คำเตือน!!! ไมโครซอฟท์ (www.microsoft.com) แล ะแม็คอาฟี (www.mcafee.com) เพิ่งพบไวรัสตัวใหม่


ทำไม Hoax จึง ถูกจัดว่าเข้าข่ายไวรัสคอมพิวเตอร์? คำตอบก็คือ การ เอาจุดเด่นในด้าน พฤติกรรมของผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งจดหมาย หรือข้อความที่เข้าถึงคนหมู่มากได้ในเวลาอันรวดเร็ว มาเป็นเครื่องมือในการ สร้างความปั่นป่วน และค่อนข้างได้ผลตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งลักษณะเหล่านี้ เปรียบได้กับ ไวรัสในธรรมชาติที่มีการระบาดและกระจายตัวไปอย่างรวดเร็ว

....หลายวันก่อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของน้องๆ ในสำนักงานเกิดอาการติดไวรัสกันหลายเครื่อง เป็นเพราะการเข้าสู่ Social Network ดังนั้น เมื่อมาสำรวจที่เครื่องตนเอง ปรากฎว่าไม่พบอาการใดๆ จึงได้สอบถามและพบว่าปัญหาเกิดจากการเปิดเมล์ทุกฉบับที่เข้ามาใน Inbox จึงได้เข้าไปดูเพจ "ข่าวเตือนไวรัส" (A Virus News) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีบทความที่น่าสนใจให้อ่านกันจึงนำมาแบ่งปันดังนี้

http://www.nsru.ac.th/news2552/shownews.asp?nt=F&nid=0000001435

คำเตือน!!! ไมโครซอฟท์ (www.microsoft.com) แล ะแม็คอาฟี (www.mcafee.com) เพิ่งพบไวรัสตัวใหม่

        ซึ่ง สามารถสร้างความเสียหายมากที่สุดเท่าที่มีมา แม็คอาฟีเพิ่งพบไวรัสตัว นี้ และยังไม่มีวิธีการป้องกัน ไวรัสนี้จะทำลายเซคเตอร์ซีโร่ใน ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลการทำงานของฮาร์ดดิสก์

การทำงานของมันเป็นดังนี้
1.มันจะส่งตัวเองโดยอัตโนมัติไปยังทุกรายชื่อที่คุณติดต่อ โดยใช้หัว ข้อ 'A Virtual Card For You' (คล้ายกับเวลาเราได้การ์ดอินเทอร์เน็ตจาก เพื่อน)
2.ทันทีที่เปิดสิ่งที่ส่งมานี้คอมพิวเตอร์จะหยุดทำงานเพื่อผู้ใช้จะต้องบู๊ตเครื่องใหม่ 
3.เมื่อกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del หรือปุ่มรีเซ็ทไวรัสนี้ก็จะทำลายเซ็คเตอร์ ซี โร่ ! ซึ่งจะเป็นการทำลายฮาร์ดดิสก์อย่างถาวร ดังนั้น อย่าเปิดจดหมายใดๆที่ ใช้หัวข้อว่า 'A Virtual Card For You' ให้ลบทิ้งทันที 
        นอกจากนี้ อินเทลรายงานว่าเพิ่งพบไวรัสตัวใหม่ที่เป็นอันตราย ถ้า คุณได้รับจดหมายหัวข้อ 'An Internet Flower For You' อย่าเปิด แต่ให้ลบทิ้ง ทันที ไวรัสนี้จะทำลายข้อมูลเชื่อม โยง dynamic link libraries (ไฟล์ .dll ) ทั้งหมด และ คุณจะบู๊ตเครื่องไม่ ได้

รายละเอียดเสริม

Hoax (ข่าวไวรัสหลอกลวง)
        เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกวนที่มีผลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวน มาก โดยไวรัสหลอกลวงพวกนี้จะมาในรูปของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การส่งข้อความ ต่อๆกันไปผ่านทางโปรแกรมรับส่งข้อความ หรือห้องสนทนาต่างๆ ซึ่งสามารถสร้าง ความวุ่นวายให้เกิดขึ้นได้มากหรือน้อยเพียงใด ก็ขึ้นกับเทคนิค และการใช้ จิตวิทยาของผู้สร้างข่าวขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จดหมายประเภทนี้จะมีหัวข้อที่ชวน เชื่อ อ้างแหล่งข้อมูล และบริษัทใหญ่ๆเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และเมื่อ ผู้รับส่งต่อไปยังเพื่อนสนิท และคนคุ้นเคย ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นมาก ขึ้น จากนั้นผู้รับก็จะทำตัวเป็นผู้ส่งต่อๆ ไปอีกหลายๆทอด ซึ่งเป็นลักษณะ เด่นของไวรัสหลอก ลวง หากได้รับจดหมายประเภทนี้ก็ไม่ควรที่จะส่งไปต่อๆ หรือ ควรเช็คจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องก่อนทำการส่งต่อไป
        ทำไม Hoax จึงถูกจัดว่าเข้าข่ายไวรัสคอมพิวเตอร์? คำตอบก็คือ การ เอาจุดเด่นในด้าน พฤติกรรมของผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งจดหมาย หรือข้อความที่เข้าถึงคนหมู่มากได้ในเวลาอันรวดเร็ว มาเป็นเครื่องมือในการ สร้างความปั่นป่วน และค่อนข้างได้ผลตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งลักษณะเหล่านี้ เปรียบได้กับ ไวรัสในธรรมชาติที่มีการระบาดและกระจายตัวไปอย่างรวดเร็ว ซึ่ง บุคคลที่ส่งจดหมายเวียนดังกล่าวออกไป ก็เสมือนพาหะของโรคร้าย และจะกระจาย เป็นวงกว้างมากขึ้นเรี่อย ๆ เราอาจสังเกตได้ว่าจดหมายหรือข้อความเตือนเหล่า นั้น จะวนกลับมาหาเราบ่อยครั้ง

วิธีการป้องกัน 
        หากท่านพบเห็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อความในทำนองที่กล่าวข้าง ต้น ชื่อเรื่อง หรือเนื้อหาที่มีในรายการดังต่อไปนี้ ควรลบทิ้งทันทีและไม่ ควรส่งต่อให้ผู้อื่น เนื่องจากเป็นข่าวที่ไม่เป็นความจริงแล้วจะเป็นการ เพิ่มภาระให้กับระบบเน็ตเวิร์คของท่าน

รายชื่อไวรัสหลอกลวงที่พบ(ในประเทศไทย)
1. Old Lady with a box Hoax
2. Toilet Spider
3. WTC Survivor
4. Let's Watch TV หรือ KALI - เป็นข่าวไวรัสหลอกลวงว่าจะติดไวรัสจากการเยี่ยมชมบางเว็บไซต์
5. Life is Beautiful 
6. Jdbgmgr.EXE
7. !000 - เป็นข่าวไวรัสหลอกลวงที่แพร่หลายในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
8. SULFNBK.EXE Warning - เป็นข่าวไวรัสหลอกลวงที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้
9.Win a Holiday
10. CELCOM
11. SadMan
12. Mobile Phone - เป็นข่าวไวรัสหลอกลวงเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ
13. Virtual Card for You
14. Budweiser
15. Economic Slow Down in US 
16. FAMILY PICTURES

....หากพบว่าจดหมายฉบับใดที่ไม่คุ้นแล้วก็ไม่ควรเปิดนะครับ และลบไปเลย ... เพราะอย่างไรก็ป้องกันข้อมูลในเครื่องฯของเราดีกว่า หากไม่แน่ใจว่าจะมีใครส่งจดหมายสำคัญมาให้ก็คงต้องมีการส่งรหัสกันมาด้วยก็คงจะดี คราวหน้าจะลองหาวิธีการส่งจดหมายที่รู้กันเพียงสองคนกันต่อไปครับ


หมายเลขบันทึก: 448694เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท