บทบาทของครูข้างถนนในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน


บทบาทของครูข้างถนนในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน

การทำงานข่วยเหลือเด็กเร่ร่อน ต้องใช้ครูข้างถนนที่สร้างความไว้วางใจ แล้วเด็กเร่ร่อนถึงถึงจะขอความช่วยเหลือจากครูข้างถนน สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ

     1.การสร้างความไว้วางใจให้กับเด็กเร่ร่อน โดยการลงพื้นที่เป็นประจำ และเน้นกาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเป็นกันเองระหว่างครูกับเด็ก  ซึ่งแต่ละพื้นที่ได้ใช้เทคนิคแบะกระบวนการที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมกับพื้นที่

     2.การสงเคราะห์เด็กและครอบครัว ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งยารักษาโรค และบางครั้งต้องใช้งบประมาณในการักษาพยาบาล

     3.การสอนกิจกรรมทักษะชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนร่วมสอนเกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น การดูแลสุขภาพร่างกาย สอดแทรกทักษะชีวิต กีฬา ดนตรี ร้องเพลง เล่นดนตรี อบรมเรื่องโรคเอดส์ เพศสัมพันธ์  เพศศึกษา ยาเสพติด ตลอดจนเรื่องการจัดการชีวิต การวางแผนในการใช้ชีวิต การใช้เงินที่หามาได้ บางครั้งต้องพาไปศึกษาดูงานเรื่องโรคเอดส์ หรือไปเข้าค่ายทักษะชีวิตห่างไกลโรคเอดส์ ยาเสพติด  เป็นต้น

     4.การจัดทำประวิตเด็ก  เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐาน และเพื่อนำมาวางแผนในการช่วยเหลือเด็กอย่างครบวงจร ตลอดจนการประสานครอบครัว หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     5.การแก้ไขปัยหาเฉพาะหน้า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเด็กเร่ร่อน ขระที่ลงพื้นที่ เช่น การให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพอนามัย ถ้าป่วยมากจะต้องมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ด้านการศึกษา เรื่องการฝึกอาชีพ ยาเสพติดที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เด็กเร่ร่อนถูกจับกระทำความผิดทางอาญา เป็นต้น

     6.การจัดค่าย จัดกิจกรรมเอง เช่น งานปีใหม่ งานวันเด็ก  ผลของการจัดค่ายเด็กเร่ร่อนที่เป็นเด็กวัยรุ่นโต  เข้ามาช่วยจัดกิจกรรม บางกิจกรรมเด็กขอเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมเอง รวมทั้งการประสานงานและหาของขวัญ  ขออาหารจากองค์กรที่ครูแต่ละคนทำงานอยู่ มารวมกันเลี้ยงอาหารเด็กเร่ร่อนคนอื่นๆของขวัญที่ได้มาส่วนมากได้รับมาจากเครือข่ายที่ทำงานรวมกัน

     7.พาเด็กเร่ร่อนไปเข้าค่ายร่วมกับหน่วยงานอื่นที่จัด  เพื่อให้หัดปรับตัวเข้ากลุ่ม/สังคม ได้เพื่อนใหม่ เด็กได้ปรับตัวเองเมื่อต้องเข้าไปเรียนรู้กับเด็กกลุ่มอื่นๆ หรือบางครั้งชีวิตของเด็กเร่ร่อนก็เป็นกรณีศึกษากับเด็กกลุ่มอื่นในการป้องปรามการใช้ชีวิต

    8.การฝึกอาชีพ การหาอาชีพให้กับเด็กเร่ร่อน ครูจะเน้นกระบวนการประสานหน่วยงานที่ฝึกอาชีพโดยตรง หรือบางครั้งก็พาเข้าไปเรียนการฝึกอาชีพระยะสั้น หรือการเข้าค่านโครงการสายใยรักพิทักษ์เด็กเร่ร่อน แล้วให้เด็กเลือกอาชีพ

    9.การประสานงานส่งต่อ ไปยังหน่วยงานต่างๆที่เหมาะสมในการพัฒนาหรือหน่วยงานที่มีความพร้อมในการพัฒนาเด็ก

   10.การประสานส่งคืนครอบครัว คือ การทำงานกับครอบครัวเด็ก ลงไปเยียมเยือนพร้อมทั้งการพูดคุย การรับเด็กกลับคืนสู่ครอบครัว

   11.การประสานงานในเรื่องการศึกษา  เด็กเร่ร่อนที่สนใจจะเรียนหนังสือทางครูข้างถนนจะประสานส่งต่อไปยังหน่วยงานระบบการศึกษานอกโรงเรียน หรือการศึกษาในระบบ

    12.การประสานงานติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก ศาล อัยการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าคุมประพฤติของกรมคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่คุมประพฤติของเรือนจำสถานกักกันต่างๆ เพื่อเยียมเยือนรับรองความประพฤติเด็ก ประกันตัวเด็ก เป็นต้น

    13.การติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องการประสานงานทำเอกสารที่สำคัญสำหรับเด็ก เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ไม่มีเอกสาร ครูจึงต้องติดต่อ ประสานงาน เรื่องเอกสาร เช่น การค้นหาใบรับรองการเกิดในโรงพยาบาลต่างๆ  การแจ้งเกิดย้อนหลัง การย้ายชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้าน การทำบัตรประชาชน การขอขึ้นทะเบียนทหาร การทำบัตรประจำตัวคนพิการ หรือต้องเซ็ยรับรองเอกสาร เป็นต้น

    14.การให้คำปรึกษาชีวิตแก่เด็ก  พร้อมกับกระตุ้นให้เด็กรู้สึกอยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยเฉพาะเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น และครอบครัวเด็กเร่ร่อนที่มีลูกเล็กๆ ตลอดจนการให้คำแนะนำการเลี้ยงดู  ตลอดจนการให้คำแนะนำการเลี้ยงดุหรือให้ไปขอความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข ขอความอนุเคราะห์นมผงเลี้ยงเด็กเล็ก เป็นต้น

    15.การทำงานกับเด็กด้อยโอกาสในชุมชน เด็กเร่ร่อนชั่วคราวบางส่วนอยู่ในชุมชน จึงต้องมีการทำงานกับเด็กในชุมชน พร้อมทั้งครอบครัว ผู้สูงอายุ โดยมีการจัดกิจกรรมทักษะชีวิตต่างๆ เป็นต้น

     16.ประสานงานส่งต่อเด็ก ที่ต้องการบำบัดรักษายาเสพติด เพื่อการฟื้นฟุ สภาพจิตใจ ของเด็กในด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา หรือการรักษาเรื่องสุขภาพจิต

     17.การอบรมศีลธรรมให้กับเด็กเร่ร่อน เช่น การบวชสามเรรภาคฤดูร้อน เด็กบางคนมีความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนสายธรรมะ

     18.การจัดงานศพให้กับเด็กเร่ร่อนที่เสียชีวิต เด็กเร่ร่อนที่ตายจากอุบัติเหตุ เช่น รถชน ตกน้ำตาย เป็นต้น และมีเด็กเร่ร่อนที่มีติดเชื้อโรคเอดส์ตาย หรือตายเพราะวัณโรค

      สิ่งที่กล่าวมาคือบทบาทของครูข้างถนนที่ทำงานกับเด็กเร่ร่อน

หมายเลขบันทึก: 449361เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท