หลักการวิจัย


การวิจัยเป็นกระบวนการค้นหา ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง อันเป็นแหล่งความรู้ ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

การวิจัยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพ ในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม  มนุษย์จึงใช้กระบวนการนี้สร้างสรรค์ พัฒนาปรับปรุงให้การมีชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ข้อมูล(Data) หมายถึง รายละเอียดที่แสดงคุณสมบัติที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาเช่น อายุ รายได้ ยอดขาย เป็นต้น
ระดับของข้อมูล แบ่งเป็น ๔ ระดับ
๑.นามบัญญัติ (Nominal Scales) คือระดับของข้อมูลที่เป็นการกำหนดชื่อหรือแบ่งแยกประเภทของสิ่งต่างๆ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ห้องเรียน อาคารเรียน บ้านเลขที่ เป็นต้น
๒.เรียงลำดับ (Ordinal Scales) คือระดับของข้อมูลที่สามารถจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลตามความแตกต่างได้ เช่น ชอบมาก ชอบปานกลาง ชอบน้อย ไม่ชอบ เป็นต้น
๓.อัตราภาค (Interval Scales) คือระดับของข้อมูลที่เป็นสามารถบอกถึงปริมาณของความแตกต่างของข้อมูลได้ แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบวัดความรู้ ความสูง เป็นต้น
๔.อัตราส่วน (Ratio Scales) คือระดับของข้อมูลที่เป็นการบอกถึงปริมาณความแตกต่างของข้อมูลที่มีรายระเอียดมากที่สุดและมีศูนย์แท้ เช่น ระยะทาง น้ำหนัก ความเร็ว เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 449847เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 07:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การนำสถิติไปใช้ประโยชน์มีกระบวนการโดยทั่วไป คือ

1. การวางแผน (Planning) ก่อนจะมีการวางแผนต้องมีหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา อาทิ การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งสมมติเป็นปัญาหาเกี่ยวกับการขาดแคลนที่จอดรถในมหาวิทยาลัย ผู้ที่เป็นเจ้าของปัญหา คือ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ต้องวางแผนการแก้ปัญหา โดยจัดหาสถานที่ให้พอเพียง โดยต้องมีการวางแผนการสำรวจที่ว่าง ซึ่งจะปรับปรุงเป็นที่จอดรถได้ ในขั้นตอนนี้ต้องกำหนดว่าจะกำหนดวิธีการสำรวจอย่างไรจะใช้อะไรเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบ้าง ถ้ามีข้อมูลเกี่ยวกับคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็ต้องกำหนดว่าจะกำหนดให้ผู้คนประเภทใดบ้างที่จะไปสอบถามรายละเอียด จะใช้จำนวนเท่าใดจึงจะพอดีซึ่งจะต้องไว้ในขั้นตอนนี้ทั้งหมดรวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล และกำหนดวิธีการทดสอบข้อมูลด้วย ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ถ้าวางแผนงานได้ดีก็นับว่าทำสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data) เมื่อกำหนดในขั้นตอนที่ 1 แล้วว่าจะนำอะไรมาเป็นข้อมูล ก็จะทำการรวบรวมตามวิธีการสถิติซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

3. การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) เมื่อรวบรวมได้แล้วก็จะนำมาแสดงให้คนเข้าใจ ซึ่งอาจจะแสดงในรูปตารางสถิติ เป็นรูปภาพ หรือเป็นแบบเส้นโค้ง ฯลฯ

4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เมื่อได้ข้อมูลตามต้องการแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งอาจอยู่ในรูป ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสัดส่วน หรือค่าใดๆ ตามแต่จะกำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1

5. การตีความ (Interpretation of Data) เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือ การสรุปผลการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 4 รวมถึงการนำผลที่ได้ไปอ้างอิงใช้กับส่วนอื่นด้วย อาทิ นำผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเด็กในวัย 5-7 ขวบ ของข้อมูลตัวอย่างไปใช้กับเด็กวัย

5-7 ขวบ ทั่วประเทศ เป็นต้น

การวิจัยที่ดีจะต้องมีหลักการและดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน

กระบวนการในการวิจัยมีขั้นตอนมากตามหลักการที่ว่า ความรู้ที่ได้มาใหม่จะต้องอยู่บนหลักการแห่งความเป็นจริงโดยมีการแสวงหาความรู้เหล่านั้นอย่างเป็นระบบขั้นตอน

ความอยากรู้ + ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง + ทฤษฎี

ประสบการณ์ที่เป็นประเด็นสนใจ + ผู้เชี่ยวชาญ

ปัญหา สิ่งที่สนใจ >>> วิเคราะห์ปัญหา >>> ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ออกแบบและวางแผนการวิจัย

กระบวนการทางสถิติ

ประชากรและตัวอย่าง

การสุ่มตัวอย่าง

ตัวชี้วัด

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล

การพรรณนาข้อมูล

สรุปผล และเขียนรายงาน

สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) หมายถึง การบรรยายลักษณะของข้อมูล (Data) ที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่สนใจ ซึ่งอาจจะแสดงในรูป ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน เป็นต้น

สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) หมายถึง สถิติที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออธิบายสรุปลักษณะบางประการของประชากร โดยมีการนำทฤษฎีความน่าจะเป็นมาประยุกต์ใช้ สถิติสาขานี้ ได้แก่ การประมาณค่าทางสถิติ การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ เป็นต้น

มาตรการวัด

1. นามบัญญัติ (Nominal Scales) คือระดับของข้อมูลที่เป็นการกำหนดชื่อหรือแบ่งแยกประเภทของสิ่งต่าง ๆ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ห้องเรียน อาคารเรียน บ้านเลขที่ เป็นต้น

2. เรียงลำดับ (Ordinal Scales) คือระดับของข้อมูลที่สามารถจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลตามความแตกต่างได้ เช่น ชอบมาก ชอบปานกลาง ชอบน้อย ไม่ชอบ เป็นต้น

3. อันตรภาค (Interval Scales) คือระดับของข้อมูลที่สามารถบอกถึงปริมาณของความแตกต่างของข้อมูลได้ แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบวัดความรู้ ความสูง เป็นต้น

4. อัตราส่วน (Ratio Scales) คือระดับของข้อมูลที่เป็นการบอกถึงปริมาณความแตกต่างของข้อมูลที่มีรายละเอียดมากที่สุดและมีศูนย์แท้ เช่น ระยะทาง น้ำหนัก ความเร็ว เป็นต้น

หลักการวิจัย ควรเริ่มต้นที่ความสนใจ ความเข้าใจ ความเกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ค้นหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องที่สนใจนั้น บางคนอาจจะไม่เห็นความสำคัญในการศึกษาสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจจะเนื่องจากไม่ได้สนใจจริง ไม่ได้ใส่ใจในการเรื่องนั้นๆ จริง เป็นผลให้เกิดความเบื่อหน่าย จนอาจจะเกิดการคัดลอกจนเกิดปัญหา เช่นในปัจจุบัน การศึกษาเนื้อเรื่องตามความสนใจนั้นหากพิจารณาอย่างแท้จริงแล้ว จะได้ประโยชน์อย่างมาก ตัวอย่างเช่น อยากทราบว่า การเรียนการสอนในสถาบันแห่งหนึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือไม่ กรณีนี้แสดงว่า เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเสียก่อน ว่าเป็นอย่างไร มีองค์ประกอบใดบ้าง เป็นต้น หรือ ตัวอย่าง เช่น ความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานนี้เป็นอย่างไร กรณีนี้ เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความพึงพอใจเสียก่อนว่า หมายถึงอะไร เราจะทราบความพึงพอใจได้อย่างไร การให้บริการเป็นอย่างไร ต้องทำอย่างไรบ้างในการให้บริการ หรือ ตัวอย่างเช่น แนวโน้มปริมาณความต้องการสินค้าชนิดหนึ่งในอีก 2 - 3 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร กรณ๊นี้ เราควรจะทราบเกี่ยวกับ สินค้าชนิดนี้ว่าเป็นอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และ การศึกษาแนวโน้มคืออะไร เขาทำอะไรกันบ้าง ต้องพยากรณ์ไหม ถ้าต้องพยากรณ์แล้ว มีวิธีการใดบ้าง แต่ละวิธีเป็นอย่างไร วิธีไหนควรจะใช้ในการนำมาวิเคราะห์

ที่กล่าวมา จะเห็นว่า การจะศึกษาอะไรสักอย่างต้องทำความเข้าใจ และ ใส่ใจ อย่างสมำเสมอ จริงจัง รอบคอบ รู้จักการสืบค้น รู้จักการสรุปความ รู้จักการแจกแจงประเด็น หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการวิจัย

หลังจากเข้าใจเนื้อเรื่องที่สนใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปพิจารณารูปแบบ ระเบียบวิธีวิจัยบ้าง ว่าควรดำเนินการอย่างไร บทที่ 1 สิ่งสำคัญคือ ต้องการอธิบายให้ทราบว่า เรื่องที่สนใจนั้นมีความสำคัญอย่างไร มีเป้าหมายอย่างไร มีขอบเขตอย่างไร ประกอบด้วย หัวข้อ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นิยามศัพท์เฉพาะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท