drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

การจัดการองค์ควาามรู้ รวบรวมจากทุกหน่วยงานของ มทร.ธัญบุรี


การจัดการองค์ความรู้ มทร.ธัญบุรี

สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2553 

ประเด็นความรู้ : ด้านการเรียนการสอน       

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 

หัวข้อประเด็นการความรู้ เคล็บลับการสอนเด็กยุคใหม่ (29 มีนาคม 2554)

1. บอกจุดประสงค์การเรียนการสอนก่อน

2. สอนแบบ Two-way

ให้เด็กมีส่วนร่วมจะมีเอกสารประกอบการสอนและหนังสือให้เด็ก เวลาสอนจะเอาเฉพาะประเด็นสำคัญมาพูด และมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่พบจริงในโรงงาน

3. สร้างบรรยากาศความเป็นเพื่อน และให้กำลังใจกันและกัน

- เพื่อให้เด็กไม่กลัว สามารถคุยได้ทุกเรื่อง มีความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนถ้ามีกิจกรรมพิเศษก็จะงดให้และมาสอนชดเชยแทน

- การให้กำลังใจ ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักศึกษาเพื่อทำให้นักศึกษากล้าที่จะลงมือปฏิบัติ การปฏิบัติต้องมีการสาธิตให้นักศึกษาดูว่าวิธีที่ถูกต้องทำอย่างไร เมื่อนักศึกษาลงมือปฏิบัติแล้วเกิดข้อผิดพลาดต้องให้นักศึกษาค้นหาเหตุผลของการผิดพลาดพลาดนั้นด้วยตัวเอง้พื่อให้นักศึกษาสามารถจดจำได้

4. การแบ่งกลุ่ม และใช้ระบบบัดดี้

- ถ้าห้องเรียนใหญ่จะแบ่งกลุ่มนักศึกษา โดยจะสอนนักศึกษาที่เก่งก่อน เพื่อกระจายนักศึกษาที่เก่งไปช่วยเพื่อน

- แบ่งกลุ่มเด็กเป็นกลุ่มๆละ 3 คน โดยให้เลือกกันเองโดยพิจารณาจากข้อดีข้อเสียของแต่ละคนเพื่อเป็นการนำส่วนดีของแต่ละคนมาใช้

5. สอนด้วยเพลง   

เด็กวัยรุ่นยุคใหม่จะไม่ชอบภาษาอังกฤษ จึงให้เรียนรู้จากเพลงเพื่อให้สามารถเรียนรู้ความหมายจากเพลง เพื่อเป็นการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง

6. สอน สอนทฤษฏีควบคู่กับการปฏิบัติ มีการให้ทำแบบฝึกหัด

คะแนนเก็บและคะแนนจิตพิสัยจะดูจากการพัฒนาการของงานที่ให้ เน้นการให้ทำแบบฝึกหัด ถ้าเด็กหลับจะให้ทำงานเป็นกลุ่ม หรือออกมาร้องเพลง

7. หลังสอนเสร็จมีการนำเสนอ

ต้องมีการสอบถามความเข้าใจระหว่างเรียน และเมื่อจบบทเรียนต้องมีการนำเสนอ

8. สอนจากสถานที่จริง หรือประสบการณ์จริง

- ให้นักศึกษาออกไปสัมภาษณ์ร้านค้า และสรุปเพื่อนำมานำเสนอ หลังจากนั้นอาจารย์จะช่วยสรุปเพิ่มเติมอีกครั้งเป็นการให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

- การสอนทฤษฏีจะเอาแต่สาระสำคัญมาพูด และจะมีการยกตัวอย่างโดยใช้ประสบการณ์ของเด็ก หรือจากโฆษณาที่เกี่ยวข้องมาใช้ประกอบทฤษฏีที่กำลังพูดถึง ถ้าเด็กหลับจะป้อนคำถามไปที่เด็กคนนั้น

9. ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา

- ตอนสอนจะไม่ดุมากเน้นความเป็นกันเอง

- ส่งเสริมให้เด็กเกิดความชอบในวิชาที่เรียนโดยไม่บังคับ ต้องมีการเอาใจใส่ในระหว่างการเรียนการสอน

- "ผิดเป็นครู" น่าจะยังใช้ได้กับการสอนสมัยนี้ โดยการให้นักศึกษาได้ทดลองทำเอง และคอยชี้แนะทั้งกรณีถูกและผิด ถูก-ชมเชย ผิด-แนะการใช้ความคิดหาสาเหตุ และการแก้ไข

10. แทรกจริยธรรมระหว่างการเรียนการสอน และเน้นเครื่องแต่งกาย

สอดแทรกจริยธรรมระหว่างการเรียนการสอน เป็นต้นแบบในเรื่องการแต่งกายและบุคลิกภาพซึ่งจะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ

 

ที่มา http://www.gotoknow.org/blog/km-het-rmutt/433287

-------------------------------------------

คำสำคัญ (Tags): #km#rmutt
หมายเลขบันทึก: 450031เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2553

ประเด็นความรู้ : ด้านการเรียนการสอน

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

หัวข้อประเด็นการความรู้ : เทคนิคการสอนเด็กปฐมวัย (29 มีนาคม 2554)

เทคนิคที่แตกต่างกัน ดังนี้

- จัดการประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยการเพื่อนช่วยเพื่อนแลกเปลี่ยนความรู้ ของเทคนิคแต่ละคน ในเรื่องการเรียนการสอน

- การใช้สื่อการสอน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อจากสภาพแวดล้อมจริงและใช้สื่อของจริงในการเรียนการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองโดยใช้เทคนิคการทำอาหารเพื่อสร้างลักษณะสุขนิสัยให้กับเด็กปฐมวัย

- เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม คือให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม และใช้สื่อประกอบการปฏิบัติกิจกรรม เช่น สื่อภาพ สื่อของจริง เป็นต้น

- ใช้เพลงเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนความรู้ของครูโดยใช้เพลงเก็บเด็ก เช่น คำคล้องจอง หรือเพลงต่างๆ

- การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ ให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เด็กให้ความสนใจโดยการสร้าง mind maps การจัดทำการสอนแบบโครงการภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

- การจัดทำโครงการของครูผู้สอน เช่น โครงการต้นไม้ โครงการไข่

- การจัดทำโครงการนิทาน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำนิทาน เช่น นิทาน Big book เป็นผลงานของห้องเรียนเดือนละ 1 ครั้ง

- การใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กปฐมวัยจะมีความสนใจในกิจกรรมการเล่านิทานเป็นอย่างมาก ถ้าครูผู้สอนมีเทคนิคการเล่านิทานที่น่าสนใจ เช่น การใช้สื่อประกอบแทนหนังสือภาพ เช่น ผู้เล่าเป็นนักเรียนในห้องเรียน เพื่อนๆ ออกมาเปลี่ยนกันเล่า ผู้ฟังก็จะมีความสนใจในกิจกรรมของห้องเรียน

การใช้สื่อที่ทันสมัย

- การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การเชิญวิทยากรมาอบรมครูเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และครูสามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน

- การเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น สถานที่สำคัญในชุมชน/ร้านค้า/โรงพยาบาล/สถานีตำรวจ/วัด/ตลาด

- การใช้น้ำเสียงในการสอน เช่น เสียงหนักเบา เสียงเลียนแบบสัตว์ ประกอบการเรียนการสอน เป็นต้น

- การใช้สื่อจาก CD-ROM/VCD ตามหน่วยการเรียนรู้

- สนับสนุนการใช้สื่อสร้างสรรค์ให้เด็กใช้สื่อสร้างสรรค์และทำให้เด็กมีจินตนาการตามอิสระและเรื่องของการแบ่งกลุ่มโดยการเลือกวัสดุในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตามความอิสระและตามจินตนาการ

- การบูรณาการการเรียนการสอนโดยการจัดการพัฒนาครู การให้ครูได้ศึกษาดูงานจากโรงเรียนต่างๆ และนำองค์ความรู้นั้นๆ มาพัฒนาครู

- สื่อรูปแบบการสอน เช่น ศิลปะสร้างสรรค์/ สื่อเทคโนโลยีการใช้เทคโนโลยี / การบูรณาการการสอน

ที่มา http://www.gotoknow.org/blog/km-het-rmutt/433334

http://www.het.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2011/06/KM_เทคนิคการสอนเด็กปฐมวัย1.pptx

-------------------------------------------

สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2553

ประเด็นความรู้ : ด้านการเรียนการสอน

คณะวิศวกรรมศาสตร์

หัวข้อประเด็นการความรู้ : เทคนิคการทำสื่อการสอนโดยใช้สื่อ Power Point (18 และ 30 พฤษภาคม 2554)

1. ภาพประกอบภาพนิ่ง

- PowerPoint สำหรับวิชาปฏิบัติ ควรมีวีดิทัศน์ และมีของจริงมาให้ดู เปลี่ยนสื่อการสอนแบบใหม่

- มีรูปของจริง มีวิธีการใช้งาน การออกแบบ ง่าย ไปหายาก เพื่อไปใช้งาน

- ภาพนิ่ง ควรมีลิงก์ต่ออินเตอร์เน็ต ซอฟแวร์ช่วยสอน ควรมีกราฟช่วยทำให้เข้าใจ

-รูปภาพอธิบายทฤษฎี คำนวณ แต่ละ knot ใช้เว็บไซท์ส่งงาน

- ควรมีภาพประกอบในช่วงการนำเสนอเข้าสู่บทเรียน จำนวน 2-3 ภาพ โดยรูปภาพ ต้องมีความสอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง และควรเป็นภาพสีที่มีความทันสมัย มีความคมชัดของภาพ

- จำนวนภาพประมาณ 3-4 ภาพต่อหน้า

- ให้ภาพมา แล้วให้นักศึกษาวาดภาพประกอบ หรือออกข้อสอบให้นักศึกษาอธิบายเขียนรูปภาพเลย

- เชื่อมโยงหรือบูรณาการความรู้ โดยการทบทวนวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง (วิชาพื้นฐาน) เป็นไดอะแกรมบ้าง รูปภาพบ้าง หรือรูปจากกล้องจุลทรรศน์ เป็นต้น แล้วให้นักศึกษาอธิบายเสริม

- การบรรยายควรมีรูปภาพประกอบให้เหมาะสม จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

- รูปภาพประกอบให้มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหา แต่ไม่ควรจะเซ็กซี่มากเกินไป จะทำให้ความสนใจของเด็กไม่อยู่ในเนื้อหา แต่จะไปอยู่ที่รูปภาพแทน

- ภาพประกอบ อาจารย์จะเขียนด้วย Visio หรือเอากล้องถ่ายรูปถ่ายเอง หรือ Scan จากหนังสือ textbook หรือวารสาร (กรุณาอ้างอิงให้ถูกต้องด้วย เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องจริยธรรมในงานวิชาการ)

- ถ้ามีกล้องวีดิโอ อาจจะถ่ายทำเป็นตอนสั้นๆ ให้นักศึกษาดูจะสะดวกกว่าใช้รูปภาพบรรยาย

- เรียงลำดับขั้นตอน พร้อมกับมีรูปภาพประกอบ เจาะแต่ละ Frame ก็ได้

2. ชนิดของตัวอักษร

- ชนิดตัวอักษร ควรเป็น Browallia UPC หรือ Cordia UPC

- ถ้าเป็นหัวข้อใหญ่ ควรเป็นตัวหนา Font 32-34

- อักษรบรรยายใช้ Font 30-32

- อักษรบรรยายภาพ ใช้ Font 26-28

- เน้นตัวอักษร เช่น หัวข้อตัวหนาใหญ่ 36 point รายละเอียด ตัวเล็กลง 28-32 point

- เน้นข้อความสำคัญๆ ให้ใช้ขีดเส้นใต้ หรือทำตัวเอียง หรือตัวหนา

- ภาษาอังกฤษควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ถ้าตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดอ่านยาก

- Font ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ให้ระมัดระวังอย่าใช้ขนาดที่แตกต่างกัน ในบาง Font ควรปรับให้เท่ากัน

3. ขั้นตอนของสไลด์ ตั้งแต่เริ่มต้น --> สิ้นสุด

- ขั้นตอนแบ่งตามหัวข้อวัตถุประสงค์ โดยเรียงจากหน่วยเรียนย่อยๆ ตามลำดับ

การจัดเรียงเนื้อหา ให้เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก หรือจากคำอธิบายรายวิชา

4. สีของตัวอักษร

- ความเข้ม/อ่อน ของสีที่ใช้ขึ้นกับ Background หากใช้พื้นหลังสีอ่อน ควรใช้ตัวอักษรสีเข้ม แต่ถ้าพื้นหลังสีเข้ม ควรใช้ตัวอักษรสีขาว หรือสีอ่อนๆ จะทำให้มองเห็นชัดกว่า

- เนื้อหา สีเดียวกันทั้งหมด อย่าใช้สีเหลืองเพราะจะอ่านไม่ออก เมื่อฉายขึ้นจอแล้ว

- เน้นสีแดง เฉพาะคำสำคัญๆ ที่ต้องจำ

- เลขหน้าควรเป็นสีเข้มปานกลาง

- สีตัวอักษร เหลืองมักมองไม่เห็น ควรใช้สีเข้มๆ เช่น สีน้ำเงิน สำหรับพื้นขาว

5. พื้นหลัง

- พื้นหลังไม่ควรมีลวดลาย หรือรูปภาพที่มีรายละเอียดมากเกินไป

- ห้องที่มีขนาด 20 ฟุต สามารถใช้สีเข้มได้ แต่ถ้าระยะเกินจากนี้ ควรใช้สีสว่าง

- ควรเลือกสีตัดกันกับสีตัวอักษร แต่ไม่ควรใช้สีตรงข้ามบางคู่ เช่น สีเขียวและสีแดงมาใช้

- ถ้ามีโลโก้ ของคณะ จะมีเอกภาพมากขึ้น

- ถ้าเป็นพื้นหลังที่เป็นธรรมชาติจะน่าสนใจมากขึ้น

- พื้นหลัง สีอ่อน ควรใช้ตัวอักษรสีเข้ม สีเข้มควรใช้ตัวอักษรสีอ่อน (สีขาว)

- สีบน PowerPoint ที่ฉายอาจจะไม่เหมือนกับสีที่ปรากฏหน้าจอคอมพิวเตอร์ จึงต้องทดสอบด้วย ปกติสีจะซีดจาง/ สีเพี้ยน บนจอที่ฉายจากเครื่องฉาย LCD

6. เนื้อหา

- อย่าใส่เนื้อหามากเกินไป จะทำให้ PowerPoint มองดูลายตา และไม่น่าสนใจ (นักศึกษาขี้เกียจอ่าน)

- ให้นักศึกษาเล็กเชอร์บ้าง พร้อมกับสลับการเขียนบนกระดานบ้าง จะได้ไม่น่าเบื่อ

- วิชาคำนวณ ควรมีการพิสูจน์ที่มา แต่อาจจะไม่บอกใน PowerPoint แต่จะเขียนบนกระดานให้แทน

- จำนวน Frame ไม่ควรมากเกินไป หรือน้อยเกินไป (ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์)

- ลูกเล่นในการเปลี่ยนหน้า Slide ไม่ควรมี เพราะจะทำให้นักศึกษามึนงงได้ (ยกเว้นสาขาที่เกี่ยวกับ Multimedia)

6. เนื้อหา

- อย่าใส่เนื้อหามากเกินไป จะทำให้ PowerPoint มองดูลายตา และไม่น่าสนใจ (นักศึกษาขี้เกียจอ่าน)

- ให้นักศึกษาเล็กเชอร์บ้าง พร้อมกับสลับการเขียนบนกระดานบ้าง จะได้ไม่น่าเบื่อ

- วิชาคำนวณ ควรมีการพิสูจน์ที่มา แต่อาจจะไม่บอกใน PowerPoint แต่จะเขียนบนกระดานให้แทน

- จำนวน Frame ไม่ควรมากเกินไป หรือน้อยเกินไป (ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์)

- ลูกเล่นในการเปลี่ยนหน้า Slide ไม่ควรมี เพราะจะทำให้นักศึกษามึนงงได้ (ยกเว้นสาขาที่เกี่ยวกับ Multimedia)

7. การทำลิงก์เชื่อมโยงไปข้อมูลอื่นๆ เช่น youtube เว็บไซท์อื่นๆ เป็นต้น

- ควรสอนวิธีทำลิงก์เชื่อมไปยังข้อมูลอื่นๆ แล้วบอกด้วยว่าเมื่อจบแล้วจะทำอย่างไรจะกลับมาที่หน้า PowerPoint ของเราได้ ที่ประชุมจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมให้

8. เทคนิคการแจกเอกสาร (ทำให้นักศึกษาสนใจเรียน)

- อย่าถ่ายเอกสารให้นักศึกษาทันที หรือควรแจกเอกสารช่วงท้ายๆ หรือช่วงที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นนักศึกษาจะไม่สนใจ เพราะถือว่ามีใน Sheet แล้ว

ที่มา http://www.gotoknow.org/blog/km-en-rmutt/432517

-------------------------------------------

สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2553

ประเด็นความรู้ : ด้านการเรียนการสอน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หัวข้อประเด็นการความรู้ : การสอนเนื้อหาสลับการฝึกปฏิบัติ/ทำแบบฝึกหัด (วันที่ 21 มีนาคม 2554)

ขั้นตอนการสอน

1.การนำเข้าสู่บทเรียน

1.1 ผู้สอนแจ้งหัวข้อและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนของแต่ละบทเรียน

1.2 ทบทวนความรู้เดิม และเชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิมและเนื้อใหม่ที่กำลังจะเรียนต่อ

- ผู้สอนตั้งคำถามทบทวนความรู้เดิม และให้นักศึกษาในชั้นเรียนช่วยกันตอบคำถาม

- ในกรณีที่นักศึกษาตอบไม่ตรงประเด็น ผู้สอนอาจให้ตัวเลือกคำตอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษาตอบคำถามได้ตรงประเด็น

- ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถตอบคำถามได้ ผู้สอนกระตุ้นให้นักศึกษาช่วยกันตอบคำถาม (เพื่อนช่วยเพื่อน)

- ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการซักถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวในการเรียน

* การจัดกิจกรรมในรูปแบบเกมแข่งขัน เช่น เกมวัดดวง การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบคำถามในเวลาที่จำกัด

* การเลือกนักศึกษาในการตอบคำถาม เช่น เลือกนักศึกษาที่ไม่คาดคิดว่าตนเองจะถูกเรียกถาม โดยผู้สอนสังเกตได้จากพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาแต่ละคน เช่น นักศึกษาที่มาสาย หลับระหว่างเรียน คุยกัน เหม่อลอย แต่งกายไม่เรียบร้อย เป็นต้น

- ในกรณีที่เนื้อหาเดิมมีคำศัพท์เฉพาะทางมาก ซึ่งผู้เรียนมักจะสับสนในการนำไปใช้ เช่น การสับสนในการใช้คำศัพท์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง สารพันธุกรรม ระหว่างคำว่า “DNA” และ “Gene” ผู้สอนอาจจะให้นักศึกษาจดคำศัพท์ใส่สมุดบันทึกคำศัพท์โดยเฉพาะ เพื่อใช้สำหรับทบทวนก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง หรือรายวิชาที่มีสูตรการคำนวณต่าง ๆ ผู้สอนอาจจะให้นักศึกษามีสมุดสูตรการคำนวณเฉพาะ เพื่อให้นักศึกษาท่องจำ

- ทดสอบย่อย (Quiz) ความรู้เดิม

- ยกตัวอย่างเหตุการณ์

1.3 ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ในทางประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ ยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น

- ผู้สอนควรนำเหตุการณ์ หรือข่าวสารปัจจุบัน ที่กำลังเป็นที่สนใจ มายกตัวอย่างประกอบการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เหตุการณ์ดังกล่าวเช่น ในการสอนรายวิชาด้านสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสามารถนำข่าว และภาพเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ อุทกภัย วาตภัย

2. การดำเนินการสอน

2.1 อธิบายบทนิยามและทฤษฎีบท พร้อมยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ หรือบรรยายพร้อมสาธิตประกอบอย่างมีลำดับขั้นจนนักศึกษาเข้าใจ

- ใช้สื่อประกอบการสอนที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย เช่น

* การอธิบายกราฟจะมีการใช้สีที่แตกต่าง เพื่อให้เข้าใจความหมายของกราฟ

* กรณีเน้นคำสำคัญ หรือนิยามที่สำคัญ จะเขียนตัวอักษรให้มีสีที่แตกต่าง เพื่อให้นักศึกษาจำง่ายขึ้น

* ใช้ PowerPoint ที่มีภาพประกอบที่น่าสนใจ เช่น ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิกสามมิติเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

* คลิป VDO ที่เป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน

* ใช้ CAI

* แบบจำลองต่าง ๆ เช่น โครงสร้างผลึกของแข็ง โครงสร้างสารพันธุกรรม

2.2 ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการซักถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัว ในระหว่างการเรียนการสอน โดยการเลือกนักศึกษา หรือแบ่งกลุ่ม

3. การฝึกปฏิบัติ/ทำแบบฝึกหัด

3.1 มื่อสอนจบแต่ละหัวข้อ ผู้สอนจะให้ฝึกปฏิบัติ หรือ ทำแบบฝึกหัด เป็นรายบุคคล หรือแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มในกรณีที่มีนักศึกษาจำนวนมาก

3.2 ระหว่างที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติ หรือ ทำแบบฝึกหัด ผู้สอนให้คำแนะนำกรณีที่นักศึกษามีข้อสงสัย

3.3 ในกรณีทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาส่งตัวแทน แสดงการแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน ในกรณีทำแบบฝึกหัดเป็นรายบุคคล ให้เปลี่ยนกันตรวจสอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายวิชา และผู้สอน

3.4 ในกรณีที่นักศึกษาแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ผู้สอนกล่าวคำชมเชย และให้คะแนนจิตพิสัย สำหรับกรณีที่นักศึกษาแก้ปัญหายังไม่ถูกต้อง เปิดโอกาสให้นักศึกษาอื่น ๆ ร่วมอภิปราย แก้ปัญหา โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม

3.5 ในกรณีที่ร่วมอภิปรายแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ผู้สอนต้องเฉลย และให้กลุ่มดังกล่าว แก้โจทย์ปัญหาใหม่ในลักษณะเดิม

4. การสรุปเนื้อหา

4.1 ผู้สอนตั้งคำถามทบทวนเนื้อหา และให้นักศึกษาในชั้นเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหา

4.2 นกรณีที่นักศึกษาสรุปเนื้อหาไม่ครบ ผู้สอนกระตุ้นให้นักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาส่วนที่ขาด

4.3 ทดสอบย่อย (Quiz) เนื้อหาที่เรียน

คำแนะนำของ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

กลุ่มของอาจารย์ เป็นเนื้อเรื่องที่สามารถทำได้จริง และเป็นประโยชน์กับอาจารย์ผู้สอน ดังนั้นหลังจากทำ KM ครั้งที่ 2 แล้ว น่าจะลงลึกในหัวข้อย่อยว่า เคล็ดลับที่ทำให้ประสบผลสำเร็จทำได้อย่างไรนะครับ

เช่น ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด หรือสอบ Quiz เมื่อเสร็จให้ผลัดกันตรวจ ตรวจเสร็จใส่คะแนน และเซ็นชื่อคนตรวจกำกับ อาจารย์นำเอาคะแนนมาดู ก็จะพบว่า มีคนที่ได้คะแนนน้อยกว่าครึ่งของคะแนนเต็ม อาจารย์จะทำอย่างไรต่อไป

ถ้าเป็นผม ผมก็จะต้องจัดกลุ่มเด็ก เช่น เด็กที่ใช้สูตรผิด คำนวณผิด 1 กลุ่ม เด็กที่ไม่รู้เรื่องแปลงหน่วยผิด 1 กลุ่ม เด็กที่ไม่รู้เรื่องเลย (กระดาษเปล่า หรือผิดตั้งแต่ต้นจนจบ) 1 กลุ่ม

ผมก็จะสอนเสริมให้ในสิ่งที่เด็กกลุ่มนั้นไม่เข้าใจ และอาจจะต้องให้แบบฝึกหัด หรือ Quiz อีกครั้ง เพื่อทดสอบว่าที่เราสอนครั้งที่ 2 เด็กเข้าใจจริงๆ หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ต้องทำซ้ำอีก จนกว่าจะได้ หรือถ้าอาจารย์ไม่มีเวลาพอ อาจารย์อาจใช้วิธี "เพื่อนช่วยเพื่อน" ให้คนที่ได้คะแนน Top มาประกบ ช่วยติวจนเพื่อนเข้าใจ แล้วมาทำแบบฝึกหัด หรือ Quiz ใหม่ (อย่างนี้จะดีกว่าหรือไม่ครับ ทั้งเราไม่เสียเวลา และแถมช่วยสอนในเรื่องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมถึงสอนให้เขาสามารถสอนงานคนอื่นได้ (เป็นประโยชน์ในการทำงานต่อไปในภายภาคหน้า)) เป็นต้น เหล่านี้เป็นเคล็ดลับ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศไงครับ

ที่มา http://www.gotoknow.org/blog/km-sci-rmutt/436185

http://fscieng.csc.ku.ac.th/~www/src/km/teachingTech.ppt

-------------------------------------------

สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2553

ประเด็นความรู้ : ด้านการวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หัวข้อประเด็นการความรู้ : เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้ทุน

1. หัวข้อและประเด็นของโครงการวิจัย

1.1 เป็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน/ไม่ซ้ำซ้อน (โดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ISI, Sciencedirect,

IEEE, google scholar, TCI)

1.1.1 องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นที่สนใจของนักวิจัยทั่วโลกเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่น

- นาโนเทคโนโลยี

- พลังงานทดแทน

- สิ่งแวดล้อม

1.1.2 แก้ไขปัญหาของประเทศ หรือสอดคล้องกับโครงการตามแนวพระราชดำริ เช่น

- น้ำท่วม/ดินถล่ม

- การเกษตร (ผลผลิต การแปรรูป น้ำเสีย)

- การขาดแคลนพลังงาน (พลังงานชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์)

1.2 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ และมหาวิทยาลัยฯ

1.2.1 นโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลปัจจุบัน

1.2.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

1.2.3 นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ

1.2.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด

1.2.5 นโยบายของแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น กระทรวง มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการวิจัย (สกว.) สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยงานต่าง ๆ

1.2.6 ความเร่งด่วนของปัญหา ผลกระทบทางบวกและทางลบต่อสภาวะเศรษฐกิจ สังคม

ความสมานฉันท์ ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย ความสามารถในการแข่งขันของ

สังคม ความยากจนของประชาชน เสถียรภาพของประเทศ ฯลฯ

1.2.7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาของคณะฯ

1.3 ชื่อเรื่องต้องกระชับและสื่อความหมายชัดเจน

1.3.1 เป็นวลี ข้อความ หรือประโยคที่สมบูรณ์

1.3.2 ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่เชื่อถือได้ในวิชาชีพนั้น ๆ

1.3.3 เห็นลักษณะของตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง และขอบเขตของการวิจัย

2. หลักการและเหตุผล

2.1 สื่อที่มาของปัญหา

2.1.1 เริ่มจากสภาพปัจจุบันของสิ่งที่จะวิจัย

2.1.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับสิ่งที่จะวิจัย

2.2 แสดงให้เห็นผลกระทบจากใหญ่-เล็ก

2.2.1 มีความต่อเนื่องกัน ในแต่ละย่อหน้าผู้เขียนต้องเขียนให้ต่อเนื่องกัน ห้ามเขียนวกไปวนมา

โดยต้องยึดหลักการเขียนตามข้อ 1

2.2.2 ตรงประเด็น และชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย ไม่ควรเขียนเยิ่นเย้อ และนอกเรื่อง

เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้เขวได้

2.3 มีข้อมูลอ้างอิง เพื่อความน่าเชื่อถือ

2.3.1 มีการทบทวนวรรณกรรมเพื่อนำมาต่อยอดงานวิจัย การมีข้อมูลอ้างอิงจะทำให้งานวิจัยมีคุณค่า

และบางครั้งทำให้การเขียนมีความสละสลวย มีเหตุมีผล

2.3.2 ควรมีข้อมูลเชิงประจักษ์ของผู้อื่นที่เคยทำมาแล้ว

2.4 อธิบายให้ทราบถึงที่มาและความสำคัญของโครงการวิจัย

2.4.1 สรุปเหตุผลที่ผู้วิจัยจะศึกษา ในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย ใน

ส่วนนี้นิยมใช้คำว่า “จากที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ หรือ ศึกษา..”

3. วัตถุประสงค์ ขอบเขต และประโยชน์

3.1 ภาษาที่ใช้ต้องเข้าใจง่าย และแจ่มชัดในตัวเอง

3.1.1 คำที่ควรใช้ขึ้นต้นในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย เช่น เพื่อศึกษา… เพื่อพัฒนา… เพื่อ

เปรียบเทียบ… และ เพื่อสร้าง หรือ เพื่อพัฒนา…

3.2 สิ่งที่ทำและผลลัพธ์ต้องสอดคล้อง/สัมพันธ์ กับชื่อเรื่องการวิจัย

3.3 ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร กับใคร ที่ไหน

3.4 ผลลัพธ์ที่ได้ต้องชัดเจน

3.5 มีความเป็นไปได้ทำได้จริง ภายในเวลาที่กำหนด

3.6 สามารถประยุกต์กับงานสาขาอื่นได้

3.7 นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

4. ผู้วิจัย

4.1 มีเครือข่าย/ทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในหัวข้องานวิจัย

4.2 มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย

4.3 มีประวัติดี มีชื่อเสียง (มีความน่าเชื่อถือ)

ที่มา http://www.gotoknow.org/blog/km-sci-rmutt/436186

-------------------------------------------

แบบรายงานการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2553

ชื่อหน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

ประเด็นความรู้ : ด้านงานวิจัย

หัวข้อประเด็นการความรู้ : "เทคนิคทำอย่างไรจึงเขียนหัวข้อที่ทำให้ได้ทุนวิจัย”

ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : (ดังบัญชีรายชื่อที่แนบ)

วันเดือนปีที่ดำเนินการ : 18 พฤษภาคม 2554 (KM ครั้งที่ 1)

สรุปองค์ความรู้ที่ได้ : (กลุ่ม งานวิจัย)

กลุ่มได้ลงคะแนนเพื่อเลือกหัวข้อ

1. เทคนิคทำอย่างไรจึงเขียนหัวข้อที่ทำให้ได้ทุนวิจัย (5 คะแนน)

2. ทำอย่างไรที่จะทำให้งานวิจัยมีคุณภาพ (4 คะแนน)

3. ทำอย่างไรที่จะทำให้งานวิจัยมีการตีพิมพ์เผยแพร่ (4 คะแนน)

4. เทคนิคการหาทุนวิจัยจากภายนอก (2 คะแนน)

เลือก “เทคนิคทำอย่างไรจึงเขียนหัวข้อที่ทำให้ได้ทุนวิจัย”

เทคนิคการหาหัวข้อวิจัย

- จากการนิเทศนักศึกษาที่ไปฝึกสหกิจศึกษาในโรงงาน

- นักศึกษาแนะนำหัวข้อจากชุมุชนบ้านเกิด

- ได้มาจากศิษย์เก่า หรือ เพื่อนๆ อาจารย์

- อาจารย์กำหนดหัวข้อเอง แล้วเสนอให้กับบริษัทฯ บริษัทฯ ให้ทุนวิจัย

- ผ่านนักศึกษาระดับปริญญาโท

- ค้นหาจากแหล่งทุนวิจัย เช่น บริษัทฯ หน่วยงานราชการ

- การแจกนามบัตร ในระหว่างไปนิเทศนักศึกษา เพื่อแนะนำตัวอาจารย์

- การแจกนามบัตร ในระหว่างการไปอบรมสัมมนา กับภาคเอกชน เพื่อแนะนำตัวอาจารย์

(ดร.จักรี ศรีนนท์ฉัตร)

ประธานกลุ่มจัดการความรู้

แบบรายงานการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2553

ชื่อหน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

ประเด็นความรู้ : ด้านงานวิจัย

หัวข้อประเด็นการความรู้ : "เทคนิคทำอย่างไรจึงเขียนหัวข้อที่ทำให้ได้ทุนวิจัย”

ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : (ดังบัญชีรายชื่อที่แนบ)

วันเดือนปีที่ดำเนินการ : 30 พฤษภาคม 2554 (KM ครั้งที่ 2)

สรุปองค์ความรู้ที่ได้ : (กลุ่ม งานวิจัย)

เทคนิคการหาหัวข้อวิจัย

- จากการนิเทศนักศึกษาที่ไปฝึกสหกิจศึกษาในโรงงาน

- นักศึกษาแนะนำหัวข้อจากชุมุชนบ้านเกิด

- ได้มาจากศิษย์เก่า หรือ เพื่อนๆ อาจารย์

- อาจารย์กำหนดหัวข้อเอง แล้วเสนอให้กับบริษัทฯ บริษัทฯ ให้ทุนวิจัย

- ผ่านนักศึกษาระดับปริญญาโท

- ค้นหาจากแหล่งทุนวิจัย เช่น บริษัทฯ หน่วยงานราชการ

- การแจกนามบัตร ในระหว่างไปนิเทศนักศึกษา เพื่อแนะนำตัวอาจารย์

- การแจกนามบัตร ในระหว่างการไปอบรมสัมมนา กับภาคเอกชน เพื่อแนะนำตัวอาจารย์

เพิ่มเติม

- สืบค้นข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th/

- สืบค้นข้อมูลจากหน่วยงาน เช่น สวทช. http://www.nstda.or.th/scholarship

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) http://www.nrct.go.th/index.php?mod=contents&req=view&id=16

สภาวิจัยแห่งชาติ http://www.nrct.go.th/index.php?mod=contents&req=view&id=15

สถาบันยานยนต์ http://www.thaiauto.or.th/

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ http://www.thaitextile.org/

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ http://www.thaieei.com/ เป็นต้น

- เข้าไปแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรม โดยการเข้าทางแชลแนลของโครงการ iTAP สวทช. หรือโครงการอื่นๆ เช่น ติดต่อส่วนตัวกับเจ้าของโรงงาน กรรมการผู้จัดการ เป็นต้น

- แนวทางกับนักวิจัยโดยตั้งเป็นโจทย์วิจัยตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาในช่วงแผน ฉบับที่ 11 (2555-2559) ได้แก่

1. ความท้าทายหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก: โอกาสของประเทศไทย

2. เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์: ทางเลือกเศรษฐกิจไทย

3. ภาวะโลกร้อน: รู้วิกฤต สร้างโอกาสการพัฒนา

4. สถาปัตยกรรมทางสังคม: ทางเลือกใหม่ของคนไทย

5. สัญญาประชาคมใหม่: พลังขับเคลื่อนสังคมสู่สมดุล

จาก http://www.nrct.go.th/index.php?mod=contents&req=view&id=906

เพิ่มเติม

เทคนิค การตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยให้เหมาะสม

1. หัวข้อวิจัยต้องบอกว่าทำอะไร/อย่างไร/กับใคร

2. หัวข้อชัดเจนและมีองค์ประกอบครบ

3. หัวข้อตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย

4. หัวข้อบ่งบอกปัญหา/หาวิธีการแก้ไข/

(ดร.จักรี ศรีนนท์ฉัตร)

ประธานกลุ่มจัดการความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท