สุขี
พระ สุขี ศรีมาตย์ ชาครธมฺโม

ต้นเหมือดแอ่


ต้นเหมือดแอ่

 

โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเหมือดแอ่ จ.ขอนแก่น 

          โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา บ้านเหมือดแอ่
              ตำบล หนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิ       ชัยพัฒนา ดำเนินการรับโอนที่ดินซึ่งนายชาติชาย  โฆษะวิสุทธิ์ ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวาย จำนวน 3 แปลง เนื้อที่รวมจำนวน 42 ไร่ 1 งาน 32 ตารางวา ตั้งอยู่ที่บ้านเหมือดแอ่ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อใช้ประโยชน์ในมูลนิธิชัยพัฒนา  โดยสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ดำเนินการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550

 

พระ ราชดำริ 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการพัฒนาที่ดินในรูปแบบการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ และการผลิตผลผลิตทางการเกษตร (ไม้ผลพืชไร่ พืชผัก และด้านปศุสัตว์) สำหรับที่จะให้เกษตรกรผู้สนใจ และนิสิตนักศึกษา เข้าเรียนรู้การเกษตรกรรมที่ถูกวิธี และมุ่งเน้นการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี หันมาใช้วิธีพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด (การผลิตปุ๋ยใช้เอง การใช้พลังงานธรรมชาติ)

ต่อมา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2551  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา บ้านเหมือดแอ่  ตำบลหนองตูม จังหวัดขอนแก่น และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม ในเรื่องของการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่น เช่น ต้นเหมือดแอ่ และการขยายพันธุ์ไม้ผลและพืชที่ดีไปสู่ชาวบ้าน รวมทั้งการนำมะขามเปรี้ยวมาปลูกในบริเวณพื้นที่โครงการ  และการประหยัดพลังงานโดยใช้พลังงานทางเลือก

 

หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 (ขอนแก่น) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ผลการดำเนินงาน

-    กิจกรรม 1 ป่าอเนกประสงค์ ปลูกต้นยางนา มะค่าโมง  มะรุม แค กล้วยน้ำว้า ฯลฯ  สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปี 2554  และกำลังปลูกไม้ป่าเพิ่มขึ้น

-    กิจกรรม 2 ไม้ผล  ขยายพันธุ์มะม่วงและมะขามเทศ  ปลูกไม้ผลเพิ่มเติม ได้แก่  มะนาว มะขาม  ฝรั่ง  แก้วมังกร  มะละกอ  ไผ่เลี้ยง และไผ่บง   ขยายเรือนเพาะชำ และสร้างกระบะเพาะชำ

-    กิจกรรม 3 ผักปลอดสารพิษ  ปลูกแก่นตะวัน  1 ไร่  เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ปลูกผักปลอดสารพิษ  5  ชนิด และปลูกผักขึ้นค้าง  ได้แก่ บวบหอม  บวบเหลี่ยม  และฟักข้าว

-    กิจกรรม 4 ผลิตเมล็ดพันธุ์พืช  ได้แก่ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจำนวน  120  กิโลกรัม และจะผลิตอีก 1 รุ่นในเดือนพฤศจิกายน

-    กิจกรรม 5 ปศุสัตว์ เลี้ยงสุกรพันธุ์พื้นเมือง  จำนวน  3  ตัว เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง จำนวน 14  ตัว  เลี้ยงกบ  จำนวน 100 ตัว  เพื่อทำเป็นพ่อแม่พันธุ์

-    กิจกรรม 6 ประมง เลี้ยงปลาในบ่อดิน  จำนวน  3,000  ตัว

-    กิจกรรม 7 ข้าวและพืชไร่  ปลูกข้าวโพดฝักสดจำนวน 2 งาน  เริ่มให้ผลผลิตแล้ว และปลูกข้าวนาปรัง  พื้นที่ 1.5 ไร่  เก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนธันวาคม

กิจกรรม 8 การทำปุ๋ยและการจัดการเศษวัสดุ ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืช ทำปุ๋ยน้ำหมักจากเศษอาหาร เผาเศษกิ่งไม้เพื่อเก็บน้ำส้มควันไม้  และเผาผลไม้ที่ไม่ได้คุณภาพ  เพื่อทำเป็นผลไม้ดูดกลิ่น

เหมือดแอ่

 

ข้อมูลต้นเหมือดแอ่

ชื่อท้องถิ่น: 

เหมือดแอ่

ชื่อสามัญ: 

พลองเหมือด หรือพลองดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 

Memecylon edule Roxb.

ชื่อวงศ์: 

MELASTOMATACEAE

ลักษณะวิสัย/ประเภท: 

ไม้ยืนต้น

ลักษณะพืช:

เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกสีดำ ใบสีเขียวเข้มมัน ดอกสีม่วง ออกเป็นช่อ ผลเมื่อสุกสีดำ

ปริมาณที่พบ:

น้อย

การขยายพันธุ์:

ใช้เมล็ด

อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:

-

การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:

: ทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง ทำเครื่องมือทำนาและของเล่นเด็กอีสาน
ลำต้นของเหมือดแอ่ ตัดแล้วเอาไปเผาไฟ จะมีน้ำเลี้ยงออกมาบริเวณรอยตัด แตะเอาน้ำเลี้ยงนั้นมาถูฟัน ทำให้เหงือกแข็งแรง
เป็นสมุนไพรบำรุงเลือด บำรุงน้ำนม โดยผสมรวมกับเหมือดโลด ยาแก้ไข้ป่า แก่นนำมาย้อมไหมแทนหนามเข ให้สีเหลือง 
ลำต้น มีแก่นแข็ง โค้งได้ส่วน ชาวบ้านนิยมนำไปทำแอกวัว แอกวัวเป็นเครื่องมือสำหรับคล้องคอวัวควายเมื่อออกไปไถนา นอกจากนี้ยังทนทานต่อการผุกร่อนเมื่อสัมผัสกับน้ำ อีกอุปกรณ์หนึ่งที่ทำด้วยไม้เหมือดแอ่ คือ ทำซี่ฟันของคราดนา เพื่อหว่านกล้าข้าว 
แก่นทำง่ามหนังสะติ๊ก ลูกดิบ ใช้ยิงบั้งโป๊ะ บั้งโป๊ะ คือ ของเล่นเด็กอีสาน ทำด้วยไม้ไผ่เป็นลำ ขนาดรูของไม้ไผ่ต้องพอดีกับลูกเหมือดแอ่ เมื่อบรรจุลูกแรกเข้าไปจนสุด ใช้ไม้อีกชิ้นหนึ่งเหลากลมยาวและมีด้ามจับดันลูกที่สองเข้าไปอย่างแรง ลูกแรกจะถูกกระแทกด้วยแรงดันลมจากลูกที่สอง กระเด็นเสียงดัง โป๊ะ เด็ก ๆ เรียกบั้งโป๊ะ ตามเสียงที่ดัง

แหล่งที่พบ:

ป่าโคก ป่าเต็งรัง

ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:

-

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้:

ทุกฤดูกาล

แหล่งที่มาของข้อมูล:

ป่าชุมชนเขาวง

   
คำสำคัญ (Tags): #ต้นเหมือดแอ่
หมายเลขบันทึก: 449367เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมเข้าใจว่า ต้นเหมือดแอ่ มีความผูกพันกับผู้คน เห็นได้จากการตั้งชื่อหมู่บ้าน
  • ความผูกพันแบบร่วมสมัย ทำให้เราเห็นอะไร
  • สิ่งที่เราเห็นจะก่อเป็นสิ่งที่ดีงามและมีคุณค่าต่อการพัฒนาท้องถิ่น อย่างไร
  • น่าสนใจ นะครับหลวงพี่

อยากทราบประวัติ หมู่บ้านเหมือดแอ่โดยละเอียด พอจะมีให้บ้างมั้ยค่ะ รบกวนด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท