Archy
นาย อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน

หน้าที่ของบริษัท ๔


ภิกษุ ภิกษุณี (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา

หน้าที่ของพุทธบริษัท ๔

 

สิ่งที่ใกล้ตัวเราบางครั้งคนเรามักจะมองไม่เห็นหรือให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้นน้อยจนละเลยไป เช่น ลมหายใจที่เราหายใจเข้าออกเป็นปกติประจำวัน เช่นเดียวกับการเป็นชาวพุทธหรือเรียกชื่อเต็มคือ พุทธศาสนิกชน เราก็มักละเลยการทำหน้าที่ของความเป็นชาวพุทธไปอย่างน่าเสียดาย การเป็นชาวพุทธไม่ใช่เป็นเรื่องที่เป็นการง่ายเพราะบางคนเป็นชาวพุทธเพียงในสำมะโนประชากรที่ระบุว่าศาสนาที่ตนนับถือชื่อว่าศาสนาอะไร แต่ความเป็นชาวพุทธที่ถูกต้องตรงตามหน้าที่เป็นเช่นไรเป็นเรื่องที่ดูเหมือนว่าง่ายแต่ทำได้ยากยิ่ง นักบรรยายที่ดีหรือผู้ที่จะเดินทางไปสังเวชนียสถานด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ควรปลูกหน้าที่หลักของตนเองให้ถูกต้องสมบูรณ์เสียก่อน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวเป็นความหวังและความตั้งใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  หน้าที่ที่ว่าคือหน้าที่ของพุทธบริษัทนั่นเอง หน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสกนั้น พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯพระอาจารย์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้แสดงเนื้อความไว้อย่างพิสดารและเข้าใจได้ง่ายดังนี้  หน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ กล่าวถึงหน้าที่ของคนสืบศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพุทธบริษัท ๔ ดังนี้

 

. หน้าที่ของภิกษุ (รวมถึงภิกษุณีด้วย) ภิกษุ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย แต่ในที่นี้จะแสดงไว้เฉพาะหน้าที่ที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ และข้อเตือนใจในทางความประพฤติปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

            ก. อนุเคราะห์ชาวบ้าน ภิกษุ (รวมภิกษุณี) อนุเคราะห์คฤหัสถ์ตามหลัก

ปฏิบัติในฐานะที่ตนเป็นเสมือน ทิศเบื้องบน ดังนี้

๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

ข. หมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลักปัพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ) ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้ความเป็นอยู่ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย ๔ โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา

๒. เรามีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้

๓. ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่

๔. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่

๕. เราจักต้องถึงความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น

๖. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น

๗. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่

๘. เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่

๙. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถาม ในกาลภายหลัง
. หน้าที่ของ อุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชน มีหลักปฏิบัติที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง

ตนกับพระพุทธศาสนา ดังนี้

ก. เกื้อกูลพระ โดยปฏิบัติต่อพระภิกษุ เสมือนเป็น ทิศเบื้องบน ดังนี้

๑.  จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔

ข. กระทำบุญ คือ ทำความดีด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓

อย่าง คือ

๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันทรัพย์สิ่งของ
๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีปฏิบัติชอบ

๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจให้เจริญด้วยสมาธิ และปัญญาและควรเจาะจงทำบุญบางอย่างที่เป็นส่วนรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีก ๗ ข้อ รวมเป็น ๑๐ อย่าง

๔. อปจายนมัย ทำบุญด้วยการประพฤติสุภาพอ่อนน้อม

๕. ไวยาวัจมัย ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ ให้บริการ บำเพ็ญประโยชน์

๖. ปัตติทานมัย ทำบุญด้วยการให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการทำความดี

๗. ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการพลอยยินดีในการทำความดีของผู้อื่น

๘. ธัมมัสสวนมัย ทำบุญด้วยการฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ

๙. ธัมมเทสนามัย ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์

๑๐. ทิฏฐุชุกรรม ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงให้เป็นสัมมาทิฏฐิ

ค. คุ้นพระศาสนา ถ้าจะปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ถึงขั้นเป็นอุบาสก อุบาสิกา

คือ ผู้ใกล้ชนิดพระศาสนาอย่างแท้จริง ควรตั้งตนอยู่ในธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก เรียนกว่า อุบาสกธรรม ๗ ประการ คือ

๑.ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
๒.ไม่ละเลยการฟังธรรม
๓. ศึกษาในอธิศีล คือ ฝึกอบรมตนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติรักษาศีลขั้นสูงขึ้นไป
๔. พรั่งพร้อมด้วยความเลื่อมใส ในพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็น เถระ นวกะ และปูนกลาง
๕. ฟังธรรมโดยมิใช่จะตั้งใจคอยจ้องจับผิดหาช่องที่จะติเตียน
๖. ไม่แสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
๗. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นที่ต้น คือ เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา

ง. เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นนำ อุบาสก อุบาสิกาที่ดี มีคุณสมบัติ เรียกว่า อุบาสกธรรม ๕ ประการ คือ

๑. มีศรัทธา เชื่อมีเหตุผล มั่นในคุณพระรัตนตรัย

๒. มีศีล อย่างน้อยดำรงตนได้ในศีล ๕
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล มุ่งหวังจากการกระทำ มิใช่จากโชคลาง หรือสิ่งที่ตื่นกันไปว่าขลังศักดิ์สิทธิ์

๔. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้
๕. เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระศาสนา

จ. หมั่นสำรวจความก้าวหน้า กล่าวคือ โดยสรุป ให้ถือธรรมที่เรียกว่า อารยวัฒิ ๕ ประการ เป็นหลักวัดความเจริญในพระศาสนา

๑. ศรัทธา เชื่อถูกหลักพระศาสนา ไม่งมงายไขว้เขว

๒. ศีล ประพฤติและเลี้ยงชีพสุจริต เป็นแบบอย่างได้

๓. สุตะ รู้เข้าใจหลักพระศาสนาพอแก่การปฏิบัติและแนะนำผู้อื่น

๔. จาคะ เผื่อแผ่เสียสละ พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ซึ่งพึงช่วย

๕. ปัญญา รู้เท่าทันโลกและชีวิต ทำจิตใจให้เป็นอิสระได้

หมายเลขบันทึก: 449622เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท