Schedule of Concessions) ตาม GATT article II สำหรับสินค้าเกษตร 22 รายการ เฉพาะนอกโควต้า ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจะต้องขออนุญาตในการนำเข้า จึงจะต้องขอหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการค้าต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ

6. กลไกการดำเนินงาน มี 2 ส่วน ได้แก่

กลไกภายในประเทศ 3 ระดับ ได้แก่

(1) ระดับพื้นที่ มีคณะทำงานระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการเป็นประธานทำหน้าที่วางแผนปฏิบัติในระดับพื้นที่

(2) ระดับคณะทำงานยุทธศาสตร์ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานและ Contract Farming ที่มี สศช. เป็นประธาน และมีกรรมการ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนำร่อง และ มี สศช.เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ทำหน้าที่พิจารณาแผนลงทุนและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ และ

(3) ระดับชาติ มีคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ เสถียรไทย) เป็นประธาน พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน/โครงการก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป

กลไกระหว่างประเทศ 2 ระดับ โดยกระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างเจรจากับกัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างประเทศ (Joint Committee) ในลักษณะทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่

(1) คณะทำงานระดับพื้นที่ ประสานการดำเนินงานในระดับปฏิบัติการกับคณะทำงานระดับจังหวัดของไทย และ

(2) คณะทำงานระดับชาติ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้าน กำกับดูแล และประสานงานกับคณะทำงานยุทธศาสตร์ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานและ Contract Farming ของไทย

3.6 การค้าขายชายแดน (นิยม, 2550 อ้างใน ณัฐพร, 2553)

เนื่องจากเป็นค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ลักษณะการค้าขายโดยปกติก็คือ “การค้าขายชายแดน” ซึ่งมีอยู่ตามปกติแล้ว มาดูหลักการค้าขายชายแดนเบื้องต้น ดังนี้

การกำหนดเส้นเขตแดนเพื่อแสดงอาณาบริเวณของเขตปกครองดังกล่าว ได้แบ่งแยกชุมชนที่เคยอยู่ร่วมกันออกไปเป็นชุมชนของประเทศที่จัดตั้งขึ้นใหม่ที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติ ตลอดจนระเบียบ กฎหมายที่แตกต่างกัน แต่การไปมาหาสู่กันแล้วนำผลผลิตที่ตนผลิตได้มาแลกเปลี่ยนกันเพื่อการดำรงชีพ ก็ยังคงดำเนินต่อไปไม่มีการหยุดหย่อน แม้ว่าชุมชนที่อาศัยอยู่ได้ถูกแบ่งออกไปเป็นคนละประเทศแล้วก็ตาม และด้วยเหตุนี้เองที่เป็นที่มาของ “การค้าชายแดน”

การค้าชายแดนคือ

การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศทีมีพรมแดนติดกันเพื่อใช้ในการบริโภคหรืออุปโภคกันในประเทศของตนเอง โดยที่สินค้านั้นไม่ได้มีการขนส่งต่อไปยังประเทศที่สาม ซึ่งในการที่จะส่งออกหรือนำสินค้าเข้าแต่ละครั้งผู้ที่จะส่งออกหรือนำเข้าจะต้องมีการปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ครบถ้วน ไม่ว่าสินค้านั้นจะต้องเสียภาษีอากรในการส่งออกหรือ นำ เข้าหรือไม่ก็ตาม

การค้าผ่านแดนคือ

การที่ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันยินยอมให้มีการขนส่งสินค้าผ่านอาณาเขตของตนเพื่อส่งออกต่อไป ประเทศที่สาม โดยไม่มีการเรียกเก็บอากรสำหรับสินค้าที่นำผ่านแดนเข้าในอาณาเขตของตนแต่อย่างใดเพราะว่า โดยปกติแล้ว ประเทศทั้งสองจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกันตามความ สัมพันธ์ของแต่ละประเทศ ซึ่งการได้รับสิทธิผ่านดินแดนดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขข้อกำหนดของประเทศที่ยินยอมให้มีการนำสินค้าผ่านแดนเพื่อ ส่งออกต่อไป ภายใต้กรอบขอบเขตอธิปไตยของประเทศ นั้นๆ

รูปแบบการค้าชายแดนและข้ามแดน

1. นำติดตัวไปบริโภค (Consumer Trade) เป็นการซื้อขายกันระหว่างประชาชนในบริเวณแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ ส่วนมากจะเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค ซึ่งจะดำเนินการซื้อขายกันทุกวัน และไม่สามารถเก็บเป็นสถิติข้อมูลปริมาณการค้าได้

2. การค้าแบบเงินสด (Cash) เป็นการซื้อขายกันในบริเวณชายแดนที่ใช้เงินสด และมีการสำแดง และเสียภาษี ณ ด่านศุลกากรที่ควบคุมพื้นที่นั้น ๆ ผู้ซื้อจะเป็นผู้สำแดงตามระเบียบศุลกากร และมีการเก็บสถิติข้อมูลทางการค้า

3. การค้าแบบขายฝาก (Sale on Consignment License) เป็นการค้าแบบการให้สินเชื่อซึ่งกันและกัน การค้ารูปแบบนี้ต้องอาศัยความเชื่อใจกัน ซึ่งพ่อค้าชายแดนมีความสามารถในการติดต่อกับพ่อค้าในประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะไปลงทุนทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านจะต้องติดต่อกับพ่อค้าชายแดนเพราะเขาจะรู้ข้อมูลต่างๆ เป็นอย่างดีในการค้า และสามารถให้สินเชื่อแก่กันได้

4. การค้าแบบต่างตอบแทน (Balance Trade)

4.1 Import License คือ กรณีที่พ่อค้าในประเทศ ต้องการซื้อสินค้า และนำสินค้าของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา ก็จะต้องส่งสินค้าของในประเทศออกไปก่อน จากนั้นเมื่อมีการนำสินค้าเข้าและสินค้าออกในมูลค่าที่เท่ากันแล้ว ก็จะได้ License เมื่อพ่อค้าที่ทำการค้าได้ License แล้ว ก็จะนำ License ที่ได้ไปสั่งสินค้านำเข้าได้ในมูลค่าที่เท่ากันกับที่ส่งสินค้าออก ที่ทุกประเทศทำการค้าในรูปแบบนี้เพื่อความเสมอภาคทางการค้า และรักษาเงินตรา และเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศของตน ประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่นิยมใช้วิธีการค้ารูปแบบนี้ คือ สหภาพเมียนม่าร์ นิยมใช้มากกว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา

4.2 Border Trade Agreement เป็นรูปแบบการค้าที่ประเทศเพื่อนบ้านเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมประชุม JTC (Joint Trade Committee) และกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม JCC ทั้งสองหน่วยงานของไทย จะประชุมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านทุกปี เพื่อเจรจาเรื่องการค้าที่ค้าขายผ่านบริเวณชายแดนให้เป็นการค้าที่ถูกต้อง และมีรูปแบบที่ตรงกัน แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสหภาพเมียนม่าร์ยังไม่ยอมแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการค้ารูปแบบนี้

5. การค้าแบบหักบัญชี (Account Trade หรือ Counter Trade) การค้ารูปแบบนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลที่แล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านเรียกร้อง เพื่อให้การค้าชายแดนเป็นการค้าที่ถูกต้อง จึงคิดรูปแบบการค้า โดยการเปิดบัญชีขึ้นมาบัญชีหนึ่ง โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ หากผู้ค้าคนใดจะทำการค้าต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้ค้า และดำเนินการสั่งของเข้ามาแล้วไปตัดหรือหักบัญชีภายหลัง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว

6. การค้าแบบสากล (Normal Trade) เป็นการค้าแบบมาตรฐานสากล โดยใช้วิธีการเปิด L/C เป็นรูปแบบการค้าที่นิยมใช้แพร่หลาย

มีโครงการตามแนวพื้นที่บริเวณชายแดนที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร เช่น

1. โครงการ One Stop Service: OSS คือโครงการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก มาปฏิบัติงานในที่เดียวกันแบบเบ็ดเสร็จ

2. Contract Farming คือโครงการที่รัฐบาลไทยส่งเสริมให้เอกชนเข้าไปทำการเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน โดยผลผลิตที่ได้จะได้รับการยกเว้นอากรเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย

3. AISP คือการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศในกลุ่มอาเซียน

4. Single Inspection เป็นความร่วมมือด้านการศุลกากรระหว่างประเทศโดยมีสาระสำคัญคือ หากศุลกากรฝ่ายใดเปิดตรวจสินค้าขาออกแล้ว ฝ่ายนั้นจะออกใบตรวจสินค้าและส่งให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อยกเว้นการตรวจสำหรับสินค้าเที่ยวการนำเข้านั้น

ปัจจัยภายในระบบการค้าชายแดน

1. ความเป็นชนเชื้อชาติเดียวกันของชุมชนตามแนวชายแดน ที่มีภาษาพูดที่สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ง่าย มีวัฒนธรรม ประเพณีที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเอกลักษณ์ในเรื่อง “ความมีน้ำใจ/อัธยาศัยไมตรี” ที่ไม่แตกต่างกัน อันเป็นแต้มต่อที่ได้เปรียบประเทศอื่นซึ่งเป็นชนต่างเชื้อชาติ

2. การค้าแบบให้เครดิตสินเชื่อ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของผู้ประกอบการค้าไทย ที่แตกต่างจากผู้ประกอบการค้าของประเทศอื่นๆ ที่ทำการค้าแบบเงินสดเท่านั้น

3. มีความเชื่อถือ และเชื่อใจกันระหว่างผู้ค้าของทั้งสองฝ่าย เช่น การค้าพลอยในแถบชายแดน จังหวัดจันทบุรี หากมีผู้ที่นำเอาอัญมณีปลอมมาจำหน่าย จะโดนกลุ่มพ่อค้าต่อต้านและไม่ทำการค้าขายด้วย และในที่สุดจะทำการค้าไม่ได้อีกต่อไป

ปัจจัยภายนอกระบบการค้าชายแดน

1. ความสะดวก โปร่งใส ประหยัด ที่เกิดจากพิธีการศุลกากร (แรงสนับสนุนจากศุลกากร) การค้าชายแดนส่วนใหญ่ทำพิธีการส่งออกสินค้าอย่างถูกต้อง แต่ด้วยระบอบการปกครองภายในของประเทศเพื่อนบ้าน และระบบการค้า จะเป็นด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ การนำเข้าประเทศเพื่อนบ้านเป็นการนำเข้าที่ไม่ถูกต้อง เข้าลักษณะการลักลอบเข้าประเทศเพื่อนบ้าน มีคำจำกัดความว่าคำหนึ่งว่า “การค้าลอดรัฐ” ซึ่งมีผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเชิงลบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่ทราบกันมายาวนานแล้ว ทำให้มองว่าไม่โปร่งใส ซึ่งศุลกากรพยายามแก้ไขให้สิ่งเหล่านั้นเกิดความชัดเจน ให้เป็นที่ยอมรับ โดยไม่ต้องไปอ้างว่าศุลกากรเรามีนอกมีใน เช่น เรานำระบบ Paperless มาใช้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

2. ความเป็นมาตรฐานของการปฏิบัติพิธีการศุลกากร นอกจากการสร้างกฎ ระเบียบแล้ว เราจะต้องสร้างมาตรฐานการปฏิบัติทางการค้าควบคู่กันไปในแต่ละท้องที่ จะสามารถช่วยทำให้การค้าชายแดนพัฒนาได้ ซึ่งการค้าชายแดนบางท้องที่ปัญหาและอุปสรรคเกิดจากหน่วยงานในท้องที่มักจะอ้างเรื่องนโยบายความมั่นคง จึงทำให้เกิดอุปสรรคทางการค้า ดังนั้น ศุลกากรจะต้องชูประเด็นเรื่องของการสนับสนุนการค้าชายแดนอย่างถูกต้องให้เขายอมรับ

ช่องทางการค้า

1. ช่องทางการค้าแบบธรรมชาติ (Natural Pass) เป็นช่องทางที่ประชาชนใช้เดินทางผ่านเข้า ออกไปมาค้าขายกัน บางด่านถือเอาช่องทางธรรมชาติมาเป็นจุดผ่อนปรน และจุดผ่านแดนถาวร

2. ช่องทางอนุมัติเฉพาะของศุลกากร ช่องทางนี้เป็นช่องที่อำนวยความสะดวกทางการค้าชายแดน ที่ทำให้ปริมาณการค้า และมูลค่าการค้าขายสูงขึ้น

3. จุดผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Crossing Point) เป็นช่องทางที่ขออนุมัติการนำเข้าสินค้าเฉพาะอย่างเมื่อเสร็จแล้วก็จะปิดช่องทางการนำเข้า

4. จุดผ่อนปรนทางการค้า (Check Point Border Trade) เป็นจุดที่มีการนัดหมายกันตามเวลาเพื่อทำการค้า เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะอนุมัติให้เปิดร่วมกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จะมีเวลาในการเปิด – ปิดเป็นเวลา

5. จุดผ่านแดนถาวร (Permanent Crossing Point) เป็นจุดผ่านที่เป็นทางการถูกต้องตามหลักสากล โดยมีด่านศุลกากรกำกับดูแล เช่นเดียวกับท่าเรือ

ปัญหาและอุปสรรค

การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนมีปัญหาอุปสรรค เนื่องจากมีกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และนโยบายของแต่ละประเทศ

ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

1. รัฐบาลเข้มงวดในการนำเข้าสินค้า เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายจะลดปัญหาเงินเฟ้อ

2. ผู้นำเข้า-ส่งออกจะต้องขออนุญาตจากรัฐบาล ผู้ค้ารายย่อยต้องเสียค่าหัวคิวให้กับผู้ได้รับอนุญาต

3. ค่าเงินกีบไม่มั่นคง

4. การขาดแคลนแรงงานเพราะลาวมีประชากรน้อย

5. ตลาดภายในของลาวมีขนาดเล็ก มีอำนาจการซื้อต่ำ

6. นโยบายของรัฐบาลกับเจ้าแขวงไม่เป็นไปทางเดียวกัน

7. ค่าขนส่งและค่าบริการนำเข้าส่งออกค่อนข้างสูง

8. การค้านอกระบบส่งผลกระทบต่อตัวแทนจำหน่ายสินค้าของไทย

9. แต่ละแขวงมีอำนาจในการหารายได้ทำให้สินค้าไม่สามารถแพร่ไปแขวงอื่นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประเทศพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์

1. ปัญหาการเมือง

2. ระเบียบกฎหมายทั้ง 2 ประเทศไม่เอื้อต่อการค้าชายแดน

3. เส้นทางคมนาคมทางพม่าที่เชื่อมโยงกับชายแดนไทยชำรุดทรุดโทรม

4. ปัญหาเรียกเก็บเงินนอกระบบของข้าราชการบริเวณชายแดนยังมีอีกมาก

5. ประชาชนขาดกำลังซื้อ

6. ปัญหาการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า

7. การขาดการสื่อสาร

8. การขาดการไว้เนื้อเชื่อใจกันของรัฐบาลพม่ากับรัฐบาลไทย

9. การบอยคอตจากสหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรป

10. การทำงานล่าช้าของหน่วยงาน MIC ในกระทรวงคมนาคมของพม่า

11. ไทยจะต้องยกฐานะจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรมายิ่งขึ้น

12. ความไม่ใส่ใจภาษาพม่า

13. การเปลี่ยนเจ้าหน้าที่พม่าบ่อย ๆ

ประเทศกัมพูชา

1. ขั้นตอนและระเบียบการส่งออกของไทย มีระเบียบขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีเอกสารประกอบมาก

2. ปัญหาเรื่องค่าเงินเรียลซึ่งเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ในกัมพูชาขาดเสถียรภาพ

3. เส้นทางการขนส่งจากชายแดนไทยไปยังกรุงพนมเปญ มีกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ คุมเส้นทางอยู่

4. สินค้าที่จะนำเข้ากัมพูชาต้องผ่านการตรวจสอบจากบริษัท SGS ที่กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาตั้งขึ้นมา

แนวทางแก้ไข

1. ลดขั้นตอนและระเบียบการส่งออกเดิมที่มีการกำหนดไว้ว่า การค้าชายแดนจะต้องมีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 500,000 บาท โดยปรับให้กฎเกณฑ์เหล่านี้สามารถสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่งออก

2. ควรปรับปรุงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนำเข้าตามมาตรา 19 ทวิ และภาษี มุมน้ำเงินให้เร็วขึ้น เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกของไทย สามารถขยายการส่งออกไปสู่ตลาดการค้าได้มากขึ้น

3. สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ศึกษาวิจัยข้อมูลทางการตลาดทั้งแนวลึกและแนวกว้าง เช่น ภาวการณ์แข่งขันของสินค้าไทยที่มีศักยภาพ ลู่ทางการค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย รวมไปถึงรายชื่อผู้นำเข้ารายใหญ่ เพื่อให้ผู้ส่งออกของไทยได้ใช้เป็นช่องทางในการส่งออก

4. ลดอัตราภาษีนำเข้า วัตถุดิบ เครื่องจักรกล และชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกให้เป็นไปตามข้อตกลงของอาฟต้า เพื่อให้ราคาสินค้าของไทยสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้

5. ปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ และครอบคลุมเขตอุตสาหกรรมต่างๆ และควรมีการลดราคาอัตราค่าบริการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศลง

6. ควรควบคุมราคาค่าบริการในการขนส่งต่างๆ และให้มีการเปิดเสรีของการให้บริการท่าเรือ เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคาและค่าบริการ

7. จัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาว และดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ส่งออก โดยเฉพาะกับผู้ส่งออกขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีสภาพคล่องต่ำ

8. ควรมีความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ในด้านการหามาตรการป้องกันการแก้ไขการคดโกงของผู้นำเข้าสินค้าชายแดน

แนวทางการส่งเสริมการค้า

จากปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนายทวีชัย อ้นคูเมือง เจ้าพนักงานการพาณิชย์ชำนาญงาน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก ในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆนั้น สรุปแนวทางในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและแนวทางในการส่งเสริมการส่งออกสินค้า ดังนี้

1. ควรส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยเป็นผู้นำในตลาดชายแดน นอกจากนี้ยังเป็นสินค้าที่ตลาดชายแดนมีความต้องการอย่างมาก ส่วนสินค้าวัสดุก่อสร้างและสินค้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตร ควรมีการตั้งตัวแทนจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากมีความต้องการสินค้ากลุ่มนี้อย่างมาก

2. ควรส่งเสริมให้มีการเข้าไปลงทุนในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมเหมืองแร่ การบริการและการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น

3. ควรเพิ่มความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นของไทยและประเทศตามแนว ชายแดนให้มากขึ้น เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบการนำเข้าสินค้าและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ค้าท้องถิ่น

4. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดและการค้าโดยให้มีการเชิญผู้นำเข้าของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเยี่ยมชมกิจการหรือร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศไทยเพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลการค้าสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการค้าของประเทศทั้งสอง

5. ขอความร่วมมือกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ช่วยกระตุ้นให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาผลสรุปร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าของประเทศที่มีพื้นที่ติดกันเพิ่มมากขึ้น

6. ส่งเสริมให้มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลของตลาดชายแดนให้ถูกต้องและมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้มีความทันสมัยและครบถ้วน รวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ ทันสมัยให้กับผู้ส่งออก

7. รัฐควรหามาตรการควบคุมสินค้าไทยที่ส่งออกไปขายข้ามชายแดน แล้วผู้นำเข้าสินค้าชายแดนส่งกลับเข้ามาขายบริเวณชายแดนไทย ทำให้สินค้าเข้ามาแข่งขันกันเองตามแนวชายแดนไทย โดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลในประเทศนั้นควรร่วมมือกันในการหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา

บทที่ 4

บทวิเคราะห์

ผู้ศึกษามีประเด็นข้อสังเกตในการวิเคราะห์เพียงบางประเด็นที่ได้ศึกษาพบ แล้วนำมาต่อยอดความคิดในประเด็นนั้นขึ้นมา เพื่อการศึกษาในโอกาสต่อไป ผู้ศึกษาได้กำหนดกรอบในการวิเคราะห์ เกี่ยวกับการค้าและการลงทุน ใน “การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา” หรือ Contract Farming ไว้กว้าง ๆ ดังนี้

1. เรื่องเกี่ยวกับการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา หรือ Contract Farming

2. เรื่องเกี่ยวกับการค้า การลงทุน

3. เรื่องเกี่ยวกับหลักการ มาตรการการค้า การลงทุน

4. เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

4.1 เรื่องเกี่ยวกับการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา หรือ Contract Farming

4.1.1 ประโยชน์จากการดำเนินโครงการ Contract Farming

การดำเนินการ “การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา” หรือ โครงการ Contract Farming ในระหว่างประเทศ ถือเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในกรอบของ ACMECS ซึ่งในการดำเนินการของผู้ประกอบการชาวไทย จึงเป็นการดำเนินการธุรกิจการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ แน่นอนว่าต้องเป็นประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการค้าเสรี (Free Trade)

Contract Farming เป็นโครงการเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน สำหรับสินค้าเกษตร โดยผู้ประกอบการ บริษัทเอกชน หรือนิติบุคคลไทย ในฐานะ “ผู้รับซื้อผลผลิต” กับ กลุ่มเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้าน ในฐานะ “ผู้ผลิต” ซึ่งต้องมี “สัญญา” เข้ามาเกี่ยวข้อง และ เนื่องจากต้องขนสินค้าผ่านแดน จึงมี “ภาษีศุลกากร” (Tariff) เข้ามาเกี่ยวข้อง

ภาครัฐจะสนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการโดยการยกเว้นภาษีในการนำเข้าผลผลิตดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยแหล่งวัตถุดิบราคาถูก สามารถนำเข้ามาใช้ในประเทศได้ ส่วนประเทศเพื่อนบ้านก็จะได้รับประโยชน์ คือประชาชนในประเทศที่ได้รับการส่งเสริมก็จะมีงานทำ และมีรายได้ ทำให้ลดปัญหาการลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ด้วย (www.tak.go.th/km/)

อย่างไรก็ตาม ปัญหาชายแดนไม่สงบ เช่น ชายแดนด้านจังหวัดตาก มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ และทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลพม่าทำให้เกิดการสู้รบบริเวณชายแดนอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศด้วย รวมทั้งการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวของจังหวัด รัฐบาลพม่าพยายามกดดันทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจ กับชนกลุ่มน้อย และไม่ต้องการส่งเสริมการค้าในบริเวณนี้ จึงทำให้การค้าชายแดนด้านอำเภอแม่สอด ประสบความเสี่ยงสูง ชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า ได้หลบหนีภัยจากการสู้รบในเขตพม่า เข้ามาอาศัยอยู่ตามบริเวณชายแดนในเขตประเทศไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากก่อให้เกิดปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างไทยและพม่าตามบริเวณชายแดนแล้ว ยังสร้างปัญหาความไม่ปลอดภัยให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ชายแดนอยู่ตลอดเวลา

(บุษรา กันทะคำ นักวิชาการพาณิชย์ ใน www.tak.go.th/km/)

4.1.2 ปัญหาปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจทำ Contract Farming ในลาว

(ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัด www.pcoc.moc.go.th)

การดำเนินการ Contract Farming ใน สปป.ลาว มีข้อควรคำนึงสำหรับนักลงทุน ดังนี้

1) ผู้ลงทุนควรพิจารณาวิธีทำการเกษตรให้สอดคล้องกับชนิดของพืชที่ต้องการเพาะปลูก นอกเหนือจากการทำ Contract Farming ผู้ลงทุนยังสามารถขอสัมปทานพื้นที่ทำการเกษตรโดยว่าจ้างคนในพื้นที่มาเป็นแรงงานเพาะปลูก ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชบางชนิดที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างดี ทั้งยังเอื้อต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูกและการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้

2) การทำ Contract Farming ในลาวอาจต้องใช้เวลานานในการคืนทุน เนื่องจากผลผลิตที่ได้ในช่วงแรกอาจยังมีคุณภาพและปริมาณผลผลิต/ไร่ ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เพราะเกษตรไม่มีความเชี่ยวชาญในการเพาะปลูกประกอบกับการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการขิงเกษตรกรอาศัยความไว้วางใจเป็นหลัก ทำให้การขยายพื้นที่เพาะปลูกทำได้ช้า

3) ผู้ประกอบการต้องรวบรวมผลผลิตเอง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่มีพาหนะขนส่งเป็นของตนเอง

4.1.3 Contract Farming มีผลกระทบ ต่อการอพยพเคลื่อนย้ายของประชาชนในพม่า

( คฑาประชาชน(นามแฝง), 2551)

โครงการ Contract Farming ส่งผลต่อการอพยพเคลื่อนย้ายของประชาชนจากประเทศพม่าออกจากพื้นที่และบางส่วนได้อพยพย้ายถิ่นมายังประเทศไทย ตามโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ตามยุทธศาสตร์ ACMECS เป็นการย้ายฐานการลงทุนการปลูกพืชเป้าหมายจากประเทศไทยไปประเทศพม่า

โดยพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกพืช คือ อ้อย ในมณฑลมัณฑะเลย์ มณฑลพะโค รัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง , มันสำปะหลัง ในมณฑลมัณฑะเลย์ มณฑลพะโค รัฐฉาน, ปาล์มน้ำมัน ในมณฑลตะนาวศรี รัฐกะเหรี่ยง และถั่วเหลือง ในมณฑลตะนาวศรี รัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง

4.1.4 Contract Farming ของไทยใน GMS ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและลดการย้ายถิ่นของแรงงาน (โอระยอง(นามแฝง), 2552)

ไทยได้ย้ายฐานการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจบางชนิดไป ยังประเทศเพื่อนบ้านใน GMS โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พม่า. สปป.ลาว และกัมพูชา ที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่จำนวนมากยังไม่ถูกใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่ เหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตวัตถุดิบที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตรของไทย

เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องดังนั้น การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญาระหว่างไทยกับประเทศใน GMS นอกจากจะทำให้เกิดความมั่นใจในการซื้อขายระหว่างกันแล้ว ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและลดการย้ายถิ่นของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะ เข้ามาในไทย รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันในอนุภูมิภาค เปิดโอกาสให้มีการกระจายความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพการเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต

4.1.5 ผลกระทบของ Contract Farming บางแง่มุมในพม่า

(โครงการวิจัยไทย มูลนิธิส่งเสริมสันติวิธี, 2551)

(1) นโยบายการปลูกพืชพลังงานของพม่า

นอกจากนั้นแล้วในประเทศพม่าเองก็พบว่าในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลพม่าได้ออกกฎหมายใหม่เรื่องการรณรงค์การปลูกพืชพลังงานทางเลือกเพื่อนำมาใช้ผลิตไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยพืชพลังงานทดแทนที่รัฐบาลพม่ารณรงค์ให้ปลูกมี 2 ชนิด คือ ต้นละหุ่งและสบู่ดำ นอกจากการรณรงค์ปลูกพืชพลังงานแล้ว รัฐบาลพม่ายังห้ามส่งออกพืชน้ำมันทั้ง 2 ชนิดอย่างเด็ดขาด รวมทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่าชาวบ้านที่ยึดอาชีพด้านการเกษตรกรรมตามชนบทต้องปลูกพืชพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่รัฐบาลกำหนด หากชาวบ้านรายใดไม่มีพื้นที่เพาะปลูก เช่นอยู่ในเขตการค้า หรือทำเลที่ไม่มีความเหมาะสมแก่การเพาะปลูก จะต้องเสียค่าปรับให้กับทางรัฐบาลพม่าในอัตราครัวเรือนละ 400 บาทต่อปี ซึ่งค่าปรับส่วนนี้จะนำไปใช้ในการส่งเสริมการปลูกเพื่อทดแทนในพื้นที่อื่น ส่วนผลผลิตที่ได้รัฐบาลพม่าได้ตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจขึ้นมาเพื่อรับซื้อและส่งต่อให้โรงงานสกัดน้ำมัน เพื่อผลิตไบโอดีเซลใช้กับเครื่องจักรกลโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยกำหนดเป้าหมายไว้ว่า ภายใน 5 ปี พม่าจะงดนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศหรือนำเข้าให้น้อยที่สุด ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ทำให้บริษัทบางแห่งที่ได้ลงทุนไปในโครงการปลูกต้นละหุ่งไปแล้ว เช่น บริษัทสยามน้ำมันละหุ่ง จำกัด ได้รับผลกระทบอย่างยิ่งจนทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนแผนการลงทุนไปที่ประเทศลาวแทน

(2) ผลกระทบ Contract Farming ต่อการย้ายถิ่นของประชาชนในพม่า

(โครงการวิจัยไทย มูลนิธิส่งเสริมสันติวิธี, 2551)

(2.1) รัฐฉาน

จากรายงานของกลุ่มบรรเทาทุกข์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยใหญ่ (SRDC -Shan Relief and Development Committee) เมื่อเดือนมกราคม 2549 ที่ผ่านมา ได้ออกรายงานระบุสาเหตุการยึดที่นาและบังคับใช้แรงงานชาวบ้านของทหารพม่าในพื้นที่อำเภอเมืองนาย ภาคใต้รัฐฉาน อันเนื่องมาจากโครงการ Contract Farming ซึ่งกลุ่มนี้ได้ลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนพร้อมให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2546 - 2548 ในภาคใต้รัฐฉานและได้จัดประชุมแถลงผลของรายงานดังกล่าวในชื่อว่า"ทุ่งร้าง" (Deserted Field)

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานเปิดเผยการกระทำของทหารพม่าที่มีต่อชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบวิถีชีวิตความเป็นอยู่มากมาย โดยระบุว่าปัจจุบันพื้นที่อำเภอดังกล่าวมีหมู่บ้านหลงเหลืออยู่เพียง 25 หมู่บ้านจาก 57 หมู่บ้าน

ก่อนปี 2537 พื้นที่แห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์เป็นอู่ข้าวชั้นดีของผู้คนแต่ปัจจุบันนี้มีหมู่บ้านหลงเหลืออยู่เพียง 25 หมู่บ้านจากที่เคยมีถึง 57 หมู่บ้าน มีประชากรเหลืออยู่ประมาณ 25,000 คน ประกอบด้วยคนพม่า ฉาน ปะโอ ลีซู ลาหู่ โกก้าง และปะหล่อง ส่วนอีกราวร้อยละ 30 คาดว่าอพยพหนีข้ามมาฝั่งไทย ด้วยเหตุที่ชาวบ้านถูกทหารพม่าบังคับย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในที่ที่กำหนดให้ใหม่ และหากกลับไปทำไร่ทำนาโดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะถูกยิงเสียชีวิต ส่งผลให้ไร่นากว่า 2.5 หมื่นไร่ต้องรกร้างและชาวบ้านร้อยละ 30 จำต้องอพยพเข้าประเทศไทยปล่อยให้พื้นที่เพาะปลูกอันอุดมกลายเป็นทุ่งร้างมากกว่า 25,000 ไร่

(2.2) มณฑลตะนาวศรี เขตมะริด -ทวาย

จากรายงานภาคสนามของ Burma Issues เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2551 ให้ข้อมูลว่า ในเขตมะริด-ทวาย มณฑลตะนาวศรี มีบริษัทของรัฐบาลทหารพม่าได้ยึดที่ดินของชาวบ้านไปทำการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันกว่าหนึ่งหมื่นเอเคอร์ หรือประมาณ 25,290 ไร่ โดยในปัจจุบันชาวบ้านต่างต้องการให้บริษัทออกไปจากพื้นที่และคืนที่ดินทำกินให้ชาวบ้าน

ตั้งแต่ปี 2540 หมู่บ้านหลายแห่งในมณฑลตะนาวศรี เขตมะริด-ทวาย ถูกทำลายจากปฏิบัติการโจมตีครั้งใหญ่ของรัฐบาลทหารพม่า ที่ดินจำนวนมากก็ถูกทำลายเช่นกัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้เลี้ยงชีพด้วยการทำเกษตรดั้งเดิม ทำไร่นา และจากปฏิบัติการโจมตีและปราบปรามชนกลุ่มน้อยในปี 2540 ชาวบ้านจำนวนมากถูกบังคับให้ย้ายไปอยู่ที่พื้นที่บังคับโยกย้าย (แปลงอพยพ - relocation site) และทำลายเรือกสวนไร่นาของชาวบ้านทิ้ง

หลายปีผ่านไปพื้นที่ที่เคยเป็นเรือกสวนไร่นาก็กลายเป็นป่า ทหารพม่ามีโครงการที่จะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นี้และให้บริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนและเพาะปลูกพืชตามแผนของรัฐบาล

ปัญหาอยู่ที่บริษัทเหล่านั้นได้บังคับและยึดที่ดินของชาวบ้านไป แม้ว่าชาวบ้านจะเรียกร้องทวงคืนที่ดินของตนคืน แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะบริษัทอ้างว่าชาวบ้านต้องมีเอกสารสิทธิมาแสดงว่าเป็นเจ้าของที่ดินนั้นจริง ซึ่งชาวบ้านก็ไม่มีเอกสารใดๆ ซ้ำบางพื้นที่ก็ถูกทิ้งร้างนานจนกลายเป็นป่าไปแล้ว

บริษัทที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ต้องดำเนินการภายใต้คำสั่งของรัฐบาลทหารพม่าว่าแต่ละบริษัทจะได้พื้นที่เพาะปลูกได้เท่าใด รวมถึงต้องให้ได้ผลผลิตเท่าไรต่อปี โดยที่บริษัทเหล่านั้นขยายพื้นที่เพาะปลูกด้วยการริบที่ดินของชาวบ้านโดยที่รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการเอาผิดบริษัทเหล่านั้นแต่ประการใด

(2.3) รัฐกะเรนนี

ในปี 2549-50 ในพื้นที่รัฐกะเรนนี รัฐบาลพม่าได้เริ่มโครงการเพาะปลูกพืชละหุ่งเพื่อผลิตไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทน โดยได้ริบเอาที่ดินของชาวบ้านสองฝั่งถนน จาก Loi Kaw ถึง Taung Kyi และจาก Loi Kaw ถึง Prusoe ชาวบ้านถูกบังคับให้เป็นแรงงานบนที่ดินของตนเองซึ่งถูกรัฐบาลยึดไปแล้ว และต้องให้หาเมล็ดพันธุ์ละหุ่งมาปลูกเองด้วย ถ้าชาวบ้านไม่ยอมทำตามคำสั่งก็จะถูกปรับและถูกทำโทษ พื้นที่ถูกยึดโดยปราศจากค่าชดเชย รวมถึงทั้งเจ้าของที่ดินและแรงงานไม่มีใครได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์จากผลผลิตเลยแม้แต่รายเดียว

ปี 2550 ที่ดินจำนวนมากซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ Loi Kaw หมู่บ้าน Nwalawoe ได้ถูกทหารพม่ายึดที่ดินไปเพื่อจัดทำเป็นเขตอุตสาหกรรม โดยทหารพม่าได้จ่ายเงินให้ชาวบ้านเพียง 50,000 จั๊ตต่อหนึ่งพื้นที่เพาะปลูกหนึ่งแห่ง หรือเอเคอร์ละ 100 จั๊ต จากนั้นรัฐบาลพม่าก็ไปบังคับให้โรงงานในพื้นที่ทั้งหมดย้ายเข้ามาอยู่ในเขตดังกล่าว โดยรัฐบาลได้แบ่งขายที่ดินเหล่านั้นแก่นักธุรกิจในราคาสูงถึง 35,000 จั๊ต ต่อ 100 ตารางฟุต

โดยสรุปกล่าวได้ว่าโครงการ Contract Farming รัฐบาลพม่ามักใช้วิธีการบังคับให้ชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่โดยให้ย้ายไปอยู่ในเขตที่ทหารสามารถควบคุมได้ หากชาวบ้านขัดขืนก็จะใช้วิธีการปราบปรามด้วยความรุนแรง ชาวบ้านที่หนีได้ก็มักจะหนีเข้ามาในเขตประเทศไทยซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า ปัจจุบันตัวเลขของผู้พลัดถิ่นฐานอันเนื่องมาจากโครงการ Contract Farming นั้นยังไม่มีตัวเลขการสำรวจที่ชัดเจน แต่สามารถยืนยันได้ว่ามีการพลัดถิ่นจากโครงการพัฒนาจากประเทศไทยที่ไปลงทุนในพม่าจริง เพราะโครงการ Contract Farming ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานการข่มขู่บังคับและการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนในพม่าอย่างยิ่ง

เป้าหมายของโครงการ Contract Farming ที่ได้ระบุไว้ว่า โครงการนี้จะสามารถสร้างสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพม่า, ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานที่ผิดกฎหมาย และลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน กลับเป็นเพียงนโยบายที่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นจริง กล่าวคือ รัฐบาลพม่าได้บังคับข่มขู่ให้เกษตรกรออกจากที่ดินของตนเอง และนำที่ดินเหล่านั้นมาเป็นของรัฐบาล รวมถึงยังบังคับให้ชาวบ้านที่หลุดจากที่ดินต้องกลายมาเป็นแรงงานในที่ดินของตนเองโดยปราศจากรายได้จากการเพาะปลูก มีการเสียภาษีจำนวนมากให้รัฐบาล ต้องเพาะปลูกพืชตามคำสั่งของรัฐบาลเท่านั้น ทำให้ชาวบ้านไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตอีกต่อไป โอกาสที่ชาวบ้านจะมีรายได้เป็นของตนเองก็ยากยิ่งนัก เมื่อชาวบ้านไม่มีรายได้ การดำรงชีวิตก็เป็นไปอย่างอัตคัดขัดสน โอกาสที่ชาวบ้านจะหลบหนีมาทำงานในประเทศไทยก็มีสูง ฉะนั้นโครงการ Contract Farming จึงสะท้อนให้เห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการเมืองของประเทศพม่าที่เป็นแบบเผด็จการและใช้อำนาจข่มขู่บีบบังคับชาวบ้านให้ทำตามในสิ่งที่รัฐบาลต้องการ จนทำให้ชาวบ้านต้องอพยพออกจากบ้านของตนเอง เป็นการสะท้อนอย่างเด่นชัดว่าการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อประเทศพม่า คือ การเข้าไปช่วยสนับสนุนให้เกิดการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนในประเทศพม่ามากยิ่งขึ้น

4.2 เรื่องเกี่ยวกับการค้า การลงทุน

4.2.1 การเชื่อมสัมพันธ์ตามแนวชายแดนจากสนามรบสู่ตลาดการค้า

(รติกร กิ่งก้ำ นักวิชาการพาณิชย์ ใน www.tak.go.th/km/)

การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากขนาดการค้าที่ใหญ่ขึ้นและผลกระทบของความไม่แน่นอนภายนอกภูมิภาคสูงขึ้น มีประเด็นที่พึงสนใจได้แก่

(1) ลักษณะการค้าชายแดนทั่วไป หมายถึงการค้าขนาดเล็กและขนาดกลางของประชาชนหรือผู้ประกอบการที่อยู่ใกล้บริเวณชายแดน ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตรและของป่า จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการค้าและการลงทุนการค้าชายแดนจึงเกี่ยวข้องกับบริษัทใหญ่ในศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น สัดส่วนการค้าของประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยมีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคของการค้าชายแดนได้ในระยะยาว

(2) เหตุผลที่การค้าชายแดนไทยขยายตัวที่สำคัญได้แก่ 1) การดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศของจีน ทำให้จีนกลายเป็นโรงงานโลกและแหล่งลงทุนสำคัญในภูมิภาค 2) การปรับนโยบาย 3 ประเทศอินโดจีน คือ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ทั้งหมดได้เข้าสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้พม่าได้เลิกแนวทางสังคมนิยม หันมาใช้ระบบตลาด และได้เข้าร่วมกลุ่มอาเซียน 3) การปรับนโยบายของทางการไทยที่มุ่งเปลี่ยนสนามรบเป็นตลาดการค้า 4) การสนับสนุนของสถาบันการเงินได้แก่ธนาคาร เพื่อการพัฒนาเอเชียและธนาคารโลก 5) การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ซึ่งทำให้การค้าระหว่างกันขยายตัวตามไปด้วย

(3) โครงการสำคัญของการค้าชายแดนไทย มี 2 โครงการใหญ่ ได้แก่ โครงการหกเหลี่ยมเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับ 6 ประเทศได้แก่ ประเทศจีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม ลาว ไทย กัมพูชา และโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจซึ่งมีประเทศที่เกี่ยวข้องได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นตัวเชื่อมสำคัญของการค้าชายแดนของภูมิภาค ทั้งสภาพภูมิศาสตร์ ขนาดของประเทศ และขนาดทางเศรษฐกิจ

(4) ปัญหาและอุปสรรคพื้นฐานของการค้าชายแดน ได้แก่ 1) การขาดความไว้วางใจกัน ขาดต้นทุนทางสังคมหรือทุนทางการเมือง 2) ความอ่อนไหวทางการเมืองภายในบางประเทศ 3) ทิศทางและระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ-การเมืองที่ต่างกัน 4) โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจหลายประเทศไม่ได้รับการพัฒนา ซึ่งที่สำคัญเกิดจากบาดแผลทางสงคราม 5) ปัญหาระบบการเงินและกฎระเบียบต่างๆ เงินที่ใช้ในการค้าหลายสกุลไม่มั่นคง และมีกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงบ่อยและไม่เอื้อต่อการค้า 6) การค้านอกระบบ ทำให้ผู้ที่ค้าในระบบต้องเสียเปรียบ และทำให้จำต้องออกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า

(5) จุดแข็งและข้อได้เปรียบของการค้าชายแดน ได้แก่ 1) ระยะทางขนส่งใกล้ 2) สนับสนุนท้องถิ่น 3) เสริมความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกันในภูมิภาค 4) ลดทอนการแข่งขันที่มากเกินไปและเสริมจุดแข็งของกันและกัน 5) ลดทอนผลกระทบจากภายนอกซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง จุดแข็งนี้เห็นได้ชัดในประเทศกำลังพัฒนา มีบรรษัทข้ามชาติจำนวนมากต้องการค้าข้ามแดนมากว่าค้าชายแดน และพยายามแทรกแซงทำให้การค้าชายแดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการค้าและการลงทุนข้ามชาติไป จึงเป็นงานยากไม่น้อยสำหรับประเทศกำลังพัฒนา

(6) การค้าทำให้การค้าชายแดนก่อผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืนนั้นต้องแก้ไขจุดอ่อนของการค้าเสรีที่ครอบงำโลกอยู่ เพราะว่าการค้าที่เป็นอยู่มีแนวโน้มที่จะต้องเสียค้าขนส่งไกล นำไปสู่ลัทธิอุตสาหกรรมที่ไม่เอื้อต่อผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง ทำลายสิ่งแวดล้อม และขยายช่องว่างในสังคม ซึ่งจะทำให้การค้านี้เปิดโอกาสใหม่แก่ประเทศ

4.2.2 ปัญหาข้อสังเกตตามกรอบ ACMECS ปี 2549

(1) ปัญหาข้อจำกัดในการดำเนินงานของผู้ประกอบการชายแดนมีปัญหาการนำเข้า

(ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัด www.pcoc.moc.go.th)

ภายใต้กรอบ AISP ที่ต้องใช้ใบ C/O ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยากในประเทศเพื่อนบ้านและต้องออกที่เมืองหลวง (พม่าและกัมพูชา) และช่วงเวลาที่สามารถดำเนินการมาตรการผ่อนปรน ให้นำเข้าได้โดยใช้หนังสือรับรองที่ออกโดยจังหวัดนำร่องแทนใบ C/O เป็นช่วงที่พืชเป้าหมายที่จะเก็บเกี่ยวและนำเข้าเหลือปริมาณน้อย (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2548)

ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยยังขาดความเข้าใจในกระบวนการจัดทำ/กรอกข้อมูลใบขนสินค้า ค่าใช้จ่ายในการจ้างชิปปิ้ง ค่าใช้จ่ายและความล่าช้าในการขอใบตรวจโรคพืชและการขอใบอย.และ เส้นทางการขนส่งในประเทศเพื่อนบ้านไม่สะดวก

การนำเข้าถั่วเหลืองในพื้นที่นำร่องจันทบุรี ผู้ประกอบการค้าชายแดนไม่สามารถนำเข้าผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองได้ เนื่องจากไม่ได้รับสิทธินำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองจากสมาคม/บริษัทที่มีสิทธินำเข้า ตามนโยบายนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง และเมื่อมีการแก้ปัญหาในเบื้องต้น ให้ผู้ประกอบการชายแดนได้รับหนังสือมอบอำนาจจากผู้มีสิทธินำเข้า 13 ราย แต่ยังติดเงื่อนไขว่าเมื่อนำเข้ามาแล้วต้องส่งมอบให้แก่ 13 ราย โดยห้ามพักสินค้า ซึ่งถั่วเหลืองของกัมพูชาจำเป็นต้องนำมาปรับปรุงคุณภาพก่อน

คุณภาพของผลผลิต : เกษตรกรยังขาดความรู้ ความชำนาญในการเพาะปลูก และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนเส้นทางขนส่งไม่สะดวก จึงส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิตที่ไม่ตรงตามความต้องการของผู้รับซื้อ

การบริหารการดำเนินงานโครงการในประเทศเพื่อนบ้าน : ไม่มีกลไกที่ชัดเจนในประเทศเพื่อนบ้านที่จะดูแลบริหารโครงการ การประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างส่วนกลางและชายแดนยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ

(2) ปัญหาอุปสรรคลาว เลย-ไชยบุรี

(ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัด www.pcoc.moc.go.th)

หน่วยงานภาครัฐในระดับพื้นที่และภาคเอกชนยังขาดความเข้าใจในการดำเนินงานContract Farming ว่าการส่งเสริมการทำ Contract Farming จะมีผลกระทบกับเกษตรกรในจังหวัดหรือไม่

ผู้ประกอบการค้าชายแดนมีความกังวลว่า หากมีการทำ Contract Farming เต็มรูปแบบเป็นการผูกขาดเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่หรือไม่ จะทำให้ผู้ประกอบการค้ารายเล็ก ๆ ไม่สามารถนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านได้

ภาครัฐยังขาดความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อความมั่นใจกับนักลงทุนในระดับนโยบายทำให้โครงการ Contract Farming ยังไม่บังเกิดผลอย่างสมบูรณ์ในทางปฏิบัติ

ด้านคุณภาพผลผลิต เกษตรกรยังขาดความรู้ ความชำนาญในการเพาะปลูก และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนเส้นทางการขนส่งไม่สะดวก จึงส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิตที่ไม่ตรงตามความต้องการของผู้รับซื้อ

4.2.3 การดำเนินงานความร่วมมือของกลุ่ม ACMECS ก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศสมาชิกในกลุ่ม รวมทั้งไทย ดังนี้ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2548)

โครงการ Contract Farming ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรของกลุ่ม ACMECS ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรในการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ การสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปร่วมส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้านและรับซื้อสินค้าเกษตรเหล่านั้น จากประเทศเพื่อนบ้านในราคายุติธรรมในระบบ Contract Farming และส่งออกสินค้ามาไทยโดยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากไทย ทำให้เกิดการผลิตสินค้าโดยมีต้นทุนต่ำ เพราะค่าแรงและต้นทุนการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านต่ำกว่าไทย เช่น จังหวัดอุบลราชธานีของไทย ร่วมมือกับแขวงจำปาสักและแขวงสาละวันของลาว ตกลงทำ Contract Farming โดยจังหวัดอุบลราชธานีซื้อสินค้าเกษตรจากลาว 7 รายการ ซึ่งยกเว้นภาษีนำเข้าให้ลาว ได้แก่ กะหล่ำปลี กล้วยน้ำว้า เม็ดละหุ่ง ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วลิสง และมะขามเปียก มูลค่ารวม 800 ล้านบาท

ไทยจะได้รับประโยชน์จากการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูก มีหลักประกันในด้านปริมาณสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่แน่นอน และลดปัญหาจากการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายเข้าไทย ขณะเดียวกัน ส่งผลดีต่อประเทศเพื่อนบ้านจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และสร้าง รายได้ให้กับเกษตรกรของประเทศเพื่อนบ้าน

ในการประชุม ACMECS ครั้งนี้ ไทยจะเสนอให้ประเทศเพื่อนบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ไทยจะรับซื้อสำหรับใช้ผลิตพลังงานชีวภาพในไทย เป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้ให้เกษตรกรของประเทศเพื่อนบ้าน

(1) สรุปประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจาก ACMECS

(ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัด www.pcoc.moc.go.th)

เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบเกษตรของไทย โดยช่วยลดต้นทุนจากการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศที่สาม

สนองตอบการปรับโครงสร้างทางการเกษตรของประเทศ เนื่องจากพืชเป้าหมาย 10 ชนิด เป็น กลุ่มสินค้าที่ต้องปรับตัวให้อยู่รอดหรือปรับเปลี่ยนการผลิตที่มีความเหมาะสมในการย้ายฐานผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งได้เปรียบในเรื่องของแรงงานราคาถูกและพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก

จัดระบบเศรษฐกิจและลดปัญหาความมั่นคงบริเวณชายแดน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน และสามารถสร้างความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจของประชาชนตามแนวชายแดนได้อย่างเป็นรูปธรรมและสามารถวางแผนในการบริหารผลผลิตด้านการเกษตรภายในประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

(2) สรุปประโยชน์ที่ประเทศเพื่อนบ้านได้รับจาก ACMECS

(ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัด www.pcoc.moc.go.th)

ยกระดับคุณภาพการผลิตประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทยให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและการถ่ายโอนเทคโนโลยีการเพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลิตผลมีคุณภาพได้มาตรฐาน

สร้างงานให้ประชาชนตามแนวชายแดน และเพิ่มโอกาสการลงทุนธุรกิจต่อเนื่องด้านเกษตร ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวและสร้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด

พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานจำเป็น นำมาสู่การยกระดับสภาพแวดล้อมชุมชนและ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนตามแนวชายแดนในที่สุด

4.3 เรื่องเกี่ยวกับหลักการ มาตรการการค้า การลงทุน

4.3.1 หลักการค้าเสรี (Free Trade)

หลักปรัชญา หรือหลักการที่สำคัญของการค้าเสรีก็คือ “หลักความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ” (comparative advantage) หมายถึง หลักในการผลิตนั้น ประเทศผู้ผลิตต้องคำนึงถึงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ โดยดูที่ทักษะความสามารถ (skill) ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของ Ricardo เช่นกัน ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ที่มีประเทศไทยได้เปรียบเชิงพื้นที่ทำเลที่ตั้ง ต้องแบ่งการผลิตสินค้าให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีกำลังการผลิต และ มีสภาพเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างจากไทย ซึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยอาจอยู่ในเชิงที่เสียเปรียบอยู่มาก

แม้จะเป็นจุดเล็ก ๆ ในความร่วมมือระหว่างประเทศ โครงการความร่วมมือตามกรอบ ACMECS ก็ถือได้ว่า เป็นการนำหลักปรัชญาของการค้าเสรีมาใช้ ดังที่ได้ระบุไว้เป็นยุทธศาสตร์ข้อหนึ่งของกรอบความร่วมมือนี้ว่า “สนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการเคลื่อนย้ายภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (comparative advantage)” (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2548) ซึ่งถือได้ว่า “การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา” หรือ Contract Farming เป็นทางเลือกหนึ่ง (Means) ที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดการค้าเสรีขึ้นมาให้ได้ ตามแนวทางของกระแสโลก (New World Orders)

4.3.2 โครงการการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ASEAN Integration System of Preferences : AISP)

ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมโดยไม่มีการเจรจา ต่อรอง มีกรอบระยะเวลาการดําเนินโครงการ 8 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ซึ่งครบกำหนดเวลาไปแล้ว สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรนี้ หากจะเทียบก็เหมือนกับ GSP = Generalized System of Preferences คือ ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะต้องยอมรับว่า ประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาว กัมพูชา มีระดับการครองชีพที่ต่ำกว่าไทย ฉะนั้น จึงเกิดปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมามากมาย การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าว อาจช่วยลดปัญหาความแตกต่างทางสังคมดังกล่าวลงได้บ้าง

เหตุผลการให้ AISP ก็คงเหมือน GSP กล่าวคือเพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านโดยตรง ซึ่งประเทศเหล่านี้ก็จะสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น เมื่อมีรายได้มากขึ้นก็จะนำเงินย้อนกลับไปซื้อสินค้าของไทยมากขึ้น แนวคิดนี้คือ แทนที่ประเทศไทยจะให้เงินช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านไปอาจจะสูญสลายไปหรือไม่กลับคืนมา แต่การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ทำให้ประเทศไทยได้สินค้าที่หลากหลายมากขึ้น และขณะเดียวกันก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีกำลังซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านได้ในทางทางอ้อมนั่นเอง ตามหลักการของ GSP ดังนี้

วัตถุประสงค์ของ GSP

1. เพิ่มรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศกำลังพัฒนา

2. ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา

3. เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

GSP มีพื้นฐานอยู่บนหลักการ 3 ประการ

1. เป็นการให้โดยทั่วไป

2. ไม่เลือกปฏิบัติ

3. ไม่หวังผลตอบแทน

4.3.3 มาตรการให้ AISP ส่งเสริม Contract Farming

ไทยสามารถนำเข้าผลผลิตที่เพาะปลูกได้จากโครงการ Contract Farming ในลาวและประเทศสมาชิก ACMECS อื่นๆ โดยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า (ภาษี 0 % ) และไม่ต้องมี ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin: C/O) (แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้นําเข้าติดต่อขอลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นหลักประกันว่าสินค้านั้น ๆ มิใช่สินค้ามาจากประเทศอื่น เช่น สินค้าเกษตรบางอย่างอาจมีการทะลักมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ อาทิ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง) การทำ Contract Farming จึงได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยมากขึ้นเป็นลำดับ

กลุ่มสินค้าเกษตรที่อยู่ภายใต้โครงการ กลุ่มพืชไร่เศรษฐกิจ 10 ชนิด ที่มีความเหมาะสมในการย้ายฐานการลงทุน ต้องใช้แรงงานเก็บเกี่ยวจำนวนมาก และเป็นพืชที่ต้องนำเข้าจากประเทศที่สาม ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง ข้าวโพดหวาน มันฝรั่ง มะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยูคาลิปตัส ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน ซึ่งเป็นกลุ่มพืชที่รัฐบาลยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้กรอบ AISP (พม่า ลาว กัมพูชา) และ กลุ่มพืชพลังงาน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย (สำหรับประเทศพม่า) (http://www.ssmwiki.org/)

สำหรับพม่า ในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากพม่าซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรทั้งในรูปของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences – AISP) และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 461 รายการ และเพิ่มเป็น 850 รายการในปี 2548

ในปี 2550 รวมทั้งสิ้น 1,539 รายการ (ตำรวจภูธรภาค 7 http://aseansummit.police7.go.th/)

4.3.4 การนำเข้าตามการเปิดตลาดตามข้อผูกพันของ WTO

(สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง http://www.ladkrabangcustoms.com/index.php)

สำหรับสินค้าเกษตร 22 รายการ เฉพาะนอกโควต้า สินค้าเปิดตลาดตามข้อผูกพัน WTO มีคณะกรรมการและหน่วยงานที่กำหนดนโยบายการนำเข้าและกำกับดูแลโควตา (โดยปกติจะจัดสรรโควตาปีละ 1 ครั้ง) คือ

เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่, หอมหัวใหญ่, กระเทียม, มันฝรั่ง, เมล็ดกาแฟ, กาแฟสำเร็จรูป, ชา, พริกไทย, ลำไยแห้ง, มะพร้าว, เนื้อมะพร้าวแห้ง, น้ำมันมะพร้าว, ถั่วเหลือง, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม, น้ำนมและนมปรุงแต่ง, นมผงขาดมันเนย, เส้นไหมดิบ, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, กากถั่วเหลือง, ข้าว, น้ำตาลทราย

ภายใต้ความตกลงว่าด้วยสินค้าเกษตร (Agreement on Agriculture) ภายใต้ WTO ประเทศไทยจะต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตรจำนวน 23 รายการ ให้แก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งลาวและกัมพูชาซึ่งได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกัน ตามที่ได้ผูกพันไว้ โดยมีหลักการ คือ (1) ต้องลดภาษีสินค้าเกษตรทุกรายการตามที่ได้ผูกพันไว้ (ตั้งแต่ปี 2538-2547) (2) ต้องยกเลิกมาตรการห้าม หรือจำกัดการนำเข้าที่มีใช่ภาษีโดยให้กำหนดเป็นโควตาภาษี (3) ลดการอุดหนุนภายในและการอุดหนุนการส่งออก

ในกรอบ ACMECS การนำเข้าตามการเปิดตลาดตามข้อผูกพันของ WTO สำหรับสินค้าเกษตร 22 รายการ เฉพาะนอกโควต้า ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจะต้องขออนุญาตในการนำเข้า จึงจะต้องขอหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการค้าต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ

ซึ่งสินค้าจำนวน 22 รายการนี้ มีข้อสังเกตว่าบางรายการซ้ำกับสินค้า 10 รายการที่ประเทศไทยให้ AISP แก่ประเทศเพื่อนบ้าน รวม 3 รายการ คือ มันฝรั่ง ,ถั่วเหลือง ,ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก็หมายความว่าเป็นกรณีนอกโควต้า เพราะ หากเป็นสินค้าที่ได้ AISP ต้องเป็นกรณีนอกโควต้า

4.4 เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

4.4.1 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.)

แต่เดิมพบว่า คณะกรรมการชุดนี้ แต่งตั้งขึ้นตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ.2538 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2538 (ลงนามโดยนายชวน หลีกภัย) ข้อ 3 ประกอบข้อ 8 ซึ่งต่อมาถูกยกเลิกโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ.ศ.2546 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2546 (ลงนามโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และต่อมามีการปรับปรุงและแต่งตั้ง “กพบ.” ใหม่ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506/3839 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552 เรียนเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่นายกฯมอบหมาย รองประธานฯ และเลขาธิการ สศช. เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้ “รมว.การท่องเที่ยวและกีฬาเป็นกรรมการเพิ่มเติม”

อำนาจหน้าที่ของ กพบ. มีอยู่ 5 ข้อ คือ

1. กำหนดทิศทาง นโยบาย และยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการพัฒนาภายในประเทศเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้กรอบความร่วมมือของแผนงาน GMS, ACMECS, IMT-GT และ BIMSTEC ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ เพื่อความมั่นคง สันติสุข และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค

2. เสนอแนะแนวทางให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ เพื่อสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจของประเทศในอนุภูมิภาค

3. พิจารณา กลั่นกรอง และบูรณาการแผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

4. กำกับดูแล และประสานการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีเอกภาพ และเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดของแผนงานความร่วมมือในกรอบต่าง ๆ รวมทั้งให้มีการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานภายใต้กรอบต่าง ๆ

5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือ หรือปฏิบัติงานในเรื่องใดได้ตามความเหมาะสม

ตามอำนาจหน้าที่ ข้อ 1 ได้กำหนดชื่อกรอบความร่วมมือของแผนงานไว้เพียง 4 กรอบ คือ GMS, ACMECS, IMT-GT และ BIMSTEC ซึ่งกรอบ ACMECS ก็ได้มีการระบุกำหนดไว้โดยชัดแจ้ง

บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 5.1 บทสรุป ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economics Co-operation) ถือเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามหลัก “การค้าเสรี” (Free Trade) จากยุคพาณิชย์นิยม (Mercantilism) Adam Smith ปรากฏว่า ประเทศนักล่าอาณานิคมต่าง ๆ ก็หันมาทำการค้าโดยการมุ่งผลิตเพื่อขายให้มากที่สุด ทำให้ยุคต่อมาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เกิดในอเมริกาเหนือและยุโรป ในปี ค.ศ. 1929 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และแพร่สะพัดความสูญเสียไปยังนานาประเทศทั่วโลก การเกิด “การค้าเสรี” ไม่สามารถเป็นไปได้ทางปฏิบัติ ฉะนั้น จึงหันมาส่งเสริมให้เกิดการค้าเสรีแบบใหม่ โดยการก่อตั้งองค์การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Organization=ITO) ขึ้น ในที่สุดก็ได้มีข้อตกลง GATT (General Agreement on Tariffs and Trade) หรือ ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ในปี 1947 และพัฒนามาจนเกิดเป็นองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization=WTO) ในการประชุม GATT รอบที่ 8 รอบอุรกวัย ที่เมืองมาราเกซ ประเทศมอรอคโค เมื่อปี 1994 ประเทศไทยได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากเป็นหน้าด่านรับกระแสการแผ่ขยายทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศจีน และประเทศอินเดีย ซึ่งถือเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ (BRICS=Brazil Russia India China South Africa emerging market) ที่มีศักยภาพทางด้านการผลิตมาก เนื่องจาก มีทรัพยากร และกำลังแรงงานการผลิตที่เหลือเฟือ นอกจากนั้น ยังเป็นตลาดรองรับกำลังการผลิตแก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ด้วย และปัจจุบัน ประเทศไทยส่งสินค้าเข้าประเทศจีนมากเป็นอันดับสองของ ASEAN ฉะนั้น แนวโน้มในอนาคต ตลาดการค้าต้องพัฒนาไปยังแหล่งที่มีลูกค้า(ผู้บริโภค)ที่มีมาก เช่น จีน อินเดีย หรือแม้กระทั่งอินโดนีเซีย เป็นต้น และใน1 มกราคม 2558 (2015) ก็จะเกิด AEC=ASEAN Economics Community หรือ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ซึ่งถือเป็นการพัฒนารูปแบบการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง และ ก่อนจะถึงปี 2558 ประเทศไทยต้องเตรียมตัวปรับโครงสร้างรองรับไว้ โดยเฉพาะด้านกฎหมาย “การค้าและการลงทุน” เช่นในเรื่อง MFN , NT และอาจจะรวมไปถึงกฎหมาย “สิทธิมนุษยชน” และ “สิ่งแวดล้อม” ควบคู่กันไปตามกระแสโลก (New World Orders) ด้วย จากการศึกษากรอบยุทธศาสตร์ ACMECS เบื้องต้น พบว่า ประเทศไทยได้เปรียบในเรื่องที่ตั้งภูมิประเทศ ทำให้มีโอกาสในการค้าและการลงทุนกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์นี้ จากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาว และ กัมพูชา เพื่อลดการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทย จึงเกิดโครงการ “การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา” หรือ Contract Farming ขึ้น และประเทศไทยก็เคลื่อนย้ายฐานการผลิตภาคการเกษตรไปในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน แม้โครงการนี้จะดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ความต่อเนื่องของโครงการก็ยังไม่สมบูรณ์ ด้วยประสบปัญหาอุปสรรคขัดข้องต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงได้พยายามศึกษาจากผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีการนำมาตรการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร หรือ AISP เพื่อลดภาษีสินค้าเกษตรนำเข้าให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมีความซ้อนกันระหว่าง ACMECS และ GMS จึงทำให้โครงการ “การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา” หรือ Contract Farming สามารถที่จะดำเนินการไปได้อย่างไม่ยากนัก เพียงแยกกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือเท่านั้น 5.2 ข้อเสนอแนะ (1) มีข้อท้วงติงเรื่องการไปใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยเอง ยังไม่มีการใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ยังมีที่ว่างที่มิได้ใช้ประโยชน์หลงเหลืออยู่อีกมาก ฉะนั้น การเข้าไปดำเนินการโครงการ “การลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา” หรือ Contract Farming ในประเทศเพื่อนบ้าน จึงถือว่า ยังไม่เหมาะสมนัก เพราะ ทำไมไม่รณรงค์ส่งเสริมดำเนินการ Contract Farming ภายในประเทศจะดีกว่า เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม การดำเนินการสัญญาแบบประกันราคาพืชผลแก่เกษตรกรไทย จึงเป็นสิ่งที่ดีมาก (2) กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดทำผังประเทศไทย พ.ศ. 2600 รายงานสรุปว่าในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมสูงเพิ่มขึ้นทั้งสัดส่วนและมูลค่า 8 – 9 % (ปี 2546-2547) ภาคบริการเพิ่มขึ้น 6 % (ปี 2547) และ ภาคการเกษตรลดน้อยลง แม้ว่าจะมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นก็ตาม ในปี 2547 การเกษตรลดลง 4 % ทำให้มองเห็นว่าประเทศไทยมีการเจริญเติบโต (Growth) แต่อาจไม่มี GDH=Gross Domestic Happiness หรือ ดัชนีวัดความสุข กล่าวคือ สังคมมีแต่เสื่อมแย่ลง ไม่ค่อยมีความสงบสุข ฉะนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นการค้า หรือ การลงทุน ควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วย (3) ธนิต โสรัตน์ (2548) ได้ศึกษาไทยกับโอกาสเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ไม่ว่าจะเป็น GMS และ ACMECS ล้วนแต่เกื้อกูลและสนับสนุนต่อการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ การไม่มีความเป็นบูรณาการในการประสานงานของหน่วยงานของรัฐ โดยเสนอแนะให้มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ เพื่อเป็นแกนกลางในการจัดทำและติดตามแผนงาน และโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ นอกจากนี้จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับความหวาดระแวงและการไม่ร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเสนอแนะให้ภาครัฐจะต้องสร้างเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน บนพื้นฐานของการใช้หลักเศรษฐศาสตร์และการเมือง โดยการให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน และเกี่ยวกับเส้นทางขนส่ง เพื่อให้เกิดการพึ่งพาและเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการยอมรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทยในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (4) อิศราวดี ชำนาญกิจ( 2554) กล่าวถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินโครงการ Contract Farming ทั้งเรื่องของเงินสกุลดอลล่าร์ที่กำลังอ่อนตัว เรื่องของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ BRICs (Brazil Russia India China) ที่น่าจับตา โดยเฉพาะประเทศจีน ที่มีภาคการผลิตขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันอยู่ในอันดับสองของโลก (รองจากอเมริกา เบียดญี่ปุ่นไปอยู่อันดับสามได้สำเร็จ) และปริมาณการผลิตโดยเฉพาะชิ้นส่วนรถยนต์สูงมากๆ ทำให้จีนได้เปรียบด้านราคา หลายองค์กรจึงต้องจับตาดูและประเมินสถานการณ์บ่อยๆ เพื่อปรับกลยุทธ์ให้สามารถแข่งขันกับจีนได้แบบไม่เจ็บช้ำมากนัก หรือหาทางร่วมมือไปเลย

บรรณานุกรม

กฎหมาย

Universal Declaration of Human Rights

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520

เอกสารวิชาการ บทความ ข่าว หนังสือพิมพ์ วารสาร

คฑาประชาชน(นามแฝง). “ผลกระทบจากโครงการ Contract Farming ต่อประชาชนในพม่า.” 21 กรกฎาคม 2551 [Online]., Available URL : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=289288

โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) โดยการสนับสนุนของ (สกว). “บทความเรื่อง การค้าชายแดน การเชื่อมสัมพันธ์ตามรอยตะเข็บ.” มปป. [Online]., Available URL : http://www.budutani.com/article/article10.html

โครงการวิจัยไทย (Thai Research Project) มูลนิธิส่งเสริมสันติวิธี (Peaceway Foundation). “ผลกระทบจากโครงการ Contract Farming ต่อประชาชนในพม่า.” 25 กรกฎาคม 2551. [Online]., Available URL : http:// www.thaingo.org/writer/view.ph?id=834

จังหวัดตาก. “การจัดการองค์ความรู้ด้านการค้าชายแดน.” [Online]., Available URL :

www.tak.go.th/km/datawww/webnew/k/manamane.doc

ชุตินันท์ พันธ์จรุง. “Contract Farming โครงการที่ควรสานต่อ เอื้อประโยชน์ต่อการค้าชายแดน ลาว กัมพูชา พม่า สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้น.” ข่าวมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15 มิถุนายน 2553. [Online]., Available URL :

http://www.news.kku.ac.th/kkunews/content/view/5034/59/

ณัฐพร กาสุวรรณ. “การค้าชายแดนหรือการค้าผ่านแดน(CROSS BORDER).” บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม สาขาการจัดการโลจิสติกส์, 27 กรกฎาคม 2553. [Online]., Available URL : http://praruttanatri.com/LGM651/wb/viewthread.php?tid=203

ตำรวจภูธรภาค 7. “สหภาพพม่า Union of Myanmar.” [Online]., Available URL : http://aseansummit.police7.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=52

ธีรยุส วัฒนาศุภโชต. “สงครามปฏิวัติวงการธุรกิจเกษตร.” ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4128, 3 สิงหาคม 2552 . [Online]., Available URL : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q3/2009august03p3.htm

นิยม ไวยรัชพานิช. “เอกสารคำบรรยายการค้าชายแดน.” สภาหอการค้าแห่งประเทศ, 21 พฤษภาคม 2550.

ปทิตตา ไชยปาน. “ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย พม่า.” 8 กรกฎาคม 2554. [Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/patitta/473799

พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์. “หน้าที่ของรัฐต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ.” 1 กรกฎาคม 2554. [Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/interecon/472393

วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุล. “ความรู้เบื้องต้น : สัญญาฟาร์มประกัน : CONTRACT FARMING.” 26 สิงหาคม 2552. [Online]., Available URL : http://www.gotoknow.org/blog/internationtrade/291182

ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัด. “แผนลงทุน Contract Farming ปี 2549-2550.” [Online]., Available URL : pcoc.moc.go.th/pcocsys/uploadfile/42/doc/แนวคิด%20นโยบาย%20CF.doc

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. “ACMECS : ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย & อินโดจีน (Ayeyawady – Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS).” กระแสทรรศน์ (www.kasikornrese), ปีที่ 11 ฉบับที่ 1810, 1 พฤศจิกายน 2548. [Online]., Available URL : suriya.mukcc.ac.th/files/14939.doc

สิทธิชัย ฝรั่งทอง. “ผ่าระบบเกษตรพันธสัญญา.” 2 มิถุนายน 2554. [Online]., Available URL : www.bangkokbiznews.com/

สุรศักดิ์ เจือสุคนธ์ทิพย์."การสัมมนาเรื่องไทยกับประเทศเพื่อนบ้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสู่อนาคต." กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, 3 มิถุนายน 2553. [Online]., Available URL : www.eastasiawatch.in.th/downloads/files/Surasak_Presentation.ppt

อิซาเบล เดลฟอร์ช. “เกษตรพันธสัญญา : จากไร่นาสู่ห่วงโซ่อาหารจานด่วน และซูเปอร์มาร์เกต.” 23 ตุลาคม 2552. [Online]., Available URL : http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=219

อิศราวดี ชำนาญกิจ. “แนวโน้มเศรษฐกิจโลก2011.” 8 กุมภาพันธ์ 2554. [Online]., Available URL : http://www.gotoknow.org/blog/best-training/424839

โอระยอง(นามแฝง) ใน เวบลุงคิม. “การเกษตรแบบมีพันธสัญญาContract Farming)ของไทยในGMS.” 22 ตุลาคม 2552. [Online]., Available URL : http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=219

รายงานการวิจัย รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์

ธนิต โสรัตน์. “ไทยกับโอกาสเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง.” วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเมือง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

พรพิมล ทองธรรมชาติ. “ธุรกิจข้าวโพดฝักอ่อนภายใต้การทำสัญญาฟาร์มแบบมีข้อตกลง”วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550.

พัชรพล จงไพบูลย์กิจ. “การค้าชายแดนไทย-พม่าในบริบทของกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง.” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต(พัฒนามนุษย์และสังคม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. [Online]., Available URL : http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082548000067

รัศมี เสาร์คำ. “ความพึงพอใจของเกษตรที่มีต่อการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังแบบมีสัญญาผูกพันกับบริษัทเอกชน ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่.” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.

วไลลักษณ์ ตรันเจริญ. "การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการเลี้ยงสุกรขุนภายใต้การทำสัญญาข้อตกลง." วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตรธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.

สุดใจ จงวรกิจวัฒนา. “เกษตรพันธสัญญาเพื่อบรรเทาความยากจน (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่).” ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549. [Online]., Available URL : http://service.moac.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3943

สุรพล เศรษฐบุตร และดุษฎี ณ ลำปาง. “ระบบการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาในกรอบยุธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) กรณีศึกษาจังหวัดตาก.” คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2551.

หนังสือ

ธนสร สุทธิบดี และ แพรวพรรณ หลายปัญญา. เอกสารประกอบคำบรรยาย กฎหมายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ LA717. หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ภาค 1 ปีการศึกษา 2554.

วัลย์ลดา วิวัฒน์พนชาติ. “กฎหมายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (LA717) (ภาพรวมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ).” เอกสารประกอบคำบรรยาย กฎหมายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ LA717. หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ภาค 1 ปีการศึกษา 2553.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ และ สมบูรณ์ ศิริประชัย (บรรณาธิการ). “หนึ่งศตวรรษ WTO.” เอกสารวิชาการ ทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), กุมภาพันธ์ 2551.

เวบไซต์

เวบไซต์ ACMECS อย่างเป็นทางการ http://www.acmecs.org/

เวบไซต์ ACMECS ประเทศไทย http://www.acmecsthai.com/

เวบไซต์กฎหมายไทย http://www.thailaws.com/

เวบไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ http://www.moac.go.th/

เวบไซต์ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (TKC e-Thesis) http://www.tkc.go.th/thesis/

เวบไซต์ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/

เวบไซต์รวมลิงค์กฎหมายไทย http://www.lawamendment.go.th/totallink.asp

เวบไซต์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://search.library.tu.ac.th/ipac20/ipac.jsp?profile=pridi#focus

เวบไซต์ศูนย์บริการช่วยสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

http://isc.ru.ac.th/

เวบไซต์ศูนย์ศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(International Cooperation Study Center : ICSC) http://www.apecthai.org/

เวบไซต์สถานีความรู้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

http://www.ssmwiki.org/index.php/Contract_Farming)

เวบไซต์ส่วนพัฒนาความร่วมมือภาคเอกชนและกิจการพิเศษ สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย

http://www.jpp.moi.go.th/

เวบไซต์สำนักกฎหมายสวัสดิ์ธรรม http://www.lawthai.org/

เวบไซต์สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง http://www.ladkrabangcustoms.com/index.php

เวบไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี http://www.cabinet.thaigov.go.th/main.asp

เวบไซต์ห้องสมุดออนไลน์ https://history.myfirstinfo.com/

เวบไซต์หอการค้าไทย http://www.thaichamber.org/ or

http://www.facebook.com/ThaiChamber?v=info

เวบไซต์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม http://www.library.coj.go.th/

Siros Tongchure [IP: 129.180.64.122] 02 สิงหาคม 2554 07:19

Dear Sirs,

Are there any contract farmings between the farmers of cassava and the ethanol processors in Thailand?

I would like to know about contract farming in Thailand krab

Best Regards,

Siros Tongchure

alternative e mail: [email protected]

มันสำปะหลังบุกนา ยางพาราบุกป่า ที่ป่าภูขาม 2 กรกฎาคม 2552 ภูขามเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ที่เป็นป่าทั้งสิ้นประมาณ 2,600 ไร่ มีความสูงประมาณ1,500 เมตร ตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างอำเภอเขมราฐ กับ อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานีเป็นภูเขาที่แบ่งเขตตำบลหัวนา อำเภอเขมราฐ กับ ตำบลหนองทันน้ำ อำเภอกุดข้าวปุ้น http://aansurin.blogspot.com/feeds/posts/default สภาพพื้นที่ป่าภูขามอันอุดมสมบูรณ์ กระแสของการปลูกพืชเศรษฐกิจแผ่วเบาลงไปมากพอสมควรหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่อเมริกา แล้วลุกลามกระจายออกไปทั่วโลก ยังผลให้ราคาน้ำมันดิบตกต่ำ ราคาน้ำมันในบ้านเราเองก็ถูกลงเป็นอันมาก วิกฤติเศรษฐกิจและน้ำมันถือเป็นตัวแปรสำคัญที่นำมาสู่การผ่อนกระแสพืชเศรษฐกิจทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มัน ยางพารา ข้าวโพด และพืชอีกหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามชุมชนจำนวนมากในพื้นที่ภาคอีสานยังคงดำเนินวิถีเศรษฐกิจการเกษตรไปแบบยากที่จะถอดถอนตนเองออกจากระบบเกษตรแผนใหม่ที่ยังคงรุกประชิดติดเขตแดนฐานทรัพยากรชุมชน แนวปลูกมันเข้าประชิดเขตป่า สภาพการถางป่าหัวไร่ปลายนา ทีขอบป่าภูขาม ที่ป่าภูขาม ณ ตำบลหนองทันน้ำ อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่สะท้อนเรื่องราวเสมือนนิยายเรื่องเดิมที่ต้องกล่าวถึงซ้ำแล้วซ้ำเล่าและยังไม่มีที่ท่าว่าจะจบลงโดยง่าย สิ่งที่พบเห็นในพื้นที่ป่าชุมชนภูขามอันอุดมสมบูรณ์ คือสภาพของการบุกเบิกที่ดินชายป่า ตัดต้นไม้ ไถหน้าดิน เผาตอ เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับการปลูกมันสำประหลังและยางพารา หลักคิดเดิมเดิมของการส่งเสริมการเกษตรภาครัฐ ยังคงปรากฏให้เห็นและจับต้องได้ ก็คือการถางให้เรียบ เผาให้ราบ แล้วก็หาซื้อปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาใช้ให้เต็มที่ ความคิดในมิติของนิเวศการเกษตรและการพึ่งพาระบบธรรมชาติไม่เคยมีอยู่ในหัวของข้าราชการกระทรวงเกษตรเลยนับตั้งแต่ก่อตั้งหน่วยงานนี้มาจนถึงปัจจุบัน จึงแทบไม่ต้องถามว่าป่าชุมชนภูขาม ป่าหัวไร่ปลายนา และพื้นดินอันอุดมถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด การตัดต้นไม้เพื่อเปิดพื้นที่ปลูกมันสำประหลัง มันสำประหลังบนซากต้นไม้ สำหรับการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่พบว่าเกษตรกรขยายพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพราะว่าราคามันสำประหลังมีราคาดีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ปี๒๕๔๖ จนถึง ปี๒๕๕๐ แต่ปัจจุบันมันสำประหลังราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่องเกษตรกรทั่วไปจึงต้องประสบปัญหาขาดทุน และภาครัฐยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น มันสำปะหลังจึงเป็นสถานการณ์ปัญหาที่หนักมาก ไม่ต่างไปจากปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นมาก่อนในพื้นที่ภูขามนั้นก็คือยางพารา ประเด็นก็คือผลพวงจากนโยบายส่งเสริมการปลูกยางพาราในยุครัฐบาลทักษิณ (ปี๒๕๔๗-๒๕๔๙) ได้เริ่มออกดอกออกผล ยางพาราในพื้นที่ภูขามจำนวนมาก “ออกดอกออกผล” จริงดังคำกล่าว แต่ว่าการออกดอกดังกล่าวเกิดจากกล้าพันธุ์ยางพาราคุณภาพต่ำ ซึ่งเกษตรกรได้มาจากรัฐ โดยสำนักงานกองทุนสงค์เคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ที่มี “ซีพี” หรือ (บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์) ทำหน้าที่ผลิตกล้ายางให้ ยางพาราออกดอกหรือยางตาสอยคือยางพาราที่ได้จากการนำกิ่งพันธุ์ที่มีอายุมาก ดังนั้นยางดังกล่าวจึงไม่มีคุณภาพ ให้น้ำยางน้อย ไม่ต้านทานโรค ไม่เจริญเติบโต เกษตรกรที่ปลูกยางตาสอยจึงไม่มีโอกาสแม้แต่จะถอนทุนคืน ยางตาสอย ยางออกดอกพื้นที่ป่าภูขาม ภายหลังจากที่ขบวนการชาวบ้านเข้าไปมีบทบาทบริหารจัดการในรูปของป่าชุมชน ก็ทำให้สภาพโดยรวมมีการฟื้นฟูจนเกิดความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาก มีชาวบ้านจำนวนมากพบเห็นสัตว์หลากชนิดในพื้นที่ป่ามากกว่าอดีตที่ผ่านมา มีการฟื้นฟูโดยการปลูกพืชพันธุ์หลายชนิด มีการสร้างระบบระเบียบแบบแผนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ข้อกังวลใจสำคัญก็คือ กระแสการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบการส่งเสริมพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้า ใช้สารเคมีเข้มข้น ใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกชุมชน ทั้งยังต้องใช้เงินทุนสูง จะส่งผลทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของป่าภูขามมากเพียงไร และชุมชนจะสามารถตั้งแนวรับหรือจะตอบโต้อย่างไรต่อกระแสทุนที่กำลังโถมซัดรุนแรง แถมยังมีการปรับสภาพปรับรูปโฉมต่างจากอดีดที่ผ่านมาเป็นอันมาก ++++++++++++++++++++++++++++ รายงานผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีที่หนึ่ง (วันที่ 30 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2552) http://www.culture.go.th/subculture9/images/stories/files/aboutus/r10.pdf ๔.๔ การตลาด การค้า และการส่งเสริมการลงทุน ๔.๔.๑ การตลาดและการค้า รัฐบาลได้กระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตที่เกิดขึ้นจากภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก โดยดำเนินการส่งเสริมการส่งออกเพื่อรักษา ตลาดหลักและขยายตลาดใหม่ พัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้า ส่งเสริมธุรกิจบริการใหม่เพื่อให้การค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค ส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจการผลิตและบริการในต่างประเทศ พัฒนาย่านการค้านานาชาติ สนับสนุนให้ผู้ส่งออกใช้ประโยชน์จากการเจรจาและข้อตกลงทางการค้าอย่างเต็มที่ และสนับสนุนการลดต้นทุนโลจิสติกส์ ทั้งนี้ ได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นการส่งออกปี ๒๕๕๒ จำนวน ๕ มาตรการ เพื่อแก้ปัญหาการส่งออก ได้แก่ (๑) มาตรการด้านสินค้า โดยการนำนวัตกรรม งานวิจัยและพัฒนาจากสถาบันต่าง ๆ มาจัดงานนิทรรศการร่วมกับงานแสดงสินค้าของรัฐบาล เพื่อทำให้เกิดผลเชิงพาณิชย์ และเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างตราสัญลักษณ์ ให้กับสินค้าไทย และดำเนินการครัวไทยสู่ครัวโลกฉบับสมบูรณ์ (๒) มาตรการด้านราคาต้นทุนสินค้า โดยลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก เพิ่มวงเงินสินเชื่อและการค้ำประกันความเสี่ยงในการส่งออกผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย การผลักดันสินค้าเข้าสู่ระบบการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) และการดูแลต้นทุนด้านโลจิสติกส์ (๓) มาตรการด้านตลาด โดยการรักษาตลาดเก่าให้เข้มแข็งผ่านโครงการ Thailand Best Friend การนำคณะนักธุรกิจไทยไปเจรจาในต่างประเทศ (Road Show) เพื่อสร้างความเชื่อมั่น กับต่างประเทศ การบุก ตลาดใหม่ผ่านโครงการตลาดใหม่สำหรับผู้ส่งออก (New Market for Exporters) และการเตรียมการขายผลไม้ล่วงหน้าก่อนฤดูกาล เป็นต้น (๔) มาตรการด้านการสื่อสารและสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย โดยเร่งประชาสัมพันธ์โครงการไทยแลนด์แบรนด์ (Thailand’s Brand) และประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ (๕) มาตรการเร่งด่วนแก้ไขการขาดคำสั่งซื้อชั่วคราวของผู้ส่งออก โดยจัดงานแสดงสินค้าเมดอินไทยแลนด์ (Made in Thailand) ในกรุงเทพมหาคร และจัดงานมหกรรมการค้าลุ่มแม่น้ำโขงปี ๒๕๕๒ ในภูมิภาค ผลจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว แม้จะไม่ทำให้การส่งออกพลิกฟื้นขึ้นมาได้โดยทันที แต่เริ่มส่งผลในแง่บวก ทำให้ยอดส่งออกของไทยที่ติดลบอย่างมากในช่วงต้นปี มีแนวโน้มที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา และถึงแม้ว่าภาวะการแข่งขันในตลาดโลกจะมีอยู่ในระดับที่สูง แต่ละประเทศมีแนวโน้มการนำเข้าที่ลดลง แต่ สินค้าไทยยังคงสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดที่สำคัญ ๆ ไว้ได้ และยังสามารถขยายส่วนแบ่งสินค้าไทยในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น

ลอง search ดู ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องหรือไม่

 

การทำ CONTRACT FARMING ในประเทศไทย (มิใช่ต่างประเทศในกรอบความร่วมมือ GMS หรือ ACMECS) มีอยู่แถวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เท่าที่ทราบบ.หัวหอกยักษ์ใหญ่ด้านการเกษตรก็คือ บ.เครือ CPเจริญโภคภัณฑ์

 

(การเพาะขยายพันธุ์พืชและปรับปรุงพันธุ์พืช ประเภท 1.1 ของบีโอไอ อยู่ในบัญชีสาม (20) ตามบัญชีท้ายของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่คนต่างด้าวสามารถประกอบการได้หากได้รับอนุญาต แต่กรณี Contract Farming พืชจัดเป็นการทำนา ทำไร่ หรือทำสวนในบัญชีหนึ่ง (2) ทำนองเดียวกับ Contract Farming สัตว์ที่จัดเป็นการเลี้ยงสัตว์ตามบัญชีหนึ่ง (3) ที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบการด้วยเหตุผลพิเศษ โดยต่างเป็นกิจการตามบัญชีหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า คนต่างชาติ หรือนิติบุคคลต่างชาติจะมีหุ้นอันเป็นทุน หรือลงทุนได้น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด)

 

“เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เกษตรพันธะสัญญาและรับจ้าง” สู้สัญญาที่ไม่เป็นธรรมและสวัสดิการที่ไม่เคยได้รับจากรัฐและนายทุน

http://sathai.org/story_thai/009-Contract%20Farming%20Net.htm http://www.songkhlahealth.org/paper/870

16 พฤษภาคม 2550 สุเมธ ปานจำลอง โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร

เกษตรพันธะสัญญา 4 พื้นที่ภาคอีสาน กลุ่มเกษตรกร 4 ภาคผู้ประสบปัญหาในการทำเกษตรแบบครบวงจรหรือเกษตรแบบพันธะสัญญาใน 6 กลุ่มอาชีพทั่วประเทศ ประกอบด้วย

 

(1)กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง

(2)กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่

(3)กลุ่มผู้เลี้ยงหมู

(4)กลุ่มผู้ปลูกอ้อย

(5)กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดผักอ่อน

(6)กลุ่มปลูกยางพารา และกลุ่มผู้ใช้แรงงานรับจ้างในไร่อ้อย

 

ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเสนอผลกระทบและปัญหาที่มีต่อเกษตรกร รวมทั้งเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของบริษัทและนายทุนที่มีต่อเกษตรกรผู้ผลิตและแรงงานรับจ้าง ตั้งแต่การพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมายแรงงาน การไม่ต้องแบกรับภาระความเสี่ยงทั้งการลงทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องสัญญาที่บริษัทและนายทุนได้ทำร่วมกับเกษตรกรและแรงงานรับจ้าง

++++++++++++++++++++++++

cassava and the ethanol processors in Thailand  "Full Chain Energy Analysis of Fuel Ethanol from Cassava in Thailand," 2007.

 

THU LAN THI NGUYEN, SHABBIR H . GHEEWALA, AND SAVITRI GARIVAIT

The Joint Graduate School of Energy and Environment, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Bangkok, Thailand. 

 

http://www.thaiscience.info/Article%20for%20ThaiScience/Article/4/Ts-4%20full%20chain%20energy%20analysis%20of%20fuel%20ethanol%20from%20cassava%20in%20thailand.pdf

++++++++++++++++++++++++++++

Our Cassava Products

 

http://www.agro2.com/our-cassava-products/

 

"Cassava has more than 26 different names in local dialects from Southeast Asia to Central America."

 

Cassava, manioca, manihot, yuca, tapioca—Manihot esculenta is a starchy tuberous vegetable native to South America. It's known by more than 26 different names worldwide. The root is used in an array of foods like flour, chips, bread, pastries and more. This plant is more popular than ever because besides tasting delicious, it has excellent nutritional value. Local demand for this delicious crop is growing every day—from an excellent substitute for imported wheat flour to the waxed root, which is excellent in home cooking, to the peeled root that is popular with food processors. While cassava is well established as a food source, we believe it has another exciting application—as a high-grade ethanol fuel source. Its production costs are low, while its high conversion rates set it ahead of sugar cane, wheat, and even corn. We produce for local and export markets, working to promote new varieties of the plant. We work with several international partners, including our membership with CLAYUCA, a division of the International Center for Tropical Agriculture (CIAT).

 

Our products include:

Ethanol

Flour Peeled and

Waxed Cassava

 

We are also exploring other production.

 

++++++++++++++++++++++

รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (มกราคม ๒๕ ๕๒ - มิถุนายน ๒๕๕๓) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

www.moac.go.th/article_attach/apisit03_060.doc

 

๔.๒.๑. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (ภาคเกษตร)

 

๔.๒.๑.๑ เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร

เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็น พัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร รวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร

 

๑๑. การทดสอบและพัฒนาการปลูกพืชทดแทนพลังงานเพื่อผลิตไบโอดีเซลและเอทานอล

ดำเนินการภายใต้แผนการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในด้านพลังงาน ลดภาวะวิกฤติของการขาดแคลนพลังงานน้ำมัน และภาวะโลกร้อน โดยการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการวัตถุดิบด้านพืชที่ใช้ในการผลิตพลังงาน จำนวน ๓ รูปแบบ คือ

 

๑) เทคโนโลยีการผลิตอ้อยพันธุ์สะอาด ลดเชื้อโรคใบขาวโดยวิธีชุบน้ำร้อนแบบ Dual Hot Water Treatment และโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในพื้นที่ปลูกอ้อย ๕ จังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร อุตรดิตถ์ และนครสวรรค์ ในปี ๒๕๕๒ ได้ทำแปลงทดสอบเพื่อผลิตพันธุ์หลักจำนวน ๒๐ ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๒๐ ราย และในปี ๒๕๕๓ ได้ขยายท่อนพันธุ์ ไปปลูกในแปลงเกษตรกร ๒๓๖ ไร่ และมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๖๒ ราย ติดตามดูอัตราการรอด การเจริญเติบโตและการเกิดโรคใบขาวในแปลงผลิตพันธุ์หลักจากการตรวจสอบไม่พบการเกิดโรคในแปลงปลูกดังกล่าว

 

๒) การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการกระจายพันธุ์ดี และขยายท่อนพันธุ์สะอาด

ในปี ๒๕๕๒ ได้จัดทำแปลงต้นแบบทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังเพื่อผลิตท่อนพันธุ์และได้กระจายท่อนพันธุ์ให้กับเกษตรกร ในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ๑๒ จังหวัด เป็นพื้นที่ ๗๖๓.๕ ไร่ และมีเกษตรกรเข้าร่วม ๘๔ ราย โดยมีเป้าหมายการกระจายท่อนพันธุ์ดีในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่ ในปี ๒๕๕๓ ขยายพื้นที่เป็น ๑,๗๐๐ ไร่ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๑๔๕ ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามการปฏิบัติของเกษตรกรและสำรวจการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง และจัดทำฐานข้อมูลการเพิ่มผลผลิตโดยมีการกระจายพันธุ์ดี

 

๓) โครงการพัฒนาศูนย์ต้นแบบการบริหารวัตถุดิบ (ปาล์มน้ำมัน)

 เพื่อผลิตพลังงานทดแทนแบบครบวงจร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป้าหมายพัฒนาศูนย์ต้นแบบการบริหารวัตถุดิบผลิตเพื่อผลิตพลังงานทดแทนแบบครบวงจรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เพาะเมล็ดปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี ๒ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด ที่จังหวัดหนองคาย และเลย ขณะนี้อยู่ระหว่างดูแลรักษาต้นกล้าปาล์มน้ำมัน เพื่อนำไปปลูกทดสอบปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดหนองคาย และเลย จำนวน ๕,๐๐๐ ไร่ และดูแลแปลง ทดสอบการปลูกปาล์ม น้ำมันของกรมจำนวน ๑๔ แปลง เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการใช้เป็นคำแนะนำต่อไป

 

๑๒. ส่งเสริมการผลิตพืชพลังงาน โดยเพิ่มปริมาณการผลิตปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อยและสบู่ดำ โดยมีเกษตรกรเป้าหมาย จำนวน ๒๕,๐๔๕ ราย ผลการดำเนินงานได้ ประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบโครงการและเตรียมการอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights –ICESCR-)

ซึ่งมีสาระสำคัญของการรับรองสิทธิ ทางเศรษฐกิจของบุคคล ในหลายข้อ อาทิ ข้อ 3 “ประกันความเท่าเทียมกันของทั้งบุรุษและสตรีในการอุปโภคสิทธิทางเศรษฐกิจ” ข้อ 6-7 “เป็นการรับรองสิทธิในการทำงานว่าทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือกประกอบอาชีพ และรัฐจำต้องส่งเสริมเพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธินี้โดยแท้จริง ตลอดจนมีสภาพการทำงานและได้รับค่าจ้าง ค่าแรงที่ยุติธรรม"

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil, and Political Rights –ICCPR-)

สาระ สำคัญของการรับรองสิทธิทางเศรษฐกิจของบุคคล อาธิ ข้อ 1 บัญญัติรับรอง “ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการกำหนดเจตจำนงโดยเสรี และสามารถอาศัยสิทธินี้เพื่อกำหนดสถานะและพัฒนาสถานะทางเศรษฐกิจของตนเอง”

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัต ิทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination –CERD-)

ข้อ 5 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ “สิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิในการมีงานทำฯลฯ จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยอาศัยเหตุทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ”

หน้าที่ของรัฐ ต่อ สิทธิทางเศรษฐกิจของบุคคล

Puangrat Patomsiriruk, 1 กรกฎาคม 2554

[Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/interecon/472393

บรรณานุกรม(เพิ่มเติม)

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(SSM Wiki). "Contract Farming:การเกษตรแบบมีสัญญา." มปป. [Online]. Available URL : http: //www.ssmwiki.org/index.php/Contract_Farming

 

กระทรวงการต่างประเทศ. ผลสรุปการหารือ “การลงทุนที่รับผิดชอบในสาขาเกษตร : เส้นทางของไทย”.13 กันยายน 2553. [Online]. Available URL :

 

กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน. "ก. เกษตรฯ-เทส โก้โลตัส ทำ Contract Farming สินค้ากุ้งจาก 5 สหกรณ์กว่า 2 พันตัน." 4 พฤษภาคม 2554. [Online]. Available URL : http://www.ftawatch.org /all/news/23794

 

เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์. "contract farming: โอกาสที่ชาวนาไทยอาจได้ประโยชน์จากต่างชาติ." มปป. [Online]. Available URL : http://www.kriengsak.com/issues/contract-farming-0

 

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร."สรุปผลการประชุม ครั้งที่ 11."19 สิงหาคม 2552. [Online]. Available URL : http://web.parliament.go.th/parcy/sapa_db/committee-upload/4-20090825105316_kaset11.pdf

 

"คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งไทย-ลาวพันธสัญญาที่ต้องหาทาง แก้...!." ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 - 26 กันยายน พ.ศ. 2553, 30 กันยายน 2553. [Online]. Available URL :
http://pr.trf.or.th /index.php?option=com_content&view=article& id=165:2010-09-30-08-03-19&catid=41:2010-06-10-02-38-08& Itemid=59

 

จิตติกานต์ วงษ์กำภู."“NEMs” เทรนด์ใหม่ที่ครองใจนักลงทุน." Business One ปีที่ 1 ฉบับที่ 20 วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554. [Online]. Available URL :

 

ณรงค์ เจียมใจบรรจง,รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายธุรกิจครบวงจรภูมิภาค บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)."โครงการ Contract Farming : ในมุมมองของผม." 17 ตุลาคม 2554. [Online]. Available URL :

 

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. "บทความชุดเกษตรพันธะสัญญา : บ่วงบาศพิฆาตเกษตรกร, ผูกขาดชีวิต ." ในเวบไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, มปป. [Online]. Available URL : http://www.midnightuniv.org /

 

นรินทร บุญพราหมณ์."ปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงธุรกิจเกษตรแบบมีพันธะสัญญาระหว่าง อุบลราชธานี-จำปาสัก." 17 มกราคม 2554. [Online]. Available URL :

 

นโยบายสาธารณะ : แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.). "คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) : ยุควัตถุดิบขาดแคลน." กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2554 หน้า 11, 15 มีนาคม 2554. [Online]. Available URL : http://www.tuhpp.net/?p=2291& lt;/a>

เบญจมาศ ฟูทรัพย์นิรันดร์ และ ภาสกร เตือประโคน ."การทำเกษตรแบบมีพันธะสัญญา(Contract Farming)."2550. [Online]. Available URL :
http: //www.gotoknow.org/blogs/books/view/tawan-boss

 

มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ข่าว. "Contract Farming โครงการที่ควรสานต่อ เอื้อประโยชน์ต่อการค้าชายแดน ลาว กัมพูชา พม่า." 15 มิถุนายน 2553. [Online]. Available URL : http: //www.news.kku.ac.th/kkunews/content/view/5034/59/

 

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. "พลิกปูมเกษตรพันธะสัญญาในไทย."15 กรกฎาคม 2554.[Online]. Available URL : http: //www.tcijthai.com/data-store-story/612

 

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute (CSRI). "การทำการเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract Farming)."มปป. [Online]. Available URL : http: //203.99.252.76/knowledge/download/1260

 

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute (CSRI). "บริษัท สวิฟท์ จำกัด(Swift Co. Ltd)." 8 ตุลาคม 2554. [Online]. Available URL : http://www.csri.or.th/directory/csr-showcase/1251 แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม http://www.thaifreshproduce.com/

 

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. "Contract Farming วิธีทำธุรกิจปศุสัตว์แบบประกันราคา."มปป. [Online]. Available URL : http://www.ismed.or.th /SME2/src/bin/controller.php?view=knowledgeInsite.KnowledgesDetail& amp;amp;p=&nid=&sid=51&id=695&left=54& amp;amp;right=55&level=3&lv1=3

 

สังวาลย์ สยาม. "Contract Farming ทางเลือก-ทางรอดภาคเกษตรไทย."  กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 29 ธันวาคม  2552, 16 มีนาคม 2554. [Online]. Available URL :
http://www.corehoononline.com/index.php/2011-03-14-05-46-05/2011-03-14-05-53-19/15211-contract-farming--

สุทิน คล้ายมนต์. "มั่นใจ…ด้วยเกษตรพันธสัญญา." ใน หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน,ไทยรัฐออนไลน์ 9 มิถุนายน 2554,27 สิงหาคม 2554. [Online]. Available URL :
http://soclaimon.wordpress.com /

 

สุเมธ ปานจำลอง. "เกษตรพันธะสัญญากับการเลี้ยงปลาในกระชัง :รูปธรรมสัญญาทาสกับความเสี่ยงที่เกษตรกรต้องแบกรับ." มปป. [Online]. Available URL :

 

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. "การลงทุน Contract Farming(CF)หรือการผลิตสินค้าเกษตรแบบมีสัญญาที่เห็นผลเป็น รูปธรรม."10 มีนาคม 2549 .[Online]. Available URL : http://www.oae.go.th /ewt_news.php?nid=293

 

หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. "ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1(อุดรธานี  หนองคาย  หนองบัวลำภู  เลย)." 29 พฤศจิกายน 2552. [Online]. Available URL : http://www.thaichamber.org/userfiles/file/Strategic_Group_Provinces_18_10.pdf หรือ http://www.thaichamber.org/scripts/stratigic.asp?Tag=7&nShowMag=1&nPAGEID=104

ความหมายของ “Contract Farming”

1.ความหมายของ “Contract Farming” (มติคณะรัฐมนตรี ปี 2548)

การลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญา การทำสัญญาระหว่างบริษัทเอกชน เรียกว่าผู้รับซื้อผลผลิต หรือผู้ซื้อ กับเกษตรกร เรียกว่า ผู้ผลิต หรือผู้ขาย โดยทั้งสองฝ่ายทำสัญญากันทั้ง 2 ฝ่ายก่อนการผลิต และเป็นสัญญาที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับราคาของผลผลิต และปริมาณของผลผลิตที่รับซื้อ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ผู้ซื้อมีหน้าที่ช่วยเหลือด้านการลงทุน ตลอดจนการส่งเสริม ส่วนผู้ขายมีหน้าที่ดำเนินการผลิตให้สอดคล้องกัน นอกจากนี้อาจมีเงื่อนไขอื่นอีกตามแต่ตกลงกัน

 

2.ความหมายของ “Contract Farming” (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)< /p>

การทำฟาร์มสัญญา หมายถึง การเลี้ยงปศุสัตว์หรือเพาะปลูกพืชที่มีการทำสัญญาซื้อขายกัน โดยส่วนใหญ่จะมีการกำหนดราคาผลผลิตไว้ตายตัว ซึ่งมักเรียกว่า ฟาร์มประกันราคา หรือ "ฟาร์มประกัน" แต่ก็มีบางกิจการทำสัญญาผูกพันเพียงการรับซื้อผลผลิตกลับคืน โดยไม่ระบุราคาไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งแบบนั้นเราไม่ถือว่าเป็นฟาร์มประกันราคา สัญญาทำฟาร์มประกัน มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกเป็นฝ่ายฟาร์ม เรียกว่า " ฟาร์มประกัน" ซึ่งก็คือฝ่ายเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม ส่วนฝ่ายที่สองเป็นคู่สัญญาที่สัญญาจะซื้อผลผลิตกลับคืนในราคาประกัน เรียกว่า "ผู้รับประกัน" ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปบริษัท เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท เบทาโกร บริษัทแหลมทองสหการ เป็นต้น

 

3.ความหมายของ “Contract Farming” (ในมุมมองของสายธุรกิจครบวงจรภูมิภาค บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด)

โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ โดยการทำระบบฟาร์มข้อตกลง หรือระบบฟาร์มสัญญากันไว้ล่วงหน้า เพื่อส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้เกษตรกร ซึ่งเกษตรกรและบริษัทร่วมลงทุนเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตทั้งหมด หรือบางอย่างตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ และบริษัทจะเป็นผู้รับซื้อผลผลิตคืนกลับจากเกษตรกรตามมาตรฐานคุณภาพ และผลตอบแทนที่ได้ตกลงกันไว้ ทั้งนี้บริษัทจะเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงด้านการผลิตและ การตลาด (อ้างจาก ณรงค์ เจียมใจบรรจง, 2554.)

 

อันที่จริง contract farming ก็เปรียบเหมือน ตลาดซื้อ–ขายล่วงหน้า ที่มีการตกลงราคาและเวลารับมอบสินค้ากันชัดเจน ซึ่งบริษัทคู่สัญญาก็เป็นเหมือนผู้เข้ามารับความเสี่ยงจากภาวะผันผวนของราคา ผลผลิตและปัจจัยการผลิต เกษตรกรจึงมีผลตอบแทนเป็นรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอน และสูงกว่าเมื่อเทียบกับการที่ต้องแบกรับภาระทั้งการผลิตและการขาย เอง…
(อ้างจาก สุทิน  คล้ายมนต์, 2554.)

 

“In today’s world, policies aimed at improving the integration of developing economies into global value chains must look beyond FDI and trade. Policymakers need to consider non-equity modes (NEMs) of international production…"

(อ้างจาก จิตติกานต์ วงษ์กำภู, 2554)

บรรณานุกรม (เพิ่มเติม)< /p>

 

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. “รายงานผลการ ดำเนินการของ คณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีที่หนึ่ง (วันที่ 30 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2552).” [Online]. Available URL : http://www.culture.go.th/subculture9/images/stories/files /aboutus/r10.pdf

 

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “รายงานผลการ ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (มกราคม 2552 - มิถุนายน 2553).” [Online]. Available URL : www.moac.go.th/article_attach/apisit03_060.doc

 

 

====================

 

Chira Hongladarom. "Intensive Workshop on Energy and Environment Sector." 18th May, 2554. [Online]. Available URL : http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/439658

 

 

THU LAN THI NGUYEN, SHABBIR H . GHEEWALA, AND SAVITRI GARIVAIT.  “cassava and the ethanol processors in Thailand "Full Chain Energy Analysis of Fuel Ethanol from Cassava in Thailand," 2007.” The Joint Graduate School of Energy and Environment, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Bangkok, Thailand. [Online]. Available URL : http://www.thaiscience.info/Article%20for%20ThaiScience/Article/4/Ts-4%20full%20chain%20energy%20analysis%20of%20fuel%20ethanol%20from%20cassava%20in%20thailand.pdf

 

 

waraporn learttirakij. "ธุรกิจอาหารสัตว์ครบวงจร(CPF)."< /strong> 21 กันยายน 2552. [Online]. Available URL : http: //www.learners.in.th/blog/febuary/303983< /p>

 

 

กุศล เลี้ยวสกุล. "A:7 Contract farming การรวมกันในแนวดิ่งในอุตสาหกรรมเกษตร." 11 กันยายน 2552. [Online]. Available URL : http: //www.learners.in.th/blog/kuson/299946

 

 

ขนิษฐา จิตระเบียบ. "Contract farming พัฒนาสู่หายนะ."22 กุมภาพันธ์ 2554. [Online]. Available URL :

 

 

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกสุรินทร์ [the Alternative Agriculture Network (AAN)]. “มันสำปะหลังบุกนา ยางพาราบุกป่า ที่ป่าภูขาม.” 2 กรกฎาคม 2552. [Online]. Available URL : http: //aansurin.blogspot.com/feeds/posts/default< /p>

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์. "Talented Capital Development Program: หลักสูตร “พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติสำหรับบุคลากรของ สศก.”." 3 สิงหาคม 2551. [Online]. Available URL : http: //www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/198477?class=yuimenuitemlabel& amp;amp;page=4

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์. "โครงการการพัฒนาและสร้างความร่วมมือทางด้าน ทรัพยากรมนุษย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม (ระยะที่ 2)." 17 พฤษภาคม 2554. [Online]. Available URL :

http: //www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/439585< /p>

 

 

 

นินทิดา เวียงแก้ว.(สปป.ลาว Ninthida VIENGKEO). "Contract Farming ในลาว." 20 กันยายน 2550. [Online]. Available URL : http: //www.learners.in.th/blog/ninthidavk/75648< /p>

 

 

 

ปุณฑวิชญ์ ฉัตรมงคลชาติ."ครม. เห็นชอบโครงการ Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้านปี 2549-2551."21 กันยายน 2550. [Online]. Available URL : http: //www.learners.in.th/blog/prince-in-dream/76330< /span>

 

 

 

รังสรรค์ เนียมสนิท. "การประชุมผู้ว่าฯ - เอกอัครราชทูต - ROC (1) ."14 มิถุนายน 2551. [Online]. Available URL : http: //www.gotoknow.org/blog/porsonal/188044?page=1

 

 

 

วีรยา ธีระโกศล. "contact farming คือ." 31 สิงหาคม 2551. [Online]. Available URL : http: //www.learners.in.th/blog/tatee-ie/192901< /p>

 

 

 

แวง พลังวรรณ. "คอนแทร็กต์ ฟาร์มมิ่ง : เกษตรกรรมใต้เงาปิศาจ (2)." 9 ธันวาคม 2549. [Online]. Available URL : http: //www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=topreport& No=580

 

 

 

ศูนย์ปฏิบัติการร่วมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "เชิญร่วมงาน มหกรรมความร่วมมือในการผลิตสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม ( Contract Farming) ระหว่างวันที่ 7-11 ธันวาคม 2550." 8 พฤศจิกายน 2550. [Online]. Available URL : http: //www.gotoknow.org/blog/esan-inside/144957< /p>

 

 

 

ศูนย์ปฏิบัติการร่วมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "เชิญร่วมงาน มหกรรมความร่วมมือในการผลิตสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม ( Contract Farming) ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2551." 8 กุมภาพันธ์ 2551. [Online]. Available URL : http: //www.gotoknow.org/blog/esan-inside/164114< /p>

 

 

 

สุเมธ ปานจำลอง. “กลุ่มเกษตรกรภาคอีสานประกาศจัดตั้ง “เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เกษตรพันธะสัญญาและรับจ้าง” สู้สัญญาที่ไม่เป็นธรรมและสวัสดิการที่ไม่เคยได้รับจากรัฐและนาย ทุน.” 16 พฤษภาคม 2550. [Online]. Available URL : http://sathai.org/story_thai/009-Contract%20Farming%20Net.htm และ http: //www.songkhlahealth.org/paper/870

 

 

 

เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์. "กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบาย contract farming." 15 สิงหาคม 2549. [Online]. Available URL : http: //www.gotoknow.org/blog/economic/44808

 

 

 

อดิศร เกิดมงคล. "ผลกระทบจากโครงการ Contract Farming ต่อประชาชนในพม่า." 21 กรกฎาคม 2551. [Online]. Available URL : http://www.gotoknow.org/blog/migrantworkers/195510

 

 

 

ไทย-ลาว-เขมร ขายยางจีน 5 แสนตัน เกษตรพันธสัญญางอกงาม http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000043503

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 เมษายน 2555 03:51 น.

ประธานบริษัทพันปีกรุ๊ปฯ (3 จากซ้าย) กับตัวแทนจากจีน ลาว และกัมพูชาร่วมกันเซ็นความตกลงซื้อขายยางพาราล็อตใหญ่ในกรุงเทพฯ วันที่ 28 มี.ค.2555 ที่ผ่านมา และกำลังเตรียมจัดส่งล็อตแรก 30,000 ตัน ผ่านไทยไปยังผู้ซื้อในประเทศจีนปลายเดือน เม.ย.นี้ จากทั้งหมด 500,000 ตัน มูลค่ากว่า 88 ล้านดอลลาร์ ทั้งหมดเป็นไปภายใต้ความร่วมมือการเกษตรแบบมีสัญญา หุ้นส่วนจากมณฑลหยุนหนันกล่าวว่า เป็นการเซ็นซื้อขายยางล็อตใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับจีน. -- ภาพ: CK Connection.

นำเสนอครั้งแรกเวลา 03.51 น.วันศุกร์ 6 เม.ย.2555 แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาและบรรยายภาพ 12.35 น. และ 14.06 น.วันศุกร์ 6 เม.ย.2555

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - บริษัทเอกชนไทยกับผู้ปลูกยางในลาว และกัมพูชา กำลังเตรียมการจัดส่งยางพารา 30,000 ตันให้ผู้ซื้อในจีนปลายเดือนเมษายนนี้ เป็นการส่งจำหน่ายล็อตแรกของทั้งหมด 500,000 ตัน ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อขายผลผลิตล็อตใหญ่เป็นครั้งแรกภายใต้ระบบเกษตรแบบมีสัญญา และภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน-ภาครัฐในระดับอนุภูมิภาค

   ยางพาราลอตแรกนี้มีมูลค่ารวมกันกว่า 80 ล้านดอลลาร์ ทั้งหมดเป็นยางที่ผลิตโดยเกษตรกรในกัมพูชาจำนวน 10,000 ตัน ในลาว 10,000 ตัน และของเกษตรกรไทยอีก 10,000 การส่งมอบจะดำเนินไปทุกๆ เดือน จนครบจำนวน 500,000 แสนตันตามข้อตกลง ผู้ที่เกี่ยวข้องกล่าวกับ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” 

   การซื้อขายเป็นไปภายใต้กรอบกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ที่ไทย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนามเป็นสมาชิก และกรอบกลุ่มความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) หรือ GMS ซึ่งมีจีน (มณฑลหยุนหนัน) ร่วมเป็นสมาชิกรายที่ 6

   “จีนมีความต้องการยางพาราปีละ 3.7 ล้านตัน แต่ขณะนี้เราผลิตส่งให้ได้เพียง 5 แสนตันต่อปีเท่านั้น” นายพิชย์พิพรรธ ศรีตระกูลรักษ์ ประธานกรรมการบริษัท พันปี กรุ๊ป (ไทย ลาว กัมพูชา) จำกัด กล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

   ยางพาราจากประเทศเพื่อนบ้านจะขนส่งเข้าไทย เพื่อส่งออกผ่านท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือนครเซี่ยงไฮ้ ทั้งหมดจะดำเนินการโดยบริษัท แฮนเดิล อินเตอร์กรุ๊ป (Handle Inter Group) ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ให้บริการด้านบริการการส่งออก และลอจิสติกส์มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี นายพิชย์พิพรรธกล่าว

   นายหลี่หยงเชง ประธานกรรมการบริษัทเหมืองหยุนหนัน มังกานีส (Yunnan Manganese Mining and Resources Group) ซึ่งทำธุรกิจการค้าหลากสาขา ทั้งเหมืองแร่ เขื่อนผลิตไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ ยางพารา และสินค้าเกษตรอื่นๆ และเป็นคู่สัญญาฝ่ายจีนกล่าวว่า การซื้อขายยาง 500,000 ตันครั้งนี้ เป็นการซื้อขายครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับจีน

   นายหยงเชงระบุดังกล่าวในรายงานชิ้นหนึ่งที่พันปีกรู๊ปฯ เผยแพร่หลังการเซ็นความตกลงในวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา
   .

รถบรรทุกแล่นผ่านแผ่นป้ายที่บอกให้ทราบว่าเป็นถนนเชื่อมไทยที่อยู่ในเขตเมืองทวายในพม่า กลุ่มบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กำลังสร้างถนนความยาว 150 กม.ไปยังชายแดนด้าน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เมื่อแล้วเสร็จก็จะเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสำหรับการขนส่งสินค้า ยางพาราที่ปลูกมากในเขตตะนาวศรี รวมทั้งเมืองทวาย ก็จะได้รับอานิสงส์จากถนนสายนี้เช่นกันเพื่อส่งออกสู่ตลาดจีนผ่านท่าเรือแหลมฉบังของไทย. -- AFP PHOTO/Soe Than Win.

   .
   นายหลี่จี้เหิง ผู้ว่าการมณฑลหยุนหนัน ได้ร่วมกับรัฐมนตรีของไทยจำนวนหนึ่งเป็นสักขีพยานการลงนามในความตกลงครั้งนี้ โดยมีผู้แทนฝ่ายลาวคือ นายจำปา วงพะจัน กับนายหนูคำ วอละสาน จากสำนักนายกรัฐมนตรีลาว และผู้แทนของฝ่ายกัมพูชาคือ นายซัมคี (Sam Key) รายงานชิ้นเดียวกันระบุ

   นายพิชย์พิพรรธบอก “ASTVผู้จัดการออนไลน์” ว่า โครงการเกษตรแบบมีสัญญาที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ เกี่ยวข้องกับเกษตรกรราว 2 ล้านคนใน 4 ประเทศ รวมพื้นที่สวนยางราว 5,600,000 ไร่ ในนั้น 3,988,004 ไร่ ต้นยางมีอายุ 7 ปีขึ้นไปพร้อมจะให้น้ำยาง

   เกษตรกรไทยที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมสวนยาง 1,745,000 ไร่ ปัจจุบันจำนวน 1,434,804 ไร่พร้อมให้ผลผลิต ส่วนในลาวมี 1,688,000 ไร่ และ 1,250,000 ไร่พร้อมให้น้ำยาง เกษตรกรกัมพูชามีสวนยาง 1,287,000 ไร่ กรีดยางได้แล้ว 772,200 ไร่ กับในพม่าอีก 880,000 ไร่ พร้อมให้น้ำยาง 528,000 ไร่ 

   “ยางพาราเป็นเพียงการเริ่มต้น เรายังจะขยายไปสู่ความร่วมมือซื้อขายผลผลิตการเกษตรอื่นๆ รวมทั้งข้าวกับมันสำปะหลังด้วย” นายพิชย์พิพรรธกล่าว

   จดทะเบียนก่อตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนคนพันปี” ใน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อปี 2548 กลายมาเป็นพันปีกรุ๊ปฯ กลุ่มนี้ได้เข้าบุกเบิกลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านหลากหลายแขนง ทั้งในภาคเหนือ กับภาคตะวันตกเฉียงใต้กัมพูชา ในหลายแขวงของลาว และในพม่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนยางพาราเขตตะนาวศรี รวมทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกรายแรกๆ เข้าสู่แคว้นสิบสองปันนาของจีนด้วย นายพิชย์พิพรรธกล่าว

   การเกษตรแบบมีสัญญา หรือ “เกษตรพันธสัญญา” เป็นแขนงหนึ่งในความตกลงของผู้นำ ACMECs ซึ่งเปิดการประชุมหารือกันที่เมืองพุกามของพม่าในเดือนพฤศจิกายน 2546 นอกเหนือจากการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือด้านสาธารณสุข ในช่วงปีที่โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือ SARS กำลังแพร่ระบาดในอนุภูมิภาค
   .

บริษัทจากจีนแห่งหนึ่งทำพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงงานผลิตยางแผ่นในแขวงหลวงน้ำทา ในเดือน ก.ค .2554 นักลงทุนจากจีนจำนวนมากเข้าลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในแขวงภาคเหนือของลาว ทั้งในพื้นที่สัมปทานและโครงการเกษตรพันธสัญญากับราษฎรในท้องถิ่น ระบบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ยางพาราเท่านั้น หากยังรวมถึงพืชเศรษฐกิจอื่นๆ อีกหลายชนิด บริษัทกระดาษยักษ์ใหญ่ของจีนอีกแห่งหนึ่งกำลังปลูกยูคาลิปตัสในแขวงสะหวันนะเขต เพื่อป้อนโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.

ผู้บริหารของหว่างแอง-ซยาลาย (Hoang Anh-Gia Lai) จากเวียดนามกำลังตรวจต้นยางอายุ 9 เดือนในที่สัมปทานแขวงเซกองทางตอนใต้ของลาว ในภาพ เดือน ก.พ. 2552 นักลงทุนไทยเข้าลงทุนปลูกยางในแขวงภาคใต้ของลาวเช่นกัน รวมทั้งพันปีกรุ๊ปฯ ด้วย ระบบเกษตรแบบมีสัญญากำลังงอกงาม เอกชนไทย ลาว และกัมพูชา เพิ่งเซ็นขายยางล็อตใหญ่ 500,000 ตันให้จีน และกำลังเตรียมการส่งมอบล็อตแรก 30,000 ตันในปลายเดือนนี้. -- ภาพ: เว็บไซต์ HAGL.

    .
   การอำนวยความสะดวกการค้า และการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment) ก็เป็น 1 ใน 11 แผนงานความสำคัญสูง (Flagship Programs) ของกลุ่ม GMS ซึ่งเอื้ออำนวยให้นักลงทุนประเทศสมาชิกเข้าลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

   รัฐบาลไทยให้การส่งเสริมระบบเกษตรแบบมีสัญญารวมทั้งลดหรือยกเว้นภาษีนำเข้าให้แก่พืชผลหลายชนิดจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ เพื่อช่วยสร้างงานให้แก่ประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการแก้ปัญหาแรงงานข้ามแดนที่ทะลักเข้าไทยอย่างผิดกฎหมายนับล้านคนอีกทางหนึ่งด้วย

   พันปีกรุ๊ปฯ กล่าวว่า มีเกษตรกรสวนยางในโครงการใน 17 แขวงของลาว จากเหนือลงไปจนถึงแขวงจำปาสักทางตอนใต้สุดของประเทศ

   ปัจจุบัน บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของไทยหลายบริษัทได้เข้าลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านภายใต้ความร่วมมือเกษตรพันธสัญญา ซึ่งผู้ลงทุนสนับสนุนให้เกษตรกรในท้องถิ่นปลูก และดูแลพืชผลในที่ดินของตน โดยทำสัญญาขายผลผลิตให้แก่ผู้ลงทุนในราคาประกัน

   บริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้ปลูกและผลิตยางพารารายใหญ่ที่สุดของไทยเข้าทำสวนยางในลาวตั้งแต่ปี 2549 โดยร่วมกับบริษัทจากจีนและลาว และใช้เงินลงทุนไปกว่า 40 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันมีเนื้อที่เพาะปลูกหลายหมื่นไร่ ทั้งปลูกในที่ดินสัมปทานและด้วยระบบเกษตรพันธสัญญา 

   เครือเจริญโภคภัณฑ์ลงทุนปลูกข้าวโพดกับพืชผลอีกหลายชนิดเพื่อป้อนโรงงานอาหารสัตว์ในลาว กลุ่มสยามน้ำมันละหุ่ง ลงทุนทำไร่ละหุ่งในลาวเช่นกัน รวมทั้งกลุ่มน้ำตาลมิตรผล ซึ่งปลูกอ้อยในภาคกลางของลาว และสร้างโรงงานน้ำตาลขึ้นในแขวงสะหวันนะเขต

   หลายปีมานี้ นักลงทุนจากจีนจำนวนมากได้เข้าลงทุนในลาว พม่า และกัมพูชา ภายใต้การเกษตรแบบมีสัญญา นักลงทุนจากเวียดนามก็เช่นกัน ในปัจจุบันมีสวนยางในภาคใต้ของลาวและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับภาคเหนือของกัมพูชารวมเนื้อที่หลายแสนไร่.
   .

บทความชุดเกษตรพันธสัญญา: ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

http://www.midnightuniv.org/บทความชุดเกษตรพันธะสัญ

Filed under : INTEGRATED SCIENCE > SOCIAL SCIENCE

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“บรรษัทมีเป้าหมายอยู่ที่การแสวงหากำไรเข้าตัวให้มากที่สุด โดยที่รัฐก็มีความสัมพันธ์กับบรรษัทในฐานะผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการประกอบการหรือมีการอุปถัมภ์ค้ำชูกันทั้งในระดับนักการเมืองและข้าราชการประจำ ส่วนเกษตรกรก็กำลังแสวงหาวิธีการพาตัวเองออกจากความยากจนที่ต้องเผชิญอยู่”

 

"บ่วงบาศพิฆาตเกษตรกร."

"ผูกขาดชีวิต."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท