จีน : ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ การเปิดประเทศในสมัยราชวงศ์แมนจู สงครามฝิ่น



ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในจีนตั้งแต่คริสตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา เช่น โปรตุเกส สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สอนศาสนา นักเดินทางท่องเที่ยว พ่อค้า ชาวตะวันตกยต้องยอมรับ “ประเพณีเกาเตา”  (Tow Tow) แสดงความคารวะแบบต่อองค์จักรรพรรดิ  ต้องยอมรับว่าจีนเป็นศูนย์กลางของการปกครอง จักรพรรดิเป็นผู้ปกครองสูงสุดของสากลโลก ผู้ที่จะติดต่อสัมพันธ์กับจีนจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ชาวต่างชาติต้องยอมรับว่าประเทศจีนเป็นอาณาจักรกลาง จักรพรรดิของจีนเป็นผู้ปกครองสูงสุดของสากล

          นอกจากนี้พวกพ่อค้าชาวจันจะไม่ยอมรับพวกพ่อค้าต่างชาติคือ

           -          พ่อค้าตะวันตกไม่แสดงการคารวะหรือแสดงควานอบน้อมต่อชาวจีน

           -          ชาวจีนคิดว่าอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพที่ต้องต่ำ จึงไม่ยกย่องพ่อค้าชาวต่างชาติ นอกจากนี้พ่อค้าชาวโปรตุเกสยังเปลี่ยนสภาพจากพ่อค้าเป็นโจรสลัดสร้างความอัคติแก่ชาวจีนเป็นอย่างมาก

          -          พ่อค้าต่างชาติเข้ามาทำลายวัฒนธรรมของจีนนำไปสู่สงครรามในที่สุด

          ในปี ค.ศ. 1699  อังกฤษได้เริ่มเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองแคนตอน แต่ไม่ได้รับการต้องรับจากจีนเท่าใดนัก ชาวจีนสร้างระบบการค้าที่เอาเปรียบต่างชาติมากมายเช่น

          -          สมาคมพ่อค้าชาวจีนเป็นผู้กำหนดอัตราภาษีซึ่งไม่เป็นระบบและอัตราตายตัวที่ไม่แน่นอน

          -          ให้พ่อค้าชาวตะวันตกค้าขายกับจีนเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

          -          การค้าต้องผ่านสามาคมพ่อค้าเท่านั้น 

          -           เปิดเมืองท่าค้าขายจำนวนจำกัด

          -          ระบบการศาลจีนไม่มีความยุติธรรม การลงโทษแบบป่าเถื่อน

          อังกฤษขาดดุลการค้ากับจีน เนื่องจากจีนไม่ยอมชื้อสินค้าจากอังกฤษ ในขณะที่สินค้าของจีนกับเป็นที่ต้องการของยุโรป  เช่น หยก เครื่องเทศ ใบชาผ้าไหม อังกฤษได้แก้ไขโดยการนำฝิ่นเข้ามาขายให้กับชาวจีน จนจีนต้องปราบปรามอย่างจริงจัง ทำให้เกิดสงครามในเวลาต่อมา

 

การเปิดประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชิง  

          การค้าฝิ่นเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้จีนต้องเปิดประเทศต่อชาวยุโรปและเปลี่ยนสภาพจากการเป็นอาณาจักรกลางมาเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมในสมัยต่อมา สงครามกับอังกฤษนำความสูญเสียอันยิ่งใหญ่กับจีนคือสงครามฝิ่น ค.ศ. 1839 และ จนนำไปสู่สนธิสัญญาการเปิดประเทศที่จีนเสียเปรียบ คือสนธิสัญญานานกิง (Treaty of Nanking) ส่งผลต่อจีนคือ

          -          จีนต้องสูเสียเกาะฮองกงให้กับอังกฤษ และต้องเปิดเมืองท่าอีก 5 เมือง ได้แก่ แคนตอน เอหมึง ฟูจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเขตสัมปทานในการดูแลของอังกฤษ

          -          ต้องสูญเสียสิทธิสภาพนองอาณาเขตให้กับชาวตะวันตก

          -          สูญเสียอำนาจในการกำหนดอัตราภาษี ทั้งนี้จะมีการกำหนดอัตรภาษีที่แน่นอนคือ 2.5 % การแก้ไขต้องได้รับการยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย

          -          เมื่อจีนทำสัญญากับประเทศใด อังกฤษจะได้รับผลประโยขน์ตามที่ประเทศนั้น ๆ ทำสัญญาด้วย

          ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 ได้เกิดสงครามครั้งใหม่ขึ้น คือสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเข้าร่วมด้วย จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เกิดสนธิสัญญาเทียนสิน ในปี ค.ศ. 1860 ส่งผลต่อจีนคือ

          -          เปิดเมืองท่าตามลุ่มแม่น้ำแยงซีให้แก่ชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น

          -          จัดสถานที่พำนักให้กับราชทูตในปักกิ่ง ซึ่งในสมัยก่อน ราชทูตจะพำนักนอกเมืองตามที่จีนจัดไว้ให้

          -          อนุญาตให้ชาวยุโรปเดินทางโดยเสรีในแผ่นดินจีน

          -          จีนต้องชดให้ค่าปฏิกรรมสงครามากมาย

            สงครามเรือแอร์โร (Arrow War) ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1856 -1860 ถ่อว่าเป็นสงครามที่สืบเนื่องจากสงครามฝิ่น ทำให้จีนต้องเปิดประเทศทำให้ความรู้และวิทยาการตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจีนมากมาก รวมทั้งแนวคิดประชาธิปไตยอันนำไปสู่การปฏิวัติประเทศจีนในภายหลัง

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หนังสือประกอบการเขียน

 

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. บทบาทของจีนต่อกิจการโลก : HI 465. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2521.

________. ประวัติศาสตร์จักรวรรดิจีน = History of imperial China : HI 368. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.

มาตยา อิงคนารถ. ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ = History of modern China : HI 462. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2540.

หมายเลขบันทึก: 449354เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท