จะเชื่อตัวเองหรือเชื่อหมอ


พี่รู้สึกว่าฉีดยาแล้วพี่รู้สึกแย่ลงมากกว่ากินยา นี่พี่ฉีดแค่วันละครั้งเดียวตอนเช้าเท่านั้นนะ

 

          วันนี้มาฟังเรื่องของคุณวิวรรณกันดีกว่าค่ะ เราพบกันครั้งแรกเพื่อติดตามวิธีการฉีดยา Insulin หลังได้รับการสอนจากเพื่อนร่วมทีมงานของดิฉันไปแล้ว เธอเล่าว่ามีอาการเจ็บบ้างบางครั้งเวลาฉีด เธอรู้สึกเครียดกับมันมาก กลัว มือเกร็งและสั่น ที่จะต้องฉีดยาทุกครั้ง แล้วก็กังวลเกี่ยวกับเรื่องเจ็บ แค่นั้นไม่พอเธอเปิดหน้าท้องที่มีรอยแผนที่เขียวเป็นหย่อมๆให้ดูบอกว่าตรงนี้ไม่เท่าไหร่เพราะพี่แก่แล้วไม่ได้ใส่เสื้อโชว์ดือ เปิดพุงเหมือนวัยรุ่น แล้วเธอก็ถามคำถามคาใจทันทีว่า "พี่จะต้องฉีดยานี้ไปนานแค่ไหน กินยาไม่ได้หรือ"

          ครั้งนั้นดิฉันให้เวลากับเธอนานเพื่อให้ข้อมูลเรื่องแผนการรักษาที่ต้องฉีดยา เนื่องจากยากินไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น BS ที่สูงนานๆ ของคุณจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และจะทำให้เซลตับอ่อนที่ปล่อย Insulin ตายลง การฉีดยาจะช่วยให้คุณวิวรรได้ประโยชน์ 2 อย่าง คือทำให้ตับอ่อนส่วนที่เหลืออยู่ไม่ต้องทำงานหนักเกินความสามารถจนเสื่อมลง และยังทำให้ BS ดีขึ้น หลอดเลือดในร่างกายไม่ถูกทำลาย ทำให้ไม่มีเพื่อนโรคเพิ่ม ส่วนเรื่องของจิตใจที่กังวลกับการฉีดแล้วเจ็บนั้น ดิฉันก็แนะนำเรื่องเทคนิคการดึงเนื้อให้ตึง การ fix เข็มอย่าให้มีการเคลื่อนไหวและ เดินยาช้าๆ ลดการ trauma ของเนื้อเยื่อ จะทำให้การดูดซึมยาดีขึ้น พร้อมให้เอกสารไปช่วย  เธอบอกว่ารู้สึกดีขึ้นมาก แล้วก็ขอชื่อดิฉันไป  เราขอนัด FU เธอพร้อมแพทย์ครั้งต่อไปด้วย

          วันแม่ 12 ส.ค เธอโทรมา (หายไปประมาณ 2 สัปดาห์) เธอถามว่าจำเธอได้ไหม ดิฉันบอกว่าจำได้ เธอบอกว่าขอถามอะไรหน่อย

คุณวิวรรณ:  พี่ไปอ่านหนังสือมีแพทย์เขียนว่า "ไม่ควรฉีดยาซ้ำในตำแหน่งเดิม จะทำให้เป็นไตแข็งๆ อ้าว....แล้วพื้นที่หน้าท้องพี่มันจะพอถึง 365 วันได้อย่างไร

ดิฉัน:  หมายถึงไม่ควรฉีดซ้ำในตำแหน่งเดิมในวันนั้น ถ้าพี่รู้จักวิธีการฉีดยาที่ถูกต้อง มีการตรวจสอบเนื้อเยื่อหน้าท้องทุกครั้งก่อนฉีดว่าที่ตำแหน่งนั้นไม่มีรอยเขียว ฟกช้ำ หรือไตแข็ง วันรุ่งขึ้นถ้าเนื้อเยื่อปกติก็ฉีดได้ อยากให้พี่เปรียบการฉีดยาก็เหมือนคนที่ถูกชก อาจมีบวม โน เขียว ช้ำ หรือห้อเลือดแดงได้ขึ้นอยู่กับแรงกระแทกของน้ำ และแรงเสียงสีของเข็มฉีดยา ถ้าฉีดแล้วเขียวช้ำ  เป็นไต ก็ให้เลี่ยงหาที่ฉีดห่างออกไป รอให้เขาสมานเนื้อเยื่อตนเองหายก่อน แล้วค่อยกลับมาฉีดใหม่ พอมาถึงตรงนี้ก่อนจะจบการสนทนา ดิฉันก็อดไม่ได้ที่จะถามว่ามีอาการผิดปกติบ้างไหมหลังฉีดยา ( HYPOGLYCEMIA )

คุณวิวรรณ:  ช่วงอาทิตย์นี้ดิฉันมีอาการหิว ใจสั่น หิวตอนประมาณบ่าย 3-4 โมง บ่อยขึ้น พี่สงสัยว่าจะเป็นจากยาฉีดนะ เพราะตอนกินยาไม่มีอาการเลย พี่รู้สึกว่าฉีดยาแล้วพี่รู้สึกแย่ลงมากกว่ากินยา นี่พี่ฉีดแค่วันละครั้งเดียวตอนเช้าเท่านั้นนะ

           ดิฉันถึงต้องเป็นนักสืบต่อค่ะ เราคุยกันถามไปถามมาพบว่า คุณวิวรรณ นอนดึก 5 ทุ่มถึงเที่ยงคืนแต่ตื่นสาย ฉีดยา MIXTARD ตอน 10.30 น. ทานข้าวแค่ 2 มื้อ ทานข้าวมื้อแรก 11 น.:กาแฟ (นมอัลลีน + น้ำตาลเทียม) 1 ถ้วย ขนมปัง 2 แผ่นไม่ทาอะไร มื้อที่ 2 เวลา17.20 น.: ทานปกติ มื้อใหญ่

          ช่วงที่เริ่มฉีดยาอาทิตย์แรกเธอไม่ค่อยมีกิจกรรมหลังตื่นนอนร่วมกับ BS ที่็ยังสูงอยู่ จึงไม่ค่อยมีปัญหา อาทิตย์นี้คาดว่าระดับน้ำตาลเริ่มลด คุณวิวรรณมีกิจกรรมมากขึ้น ไป Hypo ช่วงบ่าย 3 - 4 โมงที่งานทำบุญบ้านหรือหลังshoppingบ้าง และมีออกกำลังกายตอน 17 น. ก็เริ่มมี Hypo อาหารมื้อเช้าที่เคยทานน้อย ก็จะไม่มีสารอาหารพอเพียงในช่วงบ่ายที่มีกิจกรรมมากขึ้น ร่วมกับน้ำตาลที่เคยสูงในหลอดเลือดก็เริ่มลด เลยไม่มีน้ำตาลที่จะให้พลังงาน จึงเกิดน้ำตาลต่ำ ดิฉันแนะนำให้คุณวิวรรณดูอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เพิ่มผัก ผลไม้ในมื้ออาหาร คุณวิวรรณกลัวว่าการเพิ่มอาหารจะทำให้ BS สูง ดิฉันแนะนำให้คุณวิวรรณมี HMBG เป็นตัวช่วยตรวจสอบและจะเป็นตัวช่วยปรับเรื่องปริมาณ และชนิดอาหารได้ เธอสนใจนัด FU คราวหน้า เธอจะมาติดต่อ

ยุวดี    มหาชัยราชัน 

คำสำคัญ (Tags): #insulin
หมายเลขบันทึก: 44833เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท