mทำบุญวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาครับ


วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา

ทำบุญวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาครับ

 นั่งสมาธิ เจริญจิตภาวนากับนักเรียน

นำกล่าวถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนครับ

สรุปความสำคัญของวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา 
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม1 ค่ำ เดือน 8 ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันที่ 15 ค่ำ เดือน 11 )  1 วันเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญจวัคคีย์ ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้  และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ธรรมจักษุ ( โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือ ญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน ) ควงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่าสิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดาแล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์ ในวันนี้ของทุกๆปีเวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และพุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ  และพุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่า “วันพระสงฆ์”ก็มี อาสาฬหะคือ เดือน 8  อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน 8 
        วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่
ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา (พรรษา แปลว่า
ฤดูฝน , จำ แปลว่า อยู่ ) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11หรือวันออกพรรษา 
ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำ
พรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ
ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆแม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธ
เจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุสงฆ์ประจำอยู่ที่วัด
รวบรวมโดย ครูธนากร  พรมลิ
โรงเรียนบ้านหนองบัวตาคง ปีการศึกษา2554
หมายเลขบันทึก: 450695เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท