พระพุทธเจ้ากับฐานะนักปกครองที่ดีที่สุดของโลก


ฐานะเดิมของพระพุทธเจ้านั้น เริ่มต้นด้วยการถือกำเนิดในราชกุลซึ่งมีหน้าที่ในการปกครองโดยตรง พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ทรงเป็นกษัตริย์ปกครองนครกบิลพัสดุ์ แห่งแคว้นสักกะ พระนางสิริมายาพุทธมารดา แห่งกรุงเทวทหะ เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงมาจากสกุลนักปกครองทั้งสองฝ่าย และทรงอยู่ในตำแหน่งราชกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะมุ่งหวังที่จะให้สืบตำแหน่งการปกครองต่อไป จึงทรงส่งเสริมพระราชกุมารให้ได้รับการศึกษาศิลปะวิชาการทุกอย่าง ที่เหมาะสมแก่ผู้เป็นรัชทายาท

พระพุทธเจ้ากับฐานะนักปกครองที่ดีที่สุดของโลก[1]

 

การศึกษาพระพุทธศาสนามาทำให้ทราบว่า ฐานะเดิมของพระพุทธเจ้านั้น เริ่มต้นด้วยการถือกำเนิดในราชกุลซึ่งมีหน้าที่ในการปกครองโดยตรง พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ทรงเป็นกษัตริย์ปกครองนครกบิลพัสดุ์ แห่งแคว้นสักกะ พระนางสิริมายาพุทธมารดา แห่งกรุงเทวทหะ เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงมาจากสกุลนักปกครองทั้งสองฝ่าย และทรงอยู่ในตำแหน่งราชกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะมุ่งหวังที่จะให้สืบตำแหน่งการปกครองต่อไป จึงทรงส่งเสริมพระราชกุมารให้ได้รับการศึกษาศิลปะวิชาการทุกอย่าง ที่เหมาะสมแก่ผู้เป็นรัชทายาท

          การเสด็จออกผนวชและบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นเหตุให้ทรงอยู่ในฐานะเป็นธรรมราชา คือทรงเป็นกองทัพธรรม ทรงรู้ธรรมทั้งปวง ทรงครอบงำธรรมทั้งปวง บรรดาราชสมบัติทั้งหลายย่อมขึ้นตรงต่อพระราชาผู้ได้มรุธาภิเษกฉันใด ธรรมทั้งปวงย่อมขึ้นตรงต่อผู้ได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าฉันนั้น ส่วนพระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวา อยู่ในตำแหน่งธรรมเสนาบดี สาวกของพระพุทธเจ้าตลอดถึงอุบาสกอุบาสิกา อยู่ในฐานะเป็นธรรมโยธา ประกอบเป็นทัพหน้าทัพหลวงและทัพหลัง เหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่พอจะให้เข้าใจว่า พระพุทธศาสนาไม่ได้ห่างไกลจากสถาบันการปกครอง

          หลักธรรมที่ทรงแสดงแก่พระราชา เสนาบดี และข้าราชการต่างๆ นั้นมีอเนกประการ ตัวอย่างเช่น

          ๑. เสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองแคว้นมคธ ซึ่งมีเมืองราชคฤห์เป็นเมืองหลวง หลังพรรษาแรกทรงเสด็จไปแสดงธรรมโปรดแก่พระเจ้าพิมพิสาร ธรรมที่ทรงแสดวงคือ         อนุปุพพิกถา ๕ ประการ คือ การเสียสละเกื้อกูลกัน การรักษาศีล ผลดีของการปฏิบัติดี โทษของกาม อานิสงส์ของการปลีกตนออกจากกามารมณ์ จากนั้นทรงแสดงอริยสัจ ๔ กล่าวคือ ปัญหาชีวิต บ่อเกิดของปัญหาชีวิต การแก้ปัญหาชีวิต และวิธีการแก้ปัญหาชีวิตที่ถูกต้อง ก่อให้เกิดผลดีอย่างไพศาลแก่พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพาร

          ๒. ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งสาวัตถี ด้วยหลักธรรมเป็นอเนกประการทรงอยู่ในฐานะเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้โปรดประทานวิธีการลดความอ้วนแก่พระเจ้าประเสนทิโกศล  เมื่อเตรียมการบูชายัญเป็นการใหญ่ ตามคำพยากรณ์ของ       ปุโรหิตาจารย์  ก็ได้โปรดด้วยหลักธรรมให้ทรงเข้าถึงหลักกรรมอย่างมีเหตุผล แทนที่จะทรงฆ่าสัตว์เหล่านั้น กลับกลายเป็นการให้อภัยสัตว์ ให้ชีวิตทานแก่สัตว์เป็นจำนวนมาก และทรงเลิกเสวยอาหารที่ทำจากสัตว์

          ๓. ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดา ในการเสด็จเยี่ยมกรุงกบิลพัสดุ์ ครั้งแรก ด้วยหลักธรรมว่า “พึงประพฤติธรรมเป็นที่สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมที่เป็นสุจริต ผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงตรัสถามด้วยความห่วงใย เมื่อทราบข่าวการบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะบางครั้งมีข่าวว่าป่านนี้น่าจะถึงขั้นเสียชีวิตแล้วก็ได้ ก็ได้ทรงแสดงมหาธรรมปาลชาดกยืนยันว่า จะไม่สิ้นชีวิตตั้งแต่ชนมายุน้อย เพราะได้สร้างศีลบารมีมาบริบูรณ์ เป็นเหตุให้ไม่ต้องเสียชีวิตตั้งแต่วัยยังหนุ่ม

          จากตัวอย่างจะพบว่า พระพุทธเจ้าทรงเกี่ยวข้องกับนักปกครองอย่างไรบ้าง เมื่อนักปกครองได้ศึกษาและปฏิบัติถูกต้อง เป็นเหตุให้การปกครองเป็นไปโดยธรรม ก่อให้เกดความสุขแก่ราษฎรอย่างกว้างขวาง ธรรมที่ทรงแสดงแก่นักปกครองนั้น ก็มีส่วนเกื้อกูลแก่คนส่วนมากโดยปริยาย

 

 



[1]ฤทธิชัย แกมนาค. รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา. ใน http://www.learners.in.th/file/ganesh/aa.doc

หมายเลขบันทึก: 450036เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท