รายงานภาพ ๑๐๐ ปีชาตกาลหลวงพ่อเทียน


  ความแยกส่วนของการศึกษาและวิถีสุขภาพในกระแสหลัก ไม่ทัดเทียมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน 

กระแสหลักของการศึกษาและการพัฒนาทางด้านต่างๆทั้งของสังคมไทยและทั่วโลก มีความทันสมัยและเจริญก้าวหน้ามาก ทว่า ลดทอนและแยกส่วน แยกส่วนจิตใจกับวัตถุ แยกการศึกษาออกไกลห่างสังคม แยกวิชาการและวิถีความรู้ออกจากความจริงในชีวิต หลุดออกจากรากฐานสังคม แยกธรรมชาติออกจากมนุษย์ ติดอยู่เพียงการแยกขั้วถูกผิด ดำขาว ดีเลว แยกแบ่งเราเขา ติดกรอบที่คับแคบ ใช้แก้ปัญหาเป็นจุดแบบแยกส่วนได้แต่จะมีข้อจำกัดในการจัดการกับระบบสังคมที่มีความเป็นจริงแตกต่างหลากหลายให้มีสุขภาวะร่วมกัน ให้คำตอบทางวัตถุและการบริโภคได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถให้คำตอบในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่ยั่งยืน เข้าไม่ถึงความเป็นจริงของสรรพสิ่ง สร้างปัญญาที่แก้ทุกข์ไม่ได้ ก่อให้เกิดทุกขภาวะและสร้างภาวะวิกฤติให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การศึกษาและสุขภาพแบบแยกส่วน จึงเป็นการศึกษาและวิถีสุขภาพที่มีขีดจำกัดสำหรับความจำเป็นในปัจจุบัน

  ระดมพลังเรียนรู้การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

มิติจิตวิญญาณและศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ออกจากภายใน เชื่อมโยงสู่สรรพสิ่ง วิถีแห่งสติ การเรียนรู้ลมหายใจ และความรู้สึกตัว เป็นหนทางหนึ่งที่ให้คำตอบดังกล่าวนี้ได้ดีขึ้น สังคมของโลกแดนใต้หรือโลกตะวันออกยังคงมีศาสนธรรมต่างๆเข้มแข็ง รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมทางจิตใจที่ดี จึงมีต้นทุนเหล่านี้มาก พุทธธรรมและแนวการเจริญสติภาวนาของหลวงพ่อเทียนก็เป็นต้นทุนทางปัญญาที่สำคัญ

ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, สถาบันสุขภาพอาเซียน, และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล, เครือข่ายโครงการจัดงานรำลึก ๑๐๐ ปีชาตกาลหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ, ชมรมชีวเกษม, และสำนักปฏิบัติธรรมเบิกฟ้าธรรมาศรม,โรงเรียนอนุบาลพลอยภูมิ, โรงเรียนจุฑาภรณ์, และเครือข่ายพระวิปัสนาจารย์สายหลวงพ่อเทียนและคณะศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ, เครือข่ายสถาบันวิชาการสาธารณาสุขเพื่อพัฒนาสู่องค์กรสร้างเสริมสุขภาพ (แผนงาน สอส), สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนุบสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส), จึงได้ร่วมกันจัดเวทีปฏิบัติและศึกษาวิถีการพัฒนาการเรียนรู้สร้างสุขภาวะแบบองค์รวม, ในงานปฏิบัติบูชาและประชุมวิชาการสุขภาวะทางปัญญา รำลึก ๑๐๐ ปีชาตกาล หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ : การศึกษาและสุุขภาวะบนรากฐานของความรู้สึกตัว เสาร์อาทิตย์ที่ ๙-๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

  เข้าสู่การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวนิชชากร  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และรองศาสตราจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย หัวหน้าภาควิชาศึกษาศาสตร์ ร่วมแสดงทรรศนะ กล่าวถึงความสำคัญและความบูรณาการกับประเด็นสำคัญของสังคมร่วมสมัย พร้อมทั้งร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเวทีและเครือข่ายกัลยาณมิตรแห่งการเรียนรู้ในครั้งนี้

แพทย์หญิงสุพัตราหรือคุณหมอช้าง ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนนี้ เป็นผู้บุกเบิกระบบสุขภาพปฐมภูมิและดำเนินงานนโยบายสำคัญของประเทศในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล หรือ รพสต. ซึ่งถือว่าเป็นด่านหน้าสำคัญ ในการบรรลุจุดหมายการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศในกระบวนทัศน์ใหม่ซึ่งเน้น 'สร้างนำซ่อม' ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่นำมาขับเคลื่อนด้วยคือ การยกระดับสาธารณสุขมูลฐานสู่งานสุขภาพชุมชนและการพัฒนาสุขภาพทางจิตวิญญาณ 

ส่วนรองศาสตราจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อยนั้น นอกจากเป็นนักวิชาการด้านประชากรกับการพัฒนาและการศึกษากับการพัฒนาที่มีบทบาทสำคัญในแวดวงวิชาการสาขาดังกล่าวนี้ของประเทศแล้ว จัดว่าเป็นนักวิชาการในแนวขับเคลื่อนสังคม นักระเบียบวิธีและนักประเมินผลแบบเสริมพลัง (Empowerment Evaluation) ที่มุ่งพัฒนาระเบียบวิธีการทำงานแบบสหวิทยาการ เป็นคนทำงานแนวประชาสังคมคนหนึ่งที่เข้มแข็งทั้งในทางวิชาการและการเชื่อมโยงได้กับการเคลื่อนไหวของคนทำงานภาคประชาชน สามารถเปิดมิติใหม่ๆของการบูรณาการมิติทางการศึกษาและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการนำการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งหลายด้านมีความเชื่อมโยงกับแนวการพัฒนาสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในกระบวนทัศน์ใหม่ของประเทศ เช่น การพัฒนาเมืองน่าอยู่ การสร้างสุขภาวะชุมชน การพัฒนาศักยภาพปัจเจกและชุมชนในการจัดการสุขภาพ การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เน้นความเป็น Process of Learning และการพัฒนาปัจจัยด้านคนเพื่อการพัฒนาทางด้านต่างๆ 

  หลักการและวิธีการของหลวงพ่อเทียนในการเจริญสติ 

 แนวทางและความเชื่อมโยง   มุ่งเน้นที่การทำที่สุดแห่งทุกข์ สร้างที่พึ่งอันเกษม และเข้าถึงภาวะสูงสุดในพุทธธรรม โดยทำกรรมฐานหรือสร้างฐานของการปฏิบัติต่างๆในชีวิตบนความมีสติและความรู้สึกตัว

 วิธีการ   วิธีการและกระบวนการสำคัญคือการสร้างจังหวะให้ประสานสอดคล้องกันของร่างกายและจิตใจ ด้วยการทำจังหวะมือ ๑๔ ขั้นตอน กำหนดรู้ไปตามจังหวะเคลื่อนไหวตลอด ๑๔ ขั้นตอน

 เปรียบเทียบกับการทำกรรมฐานแนวอื่น   อาจเทียบเทียงได้กับการเจริญอาณาปนสติ ซึ่งวางสติและกำหนดรู้ลมหายใจ แต่ของหลวงพ่อเทียนกำหนดรู้การเคลื่อนไหวและความตื่นรู้อยู่ในสภาพปรกติที่ไม่ต้องหลับตา

 หลวงพ่อเทียน   หลวงพ่อเทียนเป็นพระชาวบ้านชาวอีสาน การศึกษาทางโลกเพียงชั้นประถม ๔ แต่ในความเป็นผู้นำทางปัญญาและทางจิตวิญญาณนั้น วิธีปฏิบัติเจริญสติของหลวงพ่อเทียนมีผู้เชื่อถือศรัทธาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อีกทั้งเป็นพระวิปัสนาจารย์อีกท่านหนึ่งที่มีความเปิดกว้าง ให้การยอมรับและเคารพความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม ดังนายแพทย์วัฒนา พรหมจักร์ ได้บันทึกคำกล่าววิสัชนาของท่านไว้ครั้งหนึ่งว่า "...คนรู้ธรรมะที่แท้จริงนั้นจะรู้สิ่งเดียวกัน ไม่ขึ้นกับเพศ วัย หรือภาษาพูด..." 

  การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

การศึกษาและสุขภาพแบบเดินออกนอกตัว ทำให้มนุษย์ขึ้นต่อวัตถุและเป็นทุกข์ง่าย พุทธธรรม ธรรมะของพระพุทธองค์ ชี้นำไปสู่การเข้าถึงที่พึ่งอันเกษม มีความมั่นคงยั่งยืน วิธีการและศาสตร์แห่งการเจริญสติของหลวงพ่อเทียน เป็นวิธีปฏิบัติที่น้อมนำผู้ปฏิบัติให้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้นได้......
                                                                                                    พระราชกิตติเมธี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี 

  การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

การเจริญสติทำให้ตื่นรู้ พัฒนาสติปัญญาในตนให้เหมือนนั่งมองสวะไหลไปตามกระแสน้ำ เราจะนั่งช้อนออกไปอย่างไรก็เห็นทั่วไปหมด.....การฝึก ต้องฝึกให้ตัวเองอย่างต่อเนื่อง เหมือนสายสร้อย อย่าเหมือนกิ้งก่า ผลุบๆโผล่ๆ ไม่ต่อเนื่อง ได้นิดๆหน่อยๆก็อวดโอ่ชูคอ ไม่ได้มรรคผลอะไร....
                                                                                                    พระศรีวรญาณ วัดป่าหนองคู มหาสารคาม

 

  การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

การศึกษาและและงานวิชาการทั่วไปของโลก มันทำให้คนคิด ยิ่งคิดยิ่งไม่เห็นความจริง การเจริญสติฝึกให้หยุดคิด เห็น และรู้สึก เหมือนนั่งมองจากที่สูงลงไปเห็นความเป็นจริงทั้งหมด....
                                                                                                    พระอาจารย์สุริยา มหาปัญโญ วัดป่าโสมพนัส สกลนคร

เจ้าประคุณพระราชกิตติเมธี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี พระศรีวรญาณ (หลวงพ่อมหาไหล) วัดป่าหนองคู มหาสารคาม พระอาจารย์สุริยา มหาปัญโญ วัดป่าโสมพนัส สกลนคร พระมหาวีระพันธ์ ชุติปัญโญ กาฬสินธุ์ พระอาจารย์โกศิล ปริปุณโณ วัดปลายนา ปทุมธานี และพระวิปัสสนาจารย์หลายท่าน มาร่วมงานและเป็นผู้นำการศึกษาเพื่อสืบสานการเจริญสติแนวเคลื่อนไหว สะท้อนไปสู่การดำเนินชีวิตและการทำงาน

  สุนทรียภาพ กับการศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

ดนตรี อ่านบทกวี ขับเสภา บทเพลงเพื่อการเจริญสติภาวนา โดยคณะครูโรงเรียนอนุบาลพลอยภูมิ, เด็กนักเรียนเครือข่ายสุขภาพชุมชน โรงเรียนภัทรบุตร, พันโทหญิงจันทนา กมลศิลป์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

  การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

  • สถาบันการศึกษาที่พร้อมพอสมควรและมีต้นทุนต่างๆพอสมควรแล้ว ต้อเร่ิมจากการปฏิบัติและพัฒนาตนเอง เพื่อได้รู้จริง นำไปสอน และนำไปดำเนินการต่างๆได้จริง
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทำได้ ๓ ลักษณะ คือ ทำในกิจกรรมกลุ่มนักศึกษา ทำโครงงานสู่ชุมชนของนักศึกษาและมหาวิทยาลัย และพัฒนาหลักสูตรวิชา ชื่อ หลักสูตรการบริหารจิตเพื่อการพัฒนา ซึ่งกำลังจะนำเสนอต่อการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย
                                                                                             อาจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

  การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

การพบกับวิกฤตและปัญหาในชีวิตประจำวัน ทำให้เราทุกข์และแก้ไขไม่ออก การเจริญสติทำให้พ้นทุกข์ได้ สำหรับตนเองแล้วต้องไปปฏิบัติในที่ซึ่งมีครูวิปัสนาจารย์และสถานที่ สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการปฏิบัติ และต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง หลายๆวัน .... 
                                                                                       ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สาธิตการจัดกระบวนการเรียนการสอน พัฒนาการศึกษาและสร้างเสริมสุขภาวะบนรากฐานของความรู้สึกตัว โดยใช้ศิลปะ ดนตรี และกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการการเจริญสติภาวนา

  การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

  • การนำไปบูรณาการกับชีวิตประจำวันของเรา ต้องเริ่มออกจากตัวเอง ขยายออกไปสู่เครือข่ายชีวิต และเครือข่ายการทำงาน
  • การศึกษาทางเลือกมีหลายรูปแบบและมีพลังนำการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเป็นลำดับ มีโฮมสคูล มีโรงเรียนภูมิปัญญาทางเลือก สื่อทางเลือก เครือข่ายจัดการศึกษาของภาคประชาชนแบบต่างๆ
  • เครือข่ายที่ปฏิบัติและดำเนินการในแนวทางนี้ต้องเชื่อมโยงกัน ร่วมมือกัน พัฒนาเป็นการศึกษาทางเลือก นรำเสนอแนวทางใหม่ๆของการสร้างสุขภาวะสังคม
                                                                                                ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก 
                                                                                                เครือข่ายโฮงเฮียนภูมิปัญญาล้านนา

                             

  การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

คำสอนของหลวงพ่อง่าย มีความเป็นธรรมดา แต่ให้ความกระจ่าง ชัดแจ้ง รู้จริง ตำราเปรียบเสมือนแผนที่ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ทางไปหรือยังไปไม่ถึงจุดหมาย ผู้ที่ไปถึงแล้ว แผนที่ก็หมดความหมาย ..... 
                                                                                               ถ่ายทอดการสอนแบบฉีกตำราของหลวงพ่อเทียน 
                                                                                               โดยนายแพทย์วัฒนา สุพรหมจักร์  โรงพยาบาลสมิติเวช

  การศึกษาและสุขภาพบนรากฐานการรู้สึกตัว 

ร่วมกันศึกษาและสืบสานเรื่องราวของหลวงพ่อเทียน, ภูมิปัญญา, ความลึกซึ้ง, และความมหัศจรรย์ของพระธรรมดาที่จบการศึกษาประถม ๔ แต่เผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้าให้ผู้คนเข้าถึงและสามารถพ้นทุกข์ได้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ มีการเสวนาจากนักวิชาการ พระวิปัสนาจารย์ และเครือข่ายศิษยานุศิษย์ ให้เห็นความสอดคล้องและเกื้อหนุนส่งเสริมกันเป็นทางเลือกใหม่ๆในสังคมยุคปัจจุบัน ทางด้านการศึกษาที่เน้นพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างเป็นองค์รวม มุ่งสู่เป้าหมายอันเป็นที่พึ่งอันเกษม, สุขภาพและสุขภาวะที่มีความหมายต่อจิตใจ จิตวิญญาณ และความเป็นมนุษย์, และการพัฒนาสุขภาวะในวิถีชีวิตของปัจเจก ครอบครัว และชุมชน

วิทยากรและนักวิชาการร่วมกันเสวนาอย่างกว้างขวาง เดินทางมาจากทั่วประเทศ  อาจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก และผู้อำนวยการโฮงเฮียนภูมิปัญญาล้านนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์วัฒนา สุพรหมจักร โรงพยาบาลสมิติเวช ศัลยแพทย์ผู้ดูแลหลวงพ่อเทียนจนวาระสุดท้าย คุณปรีชาก้อนทอง สำนักปฏิบัติธรรมเบิกฟ้าธรรมาศรม อาจารย์จุฑาภรณ์ ภูติยานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนจุฑาภรณ์ ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ คุณอัครา อมาตยกุล พระเอกละครเรื่อง ตำรวจเหล็ก ช่อง ๗ สี คุณนิรมล เมธีสุวกุล รายการทุ่งแสงตะวัน อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย ลิมปิยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

  ถือโอกาสวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเพื่อการศึกษาพิเศษ 

นักศึกษา นักวิจัย คณะอาจารย์และนักวิชาการ จากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาและพัฒนาการสื่อสารด้วยภาษามือ เพื่อเข้าถึงและสื่อความลึกซึ้งข้ามพ้นอุปสรรคทางภาษาและการสื่อสาร ให้กับกลุ่มผู้พิการทางการสื่อสาร

  ถือโอกาสทดลองและพัฒนาศิลปะชุมชนและศิลปะสื่อกระแสธรรม 

อัชช์ กลุ่มญาติ หลาน และเพื่อน จากร้านอู่ข้าวอู่ปลาในพุทธมณฑล เก็บดอกไม้ ใบหญ้า บัว และมวลพืชพันธุ์ที่งอกจากดินในพุทธมณฑล มาจัดดอกไม้สื่อภาษาธรรม ร่วมเป็นอาจาริยบูชาเหมือนกับที่ทำมาทุกปี ตั้มและเพื่อนศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง ร่วมทำสื่อจัดนิทรรศการเผยแผ่ธรรม สำนักพิมพ์อรุณอัมรินทร์ สำนักพิมพ์คุณโตสื่อธรรม และอีกหลายแห่ง ร่วมนำหนังสือมาออกร้านและจำหน่ายหนังสือแบบคัดสรรในราคาถูก

  Wrap-up and Reflection  

การทำวาระพิเศษอย่างนี้ ให้เป็นโอกาสจัดเวทีปฏิบัติ ผสมผสานกับเวทีวิชาการที่มีบทเรียนการปฏิบัติเป็นฐาน ทำให้แม้เป็นเวทีเคลื่อนไหวชุมชนเรียนรู้เล็กๆแต่ก็นับว่ามีพลังหลายประการด้วยกัน คือ

  • เชื่อมโยงเครือข่ายพหุสาขา ทำให้สังคมการทำงาน ชุมชนวิชาการ สังคมผู้นำทางจิตวิญญาณ ภาคประชาชน สื่อมวลชนและดารานักแสดงซึ่งเป็นผู้เป็นผู้นำความนิยมของสาธารณชน โรงเรียนทางเลือก เครือข่ายนักวิชาการแนวประชาคม สถาบันการศึกษาขั้นสูง และกลุ่มสนใจต่างๆ ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บนความมีวาระและประเด็นความสนใจร่วมกัน
  • เวทีเรียนรู้สังคม เป็นการจัดการเชื่อมปฏิสัมพันธ์ให้เครือข่ายคนทำงานได้สร้างประสบการณ์ต่อสังคมและภาคสาธารณะที่กว้างขวาง ได้ตั้งคำถามและตรวจสอบการปฏิบัติด้วยตนเองที่ลึกซึ้งต่อเรื่องส่วนรวมที่สำคัญ ได้ความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ดี ใกล้ชิดกับวิถีปฏิบัติ
  • สร้างศักยภาพเครือข่ายคนทำงานและผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วยการปฏิบัติ เป็นเวทีวิชาการที่ทำให้คนทำงานสาขาต่างๆได้สังเคราะห์ประสบการณ์และนำตัวอย่างจากของจริงไปใช้ สอน พัฒนาการวิจัย พัฒนางานเขียนความรู้ ทำงานสุขภาพชุมชน ใช้ดำเนินชีวิต
  • เป็นเวทีเรียนรู้และพัฒนาการแสดงบทบาทสร้างสรรค์ของพลเมือง เด็ก เยาชน และประชาชน ขออาสานำสิ่งต่างๆมาร่วมกันจัด, ได้แสดงออก, ได้ทำบทเรียนให้แก่ตนเองโดยตรงในการเป็นผู้สร้างส่วนรวม
  • เวทีสร้างสรรค์ เป็นเวทีทดลองหาประสบการณ์ตรง สร้างความเชื่อมั่น และค้นพบความเป็นตัวของตัวเอง เพื่อความริเริ่มสร้างสรรค์ในทางเลือกใหม่ๆ ทางศิลปะ ดนตรี การพัฒนาสื่อ งานหนังสือ และการจัดโครงการกิจกรรมเพื่อเคลื่อนไหวการเรียนรู้ภาคสาธารณะ ทำให้สังคมมีแหล่งสร้างคนรุ่นใหม่ๆที่ดำเนินชีวิตไดกลมกลืนกับวิถีปฏิบัติอย่างนี้
  • พัฒนารูปแบบกิจกรรมวิชาการสาธารณะของมหาวิทยาลัยของปวงชน มหาวิทยาลัยได้รูปแบบที่เรียบง่ายอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เคลื่อนไหวและสั่งสมไปบนระบบความมีชีวิตในตนเองของสังคม ในการส่งเสริมและสนับสนุนความริเริ่มของภาคสังคม ทำสิ่งต่างๆเพื่อพึ่งตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาของประชาชน รวมทั้งเป็นกำลังและความแข็งขันในการจัดการทางวิชาการ ให้สังคมสามารถสร้างพื้นที่การปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมปัญญา และสร้างแหล่งพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสังคมเมือง ด้วยการส่งเสริมให้กลุ่มสนใจและคนทำงานวิชาการในแนวทางที่หลากหลาย เดินเข้าจับมือกัน ได้คิดและทำสิ่งดีๆด้วยกัน
หมายเลขบันทึก: 448619เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สะอาด สงบ สันติ มีปัญญา ครับท่านอาจารย์

  • กิจกรรมหลาก...สีสัน ช่าง งดงาม...ยิ่งนะคะท่านอาจ่ารย์ 
  • อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม.....ได้อ่านหนังสือท่านแล้ว...ชื่นชอบมากเชียวค่ะ
  • ฝากภาพประทับใจในการเดินทางวันนี้แด่ท่านอาจารย์

 

สวัสดีครับลุงวอญ่าครับ
มีความสุขมากๆครับผม

สงสัยแถวป่าติ้วกับเมืองคอนนี่
จะกำลังตกลงเป็นเมืองคู่แฝดกันเสียแล้วใช่ไหมเนี่ย
ขอบคุณที่นำทัศนียภาพของเมฆสวยๆมาฝากกันนะครับ สวยครับสวย 

มากราบคารวะ กูรู แห่ง ม.มหิดล ที่ดั้นด้น เพื่อการพัฒนา ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดีใจค่ะที่มีดอกาสได้มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้

ชื่นชมน้ำใจทีมงานทุกท่านค่ะ ที่พยายามทำงานกันอย่างเต็มที่

ได้ความคิดดีๆกลับบ้านด้วยค่ะ

วาว พิมพ์ผิดแล้ว คำ "โอกาส" กลายเป็นไม่เป็นคำ "โอกาส" ขออภัยค่ะ

สวัสดีครับคุณณัฐรดาครับ เอารูปนี้มาอวดกันดูด้วย

                          

                         

ยินดีมากเลยครับที่ได้เจอตัวจริงเสียงจริง ในตัวหนังสือและระหว่างบันทัดว่าเก่งแล้ว ตัวจริงบล๊อกเกอร์ณัฐรดานี่ยิ่งเก่งและ Smart มากเข้าไปอีก

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์ และสวัสดีเลยไปยังท่านวอญ่า พี่อุ้มบุญ ท่านอาจารย์หมอ JJและพี่ณัฐรดา ด้วยค่ะ

  • นำภาพบรรยากาศของงานมาร่วมแสดงเพิ่มเติมค่ะ บรรยากาศโดยรอบก็ยอดเยี่ยมค่ะ ต้องขอบคุณกัลยาณมิตร กัลยาณธรรมทุกท่านอย่างสูงค่ะ

              

              

              

              

              

              

              

              

              

              

              

  • โชคดีนะครับที่ฝนไม่ตกในช่วงนี้
  • บรรยากาศใต้ร่มไม้เลยดีเป็นอย่างยิ่ง เขียวครึ้มร่มรื่น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท