ศิลปะอินเดียสมัยสมัยราชวงศ์โมริยะ


สมัยที่ 1 

          ศิลปะอินเดียโบราณบางครั้งเรียกว่าศิลปะแบบสาญจีหรือแบบราชวงศ์โมริยะ และแบบสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่เรียกว่าตุงคะ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 ศาสนสถานที่เหลือร่องรอยอยู่ คือสถูปรูปโอคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานมีฉัตรปักเป็นยอด แต่เดิมสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่คงเป็นไม้ เนื่องจากภาพสลักนูนต่ำหรือถ้ำที่ขุดเข้าไปในภูเขาเลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบไม้ เช่น ที่ถ้ำราชา เพทสา และการ์ลี สำหรับประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดคงเป็นเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ทำเป็นรูปสิงห์ตามแบบศิลปะในเอเชียไมเนอร์ บัวหัวเสารูประฆังคว่ำได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิหร่าน ส่วนประติมากรรมลอยตัวมีรูปร่างใหญ่และหนา เช่น รูปยักษ์ที่เมือง ประขัม ส่วนใหญ่ของงานประติมากรรมสมัยนี้ เป็นภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูป

เสาอโศก (Pillars of Ashoka) และจารึก

ที่มา : http://www.artedchula.com/blog/2009/08/03/ashoka-pillar/

          ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาไม่สลักเป็นพระพุทธรูปหรือรูปมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ แต่ใช้สัญลักษณะแทน เช่น ปางเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็มีภาพของม้าเปล่าไม่มีคนขี่แต่มีฉากกั้น ซึ่งแสดงว่าพระโพธิสัตว์ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปได้ประทับอยู่หลังม้า ปาฎิหาริย์ทั้ง 4 ปาง คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน ก็มีสัญลักษณะแทนคือ ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้นโพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทนปางปฐมเทศนาและพระสถูปแทนปางปรินิพพาน

สถูปสาญจี


แผนผังสถูปสาญจี

โตรณะ หรือ โตรณะสถูปสาญจี

ลวยลายต่าง ๆ โตรณะสถูปสาญจี

ลวยลายต่าง ๆ โตรณะสถูปสาญจี

ลวยลายต่าง ๆ โตรณะสถูปสาญจี


ลวยลายต่าง ๆ โตรณะสถูปสาญจี

ที่มา : สาขาวิชา่ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว ม.รามคำแหง

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

 

หนังสือประกอบการเขียน

กำจร สุนพงษ์ศรี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกาณ์มหาวิทยาลัย. 2553.

พรพรรณ จันทโรนานนท์, รศ. ศิลปะวิจักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2544.

สุภัทรดิส ดิสกุล, ศ.ดร. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศใกล้เคียง อินเดีย ลังกา ชวา ขอม พม่า ลาว.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ศิลปะวัฒนธรรม. 2553.

รูป : จากวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวเอเขียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศใกล้เคียง สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว ม.รามคำแหง

คำสำคัญ (Tags): #ราชวงศ์โมริยะ
หมายเลขบันทึก: 449843เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท