กรอบการศึกษาวิชาอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาสำหรับคณะนิติศาสตร์


กรอบการศึกษาวิชาอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาสำหรับคณะนิติศาสตร์

นัทธี  จิตสว่าง

อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยามีความผูกพันกับวิชานิติศาสตร์มาโดยตลอดโดยเฉพาะในทวีปยุโรปซึ่งมีการเรียนการสอนอาชญาวิทยาในคณะนิติศาสตร์มาตั้งแต่ในศตวรรษที่18 และแม้ในปัจจุบันอาชญาวิทยาจะมีพัฒนาการแตกต่างไปจากเดิมประกาศตัวเองเป็นสาขาวิชาอิสระมีคณะเป็นของตัวเองก็ตามความผูกพันต่อสาขาวิชานิติศาสตร์ก็ยังคงมีอยู่เพราะนักกฎหมายมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบของอาชญากรรมยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอาชญากรรมพื้นฐานแต่ดั้งเดิมสาเหตุของการกระทำผิดและปรัชญาในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้กฎหมายต่อไป

กรอบการศึกษาวิชาอาชญาวิทยาทัณฑวิทยา ในคณะนิติศาสตร์มีลักษณะดังนี้

1. ความหมายและขอบข่ายของอาชญาวิทยา ทัณฑวิทยา

  • ความหมายของอาชญาวิทยาทัณฑวิทยา
  • ขอบข่ายของอาชญาวิทยา
  • ความสัมพันธ์ของอาชญาวิทยากับนิติศาสตร์
  • สถานภาพของอาชญาวิทยา
  • สถานภาพในอดีต“เจ้าไม่มีศาล”
  • สถานภาพในปัจจุบัน

         -> อาชญาวิทยาเป็นสหวิทยาการ

         -> อาชญาวิทยาเป็นวิชากึ่งวิชาชีพ

         -> อาชญาวิทยาเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์

  • การเรียนการสอนอาชญาวิทยา

 

2. ความหมายและขอบข่ายของอาชญากรรมและอาชญากร

  • ความหมายในเชิงนิติศาสตร์
  • ความหมายในเชิงสังคม


3. ปัญหาอาชญากรรรม

 -  ประเภทของอาชญากรรม

  • เกณฑ์ความชั่วร้ายของการกระทำ

        -> Mala inse

        -> Mala Prohibita

  • เกณฑ์ผู้เสียหาย

        -> อาชญากรรมที่มีผู้เสียหาย

        -> อาชญากรรมที่ไม่มีผู้เสียหาย

  • เกณฑ์ด้านเพศ

        -> อาชญากรรมชาย

        -> อาชญากรรมผู้หญิง

  • เกณฑ์ด้านอายุ

        -> เด็กและเยาวชนกระทำผิด

        -> อาชญากรรมผู้ใหญ่

  • เกณฑ์ด้านพฤติกรรม

        -> อาชญากรรมอาชีพ

        -> อาชญากรรมองค์กร

        -> อาชญากรรมทางเพศ

        -> อาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ชั่วคราว

        -> อาชญากรรมการทำร้ายร่างกายและชีวิตชั่วคราว

        -> อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

        -> อาชญากรรมข้ามชาติ

        -> อาชญากรรมการเมือง

        -> อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

        -> อาชญากรรมคอปกขาว

        -> อาชญากรรมในครอบครัว

        -> อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม

  • ความแตกต่างของอาชญากรรมพื้นฐานกับอาชญากรรมชั้นสูง
  • เส้นทางชีวิตของอาชญากร

-  การวัดปริมาณและความรุนแรงในอาชญากรรม

  • การวัดจากสถิติของทางราชการ
  • การวัดจากสื่อมวลชน
  • การวัดจากการเปิดเผยของผู้เสียหาย
  • การวัดจากการเปิดเผยของผู้กระทำผิด
  • การวัดจากสภาพแวดล้อมและความกลัวอาชญากรรม

-  ผลกระทบของอาชญากรรม

  • ผลกระทบทางเศรษฐกิจ 
  • ผลกระทบทางการเมือง
  • ผลกระทบทางสังคม

 

4. สาเหตุของอาชญากรรม

            - แนวความคิดของสำนักคลาสสิก (Classical School)

            -  แนวความคิดของสำนักปฏิฐานนิยม (Positive School)

            - ทฤษฎีอาชญาวิทยาต่างๆ

 

5.การป้องกันอาชญากรรม

            - การป้องกันอาชญากรรม แนวที่ 1 การบังคับใช้กฎหมาย

            - การป้องกันอาชญากรรม แนวที่ 2 การปรับสภาพแวดล้อมและจิตใจ

            - การป้องกันอาชญากรรม แนวที่ 3 การตัดช่องโอกาสโดยใช้สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

            - การป้องกันอาชญากรรม แนวที่ 4 การตัดช่องโอกาสโดยความร่วมมือของชุมชน

 

6. กระบวนการยุติธรรม

            ตำรวจ  อัยการ ศาล  ราชทัณฑ์

 

7. ทัณฑวิทยา

            - พัฒนาการของวิชาทัณฑวิทยาและความเกี่ยวพันกับวิชานิติศาสตร์

            - วัตถุประสงค์ของการลงโทษ (ปรัชญาการลงโทษ)

            - วิธีการลงโทษ

                       -> การลงโทษต่อเนื้อตัว ทรมาน                    

                       -> การลงโทษประหารชีวิต

                       -> การใช้เรือนจำ

                       -> การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดในชุมชน

            - การประยุกต์ใช้ปรัชญาการลงโทษในกระบวนการยุติธรรม

 

8. การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดโดยใช้เรือนจำ

                       -> ประเภทเรือนจำ                 

                       -> การควบคุมผู้ต้องขัง

                       -> กลไกในการควบคุม

                                    *  การใช้กฎหมายและบทลงโทษ

                                    *  การใช้สิ่งจูงใจ

                                    *  การใช้อาคารสถานที่

                       -> การอบรมแก้ไข

                                    *  แนวทางในการอบรมแก้ไข

                                    *  การประเมินผลการอบรมแก้ไข

 

9. การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดในชุมชน

            - เหตุผล

            - วิธีการ

            - การจำคุกวันหยุด การจำคุกในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ การคุมประพฤติ การทำงานบริการสังคม ฯลฯ

 

10. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและระบบการลงโทษ



---------------------------------------------

 

หมายเลขบันทึก: 450303เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท