House's Path-Goal Model


ภาวะผู้นำ

House's Path-Goal Model

   
     อีกโมเดลหนึ่งของผู้นำตามสถานการณ์ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยโรเบิร์ต เฮาส์ ในโมเดลของ
House's Path Goal นี้จะแสดงถึงผู้นำที่มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดงานให้เฉพาะเจาะจงลด
อุปสรรคในการทำงาน โดยให้ความกระจ่างชัดเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มโอกาส
หรือขจัดความคลุมเครือให้กับงานสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้นำได้ทำงานนั้น ๆ กำหนดแนว
ทางในการปฏิบัติงานและให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับรู้ถึงจุดประสงค์ในการทำงาน
     ในโมเดลนี้หน้าที่หลักของผู้นำก็คือ กระตุ้นหรือส่งเสริมสมาชิกในมีงานและสนับสนุนช่วยเหลือ
ผู้ใต้บังคับบัญชา เพิ่มคุณค่าให้กับงานเพื่อให้งานนั้น บรรลุวัตถุประสงค์ แบบที่เฉพาะของพฤติกรรม
ผู้นำควรถูกกำหนดโดย 2 ตัวแปรที่เป็นสถานการณ์
    : ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
    : ลักษณะของงาน

    ซึ่งก็คล้ายกับ 2 โมเดลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในทฤษฎีนั้จะแบ่งลักษณะของผู้นำได้เป็น 4 แบบดังนี้คือ

1. ผู้นำที่เน้นความสำเร็จของงาน (Achievement-oriented leadership)
    เป็นลักษณะของผู้นำที่ตั้งจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ท้าทายความสามารถ
2. ผู้นำที่มุ่งงานโดยสั่งการ (Directive Leadership)
     เป็นลักษณะของผู้นำที่คอยวางแผน จัดแนวทางการทำงาน สั่งการและควบคุมผู้ใตับังคับบัญชา
อย่างใกล้ชิด
3. ผู้นำที่ชอบให้มีส่วนร่วม (Participative Leadership )
    เป็นลักษณะของผู้นำที่ชอบให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา
รวมถึงการให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจผู้นำประเภทนี้ส่วนมากจะชอบการทำงานเป็นทีม
4. ผู้นำที่คอยให้การสนับสนุน (Supportive Leadership)
    เป็นลักษณะของผู้นำที่เป็นมิตร คอยดูแลทุกข์-สุขของลูกน้องและสามารถเป็นที่พึ่งของลูกน้องได้
ผู้นำประเภทนี้จะใช้วิจารณญาณและจิตใจในการบริหารงานและผูกใจผู้ใต้บังคับบัญชา

ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
    ในตัวแปรตามสถานการณ์ตัวแรกของเฮาส์คือ ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชาในโมเดลนี้จะชี้ให้เห็น
ถึงความสำคัญของภาวะผู้นำว่าจะถูกยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ รวมทั้งมีผลต่อความพึงพอใจ
ในการทำงาน และอนาคตของการทำงานด้วยว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถอยู่กับองค์กรต่อไปได้หรือไม่

ลักษณะของงาน
     ในตัวแปรสถานการณ์ตัวที่ 2 ใน path-goal model เป็นลักษณะของงานที่เราต้องให้ความสนใจ
สำหรับงานที่อยู่ในรูปแบบที่ปฏิบัติงานและทำเป็นประจำ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำงานตามคำสั่งโดยไม่
ให้ความสำคัญกับงานเท่าไหร่นัก ในการทำงานเพื่อที่จะควบคุมการทำงานได้อย่างปราศจากความ
ผิดพลาด แต่หารู้ไม่ว่าการเพิ่มขั้นตอนการทำงาน เข้มงวดในงานทำให้ลูกน้องเกิดความไม่พึงพอใจ
ในงานไม่เหมือนกับผู้นำในลักษณะ Participative และ Supportive จะเพิ่มความพึงพอใจในงาน
ให้กับลูกน้อง โดยบอกถึงวัตถุประสงค์ของงาน และนโยบายของบริษัทให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับทราบ

องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
     ทีมงานที่ถูกสร้างขึ้นให้ปฏิบัติงานประจำและมีโครงสร้างของงานอยู่ในรูปแบบที่ง่าย ส่วนใหญ่จะมี
รายงานแสดงถึงความพึงพอใจใจงานที่ทำสูงมักจะชอบผู้นำในลักษณะ supportive มากกว่าผู้นำ
ประเภท Directive สำหรับทีมงานที่ทำงานแบบไม่มีโครงสร้าง และมีรูปแบบที่ซับซ้อน ซึ่งจะแสดงถึงความ
สามารถในการทำงานสูงผลิตงานออกมาได้อย่างมีคุณภาพและมีผลผลิตสูง มักชอบผู้นำในลักษณะ Directive
แต่จะไม่เน้นความพึงพอใจในงานที่ทำอยู่

ที่มา:http://reg.ksu.ac.th/teacher/supavadee/House.html
คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 450298เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท