การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (International Trading & Investment)


การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (International Trading & Investment), Exchange Rate, wage, Inflation, Political Stabilization.

9 กรกฎาคม 2554

1. การค้า (Trading)
เกี่ยวกับสินค้าและบริการ (GOODS & SERVICES)
ในทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ (production) ซึ่งมีปัจจัยการผลิตที่สำคัญ 4 อย่าง คือ 1. ที่ดิน (land) 2. ทุน (capital) 3. แรงงาน (labor) และ 4. ผู้ประกอบการ (enterprise)

2. การลงทุน (Investment)
เป็นการใช้จ่ายเพื่อทำให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการในอนาคตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รายจ่ายในการลงทุนประกอบด้วยรายจ่ายในการก่อสร้าง รายจ่ายในการซื้อเครื่องมือเครื่องจักรใหม่ และส่วนเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าคงเหลือ

เป็นการเคลื่อนย้ายทุนจริง ๆ(รวมปัจจัยการผลิต) มาลงทุน คือ FDI= Foreign Direct Investment ซึ่งเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ  ซึ่งมิใช่การลงทุนโดยอ้อม คือ มิใช่เคลื่อนย้ายมาเฉพาะเงินทุน (หุ้นและพันธบัตร) FII= Foreign Indirect Investment

การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศก่อให้เกิด “รายได้”ของปัจเจกชน และ รายได้ประชาชาติ (national income) เกิด ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ซึ่งหลังจากหักรายได้ (รับ) สุทธิจากต่างประเทศ จะเป็นค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP : Gross Domestic Product) อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ที่เหมาะสมควรปีละ 7 %

นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง มี 2 อย่างหลักคือ
1. นโยบายเกี่ยวกับการเงินการคลัง
1.1    นโยบายการเงิน (monetary policy)
การใช้เครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลาง (Central Bank) เพื่อควบคุมระดับปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ  คือ การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT=Bank of Thailand)

ธนาคารกลาง(Central Bank)
หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและปกป้องระบบการเงินของประเทศ โดยทำหน้าที่หลักได้แก่การกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น การเป็นผู้ผลิตธนบัตรและดูแลปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และในบางประเทศยังเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันการเงินอีกด้วย

1.2    นโยบายการคลัง (fiscal policy)
เป็นการควบคุมนโยบายของกระทรวงการคลัง เรื่อง รายรับ รายจ่าย ของประเทศ

2. นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการค้าและการลงทุน
2.1    นโยบายการค้าเสรี (free trade policy)
2.2    นโยบายการปกป้องคุ้มครอง (protective trade policy)
เป็นมาตรการในการปกป้องคุ้มครองสินค้าภายในประเทศ มี 2 แบบ คือ
2.2.1    มาตรการที่เป็นภาษี (Tariffe Measures or Barriers)
2.2.2    มาตรการที่มิใช่ภาษี (Non - Tariffe Measures)

ปัจจัยสำคัญต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศในกรณีของประเทศไทย

1. อัตราการแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น) กับหนึ่งหน่วยงานของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate)
    การควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม เงินบาทไม่แข็ง-อ่อนเกินไป ของ BOT (ธนาคารแห่งประเทศไทย) จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต (economics growth) มีการเพิ่มการจ้างงาน เพิ่มรายได้ ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น

2. ราคาค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ (wage)
เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน เพราะเป็นปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง  การประกันค่าจ้างขั้นต่ำ คำนึงถึงสวัสดิการ (Social Welfare) ด้วย อย่างไรก็ตามมีปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวที่ราคาต่ำ และ ไม่มีทักษะคุณภาพ (no skill) ในปี 2558 จะเกิดกลุ่ม AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของกลุ่มอาเซียน จะมีปัญหาการทะลักแรงงานต่างด้าวที่ราคาต่ำกว่า และเกิดปัญหาสวัสดิภาพแรงงาน

3. เงินเฟ้อ (Inflation)
อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในระยะเวลาหนึ่งเปรียบเทียบกับอีกระยะเวลาหนึ่ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ 2 สาเหตุ คือ

1. ต้นทุนสินค้าเพิ่ม (cost push)
ต้นทุนการผลิตคือสิ่งที่ใช้พิจารณานโยบายกำหนดราคาสินค้าและบริการ ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ว่าจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น หรือราคา วัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าต้องเพิ่มขึ้นด้วย ราคาสินค้าสูงขึ้นผู้บริโภคต้องใช้เงินมากกว่าเดิมทำให้ปริมาณเงินที่ไหล เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

2. ความต้องการสินค้าเพิ่ม (demand pull)
ปริมาณที่ต้องการซื้อมากขึ้นทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า แรงดึง ทางด้านอุปสงค์เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
ผลกระทบของเงินเฟ้อ (impact)
ผลต่อความต้องการถือเงิน ผลกระทบต่อรัฐบาล และ ผลที่มีต่อการกระจายรายได้
อัตราเงินเฟ้อไม่ควรเกิน 20 % เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(เงินเฟ้อ แบ่งเป็น อย่างอ่อน 0-5% , ปานกลาง 5-20% ,รุนแรง เกินกว่า 20%)

4. การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (Political Stabilization)
    การมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อนักลงทุน ถ้าการเมืองมีความมั่นคง จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น (credit) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อย ๆ ก็หมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงในนโยบาย (policy) ดังกล่าวนำในตอนต้น

หมายเลขบันทึก: 449629เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2014 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผู้เขียนเรียบเรียง และ อ้างอิงจาก อ.ธนสร สุทธิบดี มร.

หลักการค้าระหว่างประเทศ

เริ่มจาก ยุคพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ศตวรรษที่ 17 ที่เกิดมีแนวคิดการค้าเสรี (FREE TRADE) แต่ประเทศยุคล่าอาณานิคมมุ่งทำการค้าเพื่อขายอย่างเดียว ทำให้ต่อมาในยุค 1930’s เกิดยุคเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (GREAT DEPRESSION) จึงเกิดแนวคิดเพื่อมุ่งให้การค้าเสรีเป็นจริง (เพราะเห็นว่า การค้าเสรีเป็นเพียงแนวคิดอุดมคติ ที่ไม่เป็นจริง) จึงเกิดข้อตกลง GATT 1947 และองค์กร WTO 1994 ขึ้น คือ GATT เป็นเพียงข้อตกลงการค้า แต่ WTO เป็นองค์กร

กระแสการค้าเสรีถือ เป็น “กระแสโลกาภิวัตน์”(Globalization) อย่างหนึ่ง ตามที่ บุชผู้พ่อได้ประกาศ “ระเบียบการจัดโลกใหม่” (New World Orders) เมื่อ ปี 1990 ใน 5 เรื่อง คือ

1.เรื่อง ประชาธิปไตย (Democracy)

2. เรื่อง สภาพแวดล้อม (Environment)

3. เรื่อง สิทธิมนุษยชน (Human Rights)

4.เรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร (Copyright) และ

5. เรื่อง การค้าเสรี (Free Trade) (กระแสโลกาภิวัตน์ ในเรื่อง ระบบเครือข่ายสารสนเทศ (Network Information Technology เดิมมาแทนโดย ข้อ 4-5 ผู้เขียน)

วิธีการจัดเก็บภาษีศุลกากร (Tariff) เมื่อสินค้าข้ามแดน

1. การจัดเก็บตามราคาสินค้า (Ad Varolem) เช่น ร้อยละ 10 , 15 , 20 สมมุติสินค้าราคา 100 บาท ร้อยละ 10 ก็จะจัดเก็บภาษี 10 บาท ขายในราคา 110 บาท เป็นวิธีทั่วไปมากที่สุด

2. การจัดเก็บตามสภาพ (Specific) เป็นการจัดเก็บตามจำนวนหน่วยของสินค้า เช่น ตันละ 2,000 บาท ถ้านำเข้า 1 ตัน เก็บ 2,000 บาท

3. การจัดเก็บแบบผสม (Combination) คือเป็นการเก็บทั้งตามราคาและตามสภาพเข้าด้วยกันทั้ง 2 อย่าง เช่น ตันละ 2,000 + ร้อยละ 5 ถ้านำสินค้าเข้ามา 1 ตันราคา 10,000 บาท ภาษีตันละ 2,000 บาท ก็จะเสียภาษีตันละ 2,000 และ เสียแบบราคาอีก 2,500 บาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในทางปฏิบัติจริง ๆ จะใช้การจัดเก็บตามราคาเป็นส่วนใหญ่

หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Non - Discrimination)

1. MFN หลักประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง Most Favoured Nation Principle

หลักเกณฑ์

1. MFN นั้นใช้กับทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของ WTO ไม่ว่าสิทธิประโยชน์นั้นจะเริ่มต้นให้แก่ประเทศใดก่อนก็ตาม (GATT a.1)

ดูที่ข้อ 1 จะเห็นว่าบรรดา อากรศุลกากร ค่าภาระชนิดใด ค่าภาระเก็บจากการโอนเงิน ผลประโยชน์ การอนุเคราะห์ เอกสิทธิ์ความคุ้มกันต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกให้กับผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศใดก็ตาม เช่น ประเทศ A เป็นสมาชิก WTO แล้วตกลงให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศ B ท่านไม่ต้องพิจารณาเลยว่า ประเทศ B เป็นสมาชิก WTO หรือไม่ก็ตามเพราะเขาบอกว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอื่นใดหรือมีจุดมุ่งหมายไปยังประเทศอื่นใด ดังนั้นจึงไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่ คุณจะต้องให้โดยทันทีและปราศจากเงื่อนไขกับผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน (Like Product) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภาคีคู่สัญญาอื่นทั้งปวง เป็นการให้กับสมาชิก WTO นั่นเอง

ดังนั้นถ้าคุณให้สิทธิประโยชน์สินค้า X เช่น เดิมเก็บภาษี 20% ให้สิทธิประโยชน์คือไม่เก็บภาษีเลย ผลประโยชน์นี้จะตกไปสู่ประเทศสมาชิก WTO ทั้งหมดไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นให้กับประเทศใดก็ตามประเทศสมาชิกจะได้ด้วยเสมอ คุณจะต้องให้ทันทีและปราศจากเงื่อนไขสิทธินี้เป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่ต้องเฉพาะกับผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันเท่านั้น

2. จากตารางข้อผูกพัน (Schedule of Concession) (GATT a.2) ประเทศสมาชิก WTO จะต้องมีตารางข้อผูกพันไว้ ซึ่งตารางนี้ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าทั้งหมดอยู่ สินค้าในประเทศเราจะมีอยู่หมื่นรายการเราไม่ต้องลงทั้งหมด

ข้อสงสัย คือ MFN บังคับเฉพาะสินค้าในตารางหรือไม่หรือสามารถก้าวล่วงสินค้านอกตารางออกไปด้วย คำตอบ อัตราภาษีดังกล่าวจะใช้กับประเทศสมาชิกโดยเท่าเทียมกันไม่ว่าคุณจะผูกพันไว้ตามตารางข้อผูกพันหรือไม่ก็ตาม มันจะล่วงเกินออกไปนอกเหนือจากสินค้าที่อยู่ในตารางข้อผูกพัน สินค้านอกตารางก็บังคับใช้ด้วย

ถ้าจะพูดง่าย ๆ คือ MFN ข้อ 1 (GATT a.1)ใหญ่กว่าข้อ 2 (GATT a.2) มันกลืนข้อ 2 เข้าไปด้วย

ตารางข้อผูกพัน (Schedule of Concession) เกิดจากการเจรจา 2 วิธี (GATT a.2)

1. การเจรจาแบบพหุภาคี (Multilateral Negotiation)

2. การเจรจาแบบทวิภาคี (Bilateral Negotiation)

สรุป MFN หลักประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง เป็นเสาหลักของ GATT คือ

1. ใช้กับทุกประเทศ – สินค้าที่เหมือนกัน หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน (Like Product) 2. อัตราภาษีใช้กับประเทศสมาชิกโดยเท่าเทียมกัน /ทันที ไม่ว่าจะผูกพันตามตารางข้อผูกพัน (Schedule of Concession) หรือไม่

ข้อยกเว้นของ MFN 2 ข้อ Enabling Clause (GATT a. 24.5)

1. การรวมกลุ่มเศรษฐกิจ (Economic Integration)

เป็นข้อยกเว้นประการแรกของ MFN ข้อยกเว้นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจะไปแฝงอยู่ในข้อ 24 วรรค 5 (GATT a. 24.5) ระบุว่าบทบัญญัติของความตกลงนี้คือบทบัญญัติของ GATT ซึ่งจะไม่ขัดขวางการก่อตั้งสหภาพศุลกากรหรือเขตการค้าเสรี หรือรับรองความตกลงเฉพาะการที่จำเป็นสำหรับการก่อตั้งสหภาพศุลกากร หรือเขตการค้าเสรี ในระหว่างอาณาเขตของคู่สัญญาทั้งหลาย ที่น่าสงสัยคือปรากฏว่าทั้ง ๆ ที่คุณดึง MFN เป็นข้อ 1 ที่เราจะไม่เลือกปฏิบัติ เราจะเก็บภาษีให้เท่ากัน เราจะปฏิบัติให้เหมือนกัน แต่ทำไมถึงแอบไว้ตรงนี้ ถ้าอยากตั้งเขตการค้าเสรีเชิญ ถ้าอยากก่อตั้งสหภาพศุลกากรเชิญ ถามว่าสิทธิพิเศษที่ให้ตามเขตการค้าเสรีที่จัดตั้งต้องให้กับประเทศอื่น ๆ หรือไม่ คำตอบคือไม่ ให้เฉพาะประเทศที่ FTA ด้วยกัน

สรุปว่า FTA ของท่านไม่มีผลต่อคนภายนอก ขัดกับ MFN แน่นอนเพราะเป็นการเลือกปฏิบัติ แต่ที่ยอม FTA เพราะต้องการการค้าเสรี WTO ต้องการการค้าเสรีของทั้งโลก กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เราพยายามทำ Free Trade ทั้งโลก WTO มองว่าเป็นเรื่องยาก ดังนั้นแม้ท่านจะเป็นเพียง 2-3 ประเทศ แต่การที่ท่านทำ Free Trade ต่อกัน จะทำให้การขายสินค้าง่ายขึ้น มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะเกิดที่จุดเล็ก ๆ ของโลก แต่มันก็เกิดขึ้น ถ้าจุดเล็ก ๆ ขยายขึ้น รวมกันมาก ๆ เข้า เราก็พาไปสู่วัตถุประสงค์เดียวกันคือ Free Trade อยู่ดี การที่จะไม่เลือกปฏิบัติเลยอาจจะนำเราไปสู่ Free Trade ช้า หรืออาจจะไม่ถึงเลย ในขณะที่เราจะไม่เลือกปฏิบัติเราก็สามารถจัดตั้ง Free Trade ได้ Free Trade มีผลกระทบต่อประเทศอย่างมาก ครั้งแรกที่คุยกันว่า MFN เป็นเสาหลักของ GATT แล้วมี Free Trade เป็นข้อยกเว้น แต่ปัจจุบันอาจจะพูดได้ว่า Free Trade เป็นหลัก และมี MFN เป็นข้อยกเว้น การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจะมีผลเฉพาะประเทศในกลุ่มเท่านั้น

2. GSP Generalized System of Preferences คือ ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

ทำไมถึงยกเว้น MFN แนวความคิดคือต้องยอมรับว่าประเทศแต่ละประเทศระดับการพัฒนาไม่เท่ากัน ซึ่งแบ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังพัฒนา และด้อยพัฒนา แม้ว่าจะมี GATT WTO เพิ่มอำนาจต่อรองให้กับประเทศเล็ก ๆ เหล่านี้ แต่ประเทศเหล่านี้ยังไม่สามารถแข่งขันได้ จึงมีการให้ประเทศใหญ่ ๆ ช่วยประเทศเล็ก ๆ ในสมัยก่อน ประเทศพัฒนาแล้วจะช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาคือการให้เงิน ส่งเงินมาให้ช่วยพัฒนาประเทศ แต่แนวความคิดใหม่แทนที่จะให้ในรูปของตัวเงิน เป็นการให้แต้มต่อด้านภาษีศุลกากรให้หรือจะยกเว้นภาษีศุลกากรให้ เช่น ถ้ามีสินค้าอยู่ 2 ชิ้น ชิ้นแรกเขียนว่า Made in Vietnam อีกอันเขียนว่า Made in Japan ถ้าราคาเท่ากันจะเลือกชิ้นไหน เปรียบเทียบว่าต่างประเทศก็ต้องรู้สึกคล้ายกัน สินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาจะสู้กับประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างไร จุดที่สำคัญคือ ราคา ถ้าสินค้าที่มาจากประเทศกำลังพัฒนาชิ้นละ 70 ส่วนสินค้าที่มาจากประเทศที่พัฒนาแล้วชิ้นละ 100 อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อได้

ดังนั้นการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรหมายความว่า ถ้าประเทศไทยส่งสินค้าเข้าไปอเมริกามีการเก็บภาษี 20% การที่ได้รับ GSP หมายความว่าการส่งสินค้าเข้าอเมริกาจะได้การลดภาษีหรือยกเว้นก็ได้ เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาโดยตรง ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้สามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น เมื่อมีรายได้ตรงนี้มากขึ้นก็นำเงินย้อนกลับไปซื้อสินค้าของอเมริกามากขึ้น แนวคิดของ GSP แทนที่จะให้เงินประเทศกำลังพัฒนาไปอาจจะสูญสลายไปหรือไม่กลับคืนมา สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับ GATT เกิดจากที่ประชุมใหญ่ของ GATT เมื่อปี 1979 อนุญาตให้ทำสิ่งนี้ได้ เป็นการปฏิบัติที่แตกต่างและเป็นพิเศษสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเรียกว่า The Enabling Clause คำตัดสินที่ประชุมใหญ่ของ GATT ทั้ง ๆ ที่มี MFN อยู่ ประเทศสมาชิกทั้งหลาย ภาคคู่สัญญาทั้งหลายอาจจะให้การปฏิบัติที่แตกต่าง ที่พิเศษกว่า ให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายได้ โดยไม่ต้องให้กับประเทศอื่น ๆ

วัตถุประสงค์ของ GSP

1. เพิ่มรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศกำลังพัฒนา

2. ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา

3. เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

GSP มีพื้นฐานอยู่บนหลักการ 3 ประการ

1. เป็นการให้โดยทั่วไป

2. ไม่เลือกปฏิบัติ

3. ไม่หวังผลตอบแทน

ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาให้ GSPกับประเทศต่าง ๆ 131 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย แยกเป็นประเทศกำลังพัฒนา 87 ประเทศ และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดอีก 44 ประเทศ เช่น ภูฏาน โซมาเลีย เฮติ เอธิโอเปีย ในการที่จะให้สิทธิ GSP สหรัฐอเมริกาจะกำหนดเงื่อนไขขึ้นมาว่าเมื่อไรคุณจะได้ GSP เพราะไม่เช่นนั้นสิทธิ GSP จะไปตกอยู่กับทุกประเทศซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์

เงื่อนไขในการได้รับ GSP

1. ระดับการพัฒนาประเทศ จัดกลุ่มเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและประเทศที่มีรายได้น้อย โดยสหรัฐอเมริกาอ้างอิงข้อมูลธนาคารโลก ข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่า ประเทศที่มีรายได้ประชาติต่อหัวของประชากรสูงกว่า 12,196 USดอลลาร์ เป็นประเทศที่มีรายได้สูง ประเทศไทยมีรายได้น้อยกว่าจึงได้รับสิทธิ GSP

2. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐอเมริกามองว่าเป็นสินค้าแบบหนึ่ง สหรัฐอเมริกาจึงนำเข้าไปใน WTO พวกสินค้าจากทรัพย์สินทางปัญญาในเมื่อเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ประเทศไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายภายในประเทศตาม เพื่อให้สอดคล้องกัน นั่นคือต้องมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมและต้องมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. คุ้มครองสิทธิแรงงาน เช่น ไม่ใช้แรงงานเด็ก ความปลอดภัยของแรงงาน มีการจัดตั้งสวัสดิการ

4. มีนโยบายสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านการก่อการร้าย มีสินค้าบางประเภทที่สหรัฐอเมริกาไม่ให้ GSP เช่น เหล็ก เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า หนัง เขาจะไม่ให้ GSP เพราะเป็นสินค้าค่อนข้างอ่อนไหวและไปกระทบกับเศรษฐกิจของเขา

สรุปข้อยกเว้น MFN Enabling Clause

1. Economic Integration (การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ) – FTA (การค้าเสรี) , CU= Customs Union (สหภาพศุลกร)

2. GSP (Generalized System Preferences) สิทธิพิเศษทางศุลกากร (สำหรับประเทศพัฒนาแล้วที่ให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา)

conditions -12196 USD./ Intellectual Law/ Labor Welfare/ Anti Terrorism

หลักการ -General/Non-Discrimination/No Benefit (Interest)

2. NT หลักประติบัติเยี่ยงชาติ National Treatment Principle 3 ข้อ (GATT a.3.1 , 3.2 , 3.4)

ข้อ 3 วรรค 1 จะเห็นความแตกต่างกับหลัก MFN : Most – Favoured Nation Principle โดยหลัก NT: National Treatment จะมาดูแลเรื่องภาษีภายใน

Article III ข้อ 3 วรรค 1 (3.1)

1. ภาคีคู่สัญญายอมรับว่าภาษีภายในและค่าภาระภายในอื่น ๆ และกฎหมายข้อบังคับและข้อกำหนดต่อการขายภายใน การเสนอขาย การซื้อ การขนส่ง การจำหน่าย หรือการใช้ของผลิตภัณฑ์และข้อบังคับเกี่ยวกับปริมาณซึ่งต้องมีการผสม การแปรรูป หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ในจำนวนหรือสัดส่วนที่กำหนดไม่ควรนำมาใช้บังคับผลิตภัณฑ์นำเข้าหรือผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ในลักษณะที่เป็นการให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ

แบ่งหลัก คุ้มครองได้ 2 อย่างได้ ดังนี้

1. ภาษีภายใน และค่าภาระภายในอื่น ๆ กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนด ไม่ควรนำมาใช้บังคับกับผลิตภัณฑ์นำเข้าหรือผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ

2. ข้อบังคับเกี่ยวกับปริมาณซึ่งต้องมีการผสม การแปรรูปหรือการใช้ ไม่ควรนำมาใช้บังคับกับผลิตภัณฑ์นำเข้าหรือผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ

ข้อ 3 วรรค 2 (3.2)

2. ผลิตภัณฑ์ของประเทศภาคีซึ่งนำเข้ามาในอาณาเขตของประเทศภาคีหนึ่งจะไม่ถูกเรียกเก็บภาณีภายในหรือค่าภาระภายในไม่ว่ารูปแบบใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เกินกว่าที่ใช้บังคับแก่ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศที่เหมือนกันไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ยิ่งไปกว่านั้นภาคีคู่สัญญาไม่อาจเรียกเก็บภาษีภายในหรือค่าภาระอื่น ๆ จากผลิตภัณฑ์นำเข้าหรือผลิตภัณฑ์ภายในประเทศในลักษณะที่ขัดแย้งกับหลักการที่ระบุในวรรค 1

ดังนั้นจะเห็นว่าภาษีนำเข้าและภาษีในประเทศจะต้องเท่ากันเสมอ จะไม่เกินผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเด็ดขาด

ข้อ 3.2 จะดูเรื่องภาษีและค่าภาระภายในเท่านั้น

ข้อ 3 วรรค 4 (3.4)

3. ผลิตภัณฑ์ของประเทศภาคีซึ่งนำเข้ามาในอาณาเขตของประเทศภาคีหนึ่งจะได้รับการปฏิบัติซึ่งไม่ด้อยกว่าการปฏิบัติที่ให้แก่ผลิตภัณฑ์ซึ่งเหมือนกันและมีแหล่งกำหนดภายในชาติในเรื่องทั้งปวงที่เกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนด ซึ่งกระทบต่อการขายภายใน การเสนอขายการซื้อ การขนส่ง การจำหน่าย การใช้ (...)

ซึ่งที่ข้อ 3.4 มุ่งไปกำกับโดยตรงเป็นเรื่องของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนด ต้องปฏิบัติไม่ด้อยกว่าการปฏิบัติให้แก่ผลิตภัณฑ์ภายในที่เหมือนกัน เรื่องภาษีจะเป็นเรื่อง ของข้อ 3.2 ผลิตภัณฑ์นำเข้าจะต้องไม่ถูกเรียกเก็บเกินกว่าผลิตภายในประเทศที่เหมือนกัน เป็น like Product ต้องปฏิบัติอย่างชาติของคุณอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างนั้น NT ฟังดูง่ายแต่เหมือนยาก ยากต่อการวิเคราะห์

สรุป NT หลักประติบัติเยี่ยงชาติ

1. ภาษีภายใน, ค่าภาระอื่น, กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับฯ ไม่นำมาใช้บังคับ ผลิตภัณฑ์นำเข้า/ ผลิตภัณฑ์ภายใน

2. ผลิตภัณฑ์นำเข้า ไม่ถูกเก็บภาษี/ค่าภาระภายใน เกินกว่า ผลิตภัณฑ์ภายในที่เหมือนกัน

3. ผลิตภัณฑ์นำเข้าจะได้รับการปฏิบัติไม่ด้อยกว่า ผลิตภัณฑ์ภายในที่เหมือนกัน และมีแหล่งกำเนิดภายในชาติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาในเรื่อง Like Product

1. ลักษณะทางภายภาพ เช่น รูปร่าง สี กลิ่น วัสดุ สิ่งที่อยู่ภายนอกที่สามารถ เห็นได้ชัดเจน เช่น ตู้แช่แข็ง 2 ประเภท มีความแตกต่างกัน คือ อันหนึ่งเปิดแนวนอน อีกอันเปิดแนวตั้ง สมมติว่าเก็บภาษี 0% ถ้าเป็น Like Product ถ้าดูทางกายภาพจะเห็นว่าไม่เหมือนกัน แต่ต้องดู

2. เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้า บางครั้งเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ปรากฏว่าเทคโนโลยีที่นะมาใช้มีความแตกต่างกัน เช่น รถยนต์บางประเภทใช้เครื่องจักรในการผลิตทั้งหมด เป็นรถยนต์ไฮเทคราคาแพง แต่มีรถยนต์อีกจำพวกหนึ่งใช้คนทำในการค่อย ๆ ประกอบชิ้นส่วนปรากฏว่าแพงกว่าเดิมอีก

3. หน้าที่/วิธีการใช้งาน เช่น จักรยาน ชนิดใช้ขี่ไปจ่ายตลาด และจักรยานบางประเภทเช่น จักรยานเสือภูเขา ซึ่งใช้งานคนละอย่างแม้จะเป็นจักรยานเหมือนกัน เพราะวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน หรือ เช่น น้ำอัดลมกับน้ำผลไม้

4. ราคาของสินค้า มีผลต่อการจำแนกตัวสินค้าด้วย เช่น กระเป๋าถือ ราคาหลากหลาย ตั้งแต่ หลักร้อย หลักพัน บางใบเป็นหมื่น บางใบมีราคาหลายแสนบาท ราคาจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะนำมาพิจารณาว่า กระเป๋าแบบนี้กับอีกแบบเป็นสินค้าชนิดเดียวกันหรือไม่อย่างไร

5. ความเข้าใจของผู้บริโภค เช่น สินค้า GMO (Genetically Modified Organisms) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรมแล้ว สมมติว่ามะละกอพันธุ์พื้นบ้านลูกอาจจะเล็ก ไม่ค่อยทนต่อโรคหรือสภาวะอากาศ มนุษย์จึงไปเอาส่วนที่ไม่ดีของมะละกอออกไป ดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้มะละกอที่ผ่าน GMO ลูกใหญ่ทนต่อสภาวะอากาศ ลูกใหญ่ น้ำหนักเยอะ รสหวาน ถามว่าดีไหม ก็ดี แต่ความเข้าใจของผู้บริโภคซึ่งรวมถึงระดับการพัฒนาประเทศ นั่นคือ ผู้บริโภคบางส่วนเชื่อว่าการรับประทานสินค้า GMO เข้าไปจะมีผลเสียต่อร่างกาย เพราะเขารู้สึกว่ามะละกอที่ไม่มีการดัดแปลงเป็นธรรมชาติ แต่การที่ไปดัดแปลงพันธุกรรมจนได้มะละกอพันธุ์ใหม่ขึ้นมาแม้ว่าจะดีกว่าเดิม แต่รู้สึกว่ามันไม่ธรรมชาติ พอทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อเซลล์หรือร่างกาย อาจจะทำให้เป็นมะเร็ง หรือไม่ดีต่อสุขภาพ สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วอาจจะเลือกสินค้าที่เป็นธรรมชาติ ส่วนประเทศที่ด้อยพัฒนาอาจจะคิดว่าขอให้มีกิน การที่มีพืชพันธุ์ที่กินได้ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว สินค้าแบบ Organic ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีราคาแพงกว่าสินค้าจากฟาร์มปกติ

6. พิกัดศุลกากร HS = Harmonized System มากกว่า 200 ประเทศที่ใช้ระบบ HS ที่จัดตั้งโดย WCO = World Customs Organization เพื่อจำแนกพิกัดศุลกากรให้เป็นไปในทางเดียวกัน ปัจจุบันพิกัดศุลกากร หากท่านจะนำสินค้าชนิดเดียวกันเข้าประเทศไทย สหรัฐอเมริกา เข้าญี่ปุ่น ในการตามหาว่าสินค้าของท่านจะเสียภาษีศุลกากรเท่าไร ลำบากมาก เพราะแต่ละประเทศมีการจัดแบ่งสินค้าเป็นของตนเอง เขาก็เลยมีแนวความคิดใหม่ว่า เราจะมีการจัดทำพิกัดศุลกากรขึ้นมาโดย WCO คนละหน่วยงานกับ WTO WCO ได้คิดระบบขึ้นมาซึ่งเรียกว่า Harmonized System ประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้ ดังนั้นเมื่อคุณใช้ระบบนี้การจัดระบบภาษีศุลกากรของทั้งโลกที่ใช้ระบบนี้จะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

7. Distribution & Marketing ช่องทางการจำหน่ายและการตลาด เช่น รถยนต์สปอร์ตกับรถยนต์พาณิชย์ (รถปิกอัพ รถ 10 ล้อ)

สรุปหลักการพิจารณา Like Product ผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน มี (7 ประการ)

1. ลักษณะทางกายภาพ Physical Characteristics

2. Technology ใช้เทคโนฯต่างกัน

3. หน้าที่และวิธีการใช้งาน Functions & Uses

4. Price ราคาที่แตกต่างกัน

5. ความเข้าใจผู้บริโภค Consumer Perception เช่น เรื่องสินค้า GMOs

6. HS =Harmonized System ดูระบบพิกัดศุลกากร

7. Distribution & Marketing ช่องทางการจำหน่ายและการตลาด

Quantitative Restrictions หลักห้ามการจำกัดปริมาณนำเข้า GATT a.11

หลักข้อยกเว้น 3 ข้อ Enabling Clause (GATT a.20)

1. moral จำเป็นเพื่อป้องกันศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นเรื่องศีลธรรมจรรยา เช่น วัตถุลามก

2. sanitary & health จำเป็นเพื่อปกป้องชีวิตหรือสุขภาพมนุษย์ สัตว์ หรือพืช เป็นเรื่องสุขอนามัยของประชาชน

3. conservation of natural resource & environment เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถใช้หมดไปได้ เป็นเรื่อง สิ่งแวดล้อม ภาวะนิเวศน์ ทรัพยากรธรรมชาติ

หากมาตรการเช่นว่านั้นได้ทำไปให้เกิดผลพร้อมกับการจำกัดการผลิตหรือการบริโภคภายในประเทศ

. เงินเฟ้อ (Inflation)

อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในระยะเวลาหนึ่งเปรียบเทียบกับอีกระยะเวลาหนึ่ง

"...สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ 2 สาเหตุ คือ

1. ต้นทุนสินค้าเพิ่ม (cost push)

ต้นทุนการผลิตคือสิ่งที่ใช้พิจารณานโยบายกำหนดราคาสินค้าและบริการ ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ว่าจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น หรือราคา วัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าต้องเพิ่มขึ้นด้วย ราคาสินค้าสูงขึ้นผู้บริโภคต้องใช้เงินมากกว่าเดิมทำให้ปริมาณเงินที่ไหล เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

2. ความต้องการสินค้าเพิ่ม (demand pull)

ปริมาณที่ต้องการซื้อมากขึ้นทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า แรงดึง ทางด้านอุปสงค์เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น..."

3. Monopoly and market manipulation

Prices can be controlled by being only supplier and/or by stock-piling to raise demand (as we have seen in recent 'cooking oil' manipulation).

สวัสดีครับ

ผมขอเยนถามว่า ผมสามารถแลกเปลี่ยนเงินตรา "สกุล (ZWD) ได้ที่ไหน? ครับ

เป็นเงินสกุลใหญ่ 10 Trilion (ฮาลาลี)

ผมสามารถแลกคืนได้ที่ Central bank ที่ไหน? ได้ครับ

เพราะผมเป็น membership การตลาดอยู่

กรุณาช่วยตอบผมหน่วยนะครับ

ขอขอบพระคุณอย่างสูง

นายตรรกพันธ์ จารุหังสิน

14 พฤศจิกายน 2554

กิตติพงษ์ พงษ์พัทธนคุณ,ว่าที่ร้อยตรี. "การศึกษากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศสำหรับประเทศไทย ." 10 ตุลาคม 2554. [Online]. Available URL:http://www.learners.in.th/blogs/posts/503256

 

โสภิดา วิวรรธน์กุศล. "ข้อดี – และข้อเสีย ของการค้าเสรีระหว่างประเทศตามแนวคิดเศรษฐกิจแบบทุนนิยม." 10 ตุลาคม 2554. [Online]. Available URL: http://www.learners.in.th/blogs/posts/503251

ธนิกานต์ เอี่ยมอ่อง. "การค้าระหว่างประเทศในเศรษฐกิจระหว่างประเทศ." 27 กรกฎาคม 2549. [Online]. Available URL :   http://www.gotoknow.org/blogs/posts/41139


ธนิกานต์ เอี่ยมอ่อง. "การค้าบริการระหว่างประเทศ (International Trade in Services)." 11 สิงหาคม 2549. [Online]. Available URL :   http://www.gotoknow.org/blogs/posts/44340

เป็นสกุลเงิน ซิมบับเวียนดอลล่าร์ (Zimbabwean Dollar : ZWD)

ซึ่งเกิดสภาวะ "Hํyper Inflation" (เงินเฟ้อ) เริ่มจากปี 2006(พ.ศ.2549)

เงินไม่มีค่า เพราะเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง คุณมีเงินอยู่ถึง 10 Trillion (10 ล้านล้าน) แต่คงไม่มีราคา  คงแลกไม่ได้ เพราะเงินดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี 2009 (พ.ศ.2552)   ลองอ่านดูใน

 

"ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเวจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี."
http://th.wikipedia.org/wiki/

 

หยางเฟย (นามแฝง). “เอามาฝาก...มหากาพย์เงินเฟ้อซิมบับเว  (Hyperinflation).” 28 ตุลาคม 2554. [Online]. Available URL : http://www.investor.co.th/TheInvestorsForum/DiscussionForums/tabid/276/view/topic/postid/6410/language/en-US/Default.aspx

การค้า การลงทุนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
กรมการค้าต่างประเทศ
http://www.stabundamrong.go.th/web/home.html

สถิติการค้าต่างประเทศของอาเซียนกับทั่วโลก

หน่วย  : ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ

2551

2552

 

ส่งออก

นำเข้า

ดุลการค้า

ส่งออก

นำเข้า

ดุลการค้า

สิงคโปร์

338,176

319,780

18,396

269,832

245,785

24,047

มาเลเซีย

194,496

144,299

50,197

156,891

123,330

33,561

ไทย

174,967

177,568

-2,601

152,497

133,770

18,727

อินโดนีเซีย

137,020

129,197

7,823

116,510

96,829

19,681

เวียดนาม

 61,778

79,579

-17,801

56,691

69,231

-12,540

ฟิลิปปินส์

 49,029

56,646

-7,617

38,335

45,534

-7,199

บรูไน

 10,268

 2,507

7,761

 7,169

 2,400

4,769

พม่า

  6,621

 3,795

2,826

 6,341

 3,850

2,491

กัมพูชา

  4,358

 4,417

    -59

 4,986

 3,901

-1,085

ลาว

     828

 1,803

  -975

 1,237

 1,725

   -488

รวม

977,537

919,590

57,549

810,489

726,354

84,135

 

สถิติการค้าภายในประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2552

หน่วย  : ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ

ส่งออก

 %

นำเข้า

  %

ดุลการค้า

สิงคโปร์

81,646

40.9

59,048

33.4

22,598*

มาเลเซีย

40,365

20.2

31,700

17.9

8,665

ไทย

32,491

16.3

26,760

15.2

5,731

อินโดนีเซีย

24,624

12.3

27,742

15.7

-3,118

เวียดนาม

 8,555

4.3

13,567

7.7

-5,012

ฟิลิปปินส์

 5,838

2.9

11,561

6.5

-5,723

พม่า

 3,197

1.6

   2,066

1.2

1,131

บรูไน

 1,229

0.6

   1,243

0.7

    -14

กัมพูชา

   997

0.5

   1,481

0.8

-489

ลาว

   645

0.4

   1,453

0.8

-808

รวม

199,587

100.00

176,620*

100.00

-22,967*

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท